แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 58-03895
สัญญาเลขที่ 58-00-1886

ชื่อโครงการ เกษตรอินทรีย์สร้างรายได้บ้านในหัน
รหัสโครงการ 58-03895 สัญญาเลขที่ 58-00-1886
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายศุภกิจ กลับช่วย
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 12 กุมภาพันธ์ 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 15 มีนาคม 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายประจวบ ไหมนุ้ย 59/1 ม.4 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 0870183634
2 นายนัฐพงษ์ พรหมจรรย์ 70/1 ม.4 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 087-8986827

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้คนในชุมชนทำเกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี

1.ครัวเรือนในชุมชนใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี 60 ครัวเรือน
2.มีครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ 30 ครัวเรือน
3.เกิดกลุ่มการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ในชุมชน 1 กลุ่ม

2.

เพื่อให้คนในชุมชนมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาร่วมกัน

  1. คนในชุมชนเข้าใจและเข้าร่วมโครงการ 60 ครัวเรือน
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการใช้การเกษตรแบบชีวภาพแทนการใช้สารเคมีอย่างน้อย 60 ครัวเรือน

3.

เพื่อให้คนในชุมชนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำการเกษตร

  1. ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพจำนวน 60 ครัวเรือน
  2. มีแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชน 1 แปลง

4.

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็งได้

1.เกิดสภาผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ 1 กลุ่มมีสมาชิกอย่างน้อย 20 คน ร่วมติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง

5.

เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนและทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้อง

1.ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้องร้อยละ 80
2.มีแผนปฏิบัติการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน
3.มีการรวมกลุ่มทำน้ำยาอเนกประสงค์ จำนวน 50 ครัวเรือน

6.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำi

10,000.00 20 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมประชุมสภาผู้นำจำนวน 20 คน โดยได้ร่วมกันประชุมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการ การบริหารจัดการ การแก้ปัญหา และวางแผนดำเนินกิจกรรมตามโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีสภาผู้นำชุมชนมีสมาชิก 20 คน ร่วมกันกำหนดหน้าที่ในการทำงานและแบ่งงานกันรับผิดชอบตามความถนัดความเหมาะสมของแต่ละคน มีการกำหนดแผนการจัดกิจกรรมตลอดโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 10 คน อสม.2 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน

1,000.00 1,000.00 20 13 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ผู้นำเข้ามาร่วมประชุม 20 คน
ผลลัพธ์ มีคณะทำงานที่เรียกว่าสภาผู้นำที่เข้าร่วมประชุมและแต่งตั้งคณะกรรมการ มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำกิจกรรม มีการเตรียมสถานที่ เเจ้งบุคคลเพื่อประสานผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยผ่านทางหอกระจายข่าว ทั้งด้านทิศเหนือและทิศใต้ เพื่อเข้าร่วมทำกิจกรรมร่วมกันครั้งต่อไป

ณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 10คน อสม. 3 คน  ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน 

1,000.00 1,000.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีสภาผู้นำเข้าร่วมประชุมจำนวน 18 คน ได้มีการร่วมกันพูดคุยติดตามกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนมอบหมายแบ่งหน้าที่เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมการสร้างเครื่องมือและการสำรวจข้อมูลของชุมชน ซึ่งทุกคนมีความเข้าใจและร่วมช่วยกันในการขับเคลื่อนโครงการ

สภาผู้นำจำนวน 16 คน

1,000.00 1,000.00 20 16 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนสมาชิกสภาผู้นำ 16 คน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการทำกิจกรรมของโครงการและได้ช่วยหาแนวทางในการแก้ไขถึงปัญหา

คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน 20 คน

1,000.00 1,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกสภาผู้นำจำนวน 20 คน ได้เรียนรู้ถึงวิธีการ การลงบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือน จำนวน 80 ครัวเรือนที่ทำบัญชีครัวเรือนจะได้ทราบถึงปัญหาค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดและเพิ่มอย่างใรถึงจะให้เป็นครอบครัวที่พอเพียงและอยู่อย่างเป็นสุข มีการทำงานร่วมแบบภาคีระหว่างส่วนราชการกับชุมชน

  • กรรมการหมูบ้าน จำนวน 10 คน

  • อสม. จำนวน 4 คน

  • คณะกรรมการโครงการ จำนวน 2 คน

  • ตัวแทนกลุ่มอาชีพ จำนวน 1 คน

  • ผู้นำภูมิปัญญา จำนวน 1 คน

1,000.00 1,000.00 18 18 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 17 คน
  2. มีการพูดคุยเพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมในการหาตรวจหาสารเคมีในเลือดของตัวเกตษรกร
  3. มีการ่วมวางแผนการทำงาน 
  • คณะกรรมการหมุ่บ้าน จำนวน 12 คน

  • อสม.2 คน

  • แกนนำกลุ่มเศษรฐกิจพอเพียง 1 คน

1,000.00 1,000.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน และแกนนำชุมชน ได้มีการจัดแบ่งคนเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยชีวะภาพและน้ำยาฆ่าแมลง

  • เกิดทีมในการ่วมกันทำงาน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและความสามัคคี

  • คณะกรรมการหมู่บ้าน 12 คน

  • อาสาสมัครเกษตร 2 คน

  • ประธานกลุ่มข้าวซ้อมมือ 2 คน

  • สมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง 2 คน

1,000.00 1,000.00 20 18 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้สรุปปัญหา ของกิจกรรมที่ผ่านมาเรื่อง ที่ไม่สามารถใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในที่ประชุมได้ แก้ไขโดยใช้สื่ออินเตอร์เน็ตตามสถานที่ราชการ เช่น อบต. รพสต. เพื่อบันทึกข้อมูล จึงทำให้ล่าช้าในการส่งข้อมูล ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการตรวจหาสารเคมีในเลือด เลยต้องไปขอความช่วยเหลือจาก รพสต.ชุมชนใหม่สาธิตพัฒนา กระผมขอให้คณะกรรมการช่วยประสานงานตามสถานที่ดังกล่าวเพื่อบรรลุในเป้าหมายครั้งต่อไป

  • คณะกรรมการหมู่บ้าน 12 คน

  • ประธานกลุ่มอาชีพ 2 คน

  • อสม. 2 คน

1,000.00 1,000.00 20 16 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการหมู่บ้าน 12 คน ประธานกลุ่มอาชีพ 2 คน อสม. 2 คน มีการประชุมวางแผนร่วมการ และได้ทราบถึงปัญหาของการที่ไม่สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้

วัยทำงาน 18 คน

1,000.00 1,000.00 20 18 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กรรมการทุกคนได้รับทราบถึงจำนวนครัวเรือนที่ต้องการปลูกผัก และเกิดแปลงสาธิตในการเรียนรู้ ของชุมชน ขึ้น 2 แห่ง และได้ร่วมออกความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาต่อไป

วัยทำงาน 18 คน

1,000.00 1,000.00 20 18 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้พูดถึงวิธีการปลูกผัก พูดคุยเรียนรู้เรื่องผักที่มีสารเคมี และวิธีการที่การจัดทำเวทีร่วมกัน มีการพูดคุย การสรุปปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในงานที่ผ่านมา เพื่อนำไปปฏิบัติในกิจกรรมต่อๆ ไป จำนวน 18 คน

กิจกรรมหลัก : ประชุมชี้แจงโครงการi

10,800.00 100 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมประชุมโครงการจำนวน 98 คน ได้รับทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ที่จะให้ช่วยกันทำและจะร่วมดำเนินงาน มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับโครงการและเข้าร่วมทำกิจกรรมตามโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ตัวแทนครัวเรือนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการและรับทราบรายละเอียดของโครงการและพร้อมเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

เด็กวัยเรียน 20 คน วัยทำงาน 35 คน ผู้สูงอายุ 43 คน

10,800.00 10,300.00 100 98 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม 98 คน ประชาชนผู้เข้าร่วมประชุมได้รับรู้วัตถุประสงค์ของโครงการและวิธีการดำเนินงานของโครงการ และมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 80 ครัวเรือน คาดว่าสมาชิกในครัวเรือนอย่างน้อย 80 คน จะรู้จักการทำรายรับรายจ่ายของครัวเรือนและได้ตรวจหาสารพิษที่มีในเลือดและทำปุ๋ย ปลูกผักกินและใช้เอง และยังมีการลดรายจ่ายของครัวเรือนได้

เด็กวัยเรียน 20 คน วัยทำงาน 35 คน ผู้สูงอายุ 43 คน

10,800.00 0.00 100 98 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้านหมู่ที่ 4 บ้านในหัน รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินโครงการ  ร่วมไปถึงได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับโครงการและเข้าร่วมทำกิจกรรมตามโครงการ

กิจกรรมหลัก : สร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูลชุมชนi

6,500.00 50 ผลผลิต

สภาผู้นำชุมชน แกนนำครัวเรือน จำนวน 28 คน ร่วมกันออกแบบข้อมูลสำหรับสำรวจข้อมูลของชุมชนโดยร่วมกันกำหนดหัวข้อที่ต้องการทราบประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน ข้อมูลรายรับ รายจ่าย หนี้สิน ข้อมูลอาชีพเพศและวัย การใช้สารเคมีในครอบครัว การได้รับสารเคมีเข้าสู้ร่างกาย มีการกำหนดแผนสำรวจข้อมูลและการเก็บสำรวจข้อมูล


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เยาวชนเกิดความตระหนักได้เรียนรู้ข้อมูลชุมชน และมีความเข้าใจในเรื่องการสำรวจข้อมูลชุมชน มีข้อมูลชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

วัยทำงาน 20 คน ผู้สูงอายุ 8 คน

6,500.00 6,000.00 50 28 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สภาผู้นำ ตัวแทนคนในชุมชน และเยาวชนได้เรียนรู้ข้อมูลชุมชนและหลักการเก็บสำรวจข้อมูล ได้แบบสำรวจข้อมูลชุมชน 1 ชุด โดยมีรายละเอียดในแบบสอบถามสำรวจข้อมูล ชื่อ-สกุล อายุ สถานที่ เพศ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ โรคประจำตัว การกินอาหาร การใช้สารเคมีในครอบครัว การได้รับสารเคมีเข้าสู้ร่างกาย

ผลการสำรวจการสำรวจข้อมูลจำนวน 80 ครัวเรือน พบว่าอาหารที่รับประทานเสี่ยงต่อสารเคมีจำนวน 48 ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักกินเอง 16 ครัวเรือน อาชีพทำการเกษตร 65 ครัวเรือน ปัจจัยการได้รับสารเคมีเข้าร่างกาย พบว่า ทางปากได้รับมากที่สุด การปฏิบัติตนเมื่อได้รับสารเคมี ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในการรับสารเคมี ครอบครัวส่วนมากมีการปรุงอาหารกินเอง

กิจกรรมหลัก : วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจi

6,500.00 50 ผลผลิต

สภาผู้นำชุมชน แกนนำครัวเรือนจำนวน 50 คน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ ข้อมูลรายครัวเรือนและภาพรวมของชุมชนสรุปผลการวิเคราะห์ เตรียมนำเสนอคืนข้อมูลให้ชุมชนรับทราบ จากการสำรวจพบว่าข้อมูลจำนวน 80 ครัวเรือน พบว่าอาหารที่รับประทานเสี่ยงต่อสารเคมีจำนวน 48 ครัวเรือน เนื่องจากมีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร มีการซื้อผักจากตลาดมารับประทาน คนส่วนมากขาดความรู้ความเข้าใจในการหลีกเลี่ยงในการใช้สารเคมี จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักกินเอง 16 ครัวเรือน อาชีพทำการเกษตร 65 ครัวเรือน ปัจจัยการได้รับสารเคมีเข้าร่างกาย พบว่าทางปากได้รับมากที่สุด การปฏิบัติตนเมื่อได้รับสารเคมี ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในการรับสารเคมี ครอบครัวมากมีการปรุงอาหารกินเอง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

จมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยวิเคราะห์ของชุมชน จำนวน 50 คน โดยคนในชุมชนได้ร่วมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาครัวเรือนมีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ และวางแผนหาแนวทางสร้างความตระหนักในการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กวัยเรียน 20 คน วัยทำงาน 20 คน ผู้สูงอายุ 10 คน

6,500.00 6,500.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจของชุมชน จำนวน 50 คน โดยคนในชุมชนได้ร่วมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาครัวเรือนมีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร มีการกู้ยืมเงินจาก ธกส.และกลุ่มสัจจะมาลงทุน ราคาผลผลิตตกต่ำทำให้มีรายได้ไม่พอ ประกอบกับสภาพดินฟ้าไม่เอื้ออำนวย จึงได้มีการวางแผนกำหนดหาแนวทางสร้างความตระหนักในการแก้ปัญหาร่วมกันโดยให้ร่วมปลูกผักไว้กินเอง ทำปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้ลดการใช้สารเคมี และให้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของโครงการอยู่แล้ว มีการเสนอให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีการกิจกรรมตามทำโครงการอย่างจริงจังและให้เด็กเยาวชนมีส่วนร่วมเพื่อช่วยสร้างแรงผลักดันในการดำเนินต่อไป

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีคืนข้อมูลจากการสำรวจ รับสมัครและกำหนดกติกาi

12,500.00 100 ผลผลิต

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 95 คน ได้มีการสรุปข้อมมูลที่จากการสำรวจและวิเคราะห์เพื่อนำเสนอข้อมูลให้ชุมชนทราบและเข้าใจพร้อมทั้งตระหนักและร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกัน พบว่าจำนวน 80 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่เสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี 45 ครัวเรือน ซึ่งอาชีพเป็นชาวสวน ส่วนที่ได้รับสารเคมีเข้าไปในทางปากมากกว่าทางอื่น ๆ เนื่องจากการกินอาหาร การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้สารเคมี ส่วนทางระบบหายใจมีส่วนน้อยเพราะ มีการจ้างแรงงานใช้ฉีดยาฆ่าวัชพืชในสวน ขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนหลังจากได้รับสารเคมี จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักกินเอง 16 ครัวเรือน อาชีพทำการเกษตร 65 ครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะกรรมการโครงการ ตัวแทนครัวเรือนในชุมชน และนักเรียนร่วมกันเรียนรู้ข้อมูลจากการสำรวจและวิเคราะห์ทำให้เห็นสภาพปัญหาข้อเท็จจริงของชุมชนร่วมกัน มีการแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมต่อข้อมูลของชุมชน สร้างความตระหนักและร่วมที่จะแก้ปัญหาของชุมชนเอง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

นักเรียน 20 คน วัยทำงาน 45 คน ผู้สูงอายุ 30 คน

12,500.00 12,000.00 100 95 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 95 คน โดยมีนักเรียนร่วมอยู่ด้วย 45 ครัวเรือนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมี ( ยาฆ่าวัชพืช ยาฆ่าแมลง ) จำนวน 16 ครัวเรือนที่มีการปลูกผักสวนครัวกินเอง และจำนวนนักเรียน 20 คน ที่ได้เรียนรู้เรื่องโทษและพิษภัยของสารเคมี การปฏิบัติตนอย่างไรหลังจากการได้รับสารเคมี ชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกันและหาแนวทางแก้ปัญหาของชุมชนในอนาคตว่าชุมชนนี้ปลอดจากสารเคมี และเป็นชุมชนเกษตรอินทรีย์พอเพียง

กิจกรรมหลัก : ร่วมเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือนi

10,700.00 80 ผลผลิต

จำนวนครัวเรือน 80 ครัวเรือนได้มีการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน โดยฝึกบันทึกข้อมูลทั้งรายรับของครัวเรือน รายจ่ายของครัวเรือนเพื่อให้ได้รับรู้ถึงข้อมูลการรับจ่าย


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนได้มีการเรียนรู้และความเข้าใจในเรื่องรายรับรายจ่ายของครัวเรือน เกิดการเรียนรู้เข้าใจในส่วนที่จำเป็นและไม่จำเป็นที่จะต้องจ่าย ลดในส่วนที่ไม่จำเป็น เพิ่มในส่วนที่ขาด เพื่อให้ครัวเรือนที่มีรายจ่ายที่พอประมาณและหาทางเพิ่มรายได้ลดการเป็นหนี้ได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

มีครัวเรือนจำนวน 80 ครัวเรือน

10,700.00 10,700.00 80 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนครัวเรือน 80 ครัวเรือนที่มีการทำการจดบันทึกสมุดรายรับรายจ่าย และเข้าใจในส่วนที่จำเป็นและไม่จำเป็นที่จะต้องจ่าย ลดในส่วนที่ไม่จำเป็น เพิ่มในส่วนที่ขาด จะมีครัวเรือนที่มีรายจ่ายที่พอประมาณและหาทางเพิ่มรายได้ลดการเป็นหนี้ เพราะมีการมองเห็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง ลดการกินอยู่ที่ฟุ่งเฟ้อ มีการมอบรางวัลสำหหรับครอบครัวที่มีการบันทึกรายรับรายจ่ายดีอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่จะเข้าร่วมการจดบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือนทั้งชุมชน

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต

คณะทำงานเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ จำนวน 2 คน รับฟังการบริหารจัดการโครงการ เรียนรู้การจัดทำรายงานต่างๆรายงานการเงิน การลงทะเบียน การจัดทำรายงานผ่านเวปไซต์ การเขียนใบสำคัญรับเงิน และได้ร่วมเรียนรู้การเขียนรายงานที่ถูกต้อง การหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% พร้อมการเขียนรายการส่งเงินภาษี


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะทำงานทราบและเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สสส สามารถจัดทำรายงานต่างๆได้ และบันทึกรายงานได้และนำไปปฏิบัติจริงได้ถูกต้องในกิจกรรมต่อๆไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน

400.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การปฐมนิเทศ การรายงานกิจกรรมในระบบเวปไซค์ ระเบียบการเงิน การบันทึกกิจกรรม นำความรู้ที่ได้มาปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน

400.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการได้เรียนรู้การกำหนดปฏิทินโครงการให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการโครงการสู่ความสำเร็จ และการจัดทำเอกสารหลักฐานการเบิก-จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งการบันทึกข้อมูลกิจกรรมลงในเว็บไซต์

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

200.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมเเต่ละโครงการจำนวน 2 คน มีความรู้ในกระบวนการบริหารจัดการโครงการให้ประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดโครงการ ได้แนวทางการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การบันทึกข้อมูลทางเวปไซต์ การจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้องเหมาะสม และการหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งได้เรียนรู้ประเด็นปัญหาจากตัวอย่างของโครงการอื่น ๆ ที่นำมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

200.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการเรียนรู้และฝึกทักษะการลงรายงานบันทึกกิจกรรม รูปภาพ และการเขียนผลผลิต ผลลัพท์ของกิจกรรม และเรียนรู้เรื่องการหักภาษีณ ที่จ่่าย

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน

400.00 200.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการจัดกิจกรรมงวดที่1 พร้อมจัดทำรายงานปืดงวด และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆโดยสจรส มอและพี่เลี้ยง

คณะกรรมการโครงการ จำนวน 2 คน

400.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการตรวจเอกสารทางด้านการเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคํญรับเงิน ใบกำกับภาษี รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้โครงการจัดทำให้ถูกต้อง 

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 3 คน

0.00 0.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลังปิดงวดที่ 1 ทำกิจกรรมไปแล้ว 2 กิจกรรม 1. ทำบัญชีครัวเรือน นัดตรวจทุก 3 เดือน แจกไป 80 ครัวเรือน ส่วนใหญ่กรรมการทุกคนจะทำแต่ชาวบ้านมักไม่ค่อยทำเพราะบอกว่าทำไม่ถูก
2. สำรวจปัจจัยเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมี ส่วนใหญ่ผู้สำรวจเป็นโรคเรื้อรัง อาหารส่วนใหญ่ปรุงเอง 3. ตรวจเลือดโดย รพ.สต. มีผู้ตรวจ 82 คน ขอตัวแทนครัวเรือน ผลการตรวจ ปกติ 2คน ปลอดภัย 8 คน เสี่ยง 43 คน ไม่ปลอดภัย 30 คน / เป็นเด็ก(อายุ 9-12 ปี) 21 คน (เสี่ยง 16 คน ปลอดภัย 4 คน ไม่ปลอดภัย 1 คน) กิจกรรมต่อไป 1. ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษตามบ้านเรือน 2. ส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรียน จากเด็กนักเรียน 90 กว่าคน ซึ่งครูในโรงเรียนจะจัดทำแปลงสนับสนุนปลูกผักในโรงเรียน และได้ปรับอาหารกลางวัน เป็นการซึ่งผักในหมู่บ้าน แต่ไม่เพียงพอจึงต้องซื้อจากตลาด 3. กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง ส่งที่ สจรส.ม.อ. ต้องปรับปรุง - การเขียนใบหักภาษี กรณีค่าใช้จ่ายที่ต้องหักภาษี การตรวจสอบเอกสารการเงิน - ฝ่ายการเงินสามารถทำเอกสารการเงินได้ถูกต้องดีขึ้นกว่าการทำการเงินงวด 1 ที่ผ่านมา

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

3,000.00 700.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมประชุมได้ร่วมกันทำรายงาน และแก้ไขข้อผิดพลาดตามความหมาะสมของพี่เลี้ยง

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

3,000.00 1,800.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

2.ได้ศึกษาเรียนรู้กันหลายกิจกรรม

3.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

ผลลัพธ์

1.กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

2.ได้สร้างเครือข่ายกันระหว่างกลุ่มเป้าหมาย

3.ได้แนวคิดในการจัดทำแผนชุมชนต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

3,000.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  จัดทำเอกสารการเงินเเละลงรายละเอียดโครงการ  ได้มีการลงรายละเอียดของกิจกรรมตามความเป็นจริง  สรุปโครงการเเละประเมินผลโครงการ

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต

มีป้ายเขตปลอดบุหรี่จำนวน 2 ป้ายติดในศาลาหมู่บ้านและที่โรงเรียนบ้านสะพานหัน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีการสูบบุหรี่ ในเวลาการจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายเกิดจิตสำนึกงดสูบบุหรี่ในวันจัดกิจกรรม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

ตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

3,000.00 450.00 2 4 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน3 ชุด โดยติดตั้งไว้ที่ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน 1 จุด โรงเรียนบ้านสะพานหัน 1 จุด และที่อ่านหนังสือพิมพ์ของหมู่บ้าน

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

0.00 2,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน ได้บันทึกรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของ มีรูปภาพประกอบกิจกรรมของโครงการ ได้รายงานสรุปผลของโครงการ

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีการปรับปรุงแก้ไขบทบาทหน้าที่และการบันทึกข้อมูลผ่านทางเวปไซต์ให้ถูกต้อง

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

คณะทำงานมีการพัฒนาทักษะการดำเนินกิจกรรม

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

มีดำเนินกิจกรรมสำเร็จตามเป้าหมาย

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

มีการบริหารจัดการได้การเบิกจ่ายเงินมีเจ้าหน้าที่การเงินเป็นผู้ดูแล แต่ทีมยังไม่เข้าใจการบริหารจัดการโครงการและความสำคัญของการจัดเก็บเอกสารหลักฐานการดำเนินงาน

2.2 การใช้จ่ายเงิน

มีการจ่ายใช้จ่ายเงินถูกต้อง

2.3 หลักฐานการเงิน

มีเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินครบ แต่เอกสารหลักฐานทางการเงินไม่ถูกต้อง

ผลรวม 0 2 1 0
ผลรวมทั้งหมด 3 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

โครงการสามารถดำเนินกิจกรรมได้

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

จากการติดตามการดำเนินงานในงวดที่ 1 ของโครงการ เนื่องจากโครงการได้รับเงินล่าช้าจึงทำให้มีการปรับปฏิทินกิจกรรมของโครงการให้เหมาะสมกับระยะเวลา ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการเองมีความตั้งใจ มุ่งมั่นเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการซึ่งแม้ว่าช่วงแรก ๆ ของการดำเนินกิจกรรมจะมีปัญหาในเรื่องการบันทึกข้อมูลผ่านเวปไซต์ที่มีความล่าช้า แต่ตัวผู้นำชุมชนเองให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการโดยมีการปรับรูปแบบการทำงานให้เกิดความเป็นทีมมากขึ้นและทั้งนี้คณะกรรมการพร้อมรับในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และจากการติดตามและพิจารณาเห็นว่ามีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมาย โดยการดำเนินงานของโครงการมีการจัดกิจกรรมดังนี้
1.พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ
2.การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม
3.ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
4.จัดเวทีชี้แจงการดำเนินงานโครงการ
5.สร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูลชุมชน 6.วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ
7.จัดเวทีคืนข้อมูลจากการสำรวจ รับสมัครและกำหนดกติกา
8.ร่วมเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือน เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ ดังนี้ 1. มีสภาผู้นำสมาชิกจำนวน 20 คนและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานและได้มีการประชุมร่วมกัน 4 ครั้ง 2.การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ผู้รัผิดชอบโครงการได้เข้าร่วมทุกครั้ง 3.ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 3 ป้าย 4.ชี้แจงการดำเนินงานโครงการมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 80 ครัวเรือน น5.มีแบบสำรวจข้อมูลในชุมชนโดยทีมเยาวชน 6.มีชุดข้อมูลจากวิเคราะห์ร่วมกันของในชุมชน 7.ชุมชนรับรู้ข้อมุลของชุมชนและทราบปัญหาของชุมชนร่วมกัน เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกกลุ่มทุกวัย และการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

สร้างรายงานโดย ศุภกิจ