แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา ”

บ้านนาพา หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาง สุดา นาคฤทธิ์

ชื่อโครงการ ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

ที่อยู่ บ้านนาพา หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03935 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2184

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านนาพา หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา



บทคัดย่อ

โครงการ " ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านนาพา หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03935 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 167,795.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ชุมชนนำพืชพื้นบ้านสมุนไพรปลอดสารพิษ มาทำเป็นตำรับอาหารเป็นยา
  2. เพื่อให้เกิดสูตรตำรับอาหารเป็นยาเพื่อสุขภาพ
  3. เพื่อให้พัฒนาให้เกิดสภาผุ้นำที่เข้มแข็ง
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ เรียนรู้เกี่ยวกับแว็ปไซค์ ในการจัดทำโครงการ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เรียนรู้การใช้แว็ปไซค์ 2.การทำปฏิทินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ความรู้เกี่ยวกับการใช้แว็ปไซค์
    2. มีปฎิทินโครงการเกิดขึ้น

     

    2 2

    2. จัดทำป้ายโครงการ จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อรณรงค์ในชุมชน

    วันที่ 11 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำป้ายโครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
    2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำป้ายโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อรณรงค์ในชุมชน

     

    100 100

    3. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 1

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมประชุม พร้อมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน เกษตรตำบล ปราญช์ชาวบ้าน
    2. เจ้าหน้าที่จากเกษตรตำบล ให้ความคิด ให้ความรู้แก่คณะกรรมการโครงการเพื่อดำเนินการโครงการ
    3. คณะกรรมการโครงการพร้อมปราญช์ชาวบ้าน ได้ความรู้และร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมจำนวน15คน

    ผลลัพธ์

    1. นัดคณะกรรมการประชุม

    2. มีการมอบหมายหน้าที่ให้แก่คณะกรรมการเพื่อดำเนินโครงการ

    3. มีคำแนะนำดีๆ ให้แก่คณะกรรมในการเชิญชวนคนในชุมชนมาเข้าร่วมกิจกรรม ใช้วิธีประชาสัมพันธ์โดยการเดินแจกเอกสารพร้อมพูดทำความเข้าใจให้กับคนในชุมชนได้รับรู้

     

    15 15

    4. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ รับสมัครครัวเรือน เข้าร่วมโครงการ

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00 น. - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รับลงทะเบียนโครงการ
    2. ประชุมชี้แจ้งโครงการให้ทราบเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ
    3. เปิดรับสมัครครัวเรือนที่จะเข้าร่วมโครงการ
    4. เปิดรับอาสาสมัครทีมงานออกสำรวจ
    5. ร่วมกันวางแผนเพื่อดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกิจกรรมที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 100 คน
    2. มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ครัวเรือน
    3. มีทีมอาสาสมัครทีมงานเกิดขึ้น 40 คน

    ผลลัพธ์

    1. ได้รับการตอบรับจากคนในหมู่บ้านเป็นอย่างดี
    2. มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมโครงการตามเป้าที่กำหนดจำนวน 50 ครัวเรือน
    3. มีอาสาสมัครทีมงานที่จะพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น

     

    100 100

    5. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 2

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. น้ดคณะกรรมการโครงการมาประชุมชี้แจ้งและสรุปผลกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
    2. ประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรมต่อไปที่จะทำ
    3. จัดทำแบบสำรวจ เพื่อใช้ในกิจกรรมของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมประชุม 15 คน

    ผลลิต

    1. ได้รู้เกี่ยวกับการประเมินที่ผ่านมาว่ามีบุคคลที่สนใจในโครงการที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันแล้วยังมีบุคคลที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการกับเราอีกไหม

    2. นางสุดา นาคฤทธิ์ ได้มอบหมายให้ คณะกรรมการทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบกันในด้านต่างๆเพื่อดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปโดยให้นางธิดาวรรณ สืบ จัดทำแบบสำรวจพืชสมุนไพรในชุมชน ให้นางสมคิด โสดา รับผิดชอบเรื่องอาหา ส่วนคณะกรรมการที่เหลือค่อยช่วยเหลือ ในสิ่งที่ทำได้

    3. นางธิดาวรรณ สืบ จัดทำแบบสำรวจครัวเรือนมี 6 หัวข้อดังนี้

    1.จำนวนที่ดินทำกินของตนเอง

    2.จำนวนสมาชิกในครัวเรือน

    3.กิจกรรมการเกษตรที่ทำในครัวเรือน

    4.รายได้ รายจ่าย หนี้สิ้น ในครัวเรือน

    5.ในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเคมีในการทำเกษตรหรือไม

    6.ในครัวเรือนของท่านปลูกพืชผัก สมุนไพร มีชนิดใดบ้าง

     

    15 15

    6. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 - 15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    2. รับฟังการอบรมจากสจรส.ม.อ. เรื่องการเขียนรายงานกิจกรรมในแว็ปไซค์
    3. รับฟังการอบรมจากสจรส.ม.อ. เรื่องการจัดทำเอกสารการเงิน
    4. พักเที่ยงรับประทานอาหารก่อนขึ้นช่วงบ่าย
    5. เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. พร้อมด้วยพี่เลี้ยง ตรวจรายงานกิจกรรมต่างๆ และตรวจเอกสารการเงินในแต่ละกิจกรรม
    6. เสร็จภารกิจพบปะพูดคุยกับพี่เลี้ยงและกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีคณะกรรมการเข้าร่วมอบรมจำนวน 2 คน

    ผลลัพธ์

    1.คณะกรรมการได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนรายงานเพิ่มมากขึ้น

    2.คณะกรรมการได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนเอกสารการเงินเพิ่มมากขึ้น

    3.คณะกรรมการได้พบปะพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาในการดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้

     

    2 2

    7. สำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร ครั้งที่ 1

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
    2. เจ้าหน้าที่สาธาณะสุข เพื่อนคุยเกี่ยวกับพืชผักสมุนไพร เกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดต่าง จากเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข นางสาวศิรินธร ทองสุขพูดุยให้ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของพืชสมุนชนิดต่างๆ
    3. พักรับระทานอาหารว่าง
    4. ออกมาสรุปผลขอการออกสำรวจในชมชน มีทั้งเด็กๆและอสม.
    5. รับประทานอาหารว่าง แยกย้ายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อาจารย์โรงเรียน และคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน
    2. มีอสม.เข้าร่วม จำนวน 11 คน
    3. มีเด็กเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 30 คน
    4. ผู้สนใจ 9 คน

    ผลลัพธ์

    1. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุอสม. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสรรคุณทางยาของพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
    2. คนในชุมชุมได้ตระหนักและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรในชุมมากขึ้นและได้รู้จักสมุนไพรแปลกๆเพิ่ม
    3. เด็กในชุมชนรู้จักนำเอาวัถุดิบพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
    4. คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน มีความรักความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นในชุมชน
    5. เรียนรู้เกี่ยวกับการออกสำรวจพืชผักสมุนไพรในชุมชน โดยคณะะกรรมการโครงการ นางสุดา นาคฤทธิ์ ุ6. กลุ่มเด็กเยาวชน อสม. ผู้สูงอายุ ออกสำรวจพืชผักสมุนไพร ในชุมชน ในเขต1 วันนี้เป็นวันแรกของการออกสำรวจ เด็กๆและอสม.คนที่มีรถจักรยานยนต์ก็ชวนกันไปบ้างคนก็ขี่จักรยาน บ้างกลุ่มก็เดินออกสำรวจ เด็กๆชอบสนุกสนานกันมากได้ความรู้จากพี่ๆอสม.อีกด้วยไปสำรวจแต่วเรือนละครัวเรือนในเขตที่ 1 คนในชุมชนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เด็กๆและอสม.สนุกกับการสำรวจและได้ความรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมากเด็กๆยังบอกพี่ๆว่าผัก สมุนไพร บ้างชนิดเขาไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยแต่เคยเห็นวันนี้ก็สำรวจเขตที่ 1 จำนวน 50 ครัวเรือน

     

    50 59

    8. สำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร ครั้งที่ 2

    วันที่ 13 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

    2.นางสุดา นาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้พูดคุยชี้แจ้งเกี่ยวกับการสำรวจพืชผักสมุนไพรครั้งที่ผ่านมาว่าทุกคนเก่งมาก และรู้จักเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดต่างๆในชุมชนเรามาก และก็พบปะพูดคุยกันระหว่างเด็ก อสม. คณะกรรมการโครงการ เกี่ยวกับสมุนไพรในชุมชน

    4.พักรับประทานอาหารเที่ยง ที่ทำจากฝีมือคนในชุมชน

    5.แบ่งกลุ่มเด็กเยาวชน อสม. ผู้สูงอายุ ออกสำรวจพืชผักสมุนไพรในชุมชน ในเขตที่ 2 ซึ่งเขตที่ 2 จะอยู่ติดกับศาลาหมู่บ้าน

    6.รับประทานอาหารว่าง แยกย้ายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลิต

    1. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อาจารย์โรงเรียน และคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน
    2. มีอสม.เข้าร่วม จำนวน 11 คน
    3. มีเด็กเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 40 คน

    ผลลัพธ์

    1. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุอสม. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสรรคุณทางยาของพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
    2. คนในชุมชุมได้ตระหนักและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรในชุมมากขึ้นและได้รู้จักสมุนไพรแปลกๆเพิ่ม
    3. เด็กในชุมชนรู้จักนำเอาวัถุดิบพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
    4. คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน มีความรักความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นในชุมชน
    5. เด็กๆและอสม. ก็ชวนกันเดินสำรวจเป็นกลุ่มคณะเด็กและอสม. ผู้สูงอายุ เดินไปพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดกัน วันนี้เด็กๆ ดีใจกันมากเพราะการไปสำรวจวันที่ 2 นี้บ้านที่เด็กๆไปสำรวจเขามีของฝากให้เอากลับบ้านด้วย มีทั้ง กล้วย มะนาว ใบย่านาง และอื่นๆอีกหลายอย่างเด็กๆได้นำกลับไปให้ปรุงอาหารรับประทานในครอบครัว วันนี้เด็กๆและอสม.สำรวจได้ 30 ครัวเรือนเพราะอากาศร้อนมาก สิ่งที่ได้ในการออกสำรวจ คือ การให้ความร่วมมือจากคนในชุมชน พร้อมกับน้ำใจที่ยิ่งใหญ่คือของฝากเล็กน้อยที่มีให้เด็กและอสม.นำกลับบ้าน นี้คือความสามัคคีของคนในชุมชน

     

    50 60

    9. สำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร ครั้งที่ 3

    วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

    2.วันนี้เป็นวันที่ 3 ในการออกสำรวจ วันนี้ทางผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นาคฤทธิ์ ได้เชิญ นายศิริชัย เติมคลัง เกษตรตำบลถ้ำพรรณรา มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรปลอดสารพิษ การใช้สารเคมีในการเกษตร แก่ อสม. ผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมโครงการ เด็กๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาพาได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับชีวิตประจำวันเพื่อหยุดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร

    3.พักรับระทานอาหารว่าง

    4.อธิบายและเรียนรู้เกี่ยวกับการออกสำรวจพืชผักสมุนไพรในชุมชน

    5.แบ่งกลุ่มเด็กเยาวชน อสม. ผู้สูงอายุ ออกสำรวจพืชผักสมุนไพรในพื้นที่ เขตที่ 3และเขตที่ 4 บางส่วน ออกสำรวจและสอบถามเกียวกับพืชผักสมุนไพรที่มีของแต่ละครัวเรือน

    6.รับประทานอาหารว่าง แยกย้ายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลิต

    1. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อาจารย์โรงเรียน และคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน
    2. มีอสม.เข้าร่วม จำนวน 11 คน
    3. มีเด็กเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 40 คน

    ผลลัพธ์

    1. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุอสม. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสรรคุณทางยาของพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
    2. คนในชุมชุมได้ตระหนักและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรในชุมมากขึ้นและได้รู้จักสมุนไพรแปลกๆเพิ่ม
    3. เด็กในชุมชนรู้จักนำเอาวัถุดิบพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
    4. คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน มีความรักความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นในชุมชน
    5. สำรวจและสอบถามเกียวกับพืชผักสมุนไพรที่มีของแต่ละครัวเรือน แต่ละครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสมุนไพรเหมือนๆกันเป็นส่วนมาก เช่น ตะไคร้ ขมิ้น มะกรูด มะนาว เป็นต้น เพราะเป็นพืชผักคู่ครังคนไทย วันนี้สำรวจได้ 50 ครัวเรือน ส่วนที่แตกต่างกันจะมีน้อยส่วนมากจะนำมาจากที่อื่นมาปลูกไว้ในครัวเรือน

     

    50 60

    10. สำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร ครั้งที่ 4

    วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
    2. วันนี้เป็นวันที่ 4 ออกสำรวจวันนี้เป็นวันสุดท้าย วันนี้ยังอีก 30 ครัวเรือนที่ต้องออกสำวจ เด็กๆ อสม. ผู้สูงอายุ ก็ออกสำรวจเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา
    3. พักรับระทานอาหารว่าง
    4. วันนี้เด็กๆได้นำผักสมุนไพรกลับมาทำอาหารกินกันด้วย เด็กๆได้ใบย่านางกลับมาด้วย และวันนี้เราจะทำน้ำสมุนไพรกินกิน นั้นก็คือน้ำใบย่านาง โดยมีกลุ่มสตรีและอสม. เป็นวิทยากร เด็กจะสอบถามและคุยกับผู้สูงอายุและพี่ๆอสม.ว่าจะกินได้ไมเพราะใบย่านางมีกลิ่นสีเขียวแรงมาก แต่ทางกลู่มสตรีเขามีเล็ดลับในการทำ โดยน้ำน้ำใบเตยหอม มาปั้นร่วมกับใบย่านางเลยมีกลิ่นหอมของใบเตยหอม แถมยังนำสมุนไพรที่มีในชุมชน คือใบเตยหอมมาทำเป็นน้ำสมุนไพรรับประทานด้วย
    5. เสร็จภารกิจ และกิจกรรมก็แยกย้ายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อาจารย์โรงเรียน และคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน
    2. มีอสม.เข้าร่วม จำนวน 10 คน
    3. มีเด็กเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 40 คน

    ผลลัพธ์

    1. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุอสม. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสรรคุณทางยาของพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
    2. คนในชุมชุมได้ตระหนักและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรในชุมมากขึ้นและได้รู้จักสมุนไพรแปลกๆเพิ่ม
    3. เด็กในชุมชนรู้จักนำเอาวัถุดิบพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
    4. คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน มีความรักความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นในชุมชน
    5. หลังจากการสำรวจผ่านมา 3 วันเด็กได้นำผักสมุนไพรในชุมชน มาทำเป็นอาหารระหว่างทำกิจกรรมวันสุดท้ายด้วย
    6. เด็กได้เรียนรู้การทำน้ำใบย่านาง พืชสมุนที่มีอยู่มากในชุม มาทำรับประทานกัน

     

    50 59

    11. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 3

    วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนคณะกรรมการ เข้าร่วมประชุม
    2. นางสุดานาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจ้งเกี่ยวกับกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ว่าคณะกรรมการทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก ต้องขอขอบคุณ ทุกท่านแทนชาวบ้านหมู่ที่ 5 ด้วยที่มีคนดีๆมีโครงการดีๆมาให้
    3. นางสุดานาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มอหมายงานให้แก่คณะกรรมการเพื่อช่วยกันคิดและนำเสนอกิจกรรมดีๆให้กับชาวบ้านหมู่ที่ 5

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน

    ผลลัพธ์

    1. คณะกรรมการเข้าใจและรู้จักโครงการมากขึ้น
    2. คณะกรรมการโครงการมีการวางแผนร่วมกันมีความคิดดีๆเสนอแนะให้ซึ่งกันและกัน
    3. คณะกรรมการมีความรักความยินดีที่จะทำงาน เพราะ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมให้คณะกรรมการได้รับรู้อย่างชัดเจน

     

    15 15

    12. นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลครัวเรือน

    วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญจ้าหน้าที่สาธารณะสุข และเกษตรตำบลถ้ำพรรณรามาร่วมรับฟัง
    2. วันนี้เป็นวันที่ รวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอแก่ ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เกษตรตำบล และครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ โดยที่เราทางคณะกรรมการโครงการจะให้เด็กๆและพี่เลี้ยงกลุ่มเป็นผู้รวบรวมและนำเสนอ มีทั้งหมด 4 กลุ่ม สำรวจ 160 ครัวเรือนในพื้นที่หมู่ที่ 5
    3. พักรับประทานอาหารเที่ยงรวมกัน
    4. เด็กๆและอสม. ออกมานำเสนอข้อมูลจากการออกสำรวจในแต่ละกลุ่ม แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน บ้างกลุ่มก็มีพืชสมุนไพรชนิดแปลกๆและไม่รู้จักมาก่อน แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอได้อย่างสนุกสนานมาก บ้างกลุ่มบอกว่าเจอสุนัขไล่บ้างเห่าบ้างวิ่งกันอุดตะหลุด แต่สรุปได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีอยู่มากในชุมชนส่วนใหญ่ก็เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด เป็นต้น และสรุปได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมดิ164 ครัวเรือน มีที่ดินเป็นของตนเองจำนวน 2650.ไร่คิดเป็นร้อยละ60.และใช้เพื่อการเกษตรจำนวน1223ไร่ สมาชิกในครัวเรือนมีจำนวน 3-5 คน ร้อยละ.80.กิจกรรมการเกษตรที่ทำในครัวเรือน ปลูกข้าวจำนวน 8 ครัว ร้อยละ.5.ทำสวนจำนวน 164 ครัวคิดเป็นร้อยละ 100 ทำไรจำนวน 11 ครัวคิดเป็นร้อยละ 10 เลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำจำนวน 16 ครัวคิดเป็นร้อยละ.10.เลี้ยงสัตว์.30 ครัว คิดเป็นร้้อยละ.10.รับจ้างจำนวน 6 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ.5 และอาชีพอื่นๆจำนวน.0 ครัว คิดเป็นร้อยละ.0 รายได้ครัวเรือน12000 บาทต่อคน จำนวน 164 ครัว คิดเป็นร้อยละ 100 ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการเกษตรจำนวน.133.ครัวคิดเป็นร้อยละ 50
    5. ผู้ที่เข้าร่วมในเวทีได้พูดคุย เรื่อง มีสมุนไพรแปลกที่คนไม่รุจักได้แก่ 1. ครอบจักรวาล ปลูกอยู่ที่บ้านเลขที่ 137 บ้านของลุงจรัส พรหมรักษา ปลูกไว้กินแก่เมื่อย 2.ขมิ้นฤาษี ปลูกไว้กินเพื่อรักษาโรคไขมันในเลือดสูง 3.ว่านร้อยแปด ปลูกไว้กินแก้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ปลูกที่บ้านเลขที่ 171 บ้านของชนิดา อัคคี4. ต้นตุม ปลูกไว้แก้เจ็บคอ เจ็บหลัง ที่บ้านเลขที่ 69/1 บ้านนางยินดี พุฒแก้ว5. กระชายดำ กินแก้.จุกเสียดปลูกที่บ้านเลขที่.150นายโชคดี ไชยฤกษ์ 6. ว่านชักมดลูก แก้โรคเลือด ประจำเดือน หญิงหลังคลอด ปลูกที่บ้านเลขที่71 นายสมพร ไชยภักดี7. เขรียง ใช้เป็นยาสระผม ปลูกที่บ้านเลขที่ 239 บ้านนางจิราวัน สวัสดี
    6. ทางคณะกรรมโครงการก็รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ เก็บไว้ และนำเสอแก่ ผู้ใหญบ้านและเกษตรตำบลถ้ำพรรณรา เพื่อเสวนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในชุมชน เพื่อเป็นหมู่บ้านที่ลดหนี้ปลอดสารพิษ
    7. เสร็จภารกจและกิจกรรมแยกย้ายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ครัวเรือนอื่นที่สนใจ 50 ครัวเรือน เด็กวัยเรียน 50 คน มีเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข 1 คน เกษตรตำบล 1 คน

    ผลลัพธ์

    1. ได้รู้จักพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น
    2. ได้รู้จักสรรพคุณของสมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัวเราที่เราไม่รู้
    3. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างคนในชุมชนเกี่ยวกับพืชสมุนไพร เช่น สมุนไพรที่ปลูกเหมือนกันแต่รู้สรรพคุณที่ต่างได้รู้จักสรรพคุณของสมุนไพรในแต่ละชนิดเพิ่มมากขึ้น
    4. ได้นำข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในชุมชนมาแก้ไข เช่น เรื่องการใช้สารเคมีในการทำเกษตรในครัวเรือน หันมาใช้พืชสมุนไพรมาใช้แทนและรู้จักนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เช่น นำใบสะเดามาหมักใช้แทนสารเคมีในการปราบศัตรูพืช นำสมุนไพรที่ปลูกไว้มาใช้นอกเหนือจากที่เคยทำอยู่เช่น ตะไคร้นอกจากใส่เครื่องแกง ก็ยังนำมาหั่นแล้วตากแห้ง ชงแทนชากิน

     

    100 100

    13. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 4

    วันที่ 24 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนคณะกรรมการ เข้าร่วมประชุม

    2. นางสุดานาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจ้งเกี่ยวกับกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ว่าคณะกรรมการทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก ต้องขอขอบคุณ ทุกท่านแทนชาวบ้านหมู่ที่ 5 ด้วยที่มีคนดีๆมีด๕รงการดีๆมาให้

    3. นางสุดานาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มอหมายงานให้แก่คณะกรรมการเพื่อช่วยกันคิดและนำเสนอกิจกรรมดีๆให้กับชาวบ้านหมู่ที่ 5

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน

    ผลลัพธ์

    1. คณะกรรมการเข้าใจและณุ้จักโครงการมากขึ้น
    2. คณะกรรมการโครงการมีการวางแผนร่วมกันมีความคิดดีๆเสนอแนะให้ซึ่งกันและกัน
    3. คณะกรรมการมีความรักความยินดีที่จะทำงาน เพราะ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมให้คณะกรรมการได้รับรู้อย่างชัดเจน

     

    15 15

    14. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 1

    วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 10.00 น. - 14.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญทุกท่านเข้าร่วมอบรมและลงทะเยียนเข้าร่วมอบรม
    2. นางสุดา  นาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวตอนรับ เจ้าหน้าที่ อบต.ถ้ำพรรณรา  เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขต.ถ้ำพรรณรา และคณะกรรมการโครงการคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน
    3. น.ส. ศิรินธร  ทองสุข เจ้าที่สาธารณสุขต.ถ้ำพรรณา ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นจิตอาสา การเป็นผู้นำที่ดีของคนในชุมชน
    4. ปลัดอบต.ถ้ำพรรณรา นายสุทธิวงศ์  สวัสดิวงค์ มาพูดคุยเก๊่ยวกับการมีจิตอาสา และการเป็นผู้นำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการโครงการ จำนวน 18 คน
    2. เจ้าหน้าที่ อบต.ถ้ำพรรณรา จำนวน 1คน
    3. เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขต.ถ้าพรรณรา จำนวน 1 คน

    ผลลัพธ์

    1. คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการโครงการ รู้บทบาทและหน้าที่ของตัวเองมากขึ้น
    2. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความคิดที่เปลี่ยน มีความเป็นผู้นำมากขึ้น ไม่ต้องจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้นำที่เกิดจากการเลือกตั้ง แต่เราสามารถเป็นผู้นำธรรมชาติ ที่ดีได้
    3. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำเรื่องราวความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้คนอื่นฟัง และมีผู้นำที่ดีมีจิตอาสาเพิ่มขึ้นในชุมชนบ้านนาพา

     

    20 20

    15. ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00น. - 17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 เพื่อแก้ไขข้อมูลในการจัดทำข้อมูลให้เป็นไปตามเงือนไขของสสส.และจัดการบริหารการเงินอย่างถูกต้อง โปรงใส่ และเม้นยำ และจัดทำส่งรายงาน รายงานการเงิน งวดที่ 1 แก่ สจรส. ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.คณะกรรมการโครงการ จำนวน 2 คน

    ผลลัพธ์

    1. ได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการกับการเงินงวดที่ 1 ให้ถูกต้อง เม่นยำ
    2. ได้เรียนรู้เรื่องการบันทึกกิจกรรมที่ถูกต้อง ถูกวิธี อ่านแล้วดูดีมีสาระ ที่หน้าสนใจ
    3. จัดการส่งรายงาน ส. 1 และ ง.1 ให้แก่ สจรส.ม.อ.

     

    2 2

    16. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 5

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะกรรมการตามวันเวลาที่ได้วางไว้ในปฎิทิน

    2. นางสุดา นาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ สอบถามพูดคุยกับคณะกรรมการทุกท่าน และรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการโดยมีนางธิดาวรรณ  สืบ เป็นผู้จดบันทึกเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมและการดำเนินโครงการ

    3. มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงานให้กับคณะกรรมการเพื่อดำเนินการโครงการ

    4. นางสุดา  นาคฤทธิ์ ได้กล่าวขอบคุณคณะกรรมการทุกท่านที่มาเข้าร่วมประชุมและรับผิดชอบงานหน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดี เพื่อช่วยกันพัฒนาหมู่บ้านของเรา  

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม จำนวน15คน

    ผลลัพธ์

    1.คณะกรรมการรับผิดชอบงานหน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดี

    2.ทางคณะกรรมการได้มีความคิดมีสิ่งดีๆมานำเสนอให้คณะกรรมการทำในเรื่องเหล่านี้ เรื่อง

    • การทำกิจกรรมแต่ละครั้งเราน่าจะชักชวน เด็กในโรงเรียนบ้านนาพามามีส่วนร่วมด้วย
    • เสนอให้มีการตำเครื่องแกงกินเองโดยส่งเสริมให้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
    • เสนอให้มีการปลูกผักในล้อยางหรือริบถนนที่เป็นที่ว่างอยู่่ เรื่องเหล่านี้ช่วยกันคิดช่วยกันเสนอเพื่อการพัฒนาโครงการ

    3.การดำเนินการโครงการกิจกรรม ครั้งที่ผ่านมามาพูดคุยและชื่นชมกันและแก้ไขในส่วนที่ผิดพลาด

     

    15 15

    17. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญประชุมสภาผู้นำที่ได้คดเลือกไว้มาประชุม

    2. นายสมศักดิ์ สืบ ประธานสภาผู้นำ ได้กล่าวคำชมแก่คณะกรรมการทุกท่านที่มาเข้าร่วมปรพชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

    3. มีการนำเสนอแนะในการจัดทำกิจกรรมและดำเนินโครงการโดยได้ความคิดไอเดียดีๆจากสภาผู้นำ

    4. นางธิดาวรรณ  สืบ เป็นเลขา สภาผู้นำ ได้จดบันทึกการประชุมรายละเอียดในการประชุมไว้เพื่อเป็นข้อคิดและมาปรับปรุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีชาวบ้านที่ไม่มีตำแหน่งใดๆมาเราร่วมเป็นคณะกรรมการผู้นำจำนวน 5 คน

    2. มีคณะกรรมการโครงการเข้ามีมีส่วนร่วมในการเกิดสภาผู้นำ จำนวน15คน
      ผลลัพธ์

    3. ในหมู่ที่ 5 มีสภาผู้นำเกิดขึ้น มีการประชุมกันทุกเดือน

    4. มีชาวบ้านที่สนใจและมีภาวะการเป็นผู้นำเข้ามาเป็นส่วนร่วมอย่างเต็มใจ

    5. มีการนำเอาแนวคิดของแต่ละคนในสภาผู้นำมาปรับใช้กับหมู่บ้านและพัฒนาหมู่บ้านของตัวเอง

     

    20 20

    18. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 3

    วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะกรรมการโครงการ ประชุมสภาผู้นำ เชิญกลุ่ม ภาคี ต่างๆเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความรู้ให้แง่คิดดีๆที่จะนำมาพัฒนาชุมชนโดยที่ผู้รับผิดชอบโครงการนางสุดา นาคฤทธิ์ และนายสมศักดิ์สบประธาน มอบหมายให้สภาผู้นำ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนเข้าร่วมโครงการ เพื่อการดูแลสุขภ่าพของตัวเองและคนในครอบครัว หลังจากนั้นก็มอบหมายงานให้ทุกคน โดยมอบหมายให้นางธิดาวรรณ สืบ ไปดำเนินการติดต่อประสานงานวิทยากรที่มีความรู้มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    • มอบหมายให้นางสมคิด โสดา ติดต่อเรื่องอาหารกลางวัน และอาหารว่าง

    • มอบหมายให้นางรัชฎาพร แสงมณีและคณะกรรมการนำเอกสารชวนเชิญผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ และคนในชุมชุนมาทำกิจกรรม

    • มอบหมายให้ให้นายชำนาญ พลพิชัย และผู้นำสภาร่วมกันจัดสถานร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีอสม.จำนวน 5 คน

    2. มีคณะกรรมการโครงการเข้ามีมีส่วนร่วมในการเกิดสภาผู้นำ จำนวน5คน

    3. กลุ่มสตรี จำนวน 10 คน
      ผลลัพธ์

    1.ในหมู่ที่ 5 มีสภาผู้นำเกิดขึ้น มีการประชุมกันทุกเดือน มีกลุ่มองค์กรในชุมชนให้ความร่วมมือมากขึ้น

    2.มีชาวบ้านที่เป็น อสม.สนใจที่เป็นผู้นำพร้อมเข้ามาเป็นส่วนร่วมอย่างเต็มใจ

    3.มีกลุ่มองค์กรต่างๆได้แก่

    • กศน.มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาอเนกประสงค์
    • โรงพยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพร
    • อบต.สนับสนุนของขวัญในกิจกรรม ชื่นชมความสำเร็จฯ ให้ความร่วมมือก็เกิดการนำเอาแนวคิดต่างๆที่ได้นั่งคุยกันของแต่ละคนในสภาผู้นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยน์กับหมู่บ้านและนำมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านของตัวเอง

    4.แนวคิดของแต่ละคนที่เอามาปรับใช้

    • การตำเครื่องแกงกินเองดีกว่าซืั้อในท้องตลาดเสี่ยงสารกันปูน
    • การเยี่ยมบ้านก็ให้มีการแนะนำเรื่องรณรงค์ให้มีการเพิ่มการปลูกผักสวนครัวในล้อยางรถยนต์ ประประหยัดเนื้อที่บริหน้าบ้าน
    • รณรงค์ให้ อสม.ในหมู่บ้านเมื่อออกเยี่ยมบ้านในแต่ละเดือนแนะนำการกินอาหาร แนะนำการใช้สมุนไพรข้างบ้านมาประกอบอาหารกินกันในครัวเรือน

    5.เมื่อมีสภาผู้นำเกิดขึ้นในชุมชนเป็นสิ่งที่ดีและหมู่บ้านชุมชนมีจิตอาสามีคนรักชุมชนช่วยกันดูแลชุม และสร้างสุขให้กับชุมชนมากขึ้นโดยใช้สภาผู้นำเป็นตัวขับเคลื่อน

     

    20 20

    19. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 6

    วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เชิญประชุมเพื่อออกความคิดและประชุมคณะกรรมการโครงการ เพื่อปรึษา หารือมอบหมายงาน เพื่อดำเนินกิจกรรมในโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ 15 คน

    ผลผลิต

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา  นาคฤทธิ์ ได้ชี้แจ้งสรุปผลการเงิน ของกิจกรรม ที่ทำผ่านมา

    2. นางธิดาวรรณ สืบ คณะกรรมการโครงการได้ชี้แจ้งเกี่ยวกับผลตอบรับของคนในชุมชนว่า "การที่เราทำกิจกรรมการสำรวจพื้นสมุนไพรในรอบที่ผ่านมา ชาวบ้านได้สอบถามและสนในการทำโครงการในครั้งนี้มาก และขอเข้าร่วมโครงการกับเราอีกด้วย"     ทาง ผู้ใหญ่สมศักดิ์ สืบ ก็เลยเสนอให้ทางคณะกรรมการโครงการ รับครัวเรือนเพิ่ม จาก 15 ครัวเรือน เป็น 25 ครัวรือน

    3. นางรัชฎาพร แสงมณี คณะกรรมการโครงการ ได้เสนอให้ทางโครงการสนับสนุนให้เด็กในโรงเรียนบ้านนาพา ปลูกพืชผักไว้กิน และเหลือนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ของนักเรียน และโรงเรียน และทางคณะกรรมการโครงการก็เห็นด้วย

     

    15 15

    20. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 7

    วันที่ 17 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน
    2. เชิญคณะกรรมการสภาผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือ รับฟังความคิดเห็นกันเพื่อนำมาพัฒนาชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน

    ผลผลิต

    1. มีการพูดคุยกันเพื่อจะจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป
    2. ทางสภาผู้นำ นางจารีย์ เผือกภูมิ ได้เสนอ ให้ทางคณะกรรมการโครงการให้ทำกิจกรรมกันบ่อยขึ้นเพื่อประโยชน์และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยนช์
    3. นายชำนาญ พลพิชัย กรรมการโครงการได้เสนอให้ทางโครงการ ชักชวนเด็กในโรงเรียนบ้านนาพา มาร่วมเป็นสภาผู้นำด้วย
    4. การประชุมครั้งนี้ทำให้เราได้แง่คิดดีๆ ได้นับมาปรับใช้ต่อไป

     

    15 15

    21. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 4

    วันที่ 17 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญประชุมสภาผู้นำโดยการ ชักชวนกันในกลุ่มสตรี และกลุ่ม อสม.
    2. ประชุมสภาผู้นำพร้อมกับการประชุมของประจำเดือน
    3. การประชุมสภาผู้น้ำในครั้งนี้เรายังมีการคิดสูตรการทำ น้ำยาล้างจานจากยอดส้มปอยด้วย เพื่อไว้สอนและแนะนำให้กับคนในชุมชนได้ใช้ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 7 คน

    2. อสม. จำนวน 7 คน

    3. กลุ่มสตรี จำนวน 6 คน

    ผลลัพธ์

    1. ได้แง่คิด ได้วัฒนกรรมใหม่ จากการประชุมมีการเสนอให้ทำสูตรอาหาร ที่เกิดจากพืชสมุนไพรในชุมชุน เป็นสูตรอาหารพื้นบ้าน ที่เป็นสูตรดั้งเดิมของผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีการนำสมุนมาเป็นส่วนประกอบ นำมาสอนให้คนรุ่นหลังได้รับประทาน และทำกินกันในครัวเรือนเพื่อรักษาสุขภาพ

    2. คุณเธียรชัย สุขเกษม เสนอให้โครงการส่งเสริม ให้คนในชุมชน ปลูกตะไคร้กันเยอะเพื่อเป็นพื้นสมุนไพร ที่มีค้าและขายในชุมชน

    3. ได้สูตรทำน้ำยาล้างจานจากยอดส้มปอย

     

    20 20

    22. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 8

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญคณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คนเข้าร่วมประชุม
    2. ให้มีการเสนอความต้องการและแสดงความคิดเห็นในการพัฒนา ชุมชน และให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่จะทำ
    3. กิจกรรมประชุมกรรมการโครงการ และการประชุมสภาผู้น้ำ ปกติเราจะนัดประชุมที่ศาลา แต่วันนี้เป็อำเภอยิ้มสัญจรมาลงที่พื้นที่่ที่ 5 บ้านนาพาเราก็เลยประชุมกันที่สำนักสงฆ์ภูเขาพาวนาราม มีตำรวจท้องที่ ปลัดอวุโสนายมงคล ภักดิ์ดีสุวรรณเข้าร่วมรับฟังด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมดังนี้

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน
    2. ข้าราชการตำรวจ 4 นาย
    3. ปลัดอวุโสอำเภอถ้ำพรรณรา นายมงคล ภักดีสุวรรณ

    ผลลัพธ์

    1. นายสมศักดิ์ สืบ ผู้ใหญ่บ้านได้เสนอให้คณะกรรมการโครงการมอบหมายงานให้ช่วยกันทำและเชิญคณะกรรมการหมู่บ้านเข้าร่วมและช่วยกิจกรรมด้วย
    2. นางสมคิด โสดา ได้เสนอให้มีการปลูกผัก พืชสมุนไพรในที่สาธารณะของหมู่บ้าน
    3. ปลัดอวุโสแนะนำให้คณะกรรมการโครงการบ้านนาพาน่าจะทำสินค้าเกี่ยวกับสมุนไพรขึ้นมาสัก 1 อย่างเพื่อเป็นสินค้าโอท๊อปของหมู่บ้าน

     

    15 15

    23. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 5

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญคณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คนเข้าร่วมประชุม
    2. ให้มีการเสนอความต้องการและแสดงความคิดเห็นในการพัฒนา ชุมชน และให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่จะทำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 7 คน
    2. อสม. จำนวน 7 คน
    3. กลุ่มสตรี จำนวน 7ุ คน

    ผลลัพธ์

    1. นางสุดา นาคฤทธิ์ สอบถามความคิดเห็นจากคณะกรรมการโครงการว่าเราจะดำเนินโครงการไปในทิศทางใดและจะจัดทำกิจกรรมอย่างไร เป็นคำถามในที่ประชุมได้กลับไปคิดต่อ
    2. นายสมศักดิ์ สืบ ผู้ใหญ่บ้านได้เสนอให้คณะกรรมการโครงการมอบหมายงานให้ช่วยกันทำและเชิญคณะกรรมการหมู่บ้านเข้าร่วมและช่วยกิจกรรมด้วย
    3. นางสมคิด โสดา ได้เสนอให้มีการปลูกผัก พืชสมุนไพรในที่สาธารณะของหมู่บ้าน

     

    21 21

    24. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 6

    วันที่ 19 มิถุนายน 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมแจ้งเตรียมดำเนินกิจกรรมในเดือนหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 7 คน

    2. กลุ่มสตรี และอสม. จำนวน 13 คน

    ผลลัพธ์

    • ที่ประชุมได้วางแผนการทำกิจกรรมประกวดครัวเรือน และการทำแปลงสาธิต ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบโดยแบ่งออกเป็นฝ่ายอาหาร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายเชิญวิทยากร

     

    20 20

    25. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 9

    วันที่ 19 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมชี้แจงงบประมาณโครงการในงวดที่ 2 และขอความร่วมมือในการทำกิจกรรมให้เสร็จในเวลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน

    ผลลัพธ์

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการเงิน ตอนนี้ ทาง สสส. ได้โอนเงินเข้าแล้ว เราต้องดำเนินกิจกรรมในเดือนหน้า ซึ่งจะมีกิจกรรมให้ร่วมกันทำ 3 วัน จึงขอความร่วมมือจากคณะกรรมการโครงการทุกท่านช่วยกันบริหารงาน และได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องช่วยกันทำและมอบหมายงานให้ทุกคนทำและรับผิดชอบ เพื่อจัดหาเชิญวิทยากรที่มีความรู้มาให้ความรู้แก่ประชาชน ตามกิจกรรมที่วางไว้
    • ประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนให้ประชาชนมาเข้าร่วมกิจกรรมกันมากๆๆ

     

    15 15

    26. เวทีชื่นชมความสำเร็จ ประกวด ครัวเรือน และแปลงสาธิตพืชปลูกหมุนเวียน

    วันที่ 22 มิถุนายน 2559 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการจัดกิจกรรมโดยคณะกรรมการโครงการ 2 กิจกรรม คือ

    1. กิจกรรมการแข่งขัน การทำอาหาร มีรายการอาหาร ดังนี้
    • แกงอื้อพุงปลา (นึ่งพุ่งปลา) ได้แก่ นางจารีย์ เผือกภูมิ บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 5ต.ถ้ำพรรณราอ.ถ้ำพรรณรา
    • แกงเลียงหัวปลี ได้แก่ นางศรินทิพย์ไชยฤกษ์บ้านเลขที่ 150 หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา และนางอำภาสืบ บ้านเลขที่ 29 หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา
    • น้ำพริกใบทำมัง ได้แก่ นางสุกัลยา มัฎฐารักษ์บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรรราอ.ถ้ำพรรณรา และ นางสุภาพรสิทธา บ้านเลขที่ 94 หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา
    • มีเด็กๆและอาจารย์ โรงเรียนบ้านนาพาเข้าร่วมกิจด้วย โดยที่เด็กๆมาทำน้ำดอกอัญชัญ เลี้ยงผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    2.การประกวดครัวเรือน ที่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกันดีมาก มีการตอบรับกิจกรรมโครงการนี้อย่างยอดเยี่ยม ทางคณะกรรมการโครงการเองก็ดีใจ กับกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้เป็นอย่างมาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีครัวเรือนต้นแบบ เกิดขึ้น จำนวน 25 ครัวเรือน

    2. มีผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหาร จำนวน 9 คน

    3. มีกลุ่มเด็กๆเยาวชน โรงเรียนบ้านนาพา จำนวน 10 คน

    4. มีสภาผู้นำและผู้นำชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน

    ผลลัพธ์

    1. เกิดครัวเรือนต้นแบบที่สามารถ เป็นแหล่งเรียนรู้ ในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงปลูกผักปลอดสารพิษ มีตะไคร้และใบมะกรูดจำน่ายเป็นรายได้เสริม เพื่อเป็นตัวอย่างให้คนในชุมชนได้เห็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กๆในชุมชนได้ศึกษา
    2. มีตำรับอาหารจากพืชสมุนไพรใกล้บ้าน จำนวน 5 ชนิด ได้แแก่ 1. เมนูยำใบไม้ข้างบ้าน 2. อึ้งพุงปลาสมุนไพร 3.แกงเลียงหัวปลี 3. น้ำพริกตะไคร้ 5.น้ำพริกใบทำมัง
    3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องพืชผักสมุน และผักข้างรั้ว ซึ่งกันและกันในชุมชน เป็นเวทีเสวนาของหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี
    4. เกิดสภาผู้นำ ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาร่วมงาน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาหมู่บ้าน
    5. เด็กๆยังได้เรียนรู้ตำรับอาหาร ที่มาช้านานมีคู่อยู่กับชุมชนบ้านนาพา โดยที่นำวัสถุดิบที่มีอยู่ในครัวเรือน และในแปลงสาธิต ที่ปลูกและร่วมกันปลูกไว้ในแปลงสาธิตมาทำเป็นอาหาร เป็นยาไว้ทานในครัวเรือน และชีวิตประจำวัน และเกิดตำรับอาหารของชุมชน เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาและสืบทอดต่อไป
    6. มีรายชื่อผู้เข้าร่วมประกวดครัวเรือนและได้รางวัล อันดับ ดังนี้
    • นายเธียรชัยสุขเกษม บ้านเลที่ 166 หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา
    • นางจินดาไทยกูล บ้านเลขที่ 58/1หมู่ที่ 5ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา

     

    100 100

    27. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ สารไล่แมลง จากผู้รู้และปราชน์ชาวบ้าน ครั้งที่1

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. มีการชิญชวนคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยการแจกแผ่นพับ และใบปลิว
    2. มีการให้ความรู้จากผู้รู้จากปราชญ์ชาวบ้านที่ชำนาญและทำน้ำหมัก ทำปู๋ยหมักใช้ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. สภาผู้นำ จำนวน 20 คน
    2. อสม. จำนวน 10 คน
    3. เยาวชนสตรี ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน

    ผลลัพธ์

    1. มีผู้สนใจและเข้าร่วมกิจกรรม ตามเป้าที่กำหนดไว้

    2. มีปราชญ์ชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนมาให้ความรู้มาใหเคล็ดลับในการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักไว้ใช้เองในครัวเรือน

    3. คนในชุมชนได้ความรู้คุณสมบัติดีๆที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยช มากขึ้น มีป้าคนหนึ่งป้าหีดแก่พูดขึ้นว่า "งายบ้านเราปลูกไหรไม่ได้ฉงยับเหม็ดรำคาญตี้ตาย" ป้าอีกคนก็บอกว่ามึงลองเอาเหล้าขาวฉีดแลหายหมด ทางปราชญ์ชาวบ้านที่มาเป็นวิทยากรก็ได้แนะนำให้เอาใบสะเดามาหมักร่วมกับยาเส้น เหล้าขาว เพื่อไว้ฉีดไล่แมลง

    4. รู้จักนำเศษผักที่เหลือในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักไว้รดผักใน ผลไม้ โดยการใช้กากน้ำตาล พด.และเศษผักเปลือกผลไม้ต่างๆหมักไว้ในถังเดียวกัน
    5. ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้ความรู้ใหม่ในการทำหัวเชื้อพด.2 เองโดยไม่ต้องซื้อหรือขอจากเกษตร โดยมีส่วนผสม ดังนี้
    • น้ำมะพร้าว 2 ลูก
    • นมเปรี้ยว 2 ขวด
    • แป้งข้าวหาก 2 ลูก
    • ซีอิ้วหวาน ( พอประมาณ )
    • หมักไว้ 7 วันใช้เหมาะทำปุ๋ยหมักได้เลย

     

    80 80

    28. เรียนรู้มิติการดูแลสุขภาพด้วยพืชพื้นบ้าน ปลอดสารเคมี เพื่ออาหาร ตำรับอาหาร และขนม จากกลุ่มสตรีในชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการโครงการมีการชิญชวนคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยการแจกแผ่นพับ และใบปลิว ในวันที่ 2
    2. มีการให้ความรู้จากผู้รู้จากปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มสตรีใช้น้ำหมัก และนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยน์ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. สภาผู้นำ จำนวน 20 คน
    2. อสม. จำนวน 10 คน
    3. เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน

    ผลลัพธ์

    1. มีการนำความรู้จากการทำน้ำหมักที่เรียนรู้แล้วนำมาใช้ในวันนี้ วันนี้ทุกคนได้นำเอาพืชผักที่มีมากในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยน์ เช่น มะนาวที่ตกอยู่ที่โคนต้น ( หรือภาษาใต้ ว่า ส้มนาวถูกญาติหล่นเต็มโคนเหม็ด )

    2. วันนี้ได้เรียนรู้การทำน้ำยาอเนกประสงค์ไว้ใช้ในครัวเรือน โดยที่ไม่มีสารตกค้างเหมือนน้ำยาทั่วไปในท้องตลาด

    3. ชาวบ้านได้นำ ส้มป่อย ซึ่งมีรสเปรี้ยว มะนาว มาทำน้ำยา ล้างจาน ซักผ้า ล้างรถ ขัดห้องน้ำ จะมีกลิ่นหอมของสมุนไพร นอกจากที่เราจะได้แค่เพียงสูตรอาหรเรายังได้น้ำยาเอนกประสงค์จากพืชสมุนอีกด้วย ผู้เข้าร่วมอบรบชอบและพูดกันว่า " มาทำหนุกๆกับไอ้โม้นี้มีความรู้ ส้มนาวหล่นใต้ต้นที่หลังเก็บไว้ทำน้ำยายางถ้วยหอมดี มาทำของพันนี้ดีหว้านั่งนินทาเพือน" *****โม้นี้ หมายถึง คณะกรรมการ โครงการ

    4.  ทางคณะกรรมการโครงการมีความสุขที่ชาวบ้านชอบให้ความร่วมมือ คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคีมากขึ้น เพราะต่างคนต่างช่วยกันทำคนนึงบีบ คนนึงกวน คนหนึ่งใส่น้ำ ป้าๆมีการพูดยอกล้อกัน ว่ามึงกวนสวย เพื่อนกวนไม่สวย เพราะการกวนน้ำยาเอนกประสงค์ต้องกวนไปในทางเดียวกัน จึงทำให้เมื่อยแขน จะพูดล้อ ชมเพื่อนให้เพื่อนกวน

     

    80 80

    29. เรียนรู้มิติการดูแลสุขภาพด้วยพืชพื้นบ้าน ปลอดสารเคมี เพื่ออาหาร และขนม จากกลุ่มสตรีในชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการโครงการมีการชิญชวนคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยการแจกแผ่นพับ และใบปลิว ในวันที่ 3
    2. มีการให้ความรู้จากผู้รู้จากปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มสตรี รู้จักนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยน์ในครัวเรือน มาประกอบอารแบบพื้นบ้าน
    3. ให้ความรู้และปฎิบัติ ทำอาหารเป็นยา นำสมุนไพรมาประกอบอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. สภาผู้นำ จำนวน 20 คน
    2. อสม. จำนวน 10 คน
    3. เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน

    ผลลัพธ์

    1. ถึงแม้วันนี้จะเป็นวันที่ 3 แล้วแต่ชาวบ้านก็ยังให้ความร่วมมือกับโครงการและสนใจที่จะเรียนรู้เพื่องพืชสมุนไพร
    2. คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษและสรรพคุณของพืชสมุนไพรข้างบ้านเพิ่มมากขึ้น บ้างคนพูดว่า ( ไม่รู้ต้นไอ้ไหรนิเห็นเขาปลูกสวยดีเอามาปลูกกัน ) อีกคนว่า ( มึงบ้าแล้วนิเอามาใส่ยำใบไม้กินดีนั้น) ต้นที่ว่านี้คือ หมุ่ยหอม ที่มีกลิ่นหอมทรงพุ่มสวย ใบดกมาก
    3. วันนี้ทุกคนก็ได้นำใบไม้ พืชสมุนำไพรข้างบ้านมาทำอาหารร่วมกัน คือเมนู ยำใบไม้ ทำขนมทุกคนสนุกกันมาก แถมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากมาย ป้าที่มีอายุแก่บอกมาใส่ขมิ้นมากๆสีสวย กินอร่อย บ้างคนว่าใส่มะพร้าวคั่วกันอร่อย ทำกันไปคุยกันไปจนเสร็จคุณยายหีดบ้านอยู่ข้างศาลาหมู่บ้านใจดีหุ่งข้าว ไร่มาให้ กินกันอย่าอร่อย ด้วยพืชผักข้างบ้าน เมนูยำใบไม้วันนี้มี ใบพาโหม ใบหมุ่ยหอม ใบชะพลู ใบมะตูม ใบพริกไ้ทยดำ ใบมะกรูด ใบขมิ้น ตะไคร้ ใบรา ใบโหระพา ใบเล็บครุต ยอดข่า ใบส้มแป้น

     

    80 80

    30. ฟื้นฟูการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือนอย่างง่าย แก่เด็กและครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำหนังสือเชิญประชุม และเข้าอบรมการทำบัญชีครัวเรือน
    2. เชิญครูบัญชี มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน โดยครู กศน. นายอาภรณ์ นพรัตน์
    3. มีการให้เอกสารแบบฟอมร์ในการทำบัญชีครัวเรือนไปใช้ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. สภาผู้นำ จำนวน 20 คน
    2. อสม. จำนวน 10 คน
    3. เยาวชน กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ 50 คน

    ผลลัพธ์

    1. คนในชุมชนรูจักการทำบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง
    2. คนที่ทำบัญชีครัวเรือนอยู่แล้วได้ทำบัญชีครัเรือนที่ถูกวิธีแลถูกต้องมากขึ้น เพราะชาวบ้านส่วนให้จะไม่ได้ลงรายได้จากการเก็บผักข้างบ้าน หรือปลาที่หามาได้มาลงเป็นรายรับ เพราะการทำบัญชีครัวเรือน เช่น เราเก็บมะนาว มา 5 ลูกเราก็ลงราคาถ้าซื้อในตลาดราคาปรธมาณกี่บาท ก็ลงในช่องรายรับหาปลามาได้ก็เช่นกัน ดังนั้นจึงทำใ้ห้ชาวบ้านได้ความรู้จากการอบรมในครั้งนี้มาก
    3. ชาวบ้านสนใจที่จะทำบัญชีครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น หลังจากได้อบรมกับโครงการ

     

    80 80

    31. คัดเลือกแปลงสาธิต 4 แปลง พร้อมแบ่งทีมพัฒนาปรับปรุงแปลงสาธิต ครั้งที่ 1

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รับสมัครผู้สนใจที่จะทำแปลงผักพืชสวนครัว จำนวน 4 แปลง
    2. เชิญโรงเรียนบ้านนาพา เข้าร่วมทำแปลงสาธิต
    3. มีการสงเสริมให้ปลูกสมุนไพรที่กินเอง และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. สภาผู้นำ จำนวน 20 คน

    2. อสม. จำนวน 10 คน

    3. เยาวชน กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน

    ผลลัพธ์

    1. มีแปลงสาธิตเกิดขึ้น 4 แปลง ดังนี้

    - บ้านหัวหน้าเขตบ้าน นายเธียรชัย สุขเกษม ปลูกตะไคร้ และพริกขี้หนู มะเขือเปราะ มะกรูด - โรงเรียนบ้านนาพา ปลูกผักเขลียง - บ้านนายชำนาญพลพิชัย ปลูกกล้วยหอม กล้วยน้ำหว้า มะนาว ชะอม ผักหวาน มะกรูด - นางจารีย์เผือกภูมิ ปลูกพริกไทยดำ มะนาว มะกรูด

    2.เมื่อเกิดแปลงสาธิตขึ้นมีการปลูกมากมี พ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อ ตะไคร้ กิโลกรัมละ 10 บาท ใบมะกรูดแม่ค้ามาตัดเองเก็บเอง กิโลกรัม ละ 25 บาท โรงเรียนก็ได้น้ำผักเขลียงที่ปลูกไว้มาประกอบอาหารกลางวัน และจำหน่ายเป็นรายได้ของเด็กนักเรียนที่ดูแลและรับผิดชอบในแปลงผักเขลียง เด็กก็มีรายได้ มีความรู้ติดตัว

     

    80 80

    32. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 10

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญประชุมคณะกรรมการโครงการ เพื่อแลกเปลียนเรียนรู้กัน
    2. เชิญสภาผู้นำเข้าร่วมด้วย ในการประชุมคณะกรรมการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน
    2. สภาผู้นำ จำนวน 5 คน
    3. เยาวชน ผู้สูงอายุ อสม. และกลุ่มสตรี จำนวน 60 คน

      ผลลัพธ์

    4. ได้ลงดูแปลงสาธิต 4 แปลง ดังนี้

    • บ้านหัวหน้าเขตบ้าน นายเธียรชัย สุขเกษม ปลูกตะไคร้ และพริกขี้หนู มะเขือเปราะ มะกรูด
    • โรงเรียนบ้านนาพา ปลูกผักเขลียง
    • บ้านนายชำนาญพลพิชัย ปลูกกล้วยหอม กล้วยน้ำหว้า มะนาว ชะอม ผักหวาน มะกรูด
    • นางจารีย์เผือกภูมิ ปลูกพริกไทยดำ มะนาว มะกรูด

    2.ทางคณะกรรมการได้แง่คิดว่าเราชุมชนบ้านนาพา เราควรจะ ปลูกมะกรูด ปลูกตะไคร้ ให้ทุกครัวเรือนเพราะตอนนี้ทางแม่ค้าคนกลาง ได้เข้ามารับซื้อถึงที่บ้าน และในชุมชน

     

    15 15

    33. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 7

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการนางสุดา นาคฤทธิ์ เชิญคณะกรรมการโครงการ และสภาผู้นำร่วมประชุม ครั้งที่ 7 ผู้ใหญ่บ้าน นายสมศักดิ์ สืบ ได้แจ้งให้สภาผู้นำทราบ และให้สภาผู้นำของโครงการ ได้มีประสิทธิ์ภาพในการทำงาน โดยการร่วมกันรณรงค์การลงประชามติ และขอให้สภาผู้นำของเราได้นำข้อข่าวนี้ไปแจ้งและคิดรับมือ กับการตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงที่มาจากสถานีเขาหัวควาย ไปถึงสถาณีทุ่งสง ซึ่งผ่าน ม.5 บ้านนาพาของเรา ว่าเราคณะสภาผู้นำจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร และขณะทาง กทบ. หมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ได้ทำโครงการ ตู้น้ำหยอดเหรียญขึ้น 4 จุด โดยมีการเสนอโครงการไปเป็นที่ของบประมาณไปแลั้ว 500000 บาทจึงขอให้คณะกรรมการ กทบ. และคณะผู้นำของเราช่วยกันทำงาน และติดตาม โครงการงานต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการและสภาผู้นำ จำนวน 20 คน


      ผลลัพธ์

    2. คณะสภาผู้นำ ได้ประชุมร่วมกับ ผู้ใหผญ่บ้านผู้นำหมู่บ้าน ได้รับรู้ข่าวสารของหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

    3. คณะสภาผู้นำร่วมมือกับกรรมการหมู่บ้านร่วมกันรณรงค์การออกเสียงลงประชามติให้กับประชาชนในหมู่บ้าน

    4. คณะสภาผู้นำโครงการ ได้รับรู้และรับมือกับเสาไฟฟ้าที่จะผ่านในพื้นที่หมู่ที่ 5

    5. คณะสภาผู้นำได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการเสนอของบประมาณ 500000 ของ กทบ.

     

    20 20

    34. เด็ก ผู้สูงอายุ นำกล้าพันธุ์พืชสมุนไพรมาจากบ้าน และปลูกลงในแปลง ดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ย ครั้งที่ 2

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. กำหนดวันลงแปลงสาธิตเพื่อปลูกพืชผักสมุนไพร
    2. เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำกล้าไม้จากบ้านมาปลูกมาแลกเปลี่ยนกัน
    3. ใช้สถานที่สาธารณะในชุมชนเป็นแปลงปลูกร่วมกันในชุมชน ( บริเวณสระ้ำหนองแสง )

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. สภาผู้นำ จำนวน 20 คน

    2. อสม. จำนวน 10 คน

    3. เยาวชน กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน

    4. แปลงปลูกสาธิต 4 แปลง

    ผลลัพธ์

    1. คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี มีกิจกรรมทำร่วมกันทุกคนมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส่ ยอกล้อกัน

    2. คนในชุมชนนำพืชผักมาจากบ้านมาปลูกร่วมกันมาแลกเปลี่ยนกัน

    3. มีแปลงสาธิตเกิดขึ้นในที่สาธ่ารณะ ทำให้พื้นที่สาธารณะเกิดประโยชน์แก่คนในชุมชน ซึ่งผู้ใหญ่บ้านผู้ใหญ่สมศักดิ์ สืบ ได้ขุดลอกหนองน้ำหนองแสง เสร็จใหม่ จึงเสนอให้โครงการทำเป็นแปลงสาธิต มีการช่วยกันปลูก ตะไคร้ ขมิ้น ขิง มะพร้าวน้ำหอมและยังมีการแลกเปลียนพืชผักสมุนไพรนำกลับไปปลูกที่บ้านอีกด้วย

     

    80 80

    35. เวทีถอดบทเรียน การทำงานตลอดโครงการ

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้คณะกรรมการโครงการ สภาผู้นำ ได้มานั่งคุย เพื่อถอดบทเรียนของโครงการ ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา ว่าเราร่วมมือร่วมใจกันทำโครงการนี้แล้วเราได้อะไรบ้าง นางสุดา นาคฤทธิ์ ได้แสดงความคิดเห็น และ พูดคุยสิ่งที่ได้ว่าประโยชน์เรื่องพืช สมุนไพร ที่มีอยู่ในครัวเรือน ที่ปลูกผักปลอดสารพิษ กินเป็นอาหาร มาปรับใช้เป็นตำรับอาหารเป็นยา คนในชุมชนรู้จักนำสมุนไพรที่มีอยู่ มาทำเป็นอาหาร เป็นน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ไว้ใช้ในครัวเรือน สมุุนไพรเป็นยา ที่มีอยู่มากในชุมชน ในขณะนี้ เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบเตยหอม ดอกอัญชัน ขมิ้น ใบธ้มมัง ใบย่านาง มะนาว กระเพรา พริกไยดำ ใบชะพลู ใบมะตูม หัวปลี มะม่วงหาวมะนาโห่ และยังมีการเชิญวิยากร ที่มีความรู้ความเข้าใจในสรรพคุณของสมุนไพรมีปราณช์ชาวบ้าน ค่อยให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนในชุมชน มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน ได้นำสูตรอาหารมาทำกินในครัวเรือน ทำให้ลดโรคความดันเบาหวาน ได้ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นอยู่ ได้เป็นอย่างดี ส่วนผู้สูงอายุได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลาน มีการรณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้กินเอง มีการร่วมตัวกันปลูกเป้นกลุ่มตอนนี้มีการปลูกตะไคร้พ่อค้าเข้ามารับซื้อ ตะไคร้ถึงหน้าบ้านเลย แถมยังมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อใบมะกรูด และมีแปลงสาธิต ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชนจำนวน 4 แปลง มีสูตรอาหารจำนวน 5 สูตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน

    2. สภาผู้นำ จำนวน 20 คน

    ผลลัพธ์

    1.มีการปลูกผักปลอดสารพิษ กินเป็นอาหาร จำนวน 55 ครัวเรือน

    2.มีแปลงสาธิต แหล่งอาหารของชุมชน จำนวน 10 แปลง

    3.มีสูตรตำรับอาหาร พร้อมสรรพคุณของสมุนไพรจำนวน 1 เล่ม มี 5 ชนิด

    4.มีทีมสภาผู้นำ ที่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้น และร่วมใจกันพัฒนาชุนชนบ้านนาพา

    5.มีอาชีพเสริม มีสถานที่รับซื้อตะไคร้ ใบมะกรูด เกิดขึ้นในชุมชน

     

    35 35

    36. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 11

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญคณะกรรมการ เข้าร่วม ประชุม จำนวน 15 คน

    2. คุยทบทวนกิจกรรมที่ ผ่านมา โดยที่ นางรัชฎาพร แสงมณี เสนอให้ ทางคณะกรรมการ เชิญอาจายร์ ในโรงเรียนบ้านนาพา และเด็กๆมาร่วมกิจกรรมครั้งต่อไปด้วย เพราะโรงเรียนมีกลุ่มยุวเกษตรอยู่ด้วย นางสมคิด โสดาพูดว่าเราน่าจะเชิญเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลมาร่วมกิจกรรมกับเราด้วย เพราะเราจะได้สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น

    3. ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นาคฤทธิ์  มอบหมายงานให้คณะกรรมการโครงการ ไปทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการ โครงการ จำนวน 15 คน

    ผลลัพธ์

    1. ได้ความคิดดีๆจากคณะกรรมการโครงการ ที่จะเชิญ สาธารณสุข และโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนมาเข้าร่วมด้วย

    2. คณะกรรมการมีการตื่นตัว รับผิดชอบงานที่ ผู้รับผิดชอบโครงการมอบหมายให้ทำดีขึ้นกว่ารอบอื่นๆที่ผ่านมา

    3. ได้มานั่งปรึกษาพูดคุย และจัดทำเอกสาร และเอกสารการเงิน

     

    15 15

    37. ร่วมรวบภาพ และจัดทำรายงาน

    วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการ มานั่งพูดคุยปรึกษาหารืาอเรื่องการทำกิจกรรมที่ผ่านมา มาประมวลภาพมานั่งดูภาพที่ คิดว่าดีที่ สุดที่ สามารถ นำไปเสนอ ให้พี่เลี้ยง และส่งให้สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สามารถรวบรวมเอกสารการเงิน และข้อมูลรายงานในเว็บไซต์ ได้เสร็จ และสามารถส่งรายงานให้พี่เลี้ยงได้ ก่อนส่งให้ สสส.

     

    15 15

    38. ส่งรายงานให้สจรส.มอ. ตรวจสอบ

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการ ได้นำเอกสาร หลักฐานการเงิน ให้ สจรส.มอ. ตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 4 คน

    ผลผลิต

    1. คณะกรรมการโครงการ ได้นำเอกสาร หลักฐานการเงิน ให้ สจรส.มอ. ตรวจสอบ
    2. ได้ความรู้จากการจัดทำเอกสาร เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำโครงการต่อไป

     

    4 4

    39. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 12

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ทบทวน ประเมินผลการทำกิจกรรม มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง รอบนี้ได้มีการสัญจรไปประชุม ณ สำนักสงฆ์ภูเขาพา และร่วมกันทำบุญร่วมกัน โดยมีทางอำเภอมาร่วมด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน

    1. เจ้าหน้าที่ตำรวจ

    2. ปลัดอำเภอถ้ำพรรณรา

    ผลลัพธ์

    1. ได้ทำบุญร่วมกันของคณะกรรมการโครงการกับยคนในชุมชน

    2. ทางคณะกรรมการโครงการได้พูดคุย ปรึกษาหารือ กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่อำเภอ ขอความคิด ขอความรู้จากคนเล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับโครงการ และใช้ในการดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการ

     

    15 15

    40. คณะกรรมการโครงการ สรุป ตรวจสอบเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวมเอกเอกสาร ช่วยกันทำเอกสารการเงิน ผู้รับชอบโครงการนางสุดานาคฤทธิ์ ชี้แจ้งกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ได้ทำผ่านมาแล้วให้แก่ คณะกรรมการโครงการทุกคนฟัง และขอแสดงความคนิดเห็นว่าเราทำดีหรือยัง ต้องแก้ไขส่วนใด กิจกรรมมใดบ้าง ทางคณะกรรมทุกคนก็ไม่มีปํญหาอะไร นางสมคิด โสดา ถามผู้รับผิดชอบโครงการว่า ( มีอีกไม่ป้าสุโครงการหรือว่าหมดเท่านี้ ) นางสุดา นาคฤทธิ์ ก็เลยตอบไปว่า ( ขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันทำโครงการอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพาของเราให้ได้ประสิทธิภาพ และคนในชุมชนก็สนใจ และยังมีสุขภาพที่ดีขึ้น หลังจากเราทำกิจกรรมกันบ่อยๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ ที่มีสรรพคุณทาง คนในชุมชนของเราลดโรค ความดัน เบาหวานลงได้ ตั้งหลายคน อธิเช่น นางหีด อาวุธ อยู่บ้านเลขที่ 130 นางระเบียบ สิทธา บ้านเลขที่ 192 อย่างนี้เป็นต้น )

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน

    ผลผลิต

    1. มีบุคลากรที่ดี มีคุณภาพในชุมชนบ้านนาพ จำนวน 15 คน

    2. ได้ฟังความตั้งการของตัวผู้นำเอง และคนในชุมชนว่ามีการตอบรับกับโครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา มากน้อยเพี่ยงใด

    3. ได้ช่วยกันเคลี่ยเอกสารต่าง การเงิน การบันทึก เพื่อส่งให้พี่เลี้ยง ดูเพื่อปิดโครงการรอบที่ 2

     

    15 15

    41. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วม ชมนิทรรศการ คนใต้สร้างสุข รับฟังความรู้ และได้ประสบการณ์ที่ดีๆจากพื้นที่อื่นโครงการอื่น และจัดบูทนิทรรศการ อ.ถ้ำพรรณรา มีผลไม้จากถ้ำพรรณรา ไปจำหน่ายอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.  คณะกรรมการโครงการจำนวน 2 คน

    ผลลัพธ์

    1. ได้รับฟังความรู้จากพื้นที่อื่น เพื่อมาปรับใช้กับโครงการของตัวเอง

    2. ได้จัดบูทนิทรรศการ อ.ถ้ำพรรณรา

    3. ได้ชมนิทรรศการ ที่ดีมีคุณภาพ และสนุกสนานมาก

     

    2 2

    42. ประชุมสรุป ปิดโครงการ

    วันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง และทีม สจรส.ม.อ. ตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานผลกิจกรรมในเว็บไซต์ ก่อนส่งรายงานให้ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.  คณะกรรมการโครงการ 2 คน

    ผลลัพธ์

    1.รายงานกิจกรรมมีความสอดคล้องกับรายละเอียดและแผนโครงการที่กำหนด

    2.คุณภาพการบันทึกกิจกรรมในโครงการมีความละเอียดสอดคล้องกับกิจกรรมที่วางแผนไว้และได้ผลเชิงคุณภาพเกินเป้าหมาย

    3.ผลการดำเนินงานเกิดคุณค่า เกิดนวตกรรม ให้ทุกครัวมาร่วมปลูกพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษ และยังสร้างรายได้ให้ครัวเรือน

    4.ปัจจัยความสำเร็จ การมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชนที่รวมตัวกัน ทำให้ครัวเรือนตระหนักในทำเกษตรข้างบ้านปลอดสารพิษ และรู้ เข้าใจถึงประโยชน์จากผัก พืชสมุนไพร

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ชุมชนนำพืชพื้นบ้านสมุนไพรปลอดสารพิษ มาทำเป็นตำรับอาหารเป็นยา
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนต้นแบบปลูกพืชพื้นบ้านสมุนไพรปลอดสารพิษ 50 ครัวเรือน 2. มีแปลงสาธิตปลูกพืชพื้นบ้านสมุนไพรปลอดสารพิษ4แปลง
    • เกิดครัวเรือนต้นแบบปลูกพืชสมุนไพรปลอดสารพิษ จำนวน 50 ครัวเรือน มีแปลงปลูกพืชสมุนไพรข้างบ้านปลอดสารพิษอยู่ในทุกครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือน
    2 เพื่อให้เกิดสูตรตำรับอาหารเป็นยาเพื่อสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : มีสูตรตำรับอาหารที่เป็นยาสมุนไพรเกิดขึ้น 1 ตำรับ (หลายเมนู)
    • เกิดสูตรตำรับอาหารที่เป็นยาสมุนไพร 1 ตำรับ (5 ชนิด)
    3 เพื่อให้พัฒนาให้เกิดสภาผุ้นำที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : มีทีมสภาผู้นำเข้มแข็ง 1 ทีม ที่มีการประชุมต่อเนื่องโดยมีผู้นำที่เป็นทางการ และผู้นำธรรมชาติ
    • มีทีมสภาผู้นำเกิดขึ้น 1 ทีมจำนวน 20 คน
    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. เข้าร่วมกิจกรรม กับสจรส.มอ. 4 ครั้ง ได้แก่ ประชุมปฐมนิเทศน์โครงการ ประชุมอบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า และประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
    2. เกิดป้ายปลอดบุหรี่ในชุมชนจำนวน 1 ป้าย
    3. มีการจัดทำภาพถ่ายทุกกิจกรรม
    4. จัดส่งรายงานความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ สสส.ได้ทันในเวลา

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ชุมชนนำพืชพื้นบ้านสมุนไพรปลอดสารพิษ มาทำเป็นตำรับอาหารเป็นยา (2) เพื่อให้เกิดสูตรตำรับอาหารเป็นยาเพื่อสุขภาพ (3) เพื่อให้พัฒนาให้เกิดสภาผุ้นำที่เข้มแข็ง (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

    รหัสโครงการ 58-03935 รหัสสัญญา 58-00-2184 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ให้เด็กและเยาวชน ในโรงเรียน และในชุมชน กระตุ้นให้ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้านการเกษตรปลอดสารเคมี

    ทำเนียบ ทะเบียนรายชื่อเยาชนที่รวมกลุ่มกัน

    นำผู้คนทุกวัยมาทำกิจกรรมรวมกัน เพื่อกระตุ้นให้มส่วน่วมในทุกขั้นตอน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    แหล่งเรียนรู้ ตำรับอาหารป็นยา หลายเมูภายใต้สมุนไพรที่มาจากพืชผักปลอดสารพิษที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

    แปลงผักในที่ว่างของทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก

    ขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆเพิ่มขึ้น และจัดโซนการปลูกเพื่อสร้างรายได้ให้กับหมู่บ้านนาพา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ใช้พืชสมุนไพรที่เป็นพืชผักในหมู่บ้านผ่านการปลูกแบบปลอดสารพิษ ทำอาหาร ขนม และน้ำสมุนไพรดื่ม ใช้กันเองใหมู่บ้าน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    สร้าง จดทำแปลงผักปลอดสารพิษในที่ว่างข้างๆบ้านทุกครัวเรือนและเหลือขายหมู่บ้านใกล้เคียง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ผัก พืชสมุนไพร เหลือกินในหมู่บ้าน สงออกนอกหมู่บ้าน และ/หรือมีแม่ค้าจากมาเลมารับซื้อ ได้แก่ ใบมะกรูด ผักเขรียง เพิ่มายได้ให้ครัวเรือน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ระดมทุนที่เป็นกลุ่มคน ปราชญ์ชาวบ้านมาร่วมกันใช้ภมิปัญญาด้านมุนไพรที่อยู่มา สอนเด็ก เยาวชน มาทำอหารเพื่อดูแลสขภาพ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03935

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง สุดา นาคฤทธิ์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด