แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ ”

บ้านพิตำ หมู่ 3 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จัหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย วิรัตน์ เล่นทัศน์

ชื่อโครงการ กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ

ที่อยู่ บ้านพิตำ หมู่ 3 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จัหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03853 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2071

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านพิตำ หมู่ 3 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จัหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ



บทคัดย่อ

โครงการ " กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านพิตำ หมู่ 3 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จัหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03853 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 207,600.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 200 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปลูกกล้วยไข่บานแบบอินทรีย์
  3. เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็ง
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม(ครั้งที่1)

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-20.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เรียนรู้การดำเนินงานโครงการ สสส.

    -ฝึกบันทึกข้อมูลกิจกรรมเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -สามารถใช้สื่อประชาสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม -บันทึกข้อมูลกิจกรรมได้ -ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ Internet ได้

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการไปจัดทำป้ายปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์การเลิกบุหรี่

     

    2 2

    3. ประชุมสภาผู้นำเพื่อขับเคลื่อนโครงการและหมอบหมายงาน(ครั้งที่ 1)

    วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงกรรมการ เรื่องการดำเนินงานโครงการ สสส. พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ให้คณะทำงานประกอบด้วยประธาน เหรัญญิก เลขา ฝ่ายวิทยากรณ์ ประชาสัมพันธ์ ประสานงาน เก็บภาพ ฝ่ายเตรียมอาหาร ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายสารสนเทศ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง โดยทีมมีรายชื่อดังนี้
    1. นายวิรัตน์ เล่นทัศน์ ประธานที่ปรึกษา
    2. นายระพินทร์ หนูทอง วิทยากรชุมชน
    3. นายสุทธิเดช โฆษะ วิทยากรชุมชน
    4. นายพันธศักดิ์ องพิศิษ วิทยากรชุมชน
    5. นางสาวเสาวนีย์ สุขมี เลขา
    6. นายพัฒิยะ ศรีมุข ประชาสัมพันธ์
    7. นายวิชาญ เซ่งนาค ประชาสัมพันธ์
    8. นายสุธรรม รักษาแก้ว ประชาสัมพันธ์
    9. นางวิลาวัลย์ จรรยาดี ประชาสัมพันธ์
    10. นางจรัสศรี เพ็ชรประพันธ์ ประสานงานและการเงิน
    11. นางสำรวย จันทวงศ์ สถานที่
    12. นายอำนาจ คีรีทอง สถานที่
    13. นางสาวทิพวรรณ ดำสงค์ เทคโนโลยีสารสนเทศ( IT )
    14. นางวันเพ็ญ พรหมบังเกิด กิจกรรม ( ถ่ายรูป )
    15. นางนภสร เพชรชนะ กิจกรรม ( ถ่ายรูป )
    16. นางรัชนี อุ่นใจ อาหาร
    17. นายชัยณรงค์ สุประดิษฐ์ ที่ปรึกษา
    18. นายนิคม เพชรประพันธ์ ที่ปรึกษา
    19. นายบุญส่ง ราชประดิษฐ์ ที่ปรึกษา
    20. นายราชิต ราชประดิษฐ์ ที่ปรึกษา
    • เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

     

    20 22

    4. ประชุมชาวบ้านในชุมชน เพื่อชี้แจงโครงการ

    วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 8.00 - 16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิรัตน์เล่นทัศน์ได้ชี้แจงโครงการและบอกกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนของ สสสแนะนำสภาผู้นำ จำนวน 20 คนคณะกรรมการที่มาเข้าร่วมสนับสนุน แจ้งงบประมาณที่สนับสนุน จากนั้นให้ทุกคนช่วยกันเสนอแนะ วางแผนการดำเนินงานต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านได้รับทราบและเข้าใจ มีเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน ได้แก่ อบต. เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ กศน. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโรงเรียนบ้านพิตำ ผู้อำนวยการและคุณครู ผู้เข้าร่วมเสนอแนะการทำงานในแต่ละกิจกรรม มอบหมายการทำงานกันตลอดโครงการ

     

    100 109

    5. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 2)

    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำร่วมกันหารือ เรื่องดังต่อไปนี้

    1. ออกหนังสือเชิญ
    2. ทำแบบสำรวจการใช้สารเคมี
    3. แบ่งโซนการสำรวจ
    4. มอบหมายคนสำรวจ แบ่งเป็น 4 โซน คือ เหนือคลอง ตีนบ้าน ใต้คลอง และกลางบ้าน ยึดหลักตามกลุ่มบ้าน
    5. จัดทำตารางกลุ่ม นัดแนะกันทำงาน
    6. เพิ่มข้อมูลการปลูกกล้วย การให้ความมั่นใจของประชาชนในการเข้าร่วมโครงการ และข้อมูลการใช้ปุ๋ย พัฒนาความรู้ต่อยอด
    7. นัดพบวันทำกิจกรรม ตามหน้าที่ ประธานเป็นผู้กระตุ้นให้ทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชน
    • เกิดการทำงานร่วมกันของชุมชน และการวางแผนปฎิบัติงานร่วมกัน
    • มีแบบสำรวจการใช้สารเคมีของเกษตรกรในชุมชน
    • แบ่งการสำรวจโดย เหนือคลองโดยนายสุธิเดช โฆษะ ตีนบ้านโดยนายอมร แก้วเกิด ใต้คลองโดยนายระพินทร์ หนูทอง,นายพันธศักดิ์ องค์พิศิษ กลางบ้านโดยนางวิลาวรรณ จรรยาดี,นางจรัสศรี เพ็ชรประพันธ์,นายวิรัตน์ เล่นทัศน์ โดยแต่ละจุดพร้อมกันทุกคน แต่ผู้รับผิดชอบพื้นที่เป็นตัวหลัก
    • ชุมชนจะได้ข้อมูลจากการให้ข้อมูลจากตัวเกษรตรกรเอง
    • กำหนดตารางวันสำรวจ คือ 18-22 พฤศจิกายน 2558 นี้

     

    20 23

    6. กลุ่มผู้นำลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการใช้สารเคมีและแลกเปลี่ยนความรู้ การผลิตกล้วยไข่บาน วันที่ 1

    วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 เวลา 9.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.แกนนำชุมชนลงพื้นที่สำรวจ เรื่อง การใช้สารเคมีในชุมชน ซึ่งพบว่าชุมชนมีการใช้สารเคมีชนิดยาฆ่าหญ้า ประเภทดูดซึม ประเภทเผาไหม้ สารโรคพืช สารเคมีกำจัดแมลง ปุ๋ยเคมี 2.ชุมชนมีการปลูกกล้วยไข่ รวมในแปลงยาง ,พื้นที่เกษตร,ข้างบ้าน ซึ่งพบว่า ครัวเรือนที่มีการปลูกกล้วยไข่ จำนวน 47 ครัวเรือน การปลูกกล้วยไข่เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครัวเรือนในช่วงยางมีราคาตกต่ำ ตลอดจนกล้วยไข่เป็นพืชโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็วและมีราคาดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำชุมชนมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล โดยได้จำนวนผู้ให้ข้อมูล ในการสำรวจวันแรก 47 ครัวเรือน ได้ข้อมูลการใช้สารเคมีประเภทยาฆ่าหญ้าประเภทดูดซึมไกลโคเซต 6 ราย ประเภทเผาไหม้ 11 ราย ใช้ยากำจัดศัตรูพืช 3 ราย ยาเกี่ยวกับโรคพืช 2 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 27 ราย เข้าร่วมโครงการ 46 ราย ไม่เข้าร่วมโครงการ 1 ราย

    จากการที่ได้คุยกับชาวบ้าน การลงพื้นที่สำรวจนั้นทำได้ยากเพราะคนที่สามารถให้ข้อมูลได้ เข้าไปทำสวนจึงนัดให้มารวมกลุ่มในที่ทำการกลุ่ม เฉพาะคนที่สะดวกมาที่กลุ่ม ส่วนครัวเรือนที่ไม่ได้มา กลุ่มผู้นำจะทำการลงพื้นที่สำรวจที่บ้าน แต่ต้องนัดเวลาที่ที่เกษตรกรอยู่บ้าน บางบ้านให้วางใบสำรวจไว้ แล้วจะจะมาส่งคืนในภายหลัง จึงทำให้ทางกลุ่มเก็บข้อมูลได้ไม่พร้อมกัน บางคนไม่สามารถอ่านใบสำรวจได้ เพราะมีปัญทางทางสายตา เช่น คนสูงอายุจึงต้องให้กรรมการกรอกข้อมูลให้

     

    60 47

    7. ลงพื้นที่สำรวจการใช้สารเคมีวันที่ 2

    วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกพื้นที่สำรวจการใช้สารเคมีโซนเหนือของหมู่บ้าน ถามการปลูกกล้วย เดินตามบ้านทุกบ้าน นัดมาคุยรวมกัน เพื่อให้เพิ่มเติมข้อมูลของทุกบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บางบ้านได้พบ บางบ้านไม่พบ แต่มีคนอยู่ได้มารวมตัวกัน 27 คน มาร่วมกันให้ข้อมูล ช่วยเขียนแบบสอบถาม ช่วยเสนอแนะ สรุปว่า ใช้สารเคมีแบบดูดซึม เช่น ไกลโคเซต ซื้อตามร้านค้า นำมาใช้เป็นยาฉีดหญ้า และปุ๋ยเคมีใส่ในสวนยาง มีหลายสูตร -จากการสำรวจมี่การใช้ยาฆ่าหญ้าแบบดูดซึม 9 ราย ประเภทเผาไหม้ 10 ราย ใช้ยาศัตรูพืช 2 ราย ยาเกี่ยวกับโรคพืช 2 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 24 ราย ชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ 24 ราย ไม่เข้าร่วม 3 ราย

    ปัญหาที่พบในการเก็บข้อมูล คือ การลงพื้นที่มาบางบ้านมีคนอยู๋บ้าน บางบ้านไม่มีคนอยู่บ้าน บางบ้านเจอคนแต่ให้ข้อมูลไม่ได้ เช่น คนชรา เด็กหรือคนที่ไม่ได้ปฏิบัติในสวนจริง บางคนไม่เข้าใจว่าเอาข้อมูลไปทำไม(เหมือนไม่อยากให้ข้อมูล) บางคนก็ไม่ยอมให้ถ่ายรูป

     

    40 27

    8. ลงพื้นที่สำรวจการใช้สารเคมี วันที่ 3

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงเก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชน ซึ่งวันนี้มีการประชุมกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งทีมงานได้เข้าไปสอบถาม ผู้เข้าร่วมประชุมในช่วงเวลาพักกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชาวบ้านให้ความร่วมมือ ร่วมให้ข้อมูล กรรมการต้องสัมภาษณ์ ต้องเขียนให้ เนื่องจากส่วนใหญ่เขียนไม่สะดวก เวลาถ่ายรูปจะอาย ไม่ค่อยให้ถ่าย เมื่อเอาข้อมูลมารวมกันแล้วพบว่า ผลการพูดคุยและสัมภาษณ์ และทำแบบสอบถาม พบว่ายังมีการใช้สารเคมี มีมากได้แก่ยาฉีดหญ้า ประเภทดูดซึมได้มาก น่ากลัวกล่าแต่ใช้ได้นานกว่า จึงนิยมใช้ แต่มีพิษมากกว่าแบบเผาไม้ จึงนัดแนะการลดการใช้ ให้มารวมกันทำกลุ่มปุ๋ยหมัก และนักแนะให้มาเริ่มทำกัน นำไปทดลองใช้ยังใช้สารเคมีมากอยู่ แต่เมื่อกรรมการบอกเรื่องการใช้สารอินทรีย์ทดแทน ก็ให้ความสนใจ และบอกว่าจะร่วมมมือเริ่มจากการรวมกลุ่มทำปุ๋ยหมัก
    2. เก็บข้อมูลได้ 29 ชุด

     

    40 28

    9. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี วันที่ 4

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงสำรวจการใช้สารเคมีตามโซน เป็นโซนใต้คลอง ข้อมูลได้จากสัมภาษณ์และการรวมตัวสรุปที่กลางบ้าน รวมตัวกันเพื่อเพิ่มเติม นัดที่บ้านพี่เขียว มาหลายคน ทำข้อมูล เสนอ ช่วยกันสอบถาม ช่วยกันเขียน และเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสำรวจโซนนี้ มีการปลูกกล้วย ปลูกพืชมาก มีการปลูกพืชคลุมดินแทนการฉีดหญ้า พบความรู้จากกโซนใต้คลอง โซนนี้มีน้ำเพียงพอ เป็นพื้นที่ข้างคลอง สามารถปลูกกล้วยได้ดีกว่าโซนอื่น แต่มีข้อเสียคือบ้านอยู่ข้างคลอง อาจมีสารเคมีไหลลงมามาก คนให้ความสนใจดี ไม่ขาด พร้อมร่วมมือ เพราะตรงกับความต้องการและปัญหาของทุกคน ที่ต้องถีบตัวเองเรื่องการลดสารเคมี เพื่อให้ได้ทำมาหากินในอนาคต มีการใช้ยาฆ่าหญ้าประเภทดูดซึม 10 ราย ประเภทเผาไหม้ 4 ราย ใช้ยากำจัดศัตรูพืช 2 ราย ใช้ยากำจัดโรคพืช 15 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 16 ราย เข้ารว่มโครงการทั้งหมด

    ปัญหาในการเก็บข้อมูลในวันนี้ คือ ลงพื้นที่ค่อนข้างไกล เพราะเป็นโซนห่างจากชุมชน บางรายผู้นำต้องเก็บข้อมูลตามกลุ่มที่กำลังสังสรรค์กัน ส่วนปัญหาอื่น ๆ มีปัญหาคล้ายๆกับวันก่อนหน้านี้

     

    40 26

    10. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการใช้สารเคมีวันที่ 5

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำรวจโซนกลางบ้าน ช่วยกันทำข้อมูล และสรุปข้อมูลเสนอแนะที่กลุ่มออมทรัพย์ จัดเก็บข้อมูลมาให้คณะกรรมการเข้าที่ประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โซนกลางบ้านมีผู้เข้าร่วมดี เป็นโซนที่มีบ้านคนมาก ส่วนใหญ่ใช้สารเคมีแบบดูดซึม ปลูกพืชน้อย ที่สวนน้อย บ้านคนหนาแน่น มีโรงเรียน คนปลูกกล้วยน้อยกว่าโซนอื่นๆ จากการสำรวจทมีผู้ให้ข้อมูล 51 คน มีผู้ย่าฆ่าหญ้าประเภทดูดซึม 11 คน ประเภทเผาไหม้ 6 คน ยาศัตรูพืช 3 คน ยาโรคพืช 2 คน ใช้ปุ๋ยเคมี 41 คนเข้าร่วมโครการ 50 ไม่เข้าร่วม 1คน จากบ้อมูลที่ได้จากชาวสวนบอกว่าปีนี้ราคายางไม่ดี จึงไม่ค่อยได้ซื้อยา แล้วไม่ค่อยได้ซื้อปุ๋ย ข้อมูลตอนนี้จึงไม่มาก ปัญหาที่พบยังมีลักษณะเดิม ๆ คือบางคนไม่เต็มใจให้ข้อมูลผู้นำต้องชี้แจงถึงจะตกลงยอมให้ข้อมูล ไม่เจอคนอยู่บ้าน ต้องเก็บข้อมูลตามกลุ่มที่ไปสังสรรค์เป็นกลุ่มๆ

     

    40 29

    11. ประชุมร่วมกับ สจรส.มอ.

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมประชุมกับ สสส เรื่องแนวทาง วิธีการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การจัดการการเงินและเอกสารการเงิน การบันทึกรายงาน การทำโครงการให้สำเร็จ การหักภาษี ณ ที่จ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เอกสารสำหรับเป็นคู่มือในการทำรายงาน การจัดการเอกสารการเงิน ได้ดูตัวอย่างเอกสารการเงินที่ถูกต้องจากเพื่อร่วมชุดโครงการ และได้ฝึกการบันทึกการทำรายงานเพิ่มเติม ทั้งรายงานผลการดำเนินงาน และรายงานการเงิน และบันทึกรายงาน พอทำได้

     

    2 3

    12. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 3)

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันวางแผนเพื่อดำเนินกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี โดยแจ้งข้อมูลการใช้สารเคมี ให้ข้อเสนอแนะเพื่อวางแผนการลดสารเคมี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หาสาเหตุการใช้สารเคมี พบว่า ได้แบ่งประเภทการใช้สารเคมี ทั้งหมด 132 ราย เป็น 4 แบบ มีการใช้ศัตรูพืช 9 ราย ใช้ยาฉีดรักษาโรคพืช 8 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 77 ราย ใช้ยาฆ่าหญ้าทั้งแบบดูดซึมและเผาไหม้ 58 ราย ทุกคนที่เข้าร่วมได้ร่วมวิเคราะห์ และพูดกันเรื่องผลกระทบการใช้สารเคมี ที่มีผลน้ำดื่มน้ำใช้ สิ่งแวดล้อม อาหาร และสุขภาพ มีผลต่อรายจ่าย ต้นทุนการผลิตสูง จึงเสนอแนะวางแผนลดการใช้สารเคมี ต่อไปชวนกันใช้สมุนไพรแทน เป็นสารสกัดไล่แมลง สมาชิกมีความพอใจ พยายามลดการใช้ 

     

    20 20

    13. วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายการใช้สารเคมีกับสารอินทรีย์ที่ใช้ในการปลูกกล้วยไข่บาน

    วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมในการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ชักชวนผู้สนใจหันมาใช้สารอินทรีย์ ทดแทน แจ้งสถิติการสำรวจ และยังที่ตกหล่นการสรวจ ให้สำรวจต่อไป และพูดคุยเรื่องการเปิดหาตลาดของกล้วยจากครู กศน. และเกษตรอำเภอ แจ้งการกำจัดศัตรูพืช ภายใต้โครงการจัดการศัตรูพืช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้การจัดเก็บข้อมูล เนื้อหาการทำข้อมูล และได้วางแผนการทำการจัดการศัตรูพืช ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากครู กศน. และเกษตรอำเภอ เพื่อดำเนินการใช้สารเคมีทดแทน นัดแนะการทำงานในครั้งต่อไป
    • จากการสำรวจการปลูกกล้วยในพื้นที่จาก 202 ครัวเรือน แยกเป็น ประเภทของกล้วยมีดังนี้ 1. กล้วยไข่ จำนวน 2,2949 กอ กล้วยหอม 8,345 กอ กล้วยน้ำว้า 4,135 กอ กล้วยอื่นๆ เล็กน้อย
    • จากการสำรวจการใช้สารเคมี ใช้ยาฆ่าหญ้าประเถทดูดซึม 39 ราย ประเภทเผาไหม้ 37 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 77 ราย(ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา)

     

    40 33

    14. สภาผู้นำและกลุ่มจัดเก็บข้อมูลนำข้อมูลมาเสนอเป็นกราฟให้เห็นแนวโน้มของการเกิดผลกระทบจากการใช้สารเคมีในอนาคตและเปรียบเทียบข้อมูลให้เห็นว่าถ้าใช้สารอินทรีย์มีผลดีอย่างไร จากนั้นให้ทุกคนระดมสมอง สร้างการมีส่วนร่วมวางแผนการปฏิบัติเพื่อเรียนรู้

    วันที่ 23 ธันวาคม 2558 เวลา 9.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายวิรัตน์ เล่นทัศน์ ได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสำรวจการใช้สารเคมีในหมู่บ้าน มีค่อนข้างสูง และได้แจ้งถึงสถิติการใช้สารเคมี เช่นยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาโรคพืช ปุ๋ยเคมี ซึ่งเกษตรกรเองยังบอกว่า ช่วงนี้ราคายางไม่ได ถ้าเศรษฐกิจดีสถิติจะสูงกว่านี้อีกโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี เพราะบางคนไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีมาสองปีแล้ว นอกจากนี้เกษตรอำเภอนบพิตำ นายกรวิชย์ เชาวลิต ได้แจ้งว่า ทางอำเภอมีโครงการศูนย์กำจัดศัตรูและโรคพืชซึ่งจะสกัดจากสมุนไพรและพร้อมที่จะมาสอนเพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่เกษรตรกรในวันหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ค่อนข้างให้ความสนใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ให้เกษตรกรมาเล่าเรื่องการลดสารเคมี แต่ทุกคนยังลดได้ไม่มาก แต่พยายามลด กรรมการได้สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสภาผู้นำกับชุมชนเพื่อทำงานต่อเนื่อง โดยวางแผนให้เข้าแผนหมู่บ้าน ทุกคนมีความเข้าใจ และร่วมกันนำข้อมูลวันนี้เสนอโครงการลดสารเคมีต่อ และได้นำไปขัดทำเป็นแผนหมู่บ้าน พร้อมทั้งได้ขอสนับสนุนงบจากหมู่บ้าน และ อบต. เพิ่มเรื่องการลดสารเคมี ควบคุ่กับการทำโครงการ
    -จากการสำรวจในชุมชน ได้ข้อมูล 154 ครัวเรือน มีรายละเอียดดังนี้ เกษรตรกรผู้ปลููกกล้วยโดยแยกประเภทกล้วยดังนี้ กล้วยไข่ 34,569 ต้น กล้วยหมอทอง 10,395 ต้น กล้วยน้ำว้า 8,048 ต้น และกล้วยอื่นๆ (กล้วยเล็กมือนาง และกล้วยอื่นๆ 962 ต้น) มีการใช้ยาฆ่าหญ้า ประเภทดุดซึม 39 ราย ประเภทเผาไหม้ 37 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 77 ราย ยาฆ่าแมลง 9 ราย ยาโรคพืช 8 ราย

    ทั้งนี้พบว่า ชาวบ้านไม่ส่งใบสำรวจหลายคน หลายคนยังยึดติดกับความคิดเดิมๆคือการใช้สารเคมีอำนวยความสะดวกและไม่ค่อยคำนึงถึงสุขภาพ

     

    60 60

    15. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 4)

    วันที่ 13 มกราคม 2559 เวลา 09:00-14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วางแผนเรื่องการทำน้ำส้มควันไม้ จัดทำเอกสารทำน้ำส้มควันไว้ จัดหาจุดสถานที่ ตั้งเตาที่บ้านใคร ใครมาร่วม วางแผนเชิญวิทยากรมา 3 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้กำหนดจุดการทำน้ำส้มควันไม้ 3 จุด ที่บ้านนายสายันต์ แท่นทอง บ้านนายสุทธิเดช โฆษะ และบ้านนางจรัสศรี เพชรประพันธ์ จัดทำเอกสารได้แก่ 1. ลักษณะการใช้ 2.ข้อดีข้อเสีย 3.วิธีทำ 4.และการดูแล

    วิทยากรที่คิดกันจะเชิญ คือ เกษตรตำบล กศน. และปราชญ์ชุมชน

     

    20 18

    16. เรียนรู้การทำน้ำส้มควันไม้

    วันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำน้ำส้มควันไม้ โดยแนะนำคณะวิทยากร เจ้าหน้าที่ที่มาร่วม ร้อยตรีสงคราม เป็นวิทยากร พูดและสาธิตการทำน้ำส้มควันไม่ ทุกคนมาร่วมเพิ่มเติมให้ข้อมูลจากการสรุปของปราชญ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    น้ำส้มควันไม้ต้องรู้ว่าใช้อย่างไร ถ้าใช้ไม่ถูกทำให้ต้นไม้อาจตายได้ สรุปว่าน้ำส้มควันไม้ใช้ไล่แมลง ฆ่าปลวก ดับกลิ่น ใช้เข้มข้นฆ่าหญ้าได้ด้วย ควรระวังในการใช้ ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้ลงมือทำร่วมกัน เริ่มเผาถ่านจนเป็นควันจากผาถ่านให้ควันขึ้นไปตามท่อ กระทบความเย็นจะก่อตัวเป็นหยดน้ำ รับน้ำเป็นน้ำส้มควันไม้ เผาหนึ่งคร้้ง 6 - 10 ชั่วโมง เมื่อได้แล้วต้องตั้งไว้ก่อน 3 เดือน จึงนำไปใช้ประโยชน์ ถ้านำมาใช้เลยจะให้โทษมากกว่าประโยชน์ เนื่องจากเข้มข้นสูง จากนั้นกระจายจุดสาธิตการทำน้ำส้มควันไม้ตามจุดสาธิต

     

    60 64

    17. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 5)

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการร่วมประชุมเพื่อพิจารณาการจัดกิจกรรมต่อไป เตรียมการทำกิจกรรมทำอาสาฝนหลวง มีอำเภอยิ้ม ต่อไปเตรียมทำปุ๋ยหมักของกลุ่ม วันที่ 17 ก.พ. 59 มีคนสมัครกลุ่มเพิ่มมาแล้ว 60 คน และให้ทุกคนช่วยทำตอกหมากไปเสนอวันพบอำเภอยิ้ม นัดเตรียมงานอีกครั้ง 22 ก.พ. 59

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการร่วมคิด เสนอ และมอบหมายงาน เพื่อเตรียมอุปกรณ์การทำน้ำหมัก และการทำกาบหมากเพื่อจัดทำในอำเภอยิ้ม เอามาสานเป็นหมาตอก เอาไปใส่กล้วย ได้นำกาบหมากมาใช้ ประยุกต์ใส่กล้วย ทำให้กล้วยมีคุณค่ามากขึ้น

     

    20 20

    18. การประชุมจัดทำรายงานงวดที่1โดยทีม สจรส.มอ.

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานงวด 1 ร่วมกับ สจรส.มอ. และพี่เลี้ยง โดยตรวจเอกสารการเงิน รายงานการใช้เงิน การทำรายงาน ง.1 งวดที่ 1 และการเขียนรายงานบนเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เพิ่มเติมข้อมูลการบันทึกผลที่เกิดขึ้นจริง จัดรูปแบบเอกสารการเงินให้เรียบร้อยและเป็นหมวดหมู่มากขึ้น สามารถสรุปผลงานรายงานการเงิน ส่ง สสส.ได้ ส่วนรายงานผลการดำเนินงานทางพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. จะตรวจสอบความสมบูรณ์ให้อีกครั้งก่อนจะจัดส่งให้ สสส.

     

    2 2

    19. ร่วมทำน้ำปุ๋ยน้ำ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบกานณ์และนำผลผลิตจากการเรียนรู้ไปใช้ในแปลงผลิตกล้วย

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คุณระพิน ได้ให้ความรู้ แก่สมาชิกเรื่องปุ๋ยหมักส่วนผสมของปุ๋ยหมักน้ำ มีวัถุดิบ จากผลผลิตในการเกษตรเช่น ปลีกล้วย ต้นกล้วย มะละกอ ฟักทอง ฟักเขียว ซึ่งสารอาหารที่ได้จากผลไม้ เวลาหมักน้ำหมัดที่ได้ เอาไปรดต้นไม้จะให้ประโยชน์แก่ผลต้นไม้ ถ้ามหัก ประเภทใบ ก็จะให้ประโยชน์ในการแตกยอดของต้นไม้ เพราะฉะนั้นการทำปุ๋ยหมักน้ำต้องคำนึงว่าเราจะใช้ประโยชน์ด้านใด ของต้นที่เราจะเอาไปรถ ต้องใช้ให้ถูกหรือ หมักโดยรวมกันทั้งใบอละผลในถังเดียวกัน เราก็จะได้น้ำหมักแบบองค์รวม คือ สามารถ ใช้ได้ทั้งบำรุงและบำรุงผล ซึ่งในวันนี้ทางกลุ่มจะสาธิตการหมักแบบผลไม้ล้วน ซึงมีปลีกล้วย ฟักทอง ฟักเขียว มะละกอ คุณพัณธศักดิ์ เป็นผู้สาธิตการหมัก โดยการนำพืชผักมาสับหยาบๆ ให้ได้  30 กิโล ต่อ1 ถัง แล้วเติมกากน้ำตาลอธิบาถย 10ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ก็นำน้ำไปใช้ โดยผสม 1 ลิตรผสมน้ำได้ 200 ลิตร นำไปรดต้นไม้ได้ คุณเกษมศรี ได้อธิบายถึงการน้ำสมุนไพรไล่แมลง เช่นน้ำยาฉุนใบสะเดา ไล่แมลงในผัก การปลูกผักกินเองตามวิถีเดิม เช่น ปลีกล้วยนำมาทำอาหาร ปลูกผักสวนครัว สาระพัดผักข้างบ้าน เพื่อลกรายจ่าย เืพ่อใฟ้มีผักกินเองตามชอบ เพื่อเป็นกิจกรรมของครอบครัว เพื่อแบ่งปันเพื่อนบ้าน และเพื่อเป็นรายได้เมื่อกินไม่หมด ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สมาชิกกลุ่มปลูกกล้วยและชาวบ้านที่สนใจ ที่เข้าร่วม ได้ความรู้เรื่องการเก็บเศษวัถุดิบของผลผลิต มาทำเป็นน้ำหมักเพื่อเป็นปุ๋ย ใช้ต่อไป
    2. อีก 2 อาทิตย์ สมาชิกสามารถนำน้ำหมักไปใช้ได้
    3. สมาชิกได้รู้จักการจัดการกับเศษวัสดุที่เหลือใช้จากในครัวเรือน
    4. สมาชิกให้ความสนใจค่อนข้างดี

     

    60 55

    20. ร่วมทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยหมักโคนในสวนแบบฉบับคนพิตำ

    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชักชวนสมาชิกกลุ่มปลูกกล้วยให้มาเรียนรู้ ในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติในครั้งนี้ทางปราชญ์ได้นำวัสดุอย่างเช่น ขี้เลื่อยหรือขุยมะพร้าวประมาณ 30 กิโล มูลสัตว์ วัว หรือไก่ ประมาณ 20 กิโล รำละเอียด 20 กิโล และน้ำหมักชีวภาพ นำมาคนให้เข้ากัน ให้มีความชื้นประมาณ 60-70% คลุกให้เข้ากันให้ทั่ว(ข้อสังเกตุความชื้น ให้กำด้วยมือให้แน่น แล้วทิ้งลง โดยในก้อนที่เรากำจนแน่นแล้วทิ้งลงให้ส่วนที่ยังเป็นก้อนมีมากกว่าสวนที่กระจายประมาณ 3ใน1 ส่วน ) เมื่อคลุกดีแล้วตักใส่กระสอบปุ๋ยแล้ววางในที่ร่ม ประมาณ 3อาทิตย์ ถึง 1 เดือนก็นำมาใช้ได้
    • วิธีการ ตัดหญ้าแล้วนำมากองที่โคนต้นกล้วยหรือต้นไม้อื่นก็ได้ แล้วใช้น้ำหมักที่ทำครั้งก่อน ราดรดให้เปียกชุ่ม
    • ที่สวนคุณระพิน. หนูทองและสวนคุณอำนาจคีรีทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านรู้จักการนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์
    • ชาวนบ้านมีปุ๋ยหมักใช้ แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ชักชวนสมาชิกกลุ่มปลูกกล้วยให้มาเรียนรู้ ในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติในครั้งนี้ทางปราชญ์ได้นำวัสดุอย่างเช่น ขี้เลื่อยหรือขุยมะพร้าวประมาณ 30 กิโล มูลสัตว์ วัว หรือไก่ ประมาณ 20 กิโล รำละเอียด 20 กิโล และน้ำหมักชีวภาพ นำมาคนให้เข้ากัน ให้มีความชื้นประมาณ 60-70% คลุกให้เข้ากันให้ทั่ว(ข้อสังเกตุความชื้น ให้กำด้วยมือให้แน่น แล้วทิ้งลง โดยในก้อนที่เรากำจนแน่นแล้วทิ้งลงให้ส่วนที่ยังเป็นก้อนมีมากกว่าสวนที่กระจายประมาณ 3ใน1 ส่วน ) เมื่อคลุกดีแล้วตักใส่กระสอบปุ๋ยแล้ววางในที่ร่ม ประมาณ 3อาทิตย์ ถึง 1 เดือนก็นำมาใช้ได้
    • สมาชิกได้เรียนรู้และเห็นการทำปุ๋ยหมักโคน

     

    60 63

    21. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 6)

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 1300-15.10 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ในที่ประชุมวันนี้ ประธานโครงการได้แจ้งให้ทราบว่า ทางสสส. ได้โอนเงินงวดที่สองให้แล้ว และต่อจากนี้ทางกลุ่มจะต้องดำเนินการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งกิจจกรรมต่อจากนี้จะมีการลงแขกการปลูกพืชตระกูลถั่วหรือปอเทือง เพราะว่าหาเมล็ดพันธุ์ไม่ค่อยได้ แต่พืชสองชนิดนี้เป็นพืชที่ใช้ปรับสภาพดินเหมือนกัน ทางกลุ่มได้หารือกับพัฒนาที่ดินในการจัดหาเมล็ดพันธุ์ให้ แต่ต้องรอสักระยะ
    • ทางกลุ่มจะช่วยกันจัดการเรื่องท่องเที่ยวเชิงเกษตรครบวงจร ในพื้นที่หมู๋ที่3 โดยจะเริ่มก่อรปีการท่องเที่ยวหน้า ซึ่งได้เสนอแผนงานกับการท่องเที่ยวอบต.กรุงชิงไว้แล้ว เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรครบวงจรเช่น เที่ยวชมสวนผลกล้วย/สวนผลไม้ตามฤดูกาล ปั่นจักรยานตามเส้นทางรอบหมู่บ้านระยะทา 5 กม./และกิจกรรมอื่นๆที่มีในหมู่บ้าน
    • ทางกลุ่มจะสนับสนุนเรื่องการปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำ ในสวนกล้วยเพื่อรเพิ่มรายได้แก่สามชิกอีกระดับหนึ่ง กำหนดวันทีกิจกรรมครั้งต่อไปวันที่ 29 มีนาคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กรรมการร่วมกันคิดและมีความเห็นว่าการปลูกมะละกอจะต้องแบ่งเฉลี่ยกันปลูก เพราะว่าทางพ่อค้าต้องการจำนวนมาก
    • เมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วจะช่วยกันสอบถามนอกจากสำนักงานพัฒนาทีดิน
    • การท่องเที่ยวเชิงเกษตรครบวงจร ทุกคนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งและยินดีให้ความร่วมมือ

     

    20 15

    22. ลงแขกปฏิบัติการปลูกพืชตระกูลถั่ว 1

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา 9.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมให้ความรู้แก่สมาชิก เรื่องการปลูกพืชตระกูลถั่วเช่น พันธุ์ของพืชตระกูลถั่ว มีพืชคลุม ถั่วนั่งถั่วพร้า ปอเทือง เป็นต้น ประโยชน์ของพืช ใช้เป็นพืชคลุมดินเพื่อให้ความชุมชื้นแก่ดินและเพื่อปราบวัชพืชไปในตัวช่วยจับธาตุไนโตรเจนในดินในดินเพื่อนเป็นอาหารของพืช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกและชาวบ้านให้ความสนใจ และแจ้งความจำนงที่จะปลูกพืชตระกูลถั่วจำนวน 43 คน จัดทำแผนงานการลงปลูกพร้อมกันในเดือนต่อไป

     

    60 58

    23. พี่เลี้ยงลงถอดบทเรียน

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พูดคุยรวมกันกับพี่เลี้ยงที่ศาสลา อบต. แล้วลงพื้นที่ติดตามในสวนกล้วย สัมภาษณ์ตามบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ เกิดผลลัพธ์ที่ดี ดังนี้

    1. กลุ่มเป้าหมายเข้ามาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง มีจำนวนมากกกว่าที่ตั้งไว้
    2. เกิดกลุ่มกล้วยไข่บานที่เข้มแข็ง เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สนใจ และหน่วยงานอื่นๆ
    3. ค้นพบปราชญ์ชาวบ้านเพิ่มขึ้น
    4. เกิดความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น

     

    15 15

    24. ปุ๋ยหมักโคน 1

    วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำที่สวนคุณสุทธิเดช โฆษะ โดยการตัดหญ้าวัชพืชแล้วกวาดมาสุมโคนแล้วใช้น้ำหมักที่ทำก่อนนี้มาราดเพื่อช่วยในการย่อยสลาย หญ้าที่สุมโคนจะกลายเป็นปุ๋ย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกจะได้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมักโคน ลดค่าใช้จ่าย เกิดความสามัคคีในชุมชน ในสวนคุณสิทธิเดช โฆษะ มีการทำสวนเรียน มะนาว ไผ่ตง มะลกอ

     

    40 40

    25. ลงแขก ปลูกพืชตระกูลถั่วพืีนที่ตัวอย่างจำนวน 20 แปลง(ครั้งที่ 1)

    วันที่ 16 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00-15.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ปฏิบัติจริงวัยที่ 16 สิงหาคม 2559 สถานที่สวนของนางเกยูร หนูทอง และสวนของนางวิลาวัลย์ จรรยาดี

    • คุณวิรัต แจ้งถึงงบประมาณ สสส. งวดที่2

    • เรื่อง การสำรวจการปลูกยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ
    • เรื่องการลงหุ้นประชารัฐวิสาหกิจในนามของกลุ่มกล้วย
    • คุณ พงพีฒน์พิมแสนเรื่องการปลูกพืชตระกูลถ้วในแปลงเกษตร
    • นายระพินหนูท องแจ้งเรื่องไปดูงานที่ปราจีนจันทบุรี
    • คุณวรรณพรตันสกุล แจ้งเรื่องการตรวจหาสารพิษตกค้างในร่างกาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่เกิดขึ้นจริงจากการเรียนรู้รว่มกันถึงประโยชน์ของพืชตระกูลถั่วและพืชคลุมดิน จึงได้มีแปลงของสมาชิกเพื่อปลูกพืชชนิดนี้

    ผลทีไ่ด้รับ มีการลงแขกตัดหญ้าและหว่านเมล็ดพันธุ์ ปฏิบัติจริงวัยที่ 16 สิงหาคม 2559 สถานที่สวนของนางเกยูร หนูทอง และสวนของนางวิลาวัลย์ จรรยาดี ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จาก กรมพัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราชเป็นเมล็ดปอเทืองจำนวน 1 กระสอบ

    • คุณวิรัต แจ้งถึงงบประมาณ สสส. งวดที่2 ให้สมาชิกรับทราบว่าได้รับเงินจำนวน 103800 บาท ต่อไปนี้ทางกลุ่มจะต้องทำกิจกรรมที่เสนอไว้ต่อจึงแจ้งมาให้สมาชิกทราบและวันนี้จะให้ความรู้เรืองการปลูกพืชตระกูลถั่วชึ่งเกษตรอำเภอจะเป็นผู้ให้ความรู้
    • เรื่อง การสำรวจการปลูกยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ให้รับแบบสำรวจและไปส่งที่การยางแห่งประเทศไทยเขตท่าศาลาภายในวันที่30 กย.59
    • เรื่องการลงหุ้นประชารัฐวิสาหกิจในนามของกลุ่มกล้วย กรุงชิง หมู่3
    • คุณ พงพัฒน์ พิมแสน เรื่องการปลูกพืชตระกูลถ้วในแปลงเกษตร สามารถปรับปรุงดินให้ดีขึ้นทั้งนี้ให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับประโยชน์ของพืชชนิดนี้ และจำแนกพืชตระกูลถั่วได้ดังนี้เช่นถั่วพร้า ถั่วนั่ง พืชคลุม ให้ความชุ่มชื้นแก่ดินและช่วยในการจับไนโตรเจน โดยรากที่โดยรากที่เป็นปมเพื่อเป็นอาหารของพืช การปลูกปอเทืองจะให้ไนโตรเนนในภาวะที่ยังเป็นดอกในการไถกลบ จะให้ธาตุอาหารได้ดีกว่าช่วงอื่น
    • นายระพิน หนูทองแจ้งเรื่องไปดูงานที่ปราจีนจันทบุรี การทำเกษ์ตรแนวใหม่ คือการปลูกทุเรียนตามขั้นบันได แชมด้วยกล้วยและพริกขี้หนูแนวโคนต้นทุเรียนตามระยะห่างแบบมีระบบทำให้มีรายได้ตลอดปี
    • คุณวรรณพรตันสกุล แจ้งเรื่องการตรวจหาสารพิษตกค้างในร่างกายชึงทางกลุ่มได้ของบประมาน ไป สปสช. ที่อบต.กรุงชิงและได้อนุมัติมาแล้วจำนวนเงิน 18400บาท สมาชิกสนใจที่จะตรวจให้มาลงชือ ไว้เมือกำหนดวันแล้วทางกลุ่มจะประสานต่อไปเรื่องการทำเตาเผาขยะในครัวเรือน หากสมาชิกสนใจให้ลงชือไว้ที่กล่ม โดยทางกลุ่มจะประสานผูใหญ่หมู่ 9 ให้ ค่าใช้จ่ายต้องออกเอง
    • การปลูกพืชตระกูลถั่ว วันนี้ทำได้แค่การตัดหญ้าเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้ก่อน เพราะหาเมล็ดพันธ์ไม่ได้ จึงเตรียมแปลงไว้ก่อน

     

    20 20

    26. ปุ๋ยหมักโคน 2

    วันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การทำปุ๋ยหมักโคน คือการตัดหญ้าแล้วเอาน้ำหมักราดเพื่อให้เป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้แก่พืชและปรับปรุงดินเพื่อลดต้นทุนในการผลิต ผลที่เกิดขึ้นพบว่าสมาชิกร่วมมมือร่วมใจกันดีมาก สวนเตียนขึ้น ต่อไปรวมตัวกันทำต่อเนื่อง ในสวนมีน้ำเต้าลูกใหญ่ ได้ให้ไปรับประทานกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยหมักโคลน จะได้พื้นที่การทำปุ๋ยหมักโคลนให้แก่สมาชิกโครงการ

     

    20 20

    27. ประชุมผู้นำครั้งที่7

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การรวมตัวของเกษตรกร เป็นเกษตรแปลงใหญ่ เป็นการรวมตัวเพื่อปฏิบัติทำการเกษตรในแนวเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รู้ข้อมูลแนวทางช่วยเหลือสมาชิกที่ขาดเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วซึ่งคุณระพินหนูทอง จะประสานพัฒนาที่ดินให้สมาชิกร่วมกันทำ มีพื้นที่ไม่มาก หลายคนมาทำกันเป็นแนวเดียวกัน

     

    20 15

    28. การปลูกพืชตระกูลถั่วครั้งที่ 2

    วันที่ 27 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมให้ความรู้แก่สมาชิก ลุงเขียวให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชตระกูลถั่วเช่น พันธุ์ของพืชตระกูลถั่ว มีพืชคลุม ถั่วนั่งถั่วพร้า ปอเทือง เป็นต้น ประโยชน์ของพืช ใช้เป็นพืชคลุมดินเพื่อให้ความชุมชื้นแก่ดินและเพื่อปราบวัชพืชไปในตัวช่วยจับธาตุไนโตรเจนในดินในดินเพื่อนเป็นอาหารของพืช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกได้พื้นที่ปลูกพืชตระกูลถั่วให้กับสมาชิกและผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ชาวบ้านขอพันธ์ุปอเทืองไปหว่าน พบว่าพันธุ์มีไม่เพียงพอ ต้องขอเพิ่มมาจากเกษตร มีแนวคิดว่าต้องจัดหาพันธุ์เอง ต่อไปต้องไม่ตัดต้น เก็บเมล็ดพันธ์ุไว้ ต่อไปเรามีใช้เอง ได้ขยายผลเรื่องนี้ได้ต่อไป

     

    54 54

    29. ลงแขกปลูกพืชตระกูลถั่ว 3

    วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกรวมกลุ่มกัน ช่วยกันในแปลงตามบ้านคุณอำนาจ สวนคุณประยูร สวนคุณวิลาวัลย์ ทำการตัดหญ้า กวาดหญ้า ไปสุมไว้ที่โคนต้น หว่านเม็ดปอเทืองในพื้นที่ว่าง ผลพบว่า สวนกล้วยเตียน ตัดได้หมด บางสวนปลูกมะเขือเพิ่มในพื้นที่ สวนประยูรปลูกกล้วยข้างถนนดูสวยงาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมกันทำพร้อมกัน เริ่มจากตัดหญ้าแล้วกวาดมารวมที่โรคต้นไม้เพื่อให้เป็นปุ๋ยหมักโคน ในพื้นที่ว่างร่วมกันหว่านเม็ดปอเทือง ลงทำกันทั้งวัน วันนี้ได้ - แปลง ค

     

    20 47

    30. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 8)

    วันที่ 2 กันยายน 2559 เวลา 8.00-10.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คุณระพิน หนูทอง แจ้งเรื่องบริษัททัวร์ติดต่อเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในหมู่บ้าน ทางกลุ่มจะต้องสร้างกิจกรรมให้หลากหลายเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
    • ประธานแจ้งเรื่องกิจกรรมของกลุ่ม ในวันนี้เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชตระกูลถั่ว โดยเกษตรอำเภอ ประธานแจ้งเรื่องการลงหุ้นโครงการประชารัฐวิสาหกิจ เรื่องโครงการของสนับสนุนอำเภอนบพิตำ เป็นผู้แจ้งทางกลุ่มกล้วยและชุมชนจะเสนอโครงการอะไรบ้างให้ช่วยกันคิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมผู้นำ ครั้งที่ 8 20 คน เตรียมศักยภาพชุมชนเพื่อการประกวดประชารัฐสีชมพู สิ่งต้องเตรียม - จัดทำผังโครงการกลุ่ม ทะเบียนกลุ่มซึ่งยังไม่เรียบร้อย - ผังการดำเนินงานฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายดำเนินงาน ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการตลาดและประเมินผล - เตรียมทำรายชื่อ ผู้เข้าร่วมเครื่อข่ายหน่วยงานราชการองค์กรเอกชน - จัดทำข้อมูล-ภาพ ป้ายนิทรรศการ กิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มที่ผ่านมาในโครงการกล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ - แบ่งงานที่รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย

     

    20 20

    31. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำรายงานส่งให้ สจรส.มอ. ตรวจสอบ ครบตามจำนวนกาจัดกิจกรรม ให้รายงานผลในเวป ทำงานได้ตามสัญญา

     

    2 2

    32. เรียนรู้และจัดทำข้อมูลคุณภาพผลผลิต

    วันที่ 7 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้การทำข้อมูล ทำบันทึกการปลูกกล้วยไข่บาน จดบันทึกผลการปลูกกล้วย จำนวนผลผลิต มีนายเขียวและนายวิรัตน์ เป็นผู้นำการพูดคุย เรียนรู้การจัดทำกล้วยไข่บานให้มีคุณภาพ แนะนำวิธีการปลูกและการแก้ปัญหาผลผลิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ชุดข้อมูล จากร่วมกันให้ข้อมูลและจดบันทึก เรียนรู้และจัดทำข้อมูลคุณภาพผลผลิต 65 คน - ประธานได้กล่าวถึงการจัดการในการทำคุณภาพการผลิตให้มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค ตั้งแต่การปลูก การแต่งต้น,กอ การเลือกหน่อที่จะเว้นไว้ในรุ่นต่อไป การดูแลบำรุงต้น เป็นการเริ่มต้นในการให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และการดูแลรักษาเมื่อเริ่มมีผลผลิต การเก็บเกี่ยวที่ถูกวิธี เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหายและขายได้ราคาดี

     

    60 65

    33. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 9)

    วันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เรื่องการจัดงานเดือน 10 โดย อำเภอนบพิตำเป็นเจ้าภาพจัดหมรํบ ซึงชุมชนเราจะไปร่วมด้วย
    • เรื่องการปรับแผนงานของกลุ่ม การจัดทำบอร์ดกลุ่ม ทำโครงสร้างกลุ่ม
    • การทำแบบสัมภาษณ์ การเก็บข้อมูล และอื่น ๆ ประชุมผู้นำ ครั้งที่ 9 20 คน
    • การทำแบบสัมภาษณ์ชาวบ้านเกี่ยวกับการลดใช้สารเคมีตลอดโครงการและนำไปสู่การทำโครงการในปีต่อไป
    • กำหนดวันที่จะทำกิจกรรมติดตามการปฏิบัติ ในวันที่ 12 กันยายน 2559 เป็นวันแรก ซึ่งกิจกรรมนี้มี 4 วัน
    • เสนอผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเรียกประชุมชาวบ้านร่วมกิจกรรมชุมชนประชารัฐ-สีชมพู
    • นัดทำบอร์ดกิจกรรมต่างๆ ที่กศน. วันที่ 10 กันยายน 2559 ใช่ในวันที่ 21 กันยายน 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -มีการแบ่งงานจัดกิจกรรม งานเดือนสิบ ให้ทางกลุ่มร่วมงาน ได้บอร์ดเป็นโฟมบอร์ด เขียนเป็นตัวอักษรเขียนแผนผังงาน มีสมาชิกรับผิดชอบ มีโครงสร้างการทำงาน แบบสัมภาษณ์ได้ลงสัมภาษณ์และลงเก็บข้อมูล กำหนดวันลงพื้นที่ เพื่อติดตามผลครั้งต่อไป ผู้ใหญ่บ้านได้แจ้งให้ชาวบ้านรู้เรื่องชุมชนประชารัฐสีชมพู นำบอร์ดไปจัดนิทรรศการ

     

    20 13

    34. ติดตามการปฏิบัติโดยคณะกรรมการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ 1

    วันที่ 12 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เกษตรอำเภอร่วมกับโครงการมาร่วมติดตามในแปลง และเรียนรู้การใส่ไคโมา เพาะเชื้อราดี ใช้เป็นยากำจัดแมลง ลงติดตามใน - สวนกล้วย คุณวิรัตน์ เล่นทัศน์
    - สวนคุณ สุดใจ สินตุ้น
    - สวนคุณ อำนาจ คีรีทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับข้อมูล และติดตามผลการปลูกกล้วยของผู้ร่วมโครงการ - สวนกล้วย คุณวิรัตน์ เล่นทัศน์ เพิ่งจะฟื้นจากภัยแล้ง คาดว่าอีก 4-5 เดือน ถึงจะให้ผลผลิตได้ สวนแปลงนี้ประมาณ 1500 กอ จากการขุดดินปรากฏว่า มีใส้เดือนเยอะมากเป็นการยืนยันว่าไม่ได้มีการใช้ยาฉีดหญ้าแน่นอน - สวนคุณ สุดใจ สินตุ้น มีการใส่ปุ๋ยคอกจากคอกหมู - สวนคุณ อำนาจ คีรีทอง มีการปลูกพืชอื่นแซมในสวนกล้วย เช่น มะเขือยาว ข้าวโพด และข่า เป็นที่มาของภาพ “กล้วยหว่างขา”

     

    20 20

    35. นำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมลดสารเคมีอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แจ้งข้อมูลการลดสารเคมีที่ผ่านมาก่อนทำและหลังทำโครงการ และแนะวิธีการจัดการในแปลง ในสวน เพิ่มขึ้น สมาชิกรว่มถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ชุดองค์ความรู้การใช้สารเคมีของชุมชน นำชุดข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สมาชิกถามเรื่องลูกมะนาวร่วงต้องทำอย่างไร ลุงเขียวบอกวิธีแก้ไขให้ ให้ใช้ยาเส้นผสมเหล้าขาวนำไปฉีดพ่นต้นมะนาว การจัดการในสวนหล้วย การทำต้นกล้วย การห่อกล้วย ถ้ามีการจัดการเกิดผลลิตที่มีคุณภาพ กลุ่มได้ไปเปิดตลาดที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ให้สมาชิกทำการปรับคุณภาพของกล้วย ให้สามารถส่งไปขายได้ ด้วยการห่อเครือกล้วย ทำตามวิธรที่สอน เมื่อเก็บจะเก็บกล้วยลักษระประมาณไหน ให้ลูกสวย ผิวสวย มีคุณภาพ ตามที่ตลาดต้องการ

     

    60 60

    36. เก็บข้อมูลเพื่อถอดบทเรียน

    วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้สรุปองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากโครงการในรอบปีที่ผ่านมา จากการเก็บข้อมูลเพื่อถอดบทเรียนจากโครงการ ในปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าโครงการเป็นที่สนใจของชาวบ้าน มีบางคนเสนอให้ทำโครงการในปีต่อไปอีกและให้ทำในการเกษตรกับพืชอย่างอื่นด้วยแล้วจะร่วมโครงการด้วยอีก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เก็บข้อมูลตามบ้านแล้วมานัดคุยรวมเป็นกลุ่ม มีข้อมูลว่า ทุกคนยินดีให้ข้อมูลว่าเป็นผลดี คือ ทำปุ๋ยเป็น ทำปุ๋ยหมักโคนได้ เอาตะไคร้หอมมาไล่ยุง สมุนไพรไล่แมลง เจาะเลือดแล้วได้ดูแลตัวเองถูก ขอบคุณที่มีโครงการ

     

    120 108

    37. จัดเวทีสรุปข้อมูลนำเสนอแผนงานลดสารเคมี

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีสรุปผลการจัดการลดสารเคมีและการประะสานงานตลาดโดยตรง พร้อมการวางแผนการพัฒนาคุณภาพและผลผลิตกล้วยไข่บานในปีต่อไป เวทีสรุปโครงการผลผลิตผู้นำขับเคลื่อนหมูบ้าน (ปิดโครงการ) - ประธานแจ้งในที่ประชุมตลอดเวลา 1 ปี กับโครงการกล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ ขอบคุณสมาชิกที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งเป็นอย่างดี และชาวบ้านในชุมชนก็ให้ความสนใจในการที่หน่วยงานต่างๆ มาให้ความรู้ด้านวิชาการเป็นอย่างดี ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ที่ชาวบ้านจะเอาไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ต่อไป - จากการสำรวจการใช้สารเคมีในชุมชนก็ลดลง อาจเป็นเพราะว่าชาวบ้าน รู้จักที่จะทำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ก็เป็นได้ ซึ้งความรู้ต่างๆ นี้ก็ต้องขอขอบคุณเกษตรอำเภอที่นำโครงการกำจัดโรคพืชและแมลงเข้ามาให้ - จากการสำรวจอีกครั้ง ผลปรากฏว่าชาวบ้านยินดีที่จะร่วมเข้าโครงการหากมีโครงการในปีต่อๆ ไป ขอคุณทุกท่านที่มา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ชุดข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานกล้วยไข่บานการลดใช้สารเคมี เมื่อเปรียบเทียบจากก่อนโครงการกับผลการทำโครงการ พบว่าการใช้ยาฉีดหญ้า และสารเคมีอื่นๆ ลดลง เช่น การใช้ปุ๋ยเคมีลดลง เห็นการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการจัดการหญ้า คือ เพิ่มการตัดหญ้าและมีการลงแขกจากการตัดหญ้า มีการดูแลกล้วยให้ดีขึ้น มีการรวมตัวกันเอากล้วยมาขายที่กลุ่มมากขึ้น แม้ว่าราคากล้วยตกต่ำแต่ในกลุ่มก็ไม่กระทบ

     

    60 60

    38. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 10)

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1 แจ้งคณะกรรมการเรื่อง ธนาคารออมสิน จะมาถ่ายทำรายการ ทีวี โครงการชุมชนประชารัฐสีชมพู ในวันที่ 1 ตุลาคม 2559 2 เรื่องการทำบุญวันสาทรเดือนสิบ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ทางกลุ่มกล้วย มีกิจกรรมร่วมประเพณี ที่วัดบ่อน้ำร้อน 3 ชุมชนจะมีการทอดผ้าป่า ในวันที่ 2 ตุลาคม 2559 ทางวัดขอปิ่นโตครัวเรือนละ 1 สาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการรับทราบ และเห็นชอบที่จะให้ดำเนินการกิจกรรมต่างๆ เตรียมการเป็นฝ่ายต่างๆ คือ ฝ่ายต้อนรับ ฝ่ายติดต่อกลองยาว แจ้งผู้ใหญ่เพื่อเรียกประชุมชาวบ้าน ให้ชาวบ้นทราบมาร่วม ประสานงานกับเจ้าอาวาสที่วัด ได้รับความร่วมมือดี เพิ่มความสนุกขึ้น มีแข่งกินกล้วย ปินเสาน้ำมัน

     

    20 20

    39. ถอดบทเรียน

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และถอดองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ในรอบปีที่ผ่านมา จากการทำโครงการฯ พบว่าชาวบ้านสนใจเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเช่นการทำสมุนไพรสกัดไล่แมลง การทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอกและการสนใจเรียนรู้เพื่อรวมตัวเป็นกลุ่ม ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งมีความสามัคคีให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีมีความอยากที่จะให้โครงการฯ ดำเนินต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้สรุปองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากโครงการในรอบปีที่ผ่านมา พบว่าชาวบ้านให้ความสนใจและนำไปปฏิบัติได้เป็นส่วนใหญ่ ได้ทำเพิ่มจากโครงการคือ การตรวจสารเคมี จากแพทย์ประจำตำบล ได้ 107 คน พบว่ามีภาวะเสี่ยง 47 คน ทุกคนมีความตื่นตัว พยายามจะลด เมื่อเปรียบเทียบกับหมู่บ้นห้วยพานจะพบน้อยกว่า เพราะที่เขาพบร้อยละ 2 เอง ของเรายังมาก จะต้องทำเพิ่มในสวนอื่นๆ ไม่ใช่ทำแต่สวนกล้วย เพราะคนที่ไม่ปลูกกล้วยก็ไม่ได้ลดสารเคมี ต่อไปให้ใช้ปุ๋ยในโครงการทั้งหมู่บ้าน ขยายผลไปกลุ่มอื่นๆ

     

    120 105

    40. ร่วมงานคนใต้สร้างสุขกับ สสส.

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เรียนรู้การดำเนินงานโครงการ สสส. - คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เรียนรู้เรื่องโครงการที่สำเร็จ ได้แก่ การจัดการกลุ่มของเขาชัยสน ที่มีคนมาช่วยทำงานเป็นทีมมากขึ้น การจัดการปัญหาเยาวชน สนใจการบุกข้าวสกัด การทำกาแฟคั่วและบดมือ การทำซุ้มส่องมองสัตว์ในป่า ของปัตตานี ซึ่งมีความใกล้เคียงกับของหมู่บ้าน สามารถนำมาพัฒนาในหมู่บ้านได้

     

    2 2

    41. ติดตามการปฎิบัติ ครั้งที่ 2

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่สวนกล้วย
    เก็บข้อมูลการแลกเปลี่ยนดเรียนรู้ เก็บภาพ ติดตามการปฏิบัติ ครั้งที่ 2 - กรรมการ 20 คน - สวนคุณพงค์ศ้กดิ์ คงสนิด คุณพันธศักดิ์ องค์พิศิษฐ์ สวนคุณธวัชชัย คงชนะ สวนคุณสุวรรณี หนูทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รู้ถึงการจัดการของเกษตรกรในแต่ละราย ได้เห็นผลผลิตในแปลงที่ติดตาม สวนคุณพงค์ศ้กดิ์ คงสนิท ต้นกล้วยสูงประมาณ 5 เมตร(สูงมาก) ออกเครือ 9 หวี เป็นเครือที่ใหญ่มากลูกสวย เจ้าของบอกไม่เคยใช้ปุ๋ยเคมีเลย อายุกล้วย 4 ปีแล้วแต่ยังสมบูรณ์มากเจ้าของบอกไม่เคยใส่ปุ๋ยเลย - สวนคุณธวัชชัยกล้วยปลูกแซมในสวนปาล์ม ต้นใหญ่ เครือใหญ่ ลูกใหญ่ ผิวสวยใช้ปุ๋ยหมักอย่างเดียวไม่มีโรค - สวนคูณสุวรรณี กล้วยยังเล็กใส่ปู๋ยหมักแล้วเมื่อประมาณ10 วันที่ผ่านมา

     

    20 20

    42. ติดตามการปฎิบัติ ครั้งที่ 3 สวนนายหนูเขียน นางอรพิน นายจรัญ นางอาภรณ์

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่สวนกล้วย
    เก็บข้อมูลการแลกเปลี่ยนดเรียนรู้ เก็บภาพ ติดตามการปฏิบัติ ครั้งที่ 3 - คุณหนูเขียน สุวรรณจันทร์, คุณอรพิน สวัสดิรักษา, คุณจรัล ประจงการ, คุณอาภร ช่วยรัก

    • สวนคุณหนูเขียน ปลูกผสมในสวนมะนาว, ทุเรียน กล้วยพึ่งฟื้นจากภัยแล้ง ยังไม่ได้รับผลผลิต อีกประมาณ 2-3 เดือน น่าจะได้รับผลผลิต
    • สวนคุณอรพินเหมือนกันกับสวนคุณหนูเขียน
    • สวนคุณจรัล เป็นสวนสมรมที่มีการปลูกหลายอย่าง เช่น ตะไคร้ พริก ข่า ขมิ้น มะพร้าว ฟักทอง ฟักเขียว และกล้วย ทุเรียนดีมาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รู้ถึงการจัดการของเกษตรกรในแต่ละราย ได้เห็นผลผลิตในแปลงที่ติดตาม สวนคุณหนูเขียนเดิมถูกภัยแล้ง ตอนนี้เริ่มดีขึ้น คิดว่าอีกสองเดือนจะได้รับผลสวนคุณอรพินก็เหมือนกัน สวนคุณจรัลซึ่งเป็นแปลงสาธิตกล้วยที่เพิ่งปลูกอายุได้ 4 เดือนสวยใช้ได้ในแปลงปลูกผสมผสานหลายอย่าง เช่นทุเรียน, มะพร้าว, ลองกอง, มังคุด, พริกขี้หนู, ตะใคร้, ข่า, ฟักทอง, ฟักเขียว สวนคุณอาภรกล้วยพื่งปลูกประมาณ 3 เดือนเจ้าของบอกว่าทำปุ๋ยหม้กไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ใส่คานว่า หลังจากนี้ประมาณ 10-15 วันจะได้ใส่ปุ๋ย

     

    20 20

    43. ติดตามการปฏิบัติเรื่องที่เรียนรู้

    วันที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามปฏิบัติที่เรียนรู้มา โดย กรรมการ 20 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดตามปฏิบัติที่เรียนรู้มา - กรรมการ 20 คน - จาการที่เรียนรู้กันมาสมาชิกจะไปปฏิบัติหรือไม่ แต่จากการติดตามงานปรากฏว่า การปลูกปอเทืองตอนนี้ปอเทืองออกดอกแล้ว สวยงามมาก หลังจากนี้ก็ตัดไถกลบเพื่อปรับสภาพดินต่อไป - การเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้ บ้านนายจรัล ประจงการ ช่วงนี้ฝนตกเผาไม่ได้ แต่จากการที่ที่ตั้งเป็นจุดสาธิต เคยมีคณะไปเยี่ยมและเรียนรู้ในการผลิตน้ำส้มควันไม้ - การทำน้ำหมักทั้งการใช้ไล่แมลงและเป็นปุ๋ยน้ำหมักบ้าน คุณสุดใจ สินตุ้น

     

    20 20

    44. ติดตามการปฏิบัติเรื่องที่เรียนรู้

    วันที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามปฏิบัติที่เรียนรู้มา - กรรมการ 20 คน - จาการที่เรียนรู้กันมาสมาชิกจะไปปฏิบัติหรือไม่ แต่จากการติดตามงานปรากฏว่า การปลูกปอเทืองตอนนี้ปอเทืองออกดอกแล้ว สวยงามมาก หลังจากนี้ก็ตัดไถกลบเพื่อปรับสภาพดินต่อไป - การเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้ บ้านนายจรัล ประจงการ ช่วงนี้ฝนตกเผาไม่ได้ แต่จากการที่ที่ตั้งเป็นจุดสาธิต เคยมีคณะไปเยี่ยมและเรียนรู้ในการผลิตน้ำส้มควันไม้ - การทำน้ำหมักทั้งการใช้ไล่แมลงและเป็นปุ๋ยน้ำหมักบ้าน คุณสุดใจ สินตุ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดตามการปลูกพืชตระกูลถั่ว บ้านคุณระพิน คุณเกยูร คุณวิลาวัลย์ ปลูกตามแปลงบ้านอื่นๆ 12 บ้าน เมื่อไปเยี่ยมติดตามการทำกิจกรรม พบว่าได้ทำมาเรื่อยๆ ช่วงนี้มีฝนตก เผาถ่านไม่ได้ แต่ได้ปลูกล้วยเป็นแปลงสาธิต ให้เพื่อมาเรียนรู้ในหมู่บ้าน เยี่ยมติดตามการทำน้ำหนักที่บ้านคุณสุดใจ สินตุ้น พบว่า มีน้ำหมัก เจ้าของบ้านบอกว่าใช้ได้ผลและสามารถนำไปใส่ในถ้วยน้ำยาง ช่วยให้น้ำยางแข็งตัวเร็วกว่าเดิม ถังน้ำหมักบ้านคุณสุด และคุณธวัช

     

    20 20

    45. เวทีสรุปผลสภาผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านจัดการตนเอง

    วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีสรุปโครงการผลผลิตผู้นำขับเคลื่อนหมูบ้าน (ปิดโครงการ) - ประธานแจ้งในที่ประชุมตลอดเวลา 1 ปี กับโครงการกล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ ขอบคุณสมาชิกที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งเป็นอย่างดี และชาวบ้านในชุมชนก็ให้ความสนใจในการที่หน่วยงานต่างๆ มาให้ความรู้ด้านวิชาการเป็นอย่างดี ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ที่ชาวบ้านจะเอาไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ต่อไป - จากการสำรวจการใช้สารเคมีในชุมชนก็ลดลง อาจเป็นเพราะว่าชาวบ้าน รู้จักที่จะทำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ก็เป็นได้ ซึ้งความรู้ต่างๆ นี้ก็ต้องขอขอบคุณเกษตรอำเภอที่นำโครงการกำจัดโรคพืชและแมลงเข้ามาให้ - จากการสำรวจอีกครั้ง ผลปรากฏว่าชาวบ้านยินดีที่จะร่วมเข้าโครงการหากมีโครงการในปีต่อๆ ไป ขอคุณทุกท่านที่มา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านรับรู้ เสนอว่าอยากให้โครงการมีการทำต่อ ให่เพิ่มเติมการทำกับพืชอื่นๆ บ้าง เช่น ในสวนยาง ในสวนผลไม้ จะได้ลดสารเคมี และทุกคนยินดีร่วมในโครงการ บอกว่าได้ความรู้มาก เช่น ได้รู้การทำน้ำส้มควันไม้ การใช้น้ำส้มควันไม้ น้ำสกัดจากสมุนไพร การทำปุ๋ย การทำปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักโคน การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับดิน การลงแขกแลกแรง เป็นต้น

     

    100 84

    46. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำรายงานโครงการ สรุปผลได้ นำเอกสารมาให้ สจรส.มอ.ตรวจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมโครงการได้ทำตามที่กำหนดไว้ ยกเว้นกิจกรรมจัดเวทีครั้งสุกท้าย ทำร่วมกับการประจำเดือน ใช้งบหมู่บ้าน จึงไม่ได้จัด สามารถปิดโครงการได้

     

    2 2

    47. ตรวจรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 27 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการนำเอกสารรายงานโครงการมาให้ทีม สจรส.มอ.ตรวจทาน และเพิ่มเติมข้อมูลการบันทึกในรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถปิดโครงการ ส่งรายงาน สสส ได้ โดยร่วมกันจัดทำบันทึการรายงานผลเพิ่มเติม และจัดทำเอกสารส่งให้ สจรส.มอ.

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน
    ตัวชี้วัด : 1. มีชุดข้อมูลการใช้สารเคมีในการทำเกษตรของหมู่บ้าน 2. คณะกรรมการหมู่บ้านสามารถใช้ข้อมูลการใช้สารเคมีในการทำเกษตรมาใช้บริหารจัดการกลุ่มเพื่อลดการใช้สารเคมีได้ 3. เกษตรกรลดการใช้สารเคมีลง ร้อยละ 50

    ผลการประเมินระดับ3

    2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปลูกกล้วยไข่บานแบบอินทรีย์
    ตัวชี้วัด : 1. เกษตรกรร้อยละ 100 มีการปลูกกล้วยไข่แบบอินทรีย์ ใช้สมุนไพรพื้นบ้านมาเป็นวัตถุดิบผลิตปุ๋ย น้ำหมักฮอร์โมน และสารไล่แมลง 2. เพิ่มน้ำหนักผลกล้วยเป็น 10-13 กิโลกรัม ต่อเครือโดยเฉลี่ย 3. เพิ่มราคากล้วยเป็น 13 -15 บาทต่อกิโลกรัม

    ผลการประเมินระดับ3

    3 เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. สมาชิกสภาผู้นำร้อยละ 80 เข้าร่วมประชุมทุกเดือน 2. สมาชิกกลุ่มสภาผู้นำร่วมบริหารจัดการโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ผลการประเมินระดับ3

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผลการประเมินระดับ3

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน (2) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปลูกกล้วยไข่บานแบบอินทรีย์ (3) เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็ง (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ

    รหัสโครงการ 58-03853 รหัสสัญญา 58-00-2071 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    สมุนไพรกลิ่นฉุนไล่แมลง

    สูตรสมุนไพรไล่แมลง

    ทดลองใช้กับพื้นที่อื่นๆ
    พัฒนาสูตรเพิ่มเติม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การจัดการตนเองของกลุ่มกล้วยไข่บานลดสารเคมี

    ใช้ข้อมูลจากการสำรวจ วิเคราะห์และคืนข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินผลการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

    พัฒนากลุ่มต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    แปลงกล้วยไข่บานลดสารเคมี

    แปลงสาธิตบ้านปราชญ์ซึ่งประธานกลุ่มกล้วยไข่บาน

    ถ่ายถอดความรู้ให้เพื่อนบ้านได้ร่วมทำต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    สมุนไพรกลิ่นฉุนไล่แมลง

    สูตรพื้นบ้านจากสมุนไพรในตำบลกรุงชิง

    ขยายผลในหมู่บ้านใกล้เคียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ลดสารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

    บันทึกรายงานประชุมกลุ่มกล้วยไข่บาน

    ติดตามผลการใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมีอย่าง่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    กล้วยไข่บานคุณภาพ

    การรับรองกลุ่มกล้วยไข่บานจากเกษตรอำเภอ

    ติดตามผลคุณภาพผลผลิตต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ให้มีคณะกรรมการติดตามผล และรายงานการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในที่ประชุมทุกเดือน

    รายงานการประชุมกลุ่มกล้วยไข่บาน

    ติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผักอื่นๆ ในระดับตำบล

    รายงานการประชุม และรายงานการศึกษาดูงานจากกลุ่มเครือข่าย

    นำความรู้ไปขยายผลในเครือข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยกลุ่มผู้นำชุมชนมีการใช้ข้อมูลจากคำตอบของผู้เข้าร่วมโครงการตามความเป็นจริง มีการทบทวนข้อมูลเป็นกลุ่มบ้านมาก่อนในทุกบ้าน มีการสรุปข้อมูลง่ายๆ ตามความเข้าใจของประชาชนในหมู่บ้านและได้คืนข้อมูลในที่ประชุมให้ทุกคนลงมติเพื่อการจัดการแก้ปัญหา จากนั้นได้มีการติดตามผล และรายงานการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในที่ประชุมทุกเดือน

    รายงานผลการดำเนินโครงการ

    นำความรู้ที่ได้ไปใช้และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    มีการทบทวนข้อมูลเป็นกลุ่มบ้านมาก่อนในทุกบ้าน มีการสรุปข้อมูลง่ายๆ ตามความเข้าใจของประชาชนในหมู่บ้านและได้คืนข้อมูลในที่ประชุมให้ทุกคนลงมติเพื่อการจัดการแก้ปัญหา จากนั้นได้มีการติดตามผล และรายงานการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในที่ประชุมทุกเดือน

    รายงานการประชุมประจำเดือน

    ติดตามผลเพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03853

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย วิรัตน์ เล่นทัศน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด