แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง ”

บ้านปากลง หมู่ที่ 6 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย วีระพล คงทอง

ชื่อโครงการ ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง

ที่อยู่ บ้านปากลง หมู่ที่ 6 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03869 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2068

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านปากลง หมู่ที่ 6 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง



บทคัดย่อ

โครงการ " ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านปากลง หมู่ที่ 6 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03869 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,800.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 400 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและลดการใช้สารเคมีในปลูกพืชผัก
  2. เพื่อให้แกนนำชุมชนนำร้านค้าคุณธรรมเป็นกลไกการขับเคลื่อนให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี เกิดการทำความดี มีสินค้าปลอดภัยจำหน่ายในชุมชน
  3. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม (ครั้งที่ 1)

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้การจัดทำโครงการร่วมกับ สสส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมจัดทำปฏิทินโครงการ เรียนรู้การจัดทำโครงการ และการจัดทำรายงานโครงการ การบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์

     

    2 3

    2. ประชุมสภาผู้นำ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 9:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุม ร่วมชี้แจงโครงการ ที่มาของงบ ขั้นตอนการดำเนินงาน เพิ่มเติมในกิจกรรมย่อย ให้ทุกคนได้เสนอแนะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านร่วมกันสอบถาม และร่วมเสนอแนะให้เข้าใจตรงกัน ได้ถามข้อดีข้อเสีย ร่วมอภิปรายกันจนเข้าใจ ร่วมกันลงมติว่าร่วมทำกันเพื่อหมู่บ้าน

    ได้คณะกรรมการร่วมดำเนินโครงการ ดังนี้

    คณะที่ปรึกษา

    1. นายปรีชา ราชประดิษฐ์กำนันตำบลกรุงชิง
    2. นางสาวจันทิมา ศรีนุรัตน์นายก อบต.กรุงชิง
    3. นายราย แก้ววีด สารวัติกำนัน
    4. นายวิเชียร แก้ววีด สารวัติกำนัน

      คณะทำงาน

    5. นางดวงชีพ ณ. สุวรรณ์ การเงิน/บัญชี

    6. นายสมนึก เมืองทอง การเงิน/บัญชี
    7. นายสมบูรณ์ ด้วนเฝือ วิทยากร
    8. นางสาวเบญจวรรณ บัวเพชร เลขา
    9. นายพรเทพ บุญมาศ IT.
    10. นายสนิท ชัยเริก ประชาสัมพันธ์
    11. นายจรัส แก้วเกิด ประสานงาน
    12. นายบุญสง ปานปลอด สถานที่
    13. นางสมใจ ปานปลอด สถานที่
    14. นายน้อย ละอองแก้ว อาหาร 11.นางลำใยละอองแก้ว อาหาร
    15. นายศุภกิต นวลนุช ถ่ายรูป 13.นางสาวนาฏยา สุขคุ้ม ถ่ายรูป

     

    15 56

    3. จัดจ้างทำป้าย

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดจ้างทำป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ป้ายโครงการ

     

    2 4

    4. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. กำนัน ได้เปิดประเด็นการประชุม เรื่องการดำเนินงานในโครงการ การบริหารจัดการ และผลงานที่ควรได้รับจากหมู่บ้าน และให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ซักถาม พร้อมให้ทุกคนได้เสนอกติการ่วมกัน เพื่อให้ทุกคนเกิดความมั่นใจในการจัดกิจกรรมในโครงการ
    2. พี่เลี้ยงโครงการ เล่าความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อให้เกิดกาจัดการตนเองของหมู่บ้าน ให้เกิดชุมชนน่าอยู่ ยับว่าเป็นโอกาสที่หมู่บ้านจะได้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน และตอบข้อซักถามจากที่ประชุม
    3. ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินงาน ให้ทุกคนได้ช่วยคิด กำหนดกติการ่วมกัน
    4. ปราชญ์ชาวบ้าน ร่วมให้ข้อมูลถึงความเป็นไปได้ของโครงการ และผลที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์กับหมู่บ้าน
    5. กลุ่มเป้าหมายที่เริ่มต้น ทำร้านค้าคุณธรรม ให้ข้อเสนอ และแสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
    6. คณะกรรมการช่วยกันตอบคำถามจากที่ประชุม
    7. กำนันให้ทุกคนลงมติร่วมมือกันดำเนินการ
    8. ร่วมกันเสนอแนะกติกา และลงมติจัดกิจกรรมร้านค้าคุณธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สังเกตเห็นความร่วมมือร่วมใจจากทุกคน ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันลงมติเพื่อดำเนินงานร่วมกัน
    2. เกิดบรรยากาศการทำงานที่ดี โดยกลุ่มเป้าหมายในโครงการเป็นผู้แสดงความคิดเห็น และกำหนดกติกาเอง กติกาที่เสนอจากที่ประชุม ได้แก่ การนำผักมาวางไว้ที่ร้านค้าคุณธรรม แล้วให้ผู้ซื้อ จ่ายเงินโดยหยอดกระปุกไว้ ตอนเย็นคณะกรรมการมาเปิดกระปุกเงิน จ่ายเงินให้เจ้าของผัก และมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ติดตามผล
    3. บรรยากาศการประชุมเป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดีมาก เห็นได้จาก ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งหมด คิดกันเป็นกลุ่มย่อย และรวมกันเป้นกลุ่มใหญ่ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรม ลงมติร่วมกัน ซึ่งเป็นบรรยากาศที่เพิ่มการเรียนรู้ได้ดี
    4. ทุกคนเกิดความมั่นใจในการจัดกิจกรรม นัดแนะกันไปปฏิบัติ และติดตามผลกันเอง

     

    100 46

    5. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้การบันทึกรายงาน การจัดทำใบสำคัญรับเงิน การดำเนินโครงการ โดยได้รับฟังบรรยาย และสอบถามข้อสงสัยจาก สสส. สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำโครงการ ฝึกเขียนรายงาน และทำหลักฐานการเงิน

     

    2 3

    6. จัดทำข้อตกลงร้านค้าคุณธรรม

    วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้ร่วมกันจัดเวทีจัดทำข้อตกลง ตอนแรกให้ทำให้คนในหมู่บ้านเห็นก่อนว่า มีความโปร่งใส ไม่มีคนเฝ้า จึงได้ทำประชาสัมพันธ์ ได้สรุปกันว่า ทำทุกวันเสาร์ ได้ทั้งหมด 7 วันเสาร์ ได้ทำกันต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อตกลงร้านค้าคุณธรรมร่วมกัน คือ ทุกคนในชุมชนสามารถนำสินค้าที่ปลอดภัยจากสารเคมีมาวางขายได้ สินค้าที่นำมาขายเน้นพืชผักและอาหารแปรรูปที่สามารถหาได้ในชุมชน ทุกคนจะช่วยกันสอดส่องดูแลร้านค้าเพราะร้านค้าเป็นของพวกเราทุกคน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ทำกันทุกวันเสาร์ ได้ 7 วันเสาร์ ชาวบ้านนำผักมาร่วมขายโดยไม่มีแม่ค้านั่งอยู่ รวมเงินในกระปุก ได้ 3,600 บาท ชาวบ้านดีใจมาก และเห็นตัวอย่างการทำ พร้อมมาร่วมทุกวันเสาร์ และได้ตกลงกัน ดังนี้

    1. พอหกโมงเช้าให้ทุกคนนำมารวมของที่ร้าน แล้วลงสมุดไว้ แล้วเรียบเรียงของ เอาโทรศัพท์ถ่ายรูปไว้
    2. พอแปดโมง นัดให้คนที่จัดการลงรายการมานับ แล้วได้ถ่ายรูปไว้ว่าเหลือเท่าใด และคนที่ไม่ได้มารับเเงินในเวลาแปดโมง ก็จะมารับที่กลุ่มเวลาอื่น หรือมารับในวันเสาร์ต่อไป
    3. ของที่นำมาต้องปลอดสารพิษ มีคุณภาพ เป็นคุณธรรมของบ้าน ที่ต้องนำของที่ปลอดสารพิษมา เป็นความซื่อสัตย์ของชาวบ้านเพื่อผู้ซื้อ
    4. ตอนนี้มีเริ่มต้น 6 ราย พอเป็นตัวอย่าง และนัดทำกันต่อเนื่อง
    5. ให้ทุกคนช่วยมาทำร้านค้า ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันบริจาคไม้ ตกลงกันว่าทำ 1 วันต่อสัปดาห์ ช่วยกัน
    6. ชาวบ้านที่เห็นแล้วนำผักมาขายเพิ่มได้

     

    30 77

    7. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปข้อบกพร่องในการนำของมาวางที่ร้านค้าคุณธรรม สรุปแล้วปรับปรุง เสนอแนะกันตามผลงานข้างล่าง พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ คนที่มาตั้งของโดยที่ไม่มีคนมาจดที ก็เลยว่าของใครไม่รู้ ไม่รู้ให้ใคร ทบทวนกันใหม่ และวางแผนต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดการตั้งกติกากลุ่มร่วมกัน

    1. คนที่วางของต้องรอให้คนที่จดบันททึกมาก่อน หรือไม่พบคนบันทึกก็ให้เขียนชื่อไว้ที่ป้าย มีป้ายไว้ให้
    2. คนที่นำมาวางขายที่ไม่รุ้ว่าขายได้หรือไม่ จึงตกลงให้ถ่ายรูปไว้ ก่อน และหลัง
    3. เก็บกระปุกตอนแปดโมง ถ้าแปดโมงไม่มีคนมา จะเอาไปไว้ที่บ้านคนรับผิดชอบ นายสมนึก เมืองทอง
    4. ทุกคนช่วยกันทำร้านค้าโดยใช้ไม้ในท้องถิ่น

     

    15 19

    8. ปฏิบัตการเก็บข้อมูลการใช้สารเคมี

    วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี และวางแผนการลงสำรวจ แบ่งเป็น 3 สาย เพื่อกระจายกันไปสำรวจตามบ้านเรือนทั่วทั้งหมู่บ้าน โดยแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกสิบคนโดยให้เจ้าหน้าที่ อสม.ของหมู่บ้านเป็นหัวหน้ากลุ่ม วางแผน กำหนดขอบเขต แนะนำ สมาชิกที่เป็นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านออกสำรวจข้อมูลตามพื้นที่ในสายของตัวเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการร่วมกับเด็กและเยาวชนออกสำรวจการใช้สารเคมีตามบ้าน ตามโซนที่ได้รับมอบหมาย ได้ข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภทได้แก่ 1.ปุ๋ยเคมี
    2.ยาฆ่าหญ้า 3.ยาฆ่าแมลง 4.เครื่องสำอาง 5.น้ำยาทำความสะอาดภายในบ้าน 6.อาหาร/เครื่องดื่ม 7.สารเสพติด

     

    100 30

    9. ปฎิบัติการเก็บข้อมูลการใช้สารเคมี

    วันที่ 21 ธันวาคม 2558 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี และวางแผนการลงสำรวจ แบ่งเป็น 3 สาย เพื่อกระจายกันไปสำรวจตามบ้านเรือนทั่วทั้งหมู่บ้าน โดยแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกสิบคนโดยให้เจ้าหน้าที่ อสม.ของหมู่บ้านเป็นหัวหน้ากลุ่ม วางแผน กำหนดขอบเขต แนะนำ สมาชิกที่เป็นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านออกสำรวจข้อมูลตามพื้นที่ในสายของตัวเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการร่วมกับเด็กและเยาวชนออกสำรวจการใช้สารเคมีตามบ้าน ตามโซนที่ได้รับมอบหมาย ได้ข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภทได้แก่ 1.ปุ๋ยเคมี
    2.ยาฆ่าหญ้า 3.ยาฆ่าแมลง 4.เครื่องสำอาง 5.น้ำยาทำความสะอาดภายในบ้าน 6.อาหาร/เครื่องดื่ม 7.สารเสพติด

     

    100 30

    10. ปฎิบัติการเก็บข้อมูลการใช้สารเคมี

    วันที่ 22 ธันวาคม 2558 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี และวางแผนการลงสำรวจ แบ่งเป็น 3 สาย เพื่อกระจายกันไปสำรวจตามบ้านเรือนทั่วทั้งหมู่บ้าน โดยแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกสิบคนโดยให้เจ้าหน้าที่ อสม.ของหมู่บ้านเป็นหัวหน้ากลุ่ม วางแผน กำหนดขอบเขต แนะนำ สมาชิกที่เป็นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านออกสำรวจข้อมูลตามพื้นที่ในสายของตัวเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการร่วมกับเด็กและเยาวชนออกสำรวจการใช้สารเคมีตามบ้าน ตามโซนที่ได้รับมอบหมาย ได้ข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภทได้แก่ 1.ปุ๋ยเคมี
    2.ยาฆ่าหญ้า 3.ยาฆ่าแมลง 4.เครื่องสำอาง 5.น้ำยาทำความสะอาดภายในบ้าน 6.อาหาร/เครื่องดื่ม 7.สารเสพติด

     

    100 30

    11. ปฎิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี

    วันที่ 28 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันนำข้อมูลที่ได้ มาทำการรวบรวม พูดคุย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่คนในชุมชนต้องใช้สารเคมี หาแนวทางลดการใช้สารเคมีในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ชุดข้อมูลเกี๋ยวกับปริมาณการใช้สารเคมี แบ่งเป็นกลุ่มๆ ตามที่ได้สำรวจ ดังนี้

    ปุ๋ยเคมี2,103,630 บาท
    ยาฆ่าหญ้า 832,815 บาท
    ยาฆ่าแมลง 884,150 บาท
    เครื่องสำอาง 1,646,010 บาท น้ำยาทำความสะอาด1,663,133 บาท
    อาหาร/เครื่องดื่ม 3,435,866 บาท
    สารเสพติด 1,471,900 บาท

    เฉลี่ย

    ทั้งหมู่บ้าน ต่อปี 12,037,504 บาท ต่อเดือน 1,003,125.33 บาท ต่อวัน 32,979.46 บาท
    ต่อครัวเรือน ต่อปี 46,838.54 บาท ต่อเดือน 3,903.21 บาทต่อวัน 128.32 บาท
    ต่อคนต่อปี 12,333.51บาทต่อเดือน 1,027.79 บาทต่อวัน 33.79บาท

     

    40 62

    12. จัดเวทีนำเสนอข้อมูลร่วมกันวางแผน เพื่อปฎิบัติการลดการใช้สารเคมี

    วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และวิเคราะห์ร่วมกัน มาชี้แจงในที่ประชุมทราบ แจ้งยอดเงินที่ใช้ไปในการซื้อสารเคมีในชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา คุณพงษ์พัฒน์ พิมเสน เจ้าหน้าที่เกษตร นบพิตำ  ได้ร่วมให้ความรู้เกี๋ยวกับการใช้สารเคมี ชาวบ้านร่วมซักถามข้อสงสัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านทราบข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชน
    ได้รับความรู้เบื้องต้น เกี๋ยวกับสารเคมี ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมี ร่วมกันทำงานเพิ่ม เห็นความสำคัญเรื่องตัวเองและครอบครัวจ ต้องย่ำแย่ หันมาปลูกผักเอง ไม่ใช้สารเคมี

    ร้านค้าคุณธรรมที่เราทำขึ้น มีคนเพิ่มมาก เห็นความสำคัญของการลดการใช้สารเคมี

    พบว่าในวันประชุมประจำเดือน มีคนนำผักปลอดสารพิษมามากขึ้น มีขนมมามากขึ้น ทำให้ที่ประชุมครึกครื้นมากขึ้น

     

    40 74

    13. ลงแขกวันเปิดร้านค้าคุณธรรม

    วันที่ 12 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการร่วมกันตั้งร้านนค้า พร้อมเชิญชวนชาวบ้านร่วมกิจกรรม ชาวบ้านร่วมกันนำสินค้ามาจำหน่าย
    ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน เด็กและเยาวชนร่วมกันซื้อ-ขายสินค้า มีนายอำเภอนบพิตำ เป็นประธานหยอดกระปุกคนแรก มีกำนันหยอดคนที่สอง ชาวบ้านคนต่อๆ ไป ของขายหมดเกลี้ยง กระตุ้นได้ดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนที่มาร่วม มาจากอำเภอนบพิตำ มีนายอำเภอ ทีมพัฒนาชุมชน มีร้านห้างจากในตลาดมาด้วย และมาร่วมซื้อของเราด้วย ชอบมาก เราได้เปิดร้านให้เห็นเป็นร้านค้าคุณธรรม เป็นเอกลักษณ์หมู่บ้าน มีคนสนใจมาก มีคนมาสอบถามมาก ผู้รับผิดชอบจึงเล่าให้ฟังว่า ใช้งบจาก สสส มาร่วมแรงร่วมใจทำเป็นร้านค้าคุณธรรม มีคนไปมุงมาก สนใจกว่าที่อื่นมาก -ได้บอกเรื่องคุณธรรมในการทำร้านค้า ที่ปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี แล้วไม่ต้องมีคนขาย ของไม่สูญหาย ที่ทำมาไม่เคยหาย เงินไม่ขาด เท่าแต่เพิ่ม หยอดเพิ่มให้โดยความชอบ ไม่เอาตังทอน เพราะไม่มีใครทอน ให้ไปเลย เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าในชุมชน ชาวบ้านให้ความสนใจร้านค้า และเข้าใจกฎกติกาของร้านค้าเพิ่มขึ้น

     

    30 90

    14. ประชุมสภาผู้นำ

    วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ที่ประชุมร่วมลงมติ กำหนดให้มีการประชุมวาระทั่วไป ในวันที่ 5 ของทุกเดือน เวลา 9.00-16.00 ส่วนวาระเร่งด่วน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งฝ่ายประสานงานตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมได้เริ่มสร้างกฎ กติกาเพื่อใช้ร่วมกัน (กำหนด วัน เวลา ประชุม) ที่แน่นอน ทุกวันที่ห้า

    1. ทุกคนต้องมาก่อนเวลา ครึ่งชั่วโมง เพื่อเตรียม
    2. เริ่มเก้าโมง เลิกบ่ายสอง ได้กินอาหารเที่ยงกัน
    3. หลังจากเปิดแล้ว นายอำเภอ กำนัน มาเริ่มแล้ว พบว่าชาวบ้านปลูกผักมากขึ้น
    4. คนไม่มีเวลาขายได้เอาของมาขาย คนที่ไม่กล้าขายก็ได้เอาของมาขาย ดีใจสุดๆ
    5. ให้เริ่มจากหิ้วมา แล้วค่อยทำหาบ ตอนนี้เราทำห้างให้ ทำให้ฟรี เท่ากับของเราเอง ร่วมทำกันเอง
    6. ให้ทุกคนมาร่วมกิจกรรมและเสนอเพิ่มในวันประชุม

     

    15 20

    15. ลงแขกแลกแรง

    วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชาวบ้านร่วมกันไปตัดไม้ในพื้นที่หมู่ 6 กรุงชิง เพื่อมาใช้ในการทำร้านค้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนสามวัยไปรถกะบะของนายจรัญ แก้วเกิด ขึ้นไปตัดไม้ในท้องถิ่น ในสวนของชาวบ้าน ชาวบ้านให้ ไม้ขึ้นเอง นำมาใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม้มีค่าสำหรับสร้างบ้าน แต่ขายไม่ได้ ชาวบ้นให้เปล่า ได้ไม้พังแหร ซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองสมัยก่อนนำมาสร้างบ้านอยู่อาศัย มีอายุยืนยาว จึงนำมาทำร้านค้า เป็นไม้ในท้องถิ่นที่ทำบ้านกันชั่วลูกหลาน ได้มานำมาทำโครงร้านค้า นำมาปอก นับจำนวนแล้วมัด นำมาไว้ที่หน้าบ้าน นายบุญเลิศ มะค่อม ตามที่ได้ออกแบบไว้ มาเตรียมทำร้านค้า ได้นำมาทำเพิ่มเติม มีชาวบ้านมาช่วยเพิ่ม ให้ความร่วมมือดีมาก

     

    40 18

    16. ลงแขกแลกแรงช่วยกันทำโต๊ะเพื่อใช้ในร้านค้าคุณธรรม

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงแขกทำโต๊ะเพื่อใช้ในตลาดคุณธรรม ได้โต๊ะทั้งหมด 4 ตัว และร่วมกันสร้างร้านค้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้โต๊ะ 4 ตัว ขนาดความยาว 1 เมตร กว้าง 1 เมตร จากวัสดุที่ชาวบ้านช่วยกันหาไว้ นำมารวมกัน มีช่างไม้มาสอน เป็นแกนนำในกลุ่ม คนดำเนินงาน มีฝีมือ มาช่วย ร่วมกันทำลูกในโต๊ะก่อน แล้วทำข้างนอก มาขึ้นโครงเสา ตัดเสามาก่อน มาปรับที่ แล้วไปตัดมาทำเพิ่มเติม ได้เป็นรูปเป็นร่าง ร่วมมือทำกัน มีแกนนำที่เป็นช่างไม้ ได้แก่ นายจรัญ แก้วเกิด นายวีรพล นายพรเทพ นายสมนึก และคณะกรรมการเป็นคนทำ เพื่อให้คนอื่นเห็น ต่อมาคนอื่นอื่นมาร่วมช่วยกันมากขึ้น

     

    40 27

    17. ประชุมสภาผู้นำ

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกรรมการได้ร่วมประชุมเพื่อทำงานต่อเรื่องวางแผนการเปิดร้านค้า และหาอุปกรณ์เพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีข้อสรุปการวางแผนไปตัดไม้เพื่อมาทำโต๊ะเก้าอี้ในร้านค้าคุณธรรมเพิ่ม โดย

    1. รวบรวมเลื่อย เลื่อยยนต์ เลื่ยยโครง สิ่ว
    2. มีคนอาสาเอาอุปกรณ์จากบ้านมาช่วย
    3. มีคนอาสาเตรียมอาหารเตรียมน้ำเพื่อให้คนมาช่วยได้กิน

     

    15 18

    18. ลงแขกแลกแรง

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันตัดไม้เพิ่มเติม เพื่อสร้างรั้วร้านค้า และได้นำไม้มาสร้างเป็นร้านค้าคุณธรรมร่วมกัน โดยไปตัดไม้มาทำเสา ไปขอไม้ที่เจ้าของสวนที่ให้ตัด คือ สวนของบ้านห้วยพาน ชื่อน้องเนือบ น้องครื้น ได้ไม้เทียมมา มีเนื้อสวยพอทำเสาได้ และที่เหลือนำมาปลอกเปลือกไว้ทำ ตัดเสร็จ ขนขึ้นรถ มาไว้ที่บ้านายบุญเลิศ เพื่อประกอบเป็นตัวโครงร้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ผลดี คือ ไม้ได้เต็มรถ เขาให้ได้นำมาได้หมด นำมาใช้ทำของเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ โครงร้าน ซึ่งเป็นการทำของชาวบ้าน ใช้แต่แรงทำกันเอง ไม่ต้องใช้คนอื่น รวมทำกันเอง มีช่างไม้ประจำหมู่บ้าน เป็นคนบอกให้คนช่วยทำส่วนประกอบ แล้วนายช่างมารวมเป็นชิ้น ช่วยทำหลายวัน เพื่อไม่ได้ลำบากเรื่องการทำมาหากิน จึงใช้เวลาว่างมาช่วยกันทำ บางครั้งไม่ต้องมาครบทั้ง 20 คน สลับกันมาช่วยทำ มากันเรื่อยๆ โดยใช้ที่ประชุมเป็นที่วางแผนว่า ใครมาทำวันไหน ไว้ไหนควรมากี่คน วันไหนที่ใช้ผู้หญิงได้ ให้ผู้หญิงมา วันไหนต้องการผู้ชายให้ผู้ชายมา วันไหนให้นายช่างใหญ่มา ก็มา ใช้การติดต่อบอกกันตลอดเวลาทางโทรศัพท์ เล่นไลน์ กัน บอกกันบ้าง สั่งความไปมั้ง ขับรถผ่านก็บอก บอกหลายรูปแบบ

     

    40 14

    19. รายงานผลการดำเนินงานในรอบเดือนที่ผ่านมา/วางแผนการทำงานในเดือนนี้

    วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทีมทุกคน เพื่อเตรียมไปเอาตัวหนอนมาทำเป็นพื้นที่ร้าน และให้ทุกคนประเมินการนำอุปกรณ์มาเตรียม ประเมินการนำของมาวางที่ร้านค้าทุกวันเสาร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในวาระแรก คือเตรียมการไปเอาตัวหนอน เตรียมพร้อมตอนตีหกหัวเช้าในวันรุ่งขึ้น มาพร้อมแล้วนำอุปกรณ์
    ใรวาระที่สอง เรื่องร้านค้าว่าเราจะเอาอย่างไรในปัญหาที่เกิดคือ คนเอาวางแล้วไม่รู้เจ้าของ ติดตามย้ำกันทุกเดือน สรุปว่าติดตามคนที่เอามาเป็นใคร ต้องเอาของไว้ให้ เน้นการมีคุณธรรม

    ตอนนี้สมาชิกทุกคนปลูกผักมากขึ้นมาก ขายดีแต่ไม่มีผักขาย ขายหมดทุกครั้ง เพราะชาวบ้านชอบเห็นว่าปลอดสารพิษ
    เอามาขายลูกหลานเอง ไม่กังวลเรื่องอื่นๆ ลูกหลานเองซื้อไปก็มั่นใจ

    วาระต่อไปวางแผนว่าจะไปงานประเพณีของสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นงานบุญอะไร จะไปช่วยทำบุญ และไปร่วมงาน งานแรกเริ่มแรกเลยที่บางขัน งานน้องเทพ นัดเช่ารถตู้ไว้หนึ่งคัน เป็นงานของสมาชิกร้านค้าคุณธรรม การไปคือ ระหว่างทางจะมีการปลูกผักปลอดสารพิษ วางแผนไว้ว่าจะไปดู ถ้าทำได้จะเอามาทำที่บ้านเรา

     

    15 15

    20. นำตัวหนอนปูนซิเมนต์มาปูพื้นร้านค้าคุณธรรม

    วันที่ 6 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีคนไปเห็นว่ามีตัวหนอนที่เขาดันทิ้งที่ทางไปทะเลหมอก จึงไปขอที่บ้านผู้ใหญ่สุธี ที่เป็นผู้ดูแล จึงไปขอมาใช้ในร้านค้า จึงได้มา แล้วมาชวนสมาชิกไปเอาวันนี้ แบ่งกันไป 4 คันรถ ทุกมา 2,000 กว่าก้อน นำมาไว้ ช่วยกันเรียงวันหลัง นักกันอีกที วันที่ 10 มาช่วยกันทั้งวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากของที่เขาไม่เอาแล้ว มาใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องใช้เงินซื้อ ใช้แรงไปช่วยขน ดีใจมากที่ของไม่มีค่า มาสร้างค่าขึ้นได้

    การมีร้านค้าช่วยให้เราทุกคนได้เดินมาซื้อของได้ เพราะเราเตรียมไว้ คนขับรถไม่เป็นก็มาซื้อได้ ไม่ต้องขับรถ ได้ของปลอดสารพิษได้ เกิดประโยชน์กับคนในหมู่บ้าน ให้ความรู้สึกที่ดีกับนักท่องเที่ยวได้ 

     

    40 24

    21. ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มพันธุ์ไม้ น้ำยาไล่แมลง และฮอร์โมนพืช

    วันที่ 8 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมักสูตรเร่งต้นแก่ชาวบ้านสรุปได้ดังนี้ วัตถุดิบ - แกลบดำ 1 กระสอบ
    - รำละเอียดครึ่งกระสอบ - กากน้ำตาล 2 ลิตร - มูลค้างคาว 1 กระสอบ (หากเป็นมูลส้ตว์ชนิดอื่นให้ให้ 2 กระสอบ) - ขุยมะพร้าว 2 กระสอบ - น้ำหมักสูตรปลาเจือจาง 20 ลิตร

    1.นำส่วนผสมทุกอย่าง ยกเว้นน้ำหมักกับกากน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากัน
    2.จากนั้นเติมกากน้ำตาลและน้ำหมักลงไป
    3.ลองใช้มือกำปุ๋ยดูถ้าไม่มีน้ำไหลซึมออกมาถือว่าใช้ได้
    4.เมื่อแบมือออกปุ๋ยจับตัวกันเป็นก้อน จากนั้นนำไปหมักในที่ร่มโดยใช้ผ้าใบคลุมไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน จึงสามารถนำไปใช้ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านให้ความสนใจในการทำปุ๋ยหมักเป็นอย่างดี ร่วมซักถามข้อสงสัย และร่วมลงมือปฏิบัติทำปุ๋ยจริง วิทยากรได้แจกจ่ายปุ๋ยให้ผู้ร่วมปฏิบัติและผู้ร่วมกิจกรรมนำไปหมักไว้ใช้เองที่บ้าน

     

    100 100

    22. ปฎิบัติการทำปุ๋ยอินทรีย์และวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี

    วันที่ 8 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมักสูตรเร่งต้นแก่ชาวบ้านสรุปได้ดังนี้ วัตถุดิบ - แกลบดำ 1 กระสอบ
    - รำละเอียดครึ่งกระสอบ - กากน้ำตาล 2 ลิตร - มูลค้างคาว 1 กระสอบ (หากเป็นมูลส้ตว์ชนิดอื่นให้ให้ 2 กระสอบ) - ขุยมะพร้าว 2 กระสอบ - น้ำหมักสูตรผักผลไม้เจือจาง 20 ลิตร

    1.นำส่วนผสมทุกอย่าง ยกเว้นน้ำหมักกับกากน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากัน
    2.จากนั้นเติมกากน้ำตาลและน้ำหมักลงไป
    3.ลองใช้มือกำปุ๋ยดูถ้าไม่มีน้ำไหลซึมออกมาถือว่าใช้ได้
    4.เมื่อแบมือออกปุ๋ยจับตัวกันเป็นก้อน จากนั้นนำไปหมักในที่ร่มโดยใช้ผ้าใบคลุมไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน จึงสามารถนำไปใช้ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านให้ความสนใจในการทำปุ๋ยหมักเป็นอย่างดี ร่วมซักถามข้อสงสัย และร่วมลงมือปฏิบัติทำปุ๋ยจริง วิทยากรได้แจกจ่ายปุ๋ยให้ผู้ร่วมปฏิบัติและผู้ร่วมกิจกรรมนำไปหมักไว้ใช้เองที่บ้าน

     

    40 100

    23. รายงานผลการดำเนินงานในรอบเดือนที่ผ่านมา/วางแผนการทำงานในเดือนนี้

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ที่ประชุมร่วมลงมติ กำหนดให้มีการประชุมวาระทั่วไป ในวันที่ 5 ของทุกเดือน เวลา 9.00-16.00 ส่วนวาระเร่งด่วน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งฝ่ายประสานงานตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมได้เริ่มสร้างกฎ กติกาเพื่อใช้ร่วมกัน (กำหนด วัน เวลา ประชุม) ที่แน่นอน ทุกวันที่ห้า

    1.ทุกคนต้องมาก่อนเวลา ครึ่งชั่วโมง เพื่อเตรียม 2.เริ่มเก้าโมง เลิกบ่ายสอง ได้กินอาหารเที่ยงกัน 3.หลังจากเปิดแล้ว นายอำเภอ กำนัน มาเริ่มแล้ว พบว่าชาวบ้านปลูกผักมากขึ้น 4.คนไม่มีเวลาขายได้เอาของมาขาย คนที่ไม่กล้าขายก็ได้เอาของมาขาย ดีใจสุดๆ 5.ให้เริ่มจากหิ้วมา แล้วค่อยทำหาบ ตอนนี้เราทำห้างให้ ทำให้ฟรี เท่ากับของเราเอง ร่วมทำกันเอง 6.ให้ทุกคนมาร่วมกิจกรรมและเสนอเพิ่มในวันประชุม

     

    15 20

    24. ปฎิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันนำข้อมูลที่ได้ มาทำการรวบรวม พูดคุย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่คนในชุมชนต้องใช้สารเคมี หาแนวทางลดการใช้สารเคมีในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ชุดข้อมูลเกี๋ยวกับปริมาณการใช้สารเคมี

     

    40 40

    25. ปฎิบัติการทำน้ำสมุนไพรไล่แมลง สมุนไพรปราบศัตรูพืช สมุนไพรเร่งดอกและเร่งผล

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายสมบูรณ์ ด้วนเฝือ วิทยากร บรรยาย ให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ย พร้อมสาธิตวิธีการทำ และให้ชาวบ้านช่วยกันนำสมุนไพรที่ได้มาสับให้ละเอียดแล้วทำการต้ม เมื่อเสร็จแล้วนำไปหมักต่อเพื่อนำมาแจกจ่านให้กับชาวบ้านในเดือนถัดไป ไว้ใช้ฉีดพ่นพืชผักเพื่อไล่แมลงศัตรูพืชต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ลงมือปฎิบัติทำปุ๋ยร่วมกัน ตามอัตราส่วนและขั้นตอนที่วิทยากรแนะนำ ได้ปุ๋ยหมักนำกลับไปใช้ที่บ้าน มีผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก

     

    100 100

    26. ลงแขกแลกแรง

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานและชาวบ้านช่วยกันสร้างหลังคามุงจาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้หลังคาร้านค้าคุณธรรม

     

    30 20

    27. พัฒนาศักยภาพผู้นำ

    วันที่ 5 มิถุนายน 2559 เวลา 9.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทีมทุกคน เพื่อเตรียมไปเอาตัวหนอนมาทำเป็นพื้นที่ร้าน และให้ทุกคนประเมินการนำอุปกรณ์มาเตรียม ประเมินการนำของมาวางที่ร้านค้าทุกวันเสาร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในวาระแรก ร่วมกันเสนอชื่อชนิดพืชผักที่กินได้ที่มีอยู่ในชุมชน ใรวาระที่สอง ร่วมกันเลือกชนิดพืชผักและวิธีการปลูก วิธีการดูแลรักษา รวมถึงประโยชน์ด้านสุขภาพ เพื่อได้นำข้อมูลไปเสนอต่อชาวบ้านอีกครั้ง

     

    15 18

    28. วิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมีและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการปลูกและดูแลพืชผักแบบวิถีดั่งเดิม

    วันที่ 8 มิถุนายน 2559 เวลา 08:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำข้อมูลเรื่องพืชผักที่มีอยู่ในชุมชนซึ่งได้จากการประชุมมานำเสนอต่อชาวบ้านพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพืชผักต่างๆกับชาวบ้าน ให้ชาวบ้านร่วมกันเสนอพื้นที่เพื่อสร้างแปรงสาธิตสำหรับปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ก่อนนำไปเสนอเพื่อขอใช้พื้นที่กับผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมเห็นชอบให้ขอใช้พื้นที่บริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากลงต่อผู้นำชุมชนเพื่อสร้างแปลงสาธิต

    ได้ชนิดพืชผักที่ชาวบ้านร่วมกันนำเสนอให้ปลูก เช่น กระถิน มะขาม ยอดเขลียง ชะอม ยอดมันปู ยอดหมุย ลูกฉิ้ง ต้นแค หมากเม้า ยาร่วง ถอบแถบ ผักหวาน เล็บครุฑ ย่านาง ย่านหัน เป็นต้น

     

    100 81

    29. พัฒนาศักยภาพผู้นำ

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ที่ประชุมร่วมลงมติ กำหนดให้ร่วมลงแขกทำร้านค้าอีกครั้งหลังจากที่งบประมาณจาก สสส. เข้าแล้ว ในวันเสาร์ที่ 16 ของเดือนนี้ เวลา 9.00-16.00

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อตกลงร่วมกันในการสร้างร้านค้าคุณธรรม

     

    15 20

    30. สภาผู้นำพัฒนากลไกให้ขับเคลื่อนได้ต่อเนื่อง

    วันที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 08:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำร่วมกันชี้แจงผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งเสนอให้ปรับโครงสร้างของคณะกรรมการใหม่ เพื่อให้โครงการดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อทำโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่สอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานเห็นชอบในการปรับโรงสร้างใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดสรรผู้สนใจเข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการ

     

    40 50

    31. ถอดบทเรียน

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงจาก สจรส.มอ. ร่วมถอดบทเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ เกิดผลลัพธ์ที่ดี ดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมายเข้ามาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง มีจำนวนมากกกว่าที่ตั้งไว้ 2. เกิดกลุ่มกล้วยไข่บานที่เข้มแข็ง เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สนใจ และหน่วยงานอื่นๆ
    3. ค้นพบปราชญ์ชาวบ้านเพิ่มขึ้น 4. เกิดความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น

     

    5 5

    32. ประชุมชี้แจงโครงการ(ร้านค้า)

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชาวบ้านร่วมกันนำสินค้ามาวางจำหน่าย ก่อนเวลาเปิด เมื่อถึงเวลาเปฺิด นายกองการบริหารส่วนตำบลกรุงชิง นางสาวจันทิมา ศรีนุรัตน์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด
    ชาวบ้านร่วมกันซื้อขายสินค้า รับประทานอาหารร่วมกัน บางกลุ่มก็ซื้อสินค้ามาแจกจ่าย ผู้เข้าร่วมกินจกรรม รับประทานกันบริเวณร้านค้า มีเจ้าหน้าที่จาก อิซูสุท่าศาลา มอบของขวัญให้กับร้านค้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนได้มีร้านค้าซึ่งเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้ากันภายในชุมชน

     

    200 168

    33. เวทีนำเสนอผลการทำน้ำหมักเพื่อปฎิบัติการลดการใช้สารเคมี

    วันที่ 1 กันยายน 2559 เวลา 08:00 - 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานร่วมกันชี้แจงกติการ้านค้า ให้คนในชุมชนเข้าใจตรงกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ร่วมกันกำหนดกติกาและหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม

     

    100 86

    34. คืนข้อมูลการติดตามและจัดทำข้อตกลงร้านค้าคุณธรรม

    วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน ร่วมกับชาวบ้านที่เข้าใจกติกาดีแล้ว ร่วมกันทำความเข้าใจกับผู้สนใจเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีชาวบ้านเข้าใจกติการ้านค้าดีขึ้น ร่วมกันปรับปรุงกติกาเดิม และจัดทำข้อตกลงใหม่ เพื่อความสะดวก และเหมาะสมในการ ซื้อ-ขาย สินค้าที่ร้าน ชาวบ้านเสนอให้คณะกรรมการดำเนินโครงการนำพืชผัก ที่ชาวบ้านร่วมกันปลูกมาวางจำหน่ายที่ร้านค้าได้ เพื่อนำเงินมาปรับปรุงและพัฒนาร้านค้าให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการเสนอให้นำผลผลิตที่บ้านมาวางในช่องแจกฟรี
    ชาวบ้านเสนอให้คณะกรรมการดำเนินโครงการพิจจารณาสินค้าที่นำมาวางขายแล้ว ขายไม่หมด ให้คณะกรรมการดำเนินโครงการนำมาวางในช่องแจกฟรีได้

     

    100 100

    35. ถอดบทเรียน

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำชุมชน คณะทำงาน และชาวบ้าน ร่วมกันประเมินผลการดำเนินโครงการในรอบปีที่ผ่านมา พูดคุยตามที่เตรียมกับพี่เลี้ยงไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ ได้คนเข้ามาเสริมในคณะทำงานในปีถัดไป
    ผู้นำชุมชนใช้ร้านค้าคุณธรรมเป็นกลไกการขับเคลื่อนให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี เกิดการทำความดี มีสินค้าปลอดภัยจำหน่ายในชุมชน

    (1) ผลลัพธ์สำคัญที่เกิดขึ้นและหลักฐานเชิงประจักษ์ เกิดนวัตกรรมด้านสิ่งประดิษฐ์ "ร้านค้าคุณธรรม" เป็นสื่อกลางให้คนมาร่วมสืบสานภูมิปัญญา สร้างความรัก สามัคคี ใช้หลักคุณธรรม ความโปร่งใส

    (2) กลไกหรือกิจกรรมสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์และควรเรียนรู้ การดำเนินงานตามกฎ กติกา ของชุมชน ของกลุ่มผู้นำชุมชน ช่วยเอื้อให้ประชาชนเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นในการทำความดี นำวิถีเดิมของหมู่บ้านกลับมา ผลผลิตมาวางขายที่ร้านค้าคุณธรรม

    (3) เงื่อนไขของการเรียนรู้หรือการมีพื้นที่อื่นนำไปทำเป็นแบบอย่าง

    1) การประชุมกลุ่มผู้นำชุมชนอย่าส่ำเสมอในโครงการส่งผลให้เกิดการรวมมือร่วมใจทำงานเพื่อส่วนรวมในเรื่องอื่นๆ ได้

    2) ผู้นำชุมชนคนรุ่นใหม่ ไฟแรง มีความรู้เรื่องการใช้สื่อจะช่วยหนุนเสริมการทำงานของปราชญ์ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี (4) ข้อเสนอแนะหากจะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวต่อ ควรพัฒนาอะไร พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน เพื่อการจัดการตนเองของชุมชน โดยให้ผู้นำชุมชนได้เรียนรู้การพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง

     

    100 100

    36. ร่วมกันปลูกข้าวและผักพื้นบ้านตามวิถีดั้งเดิม

    วันที่ 13 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้ร่วมกันปลูกข้าวตามวิถีเดิม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านร่วมกันปลูกข้าว โดยนำเมล็ดข้าว เม็ดดีปลี(พริกขี้หนู) แซ่สิ้ม แตงกวา เป็นต้น ผสมกันในกะละมัง แล้วนำมากรอกใส่"ปอกน่ำ"(กระบอกไม้ไผ่สำหรับบรรจุเม็ดข้าว)
      ผู้ชายส่วนใหญ่ ใช้ไม้แทงสัก (การเดินกันเป็นแถวหน้ากระดาน พร้อมทั้งใช้ไม้ปลายแหลมแทงลงไปบนพื้นดินพอเป็นรู เพื่อให้คนน่ำข้าว นำข้าวมาหยอด) ผู้หญิงส่วนใหญ่ น่ำข้าว (นำเม็ดข้าวและพืชผัก หยอดลงไปในหลุมแล้วใช้ "ก้นบอกน่ำ" กดดิน เพื่อกลบ รอยแทงสัก) ผู้สูงอายุ และเด็กๆ ช่วยกันทำกับข้าว ไว้คอยเลี้ยงคนที่มาร่วม "น่ำข้าว"

    • เมื่อน่ำข้าวเสร็จแล้ว ทุกคนก็มารับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบที่เรามีอยู่เองในชุมชน (ในไร่ ในสวน) มาปรุงเป็นอาหาร เช่น สะดอ สะตอดอง ลูกเนียง พืชผักต่างๆ เป็นต้น

     

    100 100

    37. ประชุมกับ สจรส.มอ.

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง สจ รส มอ เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการ ตรวจสอบข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แก้ไขข้อมูลและจัดทำรายงานเพิ่มเติม

     

    4 4

    38. สรุปโครงการ

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกร่วมกันสรุปข้อดี ข้อเสียข้อของการดำเนินโครงการในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งร่วมอภิปรายถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไข

    มีการเสนอให้ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในปีต่อไป โดยคณะกรรมการดำเนินโครงการ ขอเปลี่ยนตำเเหน่งเพื่อความเหมาะสม และเชิญชวนสมาชิกในชุมชนมาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการ เพื่อโครงสร้างที่สมบูรณ์และสมดุลยิ่งขึ้น

    สมาชิกแจ้งว่ายินดีที่มีโครงการดีๆ เข้ามาในชุมชน ถือว่าคนในชุมชนได้กำไรที่ได้ทำโครงการนี้ หากมีโครงการต่อเนื่องทุกคนยินดีเข้าร่วมโครงการอีก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับรู้ถึงผลลัพธ์ในการดำเนินการโครงการในรอบปีที่ผ่านมา

     

    20 45

    39. ร่วมติดตามแปลงผักที่ร่วมโครงการ

    วันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันติดตาม ดูแล ประเมินผลแปลงผักที่เข้าร่วมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผักแบบวิถีดั้งเดิม มีการปลูกพืชผักในบริเวณบ้าน ซึ่งเป็นพืชผักพื้นบ้าน ไม่มีการใช้สารเคมี เช่น ผักกูด มะเขือ ชะอม บวบ ถั่วพู เป็นต้น และมีการขุดบ่อเก็บกักน้่ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง ได้เลี้ยงปลา เลี้ยงหอยโข่ง หอยขม ในบ่อ ปลูกพืชน้่้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด สายบัว ไว้บริโภคภายในครัวเรือน และเก็บไปจำหน่าย

     

    100 60

    40. พัฒนาศักยภาพผู้นำ

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 13:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสรุปผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ร่วมกันวิเคราะห์และหาสาเหตุของปัญหาที่่เกิดขึ้นพร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันแก้ไข ร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมในเดือนนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แผนการดำเนินกิจกรรม ประชุมสรุปผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ร่วมกันวิเคราะห์และหาสาเหตุของปัญหาที่่เกิดขึ้นพร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันแก้ไข ร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมในเดือนนี้

     

    14 14

    41. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมงานคนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ร่วมงานคนใต้สร้างสุข ได้พัฒนาตัวเองเรื่องการนำแนวทางการทำงานในชุมชนมาพัฒนาชุมชนตนเอง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนจำนวนมาก ทำให้เห็นว่าเราควรจะมาปรับการทำงานเพิ่มเติม เช่น การจัดกิจกรรมในหมู่บ้าน การนำเสนองาน

     

    2 3

    42. ประชุมกับ สจรส.มอ.

    วันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกับพี่เลี้ยง จัดทำข้อมูล สรุป แก้ไข ทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายงานฉบับสมบูรณ์

     

    4 6

    43. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกับกับพี่เลี้ยง สจ รส มอ จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

     

    5 6

    44. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พบพี้เลี้ยง ผู้ติดตาม จาก สจรส.มอ. จัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายงานฉบับสมบูรณ์

     

    5 5

    45. พบพี่เลี้ยง และผู้ติดตาม

    วันที่ 27 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พบพี่เลี้ยง และผู้ติดตามจาก สจรส.มอ. เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

     

    5 5

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและลดการใช้สารเคมีในปลูกพืชผัก
    ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน ร่วมจัดทำข้อมูลสารเคมีของหมู่บ้าน 2. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน เข้าร่วมเวทีวิเคราะห์ นำเสนอ และวางแผนเพื่อปฏิบัติการลดการใช้สารเคมี 3. กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 70 ลงแขกแลกแรงปรับพื้นที่ ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักสมุนไพร น้ำยาไล่แมลง และปลูกพืชผักปลอดสารพิษ 4. ชุมชนมีพื้นที่ปลูกพืชผักปลอดสารพิษอย่างน้อย 50 ไร่

    มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการจำนวน 70 คน ครบทุกกิจกรรม

    2 เพื่อให้แกนนำชุมชนนำร้านค้าคุณธรรมเป็นกลไกการขับเคลื่อนให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี เกิดการทำความดี มีสินค้าปลอดภัยจำหน่ายในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดร้านค้าคุณธรรม 2 แห่ง ซึ่งเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนสินค้าในชุมชนและเสริมสร้างคุณธรรมร่วมกัน 2. เกิดข้อตกลงการนำสินค้าความดีมาจำหน่ายในร้านค้าคุณธรรม 3. กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ร้อยละ 70 มีส่วนร่วมในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษแล้วนำผลผลิตมาจำหน่ายในร้านค้าคุณธรรมปฏิบัติตามข้อตกลงได้ 4. จำนวนเงินในกล่องซื้อสินค้าถูกต้องตามราคาสินค้า ร้อยละ 80

    เกิดร้านค้าคุณธรรม 1 ร้าน

    3 พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีสมาชิกสภาผู้นำอย่างน้อย ร้อยละ 80 ประชุมร่วมกันทุกเดือน 2. สภาผู้นำชุมชนร่วมกันบริหารจัดการโครงการและแก้ปัญหาชุมชนได้

    เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านปากลง มีการประชุมทุกเดือน

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • คณะทำงานเข้าร่วมประชุมกับ สสส.ทุกครั้ง
    • มีป้ายปลอดบุหรี่ 1 ป้าย
    • มีรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม พร้อมภาพถ่าย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและลดการใช้สารเคมีในปลูกพืชผัก (2) เพื่อให้แกนนำชุมชนนำร้านค้าคุณธรรมเป็นกลไกการขับเคลื่อนให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี เกิดการทำความดี มีสินค้าปลอดภัยจำหน่ายในชุมชน (3) พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง

    รหัสโครงการ 58-03869 รหัสสัญญา 58-00-2068 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    สมุนไพรไล่แมลงสูตรกรุงชิง

    สูตรนายเขียว บ้านพิตำ กรุงชิง

    ขยายผลความรู้ให้หมู่บ้านใกล้เคียงนำไปใช้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ร้านค้าคุณธรรม

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    ขยายผลให้หมุู่บ้านใกล้เคียง นำผลผลิตปรอดสารเคมีนำมาวางขาย และให้เยาวชนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ผู้นำชุมชนใช้ร้านค้าคุณธรรมเป็นกลไกการขับเคลื่อนให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี เกิดการทำความดี มีสินค้าปลอดภัยจำหน่ายในชุมชน

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    ขยายผลให้หมุู่บ้านใกล้เคียง นำผลผลิตปรอดสารเคมีนำมาวางขาย และให้เยาวชนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มร้านค้าคุณธรรม

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    ขยายผลให้หมุู่บ้านใกล้เคียง นำผลผลิตปรอดสารเคมีนำมาวางขาย และให้เยาวชนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ร้านค้าคุณธรรม

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    ขยายผลให้หมุู่บ้านใกล้เคียง นำผลผลิตปรอดสารเคมีนำมาวางขาย และให้เยาวชนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    พืชผักปลอดสารพิษ

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    ใช้ร้านค้าคุณธรรมเป็นฐานเรีบนรู้การลดการใช้สารเคมีในการเกษตร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ใช้สมุนไพรในป่ากรุงชิงเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำยาไล่แมลงเพื่อใช้ในการเกษตร

    สูตรสมุนไพรไล่แมลงบ้านกรุงชิง

    ขยายผลความรู้ให้หมู่บ้านใกล้เคียงนำไปทดลองใช้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ลดสารเคมีในการเกษตร ใช้ร้านค้าคุณธรรมเป็นกลไกการขับเคลื่อน

    บริเวณบ้านและสวนพืชผัก สวนผลไม้ ของผู้เข้าร่วมโครงการ แกนนำหลัก 10 ครอบครัว

    เปิดพื้นที่ให้หมู่บ้านใกล้เคียงได้เข้ามาเรียนรู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    สร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุและครอบครัว ได้นำผักมาจำหน่ายที่ร้านค้าคุณธรรม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กติกาเพื่อการบริหารจัดการกลุ่มร้านค้าคุณธรรม

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    ติดตามการปฏิบัติตามกติกาอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    ประสานงานกับทุกกลุ่มที่มีในชุมชนมาร่วมพัฒนาร้านค้าคุณธรรม ได้แก่ ปุ๋ยหมัก พืชผัก อนุรักษ์กรุงชิง เป็นต้น

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    เพิ่มการเรียนรู้ของภาคเครือข่าย ขยายผลความรู้เดิมเพิ่มความรู้ใหม่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    นำขยะ (ตัวหนอนที่หักพัง ชาวบ้านทิ้งแล้ว) มาเปลี่ยนเป็นพื้นร้านค้าคุณธรรม

    พื้นร้านค้าคุณธรรม ทำจากตัวหนอนที่ชาวบ้าไม่ใช้แล้ว ทีมงานช่วยกันนำมาทำเป็นพื้้น

    นำมาเป็นบทเรียนการจัดการตนเองของชุมชนที่ประสบความสำเร็จให้เพื่อนบ้านได้เรียนรู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ผู้นำชุมชนนำเรื่องร้านค้าคุณธรรม มาเป็นวาระการประชุมทุกเดือน

    รายงานการประชุมหมู่บ้าน

    ทบทวนข้อสรุปการประชุมเพื่อพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    ผู้นำชุมชนร่วมคิดร่วมทำและร่วมตรวจสอบการดำเนินงานของกลุ่มร้านค้าคุณธรรม เกิดความรู้เรื่องการจัดการร้านค้าให้มีความยั่งยืน ตามวิถีเดิมบ้านปากลง

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    พัฒนาการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    มีการพัฒนาโครงการต่อเนื่องแม้ว่าไม่มีงบประมาณสนับสนุน

    การดำเนินงานต่อเนื่องของผู้นำชุมชนและสมาชิก

    ทบทวนการดำเนินงานและพัฒนางานต่อเนื่อง ใช้ที่ประชุมหมู่บ้านเป็นฐานการคิดร่วม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    สมาชิกกลุ่มช่วยกันสร้างร้านค้าคุณธรรม ใช้วัสดุในพื้นที่และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดความรักและสามัคคี มีสมาชิกเพิ่มขึ้น

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    เสริมพลังอำนาจกลุ่มผู้นำชุมชนให้ดำเนินงานต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    สมาชิกกลุ่มช่วยกันพัฒนาพื้นที่ของตนเองปลูกพืชผักปลอดสารพิษ เพื่อนำมาจำหน่ายที่ร้านค้าคุณธรรม

    ร้านค้าของกลุ่มชุมชน ม.6 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีฯ

    เสริมพลังอำนาจกลุ่มผู้นำชุมชนให้ดำเนินงานต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    แม้ไม่มีแม่ค้า สมาชิกก็ซื้อพืชผักปลอดสารพิษได้ มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ส่งผลให้เกิดร้านค้าคุณธรรมในหมู่บ้าน เกิดสิ่งดี ทุกคนมาร่วม และเอื้อาทรต่อกัน

    เสริมพลังอำนาจกลุ่มผู้นำชุมชนให้ดำเนินงานต่อเนื่อง

    ขยายผลการจำหน่ายผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03869

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย วีระพล คงทอง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด