directions_run

ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ ”

บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย มาโนช ทองประดับ

ชื่อโครงการ ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

ที่อยู่ บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03885 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1887

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 26 เมษายน 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03885 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 26 เมษายน 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 191,400.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 200 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีโดยใช้เกษตรอินทรีย์
  2. เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาโดยการทำเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงสารเคมี
  3. เพื่อให้คนในชุมชนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำการเกษตร
  4. เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็งได้
  5. เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
  6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 1

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปฐมนิเทศรับฟังคำชี้แจงโครงการ รับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการจาก สจรส มอ บรรยายและแนะนำขั้นตอนในการลงกิจกรรมของโครงการ การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตียมคนช่วยงาน และเรียนรู้การทำรายงานการเงินการลงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่าย แนะนำชี้แจงการลงข้อมูลเวปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เข้าร่วมฟังการปฐมนิเทศ การรายงานกิจกรรมในระบบเวปไซค์ ระเบียบการเงิน การบันทึกกิจกรรม นำความรู้ที่ได้มาปฎิบัติจริง

     

    2 3

    2. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที1 เดือนตุลาคม 58

    วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-10.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา13.00-17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่10บ้านในโคร๊ะโดยมีผู้ใหญ่ มาโนช ทองประดับ เป็นประธานประชุมได้มีการแยกบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำในชุมชนเป็นไปด้วยตามเรียบร้อยและได้ร่วมกันวางแผนในการจัดทำกิจกรรการติดตามประเมินผล ประเมินปัญหาและได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและตัดสินใจร่วมกันการปรึกษาหารือเรื่องอื่นๆในชุมชนและในการจัดทำโครงการของ สสส โครงการชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษกิฐพอเพียงบ้านในโคร๊ะโดย ในการจัดทำกิจกรรมจำนวน 7กิจกรรมโดยการแยกงบประมาณแต่ละกิจกรรมชัดเจนและการพัฒนาศักยภาพผู้นำจำนวน 5 ครั้งในการสรุปปัญหาและร่วมกันตัดสินใจและปรึกษาในด้านต่างๆในหมู่บ้านกันตัดสนใจและปรึกษาในด้านต่างๆในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีสภาผู้นำจำนวน 25คน ได้เข้าร่วมประชุมและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานเพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันทำงานเป็นทีมโดยมีนายมาโนชทองประดับ เป็นประธาน รองประธาน 2 คือ นายสุนทรชามทอง และนายอรุณใจดีเหรัญญิก นางอุไร นาคัน เลขานุการ น.ส.จุฑารัตน์ ใจแผ้ว ผู้ช่วยเลขานุการ นางลิลัย เพชรนิล ฝ่ายทะเบียนจำนวน 3 คนมีนางจุรีย์ เทพศรี เป็นหัวหน้าฝ่ายฝ่ายสถานที่ 5 คน มี นางสมอน เมฆฉาย เป็นหัวหน้าฝ่ายฝ่ายคอมพิวเตอร์สื่อสารจำนวน 3 คน มีนายกสิเดช อ๋องสุด ฝ่ายประชาสัมพันธ์จำนวน 3 คน มีนายวิเชียร แก้วน้อย เป็นหัวหน้าฝ่าย ตัวแทนเยาวชน 5คน มี น.ส.ภูสุดา อาจหาญ เป็นหัวหน้า สภาผู้นำมีการวางแผนการทำงานล่วงหน้าและกำหนดแผนงานแนวทางในการจัดการตามกิจกรรมของโครงการ การบริหารมีข้อตกลงร่วมกันในการบริหารจัดการ ชุมชนมีกลไกการติดตามประเมินผลหนุนเสริม

     

    25 25

    3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 10.00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.มีนายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหาส่วนตำบลท่าขึ้น กำนันสุพจน์ เอี่ยมสกุลเวชมาเป็นประธานเปิดโครงการ มาโนช ทองประดับ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 กล่าวเปิดประชุมโครงการงบประมาณ ส.ส.ส. นายศุภกิจ กลับช่วย พี่เลี้ยงโครงการ พัฒนาชุมชนตำบลท่าขึ้นเเละมีผู้นำในตำบลท่าขึ้นเข้าร่วม 5 คน ส.อบต.2 คนและคณะกรรมการโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินชี้แจงขั้นตอนการการดำเนินของโครงการประกอบด้วย พัฒนาศักยภาพผู้นำ 10 ครั้ง ชี้เเจงวัตถุประสงค์โครงการ สร้างเครื่องมือเเละสำรวจข้อมูล วิเคราห์ข้อมูลจากการสำรวจ จัดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลจากการสำรวจ เรียนรู้เเละการฝึกปฎิบัติการทำบัญชีครัวเรือน วิเคราะห์บัญชีครัวเรือนนำไปปฎิบัติต่อเนื่อง เริ่มเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสารเคมีเพื่อการเกษตร ปฎิบัติการทำปุ๋ยหมัก ลงเเขกเเปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษเเละปฎิบัติการปลูกผัก ติดตามประเมินการพัฒนาเเต่ละครัวเรือนครั้งที่2 ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงกรเเละกลุ่มเกษตรในชุมชนครั้งที่2 มหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเเละมอบรางวัลครัวเรือนต้นเเบบ จัดเวทีประชาสัมพันธ์ยื่นข้อเสนอในชุมชนขยายดำเนินการต่อเนื่อง และการถอดบทเรียนพร้อมซักถามเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ที่เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งแนะนำคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ และได้มีการชวนเชิญคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ มีผู้สนใจเข้าร่วม 80 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการโครงการได้ชี้แจงรายละเอียดวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการ มีผู้เข้าร่วมประชุมโครงการจำนวน 136 คน
    2. มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมของโครงการในเรื่องของการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี การจัดทำบัญชีครัวเรือน และการปลูกผัดปลอดสารพิษ
    3. มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการและมีข้อตกลงร่วมกันในการจัดทำโครงการ จำนวน 80 คน

     

    100 136

    4. เข้าร่วมการประชุมโครงการผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการจำนวน 7 คน เข้าร่วมกิจกรรมการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก ของหมู่ที่ 13 บ้านแขก ตำบลท่าขึ้น เพื่อร่วมเรียนรู้การจัดทำกิจกรรมของชุมชนบ้านแขก  โดยมีคณะกรรมการโครงการของบ้านแขกได้ชี้แจงโครงการแก่ชาวบ้านในชุมชนตามงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. โดยมีชาวบ้านมีสนใจเข้ารับฟังและพร้อมกันเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมกับโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการได้ร่วมเรียนรู้การจัดทำกิจกรรมชี้แจงโครงการของชุมชนบ้านแขกเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

     

    7 7

    5. สร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูล

    วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 09.00-15.00 น. สภาผู้นำ กรรมการหมู่บ้าน และผู้เข้าร่วมประชุมและออกแบบแบบสำรวจข้อมมูลในชุมชนโดยมีเนื้อหาการสำรวจเกี่ยวกับ 1. ข้อมูลสภาพทั่วไป ประกอบด้วยด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ข้อมูลด้านกลุ่มสัมพันธ์  2. ข้อมูลพื้นที่ 3.ข้อมูลครวอบครัว เกี่ยวกับเรื่องรายได้ อาชีพหลักอาชีพรอง บทบาทในชุมชน 4.ข้อมูลด้านสุขภาพ ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันให้เยาวชนจำนวน 8 คนเป็นแกนนำเพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูล โดยแบ่งกันคนละเฉลี่ย 18 ครัวเรือนต่อคนจำนวน 144 ครัวเรือน ให้เริ่มสำรวจข้อมูลช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีแบบสำรวจข้อมูลชุมชนจำนวน 1 เรื่อง
    2. มีผู้เข้าร่วมจัดทำแบบสำรวจจำนวน 43 คน
    3. มีเยาวชนได้เรียนรู้การจัดทำแบบสำรวจจำนวน 8 คน สำรวจข้อมูล 144 หลังคาเรือน

    ผลลัพธ์ จากการสร้างเครื่องมือของชุมชนทำให้เยาวชนและตัวแทนในชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกันในการกำหนดแบบสอบถามสำหรับการสำรวจข้อมูลของชุมชน

     

    50 43

    6. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายรณรงค์งดสูบบุหี่จำนวน 1 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ป้ายรณรงค์งดสูบบุหี่จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งป้ายไว้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

     

    2 5

    7. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที2 เดือนพฤศจิกายน 58

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา13.00-17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่10บ้านในโคร๊ะโดยมีผู้ใหญ่ มาโนช ทองประดับ เป็นประธานประชุมชี้แจงร่วมกันสรุปผลจากการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยมีชาวบ้านและแกนนำได้เข้าร่วมประชุมกันจำนวน 136 คนซึ่งเกินเป้าหมาย พร้อมทั้งหารือกำหนดรายละเอียดเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนโดยให้แต่ละคนกันเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนเพื่อเตรียมสำหรับการร่วมกันกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สภาผู้นำจำนวน 25 คนได้มีการสรุปปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการซึ่งสำเร็จไปด้วยดี
    2. ได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ
    3. ได้มีการมอบหมายให้แต่ฝ่ายเตรียมความพร้อมในเรื่องของการจัดเตรียมอาหาร สถานที่ และประสานงานผูเข้าร่วมประชุม
    4. ทุกคนได้มองเห็นความสำคัญของโครงการแต่ละขั้นตอนและยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม

     

    25 25

    8. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ

    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำในชุมชนและตัวแทนครัวเรือน 25 คนและแกนนำกลุ่มเยาวชน 8 คนได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ หาสาเหตุปัจจัยรายรับรายจ่ายภาระหนี้ การดำเนินชีวิต โดยร่วมกันวิเคราะห์ทั้งสามด้านคือปัจจัยที่เกิดจากคน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกลไกชุมชน โดยมีการซักถาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่มีความรู้มาร่วมวิเคราะห์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำในชุมชน ตัวแทนครัวเรือน และตัวแทนเยาวชนจำนวน 32 คนได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ หาสาเหตุปัจจัยรายรับรายจ่ายภาระหนี้ การดำเนินชีวิตทำให้เกิดการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนร่วมกัน สร้างความตระหนักในการร่วมกันแก้ปัญหาและวางแผนแก้ไขปัญร่วมกัน

    โดยในภาพรวมของหมู่บ้านพบว่า มีกลุ่มผู้สูงอายุ 79 คน กลุ่มพิการ กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 31 คน กลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว 67 คน กลุ่มที่ไม่หนี้สิน 28 ครัวเรือน เนื่องจากมีรายได้ในครัวเรือนเพียงพอ มีอาชีพเสริมโดยการปลูกผัก กลุ่มที่มีภาวะหนี้สิน ธกส. 39 ครัวเรือน พบว่าส่วนใหญ่กู้ยืมไปลงทุนประกอบอาชีพสวนยางพารากลุ่มเป็นหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน 60 รายส่วนใหญ่กู้ยืมไปทำอาชีพเสริม เช่นเลี้ยงหมู เลี้ยงวัว ปลูกผัก บางส่วนกู้ยืมไปแล้วใช้จ่ายสุรุ่ยสุ่ร่ายทำให้เป็นหนี้สินในชุมชน

     

    50 32

    9. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลการสำรวจ

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลจาการสำรวจ โดยมีตัวแทนครัวเรือนจำนวน 101 คนเข้าร่วมเรียนรู้และรับทราบข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลชุมชนโดยเยาวชน โดยมีข้อมูลดังนี้ กลุ่มผู้สูงอายุ 79 คน กลุ่มพิการ กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 31 คน กลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว 67 คนกลุ่มที่ไม่หนี้สิน 28 ครัวเรือนเนื่องจากมีรายได้ในครัวเรือนเพียงพอ มีอาชีพเสริมโดยการปลูกผัก กลุ่มที่มีภาวะหนี้สิน ธกส. 39 ครัวพบว่าส่วนใหญ่กู้ยืมไปลงทุนประกอบอาชีพสวนยางพารากลุ่มเป็นหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน 60 รายส่วนใหญ่กู้ยืมไปทำอาชีพเสริม เช่นเลี้ยงหมู เลี้ยงวัว ปลูกผัก บางส่วนกู้ยืมไปแล้วใช้จ่ายสุรุ่ยสุ่ร่ายทำให้เป็นหนี้สิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 101 คนได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลชุมชนโดยเยาวชน พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันทำให้เห็นภาพปัญหาของหมู่บ้านมีความตระหนักที่จะช่วยด้วยช่วยกันแก้ปัญหากันมากขึ้น ในที่ประชุมตกลงร่วมกันกำหนดกติกาให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการดำเนินเข้าร่วมให้ครบตามระยะเวลาของการดำเนินโครงการ

     

    100 101

    10. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที3 เดือนธันวาคม 58

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมสภาผู้นำเวลา 13.00 น มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมจำนวน 25 คน มีนายมาโนช ทองประดับ เป็นประธานการประชุม และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ มีฝ่ายทะเบียน 5 คน โดยมี น.ส.ลินดา จารันต์ เป็นประธาน ฝ่ายเหรัญญิก 5 คนโดยมี นางอุไร นาคัน เป็นประธานแ ฝ่ายสถานที่ 5 คนโดยมีนางสมอน เมฆฉายเป็นประธาน และมีฝ่ายตรวจสอบ 5 คนโดยมีนายประวิง ชนะสิทธิ์เป็นประธาน และฝ่ายเจ้าหน้าที่ อ.ส.ม. 4 คนโดยมีนางจุรีย์ เทพศรี เพื่อวางแผนการทำงานถึงกิจกรรมต่อไปและสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาคือการสร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูล ร่วมกันวางแผนเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บัญชีครัวเรือนโดยมอบหมายให้นางอุไร นาคัน ติดต่อวิทยากร นางอำพร กลาสี เกษตรอาสา ตำบลโพธิ์ทอง มาเป็นวิทยากร และการเตรียมเอกสารการทำบัญชี และมอบหมายให้นางสำรวย เมฆฉายติดต่อเรื่องอาหาร และการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายเชิญชวนเข้าร่วมอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำเข้าร่วมประชุม 25 คน ได้ร่วมกันสรุปการดำเนินกิจกรรมการสร้างเครื่องมือและการสำรวจข้อมูลที่ผ่าน ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ มีการวางแผนและมอบหมายหน้าที่ในการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเตรียมติดต่อวิทยากรการอบรม อาหารผู้เข้าอบรม เอกสารการทำบัญชี และการประสานงานประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมรับทราบ

     

    25 25

    11. การติดตามจาก สจรส.มอ ครั้งที่ 2

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมพี่เลี้ยงได้แนะนำให้ความรู้กี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินของโครงการ ตั้งแต่ 1000 บาทขึ้นไป ต้องหักภาษี ณ ที่จาย ในหมวดค่าตอบแทน หมวดค่าใช้สอย ที่เป็นค่าอาหาร ค่าห้องประชุม และค่าเช่ารถ ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1 การเขียนแบบแสดงรายการเสียภาษี พ.ง.ด.3 และใบแนบ พ.ง.ด.3 และแบบสรุปการใช้เงินในกิจกรรมต่างๆ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบันทึกแบบสรุปรายงานการใช้เงินและจัดทำเอกสารทางการเงินได้
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการมีควมรู้คาวมเข้าใจและสามารถบันทึก พ.ง.ด.3 และ ใบแนบ พ.ง.ด.3 ได้

     

    2 2

    12. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน120คน 2.แบบฟอร์มบันทึกรายรับรายจ่าย มีการเชิญครูบัญชีอาสา คือ คุณ อำพร กะลาสี 99/1 ม.2 ตใโพธิ์ทอง อ.ท่าศาลา เข้ามาแนะนำเกี่วกับการกรอกแบบฟอร์มรายรับรายจ่ายในครัวเรือนให้กับเกษตรครัวเรือนในชุมชนดดยชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงงานมีความกรพตือรือน้นในการเรียนรู้มากขึ้น เพื่อต้องการลดรายจ่านที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนซึ่งการทำบัญชีในครัาขึ้วเรือนโดยนำไปเข้าแผนปฎิบัติการของชุมชนด้วยการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้ได้เห็นภาพมากขึ้นได้มีการคัดแยกทำเป้นกลุ่มเพื่อจะได้ร่วมกันชุมชนกำหนดกติกนใน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 120 ครัวเรือน ได้เรียนรู้การทำบัญชีเครือเรือนของตนเองได้โดยการบันทึกรายรับรายจ่ายในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกในการเขียนเพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้รายรับรายจ่ายและหนี้สินของตนเองเพื่อสร้างให้เกิดความตระหนักและรู้ถึงสภาพการใช้จ่ายของครัวเรือน

     

    100 120

    13. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที4 เดือนมกราคม 59

    วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา13.00-17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่10บ้านในโคร๊ะโดยมีผู้ใหญ่ มาโนช ทองประดับ เป็นประธานประชุมชี้แจงเรื่อง พูคคุยเตรียมการในการนัดเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดของคนในชุมชนและในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีการมอบหมายให้ อสม.ในหมู่บ้านช่วยประสานเชิญชาวบ้านในเขตรับผิดชอบของอสม.แต่ละคน และให้นางจุรีเทพศรี เรียนเชิญประสาน นางขวัญเรือน เสรีพงศ์ ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านประดู่หอม เพื่อขอสนับสนุนเจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.บ้านประดู่หอมมาช่วยการในตรวจคัดกรองโดยนางอุไร นาคัน ได้เสนอให้เชิญตัวแทน อสม.หมู่บ้านละ 2 คน มาช่วยในวันจัดกิจกรรมที่ประชุมได้มอบหมายให้ นางวันดีรอดบุญเป็นแกนหลักในการเตรียมสถานที่พร้อมทั้งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในวันจัดกิจกรรม พร้อมทั้งการแจ้งนัดกลุ่มเป้าหมายใ้ห้ตามวันที่เวลาที่กำหนดสถานที่ ศาลาของหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาผู้นำเข้าจำนวน 25 คนได้ร่วมประชุมหารือพร้อมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมการการประเมินความเสี่ยงของสารเคมีในเลือด
    2.มีการมอบหมายหน้าที่ในการประสานติดต่อเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ในการตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงสารเคมีในเลือด
    3.ทีมสภาผู้นำให้ความสำคัญในการจัดการโครงการและร่วมกันวางแผนงาน และแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    25 25

    14. ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเกษตรกรในชุมชน

    วันที่ 12 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มดำเนินการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือดแก่ครัวเรือนผู้เข้าร่วมโครงการและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงของคนในชุมชน เวลา 7.00 น.โดยใช้สถานที่ศาลาประชุมของหมู่บ้าน โดยคุณ ขวัญเรือน เสรีพงศ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำ รพ.สต.บ้านประดู่หอม พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน 11 คนและตัวแทน อสม.ต่างหมูบ้านจำนวน 2 คน มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน โดยชาวบ้านลงทะเบียน ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง จากนั้นวัดความดันมีเจ้าหน้าที่เจาะเลือดปลายนิ้ว จากนั้นนำเลือดที่ได้ไปปั่นเพื่อแยกหาเซรุ่ม แล้วนำไปตรวจกับแผ่นกระดาษทดสอบ มีผู้เข้าร่วมคัดกรองทั้งหมด 150 คน ทำให้คนในชุมชนได้ทราบสถานะสุขภาพภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดของตนเองเพื่อเฝ้าระวังและดูแลตนเองต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประเมินสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน จำนวน 150 คน สามารถแยกแยะกลุ่มปลอดภัยจากสารเคมีและกลุ่มเสี่ยงได้ จากผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดจำนวน150คนตามเป้าหมายพบว่า มีคนที่เสี่ยง 77 คน ไม่ปลอดภัย 30 คนรวม 107 คน ส่วนคนที่ปลอดภัย 25 คน และไม่มีสารเคมีตกค้างมีเพียง 18 คน

     

    150 150

    15. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที5 เดือนกุมภาพันธ์ 59

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา13.00-17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่10บ้านในโคร๊ะโดยมีผู้ใหญ่บ้าน มาโนช ทองประดับ เป็นประธานประชุมชี้แจงสรุปผลการดำเนินกิจกรรมการประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดให้ที่ประชุมทราบ จากการตรวจคัดกรองพบว่ามีผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองจำนวน 150 คน สามารถแยกแยะกลุ่มปลอดภัยจากสารเคมีและกลุ่มเสี่ยงได้มีคนที่เสี่ยง 77 คน ไม่ปลอดภัย 30 คนรวม 107 คน ส่วนคนที่ปลอดภัย 25 คน และไม่มีสารเคมีตกค้างมีเพียง 18 คน ปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินการตรวจคัดกรองคือระยะเวลาในดำเนินการต้องปรับใหม่ให้เหมาะสมกับเวลาว่างของคนส่วนใหญ่เพราะมีบางคนติดภาระกิจ และปรับจุดนัดตรวจคัดกรองเพิ่มเติมเนื่องจากยังมีชาวบ้านบางส่วนที่ติดภาระกิจในวันดังกล่าวที่มีความประสงค์ที่จะตรวจคัดกรองเพิ่มเติม โดยนางอุไรนาคัน ได้เสนอให้มีการตรวจประเมินภาวะเสี่ยงเพิ่มเติมในรายที่ตกค้างและครั้งต่อไปให้ปรับเพิ่มจำนวนวันนัดการตรวจคัดกรองจากนั้นได้มีการร่วมหารือ เพื่อสรุปเอกสารหลักฐานใบลงทะเบียน หลักฐานทางการเงิน ของโครงการให้ถูกต้องเรียบร้อยสำหรับการเข้าร่วมประชุมปิดงวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำจำนวน 25 คนได้ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานสรุปผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด และมีการวางแผนแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่พบในการจัดกิจกรรมการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือดให้มีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน และช่วยกันตรวจเอกสารหลักฐานในการประกอบการเบิกจ่าย ใบลงทะเบียนต่างๆ เพื่อเตรียมปิดงวดที่ 1 ทีมสภาผู้นำมีส่วนร่วมในการวางแผนแก้ปัญหาในการทำงานร่วมกันมีแผนการดำเนินงานเอกสารหลักฐานการเงินที่ยังไม่สมบรูณ์จัดทำเอกสารให้สมบรูณ์เรียบร้อย

     

    25 25

    16. การจัดประชุมงวดที่ 1 (ครั้งที่3)

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วม สจรส.มอ. พบพี่เลี้ยงติดตามกิจกรรมย่อย เจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงถึงการที่ได้เข้าร่วมประชุมวันนี้เพื่อปิดงวดโครงการ และตรวจสอบเอกสารหลักฐานรายงาน ใบลงทะเบียน รายการเงิน และการบันทึกข้อมูลผ่านทางเวปไซต์โดยมีข้อแก้ไขบางรายการและปรับปรุงตามคำแนะนำพร้อมการจัดทำรายงานปิดงวดที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ได้ดำเนินไปแล้วและปรับปรุงแก้ไขในบางกิจกรรมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ได้เรียนการเขียนรายงานได้บันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์ และเรียนรู้การทำบัญชีทางการเงินและรายงานการปิดงวดที่ 1

     

    2 3

    17. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที6 เดือนมีนาคม 59

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายศุภกิจ กลับช่วย นัดสมาชิกคณะกรรมการโครงการ ประชุมโครงการปลอดสารพิษ ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ มาพูดคุยและแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ของแต่ละฝ่าย สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน รวม 25 คน โดยมีบทบาทหน้าที่ประชุมเดือนละ 1 ครั้งเพื่อมอบหมายบทบาทหน้าที่ ร่วมวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณจัดทำแผนการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผลประเมินปัญหา ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และตัดสินใจร่วมกัน และมีการหารือปรึกษาเรื่องอื่นๆของชุมชน และวันนี้ได้เสนอการทำกิจกรรมดังต่อไปนี้ คือ ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันเพื่อปรับเลื่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สารเคมีเพื่อการเกษตร เนื่องจากทีมวิทยากรติดภาระกิจจึงขอเลื่อนกิจกรรมไปก่อนและได้มีการเสนอให้เตรียมการจัดกิจกรรมการปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักโดยเน้นวัสดุในชุมชนเพื่อนำมาทำปุ๋ยหมัก ชุดกรรมการเสนอให้แบ่งโซนละ 20 คน ต่อโซน เพื่อทำปุ๋ยหมักและมีตัวแทนโซนแต่โซน เพื่อมารับอุปกรณ์วัสดุในการทำปุ๋ยหมักของแต่ละโซน ทั้งหมดมี4โซน ได้แก่ 1.โซนบ้านทางลึก มีประธานโซน คือ นาย ภิรมย์ นาคัน 2.โซนบ้านโคกโหนด มีประธานคือ นาย ประนอม ช่วยชัย 3.โซนโคร๊ะกลาง นายวิเชียร แก้วน้อยเป็นประธาน 4.โซนโคร๊ะออก ประธานคือ นาย มาโนชทองประดับ มีจุดศูนย์กลางในการรับวัสดุในการทำปุ๋ยหมักที่ศาลาทำการผู้ใหญ่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม 20 คน ได้มีแบ่งหน้าที่ในการทำกิจกรรมปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักให้ชัดเจน และแบ่งโซนรับผิดชอบจำนวน 4 โซน จัดตั้งประธานของแต่ละโซน และในการประชุมครั้งนี้ได้แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อให้ช่วยกันขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันในการปรับแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สารเคมีเพื่่อการเกษตร โดยทุกคนให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และมีบทบาทหน้าที่ชัดเจน มีแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป

     

    25 20

    18. ปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้เชิญคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมใน13.00น. ชี้แจงให้คนในชุมชนรับทราบ โดยประธานโครงการ นายมาโนช ทองประดับได้ชี้แจงถึงกิจกรรมในครั้งนี้ ว่าทางเราได้เชิญวิทยากร คือคุณอำพร กะลาสี มาจากกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโพธิ์ทอง ได้มาให้ความรู้ เรื่องการทำปุ๋ยหมักในกลุ่มเกษตรอินทรีย์จากวัสดุที่มีอยุในชุมชน โดยคุณประนอม ช่วยชัย ประธานกลุ่มเลี้ยงโคขุนนำวัสดุจากกลุ่มเลี้ยงโคขุน มาเพื่อเข้าร่วมทำกิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก โดยคุณ อำพร กะลาสี เริ่มปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก โดยมีส่วนผสมดังนี้ มูลวัว มูลไก่ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โอดี(หัวเชื้อปุ๋ย) น้ำหมัก ขั้นตอนการทำ เอาส่วนผสมทั้งหมดมารวมกัน มูลวัว 2 กระสอบ มูลไก่2 กระสอบ ขุยมะพร้าว 2 กระสอบ ปุ๋ยอินทรีย์ 1 กิโลกรัม โอดี 3 ขีด น้ำหมัก 300 cc เอามาคนให้เข้ากัน จากนั้นผสมน้ำหมักประมาณ 10 ลิตรเพื่อราดลงในกองปุ๋ยหมัก ผสมให้เข้ากัน และตักใส่กระสอบทิ้งไว้10วันก็นำมาใช้ได้ ก่อนใช้ต้องเอามาผสมกับดินหรือขุยมะพร้าวเพิ่มอีกครั้งถึงจะนำไปใช้ได้ เพราะปุ๋ยหมักนี้เท่ากับเป็นหัวเชื้อปุ๋ยแล้ว การขยายหัวเชื้อปุ๋ยหมักเพื่อเอาไปใช้เท่ากับปุ๋ยหมัก1กระสอบนำมาผสมกับขุยมะพร้าว3กระสาบ พดมะพร้าวสับ1กระสอบ ดินทั่วไปครึ่งกระสอบ นำมาผสมกันแล้วนำไปปลูกผักต่อได้ ต่อจากนั้นประธานชี้แจงให้คนในชุมชนรับทราบว่าในการปฏิบัติทำปุ๋ยหมักโดยแบ่งกันเป็นโซน เพื่อได้มีกลุ่มที่ชัดเจน ซึ่งในครั้งนี้แบ่งเป็น4โซน แต่ละโซนมีสมาชิกจำนวนน้อยกว่า20คน โซน1นายมาโนช ทองประดับ เป็นประธานโซน โซน2 นางอุไร นาคัน เป็นประธานโซน 3นางวันดี รอดบุญ เป็นประธาน โซน4 นาบวิเชียร แก้วน้อย เป็นประธานโซน แต่ละโซนแบ่งอุปกรณ์กันไปทำจริง ที่โซนแต่ละโซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คนในชุมชนได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักในกลุ่มเกษตรอินทรีย์จากวัสดุในชุมชน การผสมปุ๋ยที่ถูกต้อง ระยะเวลาในการทำปุ๋ยหมัก และการนำปุ๋ยหมักมาผสมกับขุยมะพร้าวอพดมะพร้าว เพื่อนำมาปลูกพืชผักสวนครัว

    2.มีการแบ่งหน้าที่เป็นโซนของหมู่บ้านจำนวน 4 โซนเพื่อให้สมาชิกในโซนได้รับรู้การทำปุ๋ยหมักในครั้งนี้จะนำไปใช้เพาะปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและได้กินผักปลอดสารพิษ ที่เหลือจากกินก็นำไปขายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย

    3.มีการนำทรัยพากรที่มีในชุมชนเช่นมูลสัตว์มาร่วมฝึกการทำปุ๋ยหมัก

     

    80 72

    19. วิเคราะห์บัญชีครัวเรือนนำไปปฏิบัติต่อเนื่อง

    วันที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานนายมาโนช ทองประดับ เปิดการประชุมประจำเดือน เพื่อหาข้อสรุปผลการทำบัญชี ครัวเรือน โดยให้มี สมาชิกครัวเรือนที่เข้าโครงการถือสมุดบัญชีรายรับรายจ่ายมาเข้าร่วมประชุม เพื่อดูการบันทึกรายรับรายจ่ายของแต่ละเดือน โดยมีกลุ่มเด็กวัยเรียน เอามาสำรวจดูของแต่ละครัวเรือน ซึ่งในกลุ่มเด็กวัยเรียนนี้มี นาย กษิเดช อ๋องสุทธิ์ เป็นประธานในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีเด็กในวัยเรียน10 คนเข้ามาช่วยและเพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนทำบัญชีครัวเรือนอยางต่อเนื่องและมองเห็นถึงความสำคัญในการใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งในครั้งนี้ อสม.นางจุรี เทพศรี เป็นประธาน และอสม.เป็นพี่เลี้ยงให้กับเด็กในวัยเรียนด้วย จากนั้นก็นัดคนในชุมชนที่เข้ากลุ่ม นำสมุดบัญชีมาสรุปของทุกๆเดือนในวันประชุมประจำเดือน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลดลง และได้มีบ้านต้นแบบที่ทำบัญชีครัวเรือนได้สำเร็จ มี 1 ราย คือ นาง ลิลัย เพรชนิล เพื่อเอามาเป็นต้นแบบ ให้คนอื่นในชุมชนเห็นถึงความสำคัญในการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาปฏิบัติจริง คนในชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้ จาก 100 คนที่เข้าทำกิจกรรมสามารถปฏิบัติจริงได้80 คนซึ่งเป้าหมายในครั้งนี้อีก 20 คนจะต้องมีกลุ่มเด็กวัยเรียนไปเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้สามารถทำบัญชีครัวเรือนได้

     

    100 101

    20. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงปรับแก้รายงาน

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 08:30-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการประชุมคณะกรรมการโดยประกอบด้วยนางอุไร นาคัน เหรัญญิก และนาย กษิเดช อ๋องสุทธิ์ คอมพิวเตอร์และสื่อสาร เวลา 08.30-10.00 ได้พบปะ อ.กำไลและ อ.กำไลให้แนวทางการงานต่อเนื่ออง10.00-11.30 ถอดบทเรียน โครงการ ว่าเกิดอะไรขึ้นในรอบ6เดือน11.30-12.00 ให้ตัวแทนของผู้ที่จัดทำโครงการหนึ่งหมู่บ้านจากหมู่บ้านทั้งหมด มาอธิบายและนำเสนอโครงของตนเอง 13.00 น.ได้ปฏิบัติการแนวทางและวิธีขั้นตอนรายละเอียดการเขียนโครงการแต่ละหัวข้อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เข้าร่วมประชุมโดยมีคณะทำงานโครงการ 2 คน ได้เรียนรู้การทำรายงานในเว้ปไซต์คนใต้สร้างสุข และการจัดทำเอกสารการเงิน

     

    2 2

    21. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสารเคมี

    วันที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการนัดประชุมโดยแจ้งทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นคนประกาศข่าวให้ชาวบ้านมาพบกันในวันที่31 เพื่อรับฟังผลการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้าง ในการประชุมครั้งนี้ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้นหลังจากได้ทำกิจกรรมประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดโดยมีการเชิญคุณขวัญเรือน เสรีพงศ์ ผอ.รพ.สต.บ้านประดู่หอมมาให้ความรู้กับคนในชุมชนถึงการรับประทานพืชผักที่ใช้สารเคมี ซึ่งส่วนใหญ่พบอยุในภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดโดยครั้งที่แล้วคนในชุมชน150คนที่ได้ตรวจเลือดพบว่าไม่ปลอดภัย30คนมีความเสี่ยง77คนปลอดภัย25คน ปกติ18คน ซึ่งผลสรุปตรวจเลือดในครั้งนี้มี นส.โสวณี เพรชโยธา ประธาน อสม.ม.10 เป็นคนสรุปยอดรายชื่อทั้งหมด รวมที่ง อสม.12คนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมเข้ามาช่วยจัดการเอกสารทุกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมการปลูกผักกินเองเพื่อลดปัญหาสารเคมีในเลือด และได้ตั้งกติกาถ้าคนในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวแล้วสามรถลดสารเคมีในเลือดได้ จะมีการคัดเลือกเป็นบุคคลตัวอย่างพร้อมทั้งมีการมอบรางวัล จะมีการคัดเลือกหลังจากปลูกผักกินเองและหลังมีการเจาะเลือดครั้งที่2 ซึ่งมีการตัดสินรางวัลจากการเจาะเลือด2ครั้งและปลอดภัยทั้ง2ครั้ง จะมอบรางวัลในวันทำกิจกรรมมหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียงหรือปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.แจ้งผลการตรวจหาสารเคมีของแต่ละคนทำให้ทราบและได้รับผลภาวะสุขภาพของตนเอง

    2.ได้เรียนรู้เรื่องความสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือด แนวทางการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง

    3.คนในชุมชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวถึงโทษภัยของสารเคมี

    4.ที่ประชุมมีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการใช้ความระมัดระวังในการใช้สารเคมีในทางการเกษตร

     

    80 80

    22. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที7 เดือนเมษายน 59

    วันที่ 7 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.มีกรรมการเข้าร่วมประชุม 23 คน ลา 2 คน ได้ร่วมกันแบ่งหน้าที่ในการทำงานและชี้แจงการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนกำหนดหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษและปฏิบัติการปลูกผักครั้งต่อไปโดยนางอารีรักษาเมือง มีหน้าที่จัดการด้านอาหาร นางจุรีเทพศรีและนางลิลัย เพชรนิล ฝ่ายสถานที่ นางสาวลินดา จารัตน์และจุฑารัตน์ ใจแผ้วมีหน้าฝ่ายทะเบียน นางสาว ฐิติชยา ทับทิมไสย์ ด้านจัดการเอกสาร นางสาวสมร เมฆฉาย ฝ่ายชั่งภาพ นายกษิเดชอ๋องสุทธิ์ฝ่ายคอมพิวเตอร์ นางอุไร นาคันด้านประสานงาน ส่วนกรรมการอื่นๆช่วยเหลืองานต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีสภาผู้นำที่สามารถบริหารจัดการโครงการและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน
    2. มีการสรุปการดำเนินกิจกรรมครั้งทีผ่านมา
    3. มีการวางแผนกำหนดหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษที่จะดำเนินการครั้งต่อไป

     

    25 22

    23. เรียนรู้แปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษและปฏิบัติการปลูกผัก

    วันที่ 12 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงการจัดกิจกรรมเรียนรู้แปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษและปฏิบัติการปลูกผัก โดยมีนาง ฐิติชญา ทัพทิมไสย์ ทำหน้าที่ฝ่ายทะเบียน นางจุรี เทพศรี เตียมด้านสถานที่ นาง อารี รักษาเมือง ฝ่ายอาหาร นาย กษิเดช อ๋องสุทธิ์ ฝ่ายสื่อสารและถ่ายรูป นส.จุฑารัตน์ ใจแผ้ว จดบันทึกรายละเอียดการประชุม ซึ่งในการจัดกิจกรรมได้เชิญวิทยากร นาง อุไร นาคัน เกษตรอาสาของหมู่บ้าน มาสาธิต การผสมดินปลูก โดยการนำปุ๋ยหมัก ซึ่งได้ทำไว้ในกิจกรรมก่อนหน้านี้ นำปุ๋ยหมักมาผสม 1 กระสอบ ผสม ขุยมะพร้าว 2 กระสอบ เปลือกมะพร้าวสับ 1 กระสอบ มาคนให้เข้ากัน เพื่อลงแปลงสาธิต และในครั้งนี้ผู้ใหญ่ได้ชีแจงให้ที่ประชุมรับทราบว่าคณะกรรมการได้เสนอ แปลงสาธิตขึ้นมา 1 แปลง ที่บ้านนางเรวดี รักษาเมือง ซึ่งทุกคนได้ร่วมการทำแปลงสาธิตโดยการเอาดินที่ผสมเสร็จไปยังแปลงสาธิตเพื่อทำแปลงผักและหว่านเมล็ดพันธ์ผักโดยมีตัวแทนแต่ละกลุ่มมาลงแปลงสาธิตเพื่อไปขยายความรู้ในกลุ่มของแต่ละกลุ่มต่อไป พร้อมทั้งนี้ประธานชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมรับทราบเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนได้นำมาเป็นตัวอย่าง คือ นางลิลัย เพชรนิล ซึ่งสามารถเป็นตัวอย่างให้ทุกคนในชุมชนได้เพราะเขาทำรายละเอียด ครบทุกขั้นตอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ชุมชนได้มีการเรียนรู้การจัดทำแปลงสาธิตการปลูกผักของคนในชุมชนมีการฝึกปฏิบัติการทำดินผสมเพื่อลงแปลงสาธิต ต่อจากนั้นลงแปลงสาธิตและได้หว่านเมล็ดพันธ์ผักคนในชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาการทำกิจกรรมในชุมชน

    2.เกิดการมีส่วนร่วม ความสามัคคีของคนในชุมชน ในการทำงานร่วมกัน จนเป็นผลสำเร็จ ทำให้เกิดแปลงผักเพื่อเป็นแปลงสาธิตให้กับคนในชุมชนได้เรียนรู้ จำนวน 1 แปลง

     

    80 73

    24. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที8 เดือนพฤษภาคม 59

    วันที่ 18 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำได้ร่วมประชุมหารือเพื่อเตรียมการจัดมหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียงและมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบซึ่งกำหนดสถานที่ไว้คร่าว ๆ โดยได้เสนอวันเสาร์ที่ 9 กรกฏาคม พร้อมประชุมประจำเดือนเวลา 9.00 น. ที่ศาลาอเนกประสงค์หลังใหม่ ที่ศูนพัฒนาเด็กเล็กเพื่อความสะดวกในการจัดสถานที่โดยในครั้งนี้ได้แบ่งหน้าที่กันทำงาน ฝ่ายทะเบียน นส ฐิติชยา ทับทิมไสย์ นส ลินดา จารัตน์และ นส จุฑารัตน์ ใจแผ้ว ฝ่ายตรวจร่างกาย นางลิลัย นางวันดี วัดความดัน นางอารี รักษาเมือง นางสุดใจ ชัยชนะ ช่างภาพ นส สมร เมฆฉายเจาะเลือดนางเกสร พร้อมเพื่อนๆ อสม.ที่เข้ร่วมกิจกรรมอีก 3 คน สรุปข้อมูลนางเสาวนี อาจหาญซึ่งเป็นประธาน อสม.หมู่บ้าน เชิญมาร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ส่วนกรรมการอื่นๆช่วยด้านสถานที่และด้านอาหาร ส่วนนางอุไร นาคัน ด้านประสานงานกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และในครั้งนี้หลังจากเจาะเลือดได้เลี้ยงอาหารผู้เข้าร่วมโดยนางสุรัตน์ ทองประดับเป็นผู้ทำอาหาร และในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ สสส.พร้อมพี่เลี้ยงได้ลงเยี่ยมโครงการชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาผู้นำจำนวน 25 คนได้มีการสรุปและแบ่งหน้าที่ในการจัดกิจกรรม

    2.ได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

    3.ได้มีการมอบหมายให้แต่ฝ่ายเตรียมความพร้อมในเรื่องของการจัดเตรียมอาหาร สถานที่ และประสานงานผูเข้าร่วมประชุม
    4.สมาชิกทุกคนได้ให้ความร่วมมือและให้ความสำคัญของการดำเนินโครงการ

     

    25 24

    25. ติดตามประเมินผลการพัฒนาแต่ละครัวเรือน

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการร่วมประชุมกรรมการ 20 คน เพื่อแบ่งหน้าที่การทำงานในครั้งนี้ โดยในที่ประชุมเสนอให้มีตัวแทนสมาชิกสำรวจแปลงปลูกผัก โดยเสนอสมาชิกจำนวน 6 คนเพื่อสำรวจแปลงปลูก โดยมีนางอุไร นาคัน นางลิลัยเพรชนิล น.ส.สมร เมฆฉาย นางสายพิณ สุดทอง นางจุรี เทพศรีและนางวันดี รอดบุญ เป็นตัวแทนลงสำรวจแปลงปลูกตามบ้านที่กรรมการเห็นสมควร จากการออกประเมินติดตามที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพื่อเสนอเป็นบ้านตัวอย่างจำนวน 10 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะกรรมการในชุมชนร่วมกันติดตามการดำเนินกิจกรรมการปลูกผักของคนในชุมชน
    2.ครัวเรือนในชุมชนมีความรู้ความตระหนักและปลูกผักปลอดสารพิษ
    3.เกิดบ้านตัวอย่างที่สามารถปลูกผักและทำบัญชีครัวเรือนได้

     

    20 20

    26. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที9 เดือนมิถุนายน 59

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการประชุมร่วมกรรมการ 22 คนพร้อมคุณศุพกิจ หมอพี่เลี้ยงเพื่อวางแผนการจัดงาน กิจกรรมที่ 14 มหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียงและมอบรางวัลครอบครัวต้นแบบ โดยการประชุมในครั้งนี้ กรรมการเสนอใหห้มีการแสดง1ชุด โดยให้เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดพระเลียบเข้าร่วมแสดงโดยเยาวชนเป็นพี่เลี้ยงในการแสดง โดยมี น.ส. ภุสุดา อาจหาญ ผู้ฝึกสอนการแสดงและได้คัดเลือกบ้านต้นแบบ 10 ครัวเรือน มีดังนี้ 1.นายเกลื่อน เจ้ยน้อย 2.นาย สุธี รอดบุญ 3.นางกลิ่นผกา ศรสิทธิ์ 4.นางอำพาน ใจดี 5.นางสายชล สังทองข์ 6.นางประทีป เมฆฉาย 7.นางอารี นาคัน 8.นายสุวิทย์ ชัยชนะ 9.นางปลอบ จริงเจียว 10.นาง เยาวลักษณ์ นาคปนกรรมการได้เสนอการทำเกียรติบัตรและมอบของที่ระลึกให้กับบ้านต้นแบบทั้ง 10 ครัวเรือน และได้มีการคัดเลือกครัวเรือนที่เข้าเป็นสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้โดยคัดเลือกบุคคลตัวอย่างของสมาชิกที่เด่นด้านต่างๆในโครงการ 1.ดีเด่นในการทำปุ๋ยหมักต่อเนื่อง ได้แก่ นางบุญสิทธิ์ ช่วยชู 2.ดีเด่นในเรื่องทำบัญชีครัวเรือน นาย มณเฑียร เพรชนิล 3.ดีเด่นในเรื่องปลูกผักปลอดสารพิษ นางเรวดี รักษาเมือง 4.ดีเด่นในเรื่องปลอดภัยจากสารเคมีในเลือด นส.โสวณี เพรชโยธาและนางสุจิตรา ไหมจุน โดยในครั้งนี้ได้แบ่งหน้าที่กันทำงาน นางอุไร นาคันทำหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ นางอารี รักษาเมือง นางลิลัยเพรชนิลและนส.สมอน เมฆฉายทำหน้าที่ด้านอาหาร นางจุรีย์ เทพศรีและนางวรรณี รอดบุญ ผู้จัดการเกี่ยวกับการแสดง ในการจัดสถานที่กรรมการทุกคนร่วมมือกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาผู้นำได้มีการสรุปและแบ่งหน้าที่ในการจัดกิจกรรม

    2.ทุกคนเห็นชอบในการแบ่งหน้าที่ และการมอบรางวัลให้แก่ครัวเรือนต้นแบบ

    2.กรรมการได้ลงเยี่ยมบ้านต้นแบบ พร้อมเก็บภาพถ่าย

     

    25 23

    27. ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่2

    วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการเลื่อนสถานที่ทำการของผู้ใหญ่บ้านมาเป็นศาลาอเนกประสงค์ที่ศูนพัฒนาเด็กเล็กบ้านในโคร๊ะโดยการให้ผู้เข้าทำกิจกรรมในครั้งนี้มีการจัดกรรมการทำงานดังนี้ ขั้นตอนแรกให้คนในชุมชนเข้าร่วมลงทะเบียนรับหมายเลขโดยมี นส จุฑารัตน์ ใจแผ้ว นส ฐิติชยา ทับทิมไสย์ นส ลินดา จารัตน์ฝ่ายทะเบียน เมื่อลงทะเบียนเสร็จจะได้วัดบัตรคิวเพื่อไปวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักโดยมีนางลิลัย เพรชนิล นางวันดี รอดบุญ ทำหน้าที่ จากนั้นก็ไปวัดความดัน โดยมีนางอารี รักาาเมือง และนางสุดใจ ทำหน้าที่ จากนั้น นส อุไร เจ้ยน้อย ซึ่งเป็น อสม ในหมู่บ้านและนางเกสร สมแป้น และได้เชิญนางอาพร นวลเต้ ประธาน อสม.รพสต. มาร่วมทำหน้าที่เจาะเลือด ผู้อำนวยการรพสต.คุณขวัญเรือน เสรีพงศ์ ทำหน้าที่เช็คผลเลือด และนางโสวณี ประธาน อสมในหมู่บ้าน สรุปผลการตรวจเลือดในครั้งนี้ โดยมีนายวิเชียรแก้วน้อย และนางจุรีย์ เทพศรี ช่วยต้อนรับผู้เข้าร่วม ส่วนนาง อุไร นาคัน ได้จดบันทึกการประชุมและผลการทำกิจกรรมในครั้งนี้ นส สหมอน เมฆฉาย ด้านถ่ายรูปเก็บหลักฐาน นายกษิเดช อ๋องสุทธิ์ ด้านบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ และในครั้งนี้ได้มีการทำอาหารเที่ยง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับประทานหลังจากรอฟังผลเลือด โดยมี ผู้ใหญ่ นายมาโนช ทองประดับเป็นประธานในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้ารับการตรวจเลือด 112 คน พบว่า ไม่มีสารเคมี (ปกติ) 12 คน ,สารเคมีตกค้างน้อย 27 คน ,สารเคมีตกค้างมาก 48 คน ,สารเคมีตกค้างมากที่สุด 25 คน ดังนั้นจากการประเมินผู้ที่เคยอยู่ในภาวะเสี่ยงสารเคมีมีจำนวนลดลง

    2.ชาวบ้านเริ่มตื่นตัวมากขึ้นและให้ความร่วมมือในการเจาะเลือด เพื่อหาสารเคมีตกค้างในเลือด

    3.ชาวบ้านเกิดความตระหนักในการลดใช้สารเคมีและใช้สารอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

     

    150 112

    28. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที10 เดือนกรกฏาคม 59

    วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กรรมการทั้ง25คน พบปะกันอีกรอบเพื่อเตรียมความพร้อมจัดงานมหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และเตรียมความพร้อมในการจัดงานในครั้งนี้โดยกรรมการทุกคนถ่ายภาพเพื่อนำภาพไปทำไวนิลและลงถ่ายภาพกับบ้านต้นแบบทั้ง 15 ครัวเรือน และแบ่งหน้าที่กันทำงานโดยในครั้งนี้ได้แบ่งหน้าที่กันทำงาน นางอุไร นาคันทำหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ นางอารี รักษาเมือง นางลิลัยเพรชนิลและนส.สมอน เมฆฉายทำหน้าที่ด้านอาหาร นางจุรีย์ เทพศรีและนางวรรณี รอดบุญ ผู้จัดการเกี่ยวกับการแสดง ในการจัดสถานที่กรรมการทุกคนร่วมมือกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาผู้นำมีการแบ่งหน้าที่กันทำงานโดยในครั้งนี้ได้แบ่งหน้าที่ ในแต่ละฝ่าย โดยมีฝ่ายจัดการเอกสาร ฝ่ายอาหาร ฝ่ายจัดการการแสดงและฝ่ายจัดเตรียมสถานที่

    2.สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทำให้เกิดความสามัคคี

    3.สภาผู้นำมีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

     

    25 25

    29. มหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียงและมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบ

    วันที่ 19 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้จัดมหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่19 สิงหาคม ได้มีการประชาสัมพันธ์หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านและแบ่งหน้าที่กรรมการแต่ละโซนไปเชิญชวนให้คนในชุมชนเข้าร่วม กิจกรรมในครั้งนี้ได้มีนางอุไร นาคัน เป็นคนประสานงานเอกสารและรางวัลให้ครัวต้นแบบ ซึ่งมีจำนวน15ครัวเรือน ซึ่งได้คัดเลือกจากคณะกรรมการทั้ง25คน บ้านต้นแบบ มีดังนี้ 1.นาย สุธี รอดบุญ 2.นางปราณี เจ้ยน้อย 3.นาย ชูวิทย์ ชัยชนะ 4.นางอารี นาคัน 5.นางกลิ่นผกา ศรสิทธิ์ 6.นางสายชล สังข์ทอง 7.นางประทีป เมฆฉาย 8.นางอำพาน ใจดี 9.นางปลอบ จริงเจียว 10.นางเยาวลักษณ์ นาคปน และอีก5 คนเด่นสาขาต่างๆ นายมณเฑียร เพรชนิล เด่นบัญชีเครือเรือน นางบุญสิทธิ์ ช่วยชู เด่นเรื่องปุ๋ยหมัก นางเรวดี รักษาเมืองเด่นเรื่องผักปลอดสารพิษและอีก2คนเด่นเรื่องสุขภาพ นางโสวณี เพชรโยธาและนางสุจิตรา ไหมจุน และได้มีประธาน นายมาโนช ทองประดับ ได้ไปเชิญหน่วยงานราชการฝ่ายต่างๆมีปลัดอำเภอประจำตำบลท่าขึ้น นาง สมวงศ์ สมใจ 2.นางสุวลี จุทิน หัวหน้าเกษตรอำเภอพร้อมด้วยเกษตรประจำตำบล นาย บุญโชค แก้วแกม นายก อบต. กำนันสุพจน์ เอี่ยมสกุลเวทย์ กำนันประจำตำบลท่าขึ้น นางขวัญเรือน เสนีพงศ์ ผอ.รพ.สต.ประดู่หอม ศุพกิจกลับช่วย ผอ.รพ.สต.บ้านหาน พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่ผู้ช่วย สอบต.ทั้ง15หมู่บ้านเข้าร่วมในครั้งนี้ และคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการนำพีชผักผลผลิตมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ปลัดอำเภอเป็นประธานในการทำกิจกรรม ได้มีการเปิดงานโดยมีเด็กมาแสดงรำ ชุดหนึ่ง จากนั้นได้มีการมอบรางวัลให้กับบ้านต้นแบบ15คนโดยมีตัวแทนมอบรางวัล3คนมี ปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำตำบลท่าขึ้นและรองนายก อบต. จากทำกิจกรรมในครั้งนี้ทางสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้นำผักปลอดสารพิษมาเป็นอาหารมื้อเที่ยง และตอนรับประทานอาหารได้ถ่ายวิดีทัศน์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดูวิดีทัศน์กิจกรรมต่างๆที่ทำมาในรอบปี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ชุมชนได้ร่วมเรียนรู้กิจกรรมมหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
    2.แกนนำครัวเรือนในชุมชนได้มอบรางวัลให้บ้านต้นแบบจำนวน 15 ครัวเรือน เป็นการเสริมสร้างพลังสร้างกำลังในการทำงานของคนในชุมชน
    3 คณะกรรมการโครงการได้ร่วมกันขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมในชุมชน
    4.เกิดต้นแบบด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ 1 คนต้นแบบการทำปุ๋ียชีวภาพ1 คน ต้นแบบบัญชีครัวเรือน1 คน
    5.เกิดแกนนำดีเด่นด้านการดูแลสุขภาพปลอดสารเคมี จำนวน 2 คน

     

    150 130

    30. จัดเวทีประชาสัมพันธ์ยื่นข้อเสนอในชุมชนขยายดำเนินการต่อเนื่อง

    วันที่ 22 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในครั้งนี้ได้เชิญคนในชุมชนเข้าร่วม ให้ทุกคนเสนอเรื่องการทำกิจกรรมต่างๆในรอบปีที่ผ่านมาว่าเราได้อะไรจากโครงการในครั้งนี้ เพื่อให้คนในชุมชนเห็นด้วยกับการมีงบประมาณมาทำให้สามารถเกิดความรู้ใหม่ ๆ เช่น การทำปุ๋ยหมักและดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้นและมีนางเรวดี รักษาเมืองได้เสนอในการประชุมครั้งนี้ว่า ถ้ามีงบประมาณใหม่มาเราจะแบ่งและขยายกลุ่มให้เพิ่มมากขึ้น นายวิเชียร แก้วน้อย ถ้ามีงบประมาณใหม่เข้ามาก็จะทำผักไฮโดโพรนิกให้กับคนในชุมชนอย่างน้อย4โซน เพื่อให้เกิดรายได้เสริมเพิ่มมากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ ภายใต้การสนับสนุนทุน สสส. ทำให้มีงบประมาณมาทำกิจกรรมในพื้นที่ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ เช่น การทำปุ๋ยหมักและดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น

    • คนในชุมชนมีความพึงพอใจกับการทำงานของคณะกรรมการ ที่สามารถขับเคลื่อนโครงการจนเกิดผลสำเร็จ

    • คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน ลดรายการสิ่งที่ฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น

     

    80 96

    31. ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 09.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในกิจกรรมที่ได้ให้เยาวชนลงสำรวจได้รับรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของคนในชุมชน สุขภาพของคนในชุมชน โดยการที่ให้คนในชุมชนมาร่วมกิจกรรม เจาะเลือดหาสารพิษ ติดตามผล ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของสารเคมี ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในกิจกรรมอื่นๆก็รวมทีมกรรมการ 25 คนลงให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง รู้สึกว่าคนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จัดวิเคราะห์ให้คนในชุมชนทำบัญชีครัวเรือนเพื่อได้รับรู้ความเป็นอยู่การใช้จ่ายคนในชุมชนได้ทำตามและได้ข้อมูลการใช้จ่ายการเป็นอยู่ของคนในชุมชน วิเคราะห์แนะนำหาสาเหตุปัจจัยรายรับรายจ่ายภาระหนี้ การดำเนินชีวิต จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ พร้อมทั้งรวมรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ ทำแปลงผักปลอดสารพิษ มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 ครัวเรือน และได้เชิญปราชญ์ชุมชนร่วมถ่ายทอดความรู้ฝึกปฏิบัติ ให้ครัวเรือนที่ร่วมกิจกรรมได้นำความรู้กลับไปทำที่ครัวเรือนตัวเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมร่วมกัน

    • เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนโดยปลูกผักปลอดสารพิษ

    • คนในชุมชนมีความรู้ และสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้

     

    100 96

    32. ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 2

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการประชุมคณะกรรมการโดยประกอบด้วยนางอุไร นาคัน เหรัญญิก และนาย กษิเดช อ๋องสุทธิ์ ที่ศุนย์คอมพิวเตอร์และสื่อสาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เวลา 08.30-10.00 ได้พบปะ อ.กำไลและ อ.กำไลให้แนวทางการงานต่อเนื่อง ถอดบทเรียนโครงการว่ามีความถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ ได้ปฏิบัติการแนวทางและวิธีขั้นตอนรายละเอียดการเขียนโครงการแต่ละหัวข้อ และตรวจสอบความถูกต้องของโครงการงวดที่ 2 ทั้งหมดเพื่อปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มารับการตรวจการเงินในงวดที่2(ช่วงที่1) ซึ่งจากการตรวจเอกสารเอกสารบางอย่างยังเตรียมไม่ครบเพราะกิจกรรมในงวดที่2เงินเพิ่งได้รับการโอนจากทาง สสส.ซึ่งทางกลุ่มจะดำเนินการให้แล้วเสร็จและพร้อมรับการตรวจตามแผนที่ได้วางเอาไว้คือวันที่14 ตุลาคม 2559

     

    2 2

    33. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนโครงการจำนวน 2 คนเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมทางวิชาการระดับชาติเรื่อง " นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ" ที่หอประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครล 60ปี มอ.หาดใหญ่ ในวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 1600 คน ประกอบด้วย ภาคีพันธมิตรสุขภาพ จาก ภาคีภาคประชาชน ภาค ประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ภาควิชรการซึ่งมีองค์กรร่วมจัดดังนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช) กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(สจรส.ม.อ) วันที่ 3 ตุลาคม 2559 พิธีเปิดการประชุมมีการแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิดกล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีกล่าวรายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) การเสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒ วันที่ 4 ตุลาคม ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม การประชุมห้องย่อย 1.การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2.การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม การประชุมห้องย่อยลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันที่ 5 ตุลาคม 2559 ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทยสรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดยนายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ และพิธีปิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนกลุ่มละประมาณ 2 ตน เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมทางวิชาการระดับชาติเรื่อง " นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ" ที่หอประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครล 60 ปี มอ.หาดใหญ่ โดยมีภาคีเครื่อข่ายอื่น ๆ จำนวน 1600 คน ประกอบด้วย ภาคีพันธมิตรสุขภาพ จาก ภาคีภาคประชาชน ภาค ประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ภาควิชรการซึ่งมีองค์กรร่วมจัดดังนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช) กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(สจรส.ม.อ) ซึ่งได้เรียนรู้ในหลากหลายประเด็น เช่น กองทุนสุขภาพตำบล การแพทย์พหุวัฒนธรรม และลานนิทรรศการ

     

    2 2

    34. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการและตัวแทนครัวเรือนจำนวน 46 คน เข้าร่วมประชุมประเมินผลการดำเนินของโครงการที่ ศาลาหมู่บ้าน โดยประธานได้ชี้แจงรายการดำเนินของโครงการตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลของชุมชนโดยเยาวชน การจัดทำบัญชีครัวเรือน การทำปุุ๋ยหมัก การปลูกผักปลอดสารพิษตามโซนของจำนวน 4 โซน การจัดทำแปลงสาธิต และการตรวจประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดจากการทำการเกษตร  ที่ประชุมได้ร่วมอภิปรายการดำเนินกิจกรรมของโครงการโดยมีความเห็นตรงกันว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ของชุมชนควรจะได้มีการขยายให้ต่อเนื่องและเชิญชวนหลังคาเรือนอื่นหมู่บ้านเข้าร่วมด้วย  และได้เสนอให้เข้าแผนของชุมชน แผนตำบลเพื่อต่อยอดการทำเศรษฐกิจพอเพียงแก้ปัญหาในชุมชนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมประชุมประเมินการดำเนินโครงการจำนวน 46 คน  เกิดการร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน ซักถาม พูดคุย ในการแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกัน  ชุมชนมีข้อเสนอร่วมกันในการวางแผนโดยเสนอให้นำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเข้าแผนชุมชน แผนตำบลต่อไป

     

    46 46

    35. จัดทำรายงานและภาพถ่ายโครงการ

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้ร่วมกันจัดทำรายงานพร้อมรูปภาพประกอบกิจกรรมการดำเนินของโครงการ พร้อมทั้งจัดทำเอกสาร ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน การลงทะเบียน พร้อมทั้งบันทึกข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน ได้บันทึกรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของ มีรูปภาพประกอบกิจกรรมของโครงการ ได้รายงานสรุปผลของโครงการ

     

    2 2

    36. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนโครงการเข้าร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์จัดทำเอกสารการเงินเเละลงรายละเอียดโครงการ รวบรวมเอกสารทางด้านการเงิน ตรวจเอกสารทางด้านการเงิน ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมกับทีมพี่เลี้ยง และ สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชุมสรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ สามารถนำส่งได้ ประกอบด้วย รายงาน ง.1งวด 2 ง.2 ส.3 ส.4

    • จัดทำเอกสารการเงินมีความถูกต้อง ตรวจสอบได้

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีโดยใช้เกษตรอินทรีย์
    ตัวชี้วัด : 1.) ครัวเรือนในชุมชนใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี 80 ครัวเรือน 2.) มีต้นแบบครัวเรือนทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชน มี 30 ครัวเรือน 3.) รายจ่ายในการใช้สารเคมีลดลงจากเดิมร้อยละ 30

    1.ครัวเรือนในชุมชนใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี 80 ครัวเรือน
    2.มีต้นแบบครัวเรือนทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชน มี 30 ครัวเรือน
    3.รายจ่ายในการใช้สารเคมีลดลงจากเดิมร้อยละ 20

    2 เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาโดยการทำเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงสารเคมี
    ตัวชี้วัด : 1.) คนในชุมชนเข้าใจและเข้าร่วมโครงการ 80 ครัวเรือน 2.) ผู้เข้าร่วมโครงการใช้การเกษตรแบบชีวภาพ แทนการใช้สารเคมีอย่างน้อย 80 ครัวเรือน 3.) คนในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพหาสารเคมีตกค้างร้อยละ 90

    1.คนในชุมชนเข้าใจและเข้าร่วมโครงการ 80 ครัวเรือน
    2.ผู้เข้าร่วมโครงการใช้การเกษตรแบบชีวภาพ แทนการใช้สารเคมีอย่างน้อย 80 ครัวเรือน
    3.คนในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพหาสารเคมีตกค้างร้อยละ 95

    3 เพื่อให้คนในชุมชนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำการเกษตร
    ตัวชี้วัด : 1.) ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพจำนวน 80 ครัวเรือน 2.) มีแปลงสาธิตเรียนรู้เกษตรอินทร์ จำนวน 1 แปลง

    1.ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพจำนวน 80 ครัวเรือน
    2.มีแปลงสาธิตเรียนรู้เกษตรอินทร์ จำนวน 1 แปลง

    4 เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็งได้
    ตัวชี้วัด : 1.) มีสภาผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ 1 กลุ่ม ติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง
    1. มีสภาผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ 25 คน
    5 เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
    ตัวชี้วัด : 1.) ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้องร้อยละ 80 2.) มีแผนปฏิบัติการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน 80 ครัวเรือน 3.) มีกลุ่มการออมในชุมชนอย่างน้อย 1 กลุ่ม

    1.ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้องร้อยละ 80
    2.มีแผนปฏิบัติการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน 80 ครัวเรือน
    3.มีกลุ่มการออมในชุมชน 1 กลุ่ม

    6 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ร้อยละ 100 ของจำนวนครั้งที่จัด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีโดยใช้เกษตรอินทรีย์ (2) เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาโดยการทำเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงสารเคมี (3) เพื่อให้คนในชุมชนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำการเกษตร (4) เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็งได้ (5) เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ (6) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

    รหัสโครงการ 58-03885 รหัสสัญญา 58-00-1887 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 26 เมษายน 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การทำปุ๋ยชีวภาพ โดยใช้มูลวัว เศษขี้เลื่อย เศษพืช คลุกเคล้าให้เข้ากันราดด้วยผสมน้ำหมัก นำไปใช้แทนปุ๋ยในการปลูก

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • นางอุไร นาคัน

    ขยายผลการทำปุ๋ยให้แก่คนในชุมชนร่วมกันทำต่อมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยเยาวชนร่วมจัดเก็บและสำรวจข้อมูลของชุมชน

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    • เอกสารสรุปโครงการ

    เยาวชนในชุมชนได้ร่วมทำงานและร่วมเรียนรู้การทำงานในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดการเรียนรู้การถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ จากปราชญ์ในชุมชนจากการทำปุ๋ยหมัก การเพาะปลูกผักปลอดสารเคมี การจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    • บันทึกการประชุมและเอกาสารสรุปโครงการ

    ชุมชนร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนรุ่นใหม่เป็นแกนนำร่วมจัดการแก้ปัญหา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดบ้านต้นแบบชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    • ครัวต้นแบบ 15 ครัวเรือน

    ขยายผลเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    บ้านต้นแบบชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • ครัวต้นแบบ 15 ครัวเรือน

    เป็นฐานเรียนรู้ของคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    คนในชุมชนร่วมเรียนรู้เรื่องสารเคมี และได้รับการตรวจคัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือด

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    • เอกสารสรุปโครงการ

    รณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องสารเคมี แก่เกษตรและคนในชุมชนและการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    บริโภคพืชผักปลอดสารพิษที่ปลูกไว้บริโภคเอง

     

    พัฒนาพื้นที่ปลูกผักและครัวเรือนปลูกผักเพิ่มเติม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ได้มีการรณรงค์การลด ละ เลิกบุหรี่แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ผ่านทางแผ่นป้ายในชุมชน

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    ส่งเสริมให้มีการรณรงค์ลด ละ เลิก อบายมุข อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์โดยมีปราชญ์ของชุมชนคนที่มีประสบการณ์ในชุมชนมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักการเพาะปลูกผักในครัวเรือน ร่วมฝึกปฏิบัติพร้อมกัน ร่วมเพาะปลูกตามละแวกบ้านใช้พื้นที่ว่างรอบครัวเรือนของตนเองเพื่อลดทุนต้นและลดการใช้สารเคมี

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ เด็กและเยาวชนมีการเรียนรู้ตามภูมิปัญญาของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    คนในชุมชนให้ความสนใจในเรื่องสารเคมีตกค้าง รวมทั้งการทำปุ๋ย การปลูกผักและบริโภคผักปลอดสารพิษ

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    ส่งเสริมให้มีการทำปุ๋ยหมัก การปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นการลดค่าใช้จ่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการใช้มูลสัตว์ เศษพืช เศษวัสดุที่มีในบ้านในชุมชนเพื่อนำมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมีในการเกษตร

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    พัฒนาพื้นที่ว่างเปล่ามาทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำปุ๋ยหมักใช้เองเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    ส่งเสริมการปลูกผัก การทำปุ๋ยหมัก เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการเพื่อวางแผน แก้ไขปัญหา และติดตามการปฏิบัติตามกติกากลุ่ม

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • รายงานบันทึกการประชุม

    ให้มีการประชุมประจำเดือนเพื่อวางแผน พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการร่วมมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ ในชุมชน

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • เอกสารสรุปโครงการ

    เชื่อมโยงเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีปราชญ์ของชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การเพาะปลูกผักในครัวเรือน ร่วมฝึกปฏิบัติพร้อมกัน ร่วมเพาะปลูกตามละแวกบ้านใช้พื้นที่ว่างรอบครัวเรือนของตนเองเพื่อลดทุนต้นและลดการใช้สารเคมี

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • เอกสารสรุปโครงการ

    ค้นหาทุนของชุมชมเพื่อนำเข้ามาร่วมช่วยกันพัฒนาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    กลุ่มคนในชุมชนร่วมมือกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • บันทึกกิจกรรมโครงการ

    ส่งเสริมการทำกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    คนในชุมชนร่วมกันจัดการความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก การปลูกผักปลอดสารพิษ

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • บันทึกกิจกรรมโครงการ

    ส่งเสริมการทำกิจกรรมที่ทำให้คนมาร่วมกันแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคนในชุมชนเพื่อหาแนวทางร่วมกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    คณะกรรมการร่วมกันประชุมทุกเดือนเพื่อวางแผน ประเมิน ตัดสินใจแก้ปัญหา โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • บันทึกประชุมประจำเดือน

    ส่งเสริมให้มีกระบวนการจัดการแก้ไขปัญหาในชุมชน โดยนำข้อมูลปัญหามาจัดลำดับ และระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน วางแผน หาแนวทางแก้ไข ประเมินติดตาม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    คนในชุมชนเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยร่วมกันนำมูลสัตว์ เศษพืช เศษวัสดุในชุมชนมาเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก ร่วมฝึกปฎิบัติและร่วมเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • บันทึกกิจกรรมโครงการ

    ให้มีการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วม คงไว้ซึ่งกิจกรรมการช่วยเหลือกันเองในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    มีการนำมูลสัตว์ เศษพืช วัสดุในละแวกบ้านมาเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยฝึกปฏิบัติพร้อมกัน เรียนรู้การปลูกผัก

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข
    • บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    • บันทึกกิจกรรมโครงการ

    ให้มีการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วม คงไว้ซึ่งกิจกรรมการช่วยเหลือกันเองในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03885

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย มาโนช ทองประดับ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด