directions_run

บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว ”

บ้านโคกใหญ่ ม.4.ต บางตะพง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางสาว เสาวภา ทิพย์แก้ว

ชื่อโครงการ บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

ที่อยู่ บ้านโคกใหญ่ ม.4.ต บางตะพง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03887 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2157

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านโคกใหญ่ ม.4.ต บางตะพง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านโคกใหญ่ ม.4.ต บางตะพง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03887 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 188,850.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 160 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกษตรกรบ้านโคกใหญ่ดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรอินทรีย์
  2. เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายต้นทุนการผลิต และลดปัญหาหนี้สิน
  3. เพื่อร่วมจัดตั้งสภาผู้นำหมุ่บ้านเข้มแข็ง
  4. เพื่อให้ครัวเรือนมีการพัฒนาแผนชีวิตและพึ่งพาตนเองได้
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. รับการปฐมนิเทศ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บันทึกข้อมูลโครงการ และพี่เลี้ยงโครงการ เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการตามแผนงานกิจกรรมหลักของ สสส. โดยแบ่งกิจกรรมเป็นสองวัน
    วันแรก 3 ตค.58 ทีมสนับสนุนวิชาการ สจรส.และทีมพี่เลี้ยง จ.นคร และชุมพร สุราษฎร์ ร่วมกันชี้แจงระเบียบข้อตกลง วิธีดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการบันทึกกิจกรรม การทำรายงานการเงืนโครงการ และ การจัดเก็บหลักฐานการเงิน
    วันที่2 4 ตค.58 ให้ทีมโครงการฝึกปฎิบัติลงข้อมูลจริงบนเวบ โดยมีพี่เลี้ยงพื้นที่คอยให้การช่วยเหลือ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสำคัญสรุปได้ดังนี้

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการมีความพร้อมเข้ารับการปฐมนิเทศตามแผน
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานมีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาสำคัญและสามารถลงมือทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดบนเว็บไซต์ได้ ระดับหนึ่ง บรรยากาศที่เข้าร่วม มีความเครียดและวิตกกังวลบ้างแต่ก็สามารถทำความเข้าใจ โดยพี่เลี้ยงค่อยติดตามชี้แนะช่วยเหลือในพื้นที่ต่อไป

     

    2 3

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 4 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำป้ายประกอบโครงการ และป้ายปลอดบุหรี่ ป้าย ขนาด 2*2 เมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำป้ายประกอบโครงการ ขนาด 2x2 เมตร และป้ายปลอดบุหรี่ตามขนาดและรูปแบบที่ สสส.กำหนด

     

    2 1

    3. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้านเพื่อจัดตั้งสภาหมู่บ้านเข้มแข็งครั้งที่ 1

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการสภาชุมชน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์และจากนั้นประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
    2. กรรมการร่วมกันร่างวางแผนการทำงานในการติดตามเพื่อติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้มาประชุม 15 คน มีผู้ใหญ่บ้าน พี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบโครงการ
    • เกิดสภาหมู่บ้านเข็มแข็ง 1 คณะ
    • มีปฏิทินกิจกรรมประชุม
    • เกิดพันธะบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์
    • มีมติที่ประชุมนัดประชุมทุกวันอาทิตย์สิ้นเดือน

     

    15 15

    4. จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียด วิธีการดำเนินงานและข้อตกลงการร่วมโครงการครั้งที่2

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ชาวบ้านร่วมประชุม วันที่17ตุลาคม2558 เพื่อจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียด วิธีการดำเนินงานและข้อตกลงการร่วมโครงการ พร้อมรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนอย่างน้อย 50 คน ชี้แจงข้อตกลงโครงการพร้อมทั้งรายละเอียดงบประมาณและการเข้าร่วมกิจกรรม จัดทำข้อตกลง ในการร่วมงานกับ สสส โดยเน้นแนวคิดหลัก คือเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างอาชีพ รายได้แก่คนบ้านโคกใหญ่โดยให้มีอาสาสมัครเป็นแปลงตัวอย่าง อย่างน้อย 10 แปลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีชาวบ้านรวมประชุม วันที่17ตุลาคม2558 จำนวน 68 คน

    • ในการจัดประชุมพบว่าตัวแทนครัวเรือนมีความเข้าใจเกี่ยวกับ วิธีการดำเนินงานและข้อตกลงการร่วมโครงการ พร้อมรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน
    • สรุปข้อตกลงของโครงการโดยที่ประชุมรับทราบ งบประมาณและการเข้าร่วมกิจกรรมและตกลงทำกิจกรรมในวันหยุดเดือนละ 1 ถึง 2 ครั้งโดยให้มีการประชุมกรรมการก่อนทำวันกิจกรรมก่อน 2 ถึง 3 วัน
    • จัดทำข้อตกลง โดยมีอาสาสมัครเป็นแปลงตัวอย่าง อย่างน้อย 10 แปลงดังต่อไปนี้
    1. นางศุภลักษณ์ ปล้องบรรจง
    2. นางสุฒนทา ปล้องบรรจง
    3. นส.เสาวภา ทิพย์แก้ว
    4. นางสงวน ทิพย์แก้ว
    5. นางสมทรง อินทรนุพัฒน์
    6. นางประไพศรี ประจงไสย
    7. นางดวงแข สุขศิล
    8. นางรจนา ลิ่มรังสี
    9. นางสุภานี คงระบัติ
    10. นางอุทัย ดำรักษ์

     

    60 68

    5. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็ง ครั้งที่ 2

    วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการรวม 15 คนร่วมกันสร้างแผนการทำงานในการติดตาม เพื่อติดตามประเมิณผลและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรรมของโครงการ โดยช่กรรมการทั้งหมดได้ร่วมกันเชิญชวนกลุ่มในชุมชน เช่น แกนนำกลุ่มสูงอายุ อสม. และตัวแทนแปลงต้นแบบ 10 แปลง เข้ามาร่วมประชุม โดยเน้นการพูดถึงวัตถุประสงของการจัดทำโครงการกับสสส.และเป้าหมายของหมู่บ้านโคกใหญ่ คือโดยมีข้อตกลงในการพัฒนาโครงการตามเป้าหมายคือ 1.มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2.มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการร่วมกันสร้างแผนการทำงานในการติดตาม เพื่อติดตามประเมิณผลและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรรมของโครงการ โดยมีข้อตกลงในการพัฒนาโครงการตามเป้าหมายคือ

    1. มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ
    2. มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน
    3. เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

    ประกาศรายชื่อแปลงต้นแบบ ให้หมู่บ้านและผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบและจัดทำข้อตกลง โดยมีอาสาสมัครเป็นแปลงตัวอย่าง10 แปลงเข้าร่วมดังต่อไปนี้

    นางศุภลักษณ์ ปล้องบรรจง นางสุฒนทา ปล้องบรรจง นส.เสาวภา ทิพย์แก้ว นางสงวน ทิพย์แก้ว นางสมทรง อินทรนุพัฒน์ นางประไพศรี ประจงไสย นางดวงแข สุขศิล นางรจนา ลิ่มรังสี นางสุภานี คงระบัติ นางอุทัย ดำรักษ์

     

    15 15

    6. สร้างเป้าหมายชีวิต ร่วมหลักสูตรกลุ่มเกษตรอินทรีย์

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    4)สร้างหลักสูตร กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ต้องมีแผนชีวิตและครอบครัว เพื่อชี้ให้เห็นเป้าหมายชีวิตโดยเน้นการจัดการเรื่องการออม และนัดประชุมแผนชีวิตทำโครงงานอาชีพของครอบครัวที่เข้ากลุ่ม โดยเชิญวิทยากรมาแนะนำการจัดหลักสูตร แผนชีวิตและเป้าหมาย จากนั้นนัดแลกเปลี่ยน สัปดาห์ละครั้ง ทุกวันอาทิตย์ จำนวน 6 ครั้ง และติดตามที่ครัวเรือน 1 ครั้ง เพื่อพัฒนาโครงงาน ของแต่ละครอบครัว ดังนี้ วิธีการจัดทำแผนชีวิตครัวเรือนบนความพอเพียง5 ขั้นตอน 1. จับเข่าคุยกัน คนในครัวเรือนต้องหันหน้ามาจับเข่าคุยกัน ถึงปัญหา และสาเหตุของปัญหาความยากจนของครัวเรือน
    2. ค้นหาของดีในบ้านเรา และใกล้ตัวเรา เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 1 แล้ว มาช่วยกันคิดว่า ในบ้านเรามีดีอะไรบ้าง บ้านเรามีที่ดินพอเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ได้ ในชุมชนบ้านเราส่วนใหญ่เขาทำมาหากินอะไรกัน มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้ ในชุมชนของเรามีแหล่งทุนอะไรบ้างที่พอจะใช้บริการได้เราเป็นสมาชิกแล้วหรือยัง มีผู้เชี่ยวชาญอาชีพอะไรบ้างที่เราพอจะไปขอคำปรึกษาแนะนำ 3. หาทางออก ผ่าทางตัน เมื่อครัวเรือนตกผลึก ยอมรับสภาพปัญหาในครัวเรือนว่ามีสาเหตุจากอะไร มีความตั้งใจที่แน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาโดยการผนึกกำลังกันเองของคนในครัวเรือนก่อนโดยค้นพบแล้วว่า ของดีในบ้าน นอกบ้านมีอะไรบ้าง เราจะนำของดีอะไรมาใช้ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความสุขความอบอุ่นในครัวเรือนเรา ในขั้นตอนนี้คนในครัวเรือนต้องร่วมกำหนดเป้าหมายและวิธีการ/กิจกรรมที่เป็นหนทางออกในการแก้จนของครัวเรือน 4 วางแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน ให้สมดุลกับรายได้ โดยมีกิจกรรมพื้นฐาน คือ การทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน ควบคุมรายจ่าย โดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอยู่อย่างพอเพียง ช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ ประหยัดการใช้ไฟฟ้าปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคและทุกสิ้นเดือนควรมีการสรุปบัญชีรับจ่ายกันในครัวเรือนเพื่อประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลว เบื้องต้น ถ้ามีเหลือก็เก็บออมไว้บ้าง
    5 คิดหาอาชีพหลัก/อาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ 6. หลีกเลี่ยงอบายมุขลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ การพนัน นำเงินที่เคยต้องเสียไปกับค่าเหล่า บุหรี่ การพนัน ไปหยอดกระปุก แล้วมานับดูเมื่อสิ้นเดือนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้น 7. สร้างสุขในครัวเรือน เช่นช่วยกันทำงานบ้าน ไปทำบุญด้วยกันมีปัญหาต้องช่วยกันคิดหาทางออก
    8. หากัลยาณมิตร ไม่ปิดกั้นตนเองอยู่แต่ในบ้าน แสวงหาเพื่อนดี ๆ แสวงหาโอกาสในการเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตจากกัลยาณมิตร มีน้ำจิตน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้จักเสียสละเวลาเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน 9. ร่วมแรงแข็งขันลงมือทำอย่างจริงจัง ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดที่จะให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการบรรลุทางออก ผ่าทางตันได้สำเร็จ คนในครัวเรือนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
    10. ทบทวน ประเมินตนเอง 11. กิจกรรมอะไรที่ทำแล้วได้ผลดี ให้ทำต่อเนื่อง เช่นการทำบัญชีรับจ่าย การประหยัดค่าน้ำค่าไฟฟ้า พฤติกรรมที่ดีทำแล้วคนในครัวเรือนมีความสุข เช่น การกอดกัน เดินจูงมือกัน หอมแก้มกัน ร้องเพลง/เล่นกีฬา /อ่านหนังสือ /ดูทีวีร่วมกัน เป็นต้น 12. กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ยังทำไม่ได้ดี ให้หันหน้ามาจับเข่าคุยกันแล้วทบทวนปรับปรุงใหม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ทำปุ๋ยหมักมีปุ๋ยหมักได้เองเพื่อลดปริมาณค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในปัจจุบัน
    2. ทำน้ำยาล้างจานเพื่อเก็บไว้ใช้เองโดยลดปริมาณค่าใช้จ่ายลงและเพื่อเป็นการประหยัดและมีเก็บไว้โดยไม่ต้องไปเลือกซื้อ
    3. ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้รับรู้และรับทราบถึงปริมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละครัวเรือน
    4. ตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่ิอให้ได้รับรู้ถึงข้อมูลในด้านค่าใช้จ่ายของในแต่ละครัวเรือน
    5. ทำน้ำสมุนไพรเพื่อสร้างเสริมคุณค่าทางด้านยารักษาโรคต่างๆได้เป็นอย่างดีและช่วยสร้างเสริมคุณค่าทางอาหารได้เป็นอย่างดีเช่นกัน 6.อบรมวางแผนการใช้แบบวิถีชีวิตแบบพอเพียงเพื่อให้เกิดความรู้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และอีกทั้งยังได้มีความรู้ตามหลักวิถีพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยเช่นกัน

     

    40 50

    7. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่ 3

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการ  10  คน และผู้ร่วมกิจกรรม  5  คน รวม 15 คน ร่วมกันวางแผนเพื่อที่จะจัดกิจกรรมต่อไป และการติดตามผลที่ดำเนินการมาแล้ว และ วางแผนเรื่องการไปศึกษาดูงานแปลงเกษตรอินทรีย์ ที่ต่างอำเภอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการ10คน และผู้ร่วมกิจกรรม5คน รวม 15 คน ร่วมกันวางแผนเพื่อที่จะจัดกิจกรรมต่อไป และการติดตามผลที่ดำเนินการมาแล้ว และ วางแผนเรื่องการไปศึกษาดูงานแปลงเกษตรอินทรีย์ ที่ต่างอำเภอ ผลสรุปมีดังนี้

    1. กำหนดผู้ร่วมเดินทางไปดูงานที่พื้นที่ ต.หัวไทร บ้านนายบุญธรรม สังข์ผอม จำนวน 15 คน คือ กรรมการโครงการ 10 คน และตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 5 คน
    2. แบ่งหน้าที่ ในการไปศึกาาดูงาน โดย นางเสาวภา ทิพย์แก้ว รับผิดชอบโครงการและกิจกรรมลงทะเบียน นางดวงแข สุขศิล ทำำหน้าที่ประสานงาน ติดต่อเจ้าของพื้นที่ และ รถในการเดินทาง
    3. การใช้รถในการเดินทาง ตกลงใช้รถรับจ้างไม่ประจำทาง เหมาจ่ายในการเดินทาง ไปกลับ 1 วันจำนวน 2 คัน คันละ 8 คน

     

    15 15

    8. สภาหมู่บ้านเข้มแข็งร่วมศึกษาดูงานการปลูกผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชวนทีมผู้สนใจ 18 คน ร่วมศึกษาดูงานที่บ้านนายบุญธรรม สังข์ขอม เปลี่ยนแปลงจากในแผนที่กำหนดไว้เป็น ชิณวงศ์ฟาร์ม เนื่องจากปัญหาเรื่องการประสานงาน ซึ่ง ในการศึกษาดูงานมุ่งเน้นแนวคิดการปลูกพืชเกษตรผักสวนครัวในกระถาง และการปลูกเป็นทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาหน้าน้ำท่วม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีม 18 คน ได้ร่วมกันเดินทางไปศึกษาดูงาน และได้ศึกษาประวัติลุงบุญธรรม สังข์ผอม เป็นอดีตคนขับรถแบ๊กโฮ ที่ผันตัวเองมาปลูกผักอยู่บ้านกับภรรยาที่ทำมาก่อนแล้ว โดยดัดแปลงพื้นที่มรดกกว่า 3 ไร่เป็นสวนเกษตรอินทรีย์ย่อมๆ มีทั้งบ่อปลานิล คอกหมู คอกไก่ โรงเพาะเห็ดฟาง รวมทั้งแปลงผักกินได้ และไม้ผลที่ยืนต้นอยู่รอบสวนอีกหลายอย่าง ชนิดที่หากออกดอกออกผลพร้อมๆ กัน คงต้องเกณฑ์ชาวบ้านหมู่อื่นมาช่วยเก็บ ลุงบุญธรรมเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนทำงานไม่เคยมีเงินเหลือ แต่เมื่อกลับมาอยู่บ้าน ปลูกผัก เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา สามารถเก็บหอมรอมริบรายได้จากการขายผักและอื่นๆ จนพอสร้างบ้านหลังเล็กๆ ได้ ผลสรุปสำคัญได้แก่

    1. ชาวบ้านโคกใหญ่มีความรู้ในการปลูกผักเป็นร้านเพื่อหนีน้ำท่วมการเลี้ยงไก่ไข่การเลี้ยงวัวขังไว้ในคอกเพื่อนำมูลวัวไปทำปุ๋ยการเพาะเห็ดการใช้ชีวิตแบบพอเพียงพึงพาตนเองได้
    2. นำวิธีการปลูกผักในรูปแบบต่างๆในการไปศึกษาดูงาน นำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับบ้านโคกใหญ่
    3. รูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่ แบบขังคอก เลี้ยงปลาในธรรมชาติสามารถนำมาปรับใช้ในหมู่บ้านได้

     

    20 18

    9. การติดตามประเมินโครงการจากสจรส.มอ.ครั้งที่ 1

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมกับสสส  การเขียนรายงาน  การเขียนใบสำคัญรับเงิน  การเขียนภาษี    บันทึกกิจกรรมต่าง ๆ



































    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบเรียนรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับการเขียนรายงานบันทึกกิจกรรมต่างๆ  การเขียนรายงานทางการเงิน ต่าง ๆเรียนรู้การหักภาษี

     

    2 2

    10. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่ 4

    วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการวัยทำงาน 15 คนผู้สุงอายุ5คน ร่วมประชุมกรรมการสภาหมู่บ้านเข้มแข็งต่อเนื่อง เดือนธันวาคม
    1.จัดประชุมสภา  ต่อเนื่อง 2.ร่วมทำกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันสำคัญ 10 ธค.58 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์ 4. วางแผนจัดกิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอิทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค ร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการวัยทำงาน 15 คนผู้สุงอายุ5คน ร่วมประชุมกรรมการสภาหมู่บ้านเข้มแข็งต่อเนื่อง เดือนธันวาคม โดยร่วมกันวางแผนกิจกรรม การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอิทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค การปลูกผักปลอดสารพิษ ด้วยการนำร่องใช้พื้นที่รอบบ้านปลูกผักสวนครัวนานาชนิด เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจเกษตรปลอดสารพิษ และร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ พร้อมทั้งตกลงกติกากลุ่มเพื่อมีแนวทางหลักคิดเดียวกันในการร่วมกลุ่มเน้นหลักกลุ่มบ้านที่อยู่ใกล้ๆกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างกระแสการปลูกผักในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความตระหนักในวงกว้างสรุปมติที่ประชุมดังนี้

    1. เสาวภา ทิพย์แก้ว ทำหน้าที่ลงทะเบียน
    2. ศุภลักษณ์ ปล้องบรรจง ทำหน้าที่แจ้งการประชุม ประชาสัมพันธ์
    3. ดวงแข สุขศิล ทำหน้าที่จัดเอกสาร อุปกณ์การจัดประชุม
    4. วิทยากร ให่ อ.สุธรรมแก้วประดิษฐ์ ร่วมเป็นวิทยากรกับ นายสุรศักดิ์ เซ่งทอง นักพัฒนาชุมชน

     

    15 20

    11. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค

    วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมได้ความรู้แก่ชาวบ้านโคกใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ จำนวน 70 คนเรื่องเกษตรอิทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค การปลูกผักปลอดสารพิษ ด้วยการนำร่องใช้พื้นที่รอบบ้านปลูกผักสวนครัวนานาชนิด เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจเกษตรปลอดสารพิษ และร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ พร้อมทั้งตกลงกติกากลุ่มเพื่อมีแนวทางหลักคิดเดียวกันในการร่วมกลุ่มเน้นหลักกลุ่มบ้านที่อยู่ใกล้ๆกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างกระแสการปลูกผักในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความตระหนักในวงกว้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านโคกใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 คนได้รับความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ ในการเรียนรู้ครั้งนี้ วิทยากร โดยอ.สุธรรม และ นักพัฒนาชุมชน จาก อบต.บางศาลา ร่วมแนะนำ และจัดทำข้อตกลงหมู่บ้าน ในการทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยการสัญญาว่า

    1. จะ ลด ละ เลิก การใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงเกษตร และหันมาใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ที่เรารวมกลุ่มทำกันเอง เพื่อ ประโยชน์ ของดิน น้ำ อาหาร ที่เป็นผลผลิต ได้ ปลอดสารพิษ เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ และยังช่วยลดรายจ่ายครัวเรือน
    2. การรวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ โดยรวบรวมสมาชิกอย่างน้อย 30 คน

     

    90 70

    12. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็งครั้งที่ 5

    วันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อผลักดันมีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน และ เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์ โดยการประชุมในเดือนพฤศจิกายน วางแผนเรื่องการร่วมประชุมติดตามโครงการกับพี่เลี้ยงโครงการและ จนท.ติดตามโครงการ จาก สจรส. ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการโครงการ และกรรมการหมู่บ้าน ร่วมประชุมพัฒนาโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ วางแผนเรื่องการร่วมประชุมติดตามโครงการกับพี่เลี้ยงโครงการและ จนท.ติดตามโครงการ จาก สจรส. ที่มหาวิทยาวลัยลักษณ์ ได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ พร้อมทั้งตกลงกติกากลุ่มเพื่อมีแนวทางหลักคิดเดียวกันในการรวมกลุ่มเน้นหลักหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ๆกัน ได้ข้อสรุปสำคัญดังนี้

    1. ชี้แจงกรรมการเรื่องที่ไปร่วมประชุมพัฒนา ติดตามโครงการ จาก สจรส.มอ.ในวันที่ 6-7 ธค.58 เน้นเรื่องการหักภาษีณ ที่จ่าย
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุม คือ นางเสาวภา ทิพย์ แก้ว และ นางดวงแข สุขศิล เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากโครงการ
    3. นัดประชุมครั้งต่อไป เดือน กุมภาพันธ์ 59

     

    15 15

    13. ประชุม ติดตามและจัดทำรายงานงวดที่ 1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงโครงการ ผู้รับผิดชอบ และการเงินโครงการ ร่วมกันจัดทำรายงานและตรวจสอบเอกสาร เพื่อแก้ไข จัดพิมและ ปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยงโครงการ ผู้รับผิดชอบ และการเงินโครงการ รวมกันรวบรวมเอกสารหลักฐานการเงิน และนำเสนอผลการดำเนินงานงวด 1 และวันที่ 2 ส่งเอกสารหลักฐานให้ทีมสนับสนุนตรวจสอบ พบว่า ยังดำเนินการไม่ถึง 70 % จึงขอขยายเวลา 1 เดือน ปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังพื้นที่ ทำให้กิจกรรมบางอย่างทำไม่ได้ขอขยายเวลา แจ้ง สสส.ทราบ

     

    2 2

    14. ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษโดยจัดแปลงสาธิต

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษโดยจัดแปลงสาธิตทุกบ้านที่ร่วมโครงการ เพื่อให้เกษตรมีพื้นที่อย่างน้อยแปลงละ 5x 10 เมตร จำนวน 30 ครัวเรือน ในการเป็นแปลงนำร่องของชุมชนโคกใหญ่ เพื่อให้ครัวเรือนใกล้เคียงร่วมมาเรียนรู้ โดยใช้ศาลาประชาคม มาเป็นที่เรียนรู้ และปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง เกษตรปลอดสารพิษ และอาจารย์สุธรรม และนักวิชาการเกษตรมาอธิบายขั้นตอนการทำแปลงผักปลอดสารพิษ ในช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่ายให้ผู้เข้าร่วมประชุมผลัดเปลี่ยนกันทำกิจกรรมทั้สาธิต ได้แก่ การเตรียมแปลง การทำปุ๋ย การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และวิทยากรเพิ่มเติมเรื่องการทำตลาด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มชาวบ้านวัยทำงาน30 คน และผู้สูงอายุ 30 คน รวมกรรมการโครงการ จำนวน 60 คน มาร่วมกัน เรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มเกษตรปลอดสาพิษโดยจัดแปลงสาธิตทุกบ้านที่ร่วมโครงการ เพื่อให้เกษตรมีพื้นที่อย่างน้อยแปลงละ 5x 10เมตรจำนวน 30 ครัวเรือน ในการเป็นแปลงนำร่องของชุมชนโคกใหญ่ เพื่อให้ครัวเรือนใกล้เคียงร่วมมาเรียนรู้ โดยเน้น กลุ่มแปลงต้นแบบ10 แปลงมาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ตามข้อตกลงการเป็นแปลงต้นแบบ ผลสรุปเนื้อหาสำคัญ คือ

    1. สถานการณ์การผลิตผักปลูกผักในบ้านเราไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากเกษตรกรปลูกผักตามฤดูกาล เก็บเกี่ยวเสร็จต้องรอพักดินแล้วปลูกใหม่ ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตมีความขาดช่วง ไม่มีการกำหนดแผนการผลิตที่มีความหลากหลาย ปัญหานี้ ให้กลุ่มนำไปคิดต่อ
    2. การใช้สารเคมีไม่ถูกวิธี บ้านใด แปลงไหน ที่ยังใช้สารเคมี อยู่ให้ทำพันธะสัญญา ลด ละ เลิก และเข้ากลุ่มทำปุ๋ยหมักของกลุ่มบ้านโคกใหญ่
    3. กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักยังมีลักษณะเป็นต่างคนต่างทำ ควรมีการจัดตั้งกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ให้มีลักษณะแบบเชิงธุรกิจ
    4. การส่งเสริมด้านการตลาด เพื่อเป็นข้อต่อรอง โดยเน้นการสร้างตลาดผักในชุมชน และการสร้างแผงในตลาดนัดในบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียง

     

    60 60

    15. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มเข็ง ครั้งที่ 6

    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ระชุมคณะกรรมการสภาชุมชน  15 คน ร่วมประชุมประจำเดือน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละครั้ง เดือนนี้วางแผนการจัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะกรรมการสภาชุมชน15 คน ร่วมประชุมประจำเดือน เดือนนี้วางแผนการจัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง โดยมีมติ ในที่ประชุมดังนี้

    1. นัดจัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง วันที่ 27 กพ.59
    2. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 60 คน เป็นกรรมการ 15 คน และผู้เข้าร่วมอื่นๆอีก 45 คน
    3. โครงการมีวัสดุสนับสนุนในเรื่อง กระถางเพื่อใช้ในการฝึกและประชุมเชิงปฏิบัติการจริง คนละ 1 ชุด และ เมล็ดพัน์พืชผัก ที่ไม่มีในพื้นที่ รวมงบ 5000 บาท
    4. การฝึกทำจริง ให้ผุ้เข้าร่วม แต่งชุดที่สะดวกในการการจัดกิจกรรม และ นำอุปกรณ์ กระถาง หรือวัสดุ ที่ต้องการปลูกผักมาเองด้วย
    5. เน้นหลักการเกษตรปลอดสารพิษ และแกนนำต้นแบบ 10 แปลง ให้เข้าร่วม ตามข้อตกลง

     

    15 15

    16. จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถางแก้ปัญหาฤดูน้ำท่วม

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการจำนวน60คน เป็น วัยทำงาน40คน  ผู้สูงอายุ20คน จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถางเพื่อนำร่องปลูกแล้วแจกชาวบ้านจะทำให้แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังช่วงเวลา 3เดือนที่เพื่อสร้างรายได้ตลอดปี เพราะที่ผ่านมาชาวลุ่มน้ำปากพนังมีรายได้จากกสิกรรม 9 หมื่นบาทจากการทำงาน 9 เดือน ในช่วงน้ำท่วม 3 เดือน หากหันมาปลูกผักกระถางเชื่อว่าจะเติมเต็มให้เกิดรายได้ตลอด 12 เดือนได้ ซึ่งสามารถมีรายรับเพิ่มขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการจำนวน60คน เป็น วัยทำงาน40 คนผู้สูงอายุ20คน ครัวเรือนเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง ซึ่งโครงการสนับสนุนถังทำน้ำหมัก และกระถางต้นไม้บางส่วน ในการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มปลูกผักบ้านโคกใหญ่และวิทยากร ได้รวบรวมความรู้สำคัญในการปลูกผักกระถางดังนี้ 1.เลือกและใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน เช่น กะละมัง, กระถาง, ยางรถยนต์, ถังน้ำ ฯลฯ ให้ทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาใช้ และให้จัดตกแต่งกระถาง หรือภาชนะที่จะนำมาใช้ปลูกผัก เช่น ตัดปาก ตัดกัน หรือทำขอบเพื่อให้กระถางคงทน และสวยงาม การเลือกกระถางปลูก ต้องเลือกให้เหมาะสมต่อผักที่จะปลูก กล่าวคือผักที่มีระบบรากลึก ควรปลูกในกระถางที่มีความลึก ผักที่มีระบบรากตื้นเหมาะกับกระถางที่มีความตื้นไม่มาก 2.เลือกผักที่จะปลูก มีความสำคัญมากเลือกผักให้เหมาะสมกับกระถางและเลือกปลูกผักที่มีการใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นประจำทุกวันก่อน เพราะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เลือกปลูกผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบรับประทานด้วย เพราะจะทำให้ผักนั้นได้รับความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวตามไปด้วย
    3.การเตรียมดิน ต้องเตรียมให้ดี และเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด สามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดังนี้ - ดินร่วน 1 ส่วน/ ทราย 1 ส่วน/ ปุ๋ยหมัก หรือปุ่ยคอก 1 ส่วน/ ขึ้เก้าแกลบ, ขุยมะพร้าว 1 ส่วน นำทั้ง 4 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดี อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสมดินใช้เองดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียมปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถาง หรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ 4.การปลูกผักลงกระถาง สามารถทำได้ทั้งปลูกแบบใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน หรือหยอดลงกระถางเลย หรือ เพราะต้นกล้าก่อนแล้วจึงนำลงปลูกในกระถาง หรือผักบางชนิดสามารถใช้วิธีปักชำลงในกระถางได้เลย วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ด โดยหว่างเมล็ดลงให้กระถางโดยกะระยะห่างของเมล็ด หรือหลุมที่หยอดให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ผักที่นิยมปลูก โดยใช้เมล็ดได้แก่ ผักชี, ผักบุ้งจีน, ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่าย เป็นต้น 5.วิธีเพาะต้นกล้าผักก่อนปลูก นำต้นกล้าผักที่เพาะเมล็ดได้ระยะเวลาที่พอเหมาะ โดยสังเกตจากลักษณะของลำต้น และระบบรากฝอย ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถย้ายต้นกล้าผักลงปลูกได้เลย ผักที่นิยมปลูกวิธีนี้ได้แก่ ผักคะน้า, ผักกาดขาว, ผักกาดเขียว, ผักกาดหอม, กะหล่ำปลี, ปูเล่, กะเพรา, โหระพา เป็นต้น 6.วิธีนำส่วนของผักมาปักชำ ผักที่สามารถนำมาลงปลูกแบบปักชำในกระถางได้เลย เช่น สะระแหน่, ชะพลู, หอมแบ่ง, ตะไคร้ ฯลฯการปักชำต้องดูว่าผักแต่ละชนิดใช้ส่วนใดในการปักชำได้
    7.การดูแลรักษาผักในกระถางการดูแล โดยคอยรดน้ำให้ดินในกระถางในมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักมีเจริญเติบโตไม่ดี และควรเปลี่ยนดินเมื่อมีการปลูกผักในครั้งต่อไป หรือปลูกผักชนิดใหม่ในกระถางเดิม ถ้าหากที่ที่วางกระถางอยู่ผักที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอ สามารถย้ายกระถางไปวางไว้ในที่มีแสงเพียงพอได้ 8.การเก็บเกี่ยว สำหรับผักที่ปลูกในกระถาง หากเป็นผักที่บริโภคในส่วนของใบ ให้เก็บใบล่างไปก่อน เหลือยอดบนไว้ให้เจริญต่อไป เช่น ผักกาด คะน้า ปูเล่ ถ้าเป็นผักที่ใช้ส่วนยอดอ่อนบริโภค ควรเลือกเก็บเฉพาะยอดเท่านั้น จะทำให้ผักมีการแตกยอดอ่อนเจริญเติบโตให้เราได้ใช้บริโภคอีก เช่น สะระแหน่, กะเพรา, โหระพา
    ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมดได้ร่วมแบ่งปันวิธีการปลูกและผักสวนครัวที่ปลูกกันอยู่แล้ว แต่ไม่ได้จัดการให้สวยงาม หลังอบรมคาดว่าจะพัฒนาแปลง และกระถางให้ดีขึ้น

     

    60 60

    17. การประชุมถอดบทเรียนร่วมกับ สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน ร่วมประชุมและรับการติดตามโครงการ จากพี่เลี้ยงทีมสนับสนถุน วิชาการพื้นที่พร้อมถอดบทเรียนโครงการระดับจังหวัด ในการดำเนินงาน งวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน ร่วมประชุมและรับการติดตามโครงการ จากพี่เลี้ยงทีมสนับสนถุน วิชาการพื้นที่พร้อมถอดบทเรียนโครงการระดับจังหวัด ผลการดำเนินงาน โครงการบ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว พบว่า 1. เกิดสภาผู้นำชุมชน ประชุมต่อเนื่อง จำนวน 15 คน ทุกเดือน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานทุกครั้ง 2. เกิดข้อตกลง ในหมู่บ้านโคกใหญ่ จำนวน 2 เรื่อง คือ การลดละเลิกการใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงผัก และหัน มาปรับเปลี่ยนเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่จัดผลิตกันในหมู่บ้านและ การ การตกลงเรื่องพื้นที่กิจกรรมเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่
    3. เกิดข้อตกลงให้ผู้ร่วมโครงการเป็นพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบ 4. การดำเนินกิจกรรล่าช้า กว่าในแผน เพราะ ผู้รับผิดชอบโครงการ และทีมงาน ไม่เข้าใจและไม่สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมกะปฎิทินท้องที่จริง การประสานงานเรื่องวิทยากร ซึ่ง แก้ปัญหาโดยการให้ทีมพี่เลียงและนักพัฒนาชุมชน ในพื้นที่ ร่วมเป็นวิทยากร ช่วยทำกิจกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ และ มีนาคม ให้แล้วเสร็จตามแผนใน งวดที่ 1 โดยขอขยายเวลา กับ สสส.ผู้ให้ทุน เป็นปิดงวดในวันที่ 31 มีค .59 และ สสส.รับทราบ

     

    2 2

    18. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้านครั้งที่ 7

    วันที่ 10 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณกรรมการสภาชุมชน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ อย่างต่อเนื่องและรายงานความก้้าวหน้าโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณกรรมการสภาชุมชน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ อย่างต่อเนื่องและรายงานความก้้าวหน้าโครงการ ผลสรุปดังนี้ 1. โครงการดำเนินการขยายเวลา งวด 1
    2. รอตรวจสอบรายงานและรองบงวด 2 จำนวน 9หมื่นกว่าบาท 3. ช่วงรองบขอนัดประชุมทุกวันที่ 10 ทุกเดือน ที่ศาลาอเนกประสงค์ 4. เตรียมเอกสารเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน แก่ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และให้กรรมการแบ่งกันช่วยติดตามผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ที่ประชุมยอมรับและตกลงตามข้อสรุปดังกล่าว และ

     

    15 12

    19. ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 30 แปลง

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน30แปลง โดยแบ่งลงแขกกลุ่มละประมาณ5คนโดยลงแขกวันละ แปลงและทยอยช่วยกันจนเสร็จทุกแปลงจำนวนแปลงละ1 วันรวม15วันทำครบทุกแปลงเพื่อสืบสานรื้อฟื้นประเพณีลงแขกพื้นบ้าน - จัดทำกิจกรรมจำนวน 15 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมครั้งละ 5 คน หมุนเวียนสับเปลี่ยนตามละแวกที่อยู่ใกล้กัน โดยมีผู้ที่มีความรู้เรื่องการจัดการดิน การเตรียมดินเข้าร่วมกิจกรรมปรับพื้นที่ กรรมวิธีใชการลงแขก คือไม่มีค่าตอบแทน แต่ผลัดกันเลี้ยงข้าวมื้อเที่ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีแปลง เกษตรพร้อมปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษจำนวน 30แปลง ประเพณีลงแขกนำมาใช้ในชุมชนอีกครั้ง ในการลงแขกปรับพื้นที่ พบว่า ดินแข็ง แห้ง ขุดดินพรวนดินยาก ดินแตกระแหง ไม่มีน้ำในดิน ซึ่ง หมอดิน ที่มาร่วมทุกครั้งในการปรับพื้นที่พรวนดินทุกแปลง ให้ความรู้ว่า ดินแข็ง จากการเกาะตัวของสารต่อเติมที่ผสมอยู่ในเม็ดปุ๋ยเคมี ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้จึงสะสมอยู่ในเนื้อดิน ทำให้ดินเกาะตัวกันแน่น ทำให้ดินแข็ง ดินไม่ร่วนซุยไม่ระบายน้ำ อากาศ และไม่อุ้มน้ำ ดินขาดอินทรียไม่สมบูรณ์ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และคุณสมบัติทางเคมีของดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง(pH)ของดินที่เมาะสมสำหรับการทำนา และการเกษตรโดยทั่วไปนั้น ควรจะมีค่าประมาณ 5.5-7.5 การตกค้างของสารเคมีสังเคราะห์ ทำให้พื้นที่นามีค่าความเป็นกรดค่อนข้างสูงมาก จึงไม่เหมาะกับการเพาะปลูก

     

    75 75

    20. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็ง ครั้งที่ 8

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมคณกรรมการสภาชุมชน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ อย่างต่อเนื่องและรายงานความก้้าวหน้าโครงการ 2. เพื่อติดตามผลการดำเนินงานแปลงตัวอย่างและวางแผนเรื่องการลงแขกปลูกผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการประชุมวางแผนติดตามผลการดำเนินงานแปลงตัวอย่างและวางแผนเรื่องการลงแขกปลูกผัก มีดังนี้

    1. จัดทำรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมแปลงผักตัวอย่าง 30 ราย
    2. ภาพรวมงบประมาณดำเนินการเป็นค่าวัสดุ 4500 บาท ให้ช่วยกันคิดว่าโครงการจะสนับสนุนเป้นอะรัยเช่น เมล็ดพันธ์ ป้ายติดแปลงตัวอย่าง ค่าปุ๋ย เป้นต้น
    3. แบ่งกรรมการติดตามแปลงละ 5 คน ต่อวัน วันละ 2 แปลง ช่วยกันติดตามผลการดำเนินการลงแขกปรับพื้นที่และช่วยกันปลูกผัก หรือทำโครงงานของกลุ่มตัวอย่าง

     

    15 13

    21. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่ 9

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำตารางการเรียนรู้แลกเปลี่ยนจำนวน 6 ครั้ง ตามแผนงานที่กำหนด ได้แก่
    1.สร้างหลักสูตร กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ต้องมีแผนชีวิตและครอบครัว เพื่อชี้ให้เห็นเป้าหมายชีวิตโดยเน้นการจัดการเรื่องการออม และนัดประชุมแผนชีวิตทำโครงงานอาชีพของครอบครัวที่เข้ากลุ่ม โดยเชิญวิทยากรมาแนะนำการจัดหลักสูตร แผนชีวิตและเป้าหมาย จากนั้นนัดแลกเปลี่ยน สัปดาห์ละครั้ง ทุกวันอาทิตย์ จำนวน 6 ครั้ง และติดตามที่ครัวเรือน 1 ครั้ง เพื่อพัฒนาโครงงาน ของแต่ละครอบครัว
    2. ค้นหาของดีในบ้านเรา และใกล้ตัวเราผ่านขั้นตอนที่ 1  ในบ้านเรามีดีอะไรบ้าง บ้านเรามีที่ดินพอเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ได้ ในชุมชนบ้านเราส่วนใหญ่เขาทำมาหากินอะไรกัน มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้ ในชุมชนของเรามีแหล่งทุนอะไรบ้างที่พอจะใช้บริการได้เราเป็นสมาชิกแล้วหรือยัง มีผู้เชี่ยวชาญอาชีพอะไรบ้างที่เราพอจะไปขอคำปรึกษาแนะนำ
    3. หาทางออก ผ่าทางตัน ค้นหาปัญหาในครัวเรือนว่ามีสาเหตุจากอะไร มีความตั้งใจที่แน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาโดยการผนึกกำลังกันเอง ครัวเรือนต้องร่วมกำหนดเป้าหมายและวิธีการ/กิจกรรมที่เป็นหนทางออกในการแก้จนของครัวเรือน 4 วางแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน ให้สมดุลกับรายได้ โดยมีกิจกรรมพื้นฐาน คือ การทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน ควบคุมรายจ่าย โดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอยู่อย่างพอเพียง ช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ ประหยัดการใช้ไฟฟ้าปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคและทุกสิ้นเดือนควรมีการสรุปบัญชีรับจ่ายกันในครัวเรือนเพื่อประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลว เบื้องต้น ถ้ามีเหลือก็เก็บออมไว้บ้าง 5 คิดหาอาชีพหลัก/อาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ 6.หลีกเลี่ยงอบายมุขลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ การพนัน นำเงินที่เคยต้องเสียไปกับค่าเหล่า บุหรี่ การพนัน ไปหยอดกระปุก แล้วมานับดูเมื่อสิ้นเดือนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้น และร่วมกันทบทวนผลสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรค โดยทีมงานที่มาประชุมช่วยกันคิดกิจกรรมการเรียน 6 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปในการจัดกิจกรรม 6 ครั้งเพื่อพัฒนาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดทุกวันอังคารบ่าย เดือนละ2ครั้ง ดังนี้

    1. สร้างกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ร่วมกันแผนชีวิตและครอบครัว เพื่อชี้ให้เห็นเป้าหมายชีวิตโดยเน้นการจัดการเรื่องการออม และนัดประชุมแผนชีวิตทำโครงงานอาชีพของครอบครัวที่เข้ากลุ่ม จำนวน 30 ราย
    2. ระดมสมอง และระบุแผนพัฒนาอาชีพ เร้มรายได้ ลดรายจ่าย อย่างไร
    3. การทำบัญชีครัวเรือนแบบง่าย และการปลูกฝังการออมแก่เด็กๆ
    4. ระดมสมองวางแผนการร่วมกันพัฒนาเทคนิคโครงงานอาชีพ รายกลุ่ม
    5. การจัดกิจกรรมให้รางวัลแก่ผุ้ลดละเลิกอบายมุข การร่วมกันกำหนดกติการเรื่องลดละเลิกอบายมุขในชุมชน และในครัวเรือน
    6. การทำปฎิทินติดตามแปลง และโครงงานอาชีพที่ร่วมโครงการ

     

    15 15

    22. ลงแขกปลูกผัก พืชในแปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 30 แปลงครั้งที่1-15

    วันที่ 10 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมผู้เข้าร่วมโครงการ 5 คน ช่วยกันปลูกผัก ต่อเนื่องกัน 15 วัน รวม 75 คน สับเปลี่ยนช่วยเหลือกันหลังจากลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 30 แปลงเสร็จแล้ว รอให้ฝนตก1-2 สัปดาห์แล้วมาผลัดเปลี่ยนช่วยกันลงผัก พืขในแปลง โดยนัดกันทำติดต่อกันวันละ 2 แปลง จำนวน 15 วันต่อเนื่องกันหลังจากนั้นก็ช่วยกันติดตามผลแปลง และคัดเลือกแปลงตัวอย่างจำนวน 10 แปลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมผู้เข้าร่วมโครงการ 5 คน สับเปลี่ยนช่วยเหลือกันหลังจากลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 30 แปลงเสร็จแล้ว รอให้ฝนตก1-2 สัปดาห์แล้วมาผลัดเปลี่ยนช่วยกันลงผัก พืขในแปลง โดยนัดกันทำติดต่อกันวันละ 2 แปลง จำนวน 15 วันต่อเนื่องกันหลังจากนั้นก็ช่วยกันติดตามผลแปลง และคัดเลือกแปลงตัวอย่างจำนวน 10 แปลง จากการที่ร่วมกันปลูกผัก ทุกคนเห็นปัญหาว่าพื้นที่ปลูกผักยาก ดินแข็ง และดินไม่มีน้ำ ซึ่งเกษตรตำบลที่มาติดตามแปลงร่วมกับกรรมการให้ความรู้ว่า ปัญหาเกิดจากการ เผาตอซังในนาข้าวเพราะการเผาตอซัง ทำให้น้ำในดินเสียไป อากาศระเหยไป ดินแข็งกระด้าง และเป็นการทำลายสิ่งมีชีวิตในดินด้วย การไม่เผาตอซังเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในไร่นาได้ประมาณ 500 กิโลกรัม/ไร่ 2.การใช้ปุ๋ยพืชสด เช่น พืชตระกูลถั่ว (ถั่วพร้า, ถั่วพุ่ม, ถั่วเขียว ฯลฯ) จะให้อินทรียวัตถุประมาณ 2,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งกลุ่มเกิดความรู้และการนำไปใช้ในแปลงอื่นๆ

     

    75 75

    23. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่10

    วันที่ 17 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับการติดตามจากพี่เลี้ยง งวดที่ 2 ในประเด็น 1. ความล่าช้าของงบประมาณ 2. ปัญหาสำคัญในการดำเนินการต่อเนื่อง และแนวทางแก้ไข 3. ร่วมวางแผนกิจกรรมกับพี่เลี้ยงโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รับการติดตามจากพี่เลี้ยง งวดที่ 2 ในประเด็น

    1. ความล่าช้าของงบประมาณ พี่เลี้ยงคุฯปาลีรัตน์ แจ้งว่าเนื่องจากโครงการขยายเวลา และดำเนินการล่าช้าในงวด 1 ทำให้ได้รับงบงวด 2 ล่าช้า ให้กรรมการดำเนินกิจกรรมที่สามารถทำได้และสำรองจ่ายไปก่อน
    2. ปัญหาสำคัญในการดำเนินการต่อเนื่อง และแนวทางแก้ไข โดยกรรมการแจ้งว่า แต่ละแปลงงาน ที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการไปแล้วแต่ไม่ได้รับการติดตามชัดเจน และไม่ได้รวบรวมภาพถ่ายไว้
    3. ร่วมวางแผนกิจกรรมกับพี่เลี้ยงโครงการ โดยพี่เลี้ยงโครงการแนะนำให้ประชุมกรรมการต่อเนื่องและดำเนินการในส่วนที่ทำได้ และบันทึกรายงานการประชุม ตามที่กำหนด

     

    15 11

    24. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ่เรียนรู้การทำปุ๋ยชีวภาพและนำ้หมักสมุนไพรไล่แมลงโดยการประชุมฝึกทำจริงและจดบันทึกประสบการณ์ทำรูปแบบต่างๆเพื่อนำมาใช้ในแปลงผักปลอดสารพิษได้ต่อไป ในการทำแบ่งการทำเป้น 3 กลุ่ม คือกลุ่มน้ำหมักชีวภาพ 20 คน และ กลุ่มทำน้ำยาอเนกประสงค์ 20 คน และ กลุ่มเด็กนักเรียน ทำสมุนไพรไล่แมลง อีก 30 คน โดยกลุ่มที่ 1 กลุ่มน้ำหมักชีวภาพ 20 คนทำที่บ้านนางศุภลักษณ์ ปล้องคีรี กลุ่มที่ 2 ทำที่กลุ่มออมทรัพย์ เนื่องจากอุปกรณ์ในการทำเก็บไว้ที่นี่ ส่วนกลุ่มเด็กนักเรียน ทำที่โรงเรียนวัดบางไทร โดยมีอาจารย์ประจำวิชาเกษตรช่วยควบคุมและให้คำแนะนำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กๆและผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน มาร่วมกิจกรรม 50 คน ช่วยกันรวบรวมวัสดุทั้งหมดได้แก่ ขี้เลื่อย ขี้วัว ดินมายา มาผสมกันในสัดส่วน จากนั้นเด็กๆช่วยผู้ใหญ่ช่วยกันผสม จนได้เป็นกองปุ๋ยที่เพียงพอ คลุมไว้และ้วผลัดกันมาพลิก กลบ จากนั้นค่อยแบ่งให้ชาวบ้านที่มาร่วมโครงการไปใช้คนละ 1 กระสอบ

     

    90 52

    25. หลักสูตรร่วมเรียนรู้และการจัดการบัญชีครัวเรือนบ้านโคกใหญ่ ครั้ง 2

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สร้างหลักสูตรกลุลมเกษตรอินทรีงมีแผนชีวิตครอบครัวเพื่อชีให้เห็เป้าหมาย์ต้อยชีวิตโดยเน้นเรื่องการออมและนัดประชุมยแผนชีวิตทำโครงงานอาชีพของครอบครัวที่เข้ากลุ่มโดยเชิญวิทยากรมาแนะนำการจัดหลักสูตรนัดแลกเปลี่ยนสัปดาห์ละครั้งจำนวน6ครั้งและติดตามที่ครัวเรือนหนึีงครั้ง ทำจำนวน 4 ครั้้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มมีแผนชีวิตและโครงงานอาชีพสร้างรายได้และแผนการออมในครัวเรือนรุ้จักออม รู้จักจดรายจ่ายรายได้อยู่อย่างพอเพียง

     

    40 40

    26. สภาผู้นำและปฏิทินชุมชน เรียนรู้ครั้งที่ 3

    วันที่ 5 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำและภาคีเครือข่าย ร่วมเปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลบางกะพง โดยมีมีมสภาผู้นำและตัวแทนกรรมการหมู่บ้านโคกใหญ่ร่วมกิจกรรม จากนั้น ตัวแทนกรรมการบ้านโคกใหญ่นำกิจกรรมของชุมชน และของโครการ สสส.ที่รับทุน มาประสานแผนกับภาคีเครือข่ายอื่นๆเพื่อความสะดวกและลดขั้นตอนความซ้ำซ้อนในการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำและภาคีเครือข่าย ร่วมเปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลบางกะพง โดยมีมีมสภาผู้นำและตัวแทนกรรมการหมู่บ้านโคกใหญ่ร่วมกิจกรรม จากนั้น ตัวแทนกรรมการบ้านโคกใหญ่นำกิจกรรมของชุมชน และของโครการ สสส.ที่รับทุน มาประสานแผนกับภาคีเครือข่ายอื่นๆเพื่อความสะดวกและลดขั้นตอนความซ้ำซ้อนในการประชุมได้ผลดังนี้

    1. ประชุมกรรมการโครงการร่วมกับสภาผู้นำทุกวันศุกร์สัปดาที่ 1
    2. ประชุมกำนันผู้ใหญาบ้าน ทุกวันที่ 2 โดยให้ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มาร่วมประชุมชี้แจงในวันที่5 ของเดือน

     

    40 35

    27. ตามรอยคนต้นแบบ เกษตรอินทรีย์ ใครจด หมดหนี้เรียนรู้ทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการ ร่วมกัน ศึกษาข้อมูลและประวัติ นายสงวน มงคลศรีพันธ์เลิศ เกษตรกรดีเด่น นายสาครเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และได้อบรมทำบัญชีครัวเรือนเพื่อสร้างนิสัยการบันทีก ในประเด็น ใครจด หมดหนี้ รวมทั้งการทำไร่นา สวนผสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการ ร่วมกัน ศึกษาข้อมูลและประวัติ นายสงวน มงคลศรีพันธ์เลิศ เกษตรกรดีเด่น นายสาครเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน โดยนำองค์ความรู้ที่สนใจคือการทำแก๊วชีวภาพ การทำจุลินทรีย์ การปลูกพืชปลอดสารพิษ การเพาะเห็ดอบโอ่ง และการทำบัญชีครัวเรือน การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก และสูตรไล่แมลง การทำปลูกพืขหมุนเวียน และการทำเชิงตลาด

     

    60 42

    28. เรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ครั้ง ที่ 4

    วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการ และชาวบ้าน ร่วม กิจกรรม 40 คน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีพัฒนาชุมชนจาก อบต.ประจำตำบลบางศาลาให้คำแนะนำและให้ความรู้ การทำผลิตภัณฑ์ น้ำหมักชีวภาพ เรียนรู้การทำปุ๋ยชีวภาพและนำ้หมักสมุนไพรไล่แมลงโดยการประชุมฝึกทำจริงและจดบันทึกประสบการณ์ทำรูปแบบต่างๆเพื่อนำมาใช้ในแปลงผักปลอดสารพิษได้ต่อไป ในการทำแบ่งการทำเป้น 3 กลุ่ม คือกลุ่มน้ำหมักชีวภาพ 20 คน และ กลุ่มทำน้ำยาอเนกประสงค์ 20 คน ทำสมุนไพรไล่แมลง โดยกลุ่มที่ 1 กลุ่มน้ำหมักชีวภาพ 20 คนทำที่บ้านนางศุภลักษณ์ ปล้องคีรี กลุ่มที่ 2 ทำที่กลุ่มออมทรัพย์ เนื่องจากอุปกรณ์ในการทำเก็บไว้ที่นี่ ส่วนกลุ่มเด็กนักเรียน ได้ทำที่โรงเรียนวัดบางไทร โดยมีอาจารย์ประจำวิชาเกษตรช่วยควบคุมและให้คำแนะนำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการ กลุ่มนักเรียนร่วม และชาวบ้าน ร่วม กิจกรรม 40 คน ร่วมกิจกรรม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในวันแม่แก่กลุ่มนักเรียน ที่อยู่ในพื้นที่ ส่วนกลุ่มแรงงานบำเพ็ญประโยชน์ในการช่วยกันออกแรงทำปุ๋ย และแบ่งปันปุ๋ย น้ำหมัก และน้ำยาอเนกประสงค์ เมื่อได้ที่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและได้ทำตามข้อตกลงเรื่องลดละเลิกใช้ปุ๋ยเคมีในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ในกิจกรรมนี้ ทุกคนมีความสุขหยอกล้อกันไป ไม่เครียด สนุกสนานและสามัคคี แบ่งงานกันทำ

     

    40 40

    29. ร่วมกันส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว เรียนรู้ครั้งที่ 5

    วันที่ 19 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ร่วมโครงการและกรรมการโครงการ ร่วมกันส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว เรียนรู้เพื่อให้สมาชิกกลุ่มมีแผนชีวิตและโครงงานอาชีพสร้างรายได้ และแผนการออมในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ร่วมโครงการและกรรมการโครงการ และ สมาชิกกลุ่มมีแผนชีวิตและโครงงานอาชีพสร้างรายได้ และแผนการออมในครัวเรือน

     

    40 40

    30. จัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ บ้านโคกใหญ่ เรียนรู้ครั้งที่ 6

    วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนแปลงผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน ร่วมกันประชุมกับผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อวางแผนจัดตั้งกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนแปลงผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน ร่วมกันประชุมกับผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อวางแผนจัดตั้งกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ โดยมีข้อตกลงกลุ่ม 5 ข้อ ดังนี้

    1. นัดประชุมกลุ่ม ทุก 3 เดือน โดยตั้งให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นหัวหน้ากลุ่ม และ นางศุภลักษณ์ปล้องคีรี เป็นผู้ประสานงานกลุ่ม ในการนัดหมาย
    2. นำกฎกติกาเรื่องลด ละ เลิก การใช้เคมี ในแปลงเกษตร ที่รวมกลุ่ม
    3. นำป้ายที่โครงการแจก ติดให้กับทุกแปลง เพื่อให้รับทราบผลลัพธ์การรวมโครงการ
    4. ทุกแปลงให้เจ้าของแปลง ทำบัญชีครัวเรือนโดยแกนนำ 10 แปลง ที่ได้รับรางวัลยกย่อง มีดังนี้
    • 1.นางเสาวภา ทิพย์แก้วทำแปลงนาข้าว กำลังเก็บเกี่ยว
    • 2.นายมนต์ชัยประจงไสย ทำแปลงนาข้าว เก็บเกี่ยวแล้ว
    • 3.นายอุทัยดำรักษ์ทำแปลงข้าวโพด รอการเก็บเกี่ยว กำลังสวยงาม
    • 4.นางประไพศรีประจงไสยทำแปลงข้าวโพด รอการเก็บเกี่ยว กำลังสวยงาม
    • 5.นางอุไรวรรณสมมาตร ทำแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน เพิ่งลงแปลง ปีแรก
    • 6.นางอาภรณ์คำเพ็ง ทำแปลงเพาะถั่วเขียว
    • 7.นางดวงแข สุขศิล ทำเกษตรอินทรีย์ บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ได้ผลแล้ว
    • 8.นางศุภลักษณ์ ปล้องบรรจงทำผักสวนครัวข้างบ้าน
    • 9.นาเลี่ยมบางเมือง ทำเกษตรอินทรีย์ปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์
    • 10.นางรจนา จุ่มภาษี แปลงปลูกมะเขีอ

     

    40 40

    31. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่11

    วันที่ 2 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมวางแผนกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน 4 กิจกรรม และลงปฏิทินเพื่อให้ทันปิดโครงการกลางเดือนตุลาคม 59

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการ ร่วม วางแผนกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน 4 กิจกรรม และลงปฏิทินเพื่อให้ทันปิดโครงการกลางเดือนตุลาคม 59 สรุปดังนี้

    1. กิจกรรมตามรอยคนต้นแบบ ดำเนินการแล้ว แต่ยังไม่ได้บันทึกกิจกรรม ให้ คุณศุภลักษณ์ ช่วยส่งรูปมาให้กรรมการด้วย
    2. กิจกรรมประชุมประจำเดือน ประชุมกัน แต่ยังไม่ได้บันทึกกิจกรรม ให้เร่งบันทึกกิจกรรมให้เรียบร้อย
    3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำบัญชีครัวเรือน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผักกะถาง จัดในวันที่ 23 กย 59
    4. กิจกรรมร่วมกันทำเอกสารชุดความรู้ นัดทีมประชุมที่ศสม.ปากพนัง เพื่อให้พี่เลี้ยงโครงการ ช่วยเหลือเรื่องรูปแบบและเนื้อหาในชุดความรู้ และให้กรรมการรวบรวมจากหมอดินในบางศาลา พร้อมกับ วิทยากรที่มาแนะนำ
    5. จัดคนร่วมงานคนใต้สร้างสุข จำนวน 2 คน 2 วัน คือ นางดวงแข สุขศิง และนางศุภลักษณ์ปล้องคีรี
    6. นัดทำกิจกรรมถอดบทเรียนที่กลุ่มออมทรัยพื หลังกลับมาจากกงานคนใต้สร้างสุขเพื่อแลกเปลี่ยนกับคนที่ไม่ได้ไป

     

    15 13

    32. ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 2

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุม เพื่อติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการติดตามความก้าวหน้าของโครงกาบ้านโคกใหญ่ยังดำเนินกิจกรรมได้ไม่ครบถ้วน ยังขาดกิจกรรมประชุมกรรมการร พบว่าโครงการ

    1. การประชุมกรรมการโครงการและชุมชนยังไม่ครบอ อีก 3 กิจกรรม
    2. กิจกรรมหลักที่สำคัญยังไม่ครบถ้วน ได้แก่ กิจกรรมทีมกรรมการติดตามช่วยเหลือลงแขกในการปรับพื้นที่ และการลงแขกปลูกผักยังขาดภาพถ่าย
    3. การดำเนินกิจกรรมหลักกำหนดเร่งรัดให้เสร็จสินในเดือน กันยายน
    4. กิจกรรมบางส่วนที่ล่าช้าเนื่องจากเกิดเหตุผู้ใหญ่บ้านนายปรีชา สุขศิล เสียชีวิตและมีการคัดเลือกแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ซึ่ง นางดวงแข สุขศิล ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน และได้ดำเนินการต่อเนื่อง

     

    2 2

    33. จัดเวทีเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปลูกผักปลอดสารพิษในกะถาง

    วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการโครงการ และผุ้เข้าร่วมโครงการ เครือข่ายโรงพยาบาลปากพนัง ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลางลานใต้ร่มไม้บริเวณแปลงผักกระถางตัวอย่างของโครงการ ที่บ้านนางศุภลักษณ์ ปล้องคีรี โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ร่วมโครงการที่มีการปลูกผักในกระถาง นำผลผลิตมาโชว์แลกเปลี่ยนวืธีการดูแลและประโยชน์จากการทำสวนผักในกระถาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการโครงการ และผุ้เข้าร่วมโครงการ เครือข่ายโรงพยาบาลปากพนัง ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลางลานใต้ร่มไม้บริเวณแปลงผักกระถางตัวอย่างของโครงการ ที่บ้านนางศุภลักษณ์ ปล้องคีรี โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ร่วมโครงการที่มีการปลูกผักในกระถาง นำผลผลิตมาโชว์แลกเปลี่ยนวืธีการดูแลและประโยชน์จากการทำสวนผักในกระถาง ซึ่งครั้งนี้ มีกรรมการมาร่วม 15 คน ชาวบ้านที่ร่วมโครงการ 30 คน และ ภาคีเครือข่ายวิทยากรจากโรงพยาบาลปากพนังจำนวน 5 คน มาร่วมแลกเปลี่ยน ผลสรุปสำคัฯคือ สามารถบอกประโยชน์ของการปลูกพืขในกระถางได้ ดังนี้ ประโยชน์ของการปลูกพืชแบบไร้ดิน มีหลายประการ คือ

    • ใช้ทดแทนการปลูกพืชในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินกรวด และดินด่าง – ประหยัดพื้นทีที่จะใช้ปลูก เพราะระบบไร้ดินปลูกพืชได้หนาแน่นกว่าปลูกในดิน – ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปลูก และบำรุงรักษาพืช เพราะธาตุอาหารและน้ำอยู่ในระบบที่หมุนเวียนได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัด วัชพืช – อายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าการปลูกในดิน – สามารถควบคุมโรคและแมลงได้สะดวกกว่าการปลูกในดิน เนื่องจากใช้พื้นที่ปลูกขนาดเล็กกว่า – ใช้ปลูกบำรุงรักษาพืชให้อยู่รอดมากขึ้น โดยเฉพาะพืชจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ – เหมาะสำหรับการปลูกพืชในเมืองใหญ่ หรือเมืองอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชน้อย หรือบนตึกสูง เช่น คอมโดมีเนียม โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น

    ส่วนวิทยากร หมอดิน ของหมู่บ้าน ได้ให้ข้อมูล ว่า ข้อดีของพืชไร้ดินคือให้ผลผลิตที่สะอาด ถูกอนามัย ปลอดภัยจากสารพิษ เนื่องจากปลูกในโรงเรือนที่มีมุ้งตาข่ายปิดมิดชิดจึงไม่จำเป็นต้องใช้สาร เคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชพืชเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าการปลูกในดิน เนื่องจากพืชได้รับธาตุอาหารต่างๆ ครบถ้วนในสัดส่วนที่พอเหมาะและตลอดเวลาที่พืชต้องการ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและรสชาติดีพืชที่ปลูกอยู่รอดมากขึ้น และให้ผลผลิตสูง เพราะสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ให้แก่พืชได้ดีกว่าปลูกในดิน ลดความเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศไม่แน่นอน เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง ใช้พื้นที่น้อย เพราะปลูกพืชได้หนาแน่นกว่าปลูกในดิน และปลูกต่อได้ทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวพืชชุดแรกแล้ว จึงสามารถปลูกได้หลายครั้งต่อปีประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช ทดแทนการปลูกพืชในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง ดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกพืช เช่น ดินลูกรัง ดินที่มีน้ำท่วมขังบ่อยครั้ง เหมาะสำหรับปลูกในสถานที่ที่มีพื้นผิวดินสำหรับปลูกพืชน้อย เช่น ระเบียงบ้าน หรือ คอนโดมีเนียมปลูกได้ตลอดปี ไม่ต้องรอฤดูกาล สามารถเลือกปลูกพืชในช่วงที่มีราคาแพง ทำให้ผลผลิตได้ราคาดีขึ้นใช้แรงงานในการดูแลน้อย

    แต่มีข้อจำกัด คือ ลงทุนสูงในระยะแรก และต้องมีปัจจัยในการปลูกพืชในระบบนี้ คือ ไฟฟ้า น้ำ และธาตุอาหารที่พืชต้องการในรูปของสารเคมีอย่างไรก็ตาม การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับปลูกผักอนามัย และวิธีการปลูก วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ก็มีการพัฒนาให้สะดวกและทันสมัยมากขึ้น ตลาดของผักอนามัยในปัจจุบัน เริ่มมีผู้หันมานิยมบริโภคมากขึ้น การวางจำหน่ายผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์ ปัจจุบันจะบรรจุถุงทั้งต้น โดยไม่ตัดรากและบางรายภาชนะปลูกที่ใช้พยุงต้นซึ่งเป็นกระถางพลาสติกโปร่ง ขนาดเล็กๆ ยังมีติดที่โคนต้นเป็นการยืนยันว่าเป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์จริง ๆ ปราศจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงแน่นอน

    ผู้ร่วมโครงการ สรุปว่า บ้านหนองห้าง และโคกใหญ่ มีปัญหาน้ำท่วมขัง ปีนึงหลายๆเดือน การปลูกพืชในกระถางช่วยทำให้ผักไม่ตายจากน้ำท่วม และพืชไม่ค่อยมีโรค การดุแลง่ายผักที่ปลูกในกะถางจะปลอดสารพิษกว่าในดินปกติ เนื่องจากไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง

     

    60 50

    34. กรรมการโครงการจัดทำชุดความรู้โครงงานรวมเป็นข้อมูลการจัดการความรู้และเก็บไว้เผยแพร่

    วันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการ และตัวแทนกลุ่มและพี่เลี้ยงโครงการ ชวยกันรวบรวมเอกสาร สรุปผลการดำเนินงาน ส่ง สสส. ตามที่ผู้ให้ทุนกำหนด และช่วยกันจัดทำชุดความรู้โครงงานของสมาชิกทั้ง 30 คน เพื่อรวรวมเป็นข้อมูลการจัดการความรู้และเก็บไว้เผยแพร่ ต่อไปเพื่อรวบรวมชุดความรู้เกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ เกิดชุดความรู้โครงงานพัฒนาอาชีพลดรายจ่ายสร้างรายได้เสริม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดชุดความรู้เกาตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ดังนี้

    1. การทำบัญชีครัวเรือนบ้นโคกใหญ่
    2. การทำปุ๋ยหมักสูตรน้ำหมักบ้า่นโคกใหญ่
    3. การทำน้ำสมุนไพร ผลิตภัณฑ์น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ
    4. การทำหลักสุตรเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่
    5. การทำแปลงตัวอย่าง ปัญหา อุปสรรค
    6. ผลการเรียนรู้ การประเมินคุฯค่า

     

    40 37

    35. ติดตามผลการปฏิบัติงานโดยคณะกรรมการและตัวแทนเกษตรในแต่ละกลุ่ม

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียกประชุมผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานโดยคณะกรรมการและตัวแทนเกษตรในแต่ละกลุ่ม พร้อมภาคีเครือข่ายติดตามในพื้นที่เพื่อประเมินผลโครงงานของสมาชิกกลุ่มและภาพรวมโครงการทั้งหมด ได้แก่ การติดตามการทำบัญชีครัวเรือน รายรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ผลการพัฒนาแผนงานอาชีพเสริมสร้างรายได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมประชุม 60 คนโดยได้นำตัวชี้วัดโครงการมาติดตามประเมิน

    1. เพื่อให้เกษตรกรบ้านโคกใหญ่ดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรอินทรีย์ โดยให้เกิดครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ อย่างน้อย 30 ครัวเรือน พบว่า ผ่านเกณฑ์
    2. เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายต้นทุนการผลิต และลดปัญหาหนี้สิน โดย ครัวเรือนมีรายจ่ายลดลงกว่าก่อนทำโครงการร้อยละ 50 ซึ่งประเมินจากการทำบัญชีครัวเรือนและคำบอกเล่า พบว่า อย่างน้อย 30 ครัวเรือน ที่ร่วมกลุ่มเษ๖รอินทรีย์ได้ทำบัญชีครัวเรือน และมีรายจ่ายด้านการซื้อปุ๋ยลดลง ซึ่งลดได้ในกลุ่มทำแปลงผัก แลงเกษตรเล็กๆ ส่วนแปลงใหญ่ เช่น บ่อกุ้ง และปาล์มน้ำมัน ลดไม่ได้
    3. เพื่อให้ครัวเรือนมีการพัฒนาแผนชีวิตและพึ่งพาตนเองได้ สมาชิกกลุ่มมีแผนชีวิตและโครงงานอาชีพสร้างรายได้ อย่างน้อย 20 ครัวเรือน โดยประเมินจากการทำาชีพที่ระบุต่อเนื่อง และสร้างรายได้ พบว่า อย่าง 30 ครัวเรือนที่ร่วมกลุ่ม มีรายได้จากการขายผัก ขายปาล์ม ขายกุ้ง เพิ่ม
    4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ โดยประเมินจากการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด และมีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    5. เพื่อร่วมจัดตั้งสภาผู้นำหมุ่บ้านเข้มแข็ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ปัญหา เรื่องการปรับสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ปัญหา เรื่องการสร้างกลไกในชุมชน พบว่า มีสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน และ เกิดข้อตกลงบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

     

    60 45

    36. จัดเวทีเรียนรู้ และเปิดตลาดผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 30 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการ จัดเวทีเรียนรู้ และเชิญชวนสมาชิกกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ มาร่วมเปิดตลาดผักปลอดสารพิษ พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านที่ไม่ได้เข้าร่วม และให้หมู่บ้านใกล้เคียงรับทราบ มาร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในการร่วมปลูก และกินผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการ ได้ประกาศเชิญชวนสมาชิกกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ มาร่วมเปิดตลาดผักปลอดสารพิษ พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านที่ไม่ได้เข้าร่วม และให้หมู่บ้านใกล้เคียงรับทราบ มาร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในการร่วมปลูก และกินผักปลอดสารพิษ โดยนัดในตลาดทุกวันศุกร์บ่าย ทุกสัปดาห์

     

    60 40

    37. ร่วมงานคนใต้สร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรีนรู้ในงานสร้างสุขภาคใตเ วันที่ 3-5 ต.ค.59 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้งานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมแลกเปลี่ยนห้องเสวนาชุมชนน่าอยู่ ร่วมกันจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และเยี่ยมชมบูธของแต่ละเครือข่ายที่นำมาแสดงในงาน

     

    2 2

    38. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหา และถอดบทเรียน

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการ จำนวน 50 คน จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อติดตามประเมินคุณค่าโครงการบ้านโคกใหญ่และสรุปภาพรวมผลโครงการที่ผ่านมาโดยให้ผู้มาร่วมเขียนความคิดเห็นในประเด็นลงในกระดาษแล้วผู้รับผิดชอบโครงการ นำมาติดในกระดาน เพื่อส่งให้พี่เลี้ยงสรุปภาพรวมโครงการ ซึ่ง มีประเด็นทั้ง สิ้น 6 ประเด็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดตามประเมินคุณค่าโครงการบ้านโคกใหญ่และสรุปภาพรวมผลโครงการที่ผ่านมาโดยให้ผู้มาร่วมเขียนความคิดเห็นในประเด็นลงในกระดาษแล้วผู้รับผิดชอบโครงการ นำมาติดในกระดาน เพื่อส่งให้พี่เลี้ยงสรุปภาพรวมโครงการ ซึ่ง มีประเด็นทั้ง สิ้น 6 ประเด็นได้แก่
    1. ผลลัพธ์โครงการด้านคุณค่าและความประทับใจ ส่วนใหญ่ชอบกิจกรรมไปศึกษาดูงานเพราะสนุก รู้จักคนมากขึ้น มีประสบการณ์ 2. ผลลัพธ์โครงการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ได้ออกกำลังกาย ลงแขกทำร่อง ปลูกผัก เพราะปกติ มักจ้างแรงงาน 3. ผลลัพธ์โครงการด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้ปลูกผักกินเอง ลดการใช้สารเคมี ในแปลงพืข ผัก 4. ผลลัพธ์โครงการด้านการเปลี่ยนแปลง คน กลุ่ม คน และ สิ่งแวดล้อม คนรู้จักสามัคคี เสียสละ มาประชุมร่วมกัน และช่วยกันทำแปลง สถานที่ในแปลงผักนาลดการใช้สารลง ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ดินดีขึ้น
    5. ผลลัพธ์โครงการด้านการเกิดกลไก วิธีการทำงานเกิดกติกาในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ และนำไปปฏิบัติ มีการประชุมและนัดทำปุ๋ยกันทุก 2 เดือน 6. ผลลัพธ์โครงการด้านการประเมินผลสำเร็จตามตัวชี้วัด

    ผลพบว่า เกิดครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์30 ครัวเรือน และแปลงดีเด่นลดการใช้ปุ๋ยเคมี 10 แปลง

     

    50 50

    39. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ และเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ร่วมกันสรุปโครงการ ปิดงวด ทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งสสส.โดยเป็นการร่วมกันประชุมติดตามจากพี่เลี้ยงจาก พื้นที่ ทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ ทีมสนับสนุนวิชาการจาก สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ และเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ร่วมกันสรุปโครงการ ปิดงวด ทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งสสส.โดยเป็นการร่วมกันประชุมติดตามจากพี่เลี้ยงจาก พื้นที่ ทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ ทีมสนับสนุนวิชาการจาก สจรส.มอ.

    โดยช่วงเช้าพี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบช่วยกันแก้ไขเพิ่มเติมรายงานและการบันทึกให้ถูกต้อง ครบถ้วน
    ช่วงบ่าย เจ้าหน้าที่การเงินส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่จาก สจรส.ตรวจสอบความถูกต้อง

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกษตรกรบ้านโคกใหญ่ดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรอินทรีย์
    ตัวชี้วัด : เกิดครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ อย่างน้อย 30 ครัวเรือน

    มีต้นแบบเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นภายในหมู่บ้านลดการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมีมีสุขภาพที่ดีขึ้น 30 ครัวเรือน

    2 เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายต้นทุนการผลิต และลดปัญหาหนี้สิน
    ตัวชี้วัด : ครัวเรือนมีรายจ่ายลดลงกว่าก่อนทำโครงการร้อยละ 50

    เกิดกลุ่มอออมทรัพย์ทำให้เกิดการออม มีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50

    3 เพื่อร่วมจัดตั้งสภาผู้นำหมุ่บ้านเข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. มีสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 2. เกิดข้อตกลงบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

    -ประชุมแบ่งปันความคิดเห็นทุกเดือนโดยเกิดขึ้นเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
    -เกิดข้อตกลงลดละเลิกการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมียาฆ่าแมลง

    4 เพื่อให้ครัวเรือนมีการพัฒนาแผนชีวิตและพึ่งพาตนเองได้
    ตัวชี้วัด : สมาชิกกลุ่มมีแผนชีวิตและโครงงานอาชีพสร้างรายได้ อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

    ปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง เกิดกลุ่มผักปลอดสารพิษ และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเหลือจากการกินก็นำไปจำหน่าย อจำนวน 30 ครัวเรือน

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.มีการรวมกลุ่มและให้ความร่วมมือกันด้วยดีเมื่อมีการจัดทุกๆกิจกรรม 2.ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความปลอดภัยจากสิ่งเสพติดและเป็นการเตือนสติแก่ผู้เสพและอีกทั้งเป็นความรู้ต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3.เพื่อเป็นการยืนยันว่ากิจกรรมที่ทำนั้นได้จัดทำขึ้นจริงตามโครงการ 4.มีความรับผิดชอบต่อโครงการที่ทำเป็นอย่างสูง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกษตรกรบ้านโคกใหญ่ดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรอินทรีย์ (2) เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายต้นทุนการผลิต และลดปัญหาหนี้สิน (3) เพื่อร่วมจัดตั้งสภาผู้นำหมุ่บ้านเข้มแข็ง (4) เพื่อให้ครัวเรือนมีการพัฒนาแผนชีวิตและพึ่งพาตนเองได้ (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

    รหัสโครงการ 58-03887 รหัสสัญญา 58-00-2157 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ดินแข็ง จากการเกาะตัวของสารต่อเติม (Filler) ที่ผสมอยู่ในเม็ดปุ๋ยเคมี ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ จึงสะสมอยู่ในเนื้อดิน ทำให้ดินเกาะตัวกันแน่น ทำให้ดินแข็ง ดินไม่ร่วนซุยไม่ระบายน้ำ อากาศ และไม่อุ้มน้ำ ดินขาดอินทรียวัตถุ การแก้ปัญหาโดยการไม่เผาตอซังในนาข้าว คุณสมบัติทางเคมีของดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง(pH)ของดินที่เหมาะสมสำหรับการทำนา และการเกษตรโดยทั่วไปนั้น ควรจะมีค่าประมาณ 5.5-7.5การตกค้างของสารเคมีสังเคราะห์ ทำให้พื้นที่นามีค่าความเป็นกรดค่อนข้างสูงมาก จึงไม่เหมาะกับการเพาะปลูก
    นป่วยจากการการไม่เผาตอซังในนาข้าวเพราะการเผาตอซัง ทำให้น้ำในดินเสียไป อากาศระเหยไป ดินแข็งกระด้าง และเป็นการทำลายสิ่งมีชีวิตในดินด้วยก ารไม่เผาตอซังเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในไร่นาได้ประมาณ 500 กิโลกรัม/ไร่ และ การใช้ปุ๋ยพืชสด เช่น พืชตระกูลถั่ว จะให้อินทรียวัตถุประมาณ 2,000 กิโลกรัม/ไร่

    จากการหมอดินมาติดตามแปลงในการปรับพื้นที่ครั้งแรก และ การลงแขกปลูกผักสวนครัวครั้งแรก

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการทำงานในชุมชนและการรวมกลุ่มตามธรรมชาติ

    การวางแผนกิจกรรมกันเองในชุมชนตามบันทึก และภาพถ่าย

    สภาชุมชนน่าอยู่คุณภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มสภาผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน ร่วมบูรณาการการประชุมวางแผนกิจกรรมหมู่บ้าน เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ 30 คน มีข้อตกลงการลดละเลิกการใช้สารเคมีในการเกษตร

    บันทึก และภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การบริโภคผักที่ปลูกเองกินเองทำให้มั่นใจว่าปลอดภัยไม่มีสารพิษตกค้าง

    บันทึก และภาพถ่าย

    อาหารเมนูผักเพื่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    การรื้อฟื้นการลงแขกปรับพื้นที่และปลูกผัก 30 แปลง ผลัดเปลี่ยนช้วยกัน ทำให่เกิดการออกกำลังกาย และมีความสามัคคี

    บันทึก และภาพถ่าย

    การรวมกลุ่มช่วยกันทำงานเพื่อความสามัคคี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการนำภูมิปัญญาพื้นบ้าน ดดยหมอดืนที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านมาแนะนำให้ความรู้ในการทำน้ำสมุนไพร น้ำหมัก ปุ๋ยหมัก

    บันทึก และภาพถ่าย

    ชุดความรู้ภูมิปัญยด้านเศรษฐกิจพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    เกิดการลดละเลิกการใช้สารเคมีในการเกษตรเพื่อชีวิตและความปลอดภัยต่อสุขภาพ มีผลทำให้สิ่งแวดล้อมดิน น้ำ ดีขึ้นในระยะยาว
    พื้นที่สิ่งแวดล้อมที่บ้านเรือนที่เคยรกร้างเปลี่ยนเป็นแปลงผักสวนครัว รั้วกินได้ และมีการปลุกผักกินเอง

    บันทึก และภาพถ่าย

    การปลูกผักลอยฟ้า

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดกลุ่มเกษตรที่ใช้แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ตามรอยพระราชาในการดำเนินชัวิต

    บันทึก และภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    การลดละเลิกการใช้สารเคมีในแปลงเกษตรและแปลงผักสวนครัว การทำบัญชีครัวเรือน

    บันทึก และภาพถ่าย

    กลุ่มออมทรัพย์ สวัสดิการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    สภาชุมชน มีการร่วมกันวางแผนออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและเรียบง่าย

    บันทึก และภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การวางแผนแก้ปัญหาชุมชนโดยค้นหาผู้มีความรู้แต่ละด้าน มาช่วยในการทำกิจกรรมโครงการ เมื่อได้ผลลัพธ์ก็นำมาบันทึกเป็นบทเรียนรู้ได้ แก่ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก น้ำยาอเนกประสงค์

    บันทึก และภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การปรับเปลี่ยนการเกษตรเป๋นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    บันทึก และภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    การแบ่งปันผลผลิตในแปลง และในครัวเรือน

    บันทึก และภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03887

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาว เสาวภา ทิพย์แก้ว )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด