แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก ”

บ้านหลาแขก ม.3 ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย สมบูรณ์ ดาราภัย

ชื่อโครงการ กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก

ที่อยู่ บ้านหลาแขก ม.3 ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03855 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2070

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านหลาแขก ม.3 ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก



บทคัดย่อ

โครงการ " กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านหลาแขก ม.3 ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03855 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 186,315.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 195 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มจัดการพื้นที่และสร้างรายได้โดยการปลูกผักปลอดสารพิษแซมในร่องสวนยาง
  2. เพื่อให้เกิดการออมและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน
  3. เพื่อให้เกิดสภาชุมชนที่เข้มแข็ง
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามครั้งที่1 เร่ืองการจัดทำปฏิทินโครงการ การบันทีกรายงาน และประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อชี้แจงโครงการ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 08.00 -20.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับฟังการจัดทำโครงการ และฝึกบันทึกการทำปฏิทินโครงการ การบันทึกรายงาน วางแผนร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อประชุมชี้แจงโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้การเตรียมตัว เตรียมจัดทำโครงการ การจัดการโครงการให้สำเร็จ ฝึกการบันทึกรายงานในเวป บันทึกปฏิทินงาน ร่วมวางแผนการดำเนินงานกับพี่เลี้ยงตลอดปี 

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ร่วมกันออกแบบป้ายภาพที่จะทำไวนิลโครงการ และป้ายเขตปลอดบุหรี่และมอบหมายให้ มาริณีเป็นผู้ติดต่อ และประสานกับร้านที่ผลิตไว้นิลและจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงานเกี่ยวกับการประชุมในกิจกรรมโครงการ และให้เบิกจ่ายค่าพาหนะได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีป้ายไวนิล ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ และวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม ตามมติคณะทำงานซึ่งจะใช้ติดไว้ในการทำกิจกรรมของโครงการทุกครั้ง 1ป้าย 2. มีป้ายเขตปลอดบุหรี่รูปแบบโลโก้ของ สสส 1 ป้าย ติดไว้ ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำหมู่บ้าน และเป็นที่สอนศาสนาแก่เยาวชนในหมู่บ้านทุกวันเสาร์และ อาทิตย์ (ฟรัดูอีน)ซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ในมัสยิดประจำหมู่บ้านหมู่

     

    115 115

    3. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 10.30 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1 คณะกรรมการโครงการ โดยนายสมบูรณ์ ดารากัย แนะนำรายละเอียดกิจกรรมการโครงการแนะนำภาคีเข้าร่วมประชุม เจ้าหน้าที่ พัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่ รพ สต. เจ้าหน้าที่เกษตรเจ้าหน้าที่ธรรมภิบาลจังหวัด ครูบัญชี แนะนำคณะกรรมการทำงานโครงการ ชี่่แจงรายละเอียดโครงการ ขั้นตอน และวิธีการจัดกิจกรรม กำหนดกติกา แบ่งงาน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้ทันตามกำหนด 2 ผู้เข้าร่วมประชุมซักถามข้อสงสัยคณะกรรมการร่วมตอบข้อซักถาม 3 เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ ร่อนพิบูลย์ชี้แจงเรื่องการชดเชยการทำสวนยางพารา การทำเกษตรแบบผสมผสานในสวนยาง 4ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยให้มีการดำเนิกิจกรรมตามแผนงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้กำหนด กฏและ กติกา วางแผน มอบหมายงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    • ผู้เข้าร่วมได้รับรู้การทำโครงการ สสส.ในพื้นที่ ซึ่งในหมู่บ้านไม่ค่อยมีโครงการเข้ามาทำ จึงทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบกิจกรรมการทำโครงการ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ได้เข้าใจ และมอบหมายให้ผู้ใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
    • มีการจัดตั้งสภาผู้นำเพื่อออกแบบและวางแผนการทำโครงการในครั้งตอไป และแบ่งบทบาทให้แต่ละคนดูแลกรทำกิจกรรม เช่น การประดิษฐ์ผ้าฮิญาบ (ผ้าคลุม

     

    100 100

    4. จัดกิจกรรมร่วมคิดและสร้างแบบสอบถามครัวเรือน

    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      1.สภาผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มสตรี ปราชญ์ชุมชน เยาวชน และเกษตรอำเภอร่อนพิบูลย์ร่วมปรึกษาหารือถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างแบบสอบถามครัวเรือน 2. ร่วมคิดรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการสำรวจ 3.สร้างแบบสำรวจข้อมูล 1ชุด 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แบบชุดสำรวจข้อมูลของบ้านหลาแขก ม.3 ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ 1ชุด ประกอบด้วยข้อมูล
    1. ข้อูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
    2. ข้อมูลสภาพความเป็นอยู่
    3. ข้อมูลการประกอบอาชีพ 4.ข้อมูลความต้องการร่วมกิจกรรมตามโครงการกินผักที่ปลูก และฮิญาบราคาถูกบ้านหลาแขก
    • ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาในต่อไป

     

    40 40

    5. เก็บข้อมูลครัวเรือน

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการโครงการร่วมประชุมชี้แจงเรื่องการเก็บข้อมูลครัวเรือนในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านในวันเริ่มลงเก็บข้อมูลครัวเรือน เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์และวิธีกาปฏิบัติ เพื่อให้ชุมชนรับทราบและให้ความร่วมมือในกิจกรรมโครงการ 2.ปฏิบัติการเก็บข้อมูลครัวเรือนวันที่1 โดยสภาชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มเยาวชน และ อสม จำนวน 20 คน โโยแบ่งการเก็บเป็น 4 โซน โซนละ 5 คนเก็บโซนละ 42 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถามที่ชุมชนสร้างขึ้นเอง

    1. กลุ่มบุคคลที่ไปเก็บข้อมูล ประกอบด้วยคณะกรรมการโครงการ อสมกลุ่มสตรีมุสลิม และเยาวชนในชุมชน ร่วมกันเก็บข้อมูล -จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ไปเก็บข้อมูล จำนวน 84ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ข้อมูลครัวเรือนด้าน ข้อมูลทั่วไป ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครัวเรือนข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ และการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผัก และ ความต้องการการสร้างอาชีพเสริมของครัวเรือนซึ่งเป็นข้อมูลจริง 84 ครัวเรือน
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มเยาชน กลุ่มสตรีมุสลิม และอสม. จำนวน 20 คน ได้ทำการสำรวจครัวเรือนได้ 84 ครัวเรือน คิดเป็น50% ของครัวเรือนทั้งหมด 3.ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอยถามเป็นอย่างดี

     

    20 20

    6. เก็บข้อมูลครัวเรือน

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30-16.00ฯ น.

    กิจกรรมที่ทำ

    --ปฏิบัติการเก็บข้อมูลครัวเรือนวันที่2 โดยสภาชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มบุคคลที่ไปเก็บข้อมูล ประกอบด้วยคณะกรรมการโครงการ อสม กลุ่มสตรีมุสลิม และเยาวชนในชุมชนจำนวน 20 คน ร่วมกันเก็บข้อมูล  โดยใช้แบบสอบถามที่ชุมชนสร้างขึ้นเอง - จำนวนครัวเรือนเป้าหมายที่ไปเก็บข้อมูล จำนวน84ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ปฏิบัติการเก็บข้อมูลครัวเรือนวันที่ 2 โดยสภาชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มเยาวชน และ อสม จำนวน 20 คนโดยใช้แบบสอบถามที่ชุมชนสร้างขึ้นเอง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี บางครัวเรือนสมาชิกไปทำงานนอกบ้าน ต้องตามเก็บข้อมูลในช่วงค่ำ

    • ได้ครัวเรือนเป้าหมายที่ไปเก็บข้อมูล จำนวน84ครัวเรือน คิดเป็น 50%ของครัวเรือนทั้งหมด

     

    20 20

    7. วิเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจำวน 168 ชุด 2.ร่วมสรุป และจัดเรียงลำดับความสำคัญของของมูลที่ได้จากการวิเคราะห์แบบสอบถาม
    2. ร่วมคิดการจัดกิจกรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผลการสำรวจข้อมูล จัดการเก็บได้ครบ 168 ครัวเรือน 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูล


    สรุปแบบสอบถาม โครงการกินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก ตอนที่1.ข้อมูลทั่วไป 1.1เพศชายจำนวน18%หญิง 82% 1.2 อายุ15 – 19จำนวน18ราย
    20 – 29 จำนวน17 ราย 30– 39จำนวน21 ราย 40 – 49จำนวน 54ราย
    50 – 59จำนวน46ราย 60ปี ขึ้นไป8ราย 1.3นับถือศาสนา อิสลาม98% ศาสนาพุทธ 2% 1.4การศึกษาประถมศึกษา 38%มัธยมศึกษา 48% สูงกว่า14% 1.5อาชีพเกษตรกร 72%ค้าขาย13%รับจ้าง8% อื่น ๆ7% 1.6รายได้5,000 – 10,000บาท60%10,001 – 15,000บาท 31 %อื่น ๆ29% 1.7รายได้รวมครัวเรือน10,001 – 15,000บาท 1.8โดยปกติท่านได้ออมเงินหรือไม่มีการออม 41% ไม่มีการออม59% 1.9ท่านหรือสมาชิกเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์สัจจะของหมู่บ้าน 97% เป็นสมาชิก 3%ไม่ได้เป็น 1.10 รายจ่ายรวมเฉพาะผู้ตอบแบบสอบถาม 6,000บาท 1.11รายจ่ายรวมของครอบครัว15,000 บาท 1.12หนี้สินปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถามเฉลี่ย8,500บาท 1.13หนี้สินปัจจุบันของครอบครัว13.000บาท 1.14ภาระหนี้สินเกิดจากการประกอบอาชีพ72%การสร้างที่อยู่อาศัย22%การศึกษาบุตร5% อื่น1% 1.15ครัวเรือนของท่านมีการทำบัญชีครัวเรือนหรือไม่ มีการทำบ้างบางครั้ง 50%มีการทำ2%ไม่มีการทำ48% ตอนที่2ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ 2.1ในปัจจุบันท่านมีความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ของท่านในเรื่องต่างต่อไปนี้อย่างไร 2.1.1ชีวิตควมเป็นอยู่และครอบครัว3 2.1.2อาชีพและการทำงาน2 2.1.3รายได้และหนี้สิน2 2.1.4สภาพเศรษฐกิจ2 2,1.5การศึกษา3 2.1.6สภาพสังคม2 2.1.7สภาพแวดล้อม2 2.1.8สวัสดิการสังคม2 2.1.9 ระบบสาธารณูปโภค1 ประปาแย่ที่สุด 2.1.10เส้นทางการคมนาคม3 2.1.11ระบบขนส่งมวลชน2 2.1.3สิทธิตัวเอง3 2.2ปัญหาด้านรายได้ และหนี้สิน ราคาผลการเกษตรตกต่ำ/ราคาถูก 75%รายได้ไม่แน่นอน 22% มีหนี้สิน 3% 2.3ปัญหาด้านอาชีพ และการทำงาน 9. งานที่ทำอยู่ไม่มั่นคง 78%ขาดแคลนทุนในการประกอบอาชีพ21%อื่น ๆ1% ตอนที่ 3สำหรับครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือ ครัวเรือนที่มีการปลูกผัก
    3.1 -เป็นที่ดินของตนเอง 98%เช่าที่ดินคนอื่น 2% 3.2ชนิดของพืชที่ปลูก ยางพารา76%พืชไร่11%พืชสวน 13% 3.3ท่านประอบอาชีพเกษตรกรรมมาเป็นระยะ25ปี 3.4ท่านซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นเงินประมาณปีละ15%ของรายได้ 3.5แหล่งซื้อสารเคมีฆ่าแมลง/สารเคมีกำจัดวัชพืช ร้านค้า/ตลาดนอกชุมชน85%ในชุมชน15% 3.6 ส่วนใหญ่ท่านซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประเภทใด 3.6.1สารเคมี ปุ๋ยไข่มุก ปริมาณการใช้ 2 ครั้ง/ปี 78 %ตัดหญ้า 17% อื่น ๆ5% 3.7ในรอบ1 เดือน ที่ผ่านมาท่านใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืช ไม่ใช้ 3.8แต่ละครั้งที่ท่านพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชท่านใช้เวลา1.30ชั่วโมง 3.9ท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาแล้วเป็นเวลา -25 ปี 3.10ท่านใช้อุปกรณ์ฉีดพ่นแบบใดแบบสะพายหลังใช้มือฉีด95%เครื่องพ่นสะพายหลัง 5% 3.11ใครเป็นคนแนะนำให้ท่านเลือกซื้อ เลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พิจารณาเลือกเอง56%เพื่อนบ้าน 30% อื่น ๆ14% 3.12ท่านหรือคนในครอบครัวเคยแพ้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่เคย78%ไม่เคย 22% 3.13ครอบครัวของท่านเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรหรือไม่ เป็น 94% ไม่เป็น 6% 3.14ท่านเคยอบรมเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ ไม่เคย85%เคย15%จากบริษัทเอกชน 3.15ท่านเคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ เคย จากเพื่อนบ้าน77%โทรทัศน์20% จนท. 3% 3.16ผักที่ครัวเรือนนิยมบริโภคเป็นประจำ ทุกชนิด 3.17ครัวเรือนของท่านต้องการมีอาชีพเสริม รายได้หรือไม่ต้องการ100%ปลูกผัก และงานประดิษฐ์ 3.18ถ้าชุมชนบ้านหลาแขก จัดกิจกรรมตามโครงการกินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก โดยมีกิจกรรมสร้างอาชีพ เสริมรายได้ท่าน/ครัวเรือนของท่านจะเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่ ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม 98%ไม่สะดวกเนื่องจากมีปัญหาเรื่องเวลาอาชีพรับจ้าง 2% ต้องการปลูกผักปลอดสารพิษแซมในร่องสวน 30%และปลูกในพื้นที่ส่วนตัว 70% และทำฮิญาบด้วยมือ

     

    25 25

    8. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่2เรื่องการลงบันทึกรายงายและทำราบงานการเงิน

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. วิทยากร (อ.ไพทูรย์) อธิบายเรื่องการบันทึกข้อมูล การถอดบทเรียน การเขียนผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลผลิต และผลลัพธ์ของกิจกรรมและการบันทึกหลังการจัดกิจกรรม 2.วิทยากรจาก สจรส อธิบายเกี่ยวกับการหักภาษี ณ.ที่จ่าย /การยื่นรายการภาษี/การเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี 3.วิทยากรจาก สจรส อธิบายเกี่ยวกับการเขียนแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ และแบบรายงานการเงินโครงการประจำงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คนมีความเข้าใจเรื่องการบันทึกข้อมูล การถอดบทเรียน การเขียนผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลผลิต และผลลัพธ์ของกิจกรรมและการบันทึกหลังการจัดกิจกรรมมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้จริงในงาน 2..คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ และแบบรายงานการเงินโครงการประจำงวดเพื่อนำไปใช้ในการเขียนรายงนโครงการที่ถูกต้อง

     

    2 2

    9. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน บ้านหลาแขก ครั้งที่ 1

    วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 08.30-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการโครงการร่วมชี้แจ้งเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการกินผักที่ปลูก และฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก  กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ งบประมาณ และการประสานความร่วมมือต่างจากภาคีเครือข่าย
    2. มีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการร่วมกัน 3.การนัดประชุมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขก 1 ชุด ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน แกนนำชุมชน 5 คน ประกอบด้วย จนท.รพสต.บ้านถลุงทองอสม. โต๊ะอิหม่าม รองนายก อบตต.หินตก และปราชญ์ชุมชนด้านการเกษตรพอเพียง ที่มีศักยภาพเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในชุมชนและเข้าใจแนวทางการพัฒนาตามกิจกรรมของโครงการ กินผักที่ปลูก และฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก
      2.สภาชุมชนมีการแบ่งบทบาทการดำเนินกิจกรรมโดยมีรองนายยก อบต เป็นประธานสภา และเตรียมประชุมกิจกรรมในครั้งถัดไป

     

    20 20

    10. ทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 29 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. วิทยากรโดย นายปรีชา เมืองเดิม ครูบัญชีอาสาจังหวัด นครศรีธรรมราช ร่วมบรรยาย และฝึกการทำบัญชีครัวเรือน โดยการลองทำบัญชีรายรับ จ่าย ของ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา และร่่วมกันวิเคราะห์
    2. ให้แต่ละครัวเรือนกลับไปทำบัญชีครัวเรือนของตนเอง มา 1เดือน
    3. นัดพบปะ พูดคุยกันอีกครั้ง ในวันที่  5 มีนาคม 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1 .สมาชิกกลุ่มจำนวน 60 ครัวเรือน สามารถทำ วิเคราะห์และใช้บัญชีครัวเรือนได้ร้อยละ 80 2. เกิดการตื่นตัว และร่วมตัวของกลุ่มมุสลิมะห์ (ผู้หญิง)ในชุมชน ในเรื่อง การดูแล รายรับ รายจ่ายในครัวเรือนของตน และชุมชนโดยภาพรวม 3. ชุมชนมีการบอกต่อ และมีการถ่ายทอดสู่ครัวเรือนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

     

    60 60

    11. เวทีคืนข้อมูล

    วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จนท.รพ.สต.บ้านถลุงทอง แจ้งภาวะสุขภาพโดยทั่วไปของประชาชนหมู่3 ต.หินตก และการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ 2.ผู้ใหญ่บ้าน นายสมบูรณ์ดารากัย สรุปคืนข้อมูลจาการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนสรุปแบบสอบถาม โครงการกินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก ตอนที่1.ข้อมูลทั่วไป 1.1เพศชายจำนวน18%หญิง 82% 1.2 อายุ15 – 19จำนวน18ราย
      20 – 29 จำนวน17 ราย 30– 39จำนวน21 ราย 40 – 49จำนวน 54ราย
      50 – 59จำนวน46ราย 60ปี ขึ้นไป8ราย 1.3นับถือศาสนา อิสลาม98% ศาสนาพุทธ 2% 1.4การศึกษาประถมศึกษา 38%มัธยมศึกษา 48% สูงกว่า14% 1.5อาชีพเกษตรกร 72%ค้าขาย13%รับจ้าง8% อื่น ๆ7% 1.6รายได้5,000 – 10,000บาท60%10,001 – 15,000บาท 31 %อื่น ๆ29% 1.7รายได้รวมครัวเรือน10,001 – 15,000บาท 1.8โดยปกติท่านได้ออมเงินหรือไม่มีการออม 41% ไม่มีการออม59% 1.9ท่านหรือสมาชิกเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์สัจจะของหมู่บ้าน 97% เป็นสมาชิก 3%ไม่ได้เป็น 1.10 รายจ่ายรวมเฉพาะผู้ตอบแบบสอบถาม 6,000บาท 1.11รายจ่ายรวมของครอบครัว15,000 บาท 1.12หนี้สินปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถามเฉลี่ย8,500บาท 1.13หนี้สินปัจจุบันของครอบครัว13.000บาท 1.14ภาระหนี้สินเกิดจากการประกอบอาชีพ72%การสร้างที่อยู่อาศัย22%การศึกษาบุตร5% อื่น1% 1.15ครัวเรือนของท่านมีการทำบัญชีครัวเรือนหรือไม่ มีการทำบ้างบางครั้ง 50%มีการทำ2%ไม่มีการทำ48% ตอนที่2ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ 2.1ในปัจจุบันท่านมีความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ของท่านในเรื่องต่างต่อไปนี้อย่างไร 2.1.1ชีวิตควมเป็นอยู่และครอบครัว3 2.1.2อาชีพและการทำงาน2 2.1.3รายได้และหนี้สิน2 2.1.4สภาพเศรษฐกิจ2 2,1.5การศึกษา3 2.1.6สภาพสังคม2 2.1.7สภาพแวดล้อม2 2.1.8สวัสดิการสังคม2 2.1.9 ระบบสาธารณูปโภค1 ประปาแย่ที่สุด 2.1.10เส้นทางการคมนาคม3 2.1.11ระบบขนส่งมวลชน2 2.1.3สิทธิตัวเอง3 2.2ปัญหาด้านรายได้ และหนี้สิน ราคาผลการเกษตรตกต่ำ/ราคาถูก 75%รายได้ไม่แน่นอน 22% มีหนี้สิน 3% 2.3ปัญหาด้านอาชีพ และการทำงาน 9. งานที่ทำอยู่ไม่มั่นคง 78%ขาดแคลนทุนในการประกอบอาชีพ21%อื่น ๆ1% ตอนที่ 3สำหรับครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือ ครัวเรือนที่มีการปลูกผัก
      3.1 -เป็นที่ดินของตนเอง 98%เช่าที่ดินคนอื่น 2% 3.2ชนิดของพืชที่ปลูก ยางพารา76%พืชไร่11%พืชสวน 13% 3.3ท่านประอบอาชีพเกษตรกรรมมาเป็นระยะ25ปี 3.4ท่านซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นเงินประมาณปีละ15%ของรายได้ 3.5แหล่งซื้อสารเคมีฆ่าแมลง/สารเคมีกำจัดวัชพืช ร้านค้า/ตลาดนอกชุมชน85%ในชุมชน15% 3.6 ส่วนใหญ่ท่านซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประเภทใด 3.6.1สารเคมี ปุ๋ยไข่มุก ปริมาณการใช้ 2 ครั้ง/ปี 78 %ตัดหญ้า 17% อื่น ๆ5% 3.7ในรอบ1 เดือน ที่ผ่านมาท่านใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืช ไม่ใช้ 3.8แต่ละครั้งที่ท่านพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชท่านใช้เวลา1.30ชั่วโมง 3.9ท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาแล้วเป็นเวลา -25 ปี 3.10ท่านใช้อุปกรณ์ฉีดพ่นแบบใดแบบสะพายหลังใช้มือฉีด95%เครื่องพ่นสะพายหลัง 5% 3.11ใครเป็นคนแนะนำให้ท่านเลือกซื้อ เลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พิจารณาเลือกเอง56%เพื่อนบ้าน 30% อื่น ๆ14% 3.12ท่านหรือคนในครอบครัวเคยแพ้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่เคย78%ไม่เคย 22% 3.13ครอบครัวของท่านเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรหรือไม่ เป็น 94% ไม่เป็น 6% 3.14ท่านเคยอบรมเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ ไม่เคย85%เคย15%จากบริษัทเอกชน 3.15ท่านเคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ เคย จากเพื่อนบ้าน77%โทรทัศน์20% จนท. 3% 3.16ผักที่ครัวเรือนนิยมบริโภคเป็นประจำ ทุกชนิด 3.17ครัวเรือนของท่านต้องการมีอาชีพเสริม รายได้หรือไม่ต้องการ100%ปลูกผัก และงานประดิษฐ์ 3.18ถ้าชุมชนบ้านหลาแขก จัดกิจกรรมตามโครงการกินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก โดยมีกิจกรรมสร้างอาชีพ เสริมรายได้ท่าน/ครัวเรือนของท่านจะเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่ ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม 98%ไม่สะดวกเนื่องจากมีปัญหาเรื่องเวลาอาชีพรับจ้าง 2% ต้องการปลูกผักปลอดสารพิษแซมในร่องสวน 30%และปลูกในพื้นที่ส่วนตัว 70% และทำฮิญาบด้วยมือ 3.ที่ประชุมมีการเสนอแนะและหาข้อตกลงกัน เรื่่องพืชที่จะเลือกปลูกแซมในร่องสวนยาง ทีปลูกแล้วได้ผลผลิตดี เป็นที่ต้องการของชุมชนและตลาด เช่น กล้วย พริก บัวบก ชะอม มะเขือเป็นต้น และการปลูกโดยการไม่ใช้สารเคมีจริงๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดข้อมูลชุมชน 1ชุด และมีการคืนข้อมูลให้ชุมชนได้รับทราบ โดยกิจกรรมทั้งหมดทำโดยบุคคลในชุมชนเองและคณะกรรมการโครงการ ซึ่งข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลจริงในพื้นที่
    2. เกิดแผนงานการทำกลุ่มอาชีพ 2กลุ่ม คือกลุ่มทำผ้าฮิญาบทำมือ ของกลุ่มสตรีโดยรับสมัครสมาชิก 30 คน/ครัวเรือน โดยมีการเสนอนาง ชะเปี๊ยะ บุญอารี เป็นประธานกลุ่มทำผ้าฮิญาบ และกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษในร่องสวนยาง มีสมาชิกสมัครเข้าร่วม30 ครัวเรือนโดยมีนายแจ๊ะและ ถนอมพลเป็นผู้ประธานกลุ่ม
      3.เกิดแผนการลดการใช้สารเคมีในชุมชนคือ
      3.1สมาชิกกลุ่ม ต้องเข้าร่วมกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักของหมู่บ้าน และนำไปใช้ในแปลงผักของตนเองโดยห้ามใช้สารเคมี 3.2 ส่งเสริมการนำมูลสัตว์ที่มีอยู่ในชุมชน มาใช้ในแปลงผักมากขึ้น 3.3 จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลกิจกรรม

     

    100 100

    12. เรียนรู้การสร้างรายได้

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดเวทีแลกเปลียนเรียนรู้ ร่วมคิด วิเคราะห์เกียวกับอาชีพในชุมชน ที่สามารถสร้างรายได้ ให้ครัวเรือนและชุมชนได้ โดยนาง หะลีม๊ะนุกูล ตัวแทนกลุมสตรี และนาย ปรีชา เมืองเดิม กลุ่มเกษตรอินทรีย์
    2.ครัวเรือนมีการวางแผนร่วมกันในการหาแนวทาง วิธีการอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่่่งที่ชุมชนมีอยู่เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมกลุ่ม เช่น วิทยากร แบบผ้าฮิญาบ แปลงผัก ร่องสวนตัวอย่าง และร่องสวนสาธิต เป็นต้น
    2.รับสมัคร และทำทะเบียนกลุ่มการสร้งอาชึพเสริม 2กลุ่ม จำนวน 60 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ สร้างแนวคิด ในการทำอาชีพเสริมในครัวเรือนที่ตนเองถนัดและสามารถทำได้
    2. ได้อาชีพเสริม 2 อาชีพ จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ชุมชนต้องการทำ คือการปลูกผักแซมในร่องสวนยาง และการทำผ้าคลุมฮิญาบในกลุ่มสตรี และชุมขนมีการวางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มอาชีพ

    3. มีทะเบียนสมาชิกกลุ่มและประธานกลุ่ม แต่ละกลุ่มๆละ30ครัวเรือนรวมจำนวน 60 ครัวเรือน

     

    80 80

    13. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน บ้านหลาแขกครั้ที่ 2

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30-12.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมชี้แจงกิจกรรมของโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว และที่จะดำเนินการต่อไป 2.ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย จากการทำกิจกรรมที่ผ่านมา 3.กำหนดการวางแผนงานและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานในการจัดกิจกรรมให้ชัดเจน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขกจำนวน 20 คนมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือในเรื่องการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการเป็นอย่างดีมากขึ้น
    2.ได้ประชุมชี้แจงกิจกรรมของโครงการที่ดำเนินการไปแล้วคือ1.เรื่องการจัดสร้างแบบสอบถามครัวเรือน 2. การเก็บข้อมูลครัวเรือน 3 การวิเคราะห์ข้อมูล และการคืนข้อมูลชุมชน ซึ่งแต่ละกิจกรรมสมาชิกให้ความร่วมมือ และเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี 3.สภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขกร่วมวิเคราะห์ ปัญหาที่ผ่านมาคือ ในการประชุมและทำกิจกรรมผู้ชายในชุมชน (พ่อบ้าน)ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการประชุม และการจัดกิจกรรมเพราะไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรม แนวทางแก้ไขคือให้ผ้หญิง(แม่บ้าน )เป็นผู้นำข่าวไปบอกเล่าสู่กันฟังในครัวเรือน
    และสภามีความตั้งใจในการสนับสนุนการสร้างอาชีพเสริมในชุมชน บ้านหลาแขก ทั้ง 2 อาชีพ 4.มีการสรุปรายรับ -รายจ่ายงบประมาณตามที่โครงการได้รับมา งวดที่1 และมีการวางแผนการจัดกิจกรรมตามโครงการครั้งต่อไป คือ การทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่2

     

    20 20

    14. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม เรื่องการทำรายงาน ง1 และ ส1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1คณะกรรมการโครงการเตรียมความพร้อมของเอกสารหลักฐานด้านการเงินและการลงบันทึกกิจกรรมโครงการมให้พร้อมเพื่อรอรับการตรวจจาก จนท สจรส 2 จนท สจรส ตรวจสอบเอกสาร และการบันทึกรายงานกิจกรรมโครงการพร้อมให้คำแนะนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการมีการจัดทำเอกสารการเงินและการยันทึกรายงานกิจกรรมครบถ้วน แต่ยังขาดความถูกต้องในยางส่วนได้รับคำแนะนำจาก จนท สจรส เพื่อการแก้ไขก่อนสระปปิดงวด ที่1

     

    2 2

    15. ทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 25 มีนาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ช่วงเช้า วิทยากร โดยตัวแทนจากพัฒนากร อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัด นครศรีธรรมราช แจกแบบสมุดบัญชีอย่างง่ายให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และอธิบายวิธีการทำบัญชีครัวเรือน หลังจากนั้นให้สมาชิกกลุ่มเป้าหมายทดลองทำบัญขีด้วยตนเองพร้อมการซักถาม

    • ช่วงบ่ายกลุ่มเป้าหมาย เยาวชนและตัวแทนครัวเรือน จำนวน 60 คน สรุปผลการทำและการววิเคราะห์ครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือนครัวเรือนของตนเองโดยมีพัฒนากร อำเภอ 1 ท่าน เป็นวิทยากรร่วมวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยกเรียนรู้ฐานะบัญชีครัวเรือนประจำเดือนติดลบสมดุลย์ และเกินดุลย์ เพื่อให้ทุกคนในครัวเรือนรับรู้ร่วมกัน มีการทำนวัตกรรมความรู้ของกลุ่มโดยการทำ สติกเกอร์สัญญาณเตือนภัย 3 สี เพื่อติดไว้ที่ปฏิทินประจำบ้านของสมาชิก คือ สติกเกอร์สีแดงแสดงถึง ฐานะบัญชีครัวเรือนประจำเดือนติดลบ ,สติกเกอร์สีเหลืองแสดงถึง ฐานะบัญชีครัวเรือนประจำเดือนติดสมดุลย์ และสีเขียวแสดงฐานะบัญชีเกินดุลย์ เพื่อให้ทุกคนในครัวเรือนรับรู้ร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มเป้าหมาย เยาวชนและตัวแทนครัวเรือน จำนวน 60 คน สรุปผลการทำและการวิเคราะห์ครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือนครัวเรือนของตนเองมีการสร้างนวัตกรรมกลุ่มโดยการทำ สติกเกอร์สัญญาณเตือนภัย 3 สี เพื่อติดไว้ที่ปฏิทินประจำบ้านของสมาชิก คือ สติกเกอร์สีแดงแสดงถึง ฐานะบัญชีครัวเรือนประจำเดือนติดลบสติกเกอร์สีเหลืองแสดงถึง ฐานะบัญชีครัวเรือนประจำเดือนสมดุลย์และสีเขียวแสดงฐานะบัญชีเกินดุลย์ เพื่อให้ทุกคนในครัวเรือนรับรู้ร่วมกัน และสมาชิกในครัวเรือนได้ตระหนัก และวางแผนทางการเงินร่มกัน

     

    60 60

    16. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขก ครั้งที่3

    วันที่ 30 เมษายน 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริณี ทัศระเบียบ ชี้แจงกิจกรรมที่ดำเนินไปแล้วแก่สมาชิก สภาผู้นำบ้านหลาแขก

    2 ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริณี ทัศระเบียบ ชี้แจงงบประมาณการเบิกจ่ายเงินงวดที่ 1แก่สมาชิก สภาผู้นำบ้านหลาแขก

    3.ผู้รับผิดชอบโครงการและสภาผู้นำบ้านหลาแขกได้ร่วมกันวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ในวันที่ 10-11 พ.ค.59

    4.มึการมอบหมายงานแก่คณะกรรมการ สภาผู้นำทุกคนในการจัดกิจกรรมเพื่อการขับเคลื่อนโครงการต่อ

    5.จากที่ประชุมสภาผู้นำบ้านหลาแขกได้เน้นให้มีการปฏิบัติกิจกรรม (การปลูกผักปลอดสารเคมีในร่องสวน แลการทำผ้ฮฺญาบด้วยมือ) ให้เป็นรูปธรรมเพื่อการต่อยอดต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำบ้านหลาแขก 20 คน มีการประชุมปรึกษาหารือการทำกิจกรรมและการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง และมีความคิดเห็นร่วมกันที่จะให้กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นมีการต่อยอด และเป็นรูปธรรม

     

    20 20

    17. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขก ครั้งที่4

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขก กรรมการหมู่บ้าน แกนนำ ชุมชนจำนวน 20 คน ได้ประชุม ดังนี้

    • วาระที่ 1 ทบทวนวาระการประชุมที่ผ่านมา

    • วาระที่ 2 ประธานโครงการชี้แจงสาเหตุความล้าช้าของโครงการและการโอนเงินงวดที่ 2ของโครงการ

    • วาระ ที่ 3 กำหนดการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขก กรรมการหมู่บ้าน แกนนำ ชุมชนจำนวน 20 คน มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับการโอนเงินงวดที่2 ของโครงการที่มีความล่าช้า และมีการวางแผนการทำกิจกรรมกันต่อหลังจากมีการโอนงบประมาณ 2.มีการรวมกลุ่มและมีความพร้อมของกลุ่มทำผ้าฮิญาบ

     

    20 20

    18. ทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30-16.00ฯ น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นางมาริณี ทัศระเบียบ ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมก่อนเริ่มปฏิบัติกิจกรรม

    2.นายร่มหลี กายแก้วปราชญ์ชุมชนด้านการเกษตรอินทรีย์ สอนและแนะนำเรื่องการทำน้ำหมักนจากเศษพืชผักที่เหลือใชในครัวเรือ และซากสัตว์เช่นหัวปลา เครื่องในไก่ วัว แพะ ที่ไม่ใช้รับประทานแล้ว นำมาหมักในถังหมัก โดย 1. สูตรใช้เศษผัก1.เศษอาหาร/ผัก 3 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำสะอาด (ไร้คลอรีน) 3 ส่วน +น้ำอีเอ็ม 1/2 ส่วน2.สูตรจากผลไม้กล้วยน้ำว้า 2 กิโล หรือ มะละกอสุก 2 กิโล หรือฟักทองแก่ 2 กิโล + น้ำสะอาด (ไม่มีคลอรีน) 10 ลิตร + น้ำอีเอ็ม 40ซีซี + กากน้ำตาล 40ซีซีแล้วใส่ในถังปิดฝาให้สนิท ทิ้งในที่ร่ม เปิดมาคนทุกๆ 3 วัน หรืออย่างน้อยทุกๆ 7 วัน เพื่อไล่ก๊าซด้วย คนเสร็จแล้วรีบปิดฝาเมื่อครบ ระยะหมัก (อย่างน้อย 1 เดือน) ก็กรองเอาน้ำมาใช้ กรองใส่ขวด และการในไปใช้สัดส่วนผสมกับน้ำ ผสมน้ำ 10 ลิตร / น้ำหมัก 1-2 ช้อนชา (รดผัก) ผสมน้ำ 5 ลิตร / น้ำหมัก 1 ช้อนชา (รดต้นไม้ใหญ่)และถ้าเราทำเล็กๆน้อย สามารถทำน้ำหมักในถังใบเล็กๆ หรือกล่องท็อปเปอร์แวร์ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรม ทั้งชาย และหญิง 40 เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในการทำเกษตร ลดการใช้สารเคมี

    • เกิดกลุ่มฐานเรียนรู้ทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพในชุมชุนบ้านหลาแขกได้ต่อเนื่อง 3 กลุ่มโดยการแบ่งตามโชนบ้าน

    • กลุ่มเกิดความรู้ ทักษะในการทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพจากเศษพืชผักที่เหลือใชในครัวเรือนและสามารถต่อยอดต่อไปสู่เพื่อนบ้านใกล้เคียง

     

    40 40

    19. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน บ้านหลาแขกครั้งที่ 5

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 12:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.พี่เลี้ยงพบปะสภาผู้นำชุมชน บ้านหลาแขกและร่วมประชุม

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริณีทัศระเบียบรายการงบประมาณรายรับ ารยจ่ายของโครงการในงวดงบที่ผ่านมา และแจ้งยอดเงินที่รับมาในงวดที่ 2 จำนนวน 91060 บาท

    3.ผู้ใหญ่บ้านม.3 ต.หินตกชี้แจงกิจกรมที่ต้องขับเคลื่อนต่อ คือ การทำ้าฮิญาบด้วยมือ และการปฏิบัติการทำปุ๋ยจากน้ำหมัก และสารกำจัดศัตรูพืชโดยได้ มีการมอบหมายงานให้นางช่อเปิ๊ยะบุญอารีย์และนายยะโกบ เป็นผู้รับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ และกำหนดวันกิจกรรมในวันที่3 และที่8 สิงหหาคมตามลำดับ 4. คณะกรรมการโครงการซักถามปัญหาต่างๆ อาทิ การแกปัญหาการทำกิจกรรมล่าช้าไม่เป็นไปตามปฏิทิน การแก้ปัญหาความไม่เข้าใจของชาวบ้านบางกลุ่มในเรื่องโครงการ การจัดซื้อผ้าในการทำผ้าฮิญาบการเตรียมการจัดบู๊ท ในงานรวมพล สสสภาคใต้พี่เลี้ยงร่วมตอบปัญหาและแก้ข้อข้องใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.พี่เลี้ยงพบปะสภาผู้นำชุมชน บ้านหลาแขก จำนวน 15 คน ได้ทำความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ในการทำกิจกรรม

    2.มีการมอบหมายงานในกิจกรรมต่างๆ และร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการอย่างมีระบบโดยสภาผู้นำชุมชน บ้านหลาแขก

    3.มีการเตรียมการจัดบู๊ทของโครงการ กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บานหลาแขก ในงานรวมพลคนสร้างสุข ภาคใต้ วันที่3-5 ตุลาคม 2559นี้

     

    20 15

    20. ปฎิบัติการทำกลุ่มผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ)

    วันที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เมื่อสมาชิกกลุ่มเป้าหมายมาพร้อมกันที่จุดนัดหมาย คือ บ้านนางซะเปี๊ยะ บุญอารีย์ ได้ร่วมพูดคุยถึงผ้าฮิญาบที่กลุ่มสมาชิกต้องการทำ โดยปราชญ์ชุมชน คือ นางมาริณี ทัศระเบียบ และนางรัตนา หอมพันธ์ ได้บอกวิธีทำรูปแบบ ลวดลาย และสาธิตพร้อมลงมือปฏิบัติเรืองการทำกลุ่มผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ) ให้แก่กลุ่มสมาชิกสตรีจำนวน 30 คน

    2.มีมติของกลุ่มคือให้ทำผ้าฮิญาบสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้ผ้าสีดำในการตัดเย็บและลวดลาย สีสัน ให้เหมาะสม ไม่ฉูดฉาดจนเกินไป หลักสูตรการเรียนการสอนคือ 3.กลุ่มลงปฏิบัติโดยมีปราชญ์ชุมชน เป็นผู้คอยแนะนำ 4.ได้ผ้าฮิญาบที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุจำนวน 15 ผืนซึ่งจะนำไปมอบให้ผู้สูงอายุในชุมชนในกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดกลุ่มผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ) 1กลุ่ม จำนวน 30 ครัวเรือน ที่มีการเรียนรู้ และมีการฝึกทักษะร่วมกัน

    2. เกิดความรัก สามัคคีของคนในชุมชนหลังจากมีการรมกลุ่มและได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

    3.มีการใช้ต้นทุนปราชญ์ในชุมชน ที่มีความรู้เรื่องการทำผ้าคลุมผมผู้หญิงมุสลิม ทำให้เกิดการแบ่งปัน เอื้ออาทร

     

    30 30

    21. ปฎิบัติการทำกลุ่มผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ)

    วันที่ 4 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นาง มาริณี ทัศระเบียบ และนางรัตนา หอมพันธ์ซึ่งเป็นปราชญืในชุมชน แนะนำ การเลือกใช้ผ้า และรูปแบบการทำผ้าฮิญาบ และการปักลวดลายต่างๆเพื่อความสวยงาม เข้ากับลักษณะเนื้อผ้า และรูปแบบการนำไปใช้

    1. มีการลงมือปฏิบัติโดยให้ทุกคนทำคนละ 1 ผืน และ ใช้อุปกรณ์อื่นๆร่วมกัน

    3.มีการแนะนำเพิ่มเติมเป็นรายลุคคลระหว่าการทำ จากวิทยากรทั้งสองท่าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิด กลุ่มผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ) 1 กลุ่ม จำนวน 30 ครัวเรือน ที่สามารถทำผ้าฮิญาบด้วยมือ ใช้เองในครัวเรือน และผู้หญิงวัยแรงงาน จำนวน 25 คน ผู้สูงอายุ5 คน มีการพัฒนาฝีมือในการทำผ้าฮิญาบเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้แก่ครัวเรือนได้

    2. เกิดความรัก สามัคคีของคนในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ระหว่างการทำกลุ่ม เช่น การแก้ปัญหาครัวเรือนของสมาชิกการแนะนำตักเตือน และสอนกาปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ถูกต้องจากผู้สสูงวัยสู่รุ่นลูก หลานในกลุ่ม

    3.มีการใช้ต้นทุนปราชญืในชุมชนเพื่อเป็นวิทยากร ซึ่งสมาชิกสามารถฝึกฝนได้ตลอดเวลา

     

    30 30

    22. พัฒนาศักยาภาพlสภาผู้นำชุมชน บ้านหลาแขกครั้ง 6

    วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายสมบูรณ์ ดาราภัย ผู้ใหญ่บ้าน และ คณะกรรมการโครงการร่วมประชุม ชี้แจงกิจกรรมโครงการที่ทำไปแล้ว มีปัญหา คือ ขาดการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการอย่างทั่งถึงและต่อเนื่องทำให้กลุ่มเป้าหมายบางคนไม่ทราบ มีการแก้ไขคือ ระบุวันทำกิจกรรมให้ชัดเจน และล่วงหน้าหลาย ๆ วันก่อนจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง และแบ่งทีม คณะกรรมการโครงการแจ้งข่าวตามโซนบ้านเป็น 3 โซน

    2. มีการนัดหมาย และเลือกพื้นที่เพื่อทำกิจกรรม ซอแรงทำแปลงผัก ซึ่งในที่ประชุมตกลงเลือกพื้นที่ร่องสวนยางของนางฟารีดา พินิจทรัพย์ และนางอารี พุทธิพงค์ซึ่งนัดหมายในวันที่ 13 -14 สิงหาคม 2559ในการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.แกนนำจำนวน20 คนมีการประชุมเตรียมกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมในชุมชน เกิดกติกาชุมชนเพื่อให้การจัดการขยายผลการพัฒนากลุมอาชีพเสริม

    2.เกิดกลุ่มในการทำงานร่วมกันในด้านการเกษตร การปลุกผักปลอดสารพิษโดยทำเป็นแปลงสาธิตของชุมชน

     

    20 20

    23. แลกแรงลงแปลงผักในร่องสวน

    วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30-16.00ฯ น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นางมาริณีทัศระเบียบ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจ้งวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และสถานที่ ลงแปลงปลูกผักร่องสวนคือวันที่1 ลงแปลงร่องสวนบ้านนางฟาริดาพินิ๗ทรัพย์เลขที่191/4 ม.3 ต.หินตก โดยการปลูกผักกูดผักเหลียง และผักหวาน ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชน ชนฃนนิยมบริโภค และกลุ่มเป้าหมายหาต้นพันธ์ มาเองจากบ้าน และใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักจากศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ในหมู่บ้าน

    2.มีการปรับพื้นที่แปลงเกษตรก่อนลงมือปลูกผัก

    3.สมาชิกช่วยกันลงแรงปลูกผักแซมในสวนยาง

    4.ให้เจ้าของสวนยางพารา และสมาชิกกลุ่มร่วมกันดู ใส่ปุ๋ย และรดน้ำ

    1. ผลผลิตที่ได้ สมาชิก และเพื่อนบ้านใกล้เคียงสามารถนำไปบริโภคได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดกลุ่มเกษตรกรปลูกผัก พืช แซม ในร่องสวนปลอดสารเคมี จำนวน 30 ครัวเรือน

    2. เกิดความรัก สามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันของคนในชุมชน

    3.ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

    4.คนในชุมชนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย

     

    50 50

    24. แลกแรงลงแปลงผักในร่องสวน

    วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30-16.00ฯ น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นางมาริณีทัศระเบียบ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจ้งวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และสถานที่ ลงแปลงปลูกผักร่องสวนคือวันที่1 ลงแปลงร่องสวนบ้านนางอารีพุทธิพงค์ เลขที่67 ม.3 ต.หินตก โดยการปลูกผักกูดผักเหลียง ตะไคร้และผักโขม ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชน ชนฃนนิยมบริโภค และกลุ่มเป้าหมายหาต้นพันธ์ มาเองจากบ้าน และใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักจากศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ในหมู่บ้าน

    2.มีการปรับพื้นที่แปลงเกษตรก่อนลงมือปลูกผัก

    3.สมาชิกช่วยกันลงแรงปลูกผักแซมในสวนยาง

    4.ให้เจ้าของสวนยางพารา และสมาชิกกลุ่มร่วมกันดู ใส่ปุ๋ย และรดน้ำ

    5.ผลผลิตที่ได้ สมาชิก และเพื่อนบ้านใกล้เคียงสามารถนำไปบริโภคได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดกลุ่มเกษตรกรปลูกผัก พืช แซม ในร่องสวนปลอดสารเคมี จำนวน 30 ครัวเรือน
    2. เกิดความรัก สามัคคี และความมีน้ำใจของคนในชุมชน
    3. เกิดจิตสาธารณะในกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม มีการแบ่งปัน เอื้ออาทร

     

    50 50

    25. แลกเปลี่ยนเรียนรูู้ผ้าฮิญาบ

    วันที่ 24 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00_16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1 นางฮาลิมะนุกูล วิทยากร อธิบายถึงการเลืกผ้า เลือกสี ผ้า และการใช้วัสดุตกแต่งเพื่อผ้าฮิญาบให้สวยงาม และมีความคงทนในการใช้งาน ไม่หลุดง่าย

    2 กลุ่มสมาชิกทำผ้าฮิญาบเลือกผ้าสีเทา เป็นสีผ้าฮิญาบประจำกลุ่มบ้านหลาแขก

    3 สมาชิกทุกคนทำผ้าฮิญาบแบบสี่เหลี่ยมคนละ1 ชิ้นและเลือกแบบตามที่ชอบ อีก 1ชิ้น ให้ทำด้วยมือ และนัดตรวจงาน อีก 7วัน

    4 วิทยากรสอนการแต่งลวดลายผ้าโดยใช้ผงกากเพ็ชร และกาว เพื่อเพิ่มความสวยงามของผ้าฮิญาบและผ้าถุง

    5 มีการวางแผนการเปิดศูนย์ผ้าฮิญาบ และขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ชุมชน ม 3 บ้านหลาแขก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มสตรีบ้านหลาแขก 30 คน ได้ร่วมกันทำผ้าฮิญาบ โดยการพัฒนารูปแบบ ลวดลาย ผ้าคลุมศรีษะที่เป็นเอกลักษญ์ ของชุมชนบ้านหลาแขก

    • มีการประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการต่อยอดเปิดศูนย์ผ้าฮิญาบ และขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ชุมชน ม 3 บ้านหลาแขก

    • การผลิตผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ) ทำให้กลุ่มผู้หญิงมีงานทำ มีรายได้ และได้พบปะกับเพื่อน ๆ ในชุมชน ทำให้ลดความเครียด มีความสุขกับงานที่ทำ

     

    30 40

    26. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ้าฮิญาบ

    วันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1 นางฮาลิมะนุกูล และนางมาริณีทัศระเบียบ วิทยากร อธิบายถึงการใช้วัสดุตกแต่งเพื่อผ้าฮิญาบให้สวยงาม และมีความคงทนในการใช้งาน ไม่หลุดง่าย

    2 กลุ่มสมาชิกทำผ้าฮิญาบเลือกผ้าสีเทา เป็นสีผ้าฮิญาบประจำกลุ่มบ้านหลาแขก

    3 สมาชิกทุกคนทำผ้าฮิญาบแบบสี่เหลี่ยมคนละ1 ชิ้นและเลือกแบบตามที่ชอบ อีก 1ชิ้น ให้ทำด้วยมือ และนัดตรวจงาน อีก 7 วัน

    4 วิทยากรสอนการแต่งลวดลายผ้าถุงโดยใช้ผงกากเพ็ชร และกาว เพื่อเพิ่มความสวยงามของผ้าฮิญาบและผ้าถุง

    5 มีการตรวจงานและแนะนำแก้ไขชิ้นงานที่มอบหมายไปในวันที่ 24สิงหาคม 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มสตรีบ้านหลาแขก 30 คน เกิดการพัฒนารูปแบบ ลวดลาย ผ้าคลุมศรีษะและผ้าถุงที่เป็นเอกลักษญ์ ของชุมชนบ้านหลาแขก

    • เกิดความรักความสามัคคีในกลุ่มสตรีนชุมชน

    • เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักปฏิบติทางศาสนาอิสลามจากผู้ที่มีความรู้ถ่ายทอดระหว่างการทำผ้าฮิญาบ

    • มีการประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการต่อยอดเปิดศูนย์ผ้าฮิญาบ และขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ชุมชน ม 3 บ้านหลาแขก

     

    30 30

    27. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขก ครั้ง 7

    วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30-12.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นายสมบูรณ์ ดาราภัย ผู้ใหญ่บ้าน ทักทายต้อนรับสมาชิกที่ประชุม และเปิดประชุมแจ้งเรืองช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องการแจ้งให้หญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้านไปลงชื่อที่เทศบาลตำบลหินตกเพื่อรับเงินสงเครสะห์ตามหลักเกณฑ์และแจ้งการลงทะบียนการสงเคราะห์ยางพารา สำหรับเกษตรกรในหมู่บ้านที่ต้องการตัดต้นยางเก่าหมดอายุแล้วปลูกใหม่ทดแทน โดยมาแจ้งที่ทำการผู้ใหญ่บ้านภายในวันที่10 กันยายน 2559

    2.นางมาริณีทัศระเบียบแจ้งกิจกรรมที่โครงการดำเนินไปแล้วได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดีโดยเฉพาะการทำผ้าฮิญาบในกลุ่มสตรี ได้รับความร่วมมือ และความสนใจเป็นอย่างดี มีการนัดพบกลุ่มทุกบ่ายวันจันทร์ ถึงแม้จะหมดงบสนับสนุนตามกิจกรรมของโครงการ แต่ต้องการต่อยอดต่อไป เพราะ ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้ผ้าฮิญาบใช้เอง และสามารถขายเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนด้วย

    3.นายร่มหลีปราชญ์ด้านเกษตรอินทรีย์ เสนอการทำปุ๋ยหมักจากเศษขี้ยางป่น เพื่อการใช้ปลูกผักในร่องสวน และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนมติที่ประชุมเห็นด้วย และนัดทำกิจกรรมกันที่กลุ่มปุ๋ยหมู่บ้านวันที่ 6 ก.ย.2559 เวลา 09.30 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขก จำนวน 20 คน ที่เข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนโครงการได้

    2.เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ และวางแผนการทำงาน

    3.สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

     

    20 20

    28. คืนข้อมูลการทำกิจกรรมตามโครงการ

    วันที่ 27 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นายสมบูรณ์ดาราภัย ผู้ใหญ่บ้านชี้แจ้งวัตถุประสงค์การประชุม คือ การคืนข้อมูลกิจกรรมโครงการ กินผักที่ปลูก ฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก และการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเรื่องการคัดกรองเยาวชนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดในหมู่บ้าน รวมทั้งการนัดทำกิจกรรมพัฒนากุโบร์ ก่อนวันฮารีรายอ 12 ก.ย.59 นี้

    2.นางมาริณีทัศระเบียบ พูดคุยถึงการทำกิจกรมของโครงการที่ผ่านมาทั้งหมด รวมทั้งให้สมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งสรุปประเด็นได้แก่ 2.1 การทำกิจกรรมยังขาดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ 2.2 สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย และครัวเรือนที่สนใจ มีความพอใจต่อกิจกรรมที่ทำในหมู่บ้านเพราะทำให้เกิดความรู้ สามารถพัฒนาคน สร้างงานและสร้างรายได้เสริมแก่ครัวเรือนได้จากการปลูกผัก และทำผ้าฮิญาบ 2.3 ปัญหาในชุมชนเช่นการแบ่งพรค แบ่งพวกยังเป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการอยู่บ้างเล็กน้อย 2.4 คณะกรรมการโครงการและสมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีการทำงานร่วมกันทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันมากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ประชาชน 100 คน ได้รับฟังการชี้แจงข้อมูลการดำเนินโครงการโดยผู้รับผิดชอบโครงการ ทำให้คนในชุมชนรับทราบข้อมูลที่แท้จริง และได้แก้ปัญหาต่างๆร่วมกัน

    2.คณะกรรมการโครงการและสมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีการทำงานร่วมกันทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันมากขึ้น

     

    100 100

    29. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขกครั้งที่8

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-12.30น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นายสมบูรณ์ดาราภัย ผู้ใหญ่บ้านเปิดการประชุมรายงานกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา ว่ากลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในกิจกรรมโครงการเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทำผ้าฮิญาบในกลุ่มสตรี ซึ่งมีสตรีเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า30คัวเรือน เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มขณะนั่งทำผ้าฮิญาบได้สอนและแลกเปลี่ยนหลักการทางศาสนาซึ่งกันและกันด้วยนับว่าเป็นการรวมกลุ่มที่ดีและตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และสภาจะขับเคลื่อนกิจกรรมนี้ให้มีอย่างต่อเนื่องถึงไม่มีงบสนับสนุนจากโครงการนี้แล้ว

    2.สภาร่วมกันวางแผนในการจัดกิจกรรมกลุ่มปุ๋ยหมัก ที่จะทำจากเศษขี้ยางป่นจาก โรงงานในชุมชน ตามความต้องการของกลุ่มปุ๋ยหมักได้มีการกำหนดวัน และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันในกลุ่ม

    3วาระอื่นๆ ซึ่งตอนนี้ หมู่บ้านได้รับงบประมาณประชารัฐ จำนวน 5 แสนบาทให้สภาช่วยคิด และทำโครงการเพื่อใช้งบประมาณมีการเสนอ การทำน้ำดื่มสะอาดในหมู่บ้าน การตั้งร้านค้าชุมชน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำเสนอในวันประชุมหมู่บ้านครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดสภาชุมชนบ้านหลาแขก ที่เข้มแข้ง1 คณะ

    2 สภาชุมชนบ้านหลาแขก มีวิธีการทำงาน การรวมกลุ่ม การขับเคลื่อนงาน และการประเมินงานในกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง

     

    20 20

    30. ถอดบทเรียน

    วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 09.00_16-00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมถอดบทเรียน 2 ครั้งโดยแบ่งเป็นถอดบทเรียนในกลุ่มสตรี (กลุ่มทำผ้าฮิญาบ) และ กลุ่มผู้ทำปุ๋ยหมักเนื่องจาก การเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายจะแบ่งแยกค่อนข้างชัดเจน ผู้ชายมุสลิมไม่ค่อยเข้ารวมกลุ่มกับกิจกรรมของสตรีมุสลิม แม้จะมีการเข้าร่วมกิจกรรมกันบ้างบางแต่ขอบเขตการแสดงความคิดเห็นจะถูกจำกัดในบางครั้ง ครั้งที่1 ช่วงเช้า ถอดบทเรียนในกลุ่มทำปุ๋ยหมักซึ่งมีการนัดทำกิจกรรมทุกวันพุธเช้าจำนวน45 คน ผลการถอดบทเรียน
    1. โครงการนี้ทำให้เกิดการรวมกลุ่มที่ชัดเจนขึ้น 2. มีการจัดการกลุ่มและการทำงานโดยกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเอง 3งบประมาณการจัดการอบรมและการทำงานมีน้อย แต่ทุกคนร่วมใจลงทุนลงแรงเพิ่มเช่นรวมเงินกันเพื่อซื้อเศษขี้ยางป่นมาทำปุ๋ย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยราคาที่แพงกว่าจากตลาด 4. เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง โดยทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (จากเมื่อก่อนไม่เคยใช้ประโยชน์จากกลุ่มปุ๋ยเลยและทิ้งให้เป็นโรงเรือนร้างในชุมชน) ครั้งที่ 2. ช่วงบ่าย ถอดบทเรียนในกลุ่มทำผ้าฮิญาบ ซึ่งมีการนัดทำกิจกรรมในช่วงบ่าย จำนวน 35 คน ผลการถอดบทเรียน
    1.โครงการนี้ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทำผ้าฮิญาบที่ชัดเจนขึ้น มีแบบใหม่ๆ สวยงาม เป็นที่ต้องการของชุมชน และตลาด 2.เป็นการใช้เวลาว่างขอกลุ่มสตรีในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยผ้าที่ผลิตสามารถใช้เอง และขายเพิ่มรายได้ ให้ครัวเรือน 3.เกิดวงสนทนาของกลุ่มสตรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพบปะพูดคุย และการสอนหลักการศรัทธา และหลักปฏิบัติตามแนงฃวทางศาสนาอิสลาม 4 .ต้องการต่อยอดกิจกรรมในปีต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดกลุ่มที่เข้มแข็งในชุมชน 2 กลุ่ม ในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชน
    2. เกิดวงสนทนาของกลุ่มสตรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพบปะพูดคุย และการสอนหลักการศรัทธา และหลักปฏิบัติตามแนงฃวทางศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดได้ไม่ง่ายนักในชุมชนมุสลิม 3. เกิดการเรียนรู้การจัดการตนเองของกลุ่มเพื่อลดรายจ่ายและสร้างรายได้ในครัวเรือน

     

    80 80

    31. ประชุมติดตามโครงการงวดที่ 2

    วันที่ 4 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปรายงานในเวปไซด์และเอกสารการเงิน

    2 พี่เลี้ยงโครงการตรจสอบความถูกต้องเอกสาร

    3 เจ้าหน้าที่จากสจรส.ตรวจสอบความเรียบร้อยเอกสารและการบันทึกข้อมูลในเวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถทำสรุปรายงานในเวปไซด์และเอกสารการเงินได้ถูกต้องครบถ้วนตามกิจกรรมที่ได้จัดทำในโครงการ

    2 พี่เลี้ยงโครงการตรจสอบความถูกต้องของเอกสาร

    3 มีการตรวจสอบความเรียบร้อยและมีการบัรทึกข้อมูลในเว็ปไซต์ได้อย่างถูกต้อง จากเจ้าหน้าที่ สจรส.

     

    2 2

    32. เรียนรู้การจัดการกลุ่มจัดการตนเอง

    วันที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการโครงการ ร่วมกับโต๊ะอิหม่าม คณะกรรมการมัสยิสอัลกุบรอ จัดกิจกรรมมอบผ้าฮฺญาบที่ลูกหลานของผู้สูงอายุ ผลิตเอง และตั้งใจทำเพื่อผู้สูงอายุไม่คิดมูลค่า มอบเป็นของที่ระลึกแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกในชุมชน ในวันฮารีรายอ จำนน 20 คน -โต๊ะอิหม่าม คณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการมัสยิสอัลกุบรอและสมาชิกในชุมชนร่วมรับประทานอาหารร่วมกันหลังเสร็จพิธีละหมาดในวันฮารีรายอ -คณะกรรมการโครงการ ร่วมกับโต๊ะอิหม่าม คณะกรรมการมัสยิสอัลกุบรอ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำการขออภัยซึ่งกันและกันในสิ่งที่อาจผิดพลั้งพลาดไปในอดีตที่ผ่านมา 2.จากการทำกิจกรรมที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการเพิ่มความรู้ในการทำปุ๋ยหมักและสามารถนำไปใช้ได้ในแปลงร่องสวน จึงเกิดการรวมกลุ่มจัดการตนเองโดยร่วมแรงร่วมใจทำปุ๋ยหมักจากเศษขี้จากโรงงานที่เหลือมีบดละเอียด นำมาผสมกับปุ๋ยคอกเช่น ขี้ไก่ ขี้วัว ขี้แพะ ผสมกับน้ำหมักชีวภาพโดยใช้อัตราส่วน ขี้เลื่อย 2 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน และเร่งการย่อยสลายโดยใช้ พด 1 และกากน้ำตาล.แล้วปิดคุมไว้ 4 สัปดาห์โดยทุกวันพุธของสัปดาห์จะมาร่วมกันคนและพลิกปุ๋ย 1 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ส่งเสริมการใช้ผ้าฮิญาบที่ผลิตในชุมชน และเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ 2.เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน 3.มีการให้ผ้าฮฺิญาบแก่ผู้สูงอายุ (การทำบุญ) เป็นการแสดงความกตัญญูและการอภัยกันเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในชุมชน 4 เกิดกลุ่มทำปุ๋ยหมัก 1 กลุ่มที่มีการต่อยอดโครงการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยชุมชนเอง

     

    70 70

    33. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้านหลาแขกครั้งที่9

    วันที่ 7 กันยายน 2559 เวลา 13.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นางมาริณีทัศระเบียบแจ้งกิจกรรมที่โครงการดำเนินไปแล้วได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดีโดยเฉพาะการทำผ้าฮิญาบในกลุ่มสตรี ได้รับความร่วมมือ และความสนใจเป็นอย่างดี มีการนัดพบกลุ่มทุกบ่ายวันจันทร์ และกลุ่มปุ๋ยหมักได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี และนัดพบกลุ่มทุกวันพฤหัสบดี เพื่อทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 2.นาย สมบูรณ์ดาราภัยแจ้งการดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ชุมชน ซึ่งตอนนี้ได้รับงบประมาณมาแล้ว เริ่มสั่งซื้อของที่คณะกรรมการได้เลย 3.มีการนัดหมายกิจกรรมการติดตามโครงการในวันที่ 10 ก.ย.59 นี้ โดยแบ่งกลุ่มติดตามเป็น 2 กลุ่ม เมื่อได้นำมา คืนข้อมูลชุมชน และเผยแพร่ชุดความรู้โครงการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดสภาชุมชนบ้านหลาแขกที่เข้มแข็ง 1 คณะ
    2 สภาชุมชนบ้านหลาแขก มีวิธีการทำงาน การรวมกลุ่ม การขับเคลื่อนงาน และการประเมินงานในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

     

    20 20

    34. ทำข้อตกลงการจัดการตนเอง

    วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1 นายสมบูรญ์ ดาราภัย ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกิจกรรมที่จะมีในวันนี้ 2.นางสุภารัตน์รัตนสมบูรณ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านถลุงทอง ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกาย โดยเน้นการปลูกผักกินเองโดยแต่ละครัวเรือนปลูกผักอย่างน้อย 5 ชนิด โดยการปลูกต้องไม่ใช้สารเคมี เพราะสารเคมีเป็นอันตรายแและเกิดสารพิษตกค้างในร่างกายได้และเน้นการกินผักผลไม้รสไม่หวานทุกมื้ออาหารและสอนการออกกำลังการ แบบ SKT ที่ทุกคนสามารถทำเองได้ที่บ้านทุกวัน หรืออย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที 3.นางมาริณีทัศระเบียบ ผู้รับผิดชอบโครงการ และ ผู้ใหญ่บ้านร่วมทำข้อตกลงการจัดการตนเองของสมาชิกกลุ่มเป้าหมายคือ --1. ข้อตกลงกลู่มปลูกผักแซมในร่องสวน 1.1 การปลูกผักแซมในร่องสวนห้ามใช้สารเคมีทุกขั้นตอนของการปลูกหรือผลิต 1.2 ผักที่ปลูกแซมในร่องสวนต้องเป็นที่นิยมบริโภคในครัวเรือนของชุมชนบ้านหลาแขก 1.3 ผลผลิตที่ได้จากกลุ่มเน้นการแลกเปลี่ยนและจำหน่ายในชุมชน โดยสามารถนำมาวางขายทุกวันศุกร์บ่ายที่หน้ามัสยิดอัลกุบรอ 2.ข้อตกลงกลู่มทำผ้าฮิญาบด้วยมือ 2.1 กลู่มทำผ้าฮิญาบด้วยมือเน้นรูปแบบและเอกลักษณ์ของตนเองและมีสีประจำกลุ่มคือสีเทา 2.2 ผลผลิตที่ได้จากกลุ่มเน้นการใช้ในชุมชนตนเอง เหมาะสำหรับสตรีทุกวัย 2.3 มีศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบด้วยมือในหมู่บ้าน 1 แห่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดกลุ่มในชุมชน 2 กลุ่ม คือ กลู่มปลูกผักแซมในร่องสวน และ กลู่มทำผ้าฮิญาบด้วยมือ 2.เกิดข้อตกลงการจัดการตนเองของกลุมทั้ง 2 กลุ่ม

     

    60 60

    35. ติดตามผล

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการโครงการ ร่วมกับปราชญ์ชุมชนติดตามผลการทำปุ๋ยหมัก การปลูกผักปลอดสารเคมีแซมในร่องสวน การทำผ้าฮิญาบของกลุ่มสตรี เพื่อประเมินความสนใจความต้องการ ปัญหา อุปสรรค์ของกิจกรรมต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดกลุ่มการทำผ้าฮิญาบ(กลุ่มสตรี ) ของชุมชนบ้านหลาแขก 1 กลุ่ม มีสมาชิก จำนวน 30 ครัวเรือน มีการทำแลกเปลียนเรียนรู้จากปราชญ์ในชุมชน และวิทยากรจากภายนอก จนตอนนี่กลุ่มสามารภผลิตผ้าฮิญาบเป็นแบบของตนเองโดยการใช้เศษผ้าและเศษวัสดุลูกไม้จากผ้าที่ใช้ตัดเสื้อของสตรี เอามาตัดเป็นรูปให้สวยงามแล้วเย็บติดบนผ้าฮิญาบซึ่งได้ผ้าที่แปลกใหม่ สวยงาม ราคาถูก และสามารถจำหน่ายได้ในชุมชนบ้านหลาแขกและมีสีประจำกลุ่มคือสีเทา เกิดคณะกรรมการกลุ่มและมีการต่อยอดจดทะเบียนเป็น OTOP

     

    25 25

    36. เผยแพร่ชุดความรู้การจัดการตนเองสร้างรายได้

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุม กลุ่มสตรีในชุมชน จำนวน 20 คน ให้ความรู้การทำผ้าฮิญาบ สร้างความเข้าใจขับเคลื่อนให้ เพื่อเป็นตัวแทนกลุ่ม นำเสนอการใช้ผ้าฮิญาบที่ทำเองในชุมชน ไปเผยแพร่ขยายต่อทั้งในและนอกชุมชน 2.กลุ่มสตรีในชุมชน จำนวน 20 คน ออกเยียมบ้านเพื่อนำเสนองานและขยายผลกิจกรรมของชุมชน
    2. ร่วมจัดบู๊ท นิทรรศการ งานคนใต้สร้างสุข วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานานชาติอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างดี 4.นัดประชุมและทำกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มปุ๋ยหมัก ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 30 คน ทุกวันพุธของสัปดาห์ ร่วมสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมขับเคลื่อนกิจกรรมให้มีอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดกลุ่ม อาชีพเสริมรายได้ครัวเรือน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทำผ้าญาบ และกลุ่มปุ๋ยหมักและปลูกผักแซมในร่องสวนยาง
    2. ครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มจำนวน 60 ครัวเรือนและประชาชนผู้สนใจรวมจำนวน100 คน
    3. เกิดกติกาชุมชนด้าการลดใช้สารเคมีในชุมชน
    4. ครัวเรือนอย่างน้อย 60 ครัวเรือนสามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจของครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือนได้ 5.มีศูนย์จำหน่ายผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ)ในชุมชน 1 ศูนย์
    5. มีอาคารปุ๋ยหมักชุมชน 1 แห่ง

     

    100 70

    37. เปิดศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าฮิญาบของชุมชน

    วันที่ 27 กันยายน 2559 เวลา 9.00-13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นางมาริณี ทัศระเบียบ กล่าวรายงาน ต่อ อิหม่ามมัสยิดอัลกุบรอผู้ใหญ่บ้าน ผอ.รพ.สต.บ้านถลุงทองและชี้แจ้งวัตถุประสงค์ของศูนย์ ให้ชุมชนทราบ 2.นาย อนุพงค์ รัตนพันธ์ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอร่อนพิบูลย์รับจดทะบียนศูนย์ผ้าฮิญาบบ้านหลาแขก เป็นวิสาหกิจชุมชน และให้ความรู้หลักการทำกิจกรรมตามหลักเกณฑ์ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน 3.ทำกิจกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุร่วมกับ จนท.รพ.สต.บ้านถลุงทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ศูนย์ผ้าฮิญาบบ้านหลาได้รับจดทะบียน เป็นวิสาหกิจชุมชน1 ศูนย์ 2.กลุ่มสมาชิกมีความรู้หลักการทำกิจกรรมตามหลักเกณฑ์ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน

     

    75 75

    38. คืนข้อมูลการทำกิจกรรมตามโครงการ

    วันที่ 30 กันยายน 2559 เวลา 09:00_13.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1 มีจัดกิจกรรมรวมกับกิจกรรมครอบครัวอบอุ่นของชุมชน โดยมีวิทยากรจาก รพ.สต บ้านถลุงทอง และโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดอัลกุบรอร่วมจัดกิจกรรม 2 นางมาริณืทัศระเบียบผู้รับผิดชอบโครงการคืนข้อมูลการจัดกิจกรรมโครงการให้ชุมชนได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริงคือ หลังจากจัดกิจกรรมตามโครงการ กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขกสิ้นสุดลง ชุมชนได้เกิดสภาผู้นำบ้านหลาแขกที่มีความเข้มแข็งขึ้น 1 คณะ เกิดกลุ่มทำผ้าฮิญาบด้วยมือ 1 กลุ่ม มีสมาชิก 35 ครัวเรือน มีการรวมกลุ่มกันทุกวันจันทร์ช่วงบ่าย มีการต่อยอดและพัฒนา จนสามารถเปิดเป็นศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบของชุมชน 1 ศูนย์ เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดสารเคมีในร่องสวนโดยใช้ปุ๋ยหมักที่กลุ่มทำข้นเองจากขี้ยางป่นและทุกกิจกรรมจะมีการต่อยอดและขับเคลื่อนกิจกรรมต่อโดยสภาผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1ชุมชนได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริงคือ หลังจากจัดกิจกรรมตามโครงการ กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขกสิ้นสุดลง
    เกิดกลุ่มต่างๆ ในชุมชนดังนี้ - สภาผู้นำบ้านหลาแขกที่มีความเข้มแข็งขึ้น 1 คณะ
    - กลุ่มทำผ้าฮิญาบด้วยมือ 1 กลุ่ม มีสมาชิก 35 ครัวเรือน มีการรวมกลุ่มกันทุกวันจันทร์ช่วงบ่าย มีการต่อยอดและพัฒนา จนสามารถเปิดเป็นศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบของชุมชน 1 ศูนย์ เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดสารเคมีในร่องสวนโดยใช้ปุ๋ยหมักที่กลุ่มทำข้นเองจากขี้ยางป่น
    2 .ชุมชนต้องการการต่อยอดและขับเคลื่อนกิจกรรมต่อ

     

    100 100

    39. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.วันที่ 3 ต.ค.59 ช่วงเช้า ร่วมจัดนิทรรศการแสดงโครงการ และผลผลิตจากโครงการคือผ้าฮิญาบทำมือ ที่บ้านหลาแขก ช่วงบ่ายเข้าร่วมพิธีเปิดงานสร้างสุขร่วมรับฟังแนวคิดจากนาย อภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และการเสวนาจากผู้นำต่างๆ ของ สสส. สปสช. สจรส

    2.วันที่ 4 ต.ค.59 เข้าร่วมประชุมห้องย่อย ชุมชนน่าอยู่ รับฟังการทำงานของโครงการชุมชนน่าอยู่ต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ

    3.วันที่ 5 ต.ค.59 เข้าร่วมประชุมฟังการเสนอแนะการทำงานของ สสส สปสชสจรส และภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาคใต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต คณะกรรมการโครงการ จำนวน 2 คน ผลลัพธ์ 1.ได้รับความรู้ และประสบการณ์ เพื่อนำไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนชุมชนบ้านหลาแขกต่อไป 2.ได้ร่วมจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ ผลงาน และกิจกรรมของโครงการ กินผักที่ปลูก และฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขกในงานคนใต้สร้างสุข

     

    2 2

    40. จัดทำรายงานรูปเล่ม และภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงจัดทำรายงานรูปเล่ม และภาพถ่ายกิจกรรม ฉบับบสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดทำรายงานรูปเล่ม และภาพถ่ายกิจกรรม

     

    2 2

    41. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการตรวจสอบเอกสารความสมบูรณ์ของการสรุปกิจกรรม หลักฐานการเงิน ใบเสร็จรับเงิน รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง
    2.เจ้าหน้าที่ จาก สจรส.มอ. ตรวจสอบความถูกต้องความสมบูรณ์ของการสรุปกิจกรรม หลักฐานการเงิน ใบเสร็จรับเงิน รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม อีครั้งหนึ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้เอกสารความสมบูรณ์ของการสรุปกิจกรรม หลักฐานการเงิน ใบเสร็จรับเงิน รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง รูปถ่ายของแต่ละกิจกรรม และมีการตรวจสอบงบประมาณที่ถูกต้อง ยืนยันกับยอดบัญชีในธนาคาร พร้อมปิดงวดโครงการ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มจัดการพื้นที่และสร้างรายได้โดยการปลูกผักปลอดสารพิษแซมในร่องสวนยาง
    ตัวชี้วัด : 1 เกิดกลุ่มปลูกพืช ผักปลอดสารพิษแซมในร่องสวนยาง จำนวน 1 กลุ่ม 2 ครัวเรือนเป้าหมายสามารถผลิตพืช ผักได้ตรงกับความต้องการบริโภคชุมชนมจำนวน 30 ครัวเรือน 3.มีตลาดนัดจำหน่ายพืช ผักปลอดสารพิษในชุมชน ทุกบ่ายวันศุกร์ที่หน้ามัสยิดอัลกุบรอบ้านหลาแขก 4.ครัวเรือนเป้าหมายร้อยละ 100 มีรายได้เพิ่มจากการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษแซมในร่องสวนยางรายได้อย่างน้อย 1000บาทต่อเดือน

     

    2 เพื่อให้เกิดการออมและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. สมาชิกกลุ่มจำนวน 60 ครัวเรือน สามารถทำ วิเคราะห์ และใช้บัญชีครัวเรือนได้ร้อยละ 80 2. ครัวเรือนเป้าหมายมีข้อมูล2 เรื่องคือ 1.รายรับ รายจ่ายและหนี้สินครัวเรือน 2. ชนิด ราคา และวิธีการใช้สารเคมีในขั้นตอนการทำการเกษตรของครัวเรือน 3. มีแผนการบริหารการเงินของครัวเรือน 4. ครัวเรือน60ครัวเรือนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์สัจจะหมู่บ้าน 5.เกิดกลุ่มทำผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ)ในกลุ่มสตรี โดยเน้นการผลิตเพื่อใช้เองในชุมชน มีสมาชิก 30 ครัวเรือน จำนวน 50 คน 6 .มีศูนย์จำหน่ายผ้าคลุมศรีษะ (ฮิญาบ)ในชุมชน 1 ศูนย์
    1. สมาชิกกลุ่มจำนวน 60 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือน สามารถวิเคราะห์และใช้บัญชีครัวเรือนได้ 90% 2 ครัวเรือนสมาชิกกลุ่ม เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์สัจจะหมู่บ้าน 100%
    3 เพื่อให้เกิดสภาชุมชนที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดสภาชุมชนบ้านหลาแขก เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมในชุมชนเกิดกติกาชุมชนเพื่อให้การจัดการขยายผลกลุ่มอาชีพเสริม 2 กลุ่ม และนำผลผลิตไปใช้ได้จริงในชุมชนของตนเอง

    1เกิดสภาชุมชนบ้านหลาแขก 1สภา เพื่อขับเคลื่อน และติดตามโครงการ และเป็นแกนนำในชุมชน

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.มีการมีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง 100% 2.มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 2 แห่งคือ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และที่ มัสยิดอัลกุบรอ 3.มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4.มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มจัดการพื้นที่และสร้างรายได้โดยการปลูกผักปลอดสารพิษแซมในร่องสวนยาง (2) เพื่อให้เกิดการออมและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน (3) เพื่อให้เกิดสภาชุมชนที่เข้มแข็ง (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก

    รหัสโครงการ 58-03855 รหัสสัญญา 58-00-2070 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดนวัตกรรมของตนเองโดยการนำเศษผ้าลูกไม้ทีเหลือใช้ในบ้านจากผ้าที่ใช้ตัดชุดที่สวมใส่มาปะติดและตกแต่งให้สวยงาม เป็นการเพิ่มมูลค้าของผ้าฮิญาบและสามารถสร้งอาชีพเพิ่มรายได้ในกลุ่มสตรีได้ และสามารถเปิดเป็นศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบของชุมชน 1ศูนย์

    ศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบของชุมชน 1ศูนย์ ที่บ้านนางชะเปี๊ยะ บุญอารีย์

    ต่อยอดเป็นวิสาหกิจชุมชน โดยการจดทะเบียนกับเกษตรอำเภอร่อนพิบูลย์เพื่อสนับกิจกรรมและขับเคลื่อนกิจกรรมต่อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    การทำผ้าฮิญาบด้วยเศษผ้าลูกไม้เป็นเอกลักษญ์ของชุมชน

    สินค้าที่วางจำหน่ายในศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบของชุมชน

    เปิดตลาดนอกชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง 1คณะ ที่มีความรักความสามัคคีมีการปรึกษาหารือ มีการแบ่งงานเป็นฝาย มีการวางแผนการทำงาน บริหารงาน เป็นกลไกลขับเคลื่อนแผนงานในหมู่บ้าน และกิจกรรมโครงการให้สำเร็จต่อไป ซึ่งแตกต่างจากการทำงานที่ผ่านมามีการตัดสินใจโดยคน หรือกลุ่มคนไม่กี่คน ไม่มีภาคีเครือข่ายในการทำงาน

    รายงานการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน และรายงานการประชุมสภาผู้นำชุมชน

    สนับสนุนให้สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    1.เกิดกลุ่มทำผ้าฮิญาบด้วยมือ 1กลุ่ม มีสมาชิก 35ครัวเรือน มีการรวมกลุ่มกันทุกวันจันทร์ช่วงบ่าย มีการต่อยอดและพัฒนาการทำผ้า เกิดนวัตกรรมของตนเองโดยการนำเศษผ้าลูกไม้ทีเหลือใช้ในบ้านมาปะติดและตกแต่งให้สวยงาม เป็นการเพิ่มมูลค้าของผ้าฮิญาบและสามารถสร้งอาชีพเพิ่มรายได้ในกลุ่มสตรีได้ และสามารถเปิดเป็นศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบของชุมชน 1ศูนย์ 2. เกิดกลุ่มทำปุ๋ยหมัก และปลูกผักแซมในร่องสวนยาง 1 กลุ่ม มีสมาชิก 30 ครัวเรือน โดยมีการนัดหมายการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืช ผัก ในครัวเรือน และการทำปุ๋ยหมักจากเศษขี้ยางพาราป่น ของสมาชิกกลุ่ม ทุกวันพฤหัส เช้า เพื่อมาร่วมกันทำและดูแลโรงปุ๋ย ก่อนการนำปุ๋ยไปใช้ ในร่องสวนยางต่อไป

    ศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบของชุมชน 1ศูนย์ ที่บ้านนางชะเปี๊ยะ บุญอารีย์

    เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และนอกชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการปลูกผักสวนครัวปลูอดสารเคมีกินเอง35 ครัวเรือน หรือเลือกซื้อผักปลอดสารเคมีที่ปลูกในชุมชนกินในครัวเรือน แทนการซื้อผักที่ไม่ปลอดภัยจากตลาดภายนอกกิน

    ครัวเรือนต้นแบบในชุมชน ที่มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    เพิ่มครัวเรือนต้นแบบในชุมชน ที่มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็น 50ครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการให้ความรู้ รณรงค์และจัดเขตปลอดบุหรี่ 2 จุด ในชุมชน คือ ที่มัสยิด อับกุบรอ และที่ประชุมหมู่บ้าน

    เขตปลอดบุหรี่ 2 จุด ในชุมชน คือ ที่มัสยิด อับกุบรอ และที่ประชุมหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    .ครัวเรือนมีการใช้พื้นที่ว่างในร่องสวนยางพาราสร้างรายได้โดยการปลูกผักปลอดสารพิษแซมในร่องสวนยาง โดยผักที่ปลูกเน้นผักที่ครัวเรือนชอบบริโภค และเป็นที่ต้องการของชุมชนปลูกง่าย ต้น มีการดูแลรักษาง่าย เก็บผลิตได้ตลอดปี เช่น ผักหวาน ผักเขลียงชะอม ผักโขมและต้นมันปู เป็นต้น โดยมีสมาชิกเข้าร่วมกลุ่ม 30ครัวเรือน ได้ลงแปลงปลูกผักเกิดความรักความสามัคคีในหมู่บ้านมากยิ่งขึ้น และลดสารพิษตกค้างในดิน ดินเสียได้

    ครัวเรือนต้นแบบในชุมชน ที่มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    1.เกิดกลุ่มทำผ้าฮิญาบด้วยมือ 1กลุ่ม มีสมาชิก 35ครัวเรือน มีการรวมกลุ่มกันทุกวันจันทร์ช่วงบ่าย มีการต่อยอดและพัฒนาการทำผ้า เกิดนวัตกรรมของตนเองโดยการนำเศษผ้าลูกไม้ทีเหลือใช้ในบ้านมาปะติดและตกแต่งให้สวยงาม เป็นการเพิ่มมูลค้าของผ้าฮิญาบและสามารถสร้งอาชีพเพิ่มรายได้ในกลุ่มสตรีได้ และสามารถเปิดเป็นศูนย์จำหน่ายผ้าฮิญาบของชุมชน 1ศูนย์ 2.การปลูกผักปลอดสารเคมีแซมในร่องสวนยางพารา สามารถสร้างรายได้ และลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ 35 ครัวเรือน

     

    ต่อยอดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเพิ่มจำวนนสมาชิกครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดกติกาชุมขนเรื่องการลด ละ เลิกการใช้ สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวและแปลงเกษตรอื่นๆ โดยชุมชนเป็นตัวประเมินจะไม่ซื้้้อผักที่ไม่ปลอดสารบริโภคในครัวเรือนของตน

    ป้ายไวนิล กติกาชุมขนเรื่องการลด ละ เลิกการใช้ สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวและแปลงเกษตรอื่นๆ ที่ปิดไว้ที่ประชุมหมู่บ้าน 1 ป้าย

    ประกาศ และใช้กติกาชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    สภาผู้นำชุมชน มีการประสานงานกับภาคีนอกชุมชนโดยการประสานงานกับเกษตรอำเภอร่อนพิบูลย์ในการขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มทำผ้าฮิญาบ และ การทำปุ๋ยหมักจากเศษขี้ยางพารา

    บันทึกการประชุมตามปฏิทินโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    1.มีพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการจากพี่เลี้ยงโครงการ จน เกิดสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง 1คณะ ที่มีความรักความสามัคคีมีการปรึกษาหารือ มีการแบ่งงานเป็นฝาย มีการวางแผนการทำงาน บริหารงาน เป็นกลไกลขับเคลื่อนแผนงานในหมู่บ้าน และกิจกรรมโครงการจนสำเร็จ

    รายงานการประชุมผู้รับผิดชอบโครงการ ในเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ จาก สจรส.และได้รับการสนับสนุนการทำงานโครงการจากพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่องตลอดโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ในการดำเนินกิจกรรมของโครงการใช้กลวิธีการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนคือ การเชื่อมโยงประสานงานระหว่าง คน กลุ่ม/เครือข่ายเดิมของชุมชน ทำกิจกรรมร่วมกันโดยการสร้างความรู้และความเข้าใจและฝึกปฏิบัติการทำอาชีพเสริมที่เหมาะกับครัวเรือน และหลักวัฒนธรรมของศาสนาอิสลาม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มอาชีพคือ การปลูกพืชปลอดสารพิษแซมในร่องสวน และการทำผ้าคลุม ฮิญาบด้วยมือ ในกลุ่มสตรีและกลุ่มทำปุ๋ยหมัก ปลูกผักแซมในร่องสวนยางพาราในกลุ่มผู้ชายดึงปราชญ์ในชุมชนซึ่งเป็นทุนของชุมชน และชุมชนยอมรับเข้ามาร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มอาชีพตลอดโครงการ และเชิญวิทยากรจากภาคีภายนอกมาเพื่อ เพิ่มเติม ต่อยอด ความเป็นเอกลักษณ์ ของกลุ่ม

    บันทึกการประชุมและการจัดกิจกรรมตามปฏิทินโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ใช้สภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง 1คณะ ที่มีความรักความสามัคคีมีการปรึกษาหารือ มีการแบ่งงานเป็นฝาย มีการวางแผนการทำงาน บริหารงาน เป็นกลไกลขับเคลื่อนแผนงานในหมู่บ้าน และกิจกรรมโครงการให้สำเร็จต่อไป

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    1.ชุมชนมีการรวมแรงลงแปลงปลูกผักในร่องสวนยางพารา จำนวน 2ครั้ง 5 แปลง 2. มีการลงแรงกาย และ แรงทุนทรัพย์ ในการทำปุ๋ยหมักจากเศษขี้ยางพาราป่น จำนวน 5ครั้ง เพื่อทำปุ๋ย และมีการแบ่งปันปุ๋ยที่ได้เพื่อใช้ในสวนต่อไป

    แปลงผักร่องสวนยางสาธิตในชุมชน จำนวน 5แปลง และโรงปุ๋ยหมักชุมชน 1โรง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03855

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สมบูรณ์ ดาราภัย )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด