แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี ”

บ้านบางคุระ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาง เสาวรส แป้นถนอม

ชื่อโครงการ บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี

ที่อยู่ บ้านบางคุระ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03903 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2195

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านบางคุระ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านบางคุระ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03903 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,940.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 210 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำให้เกิดสภาพผู้นำเข้มแข็ง
  2. เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นรายจ่ายลดลงมีการออมและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกร
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการจาก ผส.ดร.พงเทพษ์ และทีมงานของคนใต้สร้างสุข
    • ตัวแทน จาก สจรส มอ บรรยายและแนะนำขั้นตอนในการลงกิจกรรมของโครงการ การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด กิจกรรมที่จะต้องลงมีดังต่อไปคือ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมชี้แจงชุมชนในการดำเนินงานทุกครั้งต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนและพี่เลี้ยงในลงไปช่วยในการปิดงวดแต่ละครั้ง พร้อมทั้งตัวแทนจะ สจรส.มอ. ไปช่วยตรวจสอบความถูกต้องหลังจากทำงานไป 2 เดือน ต่อจากนั้นจะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย สสส. เป็นผู้จัด
    • อาจารย์ กำไลสมรักษ์ชี้แจงกิจกรรมที่จะต้องทำ เช่น เตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตียมคนช่วยงาน เพื่อเริ่มต้นการทำงานให้สำเร็จ
    • อาจารย์ สุดาไพศาล ชี้แจงการจัดทำรายงานการเงินการลงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
    • ทีมงานจาก สจรส มอแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพที่ดี แนะนำชี้แจงการลงข้อมูลในโปรแกรมและฝึกปฏิบัติการลงรายงานในเวปคนใต้สร้างสุข จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานตลอดโครงการ จนเสร็จ และ บันทึกกิจกรรมวันปฐมนิเทศ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะทำงานเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ จำนวน 2 คน รับฟังการบริหารจัดการโครงการ สสส. เรียนรู้การจัดทำรายงานต่างๆรายงานการเงิน การลงทะเบียน การเบิกจ่ายงบในแต่ละกิจกรรม การจัดทำรายงานผ่าน เว็บคนใต้สร้างสุข
    • ผลลัพธ์ คณะทำงานทราบและเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สสส.สามารถจัดทำรายงานต่างๆได้ และบันทึกรายงานผ่านเว็บคนใต้สร้างสุขได้

     

    2 2

    2. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่1

    วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงาน ประชุมร่วมกันวางแผนเพื่อจัดกิจกรรม มอบหมายภาระหน้าที่ ที่จะต้องดำเนินการให้การจัดประชุมชี้แจงโครงการกับชุมชน ตามแผนงานที่วางไว้
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงกิจกรรมต่างๆที่จะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลาหนึ่งปี ตามสัญญาที่ ทำไว้กับ สสส ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง
    • พูดคุยเรื่องปัญหาต่างๆของชุมชนเพื่อได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับทราบกิจกรรมที่จะดำเนินการตลอดระยะเวลาหนึ่งปี
    • ผลลัพธ์ สภาผู้นำจะช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการ โดยวางแผนจะดำเนินการประชุมชี้แจงชุมชนในวันที่ 15 ตุลาคม 2558 และจะเชิญพี่เลี้ยงโครงการและเจ้าหน้าที่จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางไทรนนท์มาร่วมในวันประชุมชี้แจงด้วยเน้นย้ำให้เลขาและเหรัญหิก ในเรื่องการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในแต่ละกิจกรรม
    • พูดคุยเรื่องปัญหาผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน ปัญหาการประกอบอาชีพ และร่วมกันพูดคุยหารูปแบบการทำป้ายโครงการ และป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามตัวอย่างที่ สสส. กำหนด สภาผู้นำเข้าใจกิจกรรมที่จะต้องร่วมดำเนินการตลอดโครงการ และทราบบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องผู้ป่วยโรคเรื้องรัง

     

    20 20

    3. สภาผู้นำชุมชนร่วมกันออกแบบสร้างเครืองมือ

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการและนักเรียนลงทะเบียน
    • ร่วมกันออกแบบ เพื่อสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลของชุมชนครอบคลุมข้อมูลมี ภาระหนี้ รายรับ รายจ่าย วิถึการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินการสำรวจ
    • มอบหมายเลขาโครงการดำเนินการจัดพิมพ์ แบบเครื่องมือที่สร้างขี้น และเตรียมถ่ายเอกสารแบบเครื่องจำนวน 150 ชุดเตรียมพร้อมในการสำรวจข้อมูลในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ 20 คน นักเรียน 10 คน ร่วมกันออกแบบเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลภาระหนี้ รายรับรายจ่ายและวิถีชีวิตของชุมชน พร้อมมอบเลขาโครงการจัดพิมพ์แบบฟอร์ม และถ่ายเอกสารจำนวน150ชุด เตรียมพร้อม ออกสำรวจครัวเรือน

    • ผลลัพธ์ มีเครื่องมือที่จะใช้ในการออกสำรวจเก็บข้อมูลของชุมชนครอบคลุม

     

    30 30

    4. ทำป้ายปลอดบุหรี่

    วันที่ 11 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามที่ สสส กำหนด ติดในสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตมีป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามมาตราฐานที่สสส กำหนด จำนวน 1 ป้ายติดในสถานที่จัดทำกิจกรรมของโครงการ
    • ผลลัพธ์กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีการสูบบุหรี่ ในเวลาการจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายเกิดจิตสำนึกงดสูบบุหรี่ในวันจัดกิจกรรม

     

    2 2

    5. สภาผู้นำชุมชนจัดเวทีชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบที่มาของงบประมาณและวัตถุประสงค์ และการจัดกิจกรรมของโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือนลงทะเบียนร่วมเวทีชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบที่มาของงบประมาณและวัตถุประสงค์ และการจัดกิจกรรมของโครงการ
    • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย และพูดคุยที่มาของโครงการ
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจง งบประมาณที่ได้รับสนับสนุน และกิจกรรมต่างๆที่คนในชุมชนจะต้องร่วมกันทำ
    • พี่เลี่ยงโครงการ นางสุดา ไพศาล ช่วยเพิ่มเติมในเรื่องที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมงบประมาณและกิจกรรมต่างๆที่ต้องทำตลอดโครงการและให้ทุกคนในชุมชนร่วมกันตรวจสอบและร่วมทำกิจกรรม ในส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละกิจกรรม
    • ผู้อำนวยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางไทรนนท์ ร่วมกับคณะกรรมการและชาวบ้านร่วมแบ่งโซนกลุ่มบ้านเพื่อจะได้เตรียมการในกิจกรรมการสำรวจครัวเรือน ร่วมกันแบ่งกลุ่มบ้านได้ 10 กลุ่มๆละประมาณ 12ถึง14ครัวเรือน มอบหมายให้คณะกรรมการรับผิดชอบแต่ละกลุ่มบ้าน เพื่อทำกิจกรรมในการสำรวจครัวเรือนต่อไป
    • เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้สอบถาม ไม่มีใครมีข้อสงสัย
    • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวขอบคุณ ผู้ที่มาร่วมเวทีในวันนี้และขอให้ทุกคนร่วมกันทำกิจกรรมตามแผนงานโครงการที่วางไว้ ซึ่งจะเชิญมาร่วมกิจกรรมตลอดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 140 คน เข้าร่วมเวทีรับฟังคำชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการงบประมาณที่ได้รับสนับสนุนจาก สสส และกิจกรรมต่างๆที่ต้องร่วมกันดำเนินการตลอดโครงการแบ่งกลุ่มบ้านจำนวน 10 กลุ่มๆละ14 ครัวเรือน มีคณะกรรมการรับผิดชอบกลุ่มบ้านละ2 คน เพื่อร่วมกับนักเรียนลงสำรวจข้อมูล ครัวเรือนในกิจกรรมต่อไป
    • ผลลัพธ์ ตัวแทนครอบครัวรับทราบ วัตถุประสงค์ของโครงการงบประมาณที่ได้รับสนับสนุนจาก สสส และกิจกรรมต่างๆที่ต้องร่วมกันดำเนินการตลอดโครงการ กลุ่มบ้านถูกจัดเป็นกลุ่มจำนวน10 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมี14 ครัวเรือน มีคณะกรรมการรับผิดชอบในแต่ละกลุ่มบ้านชัดเจน มีแผนการสำรวจข้อมูลในแต่ละกลุ่มบ้าน

     

    140 140

    6. สภาผู้นำชุมชนร่วมกันสำรวจข้อมูล

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการนักเรียน ลงทะเบียน
    • แบ่งกลุ่มที่ออกสำรวจประกอบด้วย คณะกรรมการ 2 คน นักเรียน 1 คน จำนวน 10 กลุ่ม
    • มอบหมายครัวเรือนที่จะสำรวจ กลุ่ม 14 ครัวเรือน ในละแวกบ้านใกล้เคียงกัน
    • ออกสำรวจข้อมูลตามครัวเรือน โดยการสัมภาษณ์ แล้วสรุปลง ตามแบบฟอร์ม ที่สร้างไว้ พร้อมบันทึกข้อมูลแต่ละครัวเรือน
    • นำเอกสารที่ได้จากการสำรวจ รวบรวมไว้ที่เจ้าของโครงการเพื่อนำมาร่วมกันวิเคราะห์ในวันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ 20 คน นักเรียน จำนวน 10 คน ร่วมออกสำรวจข้อมูลครัวเรือนจำนวน 140 ครัวเรือน
    • ผลลัพธ์ ได้ข้อมูลภาระหนี้สิน รายรับ รายจ่ายรายครัวเรือน

     

    30 30

    7. สภาผู้นำชุมชนร่วมวิเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการ นักเรียน ร่วมลงทะเบียน
    • ร่วมกันวิเคราะห์ขอมูลหาสาเหตุและปัจจัยโดยกลุ่มแกนนำเยาวชนและผู้ที่มีความรู้ความชำนาญมาร่วมกันวิเคราะห์โดยวิเคราะห์ถึงสาเหตุสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดการปัญหาหนี้สินทั้งปัจจัยที่เกิดจากคนจากสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบทของชุมชนและกลไกจัดการของชุมชนด้วย
    • ร่วมสรุปผลการวิเคราะห์ เตรียมคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ นักเรียน จำนวน 30 คน ผู้มีความชำนาญจำนวน 2 คน ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ และสรุปผลการสำรวจ ภาระหนี้สิ้นส่วนใหญ่ในภาพรวมของชุมชนคือ ต้นทุนในการผลิตทางการเกษตร สูง ผลผลิตราคาตกต่ำและรายจ่ายที่ไม่จำเป็นครัวเรือนเช่น ค่าบุหรี ค่าเหล้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต และรายรับไม่พอกับรายจ่าย ต้องกู้ธนาคาร
    • ผลลัพธ์ เกิดการเรียนรู้ในเยาวชนและในคณะทำงาน เกิดความตะหนักในสภาพปัญหาและการแก้ไขปัญหา มีฐานข้อมูลชุมชนและทราบสถานการณ์ของชุมชน

     

    32 32

    8. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่2

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการลงทะเบียน
    • ร่วมพูดคุยวางแผนการจัดกิจกรรมการคืนข้อมูลภาระหนี้สิน รายรับ รายจ่ายของชุมชนวางแผนการจัดนิทรรศการข้อมูล การแสดงทบบาทสมมุติในการคืนข้อมูล โดยวางแผนให้นักเรียนที่ร่วมสำรวมข้อมูล จำนวน 10 คน เป็นผู้แสดงบทบาทสมมุติ
    • มอบหมายคณะกรรมการฝึกซ้อมการแสดงให้เด็กนักเรียนพร้อมจัดซื้ออุปกรณ์การจัดนิทรรศการและการแสดง
    • คณะกรรมการที่รับผิดชอบการจัดซื้ออุปกรณ์เบิกเงินจากเหรัญหิกไปดำเนินการจัดซื้อ
    • คณะกรรมการแต่ละคนทบทวนภาระกิจที่ต้องรับผิดชอบในการกิจกรรมการคืนข้อมูลให้ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ จำนวน 20 คนเข้าประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน มอบหมายภาระกิจจัดฝึกซ้อมนักเรียนแสดงบทบามสมมุติ ผู้รับผิดชอบจัดนิทรรศการ
    • ผลลัพธ์ มีแผนการดำเนินงาน มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน

     

    20 20

    9. คืนข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ นักเรียน จำนวน 150 คน ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน
    • ผู้ใหญ่กล่าวทักทายพูดคุยชี้แจงการจัดกิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน
    • ร่วมรับฟังปัญหาหนี้สิน รายรับ รายจ่าย ในภาพรวมของชุมชน ที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล
    • จัดนิทรรศการ ข้อมูลต่างๆของชุมชน
    • นักเรียนแสดงบทบาทสมมุติในครัวเรือนที่มีภาระหนี้ ให้คนในชุมชนได้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
    • ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน เช่นรายจ่ายที่ควรลดในแต่ละครัวเรือนรายได้ที่ควรจะหามาเพิ่มได้จากที่ไหนบ้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ นักเรียน จำนวน 150 คนเข้าร่วมรับฟังปัญหาหนี้สินรายรับ รายจ่าย ในภาพรวมของชุมชน ที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล ภาระหนี้สินส่วนใหญ่ในภาพรวมของชุมชนคือ ต้นทุนในการผลิตทางการเกษตร สูง ผลผลิตราคาตกต่ำและรายจ่ายที่ไม่จำเป็นครัวเรือนเช่น ค่าบุหรี ค่าเหล้า อื่นๆเพิ่มขึ้น รายรับ ไม่พอกับรายจ่าย ต้องกู้ธนาคาร ร่วมกันหาแนวทางลดรายจ่ายของครัวเรือน ในรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเช่นค่าซื้อหวย ค่าบุหรี่ ค่าสุรา นักเรียนได้แสดงออกในกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมุติ ทำข้อตกลงร่วมกันในการลดรายจ่าย ในการทำเกษตรลดการซื้อปุ๋ยเคมี หันมาทำน้ำหมักใช้ทดแทนเพื่อลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ย พร้อมกับทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้ในครัวเรือน การจัดงานประเพณี ลดการใช้สุราในงานเลี้ยงในส่วนค่าหวยและบุหรี่ ให้แต่ละครัวเรือน ช่วยกันหารือกับสมาชิกในครัวเรือน ในเรื่องการลดการสูบบุหรี่ และการซื้อหวย ทำบัญชีไว้และรวมกันติดตาม มาแลกเปลี่ยนกันในเวที่ประชุมชาวบ้าน สรุปผลการลดลงรายจ่ายในแต่ละเดือน มีตัวแทนเก็บข้อมูลเพื่อสรุป ตลอดทั้งปี หากมีปัญหาจะได้วางแผนแก้ไขต่อไป
    • ผลลัพธ์ ชุมชนมีข้อมูลชองชุมชน ใช้ในการหาแนวทางแก้ไขเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันแก้ไขปํญหาของครัวเรือนและชุมชน มีข้อตกลงการลดรายจ่ายและนำมาสรุปผลในเวทีประชุมประจำของหมู่บ้าน

     

    150 150

    10. เรียนรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือนและคณะกรรมการร่วมลงทะเบียนในกิจกรรมเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน
    • ผู้ใหญ่บ้านพูดทักทาย ชี้แจงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน
    • ร่วมเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือนโดยวิทยากรจากพัฒนาชุมชน
    • ทดลองปฏิบัติการทำบัญชีในแต่ละครัวเรือน ลงบัญชีรายรับรายจ่ายที่เป็นความจริง
    • ร่วมกันวิเคราะห์รายจ่ายที่ไม่จำเป็นและสามารถลดได้และรายรับที่จะได้เพิ่มมาจากอะไรบ้างและให้ครัวเรือนเริ่มจัดทำบัญชีครัวเรือนตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2558และนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันโดยการจับคู่ครัวเรือนใกล้เคียงช่วยกันตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือนและคณะกรรมการจำนวน 80 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือนในแต่ละครัวเรือน พร้อมฝึกปฏิบัติการทำบัญชีรายครัวเรือน
    • ผลลัพธ์ ตัวแทนครัวเรือนและคณะกรรมการสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ เพื่อทราบรายรับรายจ่าย จากการทำบัญชีครัวเรือน ต้นทุนในการผลิตทางการเกษตรสูงเช่นค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ผลผลิตราคาตกต่ำและรายจ่ายที่ไม่จำเป็นครัวเรือนเช่น ค่าบุหรี ค่าเหล้า ค่าหวย อื่นๆเพิ่มขึ้น รายรับ ไม่พอกับรายจ่าย ต้องกู้ธนาคาร ร่วมกันหาแนวทางลดรายจ่ายของครัวเรือน ทำข้อตกลงร่วมกันในการลดรายจ่าย ในการทำเกษตรลดการซื้อปุ๋ยเคมี หันมาทำน้ำหมักใช้ทดแทนเพื่อลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ย ทำสมุนไพรไล่แมลง พร้อมกับทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้ในครัวเรือนลดการใช้สุราในงานเลี้ยงในชุมชนในส่วนค่าหวยและบุหรี่ ให้แต่ละครัวเรือน ช่วยกันหารือกับสมาชิกในครัวเรือน ในเรื่องการลดการสูบบุหรี่ และการซื้อหวย ทำบัญชีไว้และรวมกันติดตาม มาแลกเปลี่ยนกันในเวที่ประชุมชาวบ้าน สรุปผลการลดลงของรายจ่ายในแต่ละเดือน มีตัวแทนเก็บข้อมูลเพื่อสรุป ตลอดทั้งปี หากมีปัญหาจะได้วางแผนแก้ไขต่อไปในส่วนการเพิ่มรายได้ มีข้อตกลงหารายได้เสริมในครัวเรือนโดยการเรียนรู้การทำไซดักปลา การทำตระกร้า ขายให้ชุมชนใกล้เคียง

     

    80 80

    11. จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชน ร่วมกันปลูกสมุนไพร ในครัวเรือนและพื้นที่สาธารณะ

    วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่น้องประชาชนในชุมชนร่วมลงทะเบียน
    • แบ่งกลุ่มกระจายร่วมใจกันทำความสะอาดสถานที่ต่างๆในชุมชน เน้นบริเวณถนนและบริเวณบ้านของตนเอง
    • ร่วมกันปลูกสมุนไพร ในแต่ละครัวเรือนของตนเอง
    • คณะกรรมการจัดทำเอกสารการจัดการขยะแจกจ่ายให้ครัวเรือนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต พี่น้องในชุมชนจำนวน 100 คน ร่วมใจกันมาพัฒนาหมู่บ้านตามที่สาธารณะต่างๆ และปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือน คณะกรรมการจัดทำเอกสารการจัดการขยะแจกจ่ายครัวเรือน
    • ผลลัพธ์ ประชาชนในชุมชนได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้าน มีความรักสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกันหมู่บ้านมีความสะอาดเรียบร้อย ทำให้หมู่บ้านมีความสะอาดน่าอยู่และคนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ครัวเรือนมีเอกสารการจัดการขยะเป็นแนวทางในการจัดการขยะในครัวเรือนตนเองที่ถูกต้อง

     

    100 100

    12. การติดตามโครงการของ สจรสมอ.

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังคำชี้แจงการเขียนรายงาน
    2. อาจารย์ กำไล ชี้แจงการเขียนรยงานและเครื่องสำรวจการเก็บข้อมูบเพื่อนำมาเขียนเป็นรายงาน
    3. อาจารย์ สุทธิพงศ์ ชี้แจงรายงานการเงิน และการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% พร้อมลงมือปฏิบัติจริง
    4. ทีมงาน สจรส มอ พร้อมพี่เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบเอกสารพร้อมแนะนำการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง
    5. บันทึกกิจกรรมปฏิบัติในวันที่ผ่านมา เว็ป คนใต้สร้างสุข พร้อมเขียนใบสำคัญรับเงินค่าเดินทาง
    6. จากการตรวจสอบเอกสารบางอย่างต้องแก้ไขเพิ่มเติมเช่นรายละเอียดการเขียนใบสำคัญญรับเงิน และพี่เลี้ยงแนะนำให้จัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบในแต่ละกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะทำงานจำนวน 2 คน เข้าร่วมเรียนรู้การเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน การหักภาษีณ ที่จ่าย
    • ผลลัพธ์ คณะทำงานเข้าใจในการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการการเงิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ในค่าเช่า ค่าตอบแทนและค่าจ้าง การเขียนหลักฐานแสดงการทำที่ถูกต้อง

     

    2 2

    13. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ครั้งที่3

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    • ร่วมพูดคุยการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา โดยเจ้าของโครงการ คือการติดตามโครงการของ สจรส มอ.คือการสอนการเขียนรายงานในเวปคนใต้สร้างสุข หลังจากการจัดกิจกรรมแล้ว มอบหมายให้เลขาจดบันทึกการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งเพื่อความสะดวกในการนำไปบันทึกรายงานในเวปได้ถูกต้องสมบรูณ์ ชี้แจงว่ามีการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย1 % ในค่าอาหารและค่าวิทยากรที่ราคาเกิน1000 บาทขึ้นไป ต้องจัดส่งภาษี แก่สรรพากร ภายในวันที่7 ของเดือนถัดไป มอบหมายเหรัญหิก ดำเนินการจัดทำรายงานการหักภาษีณ ที่ จ่ายในรายจ่ายดังกล่าว
    • เหรัญหิกรายงานยอดเงินคงเหลือในบัญชี และสรุปรายงานการใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรมให้คณะทำงานรับทราบ
    • ร่วมวางแผนการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โทษพิษภัยผลกระทบจากการใช้สารเคมีและการป้องกันตนเองจากสารเคมี โดยมอบหมายให้ นางเสาวรส แป้นถนอม เรียนเชิญ วิทยากร จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางไทรนนท์ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ จำนวน 20 คน ประชุมพูดคุย ในกิจกรรมที่ทาง สจรส มอ ตืดตามโครงการและเรียนรู้การเขียนรายงาน คือการสอนการเขียนรายงานในเวปคนใต้สร้างสุข หลังจากการจัดกิจกรรมแล้ว มอบหมายให้เลขาจดบันทึกการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งเพื่อความสะดวกในการนำไปบันทึกรายงานในเวปได้ถูกต้องสมบรูณ์ ชี้แจงว่ามีการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย1 % ในค่าอาหารและค่าวิทยากรที่ราคาเกิน1000 บาทขึ้นไป ต้องจัดส่งภาษี แก่สรรพากร ภายในวันที่7 ของเดือนถัดไป มอบหมายเหรัญญิก ดำเนินการจัดทำรายงานการหักภาษี ณ ที่ จ่ายวางแผนงานการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โทษพิษภัยผลกระทบจากการใช้สารเคมีและการป้องกันตนเองจากสารเคมี
    • ผลลลัพธ์ คณะกรรมการ ทราบสถานะทางการเงินที่เหลือในโครงการ มีผู้รับผิดชอบการจัดทำรายงานหักภาษี ณ ที่ จ่าย ในรายจ่ายค่าจ้าง ค่าอาหาร ค่าตอบแทนวิทยากร ที่มีราคา1000 บาทขึ้นไป มอบหมาย นางเสาววรส แป้นถนอม เชิญวิทยากรจาก รพ.สต บ้านบางไทรนนท์ มาให้ความรู้เรื่องโทษพิษภัยและผลกระทบจากสารเคมี

     

    20 20

    14. เรียนรู้โทษพิษภัยผลกระทบจากการใช้สารเคมี และการป้องกันตนเองจากสารเคมีสารเคมี

    วันที่ 11 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน คณะทำงาน ลงทะเบียน
    • ผู้ใหญ่ อภิชัย นาคเป้า พูดคุยชี้แจงการจัดกิจกรรม เรียนรู้โทษพิษภัยผลกระทบจากการใช้สารเคมี และการป้องกันตนเองจากสารเคมีสารเคมี พร้อมแนะนำวิทยากร คือนางราตรีอุภัยพงค์ นางราตรี อุภัยพงค์นักวิชาการสาธารรสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางไทรนนท์
    • นางราตรี อุภัยพงค์นักวิชาการสาธารรสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางไทรนนท์ เป็นวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโทษของสารเคมี ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันและวิธีป้องกันสารเคมีเมื่อต้องทำงาน
    • ฝึกปฏิบัติการออกกำลังและให้นำไปปฏิบัติที่บ้านออกกำลังกายเพื่อลดโรค
    • รวมกันออกแบบจัดทำชุดความรู้เพื่อแจกจ่ายให้ครัวเรือนในชุมชนเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือนและคณะทำงาน จำนวน 80 คนเข้าร่วมประชุมในกิจกรรมเรียนรู้โทษพิษภัยผลกระทบจากการใช้สารเคมีและการป้องกันตนเองจากสารเคมี
    • ผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเกิดความตระหนักในผลกระทบที่เกิดจากสารเคมี ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรุ้วิธีป้องกันและล้างสารเคมีในร่างกาย โดยการใช้สมุนไพรที่นำมากินล้างสารพิษสารเคมีในร่างกายได้ เช่น ใบรางจืดน้ำมะพร้าว และเรียนรู้การออกกำลังกายที่ถูกวิธีแต่ละกลุ่มวัย เพื่อให้สุขภาพดีขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยมีชุดความรู้แจกจ่ายให้ครัวเรือนในชุมชนได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

     

    80 80

    15. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนนู้ ครั้งที่4

    วันที่ 9 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำ ลงทะเบียน
    • ร่วมพูดคุย ผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาช่วยกันตรวจสอบเอกสารและสรุปผลการจัดกิจกรรม
    • เหรัญหิก ชี้แจงงบประมาณที่ใช้จ่ายไปในแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการ แจ้งยอดเงินคงเหลือ พุดคุยปัญหาอุปสรรคในแต่ละกิจกรรม เช่น ผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมเขียนหนังสือไม่ถนัดมองไม่ค่อยเห็น ให้ผู้รับผิดชอบการลงทะเบียนเขียนชื่อให้แล้วให้ผู้สูงอายุเซ็นชื่อการลงทะเบียน ของผู้ร่วมกิจกรรม ต้องมอบหมายคนรับผิดชอบชัดเจน คือเลขาโครงการ ให้ทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
    • เสนอชื่อปราชญ์เพื่อให้เรียนรู้การทำน้ำหมักและน้ำยาเอนงประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือนโดยให้ นาง อาจิน คงสงค์ และนำการทำน้ำยาเอนกประสงค์ และ นาย อภิชัย นาคเป้า ฝึกทำน้ำหมักชีวภาพ
    • มอบหมายภาระกิจให้คณะทำงานเข้าร่วมประชุม กับทีม สจรส มอ ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อปิดงวดที่1 ในวันที่13-14 กุมภาพันธ์ 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการสภาผู้นำ จำนวน 20 คนร่วมประชุม สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สรุปรายจ่ายในแต่ละกิจกรรม แจ้งยอดเงินคงเหลือ พูดคุยปัญหาการจัดกิจกรรม การลงทะเบียนของกลุ่มเป้าหมาย มอบหมายเลขา ดูแลให้กลุ่มเป้าที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ลงทะเบียนทุกคน คัดเลือกปราชญ์ในชุมชน ที่เป็นผู้ถ่ายทอดการทำน้ำหมักและน้ำยาเอนงประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน มอบหมายผู้เข้าร่วมประชุมกับทีม สจรส มอ เพื่อปิดงวดที่1 ในวันที่13-14 กุมภาพันธ์ 2559 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • ผลลัพธ์ สภาผู้นำรับทราบผลการดำเนินกิจกรรมในงวดที่1 การใช้จ่ายงบประมาณ มีผู้รับผิดชอบการลงทะเบียนในการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้เซ็นชื่อลงทะเบียน และได้ปราชญ์ในชุมชน ที่เป็นผู้ถ่ายทอดการทำน้ำหมักและน้ำยาเอนงประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือนคือนาง อาจิน คงสงค์ และนำการทำน้ำยาเอนกประสงค์ และ นาย อภิชัย นาคเป้า ทำน้ำหมักชีวภาพ มีผู้เข้าร่วมปิดงวด1 ในวันที่13-14 กุมภาพันธ์ 2559

     

    20 20

    16. พี่เลี้ยงผู้ติดตามการดำเนินงานตรวจสอบเอกสารเตรียมปิดงวด1

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานจำนวน 2 คน ร่วมกับพี่เลี้ยงตรวจสอบผลการดำเนินงาน รายกิจกรรม
    • ตรวจสอบรายงานในเว็ปคนใต้สร้างสุข
    • ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานการเงิน รายกิจกรรม -บันมึกรายงานการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะทำงาน จำนวน 2 คน และพี่เลี้ยงโครงการร่วมตรวจสอบผลการดำเนินงาน และตรวจสอบเอกสารหลัหฐานกานเงินทุกกิจกรรม พร้อมบันทึกรายงานในเว็บไซต์
    • ผลลัพธ์ ผลการดำเนินงานครบทุกกิจกรรมตามแผนงานโครงการ เอกสารหลักฐาน ต้องปรับปรุงแก้ไขบางส่วนให้สมบูรณ์ บันทึกรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในเว็บคนใต้สร้างสุขเป็นปัจจุบัน แต่ยังมีข้อมูลไม่สมบูรณ์ ต้องปรับแก้เพิ่มเติมในบางกิจกรรม

     

    2 2

    17. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำรายงานปิดงวดที่1 และคืนเงินค่าเปิดบัญชึ

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมในงวดที่1
    • สรุปผลการจัดกิจกรรมงวดที่ 1
    • บันทึกรายงาน
    • พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 2 เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการจัดกิจกรรมงวดที่1 พร้อมจัดทำรายงานปืดงวด และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆโดยสจรส มอและพี่เลี้ยง
    • ผลลัพธ์ การจัดกิจกรรมครบทุกกิจกรรม บันทึกรายงานในเวปครบทุกกิจกรรม เอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน สรุปการดำเนินงานในงวดที่ 1 ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
    1. การจัดกิจกรรมในงวดที่ 1 มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการจำนวน 4 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีคณะกรรมการเข้าร่วมจำนวน 20 คน 100 % และร่วมพดคุยวางแผนการจัดกิจกรรมของโครงการและปรึกษาหารือหาแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน เช่น เรื่องการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อรังของคนในชุมชน
    2. การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ร่วมทำกิจกรรมร้อยละ 100
    3. การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์และแผนงานที่วางไว้ครบทุกกิจกรรม มีการใช้จ่ายงบประมาณตรงตามวัตถุประสงค์ เอกสารหลักฐานครบถ้วน สามารถปิดงวดที่ 1 ได้

     

    2 2

    18. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่5

    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการจำนวน 20 คน ร่วมกันประชุมหาแนวเพื่อทำกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมฝึกปฏิบัติ
    • เจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมที่จัดในครั้งต่อไปคือการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมการฝึกทำ
    • ทีมงานเสนอชื่อปราชญ์เพื่อให้เรียนรู้การทำน้ำหมักและน้ำยาเอนงประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือนโดยให้ นาง อาจิน คงสงค์ และนำการทำน้ำยาเอนกประสงค์ และ นาย อภิชัย นาคเป้า ฝึกทำน้ำหมักชีวภาพและให้เจ้าของโครงการประสานปราชญ์มาร่วมในวันที่27 กุมภาพันธ์ 2559 ในวันจัดกิจกรรม
    • มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมในวันที่27 กุมภาพันธ์ 2559 ในเรื่องการจดเตรียมอาหาร การลงทะเบียนการเก็บภาพกิจกรรม ฯลฯ
    • ร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชน ในเรื่องวัยรุ่นหันไปมั่วสุ่มต้มน้ำกระท่อมดื่ม ในชุมชน มอบหมายผู้ใหญ่บ้านพูดคุยในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านให้ร่ามกับดูแลและตักเตื่อนบุตรหลาน ใครพบเห็นวัยรุ่นมั่วสุ่มให้ร่วมกันแจ้งผู้ปกครอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับทราบกิจกรรมที่จะดำเนินการในครั้งต่อไปคือการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมการฝึกทำมอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมในวันที่27 กุมภาพันธ์ 2559 ในเรื่องการจดเตรียมอาหาร การลงทะเบียนการเก็บภาพกิจกรรม ฯลฯร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชน ในเรื่องวัยรุ่นหันไปมั่วสุ่มต้มน้ำกระท่อมดื่ม ในชุมชน มอบหมายผู้ใหญ่บ้านพูดคุยในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านให้ร่ามกับดูแลและตักเตื่อนบุตรหลาน ใครพบเห็นวัยรุ่นมั่วสุ่มให้ร่วมกันแจ้งผู้ปกครอง
    • ผลลัพธ์ สภาผู้นำ ได้วางแผนจะดำเนินการในการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมการฝึกทำ พร้อมรับทราบภาระกิจที่จะช่วยกันดำเนินการและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขเรื่องวัยรุ่นมั่วสุมต้มน้ำกระท่อมโดยนำเข้าเวที่ประชุมประจำเดือน

     

    20 20

    19. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมฝึกปฏิบัติ

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนร่วมลงทะเบียนในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมฝึกปฏิบัติ
    • เจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมฝึกปฏิบัติ พร้อมแนะนำปราชญ์ชาวบ้านคือนาง อาจิน คงสงค์ ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ และ นาย อภิชัย นาคเป้า ฝึกทำน้ำหมักชีวภาพ
    • ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนโดยนาย อภิชัย นาคเป้าเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยนและการทำน้ำยาเอนกประสงค์โดยนางอาจิน คงสงค์เช่นนำ้ยาล้างจาน แซมพู สมุนไพรไล่แมลง
    • ฝึกปฏิบัติการทำน้ำยาเอนกประสงค์และทำปุ๋ยหมัก
    • คุณหมอราตรี อุภัยพงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับลูกน้ำยุงลายและโรคไข้เลือดออกและโรควัณโรค
    • คุณหมอสุดใจช่วยทอง ชี้แจงเรื่องก่อสร้างอนามัยใหม่ของ รพสต.บ้านบางไทรนนท์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนจำนวน 81 คนร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมฝึกปฏิบัติ
      เจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนพร้อมฝึกปฏิบัติ พร้อมแนะนำปราชญ์ชาวบ้านคือนาง อาจิน คงสงค์ ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ และ นาย อภิชัย นาคเป้า ฝึกทำน้ำหมักชีวภาพร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือนโดยนาย อภิชัย นาคเป้าเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยนและการทำน้ำยาเอนกประสงค์โดยนางอาจิน คงสงค์เช่นนำ้ยาล้างจาน แซมพู สมุนไพรไล่แมลงฝึกปฏิบัติการทำน้ำยาเอนกประสงค์และทำปุ๋ยหมักคุณหมอราตรี อุภัยพงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับลูกน้ำยุงลายและโรคไข้เลือดออกและโรควัณโรค
    • ผลลัพธ์พี่น้องในชุมชนได้นำความรู้ที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักและน้ำยาเอนกประสงค์นำไปใช้ในครัวเรือนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายเพิ่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

     

    80 80

    20. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่6

    วันที่ 9 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการร่วมลงทะเบียน ร่วมกันประชุมวางแผนเวทีจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา
    • เจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมที่จัดในครั้งต่อไปคือเวทีจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา
    • มอบหมายเลขา จัดเตรียมเอกสารให้ทีมในจัดกิจกรรม
    • ร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชน ในเรื่องวัยรุ่นหันไปมั่วสุ่มต้มน้ำกระท่อมดื่ม ในชุมชน มอบหมายผู้ใหญ่บ้านพูดคุยในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านให้ร่ามกับดูแลและตักเตื่อนบุตรหลาน ใครพบเห็นวัยรุ่นมั่วสุ่มให้ร่วมกันแจ้งผู้ปกครอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 20 คนร่วมกันประชุมวางแผนเวทีจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา เจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมที่จัดในครั้งต่อไปคือเวทีจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลามอบหมายเลขา จัดเตรียมเอกสารให้ทีมในจัดกิจกรรม
      ร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชน ในเรื่องวัยรุ่นหันไปมั่วสุ่มต้มน้ำกระท่อมดื่ม ในชุมชน มอบหมายผู้ใหญ่บ้านพูดคุยในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านให้ร่ามกับดูแลและตักเตื่อนบุตรหลาน ใครพบเห็นวัยรุ่นมั่วสุ่มให้ร่วมกันแจ้งผู้ปกครอง
    • ผลลัพธ์ สภาผู้นำเข้าใจกิจกรรมที่จะต้องร่วมดำเนินการในวันติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมาและทราบบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน

     

    20 20

    21. จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา

    วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนลงทะเบียน เข้าร่วมเวทีจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา
    • เจ้าของโครงการพูดคุยชี้แจงเกี่ยวกับการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลาพร้อมแนะนำปราชญ์ชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยน
    • ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา นายหวง ชูเมือง ปราชญ์ชุมชนให้ความรู้เรื่องปลูกผักปลอดสารพิษ ผู้ใหญ่ อภิชัย นาคเป้า ให้ความรู้เรื่องเลี้ยงปลา
    • จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา
    • จัดทำข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มเลี้ยงปลาและกลุ่มปลูกผัก
    • รับสมัครครัวเรือนต้นแบบ 30 ครัวเรือน
    • คุณหมอ ราตรี อุภัยพงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและ
    • คุณหมอ สุดใจ ช่วยทอง แนะนำการออกกำลังกาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนจำนวน 80 คน เข้าร่วมเวทีจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา เจ้าของโครงการพูดคุยชี้แจงเกี่ยวกับการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรูู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา จัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลาพร้อมแนะนำปราชญ์ชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผัก การเลี้ยงปลา นายหวง ชูเมือง ปราชญ์ชุมชนให้ความรู้เรื่องปลูกผักปลอดสารพิษ ผู้ใหญ่ อภิชัย นาคเป้า ให้ความรู้เรื่องเลี้ยงปลาจัดตั้งกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลาจัดทำข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มเลี้ยงปลาและกลุ่มปลูกผักรับสมัครครัวเรือนต้นแบบ 30 ครัวเรือนคุณหมอ ราตรี อุภัยพงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและคุณหมอ สุดใจ ช่วยทอง แนะนำการออกกำลังกาย
    • ผลลัพธ์มีกลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มปลูกผัก และครัวเรือนที่จะเป็นต้นแบบจำนวน 30 ครัวเรือน

     

    80 80

    22. ติดตามการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม ครั้งที่ 1

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการและเยาวชน ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมการติดตามครัวเรือนหลังทำกิจกรรม
    • แบ่งทีมออกติดตามโดยใน1 ทีมมีคณะกรรมการ2หรือ3 คน และมีเยาวชน1 คน
    • แบ่งเขตในละแวกพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อแบ่งการติดตามเป็นกลุ่ม ประมาณ 8 กลุ่มๆละประมาณ 10 ครัวเรือน
    • แยกย้ายกันออกติดตาม ตามละแวกบ้านที่ได้รับมอบหมายโดยแบ่งกนออกติดตามกิจกรรมที่ให้ครัวเรือนกลับไปดำเนินการหลังจากการมาร่วมเรียนรู้ด้วยกันมีกิจกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือน การปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงปลา โดยทีมติดตามออกสำรวจกิจกรรมต่างๆดังกล่าว พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาประเมินผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ และเยาวชนจำนวน 20 คน ออกสำรวจติดตามครัวเรือนจำนวน 80 ครัวเรือน ในการดำเนินกิจกรรมในครัวเรือนที่ได้มาร่วมกันเรียนรู้มีกิจกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุในครัวเรือน การปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงปลา โดยทีมติดตามออกสำรวจกิจกรรมต่างๆดังกล่าว พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาประเมินผล
    • ผลลัพธ์ ครัวเรือนได้ดำเนินกิจกรรมที่ได้ร่วมเรียนรู้ไป มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 70 ของครัวเรือนเป้าหมาย(56) ครัวเรือน นอกนั้นทำบ้างแต่ไม่เป็นปัจจุบันไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี มีการใช้อุปกรณ์ในการป้องกันเมื่อจำเป็นต้องใช้สารเคมีเช่นใส่ถุงมือ มีผ้าปิดจมูกปิดปากการทำปุ๋ยหมัก มีการรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมักจากวัสดุที่เหลือใช้ในครัวเรือน และมีการปลูกผักปลอดสารพิษโดยการใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักแทนสารเคมีไว้รับประทานเอง

     

    20 20

    23. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน
    • อาจารย์ อภิวัฒน์ไชยเดช กล่าวทักทายต้อนรับพูดคุยวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้เพื่อพื้นที่ทราบว่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมไปแล้วประมาณ 6 เดือนในพิ้นที่มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น คน สภาพแวดล้อม ในชุมชน ระบบการทำงานกระบวนการต่างๆ
    • อาจารย์ กำไล สมรักษ์ พูดคุยชี้แจงเพิ่มเติ่ม และให้ทุกพื้นที่ช่วยกันสรุป ทุกคนแล้วนำมารวมเป็นของพื้นที่ตนเอง ส่งให้พี่เสี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงช่วยกันสรุปผลการแปลงเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ สรุปภาพรมของพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
    • พี่เลี้ยงช่วยกันแนะนำการเขียนรายงานในเวปคนใต้สร้างสุข และวิธีการถ่ายภาพ ลงภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการโครงการจำนวน 2 คน ร่วมแลกปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน ผลการถอดบทเรียนของพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลงคือ คน มีการทำงานเป็นทีม เข้าใจปัญหาของตนเอง ร่วมทำแผน ร่วมเรียนรู้ ร่วมทำกิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การใช้สารเคมีลดลง หันมาใช้สารชีวภาพแทนปรับเปลี่ยนการใช้จ่าย หันมาทำอาชีพเสริม เช่น ปลูกผักในส่วนสภาพแวดล้อม เกิดพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม ในส่วนของกระบวน มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือนมีกติกาของชุมชนคณะกรรมการ มีความเข้าใจในการลงรายงาน ได้มีความรู้ในการเขียนบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม
    • ผลลัพธ์ คณะกรรมการมีความเข้าในกิจกรรมการถอดบทเรียน สามารถถอดบทเรียนได้

     

    2 2

    24. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่7

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการจำนวน 20 คน ร่วมกันประชุมหาแนวเพื่อทำกิจกรรมลงแขกปรับพื้นที่ ว่างเปล่าในครัวเรือนและชุมชนเป็นแปลงผัก
    • เจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมที่จัดในครั้งต่อไปคือลงแขกปรับพื้นที่ ว่างเปล่าในครัวเรือนและชุมชนเป็นแปลงผักในวันที่ 20 พฤษภาคม 2559
    • มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมในวันที่20 พฤษภาคม 2559 ในเรื่องการจดเตรียมอาหาร การลงทะเบียนการเก็บภาพกิจกรรม ฯลฯ
    • ร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชน ในเรื่องการดูแลสุขภาพ ซึ่งเริ่มเข้าฤดูฝนให้ช่วยกันดูแลกำจัดลูกลูกน้ำยุ่งลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการจำนวน 20 คน ร่วมกันประชุมหาแนวเพื่อทำกิจกรรมลงแขกปรับพื้นที่ ว่างเปล่าในครัวเรือนและชุมชนเป็นแปลงผักเจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมที่จัดในครั้งต่อไปคือลงแขกปรับพื้นที่ ว่างเปล่าในครัวเรือนและชุมชนเป็นแปลงผักในวันที่ 20 พฤษภาคม 2559มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมในวันที่20 พฤษภาคม 2559 ในเรื่องการจดเตรียมอาหาร การลงทะเบียนการเก็บภาพกิจกรรม ฯลฯ ร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชน ในเรื่องการดูแลสุขภาพ ซึ่งเริ่มเข้าฤดูฝนให้ช่วยกันดูแลกำจัดลูกลูกน้ำยุ่งลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก
    • ผลลัพธ์ คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนมีแผนการดำเนินกิจกรรมในวันที่ 20 พฤษภาคม 2559 และทราบบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ มีความพร้อมในการทำกิจกรรม

     

    20 20

    25. ลงแขกปรับพื้นที่ ว่างเปล่าในครัวเรือนและชุมชนเป็นแปลงผัก

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือน ร่วมลงทะเบียน ร่วมกิจกรรมปรับพื้นที่ว่างเปล่าในชุมชนเป็นแปลงผัก
    • เจ้าของโครงการชี้แจงการทำกิจกรรมโดยให้แบ่งกลุ่ม ไปปรับแปลงในครัวเรือนที่มีพื้นที่ว่างเปล่าและแปลงว่างเปล่าในชุมเพื่อเตรียมปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน
    • แยกย้ายไปทำกิจกรรมตามกลุ่มของตนเองกลุ่มๆละประมาร 10 คน
    • มอบหมายให้สมาชิกกลุ่มหนึ่ง ประมาณ 10กว่าคนไปทำการปรับแปลงผักกลางของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนจำนวน80 คน ร่วมกิจกรรมปรับพื้นที่ว่างเปล่าในชุมชนเป็นแปลงผัก เจ้าของโครงการชี้แจงการทำกิจกรรมโดยให้แบ่งกลุ่ม ไปปรับแปลงในครัวเรือนที่มีพื้นที่ว่างเปล่าและแปลงว่างเปล่าในชุมเพื่อเตรียมปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน แยกย้ายไปทำกิจกรรมตามกลุ่มของตนเองกลุ่มๆละประมาร 10 คน มอบหมายให้สมาชิกกลุ่มหนึ่ง ประมาณ 10กว่าคนไปทำการปรับแปลงผักกลางของชุมชน
    • ผลลัพธ์ มีแปลงผักกลางของชุมชน รอการปลูกผัก และแปลงในครัวเรือนเพื่อปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     

    80 80

    26. ติดตามการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม จำนวน 2 ครั้ง

    วันที่ 28 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการและเยาวชน ร่วมลงทะเบียน ออกติดตามการดำเนินกิจกรรมในครั้งที่2
    • แบ่งกลุ่มออกติดตามตามกลุ่มเดิม เหมือนการติดตามในครั้งแรก -ออกติดตามกลุ่มบ้านที่ได้รับมอบหมายกลุ่มละประมาณ10 ครัวเรือน
    • โดยติดตามกิจกรรมเดิมคือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การลดการใช้สารเคมีและการป้องกันตนจากสารเคมี การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุที่เหลือใช้ในครัวเรือน การปลูกผักการเลี้ยงปลา
    • รวบรวมผลการติดตามให้หัวหน้าทีม สรุปผลการติดตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ และเยาวชนจำนวน 20 คน ออกติดตามผลการจัดกิจกรรมในครัวเรือนครั้งที่2 เพื่อรวบรวมประเมิลผล กิจกรรมที่ออกติดตามมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน การลดการใช้สารเคมีและการป้องกันตนจากสารเคมี การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุที่เหลือใช้ในครัวเรือน การปลูกผักการเลี้ยงปลา
    • ผลลัพธ์ จากการติดตามพบว่าครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนประมาณร้อยละ70 แต่ไม่ได้นำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์มากนักส่วนการป้องกันตนให้ปลอดภัยจากสารเคมีมีการตื่นตัวและปฏิบัติข้อตกลงของชุมชนมากขึ้น การใช้สารเคมีลดลงสังเกตได้จากการหันมาทำน้ำหมักใช้เองในครัวเรือน และมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง มีการเลี้ยงปลา

     

    20 20

    27. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่8

    วันที่ 9 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการรร่วมลงทะเบียนจำนวน 20 คน ร่วมกันประชุมหารือเพื่อทำกิจกรรมลงแขกปลูกผักในแปลงผักกลางและในแปลงผักในครัวเรือน
    • เจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมที่จัดในครั้งต่อไปคือกิจกรรมลงแขกปลูกผักในแปลงผักกลางและในแปลงผักในครัวเรือนซึ่งมีแผนจะจัดในวันที่ 17 กรกฏาคม 2559
    • มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมในวันที่17 กรกฎาคม 2559 ในเรื่องการจัดเตรียมอาหาร การลงทะเบียนการเก็บภาพกิจกรรม ฯลฯ
    • ร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชน เกี่ยวกับรายรับรายจ่ายในครัวเรือน ให้ทุกคนลดร่ายจ่ายที่ไม่จำเป็นเช่น การเล่นการพนัน การเล่นหวย และหาวิธีเพิ่มรายจ่ายโดยหาวิธีแปรรูปพืชผักให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการรร่วมลงทะเบียนจำนวน 20 คนร่วมกันประชุมหารือเพื่อทำกิจกรรมลงแขกปลูกผักในแปลงผักกลางและในแปลงผักในครัวเรือน เจ้าของโครงการพูดคุยถึงกิจกรรมที่จัดในครั้งต่อไปคือกิจกรรมลงแขกปลูกผักในแปลงผักกลางและในแปลงผักในครัวเรือนซึ่งมีแผนจะจัดในวันที่ 17 กรกฏาคม 2559มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมในวันที่17 กรกฎาคม 2559 ในเรื่องการจัดเตรียมอาหาร การลงทะเบียนการเก็บภาพกิจกรรม ฯลฯร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชน เกี่ยวกับรายรับรายจ่ายในครัวเรือน ให้ทุกคนลดร่ายจ่ายที่ไม่จำเป็นเช่น การเล่นการพนัน การเล่นหวย และหาวิธีเพิ่มรายจ่ายโดยหาวิธีแปรรูปพืชผักให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
    • ผลลัพธ์ มีแผนการดำเนินในครั้งต่อไปที่ชัดเจน มีความพร้อมในการจัดกิจกรรม

     

    20 20

    28. ลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือนคณะกรรมการร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษ
    • เจ้าของโครงการกล่าวต้นรับแะชี้แจงการจัดกิจกรรมลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษ
    • ร่วมลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษ ในแปลงของครัวเรือนโดยแบ่งกลุ่มในครัวเรือนละแวกใกล้เครียงกลุ่มละ10 ครัวเรือน และร่วมกันทำแปลงผักร่วมของชุมชน
    • แบ่งกลุ่มครัวเรือน
    • แยกย้ายลงแขกปลูกผักตามกลุ่มครัวเรือนของตนเอง
    • แบ่งคนจากกลุ่มครัวเรือนมากลุ่มละ1คนร่วมลงแขกปลูกผักในแปลงร่วมของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือนคณะกรรมการจำนวน80 คนร่วมลงแขกปลูกผักในแปลงผักของครัวเรือนและแปลงผักของชุมชน
    • ผลลัพธ์ เกิดแปลงผักของครัวเรือนครัวเรือนละ1 แปลงจำนวน 80 แปลง และมีแปลงผักกลางของชุมชนจำนวน1 แปลงเป็นแปลงผักปลอดภัยพิษ ซึ่งคนในชุมชนได้รับประทานผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองโดยใช้น้ำหมักชีวภาพแทนสารเคมี

     

    80 80

    29. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่9

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมครั้งที่9
    • ผู้ใหญ่กล่าวทักทายพูดคุยการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาคือกิจกรรมการลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษ ซึ่งกิจกรรมผ่านไปด้วยดีและขอบคุณทีมงานที่ช่วยกันในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง
    • ร่วมพูดคุยวางแผนการจัดกิจกรรมการจัดตั้งกองทุนการออม ในวันที่ 30 กรกฎาคม2559จะพูดคุยแบบไหนให้ชาวบ้านเข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนการออมทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • มอบหมายภาระกิจ ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปในวันที่20 กรกฎาคม 2559 ให้ทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์บอกต่อให้ตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม จัดเตรียมอาหารที่วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ให้พร้อม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนจำนวน20 คน ร่วมประชุมหารือพูดคุยการจัดกิจกรรมการลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษ ซึ่งกิจกรรมผ่านไปด้วยดีและขอบคุณทีมงานที่ช่วยกันในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ร่วมพูดคุยวางแผนการจัดกิจกรรมการจัดตั้งกองทุนการออม ในวันที่ 30 กรกฎาคม2559จะพูดคุยแบบไหนให้ชาวบ้านเข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนการออมทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมอบหมายภาระกิจ ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปในวันที่20 กรกฎาคม 2559 ให้ทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์บอกต่อให้ตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม จัดเตรียมอาหารที่วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ให้พร้อม
    • ผลลัพธ์ ทีมงานมีความพร้อมและรับทราบภาระกิจในการจัดกิจกรรมในวันที่20 กรกฎาคม 2559

     

    20 20

    30. เรียนรู้การจักสาน และฝึกปฏิบัติ

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 9.00 น ตัวแทนครัวเรือนและคณะกรรมการร่วมลงทะเบียนจัดกิจกรรมเรียนรู้การจักสานที่ศาลาวัดบางคุระ
    • เปิดประชุมโดย ผู้ใหญ่อภิชัย นาคเป้า พูดคุยทักทายและชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้
    • คุณหมอราตรี อุภัยพงศ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางไทร์นนท์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเลือดสมอง
    • สอนวิธีทำไซ ทำเจ้ย ตะกร้าโดยปราชน์ชาวบ้าน นายทวน อรชร ชาวบ้านใหความสนใจเป็นอย่างดีร่วมเรียนรู้จนสามารถทำได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตตัวแทนครัวเรือนคณะกรรมการ จำนวน30 คนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจักสานโดยปราชญ์ชุมชนเป็นผู้สอนเพื่อให้ชาวบ้านได้มีอาชึพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนในยามว่าง และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเลือดสมอง
    • ผลลัพธ์ การร่วมเรียนรู้ด้วยกันทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ทำให้เกิดกลุ่มมีความรักความสามัคคี

     

    30 33

    31. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้ง10

    วันที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนร่วมลงทะเบียนประชุมครั้งที่10
    • ร่วมพูดคุยถึงปัญหาอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาคือกิจกรรมจัดตั้งกองทุนการออม และกำหนดกติกา
    • เหรัญหิกชี้แจงงบรายจ่ายในกิจกรรมต่างๆและให้คณะกรรมช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐานในแต่ละกิจกรรม
    • ร่วมกันเพิ่มเติมเอกสารหลักฐานในบางกิจกรรมที่ยังไม่สมบรูณ์
    • ร่วมวางแผนจัดกิจกรรมครังต่อไปคือกิจกรรมติดตามการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม ครั้งที่ 3
    • มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมต่อไปในวันที่10 สิงหาคม2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน20คน ร่วมประชุมครั้งที่10 ร่วมพูดคุยถึงปัญหาอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาคือกิจกรรมจัดตั้งกองทุนการออม และกำหนดกติกาพบว่าปัญหาคือ การลงทะเบียนไม่เรียบร้อยต้องตามให้ลงทะเบียนหลังทำกิจกรรมเสร็จ ร่วมกันแก้ไขในครั้งต่อไปมอบผู้ทำหน้าที่ลงทะเบียนหาทีมงานเพิ่มและให้กลุ่มเป้าลงทะเบียนให้เรียบก่อนเข้าร่วมกิจกรรม เหรัญหิกชี้แจงงบรายจ่ายในกิจกรรมต่างๆและให้คณะกรรมช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐานในแต่ละกิจกรรมร่วมกันเพิ่มเติมเอกสารหลักฐานในบางกิจกรรมที่ยังไม่สมบรูณ์เช่นผู้จ่ายเงินยังไม่เซ็นชื่อในใบสำคัญรับเงิน วันที่ยังลงไม่เรียบร้อยร่วมวางแผนจัดกิจกรรมครังต่อไปคือกิจกรรมติดตามการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม ครั้งที่ 3 มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมต่อไปในวันที่10 สิงหาคม2559
    • ผลลัพธ์ คณะกรรมการมีความพร้อม สามารถวางแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้และสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

     

    20 20

    32. ติดตามการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรม ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการและเยาวชน ร่วมลงทะเบียน ออกติดตามการดำเนินกิจกรรมในครั้งที่3
    • แบ่งกลุ่มออกติดตามตามกลุ่มเดิม เหมือนการติดตามในครั้งแรก -ออกติดตามกลุ่มบ้านที่ได้รับมอบหมายกลุ่มละประมาณ10 ครัวเรือน
    • โดยติดตามกิจกรรมเดิมคือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การลดการใช้สารเคมีและการป้องกันตนจากสารเคมี การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุที่เหลือใช้ในครัวเรือน การปลูกผักการเลี้ยงปลา
    • รวบรวมผลการติดตามให้หัวหน้าทีม สรุปผลการติดตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ และเยาวชนจำนวน 20 คน ออกติดตามผลการจัดกิจกรรมในครัวเรือนครั้งที่3 เพื่อรวบรวมประเมิลผล กิจกรรมที่ออกติดตามมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน การลดการใช้สารเคมีและการป้องกันตนจากสารเคมี การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุที่เหลือใช้ในครัวเรือน การปลูกผักการเลี้ยงปลา
    • ผลลัพธ์ จากการติดตามพบว่าครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนประมาณร้อยละ70 แต่ไม่ได้นำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์มากนักส่วนการป้องกันตนให้ปลอดภัยจากสารเคมีมีการตื่นตัวและปฏิบัติข้อตกลงของชุมชนมากขึ้น การใช้สารเคมีลดลงสังเกตได้จากการหันมาทำน้ำหมักใช้เองในครัวเรือน และมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง มีการเลี้ยงปลา

     

    20 20

    33. จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชน ร่วมกันปลูกสมุนไพร ในครัวเรือนและพื้นที่สาธารณะ

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน ครู นักเรียน ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชน ร่วมกันปลูกสมุนไพร ในครัวเรือนและพื้นที่สาธารณะ
    • จัดแบ่งทีมการพัฒนา ในวัด ในตลาด ศาลาหมู่บ้านโรงเรียน ถนนในชุมชน
    • แยกย้ายทำกิจกรรม
    • ปลูกต้นไม้และสมุนไพรในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ ครู นักเรียน จำนวน 100 คน ร่วมกันรณรงค์พัฒนาทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชนคนในชุมชนได้ร่วมกันทำประโยชน์ให้ชุมชนร่วมกัน โดยจัดทีมในการพัฒนา เช่น โรงเรียน วัด ตลาดในชุมชน ศาลาหมู่บ้านและให้ทุกครัวเรือนร่วมกันจัดเก็บขยะในครัวเรือนตนเองให้ถูกวิธี และปลูกสมุนไพร ในครัวเรือนในโรงเรียน
    • ผลลัพธ์ สถานที่สาธารณะสะอาดเรียบร้อยสวยงาม น่าอยู่ คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     

    100 100

    34. จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน

    วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ ร่วมกันลงทะเบียนจัดกิจกรรมการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ณ ศาลาวัดบางคุระ
    • ผู้ใหญ่กล่าวพูดคุยชี้แจงการจัดกิจกรรมการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน
    • ร่วมกันพูดคุยหารือการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชนและผู้พิการโดยการให้ครัวเรือนที่สามารถช่วยเหลือได้ร่วมกันสบทบครัวเรือนละ10 บาทต่อเดือน
    • รับสมัครจิตอาสาออกเยี่ยมผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการร่วมกับคณะกรรมการ อสม เพื่อให้การช่วยเหลือตามความสามารถ
    • ร่วมกันกำหนดการสวัสดิการต่างๆและจัดทำแผนช่วยเหลือ
    • คัดเลือกคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือนคณะกรรมการจำนวน80คนรวมจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนร่วมกันพูดคุยหารือการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชนและผู้พิการโดยการให้ครัวเรือนที่สามารถช่วยเหลือได้ร่วมกันสบทบครัวเรือนละ10 บาทต่อเดือนรับสมัครจิตอาสาออกเยี่ยมผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการร่วมกับคณะกรรมการ อสม เพื่อให้การช่วยเหลือตามความสามารถร่วมกันกำหนดการสวัสดิการต่างๆและจัดทำแผนช่วยเหลือ
    • ผลลัพธ์ เกิดกองทุนสวัสดิการชุมชน มีสามาชิกครัวเรือนที่พอจะสบทบช่วยเหลือเป็นสวัสดิการครัวเรือนละ10 บาทต่อเดือน มีจิตอาสาออกเยี่ยมติดตามผู้ดอ้ยโอกาสและผู้พิการร่วมกับกรรมการ มีแผนการออกติดตามชัดเจน มีคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน จำนวน 10 คน สวัสดิการที่จะเริ่มมีการจ่ายในเดือน มกราคม 2560 โดยมีเกณฑ์การจ่ายคือ ผู้พิการติดเตียง ออกเยี่ยมเดือนละครั้ง มีการซื้อข้าวของไปเยี่ยมครั้งละประมาณ300 บาท ปีละประมาณ3 ครั้งต่อคน สำหรับผู้ด้อยโอกาส คณะกรรมการขอพิจารณาเป็นรายๆในการช่วยเหลือตามความสามารถของชุมชน

     

    80 80

    35. จัดตั้งกองทุนการออม และกำหนดกติกา

    วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมช ตัวแทนครัวเรือน ร่วมลงทะเบียน เข้าร่วมกิจกรรมการจัดตั้งกองทุนการออม ณ ศาลาวัดบางคุระ
    • ผู้ใหญ่กล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงการจัดกิจกรรมการจัดตั้งกองทุนการออม
    • ร่วมกันพูดคุยหารือการออมของแต่ครัวเรือนคณะกรรมการเสนอให้แต่ละครัวเก็บเงินออมวันละ1 บาท และนำส่งเข้ากองทุนการออมในวันที่28 ของเดือนถัดไป สมาชิกครัวเรือนเห็นด้วย และยินดีเก็บเงินออม ทุกครัว
      -ร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนการออม
    • ร่วมกันวางแผนปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดออม ลดละเลิกอบายมุขโดยกำหนดเป็นข้อตกลงของชุมชนและให้ช่วยกันตรวจสอบดูแลซึ่งกันและกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 80 คน ร่วมจัดกิจกรรมจัดตั้งกองทุนการออมร่วมกันพูดคุยหารือการออมของแต่ครัวเรือนคณะกรรมการเสนอให้แต่ละครัวเก็บเงินออมวันละ1 บาท และนำส่งเข้ากองทุนการออมในวันที่28 ของเดือนถัดไป สมาชิกครัวเรือนเห็นด้วย และยินดีเก็บเงินออม ทุกครัว ร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนการออมร่วมกันวางแผนปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดออม ลดละเลิกอบายมุขโดยกำหนดเป็นข้อตกลงของชุมชนและให้ช่วยกันตรวจสอบดูแลซึ่งกันและกัน
    • ผลลัพธ์ มีกองทุนการออมในชุมชนโดยเริ่มในเดือนสิงหาคม2559 มีสมาชิกจำนวน80 ครัวเรือน มีคณะกรรมการกองทุน 1 คณะ จำนวน 7 คนมีแผนการออมเป็นข้อตกลงของชุมชน

     

    80 80

    36. คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 ครัวเรือน

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการ ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 ครัวเรือน
    • นำข้อมูลที่ออกติดตามครัวเรือนมาช่วยกันประเมินคัดเลือกครัวเรือนตามเกณฑ์ที่วางไว้ คือมีการลดต้นทุนในการผลิต มีการเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ผลผลิตมีคุณภาพ การดำรงชีวิตมีความสุข มีการออมในครัวเรือน
    • ร่วมสรุปผลการคัดเลือก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน20 คน ร่วมกิจกรรมการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 ครัวเรือนนำข้อมูลที่ออกติดตามครัวเรือนมาช่วยกันประเมินคัดเลือกครัวเรือนตามเกณฑ์ที่วางไว้ คือมีการลดต้นทุนในการผลิต มีการเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ผลผลิตมีคุณภาพ การดำรงชีวิตมีความสุข มีการออมในครัวเรือนร่วมสรุปผลการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบได้จำนวน10ครัวเรือน คือ 1. นายอนันต์ วรกิจ บ้านเลขที่28/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    1. นายโกวิท ขวัญศรี บ้านเลขที่9 หมู่ที่4 ต บ้านใหม่
    2. นายดวน นาคะ บ้านเลขที่63/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    3. นางอาจินต์คงส่ง บ้านเลขที่53/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    4. นายเสนอ โยมา บ้านเลขที่68/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    5. นายไชยรัตน์นาคเป้า บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    6. นางจรวย แก้วแกมทอง บ้านเลขที่74/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    7. นางนงนุชโยมา บ้านเลขที่69หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    8. นางสาวประเมียดสินหอยราก บ้านเลขที่20 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    9. นางหนูเหน็บโยมา บ้านเลขที่73/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    • ผลลัพธ์ มีครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

     

    20 20

    37. ถอดบทเรียน

    วันที่ 27 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00- 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการพร้อมด้วยนักวิชาการร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน
    • ร่วมกันถอดบทเรียนจากการทำกิจกรรม
    • ร่วมสรุปผลการถอดบทเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการนักวิชาการจำนวน 25 คน ร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนจากการทำกิจกรรมสรุปผลการถอดบทเรียนพูดคุยสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจัดกิจกรรม ในด้าน ดนคนมีความรักความสามัคคีกันมากขึ้น จากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบในการช่วยกันลดรายจ่าย และหา รายได้เพิ่มโดยการปลูกผัก และทำอาชีพเสริมเช่นการจักรสานไซสภาพแวดล้อมดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องพิษจากสารเคมีเนื่องจากการลดใช้สารเคมีในกลุ่มเกษตรกร และจากการร่วมกันรณรงค์ ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชทำให้ พื้นที่สาธารณะ เช่นวัด ศาลาหมู่บ้าน ถนน บริเวณหมู่บ้าน สะอาดขึ้นและกลไก กระบวนการ ทำงาน ของชุมชน
    • ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
    1. กลุ่มแกนนำและเยาวชนเกิดทักษะในการเก็บข้อมูล ตัวผู้ใหญ่และเยาวชนเกิดสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจกันเกิดการมีส่วนร่วม มีข้อมูลของชุมชนเพื่อวางแผนปฏิบัติการ
    2. เกิดการเรียนรู้ในเยาวชนและในคณะทำงาน เกิดความตระหนักในการร่วมกันแก้ไขปัญหามีข้อมูลฐานของของชุมชน ทราบสถานการณ์ชุมชน ทุนชุมชน
    3. เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาของครัวเรือนและชุมชน
    4. ทราบรายรับรายจ่ายและสามารถวางแผนการลดรายจ่ายได้เพิ่มรายได้
    5. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเกิดความตระหนักในผลกระทบที่เกิดจากสารเคมี
    6. เกิดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม ลดร่ายจ่ายในการซื้อเครื่องอุปโภค
    7. มีแหล่งอาหารของครัวเรือน เหลือขายเพิ่มรายได้ มีกติกา มีกลุ่มเศรษฐพอเพียง
    8. เกิดความรักความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    9. มีผักปลอดสารพิษไว้รับทานเองในครัวเรือน เหลือขายเพิ่มรายได้
    10. มีรายได้เพิ่มจากอาชีพเสริม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    11. เกิดการออมในครัวเรือน มีกติกาการออม เกิดกองทุนการออม
    12. สถานที่สาธารณะสะอาดน้่าอยู่บ้านเรือนสะอาดไม่มีขยะ
    13. เกิดกองทุนสวัสดิการของชุมชน เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคนในชุมชนที่ด้อยโอกาส
    14. สามารถประเมินผลการดำเนินกิจกรรมได้
    15. มีครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

     

    25 26

    38. คืนข้อมูลสู่ชุมชนหลังการดำเนินกิจกรรม

    วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00- 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน ร่วมลงทะเบียนร่วมกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน
    • เลขาโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
    • ร่วมกัน พูดคุยสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจัดกิจกรรม ในด้าน ดน สภาพแวดล้อม และกลไก กระบวนการ ทำงาน ของชุมชน
    • ร่วมสรุปผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือนคณะกรรมการจำนวน145 คน ร่วมกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชนเลขาโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม ร่วมกัน พูดคุยสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจัดกิจกรรม ในด้าน ดนคนมีความรักความสามัคคีกันมากขึ้น จากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบในการช่วยกันลดรายจ่าย และหา รายได้เพิ่มโดยการปลูกผัก และทำอาชีพเสริมเช่นการจักรสานไซสภาพแวดล้อมดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องพิษจากสารเคมีเนื่องจากการลดใช้สารเคมีในกลุ่มเกษตรกร และจากการร่วมกันรณรงค์ ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชทำให้ พื้นที่สาธารณะ เช่นวัด ศาลาหมู่บ้าน ถนน บริเวณหมู่บ้าน สะอาดขึ้นและกลไก กระบวนการ ทำงาน ของชุมชน มีการวางแผน งานก่อนการดำเนินกิจกรรมของชุมชนชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆของชุมชน
    • ผลลัพธ์ หลังจากการจัดกิจกรรมครบทุกกิจกรรมของโครง มีสิ่งที่เปลี่ยนไปทั้งด้าน คน สถาพแวดล้อม และกลไกกระบวนการทำงานของุมชน

     

    140 141

    39. สรุปปิดโครงการ

    วันที่ 2 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการ ลงทะเบียน เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผิดโครงการ
    • ร่วมกันสรุปกิจกรรมในการจัด และตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • เหรัญหิกชี้แจงงบรายจ่ายในแต่ละกิจกรรม
    • เก็บรวบรวมเอกสารเตรียมการเพื่อให้ทีม สขรส มอ ตรวจ สอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ จำนวน 20 คน ร่วมกิจกรรมสรุปผิดโครงการ ร่วมกันสรุปกิจกรรมในการจัด และตรวจสอบเอกสารหลักฐาน เหรัญหิกชี้แจงงบรายจ่ายในแต่ละกิจกรรมเก็บรวบรวมเอกสารเตรียมการเพื่อให้ทีม สขรส มอ ตรวจ สอบ
    • ผลลัพธ์ สามารถดำเนินกิจกรรม ได้ครบทุกกิจกรรม เอกสารหลักฐาน แยกรายกิจกรรมเรียบร้อย

     

    20 20

    40. การประชุมร่วมกับสจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม จัดทำรายงานปิดงวด

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมประชุมร่วมกับสจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม จัดทำรายงานเตรียมปิดโครงการ
    • อาจารย์ อภิวัฒน์กล่าวต้อนรับพ฿ดคุยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
      -อาจารย์ กำไล ชี้แจง ให้แต่ละพื้นที่ดูสถานการณ์ ของการจัดกิจกรรม ของแต่ละพื้นที่ ว่าพื้นที่ของต้นเองใน ระดับใด ซึ่ง อาจารย์ กำไล ได้ แยก ประเภท ของโครงการเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ A ทำกิจกรรมครบ ระดับ ฺ Bมีกิจกรรมบางกิจกรรมที่ยังต้องทำในเดือนกันยายน 2559ระดับ Cยังกิจกรรมอีกมากที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ในส่วนของ พื้นที่บ้านบางคุระอยู่ใน ระดับ A
    • ช่วยกันตรวจสอบเอกสารและให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้งก่อนให้ทีม สจรส มอตรวจ สอบความถูกต้อง
    • นำผลการจากตรวจสอบของทีม สจรส มอ แนะนำให้ปรับแก้ และใส่ข้อมูลเพิ่มในบางกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรม จำนวน 2 คนประชุมร่วมกับสจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม จัดทำรายงานเตรียมปิดโครงการอาจารย์ อภิวัฒน์กล่าวต้อนรับพ฿ดคุยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมอาจารย์ กำไล ชี้แจง ให้แต่ละพื้นที่ดูสถานการณ์ ของการจัดกิจกรรม ของแต่ละพื้นที่ ว่าพื้นที่ของต้นเองใน ระดับใด ซึ่ง อาจารย์ กำไล ได้ แยก ประเภท ของโครงการเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ A ทำกิจกรรมครบ ระดับ ฺ Bมีกิจกรรมบางกิจกรรมที่ยังต้องทำในเดือนกันยายน 2559ระดับ Cยังกิจกรรมอีกมากที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ในส่วนของ พื้นที่บ้านบางคุระอยู่ใน ระดับ Aช่วยกันตรวจสอบเอกสารและให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้งก่อนให้ทีม สจรส มอตรวจ สอบความถูกต้องนำผลการจากตรวจสอบของทีม สจรส มอ แนะนำให้ปรับแก้ และใส่ข้อมูลเพิ่มในบางกิจกรรม
    • ผลลัพธ์ พื้นที่โครงการสามารถจัดทำกิจกรรมได้ตามแผน สามารถปิดโครงการได้ทันตามกำหนดระยะ ที่ สสส กำหนดไว้

     

    2 2

    41. ประชุมสรุปและประเมินผลโครงการ

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการตัวแทนครัวเรือน ร่วมลงทะเบียน
    • ผู้ใหญ่พูดคุยการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมา
    • เหรัญหิก ชี้แจงรายจ่ายงบประมาณต่างๆให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมรับทราบและเปิดโอกาสให้ซักถามหากมีข้อสงสัย ในการจัดกิจกรรม
    • ร่วมกัน สรุป ผลการจัดกิจกรรม และประเมินผลตามตัวชี้วัดที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 25 คน ร่วมกิจกรรมการติดตามการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ การดำเนินกิจกรรมครบทุกกิจกรรมมีการรายงานและมีตัวแทนครัวเรือนเข้ากิจกรรม ตลอดทุกกิจกรรม มีการ ชี้แจงรายจ่ายในแต่ละกิจกรรมให้ชุมชนรับทราบ คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

    • ผลลัพธ์การประเมินผล ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด ได้ดังนี้

    วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำให้เกิดสภาพผู้นำเข้มแข็ง

    ตัวชี้วัด

    1. มีการประชุมทุกเดือน
    2. แต่ละครั้งต้องมีคนเข้าร่วมประชุมร้อยละ 80
    3. ในการประชุมแต่ละครั้งต้องปรึกษาหารือเรื่องโครงการและพูดคุยเรื่องอื่นๆในชุมชน
    4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมทุกครั้งอย่างน้อยร้อยละ 90

    จากผลการจัดกิจกรรม

    1. คณะกรรมการมีการประชุมทุกเดือน จำนวน 10 ครั้ง
    2. แต่ละครั้งต้องมีคนเข้าร่วมประชุมร้อยละ 100
    3. ในการประชุมแต่ละครั้งต้องปรึกษาหารือเรื่องโครงการและพูดคุยเรื่องอื่นๆในชุมชน
    4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมทุกครั้งร้อยละ 100

    วัตถุประสงค์ข้อที่ 2เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นรายจ่ายลดลงมีการออมและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกร

    ตัวชี้วัด

    1. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม จำนวน 80 ครัวเรือน อย่างน้อยร้อยละ 10
    2. มีกองทุนการออมอย่างน้อย 1 กองทุน มีสมาชิกอย่างน้อย 100 คน
    3. ครัวเรือนมีรายจ่ายลดลงจากเดิม จำนวน 80 ครัวเรือน อย่างน้อยร้อยละ 10
    4. ครัวเรือนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำเกษตร 70 ครัวเรือน

    จากการดำเนินกิจกรรม

    1. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม( จำนวน 80 ครัวเรือน) ร้อยละ 12
    2. มีกองทุนการออม 1 กองทุน มีสมาชิก 100 คน
    3. ครัวเรือนมีรายจ่ายลดลงจากเดิม (จำนวน 80 ครัวเรือน) ร้อยละ 14
    4. ครัวเรือนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำเกษตร 80 ครัวเรือน

    วัตถุประสงค์ข้อที่ 3เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ตัวชี้วัด

    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    จากผลการดำเนินกิจกรรม

    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ร้อยละ 100
    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

     

    20 25

    42. ร่วมงานคนใต้สร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 -17.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและเลขาโครงการ ร่วมกิจกรรมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559

    • พิธีเปิด การแสดงโขนโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ร่วมกันร้องเพลงชาติไทย
    • กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
    • กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
    • ปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ
    • รายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ -เสวนา มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต โดยผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟิจะปะกียานายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญ นายทวีวัตร เครือสาย นายแพทย์ยอร์น จิระนคร ดำเนินรายการเสวนาโดย นายแพทย์ บัญชา พงษ์พานิช
    • ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม โดย นายอานนท์ มีศรี และนายฮารีส มาศชาย

    วันที่ 4 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุขแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม
    • ประชุมห้องย่อย เข้าห้องประเด็นชุมชนน่าอยู่ เสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงโดย คุณมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหย่บ้านทุ่งยาว คูณวิศิษฐ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วงคูณจำเรียง นิธิกรกุลนักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุงดำเนินการเสวนาโดย คูทวีชัย อ่อนนวน การแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวรนำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยคุณ สมยศบรรดา และทีมงานโครงการ นำเสนอ กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย คุณ วณิชญา ฉันสำราญ และทีมงานโครงการ นำเสนอกรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรนำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยคุณสมพร แทนสกุล และทีมงาน นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยนายอนุชาเฉลาชัย และทีมงาน ผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาบโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • ลานปัญญาเสวนา
    • ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง

    วันที่ 5 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรม
    • กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่าย
    • เสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน โดย นายแพทย์ภักดิ์ชัยกาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร. สุปรีดา อดุยยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล รองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ไทย พี บี เอส ดำเนินการอภิปราย คุณณาตยา แวววีรคุปต์
    • พิธีปิด โดยผู้ร่วมเสวนาทุกท่านและผู้เข้าร่วมทุกคน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต เจ้าของโครงการคณะกรรมการจำนวน 2 คน ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมรับฟังปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ฟังการเสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ฟังเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาบโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
      ลานปัญญาเสวนา ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรมกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่ายเสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน
    • ผลลัพธ์
    1. ได้รับความรู้ในการทำงานเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ทั้งด้านแนวคิด และวิธีการ
    2. ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆ ของโครงการที่มานำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเองได้
    3. ได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เช่น สสส./ สช./ สปสช. เป็นต้น
    4. เกิดเครือข่ายในการทำงานเพื่อส่วนรวม สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และกำลังใจให้แก่กันเมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา
    5. มีความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่ต่อไป
    6. เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมพี่เลี้ยงของโครงการ และทีมงานในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้

     

    2 2

    43. จัดทำรายงาน

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00- 12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมการลงรายงานข้อมูลในเวปคนใ๖้สร้างสุข ส่งเอกสารจัดทำรูปเล่ม จำนวน 2 เล่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ จำนวน 8 คน ช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมการลงรายงานข้อมูลในเวปคนใ๖้สร้างสุข ส่งเอกสารจัดทำรูปเล่ม จำนวน 2 เล่มพร้อมล้างภาพถ่ายในกิจกรรมต่างๆเพื่อเก็บไว้ในชุมชน
    • ผลลัพธฺ มีรายงานปิดโครงการฉบับบสมบรูณ์ เก็บไว้ในชุมชน จำนวน 1 เล่มพร้อมภาพถ่าย และนำส่ง สสส 1 เล่ม

     

    5 8

    44. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามปิดโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม
    • อ กำไล พูดคุยและสรุปผลการจัดกิจกรรม และผลที่เกิดขึ้นในชุมชนให้แต่ละโครงการร่วมกันสรุป
    • ร่วมกันสรุปผลโครงการ
    • พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • ทีม สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารรายงานและรายงานในเวป
    • ส่งเอกสารรายงาน ให้ทีม สจรส มอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ จำนวน 2 ร่วมร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามอ กำไล พูดคุยและสรุปผลการจัดกิจกรรม และผลที่เกิดขึ้นในชุมชนให้แต่ละโครงการร่วมกันสรุป คณะกรรมต่ละพื้นที่ร่วมกันสรุปผลโครงการ พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบเอกสารหลักฐานทีม สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารรายงานและรายงานในเวป ส่งเอกสารรายงาน ให้ทีม สจรส มอ
    • ผลลัพธ์คณะกรรมการได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีผลสรุปการจัดกิจกรรมตลอดโครงการ มีรานงานจัดส่ง สสส ตามกำหนด

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำให้เกิดสภาพผู้นำเข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมทุกเดือน 2. แต่ละครั้งต้องมีคนเข้าร่วมประชุมร้อยละ 80 3. ในการประชุมแต่ละครั้งต้องปรึกษาหารือเรื่องโครงการและพูดคุยเรื่องอื่นๆในชุมชน 4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมทุกครั้งอย่างน้อยร้อยละ 90
    1. คณะกรรมการมีการประชุมทุกเดือน จำนวน 10 ครั้ง
    2. แต่ละครั้งต้องมีคนเข้าร่วมประชุมร้อยละ 100
    3. ในการประชุมแต่ละครั้งต้องปรึกษาหารือเรื่องโครงการและพูดคุยเรื่องอื่นๆในชุมชน
    4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมทุกครั้งอร้อยละ 100
    2 เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นรายจ่ายลดลงมีการออมและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกร
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม จำนวน 80 ครัวเรือน อย่างน้อยร้อยละ 10 2. มีกองทุนการออมอย่างน้อย 1 กองทุน มีสมาชิกอย่างน้อย 100 คน 3. ครัวเรือนมีรายจ่ายลดลงจากเดิม จำนวน 80 ครัวเรือน อย่างน้อยร้อยละ 10 4. ครัวเรือนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำเกษตร 70 ครัวเรือน
    1. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม( จำนวน 80 ครัวเรือน) ร้อยละ 12
    2. มีกองทุนการออม 1 กองทุน มีสมาชิก 100 คน
    3. ครัวเรือนมีรายจ่ายลดลงจากเดิม (จำนวน 80 ครัวเรือน) ร้อยละ 14
    4. ครัวเรือนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำเกษตร 80 ครัวเรือน
    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ร้อยละ 100
    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำให้เกิดสภาพผู้นำเข้มแข็ง (2) เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นรายจ่ายลดลงมีการออมและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกร (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี

    รหัสโครงการ 58-03903 รหัสสัญญา 58-00-2195 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การทำปุ๋ยชีวภาพ โดยใช้มูลวัว เศษขี้เลื่อย เศษพืช คลุกเคล้าให้เข้ากันราดด้วยผสมน้ำหมัก นำไปใช้แทนปุ๋ยในการปลูกผัก

    สรุปรายงานในโครงการ

    ขยายผลการทำปุ๋ยให้แก่คนในชุมชนร่วมกันทำต่อมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    การใช้พื้นที่ข้างบ้านเป็นแหล่งปลูกพืชผักที่สามารถนำมารับประทานได้ ไม่ต้องไปหาซื้อในตลาด เกิดการแบ่งปันให้เพื่อนบ้าน แลกเปลี่ยนผักซึ่งกันและกัน

    พื้นที่บริเวณบ้าน กลายเป็นแปลงผักของครัวเรือน ในชุมชน

    ปลูกผักเพิ่มหาตลาด ขายเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาของครัวเรือนตนเองในการปลูกผักข้างบ้านทุกชนิดที่กินได้ โดยการแลกเปลี่ยนกันระหว่างครัวเรือน

    เวทีประชุมของชุมชน บันทึกการประชุม ข้อตกลง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ปรับวิถีการรวมตัวในเวลาที่ทุกคนสะดวก ปรับการประชุมคณะกรรมการ เกิดเวทีการร่วมดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มการออมในชุมชน

    มีกองทุนการออมในชุมชนโดยเริ่มในเดือนสิงหาคม2559 มีสมาชิกจำนวน80 ครัวเรือน มีคณะกรรมการกองทุน 1 คณะ จำนวน 7 คนมีแผนการออมเป็นข้อตกลงของชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ครัวเรือนต้นแบบจำนวน10ครัวเรือน คือ

    บ้านครัวเรือนต้นแบบ

    1. นายอนันต์ วรกิจ บ้านเลขที่28/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    2. นายโกวิท ขวัญศรี บ้านเลขที่9 หมู่ที่4 ต บ้านใหม่
    3. นายดวน นาคะ บ้านเลขที่63/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    4. นางอาจินต์คงส่ง บ้านเลขที่53/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    5. นายเสนอ โยมา บ้านเลขที่68/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    6. นายไชยรัตน์นาคเป้า บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    7. นางจรวย แก้วแกมทอง บ้านเลขที่74/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    8. นางนงนุชโยมา บ้านเลขที่69หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    9. นางสาวประเมียดสินหอยราก บ้านเลขที่20 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่
    10. นางหนูเหน็บโยมา บ้านเลขที่73/1 หมู่ที่4 ตำบลบ้านใหม่

    ขยายเต็มพื้นที่ทุกครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    คนในชุมชนร่วมเรียนรู้เรื่องสารเคมี และได้รับการตรวจคัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือด

    ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ลดการกินของเค็ม ของมัน และที่สำคัญคือ การกินผักปลอดสารพิษ โดยการงดการซื้อจากตลาด หันมาปลกผักกินเอง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    มีการออกกำลัง ตามกลุ่มวัย ในกิจกรรมที่เหมาะสม

    กลุ่มการออกกำลังกาย ในละแวกชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ในที่ประชุมของชุมชฃน มีป้านปลอดบุหรี่ ทำให้บางคนเกิดสำนึกว่า บุหรี่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ตัดสินใจเลิกบุหรี่จำนวน 2 ราย มีข้อตกลงเรื่องการลดรายจ่าย ทำให้มีการลดละอบายมุข และการพนัน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการปลูกผัก บริเวณบ้าน และการออกกำลังกาย และร่วมเรียนรู้กับเพื่อนบ้าน ทำให้คลายเคลียด และรายจ่ายลดลง ไม่ต้องซื้อผักจากตลาดมาบริโภค คนในครัวเดรือนมีการพูดคุยหารือ กันมากขึ้น

    กิจกรรมที่ร่วมทำด้วยกัน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    คนได้ปรับวิธีคิด มีการปฏิบัติการร่วมกัน ใช้ทุนในชุมชน เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ช่วยเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายได้

    รายจ่ายที่ลดลง รายได้ที่เพิ่มขึ้น ความสุขของคนในชุมชน การให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ครอบคัรวหันมาให้ความร่วมมือ และหันหน้าเข้าหากันมากขึ้น ลดปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งก่อน

    การอยู่ร่วมกันของคนในครัวเรือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    คนได้ปรับวิธีคิด มีการปฏิบัติการร่วมกัน ใช้ทุนในชุมชน เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ช่วยเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายได้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกติกาของกลุ่มการออม และเศรษฐกิจพอเพียง

    บันทึก ข้อตกลง กติกา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชนการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่ในชุมชน จะมีการดึงภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    เกิดกลไกการติดตามในชุมชน คณะกรรมการ ร่วมกับปราชญ์ชุมชน ติดตามผลที่บ้านผู้เข้าร่วมโครงการ เกิดการเรียนรู้ระหว่างบ้านใกล้เคียง นำข้อมูลจากการติดตามมาร่วมเรียนรู้ในที่ประชุมของหมู่บ้านได้ได้อีกรอบ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการแบ่งปันทรัพยากร เอื้ออาทร ร่วมแรงร่วมใจกัน พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้นำมาเป็นวัตถุดิบมาจากบ้านนำมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การเรียนรู้การทำน้ำหมัก ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำวัสดุจากบ้านตนเองเพื่อมาร่วมปฏิบัติพร้อมกัน เกิดการเรียนรู้เพิ่ม มีความเอื้ออาทาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีคณะกรรมการออกติดตามตลอดระยะ การดำเนินกิจกรรมกรรม

    บันทึกผลการติดตาม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการเรียนรู้ร่วมกัน จากครัวเรือนต้นแบบที่มีในชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    กลุ่มแกนนำและเยาวชนเกิดทักษะในการเก็บข้อมูล ตัวผู้ใหญ่และเยาวชนเกิดสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจกันเกิดการมีส่วนร่วม มีข้อมูลของชุมชนเพื่อวางแผนปฏิบัติการ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    เกิดการเรียนรู้ในเยาวชนและในคณะทำงาน เกิดความตระหนักในการร่วมกันแก้ไขปัญหามีข้อมูลฐานของของชุมชน ทราบสถานการณ์ชุมชน ทุนชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาของครัวเรือนและชุมชน ทราบรายรับรายจ่ายและสามารถวางแผนการลดรายจ่ายได้เพิ่มรายได้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเกิดความตระหนักในผลกระทบที่เกิดจากสารเคมี เกิดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม ลดร่ายจ่ายในการซื้อเครื่องอุปโภค มีแหล่งอาหารของครัวเรือน เหลือขายเพิ่มรายได้ มีกติกา มีกลุ่มเศรษฐพอเพียง เกิดความรักความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีผักปลอดสารพิษไว้รับทานเองในครัวเรือน เหลือขายเพิ่มรายได้ มีรายได้เพิ่มจากอาชีพเสริม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดการออมในครัวเรือน มีกติกาการออม เกิดกองทุนการออม สถานที่สาธารณะสะอาดน้่าอยู่บ้านเรือนสะอาดไม่มีขยะ เกิดกองทุนสวัสดิการของชุมชน เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคนในชุมชนที่ด้อยโอกาส สามารถประเมินผลการดำเนินกิจกรรมได้ มีครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    เกิดความรักความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีผักปลอดสารพิษไว้รับทานเองในครัวเรือน เหลือขายเพิ่มรายได้ มีรายได้เพิ่มจากอาชีพเสริม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เกิดกองทุนสวัสดิการของชุมชน เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคนในชุมชนที่ด้อยโอกาส

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03903

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง เสาวรส แป้นถนอม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด