แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน ”

บ้านไสโคกเกาะ หมู่ที่ 2.ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาง สุดใจ ยกเลื่อน

ชื่อโครงการ บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน

ที่อยู่ บ้านไสโคกเกาะ หมู่ที่ 2.ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03878 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2199

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านไสโคกเกาะ หมู่ที่ 2.ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านไสโคกเกาะ หมู่ที่ 2.ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03878 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,900.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 220 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดสภาผู้นำมีกระบวนการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
  2. เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ในการใช้สารเคมีและป้องกันตนเองจากสารเคมีเกิดกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การร่วมประชุมปฐมนิเทศ กับ สสส. สจรส.ม.อ. ครั้งที่ 1

    วันที่ 3 ตุลาคม 2015 เวลา 09.00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการจาก ผส.ดร.พงเทพษ์ และทีมงานของคนใต้สร้างสุข
    • ตัวแทน จาก สจรส มอ บรรยายและแนะนำขั้นตอนในการลงกิจกรรมของโครงการ การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด กิจกรรมที่จะต้องลงมีดังต่อไปคือ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมชี้แจงชุมชนในการดำเนินงานทุกครั้งต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนและพี่เลี้ยงในลงไปช่วยในการปิดงวดแต่ละครั้ง พร้อมทั้งตัวแทนจะ สจรส.มอ. ไปช่วยตรวจสอบความถูกต้องหลังจากทำงานไป 2 เดือน ต่อจากนั้นจะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย สสส. เป็นผู้จัด
    • อาจารย์ กำไลสมรักษ์ชี้แจงกิจกรรมที่จะต้องทำ เช่น เตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตรียมคนช่วยงาน เพื่อเริ่มต้นการทำงานให้สำเร็จ
    • อาจารย์ สุดาไพศาล ชี้แจงการจัดทำรายงานการเงินการลงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
    • ทีมงานจาก สจรส มอแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพที่ดี แนะนำชี้แจงการลงข้อมูลในโปรแกรมและฝึกปฏิบัติการลงรายงานในเวปคนใต้สร้างสุข จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานตลอดโครงการ จนเสร็จ และ บันทึกกิจกรรมวันปฐมนิเทศ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะทำงานเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ จำนวน 2 คน รับฟังการบริหารจัดการโครงการ สสส เรียนรู้การจัดทำรายงานต่างๆรายงานการเงิน การลงทะเบียน การเบิกจ่ายงบในแต่ละกิจกรรม การจัดทำรายงานผ่าน เว็บคนใต้สร้างสุข
    • ผลลัพธ์คณะทำงานทราบและเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สสส สามารถจัดทำรายงานต่างๆได้ และบันทึกรายงานผ่านเว็บคนใต้สร้างสุขได้

     

    2 2

    2. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1

    วันที่ 5 ตุลาคม 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการจำนวน 20คน ลงทะเบียน
    • เจ้าของโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ ของโครงการ งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรรจาก สสส กิจกรรมต่างๆที่ต้องร่วมกันดำเนินการตลอดระยะเวลาของโครงการ
    • ร่วมพูดคุย จัดตั้งคณะกรรมการเป็นสภาผู้นำชุมชน มอบหมายบทบาทหน้าที่
    • วางแผนการจัดกิจกรรม ปรับเปลี่ยนปฏิทินโครงการให้เหมาะสม
    • ร่วมพูดคุยปัญหาต่างๆของชุมชน คือราคายางตกต่ำ ให้ประชาชน วางแผนลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่นค่าบุหรี่ สุรา โดยให้ผู้ใหญ่คอยพูดคุยและประชาสัมพันธ์ในเวที่ประชุมชาวบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมจำนวน 20 คน ร่วมประชุม รับฟังการชี้แจงวัตถุประสงค์ ของโครงการ งบประมาณ และการมอบหมายบทบาทหน้าที่ให้คณะกรรม ตั้งเป็นสภาผู้นำชุมชน จำนวน 1 ชุด ร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ปรับแผนปฏิทินให้เหมาะสม
    • ผลลัพธ์มีคณะกรรมการ สภาผู้นำชุมชน จำนวน 1 ชุด มีสมาชิก 20 คน มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน มีแผนการจัดกิจกรรมตลอดโครงการ

     

    20 20

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 15 ตุลาคม 2015 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่  ตามที่ทาง สสส กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตมีป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามมาตราฐานที่สสส กำหนด จำนวน 1 ป้ายติดในสถานที่จัดทำกิจกรรมของโครงการ
    • ผลลัพธ์กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีการสูบบุหรี่ ในเวลาการจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายเกิดจิตสำนึกงดสูบบุหรี่ในวันจัดกิจกรรม

     

    2 2

    4. จัดเวทีชี้แจงให้ชุมชนรับทราบวัตถุประสงค์ งบประมาณ กิจกรรม ของโครงการ

    วันที่ 19 ตุลาคม 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนลงทะเบียน ร่วมเวทีประชุมชี้แจงโครงการ
    • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเวที และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และ กลวิธีการดำเนินงานและประโยชน์ที่จะได้จากกิจกรรม และการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชนในแต่ละกลุ่มอายุในแต่ละกิจกรรมที่กำหนดไว้ตามแผนงานในโครงการ
    • แนะนำคณะกรรมสภาผู้นำชุมชน ให้ประชาชนได้รับทราบ
    • พี่เลี้ยงร่วมชี้แจงวัตถุประสงค์ และงบประมาณเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือนและคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนจำนวน 150 คนเข้าร่วมเวทีประชุมชี้แจง วัตถุประสงค์ของโครงการและงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมีคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 1 ชุดในชุมชนรับรู้ถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อได้พัฒนาชุมชนได้อย่างตามแผนงาน
    • ผลลัพธ์ตัวแทนครัวเรือนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการและทราบงบประมาณพร้อมกิจกรรมที่จะต้องร่วมกันทำตลอดระยะเวลาโครงการรับทราบ คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 1 ชุด สมาชิก 20 คน

     

    150 150

    5. สภาผู้นำร่วมกันสร้างเครื่องมือในการสำรวจการใช้สารเคมีในชุมชน

    วันที่ 26 ตุลาคม 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน เยาวชน ผู้ทรงคุณวุฒิลงทะเบียน
    • ร่วมพูดคุยออกแบบเครื่องมือเพื่อทำการสำรวจข้อมูลชุมชนโดยทำการสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การสร้างแบบสอบถามข้อมูลการใช้สารเคมีรายจ่ายในการซื้อสารเคมี ผลกระทบที่เกิดขึ้น กับคนกับสิ่งแวดล้อม
    • ร่วมกันสร้างแบบสำรวจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนเยาวชน และผู้ทรงคูณวุฒิ จำนวน 40คน ร่วมออกแบบสร้างเครื่องมือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ทำการสำรวจครัวเรือนในชุมชน โดยมีแบบสอบถามข้อมูลการใช้สารเคมี รายจ่ายในการซื้อสารเคมี ผลกระทบที่เกิดขึ้น กับคนกับสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้เลขาโครงการจัดพิมพ์ เตรียมใช้ในวันลงสำรวจข้อมูล
    • ผลลัพธ์มีเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลของชุมชน

     

    40 40

    6. สภาผู้นำสำรวจข้อมูลตามแบบฟอร์มที่ชุมชนร่วมออกแบบ ครั้งที่ 1

    วันที่ 31 ตุลาคม 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนแกนนำครัวเรือนเยาวชนร่วมลงทะเบียน
    • แบ่งกลุ่มออกสำรวจ โดยแต่ละกลุ่ม มี จำนวน 5 คน จำนวน 8 กลุ่ม รับผิดชอบสำรวจครัวเรือน
    • ออกสำรวจข้อมูลโดยใช้เครื่องมืที่สร้างขึ้น โดยการสัมภาษณ์ในแต่ละครัวเรือน
    • จดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ลงในแบบสำรวจรายครัวเรือน
    • เก็บเอกสารไว้ที่หัวหน้าทีมการสำรวจแต่ละกลุ่ม เพื่อไว้รวมกับการสำรวจในวันที่ 2

    จุดกลุ่มสำรวจการใช้สารเคมีในชุมชน และจัดกลุ่มเพื่อหาอุปกรณ์ในการใช้ในกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนแกนนำครัวเรือน เยาวชน จำนวน 40คน ร่วมกันสำรวจข้อมูลครัวเรือน ตามแบบสำรวจที่สร้างขึ้นโดยการสัมภาษณ์ ข้อมูล แล้วนำมาลงในแบบสำรวจ เน้นการพูดคุย การใช้สารเคมี รายจ่ายในการซื้อสารเคมี ผลกระทบที่เกิดขึ้นในคน และสิ่งแวดล้อม
    • ผลผลิตได้ข้อมูลครัวเรือนตามแบบสำรวจ

     

    40 40

    7. สภาผู้นำสำรวจข้อมูลตามแบบฟอร์มที่ชุมชนร่วมออกแบบ ครั้งที่ 2

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนแกนนำครัวเรือนเยาวชนร่วมลงทะเบียน
    • แบ่งกลุ่มออกสำรวจ โดยแต่ละกลุ่ม มีจำนวน 5 คน จำนวน 6 กลุ่ม ตามชุดเดิมเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2558 รับผิดชอบสำรวจครัวเรือน
    • ออกสำรวจข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น โดยการสัมภาษณ์ในแต่ละครัวเรือนเน้นการพูดคุย การใช้สารเคมี รายจ่ายในการซื้อสารเคมี ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากใช้สารในคน และสิ่งแวดล้อม
    • จดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ลงในแบบสำรวจรายครัวเรือน
    • เก็บเอกสารไว้ที่หัวหน้าทีมการสำรวจแต่ละกลุ่ม เพื่อไว้รวมกับการสำรวจในวันแรก และเตรียมรวบรวมไปวิเคราะห์ข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนแกนนำครัวเรือน เยาวชน จำนวน 40 คน ร่วมกันสำรวจข้อมูลครัวเรือน ตามแบบสำรวจที่สร้างขึ้นโดยการสัมภาษณ์ ข้อมูล แล้วนำมาลงในแบบสำรวจ ได้ข้อมูลครัวเรือน
    • ผลลัพธ์ได้ข้อมูลครัวเรือนตามแบบสำรวจครบทุกครัวเรือน

     

    40 40

    8. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ร่วมลงทะเบียน
    • ประธานในการดำเนินประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ได้มีการพูดคุยเรื่อง การดำเนินงานของโครงการ
    • ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือน
    • มอบหมายภาระกิจ บทบาทหน้าที่ ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
    • ร่วมพูดคุยเรื่องอื่นของชุมชน การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร แล้วไม่รู้จักวิธีป้องกัน ทำให้มีผลทำสุขภาพป่วยเป็นโรคผิวหนัง มอบหมายผู้ใหญ่บ้านพูดคุย แนะนำการปกิบัติตัวในเวที่ประชุมประเดือนของหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรม มอบหมายภาระกิจการดำเนินกิจกรรมในการวิเคราะห์จากการสำรวจข้อมูลครัวเรือน ร่วมพูดคุยเรื่องอื่นของชุมชน การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร แล้วไม่รู้จักวิธีป้องกัน ทำให้มีผลทำสุขภาพป่วยเป็นโรคผิวหนัง มอบหมายผู้ใหญ่บ้านพูดคุย แนะนำการปฏิบัติตัวในเวที่ประชุมประเดือนของหมู่บ้าน
    • ผลลัพธ์ ได้แผนในการวิเคราะห์ข้อมูล

     

    20 20

    9. สภาผู้นำร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลหาสาเหตุที่ชุมชนใช้สารเคมีในชุมชน

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการ แกนนำครัวเรือน ลงทะเบียน
    • รวบรวมข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่ไปดำเนินการสำรวจ
    • ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลรายครัวเรือน ในด้านการใช้สารเคมีในครัวเรือน
    • เตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์คืนให้ชุมชนรับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน แกนนำครัวเรือน จำนวน 40คน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ ข้อมูลรายครัวเรือน และภาพรวมของชุมชนสรุปผลการวิเคราะห์ ซึ่งพบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ใช้ยาฉีดแมลง และฆ่าหญ้า ในการทำเกษตร เช่น สวนยางพารา และปลูกผัก และเตรียมนำเสนอคืนข้อมูลให้ชุมชนรับทราบ
    • ผลลัพธ์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนทราบข้อมูลของครัวเรือนในเรื่องของปัญหาการใช้สารเคมี ประมาณร้อยละ76 ของครัวเรือนในชุมชน

     

    40 40

    10. สภาผู้นำชุมชนจัดเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชนทราบ

    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ลงทะเบียน ร่วมเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน
    • ผู้ใหญ่กล่าวทักทาย พูดคุยและชี้แจงผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการลงสำรวจครัวเรือนในภาพรวมข้อชุมชน
    • มีนิทรรศการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ให้ชุมชนได้รับทราบ
    • แสดงบทบาทสมมุติผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี
    • อาสาสมัครที่ได้รับผลกระทบ เล่าประสบการณ์ตรง ในการใช้สารเคมีและผลที่เกิดขึ้น
    • ร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหา
    • รับสมัครครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนจำนวน 150คน ร่วมเวทีคืนข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือน ให้ชุมชนรับทราบ จากผลการสำรวจครัวเรือน280 ครัวเรือน ซึ่งพบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ใช้ยาฉีดแมลง และฆ่าหญ้า ในการทำเกษตร เช่น สวนยางพารา และปลูกผักครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรเป็นประจำ จำนวน 60 ครัวเรือน ร่วมวางแผนหาแนวทางป้องกันการใช้สารเคมี โดยมีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการครบตามเป้าหมาย 100 ครัวเรือน ทำข้อตกลง ลดการใช้สารเคมีโดยหันมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้ทดแทน จัดเวทีเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพให้ครัวเรือนได้เรียนรู้และนำไปทำใช้ในครัวเรือน ปลูกผักปลอดสารผักไว้รับประทานเองในครัวเรือนมอบหมายผู้ติดตามครัวเรือน นำข้อมูลมารวบรวมร่วมวิเคราะห์ ในเดือนกันยายน 2559
    • ผลลัพธ์ ผู้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมี มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการจำนวน 100 ครัวเรือน มีข้อตกลงการลดใช้สารเคมี

     

    150 150

    11. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3

    วันที่ 5 ธันวาคม 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการ ร่วมลงทะเบียน
    • เจ้าของโครงการสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
    • เหรัญหิก สรุปรายจ่ายในแต่ละกิจกรรมรายงานยอดเงินคงเหลือ
    • ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมเรียนรู้โทษพิษภัยของการใช้สารเคมี
    • ร่วมพูดคุยเรื่องอื่นของชุมชน เช่นดูแลสุขภาพ เนื่องจากในขณะนี้มีอาหารที่มีสารพิษ มากมาย ขอให้ผู้นำชุมชนช่วยให้คามรู้ประชาชนในการเลือกซื้ออาหารด้วย
    • มอบหมายภาระกิจ การร่วมประชุม กับ สจรส .มอ ในการเขียนรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะสภาผู้นำ จำนวน 20 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการจัดกิจกรรม สรุปรายจ่าย และ วางแผนการจัดกิจกรรมในการเรียนรู้โทษพิษภัยของการใช้สารเคมี มอบหมายภาระกิจการดำเนินกิจกรรม พูดคุยเรื่องอื่นๆของชุมชนคือ การเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัย
    • ผลลัพธ์ ทราบงบประมาณรายจ่ายในแต่ละกิจกรรม และงบประมาณที่มีเหลืออยู่ ในการจัดกิจกรรมต่อไป มีแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้โทษพิษภัยการใช้สารเคมี

     

    20 20

    12. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 5 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินเข้าเปิดบัญชีธนาคาร  ธนาคารออมสิน จำนวนเงิน 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินเข้าเปิดบัญชีธนาคาร  ธนาคารออมสิน จำนวนเงิน 500 บาท 

     

    2 2

    13. อบรมการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการเงิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย

    วันที่ 7 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังคำชี้แจงการเขียนรายงาน
    2. อาจารย์ กำไล ชี้แจงการเขียนรายงานและเครื่องสำรวจการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเป็นรายงาน
    3. อาจารย์ สุทธิพงศ์ ชี้แจงรายงานการเงิน และการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติจริง
    4. ทีมงานจาก สจรส มอ พร้อมพี่เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบเอกสารพร้อมแนะนำการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง
    5. บันทึกกิจกรรมการปฏิบัติในวันนี้ผ่าน เวป คนใต้สร้างสุข พร้อมเขียนใบสำคัญรับเงินค่าเดินทาง
    6. จากการตรวจสอบเอกสารบางอย่างต้องแก้ไขเพิ่มเติมเช่นรายละเอียดการเขียนใบสำคัญรับเงิน และพี่เลี้ยงแนะนำให้จัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบในแต่ละกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต คณะทำงานจำนวน 2 คน เข้าร่วมเรียนรู้ในการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการเงิน ผลลัพธ์ คณะทำงาน เข้าใจในการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการเงิน การ หักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ในค่าเช่า ค่าตอบแทนและค่าจ้างการเขียนหลักฐานแสดงการใช้เงินในกิจกรรมต่างๆการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บคนใต้สร้างสุข

     

    2 2

    14. ร่วมเรียนรู้โทษพิษภัยของการใช้สารเคมีและการป้องกันตนเองให้ป้องภัยจากการใช้สารเคมี

    วันที่ 11 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน  คณะกรรมการ ลงทะเบียน
    • ผู้ใหญ่กล่าวทักทาย พูดคุยผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา  และแนะนำ อาสาสมัครที่มีผลกระทบจากการใช้สารเคมี และเชิญ ร่วมเล่าประสบการณ์ การใช้สารมี และสาเหตุ ที่ป่วยเป็นโรค
    • วิทยากร พูดคุย โทษพิษภัยจากการใช้สารเคมี
    • จำลองสถานการณ์จริง  การสัมผัสและกระทบจากการใช้สารเคมีโดยไม่มีวัสดุป้องกันและได้เห็นผลที่เกิดขึ้น ร่วมกันกำหนดกติกาการลดใช้สารเคมี
    • เจาะเลือดตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ จำนวน 100 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โทษพิษภัยการใช้สารเคมีอาสาสมัครผู้ได้รับผลกระทบที่ป่วยเป็นโรคเนื่องจากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องเล่าประสบการณ์ตรง และเจาะเลือดตัวแทนครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย ผลการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมาย 100 คน มี4 ระดับ ปกติ 25 คน ปลอดภัย 32 คน มีความเสี่ยง 41 คน ไม่ปลอดภัย 2 คน
    • ผลลัพธ์ตัวแทนครัวเรือนเกิดความตระหนัก มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อการแก้ไขปัญหาการลดใช้สารเคมี และการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง มีผลการตรวจเลือด หาสารเคมีตกค้างในครั้งแรกก่อนเริ่มดำเนินโครงการ

     

    100 100

    15. ร่วมรณรงค์ปลูกต้นไม้ในชุมชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 26 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00- 12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ นักเรียน ร่วมลงทะเบียนปลูกต้นไม้
    • แบ่งกลุ่ม เพื่อแยกย้ายไปปลูกต้นไม้ เช่น ต้นเข็ม, โกสน,ตีนเป็ด ในพื้นที่ของชุมชนเพื่อปรับภูมิทัศน์ชุมชน
    • แกนนำนำต้นไม้ไปยังจุดที่จะทำการปลูก
    • ร่วมกันปลูกตันไม้และรณรงค์ ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชนเช่นถนนทางเข้าหมู่บ้าน ศาลาประชุมชนหมู่บ้าน
    • มอบหมายภาระกิจการดูแลต้นไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ นักเรียน จำนวน 100 คน ร่วมกันปลูกต้นไม้และทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชน มอบหมายภาระกิจให้มีผู้ดูแลต้นไม้ ในระยะที่ปลูกใหม่ๆ โดยให้เด็กนักเรียนจัดเวรดูแล หากเป็นพื้นที่ริมถนนที่นำต้นไม้ไปปลูกและตรงกับหน้าของครัวเรือนใด ครัวนั้นๆเป็นผู้ดูแล รับผิดชอบ
    • ผลลัพธ์คนในชุมชนมีส่วนร่วมกันในการปลูกป่าสถานที่สาธารณะในชุมชนสะอาด

     

    100 100

    16. ร่วมเรียนรู้และฝึกทำปุ๋ยชีวภาพ /น้ำหมัก /สมุนไพรไล่แมลง

    วันที่ 28 ธันวาคม 2015 เวลา 09.30-14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ ร่วมลงทะเบียน
    • ผู้ใหญ่ พูดคุยการทำกิจกรรมของโครงการ แนะนำวิทยากร ที่มาร่วมเรียนรู้ จากอบต นาแว
    • ร่วมเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ /น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง และการทำน้ำยาล้างจาน
    • ฝึกปฏิบัติโดยใช้วัสดุในชุมชน และให้ครัวเรือนกลับไปทำในครัวเรือนตนเอง
    • วิธีการทำน้ำหมัก นำเศษผักผลไม้ มาบสับเป็นชิ้นเล็ก บรรจุลงในถังที่่มีฝาปิด เสร็จแล้วเติมกากน้ำตาลลงไปตามอัตราส่วน พืชผัก 3 ส่วน ต่อ การน้ำตาล 1 ส่วน   คนคลุกเคล้าให้เข้ากัน เสร็จแล้วปิดฝาภาชนะ หมักทิ้งไว้ 7-15 วัน
    • จับคู่ติดตามผลการทำปุ๋ย ทำน้ำหมัก และสมุนไพรไล่แมลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต  ตัวแทนครัว คณะกรรมการ จำนวน 100 คนร่วมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก สมุนไพรไล่แมลง  พร้อมฝึกปฏิบัติ  สามารถกลับไปทำใช้ในครัวเรือนได้
    • ผลลัพธ์    คนในชุมชนมีปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมัก ในการทำการเกษตรใช้เอง  เกษตรกรมีผลผลิตปลอดสารเคมีในการใช้บริโภคและอุปโภค  คนในชุมชนมีรายจ่ายลดลงจากการใช้จ่ายสารเคมีในการทำการเกษตร คนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรง และได้ใช้ผลผลิตจากการเกษตรที่ดีขึ้น

     

    100 100

    17. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4

    วันที่ 5 มกราคม 2016 เวลา 9.00-14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ร่วมลงทะเบียน
    • เจ้าของโครงการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมในงวดที่ 1
    • เหรัญหิก สรุปผลรายจ่าย
    • ร่วมกันตรวจสอบกิจกรรมที่ดำเนินการในงวดที่ 1 พร้อมตรวจสอบเอกสาร เพื่อเตรียมปิดงวด ในวันที่ 13 กพ 2559
    • ช่วยกันจัดทำเอกสารเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่สมบรูณ์ เช่นใบปะหน้างบรายจ่าย
    • มอบหมายภาระกิจ รับผิดชอบ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและตรวจสอบเอกสารรายงาน ในการเบิกจ่ายรายกิจกรรม ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ร่วมพูดคุย การดำเนินกิจกรรมต่างๆในงวดที่ 1 และช่วยกันตรวจเอกสารหลักฐานในการประกอบการเบิกจ่าย ในรายกิจกรรม เตรียมปิดงวด ที่ 1 มอบภาระกิจ เตรียมให้ข้อมูลและเตรียมเอกสารให้พี่เลี้ยงในวันที่ 9 กพ 2559 พี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมในงวดที่ 1 และตรวจสอบเอกสารหลักฐานในการประกอบการเบิกจ่ายรายกิจกรรม
    • ผลลัพธ์คณะกรรมการทราบภาระกิจ มีแผนการดำเนินงานเอกสารหลักฐานบางอย่างยังไม่สมบรูณ์จัดทำเอกสารให้สมบรูณ์

     

    20 20

    18. ทำหลุ่มขยะพิษไว้ในชุมชนเพื่อเก็บขยะพิษชั่วคราวก่อน อบต จัดเก็บไปกำจัด

    วันที่ 10 มกราคม 2016 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กลุ่มแกนนำและคนในชุมชน ลงทะเบียน ร่วมกิจกรรมทำหลุ่มขยะพิษไว้ในชุมชนเพื่อเก็บขยะพิษ
    • กลุ่มแกนนำและคนในชุมชนร่วมกันทำหลุมขยะสารพิษ ที่บริเวณ อบต นาแว หลังเก่า เพื่อจัดเก็บขยะพิษของชุมชน จำนวน 1 หลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต กลุ่มแกนนำและคนในชุมชนจำนวน 20 คน ร่วมกันทำหลุ่มขยะพิษ บริเวณอบต นาแวหลังเก่า จำนวน 1 หลุ่ม เพื่อจัดเก็บขยะพิษของชุมชน โดยใช้ปล้องขนาด กว้าง จำนวน 100 ซม จำนวน 3 ปล้อง ฉาบปูนปิดก้น เพื่อกันการรั่วซึ่มของขยะพิษและให้คนในชุมชนที่มีขยะพิษนำมาใส่ในหลุ่มที่ทำขึ้น เช่นกระป๋องใส่สารเคมี โดยทำข้อตกลงกับทาง อบต จะต้องมีการนำกลับไปทำลายให้ถูกวิธี โดยทาง อบต จะมาเก็บประมาณ 4 เดือนครั้ง
    • ผลลัพธ์ มีที่เก็บขยะพิษที่จัดเก็บขยะอย่างถูกต้อง ก่อนนำไปจัดการกำจัดอย่างถูกวิธี

     

    20 20

    19. ร่วมลงแขกปรับพื้นที่ว่างเปล่าในโรงเรียนบ้านไสโคกเกาะ

    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00- 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กลุ่มเป้าหมายร่วมกันลงทะเบียน
    • ผู้ใหญ่บ้านชีแจงการร่วมกิจกรรม ปรับพื้นที่ว่างเปล่าในชุมชน ซึ่งมีอยู่ในบริเวณโรงเรียนบ้านใสโคกเกาะซึ่งมีพื้นที่ประมาณครึ่งไร่
    • ร่วมกันปรับพื้นที่ว่างเปล่าในโรงเรียน เพื่อทำแปลงผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • คณะกรรมการจำนวน 20 คน ร่วมกันปรับพื้นที่ว่างเปล่าในโรงเรียน จำนวนครึ่งไร่เป็นแปลงผักของชุมชน
    • ชุมชนมีแปลงผักปลอดสารพิษในพื้นที่ว่างของโรงเรียน

    ผลลัพธ์

    • คนในชุมชนได้ผลผลิตจากการปลูกผักปลอดสารพิษ เช่น พืชผักสวนครัว
    • ลดการใช้จ่ายในครัวเรือนของคนในชุมชน
    • คนในชุมชนได้ใช้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษที่ปลูกขึ้นเอง

     

    20 20

    20. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00- 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานสภาผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน ลงทะเบียนเข้าร่วประชุม
    • ร่วมพูดคุยผลการดำเนินกิจกรรมและวางแผนติดตามผลในกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว
    • ร่วมพูดคุยปัญหาต่างๆของชุมชน
    • มอบหมายภาระกิจ ให้ทีมงานเข้าร่วมกิจกรรม การคำเนินการปิดงวดโครงการ กับ สจรส มอ ในวันที่13-14 กุมภาพันธ์ 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณกรรมการจำนวน 20 คนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พูดคุยการดำเนินกิจกรรมวางแผนการทำกิจกรรม มอบหมายภาระกิจ และร่วมพูดคุยปัญหาในชุมชน เช่น ราคายางตกต่ำ ผู้นำชุมชน ต้องช่วยพูดคุยในชาวบ้านเข้าใจ และช่วยกันลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง
    • มีตัวแทนคณะทำงานร่วมปิดงวดโครงการกับ สจรส มอ มีแผนการดำเนินงานตามเป้าหมาย

     

    20 20

    21. การจัดทำรายงานปิดงวด1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมงวดที่1
    • พี่เลี่ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆรายกิจกรรม
    • ทีม สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารแบบสรุปรายงานต่างๆ
    • จัดทำรายงานปิดงวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน รับฟังและตรวจสอบแบบสรุปรายงานการใช้เงิน คณะทำงานได้ทราบถึงปัญหาในการดำเนินโครงการ
    • ผลลัพธ์ การดำเนินกิจกรรมในงวดที่1 ครบทุกกิจกรรม รายงานเอกสารหลักฐานครบทุกกิจกรรม และสามารถจัดทำรายงานปิดงวด 1 ได้ถูกต้อง
    • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

    วัคภุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดสภาผู้นำมีกระบวนการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีตัวชี้วัดคือ1มีการประชุมทุกเดือนผลจากการติดตามการจัดกิจกรรในงวดที่ 1

    1. มีการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ทุกเดือนจำนวน 5 ครั้ง
    2. มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ผลการจัดกิจกรรม ในการจัดประชุม ทุกครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ100
    3. ทำให้เกิดแผนดำเนินการและปฎิทินดำเนินงานผลจากการติดตามการร่วมกิจกรรม มีแผนการดำเนินการและปฏิทินการจัดกิจกรรมตลอดระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการ
    4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมทุกครั้งอย่างน้อยร้อยละ 80 ผลจากการติดตามการจัดกิจกรรม ทุกครั้งมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100

    วัตถุประสงค์ ข้อ 2. เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ในการใช้สารเคมีและป้องกันตนเองจากสารเคมีเกิดกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรมีตัวชี้วัดคือ

    1. ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกยางพารา และปลูกผักสวนครัวมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีไม่น้อยกว่า 60 ครัวเรือน ผลจากการติดตามการจัดกิจกรรมยังประเมินผลไม่ได้
    2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกยางพาราและปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนไม่น้อยว่า 60 ครัวเรือน ผลจากติดตามการจัดกิจกรรมในงวดที่1 ยังไม่สรุปผล
    3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายผลจากการติดตาม ยังไม่สรุปผล
    4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน อย่างน้อย 1 หลุม ผลการดำเนินกิจกรรมมีหลุ่มเก็บขยะพิษจำนวน 1 หลุ่ม

    วัตถุประสงค์ ข้อที่ 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัดผลการติดตาม มีคณะทำงานโครงการเข้าร่วมกิจกรรมที่ทาง สสสและ สจรส มอ จัดทุกครั้ง
    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม ผลการติดตาม มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ ติดในสถานที่จัดกิจกรรมในชุมชน และไม่มีผู้สูบบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรมผลการติดตาม คณะทำงานมีการถ่ายภาพกิจกรรมทุกกิจกรรมแต่ยังขาดทักษะในการถ่ายภาพ
    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนดผลการติดตาม พื้นที่สามารถจัดส่งรายงานปิดงวด1 ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

     

    2 2

    22. ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกพืชผักปลอดสารพิษครั้งที่ 1

    วันที่ 3 มีนาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มลงทะเบียนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม
    2. ผู้นำชุมชนพบปะกับคนในชุมชน เพื่อทำความเข้าใจในกิจกรรม
    3. วิทยากรพบปะกับคนในชุมชน เพื่อเรียนรู้ถึงขั้นตอนของการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
    4. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซักถาม ทำความเข้าใจในการปลูกผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือน จำนวน 100 คนร่วมเรียนรู้ขั้นตอนของการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ มีการกำหนดข้อตกลงในการลดใช้สารเคมี
    • ผลลัพธ์
    1. คนในชุมชนได้มีความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
    2. คนในชุมชนได้มีความรู้ถึงโทษของการใช้สารเคมี
    3. คนในชุมชนจะมีพฺืชผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน
    4. คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยชีวภาพในการทำเกษตร

     

    100 100

    23. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 6

    วันที่ 5 มีนาคม 2016 เวลา 10.00-14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการผู้นำชุมชน ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    • คณะกรรมการผู้นำชุมชน ร่วมพูดคุยถึงกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
    • คณะกรรมการผู้นำชุมชน ร่วมกันเสนอแนวทางและการแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมต่อไปคือร่วมลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านไสโคกเกาะซึ่งวางแผนจัดในวันที่ 11 มีนาคม 2559
    • มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมวันที่ 11 มีนาคม 2559
    • พูดคุยปัญหาของชุมชนในเรื่องการดูแลบุตรหลานให้ปลอดภัยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกะยาเสพติด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตสภาผู้นำชุมชนจำนวน 20 คนเข้าร่วมประชุมพูดคุยถึงกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ร่วมกันเสนอแนวทางและการแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมต่อไปคือร่วมลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านไสโคกเกาะซึ่งวางแผนจัดในวันที่ 11 มีนาคม 2559มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมวันที่ 11 มีนาคม 2559พูดคุยปัญหาของชุมชนในเรื่องการดูแลบุตรหลานให้ปลอดภัยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกะยาเสพติดสามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนและวางแผนแก้ไขปัญหา
    • ผลลัพธ์ สภาผู้นำชุมชนสามารถวางแผนและแก้ไขการดำเนินงานตามเป้าหมาย

     

    20 20

    24. ร่วมลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านไสโคกเกาะ

    วันที่ 11 มีนาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเริ่มทำแปลงผักขึ้นมา
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแจกจ่ายเมล็ดพันธ์ผัก เช่น ผักบุ้ง ผักกาด ผักคะน้า แตงกวา เพื่อทำการเพาะปลูก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 20 คนร่วมลงแขกปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านไสโคกเกาะทำให้คนในชุมชนหันมาปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานกันมากขึ้น

    • ผลลัพธ์ เกิดความรักความสามัคคีกันของคนในชุมชน คนในชุมชนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน นักเรียนโรงเรียนบ้านไสโคกเกาะได้มีผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน

     

    20 20

    25. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 26 มีนาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน
    • อาจารย์ อภิวัฒน์ไชยเดช กล่าวทักทายต้อนรับพูดคุยวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้เพื่อพื้นที่ทราบว่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมไปแล้วประมาณ 6 เดือนในพิ้นที่มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น คน สภาพแวดล้อม ในชุมชน ระบบการทำงานกระบวนการต่างๆ
    • อาจารย์ กำไล สมรักษ์ พูดคุยชี้แจงเพิ่มเติ่ม และให้ทุกพื้นที่ช่วยกันสรุป ทุกคนแล้วนำมารวมเป็นของพื้นที่ตนเอง ส่งให้พี่เสี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงช่วยกันสรุปผลการแปลงเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ สรุปภาพรมของพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการโครงการจำนวน 2 คน ร่วมแลกปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน ผลการถอดบทเรียนของพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลงคือ คน มีการทำงานเป็นทีม เข้าใจปัญหาของตนเอง ร่วมทำแผน ร่วมเรียนรู้ ร่วมทำกิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การใช้สารเคมีลดลง หันมาใช้สารชีวภาพแทน ถ้าจำเป็นต้องใช้มีการป้องกันโดยใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก ใส่ถุงมือ ใส่รองเท้าบูทในส่วนสภาพแวดล้อม เกิดพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม ในส่วนของกระบวน มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือนมีกติกา การใช้สารเคมี ของชุมชนคณะกรรมการ มีความเข้าใจในการลงรายงาน
    • ผลลัพธ์ คณะกรรมการมีความเข้าใจกระบวนการทำกิจกรรม

     

    2 2

    26. ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการทุกกิจกรรมโดยคณะทำงานตัวแทนครัวเรือนและเยาวชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 30 มีนาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมลงทะเบียน
    • นายอนันธพันธ์ สุมน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 กล่าวต้อนรับและพูดคุยถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา
    • ทำการสรุปผลการทำงานที่ผ่านมาโดยคณะกรรมการตัวแทนครัวเรือนและเยาวชน
    • เจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน
    • ช่วยกันร่างกฏกติกาในการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการทำเกษตรปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต นักเรียน 20 คนวันทำงาน 20 คน รวม 40 คน ได้มีการสรุปถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการร่วมกันร่างกฏกติกาของชุมชนในการค้ดเลือกครัวเรือนต้นแบบ
    • ผลลัพธ์ มีกฏกติกาที่เกิดจากการเสนอแนะของคนในชุมชนมีครัวเรือนต้นแบบในการทำเกษตรปลอดสารพิษ

     

    40 40

    27. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 7

    วันที่ 5 เมษายน 2016 เวลา 12.00-14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะสภาผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน ลงทะเบียน
    • ร่วมพูดคุยถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา
    • วิเคราห์ปัญหาและการแก้ไขถึงงานที่ผ่านมา
    • ร่วมกันพูดคุยถึงกฏกติกาที่ชุมชนสร้างร่วมกันในการคัดเลือกครัวเรือนตัวอย่างในการทำเกษตรปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะสภาผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน ร่วมประชุมเพื่อหารือและวางแผนการจัดกิจกรรม ในการดำเนินงานไปในแนวทางเดียวกัน
    • ผลลัพธ์มีกฏกติกาสำหรับชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน

     

    20 20

    28. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 8

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2016 เวลา 10.00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะสภาผู้นำชุมชนได้ลงทะเบียน
    • ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะสภาผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน ร่วมกันประชุมวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวางแผนการแก้ไขปัญหา
    • ผลลัพธ์คณะสภาผู้นำชุมชนสามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาการดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย

     

    20 20

    29. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 9

    วันที่ 5 มิถุนายน 2016 เวลา 10.00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะสภาผู้นำชุมชนได้ลงทะเบียน เข้าร่วมประชุม
    • เจ้าของโครงการพูดคุยร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 22 มิถุนายน 2559
    • มอบหมายภาระกิจในการจัดกรรมในวันที่ 22 มิถุนายน 2559
    • พูดคุยถึงสถานการณ์ของกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลาของโครงการซึ่งต้องมีการปรับแผนบ้างในบางกิจกรรมเพราะเงินงวดที่ 2 เข้าช้า จึงต้องปรับปฏิทินใหม่ร่วมกันปรับปฏิทินใหม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะสภาผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน ร่วมประชุมพูดคุยร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 22 มิถุนายน 2559มอบหมายภาระกิจในการจัดกรรมในวันที่ 22 มิถุนายน 2559พูดคุยถึงสถานการณ์ของกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลาของโครงการซึ่งต้องมีการปรับแผนบ้างในบางกิจกรรมเพราะเงินงวดที่ 2 เข้าช้า จึงต้องปรับปฏิทินใหม่ร่วมกันปรับปฏิทินใหม่
    • ผลลัพธ์ คณะสภาผู้นำชุมชนสามาถวางแผนและหาแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรค เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมาย

     

    20 20

    30. ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ครั้งที่ 2

    วันที่ 22 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ลงทะเบียน
    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนตนเอง
    3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำกิจกรรมในแต่ละครัวเรือน
    4. เชิญตัวแทนครัวเรือนที่ประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษมาให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    คณะกรรมการตัวแทนครัวเริอน จำนวน 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมได้ความรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษได้เรียนรู้ถึงโทษพิษภัยของการใช้สารเคมี ซึ่งจากการจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกพืชผักปลอดสารพิษครั้งที่ 1 ทำให้มีครัวเรือนที่ได้ดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษไปบ้างแล้วและในการปลูกผักในครัวเรือนก็ได้นำเอาน้ำหมักชีวภาพที่ได้ทำไว้มาใช้ในการทำเกษตรการปลูกผักด้วย

    ผลลัพธ์

    ตัวแทนครัวเรือนจำนวน100 คน มีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษมากขึ้นและได้ตกลงกันในที่ประชุมว่าจะปลูกผักไว้รับประทานในครัวเรือนของตนเอง ลดการใช้สารเคมี หันมาใช้น้ำหมักชีวภาพแทน

     

    100 100

    31. ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงโครงการ ในการดำเนินงานงวดที่ 2

    วันที่ 26 มิถุนายน 2016 เวลา 10.00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนคณะกรรมการ จำนวน3 คน ร่วมประชุม กับพี่เลี้ยงโครงการ
    • พี่เลี้ยงให้พูดคุยถึงปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากเงินในงวดที่ 2 เข้าช้ามาก ทำให้ต้องปรับเปลี่ยน อยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้ พี่เลี้ยงเข้าใจและแนะนำให้เร่งดำเนินกิจกรรมหลังได้รับเงินโอนในงวดที่ 2 และให้พัฒนาชุดสภาผู้นำชุมชนให้สามารถ นำเรื่องที่เป็นปัญหาของชุมชนมาพูดคุยและวางแผนแก้ไขโดยสภาผู้นำชุมชน ให้จัดทำสัญญาใจ เสนอชุมชน เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนให้สมารถพึ่งตนเองได้ ต่อไป
    • ร่วมกันปรับเปลี่ยนแผนปฏิทินให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่เหลือในสัญญาให้สามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด
    • พี่เลี้ยงพูดคุยเรื่องการจัดงานคนใต้สร้างสุข และแจ้งให้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน โดยใช้งบประมาณจากโครงการเป็นค่าที่พักและค่าเดินทางส่วนค่าอาหารทาง สสส รับผิดชอบและแจ้งว่าจะออกติดตามอีก 3 ครั้ง คือเดือน กรกฎาคม ,สิงหาคม และเดือนกันยายนเพื่อช่วยให้คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนสามารถวางแผนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตตัวแทนคณะทำงานจำนวน 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมการติดตามการดำเนินโครงการงวดที่ 2 โดยพี่เลี้ยงโครงการ พูดคุยเรื่องปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินโครงการในงวดที่ 2 เนื่อง การโอนเงิน จาก สสส ในงวดที่ล้าช้ามาก ทำให้ ต้องปรับเปลี่ยนแผนมาตลอดซึ่งตอนนี้เงินงวด 2 เข้าแล้ว พี่เลี้ยงเร่งให้รีบดำเนินกิจกรรมตามแผนใหม่ที่ปรับและเน้นย้ำ ในเรื่องการประชุมสภาผู้นำชุมชนให้ร่วมกันพูดคุยปัญหาต่างๆของชุมชนและวางแผนแก้ไข ด้วย พี่เลี้ยงแจ้งว่าจะลงพื้นที่อีก3 ครั้งเพื่อติดตามการดำเนินกิจกรรมของสภาผู้นำชุมชน โดยจะลงมาในเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน 2559
    • ผลลัพธ์ คณะทำงาน เข้าใจ และรับทราบจะเร่งดำเนินการกิจกรรมตามแผนและจะดำเนินการให้เกิดชุดสภาผู้นำที่เข้มแข็งสามารถจัดการให้ชุมชนพึ่งตนเองให้ได้

     

    2 3

    32. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 10

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2016 เวลา 10.00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะกรรมการผู้นำชุมชนร่วมลงทะเบียนในกิจกรรม
    2. ร่วมพูดคุยถึงการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา พี่เลี้ยงให้ชมวิดีทัศน์ ชุมชนตัวอย่างบ้านสำโรง
    3. พี่เลี้ยงโครงการได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ เพื่อคุยเรื่องการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน
    4. คณะผู้นำชุมชนได้มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการในเรื่องการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมพร้อมพี่เลี้ยงโครงการ พูดคุยการดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ดูวิดีทัศน์ชุมชนตัวอย่างบ้านสำโรงร่วมกันวางแผนการดำเนินงานให้ตรงตามเป้าหมายคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนได้เรียนรู้่้เรื่องการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน
    • ผลลัพธ์ เกิดการวางแผนงานที่เป็นระบบ ได้ความรู้ความเข้าในและวางแนวทางในการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน

     

    20 20

    33. ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ครั้งที่ 3

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2016 เวลา 10:00-13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อเริ่มกิจกรรม
    2. ผู้นำชุมชนได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    3. ใ้ห้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ได้ไปดำเนินการปลูกพืชผักปลอดสารพิษได้มาพบปะกับผู้เข้าร่วมประชุม
    4. เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรม
    5. สรุปกิจกรรมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ และการใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี ว่ามีผลอย่างไรบ้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือน จำนวน 100 คนร่วมเรียนรู้ขั้นตอนของการปลูกพืชผักปลอดสารพิษในครั้งที่ 3 ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 100 คน ได้มีครัวเรือนที่หันมาปลูกผักปลอดสารพิษแล้ว จำนวน 70 คน ซึ่งเป็นการปลูกผักที่หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและตัวแทนครัวเรือนอีก 30 คน ได้ตกลงว่าจะปลูกผักปลอดสารพิษและการลดใช้สารเคมีหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพแทน เพื่อให้เป้าหมายการดำเนิน
    กิจกรรมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษได้ครบ 100 ครัวเรือน

    ผลลัพธ์

    1. คนในชุมชนได้มีความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
    2. คนในชุมชนได้มีความรู้ถึงโทษของการใช้สารเคมี
    3. คนในชุมชนจะมีพฺืชผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน
    4. คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยชีวภาพในการทำเกษตร

     

    100 100

    34. ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการทุกกิจกรรมโดยคณะทำงานตัวแทนครัวเรือนและเยาวชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน 2.เริ่มประชุมโดยการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมและสรุปผลโดยคณะกรรมการตัวแทนครัวเรือนและเยาวชน 3.ครัวเรือนต้นแบบได้รายงานผลการทำการเกษตรโดยไม่ได้ใช้สารเคมี ว่ามีผลเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีการรายงานผลการดำเนินงานและสรุปผลของกิจกรรมจากครัวเรือนต้นแบบ
    2. มีกฏกติกาของชุมชนในการทำการเกษตรปลอดสารพิษ

    ผลลัพธ์

    1. ครัวเรือนต้นแบบที่ลดการใช้สารเคมีมีความสุขภาพที่ดีขึ้น
    2. ครัวเรือนต้นแบบมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนและแบ่งปันเพื่อนบ้าน

     

    40 40

    35. ร่วมกันลงแขกปรับพื้นที่ว่างเปล่าในครัวเรือน(ร่องยางพารา)

    วันที่ 6 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนครัวเรือนละ 1 คน จำนวน 100 ครัวเรือน ได้เตรียมเครื่องมือในการทำแปลงผักมาร่วมกิจกรรม โดยใช้แปลงสวนยางพาราของสมาชิกในหมู่ที่ 2 บ้านไสโคกเกาะ ตัวแทนจาก 100 ครัวเรือนได้ร่วมกันปรับพื้นที่ในร่องยางพารา จำนวน 100 แปลง เพื่อทำเป็นแปลงผักปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    - ตัวแทนครัวเรือนละ 1 คน จำนวน 100 ครัวเรือน ได้ร่วมกันปรับพื้นที่ในร่องยางพารา จำนวน 100 แปลง เพื่อทำเป็นแปลงผักปลอดสารพิษ ซึ่งได้ใช้แปลงสวนยางของชาวบ้านในหมู่ที่ 2 บ้านไสโคกเกาะ จำนวนรวมทั้งหมด 3 แปลงรวมเป็นเนื้อที่ 18 ไร่

    ผลลัพธ์
    - ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 100 ครัวเรือน ได้ทำแปลงผักไว้สำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 100 แปลง โดยใช้พื้นที่แปลงสวนยางของชาวบ้านในหมู่ที่ 2 เป็นแปลงในการปลูกผัก

     

    100 100

    36. ร่วมรณรงค์ปลูกต้นไม้ในชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 10.00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กนักเรียนจำนวน 100 คน ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ร่วมกันปลูกต้นไม้ในพื้นที่โรงเรียน ข้างถนน และพื้นที่สาธารณะประโยชน์ โดยพันธุ์ไม้ที่ปลูกได้แก่ ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    - คนในชุมชนทั้งเด็กนักเรียน ผู้ปกครองและครูอาจารย์ จำนวน 100 คน ได้มีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแกนนำในชุมชนได้จัดหาพันธ์ไม้ และให้คนในชุมชมร่วมกันปลูกใน พื้นที่ของชุมชน2 ครั้ง ทำอย่างต่อเนื่องเพื่อ เพิ่มป่าให้ชุมชน

    ผลลัพธ์
    - มีต้นไม้เพิ่มในชุมชน เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน รวมทั้งเพิ่มไม้ประดับที่สวยงามให้กับชุมชน และเป็นการลดมลพิษในอากาศด้วย

     

    100 100

    37. ร่วมกันลงแขกปลูกพืชผัก

    วันที่ 13 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 คน ได้ทำการปลูกผักปลอดสารพิษในแปลงที่ได้ทำไว้ ผักที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นผักสวนครัว มีมะเขือ พริก ตะไคร้ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ข้าวโพด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 คนได้ร่วมแรงร่วมใจกันปลูกผักปลอดสารพิษ

    ผลลัพธ์ - มีแปลงผักปลอดสารพิษจำนวน 100 แปลง จากครัวเรือนจำนวน 100 ครัวเรือนไว้บริโภค

     

    100 100

    38. นำข้อมูลที่ได้จากการออกติดตาม และผลการตรวจเลือดครั้งที่2 มาวิเคราะห์สรุปผล

    วันที่ 20 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวเแทนจากครัวเรือน จำนวน 40 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรม โดยได้ทำการนำข้อมูลจากการติดตามผลมาสรุป
    และมีการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบจำนวน 10 ครัวเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู่้ในชุมชน พร้อมทั้งได้นำข้อมูลผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 มาสรุป ซึ่งผลการตรวจเลือดปรากฏว่าตัวแทนครัวเรือนที่ได้เจาะเลือดไป มีตัวแทนครัวเรือนที่มีเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • คนในชุมชนได้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน

    ผลลัพธ์

    • ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 40 คน ได้มีข้อมูลจากการติดตามผลการดำเนินงาน และผลการตรวจเลือดไว้เป็นข้อมูล เพื่อแจ้งให้คนในชุมชนได้รับรู้
      และตระหนักถึงการปลูกผักปลอดสารพิษ และการลดการใช้สารเคมี

     

    40 40

    39. ถอดบทเรียน

    วันที่ 27 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะกรรมการผู้นำชุมชนได้นำข้อมูลและผลการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ จนถึงวันที่ถอดบทเรียนมาสรุปผล ซึ่งจากการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันทำให้มีข้อสรุปคือ จากการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ ทำให้เกิดสิ่งดีๆขึ้นกับชุมชน ชาวบ้านได้เข้าใจและรับรู้ถึงแนวทางการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ รู้จักการทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้แทนปุ๋ยเคมี สารเคมีต่างๆ คนในชุมนเกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตเห็นได้จากการที่ตรวจเลือดตัวแทนครัวเรือนทำให้เห็นว่าเมื่อมีการลดการใช้สารเคมีทำให้ค่าของเลือดที่ทำการตรวจในครั้งต่อมามีค่าที่ปลอดภัยขึ้น และที่สำคัญทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนจากการร่วมกันปลูกต้นไม้ มีการสร้างกฏกติกาของชุมชนเรื่องการลดการใช้สารเคมี 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    - ตัวแทนจากครัวเรือนจำนวน 150 ครัวเรือนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการลดการใช้สารเคมี โดยหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เด็กนักเรียนจากโรงเรียนในชุมชนได้ตระหนักถึงการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมโดยการปลูกต้นไม้ ได้เรียนรู้การปลูกผักไว้รับประทานในครัวเรือน และจากการเรียนรู้จากตัวแทนครัวเรือนจำนวน 150 ครัวเรือนได้ขยายต่อไปกับทุกครัวเรือนในหมู่ที่ 2 บ้านไสโคกเกาะ

    ผลลัพธ์
    - ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 150 ครัวเรือนร่วมกับเด็กนักเรียนในชุมชนได้ขยายความรู้เรื่องการลดการใช้สารเคมีให้กับทุกครัวเรือนในหมู่ที่ 2 และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในการทำการเกษตร รวมทั้งครัวเรือนในชุมชนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน และสร้างรายได้เสริมให้กับครัวเรือนโดยการนำผลผลิตที่เหลือกินไปขาย ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สภาพสิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้นจากการลดการใช้สารเคมี

     

    20 20

    40. ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการทุกกิจกรรมโดยคณะทำงานตัวแทนครัวเรือนและเยาวชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 30 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนครัวเรือนและเยาวชนจำนวน 40 คน ได้มีการร่วมกันสรุปผลการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ทำให้ได้ผลสรุปว่า จากการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาทำให้มีการเกิดการเปลี่ยนแปลงกับวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน คนในชุมชนได้ลดการใช้สารเคมี และหันมาทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษเพิ่มมากขึ้น และในชุมชนได้มีการร่างกฏกติกาขึ้นมา ซึ่งเป็นกฏกติกาในการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ โดยให้ทุกครัวเรือนหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี และทุกครัวเรือนจะต้องนำขยะอันตรายทิ้งในหลุมขยะที่สร้างไว้ และมีการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบจำนวน 10 ครัวเรือน ซึ่งใน 10 ครัวเรือนนี้มาจากการคัดเลือกจากครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ตัวแทนครัวเรือนและเยาวชนจำนวน 40 คน ได้สรุปผลการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ซึ่งจากการสรุปผลทำให้เห็นว่าคนในชุมชนมีการทำการเกษตรที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หันมาทำเกษตรแบบปลอดสาร
      พิษกันมากขึ้น และมีกฏกติกาที่เกิดจากคนในชุมชน มีครัวเรือนต้นแบบในการทำการเกษตรจำนวน 10 ครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนต้นแบบจำนวน 10 ครัวเรือนเป็นครัวเรืือนที่่ทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ และเป็นครัวเรือนที่ทำตามกติกาของชุมชนที่ได้วางไว้ ดังนี้
    1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีโดยหันมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้แทน
    2. ครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน
    3. ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษไว้้รับประทานเองในครัวเรือน
    4. ครัวเรือนต้องนำขยะพิษทิ้งในหลุมขยะพิษของชุมชน

    ผลลัพธ์

    • คนในชุมชนรับทราบถึงกฏกติกาที่ร่างไว้ และนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ มีครัวเรือนต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้และเป็นตัวอย่างที่ดี และครัวเรือนจะปฎิบัติตามกติกา ดังนี้
      1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีโดยหันมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้แทน
      2. ครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน
      3. ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษไว้้รับประทานเองในครัวเรือน
      4. ครัวเรือนต้องนำขยะพิษทิ้งในหลุมขยะพิษของชุมชน

     

    40 40

    41. คืนข้อมูลจากการทำกิจกรรมตลอดโครงการสู่ชุมชน

    วันที่ 31 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนได้สรุปข้อมูลจาการถอดบทเรียนและผลจากการดำเนินกิจกรรมได้แจ้งให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทราบ ดังนี้ จากการดำเนินโครงการมาทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำการเกษตร โดยชาวบ้านได้หันมาลดการใช้สารเคมีหันมาทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษกันมากขึ้น มีกาารกำจัดขยะอันตรายได้ถูกต้อง รู้จักการทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในการทำการเกษตร ทำให้เกิดครัวเรือนต้นแบบจำนวน 10 ครัวเรือน และมีการร่างกฏกติกาของชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในชุมชน สร้างให้ชุมชนเป็นชุมชนพึ่งตนเอง และสร้างความสามัคคีจากการร่วมกันลงแขกทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ร่วมกันลงแขกปรับพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อทำเป็นแปลงผักปลอดสารพิษ ร่วมกันลงแขกปลูกผัก และผลจากการลดการใช้สารเคมี ทำให้คนในชุมชนมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และสภาผู้นำชุมชนได้นำข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมประชุมไปเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่อไปของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนได้นำข้อสรุปจากการถอดบทเรียนและผลการดำเนินกิจกรรมในโครงการแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 150 คน ได้ทราบ ว่าตลอดการทำกิจกรรมทำให้เกิดผลดีต่อชุมชน และชาวบ้านอย่างไรบ้างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากการลดการใช้สารเคมี ชาวบ้านรู้จักป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีในการทำเกษตร รู้จักการกำจัดขยะพิษ จากการดำเนินกิจกรรมทำให้เกิดครัวเรือน ต้นแบบในการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษจำนวน 10 ครัวเรือน มีกฏกติกของชุมชนเกิดขึ้น มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยมีกติกาที่คนใชุมชนได้ร่วมกันสร้างขึ้น 1.ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีโดยหันมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้ทดแทน 2.ครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพในครัวเรือน 3.ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือนมีผู้ติดตามครัวเรือน 4.ครัวเรือนต้องนำขยะพิษทิ้งในหลุมขยะพิษของชุมชนเพื่อนำใปจัดการที่ถูกวิธีต่อไป และจากการดำเนินโครงการทำให้ชาวบ้านในชุมชนลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร 70 ครัวเรือน จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 ครัวเรือน ครัวเรือนที่กำจัดขยะสารพิษในหลุมขยะพิษได้70 ครัวเรือนและทำน้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือนจำนวน 70 ครัวเรือน มีแปลงผักปลอดสารพิษของชุมชนจำนวน 100 แปลง ในพื่นที่สวนยางพาราจำนวน 18 ไร่

    ผลลัพธ์

    • ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 150 คน เข้าใจในข้อมูลที่สภาผู้นำชุมชนได้นำมาแจ้งให้ทราบ และได้มีการสร้างกติการ่วมกันในชุมชนดังนี้ 1.ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีโดยหันมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้ทดแทน 2.ครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพในครัวเรือน 3.ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือนมีผู้ติดตามครัวเรือน 4.ครัวเรือนต้องนำขยะพิษทิ้งในหลุมขยะพิษของชุมชนเพื่อนำใปจัดการที่ถูกวิธีต่อไป

     

    150 150

    42. สรุปผลปิดโครงการ

    วันที่ 1 กันยายน 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานจำนวน 20 คน ได้ช่วยกันเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆในแต่ละกิจกรรม และช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง และได้เก็บรวบรวมเอกสารไว้อย่างเป็นระบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    - คณะทำงานจำนวน 20 คน ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานและได้ทำการรวบรวมเอกสารไว้อย่างเป็นระบบเพื่อรายงานผลต่อ สสส.ต่อไป

    ผลลัพธ์
    - เก็บเอกสารหลักฐานทำเป็นรายงานผลต่อ สสส

     

    20 20

    43. การจัดทำรายงานปิดงวดร่วมกับ สจรส มอ และพี่เลี้ยง

    วันที่ 3 กันยายน 2016 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมประชุมร่วมกับสจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม จัดทำรายงานเตรียมปิดโครงการ
    • อาจารย์ อภิวัฒน์ กล่าวต้อนรับพูดคุยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
    • อาจารย์ กำไล ชี้แจง ให้แต่ละพื้นที่ดูสถานการณ์ ของการจัดกิจกรรม ของแต่ละพื้นที่ ว่าพื้นที่ของต้นเองใน ระดับใด ซึ่ง อาจารย์ กำไล ได้ แยก ประเภท ของโครงการเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ A ทำกิจกรรมครบ ระดับ Bมีกิจกรรมบางกิจกรรมที่ยังต้องทำในเดือนกันยายน 2559ระดับ Cยังกิจกรรมอีกมากที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ในส่วนของ พื้นที่บ้านไสโคกเกาะอยู่ใน ระดับ A
    • ช่วยกันตรวจสอบเอกสารและให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้งก่อนให้ทีม สจรส มอตรวจ สอบความถูกต้อง
    • นำผลการจากตรวจสอบของทีม สจรส มอ แนะนำให้ปรับแก้ และใส่ข้อมูลเพิ่มในบางกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการโครงการ จำนวน 2 คนประชุมร่วมกับสจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม จัดทำรายงานเตรียมปิดโครงการอาจารย์ อภิวัฒน์กล่าวต้อนรับพูดคุยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมอาจารย์ กำไล ชี้แจง ให้แต่ละพื้นที่ดูสถานการณ์ ของการจัดกิจกรรม ของแต่ละพื้นที่ ว่าพื้นที่ของต้นเองใน ระดับใด ซึ่ง อาจารย์ กำไล ได้ แยก ประเภท ของโครงการเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ A ทำกิจกรรมครบ ระดับ Bมีกิจกรรมบางกิจกรรมที่ยังต้องทำในเดือนกันยายน 2559ระดับ Cยังกิจกรรมอีกมากที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ในส่วนของ พื้นที่บ้านใสโคกเกาะอยู่ใน ระดับ Aช่วยกันตรวจสอบเอกสารและให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้งก่อนให้ทีม สจรส มอตรวจ สอบความถูกต้องนำผลการจากตรวจสอบของทีม สจรส มอ แนะนำให้ปรับแก้ และใส่ข้อมูลเพิ่มในบางกิจกรรม

    • ผลลัพธ์ พื้นที่โครงการสามารถจัดทำกิจกรรมได้ตามแผน สามารถปิดโครงการได้ทันตามกำหนดระยะ ที่ สสส กำหนดไว้

     

    2 2

    44. ร่วมงานคนใต้สร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 11.00-19.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการ ร่วมกิจกรรมงานสร้างสุขคนใต้ วันที่ 3 ตุลาคม 2559 - พิธีเปิด การแสดงโขนโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ร่วมกันร้องเพลงชาติไทย
    - กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
    - กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
    - ปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ - รายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ -เสวนา มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต โดยผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟิจะปะกียานายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญ นายทวีวัตร เครือสาย นายแพทย์ยอร์น จิระนคร ดำเนินรายการเสวนาโดย นายแพทย์ บัญชา พงษ์พานิช - ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม โดย นายอานนท์ มีศรี และนายฮารีส มาศชาย

    วันที่ 4 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุขแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม
    • ประชุมห้องย่อย เข้าห้องประเด็นชุมชนน่าอยู่ เสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงโดย คุณมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหย่บ้านทุ่งยาว คูณวิศิษฐ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วงคูณจำเรียง นิธิกรกุลนักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุงดำเนินการเสวนาโดย คูทวีชัย อ่อนนวน การแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวรนำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยคุณ สมยศบรรดา และทีมงานโครงการ นำเสนอ กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย คุณ วณิชญา ฉันสำราญ และทีมงานโครงการ นำเสนอกรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรนำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยคุณสมพร แทนสกุล และทีมงาน นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยนายอนุชาเฉลาชัย และทีมงาน ผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาบโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • ลานปัญญาเสวนา
    • ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง

    วันที่ 5 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรม
    • กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่าย
    • เสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน โดย นายแพทย์ภักดิ์ชัยกาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร. สุปรีดา อดุยยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล รองผู้อำนวยการสถานีโทรศัศน์ ไทย พี บี เอส ดำเนินการอภิปราย คุณณาตยา แวววีรคุปต์
    • พิธีปิด โดยผู้ร่วมเสวนาทุกท่านและผู้เข้าร่วมทุกคน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต เจ้าของโครงการคณะกรรมการจำนวน 2 คน ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมรับฟังปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ฟังการเสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ฟังเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาบโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
      ลานปัญญาเสวนา ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรมกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่ายเสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน


    • ผลลัพธ์
    1. ได้รับความรู้ในการทำงานเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ทั้งด้านแนวคิด และวิธีการ
    2. ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆ ของโครงการที่มานำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเองได้
    3. ได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เช่น สสส./ สช./ สปสช. เป็นต้น
    4. เกิดเครือข่ายในการทำงานเพื่อส่วนรวม สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และกำลังใจให้แก่กันเมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา
    5. มีความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่ต่อไป
    6. เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมพี่เลี้ยงของโครงการ และทีมงานในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้

     

    2 2

    45. ประชุมเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการตัวแทนครัวเรือน ร่วมลงทะเบียน
    • คณะกรรมการตัวแทนครัวเรือน พูดคุยขั้นตอนการจัดกิจกรรม และ บอกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจาก การจัดกิจกรรมโครงการ
    • เหรัญหิก ชี้แจงรายจ่ายงบประมาณต่างๆให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมรับทราบและเปิดโอกาสให้ซักถามหากมีข้อสงสัย ในการจัดกิจกรรม
    • ร่วมกันสรุปประเมินผลโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 55 คน ร่วมกิจกรรมการติดตามการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ การดำเนินกิจกรรมครบทุกกิจกรรมมีการรายงานและมีตัวแทนครัวเรือนเข้ากิจกรรม ตลอดทุกกิจกรรม มีการ ชี้แจงรายจ่ายในแต่ละกิจกรรมให้ชุมชนรับทราบ คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

    • ผลลัพธ์การจากติดตามและประเมินผลได้ดังนี้

    1. เกิดสภาผู้นำชุมชนที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนและวางแผนแก้ไขปัญหาของชุมชนได้มีแผนการดำเนินงานตามเป้าหมาย
    2. คนในชุมชนได้รับทราบวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่จะทำร่วมกันทำให้เกิดการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์
    3. มีเครื่องมือ และทราบข้อมูลผลการใช้สารเคมีในชุมชน
    4. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ได้ข้อมูลของชุมชน
    5. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมคนในชุมชนได้รับทราบข้อมูล
    6. กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนัก มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน
    7. สารพิษจากขยะไม่รั่วไหลออกมา มีการเก็บขยะสารพิษเป็นอย่างดี
    8. เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
    9. เกิดกระบวนการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก สมุนไพรไล่แมลงใช้แทนสารเคมี
    10. เกิดความรักสามัคคีร่วมแรงร่วมใจมีแปลงผักร่วมของชุมชน
    11. เกิดการร่วมแรงร่วมใจ มีแปลงผักในครัวเรือน
    12. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะ
    13. เกิดความตระหนักในการปรับพฤติกรรม
    14. คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมราชและสิ่งแวดล้อม
    15. ทราบสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นหลังทำกิจกรรม
    16. ชุมชนมีความรู้จากการทำกิจกรรม นำไปใช้ในครอบครัว และมีชีวิตในประจำวันดีขึ้น

     

    10 10

    46. ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 9 ตุลาคม 2016 เวลา 10.00 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน 2 คน ได้ช่วยกันจัดทำรายงาน มีการปริ๊นรูป จัดทำรายงาน และทำการเข้าเล่มรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - คณะทำงาน 2 คน ได้ช่วยกันจัดทำรายงาน ปริ๊นรูป และทำรายงานเข้าเล่ม

    ผลลัพธ์ - มีรายงานเป็นรูปเล่มส่ง สสส จำนวน 1 เล่ม

     

    2 2

    47. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ปิดโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม
    • อ กำไล พูดคุยและสรุปผลการจัดกิจกรรม และผลที่เกิดขึ้นในชุมชนให้แต่ละโครงการร่วมกันสรุป
    • ร่วมกันสรุปผลโครงการ
    • พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • ทีม สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารรายงาน  และรายงานในเวป
    • ส่งเอกสารรายงาน ให้ทีม สจรส มอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ จำนวน 2 ร่วมร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามอ กำไล พูดคุยและสรุปผลการจัดกิจกรรม และผลที่เกิดขึ้นในชุมชนให้แต่ละโครงการร่วมกันสรุป คณะกรรมต่ละพื้นที่ร่วมกันสรุปผลโครงการ พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบเอกสารหลักฐานทีม สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารรายงานและรายงานในเวป ส่งเอกสารรายงาน ให้ทีม สจรส มอ
    • ผลลัพธ์ คณะกรรมการได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีผลสรุปการจัดกิจกรรมตลอดโครงการ มีรานงานจัดส่ง สสส ตามกำหนด

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกิดสภาผู้นำมีกระบวนการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมทุกเดือน 2. มีผู้เข้าร่วใปร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3. ทำให้เกิดแผนดำเนินการและปฎิทินดำเนินงาน 4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมทุกครั้งอย่างน้อยร้อยละ 80
    1. มีการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ทุกเดือนจำนวน 10 ครั้ง
    2. มีผู้เข้าร่วมประชุมในการจัดประชุม ทุกครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ100
    3. ทำให้เกิดแผนดำเนินการและปฎิทินดำเนินงานผลจากการติดตามการร่วมกิจกรรม มีแผนการดำเนินการและปฏิทินการจัดกิจกรรมตลอดระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการ
    4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมทุกครั้งมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100
    2 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ในการใช้สารเคมีและป้องกันตนเองจากสารเคมีเกิดกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกยางพารา และปลูกผักสวนครัวมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีไม่น้อยกว่า 60 ครัวเรือน 2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกยางพาราและปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนไม่น้อยว่า 60 ครัวเรือน 3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย 4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน อย่างน้อย 1 หลุม
    1. ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกยางพารา และปลูกผักสวนครัวมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีจำนวน 70 ครัวเรือน
    2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกยางพาราและปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนจำนวน 70 ครัวเรือน
    3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิม ร้อยละ 23 ของกลุ่มเป้าหมาย
    4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน จำนวน 1 หลุ่ม
    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ร้อยละ 100 ของจำนวนครั้งที่จัด
    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดสภาผู้นำมีกระบวนการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ (2) เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ในการใช้สารเคมีและป้องกันตนเองจากสารเคมีเกิดกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน

    รหัสโครงการ 58-03878 รหัสสัญญา 58-00-2199 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    1.การลดการใช้สารเคมี 2.การปลูกผักปลอดสารพิษ 3.การทำน้ำหมักชีวภาพ

    รายงานบึนทึกกิจกรรม

    รณรงค์ให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีและหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ให้ได้ทุกครัวเรือนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดสภาผู้นำชุมชนที่มีกระบวนการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

    บันทึกรายงานการประชุม

    พัฒนาขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ได้มีการเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกพืชผักปลอดสาพิษและการทำเกษตรโดยการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ โดยมีวิทยากรผู้ชำนาญมาให้ความรู้

    รายงานกิจกรรมตามโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    1.เกิดสภาผู้นำชุมชน 2.เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์

    รายงา่นกิจกรรมในโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการปรับเปลี่ยนการบริโภค โดยคนในชุมชนหันมาบริโภคพืชผักปลอดสารพิษกันมากขึ้น

    มีแปลงผักปลอดสารพิษ ที่ปลูกเองในครัวเรือน

    ขยายปลูกผักปลอดสารพิษในครอบคลุมทุกครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    คนในชุมชนให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายกันมากขึ้น เพราะตระหนักได้ถึงการที่ต้องมีร่างกายที่แข็๋งแรง

    กิจกรรมการออกกำลังกายของคนในชุมชนตามกลุ่มวัย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    คนในชุมชนมีการลด ละ บุหรี่ จำนวน 70 ครัวเรือน และมีสถานที่ปลอดบุหรี่ถาวรที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน

    มีป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ลด ละเลิกบุหรี่ ในที่จัดกิจกรรมของชุมชน

    รณรงค์ ประชาสัมพัธ์ให้ลดละเลิกอบายมุขอย่างอื่นด้วยอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการปรับเปลี่ยนวิถีชิวิต โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการปลูกพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือน

    รายงานกิจกรรมในโครงการ

    ส่งเสริมให้เยาวชน เรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชน เพิ่มสืบทอด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    คนในชุมชนและครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำการเกษตร โดยหันมาทำการเกษตแบบปลอดสารพิษ

    แปลงผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

    ขยายปลูกเพิ่มขึ้นหาตลาดขายผักปลอดสารพิษเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรและมีการกำจัดขยะพิษในหลุมขยะพิษที่ทำไว้เพื่อรอการกำจัดต่อไป

    รายงานกิจกรรม

    ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรู้ ในการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อมให้สมดุล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

    ปลูกผักปลอดสารพิษในร่องยาง และพื้นที่ว่างของครัวเรือน

    หาตลาดส่งขายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีการสร้างกติกาของชุมชน ดังนี้ 1.ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีโดยหันมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้ทดแทน 2.ครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน 3.ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน 4.ครัวเรือนต้องนำขยะพิษทิ้งในหลุมขยะพิษของชุมชนเพื่อนำไปจัดการที่ถูกวิธีต่อไป

    บันทึกข้อตกลงของชุมชน

    มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    คณะสภาผู้นำชุมชนและคนในชุมชนมีการวางแผนงานในการปฏิบัติกิจกรรม และมีการประเมินผลการดำเนินงาน

    รายงานผลการติดตามของคณะกรรมการ

    นำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชนเป็นแกนนำในการดำเนินชีวิตในการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษและมีบุคคลตัวอย่างจากการทำเกษตรทีใช้สารเคมีเป็นเวลานาน

    ปราชญ์ชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษและการทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง มีการกำจัดขยะพิษในหลุมขยะที่ทำไว้อย่างต่อเนื่อง

    บันทึกการประชุมรายงานโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีกระบวนการการจัดการความรู้ในชุมชนให้กับครัวเรือนในชุมชนในเรื่องการลดการใช้สารเคมีและการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

    สรุปรายงานโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ครัวเรือนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในการที่ตัวเองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตรจากเดิมที่ใช้สารเคมีเปลี่ยนมาเป็นทำเกษตรอินทรีย์แทน และสามารถปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือนได้

    ภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ครัวเรือนในชุมชนมีการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียงโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเกิดขึ้นจากการทำเกษตรอินทรีย์ การปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้ใช้ในครัวเรือน

    ความสุขของคนในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    คนในชุมชนมีความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันแลละกัน เช่นการลงแขกปลูกพืชผลักหรือการลงแขกปรับพื้นที่ในชุมชน

    การร่วมกันลงแขกด้วยความเต็มใจภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03878

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง สุดใจ ยกเลื่อน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด