แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง ”

บ้านควนยูง ม 9. ต.นาแว อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาง ฉวีวรรณ พลมานพ

ชื่อโครงการ อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง

ที่อยู่ บ้านควนยูง ม 9. ต.นาแว อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03938 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2183

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านควนยูง ม 9. ต.นาแว อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง



บทคัดย่อ

โครงการ " อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านควนยูง ม 9. ต.นาแว อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03938 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,150.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 225 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้เกิดองค์กรชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมและแก้ปัญหาของชุมชน
  2. เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ภาคครัวเรือน
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ ร่วมกับ สจรส.ม.อ.

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 13.00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการจาก ผส.ดร.พงเทพษ์ และทีมงานของคนใต้สร้างสุข
    • ตัวแทน จาก สจรส มอ บรรยายและแนะนำขั้นตอนในการลงกิจกรรมของโครงการ การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด กิจกรรมที่จะต้องลงมีดังต่อไปคือ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมชี้แจงชุมชนในการดำเนินงานทุกครั้งต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนและพี่เลี้ยงในลงไปช่วยในการปิดงวดแต่ละครั้ง พร้อมทั้งตัวแทนจะ สจรส.มอ. ไปช่วยตรวจสอบความถูกต้องหลังจากทำงานไป 2 เดือน ต่อจากนั้นจะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย สสส. เป็นผู้จัด
    • อาจารย์ กำไล สมรักษ์ ชี้แจงกิจกรรมที่จะต้องทำ เช่น เตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตรียมคนช่วยงาน เพื่อเริ่มต้นการทำงานให้สำเร็จ
    • อาจารย์ สุดาไพศาล ชี้แจงการจัดทำรายงานการเงินการลงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
    • ทีมงานจาก สจรส.ม.อ.แนะนำเทคนิคการถ่ายภาพที่ดี แนะนำชี้แจงการลงข้อมูลในโปรแกรมและฝึกปฏิบัติการลงรายงานในเว็บคนใต้สร้างสุข จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานตลอดโครงการ จนเสร็จ และ บันทึกกิจกรรมวันปฐมนิเทศ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะทำงานเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ จำนวน 2 คน รับฟังการบริหารจัดการโครงการ สสส เรียนรู้การจัดทำรายงานต่างๆรายงานการเงิน การลงทะเบียน การเบิกจ่ายงบในแต่ละกิจกรรม การจัดทำรายงานผ่าน เว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
    • ผลลัพธ์คณะทำงานทราบและเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สสส สามารถจัดทำรายงานต่างๆได้ และบันทึกรายงานผ่านเว็บคนใต้สร้างสุขได้

     

    2 2

    2. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/10

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน
    • ผู้ใหญ่ฉวีวรรณ พลมานพชี้แจงกิจกรรมให้คณะกรรมการรับทราบถึงแนวทางการดำเนินโครงการ และชี้แจงการจัดสรรงบประมาณงบประมาณแกคณะกรรมการ คณะทำงาน ประชุมร่วมกันวางแผนเพื่อจัดกิจกรรม มอบหมายภาระหน้าที่ ที่จะต้องดำเนินการให้การจัดประชุมชี้แจงโครงการกับชุมชน ตามแผนงานที่วางไว้ที่จะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลาหนึ่งปี ตามสัญญาที่ ทำไว้กับ สสส ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างและให้ทุกคนร่วมกันประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชนทราบพูดคุยเรื่องปัญหาต่างๆของชุมชนเพือได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เช่นปัญหาผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน ปัญหาการประกอบอาชีพ และร่วมกันพูดคุยหารูปแบบการทำป้ายโครงการ และป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามตัวอย่างที่ สสส กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต : คณะกรรมการทั้ง 20 คน เข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบโครงการ
    • ผลลัพธ์ : คณะกรรมการทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินโครงการ และขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณที่ใช้ในโครงการ

     

    20 20

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้รับผิดชอบโครงการทำการจ้างร้านทำป้ายประชาสัมพันธ์ (ร้านไวนิล) และส่งมอบแบบที่ต้องการแก่ร้าน 2.ร้านทำการผลิตป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และ ป้าย รณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี จำนวน 2 ป้าย ในงบประมาณ 1,000 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : ได้ป้ายไวนิล ประชาสัมพันธ์โครงการ และ ป้าย รณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี ผลลัพธ์ : จากการติดป้ายประชาสัมพันธ์ได้รณรงค์และส่งเสริมให้คนในชุมชนเลิกสูบบุหรี่ ได้ทราบและตระหนักถึงโทษของบุหรี่ นำมาซึ่งการเป็นหมู่บ้านปลอดบุหรี่

     

    2 2

    4. ตั้งสภาชุมชนบ้านควนยูง

    วันที่ 19 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 -16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการนางฉวีวรรณ พลมานพและ คณะกรรมการโครงการ ตัวแทนครัวเรือนบ้านควนยูง จำนวน 100 ครัวเรือน เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ณ ศาลาหมู่ที่ 9 บ้านควนยูง ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีการชี้แจงรายละเอียดโครงการให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ และทำการจัดตั้งสภาชุมชน
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดงาน และชี้แจงรายละเอียดโครงการ
    3. คณะกรรมการโครงการดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการสภาชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : ได้คณะกรรมการสภาชุมชน

    ผลลัพธ์ : คณะกรรมสภาชุมชุมชนมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน เพื่อดำเนินการตามโครงการในการแก้ไขปัญหา ส่งเสริมการสร้างรายได้ของครัวเรือในชุมชนบ้านควนยูง

     

    100 100

    5. ร่างข้อบัญญัติของสภา

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกกรม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุม และชี้แจงกิจกรรม
    • คณะกรรมการดำเนินการสำรวจข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เพื่อทราบความต้องการและข้อมูลด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน ร่วมกันแสดงและเสนอความคิดเห็นเพื่อหาข้อตกลง เพื่อดำเนินกิจกรรมพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
    • คณะกรรมการสภา และตัวแทนครัวเรือนได้ช่วยกันร่างข้อบัญญัติขงสภาเรื่องต่างๆ โดยเน้นเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องการสร้างรายได้เสริมเป็นหลัก กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คนเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมร่างญัติของสภาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในโครงการอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่บ้านควนยูง และเกิด แนวทางญัติเพื่อการพัฒฯาอาชีเสริมของบ้านควนยูง
    • ผลลัพธ์มีการนำญัติแนวทางการดำเนินงานการสร้างอาชีเสริมมาใช้ โดยนำมาจากข้อสรุปว่าชาวบ้านต้องการสร้างอาชีพเสริม ร่วมหรือสอดแทรกในอาชีพหลัก โดยอาชีพหลักคือการทำสวนยางพารา ส่วนอาชีพเสริมที่ต้องการคือการปลูกพืชเสริมและแซมในร่องยางพาราดังนี้
    1. ประเภทของอาชีพเสริมที่จะเข้ามามีส่วนผลักดันในชุมชน คือ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ การปลูกเขลียงในร่องยางพารา การปลูกผักปลอดสารพิษและการทำจักสาน
    2. หาบ้านตัวอย่าง รับสมัครเพื่อเป็นแปลงสาธิตและเรียนรู้ในการทำอาชีพเสริม ในการประชุมครังต่อไป
    3. ศึกษาเรียนรู้การทำอาชีพเสริมจาก ชุมชนบ้านใกล้เคียง เช่น การเลี้ยงปลา จากหมู่ที่ 4 เพื่อมาพัฒนาต่อยอดในบ้านควนยูง
    4. จัดทำ รับสมัคร จัดตั้งกลุ่มเพาะพันธ์กิ่งตอนจากพืช เช่นเขลียง และอื่น ๆ
    5. มีการตั้งคณะทำงาน ในการติดตามประเมินผลและพัฒนาต่อยอด
    6. ตั้งคณะทำงานสรุปและประเมินผล โครงการ

     

    100 100

    6. จัดทำเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือนมาร่วมประชุมจัดทำเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจชุมชนโดยคณะกรรมการและเยาวชนร่วมกันจัดทำภายใต้การให้ความรู้ของวิทยากร เพื่อให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ครบถ้วน โดยแบ่งเนื้อหาเครื่องมือออกเป็นรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น รายรับรายจ่าย ประเภทของรายจ่าย หนี้สิน ปัจจัยที่มาของหนี้สิน หรือ อื่น ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต เกิดผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50คน ได้ร่วมกันออกแบการสร้างเครื่องมือ และเรียนรู้วิธีการและขั้นตอนการสร้างเครื่องมือเพื่อสำรวจเศรษฐกิจครัวเรือน เช่นจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน พร้อมทั้งรับสมุดจดบันทึกรายรับรายจ่ายครัวเรือน
    • ผลลัพธ์ เกิดชุดการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจของครัวเรือนประกอบด้วย ข้อมูลครัวเรือน ที่ตั้ง บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิก ที่ทำงานได้ และสมาชิกอื่น ๆ รายรับของสมาชิกแต่ละคน/เดือนหมวดค่าใช้จ่าย ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าภาษีสังคม ค่าบุหรี่ค่าเหล้า เฉลี่ยคนต่อเดือน เป็นเงินเท่าไหร่ สรุปรายรับ- รายจ่ายมีความสมดุลย์สอดคล้องกันอย่างไร เพื่อเป้าหมายให้ครัวเรือนเกิดความตระหนัก ความรู้ในการวางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

     

    50 50

    7. สำรวจข้อมูลด้านเศรษฐกิจชุมชนภาคครัวเรือน

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 -16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนครัวเรือน 50 ครัวเรือนร่วมเดินสำรวจข้อมูลด้านรายรับ รายจ่ายภาคครัวเรือน จำนวน 100 ครัวเรือน โดยแบ่งหน้าที่กันตามละแวกบ้าน เดินเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตามที่ได้ออกแบบมาก่อนหน้านี้ แบ่ง เป็น 25 คู่ๆ ละ 4 หลังคาเรือนห้ามซ้อนกัน ตามแบบการเก็บข้อมูลจนแล้วเสร็จ และได้นำมามองให้ผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อนำมาวิเคราะห์ การรับ-จ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตครัวเรือนในบ้านควนยูงจำนวน 100ครัวเรือนได้รับการสำรวจภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนโดยการมีส่วนร่วมของครัวเรือนและเยาวชน
    • ผลลัพธ์ เกิดฐานข้อมูลรายรับจ่ายของตนเองของภาคครัวเรือน เกิดความตระหนักและคิดย้อนกลับเรื่องของการใช้จ่ายของครัวเรือนตนเอง และหาช่องทางในการเพิ่มรายได้ หรือ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป

     

    50 50

    8. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/10

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการ
    2. รายงานปัญหาและอุปสรรค และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
    3. วางแผนการดำเนินงานในครั้งต่อไป
    4. ทบทวนการดำเนินงานครั้งที่ผ่านมา เพื่อให้การดำเนินงานที่ราบรื่นและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการเกิดการปรับตัวและแก้ปัญหาในการทำงาน โดยที่คณะกรรมการดำเนินงานได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการ ทราบปัญหาและอุปสรรค พบว่าการดำเนินงานโครงการยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นเพราะการทำหน้าที่ของผู้รัผิดชอบโครงการมีทั้งเรื่องของการประชุมชี้แจง และการลงทะเบียน การเก็บภาพ
    • ผลลัพธ์ เกิดความร่วมมือการหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยการนำปัญหาในการดำเนินงานมาพูดคุยในที่ประชุม คณะกรรมการ มีการวางแผนการดำเนินการในครั้งต่อไป โดยจะดำเนินการหาผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ในการลงทะเบียน การถ่ายรูป และในการขับเคลื่อนกิจกรรม และได้ทบทวนผลการดำเนินงานในครั้งที่ผานมา พบว่าทุกคนเห็นด้วยกับการนำเสนอปัญหาที่ผ่านมา โดยทุกคนลืมตระหนัก และ คำนึงถึงมาก่อน

     

    20 20

    9. วิเคราะห์ข้อมูลภาคครัวเรือน

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 -16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของครัวจากที่สำรวจได้ เพื่อสรุปปัญหาที่พบ พร้อมทั้งหาข้อดี ข้อด้อย
    • นำข้อดี และข้อด้อยที่ได้มาวิเคราะห์พร้อมทั้งจัดทำแผนในการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตครัวเรือนในบ้านควนยูงจำนวน 100ครัวเรือนได้รับการสำรวจภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนพบว่า รายได้ส่วนใหญ่ร้อยละ 70มาจากการทำการเกษตร ที่เหลือ รับจ้าง อิสระ และราชการรายได้เฉลี่ย คนละ 4700บาท/คน/เดือน สำหรับรายจ่าย ร้อยละ 80 จ่ายเกี่ยวกับการซื้อหาอาหาร และที่เหลือ เกี่ยวกับส่งลูกเรียน ภาษีสังคม ไม่มีข้อมูลการซื้อเหล่าเบียร์หรือบุหรี่สิ่งเสพติด สรุปรอยละ 85รายรับพอดีกับรายจ่าย หากมีกิจกรรมใดเพิ่มเข้ามา ทำให้รายรับไม่พอ ติดลบ และการสืบเนื่องมาจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ผลิตผลทางการเกษตรลดลงและราคาตก
    • ผลลัพธ์ ครัวเรือนเกิดความตระหนักและมีข้อมูลรายรับจ่ายของตนเอง และหาช่องทางในการเพิ่มรายได้ หรือ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้นำทรัพยากรที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับนโยบายของ สสส

     

    50 50

    10. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 1

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังคำชี้แจงการเขียนรายงาน
    2. อาจารย์ กำไล ชี้แจงการเขียนรายงานและเครื่องสำรวจการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเป็นรายงาน
    3. อาจารย์ สุทธิพงศ์ ชี้แจงรายงานการเงิน และกานหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% พร้อมลงมือปฏิบัติจริง
    4. ทีมงาน สจรส มอ พร้อมพี่เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบเอกสารพร้อมแนะนำการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง
    5. บันทึกกิจกรรมปฏิบัติในวันที่ผ่านมา เว็บ คนใต้สร้างสุข พร้อมเขียนใบสำคัญรับเงินค่าเดินทาง
    6. จากการตรวจสอบเอกสารบางอย่างต้องแก้ไขเพิ่มเติมเช่นรายละเอียดการเขียนใบสำคัญรับเงิน และพี่เลี้ยงแนะนำให้จัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบในแต่ละกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะทำงานจำนวน 2 คน เข้าร่วมการเรียนรู้การเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน การหักภาษีณ ที่จ่าย

    • ผลลัพธ์ คณะทำงานเข้าใจในการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการการเงิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ในค่าเช่า ค่าตอบแทนและค่าจ้าง การเขียนหลักฐานแสดงการทำที่ถูกต้อง

     

    2 2

    11. ส่งเสริมครัวเรือนในการทำอาชีพเสริมการตอนกิ่งพันธ์ และขยายพันธุ์พืช

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการตัวแทนครัวร่วมลงทะเบียน ในกิจกรรมส่งเสริมครัวเรือนในการทำอาชีพเสริมการตอนกิ่งพันธ์ และขยายพันธุ์พืช
    • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย และชี้แจงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และแนะนำวิทยากรที่มาให้ความรู้
    • วิทยาการทำการสอนเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในการขยายพันธุ์เขลียง ในรูปแบบต่าง เช่น การชำการเพาะเมล็ดการขยายหน่อ หรือแขนง รวมทั้งพืชอื่น ๆ เพื่อใช้ในการปลูกแซมร่องยาง เพื่อลดการซื้อจากเกษตรกรภายนอก
    • วิทยากรทำการสาธิตการขยายกิ่งพันธ์โดยวิธีการตอน และให้ผู้ร่วมกิจกรรม ลองฝึกปฏิบัติ4-5 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 คนได้ร่วมเรียนรู้นการขยายพันธุ์เขลียง ในรูปแบบต่าง เช่น การชำการเพาะเมล็ดการขยายหน่อ หรือแขนง รวมทั้งพืชอื่น ๆ เพื่อใช้ในการปลูกแซมร่องยาง เพื่อลดการซื้อจากเกษตรกรภายนอก พร้อมดูการสาธิตและฝึกปฏิบัติในบางคน
    • ผลลัพธ์ ตัวแทนครัวเรือนสามารถขยายพันธ์พืชในรูปแบบต่างๆได้ เกิดการประกอบอาชีพการขยายพันธ์พืชเพื่อการจำหน่ายหารายได้เสริมในครัวเรือนและจำหน่ายต่างอำเภอ เกษตรกรมีแหล่งกิ่งพันธ์มาสนับสนุนในราคาที่ถูกลดการนำเข้าจากภายนอก

    หมายเหตุ : การจัดกิจกรรม ครั้งนี้มีการให้ความรู้ ก่อนการสาธิตการตอนกิ่งพันธ์ และมีการฝึกปฏิบัติประมาณ 4-5 คน แต่ผู้ที่เก็บรวบรวมภาพ ไม่ได้ทำการเก็บภาพในช่วงวิทยากรบรรยาย และช่วงการฝึกปฏิบัติ ทำให้ภาพที่ส่งไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมที่ปฏิบัติจริง

     

    100 100

    12. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/10

    วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมพูดคุยการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาคือการส่งเสริมครัวเรือนในการทำอาชีพเสริมการตอนกิ่งพันธ์ และขยายพันธุ์พืชผลการจัดกิจกรรมผู้เข้าร่วมให้ความสนใจดี แต่ไม่ได้ร่วมฝึกปฏิบัติทุกคน ผู้ถ่ายภาพถ่ายแต่ผู้ทำการสาธิต ทำให้ภาพที่ได้มารายงานไม่สอดคล้องกับกิจกรรมซึ่งมองไม่เห็นผู้ร่วมเรียนรู้ ตอนนี้ปัญหาในการจัดกิจกรรมคือคนถ่ายภาพ ถ่ายภาพไม่เป็นไม่ทราบว่าการถ่ายภาพควรจะถ่ายอย่างไร ซึ่งพูดคุยกันมาหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องภาพถ่ายทุกครั้ง ครั้งต่อไปให้ช่วยกันในเรื่องการเก็บภาพด้วย
    • ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมอบรมการทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 26 ธันวาคม 2558
    • มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรม อบรมการทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ ครั้งที่ 1 ในการจัดเตรียมอาหาร การจัดเตรียมเอกสารในการฝึกปฏิบัติ และประสานวิทยากร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะทำงาน 20 คนมาร่วมประชุมร่วมประชุมพูดคุยการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาคือการส่งเสริมครัวเรือนในการทำอาชีพเสริมการตอนกิ่งพันธ์ และขยายพันธุ์พืชผลการจัดกิจกรรมผู้เข้าร่วมให้ความสนใจดี แต่ไม่ได้ร่วมฝึกปฏิบัติทุกคน ผู้ถ่ายภาพถ่ายแต่ผู้ทำการสาธิต ทำให้ภาพที่ได้มารายงานไม่สอดคล้องกับกิจกรรมซึ่งมองไม่เห็นผู้ร่วมเรียนรู้ ตอนนี้ปัญหาในการจัดกิจกรรมคือคนถ่ายภาพ ถ่ายภาพไม่เป็นไม่ทราบว่าการถ่ายภาพควรจะถ่ายอย่างไร ซึ่งพูดคุยกันมาหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องภาพถ่ายทุกครั้ง ครั้งต่อไปให้ช่วยกันในเรื่องการเก็บภาพด้วย ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมอบรมการทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 26 ธันวาคม 2558 มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรม อบรมการทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ ครั้งที่ 1 ในการจัดเตรียมอาหาร การจัดเตรียมเอกสารในการฝึกปฏิบัติ และประสานวิทยากร
    • ผลลัพธ์ ได้ทราบผลการดำเนินงาน ทั้งแก้ไขและป้องกันปัญหาที่พบ รวมทั้งวางแผนในการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไปคืออบรมการทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ

     

    20 20

    13. อบรมการทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ ครั้งที่ 1

    วันที่ 26 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดการอบรม และแนะนำวิทยากร
    • วิทยากรให้ความรู้ เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน
    • ร่วมกันฝึกปฏิบัติ และส่งผลการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ทีมคณะกรรมและวิทยากรช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
    • มอบหมายครัวเรือน กลับไปดำเนินการจัดทำบัญชีครัวเรือนของตนเองตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป แล้วนำมาร่วมเรียนรู้กันในครั้งที่2 และที่3 เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขในส่วนที่มีปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ผู้เข้าร่วมอบรมทราบวิธีและขั้นตอนในการทำบัญชีครัวเรือนพร้อมได้ฝึกปฎิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน และส่งเอกสารให้ทีมคณะกรรมตรวจสอบความถูกต้องจากการร่วมกันเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ การทำบัญชีครัวเรือน ส่วนใหญ่มีรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าบุหรี่ เหล้า ค่าซื้อหวยใต้ดิน ร่วมกันวางแผนแก้ไขโดยการให้ทุกครัวเรือนช่วยกันพยายามลดรายจ่ายในส่วนนี้ลง โดยมอบให้จับคู่ช่วยกันตักเตือนตรวจสอบซึ่งกันและกัน
    • ผลลัพธ์ ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้องและวางแผนในแต่ละครัวทำบัญชีด้วยความเป็นจริง และช่วยกันตรวจสอบ

     

    100 100

    14. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4/10

    วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมร่วมลงทะเบียน เข้าร่วมประชุมครั้งที่4
    • ผู้ใหญ่กล่าวทักทายพูดคุยถึงการดำเนินงานในกิจกรรมที่ผานมาคือกิจกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน สรุปปัญหาในจัดกิจกรรม คนเก็บภาพต้องเก็บภาพให้ดีกว่านี้ ถ่ายภาพให้เห็นกระบวนการและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
    • เหรัญหิกสรุปรายจ่าย และยอดเงินคงเหลือในขณะนี้ ให้ทุกคนรับทราบและช่วยกันตรวจสอบ พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายต่างๆให้ครบถ้วนเพื่อ เตรียมรับการตรวจสอบในการปิดงวดที่ 1 ซึ่งต้องนำหลักฐานให้ทางทีม สจรส มอ และพี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องด้วย
    • ร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชนในขณะนี้คือปัญหา การดูแลบุตรหลานไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด ผู้ใหญ่ ให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแล ถ้าพบเห็นกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุมให้แจ้งผู้ปกครองของแต่ละคนทราบ และผู้ใหญ่จะเน้นย้ำในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านด้วย
    • มอบหมายคณะทำงานเข้าร่วมประชุมปิดงวดในวันที่13 กุมภาพันธ์ 2559 ร่วมกับทีม สจรส มอ และพี่เลี้ยงโดยมอบให้ผู้ใหญ่ และเลขาเข้าร่วมพร้อมด้วยเหรัญหิก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะทำงาน 20 คนร่วมประชุมพูดคุยถึงการดำเนินงานในกิจกรรมที่ผานมาคือกิจกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน สรุปปัญหาในจัดกิจกรรม คนเก็บภาพต้องเก็บภาพให้ดีกว่านี้ ถ่ายภาพให้เห็นกระบวนการและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เหรัญหิกสรุปรายจ่าย และยอดเงินคงเหลือในขณะนี้ ให้ทุกคนรับทราบและช่วยกันตรวจสอบ พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายต่างๆให้ครบถ้วนเพื่อ เตรียมรับการตรวจสอบในการปิดงวดที่ 1 ซึ่งต้องนำหลักฐานให้ทางทีม สจรส มอ และพี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องด้วยร่วมพูดคุยปัญหาของชุมชนในขณะนี้คือปัญหา การดูแลบุตรหลานไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด ผู้ใหญ่ ให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแล ถ้าพบเห็นกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุมให้แจ้งผู้ปกครองของแต่ละคนทราบ และผู้ใหญ่จะเน้นย้ำในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านด้วยมอบหมายคณะทำงานเข้าร่วมประชุมปิดงวดในวันที่13 กุมภาพันธ์ 2559 ร่วมกับทีม สจรส มอ และพี่เลี้ยงโดยมอบให้ผู้ใหญ่ และเลขาเข้าร่วมพร้อมด้วยเหรัญหิก
    • ผลลัพธ์ ได้ทราบผลการดำเนินงาน ทั้งแก้ไขและป้องกันปัญหาที่พบ รวมทั้งวางแผนในการดำเนินกิจกรรมในวันปิดงวดที่1

     

    20 20

    15. ร่วมประชุมสรุปการดำเนินงานงวดที่ 1 (คืนเงินค่าเปิดบัญชี)

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    • รับฟังและร่วมกันสรุปการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งส่งรายงานการดำเนินกิจกรรม และการแก้ไขรายงานการทำกิจกรรมโดยครูพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ได้แก้ไขและส่งรายงานการดำเนินงานงวดที่ 1
    • ผลลัพธ์ ได้สรุปผลการดำเนินงานงวดที่ 1 และคืนเงินค่าเปิดบัญชี 100 บาท

     

    2 2

    16. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5/10

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00- 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการลงทะเบียนประชุม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการคือ ผู้ใหญ่ฉวีวรรณ พลมานพ ชี้แจงผลการดำเนินโครงการ ความก้าวหน้าของโครงการ ชี้แจงการประชุมสรุปโครงการในงวดที่หนึ่งกับคณะครูพี่เลี้ยง ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 13-14 ก.พ. 59
    • ร่วมกันรับประทานอาหารว่าง
    • วางแผนการทำกิจกรรมต่อไป คือ การอบรมการทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2 กำหนดผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างๆ ได้แก่
      • รับลงทะเบียน
      • ฝ่ายสวัสดิการ
      • ติดต่อและประสานงานกับวิทยาการ
      • เตรียมเอกสารและเครื่องมือในการอบรม
    • ชี้แจงปัญหาที่พบในงวดที่ 1 คือ ขาดคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในการเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการ ผู้รับผิดชอบทำการจัดซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คเพื่อการใช้งานต่อไป
    • ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 20 คนร่วมประชุมพูดคุยการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ผานมา พร้อมทั้งสรุปปัญหาในจัดกิจกรรม ผู้ใหญ่ชี้แจงผลการปรชุมปิดงวดที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้คณะกรรมการทราบ เหรัญหิกสรุปรายจ่าย และยอดเงินคงเหลือในขณะนี้ ให้ทุกคนรับทราบและช่วยกันตรวจสอบ และมีการวางแผนในและแบ่งหน้าที่ในการทำกิจกรรมต่อไป คือกิจกรรมอบรมการทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2
    • ผลลัพธ์ ได้ทราบปัญหาในการดำเนินกิจกรรม ร่วมการวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป

     

    20 20

    17. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 6/10

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    • ผู้ใหญ่ฉวีวรรณ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม
    • คณะกรรมการร่วมกันปรึกษาหารือและวางแผนการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป
    • ปิดประชุม แและนัดหมายสำหรับการประชุมในครั้งต่อป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 20 คนร่วมประชุมพูดคุยการจัดกิจกรรมต่างๆ ทบทวนหน้าที่และติดตามผลการมอบหมายหน้าที่ในการเตรียมทำกิจกรรมอบรมบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2 ร่วมการวางแผนการดำเนินกิจกรรมให้ครบถ้วนรัดกุม เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมมีปัญหาน้อยที่สุด ทั้งผู้รับผิดชอบในการติดต่อประสานงานกับวิทยากร ผู้รับผิดชอบประชาสัมพันธ์และคนในชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดหาเอกสาร/คู่มือการทำบัญชีครัวเรือน ผู้รับผิดชอบในการถ่ายเก็บภาพ
    • ผลลัพธ์ ได้วางแผนกิจกรรมกันอย่างครบถ้วนในทุกด้าน

     

    20 20

    18. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
    • ผู้จัดประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ขอการประชุม
    • แนะนำและร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสรา้งเครื่องมือที่จะนำมาใช้ดำเนินกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างแผนผังความคิด
    • ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนความรู้กับครูพี่เลี้ยงในเรื่องของเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารและการดำเนินงาน ด้านของคน ประกอบด้วย การเกิดภาวะผู้นำ การเกิด team work เกิดภาคีเครือข่ายเกิดคนต้นแบบ และเกิดนักปราชญ์ ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดแหล่งเรียนรู้ เกิดพื้นที่ปลอดบุหรี่ เกิดการฟื้นฟูวิถีชีวิต เกิดการพัฒนาบ้าน และการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ด้านกระบวณการและกลไก ประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพ การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ การใช้เงินแชร์งานแชร์คน วิธีการทำงาน เกิดกติกาชุมชน เกิดการประชุมกลุ่ม การทำประชาคม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และ เกิดเวทีชุมชน
    • ผลลัพธ์ มีความรู้ความเข้าใจในกระบวณการทำงานอย่างเป็นระบบ และครบทุกองคืประกอบ

     

    2 2

    19. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 7/10

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการ 20 คนลงทะเบียนประชุมครั้งที่ 7/10
    • ผู้ใหญ่ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินกิจกรรมขยายพันธุ์เขลียง
    • ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในรูปแบบและความต้องการในกิจกรรม ว่าประกอบด้วย 1. วิทยากร 2. วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในกิจกรรม 3. ผู้ประสานงานวิทยากร 4. ผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์
    • ร่วมกันวางแผนดำเนินกิจกรรมต่อไป แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและติดตามผลการมอบหมายหน้าที่ในการประชุมครั้งที่ 6/10 เรืองการวางแผนกิจกรรมการอบรมบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต มี่การชี้แจงการทำกิจกรรมต่อไป คือ การขยายพันธุ์เขลียง ร่วมกันออกแบบรูปแบบกิจกรรม มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ ผู้ประสานงานกิจกรรม ผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมผู้รับผิดชอบด้านสวัสดิการ
    • ผลลัพธ์ ได้ทราบผลการมอบหมายงานในกิจกรรมการอบรมบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2 ทั้งแก้ไขและป้องกันปัญหาที่พบ รวมทั้งวางแผนในการดำเนินกิจกรรมการขยายพันธุ์เขลียงต่อไป

     

    20 20

    20. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 8/10

    วันที่ 18 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการ 20 คนลงทะเบียนประชุมครั้งที่ 8/10
    • ผู้ใหญ่ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักและทำน้ำยาเอนกประสงค์สำหรับใช้ในครัวเรือน ทั้งทบทวนติดตามผลการมอบหมายหน้าที่ในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม2 กิจกรรมที่มีการประชุมในครั้งที่ 6 และ 7 ที่ผ่านมา คือ การอบรมทำบัญชีครัวเรือน และการขยายพันธุ์เขลียง
    • ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในรูปแบบและความต้องการในกิจกรรม ว่าประกอบด้วย 1. วิทยากร 2. วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในกิจกรรม 3. ผู้ประสานงานวิทยากร 4. ผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์
    • ร่วมกันวางแผนดำเนินกิจกรรมต่อไป แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบสำหรับกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักและทำน้ำยาเอนกประสงค์สำหรับใช้ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต มี่การชี้แจงการทำกิจกรรมต่อไป คือ การทำปุ๋ยหมักและทำน้ำยาเอนกประสงค์สำหรับใช้ในครัวเรือนร่วมกันออกแบบรูปแบบกิจกรรม มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ ผู้ประสานงานกิจกรรม ผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ผู้รับผิดชอบด้านสวัสดิการ
    • ผลลัพธ์ ได้ทราบผลการมอบหมายงานในกิจกรรมการอบรมบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2 และการขยายพันธุ์เขลียง ทั้งแก้ไขและป้องกันปัญหาที่พบ รวมทั้งวางแผนในการดำเนินกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักและทำน้ำยาเอนกประสงค์สำหรับใช้ในครัวเรือน ต่อไป

     

    20 20

    21. การประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงติดตามการดำเนินงาน

    วันที่ 26 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 2 คน เพื่อติดตามการดำเนินงาน
    • รับฟังการชี้แจงการดำเนินกิจกรรมต่อไปจากพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ได้เข้าร่วมการติตามการดำเนินกิจกรรมโดยพี่เลี้ยงผู้ติดตาม เพื่อทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาว่ามีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อดำเนินการแก้ไข และวางแผนในการทำกิจกรรมต่อไป
    • ผลลัพธ์ มีความเข้านกระบงณการดำเนินกิจกรรม ให้กิจกรรมบรรลุผลตามเป้า

     

    2 2

    22. อบรมการทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ ครั้ง 2

    วันที่ 13 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการคือ ผู้ใหญ่ฉวีวรรณ พลมานพ ชี้แจงผลการวัตถุประสงค์กิจกรรม และแนะนำวิทยากรคือ คุณ ขจร ทิพาพงษ์
    • คณะกรรมการแจกเอกสารและคู่มือในการอบรม คือ สมุดบันทึกบัญชีครัวเรือน
    • วิทยากรทำการอบรมการทำบัญชีครัวเรือน พร้อมทั้งให้ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติบันทึกการทำบัญชีครัวเรือน ทั้งแนะนำการวางแผนการออม
    • ผู้ร่วมโครงการฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือน สอบถามประเด็นสงสัยจากวิทยากร
    • เสร็จสิ้นการอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ผู้เข้าร่วมอบรมทราบวิธีและขั้นตอนในการทำบัญชีครัวเรือนพร้อมได้ฝึกปฎิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน และส่งเอกสารให้ทีมคณะกรรมตรวจสอบความถูกต้องจากการร่วมกันเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ การทำบัญชีครัวเรือน ส่วนใหญ่มีรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าบุหรี่ เหล้า ค่าซื้อหวยใต้ดิน ร่วมกันวางแผนแก้ไขโดยการให้ทุกครัวเรือนช่วยกันพยายามลดรายจ่ายในส่วนนี้ลง โดยมอบให้จับคู่ช่วยกันตักเตือนตรวจสอบซึ่งกันและกัน และได้เพิ่มเติมในการวางแผนการออม สำหรับทุนในยามฉุกเฉิน หรือยามจำเป็น
    • ผลลัพธ์ ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้องและวางแผนในแต่ละครัวทำบัญชีด้วยความเป็นจริง และช่วยกันตรวจสอบ

     

    100 114

    23. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและทำน้ำยาล้างจานและน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนครัวเรือนลงทะเบียนร่วมกิจกรรม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตุประสงค์และแนะนำวิทยากร คือ คุณ ขจร ทิพาพงษ์
    • วิทยากรสอนการทำน้ำยาล้างจานและให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยการทำน้ำยาล้างจาน
    • ผู้เข้าร่วมโครงการได้ความรู้และแบ่งน้ำยาล้างจานที่ร่วมการทำไปใช้ในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมมีความรู้ในการทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ต่างๆ สำหรับใช้ในครัวเรือน และสามารถทำน้ำยาล้างจานใช้เองในครัวเรือนได้ ทั้งยังเกิดการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งจากวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในด้านการเสนอความคิดเห็นในการนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาผลิตหรือเป็นส่วนผสมในน้ำยาเอนกกประสงค์ต่างๆ เช่น มะนาว มะกรูดใส่น้ำยาล้างจาน น้ำใบเตยหอม มะกรูด ว่านหางจระเข้ มาเป็นส่วนผสมในสบู่หรือยาสระผม
    • ผลลัพท์ คนในชุมชนสามารถทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่างๆ ใช้เองได้ รวมทั้งมีการดัดแปลงนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดการลดรายจ่ายในส่วนนี้

     

    100 114

    24. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 9/10

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • หัวหน้าโครงการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในครั้งที่แล้ว ว่าประสบผลสำเร็จ พร้อมทั้งมอบหมายให้ตัวแทนดำเนินการดูแลและติดตาม เพื่อให้กิจกรรมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
    • ชี้แจงกิจกรรมต่อไป พร้อมทั้งร่วมกันวางแผนการดำเนินการ และมอบหมายหน้าที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ ผู้ประสานงานกิจกรรม ผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ผู้รับผิดชอบด้านสวัสดิการ เป็นต้น
    • ผลลัพธ์ เกิดกระบวณการทำงานที่เป็นระบบ แลละครบถ้วนทุกด้าน ทั้งคณะกรรมได้ร่วมกันแสดงความสามารถตามศักยภาพในการทำกิจกรรม

     

    20 20

    25. สร้างกลุ่มขยายกิ่งพันธุ์เพื่อการจำหน่ายในชุมชน

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
    • หัวหน้าโครงการชี้แจงวัตถุปรสงค์ของการจัดกิจกรรม
    • ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อการขยายพันธุ์เขลียง โดยเลือกต้นเขลียงในสวนของนางอรรจรีย์ พรมเกิด เป็นสวนสำหรับการสาธิตการขยายพันธุ์ โดยนายธวัชชัย สิทธิรักษ์เป็นผู้แนะนำในการขยายพันธุ์เขลียง โดยการตอนกิ่งพันธุ์
    • จัดตั้งกลุ่มขยายกิ่งพันธุ์ ร่วมการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีในชุมชน เช่น ขุยมะพร้าว แกลบ เป็นต้น และในกลุ่มเพื่อการขยายพันธุ์ในด้านการจำหน่ายกิ่งพันธุ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต เกิดกลุ่มสำหรับการขยายพันธุ์เขลียงไว้จำหน่ายในชุมชุนบ้านควนยูง ทั้งวางแผนขยายผลสำหรับการจำหน่ายแก่ภายนอก สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่ม และมีความรู้ความสามารถเพิ่มในการต่ออยอดการขยายกิ่งพันธุ์พืชอย่างอื่น ได้แก่ มะนาว มะกรูด ชะอม เป็นต้น
    • ผลลัพธ์ ได้กิ่งพันธุ์เขลียงเพื่อการจำหน่าย ทำให้คนในชุมชนที่ร่วมในกลุ่มขยายกิ่งพันธุ์มีรายได้เพิ่มขึ้น

     

    50 69

    26. คัดเลือกครัวเรือนทำแปลงสาธิต ปลูกพืชเสริมรายได้ในร่องยางพารา

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
    • ผู้ใหญ่ฉวีวรรณ ชี้แจงกิจกรรม
    • ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 68 คน ร่วมกันประชุมเสนอแปลงสาธิตในการปลูกเขลียงเพื่อเป็นแปลงต้นแบบในชุมชนบ้านควนยูง
    • จากการเสนอและลงความเห็น สรุปได้ว่า เพื่อให้แปลงสาธิตเป็นแปลงของชุมชน ไม่ใช่ที่ดินของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จึงเลือกแปลงสาธิตในสวนยางของโรงเรียนวัดควนยูง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ได้ร่วมการเสนอความคิดเพื่อคัดเลือกแปลงสาธิตนสวนยางเพื่อทำการลงแขกปลูกเขลียง โดยการให้ตัวแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอสวนที่ตนเองคิดว่าควรแก่เป็นแปลงสาธิต ทั้งอธิบายเหตุผลที่เลือกแปลงนั้น มีการเสนอสวนยางของผู้ใหญ่ฉวีวรรณ เนื่องจากง่ายต่อการดูแล แต่อยู่คนข้างไกลจากบ้านผู้คน และเสนอสวนยางของโรงเรียนวัดควนยูง ที่อยู่ในศูนย์กลางชุมชน
    • ผลลัพธ์ ได้แปลงสาธิตคือ บริเวณสวนยางโรงเรียนวัดควนยูง

     

    50 68

    27. เรียนรู้การจักสานเพื่อเสริมรายได้ภาคครัวเรือน

    วันที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงเเบียน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและกล่าวเปิดงาน
    • แนะนำวิทยากร คือคุณสายพิน งามประดิษฐ์
    • วิทยากรสอนการทำเรื่องจักสาน คือ ข้องใส่ปลาและตะกร้าจากเส้นพลาสติก
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึนสานข้องใส่ปลาและตะกร้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้การจักสานข้องใส่ปลาและตะกร้าจากเส้นพลาสติก เกิดกลุ่มจักสาน ทั้งเกิดการแสดงความคิดเห็นในการนำวัตถุดิบที่มีในชุมชน เช่น ไม่ไผ่ เตย เป็นต้น มาสานเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อเป็นการลดต้นทุน แต่เพิ่มรายได้
    • ผลลัพธ์ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถทำการสานข้องใส่ปลาและตะกร้าจากเส้นพลาสติกทั้งใช้เองเพื่อต่อยอดเพื่อการจำหน่าย

     

    100 115

    28. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 10/10

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการลงทะเบียนประชุม
    • หัวหน้าโครงการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในครั้งที่แล้ว ว่าประสบผลสำเร็จ พร้อมทั้งมอบหมายให้ตัวแทนดำเนินการดูแลและติดตาม เพื่อให้กิจกรรมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
    • ชี้แจงกิจกรรมต่อไป พร้อมทั้งร่วมกันวางแผนการดำเนินการ และมอบหมายหน้าที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลลิต มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ ผู้ประสานงานกิจกรรม ผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ผู้รับผิดชอบด้านสวัสดิการ
    • ผลลัพธ์ เกิดกระบวณการทำงานอย่างเป้นระบบ

     

    20 20

    29. จัดงานเสวนา อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่บ้านควนยูง

    วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงเบียน
    • เชิญตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ อบต. นาแว โรงเรียนวัดควนยูง และเกษตรอำเภอมาร่วมในกิจจกรรม
    • ผู้ใหญ่ฉวีวรรณ กล่าวเปิดกิจกรรม
    • นำเสนอผลการดำเนินกิจกรรม ที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของบ้านควนยูงหลังจากร่วมกิจกรรมกับทาง สสส โดยที่เห็นได้ชัดคือ คนในชุมชนให้ความสนใจในการทำอาชีพเสริม และมีความตั้งใจที่จะทำอาชีพเสริม ซึ่งส่งผลให้เกิดรายได้เสริม จากทั้งการจักสาน การขยายกิ่งพันธุ์ และการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จากการทำบัญชีครัวเรือนแและทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เองในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คนในชุมชนมีรายได้เสริมจากการจักสาน และการขยายกิ่งพันธุ์ โดยมีการขยายผล นอกจากขยายกิ่งพันธุ์เขลียงยังมี ชะอม และมะนาว เป็นต้น ทั้งยังเกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จากการทำบัญชีครัวเรือน มีการวางแผนการใช้จ่าย และวางแผนกการออม แและทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่างๆ ใช้เองในครัวเรือน
    • ผลลัพธ์ เกิดกลุ่มจักสาน และกลุ่มขยายพันธุ์พืช คนในชุมชนีรายได้เพิ่มจากอาชีพเสริม และลดค่าใช่จ่ายจากการจำหน่ายสินค้าที่ผลิตขึ้นจากทั้ง 2 กลุ่ม และมีการวางแผนการใช้จ่าย และวางแผนการออม และสามารถทำน้ำยาเอนนกประสงค์ต่างๆ ใช้เองได้

     

    200 206

    30. อบรมการทำบัญชีครัวเรือนและฝึกปฏิบัติ ครั้งที่ 3

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกกรรม
    • ผู้รับผิดชอบโครงกการกกล่าเปิดการอบรมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการอบรม
    • วิทยากรโดย คุณ ขจร ทิพาพงษ์ อบรมการทำบัญชีครัวเรือน โดยสอนการวิเคราะห์และแปรผลของการทำบัญชีครัวเรือน ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้ครัวเรือนสามารถวางแผนการใช้จ่าย เพื่อลดราบจ่าย แต่เพิ่มเงินออม
    • รับประทานอาหารเที่ยวร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ครัวเรือนสามารถวิเคราะห์รายรับ รายจ่ายของครัวเรือนตนเองได้ ว่า รายจ่ายที่มากเกินกว่ารายได้ หรือรายจ่ายฟุ่มเฟือยมาจากสาเหตุใด ครัวเรือนสามรารถวางแผนการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ว่าควรลดค่าใช้จ่ายในส่วนใด ครัวเรือนที่ไม่สามารถลดรายจ่ายได้ หรือลดได้น้อยก็เกิดการวางแผนการเพิ่มรายได้เพื่อให้สมดุลกับรายจ่ายและเหลือเงินออมสำหรับอนาคต ครัวเรือนสามารถการวางแผนออมเงิน เมื่อทราบที่มาที่ของรายจ่าย และสามารถลดจ่ายได้ได้ พร้อมทั้งมีการเพิ่มรายได้ ทำให้ครัวเรือนมีเงินออมสำหรับอนาคต
    • ผลลัพธ์ ครัวเรือนสามารถวางแผนการใช้จ่ายได้ และวางแผนกการออมได้

     

    100 114

    31. ลงแขกปลูกพืชเสริมในร่องยางพารา

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน ณ ศาลาหมู่บ้าน
    • ผู้ใหญ่ฉวีวรรณ ชี้แจงขั้นตอนการทำกิจกรรม
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางจากศาลาหมู่บ้านไปยังสวนยางพาราของโรงเรียนวัดวนยูงทั้งร่วมกันขนย้ายพพันธุ์เขลียง อุปกรณ์ต่างๆ เช่น จอบ เสียม ปุ๋ยรองท้อง เป็นต้น ช่วยการขุดหลุม และปลูกเขลียงลงในแปลงสาธิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ร่วมลงแขกปลูกพืชเสริมในร่องยางพารา มีเเปลงเขลียงสาธิตสวนยางโรงเรียนวัดควนยูงที่เป็นส่วนรวมของชุมชน
    • ผลลัพธ์ ได้แปลงเขลียงที่เป็นส่วนร่วของชุมชน

     

    50 60

    32. ประชุมถอดบทเรียน

    วันที่ 27 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • หัวหน้าโครงการชี้แจงแก่คนในชุมชนถึงผลการดำเนินกิจกรรมกับ สสส ว่าเกิดผลอย่างไรต่อชุมชน โดยผลประกอบบด้วย
    • หลังจากทำกิจกรรมแล้วปรากฎว่าบรรลุตามวัตุประสงค์ที่วางไว้ ได้อาชีพเสริมให้คนในชุมชน ทั้งในส่วนที่ร่วมกันจักสาน และร่วมกันขยายกิ่งพันธุ์พืชต่างๆ
    • คนในชุมชนมีการทำบัญชครัวเเรือน เพื่อควบคุมรายรับรายจ่าย และวางแผนการอออมเงิน
    • มีผลตอบรับที่ดีจากคนในชุมชนอยากให้มีการพัฒนาต่อยอดในการตั้งกลุ่มทำขนม หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากชุมชน สามารถสร้างอาชีพเสริมได้ เช่น ตั้งกลุ่มทำข้าวเม้า ทำขนนพอง ขนมล และการจักสานที่หาวัสดุได้จากในชุมชนเอง ไม่ว่าจะเป็นเตยหนูมาสานเสื่อ สานข้องใส่ปลา ไม้ไผ่สานอุปกรณ์จับปลา เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • หลังจากทำกิจกรรมแล้วปรากฎว่าบรรลุตามวัตุประสงค์ที่วางไว้ ได้อาชีพเสริมให้คนในชุมชน ทั้งในส่วนที่ร่วมกันจักสาน และร่วมกันขยายกิ่งพันธุ์พืชต่างๆ
    • คนในชุมชนมีการทำบัญชครัวเเรือน เพื่อควบคุมรายรับรายจ่าย และวางแผนการอออมเงิน
    • มีผลตอบรับที่ดีจากคนในชุมชนอยากให้มีการพัฒนาต่อยอดในการตั้งกลุ่มทำขนม หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากชุมชน สามารถสร้างอาชีพเสริมได้ เช่น ตั้งกลุ่มทำข้าวเม้า ทำขนนพอง ขนมล และการจักสานที่หาวัสดุได้จากในชุมชนเอง ไม่ว่าจะเป็นเตยหนูมาสานเสื่อ สานข้องใส่ปลา ไม้ไผ่สานอุปกรณ์จับปลา เป็นต้น

     

    100 110

    33. จัดเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน

    วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
    • หัวหน้าโครงการชี้แจงกิจกรรม
    • ให้แต่ละครัวเรือนหรือตัวแทนคนในชุมชนออกมาแสดงความคิตเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพเสริมในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ด้านการจักสาน คนที่สนใจการจักสานก็ได้มีการต่อยอดเป็นอาชีพเสริมโดยการตั้งกลุ่มกันออกแบบการจักสานจากเส้นพลาสติก ทั้งเป็นตะกร้า กระเป๋า ทั้งการใช้เองและเพื่อจำหน่าย ด้านการขยายกิ่งพันธุ์ จากที่ชุมชนบ้านควนยูงเลือกที่จะขยายกิ่งพันธุ์ นำไปสู่การต่อยอดขยายกิ่งพันธุ์พืชอย่างอื่นที่มีในชุมชน ได้แก่ มะนาว ชะอม และการทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่างๆ ใช้เองในครัวเรือน จากการรทำบัญชีครัวเรือน คนในชุมชนสามารถวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ ทำให้เกิดกการวางแผนการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ และมีการออมเพิ่มขึ้น
    • ผลลัพธ์ คนในชุมชนมีรายได้เพิ่ม และลดค่าใช้จ่าย

     

    100 113

    34. ประชุมปิดโครงการกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับฟังการชี้แจงการส่งแบบรางามตามกลุ่มที่พี่เลี้ยงได้จัดไว้
    • รวบรวมเอกสารให้พร้อมสำหรับส่งให้ สจรส ตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต จากการรวบรวมเอกสารใให้พี่เลี้ยงตรวจ พบว่าขขาดเอกสารหลักฐานในบางส่วน
    • ผลลัพธ์ ได้รวบรวมเอกสารเพื่อเตรียมความพร้อมในการปิดโครงกการ ทั้งแก้ไขและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดแและไม่ครบถ้วน

     

    2 2

    35. ร่วมงานคนใต้สร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการ ร่วมกิจกรรมงานสร้างสุขคนใต้ วันที่ 3 ตุลาคม 2559 - พิธีเปิด การแสดงโขนโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ร่วมกันร้องเพลงชาติไทย
    - กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
    - กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
    - ปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ - รายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ -เสวนา มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต โดยผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟิจะปะกียานายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญ นายทวีวัตร เครือสาย นายแพทย์ยอร์น จิระนคร ดำเนินรายการเสวนาโดย นายแพทย์ บัญชา พงษ์พานิช - ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม โดย นายอานนท์ มีศรี และนายฮารีส มาศชาย

    วันที่ 4 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุขแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม
    • ประชุมห้องย่อย เข้าห้องประเด็นชุมชนน่าอยู่ เสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงโดย คุณมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหย่บ้านทุ่งยาว คูณวิศิษฐ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วงคูณจำเรียง นิธิกรกุลนักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุงดำเนินการเสวนาโดย คูทวีชัย อ่อนนวน การแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวรนำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยคุณ สมยศบรรดา และทีมงานโครงการ นำเสนอ กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย คุณ วณิชญา ฉันสำราญ และทีมงานโครงการ นำเสนอกรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรนำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยคุณสมพร แทนสกุล และทีมงาน นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยนายอนุชาเฉลาชัย และทีมงาน ผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาบโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • ลานปัญญาเสวนา
    • ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง

    วันที่ 5 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรม
    • กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่าย
    • เสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน โดย นายแพทย์ภักดิ์ชัยกาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร. สุปรีดา อดุยยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล รองผู้อำนวยการสถานีโทรศัศน์ ไทย พี บี เอส ดำเนินการอภิปราย คุณณาตยา แวววีรคุปต์
    • พิธีปิด โดยผู้ร่วมเสวนาทุกท่านและผู้เข้าร่วมทุกคน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต ตัวแทนโครงการ จำนวน 2 คน ได้เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    • ผลลัพธ์

    1. ได้รับความรู้ในการทำงานเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ทั้งด้านแนวคิด และวิธีการ
    2. ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆ ของโครงการที่มานำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเองได้
    3. ได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เช่น สสส./ สช./ สปสช. เป็นต้น
    4. เกิดเครือข่ายในการทำงานเพื่อส่วนรวม สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และกำลังใจให้แก่กันเมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา
    5. มีความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่ต่อไป
    6. เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมพี่เลี้ยงของโครงการ และทีมงานในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้

     

    2 2

    36. จัดทำรายงาน สรุปปิดโครงการและล้างภาพถ่าย

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการ ช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และคัดเลือกภาพถ่ายกิจกรรม ทำการส่งจัดทำรูปเล่มและล้างอัดภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 2 คน ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และคัดเลือกภาพถ่ายกิจกรรม ทำการส่งจัดทำรูปเล่มและล้างอัดภาพ
    • ผลลัพธ์ มีเอกสารรูปเล่มฉบับสมบรูณ์ และภาพกิจกรรมเก็บนชุมชนและส่ง สสส

     

    2 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อให้เกิดองค์กรชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมและแก้ปัญหาของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดสภาชุมชนขึ้น 1ชุด 2. คณะกรรมการร้อยละ 80 ได้เข้าร่วมการประชุมและรับทราบในกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ 3. เกิดกลุ่มขยายพันธ์พืชเพื่อการจำหน่าย 1 กลุ่ม 4. เกิดความเชื่อมโยงกับส่วนราชการ ทั้งภายในและภายนอก
    1. เกิดสภาชุมชนขึ้น 1ชุดสภาชุมชนบ้านควนยูง
    2. คณะกรรมการร้อยละ 100 ได้เข้าร่วมการประชุมและรับทราบในกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการทุกระยะขั้นตอนที่ผ่านมา
    3. เกิดกลุ่มขยายพันธ์พืชเพื่อการจำหน่าย 1 กลุ่มผลิตกิ่งพันธุ์ เช่น เขลียง มะนาว ฯลฯ
    4. เกิดความเชื่อมโยงกับส่วนราชการ ทั้งภายในและภายนอก มีการประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อการช่วยเหลือเมื่อชุมชนต้องการ
    2 เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ภาคครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนร้อยละ 50 จาก 100 ครัวเรือนมีรายจ่ายรวมภาคครัวเรือนลดลง เทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา 2. ครัวเรือนร้อยละ20 จาก 100 ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพเสริม 3. ครัวเรือนร้อยละ 50 สามารถวิเคราะห์รายรับ - รายจ่ายได้ 4. ครัวเรือนร้อย 50 สามารถทำน้ำยาล้างจาน ซักผ้า ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ฯลฯ เพื่อลดรายจ่ายได้
    1. ครัวเรือนร้อยละ 65 จาก 100 ครัวเรือนมีรายจ่ายรวมภาคครัวเรือนลดลง เทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมายังไม่ดำเนินการ
    2. ครัวเรือนร้อยละ 35 จาก 100 ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพเสริม ครัวเรือนร้อยละ 65 สามารถวิเคราะห์รายรับ - รายจ่ายได้ ยังไม่ดำเนินการ
    3. ครัวเรือนร้อยละ 65 สามารถทำน้ำยาล้างจาน ซักผ้า ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ฯลฯ เพื่อลดรายจ่ายได้กะลังดำเนินการ และเตรีมการในการจัดกิจกรรม
    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ.ร้อยละ 100 ของจำนวนครั้งที่จัดที่ผ่านมา
    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้เกิดองค์กรชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมและแก้ปัญหาของชุมชน (2) เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ภาคครัวเรือน (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง

    รหัสโครงการ 58-03938 รหัสสัญญา 58-00-2183 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การทำแชมพูเตยหอม ส่งเสริมให้ประชาชนใช้และแปรรูปเพื่อจำหน่าย

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมระหว่าง ครัวเรือนกับครัวเรือน ครัวเรือนกับผู้นำและระหว่างผู้นำกับผู้นำเกิดการประชุมกันอย่างต่อเนื่องเดือนละ1ครั้ง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดการจัดการวิธีการทำงานโดยกระบสนการสภาผู้นำและคณะกรรกมารชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนและกลุ่มจักสานทำให้ชุมชนเกิดกลุ่มสร้างเสริมอาชีพและการส้าางรายได้เกิดขึ้น

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    ชะมชนเกิดการเฝ้าระวังก้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องเรียนรู้และดูแลกันเอง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ส้งเสริมการกินผักปลอดสารพิษในชุมชนครบทุกขั้นตอน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ประชาชนเกิดการออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่องเกิดกลุ่มออกกำลังกายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้เรื่องของการออกกำลังกายและสุขภาพ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ตัวครัวเรือนบางส่วนที่มีพื้นฐานของหารสูบบุหรี่เมื่อเห็นความต้องการของโครงการ ทำให้หลายคนหันมาเลิกบุหรี่

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    เกิดการให้ความรุ้ เรื่องหารจัดการอารมณ์และความเครียดโดยหรพบวนการเชิญชวนให้ชาวบ้านหันมาออกกำลังหายเพื่อลดความเครียด

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ที่ประชุมเกิดการกล่าวถึงเรื่องของการทิ้งขยะในชุมชน เร่งรัดให้มีการควบคุมการทิ้งขยะซึ่งไก้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและในโอกาสต่อไปดสนอให้ทางชุมชนดำเนอนหารจัดการเองต่อไป

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดกลุ่มอาชีพเช่น กลุ่มขยายพันธุ์พืชพื้นบ้าน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    หารดำเนินงานประสานงานกับโรงเรียนบ้านควนยูง รพสตบ้านควนสวรรค์องค์การบริหารส่วนตำบลนาแวและการศึกษานอกระบบอำเภอฉวาง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ชุมชนเกิดการเรียนรู้แก้ปัญหาโดยส่วนร่วมในรูปแบบของคณะกรรมหารสภาชุมชนโดยการนำเรื่องที่จะพัฒนาในชุมชนมาร่วมคิดร่วมทำ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ครัวเรือนผู้นำเกิดความพึงพอใจกละภูมิใจในการดำเนินงานของตนเอง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03938

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง ฉวีวรรณ พลมานพ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด