assignment
บันทึกกิจกรรม
ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน14 ตุลาคม 2016
14
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ จำนวน 2 เล่ม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการถ่ายภาพในแต่ละกิจกรรม เพื่อทำมาใช้เป็นหลักฐานประกอบการจัดทำรายงานเพื่อรายงานผลการดำเนินงานของโครงการเป็นรูปเล่ม จำนวน 2 เล่ม โดยมอบให้ สสส. จำนวน 1 เล่ม และเก็บไว้ที่ชุมชนเจ้าของพื้นที่ คือ บ้านท่าแห้ง ม.3 ต.นาแว อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 1 เล่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ได้รูปเล่มการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ จำนวน 2 เล่ม ผลลัพธ์ : ผู้รับผิดชอบโครงการ และตัวแทนคณะกรรมการ เข้าใจรูปแบบและวิธีการจนสามารถจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นรูปเล่มตามรูปแบบที่ สสส. กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน และตัวแทนคณะกรรมการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 25593 ตุลาคม 2016
3
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ตัวแทนโครงการเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) วันที่ 3 ต.ค. 59 ประมาณ 12.30 น. ตัวแทนโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง จำนวน 2 คน เดินทางถึง ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา - เข้าร่วมพิธีเปิดงานสร้างสุขภาคใต้  ได้รับชมการแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ โดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร - จากนั้นกล่าวต้อนรับโดย นายทรงพล  สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา - กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์  สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
- รับฟังการปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้น าการพัฒนานวัตกรรมสร้าง เสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน” โดย นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ - รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้ และสรุปภาพรวมการด าเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา บทบาทศูนย์วิชาการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ศวสต.) ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ  ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ - รับฟังการเสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต”  โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์  ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตร  เครือสาย  ตัวแทนภาคประชาสังคม
นายแพทย์ยอร์น  จิระนคร สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 12 ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชา  พงษ์พานิช
- จากนั้นได้เิตินชมบริเวณลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม 2) วันที่ 4 ต.ค. 59 ประมาณ 09.00 น. ตัวแทนโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง จำนวน 2 คน เดินทางถึง ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา - 9.00-12.00 น. เข้าร่วมประชุมในห้องย่อย ห้องที่ 1 ประเด็นชุมชนน่าอยู่ - 13.00 - 14.00 น. เดินชมบริเวณงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบูทแสดงนิทรรศการ - 14.00 - 17.00 น. เข้าร่วมประชุมในห้องย่อย ห้องที่ 1 ประเด็นการด าเนินงานชุมชนน่าอยู่ (ต่อ) โดยได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) วันที่ 5 ต.ค. 59 ประมาณ 09.00 น. ตัวแทนโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง จำนวน 2 คน เดินทางถึง ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา - 9.00 - 10.30 น. กิจกรรมกลุ่ม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสานพลังเครือข่าย โดยใช้เทคนิค World Café โดยได้เป็นตัวแทนของห้องย่อยชุมชนน่าอยู่ในการเสนอข้อสรุปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - 10.30 - 11.45 น. รับฟังการเสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน” โดย  นพ.ศักดิ์ชัย  กาญจนวัฒนา  รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์  ผู้จัดการกองทุนสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายพลากร  วงค์กองแก้ว  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  นพ.พลเดช  ปิ่นประทีป  เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินี  พิพิธกุล  รองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ผู้ดำเนินการอภิปราย คุณณาตยา  แวววีรคุปต์ - 11.45 - 12.00 น. ร่วมพิธีปิดงานสร้างสุขภาคใต้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

Output : ตัวแทนโครงการ จำนวน 2 คน ได้เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา Outcome :
1) ได้รับความรู้ในการทำงานเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ทั้งด้านแนวคิด และวิธีการ 2) ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆ ของโครงการที่มานำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเองได้ 3) ได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เช่น สสส./ สช./ สปสช. เป็นต้น 4) ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ 5) เกิดเครือข่ายในการทำงานเพื่อส่วนรวม สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และกำลังใจให้แก่กันเมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา 6) มีความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่ต่อไป 7) เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมพี่เลี้ยงของโครงการ และทีมงานในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และตัวแทนคณะกรรมการ รวม 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ควรมีการประเมินผลกิจกรรมที่จัดขึ้นในทุกระดับ โดยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดกิจกรรมถอดบทเรียนโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรคปลอดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง8 กันยายน 2016
8
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

1) เพื่อร่วมกันทบทวนผลการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง 2) เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านท่าแห้งได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน หันมาทบทวนตัวเอง ทบทวนชุมชน เพื่อให้เข้าใจถึงบริบทของชุมชน เข้าใจถึงสภาพปั

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ ติดต่อประสานงานกับเครือข่ายที่เคยมาเป็นวิทยากรให้กับบ้านท่าแห้งในกิจกรรมที่ผ่านมา ได้แก่ รพ.สต. บ้านควนสวรรค์ / รพ.สมเด็จพระยุพราชฉวาง / ธกส. / ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง เพื่อให้มาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการจัดกิจกรรมถอดบทเรียนโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียงโดยได้รับการตอบรับ 1 ท่าน คือ นายปัญญา ชูศรี เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาฉวาง ส่วนท่านเครือข่ายกลุ่มอื่น ๆ ติดภารกิจทั้งหมดไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้
  • ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ นายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ พุดคุยกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแจ้งให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นในวันนี้เป็นกิจกรรมสุดท้ายที่จะจัดในบ้านท่าแห้ง ขอให้พวกเราได้ช่วยกันนำความรู้ที่ได้จากโครงการมาร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาบ้านท่าแห้งของเราให้เข้มแข็งปลอดโรค ปลดหนี้ ตามเป้าหมายของโครงการให้ได้ จากนั้น นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ ชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม (รายละเอียดตามรายงานบันทึกการประชุม) ตลอดถึงชี้แจงรายละเอียดว่าต่อไปหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมทั้งหมดของโครงการในชุมชนแล้ว ต่อจากนั้นในวันที่ 3-5 ต.ค. 59 ตัวแทนคณะกรรมการของโครงการยังต้องไปร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และในวันที่ 14-15 ต.ค. 59 ยังต้องไปปิดงบของโครงการในงวดที่ 2 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช โดยได้เน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยประชาสัมพันธ์ต่อ ๆ กันไปด้วยว่างบที่เราได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มาจัดทำโครงการที่ผ่านมาเป็นงบประมาณของแผ่นดิน สตง. อาจจะเข้ามาตรวจสอบเมื่อไหร่ก็ได้เราต้องมีความพร้อมที่จะแสดงหลักฐานให้ดูได้ตลอดเวลา ว่าพวกเราชาวบ้านท่าแห้งได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการครบทุกกิจกรรมด้วยความโปร่งใส
  • จากนั้นผู้ดำเนินรายการถอดบทเรียน นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ ได้เริ่มต้นการสนทนาเพื่อถอดบทเรียนด้วยการตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า ท่านจำได้มั้ยว่าเมื่ออดีตบ้านท่าแห้งของเราเป็นอย่างไร? แล้วปัจจุบันเป็นอย่างไร? และต่อไปในอนาคตท่านต้องการให้บ้านท่าแห้งของเราเป็นอย่างไร? เงียบกริบไม่มีเสียงตอบกลับมา ผู้ดำเนินการจึงได้ให้ตัวเทนชาวบ้านซึ่งเป็นผู้อาวุโส จะเรียกว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน 2 ท่านได้ 1) นายประทีบ สโมสร ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตรและพิธีกรรมทางศาสนา2) นายทวีป มิตตะกา ปราชญ์ชาวบ้านด้านพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ด้านแพทย์แผนโบราณ ได้ผลัดกันเล่าให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นภาพบ้านท่าแห้งในสมัยก่อนตั้งแต่ยังไม่มีความเจริญเข้ามา ยังไม่มีถนนหนทาง ยังไม่มีไฟฟ้า ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกชนิดต่าง ๆ การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่าย เต็มไปด้วยมิตรไมตรี ช่วยเหลือ แบ่งปันกัน อยู่กันแบบพี่แบบน้อง มีความรัก มีความสามัคคี การประกอบอาชีพเป็นไปด้วยอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ทำนาทำไร่ก็มีการลงแขก (ซอ) ช่วยเหลือกันอย่างลงตัว ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ผู้คนอยู่กับวัดจึงมีจิตใจที่มีความเมตตากรุณาต่อกัน การคมนาคมไปมาหาสู่เดิมใช้ทางน้ำเป็นหลักโดยมีแม่น้ำตาปีเป็นสายหลัก แยกเข้าหมู่บ้านด้วยลำคลองเล็ก ๆ สองสาย ได้แก่ คลองพอก กับคลองน้ำหัก ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากร ข้าวปลา อาหาร ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนาเป็นอาชีพหลัก ที่น่าชื่นชม คือ เป็นการทำการเกษตรแบบไม่พึ่งพาสารเคมี ปุ๋ยที่ใช้ก็เป็นปุ๋ยจากธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักตามภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาจากบรรพบุรุษ ถ้าเป็นสมัยนี้เรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ก็ว่าได้ ส่วนปัญหายาเสพติด การฉกชิงวิ่งราว ปล้น แทง ยิง รบราฆ่าฟันกันไม่มีให้เห็นมากมายเหมือนสมัยนี้ ประกอบกับผู้นำในสมัยนั้น คือ เจ้าอาวาสวัดศิลา และผู้ใหญ่บ้านที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเสียสละมีจิตอาสาทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง มีคุณลักษณะในการเป็นผู้นำอย่างครบถ้วน เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน เกิดปัญหาอะไรสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด แบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น มีทักษะในการจูงใจคนให้ทำงานเพื่อส่วนรวมได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนนหนทางในหมู่บ้านก็เริ่มต้นสร้างกันเองด้วยแรงงานคนทั้งสิ้น ไม่ได้รับงบประมาณสนับจากภาครัฐแม้ดีบาทเดียว เมื่อเวลาผ่านไปถนนหนทางสะดวกขึ้น แม่น้ำสายหลัก 2 สายในหมู่ก็ลดความสำคัญขาดการใช้งาน ทำให้ตื้นเขินและแห้งไปในที่สุด หมู่บ้านแห่งนี้จึงชื่อว่า "บ้านท่าแห้ง" นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทั้งสองท่านได้เล่าเรื่องราวในอดีตจบ ก็ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงภาพอดีตที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายน่าอยู่ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ช่วยเหลือเผื่อแผ่ อยู่กันเหมือนพี่เหมือนน้อง
  • จากนั้นผู้ดำเนินรายการ ก็ได้ขอให้ตัวแทนของคนรุ่นหลังขึ้นมา ช่วยเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคปัจจุบันว่ามีสภาพเป็นอย่างไร ก็ได้อาสาสมัคร 3 ท่าน คือ 1) นางสุญาณา สุกรี 2) นางกาญจนา สิงห์กฤตยา 3) นางกนิษฐา พรายแก้ว ร่วมกันถ่ายทอดภาพในปัจจุบันที่เริ่มเปลี่ยนไปจากอาชีพเดิมซึ่งทำนาก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว พื้นที่สวนยางเริ่มบุกรุกพื้นที่นาเพิ่มขึ้น จนในปัจจุบันเกือบ 100% ก็ว่าได้มีอาชีพหลักอย่างเดียว คือ ทำสวนยางพารา นอกจากนั้นก็ปลูกผลไม้เป็นอาชีพเสริมบ้างเล็กน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านท่าแห้งเป็นที่ลุ่มต่ำจึงเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี ๆ ละ 1-3 ครั้ง แต่โชคยังดีที่การท่วมขังของน้ำกินเวลาไม่นานนักอย่างมากนัก ประมาณ 1-5 วันน้ำก็แห้ง แต่ก็เป็นปัญหามากพอที่ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินในครัวเรือนได้ ดังนั้นการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างรายได้เสริมได้เป็นไปได้ยาก ประกอบกับแหล่งน้ำส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นแหล่งน้ำที่เป็นสนิม ไม่สามารถใช้บริโภคหรืออุปโภคได้ สามารถใช้ได้เพื่อการเกษตรเท่านั้น และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นเมื่อความเจริญเข้ามาในบ้านท่าแห้งจากวิถีชีวิตเกษตรปลอดภัยแบบในอดีตหายไป กลับกลายมาเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวที่ต้องเป็นทาสสารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฯลฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลูกหลานมีค่านิยมไปศึกษาในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ ๆ เมื่อเรียนจบก็มีครอบครัวไม่กลับมาดูแลพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พอมีลูกก็ส่งกลับมาให้พ่อแม่เลี้ยงพอโตก็มารับไปอยู่กับตนในเมืองหลวง หรือที่อื่น ทำให้บ้านท่าแห้งเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างทางสังคม ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยในบ้านท่าแห้งเป็นผู้สูงอายุ ขาดวัยแรงงาน ที่จะเป็นกำลังหลักในการประกอบอาชีพหารายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว อีกทั้งในปัจจุบันสภาพสังคมก็เปลี่ยนไปการประกอบอาชีพเต็มไปด้วยการแข่งขัน เร่งรีบ ชิงดีชิงเด่น เน้นผลผลิตและรายได้เป็นตัวตั้ง ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อจิตใจ ผู้คนห่างใจจากศาสนาทำให้จิตใจโหดเหี้ยม ขาดความเมตตา ปราณี จึงทำให้เกิดความเครียดสะสม ประกอบกับอาหารการกินก็เปลี่ยนไป เต็มไปด้วยอาหารขยะ เน้นกินอยู่ตามกระแสสังคมที่เป็นทาสการโฆษณา และสังคมของโลกแห่งทุนนิยมจึงทำให้วิถีชีวิตของพี่น้องเปลี่ยนไป เต็มไปด้วยความเครียด พฤติกรรมการกินอาหารสำเร็จรูป/อาหารแปรรูปซึ่งเต็มไปด้วยสารเคมี รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกายจึงทำให้ร่างกายเกิดโรคเรื้อรังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ก็มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เองเกิดภาวะราคายางตกต่ำลงมาอย่างมากจากที่เคยขายน้ำยางได้สูงสุดถึง กก. ละ 180 บาท ปรับตัวลดลงมาเหลือแค่ 40-50 บาท ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ประกอบกับมีภาระหนี้สินเดิมอยู่จำนวนมากตอนราคายางดีก็สามารถผ่อนส่งได้ แต่เมื่อราคายางตกต่ำก็ไม่มีปัญญาส่ง จึงกลายเป็นหนี้เสียอัตราดอกเบี้ยก็สูงขึ้น ทำให้เกิดความเครียดอีกทางหนี่ง บางรายแก้ปัญหาด้วยวิธีไปกู้หนี้นอกระบบ จนในที่สุดไม่มีทางออก ครอบครัวแตกแยกไปเลยก็มี นอกเหนือจากนั้นยังมีประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ ในปัจจุบันชาวบ้านเกิดความขัดแย้ง เกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี สอบถามดูส่วนใหญ่ก็ตอบเป็นเสีบงเดียวกันว่าเป็นเพราะปัญหาการเมืองระดับท้องถิ่นทำให้ชาวบ้านเกิดความขัดแย้ง ซึ่ีงเป็นความขัดแย้งที่มองไม่เห็นจุดจบ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นและชาวบ้านทุกคนสัมผัสได้ คือ บ้านท่าแห้งขาดการพัฒนา เนื่องจากชุมชนอ่อนแอมาอย่างต่อเนื่อง
  • จากนั้นเมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงภาพสังคมในอดีตที่เรียบง่าย ไม่สะดวกสบายเท่าไรนัก แต่ก็มีความสุข จนมาถึงสังคมในปัจจุบันเต็มไปด้วยการแข่งขัน เน้นผลผลิต เอาเงินเป็นที่ตั้ง จึงเต็มไปด้วยความเครียด ไม่มีเวลาออกกำลังกาย กินอยู่ห่างไกลธรรมชาติ ตกเป็นทาสนิยมบริโภคอาหารขยะแบบสังคมตะวันตกเนื่องจากการโฆษณา เมื่อถามให้ทุกคนเลือกวิถีชีวิตว่าต้องการชีวิตแบบไหน ? ก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าวิถีชีวิตแบบเดิมดีกว่า มีความสุขมากกว่า แต่น่าจะทำไม่ได้ถ้าจะไปให้กินให้อยู่แบบนั้น
  • จากนั้นผู้ดำเนินรายการถอดบทเรียนก็ได้ตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันแสดงความคิดว่า ในอนาคตถ้าเลือกได้ต้องการให้บ้านท่าแห้งของเราเป็นแบบไหน เพราะนั่นคืออนาคตของลูกหลานของเรา อนาคตของพวกเราที่จะใช้ชีวิตที่เหลือยู่อย่างไร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ก็มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า อยากให้ชาวบ้านรักและช่วยเหลือกันเหมือนในอดีต อยากให้สภาพสังคมเป็นเหมือนในอดีตเต็มไปด้วยการแบ่งปัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อยู่กันเหมือนพี่เหมือนน้อง แต่คงจะเป็นไปไม่ได้ จะให้กลับไปมีชีวิตแบบอดีตก็คงไม่ได้ ดังนั้นเรามีความเห็นตรงกันหรือไม่ว่า ถ้าเราอยากจะให้บ้านท่าแห้งของเราเปลี่ยนเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง อันดับแรกต้องพึ่งพาตนเองได้ สุขภาพดี ไม่มีหนี้สิน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนเห็นด้วย ถ้าอย่างนั้นเราลองมาช่วยกันระดมสมองช่วยกันคิดว่า ตั้งสติ ช่วยกันทบทวนว่ากิจกรรมในโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง พอที่จะเป็นทางออกให้กับพวกเราได้หรือไม่ พวกเราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากโครงการนี้
  • จากนั้นผู้ดำเนินรายการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยกันจากกิจกรรมในโครงการ ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้มี 2 แนวทางหลัก ๆ คือ เพิ่มรายได้ ลดรายได้ การดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้แข็งแรง โดยแต่ละครัวเรือนต้องมีเครื่องมือที่สำคัญและขาดไม่ได้ คือ การทำบัญชีครัวเรือน บริหารจัดการรายได้ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย มีการวางแผนการออมเพื่ออนาคตของครอบครัว เมื่อไม่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจก็จะทำให้ครอบครัวมีความสุข เมื่อมาพิจารณารายละเอียดในกิจกรรมลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ในโครงการพอสรุปได้ดังนี้ 1) การรวมกลุ่มทำสบู่เหลว สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้า ยาสระผม ใช้เองลดรายจ่าย ทำจำหน่ายเพิ่มรายได้ 2) การรวมกลุ่มทำเกษตรอินทรีย์ ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ใช้แทนปุ๋ยเคมี ทำน้ำหมักบำรุงพืช ป้องกันศัตรูพืช ฆ่าวัชพิช เพื่อลดต้นทุนด้านการเกษตร ลดรายจ่ายในการรักษาและดูแลสุขภาพ ทำจำหน่ายเพิ่มรายได้ 3) การทำบัญชีครัวเรือน เมื่อเราทำบัญชีครัวเรือนเป็นประจำ จะฝึกนิสัยการคิดก่อนใช้ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มีการวางแผนการใช้จ่าย ฝึกนิสัยการออม 4) การรวมกลุ่มจักสานของใช้ เป็นการลดรายได้ไม่ต้องซื้อของใช้ เช่น ตะกร้า กระบุง ที่ใส่ของ เนื่องจากสามารถทำได้เอง พอฝีมือดีก็สามารถทำจำหน่ายได้5) การรวมกลุ่มเลี้ยงปลา อาจนำมาบริโภคเองลดรายจ่ายในครัวเรือน อาจจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม หรือแปรรูปก่อนจำหน่ายกำไรเพิ่มขึ้น6) การรวมกลุ่มปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ ปลูกกินเองลดรายจ่าย ลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพ หากเหลือจำหน่ายเป็นรายได้เสริม7) การรวมกลุ่มเลี้ยงโค เพื่อเป็นอาชีพเสริม 8) การรวมกลุ่มออกกำลังกาย เป็นลดรายจ่ายในครัวเรือนด้านการดูแลสุขภาพ ไม่เป็นภาระให้ลูกหลาน ถ้าสุขภาพดีสามารถทำงานหารายได้มาเลี้ยงดูครอบครัวได้มากขึ้น
  • ช่วงท้ายของกิจกรรมได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ คือ นายปัญญาชูศรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธกส. สาขาฉวาง มาสรุปแนวทางการเรียนรู้จากกิจกรรมในโครงการว่าเป็นแนวทางที่ดี ส่งเสริมให้ชาวบ้านเริ่มต้นด้วยการจับเข่าคุยกัน เป็นการทบทวนชีวิตที่ผ่านมา บริบทของชุมชน ว่าเป็นอย่างไร ทราบว่ามีการเก็บข้อมูลด้านรายได้/หนี้สินของแต่ละครัวเรือน มีการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้นของแต่ครัวเรือน ซึ่งตรงนั้นเป็นฐานข้อมูลที่มีความสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งทำให้เราทราบต้นทุนของแต่ละครัวเรือน เราต้องมีสติรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และรุนแรง หากไม่มีภูมิคุ้มกันก็จะตกเป็นเหยื่อของสิ่งต่างๆ ได้ง่ายไม่ว่าตกเป็นเหยือของเทคโนโลยี ตกเป็นเหยื่อของการค้าสมัยใหม่ ติดยี่ห้อ มีค่านิยมที่ฟุ่มเฟือย ขาดความยั้งคิดในการใช้ชีวิต วันนี้ชาวบ้านท่าแห้งควรต้องกลับไปใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ เหมือนในอดีตให้มากที่สุด โดยกล่าวถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง ดังนี้ 1) ผู้นำ ต้องอาสามาเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนชุมชน ไม่จำเป็นต้องมีมากมายหลายคน แต่ต้องมีความตั้งใจจริง และชาวบ้านต้องให้ความร่วมมือ 2) การรวมกลุ่มอาชีพ เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้เสริม ควรมีการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ในบ้านท่าแห้งอาจจะล้อตามกิจกรรมในโครงการ เช่น กลุ่มทำปุ๋ย กลุ่มจักสาน กลุ่มลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเลี้ยงโค เป็นต้น 3) จัดตั้งกลุ่มทางการเงิน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการออม และเป็นแหล่งทุนในชุมชน4) รวบรวมและจัดตั้งศูนย์ข้อมูลของชุมชน 5) รวมรวมและยกย่องปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน6) ส่งเสริมการใช้ชีวิตตามแนว ศก. พอเพียง เบื้องต้นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ส่งเสริมการออม อยู่อย่างพอเพียง ไม่อ่อนไหวไปตามกระแสสังคม ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อจะได้มีปัญญามาสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง ที่สำคัญต้องอยู่บนหลักเหตุผลและมีคุณธรรม 7) ต้องมีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามจากบรรพบุรุษไม่ให้สูญหาย8) จัดการลดหนี้สินภาคครัวเรือน10) วิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง/จุดอ่อน โอกาส/อุปสรรค
  • จากนั้นให้พี่ปัญญา ช่วยตัดสินตะกร้าที่ชาวบ้านลงมือทำด้วยตัวเองเพื่อรับรางวัล ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท 1) ประเภทสวยงาม 2 รางวัล ซึ่งได้แก่ นางกนิษฐา พรายแก้ว และนางสาลี่ ดวงมณี2) ประเภทความคิด 2 รางวัล ได้แก่ นายวัชรพงษ์ ไม้ลุ่ย และนางเกษมสุข นพ รางวัลที่ผู้ชนะได้รับเป็นชุดสำเร็จรูปสำหรับทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้า และสบู่ก้อน
  • จากนั้นนายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณพี่ปัญญา และกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน
  • นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ 1) แจ้งให้ชาวบ้านไปรับปุ๋ยหมักที่ได้ทำร่วมกันไว้ ครัวเรือนละ 1 กระสอบ และในโอกาสต่อไปทางคณะกรรมการโครงการจะแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการรับน้ำหมักสูตรต่าง ๆ ที่ได้ร่วมทำกันไว้เช่นกัน โดยจะแจ้งผ่านทางผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเต้นแอโรบิค 2) แจ้งให้ชาวบ้านลงชื่อเพื่อรับ พด.1/ พด.2/ พด.3 /พด.7 คนละ 3 ซอง เนื่องจากได้รับการสนับสนุนมาจากสถานีพัฒนาที่ดิน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบพึ่งพาสารเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ และระบบนิเวศน์ อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนในการทำการเกษตรได้เป็นอย่างดี
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 95 คน ได้ร่วมกันทบทวนผลการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง
  • ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันทบทวนผลการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง  2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน หันมาทบทวนตัวเอง ทบทวนชุมชน เพื่อให้เข้าใจถึงบริบทของชุมชน เข้าใจถึงสภาพปัญหา รากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งเป็นก้าวแรกและเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง 3) เกิดเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชน ระหว่างบ้านท่าแห้งกับ ธกส. สาขาฉวาง และสถานีพัฒนาที่ดิน จ.นครศรีธรรมราช  4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสายสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เกิดความรักความสามัคคีกันมากขึ้น  5) คณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน เกิดการเรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการทำงานส่วนรวมเพื่อพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 95 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ
  • ตัวแทนแกนนำชุมชน
  • ตัวแทนครัวเรือน
  • ปราชญ์ชาวบ้าน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก (นายปัญญา ชูศรี : ธกส. สาขาฉวาง)
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การมีส่วนร่วมของชาวบ้านบางกลุ่มยังไม่มี ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้วยวิธีการสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มและกลุ่มดังกล่าวต้องทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากพอ จนทำให้ชาวบ้านกลุ่มที่ไม่เข้ามามีส่วนร่วมเข้ามาร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะอาศัยวิธีการแบ่งปันความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ ตลอดจนแบ่งปันของใช้ที่ได้จากกิจกรรมให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมไปทดลองใช้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การจัดทำรายงานปิดงวดร่วมกับ สจรส มอ และพี่เลี้ยง3 กันยายน 2016
3
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตัวแทนแต่ละโครงการได้เข้ามาเรียนรู้ถึงกระบวนการปิดงวดโครงการ ตามแผนที่วางไว้ในปฏิทินของโครงการ ณ อาคารนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช โดยมีทาง สจรส. มอ. ร่วมกับพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบแต่ละโครงการ ได้คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ตัวแทนคณะกรรมการโครงการละ 2 คน เข้าร่วมเรียนรู้ขั้นตอน กระบวนการในการปิดงวดรายงาน ผลลัพธ์ : ตัวแทนคณะกรรมการที่เข้าเรียนรู้ ได้รับความรู้ในขั้นตอน กระบวนการในการปิดงวดรายงาน โดยมีพี่เลี้ยงแต่ละโครงการ ร่วมกับ สจรส. มอ. คอยดูแลแนะนำอย่างใกล้ชิด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และตัวแทนคณะกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สถานที่ในการอบรมควรเลือกที่มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีความรวดเร็ว และสามารถรองรับการเข้าไปใช้งานพร้อม ๆ กันของผู้เข้าร่วมอบรมในแต่ละครั้ง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ควรมีเอกสารประกอบการอบรมบ้างตามความจำเป็น

มหกรรมบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง2 กันยายน 2016
2
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้และทบทวนความรู้ที่ได้จากกิจกรรมที่ผ่านมาในโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง 2) เพื่อให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดี เกิดความรักความสามัคคีในบ้านท่าแห้ง 3) เพื่อจุดประกายให้เกิดความตระหนักในการร่วมแรงร่วม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จากเดิมในตามแผน ในการจัด "มหกรรมบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง" จะจัดขึ้นในวันแม่แห่งชาติ (12 ส.ค. 59) โดยประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประกวดผลิตผลจากเกษตรอินทรียื 2) การจัดนิทรรศการการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาไล่แมลงจากสมุนไพร พร้อมทั้งนำปุ๋ยที่ผลิตได้ในหมู่บ้านมาแสดง 3) จัดนิทรรศการการปลูกผักปลอดสารพิษ และมอบรางวัลต้นแบบการปลูกผักปลอดสารพิษ แต่เนื่องจากกิจกรรมของโครงการมีการหยุดไปช่วงหนึ่ง ในระหว่างวันที่ 15 กพ. 59 - 20 กค. 59 สาเหตุมาจากงบประมาณในงวดที่ 2 เข้าล่าช้า จึงมีความจำเป็นต้องปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับงบประมาณที่เข้ามา ประกอบกับกิจกรรมบางกิจกรรมต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน เช่น การทำปุ๋ยหมักต้องใช้เวลา ประมาณ 3 เดือน จึงไม่สามารถนำปุ๋ยมาแสดงนิทรรศการในกิจกรรมบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักปลอดสารพิษก็ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือน จึงจะมีผลผลิตมาจัดแสดงได้ เป็นต้น โดยกิจกรรมที่ปรับมีรายละเอียดดังนี้ 1) กิจกรรมของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ มีการสาธิตการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ 2) กิจกรรมการของกลุ่มจักสาน มีการจักสานของใช้จากเส้นพลาสติก3) กิจกรรมของกลุ่มลดรายจ่าย มีการผลิตของใช้ในครัวเรือน ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ก้อน น้ำยาเอนกประสงค์ 4) มีการแจกพันธุ์มะนาวไร้เมล็ด ไร้หนามให้ตัวแทนครัวเรือนไปปลูก เพื่อการเรียนรู้
  • 10.00 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม คณะกรรมการโครงการ แกนนำ และเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชน (นายปัญญาชูศรี : ธกส.) มาพร้อมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน ร่วมกันรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  • ตัวแทนคณะกรรมการของโครงการ นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรมและกล่าวแนะนำ ตัวแทนเครือข่ายพัฒนาชุมชน จาก ธกส. จากนั้นได้ชี้แจ้งผลการดำเนินการของโครงการที่ผ่าน พร้อมทั้งแจ้งกำหนดการของกิจกรรมที่ต้องดำเนินการในลำดับถัดไป หลังจากนั้นได้ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในครั้งนี้ ตามที่ได้แบ่งกลุ่มตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินการผ่าน มาได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรอินทรีย์ สาธิตการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมัก 2) กลุ่มจักสาน สาธิตการจักสานของใช้จากเส้นพลาสติก 3) กลุ่มลดรายจ่าย สาธิตการทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ก้อน การสาธิตของแต่ละกลุ่มจะดำเนินการไปตามลำดับทีละกลุ่ม กลุ่มที่ไม่ได้สาธิตก็จะเป็นผู้ชม ช่วงหลังของการสาธิตในแต่ละกลุ่มต้องช่วยกันสรุปประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม และช่วยกันสรุปขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มให้ผู้ชมได้รับทราบ เปิดโอกาสให้ผู้ชมกลุ่มอื่น ๆ ได้ซักถาม และร่วมกันแสดงคิดเห็นก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีตัวแทนคณะกรรมการโครงการ คอยชี้แนะและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุก ๆ กลุ่ม เมื่อทุกลุ่มสาธิตเสร็จสิ้น นายปัญญา ชูศรี ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิจะพูดคุยสรุปการดำเนินกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในโครงการที่ สสส. สนับสนุน มาเป็นเครื่องมือต่อยอดเพื่อสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มร่วมแรงร่วมใจพัฒนาบ้านท่าแห้งให้เข้มแข็งต่อไป ประเด็นสำคัญได้เน้นย้ำให้เห็นถึงประโยชน์ของการรวมกลุ่มเพื่อสร้างรายได้หรือเพื่อลดรายจ่าย ซึ่งจะเป็นหนทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านท่าแห้งได้อย่างแน่นอน รวมทั้งได้ให้ข้อคิดถึงกิจกรรมที่จัดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะกิจกรรมเต้นแอโรบิคเป็นกิจกรรมที่ดี ถึงแม้สิ้นสุดโครงการพี่น้องบ้านท่าแห้งก็ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันหาหนทางให้กิจกรรมดังกล่าวยังดำเนินต่อไปให้จงได้ เพราะสุขภาพที่ดีย่อมเป็นบันไดขั้นแรกในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ช่วง 10.00 - 12.00 น. กลุ่มที่ได้ทำการสาธิต ได้แก่ การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมัก และการจักสานของใช้จากเส้นพลาสติก
  • ร่วมรับประทานอาหาร
  • ดำเนินการสาธิต (ต่อ) น้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ สบู่ก้อน น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้า ซึ่งมีการสาธิตการทำทั้งสูตรเดิมที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมที่ผ่านมา และได้เพิ่มสูตรใหม่เป็นสูตรเข้มข้นเพียงผสมน้ำก็สามารถนำไปใช้ได้เลย มีความสะดวก แต่ราคาถูกกว่ายี่ห้อทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปหลายเท่าตัว อีกทั้งคุณภาพใกล้เคียงกัน
  • นายมีชัย มีศรี ผู้ใหญ่บ้าน ได้มาพบปะพูดคุยทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเป็นตัวแทนมอบต้นพันธุ์มะนาวไร้เมล็ด ไร้หนามให้ตัวแทนครัวเรือนไปปลูกเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งอาจเป็นช่องทางในการสร้างรายได้เสริมในครัวเรือน จากนั้นผู้รับมอบต้นมะนาวร่วมถ่ายรูปร่วมกัน
  • จากนั้นก่อนเสร็จสิ้นกิจกรรม ได้มีการนำน้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่มน้ำยาล้างจาน สบู่ก้อนสูตรน้ำผึ้งขมิ้นชัน และน้ำยาเอนกประสงค์ ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทำไว้มาใส่ขวดเพื่อแบ่งให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำไปใช้ที่บ้าน อย่างละ 1 ขวด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตัวแทนเครือข่าย จำนวน 98 คน เกิดการเรียนรู้และทบทวนความรู้ที่ได้จากกิจกรรมที่ผ่านมาในโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง
  • ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดการเรียนรู้และทบทวนความรู้ที่ได้จากกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง 2) เกิดเครือข่ายการพัฒนาบ้านท่าแห้ง โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ธกส. สาขาฉวาง3) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดสายสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เกิดความรักความสามัคคีเพิ่มขึ้น4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความตระหนักในการรวมกลุ่ม เพื่อร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาบ้านท่าแห้ง 5) คณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน เกิดการเรียนรู้ ได้รับประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น 6) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสได้ฝึกทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจานสูตรใหม่ซึ่งเป็นสูตรกึ่งสำเร็จรูปเป็นสูตรเข้มข้น เพียงแค่มาผสมน้ำก็สามารถนำไปใช้ได้เลย 7) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่มน้ำยาล้างจาน สบู่ก้อนสูตรน้ำผึ้งขมิ้นชัน และน้ำยาเอนกประสงค์ ไปทดลองใช้ที่ครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการโครงการ
  • แกนนำชุมชน
  • ตัวแทนครัวเรือน
  • ตัวแทนเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชน อย่างน้อย 1 ท่าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ชาวบ้านบางส่วนยังไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในหมู่บ้าน ดังนั้นแกนนำชุมชน และผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องร่วมแรง ร่วมใจ สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นในชุมชน เพื่อจะดึงผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกลับใจมามีส่วนร่วมช่วยกันพัฒนาชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อไป
  • ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมบางท่าน ติดภารกิจจึงไม่สามารถอยู่ร่วมกิจกรรมจนเสร็จสิ้นได้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมเชิงปฏิบัติการการทำน้ำยาไล่แมลงโดยใช้สมุนไพรในชุมชน31 สิงหาคม 2016
31
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ผลิตน้ำยาไล่แมลง เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ชาวบ้านและตัวแทนคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้จัดหาวัตถุดิบที่ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการทำน้ำหมักไล่แมลง นำวัตถุดิบดังกล่าวมารวบรวมไว้ที่ศาลาหมู่บ้าน 2) ชาวบ้านร่วมกันจัดสถานที่อบรมโดยใช้ศาลาประจำหมู่บ้าน 3) เมื่อตัวแทนครัวเรือนและตัวแทนคณะกรรมการมาพร้อมกัน วิทยากรจะบรรยายทฤษฎีที่เกี่ยวกับการทำน้ำหมักจากสมุนไพรที่มีคุณสมบัติไล่แมลงชนิดต่าง ๆ ที่เป็นศรัตรูของพืชที่ปลูก นอกจากนั้นยังเน้นย้ำถึงผลดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อตัวชาวบ้านเอง ตลอดจนลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และลดต้นทุนในการผลิตทางด้านเกษตร โดยสูตรที่พอจะทำได้เนื่องจากมีวัตถุดิบในท้องถิ่นประกอบด้วยวัตถุดิบ ดังนี้ ใบเทียม ข่า ตะไคร้หอม ฝักราชพฤก (รวมกัน 30 กก.) กากน้ำตาล รำ น้ำ+พด.3 จำนวน 1 ซอง โดยต้องหมักไว้ 45 วัน จากนั้นให้กรองเก็บไว้ใช้ หลังจากนั้นหากแมลงระบาดหนักมากอาจต้องผสม น้ำส้มสายชูกับเหล้าขาว แล้วหมักต่ออีก 15 วัน ก็พร้อมใช้ อัตราส่วนในการใช้ น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่เกิดการระบาดของแมลง 4) ต่อจากนั้นวิทยากรได้มีการให้ความรู้ในการผลิตโฮโมนจากผลไม้ที่หาง่าย ไว้ใช้สำหรับเร่งการเจริญเติบโตของพืช และสามารถใช้ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อเสริมภูมต้านทานส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง โดยน้ำหมักดังกล่าวผลิตจากผลไม้ที่แก่จัดจนสุกงอมยิ่งดี ได้แก่ มะละกอ กล้วยนำ้ว้า ฟักทอง กากน้ำตาล ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1 ผสมกับน้ำ 3 ลิตร หมักไว้ 7 วัน (ปิดฝาแต่ไม่ต้องปิดแน่นเพราะระหว่างการหมักจะแก็สเกิดขึ้นในถังหมัก) หลังจากนั้นเติมน้ำ 3 ลิตรแล้วคนให้เข้ากัน และหมักต่ออีก 15 วันก็จะได้น้ำหมักที่สามารถใช้ได้ทั้งพืชและใช้เลี้ยงสัตว์ [พืช ใช้ในอัตราส่วน  1 (น้ำหมัก) : 100 (น้ำ) สำหรับผักสวนครัว และ 50 : 100 สำหรับไม้ยืนต้น] [สัตว์ใช้ในอัตราส่วน (โค 4 ช้อนโต๊ะ+น้ำ 10 ลิตรให้กินทุกวัน) (ปลา 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ในบ่อทุก 7 วัน) จะทำให้สัตรว์มีสุขภาพแข็งแรง และน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาไม่เสีย] 5) ต่อจากนั้นได้มีการทำหนักหมักที่ทำมาจากสัตว์เพื่อใช้ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนเสริมสร้างภูมิต้านทานให้พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งน้ำหมักดังกล่าว มีสูตรดังนี้ - เศษสัตว์ (ใช้เศษปลา) 9 กก. - กากน้ำตาล 9 กก.    - น้ำ 3 ลิตร ผสม พด. 2 จำนวน 1 ซอง คนให้เข้ากันทิ้งไว้ 5 นาที หลังจากนั้นเทกากน้ำตาลลงไปผสมให้เข้ากันแล้วเทลงไปในเศษปลา คนผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 45 วัน ก่อนกรองเก็บไว้ใช้งาน  [พืช ใช้ในอัตราส่วน  1 (น้ำหมัก) : 100 (น้ำ) สำหรับผักสวนครัว และ 50 : 100 สำหรับไม้ยืนต้น] 6) นำ้หมักดังกล่าวที่ชาวบ้านลงแรงร่วมกันทำจะเก็บไว้เป็นคลังน้ำหมักในชุมชนเพื่อส่งเสริมการทำอาชีพเกษตรกรรมเพื่อสร้างรายได้เสริม และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีซึ่งมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับน้ำหมักสมุนไพร นอกจากนี่้ยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืน 7) หลังจากชาวบ้านได้ทดลองปฏิบัติทำน้ำหมักทั้ง 3 สูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะให้วิทยากรช่วยสรุปวิธีการทำ ส่วนผสม การนำไปใช้ ประโยชน์ต่อสุขภาพต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้มีตัวแทนของกรรมการโครงการคอยกระตุ้นด้วยวิธีการตั้งคำถามให้ชาวบ้านได้ร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อจะได้เกิดการกระบวนการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 7) ปิดการอบรมประมาณ 17.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ชาวบ้าน และตัวแทนคณะกรรมการ รวม 98 คน ได้เข้าเรียนรู้การทำสารไล่แมลงจากสมุนไพรในท้องถิ่น และได้ร่วมกันเรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักจากพืชและสัตว์เพื่อนำมาใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนลดต้นทุนการผลิต
  • ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจในแนวคิดการทำเกษตรอินทรีย์ และสามารถทำน้ำหมักเพื่อใช้ในการไล่แมลง และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนสามารถเสริมภูมิต้านทานให้พืช โดยไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรัก ความสามัคคีกันมากขึ้น เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น ซึ่งดูได้จากมีการอาสาจัดหาสมุนไพรซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในกิจกรรม นอกจากนี้ยังยอมรับในแนวคิดทำคลังน้ำหมักของหมู่บ้าน เมื่อครบกำหนดจะมาแบ่งกันไปใช้ตามความจำเป็น ซึ่งเดิมยังไม่เคยปรากฎ 3) เกิดเครือข่ายในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบ้านท่าแห้งกับศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง 4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดแนวคิดในการปลูกและอนุรักษ์สมุนไพรที่มีในท้องถิ่น 5) ผู้เข้าร่วมแนวคิดเกิดแนวคิดในการทำธนาคารปุ๋ย น้ำหมักในบ้านท่าแห้ง 6) คณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน เกิดการเรียนรู้ มีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 98 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะกรรมการของโครงการ แกนนำชุมชน และตัวแทนครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ชาวบ้านบางส่วนยังไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในหมู่บ้าน ดังนั้นแกนนำชุมชน และผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องร่วมแรง ร่วมใจ สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นในชุมชน เพื่อจะดึงผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกลับใจมามีส่วนร่วมช่วยกันพัฒนาชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อไป
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

งบที่สนับสนุนโครงการในแต่ละรอบควรเข้าให้ทันตามปฏฺิทินกิจกรรมของโครงการ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรม/สาธิต การทำอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ30 สิงหาคม 2016
30
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีแนวคิดที่ถูกต้อง เกิดการเรียนรู้ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักโภชนาในการดูแลตัวและสมาชิกในให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตัวแทนคณะกรรมการโครงการติดต่อประสานงานกับฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 30 ก.ย. 2559 ซึ่งทางคณะกรรมการได้แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมให้กับหัวหน้าฝ่ายโภชนาการทราบ ซึ่งเดิมต้องการจะให้ทีมนักโภชนาการมาช่วยให้ข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับหลักโภชนาการเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง และบำบัดผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จากนั้นก็จะมีการอบรมเชิงปฏิบัติการทำอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แต่ได้รับคำแนะนำจากหัวหน้าฝ่ายโภชนการว่าทางหน่วยงานไม่สะดวกเรื่องการขนย้ายอุปกรณ์และการจัดเตรียมวัตถุดิบต่าง ๆ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา จึงแนะนำให้ปรับการจัดกิจกรรมเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนการ โดยทางทีมโภชนการจะจัดเตรียมวัตถุดิบและตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสำเร็จรูปไปให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสได้เห็นของจริง เนื่องจากทางฝ่ายโภชนาการทางโรงพยาบาลต้องจัดทำอาหารและเครื่องดิ่มดังกล่าวทุกวันอยู่แล้ว นอกจากนี้ทางทีมโภชนการจะจัดเตรียมโมเดลอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพไปแสดงในรูปแบบนิทรรศการเพื่อให้ความรู้ด้านโภชนาการตามหัวข้อที่ทางคณะกรรมการโครงการแจ้งมา
  • ตัวแทนคณะกรรมการทำหนังสือขอความอนุเคราะห์บุคลากรฝ่ายโภชนาการและวัสดุอุปกรณ์จัดนิทรรศการ "กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง" พร้อมทั้งส่งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องภายในโรงพยาบาลยุพราชฉวาง
  • วันที่ 30 ส.ค. 2559 เวลาประมาณ 8.30 น. ทีมนักโภชนาการนำโดย นางศรุตยา ลิมปจรัสกุล ตำแหน่งนักโภชนาการชำนาญการ/ นางสาวกันยารัตน์ ไกร ตำแหน่งนักโภชนากร/ นางอุทุมพร นุราช ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายโภชนาการ ได้มาถึงศาลาประจำหมู่บ้านท่าแห้ง และได้ร่วมกับตัวแทนคณะกรรมการของโครงการช่วยกันจัดสถานที่ในรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งมีตัวอย่างของวัตถุดิบเพื่อจัดทำเครื่องดื่มและอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ปรุงสำเร็จแล้ว นอกจากนั้นยังมีไวนิลและแผ่นป้ายแสดงข้อมูลหลักโภชนการกินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง และยังมีการกินอยู่อย่างไรให้พ้นจากสารในเปื้อนที่มาจากอาหาร ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง น้ำยาดองศพ เชื้อรา ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งซึ่งกำลังคร่าชีวิตของคนไทยเป็นอันดับต้น ๆ เช่นเดียวกับโรคเรื้อรัง
  • หลังจากนั้นเวลาประมาณ 10.00 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเริ่มทยอยเข้ามายังสถานที่จัดกิจกรรม พร้อมทั้งร่วมรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
  • ตัวแทนคณะกรรมการ นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ กล่าวต้อนรับคณะวิทยากร และกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกิจกรรมให้ผูํ้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบฃ
  • คณะทีมวิทยากรเร่ิ่มต้นด้วยการให้ข้อมูลด้านโภชนการกินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง โดยเนื้อหาพอสรุปได้ดังนี้ หากต้องการห่างไกลหรือลดความรุนแรงของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ ต้องจำสูตร 6:6:1  คือ ไม่รับประทานอาหารที่มีรสหวานเท่ากับการกินน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา  ไม่รับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำมันเกิน 6 ช้อนชา และต้องรับประทานอาหารรสเค็มที่มีปริมาณเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา นอกจากนั้นต้องควบคุมพลังงานจากอาหารให้เหมาะสมในแต่ละมื้อ เพศชายประมาณ 1,800 กิโลแคลอรี่ เพศหญิงประมาณ 1,500 กิโลแคลอรี่ จากนั้นจะมีการยกตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มที่คนใต้รับประทานเป็นประจำว่ามีปริมาณน้ำตาล มีปริมาณน้ำมัน ปริมาณเกลือเท่าไหร่ และมีพลังงานประมาณเท่าไร เพื่อที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเรียนรู้และนำคำนวณพลังงาน/ปริมาณน้ำตาล/น้ำมัน/เกลือ เพื่อนำไปเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมได้ด้วยตัวเอง
  • คณะวิทยากรร่วมรับประทานอาหารกลางวันพร้อมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข
  • หลังจากนั้นก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับการทำอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งในช่วงนี้จะมีตัวอย่างเครื่องดื่มและอาหารเพื่อสุขภาพมาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นของจริงมากมายหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว อาหารหวาน ของกินเล่น และเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำกระเจี๊ยบ น้ำบัวบก น้ำเต้าหู้ นำเก๊กฮวย เป็นต้น
  • จากนั้นจะให้ความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนที่มาจากอาหาร ผลกระทบที่เกิดต่อสุขภาพ วิธีการป้องการตัวเองให้พ้นจากภัยของสิ่งปนเปื้อนในอาหารที่มีผลร้ายต่อสุขภาพ เช่น สารฟอกขาว สารเร่งเนื้อแดง น้ำยาดองศพ เชื้อราอัลฟ่าท๊อกซิน เป็นต้น
  • ก่อนสิ้นสุดกิจกรรมทางทีมวิทยากรได้มีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมเล่นเกมส์จัดเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งช่วยกันคำนวณปริมาณพลังในอาหารแต่ละมื้อ จากนั้นได้มอบของรางวัลเป็นอาหารเพื่อสุขภาพให้กับผู้ร่วมเล่นเกมส์ทุกท่าน และต่อจากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซักถามหรือแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 96 คน มีแนวคิดที่ถูกต้อง เกิดการเรียนรู้ และมีความรู้ความเข้าใจในการใช้หลักโภชนการบำบัดในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวในห่างไกลจากโรคเรื้อรัง สำหรับครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่แล้วก็สามารถบำบัดอาการของโรคได้
  • ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีแนวคิดที่ถูกต้อง เกิดการเรียนรู้ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักโภชนาในการดูแลตัวและสมาชิกในให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะเพิ่มขึ้น 3) เกิดเครือข่ายด้านสุขภาพระหว่างฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง 4) คณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน เกิดการเรียนรู้ ได้รับประสบการณ์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมเพิ่มขึ้น 5) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้น 6) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุขในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 96 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะกรรมการของโครงการ แกนนำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ชาวบ้านบางส่วนยังไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในหมู่บ้าน ดังนั้นแกนนำชุมชน และผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องร่วมแรง ร่วมใจ สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นในชุมชน เพื่อจะดึงผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกลับใจมามีส่วนร่วมช่วยกันพัฒนาชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อไป
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการจักสานของใช้จากไม้ไผ่ เพื่อสร้างอาชีพเสริม29 สิงหาคม 2016
29
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกลุ่มในการเรียนรู้การจักสานของใช้จากเส้นพลาสติก (แทนไม้ไผ่) เพื่อเป็นตัวเลือกในการหาช่องทางในการสร้างอาชีพเสริม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายในการจัดกิจกรรม จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดกิจกรรมจักสานของใช้จากเส้นพลาสติก (เดิมกำหนดเป็นไม้ไผ่ แต่เนื่องจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่่ยวชาญในการจักสานของใช้จากไม่ไผ่ป่วย จนไม่สามารถมาเป็นวิทยากรได้)
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มาพร้อมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน ระหว่างที่รอความพร้อมก็ได้ร่วมกันรับประทานเครื่องดื่มและอาหารว่าง
  • ผู้ใหญ่บ้าน นายมีชัย มีศรี  และตัวแทนโครงการ นายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ พบปะพูดคุยทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งแจ้งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ ตลอดจนแจ้งกำหนดการในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
  • คณะวิทยากรนำทีมโดย คุณสุภาพร  ศรีเพิ่ม ได้เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการแนะนำคณะวิทยากรแต่ละท่าน รวม 4 ท่าน ต่อจากนั้นก็เริ่มให้ความรู้เกี่ยวกับการจักสานของใช้จากเส้นพลาสติก พร้อมทั้งนำตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จแล้วมาโชว์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ชม ซึ่งมีทั้งตะกร้าใส่สิ่งของขนาดต่าง ๆ หลากหลายสี หลากหลายรูปแบบ นอกจากนั้นก็ยังมีของใช้ชนิดอื่น ๆ เช่น ภาชนะสำหรับครอบกับข้าว กระเป๋าแบบต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เกิดไอเดียในการออกแบบของใช้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งยังอธิบายให้เห็นถึงช่องทางด้านการตลาด ที่สามารถจักสานเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ออกจำหน่ายเพื่อสร้างเป็นอาชีพเสริมได้ ยิ่งถ้าหากสามารถรวมกลุ่มกันได้ก็จะเป็นจุดแข็งในการบริหารจัดการให้เกิดเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความมั่นคง และยังยืนได้ไม่ยาก แต่ต้องหมั่นเรียนรู้ หมั่นฝึกฝนฝีมือ หมั่นออกแบบผลิตให้มีความหลากหลายและทันสมัยก็จะสามารถหาตลาดในการจำหน่ายได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้มีนโยบายให้งบประมาณลงมาสู่กลุ่มอาชีพในชุมชนโดยตรง ระหว่างนั้นคณะวิทยากรอีก 3 ท่านก็ได้เตรียมเส้นพลาสติกที่ใช้ในการจักสาน ด้วยการช่วยกันตัดเส้นพลาสติกให้มีความยาวตามขนาดของภาชนะที่ต้องการจักสาน
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงมือจักสานอย่างตั้งใจตามคำแนะนำ และการดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดจากคณะวิทยากร ซึ่งมติในการเรียนรู้ครั้งนี้ทางผู้เข้าร่วมกิจกรรมตกลงที่จะจักสาน ตะกร้าใส่ของ 2 ขนาด คือ แบบมีหูหิ้วและแบบไม่มีหูหิ้ว คนละ 2 ใบ
  • ร่วมรับประทานอาหารเที่ยง
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงมือจักสานอย่างตั้งใจตามคำแนะนำ และการดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดจากคณะวิทยากรต่อจนถึงเวลาประมาณ 17.30 น. ก็ยังไม่เสร็จ ดังนั้นทางคณะกรรมของโครงการและแกนนำปรึกษาหารือกัน ได้ข้อสรุปว่าจะจัดกิจกรรมจักสานต่ออีก 1 วัน ในวันที่ 1 กันยายน 2559 เวลา 10.00 - 17.00 น. เพื่อต้องการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสได้ปฏิบัติจริงตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จเป็นผลิต และจะมีการประกวดผลิตภัณฑ์การจักสาน จำนวน 3 รางวัล (รางวัลที่ได้รับจะเป็นชุดสำเร็จรูปในการทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ก้อน และน้ำยาล้างจาน) โดยจะมีการประกาศผลในวันที 8 ก.ย. 2559 ซึ่งเป็นวันจัดกิจกรรมถอดเรียนโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง
  • ทางตัวแทนคณะกรรมการของโครงการชี้แจงการจัดกิจกรรมเรียนรู้การจักสานอีกครั้งในวันเวลาที่กำหนด และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำของใช้ที่ยังไม่เสร็จไปทำต่อที่บ้านเท่าที่จะทำได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าร่วมกิจกรรมจักสาน ครั้งที่ 1 ในวันที่ 29 ส.ค. 2559 จำนวน 60 คน และเข้าร่วมกิจกรรม ครั้งที่ 2 ในวันที่ 1 ก.ย. 2559 จำนวน 53 คน
  • ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเรียนรู้การจักสานของใช้ด้วยเส้นพลาสติก อย่างน้อยคนละ 2 ชนิดได้ด้วยตัวเอง 2) เกิดแกนนำในกลุ่มจักสานของใช้จากเส้นพลาสติก 3) เกิดสายสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทำให้รู้รัก สามัคคีเพิ่มขึ้น 4) เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ในกลุ่มจักสานกับคณะวิทยากรจากภายนอกชุมชน 5) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้ในการทำงานเป็นทีม รู้จักการแบ่งปัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในเวลาและนอกเวลาในการทำกิจกรรม 6) คณะกรรมการโครงการ และแกนนำมีทักษะในการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น 7) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดแนวคิดในการฝึกฝนการจักสานเพิ่มเติมด้วยการรวมกลุ่ม ลงขันซื้อุปกรณ์และลงมือฝึกฝนการจักสานของใช้ด้วยตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 113 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะกรรมการ แกนนำชุมชน ตัวแทนสมาชิกในครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

2) การช่วยเหลือและวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนของสมาชิกในชุมชน26 สิงหาคม 2016
26
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

1) เพื่อติดตาม ช่วยเหลือ และวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนของสมาชิกในชุมชน 2) เพื่อให้สมาชิกในชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในบัญชีครัวเรือนของตนเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มาพร้อมกัน ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน พร้อมทั้งรับชมวิดิทัศน์เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน จาก www.youtube.co.th และร่วมกับรับประทานอาหารว่าง ขณะเตรียมความพร้อม
  • ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินที่ผ่านมา และแจ้งกำหนดวันเวลาที่ต้องทำกิจกรรมถัดไปในโครงการ
  • ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ ได้เรียนเชิญ นายปัญญา ชูศรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อของ ธกส. สาขาฉวาง ซึ่งมีเชี่ยวชาญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือนให้กับชุมชนต่าง ๆ มาทบทวนความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งได้จัดกิจกรรมไปแล้ว ในวันที่ 15 มกราคม 2559
  • รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
  • วิทยากรได้สอบถามถึงการทำบัญชีครัวเรือนที่ผ่านมา ปรากฎว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ไม่ได้ทำ หรือถ้าทำก็ทำไม่ต่อเนื่อง ทางวิทยากรจึงได้พูดคุยสอบถามถึงสาเหตุที่ไม่ได้บันทึกบัญชีครัวเรือนตามที่ได้ตกลงกันไว้ ผลปรากฎว่าส่วนใหญ่มีความเห็นเหมือนกันว่า ที่ผ่านมารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงไม่ได้บันทึกบัญชีครัวเรือน เพราะเกิดความเบื่อหน่าย ไม่มีอารมณ์ในการบันทึกบัญชีครัวเรือน เมื่อทราบอย่างนั้นทางวิทยากรจึงได้พูดคุยปรับทัศนคติในการทำบัญชีครัวเรือน ว่ามีความจำเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง หากทำบัญชีครัวเรือนจะทำให้เรารู้คุณค่าของชีวิตและครอบครัวมากขึ้น เกิดความรักความเข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งทางวิทยากรได้สรุปแนวทางง่าย ๆ ในการทำบัญขีครัวเรือนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใหม่อีกครั้งหนึ่ง มีขั้นตอนดังนี้ 1) ต้องทราบก่อนว่าชีวิตคนเรา มี 2 ช่อง คือ รายได้ กับ รายจ่าย ที่เราต้องทำบัญชีครัวเรือน เพราะตอนนี้เรามีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ทำยังไงให้อยู่ได้ เป็นการสำรวจครอบครัวในเบื้องต้น ถ้าเรามีรายจ่ายเพียงพอ ต้องการอะไรก็ซื้อ ก็ได้ เราก็ไม่ต้องทำบัญชีครัวเรือน เราต้องเข้าใจ เราต้องเห็นความสำคัญเราต้องจับเข่าคุยกันในบ้าน ว่าเราต้องทำบัญชีครัวเรือน เพราะวันเป็นหนทางเดียวที่เราจะรู้ตัวเอง เป็นการทบทวนชีวิตที่ผ่านไปในแต่ละวันว่าเราได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณต่าแล้วหรือยัง โดยการอาศัยเครื่องมือ คือ บัญชีครัวเรือนนี่แหละ 2) เราต้องมาวิเคราะห์ว่าในแต่ละวัน แต่ละเดือน จนครบ 1 ปี เรามีรายได้อะไรบ้าง เช่น รายได้จากสวนยาง รวมมีรายได้เท่าไรต่อปี บางคนลูกหลานให้ใช้จ่ายเดือนละเท่าไร มีรายได้จากอาชีพเสริมบ้างหรือไม่ เช่น สวนผลไม้ มังคุด เงาะ ทุเรียน มีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์อะไรบ้าง เช่น ไก่ ปลา โค สรุปออกมาให้หมด 3) ประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน 4) บันทึกข้อมูลรายได้และรายจ่ายในสมุดบัญชีครัวเรือนเป็นประจำ 5) สรุปรายได้/รายจ่ายในแต่ละหมวดตามสมุดบัญชีครัวเรือน 6) นำมาวิเคราะห์เพื่อให้รู้ตัวเองและครอบครัว 7) วางแผนแก้ปัญหาด้านการเงินที่เกิดขึ้นในครอบครัว เช่น ถ้ารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ต้องหาอาชีพเสริม ถ้าพอแล้วต้องวางแผนออมเงินเพื่ออนาคต เพราะอนาคตอาจมีเรื่องคาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้กับครอบครัว
  • จากนั้นก็เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำบัญชีครัวเรือนที่ผ่าน ซึ่งช่วงนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
  • หลังจากนั้นทางวิทยากรก็ได้ยกตัวอย่างบัญชีครัวเรือนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางคนมาลองให้ช่วยกันวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ส่วนใหญ่พบว่าการใช้จ่ายกับสิ่งฟุ่มเฟือยขาดการวางแผนยังมีจำนวนมาก เช่น การซื้อเสื้อผ้า ของใช้ที่ไม่จำเป็น นอกจากนั้นรายจ่ายที่เกิดจากการพนัน หวย จากสุรา/สูบบุหรี่ ก็เป็นรายจ่ายที่หากลด ละ เลิกได้ก็จะทำให้ฐานะทางการเงินของครอบครัวจะดีขึ้น และเกือบ 100% ของบัญชีครัวเรือนที่นำมาวิเคราะห์ทำให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาเหมือนกันว่า จะต้องสร้างอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่ม มิฉะนั้นจะต้องเป็นหนี้เป็นสินกันจนตาย และเป็นหนี้ซึ่งเกิดจากความไม่ยับยั้งชั่งใจ ไม่มีเหตุผล ไม่มีภูมิคุ้มกันอ่อนไหวไปตามกระแสของสังคม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย และในที่สุดจะทำให้ชุมชนอ่อนแอ ตรงจุดนี้เองทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางคน อยากให้บ้านท่าแห้งเกิดการรวมกลุ่มสร้างอาชีพเสริมเพื่อก่อนให้เกิดรายได้ขึ้นมา
  • ท้ายสุดของการทำกิจกรรมทางวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้คำมั่นสัญญา ให้กลับไปจับเข่าคุยกันว่าถึงเวลาที่เราต้องหันมาทำบัญชีครัวเรือนอย่างจริงจัง โดยนัดกันว่าในเดือนธันวาคม 2559 ถึงแม้จะสิ้นสุดโครงการของ สสส. ไปแล้ว ก็จะมารวมกลุ่มกันอีกครั้งเพื่อติดตาม ช่วยเหลือ และวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนของสมาชิกในชุมชน จนทำให้ให้สมาชิกในชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในบัญชีครัวเรือนของตนเองได้อีกครั้งหนึ่ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมกิจกรร จำนวน 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมการช่วยเหลือและวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนของสมาชิกในชุมชน
  • ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในบัญชีครัวเรือนของตนเองได้ 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรรมเข้าใจแนวคิดที่ถูกต้องในการจัดทำบัญชีครัวเรือน 3) ผู้เข้าร่วมกิจกรรรมเกิดสายสัมพันธ์ที่ดี รักและสามัคคีกันมากขึ้น 3) เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำบัญชีครัวเรือนขึ้น 4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรรมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น 5) คณะกรรมการของโครงการ และแกนนำชุมชนเข้าใจ และมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อชุมชนเพิ่มขึ้น เปิดใจพูดคุยกันมากขึ้น มีความสุขในการทำงานส่วนรวมมากขึ้น 6) เกิดเครือข่ายในการพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น (ธกส.+บ้านท่าแห้ง)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 96 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ยังไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น ชาวบ้านกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มไปในแนวทางที่ดีขึ้น เพื่อดึงความสนใจให้เกิดส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชมุชนให้มากขึ้นในอนาดต

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้แนวคิดเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีพอเพียง และอบรม/สาธิตการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ25 สิงหาคม 2016
25
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรวมกลุ่มเรียนรู้แนวคิดเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีพอเพียง - เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยพืชสด และฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาพร้อมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน
  • ตัวแทนโครงการโดยนายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ พบปะพูดคุยทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งชี้แจงผลการดำเนินการของโครงการที่ผ่านมาและกิจกรรมที่จะทำต่อ
  • ผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมเรียนเชิญนายขจร ทิพาพงศ์ ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรอินทรีย์ มาให้ความรู้กับชาวบ้านเกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง และ การทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้   1) ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี   2) เกษตรอินทรีย์ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหาร ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไกและวัฏจักรธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วยเป็นระบบเกษตรที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร หลักการสำคัญ 4 ข้อของเกษตรอินทรีย์ คือ สุขภาพ นิเวศวิทยา ความเป็นธรรม และการดูแลเอาใจใส่
  • พักรับประทานอาหาร
  • วิทยากรบรรยาต่อแนวคิดในการลดการผลิตด้านการเกษตรด้วยการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ซึ่งการบรรยายประกอบด้วยเนื้อหาที่ทำให้เห็นถึงโทษที่เกิดจาการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร นอกจากมีผลกระทบต่อตัวเกษตรกรเองแล้วยังมีผลตกค้างสะสมกระทบต่อดิน แหล่งน้ำลำคลอง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของทั้งพืชและคน อีกทั้งหากทำเกษตรด้วยการใช้สารเคมีต้นทุนก็จะสูง ทำให้เกิดการขาดทุนเป็นหนี้เป็นสินเข้าสู่วงจรอุบาทว์ เกิดความล้มเหลวในภาคครัวเรือน และชุมชน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ชาวบ้านในบ้านท่าแห้งต้องรวมตัวกันค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงการทำเกษตรที่พึ่งพาสารเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์ซึ่งคำนึงถึงความยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการลดการใช้สารเคมี ที่สำคัญได้แก่ ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด แทน ยาฆ่าแมลงหันมาใช้น้ำหมักจากสมุนไพรในท้องถิ่น ยาฆ่าหญ้าหันมาให้น้ำหมักแทน ก็จะทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น ไม่เป็นหนี้เป็นสิน สุขภาพดี ไม่เป็นโรคที่เกิดจากสารเคมีเหล่านั้น
  • วิทยากรบรรยายวิธีและขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และน้ำหมักสูตรต่าง ๆ
  • ลงมือปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก เพื่อเป็นธนาคารปุ๋ยหมักกองกลางของหมู่บ้าน ซึ่งมีส่วนผสม ดังนี้ 1) แกลบ 10 กระสอบ  2) ขี้วัว 4 กระสอบ  3) รำ 5 กก.  4) กากน้ำตาล 1 กก.  5) EM 1 กก./ พด. 1 จำนวน 1 ซอง 6) น้ำ 10 ลิตร 7) กระสอบใส่ปุ๋ย โดยมีขั้นตอนในการทำดังนี้ 1) ผสมแกลบ+ขี้วัว+รำ ให้เข้ากันแล้วเกลี่ยให้เป็นกองภูเขาไฟ 2) ละลายน้ำ+กากน้ำตาล+EM/พด. 1 ผสมให้ละลายเข้ากัน ทิ้งไว้ 5 นาที 3) ค่อย ๆ เทส่วนผสมที่ได้ในข้อ 2 คลุกเคล้ากับกองปุ๋ยในข้อ 1 ให้มีความชื้นประมาณ 50-60% (ปั้นเป็นก้อนได้ แต่ไม่แฉะจนน้ำไหลออกทางง่ามมือ) 4) นำปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้วใส่กระสอบ 2 ใน 3 ส่วนของกระสอบ ไม่ต้องกดให้แน่น มัดปากแล้ววางซ้อนทับกันเป็นกอง หลังจากนั้นกลับกระสอบปุ๋ยทุกวันคนครบ 7 วัน เมื่อความร้อนที่เกิดขึ้นในกระสอบปุ๋ยหายไปและปุ๋ยแห้งร่วนดี ไม่มีกลิ่น ก็สามารถนำไปใช้งานได้ตามต้องการ
  • ในกิจกรรมครั้งนี้เวลาไม่เพียงพอในการทดลองทำน้ำหมักสูตรต่าง ๆ จึงได้ลงความเห็นกันว่าจะรวบยอดไปทำในวันที่ทำน้ำยาไล่แมลงสูตรสมุนไพรเลยทีเดียว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน สามารถเข้าใจถึงแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการในการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้และเข้าใจ ตลอดจนสามารถทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักได้ด้วยตัวเอง
  • ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจแนวคิดหลักการของทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจแนวคิดของเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นการทำเกษตรแบบยั่งยืน 3) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจผลกระทบของการใช้สารเคมีในการทำเกษตร 4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจถึงประโยชน์ของการลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร 5) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจวิธีการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และน้ำหมักสูตรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ 6) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดสายสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน และเกิดความสุขในการทำงานเพื่อส่วนรวม 7) เกิดเครือข่ายด้านการเกษตรอินทรีย์กับวิทยากร นายขจร ทิพาพงศ์ 8) คณะกรรมการ และแกนนำชุมชนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของการทำงานส่วนรวมเพื่อพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 95 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน ชาวบ้านตัวแทนครัวเรือน ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรอินทรีย์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การมีส่วนร่วมของชาวบ้านบางกลุ่มยังไม่มี ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้วยวิธีการสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มและกลุ่มดังกล่าวต้องทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากพอ จนทำให้ชาวบ้านกลุ่มที่ไม่เข้ามามีส่วนร่วมเข้ามาร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะอาศัยวิธีการแบ่งปันความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ ตลอดจนแบ่งปันของใช้ที่ได้จากกิจกรรมให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมไปทดลองใช้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาศักยภาพกลุ่มเลี้ยงโคในครัวเรือนเพื่อสร้างรายได้เสริม24 สิงหาคม 2016
24
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเพิ่มศักยภาพกลุ่มเลี้ยงโคเพื่อสร้างรายได้เสริมในครัวเรือน- ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่มเลี้ยงโค- เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเลี้ยงโคของสมาชิกภายในกลุ่ม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตัวแทนคณะกรรมการติดต่อประสานกับนายบุญฤทธิ์  ชูช่วย ตำแหน่งปศุสัตว์อำเภอฉวาง เพื่อนัดวันเวลา ในการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเลี้ยงโค และชาวบ้านที่สนใจการเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริม
  • คณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน ตัวแทนครัวเรือนที่เลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริม และชาวบ้านที่สนใจการเลี้ยงโคเพื่อเป็นอาชีพเสริม มาพร้อมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน ในระหว่างที่รอให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทางตัวแทนคณะกรรมการได้เปิดแผ่น DVD การเลี้ยงโคพันธ์พื้นเมืองให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ชม
  • เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อม วิทยากรพร้อม ผู้ใหญ่บ้านท่าแห้ง นายมีชัย มีศรี ได้กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • หลังจากนั้นผู้ดำเนินกิจกรรมได้เรียนเชิญนายบุญฤทธิ์  ชูช่วย ตำแหน่งปศุสัตว์อำเภอฉวาง มาให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเพื่อสร้างรายได้เสริมในครัวเรือน โดยมีประเด็นเนื้อหาในการพูดคุยดังนี้ 1) การคัดเลือกสายพันธ์ุ 2) การจัดการด้านอาหาร 3) การป้องกันและรักษาโรคในโค ซึ่งในเนื้อหาดังกล่าว ทางวิทยากรได้จัดเปิดวิดิทัศน์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ชม สลับกับการอธิบายในแต่ละประเด็นของเนื้อหา แต่ละช่วงจะมีการเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ซักถามแลกเปลี่ยนความเห็นกัน สร้างความเป็นกันเอง และทำให้บรรยากาศการอบรมเป็นไปอย่างน่าสนใจ
  • หลังจากนั้นผู้ดำเนินกิจกรรมได้เรียนเชิญนายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ ซึ่งเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมมาตั้งแต่หนุ่ม ๆ จนถึงปัจจุบัน ได้มาแบ่งปันประสบการณ์ และความรู้ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน ให้กับผู้เข้าร่วมอบรม โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับการแบ่งปันจากนายไกรสิทธิ์ ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับความรู้ด้านวิชาการที่ทันสมัยที่ นายบุญฤทธิ์ นำมาถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี เป็นการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านและวิทยาการสมัยใหม่ซึ่งจะสามารถส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ความรู้เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเลี้ยงโคตามธรรมชาติที่มีอยู่ในบ้านท่าแห้ง อีกทั้งผู้ที่มีความสนใจที่จะหาอาชีพเสริมในภาวะราคายางพาราตกต่ำก็สามารถที่จะเป็นต้นทุนด้านปัญญาในการที่จะเลี้ยงโคได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องไปลองผิดลองถูก ทำให้เพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเลี้ยงโคเพื่อเป็นอาชีพเสริมตามจำนวนที่กำหนดไว้
  • ผลลัพธ์ : 1) ตัวแทนกลุ่มผู้เลี้ยงโคได้รับความรู้ตามหลักวิชาการสมัยใหม่จากปศูสัตว์อำเภอฉวาง และได้รับความรู้จากการเลี้ยงโคตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่สั่งสมมาหลายสิบปี ซึ่งเป็นความรู้ที่ลงตัวเป็นการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านและวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้สามารถเพิ่มศักยภาพในการเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริม และสามารถเป็นต้นทุนด้านปัญญาให้กับผู้ที่สนใจจะเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี 2) เกิดเครือข่ายด้านการเลี้ยงโคระหว่างปศุสัตว์อำเภอฉวางกับกลุ่มเลี้ยงโคและกลุ่มผู้ที่สนใจเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมในบ้านท่าแห้ง 3) ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรักและสมัคคีกันมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้ความขัดแย้งที่มีในชุมชนลดความรุนแรงลงได้บ้าง 4) สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการของกล่มเลี้ยงโคเพื่อเป็นอาชีพเสริมขึ้นในอนาคต ซึ่งกลุ่มในปัจจุบันเป็นเพียงกลุ่มธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชุมชนเท่านั้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 98 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนครัวเรือนที่เลี้ยงโค ชาวบ้าน ตัวแทนคณะกรรมกรรมการ และแกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • กลุ่มเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมในบ้านท่าแห้งยังมีจำนวนน้อย ซึ่งน่าจะต้องมีกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเลี้ยงโคเพื่ออาชีพเสริมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
  • ควรจะส่งเสริมให้กลุ่มเลี้ยงโคที่เกิดขึ้นในบ้านท่าแห้ง ไปจดทะเบียนกลุ่มให้ถูกต้อง เพื่อจะได้รับความสะดวกในการขอการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการทำน้ำยาอเนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน22 สิงหาคม 2016
22
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว สบู่ก้อน ยาสระผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้า เพื่อใช้ในครัวเรือนเป็นการลดค่าใช้จ่าย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ช่วยกันเตรียมสมุนไพรและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำสบู่เหลว สบู่ก้อน ยาสระผม ซึ่งได้แก่ ขมิ้น มะกรูด มะขามเปียก ผักบุ้งบ้าน สัมป่อย (ใบ+ก้าน) ดอกอัญชัญ น้ำผึ้ง บอระเพ็ด ใบชุมเห็ด
  • ตัวแทนคณะกรรมการได้ติดต่อและประสานงานกับปราชญ์ชาวบ้าน คือ นายขจร ทิพาพงศ์ เพื่อให้มาเป็นวิทยากรในวันทำกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาพร้อมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน
  • วิทยากรพูดคุยให้ความรู้เกี่ยวกับการทำของใช้ในครัวเรือนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งได้แก่ น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว สบู่ก้อน ยาสระผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้า
  • วิทยากรพูดคุยให้ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมของ สบู่ก้อน สบู่เหลว ยาสระผม จากนั้นก็ช่วยกันจัดเตรียมสมุนไพร **วิธีการทำสบู่เหลวสูตรสมุนไพร มีดังนี้ ต้มน้ำ 6 ลิตร แล้วใส่สมุนไพร คือ 1) ขมิ้นชัน จำนวน 0.5 กก. 2) น้ำมะขามเปียก 0.5 กก. จากนั้นรอจนน้ำเดือด ต้มต่อไปประมาณ 5 นาที ปิดไฟแล้วตั้งพักไว้จนเย็น เมื่อน้ำสมุนไพรเย็นลงให้ใส่น้ำผึ้ง 200 ซีซี. แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นก็จะมาผสมส่วนผสมอื่น ๆ ให้เข้ากันโดยค่อย ๆ ผสมน้ำสมุนไพรจนส่วนผสมทุกชนิดเข้ากันดี หลังจากคนส่วนผสมจนเข้ากันก็จะเกิดฟองอากาศผสมอยู่จำนวนมากจะต้องทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน (ต้องใส่ภาชนะที่มีฝาปิด) ก็สามารถนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้งานได้ **วิธีการทำยาสระผมสูตรสมุนไพร ขั้นตอนวิธีการทำเช่นเดียวกับการทำสบู่เหลว เพียงแต่เปลี่ยนชนิดของสมุนไพรดังนี้ 1) มะกรูด 10 ผล 2) ผักบุ้งบ้าน 5 กำมือ 3) ส้มป่อย (ใบ+ก้าน) 5 กำมือ 4) ดอกอัญชัน 0.5 กก. 5) บอระเพ็ดยาว 30 ซ.ม. 3 ท่อน 6) ชุมเห็ด 0.5 กก. 7) น้ำผึ้ง 250 ซึซี
  • วิทยากรพูดคุยให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำของใช้ในครัวเรือนที่ไม่ต้องใช้สมุนไพร ได้แก่ น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาล้างจาน ยาสระผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่เหลวเนื้อมุก น้ำยาซักผ้าชนิดเหลว ซึ่งหาซื้อได้จากสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) โดยวิธีการทำต้องใส่ส่วนผสมตามลำดับจากนั้นก็คนส่วนผสมให้เข้ากัน ระหว่างคนค่อย ๆ เติมน้ำและสี (ถ้ามี) หลังจากคนส่วนผสมจนเข้ากันก็จะเกิดฟองอากาศผสมอยู่จำนวนมากจะต้องทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน (ต้องใส่ภาชนะที่มีฝาปิด) ก็สามารถนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้งานได้
  • ลงมือปฏิบัติการทำของใช้ในครัวเรือนที่ไม่มีส่วนผสมของสมุนไพร โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ รับผิดชอบการเรียนรู้การทำของใช้แต่ละชนิด ในช่วงท้ายกิจกรรมการแต่ละกลุ่มจะต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการช่วยกันอธิบายสรุปขั้นตอนการทำของใช้แต่ละชนิดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มอื่นเข้าใจจนสามารถทำของใช้ดังกล่าวได้ทุกชนิด ประเด็นที่สำคัญจะให้ชาวบ้านช่วยแสดงความคิดเห็นว่าถ้าเปลี่ยนมาใช้ของที่ได้ร่วมกันทำในวันนี้จะประหยัดค่าใช่จ่ายหรือไม่ อย่างไร และในวันที่จัดกิจกรรม "มหกรรมบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง" ชาวบ้านจะต้องร่วมกันทำของใช้แต่ละชนิดกันอีกครั้ง โดยแต่ละกลุ่มจะต้องทำของใช้ชนิดใหม่ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • ของใช้ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่ 1) น้ำยาเอนกประสงค์ 42 ลิตร 2) ยาสระผมสูตรสมุนไพร 24 ลิตร 3) สบู่เหลวสูตรสมุนไพร 24 ลิตร 4) สบู่ก้อนสูตรสมุนไพร 6 ถาด5) สบู่เหลวเนื้อมุก 7 ลิตร6) ยาสระผม 5 ลิตร7) น้ำยาปรับผ้านุ่ม 13 ลิตร8) น้ำยาล้างจาน 14 ลิตร9) น้ำยาซักผ้า 7 ลิตร ซึ่งของใช้ดังกล่าวจะแบ่งให้ชาวบ้านไปใช้ในวันจัดกิจกรรม"มหกรรมบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง"
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน สามารถเรียนรู้วิธีการและแนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสามารถทำของใช้ ได้แก่ 1) น้ำยาเอนกประสงค์ 42 ลิตร 2) ยาสระผมสูตรสมุนไพร 24 ลิตร 3) สบู่เหลวสูตรสมุนไพร 24 ลิตร 4) สบู่ก้อนสูตรสมุนไพร 6 ถาด5) สบู่เหลวเนื้อมุก 7 ลิตร6) ยาสระผม 5 ลิตร7) น้ำยาปรับผ้านุ่ม 13 ลิตร8) น้ำยาล้างจาน 14 ลิตร9) น้ำยาซักผ้า 7 ลิตร
  • ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจแนวคิดและวิธีการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 2) ผู้เข้าอบรมเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการทำของใช้ โดยได้ทดลองปฏิบัติจริง 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้ในการนำสมุนไพรที่มีในชุมชนมาเป็นส่วนผสมในของใช้ที่ทำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสบู่ก้อน สบู่เหลว ยาสระผม เป็นต้น 3) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้ ในการทำของใช้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม และมีส่วนร่วมในการร่วมกันแสดงความคิดเห็นในขั้นตอนต่าง ๆ ของกิจกรรม 4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรักและความสามัคคีเพิ่มขึ้น 5) เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์ที่่เกิดขึ้นในอย่างสร้างสรรค์ 6) เกิดแนวคิดในการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพในชุมชน 7) คณะกรรมการโครงการ และแกนนำชุนชนมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อส่วนรวมเพิ่มขึ้น เกิดความภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำ เข้าใจธรรมชาติของการทำงานเพื่อส่วนรวมเพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 99 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ แกนนำชุมชน ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การมีส่วนร่วมของชาวบ้านบางกลุ่มยังไม่มี ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้วยวิธีการสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มและกลุ่มดังกล่าวต้องทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากพอ จนทำให้ชาวบ้านกลุ่มที่ไม่เข้ามามีส่วนร่วมเข้ามาร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะอาศัยวิธีการแบ่งปันความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ ตลอดจนแบ่งปันของใช้ที่ได้จากกิจกรรมให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมไปทดลองใช้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ติดตาม ตัดสิน และจัดประกวดต้นแบบด้านปลูกผักปลอดสารพิษ22 สิงหาคม 2016
22
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

จัดกิจกรรมตัดสินครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสนับสนุนให้เกิดต้นแบบการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน จำนวน 4 ครัวเรือน (รุ่นละ 2 ครัวเรือน)

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครัวเรือนในบ้านท่าแห้งที่สมัครเข้าร่วมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษดำเนินกิจกรรมปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน โดยสมาชิกได้ร่วมกันกำหนดกติกาดังนี้ 1) การปลูกผักสวนครัวดังกล่าวต้องห้ามใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น 2) ผักสวนครัวที่ปลูกต้องอย่างน้อย 3 ชนิด 4) การตัดสินจะเป็นการโหวตจากชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมติดตาม ตัดสิน และจัดประกวดต้นแบบด้านปลูกผักปลอดสารพิษ 5) การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ในเดือน ก.พ.-เม.ย. 59 ช่วงที่ 2 ในเดือน พ.ค. - ก.ค. 59 ซึ่งในแต่ละช่วงจะมีต้นแบบช่วงละ 2 ครัวเรือน รวม 2 ช่วง 4 ครัวเรือน 6) ต้นแบบที่ชนะการโหวตของชาวบ้านท่าแห้งจะได้รางวัล ๆ มูลค่า 1,000 บ.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ได้ครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ จำนวน 4 ครัวเรือน ได้แก่ 1) นางเนย  ปลอดภัย  2) นายทวีป-นางปรีดา มิตตะกา  3) นายไสว-นางสุณีย์  พลายแก้ว  4) นางแฉล้ม-นางเฉลียว  พลการ
  • ผลลัพธ์ : 1) มีครัวเรือนตันแบบในการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ เริ่มต้นจากการปลูกไว้บริโภคเอง จนในปัจจุบันสามารถปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวได้ 2) ทำให้ชาวบ้านท่าแห้งมีการตื่นตัวในการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคภายในครัวเรือน โดยจะต้องหาวิธีการหรือกำหนดรอบการปลูกให้สอดคล้องกับฤดูน้ำท่วมขังที่่เกิดขึ้นทุกปี อย่างน้อยปีละ 1-3 ครั้ง 3) ทำให้เกิดกระแสการดูแลสุขภาพด้วยการบริโภคผักปลอดสารพิษขึ้นในชุมชน 4) ทำให้เกิดการจำหน่ายผักสวนครัวปลอดสารพิษในชุมชน โดยใช้สถานที่ออกกำลังกายของกลุ่มรักษ์สุขภาพ และร้านค้าภายในชุมชน 5) ทำให้เกิดกระแสการลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร หันมาใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักเพิ่มขึ้น โดยได้มีการรวมกันทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักสูตรผลไม้ สูตรทำจากสัตว์ สูตรสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช ไว้ที่ศาลาของหมู่บ้านแล้วแบ่งไปใช้กัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 95 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านท่าแห้งจำนวน 95 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การมีส่วนร่วมของชาวบ้านบางกลุ่มยังไม่มี ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้วยวิธีการสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มและกลุ่มดังกล่าวต้องทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากพอ จนทำให้ชาวบ้านกลุ่มที่ไม่เข้ามามีส่วนร่วมเข้ามาร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะอาศัยวิธีการแบ่งปันความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ ตลอดจนแบ่งปันของใช้ที่ได้จากกิจกรรมให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมไปทดลองใช้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ติดตามการดำเนินงานโครงการ4 สิงหาคม 2016
4
สิงหาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินกิจกรรมในงวดที่ 2

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 10/105 กรกฎาคม 2016
5
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการ วางแผนเตรียมการทำกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ผู้เข้าประชุมลงทะเบียน 2) ผู้ใหญ่บ้าน และผู้รับผิดชอบโครงการพบปะทักทายชาวบ้าน 3) คณะกรรมโครงการชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่าย แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมกันหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ ตัวแทนคณะกรรมการได้ไปปรับสมุดบัญชีธนาคารเมื่อ 20 ก.ค. 59 ทำให้ทราบว่างบประมาณงวดที่ 2 ของโครงการเข้าบัญชีแล้วเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 59 จำนวน 105,800 บาท จากนั้นทางคณะกรรมก็ได้หารือแนวทางของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำในโครงการอีกประมาณ 8 กิจกรรม 4) ผู้เช้าประชุมร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 5) กำหนดผู้รับผิดชอบในกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้เข้าประชุมจำนวน 30 คน รับทราบและเข้าใจผลการดำเนินการของโครงการ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณในโครงการที่ออกล่าช้า ผลลัพธ์ : ผู้เข้าประชุมร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้น จำนวนแกนนำที่มีความตั้งใจในการทำโครงการเพิ่มขึ้น ดูได้จากมีแกนนำที่อาสาทำงานส่วนรวมของโครงการเพิ่มขึ้น มีการเสียสละมากขึ้น เข้าใจธรรมชาติของการทำงานส่วนรวมมากขึ้น หันหน้าเข้าหากันพูดคุยเตรียมการและร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกันมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เวลาที่เหลือในการทำกิจกรรมที่เหลืออีก 8 กิจกรรม อาจจะส่งผลกระทบทำให้การเรียนรู้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เช่น การทำปุ๋ย การทำน้ำหมัก การพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงโค ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อนำผลผลิตในกิจกรรมไปจัดกิจกรรม "มหกรรมบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง" ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะนำผลผลิตที่ได้จากกิจกรรมไปจัดแสดงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้นในบ้านท่าแห้ง โดยจะจัดขึ้นก่อนกิจกรรมการจัดเวทีถอดบทเรียนของโครงการ ดังนั้นอาจไม่มีผลผลิตของกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปจัดแสดงในกิจกรรมดังกล่าว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดกิจกรรมออกกำลังกาย เก็บข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพ1 กรกฎาคม 2016
1
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

1) ส่งเสริมให้สามาชิกในชุมชนรักการออกกำลังกาย และส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดีปราศจากโรคเรื้อรัง2) นำข้อมูลด้านสุขภาพของชาวบ้านท่าแห้งมาเปรียบผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายในแต่ละช่วงเวลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลาประมาณ 16.30 น. ชาวบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อออกกำลังกาย ณ บริเวณศาลาหมู่ 3 บ้านท่าแห้ง สำหรับผู้ที่เป็นหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังทางคณะกรรมการโครงการนำโดย อสม. จะมานั่งให้คำแนะนำและวัดความดันโลหิต ตลอดจนสอบถามอาการเพื่อติดตามผล และเฝ้าระวังอาการ จากนั้นเวลาประมาณ 17.00 น. จะร่วมกันออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคประมาณ 45-60 นาที โดยจะมีคณะนำเต้นแอโรบิค 1-5 คน 2) การเต้นแอโรบิคจะมีการ Warm Up และ Warm Down อย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อลดการบาดเจ็บและเพื่อความปลอดภัยของผู้ออกกำลังกายที่มีโรคประจำตัว ซึ่งในช่วงการออกกำลังกายต้องดำเนินไปอย่างน้อย 30 นาที ในกิจกรรมดังกล่าวจะมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย น้ำกระเจี๊ยบ หรือน้ำดื่มไว้คอยบริการผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม 3) นอกจากนี้ยังประชาสัมพันธ์ให้คนในบ้านท่าแห้งทุกเพศทุกวัย มาออกกำลังกายพร้อมกัน ซึ่งทำให้มีเยาวชนมาออกกำลังกายด้วยการเล่นฟุตบอล และนอกจากนั้นยังมีชาวบ้านหันมาใช้เครื่องออกกำลังกายที่มีอยู่เดิมในหมู่บ้าน ถึงแม้จะมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร ส่วนชาวบ้านผู้ชายได้นิยมออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานเพิ่มขึ้น ทำให้กระแสการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในบ้านท่าแห้งอย่างต่อเนื่อง และจากการเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้น ได้ผลดังนี้ ความดันโลหิตและปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น น้ำหนักลดลง 0.5 - 3 ก.ก. จำนวน 3 คน จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเห็นเหมือนกัน คือ มีความเครียดลดลง นอนหลับสนิทขึ้น สบายตัว ทำกิจวัตรประจำวันคล่องตัวขึ้น ส่วนผู้ที่เคยได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายส่วนใหญ่หายจากการบาดเจ็บแล้ว โดยทางคณะกรรมการก็ยังพยายามแนะนำในเรื่องการแต่งกายในขณะออกกำลังกาย เช่น รองเท้า ต้องเลือกให้เหมาะกับประเภทของกิจกรรมที่ออกกำลังกาย รวมทั้งประสานกับผู้นำเต้นแอโรบิคให้เพิ่มระยะเวลาในการอบอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อลดการบาดเจ็บของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเหมือนเดิม 4) เยาวชนรุ่นใหม่ รุ่นลูกหลานได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ทางคณะกรรมการโครงการและกลุ่มรักษ์สุขภาพ ได้ส่งเสริมด้วยการให้เยาวชนกลุ่มดังกล่าวเต้นนำคู่กับผู้นำเต้นแอโรบิค ที่เหลือก็จะให้ยืนแถวหน้าเพื่อให้สะดวกต่อการเต้นตามผู้นำเต้นแอโรบิค นอกจากนี้ก็ได้พูดคุยกับผู้ปกครองเยาวชนกลุ่มดังกล่าวว่าต้องให้การสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายของเยาวชนกลุ่มนี้ เพื่อต่อไปพวกเขาจะได้มีสุขภาพดี เพราะสุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องออกกำลังกาย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

**ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อย 30 คน **ยอดวันจัดกิจกรรมออกกำลังกายสะสม - ช่วงที่ 1 รวม 24 วัน - ช่วงที่ 2 รวม 27 วัน - ช่วงที่ 3 รวม 26 วัน - ช่วงที่ 4 รวม 29 ครั้ง รวมจำนวนวันสะสม 24+27+26+29=106 วัน (เป้าหมายอย่างน้อย 100 วัน) **ผลลัพธ์ : 1) ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างมีความสุข เต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเดิมอยู่ในบ้านตามลำพังไปวัน ๆ 2) ชาวบ้านมีพฤติกรรมในการออกกำลังกายที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ไม่เคยออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายแต่ไม่สม่ำเสมอ ก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น จะเข้าใจถึงความสำคัญของการออกกำลังกายว่ามีผลดีต่อสุขภาพหรือต่ออาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่อย่างไรบ้าง มีการชักชวนกันปากต่อปากให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสมัครใจ 3) นอกจากนี้ทางคณะกรรมการโครงการพยายามที่จะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ลองออกกำลังกายแบบใหม่บ้าง เช่น มีการใช้ไม้พลองประกอบการเต้นแอโรบิค เป็นต้น จากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาทุกครั้งในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ในบางสัปดาห์ได้มีการเพิ่มวันออกกำลังกายเป็น 4-5 วัน 4) เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสุขภาพภายในตำบลนาแว ได้มีการร่วมกันไปออกำลังกายในสถานที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดกลุ่มออกกำลังกายของตำบลนาแวขึ้นเมื่อมีกิจรรมกรรมส่วนรวมขึ้นในวันสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในวัด โรงเรียน หรือกิจกรรมวันในสำคัญต่าง ๆเช่น วันแม่ วันพ่อแห่งชาติ ก็รวมตัวกันไปร่วมกิจกรรม ด้วยการเต้นแอโรบิคโชว์ความพร้อมเพรียงให้ผู้คนบ้านใกล้เรือนเคียงได้ประจักษ์ เป็นเพิ่มสีสันให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในตำบลนาแวได้เป็นอย่างดีทีเดียว 5) ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายมีความรัก สามัคคีกันมากขึ้นกว่าเดิม 6) ในวันที่จัดกิจกรรมออกำลังกาย เป็นช่วงเวลาที่สามารถประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ให้ชาวบ้านได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารทางราชการ ข่าวสารของโครงการ สสส. ข่าวสารด้านสังคม งานศพ งานบวช งานแต่งงาน ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ 7) ชาวบ้านสามารถใช้สถานที่จัดกิจกรรมออกำลังกายมาเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ตลอดจนสินค้าอื่น ๆ ที่มีในชุมชน 8) เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวบ้านท่าแห้งกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาออกกำลังกายร่วมกัน 9) เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านต่าง ๆ ในบ้านท่าแห้งและชุมชนใกล้เคียง มีการแบ่งปัน มีการช่วยเหลือกันมากขึ้น 10) ลดความรุนแรงของความขัดแย้งที่มีอยู่เดิมในบ้านท่าแห้ง หันหน้ามาพูดคุยกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น 11) เกิดแกนนำและสมาชิกของกลุ่มออกำลังกายเพิ่มขึ้น 12) เยาวชนรุ่นใหม่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเพิ่มขึ้น และมีแววว่าสามารถเป็นผู้นำเต้นแอโรบิคได้ในอนาคต 13) หลังจากวันที่ 4 ก.ย. 59 เป็นวันสิ้นสุดกิจกรรมออกกำลังกายในวันที่กำนหดไว้ในโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียงเแล้วก็ตาม ขณะที่บันทึกผลลัพธ์ขณะนี้เป็นวันที่ 8 ต.ค. 59 กิจกรรมออกกำลังกายของกลุ่มรักษ์สุขภาพของชาวบ้านท่าแห้งก็ยังดำเนินต่อไป แม้ช่วงนี้สภาพอากาศไม่ค่อยเอื้ออำนวยก็ตาม จึงพอจะสรุปผลลัพธ์ที่เกิดจากกิจกรรมดังกล่าวได้ว่า ชาวบ้านท่าแห้งที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ ฯ ส่วนหนึ่งสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรังได้ดีขึ้น หันมาให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายจนเป็นพฤติกรรมด้านบวกซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้พวกเขามีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคเรื้อรัง ฯลฯ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1) ชาวบ้านอย่างน้อย 12 คน 2) กลุ่มที่เป็นโรคและมีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอย่างน้อย 15 คน 3) อสม. อย่างน้อย 1 คน 4) เยาวชนอย่างน้อย 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย ฝนตกบ่อยทำให้จำนวนชาวบ้านที่มาเข้าร่วมกิจกรรมน้อยลง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงโครงการ ในการดำเนินงานงวดที่ 226 มิถุนายน 2016
26
มิถุนายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมทีได้ดำเนินการของโครงการและหาแนวทางในการดำเนินงานงวดที่ 2

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ผู้รับผิดชอบโครงการ และตัวแทนคณะกรรมการ จำนวน 2 คน ร่วมประชุม กับพี่เลี้ยงโครงการ 2) พี่เลี้ยงสอบถามถึงปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากเงินในงวดที่ 2 เข้าล่าช้ามาก ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนแผนงานในโครงการให้เหมาะสม หรือถ้าโครงการใดสามารถหางบประมาณทดรองจ่ายไปก่อนก็สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้ พี่เลี้ยงเข้าใจและแนะนำให้เร่งดำเนินกิจกรรมหลังได้รับเงินโอนในงวดที่ 2 และให้พัฒนาชุดสภาผู้นำชุมชนให้สามารถ นำเรื่องที่เป็นปัญหาของชุมชนมาพูดคุยและวางแผนแก้ไขโดยสภาผู้นำชุมชน ให้จัดทำสัญญาใจ เสนอชุมชน เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนให้สมารถพึ่งตนเองได้ต่อไป 3) พี่เลี้ยงเสนอแนะแนวทางให้แต่ละโครงการร่วมกันปรับปฏิทินในโครงการให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่เหลือในสัญญา เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด 4) พี่เลี้ยงพูดคุยเรื่องการจัดงานคนใต้สร้างสุข และแจ้งให้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน โดยใช้งบประมาณจากโครงการเป็นค่าที่พักและค่าเดินทางส่วนค่าอาหารทาง สสส. รับผิดชอบและแจ้งว่าจะออกติดตามอีก 3 ครั้ง ในเดือน กรกฎาคม, สิงหาคม และเดือนกันยายนเพื่อช่วยให้เกิดสภาผู้นำชุมชนและช่วยกันหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการของชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน และตัวแทนคณะกรรมการโครงการ 2 คน แกนนำชุมชน 1 คน รวมทั้งหมด 4 คน เข้าร่วมกิจกรรมการติดตามการดำเนินโครงการงวดที่ 2 ของพี่เลี้ยง ผลลัพธ์ : 1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจในแนวทางที่พี่เลี้ยงได้ร่วมกันหาแนวทางในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยประเด็นสำคัญ คือ พี่เลี้ยงจะช่วยขับเคลื่อนการจัดตั้งสภาชุมชนให้เป็นรูปธรรม เพื่อสภาจะได้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในทุก ๆ ด้านได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังร่วมกันหาแนวทางการแก้ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากงบประมาณในงวดที่ 2 เข้ามาล่าช้ามาก 2) ตัวแทนกรรมการโครงการ และตัวแทนแกนนำชุมชนที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ บางท่านไม่เคยเข้าร่วมการประชุมกับทีมพี่เลี้ยงของโครงการ จึงเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ตัวแทนคณะกรรมการและตัวแทนแกนนำชุมชนที่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งเป็นครั้งแรกได้รับทราบข้อมูลจากพี่เลี้ยงโดยตรง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจในรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานของโครงการเพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ 2 คน และแกนนำชุมชน 1 คน รวมทั้งหมด 4 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

รับการสัมภาษณ์เพื่อถอดบทเรียนโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลอดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง จากตัวแทน สสส. สจรส.มอ.20 มิถุนายน 2016
20
มิถุนายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ตัวแทนโครงการเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) เวลาประมาณ 9.00 น. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม พบกันที่โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 2) ตัวแทน สสส. สจรส. ม.อ. พูดคุยทักทาย และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม แนะนำตัวเอง 3) ตัวแทน สสส. สจรส. ม.อ. เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการสัมภาษณ์เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมของโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ่ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง ตามรายละเอียดของกิจกรรมในโครงการ โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบโครงการและตัวแทนคณะกรรมการได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นในรายละเอียดของกิจกรรมในโครงการที่ได้ดำเนินการผ่านมา ว่าเกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไร เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้างในชุมชน เกิดปัญหา/อุปสรรคใดบ้างในการดำเนินโครงการ (ในระหว่างที่มีการพูดคุยสัมภาษณ์ได้มีการบันทึกเสียงตลอดการสนทนา) ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ดำเนินโครงการมีความภาคภูมิใจในเรื่องใดบ้าง 4) ตัวแทน สสส. สจรส. ม.อ. ได้ให้พี่เลี้ยงร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นคำถามตลอดการพูดคุย 5) สุดท้ายก่อนสิ้นสุดการพูดคุยตัวแทน สสส. สจรส. ม.อ. ได้เปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบโครงการ ตัวแทนคณะกรรม และพี่เลี้ยงได้แสดงความคิดเห็น หรือข้อคิดต่าง ๆ เพิ่มเติม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ตัวแทนคณะกรรมการ จำนวน 1 คน พี่เลี้ยง จำนวน 1 คน และตัวแทน สสส. สจรส. ม.อ. จำนวน 1 คน รวม 4 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมสัมภาษณ์เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานของโครงการตามที่กำหนดไว้ ผลลัพธ์ : ผู้รับผิดชอบโครงการและตัวแทนคณะกรรมการได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นในรายละเอียดของกิจกรรมในโครงการที่ได้ดำเนินการผ่านมา ว่าเกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไร เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้างในชุมชน เกิดปัญหา/อุปสรรคใดบ้างในการดำเนินโครงการ (ในระหว่างที่มีการพูดคุยสัมภาษณ์ได้มีการบันทึกเสียงตลอดการสนทนา) ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ดำเนินโครงการมีความภาคภูมิใจในเรื่องใดบ้าง ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1) ผู้รับผิดชอบโครงการ และตัวแทนคณะกรรมการของโครงการ ดีใจและภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการริเริ่มให้เกิดโครงการที่ดีในชุมชน ทำให้ชาวบ้านได้หันมาทบทวนชีวิต ทบทวนพฤติกรรมต่าง ๆ ของตนเองที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และเกิดปัญหาหนี้สินโดยอาศัยกิจกรรมในโครงการร่วมกันคิดร่วมกันทบทวนปัญหา และร่วมกันหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในชุมชน 2) จากอดีตที่ผ่านมาปัญหาการเมืองท้องถิ่นทำให้ชาวบ้านเกิดความแตกแยก ทำให้ขาดความสามัคคี เมื่อมีโครงการฯ เข้ามาทำให้ชาวบ้านหันหน้าเข้าหากันพูดคุยกันมากขึ้น จนทำให้บรรยากาศความขัดแย้งจากปมการเมืองท้องถิ่นในอดีตลดความรุนแรงลงอย่างชัดเจน 3) ชาวบ้านมีความสามัคคีกันมากขึ้น 4) ชาวบ้านหันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย และปรับพฤติกรรมในการป้องกันและรักษาโรคเรื่้อรังเพิ่มขึ้น ตลอดจนหันมาสนใจคนในครอบครัว และเพื่อนบ้านมากขึ้น 5) เกิดการรวมกลุ่มเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ได้แก่่ กลุ่มรักษ์สุขภาพ (จัดกิจกรรมเต้นแอโรบิคในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน) มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ด้านโภชนาการ นอกจากนี้ยังมีการตรวจและเก็บข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้นให้แก่ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม 6) เกิดการรวมกลุ่มเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้เพื่อแก้ปัญหาหนี้สิน ได้แก่ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มจักสาน กลุ่มทำปุ๋ยและน้ำหมัก 7) นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีความริเริ่มและเกิดแนวคิดในการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพเสริมเพิ่มเติม เช่น กลุ่มทำเครื่องแกง กลุ่มทำปลาดุกร้า ตอนเริ่มแรกจะเน้นทำเพื่อจำหน่ายกันเองภายในชุมชนก่อน เพื่อลดรายจ่าย 8) จากการดำเนินกิจกรรมในโครงการทำให้เกิดแกนนำชาวบ้านเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สามารถบอกได้ว่าต่อไปในอนาคตชุมชนจะเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 9) จากการดำเนินกิจกรรมของโครงการทำให้แกนนำและชาวบ้านได้เรียนรู้ว่าการพบปะพูดคุยโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งจะเป็นก้าวแรก ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 10) จากการดำเนินกิจกรรมในโครงการทำให้แกนนำและคณะกรรมการได้รู้ว่า ผู้นำในชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการทำให้เกิดการพัฒนา ซึ่งคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำคือ มีความเสียสละ มีความมุ่งมั่น มีความรู้ พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และต้องบริหารจัดการโดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างเสมอภาค ชัดเจน และโปร่งใส

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน ตัวแทนคณะกรรมการ 1 คน พี่เลี้ยง 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 9/105 มิถุนายน 2016
5
มิถุนายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการ วางแผนเตรียมการกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ผู้เข้าประชุมลงทะเบียน 2) ผู้ใหญ่บ้าน และผู้รับผิดชอบโครงการพบปะทักทายแกนนำและคณะกรรมการ 3) ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องปัญหาความล่าช้าของงบประมาณในงวดที่ 2 ที่ยังไม่เข้าบัญชีโครง แต่ย้ำให้คณะกรรมการโครงการและแกนนำชุมชนช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านเข้าใจว่าให้ใจเย็น ๆ รอหน่อย เพราะพี่เลี้ยงยืนยันว่างบประมาณงวดที่ 2 เข้าแน่นอน
4) คณะกรรมโครงการชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่าย แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมกันหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ 5) ผู้เช้าประชุมร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 6) กำหนดผู้รับผิดชอบในกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าประชุมจำนวน 30 คน
  • ผลลัพธ์ :
    1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการมากขึ้น รับทราบและเข้าใจผลการดำเนินการของโครงการที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณในโครงการที่ออกล่าช้า 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น 3) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีความตั้งใจให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์เพิ่มขึ้น 4) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่อาสาทำงานเพื่อโครงการเพิ่มขึ้น 5) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจธรรมชาติของงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น หันหน้าเข้าหากันพูดคุยหารือกันมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณในรอบที่ 2 เข้าบัญชีโครงการล่าช้า ทำให้คณะกรรมการโครงการต้องเดือดร้อน ในการหางบประมาณมาทดรองจ่ายในโครงการ เพื่อให้กิจการดำเนินไปได้ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวทำให้ชาวบ้านและคณะกรรมการบางส่วนเกิดความไม่แน่ใจในโครงการ ว่าอาจจะไม่ได้รับเงินสนับสนุน จึงไม่ให้ความร่วมมือ เกิดความเบื่อหน่าย และบางส่วนส่งผลให้ภายในคณะกรรมการของโครงการและแกนนำของชุมชนเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำให้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

การจัดสรรงบประมาณในโครงการควรสอดคล้องกับปฏิทินกิจกรรมของโครงการ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 8/105 พฤษภาคม 2016
5
พฤษภาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการ วางแผนเตรียมการทำกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ผู้เข้าประชุมลงทะเบียน 2) ผู้ใหญ่บ้าน และผู้รับผิดชอบโครงการพบปะทักทายชาวบ้าน 3) ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องปัญหาความล่าช้าของงบประมาณในงวดที่ 2 ที่ยังไม่เข้าบัญชีโครง แต่ย้ำให้คณะกรรมการโครงการและแกนนำชุมชนช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านเข้าใจว่าให้ใจเย็น ๆ รอหน่อย เพราะพี่เลี้ยงยืนยันว่างบประมาณงวดที่ 2 เข้าแน่นอน
4) คณะกรรมโครงการชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่าย แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมกันหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ 5) ผู้เช้าประชุมร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 6) กำหนดผู้รับผิดชอบในกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าประชุมจำนวน 30 คน รับทราบและเข้าใจผลการดำเนินการของโครงการ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณในโครงการที่ออกล่าช้า
  • ผลลัพธ์ : ผู้เข้าประชุมร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้น จำนวนแกนนำที่มีความตั้งใจในการทำโครงการเพิ่มขึ้น ดูได้จากมีแกนนำที่อาสาทำงานส่วนรวมของโครงการเพิ่มขึ้น มีการเสียสละมากขึ้น เข้าใจธรรมชาติของการทำงานส่วนรวมมากขึ้น หันหน้าเข้าหากันพูดคุยเตรียมการกันมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณในรอบที่ 2 เข้าบัญชีโครงการล่าช้า ทำให้คณะกรรมการโครงการต้องเดือดร้อน ในการหางบประมาณมาทดรองจ่ายในโครงการ เพื่อให้กิจการดำเนินไปได้ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวทำให้ชาวบ้านและคณะกรรมการบางส่วนเกิดความไม่แน่ใจในโครงการ ว่าอาจจะไม่ได้รับเงินสนับสนุน จึงไม่ให้ความร่วมมือ เกิดความเบื่อหน่าย และบางส่วนส่งผลให้ภายในคณะกรรมการของโครงการและแกนนำของชุมชนเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำให้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

การกำหนดกรอบเวลาในโครงการต้องสอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณในโครงการ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดกิจกรรมออกกำลังกาย เก็บข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพ1 พฤษภาคม 2016
1
พฤษภาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

1) ส่งเสริมให้สามาชิกในชุมชนรักการออกกำลังกาย และส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดีปราศจากโรคเรื้อรัง2) นำข้อมูลด้านสุขภาพของชาวบ้านท่าแห้งมาเปรียบผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายในแต่ละช่วงเวลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลาประมาณ 16.30 น. ชาวบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อออกกำลังกาย ณ บริเวณศาลาหมู่ 3 บ้านท่าแห้ง สำหรับผู้ที่เป็นหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังทางคณะกรรมการโครงการนำโดย อสม. จะมานั่งให้คำแนะนำและวัดความดันโลหิต ตลอดจนสอบถามอาการเพื่อติดตามผล และเฝ้าระวังอาการ จากนั้นเวลาประมาณ 17.00 น. จะร่วมกันออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคประมาณ 45-60 นาที โดยจะมีคณะนำเต้นแอโรบิค 1-5 คน 2) การเต้นแอโรบิคจะมีการ Warm Up และ Warm Down อย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อลดการบาดเจ็บและเพื่อความปลอดภัยของผู้ออกกำลังกายที่มีโรคประจำตัว ซึ่งในช่วงการออกกำลังกายต้องดำเนินไปอย่างน้อย 30 นาที ในกิจกรรมดังกล่าวจะมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย น้ำกระเจี๊ยบ หรือน้ำดื่มไว้คอยบริการผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม 3) นอกจากนี้ยังประชาสัมพันธ์ให้คนในบ้านท่าแห้งทุกเพศทุกวัย มาออกกำลังกายพร้อมกัน ซึ่งทำให้มีเยาวชนมาออกกำลังกายด้วยการเล่นฟุตบอล และนอกจากนั้นยังมีชาวบ้านหันมาใช้เครื่องออกกำลังกายที่มีอยู่เดิมในหมู่บ้าน ถึงแม้จะมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร ส่วนชาวบ้านผู้ชายได้นิยมออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานเพิ่มขึ้น ทำให้กระแสการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในบ้านท่าแห้งอย่างต่อเนื่อง และจากการเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้น ได้ผลดังนี้ ความดันโลหิตและปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น น้ำหนักลดลง 0.5 - 3 ก.ก. จำนวน 3 คน จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเห็นเหมือนกัน คือ มีความเครียดลดลง นอนหลับสนิทขึ้น สบายตัว ทำกิจวัตรประจำวันคล่องตัวขึ้น ส่วนผู้ที่เคยได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายส่วนใหญ่หายจากการบาดเจ็บแล้ว โดยทางคณะกรรมการก็ยังพยายามแนะนำในเรื่องการแต่งกายในขณะออกกำลังกาย เช่น รองเท้า ต้องเลือกให้เหมาะกับประเภทของกิจกรรมที่ออกกำลังกาย รวมทั้งประสานกับผู้นำเต้นแอโรบิคให้เพิ่มระยะเวลาในการอบอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อลดการบาดเจ็บของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเหมือนเดิม 4) เยาวชนรุ่นใหม่ รุ่นลูกหลานได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ทางคณะกรรมการโครงการและกลุ่มรักษ์สุขภาพ ได้ส่งเสริมด้วยการให้เยาวชนกลุ่มดังกล่าวเต้นนำคู่กับผู้นำเต้นแอโรบิค ที่เหลือก็จะให้ยืนแถวหน้าเพื่อให้สะดวกต่อการเต้นตามผู้นำเต้นแอโรบิค นอกจากนี้ก็ได้พูดคุยกับผู้ปกครองเยาวชนกลุ่มดังกล่าวว่าต้องให้การสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายของเยาวชนกลุ่มนี้ เพื่อต่อไปพวกเขาจะได้มีสุขภาพดี เพราะสุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องออกกำลังกาย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อย 30 คน **ยอดวันจัดกิจกรรมออกกำลังกายสะสม - ช่วงที่ 1 รวม 24 วัน - ช่วงที่ 2 รวม 27 วัน - ช่วงที่ 3 รวม 26 วัน รวมจำนวนวันสะสม 24+27+26=77 วัน (เป้าหมายอย่างน้อย 100 วัน) ผลลัพธ์ : 1) ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างมีความสุข เต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเดิมอยู่ในบ้านตามลำพังไปวัน ๆ 2) ชาวบ้านมีพฤติกรรมในการออกกำลังกายที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ไม่เคยออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายแต่ไม่สม่ำเสมอ ก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น จะเข้าใจถึงความสำคัญของการออกกำลังกายว่ามีผลดีต่อสุขภาพหรือต่ออาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่อย่างไรบ้าง มีการชักชวนกันปากต่อปากให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสมัครใจ 3) นอกจากนี้ทางคณะกรรมการโครงการพยายามที่จะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ลองออกกำลังกายแบบใหม่บ้าง เช่น มีการใช้ไม้พลองประกอบการเต้นแอโรบิค เป็นต้น จากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาทุกครั้งในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ในบางสัปดาห์ได้มีการเพิ่มวันออกกำลังกายเป็น 4-5 วัน 4) เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสุขภาพภายในตำบลนาแว ได้มีการร่วมกันไปออกำลังกายในสถานที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดกลุ่มออกกำลังกายของตำบลนาแวขึ้นเมื่อมีกิจรรมกรรมส่วนรวมขึ้นในวันสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในวัด โรงเรียน หรือกิจกรรมวันในสำคัญต่าง ๆเช่น วันแม่ วันพ่อแห่งชาติ ก็รวมตัวกันไปร่วมกิจกรรม ด้วยการเต้นแอโรบิคโชว์ความพร้อมเพรียงให้ผู้คนบ้านใกล้เรือนเคียงได้ประจักษ์ เป็นเพิ่มสีสันให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในตำบลนาแวได้เป็นอย่างดีทีเดียว 5) ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายมีความรัก สามัคคีกันมากขึ้นกว่าเดิม 6) ในวันที่จัดกิจกรรมออกำลังกาย เป็นช่วงเวลาที่สามารถประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ให้ชาวบ้านได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารทางราชการ ข่าวสารของโครงการ สสส. ข่าวสารด้านสังคม งานศพ งานบวช งานแต่งงาน ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ 7) ชาวบ้านสามารถใช้สถานที่จัดกิจกรรมออกำลังกายมาเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ตลอดจนสินค้าอื่น ๆ ที่มีในชุมชน 8) เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวบ้านท่าแห้งกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาออกกำลังกายร่วมกัน 9) เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านต่าง ๆ ในบ้านท่าแห้งและชุมชนใกล้เคียง มีการแบ่งปัน มีการช่วยเหลือกันมากขึ้น 10) ลดความรุนแรงของความขัดแย้งที่มีอยู่เดิมในบ้านท่าแห้ง หันหน้ามาพูดคุยกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น 11) เกิดแกนนำและสมาชิกของกลุ่มออกำลังกายเพิ่มขึ้น 12) เยาวชนรุ่นใหม่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเพิ่มขึ้น และมีแววสามารถเป็นผู้นำเต้นแอโรบิคได้ในอนาคต ฯลฯ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1) ชาวบ้านอย่างน้อย 12 คน 2) กลุ่มที่เป็นโรคและมีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอย่างน้อย 15 คน 3) อสม. อย่างน้อย 1 คน 4) เยาวชนอย่างน้อย 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

อากาศร้อนทำให้เวลาในการทำเริ่มทำกิจกรรมล่าช้าไปประมาณครึ่งชั่วโมง บางวันส่งผลให้จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรมลดลง เนื่องจากบางคนมีโรคประจำตัวทำให้เหนื่อยง่าย ไม่สามารถออกกำลังกายจนครบตามเวลาที่กำหนด ทางคณะกรรมการได้แก้ไขด้วยการคุยกับผู้ที่ทำหน้าที่นำเต้นให้ปรับจังหวะเพลงที่ใช้ประกอบการเต้นแอโรบิคให้มีจังหวะช้าลงกว่าปกติ และท่าทางที่ใช้ประกอบการเต้นให้ลดความรุนแรงลงบ้าง ประกอบกับต้องเน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสำคัญกับการวอร์มทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย อย่าหยุดทันทีต้องค่อย ๆ ผ่อน ต้องสังเกตร่างกายของตนเอง ยึดหลักความไม่ประมาท ต้องประมาณตนเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสำคัญ นอกจากนี้ทางคณะกรรมการได้เพิ่มน้ำแข็งและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพให้เพียงพอกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 7/105 เมษายน 2016
5
เมษายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการ วางแผนเตรียมการกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ผู้เข้าประชุมลงทะเบียน 2) ผู้ใหญ่บ้าน และผู้รับผิดชอบโครงการพบปะทักทายชาวบ้าน 3) ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องงบประมาณของโครงการที่ยังไม่เข้าบัญชี เน้นย้ำให้คณะกรรมการและแกนนำช่วยชี้แจ้งชาวบ้านปากต่อปากให้เข้าใจเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว อย่าไปพูดในทางลบ ให้เชื่อมั่นเพราะได้รับการยืนยันจากพี่เลี้ยงว่าเงินงวดที่ 2 เข้าบัญชีแน่นอน 4)คณะกรรมโครงการชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่าย แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมกันหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ 5) ผู้เช้าประชุมร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 6) กำหนดผู้รับผิดชอบในกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าประชุมจำนวน 30 คน
  • ผลลัพธ์ :
    1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการมากขึ้น รับทราบและเข้าใจผลการดำเนินการของโครงการที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณในโครงการที่ออกล่าช้า 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น 3) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีความตั้งใจให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์เพิ่มขึ้น 4) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่อาสาทำงานเพื่อโครงการเพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณในรอบที่ 2 เข้าบัญชีโครงการล่าช้า ทำให้คณะกรรมการโครงการต้องเดือดร้อน ในการหางบประมาณมาทดรองจ่ายในโครงการ เพื่อให้กิจกรรมสามารถดำเนินไปได้ โดยมีข้อสรุปว่าจะหยุดกิจกรรมอื่นทั้งหมด แต่ยังคงดำเนินการกิจกรรมออกกำลังกายต่อไป ซึ่งสาเหตุดังกล่าวทำให้ชาวบ้านและคณะกรรมการบางส่วนเกิดความไม่แน่ใจในโครงการ ว่าอาจจะไม่ได้รับเงินสนับสนุน จึงไม่ให้ความร่วมมือ เกิดความเบื่อหน่าย และบางส่วนส่งผลให้ภายในคณะกรรมการของโครงการและแกนนำของชุมชนเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำให้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

การกำหนดกรอบเวลาในโครงการต้องสอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณในโครงการ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม26 มีนาคม 2016
26
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน
  2. อ.อภิวัฒน์ ไชยเดช กล่าวทักทายต้อนรับพูดคุยวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้เพื่อให้พื้นที่ทราบว่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมไปแล้วประมาณ 6 เดือนในพิ้นที่มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น คน สภาพแวดล้อม ในชุมชน ระบบการทำงานกระบวนการต่างๆ
  3. อ.กำไล สมรักษ์ พูดคุยชี้แจงเพิ่มเติ่ม และให้ทุกพื้นที่ช่วยกันสรุป ทุกคนแล้วนำมารวมเป็นของพื้นที่ตนเอง ส่งให้พี่เสี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงช่วยกันสรุปผลการแปลงเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ สรุปภาพรมของพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการโครงการจำนวน 2 คน ร่วมแลกปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการดำเนินงานของโครงการ ผลลัพธ์ : 1) ผลการถอดบทเรียนของพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลง คือ ชาวบ้านมีการพูดคุยกันมากขึ้น มีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น ทำให้เข้าใจปัญหาของตนเองเพิ่มขึ้น ร่วมทำแผน ร่วมเรียนรู้ ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้ในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ดีขึ้นในชุมชน โดยมีการปลูกพืชผักสวนเครัวเพื่อใช้ในครัวเรือนมากขึ้น มีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เช่น เอาใจใส่เรื่องอาหารการกิน หันมาออกกำลังกายมากขึ้น มีการพูดคุยแบ่งปันกันเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ด้านสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเดิมพฤติกรรมแบบนี้จะไม่ค่อยเกิดขึ้นในบ้านท่าแห้ง เป็นต้น 2) คณะกรรมการเกิดการเรียนรู้และมีความเข้าใจกระบวนการในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการในโครงการของตนเองได้มากขึ้น 3) ตัวแทนคณะกรรมการของโครงการที่เข้าอบรมมีกำลังใจในการทำกิจกรรมของโครงการมากขึ้น เพราะหลังจากพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน อาจจะเห็นว่าบางโครงการมีความพร้อมน้อยกว่าเรา มีปัญหาและอุปสรรคมากกว่าเราก็ยังมีความมุ่งมั่นที่จะทำโครงการให้สำเร็จ ดังนั้นตัวแทนโครงการการและทีมพี่เลี้ยงทีเข้ามาร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนต่างเป็นกำลังใจ แบ่งปันประสบการณ์ให้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดเป็นทีมที่มีพลังที่มีความมุ่งมั่นที่จะสานฝันทำกิจกรรมในโครงการให้สำเร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 6/105 มีนาคม 2016
5
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการ วางแผนเตรียมการกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ผู้เข้าประชุมลงทะเบียน 2) ผู้ใหญ่บ้าน และผู้รับผิดชอบโครงการพบปะทักทายชาวบ้าน 3) ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องงบประมาณของโครงการที่ยังไม่เข้าบัญชี เน้นย้ำให้คณะกรรมการและแกนนำช่วยชี้แจ้งชาวบ้านปากต่อปากให้เข้าใจเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว อย่าไปพูดในทางลบ ให้เชื่อมั่นเพราะได้รับการยืนยันจากพี่เลี้ยงว่าเงินงวดที่ 2 เข้าบัญชีแน่นอน 4)คณะกรรมโครงการชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่าย แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมกันหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ 5) ผู้เช้าประชุมร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 6) กำหนดผู้รับผิดชอบในกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลผลิต : ผู้เข้าประชุมจำนวน 30 คน
  • ผลลัพธ์ :
    1) ผู้เข้าประชุมร่วมกันคิด รับทราบและเข้าใจผลการดำเนินการของโครงการ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณในโครงการที่ออกล่าช้า 2) ผู้เข้าประชุมมีส่วนร่วมมากขึ้น เห็นได้จากมีการแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้น มีการอาสาในการช่วยเหลืองานส่วนรวมมากขึ้น มีความตั้งใจในการพูดคุยกันมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณในรอบที่ 2 เข้าบัญชีโครงการล่าช้า ทำให้คณะกรรมการโครงการต้องเดือดร้อน ในการหางบประมาณมาทดรองจ่ายในโครงการ เพื่อให้กิจการดำเนินไปได้ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวทำให้ชาวบ้านและคณะกรรมการบางส่วนเกิดความไม่แน่ใจในโครงการ ว่าอาจจะไม่ได้รับเงินสนับสนุน จึงไม่ให้ความร่วมมือ เกิดความเบื่อหน่าย และบางส่วนส่งผลให้ภายในคณะกรรมการของโครงการและแกนนำของชุมชนเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำให้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

การจัดสรรงบประมาณในโครงการต้องสอดคล้องกับปฏิทินกิจกรรมในโครงการ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดกิจกรรมออกกำลังกาย เก็บข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพ1 มีนาคม 2016
1
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

1) ส่งเสริมให้สามาชิกในชุมชนรักการออกกำลังกาย และส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดีปราศจากโรคเรื้อรัง2) นำข้อมูลด้านสุขภาพของชาวบ้านท่าแห้งมาเปรียบผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายในแต่ละช่วงเวลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลาประมาณ 16.30 น. ชาวบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อออกกำลังกาย ณ บริเวณศาลาหมู่ 3 บ้านท่าแห้ง สำหรับผู้ที่เป็นหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังทางคณะกรรมการโครงการนำโดย อสม. จะมานั่งให้คำแนะนำและวัดความดันโลหิต ตลอดจนสอบถามอาการเพื่อติดตามผล และเฝ้าระวังอาการ จากนั้นเวลาประมาณ 17.00 น. จะร่วมกันออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคประมาณ 45-60 นาที โดยจะมีคณะนำเต้นแอโรบิค 1-5 คน 2) การเต้นแอโรบิคจะมีการ Warm Up และ Warm Down อย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อลดการบาดเจ็บและเพื่อความปลอดภัยของผู้ออกกำลังกายที่มีโรคประจำตัว ซึ่งในช่วงการออกกำลังกายต้องดำเนินไปอย่างน้อย 30 นาที ในกิจกรรมดังกล่าวจะมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย น้ำกระเจี๊ยบ หรือน้ำดื่มไว้คอยบริการผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม 3) นอกจากนี้ยังประชาสัมพันธ์ให้คนในบ้านท่าแห้งทุกเพศทุกวัย มาออกกำลังกายพร้อมกัน ซึ่งทำให้มีเยาวชนมาออกกำลังกายด้วยการเล่นฟุตบอล และนอกจากนั้นยังมีชาวบ้านหันมาใช้เครื่องออกกำลังกายที่มีอยู่เดิมในหมู่บ้าน ถึงแม้จะมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร ส่วนชาวบ้านผู้ชายได้นิยมออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานเพิ่มขึ้น ทำให้กระแสการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในบ้านท่าแห้งอย่างต่อเนื่อง และจากการเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้น ได้ผลดังนี้ ความดันโลหิตและปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น น้ำหนักลดลง 0.5 - 3 ก.ก. จำนวน 5 คน จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเห็นเหมือนกัน คือ มีความเครียดลดลง นอนหลับสนิทขึ้น สบายตัว ทำกิจวัตรประจำวันคล่องตัวขึ้น ส่วนผู้ที่เคยได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายส่วนใหญ่หายจากการบาดเจ็บแล้ว โดยทางคณะกรรมการก็ยังพยายามแนะนำในเรื่องการแต่งกายในขณะออกกำลังกาย เช่น รองเท้า ต้องเลือกให้เหมาะกับประเภทของกิจกรรมที่ออกกำลังกาย รวมทั้งประสานกับผู้นำเต้นแอโรบิคให้เพิ่มระยะเวลาในการอบอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อลดการบาดเจ็บของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเหมือนเดิม 4) เยาวชนรุ่นใหม่ รุ่นลูกหลานได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ทางคณะกรรมการโครงการและกลุ่มรักษ์สุขภาพ ได้ส่งเสริมด้วยการให้เยาวชนกลุ่มดังกล่าวเต้นนำคู่กับผู้นำเต้นแอโรบิค ที่เหลือก็จะให้ยืนแถวหน้าเพื่อให้สะดวกต่อการเต้นตามผู้นำเต้นแอโรบิค นอกจากนี้ก็ได้พูดคุยกับผู้ปกครองเยาวชนกลุ่มดังกล่าวว่าต้องให้การสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายของเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อต่อไปจะได้มีสุขภาพดี เพราะสุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องออกกำลังกาย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อย 30 คน **ยอดวันจัดกิจกรรมออกกำลังกายสะสม - ช่วงที่ 1 รวม 24 วัน - ช่วงที่ 2 รวม 27 วัน รวมจำนวนวันสะสม 24+27=51 วัน (เป้าหมายอย่างน้อย 100 วัน) ผลลัพธ์ : 1) ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างมีความสุข เต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเดิมอยู่ในบ้านตามลำพังไปวัน ๆ 2) ชาวบ้านมีพฤติกรรมในการออกกำลังกายที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ไม่เคยออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายแต่ไม่สม่ำเสมอ ก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น จะเข้าใจถึงความสำคัญของการออกกำลังกายว่ามีผลดีต่อสุขภาพหรือต่ออาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่อย่างไรบ้าง มีการชักชวนกันปากต่อปากให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสมัครใจ 3) นอกจากนี้ทางคณะกรรมการโครงการพยายามที่จะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ลองออกกำลังกายแบบใหม่บ้าง เช่น มีการใช้ไม้พลองประกอบการเต้นแอโรบิค เป็นต้น จากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาทุกครั้งในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ในบางสัปดาห์ได้มีการเพิ่มวันออกกำลังกายเป็น 4-5 วัน 4) เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสุขภาพภายในตำบลนาแว ได้มีการร่วมกันไปออกำลังกายในสถานที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดกลุ่มออกกำลังกายของตำบลนาแวขึ้นเมื่อมีกิจรรมกรรมส่วนรวมขึ้นในวันสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในวัด โรงเรียน หรือกิจกรรมวันในสำคัญต่าง ๆเช่น วันแม่ วันพ่อแห่งชาติ ก็รวมตัวกันไปร่วมกิจกรรม ด้วยการเต้นแอโรบิคโชว์ความพร้อมเพรียงให้ผู้คนบ้านใกล้เรือนเคียงได้ประจักษ์ เป็นเพิ่มสีสันให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในตำบลนาแวได้เป็นอย่างดีทีเดียว 5) ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายมีความรัก สามัคคีกันมากขึ้นกว่าเดิม 6) ในวันที่จัดกิจกรรมออกำลังกาย เป็นช่วงเวลาที่สามารถประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ให้ชาวบ้านได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารทางราชการ ข่าวสารของโครงการ สสส. ข่าวสารด้านสังคม งานศพ งานบวช งานแต่งงาน ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ 7) ชาวบ้านสามารถใช้สถานที่จัดกิจกรรมออกำลังกายมาเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ตลอดจนสินค้าอื่น ๆ ที่มีในชุมชน 8) เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวบ้านท่าแห้งกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาออกกำลังกายร่วมกัน 9) เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านต่าง ๆ ในบ้านท่าแห้งและชุมชนใกล้เคียง มีการแบ่งปัน มีการช่วยเหลือกันมากขึ้น 10) ลดความรุนแรงของความขัดแย้งที่มีอยู่เดิมในบ้านท่าแห้ง หันหน้ามาพูดคุยกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น 11) เกิดแกนนำและสมาชิกของกลุ่มออกำลังกายเพิ่มขึ้น 12) เยาวชนรุ่นใหม่ รุ่นลูกหลานได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ฯลฯ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1) ชาวบ้านอย่างน้อย 12 คน 2) กลุ่มที่เป็นโรคและมีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอย่างน้อย 15 คน 3) อสม. อย่างน้อย 1 คน 4) เยาวชนอย่างน้อย 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณในโครงการรอบ 2 เข้าล่าช้าทำให้แกนนำต้องสำรองจ่ายไปก่อนเพื่อให้กิจกรรมการออกกำลังกายในโครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

งบประมาณแต่ละงวดควรเข้าในตรงเวลา สอดคล้องกับกิจกรรมที่จัดในโครงการ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การประชุมจัดทำรายงานปิดงวดที่ 1 และคืนเงินเปิดบัญชี13 กุมภาพันธ์ 2016
13
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

จัดทำรายงานปิดงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 9.00 น. เริ่มเข้าประชุมเพื่อรับฟังรายละเอียดการทำรายงานเพื่อปิดโครงการงวดที่ 1 โดยในวันนี้ทุกโครงการจะต้องปิดโครงการงวดที่ 1 หากโครงการใดพร้อมก็ให้นำเอกสารปิดงวดที่ 1 พร้อมรายงานใน Website ไปให้เจ้าหน้าที่ สสส. ตรวจสอบ หากโครงการใดยังไม่เรียบร้อยก็ให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย นอกจากนั้นทาง สสส. ได้แจ้งให้ทุกโครงการเข้าร่วมกิจกรรมงานคนใต้สร้างสุข ณ ห้องประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยใช้งบประมาณของแต่ละโครงการ ซึ่งสามารถเบิกค่าที่พัก่ และค่าเดินทางได้ตามระเบียบ และได้ร่วมกันกำหนดวันปิดงวดที่ 2 ในวันที่ 15-16 ต.ค. 59

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เข้าร่วมจัดทำรายงานการปิดงบงวดที่ 1 ซึ่งเมื่อตรวจสอบ จำเป็นต้องปรับปรุงเอกสารบางส่วน และจัดพิมพ์รายงานใน Website เพิ่มเติม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

3) วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลเพื่อทบทวนปัญหาของชุมชน10 กุมภาพันธ์ 2016
10
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

วิเคราะห์ข้อมูล และแปลผลเพื่อทบทวนปัญหาของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. ผู้ใหญ่บ้าน นายมีชัย มีศรี กล่าวทักทายชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุม หลังจากนั้นนายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผลการดำเนินของกิจกรรมที่ผ่านมา หลังจากนั้นตัวแทนคณะกรรมการ นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ ได้นำเสนอข้อมูลด้านสุขภาพ และด้านเศรษฐกิจระดับครัวเรือนให้ชุมชนได้รับทราบ หลังจากนั้นก็เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ซักถาม/แสดงความคิดเห็น หลังจากนั้นได้ขอความร่วมมือให้ชาวบ้านช่วยให้ขอมูลเพิ่มเติม และเป็นข้อมุลที่เป็นความจริง เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาหมู่บ้านท่าแห้งต่อไป ปิดประชุมเวลา 15.45 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนของชุมชนบ้านท่าแห้ง ม.3 ต.นาแว อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรม มีรายละเอียดดังนี้

  1. ด้านสุขภาพ มีชาวบ้านที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน/โรคไขมันในเลือดสูง จำนวน 34 คน
  2. ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านส่วนใหญ่รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เกินกว่า 50 ครัวเรือน เป็นหนี้ ธกส. นอกจากนี้กว่า 20 ครัวเรือนเป็นหนี้นอกระบบ
  3. จากการเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ลักษณะการประกอบอาชีพในชุมชนเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เกือบ 100% เป็นการทำสวนยาง แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจราคายางตกต่ำ จึงทำให้ชาวบ้านในชุมชนประสบปัญหาด้านค่าครองชีพ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ปัญหาหนี้สินนอกระบบ ปัญหาสุขภาพเนื่องจากความเครียด เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 94 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ แกนนำ และชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การให้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนชาวบ้านไม่ค่อยให้ข้อเท็จจริง เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่จะเก็บเป็นความลับไม่เปิดเผย เกรงว่าจะเป็นผลเสียกับตนเอง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พี่เลี้ยงติดตามการดำเนินงานตรวจสอบเอกสารเตรียมปิดงวด9 กุมภาพันธ์ 2016
9
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงานตรวจสอบเอกสารเตรียมปิดงวด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-พี่เลี้ยง และผู้รับผิดชอบโครงการ มาประชุมพบป่ะกันเพื่อเตรียมปิดงวดที่ 1 ของการดำเนินงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิตพี่เลี้ยง และผู้รับผิดชอบโครงการพบปะกัน 1ครั้ง และได็พูดคุยถึงการดำเนินงานเตรียนมปิดงวดโครงการงวดที่ 1 ผลลัพธ์ เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างพี่เลี้ยงและเจ้าของโครงการในการจัดเตรีมเอกสารหลักฐานในการปิดงวด ว่าประกอบด้วยอะไรบ้างพบว่าหลักฐานเอกสารบางอย่างไม่สมบูรณ์ พี่เลี้ยงได้แนะนำให้รวบรวมเพิ่มเติม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

  เจ้าของโครงการ เลขาโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เอกสารายจ่ายบางอย่างไม่ถูกต้องเช่น ใบเสร็จรับเงิน จะต้องมีตราชื่อร้าน ที่ทำการขายของมา แนวทางการแก้ไขโดยการแนะนำให้หาเอกสารเพิ่มเติม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

การเขียนรายงาน พื้นที่ไม่ค่อยเข้าใจในการบันทึกกิจกรรม

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-เตรียมเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 14กพ 59

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 5/108 กุมภาพันธ์ 2016
8
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ การดำเนินงาน และกระบวนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 10.30 น. ผู้ใหญ่บ้าน นายมีชัย มีศรี กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นตัวแทนคณะกรรมการ นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ กล่าวถึงผลการดำเนินในกิจกรรมที่ผ่าน ปัญหาที่เกิดขึ้น และเสนอให้คณะกรรมการร่วมกันเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในกิจกรรมต่อไปด้วย หลังจากนั้นเสนอให้ที่ประชุมไปช่วยกันหาแนวทางในการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ในการเลี้ยงปลาและปลูกผักปลอดสารพิษ เนื่องจากเป็นกิจกรมต่อไป เสนอให้ที่ประชุมร่วมคิดกติกาในการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผลประโยชน์อย่างเสมอภาพ พร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม ในระหว่างการประชุมได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมซักถาม/แสดงความคิดเห็น ปิดประชุมเวลา 16.10 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ ร่วมกันเสนอแนวทางในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันรับผลประโยชน์ในการรวมกลุ่มเลี้ยงปลาและปลูกผักปลอดสารพิษ โดยมีหลักคิดที่ว่าผู้ที่รวมกลุ่มดังกล่าวจะต้องแบ่งผลผลิตส่วนหนึ่งให้กับส่วนรวม ซึ่งจะแบ่งในรูปแบบไหนค่อยให้ชาวบ้านช่วยกันคิดหาแนวทางอีกทีในที่ประชุมในกิจกรรมรวมกลุ่มดังกล่าว

คณะกรรมการ และแกนนำต้องให้ความสำคัญในการชี้แจงผลดีที่จะได้ในการรวมกลุ่มของชาวบ้านเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เพราะชุมชนจะเข้มแข็งได้ต้องอาศัยกลุ่มในชุมชนเป็นกลไกในการขับเคลื่อน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ และแกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

คณะกรรมการ และแกนนำต้องให้ความสำคัญในการชี้แจงผลดีที่จะได้ในการรวมกลุ่มของชาวบ้านเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เพราะชุมชนจะเข้มแข็งได้ต้องอาศัยกลุ่มในชุมชนเป็นกลไกในการขับเคลื่อน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

2) ลงมือเก็บข้อมูลเพื่อทบทวนปัญหาของชุมชน4 กุมภาพันธ์ 2016
4
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

จัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ และด้านเศรษฐกิจระดับครัวเรือนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลของบ้านท่าแห้ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการและแกนนำร่วมกันคิดวิธีการ ในการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ และด้านการเงินของครัวเรือน โดยร่วมกันกำหนดให้หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนครัวเรือน หรือคณะกรรมการร่วมกันเก็บข้อมูล ซึ่งในการเก็บข้อมูลจะมีทั้งการเก็บโดยตรงตามบ้านของชาวบ้าน เก็บก่อนการเริ่มกิจกรรมในแต่ละครั้ง หรือให้ชาวบ้านกรอกข้อมูลพร้อมกันหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมหรือเสร็จสิ้นการอบรมในแต่ละกิจกรรมจนการเก็บข้อมูลดังกล่าวเสร็จสิ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ แต่มีบางส่วนที่ไม่ให้ความร่วมมือ ทางคณะกรรมการแก้ปัญหาโดยวิธีการให้คณะกรรมการที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้านที่ไม่ให้ความร่วมมือไปเป็นผู้ทำความเข้าใจและลงมือเก็บปัญหาที่บ้านพักของชาวบ้านท่านนั้น ก็สามารถแก้ปัญหาไปได้บางส่วน

ทั้งนี้คณะกรรมการและแกนนำชุมชนต้องเร่งทำความเข้าใจกับชาวบ้านว่าหากหมู่บ้านมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการเงินของแต่ละครัวเรือน ชาวบ้านจะได้ประโยชน์อย่างไร ถ้าไม่ทำการเก็บข้อมูลดังกล่าวชาวบ้านจะเสียอะไร และจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นในอนาคต

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ แกนนำชุมชน และชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

คณะกรรมการและแกนนำชุมต้องเร่งทำความเข้าใจกับชาวบ้านว่าหากหมู่บ้านมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการเงินของแต่ละครัวเรือน ชาวบ้านจะได้ประโยชน์อย่างไร ถ้าไม่ทำการเก็บข้อมูลดังกล่าวชาวบ้านจะเสียอะไร และจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นในอนาคต

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดตั้งกลุ่มผักปลอดสารพิษ และจัดกิจกรรมค้นหาต้นแบบการปลูกผักปลอดสารพิษ2 กุมภาพันธ์ 2016
2
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

1) เพื่อจัดตั้งกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ2) เพื่อจัดกิจกรรมค้นหาต้นแบบการปลูกผักปลอดสารพิษ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มกิจกรรม 10.00 น. ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทายและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผลการดำเนินการของกิจกรรมที่ผ่านมา ต่อมาตัวแทนคณะกรรมการชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนกิจกรรมในครั้งนี้ 1) มีการเขียนใบสมัครในการเข้ากลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ 2) ร่วมกันกำหนดกติกาของกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ และจัดกิจกรรมหาต้นแบบในการปลูกผักปลอดสารพิษซึ่งจะมีการประกวด 2 ครั้ง 3) มีการจัดร่วมกันจัดตั้งแกนนำของกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ได้แก่ 1.นายประทีป สโมสร 2.นางเนย ปลอดภัย 3.นางสุภาพร ช่างคิด หลังจากนั้นมีการถ่ายทอดประสบการณ์ปลูกผักสร้างรายได้เสริม โดยผู้รู้ในชุมชน ได้แก่ นางเนย ปลอดภัย และ นางสุภาพร ช่างคิดซึ่งทั้ง 2 ท่านปัจจุบันมีความเชี่ยวชาญด้านการปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ 4) ชี้แจ้งรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านเห็นด้วยว่าในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ราคายางตกต่ำรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพเสริม และมีมติที่จะเลือกการปลูกผักปลอดสารพิษเป็นอาชีพเสริมแต่ในช่วงแรกจะเป็นการปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน อย่างน้อยก็สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ นอกจากนี้ยังได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัยกับสุขภาพ เมื่อมีความเชี่ยวชาญก็ค่อยขยายฐานการผลิตเป็นการปลูกเพื่อหารายได้เสริม โดยมีแนวคิดในการสร้างร้านค้าเพื่อจำหน่ายผลผลิตที่เกิดขึ้นในชุมชนต่อไปในอนาคต

1) การปลูกพืชผักสวนครัวในชุมชนส่วนหนึ่งยังมีใช้สารเคมี ดังนั้นจึงต้องให้ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิธีการจากการปลูกผักสวนครัวที่พึ่งสารเคมี ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มาเป็นเกษตรแบบอินทรีย์ซึ่งมีแต่ผลดี และกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในขณะนี้หากชุมชนสามารถเลิกการพึ่งพาสารเคมีได้ก็จะเป็นแนวทางในการสร้างอาชีพเสริมต่อไปได้ในอนาคต

2) ชาวบ้านบางท่านไม่ลงชื่อเข้าร่วมประชุม ทางคณะกรรมต้องทำความเข้าใจและมอบหมายให้มีผู้ตรวจสอบขณะมีการทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ แกนนำชุมชน และชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1) การปลูกพืชผักสวนครัวในชุมชนส่วนหนึ่งยังมีใช้สารเคมี ดังนั้นจึงต้องให้ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิธีการจากการปลูกผักสวนครัวที่พึ่งสารเคมี ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มาเป็นเกษตรแบบอินทรีย์ซึ่งมีแต่ผลดี และกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในขณะนี้หากชุมชนสามารถเลิกการพึ่งพาสารเคมีได้ก็จะเป็นแนวทางในการสร้างอาชีพเสริมต่อไปได้ในอนาคต 2) ชาวบ้านบางท่านไม่ลงชื่อเข้าร่วมประชุม ทางคณะกรรมต้องทำความเข้าใจและมอบหมายให้มีผู้ตรวจสอบขณะมีการทำกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดตั้งกลุ่มเลี้ยงปลาในชุมชน1 กุมภาพันธ์ 2016
1
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

รวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงปลา เพื่อสร้างอาชีพเสริม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มกิจกรรมเวลา 10.00 น. คณะกรรมการ แกนนำและชาวบ้านมาพร้อมกันที่ศาลาหมู่ 3 บ้านท่าแห้ง ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย จากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านมา และได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นแกนนำของกลุ่มเลี้ยงปลา ได้แก่ 1.นายทวีป มิตตะกา 2.นายวัชรพงษ์ ไม้ลุ่ย 3.นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ ต่อจากนั้นผู้รู้เรื่องการเลี้ยงปลาในหมู่บ้าน คือ นายทวีป มิตตะกา ซึ่งประกอบอาชีพทำสวนยาง และได้เลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริมมาเป็นเวลาร่วม 10 ปี จึงมีความเชี่ยวชาญเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ จุดเด่นของผู้รู้ท่านนี้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาโดยเน้นการปรับอาหารของปลาเพื่อลดต้นทุนโดยใช้พืชในท้องถิ่น ซึ่งในช่วงนี้เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริมเพื่อเป็นอาหาร และสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว สร้างความสนใจให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนี้ตัวแทนคณะกรรมการได้เสนอให้ชาวบ้านร่วมกันสร้างแนวทางในการรวมกลุ่มเลี้ยงปลาในชุมชน ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าควรจะใช้ท่อซิเมนต์ในการเลี้ยงปลา หรือครอบครัวไหนสะดวกที่จะใช้วัสดุอย่างอื่นก็ได้ แต่จะต้องคืนผลผลิตหรือรายได้ให้กลุ่มเลี้ยงปลาไม่น้อยกว่า 20% ในการขายผลผลิตใน 3 รอบแรก จากนั้นก่อนปิดกิจกรรมได้มีการแจ้งกิจกรรมกามที่จะต้องดำเนินการต่อไป ปิดกิจกรรมเวลา 16.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านเห็นด้วยว่าในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ราคายางตกต่ำรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพเสริม จากกิจกรรมระดมสมองในการสร้างอาชีพเสริม มีมติร่วมกันในการรวมกลุ่มเลี้ยงปลาเพื่อสร้างรายได้เสริม โดยมีความเห็นตรงกันว่าจะใช้ผู้รู้ในชุมชน ได้แก่ นายทวีป มิตตะกา ซึ่งประกอบอาชีพเสริมในการเลี้ยงปลามาเป็นแกนนำในการสร้างกลุ่มขึ้นในชุมชน

เพื่อให้กลุ่มมีความยั่งยืน จำเป็นต้องร่วมกันสร้างกติกาขึ้นในกลุ่มเลี้ยงปลา โดยชาวบ้านเพื่อชาวบ้านในการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค และประเด็นสำคัญคณะกรรมการจะต้องมีการควบคุมให้เป็นไปตามกติกาที่ร่วมกันกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 91 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ แกนนำชุมชน และชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เพื่อให้กลุ่มมีความยั่งยืน จำเป็นต้องร่วมกันสร้างกติกาขึ้นในกลุ่มเลี้ยงปลา โดยชาวบ้านเพื่อชาวบ้านในการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค และประเด็นสำคัญคณะกรรมการจะต้องมีการควบคุมให้เป็นไปตามกติกาที่ร่วมกันกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 4/1023 มกราคม 2016
23
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ การดำเนินงาน และกระบวนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. ผู้ใหญ่บ้าน นายมีชัย มีศรี กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นตัวแทนคณะกรรมการ นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ กล่าวถึงผลการดำเนินในกิจกรรมที่ผ่าน ปัญหาที่เกิดขึ้น และเสนอให้คณะกรรมการร่วมกันเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในกิจกรรมต่อไปด้วย นอกจากนั้นยังมีการสอบถามถึงสภาชุมชนที่จะต้องเกิดขึ้นตามในโครงการ ต่อจากนั้นชี้แจงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไปตามโครงการ พร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม ในระหว่างการประชุมได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมซักถาม/แสดงความคิดเห็น ปิดประชุมเวลา 15.45 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ไม่ค่อยซักถาม/แสดงความคิดเห็น การแบ่งภาระงานส่วนใหญ่ในกิจกรรมต่อไปก็เป็นภาระของคณะกรรมการคนเดิม
  • ในเรื่องของการจัดตั้งสภาชุมชนตามเป้าหมายการดำเนินงานของโครงการ เบื้องต้นทางที่ประชุมเสนอให้ทางคณะกรรมการของโครงการเป็นแกนนำในการสร้างทีมของสภาชุมชนต่อไป ซึ่งยังสรุปไม่ได้เนื่องจากคณะกรรมการของโครงการบางคนติดภารกิจ จึงเสนอให้ผู้ที่เข้าประชุมแจ้งคณะกรรมการโครงการที่ไม่ได้เข้าประชุมทราบด้วย

ปัญหาการที่คณะกรรมการและแกนนำบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในโครงการ สาเหตุหนึ่งที่พบ เนื่องจากคณะกรรมการและแกนนำบางส่วนไม่มีความเข้าใจในรายละเอียดของโครงการ เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ งบประมาณ กฎระเบียบต่าง ๆ ของโครงการ รวมทั้งการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากบุคคลอื่น ดังนั้นคณะกรรมการและแกนนำชุมชนจึงต้องทำความเข้าใจร่วมกัน และต้องศึกษารายละเอียดของโครงการซึ่งทางผู้รับผิดชอบโครงการได้สำเนาให้คณะกรรมการทุกคนแล้ว หากมีข้อสงสัยอะไรต้องนำมาปรึกษากันในที่ประชุมคราวต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ และแกนนำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาการที่คณะกรรมการและแกนนำบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในโครงการ สาเหตุหนึ่งที่พบ เนื่องจากคณะกรรมการและแกนนำบางส่วนไม่มีความเข้าใจในรายละเอียดของโครงการ เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ งบประมาณ กฎระเบียบต่าง ๆ ของโครงการ รวมทั้งการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากบุคคลอื่น ดังนั้นคณะกรรมการและแกนนำชุมชนจึงต้องทำความเข้าใจร่วมกัน และต้องศึกษารายละเอียดของโครงการซึ่งทางผู้รับผิดชอบโครงการได้สำเนาให้คณะกรรมการทุกคนแล้ว หากมีข้อสงสัยอะไรต้องนำมาปรึกษากันในที่ประชุมคราวต่อไป

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

1) เชิญวิทยากรมาอบรมการทำบัญชีครัวเรือนในชุมชน15 มกราคม 2016
15
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีภูมิคุ้มกันด้านเศรษฐกิจ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มอบรมเวลา 10.10 น. ผู้ใหญ่บ้านนายมีชัย มีศรี กล่าวทักทายชาวบ้าน หลังจากนั้นนายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ ชี้แจงรายละเอียดของโครงการที่ผ่านมา พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในโครงการ ต่อจากนั้นตัวแทนคณะกรรมการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่จะจัดขึ้น หลังจากนั้นกล่าวต้อนรับ นายปัญญา ชูศรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ สังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) เริ่มให้ความรู้ด้านแนวคิดการจัดทำบัญชีครัวเรื่อน ความสำคัญของการจัดทำบัญชีครัวเรื้อน การจัดทำบัญชีครัวเรือน ขั้นตอนวิธีการลงบัญชีครัวเรือน ตลอดจนขั้นตอนสำคัญในการทำบัญชีครัวเรือน คือ การวิเคราะห์ข้อมูลของบัญชีครัวเรือน วิทยากรได้ยกกรณีศึกษาทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจยิ่งขึ้น จากนั้นตัวแทนคณะกรรมการได้ย้ำให้ชาวบ้านที่เข้าร่วมอบรมได้ไปปฏิบัติลงบัญชีครัวเรือนจริงกันประมาณ 1 เดือน ต่อจากนั้นจะนัดหมายให้ชาวบ้านได้มาเข้าร่วมกิจกรรม "การช่วยเหลือและวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนของสมาชิกในชุมชน" ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจาการอบรมการทำบัญชีครัวเรือน จากนั้นปิดประชุมเวลาประมาณ 16.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านที่เข้าอบรมเริ่มเข้าใจแนวคิดในการจัดทำบัญชีครัวเรือน วิธีการจัดทำบัญชีครัวเรือน แต่ยังมีบางส่วนที่ยังไม่เห็นความสำคัญและยังต่อต้านการทำบัญชีครัวเรือน โดยให้เหตุผลว่าปัจจุบันรายได้ไม่พอกับรายจ่ายจะทำบัญชีไปเพื่ออะไร

ดังนั้นต้องเน้นสร้างความเข้าใจและปลูกฝังแนวคิดในการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยการให้ความรู้ และมีกลุ่มต้นแบบนำร่องในการสร้างต้นแบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านเห็นภาพและเห็นประโยชน์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 92 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ และแกนนำชุมชน//ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ต้องเน้นสร้างความเข้าใจและปลูกฝังแนวคิดในการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยการให้ความรู้ และมีกลุ่มต้นแบบนำร่องในการสร้างต้นแบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านเห็นภาพและเห็นประโยชน์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

คืนข้อมูลด้านสุขภาพ ให้ความรู้เกี่ยวกับกินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรคเรื้อรัง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น และระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพ13 ธันวาคม 2015
13
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ให้ความรู้ในการป้องกันและดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคเรื้อรัง และร่วมกันหาแนวทางในการรวมกลุ่มสร้างอาชีพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มกิจกรรมเวลา 10.00 น. โดยตัวแทนคณะกรรมการโครงการ ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม ชี้แจงลำดับขั้นตอนในการเข้าร่วมกิจกรรม คือ ผู้ร่วมกิจกรรมเข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและมีการบันทึกผลในเอกสารที่ออกแบบขึ้นเพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลด้านสุขภาพของชุมชน โดยผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี จะได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้นด้วยเป็นพิเศษ ต่อจากนั้นจะเป็นการให้ความรู้ด้านสุขภาพ "กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง" ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก รพ.สต. บ้านควนสวรรค์ โดยคุณฐิติพร ดำอินทร์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ต่อจากนั้นจะมีการให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพฟันในบุคคลทั่วไปและในผู้สูงอายุ โดยคุณนิศานาถ ไกร ตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข และหลังจากนั้นจะมีการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีโอกาสซักถามปัญหาด้านสุขภาพ และก่อนปิดกิจกรรมตัวแทนคณะกรรมการโครงการได้มีการแจกเอกสารให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น หลังจากนั้นตัวแทนคณะกรรมการโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากร สิ้นสุดกิจกรรม 16.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านให้ความสนใจและมาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มใจ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ตระหนักถึงการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรังอยู่แล้ว แต่กลุ่มหนุ่มสาวที่ยังไม่เป็นโรคเรื้อรังไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรม หรือมาลงชื่อแล้วก็กลับบ้านพัก หรือไม่ตั้งใจฟัง ปัญหาสำคัญ คือ ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยมีแนวคิดในการรักษาโรคด้วยยา ไม่เน้นการป้องกันด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับเพศ วัย และโรคประจำตัวที่ตนเป็นอยู่ ขาดการออกกำลังกาย ไม่รู้จักวิธีจัดการความเครียดที่ถูกต้อง

ปัญหา คือ ชาวบ้านไม่รู้จักป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง เน้นการรักษาด้วยยา ไม่ปรับพฤติกรรม สำหรับผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวแล้ว ส่วนชาวบ้านที่ยังไม่เป็นโรคเรื้อรังขาดความตระหนักในการป้องกันและดูแลตนเองเช่นกัน ในปัญหาดังกล่าวผู้นำและแกนนำนชุมชนต้องพยายามส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมในการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายภายในหมู่บ้าน นอกจากนั้นยังต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้น นอกจากนี้ยังต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายสุขภาพภายนอกชุมชน เพื่อหาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพของชาวบ้านในชุมชนบ้านท่าแห้งให้มีสุขภาวะ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 91 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะกรรมการ และแกนนำชุมชน//ชาวบ้านที่มีความเสียงเป็นโรคเรื้อรัง//ชาวบ้านทั่วไป//เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. บ้านควนสวรรค์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ชาวบ้านไม่รู้จักป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง เน้นการรักษาด้วยยา ไม่ปรับพฤติกรรม สำหรับผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวแล้ว ส่วนชาวบ้านที่ยังไม่เป็นโรคเรื้อรังขาดความตระหนักในการป้องกันและดูแลตนเองเช่นกัน ในปัญหาดังกล่าวผู้นำและแกนนำนชุมชนต้องพยายามส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมในการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายภายในหมู่บ้าน นอกจากนั้นยังต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้น นอกจากนี้ยังต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายสุขภาพภายนอกชุมชน เพื่อหาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพของชาวบ้านในชุมชนบ้านท่าแห้งให้มีสุขภาวะ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 3/1012 ธันวาคม 2015
12
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ การดำเนินงาน และกระบวนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 10.15 น.
- ผู้ใหญ่บ้านพบปะชาวบ้าน - ตัวแทนกรรมการโครงการชี้แจง ผลการดำเนินการ ตลอดจนปัญหาของกิจกรรมที่ผ่านมา//ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมที่ต้องทำต่อ เพื่อแบ่งภาระงาน และเตรียมความพร้อม//วางแผนเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการโครงการให้ประสบความสำเร็จ//รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น และไม่ให้ความสำคัญกับการจัดตัังสภาชุมชน ส่วนใหญ่มาเพื่อรับฟังเพื่อเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยไม่ค่อยช่วยกันในฐานะแกนนำของชุมชนเพื่อขับเคลือนโครงการต่อไป

ดังนั้นสิ่งที่คณะทำงานของโครงการต้องดำเนินการต่อไป คือ ต้องค้นหาสาเหตุในการไม่เห็นความสำคัญในการจัดตั้งสภาชุมชน และคณะกรรมการโครงการต้องลงพื้นที่พูดคุยทำความเข้าใจกับแกนนำให้ชัดเจนในบทบาทและความสำคัญในหน้าที่ของตน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ และแกนนำชุมชน รวม 34 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ต้องค้นหาสาเหตุในการไม่เห็นความสำคัญในการจัดตั้งสภาชุมชน
  • คณะกรรมการโครงการต้องลงพื้นที่พูดคุยทำความเข้าใจกับแกนนำให้ชัดเจนในบทบาทและความสำคัญในหน้าที่ของตน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน7 ธันวาคม 2015
7
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการโครงการให้ประสบความสำเร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิทยากรได้มีการให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ดังรายละเอียดดังนี้

  • ทำกิจกรรมให้สำเร็จเราได้ผลลัพธ์อะไร=การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ทำกิจกรรมให้สำเร็จเราได้ผลผลิตอะไร=ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • การถอดบทเรียน=กระตุ้นให้ชาวบ้านเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุข เป็นการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง แต่ผู้ดำเนินการต้องเข้าใจประเด็น และต้องเตรียมตัว
  • การเขียนรายงาน ต้องเขียนให้เห็น ผลผลิต ผลลัพธ์ สุขภาวะ นอกจากนั้นยังมีการแนะนำในการเขียนรายงานด้านการเงิน
  • รายละเอียดการเขียนรายงานทางการเงิน เช่น การเตรียมหลักฐานประกอบการใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
  • การยื่นเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องดำเนินการหลังจากการจัดกิจกรรมเสร็จภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไป มิฉะนั้นจะโดนปรับ หากล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท หลังจากนั้นจะมีการแบ่งปันประสบการณ์จากโครงการที่ดำเนินการแล้วเจอปัญหา วิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ช่วงสุดท้ายจะมีการถาม-ตอบปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมประชุมสงสัย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ในการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ ได้แนวทางการเขียนรายงานผลการดำเนินงานให้ได้ข้อมูล ครบถ้วนสมบูรณ์ การจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้องเหมาะสม และได้เรียนรู้เรื่องเอกสารการเงินที่ถูกต้องจากตัวอย่างของโครงการอื่น ๆ ที่นำมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้ร้บผิดชอบโครงการ และตัวแทนคณะกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เวลาน้อยเกินไป จึงทำให้ขาดรายละเอียดบางอย่างที่มีความสำคัญด้านการเงิน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงการได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เพิ่มเวลาในการประชุมให้ความรู้

จัดกิจกรรมออกกำลังกายและเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย15 พฤศจิกายน 2015
15
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

1) ส่งเสริมให้สามาชิกในชุมชนรักการออกกำลังกาย และส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดีปราศจากโรคเรื้อรัง 2) นำข้อมูลด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจระดับครัวเรือนของชาวบ้านท่าแห้งมาเปรียบผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลาประมาณ 16.30 น. ชาวบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อออกกำลังกาย ณ บริเวณศาลาหมู่ 3 บ้านท่าแห้ง สำหรับผู้ที่เป็นหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังทางคณะกรรมการโครงการนำโดย อสม. จะมานั่งให้คำแนะนำและวัดความดันโลหิต ตลอดจนสอบถามอาการเพื่อติดตามผล และเฝ้าระวังอาการ จากนั้นเวลาประมาณ 17.00 น. จะร่วมกันออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคประมาณ 45-60 นาที โดยจะมีคณะนำเต้นแอโรบิค 1-5 คน การเต้นแอโรบิค โดยจะมีการ Warm Up และ Warm Down อย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อลดการบาดเจ็บและเพื่อความปลอดภัยของผู้ออกกำลังกายที่มีโรคประจำตัว ซึ่งในช่วงการออกกำลังกายต้องดำเนินไปอย่างน้อย 30 นาที ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าวจะมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำตะไคร้ น้ำใบเตย น้ำกระเจี๊ยบ หรือน้ำดื่มไว้คอยบริการผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ยังประชาสัมพันธ์ให้คนในบ้านท่าแห้งทุกเพศทุกวัย มาออกกำลังกายพร้อมกัน ซึ่งทำให้มีเยาวชนมาออกกำลังกายด้วยการเล่นฟุตบอล และนอกจากนั้นยังมีชาวบ้านหันมาใช้เครื่องออกกำลังกายที่มีอยู่เดิมในหมู่บ้าน ถึงแม้จะมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร ส่วนชาวบ้านผู้ชายได้นิยมออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานเพิ่มขึ้น ทำให้กระแสการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในบ้านท่าแห้งอย่างต่อเนื่อง และจากการเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้น เช่น น้ำหนัก ความดันโลหิต ของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ยังไม่เห็นผลเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีมากนัก ส่วนหนึ่งมีนำ้หนักลดลงเล็กน้อย แต่ที่มีความเห็นเหมือนกัน คือ มีความเครียดลดลง นอนหลับสนิทขึ้น สบายตัว คล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ประมาณ 2-3 คนเกิดการบาดเจ็บ เคล็ดขัดยอก ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ทางคณะกรรมการก็ได้แก้ไขด้วยการพยายามแนะนำในเรื่องการแต่งกายในขณะออกกำลังกาย เช่น รองเท้า ต้องเลือกให้เหมาะกับประเภทของกิจกรรมที่ออกกำลังกาย รวมทั้งประสานกับผู้นำเต้นแอโรบิคให้เพิ่มระยะเวลาในการอบอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อลดการบาดเจ็บของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ในกิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างมีความสุขอย่างน้อย 30 คน โดยสุภาพสตรีจะนิยมออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างน้อย 30 คน สุภาพบุรุษนิยมออกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานประมาณ 5-6 คน เยาวชนจะรวมกลุ่มกันเล่นกีฬาฟุตบอล และยังมีชาวบ้านอีกประมาณ 2-5 คน ออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังที่ติดตั้งที่ศาลาประจำหมู่บ้าน 2) ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างมีความสุข และมีพฤติกรรมในการออกกำลังกายที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ไม่เคยออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายแต่ไม่สม่ำเสมอ ก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น จะเข้าใจถึงความสำคัญของการออกกำลังกายว่ามีผลดีต่อสุขภาพหรือต่ออาการของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่อย่างไรบ้าง ก็จะชักชวนปากต่อปากให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสมัครใจ ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข สดชื่นในขณะออกกำลังกาย และการพบปะพูดคุยกันก่อนและหลังกิจกรรมออกกำลังกาย และในกิจกรรมดังกล่าวคณะกรรมการโครงการได้มีการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต่อจากนั้นก็จะนำไปเปรียบเทียบเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของชาวบ้านที่เป็นโรคเรื้อรังและมีแนวโน้มเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งได้แก่ชาวบ้านที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป โดยในช่วงแรกจะเก็บข้อมูลด้านสุขภาพระหว่าง 15 พ.ย. 58 - 17 ม.ค. 59 และจะนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลด้านสุขภาพระหว่าง 18 ม.ค. 59 - 20 มี.ค. 59 นอกจากนี้ทางคณะกรรมการโครงการพยายามที่จะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ลองออกกำลังกายแบบใหม่บ้าง เช่น ในเดือน ก.พ. 59 ได้เริ่มมีการใช้ไม้พลองประกอบการเต้นแอโรบิค เป็นต้น 3) จากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาทุกครั้งในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ในช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 15 พ.ย. 58 - 17 ม.ค. 59 ชาวบ้านมาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุขเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

อสม. อย่างน้อย 1 คน สมาชิกในชุมชน >=30 คน ผู้นำเต้นแอโรบิค 1-10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ชาวบ้านบางส่วนยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะสุภาพบุรุษ ดังนั้นทางคณะกรรมการจะต้องไปพบปะพูดคุยทำความเข้าใจถึงความจำเป็นและความสำคัญของการออกกำลังกาย ซึ่งอาจจะต้องร่วมกับ อสม./ รพ.สต.บ้านควนสวรรค์ / รพ.สมเด็จพระยุพรราชฉวาง เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพเพื่อค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้จะต้องมีสอบถามความต้องการกลุ่มชาวบ้านดังกล่าวว่าต้องการออกกำลังกายแบบไหน อย่างไร เพื่อให้ตรงตามความต้องการของชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดตั้งกลุ่มออกกำลังกาย12 พฤศจิกายน 2015
12
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

จัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายขึ้นในบ้านท่าแห้ง เพื่อเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพภายในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทางคณะกรรมการโครงการได้ไปพบปะพูดคุยและให้ข้อมูล เพื่อเชิญชวนแกนนำให้มาร่วมประชุมหาแนวทางในการจัดตั้งคณะกรรมการในการขับเคลื่อนกิจกรรมออกกำลังกายภายในบ้านท่าแห้งให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เพื่อต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวบ้านที่โรคเรื้อรัง รวมทั้งชาวบ้านที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และเพื่อป้องกันให้ชาวบ้านที่ยังไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงให้มีแนวคิดที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัวให้ห่างใกลจากโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งทางคณะกรรมการได้มีแนวทางในการจัดตั้งคณะกรรมการโดยให้ อสม. ประจำหมู่บ้านได้เข้ามามีบทบาทหลักในการจัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายเนื่องจากมีความรับผิดชอบในการดูแลและป้องกันสุขภาพของชาวบ้านในชุมชนอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีความสะดวกในการติดต่อประสานงานตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งจากการประสานงานเบื้องต้นกับ อสม. ประจำบ้านท่าแห้ง ก็ได้รับการร่วมมือเป็นอย่างดี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มีการจัดประชุมหารือ จนสามารถจัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายได้สำเร็จ โดยมีคณะกรรมการแกนนำ จำนวน 5 คน ได้แก่ 1) นางจำเนียร สิทธิฤทธิ์ 2) นางสาวฉลวย ประชุม 3) นางสมสุข เสนาธิบดี 4) นางฉวี วิรัช 5) นางสาวสาธิตา มะปริด มีหน้าทีในการขับเคลื่อนกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ซึ่งทางกลุ่มได้เลือกจัดกิจกรรมเต้นแอโรบิคขึ้นวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลา 17.00-18.00 น. และได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เป็นวันเริ่มต้นกิจกรรมเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพของพี่น้องบ้านท่าแห้ง โดยมีนายโยธิน รอดเจริญ เป็นวิทยากรนำออกกำลังกายซึ่งในกิจกรรมดังกล่าวได้มีป้ายประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้พี่น้องชุมชนใกล้เคียงมาร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย โดยไม่เก็บค่าบริการ และยังมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพให้บริการฟรี ทั้งนี้ทางคณะกรรมการโครงการและทางกลุ่มออกกำลังกายยังได้ร่วมกันหาแนวทางในการดึงให้เยาวชนและชาวบ้านมาร่วมออกกำลังกายประเภทอื่น ๆ ในเวลาดังกล่าวด้วย เช่น กีฬาเทเบิ้ลเทนนิส กีฬาฟุดบอล และออกกำลังกายโดยใช้เครื่องออกกำลังกายของหมู่บ้านถึงแม้จะมีไม่กี่ชิ้นและมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าใดก็ตาม ซึ่งตอนท้ายของการประชุมได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการเต้นแอโรบิคมาแนะนำวิธีการออกกำลังกาย "เต้นแอโรบิคอย่างไรจึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ" หลังจากนั้นก็ได้มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างเป็นกันเองฉันท์พี่น้อง ซึ่งงบในการจัดหาอาหารดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันของพี่น้องบ้านท่าแห้ง โดยมีงบของโครงการ ฯ นอกจากนี้ได้เรียนเชิญ ผอ.รพ.สต.บ้านควนสวรรค์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้กับกลุ่มรักษ์สุขภาพของบ้านท่าแห้ง ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี (ประชุมเวลา 14.00 - 17.00 น.)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 46 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ//คนแกนนำชุมชน//ผู้ทรงคุณวุฒิในหน่วยงานด้านสาธารณสุข 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1) ต้องมีแผนในการสร้างทีมวิทยากรนำเต้นแอโรบิคให้เกิดขึ้นในชุมชนบ้านท่าแห้งเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาวิทยากรจากภายนอกชุมชน 2) ต้องมีแผนบริหารจัดการกิจกรรมในอนาคต โดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านงบประมาณเพื่อให้กิจกรรมสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 3) ต้องเร่งหาแหล่งทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างอุปกรณ์ประเภทอื่นเพิ่มเติม เนื่องจากกิจกรรมเต้นแอโรบิคส่วนใหญ่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสุภาพสตรี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1) น่าจะมีโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้ชาวบ้านในชุมชน เช่น มีการสนับสนุนอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นต้น 2) น่าจะมีโครงการสร้างแกนนำในการออกกำลังกายให้เกิดขึ้นในชุมชน ตามความต้องการของชุมชน เช่น วิทยากรนำเต้นแอโรบิค วิทยากรแนะนำการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมกับชาวบ้านในแต่ละชุมชน

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

1) ออกแบบวิธีการและออกแบบเอกสารที่ใช้ในการเก็บข้อมูล10 พฤศจิกายน 2015
10
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบวิธีการและออกแบบเอกสารที่ใช้ในการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ และด้านรายได้-ค่าใช้จ่ายของชาวบ้านในบ้านท่าแห้ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลาประมาณ 10.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมมาพร้อมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน ตัวแทนคณะกรรมการโครงการนำโดยผู้ใหญ่บ้าน นายมีชัย มีศรี พบปะชาวบ้าน และชี้แจงวาระการประชุม โดยมีรายละเอียดการประชุมตามวาระการประชุม มีดังนี้
1) รายงานความคืบหน้าของโครงการ และกิจกรรมที่ดำเนินการผ่านมาให้ผู้เข้าประชุมรับทราบ โดยได้เน้นให้ชาวบ้านช่วยประชาสัมพันธ์กันปากต่อปากให้ร่วมแรงร่วมใจเข้าร่วมโครงการนี้ เพราะเป็นโครงการของชาวบ้านท่าแห้ง ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าที่ควรยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ 2) แจ้งรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องทำในวันนี้ คือ การร่วมกันออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลและออกแบบเอกสารที่ต้องใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บได้แก่ เอกสารเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจของครัวเรือน ได้แก่ รายได้ ค่าใช้จ่าย หนี้สิน อาชีพหลัก อาชีพเสริม ของสมาชิกแต่ละครัวเรือน เอกสารเก็บข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้นของชาวบ้าน ได้แก่ ชื่อ-สกุล เบอร์โทรศัพท์ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI รอบเอว ความดันโลหิต ชีพจร ระดับน้ำตาลในเลือด (ได้รับความร่วมมือตามแผนปฏิบัติงานของ รพ.สต.บ้านควนสวรรค์) โรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา 3) จัดตั้งทีมงานและวิธีการในการเก็บข้อมูล ซึ่งทางคณะกรรมการได้ดำเนินการจัดตั้งและดำเนินการเรียบร้อยก่อนวันประชุมแล้ว โดยการออกแบบเอกสารเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนได้รับเกียรติจาก นายบุญส่ง ซัง ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยอำเภอฉวาง สังกัดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนการออกแบบเอกสารเก็บข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้นของชาวบ้านได้รับเกียรติจาก นายวัชรชัย คารว์ตำแหน่งผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านควนสวรรค์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการออกแบบวิธีการและเอกสารที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีคณะกรรมการที่ได้รับการมอบหมาย คือ 1.นายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ 2.นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ 3.น.ส.นางสาวฉลวย ประชุม 4.น.ส.สาธิตา มะปริด 5.นางสำรวย อำนวย ซึ่งส่วนใหญ่เป็น อสม. เป็นทีมรับผิดชอบดำเนินการดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้เมื่อทีมงานที่ได้รับมอบหมายออกแบบวิธีการและเอกสารเป็นที่เรียบร้อยก็ได้นัดหมายกับผู้ทรงคุณวุฒิในการนำเสนอสิ่งที่ดำเนินการให้ทราบ จากนั้นเมื่อถึงวันนัดหมายก็ไปพบและนำเสนอสิ่งที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ส่วนใหญ่ผู้ทรงคุณวุฒิก็เห็นด้วย แต่ให้ข้อสังเกตว่าการเก็บข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน หลังจากนัดชาวบ้านมาพร้อมกันแล้วหากยังได้ข้อมูลไม่ครบก็จำเป็นจะต้องให้ทีมงานไปเก็บข้อมูลโดยตรงที่บ้านของชาวบ้านก็จะทำให้ข้อมูลที่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากนั้นก็มาปรับแก้วิธีการและเอกสารที่ได้รับคำแนะนำมาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หลังจากนั้นเมื่อชี้แจ้งวาระการประชุมเสร็จ คณะกรรมการโดยนายกันตภณ ถาวะราภรณ์ ได้นำเรียนถึงความจำเป็นและความสำคัญของการออกแบบวิธีการและออกแบบเอกสารที่ใช้ในการเก็บข้อมูลว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ จานั้นก็ได้มานำเสนอวิธีการและเอกสารที่ต้องใช้ในการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจของครัวในชุมชนให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ ในช่วงนี้ได้มีการแสดงเอกสารที่จะใช้เก็บข้อมูลให้ผู้เข้าประชุมได้เห็น ซึ่งระหว่างการนำเสนอได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ซักถาม/แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่เพื่อจะนำไปสู่ข้อสรุปในวิธีการและเอกสารที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป แต่ชาวบ้านก็ไม่ค่อยซักถาม/แสดงความคิดเห็น 4) ชี้แจงวันเวลาในการกิจกรรมต่อไปให้ที่ประชุมทราบ คือ ในช่วงวันที่ 12 พ.ย. 58 จะมีกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มออกกำลังกาย และในวันที่ 15 พ.ย. 58 จะเริ่มกิจกรรมออกกำลังกายแอโรบิคเป็นวันแรก และจะเริ่มเก็บข้อมูลดังกล่าวในวันที่ 4-6 ก.พ. 59 (เดิมกำหนดไว้ในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 58 แต่เกิดภาวะน้ำท่วมและฝนตก) 5) วาระอื่น ๆ เน้นย้ำให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมกิจกรรม และการลงชื่อในใบลงทะเบียนการประชุมต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง แจ้งให้ทราบในเรื่องการจัดตั้งสภาชุมชนการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในวันนี้ยังไม่เกิดสภาชุมชนบ้านท่าแห้ง ดังนั้นหากจะดำเนินการพัฒนาหรือปรับปรุงเรื่องอะไรก็จะไม่มีกลไกขับเคลื่อน เวลาประมาณ 15.30 ปิดประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ไม่ค่อยตั้งใจฟัง สังเกตได้จากพฤติกรรมที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการประชุม ไม่ค่อยมีการซักถามและไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะชาวบ้านไม่ค่อยเข้าใจวิธีการดังกล่าว หรือไม่ค่อยคุ้นชินกับขั้นตอนการออกแบบวิธีการและเอกสารที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 2) จากที่คณะกรรมตั้งเป้าหมายให้ชาวบ้านช่วยกันดึงเยาวชนเข้ามาร่วมกิจกรรมก็ยังไม่สามารถทำได้ 3) จากการดำเนินกิจกรรมนี้ทำให้ทราบว่าทางคณะกรรมการของโครงการต้องพยายามประสานงานเชื่อมโยงกับองค์กรอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกชุมชน เพื่อจะทำให้การดำเนินงานในโครงการสามารถได้สอดคล้องกับองค์กรอื่น ๆ ทำให้ประหยัดงบประมาณ เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เมื่อทางคณะกรรมการได้ไปติดต่อ รพ.สต.บ้านควนสวรรค์ในเรื่องรายละเอียดของโครงการก็เป็นจังหวะที่ดีที่ทาง รพ.สต.บ้านควนสวรรค์ มีแผนงานที่จะออกให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ชาวบ้านใน ต.นาแว อยู่แล้ว ดังนั้นจึงสามารถดำเนินการได้ในวันเวลาเดียวกันจนเกิดผลสัมฤทธิ์ทั้ง รพ.สต.บ้านควนสวรรค์ และโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 41 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ ยกเว้นผู้ทรงคุณวุฒิติดภาระกิจ ตัวแทนคณะกรรมการจึงไปประสานท่านในที่ทำงานทั้งก่อนและหลังการประชุม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1) คณะกรรมการต้องเร่งทำความเข้าใจกับชาวบ้านในชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญถึงการจัดตั้งสภาชุมชน ว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนไปสู่การพัฒนา รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงด้วยเช่นกัน 2) คณะกรรมการต้องเร่งทำความเข้าใจกับชาวบ้านในชุมชนที่ยังไม่เข้าใจในรายละเอียดของโครงการให้เกิดความเข้าใจและจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น 3) ตัวแทนเยาวชนส่วนใหญ่ไม่สะดวกที่จะร่วมกิจกรรมเนื่องจากติดภารกิจในการศึกษาเล่าเรียนในตัวเมือง หรือต่างจังหวัด

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมเวที่ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ19 ตุลาคม 2015
19
ตุลาคม 2015รายงานจากพี่เลี้ยง โดย นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำการชี้แจง การดำเนินงานโครงการแก่ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และผู้รับผิดชอบโครงการ ได้พูดคุยเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 2/10 (จัดเวทีชี้แจงชาวบ้าน)19 ตุลาคม 2015
19
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ การดำเนินงาน และกระบวนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการ และจัดเวทีชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้ชาวบ้านรับทราบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ก่อนถึงเวลาชี้แจงชาวบ้าน คณะกรรมการและแกนนำได้ร่วมกันวางแผนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการและทบทวนผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมา เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ก่อนที่จัดให้มีกิจกรรมชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้ชาวบ้านได้รับทราบต่อไป หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลา 9.00 น. ตามกำหนดการก็ได้ดำเนินการไปอย่างครบถ้วนตามที่ได้วางไว้ จะมีเพิ่มเติมก็ในช่วงที่พี่เลี้ยงโครงการพบปะชาวบ้าน อ.ภานุวัฒน์ ไชยเดช ได้มีการทำความเข้าใจที่มาที่ไปของโครงการและให้ความรู้เกี่ยวกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนวทางการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จ และให้กำลังคณะกรรมการและแกนนำ รวมทั้งชมเชยตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุม จากนั้น อ.สุดา ไพศาล ก็ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานและระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส. ซึ่งบรรยากาศในการประชุมทางคณะกรรมการ แกนนำ และพี่เลี้ยงโครงการได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยน/ซักถาม/แสดงความคิดเห็น/วางแผนงานกิจกรรมร่วมกัน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับกิจกรรมในโครงการ แต่ก็มีชาวบ้านบางส่วนยังไม่แน่ใจว่ากิจกรรมการการออกกำลังกายที่จะจัดขึ้นตามโครงการจะเป็นไปได้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในโครงการหรือไม่ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ดี ราคายางก็ตกต่ำอย่างมากทำให้ชาวบ้านต้องดิ้นรนทำมาหากินให้เพียงพอต่อรายจ่าย ดังนั้นการที่จะมาจัดกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกันอาจไม่สำเร็จ ทางคณะกรรมการก็ได้ชี้แจงความจำเป็นที่ต้องมาออกกำลังกายร่วมกันและแนวทางในการดำเนินกิจกรรมออกกำลังกายให้เป็นไปตามที่ตั้งไว้ ในอนาคตข้างหน้าหากเกิดปัญหาก็ค่อยช่วยกันแก้ไข หรืออาจจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนบ้านท่าแห้งต่อไป จากนั้นก่อนปิดการประชุม นายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ร่วมกับนายกันตภณ ถาวะราภรณ์ (ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ) ได้กำหนดวันเวลาและแจ้งรายละเอียด “กิจกรรมออกแบบสร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูล” ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อไปที่ต้องดำเนินการ และได้เน้นย้ำให้ตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้ไปบอกเล่านเรื่องราวที่ได้ประชุมในครั้งนี้ให้สมาชิกท่านอื่น ๆ ในครอบครัวทราบด้วย ก็จะเป็นแนวทางที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ปิดประชุมในเวลาประมาณ 15.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการ แกนนำ และตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจในหลักการของโครงการเป็นอย่างยิ่ง มีความเข้าใจในรายละเอียดของโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียงในระดับที่น่าพอใจ โดยสังเกตได้จากการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยน/ซักถาม/แสดงความคิดเห็น/วางแผนงานกิจกรรมร่วมกัน แต่ก็ยังคงมีตัวแทนชาวบ้านบางส่วนที่ยังไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมการออกกำลังกายที่ต้องจัดตลอดทั้งปีว่าอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นคณะกรรมการและแกนนำบางท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่าตัวแทนชาวบ้านที่มาประชุมยังมีจำนวนไม่ครบตามเป้าหมาย ตัวแทนชาวบ้านส่วนใหญ่ที่มาเป็นวัยทำงานและวัยสูงอายุ แต่ยังขาดกลุ่มเยาวชน ซึ่งต่อไปในอนาคตจะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาชุมชน ดังนั้นจึงน่าจะมีหาแนวทางในการดึงเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อไปของโครงการให้มากกว่านี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการและแกนนำ 20 คน ตัวแทนชาวบ้าน 80 คน รวม 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1) คณะกรรมการ และแกนนำต้องเร่งชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้กับชาวบ้านที่ยังไม่เข้าร่วมกิจกรรม 2) ตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการต้องร่วมมือร่วมใจในการช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการแบบปากต่อปากให้เร็วและมากที่สุด 3) คณะกรรมการ และแกนนำต้องร่วมกันหาแนวทางในการดึงกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ 4) คณะกรรมการ และแกนนำต้องบริหารจัดการโครงการด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะกรรมการและแกนนำชุมชน ครั้งที่ 1/1017 ตุลาคม 2015
17
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมคณะการโครงการ และแกนนำชุมชนเพื่อแจ้งรายละเอียดของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชี้แจงรายละเอียดโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง ให้คณะกรรมการโครงการ และแกนนำชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สสส. 2) แนวทางและข้อปฏิบัติในการดำเนินโครงการ 3) รายละเอียดของกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ 4) กำหนดแกนนำตามกิจกรรม ได้แก่ กลุ่มออกกำลังกาย กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มทำปุ๋ย กลุ่มจักสาน กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเลี้ยงโค 5) ร่วมกันกำหนดแนวทางในการจัดเวทีเพื่อแจ้งข้อมูลของโครงการให้ชุมชนรับทราบ ในวันที่ 19 ต.ค. 58 ต่อไป โดยมีพี่เลี้ยงโครงการ อ.สุดา ไพศาล และ อ.อภิวัฒน์ ไชยเดช ร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการโครงการ และแกนนำชุมชนรับทราบรายละเอียดของโครงการ มีกรรมการบางส่วนที่เห็นว่าบางกิจกรรมอาจมีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในโครงการเนื่องจากปัจจุบันจำนวนสมาชิกในชุมชนบางส่วนไม่ได้อาศัยอยู่ในชุมชน เพราะไปประกอบอาชีพนอกชุมชน และเยาวชนส่วนใหญ่ก็ไปศึกษานอกพื้นที่ ซึ่งในประเด็นปัญหาดังกล่าวได้มีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องพยายามประชาสัมพันธ์โครงการแบบปากต่อปาก บอกต่อ ๆ กันไปให้มากที่สุด ส่วนการจัดเวทีชี้แจงรายละเอียดโครงการในวันที่ 19 ต.ค. 58 ได้กำหนดผู้รับผิดชอบเรียบร้อย โดยมอบให้นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ จัดทำกำหนดการ จัดทำป้ายโครงการและป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ตามข้อกำหนดของ สสส. ตลอดจนประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมอบหมายให้นายมีชัย มีศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านท่าแห้ง กล่าวต้อนนรับพี่เลี้ยง และผู้เข้าร่วมประขุม กำหนดให้นายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวถึงรายละเอียดโดยย่อของโครงการ และกำหนดให้นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการร่วมชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ นอกจากนั้น อ.อภิวัฒน์ ไชยเดช พบปะชาวบ้านและชี้แจงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการและ สสส. อ.สุดา ไพศาล ชี้แจงรายละเอียดกี่ยวกับงบประมาณและระเบียบในการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีการเลี้ยงอาหารว่าง+เครื่องดื่มสุขภาพ และอาหารกลางวันแก่ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ และแกนนำชุมชน จำนวน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

แกนนำบางท่านติดภารกิจไม่ได้เข้าประชุม แต่มติในที่ประชุมได้หนดให้คณะกรรมการที่อยู่ใกล้เคียงไปแจ้งสาระสำคัญในที่ประชุมให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมรับทราบภายหลัง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.อภิวัฒน์ ไชยเดช และ อ.สุดา ไพศาล
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ 10 ตุลาคม 2015
10
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

จัดทำป้ายสัญลักษณ์สถานที่นี้ปลอดบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการโครงการที่ได้รับมอบหมายเรื่องนี้ได้หาข้อมูลร้านที่จะจัดพิมพ์ป้ายไวนิล และโดยทางคณะกรรมการโครงการได้ตัดสินใจเลือกร้าน 455 โฆษณา เนื่องจากผลงานมีคุณภาพ ราคายุติธรรม เพื่อติดต่อทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ และป้ายโครงการบ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง ในวันที่ 10 ต.ค. 58 จึงได้ประสานทางร้านเพื่อส่งแบบป้าย และทางร้านนัดวันเวลารับป้ายในวันที่ 12 ต.ค. 58 รวมราคาป้ายทั้งหมด 1,000 บาท หลังจากไปรับป้ายจึงได้นำมาติดในบริเวณศาลาหมู่ 3 บ้านท่าแห้ง ต.นาแว อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยดังภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ตามแบบที่ สสส. กำหนดและได้นำไปติดตั้งที่ศาลาหมู่ 3 บ้านท่าแห้ง ซึ่งเป็นสถานที่หลักที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเป็นที่เรียบร้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.อภิวัฒน์ ไชยเดช และ อ.สุดา ไพศาล
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมปฐมนิเทศโครงการ3 ตุลาคม 2015
3
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายไกรสิทธ์ เหมรัตนานนท์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรับทราบแนวทางการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาคารเรียนรวม 5 อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอน และรายละเอียดเนื้อหาการประชุม
1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ สสส. / รายละเอียดของโครงการ / กิจกรรมที่ผู้เข้าประชุมต้องดำเนินการ
2) การบริหารจัดการโครงการสู่ความสำเร็จ
3) การใช้งาน Website happynetwork.org และการบันทึกข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระบบติดตามและการประเมินผล"
4) การจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับการเบิก/จ่ายงบประมาณในโครงการ 5) การสังเคราะห์บทเรียนที่ได้จากโครงการ 6) แยกห้องตามพื้นที่รับผิดชอบของพี่เลี้ยง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสำนักงานกองทุนเสริมสร้างสุขภาพ 2) รับทราบรายละเอียดของเนื้อหาและเป้าหมายในการประชุม 3) ได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการสู่ความสำเร็จ 4) ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดทำหลักฐานการเบิก-จ่ายงบประมาณ 5) ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์บทเรียนจากโครงการ 6) ได้รับความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลใน Website 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

1) นายไกรสิทธิ์ เหมรัตนานนท์ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) 2) นายกันตภณ ถาวะราภรณ์ (คณะกรรมการ)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1) ระบบ Internet ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้เข้าประชุม 2) ระยะเวลาในการประชุมน้อยเกินไป จึงทำให้วิทยากรต้องรีบบรรยาย 3) บางช่วงของการบรรยาย น่าจะมีเอกสารประกอบการประชุม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี