แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 58-03918
สัญญาเลขที่ 58-00-1897

ชื่อโครงการ เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้
รหัสโครงการ 58-03918 สัญญาเลขที่ 58-00-1897
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายศุภกิจกลับช่วย
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 11 กันยายน 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 30 กันยายน 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายบุญฤทธิ์ช่วยชู 14หมู่ 6บ้านปลักจอก ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 0894767504
2 นางชใบพรเรืองจรัส 109/1 หมู่ 6บ้านปลักจอก ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 0897382267

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้คนในชุมชนทำเกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี

  1. ครัวเรือนใช้พื้นที่ว่างในครัวเรือนปลูกผักเกษตร อินทรีย์ 60 ครัวเรือน
  2. ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพจำนวน 60 ครัวเรือน
  3. มีแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชน 1 แปลง
  4. มีครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ 30 ครัวเรือน

2.

เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนและทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้อง

1.ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้องร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

3.

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ปัญหาโดยการทำเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงสารเคมี

  1. คนในชุมชนเข้าใจและเข้าร่วมโครงการ 60 ครัวเรือน
  2. คนในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพหาสารเคมีตกค้างร้อยละ 90
  3. มีแกนนำเยาวชนอาสาสำรวจข้อมูลชุมชน 1 กลุ่ม

4.

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำเข้มแข็ง

  1. เกิดสภาผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ 1 กลุ่มมีสมาชิกอย่างน้อย 20 คน ร่วมติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง

5.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือนi

8,300.00 60 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน ร่วมเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในการลงบัญชีรายรับรายจ่าย ร่วมกันทำแผนปฏิบัติการของครัวเรือนในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเกิดเป็นแผนปฏิบัติการบัญชีครัวเรือน ได้รู้จักการบันทึกบัญชีรายรับในแต่ละเดือน บัญชีรายจ่ายในแต่ละเดือน รายได้คงเหลือ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันให้ทุกคนทำบัญครัวเรือนเป็นประจำทุกเดือน และให้นำเสนอผลการทำบัญชีปัญหาอุปสรรคในการทำบัญชีครัวเรือนในการประชุมประชาคมประจำเดือนของหมู่บ้าน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้ร่วมเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบันทึกรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในครัวเรือน และมีการแลกเปลี่ยนนำเสนอผลการทำบัญชีครัวเรือนของหมู่บ้าน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยดเ็กเยาวชน สมาชิก อบต. ไทยบุรี กรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ประชาชน ผู้เข้า่วมโครงการ

8,300.00 8,700.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน และกำหนดให้ผู็เข้าร่วมโครงการทุกคนบันทึกรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในครัวเรือนเป็นประจำทุกครั้งและให้มีการนำเสนอผลการทำบัญชีครัวเรือนในการประชุมประชาคตมหมู่บ้านประจำเดือน

ปัญหาที่พบ คือ สมาชิกโครงการขาดความรู้ความเข้าใจ ที่ชัดเจนในการบันทุกบัญชี แนวทางแก้ไข ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจทีดีขึ้น มีสมาชิกโครงการที่เป็นเยาวชนผ่านการศึกษาสาขาบัญชีได้ช่วยแนะนำการลงบัญชีที่ถูกต้อง

กิจกรรมหลัก : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการจัดทำแผนปฏิบัติการบัญชีครัวเรือนi

7,700.00 60 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คนรับฟังปัญหาในการบันทึกบัญชีครัวเรือน ที่พบแต่ละกลุ่ม เช่น บันทึกรายได้บางรายการไม่ถูกต้องหรือค่าใช้จ่ายบางรายการไม่ถูกต้อง ได้รับคำแนะนำร่วมกับสมาชิกสภาผู้นำประจำกลุ่มในการบันทึกรายรับรายจ่ายแต่ละเดือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผลผลิต 1. มีการให้ความรู้เพิ่มเติมในการทำบัญชีครัวเรือน 2. ให้สมาชิกโครงการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 3. มีการติดตามการทำบัญชีครัวเรือนในการประชุมประชาคมหมู่บ้านทุกครั้ง ผลลัพธ์ 1. มีสมาชิกโครงการมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น 2. มีการทำบัญชีครัวเรือน อย่างต่อเนื่อง 3. มีการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมประชาคมหมู่บ้าน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กเยาวชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน รวมเป็น 60 คน

7,700.00 7,700.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  1. มีการให้ความรู้เพิ่มเติมในการทำบัญชีครัวเรือน
  2. ให้สมาชิกโครงการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
  3. มีการติดตามการทำบัญชีครัวเรือนในการประชุมประชาคมหมู่บ้านทุกครั้ง

ผลลัพธ์

  1. มีสมาชิกโครงการมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น
  2. มีการทำบัญชีครัวเรือน อย่างต่อเนื่อง
  3. มีการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมประชาคมหมู่บ้าน

กิจกรรมหลัก : ปฏิบิตัการทำปุ๋ย ทำน้ำหมักชีวภาพi

11,900.00 60 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน ร่วมฝึกปฏิบัติการปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพจำนวน 2 สูตร คือ การทำน้ำหมักน้ำพ่อ และน้ำหมักแม่ จากวัสดุที่มีในชุมชน ฝึกทดลองปฏิบัติ และให้สมาชิกทุกคนไปจัดทำในครัวเรือนจัดทำตามคาวมพร้อมของแต่ละกลุ่มแลมอบหมายให้ตัวแทนของกลุ่มทั้ง 10 กลุ่ม กลุ่มละ 1 คน ช่วยกันคนน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้สำหรับการปลูกผักของส่วนกลางต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ และสารไล่แมลงจำนวน 3 สูตร สมาชิกโครงการได้ร่วมกันทำนเำหมักชีวภาพ สูตรน้ำพ่อ และสูตรน้ำแม่ สำหรับเป็นปุ๋ยทางใบแก่พืชผักที่ปลูกและสารไล่แมลงจากใบยาสูบ สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรอื่นๆ จากเอกสารประกอบตามความเหมาะสมของพืชที่ปลูกในครัวเรือน ได้ด้วยตนเอง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กเยาชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน

11,300.00 11,300.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ และสารไล่แมลงจำนวน 3 สูตร
  2. สมาชิกโครงการได้ร่วมกันทำนเำหมักชีวภาพ สูตรน้ำพ่อ และสูตรน้ำแม่ สำหรับเป็นปุ๋ยทางใบแก่พืชผักที่ปลูกและสารไล่แมลงจากใบยาสูบ
  3. สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรอื่นๆ จากเอกสารประกอบตามความเหมาะสมของพืชที่ปลูกในครัวเรือน ได้ด้วยตนเอง

กิจกรรมหลัก : แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกพืชผักi

15,500.00 60 ผลผลิต

ตัวแทนครัวเรือนและคณะกรรมการโครงการจำนวน 60 คนร่วมเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ โดยวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีในรูปแบบต่างๆ เช่น การปลูกผักแบบยกแคร่ การปลูกพืชผักในล้อยางรถยนต์ การปลูกพืชผักในถังซีเม็น การปลูกพืชร่วมยางพารา


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คนมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี
2.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ปลูกพืชผัก เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ผักชีไทย คนละ 5 ชนิด
3.มีการติดตามโดยแกนนำของกลุ่มและสมาชิกสภาผู้นำที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มพบว่า มีการดำเนินการของสมาชิกทุกราย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กเยาชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน และสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ รวมจำนวน 60 คน

15,500.00 15,000.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คนมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี
  2. สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ปลูกพืชผัก เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ผักชีไทย คนละ 5 ล้อ
  3. มีการติดตามโดยแกนนำของกลุ่มและสมาชิกสภาผู้นำที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มพบว่า มีการดำเนินการของสมาชิกทุกราย

ปัญหาที่พบ

  1. มีศัตรูพืชรบกวน เช่น หนอนใยผัก แมลงกัดกินพืชผักในเวลากลางคืน
  2. พืชผักของสมาชิกบางรายไม่สมบูรณ์งอกงามเท่าที่ควร

แนวทางแก้ไข

  1. ต้องให้ความรู้เรื่องการทำสารไล่แมลงเพิ่มขึ้น ให้มีการปฏิบัติจริงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกเพิ่มขึ้น
  2. ต้องปรับปปรุงดินปลูกให้มีคุณภาพมากขึ้น

กิจกรรมหลัก : ลงแขกเตรียมพื่นที่และปลูกแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชนi

7,200.00 60 ผลผลิต

ตัวแทนครัวเรือนและคณะกรรมการโครงการจำนวน 60 คนร่วมลงแขกใช้สถานที่ว่างบริเวณศาลาหมู่บ้านให้เป็นแปลงเกษตรอินทรีปลอดสารพิษโดยปลูกพืชผักเพื่อจัดให้เป็นแห่งเรียนรู้ในหมู๋บ้าน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คนในชุมชนร่วมเรียนรู้การเตรียมพื้นที่และมีแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชน 1 แปลง ในบริเวณศาลาหมู่บ้าน เป็นแห่งเรียนรู้และนำไปขยายพันธ์ต่อในชุมชนได้ เกิดความร่วมมือในการทำงานเพื่อการพัฒนาของชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กเยาชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน

7,200.00 7,200.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชน 1 แปลง ในบริเวณศาลาหมู่บ้าน เป็นแห่งเรียนรู้และนำไปขยายพันธ์ต่อในชุมชนได้ ในอนาคต แต่ปัญหาที่พบ คือ ขาดแหล่งน้ำในการรดพืชผัก แนวทางการแก้ไข ได้ใช้น้ำประปา ของหมู่บ้านในศาลาหมู่บ้านเป็นแหล่งน้ำ

กิจกรรมหลัก : ติดตามการดำเนินการปลูกผัก ทำปุ๋ย และบัญชีครัวเรือนi

7,700.00 60 ผลผลิต

คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการได้ออกเยี่ยมเยียนสมาชิกโครงการ เพื่อติดตรามและประเมินผลการทำกิจกรรมการปลูกผัก พบว่า ผู้ร่วมโครงการจำนวน 60 ครัวเรือน ได้ทำการปลูกผัก เช้น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาด ผักชี ผักบุ้ง อย่างต่อเนื่อง จำนวน 58 ราย ไม่ต่อเนื่อง 2 ราย การทำปุ๋ยหมักสมาชิกโครงการใช้มูลสัตว์ได้แก่ มูลวัว มูลสุกร ในการผสมดินปลูก การทำบัญชีครัวเรือนมีผู้ทำอย่างต่อเนื่อง จำนวน 15 ราย สมาชิกบางรายจำนวน 5 ราย สามารถจำหน่ายผลผลิต เช่น ผักบุ้ง ผักชีไทย ในตลาดท้องถิ่นเป็นรายได้ของครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.คณะทำงานมีการเยี่ยมเยียนสมาชิกเพื่อประเมินผล การปลูกพืชผัก ปัญหาอุปสรรคของสมาชิกผู้ร่วมโครงการเดือนละ 1 ครั้ง
2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมวิเคราะห์ติดตามและทำแผนการได้ปฏิบัติตามแผนบัญชีของครัวเรือน ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กเยาวชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 14 คน

7,700.00 7,700.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีการเยี่ยมเยียนสมาชิกเพื่อประเมินผล การปลูกพืชผัก ปัญหาอุปสรรคของสมาชิกผู้ร่วมโครงการเดือนละ 1 ครั้ง ปัญหาที่พบ คือ คณะทำงานได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลการป้องกันโรคและแมลง โดยไม่ใช้สารเคมี จากหน่วยงานของรัฐและกลุ่มอื่นๆ เช่น แหล่งเรียนรู้ของครูเคลื่อน ที่อำเภอสระแก้ว ศูนย์อารักขาพืชกระทรวงเกษตรจังหวักสุราษฎร์ธานี แนะนำการใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการกำจัดโรคพืช และใช้บิวเวอเรียในการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจะได้นำมาถ่ายทอดเรียนรู้ร่วมกันกับสมาชิกตอไป

กิจกรรมหลัก : ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเกษตรกรในชุมชน ครั้งที่ 2i

6,000.00 0 ผลผลิต

สมาชิกผู้ร่วมโครงการคณะทำงานและสมาชิกสภาผู้นำและประชาชนในชุมชนจำนวน 100 คน ร่วมตรวจสารเคมีเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงครั้งที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบสารเคมีตกค้างในเลือดระหว่างก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ประชาชนในชุมชนจำนวน 100 คนได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลกับครั้งแรก
2.คนในชุมชนมีความตระหนักและให้ค่วามร่วมือในการจัดกิจกรรมในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คณะกรรมการโครงการและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนจำนวน 100 คน

0.00 0.00 60 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชนในชุมชนจำนวน 100 คนได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือด ได้รับการความรู้การบริโภคพืชผักประกอบอาหรในชีวิตประจำวัน การเลือกซื้ออาหารจากท้องตลาด  และคนในชุมชนมีความตระหนักและให้ค่วามร่วมือในการจัดกิจกรรมในชุมชน

เด็กเยาชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน สมาชิกโครงการและชาวบ้าน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์มาดำเนินการเจอะเลือด เพื่อหาสารปนเปื้อนโดยมีผู๋เข้าร่วมเจอะเลือดจำนวน 100 คน ผลการวิเคราะห์ปรากฎว่ามีประชาชน ไม่มีสารพิษปนเปื้อนในเลือดในระดับปลอดภัย จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 64 มีสารพิษปนเปื้อนในระดับเสี่ยง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 32 มีสารพิษปนเปื้อนในเลือดระดัับไม่ปลอดภภัย จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจสารปนเปื้อนในเลือดครั้งแรกพบว่ามีสมาชิกโครงการและประชาชนมีผลการตรวจเลือดไม่มีสารพิษปนเปื้อนในระดับปลอดภัยเพิ่มขึ้นจำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 0 สารพิษปนเปื้อนในระดับเสี่ยง ลดลงจากจำนวน... คน คิดเป็นลดลงร้อยละ... คน สารพิษปนเปื้อนในระดดับไใ่ปลอดภัย คิดเป็นลดลงร้อยละ... คน ทั้งนี้เนื่องจากวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุุมชนสาธิตวลัยลักษณ์ได้ให้คามรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร พืชผัก วิธีการเลือกซื้ออาหาร ที่ปลอดภัยยจากสารพิษให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของการบริโภค อาหารปนเปื้อนสารพิษประชาชนและผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักให้ความสำคัญและะในไปใช้ปฏิบัติในครัวเรือน ในการเลือกซื้อาหาร พืชผัก การใช้ยาปราบศัตรูพืชอย่างถูกวิธีรวมทั้งการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือนตามโครงการ

6,000.00 6,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  1. ประชาชนเข้าร่วมรับฟังการให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบการใช้สารเคมีในการปลูดพืชผัก และยากำจัดวัชพืช
  2. ประชาชนเข้าร่วมการตรวจเลือด ครบจำนวน ตามเป้าหมายของโครงการ 100 คน
    ผลลัพธ์

  3. ประชาชนและผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

  4. ประชาชนมรสุขภาพดีขึ้น มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีลดลง

กิจกรรมหลัก : มหกรรมเกษตรอินทรีย์ชุมชนi

24,000.00 150 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมโครงการประชาชนในชุมชน อสม. เยาวชน จำนวน 130 คน และภาคีเครืองข่าย ผู้นำท้องที่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 หมู่ที 5 พัฒนาชุมชน อ.ท่าศาลา โดยมีปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคงเป็นประธานแทนนายอำเภอท่าศาลา โดยมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ จัดเเสดงการทำน้ำหมักชีวภาพ สำหรับไล่แมลงและบำรุงพืช ได้แก่น้ำหมักตันยาสูบ น้ำหมักใบสาบเสือ น้ำหมักมูลสุกร น้ำหมักหน่อกล้วย จัดบอร์ดแสดงสูตรน้ำหมักต่างๆ แสดงส่วนผสม วิธีทำ คุณสมบัตรและการนำไปใช้ การปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี ได้แก่่การปลูกผักบุ้งในล้อยาง ผักกวางตุ้ง ใบโหรพา จัดให้มีการแสดงของเด็กนักเรียนในชุมชนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ในชุมชนมีกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆในชุมชน
2.ให้ชุมชมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ได้แก่ การปลูกพืชผักดดยไม่ใช้สารเคมี ในล้อางรถยนต์ไว้บริโภคในครัวเรือน ถ้ามีเหลือขายเป็นรายได้บ้าง
3.ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญกับการบริโภคพืชผักที่ปลอดภัย รู้จักการเลือกซื้อ อาหารที่ไม่ปนเปื้อนสารพิษ การใช้สารเคมึ
4.เกิดแกนนำบ้านตัวอย่าง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กเยาวชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 4 คน ผู้เข้าร่วมโครงการและประะชาชนในหมู่บ้้านจำนวน 80 คน

24,000.00 24,000.00 150 130 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆในชุมชน ให้ชุมชนมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ได้แก่ การปลูกพืชผักดดยไม่ใช้สารเคมี ในล้อางรถยนต์ไว้บริโภคในครัวเรือน ถ้ามีเหลือขายเป็นรายได้บ้าง สมาชิกโครงการและประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญกับการบริโภคพืชผักที่ปลอดภัย รู้จักการเลือกซื้อ อาหารที่ไม่ปนเปื้อนสารพิษ ณุ้จักการใช้สารเคมึ เช่น ยาฆ่าหญ้า อย่างถูกวิธี ในผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น ยาฆ่าหญ้า ที่ไล่ลงแหล่งน้ำในฤดูฝน ทำลสยแห่ลงเพาะพันธ์ปลา การใช้สารพิษตามฉลากกำหนด การป้องกันโดยสวมเสื้อผ้า ปกปิดร่างกาย และการทำความสะอาดร่างกาย หลังการใช้สารพิษ

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีประชาสัมพันธ์ยื่นข้อเสนอในชุมชนขยายให้ดำเนินการต่อเนื่องi

7,200.00 60 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมโครงการประชาชนและคณะกรรมการโครงการจำนวน 60 คนร่วมประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์ให่สมาชิกทุกคน ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ น้ำหมักชีวภาพ และสารไล่แมลง ดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องและทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการจำหน่ายสินค้าปลอดสารพิษเพิ่มรายได้ ให้แก่ครัวเรือน โดยมีข้อตกลงร่วมกันในการทำกิจกรรมต่อเนื่อง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  1. มีข้อตกลงร่วมกันให้สมาชิกสภาผู้นำกลุ่มละ 2 คน ดูแลสมาชิกกลุ่ม ต่อไปอย่างต่อเนื่อง
  2. สภาผู้นำร่วมกันนำประสบการณ์การทำเกษตรปลอดสารพิษ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันประชุมประชาคมหมู่บ้าน
  3. มุ่งสร้างให้เกิดผลผลิตที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการยอมรับ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กเยาชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน และสมชิกโครงการรวม 60 คน

7,200.00 7,200.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีกติกาของกลุ่ม ที่จะทำกิจกรรมต่อไป โดยมีสมาชิกสภาผู้นำประจำกลุ่ม ทั่ง 10 กลุ่ม เป็นผู้ดูแลช่วยเหลือ และพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผักปลอดสารพิษของหมู่ที่ 6 เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ อย่างต่อเนื่อง

ปัญหา

ขาดวัตถุดิบในชุมชน ในการทำปุ๋บฃยหมักชีวภาพ และน้ำหมักชีวภาพในบางฤดูกาล ซึ่งต้องจัดซื้อจากภาคนอก ที่มีราคาแพง เช่น การทำน้ำหมักปลา แนวทางแก้ไข ใช้วัสดุอื่นในท้องถิ่นที่มี เช่น ใช้มูลหมูสดมาในการทำน้ำหมัก

กิจกรรมหลัก : ถอดบทเรียน และสรุปโครงการi

4,600.00 80 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมโครงการและ ประชาชนในชุมชน จำนวน 100 คน ร่วมถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการได้มีการแลกเปลี่ยนนำเสนอเล่าการทำกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ สรุปปัญหาอุปสรรค ผลดีที่เกิดในชุมชนบทเรียนจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อเป็นการเรียนรู้ของชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.คนในชุมชนทำเกษตรอินทรีย์ได้ร่วมกันลดการใช้สารเคมี ครัวเรือนใช้พื้นที่ว่างในครัวเรือนปลูกผักเกษตร อินทรีย์ 60 ครัวเรือน ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพจำนวน 60 ครัวเรือน มีแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชน 1 แปลง มีครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ 30 ครัวเรือน
2.ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเรียนการลดรายจ่ายในครัวเรือน
3.สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ปัญหาโดยการทำเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงสารเคมี
4.คนในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพหาสารเคมีตกค้าง 5.มีแกนนำเยาวชนอาสาสำรวจข้อมูลชุมชน 1 กลุ่ม
6.มีการพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ 7.เกิดสภาผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ 1 กลุ่มมีสมาชิกอย่างน้อย 20 คน ร่วมติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

เด็กเยาชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน ผู้เข้าร่วมโครงการและ ประชาชนในชุมชน จำนวน 100 คน

4,600.00 4,600.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  1. สมาชิกโครงการ ได้ทำเกษตรปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี
  2. สมาชิกโครงการมีการทำบัญชีครัวเรือน มีความรู้และความเข้าใจ ในการทำบัญชีครัวเรือนมากขึ้น
  3. สมาชิกโครงการใฃได้ทำงานร่วมกัน ในการดำเนินโครงการ และปลูกพืชผักปลอดสารพิษ โดยไม่ใช้สารเคมี
  4. สมาชิกสภาผู้นำ ได้ัทำงานร่วมกัน ทำงานเป็นกลุ่มได้ดีขึ้น

ผลลัพธ์

  1. สมาชิกโครงการมีพืชผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจ ในการทำเกษตรปลอดสารพิษมากขึ้น
  2. สมาชิกโครงการทำบัญชีครัวเรือน และมีความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือนดีขึ้น
  3. สภาผู้นำและสมาชิกโครงการมีจิตสาธารณะ ทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น
  4. สภาผู้นำและสมาชิกโครงการมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น

ปัญหา

การทำบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องที่สมาชิกทำความเข้าใจได้ยากทำให้สมาชิกบางคนขาดความต่อเนื่อง ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในที่ประชุมประชาคมหมู่บ้าน

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ดำเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้ จำนวน 60 คน

8,200.00 0.00 71 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1. บันทึกกิจกรรมโครงการทั้ง 16 กิจกรรม เข้าเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขเสร็จเรียบร้อย 2. จัดทำเอกสารทางการเงินแบบสรุปรายงานการใช้เงิน ทั้ง 16 กิจกรรม

ผลลัพธ์
- เกิดการร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน ซักถาม พูดคุย ในการแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกันชุมชนมีข้อเสนอร่วมกันในการวางแผนโดยเสนอให้นำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเข้าแผนชุมชน แผนตำบลต่อไป

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีการแบ่งบทบาทหน้าที่การช่วยเหลือกันในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ทีมงานมีความสามารถดำเนินการได้ดี

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ดำเนินกิจกรรมสำเร็จตามเป้าหมาย

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

สามารถบริหารจัดการโครงการเห็นถึงความสำคัญในการจัดการเอกสารหลักฐานทางการเงิน

2.2 การใช้จ่ายเงิน

การใช้จ่ายงบประมาณถูกต้อง

2.3 หลักฐานการเงิน

หลักฐานทางการเงินของโครงการมีความถูกต้อง เป็นไปตามกิจกรรมที่ได้วางไว้

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

มีการดำเนินโครงการตามแผนงานกิจกรรมของโครงการ มีการปรับวันที่ดำเนินกิจกรรมตามความเหมาะสมของพื้นที่โครงการดำเนินกิจกรรมได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ มีคณะกรรมการร่วมบริหารจัดการและการมีจัดทำเอกสาร ทะเบียน บันทึกค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมไว้เป็นอย่างดี ตรวจสอบได้

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

จากการติดตามการดำเนินงานในงวดที่ 2 ของโครงการ คณะกรรมการโครงการได้ดำเนินกิจกรรม วางแผน ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีการประชุมสภาผู้นำในการขับเคลื่อนโครงการเดือนละ 1 ครั้ง โดยการดำเนินงานของโครงการมีการจัดกิจกรรมดังนี้ 1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกพืชผัก
2.ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเกษตรกรในชุมชน ครั้งที่ 1
3.เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน
4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำแผนปฏิบัติการบัญชีครัวเรือน
5.ลงแขกเตรียมพื่นที่และปลูกแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชน
6.ติดตามการดำเนินการปลูกผัก ทำปุ๋ย และบัญชีครัวเรือน
7.ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเกษตรกรในชุมชน ครั้งที่ 2 8.จัดเวทีประชาสัมพันธ์ยื่นข้อเสนอในชุมชนขยายให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9.มหกรรมเกษตรอินทรีย์ชุมชน
10.ถอดบทเรียน

เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ ดังนี้ 1. มีสภาผู้นำสมาชิกจำนวน 20 คนและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานและได้มีการประชุมร่วมกัน 7 ครั้ง มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกพืชผัก คนในชุมชนได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเกษตรกรในชุมชนสร้างความตระหนักของในชุมชน เกิดการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำแผนปฏิบัติการบัญชีครัวเรือน
คนในชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจสามัคคีร่วมกันลงแขกเตรียมพื่นที่และปลูกแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชน เกิดกลไกติดตามการดำเนินการปลูกผัก ทำปุ๋ย และบัญชีครัวเรือนมีการแลกเปลี่ยนประชาสัมพันธ์ยื่นข้อเสนอในชุมชนขยายให้ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อความต่อเนื่องของโครงการ เยาชนและคนในชุมชนร่วมเรียนรู้จากมหกรรมเกษตรอินทรีย์ชุมชน

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong