แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง ”

หมู่ที่ 6 บ้านกลาง ตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หัวหน้าโครงการ
นาย สง่า ทุ่มก๊ก

ชื่อโครงการ ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง

ที่อยู่ หมู่ที่ 6 บ้านกลาง ตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี

รหัสโครงการ 58-03926 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1923

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 6 บ้านกลาง ตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง



บทคัดย่อ

โครงการ " ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านกลาง ตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสโครงการ 58-03926 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 145,900.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 237 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนทำหน้าที่ดูแล การแก้ไขปัญหาในชุมชน
  2. เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะโดยใช้กติกาชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 1

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558

    • 12.30 – 13.00 น. โครงการชุมชนน่าอยู่ลงทะเบียน
    • 13.00 – 13.45 น. กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) และผู้รับผิดชอบโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • 13.45 - 14.15 น.การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ โดย คุณถนอม ขุนเพ็ชร์
    • 14.15 – 14.30 รับประทานอาหารว่าง
    • 14.30 - 16.30 น. การเข้าใช้งานระบบเวบไซต์คนใต้สร้าง www.happynetwork.org โดย คุณภานุมาศ นนทพันธ์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
    • 16.30 - 18.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการลงในเว็บไซต์

      • รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ)
      • แผนภาพเชิงระบบโครงการ
      • กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี
      • รายงานผู้รับผิดชอบ
    • 18.00 - 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น

    • 19.00 – 20.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์
      • รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ)
      • แผนภาพเชิงระบบโครงการ
      • กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี
      • รายงานผู้รับผิดชอบ

    วันที่ 4 ตุลาคม 2558

    • 08.30 – 10.00 น. การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดย อ.กำไล สมรักษ์ และนางสุดา ไพศาล
    • 10.00 – 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์ (ต่อ)

      • รายงานผู้รับผิดชอบ
      • ทำรายงานบันทึกกิจกรรมประชุมปฐมนิเทศโครงการ

    12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. สรุปกิจกรรมและแผนการทำงานร่วมกับ สจรส.ม.อ. และทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชี้แจงกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) และผู้รับผิดชอบโครงการ มีสาระสำคัญ คือ
      • ภาระกิจของ สสส คือ ชุมชนมีสุขภาพดี มี การเก็บภาษี จากเหล้าและบุหรี่ 100 ละ 2 เปอร์เซ็น มาเป็นกองทุนเพื่อนำมาพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง จัดการตนเองได้ และพัฒนาสุขภาวะของชุมชน ทำให้ชุมชนน่าอยู่
    • อ.กำไล สมรักษ์ และนางสุดา ไพศาล สอนการบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) มีสาระ สำคัญ คือ

      • การอธิบายการส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์ การเข้าสู่ระบบ ของ สสส ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลลงเว็บไวต์ ต่างๆ การปรับตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การบริหารจัดการโครงการให้ประสมความ สำเร็จ รายงานการเงิน การจัดทำเอกสารประกอบการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในกรณีต่างๆ การเก็บเอกสารใบเสร็จการเงินต่างๆ
    • คุณถนอม ขุนเพ็ชร์ แนะนำการสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ มีเนื้อหาสำคัญ คือ

      • การบริหารจัดการโครงการสู่ความสำเร็จ ก่อนทำกิจกรรม -การเตรียมทีมงาน -เตรียมกิจกรรมที่จะทำ การเตรียมภาพถ่ายประกอบ ทุกครั้ง
    • ได้เรียนรู้ การบันทึก การดำเนินการในเว็บ คนใต้สร้างสุข สามารถใช้สื่อได้ถูกต้องเหมาะสม

     

    2 3

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน ครังที่ 1

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานผลการดำเนินงานทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ มาไว้ที่ทำการศาลาหมู่บ้าน และกำหนดให้สถานที่ที่ติดป้าย เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน

     

    2 2

    3. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ)ครั้งที่ 1

    วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 13.00 น.-15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มรับลงทะเบียนเวลา 13.00 น.ได้เดินทางมาร่วมลงทะเบียน โดยพร้อมเพรียงกัน
    • เมื่อเวลา 13.20 น.เริ่มจัดประชุม โดยมีนายสง่า ทุ่มก๊ก (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นผู้กล่าวการประชุมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง และได้คัดเลือกจัดทำรายชื่อสมาชิกสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายสง่า ทุ่มก๊ก (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นผู้กล่าวการประชุมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง และได้คัดเลือกจัดทำรายชื่อสมาชิกสภาผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการโครงการ และกลุ่มเครือข่ายการทำงานในชุมชน จำนวน 30 คน ได้แก่
    • คณะกรรมการโครงการ
      • นายสง่า ทุ่มก๊ก  ผู้รับผิดชอบโครงการ
      • นายทิวา  ยุชยทัด  การเงิน
      • นายสมพร  ปลื้มสุทธิ์
      • นางศิวาภรณ์ สกุลรัตน์
      • นายสุนทร  มณีโชติ
    • กลุ่มพัฒนาสตรี
      • นางจิราพร  ศรีน้อย
      • นางรัชนี  ยวลทอง
      • นางพรพิมล  สนนิคม
      • นางวาสนา  อยู่ขาว
      • นางสุนีย์  เพชระ
    • กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
      • นางไพศรี  เพ็งสกุล
      • นายกุศล  ยวลทอง
      • นางกมลทิพย์  สมจิตร
      • นายสถิตย์  ช่วยบำรุง
      • นางสาคร  ถิ่นพิบูลย์
    • กลุ่ม อสม.
      • สุนันท์  สุทธิ์ทอง
      • นางสาวพรประภา  เผือกภูมิ
      • นายทวี  รักษ์ทอง
      • นางยุพิณ  เพชรทอง
      • นางจิตรา  จิตรธรรม
      • นางสาวสุภัตรา  ปลื้มสุทธิ์
      • นางเกษร  จิตรสุคนธ์
    • กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน
      • นายจรัญ  ชัยกุล
      • นายประภาส  อยู่ขาว
      • นายวีระ  ชัยกุล
    • กลุ่มศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง
      • นายอนันต์  นาคงาม
      • นายบุญสนอง  จิตธราปฐมาพงศ์
    • ประชาชนทั่วไป
      • นายสาโรจน์  ธรฤทธิ์
      • นายเสนอ  ศรีน้อย
      • นางสาวพวงทิพย์  กุลคง
    • แจ้งมติข้อตกลงให้คนในชุมชนได้ทราบ ว่ามีกิจกรรม และแต่ละกิจกรรมมีวิธีการจัดอย่างไร ใช้งบประมาณเท่าไร ดังรายเอกสารประกอบการประชุม และหลังจากนั้นก็ช่วยกันคิดเตรียมงานเปิดตัวโครงการ ว่าจะให้มีกิจกรรมอะไรบ้าง เพิ่มเติมจากที่กำหนดในโครงการ

     

    30 30

    4. เวทีถอดบทเรียนโครงการขยะแลกไข่ และสร้างความเข้าใจโครงการลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง

    วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 10.00 น. - 15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น. ชาวบ้านเริ่มทะยอยมาลงทะเบียน
    • 10.30 น. ผู้ใหญ่บ้านเปิดประชุม
    • 11.00 น. นายกเทศบาลนายพรรณเลิศ ชูช่วยสุวรรณ กล่าวเปิดโครงการ " ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง "
    • 12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
    • 13.00 น. ปลัดเทศบาล นางสาวเสาวภา รัตนพันธ์ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ โครงการได้รับทุนสนับสนุนมาจากไหนงบประมาณเท่าไหร่มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมอะไรบ้าง
    • 15.00 น. มีการโชว์การเต้นของชุดมโนราห์รีไซเคิลซึ่งเป็นการประดิษฐ์ชุดมโนราห์จากเศษขยะเหลือใช้ ของหมู่บ้านใกล้เคียงให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าของขยะบางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
    • 15.30 น. ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 90 คนมาจากหน่วยงานของเทศบาลและชาวบ้านหมู่ที่ 6 บ้านกลาง
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจโครงการมากขึ้น รู้แนวทาง ขั้นตอน การปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ โดยปลัดเทศบาลเขานิพันธ์ นางสาวเสาวภา รัตนพันธ์ ชี้แจงรายละเอียดของโครงการที่สำคัญดังนี้
      • โครงการได้รับทุนจาก สสส. จำนวน 145,900 บาท
      • แบ่งการจ่ายเงินออกเป็น3 งวด
      • กิจกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันทำมีทั้งหมด 29 กิจกรรม เช่น ประชุมสภาชุมชน 12 ครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง , มีการอบรมให้ความรู้เรื่องขยะ , การคัดแยกขยะแต่ละกิจกรรมทำกันวันไหนจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบอีกที
    • มีการโชว์การเต้นของชุดมโนราห์รีไซเคิลซึ่งเป็นการประดิษฐ์ชุดมโนราห์จากเศษขยะเหลือใช้ ของหมู่บ้านใกล้เคียงให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าของขยะบางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

     

    100 90

    5. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ)ครั้งที่ 2

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้านเปิดประชุม
    • ปลัดเสาวภา  รัตนพันธ์  บรรยายเรื่อง "ขยะ แลกไข่"
    • มีการแบ่งหน้าที่ความรับชอบ ของสภาผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ปลัดเสาวภา  รัตนพันธ์  พูดถึง การนำขยะรีไซเคิล เช่น พลาสติก กระดาษ ขวด แก้ว  สามารถนำมาแลกไข่ได้  ซึ่งในหมู่บ้าน จะเปิดรับซื้อขยะเหล่านี้ในวันประชุมหมู่บ้าน
    • หน้าที่ความรับผิดชอบของสภาผู้นำมีดังนี้
    • ฝ่ายประสานงาน
      • นางศิวภรณ์  สกุลน้อย
      • นางไพศรี  เพ็งสกุล
      • นางกมลทิพย์  สมจิตร
    • ฝ่ายอาหาร และ เครื่องดื่ม
      • นางสาคร  ถิ่นพิบูลย์
      • นางสุนีย์  เพชระ
    • ฝ่ายประชาสัมพันธ์
      • นายสุนันท์  สุทธิ์ทอง
      • นายวีระ  ชัยกุล
      • นายกุศล  ยวนทอง
    • ฝ่ายการเงิน
      • นายทิวา  ยุชยทัด
      • นายสมพร  ปลื้มสุทธิ์
    • ฝ่ายจัดสถานที่
      • นายเสนอ  ศรีน้อย
      • นายสถิตย์  ช่วยบำรุง

     

    30 30

    6. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ)ครั้งที่ 3

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00-15:30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมเพื่อคิดวางแผนโครงเรื่องอบรมให้ความรู้เรื่อง “ขยะกับอันตรายชีวิต สิ่งแวดล้อม และโลก
    • ประชุมเตรียมจัดหาคนไปประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การวางโครงกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง “ขยะกับอันตรายชีวิต สิ่งแวดล้อม และโลก" ยังไม่สมบูรณ์ หาวิทยากรที่เหมาะสมยังไม่ได้
    • ได้คนที่ไปประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามในวันที่ 12 ธันวาคม 2558 คือ นายสง่าทุ่มก๊ก และ นางสาครถิ่นพิบูรณ์

     

    30 30

    7. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มรับลงทะเบียนเวลา 09.00 น. เข้าร่วมการประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ.
    • 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่างต่อด้วยการอธิบายอัตราเงินเกี่ยวกับการหักภาษี
    • 12.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน เสร็จแล้วเวลา
    • 13.00-16.00 น.เรียนรู้การใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้ในเรื่องการเขียนรายงานและการเงิน ได้รับความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดในใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการประกอบค่าใช้จ่าย และการใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างถูกต้อง
    • การเขียนรายงานกิจกรรมลงในเวปไซด์
    • พี่เลี้ยงผู้ติดตาม ในเรื่องการเขียนรายงานและการเขียนรายงานการเงิน ได้มีนางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง ได้กล่าวให้ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดในใบเสร็จรับเงิน การเรียนรู้แบบฟอร์มการเงิน หลักฐานการประกอบค่าใช้จ่ายในอัตราเงินเกิน 1,000 บาท และการหักภาษี ณ ที่จ่าย

     

    2 2

    8. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ)ครั้งที่ 4

    วันที่ 9 มกราคม 2559 เวลา 13:00-15:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่กล่าวถึง ปริมาณขยะในชุมชน มีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้ขยะลดน้อยลง  ขยะที่ขายได้ก็ให้นำมาขาย หรือนำมาแลกไข่ก็ได้  อธิบายให้ชาวบ้านรู้จักการคัดแยกขยะ
    • ให้แต่ละครัวเรือนสำรวจขยะของตนเอง ว่าขยะชนิดไหนที่มีจำนวนมากท่ีสุด  และมีวิธีการลดขยะนั้นได้อย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการประชุม ที่ประชุมสรุปให้

    • มีการส่งเสริมการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะในชุมชน โดยเน้นการคัดแยกขยะทั้ง 4 ประเภท คือ ขยะอินทรีย์ขยะรีไซเคิลขยะพิษ และขยะทั่วไป
    • ส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อนำมาแลกไข่หรือจัดตั้งธนาคารขยะในชุมชน

     

    30 30

    9. อบรมให้ความรู้เรื่อง “ขยะกับอันตรายชีวิต สิ่งแวดล้อม และโลก

    วันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 10:00-15:00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น. ลงทะเบียน
    • 10.30 น. ผู้รับรับชอบโครงการแนะนำวิทยากร
    • 11.00 น. วิทยากรคนที่ 1 นาย นายอนันต์  นาคงาม  บรรยายเรื่อง ประเภทของขยะ และวิธีกำจัดขยะ
    • 12.30 น. พักรับประทานอาหาร
    • 13.00 น. วิทยากรคนที่ 2 นาย ชำนาญ  สวัสดิโกมล  บรรยายเรื่อง  วิธีการคัดแยกขยะ
    • 14.30 น. ร่วมกันเสนอความคิดเห็นเรื่องของขยะในชุมชน
    • 15.00 น. ปิดประชุม    

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 90 คน ทุกคนมีความรู้เรื่องขยะมากขึ้น โดยนายอนันต์ นาคงาม ได้อธิบายถึงประเภทของขยะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

    1. ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารและพืชผักที่เหลือจากการรับประทานสามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก หรือน้ำหมักชีวภาพได้
    2. ขยะรีไซเคิล หรือขยะที่นำมาขายได้เช่น แก้วกระดาษ กระป๋องพลาสติก
    3. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากไม่คุ้มกันการนำไปรีไซเคิล เช่น เปลือกลูกอม ถุงพลาสติก
    4. ขยะพิษ เป็นขยะที่หมู่บ้านไม่สามารถจัดการเองได้ ต้องให้ท้องถิ่น เทศบาลเป็นคนจัดการเช่น กระป๋องสเปรย์ ยาฆ่าแมลงถ่ายไฟฉาย

    วิธีการกำจัดขยะ

    1. การลดการใช้ เช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก
    2. การนำผลิตภัณฑ์มาใช้ซ้ำ เช่น เมื่อทานน้ำในขวดพลาสติกหมดแล้ว ให้นำขวดกลับมาเติมน้ำใหม
    3. การนำกลับมาผลิตใหม่
    4. การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุกำจัดยาก
    5. การซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่เช่น การซ่อมแซมเสื้อผ้า การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดกลับมาใช้ใหม่
    6. ขยะติดเชื้อ ทำลายโดยการเผาโดยเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญการ
    • ผู้ใหญ่แจ้งให้ทราบเรื่อง"ขยะ แลกไข่"ถ้าใครที่มีขยะที่สามารถนำมาขายได้ ก็ให้เอามาขายในวันประชุมหมู่บ้านจะแลกเป็นเงิน หรือแลกไข่ก็ได้

     

    100 100

    10. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 3

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 09.00 น. ลงทะเบียน
    • 10.00 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณืที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ    วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
    • 12.00 น. พักรับประทานอาหาร
    • 13.00 น. พี่เลี้ยงโครงการตรวจเอกสารทางการเงิน
    • 14.00 น. วิทยากร (นางสาวกัญนภัส  จันทร์ทอง) บรรยายเรื่องการส่งรายงาน ส.1 และ ง.1
    • 15.00 น. แต่ละโครงการบันทึกการส่งรายงาน ส.1 และ ง.1  เพื่อให้พี่เลี้ยงโครงการตรวจข้อมูลทางเว็บไซน์อีกรอบ


    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แต่ละโครงการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำกิจกรรมที่ผ่านมาโครงการมีการพัฒนาอย่างไรบ้างแล้ว และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง เช่น
    • โครงการผักสมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูนผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า ตอนนี้ในการทำกิจกรรมของโครงการก็ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี มีการปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปตามปฺทินโครงการอย่างต่อเนื่องไม่มีปัญหาอะไร
    • โครงการลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า ในการจัดการเรื่องขยะ คนในชุมชนให้ความสนใจดี มีการจัดเก็บขยะที่ดีขึ้น ชุมชนสะอาดกว่าเดิมมาก วิืยากรอธิบายเสริมว่าควรหาคลิปของญี่ปุ่นมาเปิดให้ชาวบ้านดูบ้างเพราะญี่ปุ่นมีการจัดกการเรื่องขยะที่ดีมาก
    • การตรวจหลัฐาน เอกสารทางการเงิน พี่เลี้ยงโครงการก็ได้ตรวจ ใบลงทะเบียน ดูว่าจำนวนคนที่ลงทะเบียนกับที่ส่งข้อมูลผ่านเว็บไซน์ตรงกันหรือไม่ใบสำคัญรับเงินกรอกข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์บิลที่ออกจากร้านค้าก็ถูกต้องส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆแต่ละกิจกรรมก็เป็นไปตามที่ สสส. กำหนดรายละเอียดการเขียนรายงาน มีข้อผิดพลาดต้องแก้ไขเพิ่มเติมบ้างก็จัดทำเรียบร้อยแล้ว
    • การลงบันทึก ส.1 และ ง.1 ต้องลงข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ ผลสรุปสำคัญของกิจกรรม ผลผลิต ผลลัพธ์

     

    2 2

    11. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ) ครั้งที่ 5

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการโครงการ และกลุ่มเครือข่ายการทำงานในชุมชน
    • บอกเล่าเรื่องราวข่าวสารจากการประชุมผู้ใหญ่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ใหญ่บ้านแจ้งเรื่องราวให้คนในชุมชนทราบ ดังนี้

    • เรื่อง "สินค้าธงฟ้าราคาประหยัด" แจ้งให้ทราบว่า วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 จะมีการจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดที่ศาลาหมู่บ้าน ให้ทุกคนสามารถมาจับจ่ายซื้อสินค้าที่จำเป็นได้
    • การทำปุ๋ยหมัก มีข้อตกลงให้มีการจัดทำปุ๋ยหมักในหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้ซื้อถังหมักของตนเอง และทางผู้บ้านจะออกค่าใช้จ่ายในการซื้อกากน้ำตาลและ สาร พ.ด. 1 ให้ แล้วกลับไปหมักในบ้านตนเอง จำนวน 50 ครัวเรือน

     

    30 45

    12. ครัวเรือนอาสาสำรวจขยะในชุมชน

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น. ลงทะเบียน
    • 10.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุม
    • 11.00 น. รับสมัครครัวเรือนอาสาลงพื้นที่สำรวจขยะ
    • 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
    • 14.00 น. ครัวเรือนอาสาเตรียมลงพื้นที่สำรวจขยะในเขตรับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ครัวเรือนที่สมัครเป็นครัวเรือนอาสาคัดแยกขยะในชุมชน จำนวน 50 ครัวเรือน เป็นตัวแทนของชุมชนในการสำรวจปริมาณ และชนิดของขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือนของตนเองในแต่ละวันและสำรวจข้อมูลขยะของเพื่อนบ้านใกล้เคียงอีก 2 หลัง รวมเป็น 3 ครัวเรือน รวมจำนวนฐานข้อมูล 150 ครัวเรือน
    • วิธีการสำรวจ ให้แจกถุงขยะให้กับครัวเรือนอาสา ครัวเรือนละ 3 ถุง ไปแจกจ่ายเพื่อนบ้าน และให้แต่ละครัวเรือนเก็บขยะที่เกิดขึ้นทุกชนิดในบ้านใส่ถุงขยะเก็บไว้ เพื่อให้ครัวเรือนอาสาไปจัดเก็บในวันถัดไป
    • นำขยะแต่ละชนิดมาแยกประเภท ชั่งน้ำหนักหาปริมาณการใช้ จัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลขยะในภาพรวมของทั้งชุมชนเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาต่อไป
    • ผลการสำรวจ ปริมาณขยะ มีดังนี้
    1. ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารและพืชผักที่เหลือจากการรับประทานสามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก หรือน้ำหมักชีวภาพได้ มีปริมาณมากที่สุดรองลงมาคือ
    2. ขยะรีไซเคิล หรือขยะที่นำมาขายได้ เช่น แก้วกระดาษ กระป๋องพลาสติก
    3. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากไม่คุ้มกันการนำไปรีไซเคิล เช่นถุงพลาสติก
    4. ขยะพิษ เป็นขยะที่หมู่บ้านไม่สามารถจัดการเองได้ ต้องให้ท้องถิ่น เทศบาลเป็นคนจัดการเช่น กระป๋องสเปรย์ ยาฆ่าแมลงถ่ายไฟฉาย

     

    50 53

    13. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ) ครั้งที่ 6

    วันที่ 9 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่ประชุมเรื่องทั่วไปของหมู่บ้าน
    • ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ใหญ่แจ้งให้ทราบเรื่องการจัดกิจกรรมของเทศบาลที่จะมีขึ้น ในวันที่ 12 - 13 มีนาคม 2559 กิจกรรม "ชักว่าว เข้าถ้ำ"  ให้ชาวบ้านไปร่วมกิจกรรมได้ที่เทศบาล และจะมีการพาชาวบ้านไปสำรวจถ้ำที่สวยงามของ ตำบลเขานิพันธ์ด้วย  มีการประกวดว่าวสวยงาม  และมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
    • กิจกรรมที่จะทำต่อไปคือ เวทีสืบค้นภูมิปัญญาการจัดการขยะในชุมชน  จะจัดในวันที่  1 เมษายน 2559

     

    30 40

    14. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ) ครั้งที่ 7

    วันที่ 9 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 13.00 น. ลงทะบียน
    • 13.30 น. ผู้ใหญ่แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่าง ๆ
    • 15.30 น. ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีประชาชนเข้าร่วมประชุม จำนวน 30คน
    • เรื่องที่ผู้ใหญ่แจ้งให้ทราบมีดังนี้
      • การทำแผนประชาคมของเทศบาล ได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนา 3 ปี โดยจะมีการประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อร่วมทำ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น
      • การทำแผนของบประมาณของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการพัฒนาของอำเภอเวียงสระ
      • แจ้งให้ทราบเรื่องโครงการของ สสส. แนะนำวิธีให้แต่ละครัวเรือนรู้จักการคัดแยกขยะ ขยะที่สามารถขายได้ ก็มีจุดรับซื้อในหมู่บ้านทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน ให้ชาวบ้านนำขยะมาแลกเป็นเงินได้

     

    30 30

    15. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ) ครั้งที่ 8

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 13.00 น. ลงทะเบียน
    • 13.30 น. ผู้ใหญ่แจ้งเรื่องต่าง ๆ ให้ที่ประชุมทราบ
    • 14.30 น. วางแผนการทำงานในครั้งต่อไป
    • 15.00 น. ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน มีสาระสำคัญในการประชุม คือ

    1. ให้ชาวบ้านรณรงค์ใส่หมวกกันน๊อค 100%
    2. ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ แนะนำคณะกรรมการให้แจ้งเรื่องกองทุนวันละบาท
    3. วางแผนการจัดกิจกรรมของ สสส.  ส่งเสริมการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะครั้งที่ 1 ในวันที่ 20 พ.ค. 2559 โดยเสนอวิทยากรที่มีความรู้ในชุมชน 2 คน คือ นายอนันต์ นาคงาม และนาย ประภาส อยู่ขาว

     

    30 30

    16. ส่งเสริมการคัดแยกขยะและจัดการขยะในชชุมชนครั้งที่ 1

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เวลา 10:00 น.- 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น. ลงทะเบียน
    • 10.00 น. ผู้ใหญ่แจ้งรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในวันนี้
    • 11.00 น. วิทยากรอธิบายถึงวิธีการ การคัดแยกขยะเบื้องต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 54 คน ทุกคนให้ความสำคัญในเรื่องของการคัดแยกขยะ เพราะกำลังเป็นปัญหาระดับโลก โดยเน้น การจัดการขยะทั้ง 4 ประเภท ดังนี้ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะพิษ และขยะทั่วไป โดยวิทยากร คือ นายโกศล ยวนทอง และ นายวีระ ชัยกุล อธิบายถึง ประเภทของขยะ และการจัดการขยะ ตามลำดับ ดังนี้

    ขยะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ชี้แจงโดย นายวีระ ชัยกุล

    1. ขยะอินทรีย์ เป็นขยะที่เน่าเสีย และสามารถย่อยสลายได้ เช่น ผลไม้ ผัก เศษอาหาร
    2. ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก
    3. ขยะพิษ เป็นขยะที่ลำลายยาก เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์
    4. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษ ไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม

    วิธีการจัดการขยะ ชี้แจงโดย นายโกศล ยวนทอง

    1. การลดการใช้ เช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก
    2. การนำผลิตภัณฑ์มาใช้ซ้ำ เช่น เมื่อทานน้ำในขวดพลาสติกหมดแล้ว ให้นำขวดกลับมาเติมน้ำใหม
    3. การนำกลับมาผลิตใหม่
    4. การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุกำจัดยาก
    5. การซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่เช่น การซ่อมแซมเสื้อผ้า การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดกลับมาใช้ใหม่
    6. ขยะติดเชื้อ ทำลายโดยการเผาโดยเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญการ

     

    50 54

    17. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ) ครั้งที่ 9

    วันที่ 9 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 13.00 น. ลงทะเบียน
    • 13.30 น. ผู้ใหญ่ประชุมเรื่องทั่วไปของหมู่บ้าน
    • 14.30 น. ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
    • ผู้ใหญ่ประชุมเรื่องทั่วไปของหมู่บ้านดังนี้
      • แจ้งให้ที่ประชุมทราบในเรื่อง ธนาคารกองทุนขยะบ้านกลาง
      • คณะกรรมการของหมู่บ้านทุกคนให้ติดป้ายหน้าบ้านให้เรียบร้อยภายในวันที่25 มิถุนายน 2559
      • ให้ชาวบ้านร่วมกันทำประชาคมโครงการของเทศบาล ในวันที่ 11 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมของเทศบาลเขานิพันธ์
    • ผู้ใหญ่แจ้งให้ชาวบ้านทราบในกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป คือ ส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน ครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 มิถุนายน 2559

     

    30 30

    18. ส่งเสริมการคัดแยกขยะและจัดการขยะในชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 10:30 น. - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน
    • ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 60 คน โดยมีวิทยากรอธิบายเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

    • วิทยากรคือ นายโกศล ยวนทอง ได้อธิบายถึงการส่งเริมการคัดแยกขยะ โดยครั้งนี้จะเน้น ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ ที่ผ่านชุมชนมีรูปการจัดการยะในลักษณะ การสร้างรายได้ คือนำขยะที่ไม่ใช้แล้วไปขายได้ วัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้ง เช่น ขวดน้ำ
    • ประโยชน์ของการคัดแยกขยะ ชี้แจงโดย นายสมพร ปลื้มสุทธิ์
    1. ช่วยลดปริมาณขยะลงได้
    2. ได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่
    3. ช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น สะอาดขึ้น ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น

     

    50 60

    19. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ) ครั้งที่ 10

    วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่ประชุมเรื่องทั่วไปของหมู่บ้าน
    • ผู้ใหญ่ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน
    • เรื่องที่แจ้งให้ทราบมีดังนี้
    1. แจ้งเรื่องการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม เวลา 08.00 - 16.00 น.
    2. แจ้งเรื่องการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยให้แต่ละครัวเรือนสำรวจ
    3. หมู่่บ้านได้รับงบประมาณ 200,000 บาทโครงการประชารัฐเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งทางหมู่บ้านจะทำประปา
    4. กิจกรรมท่ีึจะทำครั้งต่อไป คือ เวทีสืบค้นภูมิปัญญาการจัดการขยะ จะจัดในวันที่ 30 กรกฎาคม 2559

     

    30 30

    20. ส่งเสริมการคัดแยกขยะและจัดการขยะในชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น. ลงทะเบียน
    • 10.30 น. ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม
    • 11.30 น. วิทยากรอธิบายการส่งเสริมการคัดแยกขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 60คน
    • ผู้ใหญ่ ได้ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม การส่งเสริมและการคัดแยกขะในชุมชน โดยครั้งนี้จะเน้นการคัดแยกขยะ ประเภท ขยะพิษ โดยวิทยากรที่จะมาให้ความรู้คือ นายประภาส อยู่ขาว
    • วิทยากรอธิบายการส่งเสริมการคัดแยกขยะ มีเนื้อหาสำคัญคือขยะพิษเป็นขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่นหลอดไฟ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องเสปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ขยะเหล่านี้จะต้องนำไปทิ้งในถังสีเทา ฝาสีส้ม ขยะพิษเป็นขยะที่ทำลายยาก ดังนั้นเราควรทิ้งให้เป็นที่

     

    50 60

    21. เวทีสืบค้นภูมิปัญญาการจัดการขยะในชุมชน

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 10:00 น.- 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น. ลงทะเบียน
    • 10.30 น. ชี้แจงการจัดกิจกรรม
    • 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
    • 13.00 น. วิทยากรชี้แจงรายละเอียด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม 60คน วิทยากรคือ นายอนันต์ นาคงาม ได้อธิบายถึงวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด และนายทิวา ยุชยทัด ชี้แจงในเื่องประโยชน์ของการใช้น้ำหมักชีวภาพ

    ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพชี้แจงโดย นายทิวา ยุชยทัด

    • ด้านการเกษตร น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย
    • ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ
    • ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี
    • ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำหมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น
    • ประโยชน์ในครัวเรือน เราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาด แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ได้ด้วย
    • เห็นประโยชน์ใช้สอยของ น้ำหมักชีวภาพ มากมายขนาดนี้ ชักอยากลองทำน้ำหมักชีวภาพดูเองแล้วใช่ไหมล่ะ จริง ๆ แล้ว น้ำหมักชีวภาพ มีหลายสูตรตามแต่ที่ผู้คิดค้นขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ กัน วันนี้เราก็มี วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ แบบง่าย ๆ มาฝากกันด้วย

    วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร ชี้แจงโดย นายอนันต์นาคงาม

    • เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้
    • ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน
    • วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

      • ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้
      • ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย
      • ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช
    • นำไปใช้กับ พืชทางการเกษตรได้ทุกชนิด ลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี และสามรถช่วยลดปริมาณขยะในชุมชนได้เป็นอย่างมาก (อุปกรณืที่นำมาสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลเขานิพันธ์)

     

    50 60

    22. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ) ครั้งที่ 11

    วันที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 13.00 น. ลงทะเบียน
    • 13.30 น. ผู้ใหญ่ชี้แจงรายละเอียดในการประชุม
    • 14.30 น. เสนอความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม สสส.
    • 15.00 น. ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คนสาระสำคัญที่ผู้ใหญ่แจ้งให้ชาวบ้านทราบมีดังนี้

    1. ประธานกล่าวขอบคุณผู้ที่มาใช้สิทธิ์ลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559
    2. รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก โดยแกนนำ อสม.
    3. แจ้งเรื่องอบรมกาชาด วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเวียงสระ ขอตัวแทน 12 คน สมัครได้ที่ นางสาคร
    4. แจ้งเรื่องการจัดกิจกรรมของ สสส. จะมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการคัดแยกขยะครั้งที่ 4 ในวันที่ 30 สิงหาคม 2559 โดยเสนอวิทยากรคือ นายกุศล ยวนทอง
    5. ปิดประชุม

     

    30 30

    23. ส่งเสริมการคัดแยกขยะและจัดการขยะในชุมชน ครั้งที่ 4

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.30 น. ลงทะเบียน
    • 11.00 น. ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม พูดคุยหาข้อตกลงร่วมกัน เกี่ยวกับการจัดการขยะ โดยผู้รับรับผิดชอบโครงการ
    • 12.00 น. วิทยากร โดย นาย อนันต์  นาคงาม แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับถังขยะ
    • 15.00 น. ร่วมกันเสนอแนะวิธีการลดขยะในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม 60 คน ทุกคนเห็นความสำคัญในเรื่องการจัดการขยะ ประธานโครงการได้แจ้งรายละเอียด มีสาระสำคัญดังนี้
    1. ส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อนำมาแลกเป็นเงิน โดยจะรับซื้อขยะจากชาวบ้านทุกวันที่ 9 ของเดือน ซึ่งเป็นวันประชุมหมู่บ้าน
    2. ขยะที่สามารถนำมาแปรรูปได้ ก็ส่งเสริมให้ชาวบ้านแปรรูป เช่น การทำหมวกจากกล่องนม ทำกระเป๋าจากซองกาแฟ
    3. ส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
    • วิทยากรโดย นายอนันต์ นาคงาม อธิบายถึงลักษณะสีของถังขยะ ว่าถังขยะสีอะไรใส่ขยะประเภทไหน เพื่อให้การจัดเก็บขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ จะต้องมีการแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะตามสีต่าง ๆ โดยมีถุงบรรจุในตัวถัง ดังนี้
    1. สีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักได้ เช่น ผลไม้ ผัก
    2. สีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น กระป๋อง กระดาษ
    3. สีเทาฝาสีส้ม รองรับขยะที่เป็นอันตรายต่องสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์
    4. สีฟ้า รองรับขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษ ไม่คุ้มค่ารีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม

     

    50 60

    24. พัฒนากลไกการขับเคลื่อนงาน (สภาผู้นำ) ครั้งที่ 12

    วันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 13.00 น.-15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 13.00 น. ลงทะเบียน
    • 13.30 น. ผู้ใหญ่แจ้งเรื่องต่าง ๆ ให้ชาวบ้านทราบ
    • 15.30 น. ร่วมกันเสนอ สถานที่ที่จะไปศึกษาดูงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม 30คน ผู้ใหญ่แจ้งเรื่องต่าง ๆ ให้ชาวบ้านทราบมีสาระสำคัญดังนี้
    1. ให้ปราบปรามผู้มีอิทธิพลในพื้นที่
    2. ให้ปราบปรามการเล่นการพนันทุกชนิด
    3. กำหนดให้มีการจัดไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับธนาคารขยะ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2559 ณ นาสารโมเดล ต.ทุ่งเตา อ.บ้านนาสาร และ อบต.น้ำพุ ต.ควนศรี อ.บ้านนาสาร

     

    30 30

    25. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม (จัดทำรายงาน งวดที่ 2)

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 09.00 น. ลงทะเบียน
    • 09.30 น. ตรวจเอกสารการเงิน+รายงานคอม
    • 12.00 น. พักเที่ยง
    • 13.00 น. พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส  จันทร์ทอง ชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมประชุมกับสจรส. มอ. 2 คน คือ ประธานโครงการ และฝ่ายบันทึกข้อมูล ในครั้งนี้มีการตรวจเอกสารการเงินของแต่ละกิจกรรม ตรวจรายงานข้อมูลทางคอม มีข้อผิดพลาดตรงไหน ทางเจ้าหน้าที่ก็ให้คำแนะนำ และกลับไปทำใหม่ให้ถูกต้อง
    • การตรวจหลัฐาน เอกสารทางการเงิน พี่เลี้ยงโครงการก็ได้ตรวจ ใบลงทะเบียน ดูว่าจำนวนคนที่ลงทะเบียนกับที่ส่งข้อมูลผ่านเว็บไซน์ตรงกันหรือไม่ ใบสำคัญรับเงินกรอกข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์ บิลที่ออกจากร้านค้าก็ถูกต้องส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ละกิจกรรมก็เป็นไปตามที่ สสส. กำหนดรายละเอียดการเขียนรายงาน มีข้อผิดพลาดต้องแก้ไขเพิ่มเติมบ้างก็จัดทำเรียบร้อยแล้ว
    • นางสาวกัญนภัสจันทร์ทอง ได้ชี้แจงในเรื่อง การลงทะเบียนไปร่วมงาน สร้างสุขภาคใต้วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 โครงการละ 2 คน ส่วนโครงการที่ต้องไปจัดบู๊ท ให้ลงทะเบียน โครงการละ 3 คน โดยตัวแทนจัดบู๊ทของจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ โครงการผักสมุนไพร เชื่อมใยรักคนเขาปูน จะเน้นในเรื่องของการดูแลสุขภาพในการอบสมุนไพร และอีกโครงการคือของ ถ้ำผุด จะเน้นเรื่องการนำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสมุนไพร ไปจัดบู๊ท

     

    2 2

    26. งานวันชุมชนสะอาด ครัวเรือนปลอดขยะ

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 10:00 น. -15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น. ลงทะเบียน
    • 10.30 น. ร่วมเสนอรายชื่อครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ + มอบของที่ระลึกให้กับครัวเรือนต้นแบบที่ได้ดำเนินการคัดแยกขยะในครัวเรือน จัดบ้านน่าอยู่ถูกสุขลักษณะ
    • 12.00 น. พักเที่ยง ร่วมรับประทานอาหาร
    • 13.00 น. เดินรณรงค์วันชุมชนสะอาดรอบ ๆ หมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 105 คนครัวเรือนต้นแบบที่ได้รับของที่ระลึกในการดำเนินการจัดการขยะ มีทั้งหมด 6ครัวเรือน ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบมี ดังนี้
    • ครัวเรือนที่จัดการขยะโดยการนำขยะอินทรีย์มาทำน้ำหมักชีวภาพมีดังนี้
    1. นายอนันต์ นาคงาม
    2. นางพรรทิพย์ กุลคง
    3. นางสบาย นาคงาม
    • ครัวเรือนสะอาดถูกสุขลักษณะ มีดังนี้
    1. นางไพศรี เพ็งสกุล
    2. นางเพ็ญศรี เพ็ญจันทร์

    3. นายสุวิทย์พุทธสุขา

    • หลังจากเสร็จกิจกรรมที่ศาลาทุกคนก็ได้ร่วมกันเดินรณรงค์เนื่องในวันชุมชนสะอาดรอบ ๆ หมู่บ้าน

     

    100 105

    27. งานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 10.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559

    • พิธีเปิด การแสดงโขนโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ ร่วมกันร้องเพลงชาติไทย
    • กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
    • กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
    • ปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
    • รายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้
    • เสวนา มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟิ จะปะกียา นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายทวีวัตร เครือสาย นายแพทย์ยอร์น จิระนคร ดำเนินรายการเสวนาโดย นายแพทย์ บัญชา พงษ์พานิช
    • ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม โดย นายอานนท์ มีศรี และนายฮารีส มาศชาย
      วันที่ 4 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุขแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม

    • ประชุมห้องย่อย เข้าห้องประเด็นชุมชนน่าอยู่ เสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงโดย คุณมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว คูณวิศิษฐ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง คุณจำเรียง นิธิกรกุล นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง ดำเนินการเสวนาโดย คุณทวีชัย อ่อนนวน
    • ชมการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร
    • นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยคุณสมยศ บรรดา และทีมงานโครงการ - นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย คุณวณิชญา ฉันสำราญ และทีมงานโครงการ - นำเสนอกรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
    • นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยคุณสมพร แทนสกุล และทีมงาน
    • นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยนายอนุชา เฉลาชัย และทีมงาน
    • ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายโดย คุณสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก คุณสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นายแพทย์ไพศาล เกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณกำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • ลานปัญญาเสวนา
    • ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง
      วันที่ 5 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรม

    • กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่าย
    • เสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน โดย นายแพทย์ภักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร. สุปรีดา อดุยยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล รองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ไทย พี บี เอส ดำเนินการอภิปราย คุณณาตยา แวววีรคุปต์
    • พิธีปิด โดยผู้ร่วมเสวนาทุกท่านและผู้เข้าร่วมทุกคน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ผู้รับผิดชอบโครงการและฝ่ายบันทึกข้อมูล จำนวน 2 คน ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมรับฟังปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ ฟังการเสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ฟังเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย โครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายโดย คุณสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นายแพทย์ไพศาล เกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลานปัญญาเสวนา ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรมกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่ายเสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน
    • ผลลัพธ์
    1. ได้รับความรู้ในการทำงานเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ทั้งด้านแนวคิด และวิธีการ
    2. ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆ ของโครงการที่มานำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเองได้
    3. ได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เช่น สสส./ สช./ สปสช. เป็นต้น
    4. เกิดเครือข่ายในการทำงานเพื่อส่วนรวม สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และกำลังใจให้แก่กันเมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา
    5. มีความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่ต่อไป
    6. เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมพี่เลี้ยงของโครงการ และทีมงานในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้

     

    2 2

    28. ศึกษาดูงานธนาคารขยะ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2559 เวลา 08.00 น. - 17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 08.00 น. ทุกคนพร้อมกันที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน
    • 08.30 น. เริ่มออกเดินทางจากบ้านกลางโดยรถบัส
    • 10.00 น. ถึงนาสารโมเดล
    • 10.30 น. ฟังวิทยากรบรรยายเรื่องการจัดการขยะ
    • 12.30 น. ร่วมรับประทานอาหารเที่ยง
    • 13.30 น. - 14.30 น. เดินทางไปเยี่ยมชมบ้านต้นแบบเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร
    • 15.30 น. เยี่ยมชมการจัดการขยะที่ อบต. น้ำพุ ฟังคำบรรยายของนายกตำบลน้ำพุ และทีมงานการจัดการขยยะ
    • 17.00 น. เดินทางกลับบ้านกลางโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการจัดกิจกรรมศึกษาดูงานในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 52 คน นำโดยปลัดเสาวภา รัตนพันธ์ผู้ใหญ่สง่าทุ่มก็ก และคุณครูชำนาญสวัสดิโกมล พร้อมด้วย สท.สุนทรมณีโชต์ สท.เพ็ญศรีพรหมบุตรคณะกรรมการโครงการ สภาผู้นำขุมชน ปรระชาชนทั่วไป และนักเรียนโรงเรียนบ้านกลางทั้งหมดรวม 52 คน เริ่มออกเดินทางจากบ้านกลางตั้งแต่ 08.30 น. ถึงนาสารโมเดล ต. ทุ่งเตา อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี เวลา 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่างเวลา 10.30 น. ฟังการบรรยายเรื่องการจัดการขยะเบื้องต้น โดยวิทยากร ชื่อ ธีรพล พุทธทอง ได้อธิบายถึงวิธีการจัดการขยะคือต้องเริ่มทำที่ต้นทาง คือครัวเรือนแล้วค่อยพัฒนาไปชุมชน ปรัชญาของนาสารโมเดล คือ "ทำทันที" ขยะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
    1. ขยะอินทรีย์สามาถนำมาทำน้ำหมักชีวภาพได้
    2. ขยะรีไซเคิล สามารถนำมาขายหรือแปรเป็นทุนได้
    3. ขยะที่เป็นวัสดุเหลือใช้ นำมาดัดแปลงแล้วสามารถนำกลับไปใช้ได้ใหม่
    4. ขยะติดเชื้อ เป็นขยะที่อันตรายต้องนำไปกำจัดให้ถูกวิธี
    • อันดับแรกเลยที่ต้องทำคือ ต้องให้ครัวเรือนทุกครัวเรือนรู้จักการคัดแยกขยะแต่ละประเภท แยกเป็นถุงๆ เก็บไว้ที่บ้าน ขยะประเภทไหนที่ขายได้ก็จะมีคนไปซื้อถึงที่บ้าน หรือมีการรับซื้อหลายๆ จุด เพราะยากที่จะให้คนในครัวเรือนนำมาขายเอง เพราะบางทีคนที่เก็บขยะขายอาจจะเป็นผู้สูงอายุ จึงไม่สะดวกที่จะนำขยะออกมาขาย ขยะที่สามารถนำมาดัดแปลงเป็นอย่างอื่นได้ก็มีการจัดอบรมให้ เช่นการนำกล่องนมมาทำหมวกการทำดอกไม้จากขวดพลาสติก
    • 12.30 น. พักเที่ยงรับประทานอาหารร่วมกัน
    • 13.30 น. ออกเดินทางไปเยี่ยมบ้านต้นแบบการจัดการขยะ ที่ ม.4 ต.ควนศรี อ.บ้านนนาสาร โดยการนำของคุณธีรพล ซึ่งบ้านที่ไปเยี่ยมชมนั้นคือ บ้านของคุณสุวิมล พุทธกาล มีการปลูกผักปลอดสารพิษ มีการทำน้ำหมักชีวภาพ รวมถึงการคัดแยกขยะ ซึ่งคุณสุวิมล บอกว่าได้ทำแบบนี้มาเป็นเวลา 6 ปีแล้ว ทำน้ำหมักเป็นปุ๋ย กินผักปลอดสารพิษ
    • หลังจากนั้นก็ได้ออกเดินทางไปที่ อบต. น้ำพุ ต.ควนศรี อ.บ้านนาสารโดยได้รับการต้อนรับจาก นายก อบต.น้ำพุ และทีมงานการจัดการขยะ จุดเด่นของที่นี้คือ มีการจัดการขยะรีไซเคิล มีการจัดทำโรงเรือนคัดแยกขยะ มีการรับซื้อขยะทุกวันอาทิตย์ที่ 4 ของเดือน ชุมชนที่สามารถทำแบบนี้ได้ต้องเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีการทำงานเป็นทีม ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย สุดท้ายก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทุกคน ที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงานนอกพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับความรู้ที่หลากหลายสามารถนำมาประยุกใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
    • 17.00 น. เดินทางกลับจาก อบต. น้ำพุ - บ้านกลางโดยปลอดภัย

     

    50 52

    29. เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น. ลงทะเบียน
    • 10.30 น. ร่วมถอดบทเรียนโดยปลัด เสาวภารัตนพันธ์ และอาจารย์ สมพร  ปลื้มสุทธิ์
    • 12.00 น. พักเที่ยง
    • 13.00 น ร่วมเสนอแผนงานวนการจัดการขยะ
    • 15.00 น.ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 คน
    • ถอดบทเรียนได้ดังนี้
    1. แกนนำมีความเข้าใจแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีแผนการดำเนินงานร่วมกัน เกิดกลุ่มสภาผู้นำชุมชนที่สามารถวิเคราะห็ปัญหาของชุมชนได้
    2. คนในชุมชนรับทราบกิจกรรมที่จัดขึ้นในชุมชน เกิดการมีส่วนร่วม มีทีมงานในการดำเนินงาน ร่วมกันแก้ปัญหา ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    3. คณะกรรมการทำงานมีทักษะในการเก็บข้อมูลในชุมชน
    4. กลุ่มเป้าหมายร่วมกันทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพิ่มขึ้น
    5. ลดปริมาณขยะในครัวเรือน
    6. ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร
    7. มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ
    8. มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในชุมชนในทางที่ดีขึ้น
    9. เกิดองค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะ การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง

     

    50 60

    30. จัดทำรายงานโครงการ งวดที่ 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตรวจสอบเอกสารการเงิน
    • ตรวจสอบปรับแก้รายงาน ปริ้นเอกสารส่ง สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนสามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการได้อย่างสมบูรณ์ทุกชิ้น ทั้ง ส.3 ส.4
    • สามารถจัดทำรายางานการ ง.1 งวด  2 และ ง.2 ได้อย่างถูกต้อง
    • สามารถจัดส่งรายงานตามที่ สสส. กำหนดได้ 

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนทำหน้าที่ดูแล การแก้ไขปัญหาในชุมชน
    ตัวชี้วัด : - มีสภาผู้นำชุมชน อย่างน้อย 30 คน ทำหน้าที่ดูแลแก้ไขปัญหาชุมชน - มีการประชุมติดตามการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เดือนละ 1 ครั้ง - การประชุมทุกครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ80 - ประชุมทุกครั้งมีการหารือกันในเรื่องโครงการ และเรื่องต่างๆ ของชุมชน
    • มีสภาผู้นำชุมชน30 คน ทำหน้าที่ดูแลแก้ไขปัญหาชุมชน
    • มีการประชุมติดตามการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 ครั้ง
    • การประชุมทุกครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
    • ประชุมทุกครั้งมีการหารือกันถึงเรื่องโครงการ และเรื่องต่าง ๆ ของชุมชน
    2 เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะโดยใช้กติกาชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
    ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน และสามารถคัดแยกขยะในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 50 ครัวเรือน 2. ขยะในชุมชนที่ทางเทศบาลต้องจัดเก็บมีปริมาณลดลง อย่างน้อย 10% 3. มีการใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาขยะแต่ละประเภท มีการแปรรูปขยะ อย่างน้อย 4 รูปแบบ 4. มีกติกาชุมชนในการดูแล แก้ไขปัญหาขยะในชุมชน
    1. คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน และสามารถคัดแยกขยะในครัวเรือนได้ จำนวน 50 ครัวเรือน โดยเป็นครัวเรือนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้การจัดการขยะ ทั้ง 4 ครั้ง
    2. ขยะในชุมชนที่ทางเทศบาลต้องจัดเก็บมีปริมาณลดลง ประมาณ ร้อยละ 30 โดยเฉพาะขยะรีไซเคิล
    3. มีการใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาขยะแต่ละประเภท มีการแปรรูปขยะ อย่างน้อย 2 รูปแบบ คือ ขยะอินทรีย์ เอามาทำน้ำหมักชีวภาพ และขยะรีไซเคิล เอามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
    4. มีกติกาชุมชนในการดูแล แก้ไขปัญหาขยะในชุมชน คือ
    • ให้คนในชุมชนเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำ ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน
    • ให้นำขยะมาแลกเป็นเงิน โดยจะมีคนรับซื้อขยะจากชาวบ้านทุกวันที่ 9 ของเดือน
    • ส่งเสริมให้ชาวบ้านแปรรูปขยะที่สามารถนำมาแปรรูปได้
    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. 100% ของจำนวนครั้งที่จัด รวม 8 ครั้ง
    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง โดยติดตั้งในวัด ในศูนย์เรียนรู้สมุนไพร
    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนทำหน้าที่ดูแล การแก้ไขปัญหาในชุมชน (2) เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะโดยใช้กติกาชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง

    รหัสโครงการ 58-03926 รหัสสัญญา 58-00-1923 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
    • ความรู้ด้านการจัดการขยะ 4 ประเภท
    • ครูภูมิปัญญาที่มาถ่ายทอดการจัดการขยะ และการส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน
    • ส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนให้ครบทุกประเภท
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่
    • ชุดมโนราห์บิกจากขยะ
    • ใช้ชุดในการแสดงการออกกำลังกาย การเต้นแอโรบิกในงานกีฬาของอำเภอ
    • เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตชุดมโนราห์บิกสู่ชุมชน เยาวชน และชุมชนใกล้เคียง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
    • สภาผู้นำชุมชน
    • มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง
    • ส่งเสริมให้มีบทบาทของสภาผู้นำเพิ่มขึ้น โดยเน้นการพัฒนาชุมชนในทุกรูปแบบ
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย
    • มโนราห์บิกโดยใช้ชุดขยะ
    • มีการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยแอโรบิก แต่ใช้ชุดจากขยะที่นำมาตัดเย็บเป็นชุด
    • ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านอื่นๆ สู่ชุมชน สู่โรงเรียน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง
    • การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการขยะ
    • มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการจัดการขยะเปียกด้วยการทำน้ำหมักชีวภาพสุ่คนในชุมชน
    • ส่งเสริมการนำภูมิปัญญามาจัดการขยะชนิดอื่นๆ ด้วย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ
    • มีการจัดการขยะต้นทาง
    • มีการอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมการคัดแยกขยะจากที่บ้าน โดยมีกิจกรรมขยะแลกไข่ การรับซื้อขยะรีไซเคิล
    • อำนวยความสะดวกในการคัดแยกขยะ เช่น จัดจัดทิ้งขยะพิษ จุดรับซื้อขยะรีไซเคิลให้สะดวก เข้าถึงชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
    • มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการคัดแยกขยะ
    • มีคนที่มีอาชีพเก็บขยะ รับซื้อขยะเข้ามาในชุมชน เพื่อรับซื้อขยะที่แยกไว้
    • ส่งเสริมการจัดการขยะเต็มรูปแบบ สร้างกองทุนจากขยะ เพื่อเป็นแหล่งทุนในการจัดการขยะของคนในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน
    • มีการประชุมสภาผู้นำเดือนละ 1 ครั้ง
    • ส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และแปรรูปขยะ
    • ประชุมสภาผู้นำ ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน
    • นำขยะมาแลกเป็นเงิน โดยจะรับซื้อขยะจากชาวบ้านทุกวันที่ 9 ของเดือน ซึ่งเป็นวันประชุมหมู่บ้าน
    • ขยะที่สามารถนำมาแปรรูปได้ ก็ส่งเสริมให้ชาวบ้านแปรรูป เช่น การทำหมวกจากกล่องนม ทำกระเป๋าจากซองกาแฟ ส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
    • จัดกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กิจกรรมขาดตอน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
    • มีการเชื่อมประสานเครือข่ายภายในและภายนอกชุมชน
    • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะกับชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนมาประยุกต์ใช้ในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)
    • มีการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยการวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมินผล
    • ในการจัดกิจกรรมทุกครั้งมีการประชุมวางแผนกิจกรรม สรุปผลการจัดกิจกรรม ในเวทีประชุมสภาผู้นำ และการประชุมทีมงาน
    • ใช้เวทีประชุมสภาผู้นำในหารบริการจัดการชุมชนออย่างต่อเนื่อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน
    • มีการใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน โดยเฉพาะทุนทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ มีภูมิปัญญาด้านการจัดการขยะ
    • มีการนำผู้รู้ ครูภูมิปัญญาในชุมชนมาถ่ายทอดความรู้การจัดการขยะ การทำน้ำหมักชีวภาพ การแปรรูปขยะเป็นชุดแอโรบิก
    • ส่งเสริมการประโยชน์จากทรัพยากรด้านอื่นๆ ที่มีในชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง
    • มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มสภาผู้นำอย่างต่อเนื่อง
    • สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ในวันที่ 9 ของทุกเดือน
    • ใช้เวทีสภาผู้นำในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนในทุกด้าน อย่างต่อเนื่อง
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ
    • คณะทำงานมีทักษะในการจัดการโครงการเพิ่มขึ้น ในด้านการวางแผนการปฏิบัติงานโครงการ และการตัดสินใจในการทำงานด้วยการใช้ข้อมูลที่มีในชุมชน ผ่านการตัดสินใจร่วมกันแบบมีส่วนร่วม
    • มีการนำข้อมูลจากโครงการ จากการประชุมพูดคุยมาตัดสินใจร่วมกันในเวทีประชุมหมู่บ้าน เวทีประชุมสภาผู้นำชุมชน
    • พัฒนาทักษะของชุมชนในการทำงานด้านการจัดทำแผนชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการ
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
    • ชุมชนมีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง โดยเฉพาะการนำเอาภูมิปัญญา ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการจัดการขยะมาแสดง
    • งานกีฬาประจำอำเภอเวียงสระ
    • ส่งเสริมให้มีการขยายผลการแปรรูปขยะสู่โรงเรียน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล
    • คนในชุมชนเห็นประโยชน์ส่วร่วมและส่วนตนอย่างสมดุล โดยการเข้าร่วมประชุม เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
    • เวทีประชุมสภาผู้นำชุมชน
    • รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดในชุมชน
    • สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของตนเองในการร่วมกันพัฒนาชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา
    • มีการตัดสินใจผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
    • เวทีประชุมหมู่บ้าน
    • การพูดคุยปัญหาในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง จังหวัด สุราษฎร์ธานี

    รหัสโครงการ 58-03926

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สง่า ทุ่มก๊ก )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด