แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน ”

ชุมชนบ้านทุ่งโชนม.6ต.เขาพระทองอ.ชะอวดจ.นครศรีธรรมราช80180

หัวหน้าโครงการ
นาง สมเด็จ เกื้อกูล

ชื่อโครงการ สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน

ที่อยู่ ชุมชนบ้านทุ่งโชนม.6ต.เขาพระทองอ.ชะอวดจ.นครศรีธรรมราช80180 จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03843 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2208

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านทุ่งโชนม.6ต.เขาพระทองอ.ชะอวดจ.นครศรีธรรมราช80180

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน



บทคัดย่อ

โครงการ " สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านทุ่งโชนม.6ต.เขาพระทองอ.ชะอวดจ.นครศรีธรรมราช80180 รหัสโครงการ 58-03843 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 211,800.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 250 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชน
  2. เพื่ออนุรักษ์สายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชนและสนับสนุนการดำเนินงานของสภาชุมชน
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศ การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการจาก ผส.ดร.พงเทพษ์ และทีมงานของคนใต้สร้างสุข
    • ตัวแทน จาก สจรส มอ บรรยายและแนะนำขั้นตอนในการลงกิจกรรมของโครงการ การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด กิจกรรมที่จะต้องลงมีดังต่อไปคือ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมชี้แจงชุมชนในการดำเนินงานทุกครั้งต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนและพี่เลี้ยงในลงไปช่วยในการปิดงวดแต่ละครั้ง พร้อมทั้งตัวแทนจะ สจรส.มอ. ไปช่วยตรวจสอบความถูกต้องหลังจากทำงานไป 2 เดือน ต่อจากนั้นจะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย สสส. เป็นผู้จัด
    • อาจารย์ กำไลสมรักษ์ชี้แจงกิจกรรมที่จะต้องทำ เช่น เตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตียมคนช่วยงาน เพื่อเริ่มต้นการทำงานให้สำเร็จ
    • อาจารย์ สุดาไพศาล ชี้แจงการจัดทำรายงานการเงินการลงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
    • ทีมงานจาก สจรส มอแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพที่ดี แนะนำชี้แจงการลงข้อมูลในโปรแกรมและฝึกปฏิบัติการลงรายงานในเวปคนใต้สร้างสุข จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานตลอดโครงการ จนเสร็จ และ บันทึกกิจกรรมวันปฐมนิเทศ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะทำงานเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ จำนวน 2 คน รับฟังการบริหารจัดการโครงการ สสส เรียนรู้การจัดทำรายงานต่างๆรายงานการเงิน การลงทะเบียน การเบิกจ่ายงบในแต่ละกิจกรรม การจัดทำรายงานผ่าน เวปคนใต้สร้างสุข
    • ผลลัพธ์คณะทำงานทราบและเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สสสสามารถจัดทำรายงานต่างๆได้ และบันทึกรายงานผ่านเวปคนใต้สร้างสุขได้

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่จำนวน1 ป้าย และป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1 ป้าย คณะทำงานและได้นำป้ายไปติดประชาสัมพันธ์ไว้ในที่ประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตมีป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามมาตราฐานที่สสส กำหนด จำนวน 1 ป้ายติดในสถานที่จัดทำกิจกรรมของโครงการ
    • ผลลัพธ์กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีการสูบบุหรี่ ในเวลาการจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายเกิดจิตสำนึกงดสูบบุหรี่ในวันจัดกิจกรรมติดประชาสัมพันธ์ไว้ในที่ประชุมประจำเดือนหมู่บ้านและสถานที่นัดประชุม/ ออกกำลังกายของหมู่บ้าน

     

    2 2

    3. ตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชน(ครั้งที่ 1)

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานตัวแทนครัวเรือนลงทะเบียน ร่วมเวที่ตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชน
    • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย ชี้แจงการจัดเวทีในวันนี้เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนเพื่อเป็นคณะทำงานในโครงการที่รับการสนับสนุนจาก สสส
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์กิจกรรมที่ต้องช่วยดำเนินการตลอดระยะเวลา1 ปี ตลอดจนงบประมาณแต่ละกิจกรรมและงบรมทุกกิจกรรม
    • พี่เลี้ยงโครงการเพิ่มเติม ที่มาและวัตถุประสงค์ งบประมาณ และเอกสารหลักฐานต่างๆที่ใช้ในการประกอบการใช้จ่ายและพูดคุยให้ตัวแทนครัวเรือนร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมสภาชุมชนเพื่อมาขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการและช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนต่อไป
    • ร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมการสภาชุมชน จัดตั้งเป็นคณะทำงาน
    • แบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และแจ้งให้ตัวแทนครัวเรือนรับทราบ
    • ผู้ใหญ่ขอบคุณตัวแทนครัวเรือนทุกคน พร้อมพี่เลี้ยงโครงการที่ช่วยมาชี้แจงทำความเข้าใจกับชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะทำงาน ตัวแทนครัวเรือน พี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 100 คนร่วมเวทีตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชน ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย ชี้แจงการจัดเวทีในวันนี้เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนเพื่อเป็นคณะทำงานในโครงการที่รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส เจ้าของโครงการชี้แจงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ งบประมาณที่ได้รับ กิจกรรมที่ต้องช่วยดำเนินการตลอดระยะเวลา1 ปี พี่เลี้ยงโครงการเพิ่มเติม ที่มาและวัตถุประสงค์ งบประมาณ และเอกสารหลักฐานต่างๆที่ใช้ในการประกอบการใช้จ่ายและพูดคุยให้ตัวแทนครัวเรือนร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมสภาชุมชนเพื่อมาขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการและช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนต่อไปร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมการสภาชุมชน จัดตั้งเป็นคณะทำงานแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และแจ้งให้ตัวแทนครัวเรือนรับทราบผู้ใหญ่ขอบคุณตัวแทนครัวเรือนทุกคน พร้อมพี่เลี้ยงโครงการที่ช่วยมาชี้แจงทำความเข้าใจกับชุมชน
    • ผลลัพธ์ ตัวแทนครัวเรือนรับทราบที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการและงบประมาณที่ได้รับสนับสนุน พร้อมกิจกรรมที่ต้องช่วยกันดำเนินการ เกิดสภาผู้นำชุมชน 1 คณะ มีสมาชิกจำนวน 30 คน

     

    100 100

    4. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่ 1

    วันที่ 11 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาชุมชน ลงทะเบียน ร่วมประชุม
    • ผู้ไหญ่ศิริรัตน์เป็นประธานพร้อมด้วยคณะทำงานร่วมกับสภาผู้นำชุมชนร่วมกันปรึกษาหารือวางแผนเรื่องการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปคือการจัดทำ ระเบียบ แผนของสภาชุมชน
    • ร่วมกันร่างระเบียบ เพื่อนำเสนอ ในเวที่จัดทำระเบียบของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางคร่าวๆ
    • มอบหมายภาระกิจ ในการจัดเตรียมอาหาร การจัดทำใบลงทะเบียน และการปรชาสัมพันธ์ให้ตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 12 ธันวาคม 2558 ให้ช่วยกันเพราะเป็นวันพรุ่งนี้แล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ร่วมประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการสายน้ำสร้างสุข และกิจกรรมอื่น ๆ ของชุมชน

    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการรับทราบบทบาทของตนเองและภาระกิจของตนเองที่เกี่ยวข้องในโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน
    2. คณะกรรมการ/ผู้นำเกิดความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการฯและกิจกรรมของทางการที่ได้ประสานมาในระดับหมู่บ้านไปในทิศทางเดียวกัน
    3. แกนนำเกิดความพร้อมในการดำเนินงาน โดยผู้นำร่วมกับสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อน แก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน

     

    30 30

    5. คณะกรรมการสภาจัดทำ ระเบียบ แผนของสภาชุมชน(ครั้งที่ 2)

    วันที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชาชนในหมู่บ้านได้เดินทางมาร่วมประชุมพร้อมกันที่หอประชุมของหมู่บ้านซึ่งประกอบด้วยพี่เลี้ยงและ คณะทำงานโครงการ ผู้้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสอบต.กลุ่มสตรีอสม.กลุ่มผู้สูอายุพี่เลี้ยงได้ชี้แจงในที่ประชุมเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการและได้ทำการคัดเลือกทีมงานสภาผู้นำชุมชนประกอบด้วยประธานสภา คณะกรรมการ และฝ่ายต่างๆพร้อมทั้งการจัดโครงสร้างสภาผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนบ้านทุ่งโชน ได้ทำการประชุมชี้แจง ถึงบทบาทหน้าที่ วาระ แผนการดำเนินงานของสภาผู้นำชุมชนให้กับประชาชน จำนวน 100 คนได้รับทราบ ผลลัพธ์ตัวแทนครัวเรือน/ประชาชนให้ความสนใจให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของสภาพชุมชนบ้านทุ่งโชน ได้เห็นโครงสร้างมีคณะทำงานสภาผุ้นำชุมชน 1 คณะประกอบ ด้วยประธานสภาคือ ผู้ใหญ่บ้าน และเลขาสภาคือนางอารมย์ตรีแก้ว ทำหน้าที่ในการมาประชุมวางแผนเพื่อแก้ปัญหาชุมชนทุกเดือน โดยสมาชิกมีหน้าที่ในการนำเสนอปัญหาและร่วมพูดคุย เพื่อแก้ปัญหา แนวทางที่ได้กำหนดในสภาฯ นำมาสู่การปฏิบัตในชุมชน เป็นแนวทางเป็นข้อปฏิบัติของชุมชน สมาชิกเกิดความเข้าใจบทบาทของตนเองมากขึ้น

     

    100 100

    6. กติกาชุมชนในการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านหน้าโตน(จำนวน 2 ครั้ง) ครั้งที่1

    วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดตัวแทนครัวเรือนมาประชุม เพื่อจัดทำร่างกติกาชุมชน ในการรักษาสิ่งแวดล้อมของสายน้ำบ้านทุ่งโชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะตัวแทนครัวเรือนจำนวน 40 คนเข้าร่วมประชุมเพื่อร่างกติการักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชน
    • ผลลัพธ์เกิดร่างกติกาชุมชนรักสายน้ำบ้านทุ่งโชน คือ
    1. ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด
    2. ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร
    3. ห้ามช้อตปลาในลำคลอง
    4. ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง
    5. ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้
    6. ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน
    7. การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม

     

    40 40

    7. ตั้งกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อม บ้านทุ่งโชน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญตัวแทนครัวเรือน เยาวชนมาทำการประชุมเพื่อหาแนวร่วมเพื่อการตั้งกล่มอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน ที่ประชุมได้รับฟังวัตถุประสงค์จากผู้รับผิดชอบโครงการ ถึงความจำเป็นในการตั้งกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชนขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการนำข้อมูลมาเสนอในที่ประชุมใหญ่ โดยการคัดเลือกมาจำนวน 30 คน จากตัวแทนครัวเรือนทั้งหมด โดยให้แต่ละกลุ่มบ้านมีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ที่ประชุมได้มีการโหวดและคัดเลือก ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชนขึ้นมา 1 กลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 30คนมีประธานกลุ่มโดยการคัดเลือกคือ นางจรรยาหนูแป้น บ้านเลขที่ 136/2หมู่ที่ 6 บ้านเขาพระทองและเลาขานุการกลุ่ม คือ นางวิภารัตน์ไม้หอม บ้านเลขที่ 183/3 หมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระทอง เพื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนชุมชนนการดูแล ให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 คน ได้มาประชุมและรับทราบวัตถุประสงค์ ของการตั้งกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำเกิดกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน
    • เกิดกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน มีสมาชิก 30 คน ประกอบด้วย ตัวแทนบ้านจากซอยต่าง ๆ มีโครงสร้างประธาน คณะกรรมการ เลขานุการ และเหรัญญิก ทำหน้าที่ เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมการรักษาสายน้ำและสิ่งแวดล้อมอื่นในชุมชน

     

    100 100

    8. สร้างกระบวนการประชาเข้าใจในการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า บ้านทุ่งโชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ตัวแทนครัวเรือน นักเรียน จำนวน105 คน เข้าร่วมกันประชุมทำประชาเข้าใจในการอนุรักษ์ดินน้ำป่า
    2.เลือกตั้งตัวแทนผู้ดูแลรับผิดชอบในการอนุรักษ์ ดินน้ำป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตตัวแทนครัวเรือนจำนวน 105 ครัวได้มาประชุมพร้อมกันที่ประชุมเพื่อรับฟัง และลงปฏิบัติในพื้นที่ตามเขต/ซอยต่าง ๆ ของชุมน เพื่อร่วมกันคิดหาแนวทางการดำเนินงานอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน ทำให้เกิดผลลัพธ์คือประชาชนตัวแทนครัวเรือนมีความเข้าใจมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน โดยมีเนื้อหารายละเอียดคือ

    1. น้ำเกิดจากป่าไม้ ป่าต้นน้ำของคลองบ้านทุ่งโชน เกิดจากป่าบริเวณบ้านหน้าสโตน ซึ่งปัจจุบันเหลือไม่มาก ที่ผ่านมาถูกทำลายโดยการที่ชาวบ้านเองมีการลักลอบในการตัดต้นไม้เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย และบางรายเกิดการขายไม้ ทำไม้ขายห้กับคนต่างถิ่น
    2. ในคลองบ้านทุ่งโชน โดยเริ่มตั้งแต่บ้านหน้าสโตน ระยะทางประมาณ 5 กม ในลำคลองปัจจุบันสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลาหลด ปลาปก หายไป พวกกบคลองได้หายไปเกิดจากการจับโดยขาดความรู้ ขาดการเอาใจใส่ และเห็นแก่ตัว ต่อไปน่าจะมีการร่วมกันลงมือรักษาพันธุ์ปลาเหล่านี้ไว้
    3. การรักษาน้ำไว้ในพื้นที่ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องสร้างเขื่อนใหญ่โตเพื่อทการเก็บน้ำแต่เพียงแต่สร้างฝายกั้นน้ำไว้เป็นตอน ๆ เพื่อเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นแหล่งสร้างพืชน้ำที่เป็นอาหารของคนในบ้านทุ่งโชนได้ ที่ประชุมได้ซักถามแนวทางการดำเนินการรักษาสภาพแวดล้อม เรื่องป่าไม้ เรื่องไม้น้ำ ประโยชน์ของต้นไทรและพืชบางชขนิด กับคณะวิทยากรที่มาให้ความรู้ จนเกิดความเข้าใจและพูกคุยตกลงถึงเรื่องแนวทางการตั้งกติกาชุมชนเพื่อรักษาป่า และน้ำของบ้านทุ่งโชนเบื้องต้นมอบหมายหัวหน้าซอยทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนในการดูแลป่าและน้ำ และประสานเพื่อนบ้านเรื่องแนวทางการดำเนินงานต่อไป

     

    100 105

    9. สืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชน 1 ครั้ง

    วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดตัวแทนครัวเรือนมาทำการประชุมเพื่อทำพิธีสืบชะตาสายน้ำโดยการ นิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีให้พรก่อนที่จะเริ่มกระบวนการ ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวเปิด และกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในวันนี้ ว่า บ้านหน้าโตนบ้านเราสภาพแวดล้อมถูกทำลายไปหมดแล้ว ดังนั้นเห็นทีเราจะต้องมาร่วมมือกันในเรื่องของการรักษา เพื่อเป็นการเริ่มวันนี้เราได้นิมนต์พระคุณเจ้ามาทำพิธี เป็นสิ่งยืนยันว่าต่อไป เราจะไม่ตัดไม้และทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 100คน และผู้เกี่ยวข้อง ได้นัดแนะทำพิธีสืบชะตาสายน้ำบ้านหน้าโตนเพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าต่อไป จะเกิดความร่วมมือในการรักษาสิ่งแวดล้อมของคลองบ้านหน้าโตน ผลลัพธ์ เกิดการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดกิจกรรม ชาวบ้านเกิดมีจิตสำนึกในการดูแลอนุรักษ์พันธ์สัตว์ พืช และต้นน้ำเพิ่มขึ้นมากเลื่อมใสในการลงมือรักษาสภาพแวดล้อมของคลองบ้านหน้าโตน เกิดสัญญลักษณ์การบวชต้นไม้ การรักษาสายน้ำเป็นการเริ่มต้นที่ดีของชุมชน และนำผ้าเหลืองไปผูกต้นไม้เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ห้ามตัด จำนวน 52 ต้น

     

    100 100

    10. สำรวจและบันทึกข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชน

    วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-12.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดแนะเยาวชนมาพร้อมกันและชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการสำรวจและบันทึกข้อมูล จากการสำรวจและการการจัดทำทะเบียนต้นไม้ สภาพแวดล้อม ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตเยาวชนให้ความสนใจและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมการสำรวจ ผลลัพธ์ เยา่วชนเกิดความรู้ และตระหนัก เปรียบเทียบความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมที่ในอดีต กับปัจจุบัน จาดการบอกเล่าของพี่เลี้ยง " เมื่อก่อนในสายน้ำมีปลาชุกชุม หากินได้เลย ปัจจุบันมีปลาไรบ้าง มีหอย ชนิดใด ลดลงแทบไม่เหลือเมื่อเกิดการเปรียบเทียบ เยาวชนได้มีการจดบันทึก และนำมามาพูดคุยสรุปผลที่ได้ และเกิดฐานข้อมูลชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน และมี เกิดทะเบียนต้นไม้ในชุมชนที่ยังคงเหลือ

     

    50 50

    11. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่2

    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการฯ กลุ่มเป้าหมาย สภาผู้นำชุมชนมาพร้อมกันที่ประชุมทำการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุม
    • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทายพูดคุยการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ให้ร่วมช่วยสรุปว่ามีปัญหาอะไร จากการประชุมมีปัญหาในการจัดกิจกรรมบางกิจกรรมของโครงการ เช่น มีการถ่ายภาพไม่ครบกระบวนการในการประชุม และจัดเก็บไม่เป็นระบบ การจัดทำรายงานผ่านเวปไม่ทันตามกำหนดเวลา เอกสารหลักฐานบางกิจกรรมไม่สมบรูณ์เช่นใบลงทะเบียน ให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมประชุมลงลายมือชื่อไม่หมด คนแก่ที่มาร่วมกิจกรรมให้เด็กเขียนชื่อให้ซึ่งไม่ถูกต้อง ต่อไปต้องมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบดูแลในส่วนใบลงทะเบียน และการถ่ายภาพให้ชัดเจน เลขาจะต้องสรุปผลการจัดเวทีแต่ละครั้งให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการนำไปบันทึกในเวปเพื่อให้ทันตามกำหนดเวลา
    • ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน
    • มอบหมายภาระกิจในการจัดเตรียมใบลงทะเบียนและผู้ดูแลในการลงทะเบียนการจัดเตรียมอาหาร การเก็บเอกสารหลัดฐานการเงิน การประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้ารับทราบและเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 16พฤศจิกายน 2558
      รวบรวมกิจกรรมที่ได้จัดทำไปแล้วนำมาทบทวนวิเคราะห์ถึงปํญหาอุปสรรคต่างๆและผลลัพธ์ที่ได้ของแต่ละกิจกรรมฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ได้เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมกัน

    • ผลลัพธ์

    1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนรับทราบปัญหาการจัดกิจกรรมและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขพร้อมวางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
    2. เกิดการทบทวน ภาระกิจที่ได้รับมอบหมายที่ได้มอบหมายให้กับคณะกรรมการแต่ละท่าน พร้อมทั้งรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
    3. เกิดเวทีประชาเข้าใจในกลุ่มผู้นำชุมชนและที่ปรึกษา
    4. เกิดการมีส่วนร่วม ช่วยกันสรุปผลการดำเนินงาน ทบทวนปัญหาในการดำเนินงานโครงการสายน้ำสร้างสุขฯภาพรวม เช่น การถ่ายภาพไม่ครบกระบวนการในการประชุม และจัดเก็บไม่เป็นระบบ การจัดทำรายงานผ่านเวปไม่ทันตามกำหนดเวลา เอกสารหลักฐานบางกิจกรรมไม่สมบรูณ์เช่นใบลงทะเบียน ให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมประชุมลงลายมือชื่อไม่หมด คนแก่ที่มาร่วมกิจกรรมให้เด็กเขียนชื่อให้ซึ่งไม่ถูกต้อง ต่อไปต้องมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบดูแลในส่วนใบลงทะเบียน และการถ่ายภาพให้ชัดเจน เลขาจะต้องสรุปผลการจัดเวทีแต่ละครั้งให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการนำไปบันทึกในเวปเพื่อให้ทันตามกำหนดเวลา
    5. เกิดการร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน และมอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    30 30

    12. จัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน 1ครั้ง

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการได้มีชี้แจง หลังจากการรวบรวมข้อมูลต่างๆปัญหาในชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของบ้านทุ่งโชน

    • สายน้ำคลองบ้านทุ่งโชน ระยะทางจาก บ้านหน้าโตน ถึง ปากทางหมู่บ้านระยะทางกว่า 5กม
    • การที่พืชสำคัญถูกทำลาย เพื่อปรับพัฒนาเป็นสวนยางพาราและสวนปาล์ม
    • น้ำแห้งขาดสายคลองมีแอ่งน้ำในลำคลอง แค่สามแห่ง เมื่อเปรียบกับเมื่อก่อน ต่างกันมากที่น้ำเต็มคลอง
    • พันธ์สัตว์ไม่เหลือ แม้แต่ปลาเล็ก เกิดจากสาเหตุ การช้อตปลา การปนเปื้อนของสารเคมีปราบหญ้า
    • ผลไม้ สวนยาง ได้รับผลไม่ดี เพราะขาดน้ำ น้ำไม่พอ

    ที่ประชุมได้เสนอแนะ และบอกสาเหตุของปัญหาเพื่อให้คนอื่นในที่ประชุมรับทราบ และมีการถามว่า " ถึงเวลาแล้วยังที่เราต้องหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนตนเอง"ที่ประชุมยอมรับและยกมือสนับสนุน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 114 ครัวเรือนเข้าร่วมประชุมพร้อมกัน ผลลัพธ์ ครัวเรือนเกิดความรู้และเข้าใจในปัญหาของชุมขนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการทำลายป่าไม้ และการไม่มีน้ำในสายน้ำในชุมชน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อธรรมชาติเสียสมดุลย์ สร้างความตระหนักมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาอนุรักษฺ์และหวงแหนธรรมชาติทำให้ครัวเรือนรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเกิดการยอมรับและยกมือสนับสนุนในการดำเนินงานตามโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน

     

    100 114

    13. ติดตามโครงการจาก สจรส.

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังคำชี้แจงการเขียนรายงาน
    2. อาจารย์ กำไล ชี้แจงการเขียนรายงานและเครื่องสำรวจการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเป็นรายงาน
    3. อาจารย์ สุทธิพงศ์ ชี้แจงรายงานการเงิน และกานหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% พร้อมลงมือปฏิบัติจริง
    4. ทีมงาน สจรส มอ พร้อมพี่เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบเอกสารพร้อมแนะนำการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง
    5. บันทึกกิจกรรมปฏิบัติในวันที่ผ่านมา เว็บ คนใต้สร้างสุข พร้อมเขียนใบสำคัญรับเงินค่าเดินทาง
    6. จากการตรวจสอบเอกสารบางอย่างต้องแก้ไขเพิ่มเติมเช่นรายละเอียดการเขียนใบสำคัญรับเงิน และพี่เลี้ยงแนะนำให้จัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบในแต่ละกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะทำงานจำนวน 2 คน เข้าร่วมการเรียนรู้การเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน การหักภาษีณ ที่จ่าย
    • ผลลัพธ์ คณะทำงานเข้าใจในการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการการเงิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ในค่าเช่า ค่าตอบแทนและค่าจ้าง การเขียนหลักฐานแสดงการทำที่ถูกต้อง

     

    2 2

    14. ให้เยาวชนในชุมชนที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำสื่อชุมชน

    วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดเยาวชนจำนวน70 คนมาร่วมกันทำกิจกรรม ชี้แจงกระบวนการและกติกา โดยมีวิทยากร และพี่เลี้ยงทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการประกวดคำขวัญ เพื่อร่วมกันเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์แก่เยาวชนและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และก่อให้เกิดการกำหนดทิศทางในการดำเนินงานรักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชนในอนาคต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตเยาวชน จำนวน 70 คน มาประชุมรวมตัวกัน ฟังคำชี้แจง กติกา ในการดำเนินงาน ผลลัพธ์ เยาวชนได้ร่วมกันคิดคำขวัญ และร่วมกันประกวดคำขวัญชนะเลิศในการรักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชนคือ "คนอยู่ร่วมป่า ป่าร่วมคน" หมายถึง หากคนในชุมชนจะอยู่ได้ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุน หากสิ่งแวดล้อมถูกทำลายคนก็อยู่ไม่ได้ มีความเดือดร้อน เยาวชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และก่อให้เกิดการกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน แนวปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมทั้งมอบหมายแกนนำเยาวชนไปพูดในหอกระจายข่าว

     

    70 70

    15. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่ 3

    วันที่ 11 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการต่าง ๆ ได้มาประชุมพร้อมกัน มีการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประชุมโดยใช้สถานที่วัดทุ่งโชนเป็นสถานที่ประชุมกรรมการ และร่วมกันพัฒนาวัดไปดด้วยพร้อมกัน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน ได้รายงานและทบทวนกิจกรรมที่ทำแล้วและตอบปัญหา ตอบคำถาม ในที่ประชุม
    • ที่ประชุมได้มีการมอบหมายคณะกรรมการออกติดตามผลและให้มรายงานในที่ประชุมครั้งต่อไป
    • คณะกรรมการได้ร่วมพูดคุย เพื่อหาทุนมาสมทบในการจัดทำฝาย และการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า มีการสนับสนุนอะไรบ้าง
    • คณะกรรมการได้พูดคุยปัญหาเรื่องเด็กเยาวชนที่มั่วสุ่มในการใช้สารเสพติดให้คณะกรรมช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตา หากพบบุตรหานใครก็แจ้งให้ผู้ปกครองทราบถ้าไม่กล้าก็ให้แจ้งมาที่ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อผู้ใหญ่จะได้ดำเนินการแจ้งผู้ปกครองเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ได้มาประชุมพร้อมกัน ร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่ทำแล้วอย่างต่อเนื่อง
    • ผลลัพธ์ เกิดการมอบหมายคณะกรรมการออกติดตามผลในการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการ อย่างต่อเนื่อง เกิดการร่วมพูดคุย หาทุนในการจัดทำฝาย มาสบทบ ประสานกำลังจากทหารมาช่วยด้วยพร้อมทั้งเครือข่าย ฝายมีชีวิต เกิดการพูดคุยปัญหาเรื่องเด็กเยาวชนที่มั่วสุมในการใช้สารเสพติดมีการมอบหมายคณะกรรมช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตา และกำหนดกระบวนการหากพบบุตรหลานใครก็แจ้งให้ผู้ปกครองทราบถ้าไม่กล้าก็ให้แจ้งมาที่ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อผู้ใหญ่จะได้ดำเนินการแจ้งผู้ปกครองเอง

     

    30 30

    16. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการหมู่บ้านครั้งที่ 4

    วันที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 13:00-1600 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้มาร่วมประชุมพร้อมกันและได้ลงทะเบียน ร่วมประชุม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจง ความก้าวหน้าของการดำเนินงานและงบประมาณที่ใช้ไปในแต่ละกิจกรรม และช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป และการระดมการแก้ปัญหาเรื่องที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา
    • มอบหมายภาระกิจการจัดเตรียมอุปกรณ์ อาหาร และการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 12 มกราคม2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ร่วมประชุมเจ้าของโครงการชี้แจงงบประมาณที่ใช้ไปในแต่ละกิจกรรมพร้อมให้ช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมการจัดทำฝาย มอบหมายภาระกิจการจัดเตรียมอุปกรณ์ อาหาร และการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 12 มกราคม2559
    • ผลลัพธ์คณะกรรมการและผู้เข้ารประชุมทุกฝ่าย เกิดความเข้าใจรับทราบ ขั้นตอนของการดำเนินงาน เกิดความเข้าใจเรื่องของการใช้จ่ายงปประมาณแต่ละกิจกรรม และมีความพร้อมในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เกิดการนัดแนะ รวมตัวกันที่บริเวณการทำฝาย ระบุเวลา และเครื่องมือในการดำเนินงานขั้นต้น

     

    30 30

    17. ทำฝายมีชีวิตเก็บกักน้ำ ครั้งที่1

    วันที่ 12 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดแนะแรงงาน และทำความเข้าใจให้ความรู้ในเรื่องการทำฝาย ประโยชน์ วิธีการสร้าง และการอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน แก่ตัวแทนครัวเรือน
    2. ร่วมกันเคลียพื้นที่ ในบริเวณพื้นที่ในการสร้างฝายมีชีวิต
    3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์เช่นไม่ไผ่กระสอบเชือกทราย
    4. รวบรวมกำลังคน แบ่งหน้าที่ในการทำงาน เป็นผลัด ๆ ละ 1-2 ชม ประมาณ 20-30 คน เพื่อการดำเนินงานการสร้างฝายอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบต่อการประกอบอาชีพของครัวเรือน
    5. ลงมือทำฝายมีชีวิต 1 การบรรจุกระสอบทราย การตัดไม้ไผ่การวางผัง และอื่นๆ ตามกระบวนการการทำฝาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่เกิดขึ้น ตัวแทนครัวเรือนให้ความร่วมมือ และมาพร้อมกันบริเวณที่กำหนดจัดการสร้างฝาย เกิดการแลกเปลี่ยน เกิดความตระหนัก ความคิดไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดผลลัพธ์ เกิดการดำเนินการตามแผนที่วางไว้มีการมือร่วมแรง ร่วมใจ และมีการสนับสนุน สมทบอุปกรณ์ต่างๆจากครัวเรือนเช่นกระสอบ ไม้ไผ่อุปกรณ์ตักทรายเป็นต้น เกิดการแบ่งงานกันทำ และแบ่งผลัดกันในการทำงานว่าใครรับผิดชอบช่วงไหน ของวัน ฝ่ายประสานงาน ฝ่ายวัสดุ ฝ่ายอาหาร การเงินเกิดการแลกปลี่ยนเรียนรู้และการนำปัญหามาสรุปแต่ละวัน สรุปความก้าวหน้าในการทำฝายครั้งที่ 1 ดังนี้

    • มีการกำหนดจุดในการสร้างฝายที่ชัดเจน จำนวน 1 จุด
    • ลงตอกเสาไม้ไผ่ ผูกเชือก จัดทำโครงสร้างฝาย ร้อยละ 70 ของโครงสร้าง
    • ต่อเติมหูช้าง ตอกเสาหมุด ขอบเขตแนวหูช้าง ร้อยละ 50 ของโครงสร้างหูช้าง
    • รวมมือกันบรรจุกระสอบทราย ร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะใช้ทั้งหมด

     

    100 100

    18. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการหมู่บ้านครั้งที่ 5

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนลงทะเบียน ร่วมประชุม
    • ผู้ใหญ่พูดคุยทักทาย ร่วมกันสรุปผลการจัดกิจกรรม ช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • ร่วมพูดคุยการหาวัสดุในการทำฝายเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านออกมารวมกัน ให้มากๆ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ใครมีเพื่อนต่างถิ่นก็ประชาสัมพันธ์ขอสนับสนุนพวกกระสอบ
    • มอบหมายภระกืจผู้เข้าร่วมประชุม กับทีม สจรส มอ เพื่อปิดงวดโครงการในวันที่13 -14 กุมภาพันธ์ 2559ที่ประชุมตกลงมอบเจ้าของโครงการกับเลขาเข้าประชุม ทบทวนการทำกิจกรรมที่ได้ทำแล้วและเตรียมทำกิจกรรมาครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน มีการสรุปผลการจัดกิจกรรม เกี่ยวกับข้อดี ข้อบกพร่องละปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา มีการจดบันทึกพร้อมทั้งมีการร่วมอภิปรายแนวทางการแก้ปัญหาจนได้ข้อตกลงร่วมกัน
    2. ช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐานเพื่อความพร้อมในการจัดเก็บและการรายงานผลกิจกรรม
    3. ร่วมพูดคุยการหาวัสดุในการทำฝายเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านออกมารวมกัน ให้มากๆ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ใครมีเพื่อนต่างถิ่นก็ประชาสัมพันธ์ขอสนับสนุนพวกกระสอบ
    4. มอบหมายภาระกิจผู้เข้าร่วมประชุม กับทีม สจรส มอ เพื่อปิดงวดโครงการในวันที่13 -14 กุมภาพันธ์ 2559ที่ประชุมตกลงมอบเจ้าของโครงการกับเลขาเข้าประชุม
    5. คณะกรรมรับทราบภาระกิจ สามารถทำกิจกรรมได้ต่อเนื่อง

     

    30 30

    19. ประชุมเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมในงวดที่1
    • สรุปผลการจัดกิจกรรมงวดที่ 1
    • บันทึกรายงาน
    • พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 2 เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการจัดกิจกรรมงวดที่1 พร้อมจัดทำรายงานปืดงวด และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆโดยสจรส มอและพี่เลี้ยง
    • ผลลัพธ์ การจัดกิจกรรมในงวดที่1 ครบทุกกิจกรรมตามแผน แต่ในบางกิจกรรมลงภาพถ่ายไม่เรียบร้อยให้ดำเนินการดูภาพที่คณะกรรมการได้ถ่ายไว้มาลงให้เรียบร้อย ใบลงทะเบียนไม่สมบรูณ์การบันทึกรายงาน ให้ปรับแก้การเขียนรายงานให้มองเห็นภาพที่จัดกิจกรรม

     

    2 2

    20. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่6

    วันที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30คน มาประชุมพร้อมกับผู้รับผิดชอบโครงการที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน นางศิริรัตน์ ฯ โดยการพูดคุยถึงเรื่องการดำเนินงานกิจกรรมต่อไปในโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นการหาความร่วมมือกันพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต คณะกรรมการและกลุ่มเป้าหมาย /ผู้นำ จำนวน30 คนมาประชุมพร้อมกัน ได้เสนอแนวคิด และแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านโดยเฉพาะการรักษาสิ่งแวดล้อม ของคลองบ้านทุ่งโชน ตามแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน มีการดำหนดว่าจะทำให้เกิดกลุ่มสมาชิกที่ร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อมสัก 1 กลุ่ม
    ผลลัพธ์ เกิดแนวทางในการปฏิบัติในกิจกรรมต่อไปของโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน สมาชิกเกิดความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้น เกิดความร่วมมือ และเกิดแนวทางการตั้ง กลุ่มอนุรักษ์นำบ้านทุ่งโชน 1 กลุ่ม เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงสร้างที่ชัดเจน ต่อจากกลุ่มรักษาป่าที่มีอยู่เดิมของชุมชนบ้านทุ่งโชนตั้งมานาน ขาดการขับเคลื่อนกิจกรรม โดยมีการแต่งตั้งประธาน รองประธานและกรรมการกลุ่ม และจะประกาศรับสมัครสมาชิกเพื่อเข้าร่วมกลุ่มในโอกาสต่อไป

     

    30 30

    21. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน
    • อาจารย์ อภิวัฒน์ไชยเดช กล่าวทักทายต้อนรับพูดคุยวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้เพื่อพื้นที่ทราบว่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมไปแล้วประมาณ 6 เดือนในพิ้นที่มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น คน สภาพแวดล้อม ในชุมชน ระบบการทำงานกระบวนการต่างๆ
    • อาจารย์ กำไล สมรักษ์ พูดคุยชี้แจงเพิ่มเติ่ม และให้ทุกพื้นที่ช่วยกันสรุป ทุกคนแล้วนำมารวมเป็นของพื้นที่ตนเอง ส่งให้พี่เสี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงช่วยกันสรุปผลการแปลงเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ สรุปภาพรมของพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
    • พี่เลี้ยงช่วยกันแนะนำการเขียนรายงานในเวปคนใต้สร้างสุข และวิธีการถ่ายภาพ ลงภาพ
    • ตรวจความสมบูรณ์ในการบันทึกข้อมูลโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตที่เกิดชึ้น - คณะกรรมการโครงการจำนวน 2 คน ร่วมแลกปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน ผลการถอดบทเรียนของพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลงคือ คน มีการทำงานเป็นทีม เข้าใจปัญหาของตนเอง ร่วมทำแผน ร่วมเรียนรู้ ร่วมทำกิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การใช้สารเคมีลดลง หันมาใช้สารชีวภาพแทนปรับเปลี่ยนการใช้จ่าย หันมาทำอาชีพเสริม เช่น เลี้ยงปลา ปลูกผักในส่วนสภาพแวดล้อม เกิดพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม ในส่วนของกระบวน มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือนมีกติกาของชุมชนคณะกรรมการ มีความเข้าใจในการลงรายงาน ได้มีความรู้ในการเขียนบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม - ผลลัพธ์ คณะกรรมการมีความเข้าในกิจกรรมการถอดบทเรียน สามารถถอดบทเรียนได้

     

    2 2

    22. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ ครั้งที่7

    วันที่ 2 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30คน มาประชุมพร้อมกับผู้รับผิดชอบโครงการที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน นางศิริรัตน์ ฯ โดยการพูดคุยถึงเรื่องการดำเนินงานกิจกรรมต่อไปในโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นการหาความร่วมมือกันพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตคณะกรรมการจำนวน 30 คนร่วมประชุมพูดดุยการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
    • ผลลัพธ์ คณะกรรมการรับทราบการดำเนินกิจกรรม และรับทราบภาะกิจในครั้งต่อไป

     

    30 30

    23. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ ครั่้งที่ 8

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมมการและผู้เกี่ยวข้องมาประชุมพร้อมกันได้ดำเนินการตามวาระการประชุม ความก้าวหน้าของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 30  คน ได้ร่วมประชุมตามระเบียบวาระการประชุม 

     

    30 30

    24. กติกาชุมชนในการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมครั้งที่2

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดตัวแทนครัวเรือน ผู้นำ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และคณะกรรมการดำเนินงานโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน มาเสนอแนวทางในการรักษาสิ่่งแวดล้อมและการรักษาคลองบ้านหน้าโตนเพื่อจัดทำกติกาขึ้นมาใช้ในชุมชน ตามแนวทางการสร้างกติกาชุมชน โดยการให้ที่ประชุม เสนอกติกาข้อบังคับขึ้นมาเพื่อเป็นการรักษาน้ำ รักษาสัตว์น้้ำ รักษาพืชพันธุ์ที่เป็นอาหารของชุมชน บริเวณคลองหน้าโตน เมื่อสมาชิกเสนอแล้วให้ที่ประชุมมีการรับรอง โดยผ่านการอภิปรายอย่างรอบคอบ และมีการยกมือสนับสนุน กติกาดังกล่าวโดยใช้เสียงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของที่ประชุมในการที่จะรับกติกาดังกล่าวมาใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    •ผลผลิต คณะตัวแทนครัวเรือน แกนนำ คณะกรรมการสภาผู้นำชุนบ้านหน้าโตน จำนวน 100  คนเข้าร่วมประชุมเพื่อร่างกติการักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชน •ผลลัพธ์เกิดร่างกติกาชุมชนรักสายน้ำบ้านทุ่งโชน คือ 1.ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด 2.ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร 3.ห้ามช้อตปลาในลำคลอง 4.ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง 5.ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้ 6.ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน 7.การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม

     

    100 105

    25. ทำฝายมีชีวิตเก็บกักน้ำ ครั้งที่2

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดวัยแรงงาน ตัวแทนครัวเรือน นักเรียน มาดำเนินการจัดทำฝายกั้นน้ำ ณ บ้านปากคลองรวบ เมื่อกลุ่มเป้าหมายมาถึงก็ได้ลงมือปฏิบัติการทำฝาย โดยการแบ่งงานกันทำ เช่น การตักทรายเข้ากระสอบ การตัดไม้ไผ่ การการจอกไม้ไผ่ การออกแบต่าง ๆ ได้ผลัดเปลี่ยนวุนเวียนกันทำงาน จนกระทั่งพักรับประทานอาหารกลางวัน และอาหารว่าง ทำให้กิจกรรมเกิดควาก้าวหน้าไปมาก 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชน แกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโชนจำนวน 118คน ได้มาร่วมกันดำเนินการจัดทำฝายมีชีวิต โดยการผลัดเปบี่ยนหมุนเวียน กันทำงาน เกิดการแบ่งงานกันทำ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการทำฝาย เกิดการถ่ายทอดระหว่างแกนนำสู่แกนนำ ระหว่างแกนนำสู่ชาวบ้านและระหว่างชาวบ้านด้วยกัน เกิดความก้าวหน้าเรื่องของการทำฝาย จนใกล้แล้วเสร็จพร้อมที่จะใช้งาน

     

    100 118

    26. ทำฝายมีชีวิตเก็บกักน้ำครั้งที่3

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดตัวแทนครัวเรือน แกนนำในการทำฝาย นักเรียน เยาวชน จำนวน 100คน โดยการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำงาน สร้างฝาย โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น แกนนำและกลุ่มเป้าหมาย ได้มาพร้อมกันและดำเนินการทำฝาย โดยการแบ่งหน้าที่กันทำงาน เช่น การตักทรายใส่กระสอบ การตัดไม้ไผ่ การตอกไม้ไผ่ และส่วนหนึ่งมีการจัดเตรียมอาหาร และอาหารว่าง แรงงานมีการผลัดเปลี่ยนการทำงานกันเป็นชุด ๆ เป้าหมายเดียวกันเพื่อการทำฝายเก็บกักน้ำ และเป็นที่อยู่ ที่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำครัวเรือน เยาวชน นักเรียน จำนวน 100คน หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาทำฝาย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การทำฝายมีชีวิต การรักษาสัตว์น้ำ ประเภทของสัตว์น้ำในคลองบ้านหน้าโตน เกิดความสัมพันะ์ระหว่าง แกนนำกับแกนนำระหว่างแกนนำกับชาวบ้าน และระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับส่วนราชการ เกิดการทำความเข้าใจระหว่างราชการและแกนนำ ตลอดจนประชาชน เกิดแนวทางระยะยาวในการรักษาสายน้ำคลองบ้านหน้าโตน โดยวางเป้าหมายระยะยาวร่วมกันคืือ การเพิ่มขึ้นของสัตว์น้ำ การเพิ่มขึ้นของพืชพันธุ์ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน

     

    100 100

    27. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ ครั้งที่ 9

    วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดคณะกรรมการสภาผู้นำคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน30คนมาปรึกษาหารือเกี่ยวกับการทำงานการแก้ปัญหาด้านต่างๆโดยเฉพาะเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมสายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการสภาผู้นำและคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการพร้อมทั้งคณะกรรมการหมู่บ้านมีความเข้าใจถึงวิธีการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

     

    30 30

    28. ปลูกป่าบริเวณ โรงเรียน วัด และบริเวณริมคลองบ้านทุ่งโชน 1 ครั้ง

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ติดต่อขอสนับสนุนพันธ์ไม้จากศูนย์เพาะพันธ์ไม้ป่าพรุควนเคร็ง จำนวน 1000ต้น เพื่อวางแผนที่ดำเนินการปลูกบริเวณพื้นที่โครงการ
    2. นัดตัวแทนครัวเรือนมารวมพลังกันเพื่อปลูกต้นไม้บริเวณริมคลองบ้านหน้าโตนวัดทุ่งโชนโรงเรียนบ้านทุ่งโช
    3. มีการแบ่งหน้าที่กันเป็น 3 กลุ่มโดยมีสมาชิกกลุ่มละ 30-40คน นำต้นไม้ไปปลูก 3ละแวก ของชุมชน คือ บริเวณคลองบ้านหน้าโตน บริเวณโรงเรียนและที่สาธารณะ และในวัดบ้านทุ่งโชน โดยแต่ละกลุ่มทำหน้าที่ในการตัดหย้า ขุดหลุม และปลูก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือน แกนนำ และเยาวชน จำนวน 113คน แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ชุด ทำการปลูกต้นไม้ จำนวน 1000ต้น บริเวณ ริมคลองบ้านหน้าโตน และบริเวณทำฝาย ในโรงเรียนบ้านทุ่งโชน และวัดทุ่งโชน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดความตระหนัก รักและหวงต้นไม้ ที่ตนเองปลูก เกิดการขยายผลในการดำเนินงานสู่พื้นที่ต่าง ๆ ครอบคลุมทั่วชุมชน

     

    100 113

    29. เปิดฝายมีชีวิต แถลงการณ์ธรรมนูญ/กติกาชุมชน ในการอนุรักษ์น้ำบ้านทุ่งโชน

    วันที่ 18 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำ ครัวเรือน และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากส่วนราชการ และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระทอง เยาวชน นัดแนะมาพร้อมกัน ณ สถานที่สร้างฝาย เวลา  11.00 น ประธานในพิธี ท่านศรีราชา  วงศืสาระยางค์กูล ตัวแทนผู้ตรวการได้เดินทางมาถึง ตัวแทนกล่าวรายงาน และดำเนินการเปิดฝาย มีชีวิตในพื้นที่ที่สร้างฝายหมู่ที่ 6 บ่้านหน้าโตน จนแล้วเสร็จมีการเยี่ยมชมสถานที่และพบป่ะแกนนำชุมชน แกนนำเยาวชน ส่วนราชการที่มาร่วมพิธี ร่วมการปล่อยปลาและสัตว์อื่นในคลอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือน แกนนำ  แกนนำเยาวชน  ส่วนราชการ และเครือข่ายฝายมีชีวิต จำนวน 100  คน  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้เปิดดำเนินการฝายมีชีวิต หมู่ที่ 6 บ้านหน้าโตน และกล่าวพบปะเยี่ยมเยียน แกนนำครัวเรือน แกนนำเยาวชนที่มาต้อนรับ  เยาวชน แกนนำครัวเรือนที่ มาร่วมพิธี เกิดความภูมิใจ เกิดแรงบันดาลใจในการดูแลรักษาน้ำและสิ่งแวดล้อม ชุมชนแกนนำเกิดแถลงการร่วม ทั้งในกติกาชุมชน และภาคีอื่น ๆ ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมบริเวณลำคลองบ้านหน้าโตน และสัญญยาว่าจะรักษาปลาในคลอง พืชผัก สัตว์น้ำทุกชนิด และจะมีการทบทวนกติกาชุมชนทุกปี 

     

    100 100

    30. จัดเวทีประชุมร่วมกับส่วนราชการที่เกี่่ยวข้อง

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนภาคครัวเรือน ตัวแทนจากส่วนราชการ ที่ว่าการอำเภอชะอวด ตัวแทนจากกองทัพภาคที่ 4 ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระทอง จำนวน 102คน และคณะกรรมการสภาชุมชน ได้มาประชุม เพื่อทางผู้รับผิดชอบโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน ชี้แจงผลการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมอื่น ๆ ของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      ตัวแทนภาคครัวเรือน ตัวแทนจากส่วนราชการ ที่ว่าการอำเภอชะอวด ตัวแทนจากกองทัพภาคที่ 4 ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระทอง จำนวน 102  คน ได้มาประชุมพร้อมกัน เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานโครงการ ผลที่เกิดขึ้นคือ เกิดแกนนำในรูปแบบสภาชุมชนบ้านทุ่งโชน จำนวน 1  ชุด เกิดกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านหน้าโตน 1 ชุดมีสมาชิก 25  คน ปรกอบด้วยเยาวชนทั้งในและนอกโรงแรียน เกิดความสำนึกในกิจกรรมการปลูกป่า และเกิดความรัก ความสามัคคีจากกิจกรรมของการทำฝายมีชีวิต เกิดกติกาชุมชน จำนวน 6 ข้อ ที่เป็นกติกากลางในการที่จะนำมาใช้ในชุมชน  ส่วนราชการเกิดความเข้าใจและรับทราบแนวทางของการดำเนินงานโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน ได้มีการเสนอแนะและหาทางสนับสนุนในระยาวต่อไป

     

    100 102

    31. สรุปประชุมถอดบทเรียน

    วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดแกนนำครัวเรือน  สมาชิกสภาผู้นำชุมชน และตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำ จำนวน 100  คน มาประชุมเพื่อทำการถอดบทเรียน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำครัวเรือน  สมาชิกสภาผู้นำชุมชน และตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำ จำนวน 100  คน มาประชุมเพื่อทำการถอดบทเรียน  ผลที่เกิดขึ้น คือ การรักษาสายน้ำ เพื่อเป็นสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชนให้เป็นการมั่นคงถาวรในการพัฒนาคือ
    1. การสร้างสภาผู้นำ หรือ คณะทำงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดทิศทางในการแก้ปัญหาของชุมชน ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลน้ำแล้ว ยังสามารถไปแก้ปัญหาในเรื่องอื่นด้วย โดยการทำงานรูปแบบสภา คือ มีการร่วมคิด ร่วมทำ และนำผลที่เกิดจากมติในที่ประชุมองสภาสู่ที่ประชุมใหญ่ 2. การสร้างตัวแทน หรือ องค์กรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนในการรักษาสายน้ำ ซึ่งในโครงการได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำ ม่สมาชิก 25  คน และมีการส่งเสริมให้กลุ่มดังกล่าว ขับเคลื่อนกิจกรรมอย่าต่อเนื่อง 3. การปลูกฝังความคิด  การรักและหวงแหนต้นไม้ สัตว์น้ำ ในกิจกรรมของโครงการ คือ การรณรงค์การปลูกป่า  และที่สำคัญคือ  การสร้างกติกาชุมชน ทีเปรียบเหมือนกฏหมาย ที่จะทำหน้าที่บังคับใช้ในชุมชน เช่นห้ามดักอวน ห้ามใช้ยาเบื่อ เป็นต้น

     

    100 100

    32. นัดคณะกรรมการฯและผู้เกีี่ยวข้องสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 1 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดแนะคณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มาประชุมพร้อมกัน
    2. คณะกรรมการโครงการได้นำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการพบว่าการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปได้ทุกกิจกรรม เกิดการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย
    3. พี่เลี้ยงได้สอบถามถึงปัญหาแนวทางการดำเนินงานอื่น พบว่ายังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการลงบันทึก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานพร้อมส่งตรวจโดยสจรส.มอ.และเตรียมปิดโครงการ-

     

    30 30

    33. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่ 10

    วันที่ 2 กันยายน 2559 เวลา 09.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดคณะกรรมการสภาผู้นำคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน30คนมาปรึกษาหารือเกี่ยวกับการทำงานการแก้ปัญหาด้านต่างๆโดยเฉพาะเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมสายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการมาพร้อมเพรียงกันและได้ทบทวนถึงการทำกิจกรรมที่ผ่านมาและในการทำกิจกรรมอื่นๆต่อไป

     

    30 30

    34. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ.และ ตรวจรายงาน คืนเงินเปิดบัญชี 500

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมประชุมร่วมกับสจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม จัดทำรายงานเตรียมปิดโครงการ
    • อาจารย์ อภิวัฒน์กล่าวต้อนรับพ฿ดคุยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
      -อาจารย์ กำไล ชี้แจง ให้แต่ละพื้นที่ดูสถานการณ์ ของการจัดกิจกรรม ของแต่ละพื้นที่ ว่าพื้นที่ของต้นเองใน ระดับใด ซึ่ง อาจารย์ กำไล ได้ แยก ประเภท ของโครงการเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ A ทำกิจกรรมครบ ระดับ ฺ Bมีกิจกรรมบางกิจกรรมที่ยังต้องทำในเดือนกันยายน 2559ระดับ Cยังกิจกรรมอีกมากที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ในส่วนของ พื้นที่บ้านทุ่งโซนอยู่ใน ระดับ A
    • ช่วยกันตรวจสอบเอกสารและให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้งก่อนให้ทีม สจรส มอตรวจ สอบความถูกต้อง
    • นำผลการจากตรวจสอบของทีม สจรส มอ แนะนำให้ปรับแก้ และใส่ข้อมูลเพิ่มในบางกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรม จำนวน 2 คนประชุมร่วมกับสจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม จัดทำรายงานเตรียมปิดโครงการอาจารย์ อภิวัฒน์กล่าวต้อนรับพ฿ดคุยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมอาจารย์ กำไล ชี้แจง ให้แต่ละพื้นที่ดูสถานการณ์ ของการจัดกิจกรรม ของแต่ละพื้นที่ ว่าพื้นที่ของต้นเองใน ระดับใด ซึ่ง อาจารย์ กำไล ได้ แยก ประเภท ของโครงการเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ A ทำกิจกรรมครบ ระดับ ฺ Bมีกิจกรรมบางกิจกรรมที่ยังต้องทำในเดือนกันยายน 2559ระดับ Cยังกิจกรรมอีกมากที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ในส่วนของ พื้นที่บ้านทุ่งโซนอยู่ใน ระดับ Aช่วยกันตรวจสอบเอกสารและให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้งก่อนให้ทีม สจรส มอตรวจ สอบความถูกต้องนำผลการจากตรวจสอบของทีม สจรส มอ แนะนำให้ปรับแก้ และใส่ข้อมูลเพิ่มในบางกิจกรรม
    • ผลลัพธ์ พื้นที่โครงการสามารถจัดทำกิจกรรมได้ตามแผน สามารถปิดโครงการได้ทันตามกำหนดระยะ ที่ สสส กำหนดไว้

     

    2 2

    35. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการโครงการ ร่วมกิจกรรมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559

    • พิธีเปิด การแสดงโขนโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ร่วมกันร้องเพลงชาติไทย
    • กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
    • กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
    • ปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ
    • รายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ -เสวนา มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต โดยผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟิจะปะกียานายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญ นายทวีวัตร เครือสาย นายแพทย์ยอร์น จิระนคร ดำเนินรายการเสวนาโดย นายแพทย์ บัญชา พงษ์พานิช
    • ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม โดย นายอานนท์ มีศรี และนายฮารีส มาศชาย

    วันที่ 4 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุขแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม
    • ประชุมห้องย่อย เข้าห้องประเด็นชุมชนน่าอยู่ เสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงโดย คุณมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหย่บ้านทุ่งยาว คูณวิศิษฐ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วงคูณจำเรียง นิธิกรกุลนักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุงดำเนินการเสวนาโดย คูทวีชัย อ่อนนวน การแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวรนำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยคุณ สมยศบรรดา และทีมงานโครงการ นำเสนอ กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย คุณ วณิชญา ฉันสำราญ และทีมงานโครงการ นำเสนอกรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรนำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยคุณสมพร แทนสกุล และทีมงาน นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยนายอนุชาเฉลาชัย และทีมงาน ผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาบโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    • ลานปัญญาเสวนา
    • ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง

    วันที่ 5 ตุลาคม 2559

    • ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรม
    • กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่าย
    • เสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน โดย นายแพทย์ภักดิ์ชัยกาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร. สุปรีดา อดุยยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล รองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ไทย พี บี เอส ดำเนินการอภิปราย คุณณาตยา แวววีรคุปต์
    • พิธีปิด โดยผู้ร่วมเสวนาทุกท่านและผู้เข้าร่วมทุกคน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต เจ้าของโครงการคณะกรรมการจำนวน 2 คน ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมรับฟังปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์เวชชาชีวะ รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ฟังการเสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ฟังเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพรกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาบโดย คุณสุริยายีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปลีก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลนายแพทย์ไพศาลเกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
      ลานปัญญาเสวนา ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรมกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่ายเสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน
    • ผลลัพธ์
    1. ได้รับความรู้ในการทำงานเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ทั้งด้านแนวคิด และวิธีการ
    2. ได้เรียนรู้นวัตกรรมต่าง ๆ ของโครงการที่มานำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเองได้
    3. ได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เช่น สสส./ สช./ สปสช. เป็นต้น
    4. เกิดเครือข่ายในการทำงานเพื่อส่วนรวม สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และกำลังใจให้แก่กันเมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา
    5. มีความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่ต่อไป
    6. เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมพี่เลี้ยงของโครงการ และทีมงานในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้

     

    2 2

    36. การจัดทำรายงาน

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม
    • อ กำไล พูดคุยและสรุปผลการจัดกิจกรรม และผลที่เกิดขึ้นในชุมชนให้แต่ละโครงการร่วมกันสรุป
    • ร่วมกันสรุปผลโครงการ
    • พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • ทีม สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารรายงานและรายงานในเวป
    • ส่งเอกสารรายงาน ให้ทีม สจรส มอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คณะกรรมการ จำนวน 2 ร่วมร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามอ กำไล พูดคุยและสรุปผลการจัดกิจกรรม และผลที่เกิดขึ้นในชุมชนให้แต่ละโครงการร่วมกันสรุป คณะกรรมต่ละพื้นที่ร่วมกันสรุปผลโครงการ พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบเอกสารหลักฐานทีม สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารรายงานและรายงานในเวป ส่งเอกสารรายงาน ให้ทีม สจรส มอ
    • ผลลัพธ์คณะกรรมการได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีผลสรุปการจัดกิจกรรมตลอดโครงการ มีรานงานจัดส่ง สสส ตามกำหนด

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดสภาผู้นำชุมชนหมู่ที่ 6 บ้านทุ่งโชน จำนวน1คณะ 2. เกิดเวทีประชาเข้าใจ/การประชุม สภาฯ อย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง 3. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนอย่างน้อยร้อยละ 80 เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง

    สภาผู้นำชุมชนบ้านทุ่งโชนหมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระทองอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน1คณะมีสมาชิก 25 คน ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน อีกทั้งเกิดเวทีประชาเข้าใจ/การประชุม สภาผู้นำทุกเดือนและคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง

    2 เพื่ออนุรักษ์สายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชนและสนับสนุนการดำเนินงานของสภาชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ70 ของตัวแทนครัวทั้งหมดในหมู่บ้านมีความเข้าใจและเกิดจิตสำนีกในการดูแลรักษาน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน 2. เกิดกติกาชุมชนในการอนุรักษ์ สายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน 1 ฉบับ 3. ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม การอนุรักษ์พันธ์พืชพันธ์สัตว์ในลำคลองบ้านทุ่งโชน อย่างน้อย ร้อยละ 70 ของครัวเรือน 4. เกิดฝายมีชีวิต เป็นที่เก็บกักน้ำ 1 ตัว ในสายน้ำคลองบ้านทุ่งโชน โดยการร่วมแรงร่วมใจของชุมชน

    ตัวแทนครัวทั้งหมดในหมู่บ้านมีความเข้าใจและเกิดจิตสำนีกในการดูแลรักษาน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชนสำหรับกติกาชุมชนยังอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน เกิดกิจกรรมและประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม การอนุรักษ์พันธ์พืชพันธ์สัตว์ในลำคลองบ้านทุ่งโชนจำนวน 1ครั้ง และกำลังดำเนินการสร้างฝายมีชีวิต เป็นที่เก็บกักน้ำ 1 ตัว ในสายน้ำคลองบ้านทุ่งโชน โดยการร่วมแรงร่วมใจของชุมชน

    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้งที่ผ่านมา มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชน (2) เพื่ออนุรักษ์สายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชนและสนับสนุนการดำเนินงานของสภาชุมชน (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน

    รหัสโครงการ 58-03843 รหัสสัญญา 58-00-2208 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดองค์ความรู้ใหม่ ในการสร้างฝายเก็บกักน้ำ ว่าพืชบางชนิดเป็นพืชที่ให้น้ำ และยึดเกาะป้องกันการพังทะลายของดิน ที่ผ่านมาชาวบ้านเหนว่าเป็นพืชที่ไร้ประโยชน์โค่นทำลายเสียเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นผลจากการดำเนินงานเกิดองค์ความรู้ใหม่ว่า ต่อไปจะไม่ตัดและโค่นต้นไม้เหล่านั้นอีก

    กิจกรรมการสืบชะตาสายน้ำและสิ่งแวดล้อม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    สื่อชุมชนที่เนื้อหาเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตโดยเยาวชนในชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดสภาผู้นำ ทำหน้าที่ในการกำหนดแก้ปัญหาของชุมชนบ้านทุ่งโชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มโครงกสร้างสภาผู้นำชุมชนทำงานคู่ไปกับคณะกรรมการหมู่บ้านโดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    จากการดำเนินงาน และการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ทำให้ตัวแทนส่วนหนึ่งประกาศเลิกบุหรี่กลางที่ประชุมทำให้คนอื่นเอาเป็นตัวอย่างไปด้วย

    ป้ายเขตปลอดบุหรี่ ในชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    สร้างกระบวนการประชาเข้าใจเกี่ยวกับ การตัดไม้ทำลายป่า ในอดีตกลับมาเป็นการอนุรักษ์พืช ดิน และน้ำจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้หันมาอนุรักษ์ป่าและสายน่ำโดยการปลูกป่าทดแทนโดยเฉพาะบริเวณใกล้ธารน้ำจะต้องปลูกไม้ที่ดูดฃับน้ำได้ดีเช่นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่ๆเช่นต้นไทรให้มากขึ้น

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดคณะตัวแทนครัวเรือนจำนวน 40 คนเข้าร่วมประชุมเพื่อร่างกติการักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชน ผลลัพธ์เกิดร่างกติกาชุมชนรักสายน้ำบ้านทุ่งโชน คือ ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร ห้ามช้อตปลาในลำคลอง ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้ ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม

    กติกา คือ 1.ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด 2.ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร 3.ห้ามช้อตปลาในลำคลอง 4.ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง 5.ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้ 6.ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน 7.การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม

     

    ถ่ายทอดกติกาชุมชนสู่หมู่บ้านอื่นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติทั้งตำบล รูปแบบสภาตำบลเข้ามามีส่วนนร่วมในการแก้ปัญหา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดการประสานงานกับส่วนราชการ เช่นกองพันทหารช่าง กองทัพภาคที่ 4 ช่วยในการทำฝาย และร่วมสำรวจสายน้ำ รพ.สต บ้านเขาพระทองร่วในเรื่องของการตรวจสุขภาพคณะกรรมการและตัวแทนครัวเรือน ปลัดอำเภอฝ่ายท้องถิ่นที่ลงมาช่วยในเรื่องของการประสานงานและขับเคลื่อนกิจกรรมรวมทั้งเป็นที่ปรึกษาการดำเนินงาน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    เกิดกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำ ที่ทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องและเกิดผลงนในการดำเนินงาน นำมาเสนอในที่ประชุมของคณะกรรมการทุกเดือน แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการแก้ปัญหาของชุมชนในเรื่องการรักษาสายน้ำ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    เกิดกระบวนการจัดการความรู้เรื่องสร้างกระบวนการประชาเข้าใจความตระหนักการมีจิตวิญญาณความตระหนักของคนในชุมชนในการรักและหวงแหนธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องของแหล่งน้ำ ลำคลอง เพราะมีผลโดยตรงต่อการทำการเกษตรในชุมชนมีผลต่อชีวิต มีผลต่อครอบครัวในชุมชน มีผลต่อความสุขของคนในชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ชุมชนเกิดความรักและเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล เช่น การรักษาต้นไม้ ที่เป็นไม้ต้นน้ำ ให้ยังคงมีความชุ่มชื่น

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03843

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง สมเด็จ เกื้อกูล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด