แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง ”

บ้านท่าช้าง ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย วิรัตน์ ดำเนินผล

ชื่อโครงการ ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง

ที่อยู่ บ้านท่าช้าง ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03863 เลขที่ข้อตกลง 58-00-216

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านท่าช้าง ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง



บทคัดย่อ

โครงการ " ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านท่าช้าง ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03863 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 206,130.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 135 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวเลิกใช้สารเคมีและลดค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน
  2. เพื่อใช้พื้นที่ว่างรอบๆบ้านและในชุมชนให้เป็นประโยขน์ และเกิดแปลงสาธิตผักสวนครัวปลอดสารเคมีในชุมชน
  3. เพื่อให้เกิดสภาชุมชนที่เข้มแข็ง
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับ สจรส.มอครั้งที่1

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ  อบรมให้ความรู้ แก่คณะกรรมการโครงการในเรื่อง
    1. การลงบันทึกกิจกรรมของโครงการในพื้นที่ในเวบไซด์ 2.การลงบันทึกปฏิทินโครงการ 3. การทำใบเบิก-จ่าย ใบเสร็จรับเงิน ในกิจกรรมต่างๆ 4. การถ่ายภาพกิจกรรมที่สื่อความหมายได้ดี และการลงภาพถ่ายกิจกรรมในเวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถลงบันทึกปฏิทินโครงการได้ถูกต้องครบถ้วนทุกกิจกรรม และได้ทดลองลงบันทึกกิจกรรมของโครงการในพื้นที่ในเวบไซด์ซึ่งยังทำได้ไม่ครบถ้วนและไม่ครอบคลุมตรงประเด็น

     

    2 3

    2. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการครั้งที่ 1

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายวิรัตน์ ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดโครงการ เกี่ยวกับ ที่มา วัตถุประสงค์กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมการดำเนินโครงการ ปฏิทินโครงการ การประเมินผล และงบประมาณโครงการ โดยมีนางอุบล อากาศโชติ เป็นเลขาบันทึกการประชุม 2.มีแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบของคณะกรรมการ และแบ่งโซนพื้นที่ในการทำกิจกรรมเป็น 10โซน 3ซักถามข้อสงสัย และสรุปการประชุมครั้งที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีคณะกรรมการโครงการผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างจำนวน 20 คนและทุกคนรับทราบที่มาของโครงการโดยงบสนับสนุนจาก สสส
    2. คณะกรรมการรับรู้และยินดีดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการอย่างต่อเนื่องตลอดโครงการ
    3. มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงาน และแบ่งโซนการรับผิดชอบพื้นที่อย่างชัดเจน เป็น10 โซนโดยใช้แนวถนนในหมู่บ้านเป็นแนวแบ่งโซน

     

    20 20

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 11 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดทำป้ายโครงการและสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ เพื่อใช้เพื่อรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในชุมชน ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 1 ป้ายขนาด3x1.5 เมตร 2. จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่โดยเฉพาะ จำนวน 2 ป้าย ขนาด 60ซม x 150ซม ติดไว้ที่ รพสต. บ้านท่าช้าง และ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ทั้ง 3 ป้ายติดตั้งไว้ ในสถานที่่ที่ ประชาชนทั่วไปสามารถมองเห็นได้และเป็นสถานที่ใช้ประชุมในหมู่บ้านเป็นประจำ

     

    300 300

    4. ประชุมชี้แจงโครงการ และเสวนาพิษภัยจากสารเคมี

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดเวทีวันนี้โดยนายณรงค์ อุราโรจน์ผู้ใหญ่บ้าน พูดคุยให้ทราบถึงวัตถุประสงค์และชักชวนให้ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการในวันนี้
    นายวิรัตน์ ดำเนินผล หัวหน้าโครงการ ชี้แจงเกี่ยวกิจกรรมในโครงการ และงบประมาณของโครงการ
    นาย อโนทัย อุตมะพงค์ นักวิชาการสาธารณสุข จาก รพสต.บ้านท่าช้าง ให้ความรู้ชวนครัวเรือน พูดคุย ให้ทราบถึงพิษภัย อันตรายจากสารเคมีที่ตกค้างในพืชผัก อาหารการกิน
    นางสิทธิพรรณ เรือนจันทร์ พี่เลี้ยงโครงการ พบปะพูดคุย สร้างความเชื่อมั่นให้ทุกครัวเรือนรับทราบถึงความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ ครัวเรือนสมัครร่วมโครงการ 50 ครัวเรือน นายวิรัตน์ ดำเนินผล ชี้แจงกฎ กติกา ของการเข้าร่วมโครงการให้แก่สมาชิกให้ชัดเจน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คนรับทราบวัตถุประสงค์ กิจกรรมและงบประมาณของโครงการผักสวนครัวปลอดสารเคมีวิถีบ้านท่าช้าง
    2. มีทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 50 ครัวเรือน
    3. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องพิษภัยจากสารเคมีที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งสารเคมีในครัวเรือน ม 5 ต.ช้างซ้ายได้แก่ 1.ประเภทป้องกันหนอนเช่นบาเจาะเกาะ โคระดาน โคลีดอน 2.ประเภทป้องกันรา เช่นโคราเท เบต้ามัยซิน แบรติค"วค์3.ประเภทใช้ฆ่าหญ้า เช่น กรัมม๊อกโซน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เกิดสารตกค้างในร่างกาย เข้าสู่ร่างกายได้โดยทางทางปาก ทางลมหาย ใจ และทางผิวหนังสัมผัสและวิธีป้องกันตนเองโดยเลิกใช้หากเลี่ยงไม่ได้ ต้องสวมเสื้อผ้า ถุงเท้ารองเท้า ผ้าปิดปากจมูกมิดชิด เวลา ฉีดยาคนต้องอยู่เหนือทิศทางลม และต้องอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายหลังสัมผัสหรือฉีดพ่นยาเคมีทันที และมีความรู้เรื่องการล้างผัก ผลไม้ที่ช่วยลดสารตกค้างโดญการใช้ น้ำส้มสายชู น้ำยาด่างทับทิม และน้ำเกลือ

     

    100 100

    5. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่1

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30-14.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการในโครงการ ผู้นำ ประธานกลุ่มอื่นๆในหมู่บ้าน และหัวหน้าทีมแต่ละทีมในโครงการและกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชอื่นๆอื่นร่วมพูดคุยสรุปผลการทำโครงการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลโครงการ และข้อมูลปัญหาอื่นๆในหมู่บ้าน

    2.ร่วมกันทบทวน วางแผน ช่วยแก้ปัญหา หรือหาแหล่งสนับสนุนให้การทำงานในโครงการ และงานอื่นๆในหมู่บ้านคล่องตัวและสำเร็จ

    3.เป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรมการหมู่บ้าน15 คนและ ภาคีเครือข่าย 5 คน (ปราชญ์ชุมชน , จนท.สาธารณสุข ,จนท.อบต.,จนท.เกษตรอำเภอ ,ประธาน อสม.หมู่ที่ 5 )ร่วมพูดคุยสรุปผลการทำโครงการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลโครงการ และข้อมูลปัญหาอื่นๆในหมู่บ้าน และเป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน และวางแผนร่วมกันที่จะพัฒนาโครงการนี้ เผื่อ ให้ ม.5 บ้านท่าช้างเป็นต้นแบบการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี ใน ตำบลช้างซ้าย ต่อไป
    2. มีการนัดประชุมครั้งต่อไป

     

    20 20

    6. ครั้งที่ 1นำเสนอผล ผ่านประเพณีลอยกระทงปลอดสารพิษ

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา ครั้งที่ 1 วันที่ 25/11 08:30-16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครั้งที่1 วันที่ 22/11/2558 คณะกรรมการโครงการโดยนายณรงค์ อุราโรจน์(ผู้ใหญ่บ้าน ) ร่วมประชุมชี้้แจง ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือน จำนวน60 คนและ กลุ่มนักเรียน/เยาวชน จำนวน 20 คน เรื่องการการจัดทำกิจกรรม กระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง 1 กระทง โดยใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และผักปลอดสารพิษของกลุ่มที่ปลูกและอุปกรณ์จักสานมาทำกระทงประกวดในช่วงวันลอยกระทงทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการให้ความร่วมมือ กับร่วมกับ อบต.ช้างซ้าย จากนั้นวันที่25/11/2558 มีการจัดทำกระทงอินทรีย์โโยใช้พืชผักสวนครัวในชุมชน โดยคณะกรรมการ เยาวชน ผู้สูงอายุ และตัวแทนครัวเรือนเป็นผู้จัดทำกระทง และนำไปประกวด เพื่อร่วมกิจกรรมในวันลอยกระทง ซึ่ง อบต.ช้างซ้าย จัดขึ้น ณ ศาลาพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ หมุ่ที่13 ต. ช้างซ้ายในตอนค่ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว และ กลุ่มนักเรียน/เยาวชน ร่วมรับทราบและ ได้จัดทำกระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง 1 กระทง โดยใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และผักปลอดสารพิษของกลุ่มที่ปลูกและอุปกรณ์จักสานมาทำกระทงประกวด 2 .ชุมชน/ครัวเรือนได้ร่วมกิจกรรมวันลอยกระทงทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการให้ความร่วมมือ กับร่วมกับ อบต.ช้างซ้ายโดยการถ่ายทอดผ่านงกระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง
    2. ได้ประชาสัมพันธ์โครงการผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างผ่านกระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง ซึ่งได้รับความสนใจจากชุมชนเป็นอย่างดี และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ลำดับที่ 2

     

    100 100

    7. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน ครั้งที่2

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30 -16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. วิทยากร (อ.ไพทูรย์) อธิบายเรื่องการบันทึกข้อมูล การถอดบทเรียน การเขียนผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลผลิต และผลลัพธ์ของกิจกรรมและการบันทึกหลังการจัดกิจกรรม 2.วิทยากรจาก สจรส อธิบายเกี่ยวกับการหักภาษี ณ.ที่จ่าย /การยื่นรายการภาษี/การเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี 3.วิทยากรจาก สจรส อธิบายเกี่ยวกับการเขียนแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ และแบบรายงานการเงินโครงการประจำงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คนมีความเข้าใจเรื่องการบันทึกข้อมูล การถอดบทเรียน การเขียนผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลผลิต และผลลัพธ์ของกิจกรรมและการบันทึกหลังการจัดกิจกรรมมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้จริงในงาน
    2. คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ และแบบรายงานการเงินโครงการประจำงวดเพื่อนำไปใช้ในการเขียนรายงานโครงการที่ถูกต้อง

     

    2 3

    8. สำรวจครัวเรือนทั้งหมด 392 ครัวเรือน

    วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30-16.00น. จำนวน 3 วัน น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการ นักเรียน อสม. และผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ลงสำรวจครัวเรือนตามแบบสอบถามครัวเรือนโดยการแบ่งทีม สำรวจ เป็น 4 ทีม แบ่งเขตครัวเรือน เป็น 4โซนๆละ 100 ครัวเรือนทำการสำรวจรวม 3วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แบบสำรวจของชุมชน 1 ชุดประกอบด้วย

    • ตอนที่1ข้อมูลทั่วไป
    • ตอนที่ 2ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่
    • ตอนที่ 3สำหรับครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือ ครัวเรือนที่ทีการปลูกผัก
    • ตอนที่ 4 สำหรับทุกครัวเรือนที่ต้องการปลูกกผักสวนครัวและ ครัวเรือนของท่านต้องการมีอาชีพเสริม รายได้หรือไม่

    ในการทำการสำรวจช่วงกลางวัน บางบ้านไม่เจอเจ้าบ้านเพราะออกไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ ต้องออกสำรวจใหม่ตอนค่ำ หรือวันอาทิตย์จึงจะพบเจ้าบ้านเพราะเป็นคนที่สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อการสำรวจเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า สามารถเก็บแบบสอบถามได้จำนวน 350 ชุด

     

    20 20

    9. คืนข้อมูลชุมชนจากการสำรวจครัวเรือและตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 1

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นายณณง ค์อุราโรจน์ ผู้ใหญ่บ้าน/คณะกรรมการโครงการชี้แจงคืนข้อมูลจาการสำรวจครัวเรือน ได้แก่ข้อมูลด้านการเกษตร การใช้สารเคมี รายได้ครัวเรือน ในครัวเรือน ม.5

    2.นางมติกา มาลารัตน์ พยาบาลวิชาชีพให้ความรู้เรื่องสารเคมีตกค้างในเลือดพร้อมแนวทางปฏิบัติตนเพื่อป้องกัน และลดปริมาณงสารเคมีตกค้างในเลือด 3.ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่กลุ่มครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 80 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ข้อมูลจากผลการสำรวจครัวเรือนสรุปได้ดังนี้คือ

    1. ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประมาณ 90% ที่ไม่มีการท าบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน
    2. ปัญหาด้านอาชีพ และการทำงานส่วนใหญ่เป็นเรื่องของต้นทุนในการผลิตสูง เช่นราคาปุ๋ยที่สูง
    3. สารเคมีที่ใช้ในการทางเกษตรกรรม คือ สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต โดยจะซื้อจากร้านค้าหรือตลาดในชุมชน โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทโดยจะพิจารณาเลือกซื้อสารเคมีด้วยตนเองแล้วนำมาฉีดพ่นกับอุปกรณ์ฉีดพ่นแบบสะพายหลัง-ใช้มือฉีดโดยจะฉีดประมาณเดือนละ 1-3 ครั้ง
    4. ขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพ
    5. ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 50 % ไม่ได้เป็นสมาชิกลุ่มเกษตรกรและไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
    6. ผักที่ประชากรส่วนใหญ่บริโภคอยู่เป็นประจำ ได้แก่ ตำลึง แตงกวา ผักบุ้ง บัวบก ผักหวาน และถั่วพู

    ผลการตรวจปริมาณสารตกค้างในเลือดมีดังนีี้ (80คน) กลุ่มปกติจำนวน 10 คน กลุ่มปลอดภัยจำนวน 22คน กลุ่มเสื่ยงจำนวน 27 คน กลุ่มไม่ปลอดภัยจำนวน 31 คน

     

    100 100

    10. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่2

    วันที่ 31 มกราคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการ และตัวแทนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกิจกรรมของโครงการที่ผ่านมา และการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป ร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาและหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง 1. การจัดกิจกรรมทำบัญชีครัวเรือน และการทำน้ำหมักชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการ และตัวแทนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกิจกรรมของโครงการที่ผ่านมา และการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป ร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาและหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง

    1. การจัดกิจกรรมทำบัญชีครัวเรือน และการทำน้ำหมักชีวภาพมติที่ประชุมจะทำที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยเชิญปราชญ์ชุมชน นายช่วง สิงโหพล และเกษตรอำเภอ มาร่วมให้ความรู้ในกิจกรรมดังกล่าว ในวันที่ 5 มกราคม 2559
    2. นายวิรัตน ดำเนินผล ประธานโครงการรับผิดชอบเกี่ยวกับการประสานงานกับ ธนาคาร ธกส เรื่อง สมุดบัญชีครัวเรือน และ วิทยากร
    3. ร่วมกันคิด และเสนอแนะเกี่ยวกับพืชผักที่จะปลูก 2 ฝั่งถนนในหมู่บ้าน ต้องเป็นผัก ที่วัวไม่กิน หรือ ต้องมีการป้องกันการกินจากวัวของชาวบ้านในชุมชน และวิธีการปรับพื้นที่สองฝั่งถนน ก่อนลงมือปลูกผัก โดยให้กรรมการหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบประสานงานกิจกรรมดังกล่าว

     

    20 20

    11. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่2

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว พร้อมปัญหาและอุปสรรคต่างในการจัดทำโครงการ 2.สภาร่วมรับรู้หาแนวทางร่วม และ เป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน 3.สภาผู้นำ สรุป การทำงานโดยเฉพาะด้านการเลิกใช้สารเคมีในครัวเรือน และเสนอแก่ หน่วยงานทั้ง ภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านเป็นระยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะ ที่มีการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการต่อ
    2. เกิดแนวทาง /กติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมีคือให้สมาชิกกลุ่ม จำนวน 50 ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี 100% และสมาชิกไม่ซื้อผักที่ปลูก และขายจากตลาดภายนอกชุมชน
    3. มีรูปแบบแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการต่อไปในทิศทางเดียวกัน คือ ให้กลุ่มเป้าหมายทุกครัวเรือนร่วมเป็นเจ้าของโครงการ

     

    20 20

    12. เรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 9.00-12.00 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพโดยการหมักแบบ 2ถังคือ ถังที่1 จากเศษพืช เช่นเปลือก สัปปะรด เศษผักผลไม้ กล้วย เป็นต้นโดยใช้ เศษผัก ผลไม้ 40 กิโลกรัม กากน้ำตาล10 กิโลกรัม แล้วใช้ ขุปเปอร์พด 2 จำนวน 2ซองละลายน้ำ 5ลิตรแล้วผสมลงในถังเติมน้ำอีก 20 ลิตร คนให้เข้ากัน ปิดฝา ไม่ต้องสนิท หมักไว้ 14 วัน โดยต้องหมั่นคนทุกวัน จากนั้นนำไปใชได้เลย โดยเวลาจะใช้ต้องเอาน้ำหมัก 1ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร และถังที่2จากซากสัตว์ เช่น หัวปลา เศษเนื้อ หอยเชอรรี่ โดยอัตาส่วนการผสม เหมือนกันกับการทำจากเศษผัก ผลไม้ โดยปราญ์ชุมชน นายช่วง สิงโหพล
    2. 13.00-16.00น.จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำน้ำยากำจัดศัตรูพืชแบบใช้พืชสมุนไพรในครัวเรือน โดยใช้ สะเดาตะไคร้ ใบมะละกอ โดยปราญ์ชุมชน นายช่วง สิงโหพล
    3. คณะกรรมการโครงการร่วมประเมินการจัดกิจกรรม และนัดหมายการจักกิจกรรมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดชุดความรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ จากเศษพืช ซากสัตว์ และ การทำน้ำยากำจัดศัตรูพืชแบบใช้พืชสมุนไพรในครัวเรือนที่ทำได้ และใช้ได้จริงในชุมชน 1 ชุด โดยการถ่ายทอดและการสนับสนุนจากปราญ์ชุมชน นายช่วง สิงโหพล
    2. เกิดชุดความรู้การทำน้ำหมัก จากซากหอยเชอรี่ และการล่อหอยเชอรี่จากใบมะละกอ
    3. มีการเปฺิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่ม และคนในชุมชน เข้าใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับความรู้ได้ตลอดเวลา ที่ศูนย์เรียนรู้วิถีเศรษกิจพอเพียง ม 5.ของ นายช่วง สิงโหพล จากเดิมที่มีสมาชิกใช้บริการน้อย และไม่ค่อยเห็นความสำคัญของศูนย์นี้

     

    75 75

    13. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16ใ00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เรียนรู้ฟื้นฟูและฝึกปฏิบัติเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน ในครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50ครัวเรือน และสมาชิกครัวเรือนเกษตรกรที่สนใจ20ครัวเรือน
    2. รับสมัครครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละบาท
    3. แต่งตั้งทีมงานติดตามเยี่ยมและตรวจการทำบัญชีครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามโซนของการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี
    4. จัดทำแบบติดตามเยี่ยมครัวรือนและกำหนดการเยี่ยม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนร้อยละ 50 เรียนรู้และสามารถวิเคราะห์รายรับรายจ่าย ภาคครัวเรือนได้
    • กลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละบาท 100%
    • เกิดทีมงานติดตามเยี่ยมและตรวจการทำบัญชีครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามโซนของการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี เป็น 4โซน
    • จัดทำแบบติดตามเยี่ยมครัวรือนอย่างง่ายและกำหนดการเยี่ยมของโซนต่างๆตามความสะดวกของแต่ละโซน

     

    70 100

    14. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่3

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการโครงการ ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ  การเงินโครงการ  และคณะกรรมการอีก 1คน จัดเตรียมเอกสารด้านการเงิน  และการลงยันทึกกิจกรรมของโครงการในโปรแกรมให้สมยูรณ์ 2คณะกรรมการรับการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารด้านการเงินและการลงบันทึกรายงายงานการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การทำรายงานเอกสารหลักฐานด้านการเงิน และการลงบันทึกรายงานกิจกรรมตามโครงการ ผักสวนครัวปบอดสารเคมีวิถีบ้านท่าช้างมีบางประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ 

     

    2 3

    15. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงติดตามโครงการ

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 09.00-11.00 น. ทบทวนการลงบันทึกกิจกรรมของโครงการในเว็บไซด์
    • 11.00-14.00 น. ร่วมวิเคราะห์และถอดบทเรียนโครงการ
    • 14.00-16.30 น. ทำงายงาน ส.3 ของแต่ละโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถลงบันทึกกิจกรรมของโครงการในเว็บไซด์ได้ถูกต้องและครบถ้วนมากขึ้น
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถวิเคราะห์และถอดบทเรียนโครงการได้และลงทำงายงาน ส.3ได้

     

    2 2

    16. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนครั้งที่3

    วันที่ 26 เมษายน 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานโครงการชี้แจงกิจกรรมต่างๆที่โครงการทำมา พร้อมระบุปัญหาต่างๆ เช่น ครัวเรือนในชุมชนยังไม่เข้าใจกิจกรรมของโครงการอย่างถูกต้องและทั่วถึง
    2. คณะกรรมการโครงการเสนอให้สภาช่วยประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับครัวเรือนในชุมชนเพื่อการร่วมพัฒนาหมู่บ้านไปในทิศทางเดียวกัน
    3. เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.อำเภอพระพรหม เข้าร่วมประชุม และแจ้งขอความร่วมมือในการดูแลเยาวชนให้ห่างจากยาเสพติด โดยเฉพาะ น้ำกระท่อม และยาบ้าโดยแหล่งมั่วสุมคือ สวนยางพาราสวนปาล์มท้ายหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะที่มีความเข้าใจในการทำงานร่วมกันเพื่อชุมชน
    2. .สภารับข้อเสนอของคณะกรรมการโครงการและเกิดแนวทางที่จะมีกติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในชุมชน และการให้ความร่วมมือให้การดูแลเยาวชนในชุมชน
    3. เกิดเวทีขับเคลื่อนงานและกิจกรรมในชุมชนอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้ง

     

    20 25

    17. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่3

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม เวลา 13.00 น.และพบปะพี่เลี้ยง นาง มติกามาลารัตน์
    2. นายวิรัตน์ ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจ้งกิจกรรมที่ทำไปแล้ว มีผลลัพธ์เรื่องปัญหาของการทำกิจกรรมในชุมชน
    3. นายณรงค์อุราโรจน์ / นายวิรัตน์ ดำเนินผล ร่วมชี้แจงงบประมาณรายรับ รายจ่าย การเงินงวดที่1
    4. คณะกรรมการโครงการ/พี่เลี้ยง ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาของการทำกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น การสร้างความเข้าใจของชุมชน การขอความร่วมมือ ของครัวเรือนการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มสมสชิก
    5. คณะกรรมการโครงการ/พี่เลี้ยง ร่วมวางแผนการทำกิจกรรม สร้างอาชีพเสริมในช่วงฤดูแล้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการโครงการ ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาและมีแนวทางของการทำกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น การสร้างความเข้าใจของชุมชน การขอความร่วมมือของครัวเรือนการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มสมาชิกโดยให้คณะกรรมการ โครงการ 1คน รับผิดชอบในการดูแลกลุ่มสมาชิก 5 ครัวเรือน
    2. คณะกรรมการโครงการรับทราบข้อมูลและเข้าใจตรงกันในเรื่องงบประมาณรายรับ รายจ่าย การเงินงวดที่ 1
    3. คณะกรรมการโครงการ/พี่เลี้ยง ร่วมวางแผนการทำกิจกรรม สร้างอาชีพเสริมในช่วงฤดูแล้ง(ปีนี้ไม่มีนำ้ท่วมในฟดูฝน แต่เกิดฝนแล้งมาก) กำหนดวันทำกิจกรรม วันที่ 8 พ.ค.2559

     

    20 20

    18. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำอาชีพเสริมช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 1

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิรัตน์ ดำเนินผลชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมคือ เพื่อ ให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มในช่วงแล้งแทน ฤดูฝนตามที่เขีนยในโครงการ (ปีนี้แล้งมาก การทำการเกษตรไม่ได้ผล เพราะขาดน้ำ ยางพาราก็ตัดไม่ได้ผลผลิต ปาล์มน้ำมันไม่มีลูก และการปลูกพืชผัก ขาดน้ำตายหมด )และเพื่อเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำอาชีพเสริมช่วงฤดูแล้ง คือ การทำ เจ้ย ไม้กวาด ตะกร้าจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนบ้านท่าช้าง มาทำให้เกิดรายได้ และปลูกฝังการเรียนรู้และสืบทอดแก่เยาวชนในชุมชนด้วย

    2.มีการแบ่งกลุ่มเรียนรู้ โดย

    • กลุ่มที่ 1 กลุ่มทำ เข่งปลาทู มี นางห้วน ขันเพ็ชร เป็นผู้สอน

    • กลุ่มที่ 2 การทำเจ้ย มี นางเอียด กายภูมิ เป็นผู้สอน

    • กลุ่มที่ 3 สอนทำข้อง ไซ มี นางปริง มาศเมฆ เป็นผู้สอน

    3.มีการสรุปกิจกรรมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมและ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดปราญ์ชในชุมชนด้านการทำ เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ และสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้

    2.กลุ่มเกิดการเรียนรู้ และสามารถทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ใช้ในครัวเรือนเองได้

    3.เกิดนวัตกรรมวิธีการเก็บไม้ไผ่ที่ตัดมาจากต้นแล้ว ให้สามารถนำมาใช้ทำเรื่องจักรสานได้นานโดยไม่ผุ ไม่เปลี่ยนสี เนื้อไม้ไผ่คงสภาพเดิมคือ การตัดไม้ไผ่เป็นท่อนๆ โดยให้ติดข้อไม้และมีตาไม้ติดยู่ด้วย แล้วนำไปฝังดินพอมิด สามารถเก็บไม้ไว้ได้นาน

     

    85 75

    19. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่4

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เวลา 12:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายวิรัตน์ ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมสรุปกิจกรรมการสร้างรายได้เสริม ในช่วงฤดูแล้ง ที่ผ่านมา ว่าการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา มีกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายที่วางไว้ และกลุ่มเป้าหมายมีการตอบรับกิจกรรมเป็นอย่างดี

    2.คณะกรรมการร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการสร้างรายได้เสริม ในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือ รวมทั้งร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการสร้างรายได้เสริม ในช่วงฤดูแล้ง เป็นอย่างดี
    2. คณะกรรมการร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการสร้างรายได้เสริม ในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 พ.ค.2559 นี้ เวลา 09.00-16.00 น ณ ศาลาเอนกประสงค์ รพ.สต.บ้านท่าช้าง โดยการจัดกิจกรรมช่วงเช้าเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มอาชีพการทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ และช่วงบ่ายเป็นการประกวดการทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ โดยการประกวดเป็นทีม

     

    20 20

    20. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำอาชีพเสริมช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 2

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มประชุมนายวานิช นิลอุบล ครู กศน. ต.ช้างซ้าย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำอาชีพเสริมและการสร้างรายได้เสริมในครัวเรือนในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เช่น การปลูกถั่วงอก การทำผลิตภัณฑ์สบู่ น้ำยาล้างจานใช้เองในครัวเรือน และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ให้เป็นที่ต้องการของตลาด
    2. มีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาก และแจกจ่ายแก่กลุ่มสมาชิก
    3. วิทยากรนางห้วน ขันเพ็ชร และนางปริง มาศเมฆ สอนการทำเครื่องจักรสานจากไม้ไผ่ต่อ
    4. ช่วงบ่าย มีการแบ่งทีมแข่งขันนการทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ โดยมีทีมสมัครลงแข่งขัน 4 ทีมๆละ 4 คน โดยแต่ละทีมทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ 3 ชนิด คือ เข่งปลาทู 2 ใบ ข้องใส่ปลา 1 ใบ และตะกร้า 1 ใบ ภายในเวลา2 ชม.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มสมาชิกมีแนวทางและสามารถสร้างอาชีพเสริมรายได้ครัวเรือนได้ โดยการทำเครื่องจักสาน และลดค่าใช้จ่ายใน๕รัวเรือนโดยการทำน้ำยาล้างจาน และสบู่ใช้เองในกลุ่มสมาฃิกด้วยกัน

    2.มีการต่อยอด และประสานงาน กับศูนย์ กศน อำเภอพระพรหม และสหกรณ์อำเภอพระพรหม เพื่อการรวมกลุ่ม และหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ของชุมชนบ้านท่าช้าง

    3.เกิดการรวมกลุ่ม กลุ่มจักสานบ้านท่าช้างขึ้นมาใหม่ จากกลุ่มได้ศูนย์หายไปเมื่อหลายปีที่ผ่านมา

     

    85 75

    21. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 5

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประธานโครงการกล่าวเปิดประชุมพร้อมชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ทำไปแล้วปัญหาอุปสรรคโครงการให้คณะกรรมการโครงการจำนวน 20 คน และตัวแทนโซน 2 คน รับทราบ และหาแนวทางร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการจำนวน 20 คน และตัวแทนโซน2 คน รับทราบกิจกรรมโครงการที่ทำไปแล้วปัญหาอุปสรรคโครงการ และการวางแผนการมำงานต่อในกิจกรรมต่อไป เพื่อการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง

    1.คณะกรรมการโครงการจำนวน 20 คน และตัวแทนโซน 2 คน ร่วมกันสรุปปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น ปัญหาพื้นที่แล้งมาก ฝนไม่ตก ทำให้ กิจกรรมการปลูกผัก และลงแปลงต้องเลื่อนออกไป รอฝนตก

    2.กำหนดวันทำกิจกรรมครั้งต่อไป คือ กิจกรรมการสร้างรายได้ในครัวเรือนช่วงฤดูแล้ง โดยจัดที่ รพ.สต บ้านท่าช้าง และกำหนดตัววิทยากร โดยการเอาผู้สูงอายุในชุมชนที่มีความชำนาญด้านการจักสานมาสอนให้ความรู้ จำนวน 3 คน

     

    20 22

    22. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 1

    วันที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ช่วงเช้าและบ่ายตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการ ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ให้คำแนะนำและกระตุ้นให้ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี รวมทั้งร่วมแลกเปลียนเรียนรู้การลด เลิก ใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรในชุมชน โดยในช่วงเช้าลงตรวจเยี่ยมบ้าน 1.นางจารึกสิงโหพลบ้านเลขที่12/1 ม.5 มีการปลูกกผักสวนครัวหลายชนิดได้แก่ ตะไคร่ ขมิ้น ถั่วฝักยาว มะเขือพริก โหระพาผักหวาน

    2.นางชิต ทุมรัตน์ บ้านเลขที่ 12/2 ม.5 มีการปลูกกผักสวนครัวหลายชนิดได้แก่ ถั่วพู ชะอม ตะไคร่ ขมิ้น ถั่วฝักยาว มะเขือพริก โหระพามีการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผัก และมีการเลี้ยงไก่บ้านโดยไม่ใช้สารเคมี

    3.นายกระจ่างสิงโหพล บ้านเลขที่ 25/1 ม.5 บ้านนี้มีการยกแปลงปลูกผักสวนครัว โดยปลูกผักหลายชนิด และมีการใช้ตาข่ายอวนกั้นเพื่อป้องกันวัว และไก่ เข้าไปทำลายผัก

    4.นางปริงมาศเมฆ บ้านเลขที่22 ม.5 บ้านนี้ปลูกพริก และถั่วฝักยาวเป็นหลัก โดยปลูกแบบปลอดสารเคมี และใช้น้ำหมักรดผัก พริกและถั่วฝักยาว ที่เหลือจากกินในครัวเรือนนำไปขายที่ตลาดในชุมชน เป็นรายได้เสริมแก่คัวเรือน

    5.นายจวนอุราโรจน์ บานเลขที่40/2 ม.5 ลุงจวนปลูกผักไว้กินเองหลายชนิด และจะแบ่งปันให้ลูกหลานและครัวเรือนใกล้เคียง ไม่เคยขาย

    6.นางปรางวิมลทรงบ้านเลขที่16/1 ม.5 บ้านนี้มีพื้นที่ว่างรอบๆบ้าน มาก จึงปลูกผักได้หลายชนิด เน้นผักที่ครัวเรือนชอบรับประทาน และผักที่เหลือจะแบ่งให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง และมีคนมาขอซื้อที่บ้านบ้างเป็นบางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างจากการตรวจเยี่ยมครั้งที่ 1 จำนวน 6 ครัวเรือน
    2. เกิดความรักความสามัคคีในครัวเรือน และในชุมชน มีการพึ่งพาอาศัยกัน คอยช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

     

    35 35

    23. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 2

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-16.00ฯ น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 10คนร่วมพูดคุยและสร้างแบบการประเมินและวิธีการให้คะแนนครัวเรือนที่ลงเยี่ยม
    2. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 10คนลงตรวจเยี่ยมโดยไม่มีแบ่งโซนการตรวจเยี่ยม เพราะหมู่บ้านมีขาดพื้นที่ไม่กว้าง มีพาหนะคือรถมอเตอร์ไซด์ใช้ในการทำงานเกือบทุกคน และ.คณะกรรมการโครงการ ทุกคนต้องการพบปะกลุ่มเป้าหมายพร้อมๆกันเพื่อดูความก้าวหน้าของกิจกรรมและสามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาต่างๆที่พบในครัวเรือน
    3. ในการตรวจเยี่ยมได้ลงตรวจเยี่ยม 7ครัวเรือนซึ่งมีจำนวนแปลงผัก จำนวน 10 แปลงดังนี้
    • ครัวเรือนนางจารึกสิงโหพล เลขที่12/1 ม.5
    • ครัวเรือน นางปรางวิมลทรง เลขที่16/1 ม.5 จำนวน 2แปลง
    • ครัวเรือนนางเอื้อมศรีวิเชียร เลขที่85/1 ม.5
    • ครัวเรือน นางทบสิงโหพล เลขที่163 ม.5
    • ครัวเรือนนางวรรณา มาศเมฆ เลขที่ 180 ม.5 จำนวน 2แปลง
    • ครัวเรือนนางเคลื่อนกายภูมิ เลขที่65 ม.5
    • ครัวเรือนนายอรุณ อ่อนน้อมเลขที่3/1 ม.5 จำนวน 2แปลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดความรัก ความสามัคคีในกลุ่มครัวเรือน
    2. เกิดกลุ่มปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างและครัวเรือนต้นแบบจำนวน 7 ครัวเรือน
    3. กลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเกษตรกรในชุมชน มีการตื่นตัว และตอบรับกิจกรรมโครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างเป็นอย่างดี ทำให้สะดวกในการขับเคลื่อนและต่อยอดกิจกรรมต่อๆไป

     

    35 35

    24. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนครั้งที่4

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-12.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายณรงค์อุราโรจน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 กล่าวต้อนรับสมาชิก และแจ้งวาระการประชุมแก่สภาผู้นำ
    2. นายอภิวัฒน์ ไชยเดช พี่เลี้ยงจังหวัดนครศรี ร่วมพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการทำงานเพื่อให้เกิดสภาผู้นำที่เข้มแข็งในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชน อาทิ
      สภาองค์กรชุมชน หมายถึง เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยคนในชุมชนท้องถิ่น และเพื่อคนในชุมชนท้องถิ่น เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าวประกอบด้วย ตัวแทนของสถาบันในชุมชนท้องถิ่น เช่น วัด โรงเรียน สถานีอนามัย เป็นต้น ตัวแทนของกลุ่มองค์กรชุมชนต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มโรงสีรวม กลุ่มอนุรักษ์ป่า และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาอื่นๆ ที่มีอยู่ในแต่ละชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ เช่น ผู้รู้ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำทางการได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในชุมชนท้องถิ่น เข้ามาร่วมใช้เวทีพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน เป็นระบบการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่อดีตแล้ว และบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของสภาองค์กรชุมชนคืออะไร? คือการเปิดพื้นที่ให้คนในชุมชนเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นสนับสนุน คัดค้าน กฎหมาย นโยบายที่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนท้องถิ่นโดยผ่านเวทีสมัชชาองค์กรชุมชน ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชน จะทำหน้าที่กลั่นกรอง ติดตาม ตรวจสอบกฎหมาย นโยบาย ของหน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนาอยู่ในชุมชนท้องถิ่น และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยใช้ความรู้ภูมิปัญญาบวกกับความรู้ภายนอก ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมพัฒนาในพื้นที่
    3. มีการชมวีดีทัศน์ ตัวอย่างรูปแบบสภาชุมชน ของบ้านสำโรงอำเภอเมือง จ.สุรินทร์เมือง โดยมีกลยุทธ์ ในการขับเคลื่อนสภา 8 ก คือแกนนำ กัลยาณมิตร กองทุน การจัดการ การเรียนรู้ การสื่อสาร กระบวนการพัฒนา และกฏกติกา
    4. ซักถามและร่วมอภิปรายความเป็นไปได้และความเข้มแข็งของสภาชุมชนหมู่ที่ 5 ตำบลช้างซ้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะที่มีความรู้ และความเข้าใจในเรื่ององค์กรสภาชุมชน เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนต่อไป

     

    20 20

    25. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 6

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายวิรัตน์ดำเนินผลผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ทำผ่านมาและงบประมาณ ที่ได้รับ รวมทั้งรายจ่ายของงบประมาณงวดที่1
    2. พี่เลี้ยง นางมติกามาลารัตน์ ชวนพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการที่ทำผ่านมา ปัญหา อุปสรรค และสิ่งที่ทำได้ดีแล้ว
    3. พี่เลี้ยง และ ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมตอบข้อซักถามและวางแผนงานร่วมกันในการทำกิจกรรมตามปฏิทิน งวดที่ 2 คือกิจกรรมทำแปลงสาธิต และถนนสีเขียว 2 สาย โดยนัดทำกันในวันที่11- 12 สิงหาคม 2559 นี้ พร้อมกันทุกซอย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการโครงการจำนวน 18 คน และตัวแทนโซน4 คน รับทราบกิจกรรมโครงการที่ทำไปแล้วปัญหาอุปสรรคโครงการ และการวางแผนการทำงานต่อในกิจกรรมต่อไป เพื่อการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง
    2. คณะกรรมการมีความพร้อมและมีความสุขในการทำโครงการนี้
    3. คณะกรรมการรับรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองสามารถบริหารจัดการโครงการต่อไปได้

     

    20 22

    26. ถอดบทเรียนโครงการ

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายวิรัตน์ดำเนินผลผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ทำผ่านมาและงบประมาณ ที่ได้รับ รวมทั้งรายจ่ายของงบประมาณงวดที่1
    2. พี่เลี้ยง นางมติกา มาลารัตน์ ชวนพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการที่ทำผ่านมา และร่วมถอดบทเรียนกับตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการ ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบบุคคลที่สนใจ สภาผู้นำ และภาคีเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องสนับสนุนโครงการ
    3. พี่เลี้ยง และ ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมตอบข้อซักถามและวางแผนงานร่วมกันในการทำกิจกรรมตามปฏิทิน งวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จาการถอดบทเรียนพบว่า

    1. คนในชุมชน มีการแบ่งปันกันด้าน ความรู้ (ในเรื่องการดูแลสุขภาาพ การปลูกผักแบบปลอดสารเคมี) ด้านสิ่งของ ( มีการแบ่งพันธุ์พืชผักการแบ่งผัก การแบ่งพื้นที่ทำแปลงผัก ) ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีในครัวเรือนใกล้เคียงและชุมชน
    2. คนในชุมชนหันมาดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครัวเรือนมากขึ้น โดยสังเกตจากคนในชุมชนจะนิยมซื้อผักที่ปลูกปลอดสารที่ปลูกภายในชุมชนเอง ผักบ้านขายดี และผักที่แม่ค้ารับซื้อมาจากตลาดหัวอิฐขายยากขึ้น
    3. หลังจากทำกิจกรรมโครงการ และมีการรณรงค์เรื่องการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี ทำให้เกิดพฤติกรรมการขอผักจากเพื่อนบ้านเพื่อนำไปกินในแต่ละมื้อ เป็นขอแบ่งผักเพื่อเป็นต้นพันธุ์ เพื่อเอาไปปลูกต่อในครัวเรือนตนเอง
    4. ครัวเรือนที่เข้าร่วมรับทราบ ผลการจัดกิจกรรม ร่วมชื่นชมความสำเร็จ และคณะกรรมการโครงการมีความสุขในการร่วมทำกิจกรรมโครงการ
    5. ได้ผลลัพธ์การดำเนินงานตลอดโครงการระดับดี

     

    40 35

    27. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 3

    วันที่ 5 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 10 คนร่วมพูดคุยและสร้างแบบการประเมินและวิธีการให้คะแนนครัวเรือนที่ลงเยี่ยม
    2. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 10 คน ลงตรวจเยี่ยมโดยไม่มีแบ่งโซนการตรวจเยี่ยม เพราะหมู่บ้านมีขาดพื้นที่ไม่กว้าง มีพาหนะคือรถมอเตอร์ไซด์ใช้ในการทำงานเกือบทุกคน และ.คณะกรรมการโครงการ ทุกคนต้องการพบปะกลุ่มเป้าหมายพร้อมๆกันเพื่อดูความก้าวหน้าของกิจกรรมและสามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาต่างๆที่พบในครัวเรือน 3.ในการตรวจเยี่ยมได้ลงตรวจเยี่ยม 8ครัวเรือนซึ่งมีจำนวนแปลงผัก จำนวน 8 แปลงดังนี้
    • ครัวเรือนนายประเสริฐทำจุล เลขที่12/3 ม.5จำนวน 1 แปลง
    • ครัวเรือน นางสมบูรณ์ ปุณนุวงค์ เลขที่86/1 ม.5 จำนวน 1 แปลง
    • ครัวเรือนนางบุญมีสิงโหพล เลขที่25/4 ม.5 จำนวน 1 แปลง
    • ครัวเรือน นางสาวิตรีหอยสังข์เลขที่19/6 ม.5จำนวน 1 แปลง
    • ครัวเรือนนางกัลยามิตรรัต เลขที่ 25/1ม.5 จำนวน 1 แปลง
    • ครัวเรือนนางคลี่ ชรอยนุชเลขที่ 16 ม.5จำนวน 1 แปลง
    • ครัวเรือนนางสาย อินทรนิมิตร เลขที่ 86 ม.5 จำนวน 1 แปลง
    • นางอาภรณ์ สัจโภชเลขที่ 53/1 จำนวน 1แปลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดความรัก ความสามัคคีในกลุ่มครัวเรือน
    2. เกิดกลุ่มปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างและครัวเรือนต้นแบบจำนวน 8 ครัวเรือนโดยการปลูกผักสวนครัวมีชนิดผักตั้งแต่ 6-12 ชนิดขึ้นไปทุกครัวเรืน
    3. กลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเกษตรกรในชุมชน มีการตื่นตัว และตอบรับกิจกรรมโครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างเป็นอย่างดี ทำให้สะดวกในการขับเคลื่อนและต่อยอดกิจกรรมต่อๆไป

     

    35 35

    28. คืนข้อมูลชุมชนจาการสำรวจครัวเรือนและตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 2

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายณรงค์ อุราโรจน์ ชี้แจงกิจกรรมโครงการที่จะทำในวันนี้ คือการให้ความรู้เรื่องการป้องกันตัวเองจากการบริโภค ผัก ผลไม้และอาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี และมีสารเคมีตกค้างการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารตกค้าง
    2. นางประภาพรรณสุขบำเพิง พยาบาลวิชาชีพรพ.สต. บ้านพระพรหม อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตัวเองจากการบริโภค ผัก ผลไม้และอาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี และมีสารเคมีตกค้างการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารตกค้างและจากการตรวจผักในตลาด ผักที่มีการปนเปื้อนมากที่สุด คือ “กะเพรา” มีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานถึง 62.5% “ถั่วฝักยาว-คะน้า” เกินมาตรฐาน 37.5% “ผักบุ้งจีน-กวางตุ้ง-มะเขือเปราะ” เกินมาตรฐาน 25% ส่วนผักที่มีสารเคมีตกค้างน้อย คือ “แตงกวา-พริกแดง” ขณะที่ “ผักกาดขาว-กะหล่ำปลี” ไม่พบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานเลย โดยชนิดของสารเคมีที่พบตกค้างมากที่สุดคือยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “ไซเปอร์เมทริน” และวิธีการล้างผัก การล้างผักช่วยลดสารพิษมีวิธีปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้

    - ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต(ผงฟู) 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง(20 ลิตร)แช่นาน 15 นาทีแล้วนำไปล้างน้ำอีกหลาย ๆ ครั้งจะสามารถลดสารพิษได้ 90 – 95 % - ใช้น้ำส้มสายชู (5%) 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 1 กะละมังแช่นาน 10 – 15 นาที จะสามารถลดสารพิษได้ 60 – 84 % - ล้างผักโดยให้น้ำไหลผ่านใช้มือช่วยคลี่ใบผักนาน 2 นาที จะสามารถลดสารพิษได้ 54 – 63 % - ลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผักออกทิ้ง เด็ดผักเป็นใบ ๆ แล้วแช่น้ำสะอาดนาน 10 – 15 นาที จะสามารถลดสารพิษได้ 27 – 72 % - ต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อนจะสามารถลดสารพิษได้ 48 – 50 % - ใช้ด่างทับทิม 20 – 30 เกล็ดผสมน้ำ 1 กะละมัง แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งจะสามารถลดสารพิษได้ 35 – 43 % - ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 1 กะละมังแช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งจะสามารถลดสารพิษได้ 29 – 38 %

    3.การตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดแก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน โดยนางมติกามาลารัตน์พยาบาลวิชาชีพรพ.สต. บ้านท่าช้าง อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดการเรียนรู้ และตื่นตัวเรื่องพิษภัยจากสารเคมี
    2. สมาชิกกลุ่มปลูกผักสวนครัวและเกษตรกรอื่นๆในชุมชน รับทราบปริมาณสารตกค้างในเลือดของตนหลังจากมีการปรับเปลียนพฤคิกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ
    3. ชุมชนและกลุ่มเป้าหมายการเฝ้าระวังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ถูกต้อง
    4. ผลการตรวจปริมาณสารตกค้างในเลือดครั้งที่ 2 (กลุ่มเดิม ที่เจาะครั้งแรก ) มีดังนี้ (60คน) กลุ่มปกติจำนวน 12 คน (ร้อยละ 20) กลุ่มปลอดภัยจำนวน 30คน (ร้อยละ 50) กลุ่มเสื่ยงจำนวน 11 คน (ร้อยละ18.3) กลุ่มไม่ปลอดภัยจำนวน 7คน(ร้อยละ 11.7) ซึ่งจากผลการเจาะสารเคมมีตกค้างครั้งที่ 2 ผลการตรวจวิเคราะห์ได้ว่าพบคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัยมีจำนวนลดลง

     

    100 60

    29. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 4

    วันที่ 10 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายวิรัตน์ ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงแก่คณะกรรมการโครงการจำนวน15 คน ในรายละเอียด/วัตถุประสงค์ของการตรวจเยี่ยมครัวเรือน และแปลงสาธิตือ1.เพื่อกระตุ้นรัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน ให้มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี
    2. คณะกรรมการโครงการจำนวน15 คน ลงพื้นที่ ม. 5 ต.ช้างซ้ายเพื่อรับทราบปัญหาชุมชน และให้คำแนะนำที่สามารถทำได้ส่วนปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขเองได้ให้นำมาเข้าที่ประชุมสภาครั้งต่อไป 3. เพื่อคัดเลือกครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายต้นแบบที่มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี
    3. นำผลการตรวจเยี่ยม มาประเมิน และรวบรวม ที่บ้านนายณรงค์ อุราโรจน์ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเกิดการวางแผนการทำงานงาน การขับเคลื่อนกิจกรรมการประเมินกิจกรรมตามโครงการ
    2. ความสามัคคีในกลุ่มคณะกรรมการโครงการและครัวเรือนครัวเรือน
    3. เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ดี มีมาตรฐาน บ้านท่าช้าง และครัวเรือนต้นแบบด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ ฟื้นเศรษฐกิจบ้านท่าช้าง จำนวน 20 ครัวเรือน
    4. มีกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 10 ครัวเรือนขึ้นไป

     

    35 35

    30. ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวในครัวเรือน ทำแปลงสาธิต 5 แปลงและทำถนนสีเขียว 2 ซอยในหมู่บ้าน

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้ใหญ่บ้านนายณรงค์ อุราโรจน์ และ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายสนิทจันทร์พร้อย ใช้รถประชาสัมพันธ์รณงค์ให้ กลุ่มครัวเรือนเป้าหมายและคนในชุมชน ออกมาร่วมทำกิจกรรมพัฒนา และปลูกผักในซอย3 ซอย และในแปลงตัวอย่าง ในตอนเย็นวันที่ 11 ส.ค 59 และเช้าวันที่ 12 ส.ค 59
    2. มีการแบ่งโซน และแบ่งซอยรับผิดชอบในการทำกิจกรรม โดยแบ่งเป็น 3 ซอย โดยซอยที่1 มีนางอุบล อากาศโชติ เป็นหัวหน้าทีมซอยที่ 2 นายจรูญสิงโหพล และซอยที่ 3 นาง ชิตทุมรัตน์ เป็นผู้รับผิดชอบ
    3. ทุกคน ทุกซอย ร่วมกันพัฒนา และปลูกผักสองฝั่งถนนในซอยพร้อมกันเวลา 9.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดความรัก ความสามัคคี ของคนในชุมชน
    2. มีการแบ่งงานและการรับผิดชอบงานส่วนรวม
    3. เกิดการพัฒนาซอย และปลูกผักสองฝั่งถนนในซอย 3 ซอยในชุมชน

     

    75 75

    31. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่7

    วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการนำโดย นายวิรัตน์ ดำเนิผล ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมการสรุปผลการตรวจเยี่ยมตรวจเรือนปลูกผัก ผักในปล่องบ่อและแปลงตัวอย่าง ครั้งที่ 1-3 ซึ่งมีการตรวจเยี่ยมจำนวน 22 ครัวเรือน
    2. สรุปการทำกิจกรรมทำแปลงสาธิต และถนนสีเขียว เมื่อ 12 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับปัญหาการทำงาน งบประมาณ และผลของการทำกิจกรรม ซึ่งสรุปว่าได้รับความร่วมมือจากครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย และสมาชิกในชุมชนเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จาก มีการช่วยประชาสัมพันธ์โครงการด้วยรถประชาสัมพันธ์ และมีการเลี้ยงกาแฟ ชาเย็นจากชุมชน
    3. นายอภิวัฒน์ไชยเดช ร่วมเป็นวิทยากรพูดคุย และให้ความรู้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ รูปแบบ/กระบวน/ การบริหารการทำงานของคณะกรรมการในของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการโครงการหมู่ที่ 5 ต.ช้างซ้ายสามารถบริหารจัดการโครงการ
    2. เกิดการทำงานร่วมกันของกลุ่มคนที่มีจิตสาธารณะ
    3. ร่วมวางแผนการทำกิจกรรมในครังต่อไปคือการการตรวจเยี่ยมตรวจเรือนปลูกผัก ผักในปล่องบ่อและแปลงตัวอย่างครั้งที่ 4

     

    20 22

    32. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 5

    วันที่ 22 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรการโครงการ 15 คน ทำความเข้าใจและรับแบบอร์มการประเมินครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย
    2. มีการแบ่งโซนการออกเยี่ยมและประเมิน เป็น -โซน ๆละ 3-4 ครัวเรือน
    3. เมื่อเสร็จสิ้นการเยี่ยมและประเมิน มีการนัดพบกันที่ทำการผู้ใหญ่บ้านเพื่อสรุปผลการเยี่ยม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ดี มีมาตรฐาน บ้านท่าช้าง และครัวเรือนต้นแบบด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ ฟื้นเศรษฐกิจบ้านท่าช้าง จำนวน 20 ครัวเรือน ที่ปลูกผักปลอดสารเคมีมากกว่า5 ชนิดขึ้นไป
    • ครัวเรือนมีการตื่นตัวและมีการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นโดยการบริโภคผักปลอดสารพิษที่ปลูกกินเอง หรือซื้อจากครัวเรือนใกล้เคียงในชุมชนที่ผลตผักปลอดสารเคมี

     

    35 35

    33. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 8

    วันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายวิรัตน์ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณคณะกรรมการโครงการทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมด้วยดีเสมอมา พร้อมชี้แจงงบประมาณของโครงการที่จ่ายไป และยอดคงเหลือ
    2. คณะกรรมการโครงการร่วมสรุปกิจกรรมที่ทำมาว่าได้รับความร่วมมือจากครัวเรือนกลู่มเป้าหมายเป็นอย่างดี
    3. นางเรณูสุวรรณกำเนิด(ผอ.รพ.สต.บ้านท่าช้าง ) ร่วมให้ความรู้เรื่องการทำโครงการ การขับเคลื่นโครงการและ งานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน เช่น อาหารที่ปลอดภัย การเลือกใช้เครื่องสำอางที่ผ่าน อย. การใช้ยา เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการสามารถบริหารจัดการโครงการได้ และขับเคลื่อนกิจกรรมได้ตามระยะเวลาทีกำหนดในปฏิทินโครงการโดยได้รับความร่วมมือจากครัวเรือนกลู่มเป้าหมายเป็นอย่างดี
    2. คณะกรรมการโครงการร่วมวางแผนกิจกรรมต่อไปคือการกิจกรรมนำเสนอผลงานโครงการและมอบรางวัลครัวเรือน และแปลงสาธิตดีเด่นในชุมชน

     

    20 20

    34. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน ครั้ง5

    วันที่ 27 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายณรงค์ อุราโรจน์ผู้ใหญ่บ้านแจ้งเรื่องที่รับมาจากอำเภอพระพรหม คือ การสำรวจครัวเรือนรายได้ต่ำมีการกำหนดวันประชุม แบ่งงาน และนัดวันจดทะเบียนครัวเรือนรายได้ต่ำ
    2. นางสายพิณ สิงโหพล นำเสนอครัวเรือนรายได้ต่ำที่ได้จากการสำรวจครัวเรือนในโครงการ ปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน ม. 5 ต. ช้างซ้าย
    3. มีแจ้งการปิดงบงวด ที่2 ของโครงการ และการมอบหมายงาน แก่คณะกรรมการ ในเรื่องการปิดงบประมาณโครงการ งวดที่ 2
    4. มีการวางแผนการทำงานตามกิจกรรมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามปฏิทินโครงการและทันปิดงบงวดที่3 พร้อมระบุปัญหาตางๆ เช่น คณะกรรมการ มีงานหลายงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กิจกรรมในชุมชน มีมาก ต้องทยอยทำกิจกรรมไปเรื่อยๆ
    5. ร่วมแก้ปัญหาอื่นๆในชุมชน เช่น การวางท่อประปาในหมู่บ้านการแก้ปัญหาไฟฟ้าในหมู่บ้านบางสายดับบ่อยมาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะ
    2. เกิดแนวทาง /กติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมี คือ

    2.1 ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักเพื่อบริโภค และจำหน่ายในชุมชน

    2.2 ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายถ่ายทอดความรู้ และขยายผลการไม่ใข้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวสู่ครัวเรือนใกล้เคียงหรือญาติ อย่างน้อย 1ครัวเรือน

     

    20 20

    35. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการ 9

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 13.00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายวิรัตน์ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจง เกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการที่ล้าช้า และกิจกรรมที่ต้องขับเคลื่อนต่อคือ กิจกรรม การตรวจแปลงผักของกลุ่มสมาชิก กิจกรรมการประชาสัมสัม และทำความเข้าใจกับชุมชน และกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการดูแลผักที่ปลูก 2 ข้างถนน ใน 2 ซอยและกิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการสามารถบริหารจัดการโครงการ และขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง
    2. นายวิรัตน์ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการ นัดหมายการทำกิจกรรมการตรวจแปลงผักของกลุ่มสมาชิก เป็นวันที่1 กันยายน 2559 โดยแบ่งโวนการตรวจเยี่ยมเป็น 2 โซนบ้านตามแนวถนนซอย พ้อมการนัดหมายที่ ที่การผู้ใหญ่บ้านเวลา 09.00 น
    3. นายณรงค์อุราโรจน์ชี้แจง โครงการวิทยุชุมชน ซึ่งจะจัดตั้งที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ในต้นเดือนกันยายนโดยใช้ชื่อ ว่าคลื่นสะตอ และทุกคนสามารถฝากข่าวประชาสัมพันได้ โดยไม่คิดมูลค่า

     

    20 20

    36. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนครั้งที่6

    วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-12.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการในโครงการจำนาน 10 คน นำโดยนายวิรัตน์ ดำเนินผล ชี้แจงกิจกรรมโครงการผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างได้ทำไปต่อ ผู้นำ ประธานกลุ่มอื่นๆในหมู่บ้าน และหัวหน้าทีมแต่ละทีมในโครงการและกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชอื่นๆจำนวน 10 คน โดยกล่าวถีงความสำเร็จของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย และชุมชนให้การตอบรับ สนับสนุน และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยขณะนี้ โครงการหมู่ 5 บ้านท่าช้างได้เป็นต้นแบบของหมู่บ้านใกล้เคียงคือ ม.ที่ 3 และหมู่ที่ 9ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ. นครศรีธรรมราช

    2. ร่วมกันทบทวน วางแผน และหาแหล่งสนับสนุนให้การทำงานในโครงการ โดยการเขียนโครงการเสนอต่อ อบต. ช้างซ้าย และงบประชารัฐ จำนวน 500,000บาท เพื่อสร้างโรงน้ำดื่มที่สะอาดในชุมชน

    3. เป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะที่มีความเข้มแข็ง
    2. เกิดแนวทาง /กติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมี
    3. เกิดการรวมตัวของผู้นำในชุมชน เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาต่อยอดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสุขภาวะของคนในชุมชน

     

    20 20

    37. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 6

    วันที่ 1 กันยายน 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 10 คน ประชุมก่อนลงตรวจเยี่ยมครัวเรือน และแปลงสาธิต
    2. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 10 คนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย 20 คน ผู้สูงอายุ 5 คนลงตรวจเยี่ยมครัวเรือน และแปลงสาธิต จำนวน 7 แปลง ได้แก่
    • แปลงนายธีรนนท์ สิงโหพล เลขที่ 39/3 ม5 ป,ุกถั่วผักยาว และเพาะเห้ด และมีผักสวนครัวรอบๆบ้าน
    • แปลงนางเจือ สัจจโภขน์ เลขที่ 85 ม.5 ปลูกผักสวนครัว มะเขือ พริก ถั่วพลู ตะไคร้ ขมิ้น และเลี้ยงเป็ด ใช้ปุํยจากขี้เป็ดใส่แปลงผัก
    • แปลงนายอรุณอ่อนน้อม เลขที่3/1 ม.5 แปลงนี้ปลูกผักมากกว่า 10 ชนิด ไว้กินในครัวเรือนได้ตลอดปี ที่เหลือแบ่งปันดพื่อนบ้าน ไม่ขาย
    • แปลงนางปริง มาศเมฆ เลขที่ 22 ม.5 แปลงนี้ปลูกผักสวนครัวหลายชนิด แต่เน้นไปทางผักที่สามารถทำข้าวยำได้ อาทิขมิ้น ขิง มะนาวบัวบก ข่า พริกขี้หนู และพริกไทย
    • แปลงนายสุเทพ พุดสง เลขที่ 39/2แปลงนี้ปลูกแก้วมังกร ที่พื้นที่ว่างบริเวณบ้าน เน้นการปลูกปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือนและแบ่งปันญาติบ้านใกล้เคียง
    • แปลงนายคล้อยชรอยนุช เลขที่16 ม.5 แปลงนี้ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคตลอดปี เน้นปลูกผักที่กิน และกินผักที่ปลูก อาทิ มะเขือยาว มะเขือเปาะแตงกวาพริก ขมิ้น บัวบก ถัวพลู ข่า ตะไคร้ ขิง โหระพา มะกรูด มะนาวมะละกอ เป็นต้น
    • แปลงนางทบ สิงโหพล เลขที่ 163 ม.5 ปลูกผักสวนครัวหลายชนิด และที่เหลือแบ่งขายที่ตลาดนัดในหมู่บ้านในวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี ไมีรายได้ครั้งละ 300-400 บาท/ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการโครงการ และครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งกลุ่มภาคีเครือข่ายมีการทำงานเป็นระบบเพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และแผนงานที่วางไว้เกิดการรวมตัวที่มีความเข้มแข็งในชุมชนบ้านท่าช้าง
    2. ครัวเรือนเกิดมีความตระหนัก และมีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน มีความรักความสามัคคีกันในการแบ่งปันพันธู์ผัก น้ำหมัก ปุ๋ยคอกและมีรายได้เสริมจากการปลูกผักด้วย
    3. เกิดครัวเรือนต้นแบบ 7 ครัวเรือน ในชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ ผักสวนครัวปลอดสารเคมีวิถีบ้านท่าช้างต่อไป
    4. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 10 คนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย 20 คน ร่วมสรุปผลการเยี่ยมซึ่งสรุปได้ว่าครัวเรือนมีความตระหนัก และมีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน มีความรักความสามาัคคีกันในการแบ่งปันพันธ์ผัก น้ำหมัก ปุ๋ยคอกและมีรายได้เสริมจากการปลูกผักด้วย

     

    35 35

    38. ประชุมตรวจสอบเอกสารการเงินร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เพื่อสรุปรายงานงานทางแวปไซด์และรายงานเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณการเงินโครงการ

    2.เพื่อให้. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการสรุปรายงานงานทางแวปไซด์และรายงานเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณการเงินโครงการงวดที่2ตามกิจกรรมที่ได้ทำ

    2.จนท.สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารพร้อมให้คำแนะนำแก้ไกจุดบกพร่องของรายงาน

     

    2 2

    39. ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 14 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำวน 2 ป้าย เพื่อรณรงค์การงดสูบบุหรี่ ติดไว้ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน1 ป้าย และ ที่ รพ.สต.บ้านท่าช้าง 1 ป้าย
    2. ถ่ายภาพกิจกรรมตลอด โครงการจำวน 50 กิจกรรม
    3. จัดทำรายงานเอกสารด้านการเงิน เอกสารการทำกิจกรรม และการลงบันทึกในเวปไซด์ สจรส
    4. จัดทำรายงานรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เพื่อส่ง สสส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำวน 2 ป้าย เพื่อรณรงค์การงดสูบบุหรี่ ติดไว้ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน1 ป้าย และ ที่ รพ.สต.บ้านท่าช้าง 1 ป้าย
    2. จัดเก็บ ถ่ายภาพกิจกรรมตลอด โครงการจำวน50 กิจกรรม
    3. จัดทำรายงานเอกสารด้านการเงิน เอกสารการทำกิจกรรม และการลงบันทึกในเวปไซด์ สจรส
    4. จัดทำรายงานรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เพื่อส่ง สสส จำนวน 1 เล่ม

     

    2 2

    40. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน ครั้ง7

    วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00-12.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการโครงการ นำโดยนายวิรัตน์ดำเนินผล รายงานกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา คือ การประชุม คณะกรรมการการลงแรง แปลงผัก การสร้างถนนสีเขียว2 สายในหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม2559 ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมายโครงการ และเกษตรกรในชุมชน
    2. นายณรงค์อุราโรจน์ พูดเน้นเรื่องการเลิกใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร และการปลูกผักในครัวเรือนในชุมชนหมู่ที่5 บ้านท่าช้างและให้ตั้งเป็นกติกาชุมชนและจะประกาศให้รับรู้โดยทั่กันโดยประกาศในที่ประชุมประจำเดือนหมู่บ้านและการติดประกาศไว้ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดสภาผู้นำที่เข้มแข็ง 1 คณะ
    2. มีการประชุมสภาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    3. เกิดกติกาชุมขนเรื่อง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการปลูกผัก ม. 5 ต.ช้างซ้าย

     

    20 22

    41. ประเพณีลอยกระทงปลอดสารพิษ มอบรางวัล ครัวเรือน และโซนแปลงสาธิตครั้งที่ 2 ปลอดสารเคมี

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดกิจกรรมในวัดไสเลียบ โดยให้นำปิ่นโตไปถวายเพลพระ และโครงการมีอาหารกลางวันเลี้ยงด้วย มีการฟังธรรมะจากเจ้าอาวาสวัดไสเลียบ
    2. นายณรงค์อุราโรจน์ ผู้ใหญ่บ้าน รายงานความสำเร็จและกิจกรรมขอโครงการแก่ที่ประชุม เพื่อรับทราบ และรับฟังปัญหาต่างๆจากสมาชิกกลุ่มและภาคีเครือข่าย อาทิ ปัญหาการทำกิจกรรมไม่ค่อยต่อเนื่องขาดคนประสานโครงการในบางกิจกรรมซึ่งทางคณะกรรมการโครงการร่วมรับฟังและนำมาแก้ไขปรับปรุง
    3. พิธีมอบรางวัลแก่ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดเลือกเป็นครัวเรือนต้นแบบ 15 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชุมชนได้ทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน และร่วมรับทราบ ความสำเร็จของการดำเนินงาน เป็นระยะ 2
    2. เกิดครัวเรือนต้นแบบในชุมชน 15 ครัวเรือนด้านการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี

     

    100 100

    42. ครั้งที่ 3 กิจกรรมมอบรางวัล ครัวเรือน และโซนแปลงสาธิตปลอดสารเคมีผ่านการปลูกผัก ครั้งที่ 3

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ลดการใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัว ที่ อาคารเอนกประสงค์ รพสต. บ้านท่าช้าง โดย นายอโนทัย อุตมะพงค์ ให้ความรู้เรื่อง สารเคมีตกค้างการคุ้มครองผู้บริโภค อาหารปลอดภัยคือ
    • ควรปลูกผักกินเอง และเลือกซื้ออาหารสดที่ปลอดภัย เช่น แทนที่เราจะปลูกดอกกุหลาบ เราก็เปลี่ยนเป็นปลูกคะน้า ผักบุ้ง กะเพรา โหระพา หรืออื่นๆ สวยด้วย กินได้ด้วย ถ้าใครมีบริเวณบ้านที่กว้างพอสมควร เปลี่ยนจากไม้ประดับเป็นไม้กินได้ เลือกซื้ออาหารสดที่ปลอดภัย เช่น หมูก็เลือกซีดๆ มิใช่เลือกแดงๆ ปลาก็เลือกปลาที่สดๆ ท่านว่าเขาจะเอาปลาจะละเม็ดขาวที่จับจากมหาสมุทรอินเดียแล้วมาถึงมือท่านในครัวต้องใช้เวลาเท่าใด ทำไมไม่เน่า คงไม่ต้องบอก แต่ถ้าเราเลือกเป็นปลาทูบ้านตัวเล็กๆ เป็นปลาทูที่จับตามชายฝั่งจับกลางคืน เช้าก็มาตลาด น่าจะปลอดภัยมากกว่ากัน
    • ไม่สามารถผลิตวัตถุดิบเองได้ ต้องซื้อประการเดียว ตลาดสดน่าซื้อ จะเป็นคำตอบที่ดี เลือกซื้อในสถานที่ที่มีมาตรฐาน ขณะนี้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันทำให้ตลาดเป็นสถานที่ปลอดภัยในการบริโภค แต่ต้องตอบว่ายาก และต้องใช้เวลาบ้าง เพื่อปรับสภาพเดิมๆ งดหรือควรเลี่ยงอย่างมากๆ ตลาดข้างทาง โดยเฉพาะของสดตามถนน ท่านลองคิดดูว่าฝุ่น ควันพิษ สารตะกั่ว เชื้อโรค แมลงวัน เป็นต้น ตำรวจอยู่บนถนนยังต้องใช้หน้ากากอนามัยปิดจมูก แต่เราไปซื้อผัก หมู ปลาข้างๆ ทาง
    • ไม่สามารถประกอบอาหารเองได้ ต้องเลือกร้านอาหารหรือสถานที่ขายอาหารที่ได้มาตรฐาน Clean Food Good Test อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ของกระทรวงสาธารณสุขน่าจะเป็นคำตอบ เรามีกติกามาตรฐานการออกประกาศ ถ้าไม่สะอาดเราไม่ให้ ได้แล้วทำไม่ดีเรายึดคืน ป้าย Clean Food Good Test น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย

    2.ผู้เข้ารร่วมประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม

    3.ช่วงบ่ายจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ที่สามารถทำไดเองที่บ้านและเหมาะกับวัยโดยคุณประภาพรรณสุขบำเพิงพยาบาลวิชาชีพขำนาญการ รพ.สต.บ้านพระพรหม อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

    4.นายวิรัตน์ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการ รายงานผลการทำกิจกรรมโครงการ และรายชื่อผู้ได้รับรางวัลการตรวจแปลงผักในชุมชนจำนวน 12 ครัวเรือนและได้มอบรางวัลแก่ตัวแทนครัวเรือนแล้วในวันที่ 17 ก.ย.59 ที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายแกนนำชุมชนและอสมได้รับความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่สามรถนำไปใช้ในการปรับพฤติกรรมการบริโภคของตนและครอบครัวได้
    2. ครัวเรือนร่วมรับทราบ ความสำเร็จของการดำเนินงาน เป็นระยะๆ จากคณะกรรมการโครงการ
    3. คณะกรรมการโครงการได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาปรับแก้ การทำงานต่อไป เช่น การประชาสัมพันธ์์โครงการยังมีน้อยความต่อเนื่องของการขับเคลื่อนกิจกรรมบางช่วงขาดหายไป

     

    100 100

    43. สรุปผลโครงการ

    วันที่ 2 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายวิรัตน์ดำเนินผลเปิดการประชุม และสรุปผลกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาว่ากิจกรรมโครงการได้ทำไปหมดแล้วทุกกิจกรรม ประสบปัญหาบ้าง ก็ช่วยกันเสนอแก้ไข และปรับปรุงจนกิจกรรมบรรลุผลสำเร็จและเสร็จทันปิดงวดโครงการ
    2. นางอุบล อากาศโชติ ผู้ช่วยเหรัญญิก ชี้แจ้งงบประมาณการเบิกจ่ายของโครงการจนถึงการปิดงบงวดที่3
    3. นางมติกามาลารัตน์ กล่าวขอบคุณคณะกรรมการโครงการทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อกิจกรรมของโครงการให้เกิดผลสำเร็จด้วยดี และขอความคิดเห็นในการต่อยอดโครงการในปี2560 ต่อไป
    4. คณะกรรมการโครงการจำนวน 15 คน ช่วยกันสรุป และจัดเตรียมเอกสารเพื่อพร้อมให้ สจรส ตรวจในวันที่15 ต.ค.59 นี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้เอกสารสรุปการดำเนินงานและสรุปโครงการฉบับสมบูรณ์
    2. คณะกรรมการโครงการมีความเห็นพ้องกันที่จะต่อยอดโครงการในปี 2560 ต่อ

     

    15 22

    44. ร่วมงานคนใต้สร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-17.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. วันที่ 3 ต.ค.59 เข้าร่วมพิธีเปิดงานสร้างสุขร่วมรับฟังแนวคิดจากนาย อภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และการเสวนาจากผู้นำต่างๆ ของ สสส. สปสช. สจรส
    2. วันที่ 4ต.ค.59 เข้าร่วมประชุมห้องย่อย ชุมชนน่าอยู่ รับฟังการทำงานของโครงการชุมชนน่าอยู่ต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ
    3. วันที่ 5ต.ค.59 เข้าร่วมประชุมฟังการเสนอแนะการทำงานของ สสส สปสชสจรส และภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาคใต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับความรู้ และประสบการณ์ เพื่อนำไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนชุมชนบ้านท่าช้างต่อไป

     

    2 2

    45. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ร่วมตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารโครงการพร้อมทั้งการลงบันทึกกิจกรรมใน เวปไวด์สรุปยอดการเงิน กับพี่เลี้ยงโครงการ
    2. ร่วมตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารโครงการพร้อมทั้งการลงบันทึกกิจกรรมใน เวปไวด์สรุปยอดการเงิน อีกครั้งกับ จนท. สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ชุดโครงการที่มีความถูกต้องสมบูรณ์ พร้อมปิดโครงการเพื่อส่ง สสส.

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวเลิกใช้สารเคมีและลดค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนผู้ปลูกผักสวนครัวเลิกใช้สารเคมีลงอย่างน้อย 50 ครัวเรือน 2. เกิดกลุ่มผักอินทรีย์ดี มีมาตรฐาน บ้านท่าช้าง1 กลุ่ม 3. เกิดแปลงสาธิตในชุมชนบ้านท่าช้าง ของ กลุ่มผักอินทรีย์ดี มีมาตรฐาน บ้าน ท่าช้างจำนวน 5 แปลง 4. ครัวเรือนมีรายได้เสริมอย่างน้อย 50 ครัวเรือน

    1.เกิดครัวเรือนผู้ปลูกผักสวนครัวเลิกใช้สารเคมี 50 ครัวเรือน 2.เกิดกลุ่มผักอินทรีย์ดี มีมาตรฐาน บ้านท่าช้าง1 กลุ่ม

    2 เพื่อใช้พื้นที่ว่างรอบๆบ้านและในชุมชนให้เป็นประโยขน์ และเกิดแปลงสาธิตผักสวนครัวปลอดสารเคมีในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดถนนสีเขียวกินได้2ซอยยาวซอยละ 800เมตร

     

    3 เพื่อให้เกิดสภาชุมชนที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะ และมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 2. เกิดแนวทาง /กติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการเกษตร

    1.เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะ และมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 2.เกิดแนวทาง /กติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการเกษตร

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้งที่จัด 2.มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรมและ รพ.สต.บ้านท่าช้าง ทั้งหมดจำนวน 2 ป้าย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวเลิกใช้สารเคมีและลดค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน (2) เพื่อใช้พื้นที่ว่างรอบๆบ้านและในชุมชนให้เป็นประโยขน์ และเกิดแปลงสาธิตผักสวนครัวปลอดสารเคมีในชุมชน (3) เพื่อให้เกิดสภาชุมชนที่เข้มแข็ง (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง

    รหัสโครงการ 58-03863 รหัสสัญญา 58-00-216 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การทำน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรรี่ และวิธีการล่อหอยเชอร์รี่โดยใช้ใบมะละกอ

    บันทึกการประชุมตามวาระและกิจกรรมโครงการ

    ขยายผลเพิ่มครัวเรือนในการทำน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรรี่ และวิธีการล่อหอยเชอร์รี่โดยใช้ใบมะละกอ เพราะในนาข้าวของเกษตกร มีหอยเชอรี่ซึ่งเป็นศัตรูของต้นข้าวมาก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    มีการทำงานในรูปแบบคณะกรรมการในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ มีการแบ่ง หน้าที่รับผิดชอบในแต่ละคนและมีการดึงปราชญ์ในชุมชนด้านต่างๆมาร่วมขับเคลื่อน

    รายงานการประชุม และบันทึกการประชุมประจำเดือน และตามปฏิทินโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดรูปแบบการทำงานแบบสภาผู้นำชุมชน 1 คณะที่มีความเข้มแข็งและมีการขับเคลื่อนงานได้อย่างต่่อเนื่อง

    รายชื่อสภาผู้นำชุมชน ม5 บ้านท่าช้าง ประกาศ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

    ใช้สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนหมู่ 5บ้านท่าช้างอย่างต่อเนื่องต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ครัวเรือนต้นแบบการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี จำนวน 15 ครัวเรือน

    รายชื่อครัวเรือนต้นแบบในทะเบียนโครงการ และ แปลงปลูกผักต้นแบบที่มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

    ขยายผลครัวเรือนต้นแบบการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมีจาก จำนวน 15 ครัวเรือน เป็น 30ครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคผัก โดยชุมชนมีการเลือกซื้อผักปลอดสารเคมีที่ปลูกเองในชุมชน และมีความมั่นใจว่าปลอดสารเคมีจริงๆ โดยเลือกซื้อผักจากแปลงเพื่อนบ้านหรืตลาดนัดในชุมชน ผักจากภายนอกชุมชนมีการซื้อน้อยลงมาก

    ร้านค้าในชุมชนขายผักได้น้อยลง 60%

    ต่อยอดโดยการให้ความรู้แก่ชุมชน และเพิ่มครัวเรือนปลูกผักปลอดสารเคมีในชุมชน ราวทั้งมีตลาดผักปลอดสารเคมี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการรณรงค์ให้ความรู้ และจัดเขตปลอดบุหรี่ 2 แห่ง คือ รพ.สต.บ้านท่าช้าง และที่ประชุมหมู่บ้าน

    มีการจัดเขตปลอดบุหรี่ 2 แห่ง คือ รพ.สต.บ้านท่าช้าง และที่ประชุมหมู่บ้าน

    ขยายพื้นที่เป็น 4 พื้นที่ คือเพิ่ม เขตวัด และ ศูนย์ เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    การใข้ภูมิปัญญาในการเก็บไม้ไผ่ให้สด คงภาพไม่ให้เป็นสีเหลือง ไม่ผุโดยการตัดไม้ไผ่ให้ติดตาไม้ แล้วขุดหลุมฝังกลบให้มิดสามารถเก็บคงสภาพไม้ไผ่ได้ 2-3 ปี

    บันทึกในวาระการประชุม และ ครัวเรือนในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ให้ความรู้ เรืองโทษ อันตราย และสารตกค้างจากการใช้สารเคมีในการปลูกพืช ผัก มีการรณรงค์ลดเลิกการใช้สารเคมีในชุมชน และเกิดกติกาชุมชน เรื่องการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี

     

    ต่อยอดเป็น ชุมชนปลอดสารเคมีในแปลงผัก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    สร้างอาชีพเสริมโดยการใช้องค์ความรู้ และวัสดุในชุมชน คือการทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ โดยมีการฝึกปฏิบัติ และพัฒนาลวดลายที่สวยงามขึ้น

    ครัวเรือนในชุมชนที่ยังมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 20 ครัวเรือน

    ตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่ในหมู่บ้าน 1กลุ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดกติกา ชุมชนด้านการ ลด เลิก การใช้สารเคมีในแปลงผัก และพืชเกษตรอื่่นๆ

    ประกาศ กติกา ชุมชนด้านการ ลด เลิก การใช้สารเคมีในแปลงผัก และพืชเกษตรอื่่นๆ ในที่ประชุมประจำเดือน และติดป้ายไวนิลไว้ในที่ประชุมหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เป็นต้นแบบแก่ชุมชนใกล้เคียงด้านการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    เกิดสภาผู้นำชุมชน 1 สภาที่มีศักยภาพด้านการเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการดึงปราชญ์ชุมชนมาขับเคลื่อนกิจกรรมเช่น ปราชญ์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปราชญ์ด้านการจักสาน

    1.บ้าน นายช่วง สิงโหพลปราชญ์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
    2.บ้านนางปริง มาศเมฆปราชญ์ด้านการจักสาน

    ให้ชุมชนใช้ทุนในชุมชนให้มากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีคณะกรรมการโครงการและสภาผู้นำชุมชน ขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    คณะกรรมการโครงการและสภาผู้นำชุมชน มีการจัดทำแผนชุมชน 5 ปี เพื่อ เสนอ อบต.ช้างซ้ายในการพัฒนาหมู่บ้าน

    แผนชุมชนหมู่ 5 บ้านท่าช้าง ที่เสนอต่อ อบต ช้างซ้ายปี 2560

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    -มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในชุมชน เกิดความรัก ความสามัคคีกัน


    -เกิดสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง และสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการและกิจกรรมในชุมชนได้สร้างความภาคภูมิใจ และแรงขับในการทำงานเพื่อชุมชนต่อไป

     

    เสริมแรงขับของสภาผู้นำชุมชนโโยการสนับสนุนจากภาคืเครือข่ายต่างๆทั้งภายใน และภายนอกชุมชน-

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ชุมชนมีการร่วมแรงพัฒนาซอย และปลูกผักสองฝั่งถนนซอย

    ถนนซอย สีเขียว 2ซอยในหมู่บ้าน คือซอยช้างซ้ายที่ 25 และ26

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    มีครัวเรือนปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี และใช้ชีวิตแบบพอเพียง เป็นครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 15 ครัวเรือน

    ครัวเรือนต้นแบบในชุมชน 15 ครัวเรือนที่สามารถตรวจเยี่ยม และศึกษาดูงานได้

    เพิ่มจำนวนมีครัวเรือนปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี และใช้ชีวิตแบบพอเพียง เป็นครัวเรือนต้นแบบเป็น จำนวน30 ครัวเรือน และสามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    1.ชุมชนมีความเอื้ออาทรต่อกันทั้งด้านความรู้ด้านสขภาพ 2.ชุมชนมีความเอื้ออาทรต่อกันด้านการแบ่งผักในครัวเรือน และเมล็ด ต้นกล้าผักต่างๆให้เพื่อนบ้าน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03863

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย วิรัตน์ ดำเนินผล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด