แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา ”

บ้านห้วยแหยง ม.4 ต.ท่าประจะ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย สุทัศน์ ปานจีน

ชื่อโครงการ บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

ที่อยู่ บ้านห้วยแหยง ม.4 ต.ท่าประจะ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03942 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2020

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านห้วยแหยง ม.4 ต.ท่าประจะ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านห้วยแหยง ม.4 ต.ท่าประจะ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03942 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,800.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 350 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อให้คนชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยกระบวนการสืบสานภูมิปัญญา
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการใหม่

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 08:00 น. - 22.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง 3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงินในการเขียนบิลในการเขียนใบสำคัญรับเงินต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนด อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการถ่ายรูปในการทำกิจกรรม ว่าจะต้องถ่ายกิจกรรมให้เป็นกิจกรรมที่มีชีวิตและสามารถมองออกได้ว่าเป็นกิจกรรมอะไรกำลังทำกิจกรรมอะไรเพื่อเป็นการสื่อให้คนที่ดูภาพได้เห็นถึงกิจกรรมที่ได้ทำไปรวมถึงการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์ และการบันทุกรูปในภาพในเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
    ผลผลิต
    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2คน
    ผลลัพธ์ 1. ไดเเรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการในการทำกิจกรรมจะต้องมีการเก็บภาพถ่ายบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์เตรียมเอกสารด้านการเงินให้ถูกต้อง
    2. เรียนรู้วิธีดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
    3. ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ ในการกำหนดกิจกรรมในปฏิทินโครงการ ว่ากิจกรรมจะทำในวันไหน ช่วงเดือนไหนและได้กำหนดการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน
    4.ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน อย่างเช่นการเบิกจ่ายเงินต้อง 2 ใน 3 คน ให้เบิกจ่ายตามรายกิจกรรมให้มีการบันทึกกิจกรรมและรูปภาพในเว็บไซต์ตามกิจกรรมที่ได้ทำ

     

    2 2

    2. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยง ครั้งที่ 1

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น. -12.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่1โดยมีกำนันสุทัศน์ ปานจีนผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวทักทาย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยกำนันและคณะทำงานได้ของบประมาณจากสสส.และได้สนับสนุน ในชื่อโครงการบ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญาโดยในโครงการก็จะมีกิจกรรม ที่จะทำในโครงการดังนี้

    1. มีสภาผู้นำชุมขน โดยจะมีการคัดเลือกผู้นำชุมชน ประธานเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ คณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะทำงาน เพื่อพัฒนาเป็นสภาผู้นำชุมชน และได้มีการจัดตั้งสภาผู้นำเกิดขึ้นในชุมชนซึ่งประกอบด้วย โดยจะมีการประชุม ทุกเดือนเดือนละครั้งเพื่อจะเป็นการติดตามโครงการ และวางแผนในการทำกิจกรรมต่างในโครงการ

    2.สำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน โดยจะมีกลุ่มผู้นำชุมชนอสม. และกลุ่มเยาวชนร่วมกันจัดทำแบบสำรวจสถานการณ์ และผลกระทบจากปัญหายาเสพติด การลักขโมย ในชุมชน ใช้แบบสอบถาม สำรวจเป็นทีมและกำนันก็จะแจ้งประสานงานให้ทุกครัวเรือนรับทราบเพื่อขอความร่วมมือในการจัดทำแบบสำรวจ และก็ร่วมสรุปและวิเคราะห์ผลการสำรวจครัวเรือนและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจเป็นภาพของกลุ่มและหมู่บ้าน และก็นำข้อมูลไปคืนข้อมูลสู่ครัวเรือนและสู่ชุมชน
    3.ประชาสัมพันธ์โครงการ ให้ประชาชนได้รับทราบและได้เข้าร่วมกิจกรรม

    4.วิเคราะห์เส้นทางยาเสพติด กำนันก็จะรวบรวมรายชื่อเยาวชน ที่มีประวัติเกี่ยวกับข้องกับยาเสพติด ทั้งที่เคยทดลอง เสพ หรือสนุกสนานตามเพื่อ โดยใช้ฐานข้อมูลเพื่อเชิญครอบครัวที่มีเยาวชน มานั่งพูดคุย เพื่อปรับความเข้าใจ ปรับแนวคิด และหาวิเคราะห์หาเส้นทางยาเสพติดในชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

    5.จัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน โดยจะเชิญแกนนำอาสา ครูภูมิปัญญา มานั่งทำความเข้าใจ และให้มีการฝึกสาธิต เขียนแนวทางปฏิบัติที่วัยรุ่นสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ซึ่งจะจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้แก่เยาวชนกลุ่มที่ติดยาและกลุ่มเสี่ยงได้เรียนรู้ในการปฏิบัติจริง โดยมีฐานเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน ดังนี้ 2.1 ฐานเรียนรู้เรื่องศิลปะมวยไทยเป็นกระบวนการฝึกให้มีการเรียนรู้ในเรื่องการนำมวยไทยมาสร้างสุขภาพ เรียนรู้มวยไทยเพื่อการป้องกันตนเองเรียนรู้มวยไทยเพื่ออนุรักษ์ไทย2.2 ฐานเรียนรู้เส้นทางขนมจีน เป็นการฝึกให้มีการเรียนรู้ในการนำวัตถุดิบในชุมชน คือ ข้าว มาแปรรูปเป็นขนมจีน จะสอนตั้งแต่การเตรียม การทำขนมจีน โดยเน้นความปลอดภัย สะอาด ไม่มีสารกันบูด2.3 ฐานเรียนรู้เรื่องการตัดผม โกนผม โกนหนวด เป็นฐานสำหรับเยาวชนชาย-หญิง ได้เรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง สอนเทคนิคการตัดผม การโกนหนวด การโกนผม 2.4 ฐานการเรียนรู้เรื่องปุ๋ยหมัก น้ำหมัก เป็นการนำเศษอาหาร เศษผัก หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ มาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ไปใช้ในการเกษตร ทำให้ผลผลิตที่ออกมาปลอดภัย ปลอดสารพิษ 2.5 ฐานเรียนรู้เรื่องการแปรรูปอาหาร เป็นการนำผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากชุมชนมาแปรรูป ได้แก่ ปลาดุกแดดเดียว สามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ในอนาคตและเรียนรู้การถนอมอาหารอย่างปลอดภัย
    และก็จะให้เยาวชนและคนในชุมชนได้เรียนรู้ ในฐานเรียนรู้ที่ได้จัดขึ้นและก็จะพูดคุยและแลกเปลี่ยนกัน และก็ได้นัดหมายกิจกรรมในครั้งต่อไป คือกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการในวันที่ 6ตุลาคม 2558ก็จะฝากคณะทำงานและประชาชนที่ทราบแล้วก็ช่วยประชาสัมพันธ์โครงการและเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมประชุม26คน
    ผลลัพธ์
    1.คนในชุมชนได้ทราบถึงการจัดทำโครงการ สสส. 2.ได้ทราบถึงการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้คณะทำงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับทราบถึงกิจกรรมที่จะทำในโครงการ 3.มีการพบปะพูดคุยกันในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันในชุมชนมีการเสนอความคิดเห็นในการเลือกสภาผู้นำ

     

    26 26

    3. ประชาสัมพันธ์โครงการ

    วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 น. - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชาสัมสัมพันธ์โครงการและเปิดดครงการโดยวันนี้จะมีพี่เลี้ยงคือคุณโชตินันท์จันทโชติมาร่วมชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการเริ่มด้วยกำนันสุทัศน์ ปานจีนกล่าวตอนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ ซึ่งทางกำนันและคณะทำงานก็ได้ของบประมาณจาก สสส.เพื่อมาพัฒนากระบวนกการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ชุมชนสามารถร่วมกันพัฒนาเองได้ และหลังจากนั้นก็ได้เชิญพี่เลี้ยงมาพูดคุยและชี้แจงกิจกรรมที่จะมีขึ้นในโครงการโดยโครงการมีวัตถุประสงค์คือ

    1.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือนการประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน 2.เพื่อให้คนชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยกระบวนการสืบสานภูมิปัญญา 1)โดยครัวเรือนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 30 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมทุกครัวเรือน
    2)ครัวเรือนเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมครบทุกครั้งร้อยละ 95 3)ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีรายได้เพิ่มขึ้น เดือนละ 1,500 บาท
    4) มีฐานเรียนรู้ชุมชน 4 เรื่อง คือ (1) ศิลปะมวยไทย (2)การทำขนมจีน(3)การตัดผม โกนหนวด โกนผม(4) ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

    และกิจกรรมที่จะมีขึ้น คือ 1.จะมีสภาผู้นำชุมขน โดยจะมีการคัดเลือกผู้นำชุมชน เครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ คณะกรรมการหมู่บ้าน และและคนในชุมชนเพื่อมาพัฒนาเป็นสภาผู้นำชุมชน และคณะทำงาน โดยจะมีการประชุม ทุกเดือนเดือนละครั้งเพื่อจะเป็นการติดตามโครงการ และวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆในโครงการ

    2.มีการสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน โดยจะมีกลุ่มผู้นำชุมชนอสม. และกลุ่มเยาวชนร่วมกันจัดทำแบบสำรวจสถานการณ์ และผลกระทบจากปัญหายาเสพติด การลักขโมย ในชุมชน ใช้แบบสอบถาม สำรวจเป็นทีมและกำนันก็จะแจ้งประสานงานให้ทุกครัวเรือนรับทราบเพื่อขอความร่วมมือในการจัดทำแบบสำรวจและก็ร่วมสรุปและวิเคราะห์ผลการสำรวจครัวเรือนและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจเป็นภาพของกลุ่มและหมู่บ้าน และก็นำข้อมูลไปคืนข้อมูลสู่ครัวเรือนและสู่ชุมชน
    3.ประชาสัมพันธ์โครงการ ให้ประชาชนได้รับทราบและได้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมในวันนี้ที่ทุกคนได้มาเข้าร่วมกิจกรมในวันนี้

    4.การวิเคราะห์เส้นทางยาเสพติด กำนันก็จะรวบรวมรายชื่อเยาวชน ที่มีประวัติเกี่ยวกับข้องกับยาเสพติด ทั้งที่เคยทดลอง เสพ หรือสนุกสนานตามเพื่อ โดยใช้ฐานข้อมูลเพื่อเชิญครอบครัวที่มีเยาวชน มานั่งพูดคุย เพื่อปรับความเข้าใจ ปรับแนวคิด และหาวิเคราะห์หาเส้นทางยาเสพติดในชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

    5.จัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน โดยจะเชิญแกนนำอาสา ครูภูมิปัญญา มานั่งทำความเข้าใจ และให้มีการฝึกสาธิต เขียนแนวทางปฏิบัติที่วัยรุ่นสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ซึ่งจะจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้แก่เยาวชนกลุ่มที่ติดยาและกลุ่มเสี่ยงได้เรียนรู้ในการปฏิบัติจริง โดยมีฐานเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน ดังนี้ 2.1 ฐานเรียนรู้เรื่องศิลปะมวยไทยเป็นกระบวนการฝึกให้มีการเรียนรู้ในเรื่องการนำมวยไทยมาสร้างสุขภาพ เรียนรู้มวยไทยเพื่อการป้องกันตนเองเรียนรู้มวยไทยเพื่ออนุรักษ์ไทย2.2 ฐานเรียนรู้เส้นทางขนมจีน เป็นการฝึกให้มีการเรียนรู้ในการนำวัตถุดิบในชุมชน คือ ข้าว มาแปรรูปเป็นขนมจีน จะสอนตั้งแต่การเตรียม การทำขนมจีน โดยเน้นความปลอดภัย สะอาด ไม่มีสารกันบูด2.3 ฐานเรียนรู้เรื่องการตัดผม โกนผม โกนหนวด เป็นฐานสำหรับเยาวชนชาย-หญิง ได้เรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง สอนเทคนิคการตัดผม การโกนหนวด การโกนผม 2.4 ฐานการเรียนรู้เรื่องปุ๋ยหมัก น้ำหมัก เป็นการนำเศษอาหาร เศษผัก หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ มาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ไปใช้ในการเกษตร ทำให้ผลผลิตที่ออกมาปลอดภัย ปลอดสารพิษ 2.5 ฐานเรียนรู้เรื่องการแปรรูปอาหาร เป็นการนำผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากชุมชนมาแปรรูป ได้แก่ ปลาดุกแดดเดียว สามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ในอนาคตและเรียนรู้การถนอมอาหารอย่างปลอดภัย
    และก็จะให้เยาวชนและคนในชุมชนได้เรียนรู้ ในฐานเรียนรู้ที่ได้จัดขึ้นและก็จะพูดคุยและแลกเปลี่ยนกัน จากการได้เรียนรู้ในฐานต่างๆ เมื่อพี่เลี้ยงได้ชี้แจงเสร็จแล้วกำนันสุทัศน์ก็กล่าวขอบคุณพี่เลี้ยงที่ได้มาพบปะและพูดคุยชี้แจงกิจกรรมในวันนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานพบว่า 1.ประชาชน 155 คน เข้าร่วมประชุมและได้แจ้งให้ชุมชนทราบถึงวัตถุประสงค์และที่มาของโครงการ สสส. 2.ได้บอกกล่าวถึงเรื่องงบประมาณที่ได้รับและวิธีการบริหารจัดการ ประชาชนได้รับรุ้ข้อมูลเท่ากัน 3.แจ้งให้ประชาชนในชุมชนทราบถึงกิจกรรมต่างๆที่จะต้องเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่มีอยู่ เช่นศิลปะมวยไทย การทำขนมจีนการตัดผลโกนโหนด ปุ๋ยหมัก แปรรูปอาหาร 4.เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

     

    150 155

    4. การทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น. 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้กำนันสุทัศน์ ปานจีนและนายปราโมทย์ชูทิพย์ได้ไปทำป้ายโครงการได้ไป ทำป้ายกิจกรรมโครงการ 1 ป้าย ป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1 ป้าย เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการและเป็นการรณรงค์การงดสูบบุหรี่ เพื่อติดไว้ ณ หอประชุมหมู่บ้าน บ้านห้วยแหยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน ผลผลิต 1.มีป้ายชื่อโครงการ1ป้าย
    2.ป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1ป้าย
    ผลลัพธ์ 1.มีป้ายสำหรับใช้ประชาสัมพันธ์โครงการ
    2.มีป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อเป็นการรณรงค์การงดสูบบุหรี่

     

    2 2

    5. สำรวจสถานการณ์ยาเสพติดครั้งที่ 1

    วันที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 น. - 17.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายสุทัศน์ ปานจีนได้มอบหมายให้คณะทำงานออกสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดกลุ่มเป้าหมายอายุ 20 -35 ปี เพื่อต้องการให้ช่วยกันลด ละเลิกยาเสพติด เพราะยาเสพติดเป็นเครื่องบั่นทอนอนาคตของเยาวชนผลการสำรวจออกมาชุมชนในพื้นที่มีความเห็นด้วยกับโครงการนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสำรวจและสอบถามกลุ่มเป้าหมายพบว่าเยาวชนได้เข้าใจถึงโทษของยาเสพติดแต่ยังมีเยาวชนบางกลุ่มยังไม่เข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติดและผู้สำรวจได้ชี้แจงว่ายาเสพติดเป็นอันตรายต่อชีวิตและสังคม ครอบครัว ประเทศชาติ ดังน้ั้นเราในฐานะเยาวชนของชาติต้องหลีกเดลี่ยงยาเสพติดจึงต้องช่วยกันรณรงค์มิให้มียาเสพติดเกิดขึ้นในชุมชนของเรา ข้อมูลรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน พบว่า

    1. วัยรุ่นยังยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดร้อยละ 2
    2. วัยรุ่นยังยุ่งเกี่ยวกับน้ำกระท่อม ร้อยละ 5
    3. วัยรุ่นยังสูบบุหรี่ โดยตังหรือทดลอง ร้อยละ 65
    4. วัยรุ่นมีการดื่มสุรา ร้อยละ 32

    และจากการสำรวจข้อมุลกลุ่มวัยทำงานพบว่า
    1. วัยทำงานสูบบุหรี่ ในกลุ่มเพศชาย ร้อยละ 47 2. วัยทำงานมีการดื่มสุรา เป็นประจำร้อยละ 14

    สรุปผลการดำเนินงานพบว่า

    1. ทีมผู้นำชุมชน 30 คน ได้สำรวจสถานการณ์และผลกระทบจากปัญหายาเสพติดจากกลุ่มเป้าหมาย พร้อมสอบถามความต้องการที่จะเรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆของโครงการ
    2. สรุปผลการสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่จะเรียนรู้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ พบว่า มีเยาวชนบางกลุ่มเสพยาเสพติด โดยสุ่มสำรวจกลุ่มเป้าหมาย 30 คน ผลสำรวจพบว่า มียาเสพติดอยู่ในหมู่บ้าน ผู้เสพยาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน และพ่อแม่ไม่เชื่อว่าลูกตัวเองเสพยา
    3. คณะทำงานมีแนวทางการแก้ปัญหาเสพติดในชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาและวิถีชุมชนมาช่วยแก้ปัญหา

     

    30 30

    6. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่2

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมสภาชุมชนครั้งที่ 2
    เริ่มด้วยคณะทำงานมาพร้อมกันที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านห้วยแหยง โดยมีกำนันสุทัศน์ปานจีนผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวตอนรับผู้เข้าประชุมและได้ชี้แจงกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา คือกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการและเปิดโครงซึ่งนั้นวันนั้นก็มีพี่เลี้ยงสสส.มาพบปะและชี้แจงการทำโครงการให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบกิจกรรม และก็ได้ไปทำป้ายไวนิลโครงการมาและกับป้ายเขตปลอดบุหรี่และกิจกรรม สำรวจสถานการณ์ยาเสพติดครั้งที่ 1ซึ่งเป็นการมาร่วมออกแบบแบบสำรวจร่วมกันเพื่อใช้ในการสำรวจข้อมูลในชุมชน

    ข้อมูลรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน พบว่า 1.วัยรุ่นยังยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดร้อยละ 2 2.วัยรุ่นยังยุ่งเกี่ยวกับน้ำกระท่อม ร้อยละ 5 3.วัยรุ่นยังสูบบุหรี่ โดยตังหรือทดลอง ร้อยละ 65 4.วัยรุ่นมีการดื่มสุรา ร้อยละ 32

    และจากการสำรวจข้อมุลกลุ่มวัยทำงานพบว่า
    1.วัยทำงานสูบบุหรี่ ในกลุ่มเพศชาย ร้อยละ 47 2.วัยทำงานมีการดื่มสุรา เป็นประจำร้อยละ 14

    และได้พูดคุยปรึกษาหารือถึงปัญหาในชุมชนว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีความสุขและลุกเดินไปข้างหน้า โดยไม่มียาเสพติดในชุมชนของเราเพื่ออนาคตของลูกหลานในวันข้างหน้า ที่ประชุมได้มีการเสนอว่าครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขยาเสพติดโดยการบุรณาการของทุกหน่วยงานต้องให้ความรว่มมือกันและหันมาแก้ไขปัญหาให้หมดไปและเราต้องช่วยกันให้เยาวชนมีคุณภาพต่อสังคมต่อไปและฝากถึงคณะทำงานให้ช่วยประชาสัมพันธ์บอกให้ชาวบ้านร่วมมือในการแก้ปัญหาครั้งนี้โดยให้มาเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ

    และก็ได้นัดหมายกิจกรรมในครั้งต่อไปคือ กิจกรรมสำรวจสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 2 ในวันที่ 13พฤศจิกายน2259กิจกรรมวิเคราะห์เส้นทางยาเสพติดในวันที่ 20พฤศจิกายน2259 และนัดประชุมสภาผู้นำครั้งต่อไปในวันที่6ธันวาคม2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานพบว่า
    ผลลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 26 คน ผลลัพธ์ 1.ยาเสพติดมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากครอบครัวแต่ละครอบครัวให้ควมสนใจในการเข้าร่วมโครงการ 2.มีการเสนอว่าต้องให้ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและมาร่วมกันทำกิจกรรม 3.มีการชี้แจงถึงกิจกรรมที่ได้ดำเนินการที่ผ่านมาคือกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการและเปิดโครงได้ทำป้ายไวนิลโครงการมาและกับป้ายเขตปลอดบุหรี่และกิจกรรมสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดครั้งที่ 1 4.ได้นัดหมายการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป กิจกรรมสำรวจสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 2 ในวันที่ 13พฤศจิกายน2259กิจกรรมวิเคราะห์เส้นทางยาเสพติดในวันที่ 20พฤศจิกายน2259 และนัดประชุมสภาผู้นำครั้งต่อไปในวันที่6ธัยวาคม2559

     

    26 26

    7. สำรวจสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 2

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำรวจครั้งที่ 2 เพื่อติดตามการสำรวจครั้งที่1 และวันนี้ได้วิเคราะห์ปัญหายาเสพติดเกิดจากอะไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

    1. กลุ่มเป้าหมาย 30 คน ได้เข้าร่วมประชุมและวิเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติด สาเหตุ และปัญหายาเสพติด
    2. กลุ่มเป้าหมายเริ่มให้ความสนใจกับโครงการ และยินดี รับปากจะเข้าร่วมโครงการ
    3. ผลการสำรวจพบว่ายังมียาเสพติดอยู่ในชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนเปรียบเทียบกับครั้งที่ 1 พบว่ายาเสพติดน่าจะมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากเยาวชนเริ่มให้ความสนใจในการเข้าร่วมโครงการและให้ข้อมูลเรื่องยาเสพติดมากขึ้น

    ผลการสำรวจ พบว่า สถานการณ์ยาเสพติดในชุมชนมีการลดละเลิกไปได้เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากเยาวชนมีความเข้าใจในเรื่องของยาเสพติดมากขึ้นและครอบครัวหันมาสนใจบุตรหลานมากขึ้นจึงทำให้ยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลง และคนในชุมชนมีความเห็นว่่าโครงการนี้มีประโยชน์ต่อส่วนรวมมากเยาวชนจะได้มีอนาคตที่ดีต่อไป

    สาเหตุการติดยาเสพติด

    1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 1.1 อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีกจนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นหรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด
      1.2 ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง ๆเพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหาย หรือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น 1.3การชักชวนของคนอื่นอาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่ เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิดเช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชาทำให้มีจิตใจแจ่มใสทำให้มีสุขภาพดีทำให้มีสติปัญญาดีสามารถรักษาโรคได้บางชนิดเป็นต้นผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือ เชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น
    2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวงปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้วรู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหารขนมหรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้น ๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง
    3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย 3.1คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่าง ๆเช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่ เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือเป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น 3.2.ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่นมีความวิตกกังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์จิตใจก็จะกลับเครียดอีกและ ผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้
      ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด 3.3.การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริงขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้
    4. สาเหตุอื่นๆการอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้ 4.1.คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่าง ๆเหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยผ่อนคลายความรู้สึกในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตามเช่นกลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้า หรือ สูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้นโดยพยายามทำงานให้หนัก และ มากขึ้นทั้ง ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้ 4.2. การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อน จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด 4.3.คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม
      สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น คือ

    5. จากการถูกชักชวนการถูกชักชวนนี้อาจจะเกิดจากเพื่อนสนิทที่กำลังติดยาอยู่และอยากจะให้เพื่อนลองบ้าง ปัญหานี้มักจะเกิดกับเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัวขาดความอบอุ่น ใจแตก เอาเพื่อนเป็นที่พึ่งนอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในแหล่งที่มีการซื้อขายยาเสพติดก็อาจจะได้รับการ ชักจูงคุณภาพของยาเสพติดว่าดีต่าง ๆ นานา เช่น อาจจะบอกว่า เมื่อเสพแล้วจะทำให้ปลอด โปร่งเหมาะแก่การเรียนการทำงาน การชักจูงดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ถูกชักจูง กำลังมึนเมา สุราเที่ยวแตร่กัน จึงทำให้เกิดการติดยาได้

    6. จากการอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น อยากจะรู้รสชาติ อยากสัมผัส โดยคิดว่า คงจะไม่ติดง่าย ๆ แต่เมื่อ ทดลอง เสพเข้าไปแล้วมักจะติด เพราะยาเสพติดในปัจจุบัน เช่น เฮโรอีน จะติดง่ายมาก แม้เสพเพียงครั้งหรือสอง ครั้ ก็จะติดแล้ว
    7. จากการถูกหลอกลวง ยาเสพติดมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ผู้ถูกหลอกลวงไม่ทราบว่า สิ่งที่ ตนได้กินเข้าไปนั้น เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรง คิดว่าเป็นยาธรรมดาไม่มีพิษร้ายแรงอะไรตามที่ผู้หลอกลวงแนะนำผลสุดท้าย กลายเป็นผู้ติดยาเสพติดไป
    8. เหตุทางกาย ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็นโรคปวดศีรษะ เป็นหืด เป็นโรคประสาทได้รับ ความทรมานทางกายมากผู้ป่วยต้องการบรรเทา พยายามช่วยตัวเองมานานแต่ก็ไม่หาย จึงหันเข้าหายาเสพติด จนติดยาในที่สุด
    9. จากความคึกคะนอง บุคคลประเภทนี้คิดว่าตัวเองเป็นคนเก่งอยากลองซึ่งรู้แก่ใจว่า ยาเสพติดให้โทษเป็นสิ่งไม่ดีแต่ด้วยความที่คึกคะนองเป็นวัยรุ่นไม่เกรงกลัวอะไร ต้องการแสดง ความเด่นดังอวดเพื่อนว่าข้านี้คือพระเอก ขาดความยั้งคิดจึงเสพยา เสพติดและติดยาในที่สุด
    10. จากสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่อยู่อาศัยแออัด เป็นแหล่งสลัม หรือเป็นแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด ภาวะ ทางเศรษฐกิจบีบคั้นจิตใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพล เหนือ จิตใจผลักดันให้ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว บางคนหันมาพึ่งยาเสพติดโดยคิดว่าจะช่วย ให้ตนเองหลุดพ้นจากสภาพต่าง ๆ ที่คับข้องใจเหล่านั้นได้

     

    30 30

    8. วิเคราะห์เส้นทางยาเสพติด

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากการสำรวจกลุ่มเสพยาเสพติดของหมู่บ้านจากกลุ่มเป้าหมาย 60 คน โดยมีการเชิญกลุ่มเป้าหมายมาประชุมเพื่อให้ความรู้และพูดคุยเพื่อหาสาเหตุของการติดยาและแหล่งมั่วสุมเพื่อหาทางออกและห่างไกลยาเสพติดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองหรือร่วมกับชุมชน โดยมีการจัดทำกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเสี่ยงที่สอดคล้องกับวิถีประจำวันในชุมชนที่ตนอยู่ จากการสำรวจข้างต้นทำให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมวิเคราะห์แก้ไขปัญหายาเสพติดจึงทำให้มีการประสานงานกันระหว่างผู้นำกัลเยาวชน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนโดยกลุ่มเป้าหมายและคณะทำงานร่วมกันนำภูมิปัญญยาในชุมชนมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวเช่นการเรียนรู้ศิลปะมวยไทย การทำขนมจีน การแปรรูปอาหาร และการทำปุ๋ยหมัก

    วันนี้ชวนกลุ่มเยาวชนมาเรียนรู้เรื่องยาเสพติด ผลกระทบ และการแก้ปัญหา 1. สถานการณ์ยาเสพติด จากข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สรุปผลการดำเนินการปราบปรามยาเสพติด นับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 ถึง 30 เมษายน 2546 ตามนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดขั้นแตกหัก ผลปรากฏว่า มีการจับกุมผู้ผลิต 423 ราย ผู้ต้องหา 353 คน จับกุมรายสำคัญ 1,505 ราย ผู้ต้องหา 1,729 คน รายย่อย 13,748 ราย ผู้ต้องหา 14,585 คน จับกุมผู้ต้องหาครอบครองยาบ้า 19,112 ราย ผู้ต้องหา 19,663 คน จับกุมผู้เสพ 19,442 ราย ผู้ต้องหา 19,653 ราย ตั้งจุดสกัด 182,123 ครั้ง จับกุมผู้เสพยาเสพติดได้ 5,041 ราย ผู้ต้องหา 5,322 คน ปิดล้อมแหล่งยาบ้า 64,911 ครั้ง จับกุมผู้เสพยาบ้าได้ 10,165 ราย ผู้ต้องหา 10,884 คน เข้าตรวจสถานบริการ 87,776 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 49,718 ราย พบปัสสาวะสีม่วง 2,679 คน รวมผู้ต้องหาที่จับได้ทั้งหมด 54,983 ราย จำนวนผู้ต้องหาทั้งสิ้น 55,983 คน ยึดของกลางยาบ้าได้ทั้งหมด 13,150,335 เม็ด และผลจากมาตรการดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตแล้วประมาณ 1,600 คน ? ผลสะท้อนจากนโยบายของรัฐบาล ได้รับเสียงปรบมือที่ดังกึกก้องจากประชาชน

    1. สาเหตุของการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดมีอยู่ 3 ปัจจัย คือ 1. ตัวสารเสพติด2. ผู้เสพ3. สิ่งแวดล้อม
    2. ตัวสารเสพติด โดยตัวของสารเสพติดจะมีฤทธิ์ Reinforcing effect ซึ่งหมายถึงฤทธิ์เสพติด หรือฤทธิ์ที่กระตุ้นให้คนอยากกลับไปใช้ใหม่อีกเรื่อยๆ ซึ่งเป็นฤทธิ์ต่อสมองและจิตใจทำให้เกิด Craving คือ ความยากใช้สารเสพติด โดยสารเสพติดจะไปกระตุ้นสมองบางส่วนทำให้เกิดความพอใจ และนำไปสู่ความยากใช้ (Craving) สารเสพติดในแต่ละตัวจะออกฤทธิ์ในสมองแต่ละส่วนที่ต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว สารเสพติดทั้งหมดจะไปกระตุ้นในส่วนที่เรียกว่า Brain Reward System ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมความพอใจ อยากจะทำ อยากจะใช้อยู่เรื่อยๆ
    3. ผู้เสพ ส่วนใหญ่เกิดจาก

    + เกิดความสงสัย อยากลอง ซึ่งพบในกลุ่มเด็กและเยาวชนผู้มีอายุน้อยมีความกระตือรือร้นอยากท้าทาย อยากทดลอง
    + ทัศนคติที่มีต่อสารเสพติด ถ้ามองว่าเป็นสิ่งที่เลว ก็จะไม่อยากลอง แต่ถ้ามีทัศนคติที่ไม่น่ากลัว ก็อาจจะทำให้อยากลองยา
    + ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด หากผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดที่ดี ก็จะมองยาในทางลบและไม่คิดที่จะลองเสพยาเสพติด

    1. สิ่งแวดล้อม

    + ความหายาก หาง่าย ภายในสภาพแวดล้อม ถ้าหายาได้ง่ายก็จะทำให้เกิดการลองใช้ยาได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าไม่สามารถหายาได้หรือหายายากก็จะทำให้ไม่มีโอกาสในการทดลองยา
    + ราคาของที่ถูกหรือแพง ก็จะทำให้เกิดโอกาสในการทดลองยาใช้ยา ที่แตกต่างกันในกรณีของยาที่ราคาถูกก็จะทำให้มีความสามารถในการซื้อหามาลองได้
    +กลุ่มหรือเพื่อน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเสพยา ถ้าอยู่ในกลุ่มที่ใช้ยาก็จะเกิดการชักชวนให้ทดลอง หรือในบางกรณี วัยรุ่นมักจะมีความรู้สึกว่าถ้าจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้จะต้องเหมือนๆ กับกลุ่ม
    +วัฒนธรรม หรือศาสนา เช่น ประเทศในตะวันออกกลางนับถือศาสนาอิสลามที่มีข้อบังคับ ห้ามดื่มสุรา จึงต้องหันมาใช้ยาเสพติดชนิดอื่น เช่น ฝิ่น หรือบนดอยมีการปลูกฝิ่นกันอย่างแพร่หลาย และมีประเพณีการใช้กันมานานจนรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา จึงมีการใช้ฝิ่นมาตลอด

    1. ผลกระทบของปัญหายาเสพติด ยาเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำลาย ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวมในมิติต่างๆ
      ผลกระทบต่อตัวบุคคล
      1.ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ตัวยาบางตัว เช่น แอมเฟตามีน หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ
    2. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทางการเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ
    3. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

    ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
    1. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
    2. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติทางจิต
    3. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
    4. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัวได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

    1. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน จากผลการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย มีลักษณะการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แม้แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีความตั้งใจจริง พยายามที่จะปราบปรามทั้งบนดินและใต้ดินเพื่อที่จะขจัดยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหานี้ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในชุมชนระดับรากหญ้า มาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ บทบาทของสถาบันทางสังคมไทยในระดับรากหญ้า ซึ่งประกอบด้วย สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันโรงเรียน และสถาบันศาสนา เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน ผู้เขียนขอแยกประเด็นการป้องกันปัญหายาเสพติดกับประเด็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดออกจากกัน เพื่อให้สะดวกแก่การเสนอแนวคิด
      4.1 การป้องกันปัญหายาเสพติด ปัญหายาเสพติดทำให้ประเทศชาติของเราต้องสูญเสียพลเมือง เด็กและเยาวชนไปเป็นจำนวนมาก ยาเสพติดทำลายทั้งสุขภาพ อนาคต ตลอดจนการสูญเสียชีวิต การป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นมาตรการที่ดีที่สุด ดั่งคำสุภาษิตที่ว่า ป้องกันไว้ ดีกว่าแก้แม้ในความเป็นจริงจะเรื่องยากมากที่พวกเราจะปกป้องลูกหลานของเราให้รอดพ้นจากวงจรของยาเสพติด แต่หากเรานิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร โดยอ้างว่าไม่ใช่หน้าที่ ไม่ใช่ธุระ การป้องกันปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งหรือองค์การใดองค์กรหนึ่ง แต่หากเป็นหน้าที่ของทุกคนในชาติที่จะต้องร่วมมือร่วมใจป้องกันไม่ให้ลูกหลานของเราตกเป็นทาสของวงจรอุบาทว์ โดยเฉพาะสถาบันทางสังคมในระดับรากหญ้าควรต้องมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการป้องกันปัญหานี้ พอจะแยกบทบาทหน้าที่ในการป้องกันปัญหายาเสพติดของสถาบันทางสังคมในระดับรากหญ้าได้ดังนี้
      4.1.1 บทบาทของสถาบันครอบครัว สถาบันครอบครัวถือเป็นสถาบันแรก ที่มีบทบาทหน้าที่ในการป้องกันปัญหายาเสพติดโดยตรง ทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย พ่อแม่ คือ บุคคลสำคัญในการอบรม เลี้ยงดู สั่งสอนลูก นอกจากนี้ยังจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ถูกต้องให้กับบุตรหลานการอบรมเลี้ยงดูเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์รู้กฎเกณฑ์ทางสังคม โดยผ่านทางผู้ให้การอบรม (พ่อ แม่) ทำให้คนคนนั้นเกิดการเรียนรู้และเกิดการประพฤติปฏิบัติตาม กระบวนการอบรมเลี้ยงดูจะอบรมกล่อมเกลาเด็กตั้งแต่เกิด โดยบุคคลที่อยู่แวดล้อม เช่น พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง เป็นต้น ทำให้เด็กได้รู้สึก ได้เข้าใจ ได้รู้สิ่งดีไม่ดี สิ่งใดควรทำไม่ควรทำ จนทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ เช่น เรียบร้อย เกเร มีมารยาท ไม่มีมารยาท ไปจนถึงลักษณะซื่อสัตย์ คดโกง มีเมตตา หรือโหดร้าย ดังนั้นสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะพ่อ แม่ เป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรู้สิ่งไหนดีไม่ดี สิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ จะต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับลูก รวมถึงการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูก เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่ถูกต้อง สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัวไม่สร้างปัญหาให้กับครอบครัว
      4.1.2 บทบาทของสถาบันชุมชนสถาบันชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กถัดจากสถาบันครอบครัว ชุมชนจึงมีส่วนสำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะชุมชนที่มีขนาดเล็ก คนในชุมชนจะต้องช่วยกันอบรมสั่งสอน ปลูกฝังค่านิยม อุดมการณ์ คุณธรรมที่ดีงามและเหมาะสม ช่วยกันสอดส่องดูแลเด็กและเยาวชนในชุมชนโดยเปรียบเสมือนเป็นลูกหลานของตนเอง ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี คนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดี คนในชุมชนประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน เด็กและเยาวชนย่อมเจริญเติบโต และเรียนรู้แต่สิ่งดีๆ จากชุมชน
      4.1.3 บทบาทของโรงเรียน โรงเรียนเป็นอีกสถาบันหนึ่ง ที่จะต้องทำหน้าที่เชื่อมต่อจากสถาบันครอบครัว โรงเรียนเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนที่กว้างกว่าครอบครัว และเป็นสถาบันที่เด็กต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนานมาก และอยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้ การเลียนแบบ การจดจำ เป็นต้น ดังนั้นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งได้แก่ ครู จะต้องทำหน้าที่ในการถ่ายทอด การอบรม สั่งสอน รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ชีวิตส่วนใหญ่ของเด็กในปัจจุบันจะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนานกว่าในอดีต เด็กมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งที่ดีและไม่ดีจากโรงเรียนมากมาย ดังนั้นสถาบันโรงเรียนจึงจะต้องมีบทบาทและหน้าที่มากกว่าในอดีต นอกจากจะทำหน้าที่ถ่ายทอดให้ความรู้แล้ว สถาบันโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เหมือนสถาบันครอบครัวแห่งที่ 2 ซึ่งจะต้องคอยทำหน้าที่ปลูกฝังค่านิยมที่ดี ให้ความอบอุ่น ให้คำปรึกษาที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชนของชาติ
      4.1.4 บทบาทของสถาบันศาสนาศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน มายาวนานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สถาบันศาสนาเป็นแหล่งที่สร้างและค้ำจุนคุณธรรมความดีงาม สั่งสอนให้สอนให้คนเป็นคนดี ไม่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เสื่อมเสียศีลธรรมอันดีงาม ทั้งตัวแทนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดศาสนายังเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในชุมชน สถาบันศาสนา เป็นสถาบันอีกสถาบันหนึ่งที่เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน คนในชุมชนจะให้ความเกรงใจเป็นพิเศษ และคนในชุมชนยังยึดถือแบบอย่างที่ดีงามของสถาบันศาสนาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิต

    4.2 การแก้ไขปัญหายาเสพติด สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีทั้งผู้เสพ ผู้จำหน่าย ผู้ผลิต และผู้เสี่ยงที่จะไปใช้ยาเสพติดเพราะถูกชักจูงหรืออยากทดลอง ดังนั้นการป้องกันปัญหาอย่างเดียวทำไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหายาเสพติดไปพร้อมๆ กัน ในเมื่อสถานการณ์ปัจจุบันมีทั้งผู้เสพ ผู้จำหน่าย ผู้ผลิต และกลุ่มเสี่ยง เราจะทำอย่างไรบุคคลเหล่านี้จึงจะหมดไป ในที่นี้ไม่ได้หมายความเช่นเดียวกับรัฐบาลที่กำลังทำให้บุคคลเหล่านี้หมดไปจากโลกนี้ แต่หมายความว่า ทำอย่างไรบุคคลเหล่านี้จะเลิกเสพ เลิกผลิต เลิกค้า
    4.2.1 บทบาทของสถาบันครอบครัว สถาบันครอบครัวถือเป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันปัญหายาเสพติด ในขณะเดียวกันก็เป็นสถาบันแรกที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติด เมื่อเราทราบว่าบุตรหลานของเราติดยาเสพติด เราจะทำอย่างไร? เราจะต้องตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินกว่าเหตุ แล้วค้นหาให้พบถึงสาเหตุของการติดยา พูดคุยทำความเข้าใจถึงโทษของยาเสพติด ให้ความหวังกับลูก ปรึกษาแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ด้านนี้เพื่อทำการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจเพื่อป้องกันการกลับไปใช้ยาอีกครั้งหนึ่ง
    4.2.2 บทบาทของสถาบันชุมชนสถาบันชุมชนต้องทำบทบาทหน้าที่ต่อจากสถาบันครอบครัว สอดส่องดูแลบุคคลในชุมชน ปลูกฝังค่านิยมที่ดี สร้างวัฒนธรรมที่ดีงาม ให้การยกย่องนับถือคนดี ไม่นับถีอคนที่เงิน ไม่ให้เกียรติคนที่ประพฤติปฏิบัติตนไม่ดียนอกจากนี้ชุมชนต้องเข้าใจเห็นใจผู้ที่กลับตัวกลับใจ เห็นความสำคัญของกลุ่มคนดังกล่าวเป็นพิเศษ เพราะหากกลุ่มคนดังกล่าว หันกลับไปใช้ยาเสพติดอีกก็จะสร้างปัญหาให้กับชุมชนอย่างไม่รู้จักจบสิ้น หากยังมีบุคคลที่ยังมีกิเลสหนาอยู่อีกไม่ยอมลด ละ เลิก ชุมชนจะต้องมีความเข้มแข็งพอที่จะใช้มาตรการทางสังคมขั้นเด็ดขาด เช่น ไม่คบค้าสมาคมด้วย ไม่ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน คนในชุมชนไม่พูดจาด้วย ไม่ยอมรับว่าบุคคลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นต้น
    4.2.3 บทบาทของโรงเรียน เด็กและเยาวชนใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน ครูจึงเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โรงเรียนจะต้องกล้าเผชิญกับความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นห่วงแต่ชื่อเสียงของโรงเรียน เมื่อโรงเรียนประสบกับปัญหาเด็กนักเรียนติดยาจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันทีเพื่อหาแนวทางแก้ไข ส่งไปทำการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจเพื่อที่จะสามารถกลับมาเรียนหนังสือได้ตามปกติ ครูจะต้องมีบทบาทสำคัญในการชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับนักเรียนที่ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจเพื่อที่จะสามารถเรียนหนังสือได้ตามปกติ
    4.2.4 บทบาทของสถาบันศาสนา หลักคำสอนของศาสนามีส่วนสำคัญในด้านจิตใจ ทำให้จิตใจสงบ เป็นที่พึ่ง และที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในชุมชน ทุกชุมชนมีสถาบันทางศาสนาเป็นแหล่งที่พึ่งตั้งแต่เกิดจนถึงตาย สถาบันศาสนาจึงมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยอาจจะทำหน้าที่ในการปรับสภาพจิตให้ให้แก่ผู้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟู หรือการใช้หลักคำสอนของศาสนาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน เป็นต้น

    สิ่งที่กำนันสุทัศน์ได้พูดคุย เป็นเส้นทางของยาเสพติดท่ี่ทุกคนต้องช่วยกัน

    ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
    1.กลุ่มเป้าหมาาย คือกลุ่มเสพยาเสพติดของหมู่บ้านจากกลุ่มเป้าหมาย 60 คน ได้พูดคุยเพื่อหาสาเหตุของการติดยาและแหล่งมั่วสุมเพื่อหาทางออกและห่างไกลยาเสพติดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองหรือร่วมกับชุมชน โดยมีการจัดทำกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งแก้ไขปัญหาโดยให้กลุ่มเป้าหมายและคณะทำงานร่วมกันนำภูมิปัญญยาในชุมชนมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวเช่นการเรียนรู้ศิลปะมวยไทย การทำขนมจีน การแปรรูปอาหาร และการทำปุ๋ยหมัก

     

    60 60

    9. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่3

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่ 3
    เริ่มด้วยกำนันสุทัศน์ปานจีนผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวตอนรับผู้เข้าร่วมการประชุมในวันนี้และชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมาคือ กิจกรรมสำรวจสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 2 และกิจกรรมวิเคราะห์เส้นทางยาเสพติด

    กำนันสุทัศน์ได้กล่าวขอบคุณคณะทำงานที่ช่วยกันในการสำรวจปัญหายาเสพติดเพื่อนำไปวิเคราะห์แก้ไขปัญหาให้กับชุมชนให้ห่างไกลจากยาเสพติดเพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนควรแก้ไขให้ถูกต้องที่สุดเพราะปัจจุบันยาเสพติดที่เยาวชนหันมาเสพกันมากคือน้ำกระท่อม จึงขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานและทุกครัวเรือน ทุกคนหันมาแก้ไขปัญหานี้ให้หมดไป

    และนัดหมายชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมอบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงินที่มหาวิทยาลัยลักษณ์ในวันที่ 7ธันวาคม2559 กิจกรรมสำรวจสถานการณ์ยาเสพติด ครั้ง 3ในวันที่14ธันวาคม2559 กิจกรรมจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 1 ในวันที่ 18ธันวาคม2559และกิจกรรมเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 1ในวันที่ 19ธันวาคม2559 ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในเรื่องของศิลปะแม่ไม้มวยไทย และประชุม สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่ 4 ในวันที่6มกราคม 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 27คน ผลลัพธ์ 1.ได้ชี้แจงการทำกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมาคือกิจกรรมสำรวจสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 2 และกิจกรรมวิเคราะห์เส้นทางยาเสพติด 2.ได้นัดหมายชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมอบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงินในวันที่ 7ธันวาคม2559 กิจกรรมสำรวจสถานการณ์ยาเสพติด ครั้ง 3ในวันที่14ธันวาคม2559 กิจกรรมจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 1 ในวันที่ 18ธันวาคม2559และกิจกรรมเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 1ในวันที่ 19ธันวาคม2559 ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในเรื่องของศิลปะแม่ไม้มวยไทย และประชุม สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่ 4 ในวันที่6มกราคม 2559

     

    26 27

    10. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมอบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน และต้องไปพบปะพี่เลี้ยง และ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เวลา 09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรมที่เกิดขึ้น และได้พบ เจ้าหน้าที่ จากสจรส.มอ.โดยได้ชี้แจงเกี่ยวกับ 1.การเขียนรายงานและการเงินการบันทึก รายงานลงโปรแกรมโดยในการบันทึกข้อมูลนั้นในช่องกิจกรรม ผลดำเนินการ อาจจะเขียนในแบบกำหนดการเช่น 08.30 - 9.00 น. นัดประชุมที่ศาลาหมู่บ ้าน 9.00 – 10.00 น. คัดเลือกทีมงานสภาผ้นู ำ ชุมชน 10.00 – 12.00 น. วางแผนการดำเนินโครงการ เขียนในแบบเล่าเรื่อง พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน จากการชักชวนของผู้ใหญ่และเพื่อนบ้านมานนั่งคุยคัดเลือกทีมงานสภาผู้นำชุมชน วางแผนการทำงานโครงการในอนาคตส่วนการเขียนผลสรุปที่ได้จากกิจกรรมเช่น เขียนในแบบเป็นข้อๆ ผลผลิต 1. ผ้เูข้าร่วมกิจกรรมประชุมสภา จำนวน 100 คน 2. ได้คณะทำงานสภาผู้นำชุมชน 1 ชุด ซึ่งได้คัดเลือกร่วมกันและยอมรับในชุมชน 3. ได้แผนการดำเนินงาน 1 ฉบับ ผลลัพธ์ 1. ผ้เูข้าร่วมตัดสินใจร่วมกันคัดเลือกสภาผู้นำ มีความรู้ความเช้าใจเรื่องของโครงการ 2. รายชื่อสภาผู้นำมีดังนี้โดยแบ่งหน้าที่ไว้ดังนี้ 3. แผนการดำเนินงานมีดังนี้. .......เขียนในแบบเล่าเรื่อง........ ผลผลิต พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน 100 คน ได้ประชุมคัดเลือกสภาผู้นำจำนวน 20 คน และวางแผนการดำเนินร่วมกัน ผลลัพธ์ สภาผู้นำ มี นาย.... เป็นผู้ใหญ่บ้านนางสาว........เป็น อสม. นาง....../ แบ่งหน้าที่ประธานดูแลตัดสินใจทั้งหมด เลขาทำหน้าที่จดประชุม ประสานงาน....../ ได้วางแผนกันต่อไปว่าจะทำ.....ประชุมทุกวันที่ 10 ของเดือน........ และอย่าลืมคลิ๊กเลือกการประเมินกิจกรรมด้วยว่ามีผู้เข้าร่วมในเกณฑ์ระดับไหน และก็การบันทึกรายการการเงิน แนะนำการแยกประเภทของงบประมาณคือ 1)ค่าตอนแทนเช่นค่าวิทยากรค่าเจ้าหน้าที่ช่วยจัดการประชุมค่าการประสานงาน 2)ค่าจ้างเช่นค่าจ้างทำป้ายไวนิล 3)ค่าใช้สอยเช่นค่าที่พักค่าอาหารค่าห้องประชุมค่าถ่ายเอกสารค่าเดินทางค่าเช่ารถค่านำ้มันรถ 4)ค่าวัสดุเช่าค่ากระดาษปากกา 5)ค่าสาธารณูปโภคเช่นค่าส่งไปรษณีย์ค่าโทรศัพท์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 3 คน 2.ได้ฝึกการบันทึกลงเวปไซด์ 1 กิจกรรม ผลลัพธ์ 1.มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเขียนผลลัพธ์ ผลผลิต
    2.มึความรู้และเข้าใจเรื่องภาษีและสามารถบันทึกข้อมูลภาษีได้ 3.ได้เรียนรู้การบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ในการบันทึกรายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมอาจจะเขียนเป็นข้อหรือการเขียนแบบเล่าเรืองก็ได้ 4.ได้เรียนรู้การทำบัญชีด้านการเงิน การดูรายละเอียดของใบเสร็จ ว่าต้องมีรายละเอียดครบตามที่กำหนด
    5.ได้เข้าใจการแยกประเภทของงบประมาณ คือ1)ค่าตอบแทน2)ค่าใช้สอย3)ค่าจ้าง4)ค่าวัสดุ5)ค่าสาธารณูปโภค

     

    2 3

    11. สำรวจสถานการณ์ยาเสพติด ครั้ง 3

    วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากการสำรวจติดตามสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชนครั้งที่3 พบว่าเยาวชนที่ติดยาได้ลดลงมากเนื่องจากมีความเข้าใจในเรื่องของโทษภัยยาเสพติดและกลุ่มเยาวชนด้วยกันได้มีการชักชวนกันมาเล่นกีฬามากขึ้น ดังนั้นสภาผู้นำเห็นว่าเราต้องดำเนินการเรื่องยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากชุมชนของเรา จึงได้หารือกันว่าจะทำอย่างไรและได้มีมติที่ประชุมว่าต้องการให้ครอบครัวมีส่วนร่งวมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปจากชุมชน จึงเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งฐานเรียนรู้ตามภูมปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาต่อไปและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

    ผลการสำรวจข้อมุูลยาเสพติด ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 3มีการสำรวจเปรียบเทียบข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน พบว่า 1.วัยรุ่นยังยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดครั้งที่ 1 พบ ร้อยละ 2ครังที่ 3 พบร้อยละ 0.5 2.วัยรุ่นยังยุ่งเกี่ยวกับน้ำกระท่อมครั้งที่ 1พบ ร้อยละ 5 ครั้งที่ 3 พบร้อยละ 2 3.วัยรุ่นยังสูบบุหรี่ โดยตังใจหรือทดลอง ครั้งที่ 1 พบ ร้อยละ 65ครังที่ 3 พบร้อยละ 52 4.วัยรุ่นมีการดื่มสุรา ครั้งที่ 1 พบ ร้อยละ 32ครั้งที่ 3 พบ ร้อยละ 27 ซึ่งจากการสำรวจและเฝ้าระวัง พบว่ากลุ่มวัยรุ่น ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดน้อยลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน พบว่า
    1.กลุ่มเป้าหมาย 30 คน เข้าร่วมประชุม และสำรวจพบว่า ยาเสพติดในชุมชนลดลงเนื่องจากเยาวชนและประชาชนเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชนและเยาวชนได้หันมาเล่นกีฬามากขึ้นการร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆในชุมชนและได้มีการพบปะพูดคุยกันบ่อยขึ้น และคนในชุมชนมีความสามัคคีกันมากขึ้น

     

    30 30

    12. จัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.กำนันเชิญแกนนำอาสา ครูภูมิปัญญาในด้านของมวยไทยคือนายสุชาติ ศิริชุมและนายประเสริฐ บัวกิ่งมานั่งทำความเข้าใจ และให้มีการเขียนแนวทางปฏิบัติที่วัยรุ่นสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญามวยไทย เป็นการเรียนรู้กระบวนท่ามวยไทย การออกกำลังกาย และศิลปะการป้องกันตัวและให้เยาวชนได้รับการฝึกทักษะ เป็นเวลา 6 ครั้ง และไปฝึกการออกกำลังกายท่ามวยไทยต่อที่บ้าน โดยให้เรียนรู้กันที่ศาลาเอนกประสงค์ ซึ่งจัดทำเป็นฐานการเรียนรู้ศิลปะแม่ไม้มวยไทย ฐานเรียนรู้เรื่องศิลปะมวยไทยเป็นกระบวนการฝึกให้มีการเรียนรู้ในเรื่องการนำมวยไทยมาสร้างสุขภาพ เรียนรู้มวยไทยให้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เรียนรู้มวยไทยเพื่อการป้องกันตนเอง เรียนรู้มวยไทยเพื่ออนุรักษ์ไทยจำนวน 6 ครั้ง ดังนี้
    ครั้งที่ 1 เรียนรู้เรื่องกฎกติกามารยาทของมวยไทย
    ครั้งที่ 2 เรียนรู้เรื่องการใช้อุปกรณ์มวยไทย ครั้งที่ 3 เรียนรู้เรื่องท่าศิลปะแม่ไม้มวยไทย
    ครั้งที่ 4 เรียนรู้เรื่องการชกต่อยและวิธีการป้องกันตัว
    ครั้งที่ 5 เรียนรู้เรื่องท่าไหว้ครูมวยไทย
    ครั้งที่ 6 ทบทวนการฝึกมวยไทยข้อ1-5
    ซึ่งจะนัดการเรียนรู้กันในวันที่19 ธันวาคม2559 โดยจะให้เยาวชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม หลังจากนั้นก็ได้จัดเตรียมสถานที่ในการฝึกศิลปะมวยไทยให้กับเยาวชนที่มีความสนใจที่จะเรียนรู้เพื่อใช้ในการป้องกันตนเองและประกอบอาชีพเพื่อมีรายได้ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
    ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม110คน ผลลัพธ์ 1.มีปราชญ์ด้านศิลปะมวยไทยคือนายสุชาติ ศิริชุม และนายประเสริฐ บัวกิ่งมาช่วยขียนแนวทางปฏิบัติที่วัยรุ่นสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ 2.ได้นัดหมายให้มาเรียนรู้ศิลปะแม่ไม้มวยไทยในวันที่19 ธันวาคม2559

     

    110 111

    13. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 1

    วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นการเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 1 หลังจากได้มีการจัดทำฐานเรียนรู้เรียบร้อยแล้วคณะทำงานพร้อมด้วยกลุ่มเป้าหมายได้มาร่วมเรียนรู้ศิลปะมวยไทยโดยมีการเชิญปราชญ์ผู้มีความรู้ความสามารถในเชิงมวยไทยนายสุชาติ ศิริชุมและนายประเสริฐ บัวกิ่งมาสอนและแนะนำเกี่ยวศิลปะมวยไทยโดยเริมมาที่มาและบอกความหมายของมวยไทย

    มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทยมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้พัฒนามาจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

    ศิลปะแม่ไม้มวยไทยหมายถึงการนำท่าของการผสมผสาน ของ การใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุก หรือรับ ในการต่อสู้ด้วย มวยไทยการจะใช้ศิลปะไม้มวยไทย ได้อย่าง ชำนาญ จะต้อง ผ่านการฝึก เบื้องต้น ในการใช้หมัด เท้า เข่าศอกแต่ละอย่าง ให้มีความคล่องแคล่วก่อนจากนั้น จึงจะหัด ใช้ผสมผสาน กันไปทั้งหมัด เท้า เข่า ศอกและศิลปะ การหลบหลีก ซึ่งก็ขึ้นอยู่ กับครูมวยไทย ที่จะคิดดัดแปลง พลิกแพลง เพื่อนำไปใช้ได้ผล ในอดีตมวยไทยไม่ได้ ใส่นวม จะชกกัน แต่ชกด้วยมือเปล่า หรือใช้ผ้าดิบ พันมือ จึงสามารถใช้มือ จับคู่ต่อสู้ เพื่อทุ่ม หัก หรือบิดได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิง ในการต่อสู้ มวยไทย มากกว่าการใช้พละกำลัง จึงเกิด ท่า มวยมากมาย ต่อมามีการกำหนด ให้นักมวยไทย ใส่นวมในขณะขึ้นชก แข่งขัน เช่นเดียว กับมวยสากล และ มีการออกกฎกติกาต่าง ๆ เพื่อเป็น การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น แก่ นัก มวยไทย และง่ายต่อการตัดสิน ท่ามวยไทย ที่มีมาแต่อดีต "บางท่าจึงไม่สามารถ นำมาใช้ ในการแข่งขันได้ ถือว่าผิดกติกา" และบางท่านัก มวยไทย ก็ไม่ สามารถ ใช้ได้ถนัด เนื่องจาก มีเครื่อง ป้องกัน ร่างกายมาก ท่ามวย บางท่า จึงถูกลืมเลือนไปในที่สุด ซึ่งทุกคนก็น่าเคยได้ยินชื่อของนักมวยคนนี้คือนายขนมต้ม ซึ่งนายขนมต้มนี้ก็ เป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ ๒ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้ากรุงอังวะ กษัตริย์พม่าโปรดให้จัดงานพิธีสมโภชมหาเจดีย์ใหญ่ ณ เมืองร่างกุ้ง ทรงตรัสให้หานักมวยไทยฝีมือดี มาเปรียบกับนักมวยพม่า แล้วให้ชกกันที่หน้าพระที่นั่ง ในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๗ ซึ่งนายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่าถึง ๑๐ คน โดยไม่มีการพักเลย การชกชนะครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างแดนเป็นครั้งแรก ดังนั้นนายขนมจึงเปรียบเสมือน "บิดามวยไทย" และวันที่ ๑๗ มีนาคม ได้ ถือว่า เป็นวันมวยไทย ซึ่ง ท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยที่สำคัญที่สุด อันเป็นพื้นฐานของการใช้ไม้มวยไทย ซึ่งผู้ฝึกมวยไทยต้องเรียนรู้ และปฏิบัติให้ได้ก่อนที่จะฝึกลูกไม้ถือว่าเป็นการใช้ไม้มวยไทยที่ละเอียดขึ้น บูรพาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิได้จัดแบ่งแม่ไม้มวยไทยออกเป็น ๑๕ ไม้ ได้แก่ 1)สลับฟันปลา 2)ปักษาแหวกรัง 3)ชวาซัดหอก 4)อิเหนาแทงกริช 5)ยอเขาพระสุเมรุ 6)ตาเถรค้ำฝัก 7)มอญยันหลัก 8)ปักลูกทอย 9)จระเข้ฟาดหาง 10)หักงวงไอยรา 11)นาคาบิดหาง 12)วิรุฬหกกลับ 13)ดับชวาลา 14)ขุนยักษ์จับลิง 15)หักคอเอราวัณ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมก็จะได้เรียนรู้กัน
    อุปกรณ์มวยไทย ในการฝึกซ้อมมวยไทยสมัครเล่น และมวยไทยอาชีพ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการฝึกซ้อมเพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพของนักกีฬามวยไทย ให้มีร่างกายแข็งแรง ทนทาน ความคล่องแคล่วว่องไว ในการใช้ทักษะมวยไทย จึงต้องมีอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมรวมถึงอุปกรณ์ในการแข่งขัน ซึ่งอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมและแข่งขันมวยไทยสมัครเล่น มีดังนี้ 1)นวม 2) กระสอบ 3) เป้าเตะ 4)เวทีมวย 5)เชือกกระโดด 6 )สนับแข้ง 7)สนับศอก 8)เครื่องป้องกันศีรษะ 9)เครื่องป้องกันลำตัว
    10)กระจับ 11)สลับฟัน
    และในส่วนของการ เรียนรู้เรื่องการชกต่อยและวิธีการป้องกันตัว และ เรียนรู้เรื่องท่าไหว้ครูมวยไทยจะสอนในเวลาที่ปฏิบัติ และหลังจากนั้นก็ให้เยาวชได้ฝึกการชกมวย และมีนักมวยที่เป็นเยวชนในชุมชน มาร่วมในกิจกรรมและได้แนนำสอนด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน
    ผลผลิต 1.มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 180 คน ผลลัพธ์ 1.เป็นการสืนสานภูมิปัญญาไทย โดยเยาวชนได้เรียนรู้เรื่องมวยไทยเกี่ยวกับความหมายของมวยไทยท่าของมวยไทยอุปกรณ์ของมวยไทย เป็นต้น 2.เยาวชนได้ฝึกปฏิบัติจริง 3.ลดช่องว่างระหว่างวัย เกิดความสามัคคีในชุมชนคือการได้มีวัยผู้ใหญ่มาสอนมวยไทยให้กับเยาวชนและเมื่อได้มาทำกิจกรรมร่วมกันก็ทำให้สามัคคีขึ้น 4.ประชาชนและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะมวยไทยที่ถูกต้อง มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้คน 3 วัยได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็ฯการลดช่องว่างระหว่างวัยได้ดี 5.เยาวชนหันมาสนใจในการฝึกมวยไทยเพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพต่อไปได้

    6.ยาเสพติดในชุมชนลดลงเนื่องจากเยาวชนและประชาชนหันว่าสนใจในการฝึกมวยไทยเพราะสามารถหารายได้เลี้ยงครอบครัวได้

     

    180 180

    14. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่4

    วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมสภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่4ซึ่งวันนี้กำนันสุทัศน์ปานจีนผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงถึงกิจกรรมที่ได้ทำผ่านมาคือกิจกรรมจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 1
    และเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 1ในเรื่องของศิลปะแม่ไม้มวยไทยซึ่งในวันทำกิจกรรม ก็มีปราชญ์ ด้านมวยไทยคือนายสุชาติ ศิริชุมและนายประเสริฐ บัวกิ่งมาแนะนำและสอนในเรื่องของมวยไทยในวันนั้นก็มีเยาวชนและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

    วาระที่ 2 เสนอเพื่อพิจารณา นายฉลอง เนียมสงค์ได้เสนอว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ครอบครัวไม่ยอมรับความจริง จึงร่วมกันแก้ปัญหาโดยให้ครอบครัวหันมายอมรับความจริงให้ได้และเปิดเผยให้สังคมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา และได้นัดกิจกรรมในครั้งต่อไป คือกิจกรรมจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 2 ในวันที่ 29 มกราคม 2559กิจกรรม เรียนรู้การปิดงวดรายงาน ครั้งที่ 1และพบพี่เลี้ยง ที่ กรรมสนับสนุนสุขภาพที่11 นครศรีธรรมราชในวันที่ 30มกราคม 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 26 คน

    1. ได้ชี้แจงกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมาคือกิจกรรมจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 1และเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 1ในเรื่องของศิลปะแม่ไม้มวยไทย
    2. ได้ชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือ กิจกรรมจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 2 ในวันที่ 29 มกราคม 2559กิจกรรม เรียนรู้การปิดงวดรายงาน ครั้งที่ 1และพบพี่เลี้ยง นครศรีธรรมราชในวันที่ 30มกราคม 2559
    3. ได้มีการเสนอว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ครอบครัวไม่ยอมรับความจริง จึงร่วมกันแก้ปัญหาโดยให้ครอบครัวหันมายอมรับความจริงและเปิดเผยให้สังคมทราบเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหา

     

    26 26

    15. จัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ให้ปราญช์ชุมชนถ่ายทอดความรู้เรื่อง วัตถุดิบ อุปกรณ์ และขั้นตอนวิธีการการทำขนมจีนให้เยาวชนและคนวัยทำงานในชุมชน
    2. เตรียมสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ วัตถุดิบ เพื่อฝึกการเรียนรู้วิธีการการทำขนมจีน

    เรียนรู้เรื่องเส้นขนมจีน ขนมจีน (Kanomjeen) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปมาจากแป้งธรรมชาติในรูปของเส้นแป้งสุก สีขาว ขนาดเล็ก มีความนุ่ม ลื่น นิยมใช้รับประทานแทนข้าวคู่กับน้ำยาขนมจีนชนิดต่างๆหรือรับประทานคู่กับอาหารอื่นๆ เช่น ส้มตำ และเมนูยำต่างๆ การแปรรูปขนมจีน ถือเป็นภูมิปัญญาในการแปรรูปแป้งของคนไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยก่อนนิยมใช้เป็นอาหารต้อนรับแขกในงานบุญต่างๆที่ขาดเสียมิได้ จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังใช้เป็นอาหารอย่างหนึ่งสำหรับทุกเทศกาลงานบุญต่างๆ รวมถึงกลายเป็นอาหารที่นิยมรับประทานแทนข้าวได้ทุกเมื่อ

    ชนิดขนมจีน 1. ขนมจีนแป้งหมัก ขนมจีนแป้งหมักเป็นขนมจีนที่มีการผลิต และนิยมรับประทานมากในปัจจุบัน เนื่องจากให้เส้นที่อ่อนนุ่ม ลื่น มีกลิ่นหอมจากการหมัก และกระบวนการผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน โดยผลิตจากข้าวหรือแป้งที่มีการหมักไว้ 2 –3 วัน ก่อนนำมาให้ความร้อน และรีดเป็นเส้น 2. ขนมจีนแป้งสด ขนมจีนแป้งสดเป็นขนมจีนที่ผลิตจากข้าวหรือแป้งสด โดยไม่ผ่านการหมักก่อน ทำให้ได้เส้นขนมจีนสีขาว เส้นค่อนข้างตึง และกระด้าง มีความนุ่มน้อย ไม่มีกลิ่นหมัก จึงไม่เป็นที่นิยมผลิต และรับประทานกันมากนัก 3. ขนมจีนแห้งกึ่งสำเร็จรูป เป็นขนมจีนอีกรูปแบบหนึ่งในรูปเส้นแห้งเพื่อให้เก็บได้นาน และพร้อมรับประทานได้ทุกเมื่อ โดยผลิตจากการหมักข้าวหรือแป้ง แล้วนำมานวด และขึ้นรูปให้เป็นเส้น หลังจากนั้นนำมาตัด และจัดเรียงก่อนเข้าเครื่องอบแห้งจนได้ขนมจีนแห้งที่สามารถเก็บไว้ได้นาน และพร้อมรับประทานด้วยการต้มภายใน 5-10 นาที คล้ายกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วไป

    วิธีการทำขนมจีน (แบบหมัก) วัตถุดิบ 1. ข้าว ข้าวเป็นวัตถุดิบหลักในการทำขนมจีน โดยทั่วไปจะใช้ข้าวจ้าว จะไม่ใช้ข้าวเหนียว เพราะไม่ต้องการให้ขนมจีนเหนียวมาก โดยข้าวที่ใช้จะมีอายุหลังการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน ถึง 1 ปี ไม่ควรเป็นข้าวเก่า เพราะจะทำให้ขนมจีนมีสีเหลืองมาก การผลิตขนมจีนในระดับชุมชนมักใช้ข้าวจ้าวเม็ดเต็มหรือข้าวจ้าวเกรดที่ใช้บริโภคทั่วไป เช่น ข้าวหอมมะลิ แต่หากเป็นในระดับโรงงานมักใช้ข้าวหักหรือปลายข้าวเป็นหลัก และค่อนข้างเป็นข้าวเกรดปานกลาง 2. น้ำ น้ำที่ใช้ในทุกขั้นตอนการผลิตสามารถใช้ได้ทั้งน้ำฝน และน้ำประปา แต่ทั่วไปนิยมใช้น้ำประปามากที่สุด น้ำฝนจะมีใช้น้อยบางพื้นที่ชนบทเท่านั้น ส่วนน้ำบาดาลก็สามารถใช้ได้เช่นกันในเฉพาะบางพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาในเรื่องน้ำบาดาลเค็มหรือน้ำกร่อยมาก และเมื่อสูบขึ้นมาแล้ว ควรเก็บในบ่อพักเสียก่อนก่อนนำมาใช้ 3. เกลือ เกลือที่ผสมในขนมจีนใช้เพื่อป้องกันการเน่า เพิ่มรส และลดความเปรี้ยวของขนมจีน อาจเป็นเกลือสมุทรหรือเกลือสินเธาว์ก็ได้ แต่ควรมีความขาว และบริสุทธิ์มากพอ 4. สีผสมอาหารในบางครั้งการทำขนมจีนอาจต้องการเพิ่มสีสันให้แก่ขนมจีน เช่น สีชมพู สีเหลือง สีม่วง และสีเขียว เป็นต้น เพื่อให้ขนมจีนมีสีสันที่น่ารับประทานมากขึ้น และช่วยดึงดูดความสนใจในทางการตลาดได้อีกทาง

    ขั้นตอนการทำขนมจีน 1. การทำความสะอาด และแช่ข้าวเป็นขั้นตอนแรก ด้วยการนำข้าวมาแช่น้ำ และล้างทำความสะอาด โดยเฉพาะสิ่งปนเปื้อนที่มักลอยอยู่ชั้นบนหลังแช่ข้าวในน้ำ หลังล้างเสร็จให้แช่ข้าวสักพัก ก่อนนำเข้าขั้นตอนการหมัก 2. การหมักข้าวการหมักข้าวเป็นกระบวนการที่ใช้จุลินทรีย์เข้าช่วยย่อยแป้ง และทำให้เกิดกลิ่น ด้วยการหมักข้าวทั้งแบบแห้ง และแบบแช่น้ำ แต่ทั่วไปนิยมหมักแห้งมากที่สุด การหมักแห้งเป็นวิธีการหมักที่ไม่ต้องแช่ข้าว แต่จะให้น้ำแก่เมล็ดข้าวเป็นช่วงๆ เพื่อให้แป้งในเมล็ดข้าวมีการดูดซับน้ำ เกิดภาวะเหมาะสมของจุลินทรีย์ และทำให้นำมาบดได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนการหมักมีดังนี้ – นำข้าวที่ล้างทำความ และแช่ได้เหมาะสมแล้ว ใส่ในภาชนะที่มีรูให้น้ำไหลผ่านได้ เช่น ตะกร้าไม้ไผ่ ตะแกรงลวด เป็นต้น การหมักจะเป็นการให้น้ำแก่เมล็ดข้าวทุกวันแบบไม่มีการแช่ ซึ่งมักจะหมักนาน 2-3 วัน (โรงงานมักหมักประมาณ 1-2 วัน/ครัวเรือน 2-3 วัน) – เมื่อหมักข้าวครบตามวันที่ต้องการ ให้สังเกตข้าวที่พร้อมนำมาใช้ ซึ่งจะมีลักษณะเม็ดพองโต มีสีใสออกคล้ำเล็กน้อย เมื่อบีบจะเปื่อยยุ่ยง่าย มีกลิ่นแรงจากการหมัก ซึ่งถือว่าลักษณะเหล่านี้เหมาะสำหรับนำมาบดขั้นต่อไป ทั้งนี้ การหมักข้าวไม่ควรหมักนานเกิน 3-4 วัน เพราะจะทำให้ข้าวมีสีคล้ำ และมีกลิ่นคล้ายกลิ่นข้าวบูดได้ โดยจุลินทรีย์ที่ตรวจพบ ได้แก่ Bacillus subtilis, Lactobacillus plantarum เป็นต้น 3. การบดข้าวเป็นขั้นตอนนำข้าวมาบดผ่านเครื่องบดเพื่อให้เมล็ดข้าวแตกเป็นผงขนาดเล็ก โดยมักบดขณะที่ข้าวอิ่มน้ำ ร่วมกับเติมน้ำขณะบด โดยข้าวที่บดจะแตกเป็นผงละลายมากับน้ำ ผ่านผ้าขาวสำหรับกรองให้ไหลลงตุ่ม ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจเติมเกลือประมาณ 4 ส่วน สำหรับป้องกันการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ 4. การนอนแป้งการนอนแป้งเป็นขั้นตอนที่ใช้ในระดับครัวเรือน ด้วยการแช่น้ำแป้งให้ตกตะกอน น้ำแป้งส่วนบนจะมีสีเหลือง และสิ่งปนเปื้อนสีดำคล้ำจะลอยอยู่บนสุด ในขั้นตอนนี้จะทำการล้างน้ำแป้ง ด้วยการให้น้ำ และปล่อยให้ตกตะกอน ซึ่งจะทำให้แป้งขาวสะอาด และมีกลิ่นน้อยลง 5. การทับน้ำหรือการไล่น้ำขั้นตอนนี้เป็นวิธีการกำจัดน้ำออกจากน้ำแป้ง ด้วยการนำน้ำแป้งใส่ผ้าขาวที่มัดห่อให้แน่น แล้วนำของหนักมาทับเพื่อให้น้ำไหลซึมผ่านออก ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน หลังจากนั้นจะได้ก้อนแป้งที่มีน้ำประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ 6. การต้มหรือนึ่งแป้งเป็นขั้นตอนที่ทำให้แป้งสุกประมาณ 25-35 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น เพื่อไม่ให้แป้งเหนียวมากเกินไป สำหรับระดับครัวเรือนจะใช้วิธีการต้ม ส่วนในโรงงานจะใช้วิธีการนึ่งแทน ในระดับครัวเรือนจะใช้วิธีการปั้นแป้งเป็นก้อนๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-25 ซม. นำใส่เสวียนหย่อนลงต้มในน้ำเดือด โดยให้แป้งสุกเข้าด้านในประมาณ 1-3 ซม. เท่านั้น อย่าให้แป้งสุกลึกมาก เพราะจะทำให้โรยเส้นได้ยาก 7. การนวดแป้ง เป็นขั้นตอนการนำก้อนแป้งมาบี้ให้ส่วนแป้งสุก และแป้งดิบผสมกัน ซึ่งอาจใช้มือหรือเครื่องจักรหรือครกไม้สำหรับชาวชนบท โดยสังเกตเนื้อแป้งขณะนวด หากแป้งแห้งมากให้ผสมน้ำร้อน หากแป้งเหนียวติดกันมากให้ผสมแป้งดิบ ก้อนแป้งที่เหมาะสำหรับโรยเส้นนั้น จะข้าวประมาณ 1 กิโลกรัม ที่ทำให้ได้ก้อนแป้งเหลวหนักประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม มีลักษณะเป็นก้องแป้งอ่อนออกเหลวเล็กน้อย ในขั้นตอนการนวดแป้ง หากต้องการเพิ่มสีสันขนมจีนให้มีสีต่างๆจะทำในขั้นตอนนี้ ด้วยการเทสีผสมอาหารผสมลงนวดพร้อมก้อนแป้งให้มีสีเนื้อเข้ากัน 8. การกรองเม็ดแป้งในบางครั้งแป้งสุกอาจจับเป็นก้อนในขั้นตอนการนวดแป้ง หากนำไปโรยเส้นอาจทำให้เส้นขนมจีนไม่ต่อเนื่องได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกรองแป้งหลังนวดด้วยผ้าขาวเสียก่อนเพื่อกำจัดก้อนแป้งสุกออกไปให้หมด 9. การโรยเส้น การโรยเส้นเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้ขนมจีนเป็นเส้น ด้วยการบีบดันก้อนแป้งเหลวให้ไหลผ่านรูขนาดลงในน้ำเดือดเพื่อทำให้เส้นสุก โดยยังคงรูปเส้นเหมือนเดิม ซึ่งในระดับครัวเรือนจะใช้แว่นหรือเฝื่อน แว่นจะมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะทรงกลมที่มีรูขนาดเล็กจำนวนมาก แว่นนี้จะถูกเย็บติดแน่นกับถุงผ้าที่ใช้สำหรับใส่ก้อนแป้งเหลว หลังจากนั้น รวบปลายผ้าเข้าหากัน และบีบดันแป้งให้ไหลผ่านรูลงหม้อต้ม เฝื่อนมีลักษณะเป็นหม้อทรงกลมขนาดเล็ก 2 อัน อันแรกด้านล่างมีรูขนาดเล็กจำนวนมาก ด้านบนมีหูล็อกติดสองข้างสำหรับจับ อันทีสองมีลักษณะเหมือนกันแต่เล็กกว่า และสามารถวางสวมอันแรกได้ ซึ่งจะใช้สำหรับดันก้อนแป้งให้ไหลผ่านรูของอันแรกลงหม้อต้ม ส่วนระดับโรงงานมักใช้ปั๊มแรงดันต่อท่อดันก้อนแป้งเหลวผ่านตะแกรงที่มีรูขนาดเล็กลักษณะคล้ายแว่นลงหม้อต้ม ซึ่งจะประหยัดแรงงาน และได้เส้นขนมจีนที่รวดเร็วกว่า เมื่อบีบเส้นลงหม้อต้มแล้ว ให้พยายามรักษาความร้อนให้คงที่ และรอจนกว่าเส้นขนมจีนจะลอยตัวจึงใช้ตะแกรงหรือกระชุตักขึ้นมา 10. การทำให้เย็น และจัดเรียงเส้นเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำขนมจีน ภายหลังจากต้มเส้นให้สุกลอยขึ้นด้านบนหม้อแล้ว ต่อมาจะใช้ตะแกรงหรือกระชุตักเส้นขนมจีนขึ้นมา แล้วจุ่มลงน้ำเย็นทันที รอจนเส้นเย็นพร้อมสามารถใช้มือจับได้เมื่อเส้นเย็นให้ใช้มือข้างที่ถนัดจับเส้นขึ้นมาพันรอบฝ่ามืออีกข้างที่วางในแนวตั้ง จนกระทั่งหมดความยาวเส้น พร้อมวางใส่ภาชนะบรรจุหรือตะแกรงที่มีช่องให้น้ำไหลผ่านได้ และเป็นภาชนะที่พร้อมส่งจำหน่ายได้ทันทีหรืออาจวางเรียงให้แห้งก่อนค่อยจัดเรียงในภาชนะจำหน่าย ทั้งนี้ พยายามเรียงเส้นให้เป็นแนวสม่ำเสมอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 110 คน เพื่อเรียนรู้การทำขนมจีนเพื่ออนาคตของชุมชนแบบยั่งยืนและมีสุขจึงได้มีการนัดคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายเพื่อได้ทำความเข้าใจว่าการทำขนมจีนนั้นคือการนำภุมิปัญญามาถ่ายทอดเพื่อให้เยาวชนได้มาเรียนรู้และสามารถนำไปประกอบอาชีพตนเองได้ เป้าหมายของโครงการคืออยากให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติดและมีรายได้เสริมเพื่อครอบครัว

     

    110 110

    16. เรียนรู้การปิดงวดรายงาน ครั้งที่ 1

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงโครงการแนะนำเรื่องการตรวจสอบเอกสาร และรายละเอียดการลงเว็ป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง พี่เลี้ยงได้ช่วยตรวจสอบเอกสารให้กับโครงการทุกโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานพบว่า
    1.กลุ่มเป้าหมาย 2 คน ได้ตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการให้ถูกต้อง 2.โครงการได้เข้าใจถึงการจัดเก็บและรวบรวมเอกสารโครงการ

     

    2 2

    17. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 2

    วันที่ 31 มกราคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานได้นำกลุ่มเป้าหมายเพื่อมาเรียนรู้การทำขนมจีนตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ 1แนะนำให้รู้จักอุปกรณ์การทำขนมจีน 2.แนะนำแป้งที่นำมาทำขนมจีน3.วิธีการโรยเส้นเพื่อให้ได้เส้นที่มีคุณภาพ 4. วิธีการบรรจุถุงเพื่อความสะอาดและสะดวกในการให้บริการ และกลุ่มเป้าหมายสามารถได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันได้และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

    วันนี้เป็นการเรียนรู้การทำขนมจีนไว้กินเองในครัวเรือน เป็นการทำขนมจีนแบบโบราณ ทำเองได้ที่้บ้าน สิ่งที่จำเป็นคือ กระบอกขนมจีน เป็นแบบดั้งเดิม ซึ่งทำจากทองเหลือง เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับกดเส้นขนมจีนให้ออกมาเป็นเส้นๆ ส่วนวัตถุดิบที่มีหลักๆก็มี ข้าวเจ้า กับน้ำ ข้าวก็ไม่ใช่ว่าข้าวอะไรจะทำได้ ถ้าจะให้เส้นออกมานุ่มและพอดีต้องเลือกสรรค์ข้าวที่จะมาทำด้วยข้าวที่นิยมใช้ก็คือข้าวเหลืองอ่อน ข้าวนางพระยาข้าวปิ่นแก้ว และข้าว ตะเพราะแก้วข้าวเหล่านี้ควรเป็นข้าวเก่าเก็บเกี่ยวไม่ต่ำกว่า 3-4เดือน ควรเป็นข้าวที่ปลูกบนดอน มีดินเป็นทราย จะให้ผลผลิตที่ดีมากเลย ส่วนน้ำก็ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสิ่งห้อยแขวน ควรมีความกระด้างต่ำ
    ขั้นตอนแรกหลังจากได้ข้าวมาแล้ว เราต้องนำข้าวไปล้างให้สะอาด ใส่ล้างในภาชนะที่น้ำไหลผ่านได้เช่น กระบุง ตระกร้า เป็นต้นรดน้ำทุกวันวันละ2ครั้ง เช้ากับเย็น พร้อมกับการกลับข้าวจากข้างล่างมาด้านบน เป็นเวลา2-3วัน ข้าวที่ผ่านกรรมวิธีนี้เรียกว่าการหมัก ข้าวจะมีสีคล้ำขึ้นมีกลิ่นแรง และเปื่อย สามารถบี้ได้ด้วยมือเลย

    ขั้นตอนที่สองก็คือการนำข้าวที่หมักแล้วมาบดใช้ผ้ากรองขึงไว้บนปากภาชนะที่บดควรใส่น้ำลงไปทีละน้อยจะช่วยให้บดข้าวได้ง่ายขึ้นแต่ถ้าทำเส้นเป็นจำนวนมาก ก็จะใช้โม่แทนการบด ในขนะโม่จะต้องใส่เกลือลงไป 7% ของน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้แป้งเกิดการหมักก่อนขั้นตอนการนอนแป้ง

    ขั้นตอนที่สามก็คือการนอนแป้ง เมื่อโม่แป้งเสร็จแล้วแป้งจะมีสีคล้ำมากการล้างแป้งจะช่วยให้แป้งคล้ำน้อยลงและกำจัดตะกอนสูดำๆให้หมดไป แล้วยังทำให้กลิ่นหมักน้อยลงด้วยวิธีการล้างแป้งก็คือ การเอาน้ำผสมกับแป้งแล้วปล่อยให้ตกตะกอน น้ำต้องใส่เกลือด้วยควรล้างประมาณ5-6ครั้งคะ แป้งที่ล้างแล้วสามารถนำไปทำขนมจีนได้ เราก็จะเรียกว่าขนมจีนแป้งสด หรือว่าจะผสมเกลือก็จะสามารถเก็บไว้ได้

    ขั้นตอนที่สี่ คือการทับน้ำ เป็นการกำจัดน้ำส่วนเกินออก ด้วยการนำน้ำแป้งใส่ถุงผูกปากเอาไว้ทับด้วยของหนักทิ้งไว้1คืนน้ำที่เหลืออยู่ในแป้งจะลดน้อยลงคะขึ้นอยู่กับน้ำหนักและระยะเวลาการทับด้วย ขั้นที่ห้า ขั้นนี้ก็คือการต้มหรือนึ่งแป้ง เป็นขั้นตอนที่ทำให้แป้งเหนียวและจับตัวกันไม่ขาดง่าย นำแป้งที่ทับไว้มาปั้นเป็นก้อน หย่อนต้มในน้ำเดือด ให้สุกแค่เพียงด้านนอก2-3เซนติเมตรก็พอนะคะ ไม่งั้นแป้งที่สุกมากไปจะเหนียวเกินไป ขั้นตอนที่หก นวดแป้ง เป็นการผสมแป้งดิบกับสุกรวมกันเป็นเนื้อเดียวทำให้เม็ดแป้งแตกตัวมากขึ้นถ้าแป้งแห้งเกินไปให้ใส่น้ำร้อนลงไปช่วยให้นวดง่ายขึ้น

    ขั้นตอนที่เจ็ดกรองแป้ง การที่เรานึ่งแป้งจะทำให้แป้งจับตัวกันการกรองจึงช่วยให้แยกแป้งที่ไม่ละเอียดออกได้หมด ขนมจีนที่ได้จะได้มีเส้นสม่ำเสมอไม่ขาดระหว่างโรยเส้น

    ขั้นตอนที่แปด ตอนนี้ก็คือ การโรยเส้นใช้กระบอกเป็นอุปกรณ์ในการโรยเส้น เอาแป้งใส่กระบอกโรยแล้วก็บีบวนเป็นวงกลมในน้ำเดือด พอเส้นเริ่มลอยตัวขึ้นมาก็จัดแจงตักขึ้นไปแช่น้ำเย็นเลย

    ขั้นตอนสุดท้าย คือการรอให้เย้นและนำมาจับเป็นกลุ่มเมื่อนำเส้นไปแช่น้ำเย็นแล้วเพื่อไม่ให้เส้นสุกต่อแล้ว เมื่อเส้นเย็นตัวลงก็จัดแจงจับให้เป็นกลุ่มแล้วเรียงลงภาชนะรอเส้นแห้งและหดตัวก็เป็นอันสมบูรณ์

    วิธีการนีั้ทุกท่านสามารถนำกลับไปทำเองได้ที่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน
    กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 180 คน เพื่อเรียนรู้ดังนี้ 1.ได้รู้จักวิธีการผสมแป้งทำขนมจีนและการทำเองได้ง่ายๆ
    2.ได้รุ็จักวิธีการทำเส้นขนมจีน 3.ได้ขนมจีนไว้รับประทานร่วมกัน 4.สามารถนำไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้ทำทำเป็น 5.ได้เรียนรู้การทำอาหารไว้กินเองเมือ่ยามจำเป็น

     

    180 180

    18. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่5

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานได้กล่าวในที่ประชุมว่าทุกครั้งที่ผ่านมาคณะทำงานให้ความสำคัญต่อโครงการและชุมชนของเรา อยากให้ชุมชนของเรามีความสุขโดยปราศจากยาเสพติดและอบายมุขทุกชนิดให้หมดไปจากชุมชนเราทุกคนจึงต้องมาดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกหลานของเรามั่วสุมยาเสพติดต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ทุกกิจกรรม
    2. ให้คณะทำงาน 2 คนได้เรียนรู้กิจกรรมและการเรียนรายงานกิจกรรมกับสจรส.ม.อ. วันที่ 13-14 ก.พ. 59 ที่ม.วลัยลักษณ์ และคณะทำงานโครงการช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเงิน และการทำรายงานกิจกรรม
    3. เตรียมการและการวางแผนดำเนินกิจกรรมต่อไป ได้แก่ การแปรรูปอาหาร (เรียนรู้เรื่องการทำปลาดุกร้า)

     

    26 26

    19. ปิดงวดรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนโครงการนำเอกสารให้พี่เลี้ยงตรวจ การทำรายงานงวด รายงาน ส.1 วันนี้ตัวแทนโครงการ 2 คน เดินทางไปพบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อเรียนรู้วิธีการปิดโครงการ งวดที่ 1 โดยนำเอกสารไปให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง พบว่า 1.เอกสารทางการเงิน ยังไม่ถูกต้อง รายชื่อยังไม่ครบ ลายมือชื่อไม่ครบ 2.ยังขาดเอกสารการเบิกจ่ายในกิจกรรมที่พบพี่เลี้ยง 3 ครั้ง
    3.การบันทึกกิจกรรม ให้ปรับแต่งรูปภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องเอกสารทางการเงิน
    2. เรียนรู้การเขียนเอกสารให้มึความสัมพันธ์
    3. เรียนรู้วิธีการปิดรายงานให้เร็วและถูกต้อง

     

    2 2

    20. ประชุมเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมการติดตามและ พบพี่เลี้ยงพื้นที่และ สจรส.มอโดยตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปิดรายงานงวดที่ 1 ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้นำเอกสารให้ สจรส.มอ.ตรวจสอบเอกสาร และพี่เลี้ยงได้แนะนำมาให้ปรับปรุง ดังนี้

    1. ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรม
    2. การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกัน
    3. รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์กัน ขาดกลุ่มเยาวชนในการร่วมกิจกรรม
    4. การเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไป
    5. การเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์กัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

    ผลลัพธ์

    1. ได้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ในแต่ละกิจกรรม
    2. เรียนรู้การเขียนบิลที่ถูกต้อง
    3. ได้ปรับปรุงเอกสารให้ถูกต้อง
    4. ได้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็บไซต์ให้ถูกต้อง

    ข้อแนะนำจาก สจรส.ม.อ.

    1. ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรมแก้ไขโดยการไปทำเิกสารมาใหม่
    2. การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกัน แก้ไขโดยการไปบันทึกใหม่
    3. รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์กัน ขาดกลุ่มเยาวชนในการร่วมกิจกรรม แก้ไขโดยการนำภาพถ่ายที่เย่าวชนได้ทำกิจกรรมมาใส่เพิ่มเติม
    4. การเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไปการเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์ แก้ไขโดยการบันทึกปลลัพธ์ผลผลิตใหม่

     

    2 2

    21. จัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ให้ปราชญ์ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ได้เตรียมความพร้อมสถานที่ในการฝึกปฎิบัติการเรียนรู้เรื่องการทำปลาดุกร้า
    2. เตรียมวัสดุอปกรณ์ในการทำปลาดุกร้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ได้จัดฐานเรียนรู้ตรงตามความต้องการ
    • กลุ่มเป้าหมายสามารถเรียนรู้วิธีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง
    • กลุ่มเป้าหมายสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

     

    110 110

    22. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 3

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ให้ปราชญ์ชาวบ้านได้สาธิตการทำปลาดุกร้าให้กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมอบรมได้เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ เกลือ น้ำตาลทราย และปลาดุก
    • ชาวบ้านได้ลงมือทำปลาดุกร้า มีวิธีการทำ คือ
    1. ปลาดุกขูดเมือกตัดหัว ผ่าท้องเอาไส้ออก ล้างสะอาด นำไปผึ่งแดด พอหนังปลาแห้งพักไว้
    2. ผสมเกลือกับน้ำตาลให้เข้ากัน นำคลุกกับปลาดุกให้ทั่ว ใส่อ่างเคลือบ ปิดฝาหมักไว้ 1 คืน
    3. นำปลาไปตากแดด 3 วัน และหมั่นกลับปลาบ่อยๆ จนปลาหอม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักการแปรรูปอาหารที่ถูกต้องและนำไปประกอบอาชีพได้ตามความต้องการและสามารถถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นได้
    • ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำปลาดุกร้าไว้กินเองเป็น
    • ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้วิธีการปรุงในอัตราส่วนที่ถูกต้อง
    • เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น

     

    180 180

    23. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่6

    วันที่ 6 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมทีมสภาผู้นำชี้แจงการจ่ายเงินงบประมาณ สรุปกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมา และให้คณะทำงานเตรียมฐานเรียนรู้ชุมชนครั้งที่ 4

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกคนมีความเข้าใจในเรื่องการสรุปงบการเงินงวดที่ 1 และสรุปผลการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ว่า ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการทำปลดุกร้า เพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว

     

    15 15

    24. จัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 4

    วันที่ 18 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กลุ่มเป้าหมายและปราชญ์ชุมชนร่วมกันจัดเตรียมสถานที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำปุ๋ยหมัก
    • เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมัก ได้แก่ ขี้วัว ขี้เลื่อย และกากน้ำตาล
    • ปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เกิดฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยในชุมชน
    • ได้รับความร่วมมือของคนในชุมชน
    • ได้มีการฝึกปฎิบัติจากของจริงและได้เกิดขบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ชาวบ้านสามารถทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองในครัวเรือน และจากการฝึกทำปุ๋ยหมักในวันนี้ ทำให้ได้ปุ๋ยหมักกลับไปใช้ที่บ้าน

     

    110 110

    25. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครัั้ง 4

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปราชญ์ชุมชนได้สาธิตและวิธีการทำปุ๋ยหมักที่เหลือใช้เช่นเศษหญ้า  โดยนำวัสดุมาผสมในอัตราส่วนที่เท่ากันมาผสมคลุกเคล้ากันพร้อมแนะนำวิธีการการทำอย่างถูกต้องโดยให้มีการปฎิบัติจริง ให้กลุ่มเป้าหมายได้ปฎิบัติการผสมปุ๋ยหมักเองโดยการนำเศาวัสดุเหลือใช้ เช่นเศษหญ้า แกลบ ขี้ไก่ ขี้วัว เศษใบไม้มาผสมเข้าด้วยกันในอัตราส่วนที่เหมาะสมจากนั้นใช้EM ผสมน้ำราดลงไปเป็นตัวช่วยในการย่อยสลาย  แล้วผสมให้เข้ากัน แล้วใช้ผ้าพลาสติกปิดไว้อย่าให้อากาศเข้าทิ้งไว้ 7 วัน แล้วมาทำการกลับปุ๋ยอีกครั้ง เพื่อให้ย่อยสลายดีขึ้น แล้วทิ้งไว้ 1เดือนสามารถนำมาใช้ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฎิบัติจริงได้และเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องสามารถแลกเปลี่ยนรู้ กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้และสามารถปฎิบัติได้อย่าง๔ุกต้องและแลกเปลี่ยนรุ้ซึ่งกันและกันได้ กลุ่มเป้าหมายสามารถทำได้และนำไปประกอบอาชีพเสริมหรือลดต้นทุนการผลิตในการทำการเกษตรในครอบครัวได้ซึ่งจะประหยัดค่าใชจ่ายได้

     

    180 180

    26. พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ อ.กำไลได้ให้ความรู้เรื่องการจัดทำโครงการ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธิก่อนเริ่มการประชุม ให้หลับตานึกถึงโครงการที่ได้ทำมาในระยะเวลา 6 เดือน ว่าจากที่ทำไปแล้ว มีใครที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง เกิดการรวมกลุ่มอย่างไรบ้าง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในชุมชนมีอะไรบ้าง แล้วระยะเวลาที่เหลือเราจะทำอะไรต่อไปบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษส่งพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้าง ได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยง และ ทีม สจรส.ม.อ.ให้เพิ่มรายละเอียดกิจกรรมในเวปไซต์ และรูปให้ครบถ้วน

     

    2 2

    27. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่ึ7

    วันที่ 6 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่ 7 ซึ่งวันนี้กำนันสุทัศน์ ปานจีน ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงถึงกิจกรรมที่ได้ทำผ่านมาคือ กิจกรรมจัดทำฐานเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 4 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ที่ประชุมได้ขอช่วยให้สมาชิกเป็นหูเป็นตาคอยตักเตือนคนในชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนของเราในหมู่บ้าน พ่อ แม่ ป้า ลุง ช่วยสอดส่งดูแลกันหน่อย เพราะเป็นกำลังของชาติที่สำคัญ เวลาขับรถมอเตอร์ไซต์ก็ให้ใส่หมวกกันน็อคให้เรียบร้อยขับรถยนต์ รถเก่งก็คาดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบร้อย และที่สำคัญ คือ เคารพกฎจราจร และมีวินัยในการขับรถ ช่วยกันปลูกฝักประเพณีที่ดีงามที่สืบทอดกันมา เชิญชวนลูกหลานไปทำบุญตักบาตรรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่ดีงามต่อไป
    • กำหนดทำกิจกรรมต่อไป คือ นัดประชุมสภาบ้านห้วยแหยงครั้งที่ 8 ในวันที่ 6 พ.ค.2559

     

    15 26

    28. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่8

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาบ้านห้วยแหยงครั้งที่ 8 ซึ่งกำนันสุทัสน์ ปานจีน ได้กล่าวทักทายและได้ชี้แจงเรื่องสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากช่วงเทศกาลช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2559 ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย.59 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,447 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 442 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,656 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต มี 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด ยะลา ระนอง และหนองบัวลำภูจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 168 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา 19 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 175 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 34.09 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 32.93 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.67 รองลงมา รถปิกอัพ ร้อยละ 8.85 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.49 บนถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.86 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.12 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.23 ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 52.28 ทั้งนี้ ได้เรียกตรวจยานพาหนะ 4,433,019 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 730,271 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 211,502 ราย ไม่มีใบขับขี่ 204,006 ราย
    • ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝากให้ช่วยกันสอดส่องดูแลลูกหลานในเรื่องของอุบัติเหตุกับทีมสภาผู้นำ ว่า หลังจากนี้ถึงไม่ใช่เป็นช่วงเทศกาลก็ขอฝากให้สมาชิกช่วยเป็นหูเป็นตาค่อยตักเตือนคนในชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนของเราในหมู่บ้านพ่อแม่ป้าๆลุงๆ ช่วยสอดส่งดูแลกันหน่อยนะคับเพราะเป็นกำลังของชาติที่สำคัญ เวลาขับรถมอเตอร์ไซต์ก็ให้ใส่หมวกกันน็อคให้เรียบร้อยขับรถยนต์ รถเก่งก็คาดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบรอ้ยและที่สำคัญคือเคารพกฎจราจร และมีวินัยในการขับรถ
    • นัดหมายกิจกรรมต่อไปคือ ประชุมสภาบ้านห้วยแหยงครั้งที่ 9

     

    15 15

    29. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่9

    วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาครั้งที่ 9 เป็นการประชุมเพื่อติดตามการดำเนินโครงการ กำนันสุทัศน์ ปานจีน ได้บอกเล่าให้ผู้เข้าร่วมประชุมถึงปัญหาภัยแล้ง และแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน และวางแผนการทำกิจกรรมในเดือนถัดไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เรื่องภัยแล้ง ทางกำลังได้ขอฝากให้สมาชิกทุกคนที่ปลูกผักหรือปลูกผลไม้ ให้ช่วยกันหาวัสดุกันแดดนำมามุงพืชผักเพื่อป้องกันแดดและจะได้ประหยัดน้ำ
    • สำหรับกิจกรรมที่จะทำต้องรองบประมาณจาก สสส. งวดที่ 2 พอฝนตกพวกเราก็จะได้นำไปใช้ใส่ผัก ผลไม้ เพื่อฟื้นฟูสภาพ และให้พี่น้องสำรวจความเสียหายพืชผัก ผลไม้ ที่กระทบจากภัยแล้งจะส่งให้เกษตรพิจารณาช่วยเหลือ ทุกคนมีการพัฒนาความคิด และมีการปรับเปลี่ยนความคิด ช่วยกันแก้ปัญหากันเองได้เกือบทุกเรื่อง ยังต่อยอดให้หมู่บ้านข้างเคียงได้อีกต่างหาก
    • ชี้ีแจงในกิจกรรมครั้งต่อไปคือ สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่10

     

    15 15

    30. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่10

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำบ้านห้วยแหยง ครั้งที่ 10 กำนันสุทัศน์ ปานจีน ได้ชี้แจงกิจกรรมในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เพื่อติดตามการทำโครงการและติดตามด้านการเงิน และได้ชี้แจงโครงการประชารัฐ หมู่บ้านละ 200,000 บาท และประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกของหมู่บ้านที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ไปใช้เสียงลงประชามติรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค. 59 ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 15 คน
    2. สำหรับโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ กองทุนหมู่บ้านละ 500,000 บาท ตอนนี้งบประมาณได้โอนเข้าบัญชีเรียบร้อยแล้ว ให้ทางคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการที่ประชุมสมาชิกได้มีมติ นางรัชนี มีชนะ เป็นประธานโครงการ
    3. ได้ชี้แจงกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไป คือ เผนแพร่กิจกรรม และ ประชุมสภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่ 11 ในวันที่ 6 สิงหาคม 2559

     

    15 15

    31. เผยแพร่กิจกรรม

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีมสภาผู้นำ ได้บอกเล่าเรื่องราวการทำกิจกรรมที่ผ่านมาให้กับผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้
    1. มีการพูดคุยถึงเรื่องกิจกรรมที่ผ่านของแต่ละฐานเรียนรู้
    2. มีการเล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมฐานเรียนรู้
    3. มีการนำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาและการนำเสนอแนวทางแก้ไขในการปฏิบัติกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดเรื่องราวดี ๆ จากการทำกิจกรรม ดังนี้
    1. มีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีของคนในชุมชน เช่น คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และเด็กเยาวชนได้หันมาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการเล่นกีฬา
    2. คนในชุมชนมีความสามัคคีมีความร่วมมือและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน
    3. คนในชุมชนมีความรู้เพิ่มขึ้นสามารถอธิบายหรือแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ใหม่ให้กับบุคคลอื่นได้ ไดแก่ ความรู้เรื่องการทำปลาดุกร้า และการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้ในครัวเรือน

     

    180 180

    32. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่11

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านห้วยแหยง ครั้งที่ 11 กำนันสุทัศน์ ปานจีน ได้ชี้แจงกิจกรรมในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เพื่อสรุปและรายงานผลการปฎิบัติงานที่ผ่านมาและมีการเผยแพร่กิจกรรมในด้านต่างๆให้กับคนในชุมชนได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้และให้คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานเพื่อทำรายงานครั้งต่อไป โดยการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละส่วนเพื่อเตรียมข้อมูลมาใช้ในการถอดบทเรียนเพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 15คน
    2. มีการประชุมวางแผนและติดตามผลการดำเนินโครงการเพื่อนำข้อมูลมาถอดบทเรียนในครั้งต่อไป
    3. นำข้อมูลที่ได้จากการเผยแพร่มารวบรวมเข้าเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์
    4. และจะมีการประชุมสภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่12 ในวันที่ 30 ก.ย. 2559

     

    15 15

    33. ถอดบทเรียน

    วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีการติดตามผลการดำเนินงานโครงการทุกกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ที่ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมและสังเกตุพฤติกรรมของคนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการ และนำข้อมูลที่ได้มาสรุปได้ว่า คนในชุมชนมีความสนใจ กระตือลือร้นมากขึ้น มีความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเรียนรู้ของแต่ละฐานภูมิปัญญาในพื้นที่ ตลอดจนเด็กเยาวชนในชุมชนสามารถหันมาสนใจด้านกีฬาเพิ่มขึ้น จึงทำให้ชุมชนลดปัญหายาเสพติดลงได้และปัญหาอื่นๆที่ตามมาก็สามารถลดลงด้วย จึงทำให้ชุมชนบ้านห้วยแหลงมีความเข้มแข็ง ความสามัคคีของคนในชุมชนเป็นอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินโครงการสามารถสรุปผลได้ดังนี้

    1.กิจกรรมด้านศิลปะมวยไทย

    • ทำให้ครอบครัวมีรายได้เสริมจากลูกชกมวยไทยครั้งละ 1,500 บาท เดือนละ 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท/เดือน
    • สร้างให้เยาวชนเป็นต้นแบบให้ครอบครีัวอื่น ๆ ได้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง
    • ทำให้ครอบครัวและชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้จักกฏกติกาการอยู่รว่มกันเป็นกลุ่ม

    2.กิจกรรมการแปรรูปอาหาร

    • ทำให้ครอบครัวมีรายได้จากการขายปลาดุกร้าเดือนละ 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,500 บาท/ครัวเรือน
    • ทำให้คนในชุมชนได้มีความรับผิดชอบและความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    3.กิจกรรมการทำขนมจีน

    • เพื่อให้ครอบครัวและเยาวชนได้เรียนรู้การมีอาชีพเสริมจากการทำขนมจีน
    • เพื่อให้ครอบครัวนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพและสามารถนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ด้วย

    4.กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก

    • ทำให้กลุ่มเกษตรกรและคนในชุมชนได้ลดรายจ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีและทำให้ดินมีคุณภาพดีขึ้น ทำให้คนในชุมชนมีรายได้เสริมจากการทำปุ๋ยหมักเพื่อจำหน่ายให้กับคนในชุมชนและหมู่บ้านข้างเคียง
    • ทำให้คนในชุมชนมีหน้าที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายแต่ละคน ได้มีความรับผิดชอบต่องาน มีความรักควมสามัคคีซึ่งกันและกันจึงทำให้ชุมชนน่าอยู่

    5.กิจกรรมตัดผม

    • เพื่อให้คนในครอบครัวและเยาวชนได้เรียนรู้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพในการดำรงชีวิต
    • สร้างฐานการอยู่ร่วมกันกับสังคม ฝึกให้คนมีความอดทน มีความซื่อสัตย์และคุณธรรม เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับเยาวชนรุ่นต่อไป
    • ดังนั้นกิจกรรมทุกกิจกรรมมีความสำคัญต่อคนในชุมชนเป็นอย่างดีเพราะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้และปฏิบัตินำไปประกอบอาชีพเป็นรายได้ให้กับครอบครัว โดยเฉพาะเยาวชนในชุมชนบ้านห้วยแหยงได้เรียนรู้ภูมิปํญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม สามารถลดปัญหาเรื่องยาเสพติดได้เป็นอย่างดี

     

    60 60

    34. พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง และ ทีม สจรส.ม.อ. ได้ตรวจเอกสาร และติดตามความคืบหน้าของโครงการโดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินและการบันทึกในเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
    2. ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของใบเสร็จและให้ไปบันทึกข้อมูลในเวปไซต์ให้เรียบร้อย

    ผลลัพธ์

    1. ได้เรียนรู้วิธีการจัดทำเอกสารและการตรวจสอบความสมบูรณ์ฺ
    2. ได้เรียนรู้วิธีการจัดการเอกสารและเตรียมปิดรายงาน

     

    2 2

    35. สภาผู้นำบ้านห้วยแหยงครั้งที่12

    วันที่ 30 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายสุทัศน์ปานจีน ได้เรียกประชุมคณะทำงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านห้วยแหยง เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งให้สมาชิกได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นในการดำเนินโครงการและปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. รายงานผลการปฎิบัติกิจกรรมที่ผ่านมา
    2. การพูดคุยแสดงความคิดเห็นในการปฎิบัติกิจกรรมที่ผ่านมาในการดำเนินงานโครงการ
    3. พูดคุยถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
    4. หัวหน้าโครงการได้สรุป ชี้แจง เกี่ยวกับการดำเนินโครงการและได้กล่าวขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันทำให้โครงการบ้านห้วยแหยงสืบสานภูมิปัญญาสำเร็จไปด้วยดี และทำให้ทุกคนในชุมชนมีงานทำ มีรายได้ และที่สำคัญเยาวชนไม่หันไปพึ่งพายาเสพติดแต่กลับมาออกกำลังกายกันมากขึ้นร่วมทั้งผู้ปกครอง และผู้สูงอายุด้วย จึงทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชนกันมากขึ้น ทำให้คนในชุมชนมีความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการช่วยเหลือเกื้อกลูกัน มีความรักความสามัคคี

     

    15 26

    36. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันจันทร์ ที่ 3ตุลาคม ๒๕๕๙

    • 12.00 - 13.00 น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย
    • 13.00 - 13.10 น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
    • 13.10 - 13.30 น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
    • 13.30 - 15.00 น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
    • 15.00 - 15.30 น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) - - -
    • 15.30 - 17.00 น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 12ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช
    • 18.00 - 20.00 น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม

    วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙

    • 08.00 - 09.00 น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม
    • 09.00 - 12.00 น.การประชุมห้องย่อย
    1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้
    2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
    4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ
    5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ
    • 12.00 - 14.00 น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย
    • 14.00 - 17.00 น. การประชุมห้องย่อย
    1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ (ต่อ)
    2. ความมั่นคงทางอาหาร
    3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ)
    4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ)
    5. การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว
      7.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม
    • 14.00 - 17.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 2 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) - - 18.00 - 20.00 น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ
    1. การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส.
    2. สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำสสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใครทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียนและทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด
    3. การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กรเชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการวันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก)
    4. อยากเติมเต็มโครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอทีหลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีอาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล
    5. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะข้อเสนอ สสส.
    • ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง
    • เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น
    • สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง
    • สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช.
    • เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
    • นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช.
    • ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล
    • กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ
    • กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข
    • กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
    • ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส
    • สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น
    • นำเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง
    • สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

     

    2 2

    37. ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมปิดงวดรายงาน กับพี่เลี้ยงพื้นที่ ที ม.วลัยลักษณ์ วันนี้เป็นกิจกรรมการประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการโดยในวันนีได้เดินทางมาที่ รพ.สต.เขาพระบาทเพื่อมาทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมปิดโครงการโดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินการบันทึกข้อมูลใเวปไซต์บันทึกข้อมูลกิจกรรมต่างๆ รายละเอียดของกิจกรรมการบันทึกรูปในเวปไซต์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และก็ให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และข้อมูลในเว็ปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีผู้เข้าารร่วมกิจกรรม 2 คน
    2. มีรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมปิดโครงการ

    ผลลัพธ์

    1. สามารถจัดทำเอกสารและหลักฐานทางการเงินได้ถูกต้อง
    2. สามารถปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงานได้

     

    2 2

    38. ติดตามเพื่อจัดทำรายงานของกิจกรรมงวดที่ 2 และปิดโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง และ สจรส.ม.อ.จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ได้นำเอกสารการเงินมาให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง และรายงานผลกิจกรรมในเว็บไซต์ ก่อนส่งให้ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงในการทำเอกสารการเงินให้ถูกต้อง ต้องจัดเรียงเอกสารให้เป็นกิจกรรม เพื่อที่ทาง สจรส.ม.อ.ได้ตรวจง่าย และรายงานผลในเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อย

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน 2. การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น
    1. สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน ร้อยละ 50
    2. การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ 90

    3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆมี 1 ประเด็น

    2 เพื่อให้คนชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยกระบวนการสืบสานภูมิปัญญา
    ตัวชี้วัด : 1.ครัวเรือนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 30 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมทุกครัวเรือน 2.ครัวเรือนเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมครบทุกครั้งร้อยละ 95 3.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีรายได้เพิ่มขึ้น เดือนละ 1,500 บาท 4.มีฐานเรียนรู้ชุมชน4เรื่อง คือ (1) ศิลปะมวยไทย (2)การทำขนมจีน (3)การตัดผม โกนหนวด โกนผม(4) ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

    1.ครัวเรือนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 30 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมทุกครัวเรือน

    2.ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 95

    3.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 1,500 บาท

    4.มีการกำหนดฐานเรียนรู้ชุมชน ได้แก่ ศิลปะมวยไทย ,การทำขนมจีน ,การตัดผม,การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ,การแปรรูปอาหาร

    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.คณะทำงานเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด)

    2.จัดทำป้ายโครงการและป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม ทุกครั้ง

    3.มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ร้อยละ 100

    4.จัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง (2) เพื่อให้คนชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยกระบวนการสืบสานภูมิปัญญา (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

    รหัสโครงการ 58-03942 รหัสสัญญา 58-00-2020 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดองค์ความรู้และจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชุน คือ 1.การทำปุ๋ยหมัก 2.การทำปลาดุกร้า

    มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    กลุ่มเยาวชนมวยไทย เป็นการรวมกลุ่มของคนที่ติดยาและมั่วสุมอบายมุขมาเรียนรู้การชกมวย เพื่อลดปัญหายาเสพติด และกลุ่มนี้ได้ลดยาเสพติดได้

    กลุ่มมวยไทย ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการจากกิจกรรมโครงการ กลายเป็นกลุ่มอาชีพโดยการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกและส่งเสริมการแปรรูปปลาเป็นอาชีพเสริมของครัว ใช้หลักการมีส่วนร่วม

    กลุ่มส่งเสริมอาชีพปลาดุกร้า

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เริ่มเชื่อผู้นำ เชื่อกติกา และให้ความสำคัญกับกิจกรรม รวมทั้งให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มในชุมชน ดังนี้ 1.กลุ่มทำเพื่อให้มีรายได้เสริม เช่น การเล่นมวยไทย ลูกไปชกมวย เริ่มมีรายได้เดือนนึงประมาณ3000 – 5000 พันต่อคน
    2.กลุ่มปลาร้ามีรายได้ ประมาณ 10000 บาท ต่อกลุ่ม (กลุ่มละ 15 คน) ใช้เวลา 1 เดือน สรุปคนละ 1000 บาท เป็นรายได้
    3.กลุ่มปุ๋ยหมัก ลดค่าใช้จ่ายประมาณ ร้อยละ 30

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เกิดแแหล่งเรียนรู้ในชุมชนคือ
    1.การทำขนมจีนพื้นบ้าน 2.การทำปลาดุกร้า 3.การทำปุ็ยหมัก 4.การทำน้ำหมักชีวภาพ 5.การเรียนรู้อนุรักษ์มวยไทย 6.การเรียนรู้เรื่องการตัดผม

    เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 6 เรื่อง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการส่งเสริมการปลูกผัก โดยมีการผลิตปุ๋ยหมัก นำ้หมักชีวภาพไว้ใข้เอง และ่สงเสริมให้ทุกครัวเรือนมีการบริโภคผักที่ปลอดภัย ปลอดสารพิษ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    มีการส่งเสริมการออกกำลังกายในกลุ่มมวยไทยได้จัดกิจกรรมออกกำลังกายในกลุ่มเยาวชน และประยุกต์ใช้ท่ามวยไทยออกกำลังกายในหมู่บ้านเยาวชนให้การยอมรับ จากเด็กที่กินน้ำท่อม หันมาให้ความสนใจ ร่วมมือปัญหายาเสพติดลดลง ในกลุ่มที่เข้ามาร่วมกิจกรรม ประมาณ 30 ครัว และมีการขยายไปยังกลุ่มแม่บ้าน มีการออกำลังกายทุกวัน

    มีการออกกำลังกายที่ลานกีฬาหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    การส่งเสริมให้เยาวชน ได้หันมาชกมวย ทำให้วัยรุ่นเลิกน้ำท่อม เลิกยาเสพติดได้ 30 คน

    กลุ่มชกมวยไทย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    กำนันซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สอนวิถีภูมิปัญญาให้กับเยาวชน โดยสอนการตัดผมกับปัตตาเลี่ยนให้เยาวชน 30 คน เป็นเด็กเยาวชนในระบบและนอกระบบ โดยฝึกเยาวชนให้รู้จักเครื่องมือตัดผมในสมัยก่อน มีทั้งหวีและปัตตาเลียนสอนวิธีการตัดผม มุ่งให้เกิดเป็นอีกอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับทุกคน เป็นการสอนเด็กเยาชน ได้เรียนรู้การสร้างอาชีพตั้งแต่เด็ก

    กลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการจัดต้งกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ เป็นการทำปุ๋ยใช้เอง ลดการใช้สารเคมี

    กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการจัดระบบ การดูแลในชุมชน โดยให้แกนนำชุมชน ผุ้นำ และเยาวชนมาเฝ้าสถานที่ทำการกำนัน ร่วมกัน เพื่อร่วมกันสอดส่องดูแลความประพฤติของคนในชุมชน

    ที่ทำการกำนัน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการสร้างกลุ่มอาชีพและเสริมรายได้ ดังนี้
    1.กลุ่มทำเพื่อให้มีรายได้เสริม เช่น การเล่นมวยไทย ลูกไปชกมวย เริ่มมีรายได้เดือนนึงประมาณ3000 – 5000 พันต่อคน
    2.กลุ่มปลาร้ามีรายได้ ประมาณ 10000 บาท ต่อกลุ่ม (กลุ่มละ 15 คน) ใช้เวลา 1 เดือน สรุปคนละ 1000 บาท เป็นรายได้
    3.กลุ่มปุ๋ยหมัก ลดค่าใช้จ่ายประมาณ ร้อยละ 30

    กลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ทุกกลุ่มมีกติกา ของกลุ่มเอง โดย กำหนดโครงสร้างหน้าที่ชัดเจนถ้าใครไม่ร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะได้รับการพิจารณามากน้อย ไปตามสัดส่วนแต่ละกลุ่มมีกติกาเฉพาะ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายภายในคือ การเชื่อมโยงกับกลุ่มต่างๆที่อยู่ในชุุมชน เช่น ธนาคารพันธู์ข้าวกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่ม อสม. โดยเข้ามาร่วมกันทำงาน

    วาระการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีการจัดทำเวทีประชาคม และการประชุมทุกเดือน เพื่อรับฟังปัญหาและการร่วมกันแก้ปัญหาในชุมชนและตามโครงการ

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้ทุนจากชุมชน เช่น ปราชญ์ชุมชน มาสอนสมาชิกกลุ่มการนำทรัพยากรเช่น มูลสัตว์มาทำปุ่ญ หรือสมุนไพร มาแปรรูปอาหาร

    กลุ่มในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการจัดทำแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และสอนงานกัน 3 กลุ่ม 1.กลุ่มมวยไทย 2.กลุ่มปลาดุกร้า 3.กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

    กลุ่มในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ชุมขนรู้สึกเกิดความภาคภูมิใจ และหวงแหนกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามโครงการ และเห็นคุณค่าภูมิปัญญา

    เอกสารถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ชุมชนมีการรเรียนรู้เกษตรพอเพียง และการใช้ชีวิตตามพ่อหลวง มีการจัดทำปุ๋ยใช้เอง สอนกันเอง มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญา

    เอกสารถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03942

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สุทัศน์ ปานจีน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด