directions_run

บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง ”

บ้านไร่ทอน หมู่ที่3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย ประเสริฐ ดำท่าคลอง

ชื่อโครงการ บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง

ที่อยู่ บ้านไร่ทอน หมู่ที่3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03914 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2190

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านไร่ทอน หมู่ที่3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านไร่ทอน หมู่ที่3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03914 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,910.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 300 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. จัดตั้งกลไกสภาผู้นำไร่ทอนเพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะ ดำเนินการขยายเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ทำฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สู่การทำแผนชุมชน
  3. เสริมสร้างนิสัยขยัน ประหยัด และออม ในอันที่จะก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน
  4. รวบรวมคลังปัญญาในหมู่บ้าน อนุรักษ์ และส่งเสริมให้สร้างรายได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงาน

    วันที่ 19 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อการเตรียมความพร้อมในการคัดเลือกทีมงาน
    2. คัดเลือกทีมงาน จากทีมคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกแบบไม่เป็นทางการที่มีความหลากหลายของกลุ่ม มีทีมโครงการ กลุ่มเยาวชนอสม. และผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คน และประสานตัวบุคคลด้วยวาจา เข้าร่วมเป็นทีมก่อนเบื้องต้น
    3. ทำหนังสือเชิญ ผู้ที่ตอบรับ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติ และทำคำสั่งแต่งตั้งโดยท่านผู้ใหญ่บ้านและการมอบหมายความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
    4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนและความรับผิดชอบในแต่ละด้านเพื่อการขับเคลื่อนงานในชุมชนพร้อมทั้งทบทวนทรัพยากรเพื่อการระดมทุนและการเชือมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
    5. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ
    6. มีการประชุมปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน ทุก 1 เดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการwได้พูดคุยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อการเตรียมความพร้อมในการคัดเลือกทีมงาน
    2. ได้ทีมผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คน เป็นสภาผู้นำชุมชนไร่ทอน
    3. ได้ร่วมกันวางแผนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนและความรับผิดชอบในแต่ละด้านเพื่อการขับเคลื่อนงานในชุมชนพร้อมทั้งทบทวนทรัพยากรเพื่อการระดมทุนและการเชือมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
    4. วางแผนการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ
    5. มีการนัดหมายประชุมปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน ทุก 1 เดือน

     

    30 30

    2. ทำป้ายต่างๆ ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 22 กันยายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ดำเนินการจัดทำป้ายและเตรียมข้อมูลเพื่อทำสื่อ
    18/9/2558 สั่งทำป้ายตามรายละเอียดที่ สสส. กำหนดมาให้
    22/9/2558 รับป้ายจากร้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่ได้ป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่จำนวน 5 แผ่น และเตรียมจัดทำรายงาน

     

    300 300

    3. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์ พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ว่าด้วยเรื่องการดำเนินโครงการ

    รับฟังการบรรยายอธิบายเรื่องการใช้เวปและการคีย์ข้อมูลโดย อ.ภานุมาศ

    รับฟังและสอบถามเรื่องการดำเนินงานอย่างละเอียด โดย นาง นฤมล ฮะอุรา

    รับฟังและสอบถามเรื่องการทำบัญชี โดย คุณธิดา

    คีย์ข้อมูลแผนดำเนินงานและกิจกรรมย่อยลงเวบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558

    รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์ พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ว่าด้วยเรื่องการดำเนินโครงการ และยกตัวอย่างโครงการที่ทำสำเร็จและไม่สำเร็จ

    รับฟังการบรรยายอธิบายเรื่องการใช้เวบและการคีย์ข้อมูลโดย อ.ภานุมาศ พร้อมยกตัวอย่างอย่างละเอียดและง่าย

    รับฟังและสอบถามเรื่องการดำเนินงานอย่างละเอียด โดย นาง นฤมล ฮะอุรา

    รับฟังและสอบถามเรื่องการทำบัญชี โดย คุณธิดา

    คีย์ข้อมูลแผนดำเนินงานและกิจกรรมย่อยลงเวบ

    รับฟังการบรรยายการทำสื่อโดย คุณถนอม

    วันที่ 6 ตุลาคม 2558

    คีย์ข้อมูลกิจกรรมเพิ่มเติม

    ประชุมรายงานผลกิจกรรมที่ได้ทำมาแล้วให้แก่พี่เลี้ยง

     

    3 3

    4. ประชาคมหมู่บ้านเพื่อสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์โครงการ

    วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน
    2. จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้อง ทีมทำงาน ประสาน กลุ่ม อสม. ในการร่วมแจกหนังสือเชิญในเขตที่รับผิดชอบของตนเอง ทีมงานเตรียมความพร้อม ด้านข้อมูล ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ อบต รพ,สต ปศุสัตว์ เกษตรตำบล พัฒนาชุมชนกศน. จัดเปิดตัวโครงการ โดยยกตัวอย่าง หมู่บ้านต้นแบบวิถีพอเพียงที่ประสบความสำเร็วสามารถเป็นหมู่บ้านจัดการตนเองได้
    3. พี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ภารกิจการดำเนินงานของ สสส
    4. ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน มีการพูดคุย แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูล แผนงานโครงการ รายละเอียดงบประมาณ การประเมินผล
    5. วิทยากรจากพัฒนาชุมชน อบต.ท่าเรือ คุณกนกวรรณ กอลาบันหลง มาพูดคุยเรื่อง การบริหารจัดการโครงการสสส.และนำไปสู่การเป็นหมู่บ้านจัดการตนเองนายสืบศักดิ์ มะเด ผู้อำนวยการกองการศึกษา อบต.ท่าเรือ มาพูดคุยเรื่องปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินโครงการที่รับทุนจากสสส. ท่านมีประสบการณ์รับทุนจากสำนัก3 นายนิติภูมิ หลงเก ปราชญ์ชาวบ้านและผู้รับผิดชอบโครงการสสส.พื้นที่บ้านดาหลำปี 2556 มาพูดคุยเรื่องการทำกลุ่มให้เข้มแข็ง การจัดการบริหารกลุ่ม ต่อยอดไปยังการขยายเครือข่ายในหมู่บ้าน ให้กลุ่มใหญ่ขึ้นจะมีอำนาจต่อรองมากขึ้น
    6. เปิดเวทีข้อซักถาม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มีชาวบ้านสอบถามเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในหมู่บ้าน เรื่องความมั่นคงของสสส. และสสส.สนับสนุนทุกหมู่บ้านในตำบลท่าเรือหรือไม่ทีมวิทยากรได้ช่วยตอบคำถามของชาวบ้านจนเป็นที่เข้าใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การเตรียมการ: มีการประชุมทีมคณะกรรมการก่อนเพื่อมอบหมายการดำเนินงาน และมีการจัดทำหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีประชาคมเพื่อเปิดตัวโครงการ (โดยมีเลขานุการโครงการผู้จัดทำหนังสือและลงนามโดยผู้รับผิดดชอบโครงการ) ทีมงานมีการส่งหนังสือถึงครัวเรือนและมอบหมายการชี้แจง ดังนี้โดยเปิดเวที และพูดคุยโครงการ การจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม (หัวหน้าโครงการ)ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในแต่ละกิจกรรม (หัวหน้าโครงการและเลขา) และสรุปผล แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ การอุดหนุนจาก สสส การติดตามและประเมินผล (พี่เลี่ยง/วิทยากร)
    2. การดำเนินการ : จัดเวทีประชาคม ณ อาคารเนกประสงค์เริ่มเวลา 09.00 น.ลงทะเบียน โดย คณะกรรมการสภาชุมชน(กลุ่มเป้ามายในชุมชนเริ่มทยอยเข้าร่วมเวทีประชาคม) มีความหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กเยาวชน ผู้นำ แกนนำ ประชาชน และผู้สูงอายุพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ เริ่มพูดคุย เวลา 09.30 น. เริ่มเวทีประชาคม โดยนายประเสริฐ ดำท่าคลอง หัวหน้าโครงการ พูดกล่าวทักทาย และเปิดตัวโครงการ วัตถุประสงค์ การได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สสสโดยภาพรวม บรรยากาศ สมาชิกชุมชนมีความตั้งใจฟัง เงียบ ยังมีคนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้นทางผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดต่อ ในรายละเอียด แนะนำคณะกรรมการทีมทำงานแนะนำพี่เลี่ยง/วิทยากร ในพื้นที่เลขานุการ มีการชี้แจงรายละเอียด ปฏิทินการดำเนินงานต่อ ใน กิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อย รวมถึงชี้แจงงบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรรให้ชุมชนได้รับทราบในแต่ละงวดและ พี่เลี้ยง ก็ สรุป พูด ถึง นโยบาย แนวทางการดำเนินงานของ สสส และประชาสัมพันธ์ การดำเนินงาน วัตถุประสงค์ การสนับสนุนในโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ฯ เพื่อให้ ชุมชนได้ทราบขั้นตอน การขอรับการสนับสนุน และสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมของโครงการ ขอความร่วมมือชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ทางทีมทำงานโครงการจะได้ดำเนินการนับจากนี้ต่อไปพร้อมทั้งเสริมสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน ที่มีจิตอาสาในการทำงานพัฒนาชุมชนและทางผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าโครงการ ได้เปิดโอกาส ข้อซักถาม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากชุมชน และ พูดคุย เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับทราบและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน
    3. การประเมินผล: ด้านสถานที่สะอาด ปลอดภัย ศูนย์รวมชุมชน มีการติดป้ายชื่อโครงการและป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ด้านคนมีครบองค์ประกอบที่วางไว้มีการเสนอ ซักถาม ประเด็นข้อสงสัยและมีภาคีเครือข่ายร่วมด้านการบริหารจัดการ : ตามวัน เวลา ที่กำหนดมีการชี้แจงแผนกิจกรรมและงบประมาณชัดเจน จนทำใหห้กิจกรรมบรรลุเป้าหมายไปด้วยดี

     

    200 203

    5. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 1/10

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายประเสริฐดำท่าคลองเล่าบรรยายกิจกรรมโครงการทีละกิจกรรม ได้แก่ การจัดการข้อมูลหมู่บ้าน การคืนข้อมูล การอนุรักษ์คลังปัญญา การทำบัญชีครัวเรือน การขยายเครือข่ายกลุ่มเลี้ยงแพะ การปลูกผัก(ปลูกไปกินไป)
    • การจัดการข้อมูลหมู่บ้าน รับผิดชอบโดย นายกอเส็ม พิชัยยุทธ
    • การคืนข้อมูล รับผิดชอบโดย นายประเสริฐ ดำท่าคลอง
    • การอนุรักษ์คลังปัญญา รับผิดชอบโดย นายหมาดเหยน ยาประจันทร์
    • การทำบัญชีครัวเรือน รับผิดชอบโดย นางสาวออหลา เตาวาโต
    • การขยายเครือข่ายกลุ่มแพะ รับผิดชอบโดย นายสะอาด เตาวะโต
    • การปลูกผัก รับผิดชอบโดย นายดีแน่น ตีกาสม
    • จากนั้นนายประเสริฐ ให้แต่ละท่านที่รับผิดชอบแถลงวิสัยทัศน์การดำเนินงาน และให้นายนิมิตร สรุปรวบรวมทำเป็นแผนการดำเนินงานแต่ละด้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมสภาครั้งที่1/10สมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    • ได้ผู้รับผิดชอบกิจกรรมโครงการแต่ละด้าน
    • ได้วางแผนการทำงาน
    • ได้ปลูกจิตสำนึกรักหมู่บ้านของแกนนำต่างๆ 30 คนในการมาจัดการปัญหาส่วนรวมของหมู่บ้าน

     

    30 30

    6. อบรมนักจัดการข้อมูลหมู่บ้าน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เกิดการจัดการข้อมูลชุมชน
    ด้านต่างๆ7ด้านเช่น - ข้้อมูลประชากร
    - ข้อมูลเศรษฐกิจ - ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพ - ข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือน - ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมครัวเรือน - ข้อมูลด้านการสื่อสาร - ข้อมูลด้านการเมืองการปกครอง

    2.ได้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนประชาชนเข้าร่วมอบรมกิจกรรมนักจัดการข้อมูลหมู่บ้านโดยประเสริฐ ดำท่าคลอง หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวเปิดกิจกรรมและมีความเข้าใจในข้อมูลและแบบสอบถามที่จะออกไปจัดเก็บข้อมูล
    เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและเรียนรู้ร่วมกันในการที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาชุมชน/หมู่บ้านต่อไป
    เยาวชนประชาชนมีความพร้อมที่จะออกไปจัดเก็บข้อมูล

     

    60 60

    7. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามให้คามร้เรื่องการเขียนรายงานการเงิน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมรับฟังบรรยายการคีย์ระบบติดตามและการเงิน เป็นขั้นตอนตั้งแต่ติดตามกิจกรรมที่บันทึกไว้ในปฏิทินที่ดำเนินการไว้ก่อนแล้ว ทำการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมให้ครบถ้วน เพื่อให้ระบบบันทึกการทำรายงานเสร็จสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันนี้ จำนวน 3 คน ทั้งประธานโครงการ คณะทำงานและบันทึกข้อมูลเพื่อมารับรู้การทำงานร่วมกันและเข้าใจการทำงานในระบบผ่านเว็ปและติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งเป็นไปในรูปแบบเดียวกันเช่น
    การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
    การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
    การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่

    ซักถามแลกเปลี่ยน
    สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน

     

    2 3

    8. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 2/10

    วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 14.00น.

    • นายประเสริฐ รายงานผลการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ มีพี่น้องมาร่วมสองร้อยคน เป็นบรรยากาศที่สนุก คึกคักที่มีงานภายในหมู่บ้าน ชาวบ้านที่มารับaฟังรายละเอียดโครงการ และมีความประทับใจในวิทยากรคุณนิติภูมิ ที่เชิญมาพูดเรื่องการเกษตรและการสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่ม
    • สำหรับครั้งนี้มีการวางแผนเรื่องกิจกรรม การสร้างนักจัดการข้อมูลชุมชน
    • ที่ประชุมปรึกษาว่าข้อมูลชุมชนที่ต้องการควรเป็นอย่างไร มีข้อเสนอว่า ควรเป็นปัจจุบัน ข้อมูลจริง น่าเชื่อถือ นำไปใช้ประโยชน์ได้
    • นายกอเส็มเสนอว่า ที่อบต.เคยสำรวจข้อมูลครัวเรือนตามแบบสสส.สำนัก3 เป็นข้อมูลที่ระเอียด รอบด้าน น่าจะใช้ประโยชน์ได้ และก่อนนั้นเก็บข้อมูลไม่ครอบคลุมครัวเรือนส่วนใหญ่
    • ที่ประชุมมีมติเห็นชอบที่จะใช้แบบฟอร์มของสำนัก3ในการสำรวจข้อมูลชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมสภาครั้งที่2/10สมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    • สมาชิกรับทราบกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว

    • กิจกรรมที่จะดำเนินในครั้งต่อไปคือ กิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือน

     

    30 30

    9. ปฏิบัติการเก็บข้อมูล

    วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเยาวชนในการจัดเก็บข้อมูลมีทั้งหมด 2 วัน

    • ขั้นตอนที่ 1 เริ่มด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะทำงาน ที่จะออกจัดเก็บข้อมูล
    • ขั้นตอนที่ 2 สร้างและออกแบบเครื่องมือ (แบบสอบถาม) ร่วมกันโดยมีพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษาขั้นตอนที่ 3การวางแผน จัดทำแผนที่แบ่งกลุ่มแบ่งโซน ในการเดินเก็บข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม ทำให้ชุมชนมีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน การออม หนี้สินครัวเรือน หนี้สินชุมชน

    2. เกิดแผนที่ทำมือด้วยตนเองของกลุ่มเยาวชนเพื่อบ่งชี้ถึงสถานที่สำคัญ ทรัพยากรในหมู่บ้านและวิเคราะห์โอกาสพัฒนาด้านต่างๆในอนาคตได้

    3. ได้รับข้อมูลด้านสุขภาพ ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านด้า่นเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากรต่างๆ

    4. เกิดอาสาสมัครในชุมชนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและจัดเก็บข้อมูล

    5. มีความรู้ความเข้าใจโครงการสสส.และกระบวนการทำงานในรูปแบบเดียวกัน

     

    20 31

    10. สังเคราะห์ข้อมูลชุมชน

    วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำคณะทำงานมาร่วมกันเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวมเอกสารจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนจำนวน 200 ครัวเรือนมาร่วมวิเคราะห์ปัญหาและเติมเต็ม เพื่อเสนอแนะในการจัดทำข้อมูลชุมชน เข้าสู่เวทีการทำแผนชุมชนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การทำกิจกรรมครั้งนี้คือการรวบรวมข้อมูลการสำรวจจัดเก็บแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ และเก็บเป็นข้อมูลหมู่บ้านเพื่อดำเนินแก้ไขต่อไป ข้อมูลทั้งหมดมี 5 ส่วน คือ

    • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
    • ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสาธารณะชุมชนและเศรษฐกิจ
    • ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ
    • ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการ
    • ส่วนที่ 5 ข้อมูลทางด้านการเมืองจากการวิเคราะห์

    • ข้อมูลส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน พบว่า56.04 % ของครัวเรือนที่สำรวจประชาชนมีอาชีพทางด้านการเกษตรรองลงมาคือประมงและค้าขายส่วนในเรื่องของรายได้ของคนในชุมชน63.73%พบว่ามีรายได้อยู่ที่ประมาณ5,001 – 10,000 บาท

    • ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสาธารณะชุมชนและเศรษฐกิจ สำรวจจากครัวเรือน 200 ครัวเรือนพบว่าการรับประทานอาหารส่วนใหญ่ได้ซื้ออาหารผักมาจากตลาดมีการปลูกผักกินเองน้อยมากแค่27.47%จากครัวเรือนทั้งหมด 200ครัวเรือนในเรื่องของการทำบัญชีครัวเรือนคนในชุมชนยังไม่ค่อยให้ความสนใจครัวเรือนแต่ละครัวมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย คิดได้63.73 % จากครัวเรือนที่ได้สำรวจการกู้เงิน/เป็นหนี้ส่วนใหญ่จะกู้ยืมจากญาติและเพื่อนบ้าน21.79%จาก 91ครัวเรือนสาเหตุการเป็นหนี้มาจากมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นรายได้ไม่เพียงพอค่าเล่าเรียนของบุตรและค่าอุปกรณ์ทางการเกษตร

    • ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพจากข้อมูลการสำรวจการรับประทานอาหารของคนในชุมชนชอบกินอาหารสำเร็จรูป96.70% ชอบกินอาหารที่มีรสจัดเมื่อมีการเจ็บป่วยจะใช้ยาสามัญประจำบ้าน87.91%และจะซื้อยาชุดมากินเอง49.45%จากข้อมูลแบบสอบถามสมาชิกในครัวเรือนมีภาวะน้ำหนักเกิน63.73%และมีโรคประจำตัว 64.83%และพบว่าในแต่ละครอบครัวมีการสูบบุหรี่ 46.15%

    • ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการประชาชน68.13 % มีความสนใจโครงการและอยากให้มีโครงการต่อไป

    • ประธานได้ชี้แจงผลการจัดเก็บข้อมูลของชุมชนเพื่อคืนข้อมูลนี้ให้กับชุมชนหมู่ที่3 บ้านไร่ทอน จากการวิเคราะห์ข้อมูลจะเห็นว่าคนในชุมชนมีอาชีพส่วนใหญ่ทำสวนและการเกษตรมีรายได้น้อยซึ่งอยู่ในช่วง5,001-10,000บาทปัญหาอีกอย่างของชุมชนคือความไม่สามัคคีความคิดเห็นไม่ตรงกันก่อให้เกิดความแตกแยกและคนในชุมชนส่วนใหญ่อยากให้มีกิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกันเพื่อให้ความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชนจัดเก็บข้อมูลเพื่อที่จะนำข้อมูลนี้ไปสู่กิจกรรมการคืนข้อมูลสู่ชุมชนต่อไป

     

    50 50

    11. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 3/10

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปผลการดำเนินงานหลังจากสังเคราะห์ข้อมูล

    เพื่อวางแผนการทำงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง
    วางแผนเตรียมเอกสารเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมปิดงวดที่ 1 ณ สจรส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประชุมสภาครั้งที่3/10สมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้มีการวางแผนเพื่อเตรียมเอกสารเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมปิดงวดที่ 1 ณ สจรส

     

    30 30

    12. พบพี่เลี้ยงก่อนปิดงวดที่1

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆ ก่อนที่จะส่งงาน สจรส. งวดที่ 1 พี่เลี้ยงดูการเขียนรายงานบนเว็บไซต์เบื้องต้นรูปแบบการเขียนและเนื้อหา จัดเรียงเอกสารในแต่ละกิจกรรมเก็บไว้เป็นชุดๆ ปรึกษาพี่เลี้ยงในเรื่องของการจัดกิจกรรม เนื่องจากกิจกรรมหลายกิจไม่ได้จัดตามแผนที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้ได้เตรียมความพร้อมก่อนส่งงาน สจรส. งวดที่ 1 การเขียนรายงานบนเว็บไซต์บางกิจกรรมรายละเอียดน้อยไป เอกสารที่เตรียมพร้อมส่งเรียบร้อย

     

    4 4

    13. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 4/10

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำไร่ทอนที่ได้รับการแต่งตั้ง 30 คนประชุมเดือนละ 1 ครั้ง

    เพื่อวางแผนการทำงานของโครงการอย่างต่อเนื่องสู่การเป็นหมู่บ้านจัดการตนเอง
    ประชุมร่วมกันทุกเดือน จำนวน 10 ครั้งเพื่อชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม ติดตามกิจกรรม ติดตามตัวชี้วัดสรุปผลกิจกรรม และเตรียมงานในเดือนถัดไปครั้งที่ 10 เป็นเวทีสรุปบทเรียนโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เวลา 14.00 น. ณ มัสยิดบ้านไร่ทอน ประชาคมสภาผู้นำบ้านไร่ทอนเพื่อวางแผนการทำงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง และเตรียมงานแบ่งหน้าที่ในกิจกรรมจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนและทำแผนชุมชน

     

    30 30

    14. จัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนและทำแผนชุมชน

    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00น. กลุ่มเป้าหมายในชุมชน แกนนำชุมชน ประชาชนผู้แทนเครือข่ายพัฒนาร่วมทะยอยลงทะเบียนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีทีมงานร่วมเติมเต็มและเสนอแนะสู่การทำแผนชุมชน เวลา 13.00น. เริ่มกระบวนการทำแผนชุมชนโดยบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอความต้องการต่างๆของหมู่บ้านในเวทีนี้ในเวทีนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนคณะทำงานของเราประกาศให้ทีมสภาผู้นำเข้าร่วมจัดทำแผนหลังจากที่ได้ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และคืนข้อมูลมาแล้ว นำมาจัดทำแผนทีละข้อดังนี้

    1. ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์-อนุรักษ์คลังปัญญาชุมชน

    - โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนทั้งสองข้างทาง
    - โครงการตลาดน้ำคลองท่าเรือผ่านหมู่ที่5บ้านควนพัฒนาเชื่อมหมู่ที่4บ้านแป-ระไต้ทำถนนทั้ง2ฝั่งให้รถสัญจรสะดวก
    2. ด้านการเกษตร
    - โครงการช่วยเหลือเกษตรกรช่วงฤดูแล้ง
    - โครงการทัศนศึกษาด้านอาชีพให้แก่กลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้าน
    - โครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนประจำหมู่บ้าน (กองทุนสัจจะ)
    3. ด้านเศรษฐกิจ การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
    - โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรี เช่นนวดแผนไทย เสริมสวย ทำขนมพื้นเมือง
    - โครงการฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านอาชีพแก่กลุ่มสตรีและศึกษาดูงาน
    - โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลา
    - โครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
    - โครงการฝึกอบรมกลุ่มอาชีพทำแชมพูสมุนไพร เช่น ทำสบู่ ผงซักฟอก ฯลฯ
    - โครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งหมู่บ้าน
    4. ด้านโครงสร้างพื้นฐานของหมู่ที่ 3 บ้านไร่ทอน
    - โครงการปรับปรุงถนนภายในหมู่บ้าน
    - โครงการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในหมู่บ้าน
    - โครงการซ่อมแซมถนนท่าเทียบเรือหมู่3บ้านไร่ทอน
    - โครงการปรับปรุงระบบประปาบ่อดินพร้อมขุดสระเก็บน้ำหมู3บ้านไร่ทอน - โครงการต่อเติมศูนย์การศึกษาประจำมัสยิดบ้านไร่ทอน โครงการต่อเติมมัสยิดบ้านกลางหมู่ที่ 3 บ้านไร่ทอน

     

    100 100

    15. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปิดงวดที่ 1

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 3 คน

    รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

    ผู้รับทุน  เจ้าหน้าที่การเงิน  และผู้บันทึกข้อมูล

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

    เข้ารับการตรวจเอกสารการเงิน ปิดงวดโครงการ ในระยะที่ 1 ณสจรส.มอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เข้าร่วมประชุมปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน งวดที่1

     

    3 4

    16. คืนเงินเปิดบัญชี

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินเปิดบัญชี 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ คืนเงินเปิดบัญชี 500 บาท

     

    2 1

    17. พบพี่เลี้ยงก่อนดำเนินกิจกรรมงวดที่2

    วันที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าผู้รับผิชอบโครงการ ประสานกับพี่เลี้ยงโครงการและนัดวันเพื่อที่จะวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมถัดไปพรัอมกับคณะทำงานอีก2คน1. นายประเสริฐ ดำท่าคลอง ผุ้รับผิดชอบโครงการ 2.นายนิมิตร อาหมัน ทำเวปไซต์ และงานเอกสาร 3.นายกอเส็ม พิชัยยุทธ ติดต่อประสานงานต่างๆเมื่อมีการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง พบพี่เลี้ยงสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาในงวดที่1ที่ผ่านมาว่าหมุ่บ้านของเราได้อะไรบ้างจากการเข้าร่วมและทำโครงการชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างไร มีการตรวจและรวบรวมเอกสารเข้าแฟ้มให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และแวงแผนในการดำเนินกิจกรรมต่อไปในงวดที่2ซึ่งยังมีอีกหลายกิจกรรมที่ต้องดำเนินต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แผนการทำงานกิจกรรมต่อไปคือประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 5/10 เพื่อที่จะจัดกิจกรรมต่อไปคือ อนุรักษ์และส่งเสริมคลังปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่บ้านไร่ทอน รายละเอียดกิจกรรมตามแผน เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่บ้านไร่ทอนคนไร่ทอนเกิดความรัก หวงแหนพื้นถิ่นของตนเอง ภูมิปัญญาที่คนเฒ่าคนแก่มีมาแต่โบราณ โดยการรวมกลุ่มเยาวชนประชาชนที่มีความสนใจจำนวน 35 คน(เยาวชน 18-25 ปี 20 คน ประชาชนทั่วไป/กรรมการโครงการ 10 คน) ปราช์ญที่มีความรู้ด้านงานไม้ เช่น การทำกระต่ายขูดมะพร้าว ด้ามขวานเครื่องนวดฝ่าเท้าเป็นวิทยากร จำนวน 2 คน รวมผู้ร่วมกิจกรรม 35 คน ใช้เวลา 3 วัน โดยศึกษาเรื่องละ 1 วัน โดยสอนภูมิปัญญา การหาและเตรียมวัสดุทีมีจากแหล่งธรรมชาติในหมูบ้าน นำวัสดุมาเหลาขึ้นรูปและตกแต่งให้สวยงาม พยายามพลักดันให้ทำจำหน่าย

     

    3 3

    18. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 5/10

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การประชุมสภาครั้งที่5/10สมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้มีการวางแผนเพื่อเตรียมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลังจากปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงานกรรมวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไปคือกิจกรรมอนุรักษ์คลังปัญญาบ้านไร่ทอนซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์คลังปัญญาชุมชน หมู่ที่3 บ้านไร่ทอน ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประชุมสภาครั้งที่5/10สมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้มีการวางแผนเพื่อเตรียมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยกิจกรรมต่อไปคือกิจกรรมอนุรักษ์คลังปัญญาบ้านไร่ทอนซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์คลังปัญญาชุมชน หมู่ที่3 บ้านไร่ทอน ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยการรวมกลุ่มเยาวชนประชาชนที่มีความสนใจจำนวน 35 คน(เยาวชน 18-25 ปี 20 คน ประชาชนทั่วไป/กรรมการโครงการ 10 คน)

    • ปราช์ญที่มีความรู้ด้านงานไม้ เช่น การทำกระต่ายขูดมะพร้าว ด้ามขวานเครื่องนวดฝ่าเท้าเป็นวิทยากร จำนวน 2 คน
    • รวมผู้ร่วมกิจกรรม 35 คน
    • ใช้เวลา 3 วัน โดยศึกษาเรื่องละ 1 วัน
    • โดยสอนภูมิปัญญา การหาและเตรียมวัสดุทีมีจากแหล่งธรรมชาติในหมูบ้าน นำวัสดุมาเหลาขึ้นรูปและตกแต่งให้สวยงาม

     

    30 30

    19. อนุรักษ์คลังปัญญาบ้านไร่ทอน

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำกิจกรรม 3 วัน
    - วันที่ 8 พ.ค.59 สอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำงานไม้ กระต่ายขุดมะพร้าว โดยนายหมาดแหยน ยาประจัน - วันที่ 9 พ.ค.59 ลงพื้นที่และเตรียมวัสดุจากแหล่งจากธรรมชาติในชุมชน โดยนายสาหมาด เตาวาโต - วันที่ 10 พ.ค.59 นำวัสดุมาเหลาขึ้นรูปและตกแต่งให้สวยงาม โดยนายยำอาด รอโชยล๊ะ
    - รับสมัคร เยาวชนประชาชนที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม - ช่วยกันหา และเตรียมอุปกรณ์ เกี่ยวกับงานไม้ มีการเรียนการสอนให้ทำ หลายอย่าง เช่น กระต่าย ขูดมาพร้าว เครื่องนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ ด้ามขวาน ไม้เท้า ด้ามจอบ แคร่ ฯลฯ - เชิญปราช์ณผุ้ที่มีความรู้ต่างๆด้านงานไม้ที่มีอยู่ในหมุ่บ้านมาพูดคุยให้ความรู้ในการทำงานในครั้งนี้ โดยมีการวางแผนต่างๆ - ในวันต่อมาเป็นการลงพื้นที่เพื่อหาวัสดุเศษไม้ในการนำมาทำเป็นงานต่างๆ เตรียมอุปกรณ์ที่มีอยุ่และซื้ออุปกรณ์ทำนำมาเป็นเครื่องมือในการทำงานเมือ่ได้ของครบแล้วทางปราช์ณก็ลงมือสาทิตการทำงานต่างๆให้ผู้ที่เข้ามาเรียนได้เห้นและศึกษาวิธีการทำงาน - วันต่อมาให้ผู้ที่เข้ามาเรียนได้ลงมือหัดทำงานด้วยตนเองเช่นการใช้ขวานถากที่ชิ้นไม้เพื่อขึ้นรูปต่างๆ การใช้สว่านเจาะน้อต การประกอบชิ้นไม้ การใช้กระดาษทรายเพื่อถุและขัดที่ชิ้นไม้ให้งานออกมาสวยงามมีความละเอียดตตามที่ต้องการ
    - การเรียนการสอนในคั้รงนี้ นักเรียนก็สลับกันมาเรียนทุกวันเพราะงานไม้ที่ทำมีหลายชนิด บางคนก็เรียนทำกระต่ายอย่างเดียว ส่วนบางคนก็ เรียนทำทุกอย่างซึ่งต้องใช้เวลาหลายวัน กว่าจะได้งานไม้ที่ออกมาให้สวยงาม เพราะงานไม้เป้นงานที่มีความละเอียดค่อนข้างสูงดังนั้นผู้ที่เข้ามาเรียนต้องมีใจรักในสิ่งนี้ดว้ย เพราะเมื่อเรียนไปแล้วก้สามารถนำความรู้ต่างๆไปเป็นอาชีพเสริมต่างๆได้ในชีวิตสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนของตนเองได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้มีความรู้การทำกระต่ายขูดมะพร้าวและลานนวดฝ่าเท้า จำนวน 15 คน

    ประชาชานที่เข้าร่วมโครงการ ได้มีความรู้การทำด้ามขวาน ด้ามีด ด้ามจอบ โต๊ะ เก้าอี้ จำนวน 15 คน

    เกิดบุคคลมีความรู้ด้านภูมิปัญญาของหมู่บ้านไว้ให้ลุกให้หลานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป

    สามารถนำความรู้ต่างๆไปเป็นอาชีพเสริมต่างๆได้ในชีวิตสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนของตนเองได้และสามารถนำความรู้ไปประยุคใช้สร้างนวัตฒกรรมงานใหม่ๆ

     

    35 35

    20. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 6/10

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาชุมชน จำนวน 30 คนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อวางแผนทำกิจกรรมต่อไป คือกิจกรรมอนุรักษ์คลังปัญญาชุมชน รับสมัคร เยาวชนประชาชนที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมโดยการรวมกลุ่มเยาวชนประชาชนที่มีความสนใจจำนวน 35 คน(เยาวชน 18-25 ปี 20 คน ประชาชนทั่วไป/กรรมการโครงการ 10 คนปราช์ญที่มีความรู้ด้านงานไม้ เช่น การทำกระต่ายขูดมะพร้าว ด้ามขวานเครื่องนวดฝ่าเท้าเป็นวิทยากร จำนวน 2 คนดยสอนภูมิปัญญา การหาและเตรียมวัสดุทีมีจากแหล่งธรรมชาติในหมูบ้าน นำวัสดุมาเหลาขึ้นรูปและตกแต่งให้สวยงาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แผนการดำเนินงานกิจกรรม ต่อไป คือ อนุรักษณ์คลังปัญญาชุมชน ซึ่งจะจัดขึ้น ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2559
    โดยการรวมกลุ่มเยาวชนประชาชนที่มีความสนใจจำนวน 35 คนปราช์ญที่มีความรู้ด้านงานไม้ เช่น การทำกระต่ายขูดมะพร้าว ด้ามขวานเครื่องนวดฝ่าเท้าเป็นวิทยากร จำนวน 2 คน

     

    30 30

    21. จัดเวทีเพื่อสร้างกติกาชุมชนทำกติกาหมู่บ้านด้านเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเริ่มทะยอยกันลงทะเบียน พอถึงเวลาก็เริ่มเปิด ประชาคมโดยนายประเสริฐ ดำท่าคลอง หัวหน้าโครงการกล่าวเปิดโครงการแล้วมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น - มีการให้ความรู้โดยวิยากรนายบุญมา โดยพิลาตำแหน่งเจ้าหน้าที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสตูล
    • ผู้ใหญ่บ้าน นายดลรอเฉด เตบสันผู้นำชุมชนประชาชนจนกระทั่งได้กฎิกาชุมชน หลายด้าน เช่น ด้านคลังปัญญา ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรนำ้ฯลฯ
    1. ร่วมกันสืบทอดคลังปัญญาชุมชนให้คงอยู่ยาวนาน

    2. ปลูกผักสมุนไพรอย่างน้อย 5 ชนิดในครัวเรือน

    3. ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัว 100 เปอร์เซ็น

    4. ทำบัญชีครัวเรือ รายได้ /รายจ่าย

    5.สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนบริโภคผัก

    6.ส่งเสริมให้มีการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพใช้ในครัวเรือน

    7.ร่วมกันใช้นำ้อย่างประหยัด

    8.ร่วมกันอนุรักทรัพยากรนำ้ของหมู่บ้าน

    9.ประหยัดนำ้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนได้เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้กติกาชุม ได้ปฎิบัติตามกฏิกาชุมชน ชุมชนได้่เรียนรู้วิธีการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนบริโภคผัก ร่วมกันสร้างจิตสำนึกในการใช้นำ้อย่างประหยัด

     

    100 70

    22. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 7/10

    วันที่ 5 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชาคมวางแผนการทำงานกิจกรรม ครัวเรือนนักจดนักจ่าย ทำบัญชีครัวเรือน 50 ครัวเรือน

    • กติกาคือให้ลูกเป็นคนจดบันทึกรายรับรายจ่ายโดยซักถามจากพ่อแม่ทุกวัน
    • จดบันทึกใช้เวลา 3 เดือน
    • มีวิทยากรจาก ธกส.มาสอนให้เยาวชน พ่อแม่ กรรมการโครงการทำบัญชีครัวเรือน 1 วัน
    • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากทำบัญชีครัวเรือนไปแล้ว 3 เดือน โดยมีวิทยากร ธกส.มานำกระบวนการ 1 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หัวหน้ารับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดการประชุม โดยในวันนั้นมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนการทำงานต่างๆ ชุมชนได้เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้กติกาชุม ได้ปฎิบัติตามกฏิกาชุมชน ชุมชนได้่เรียนรู้วิธีการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนบริโภคผัก ร่วมกันสร้างจิตสำนึกในการใช้นำ้อย่างประหยัด

     

    30 30

    23. ครัวเรือนนักจดนักจัดการรายจ่าย

    วันที่ 13 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครัวเรือนจำนวน 50 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมทำบัญชีครัวเรือนการจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน
    • ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้
    • ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความร่วมมือจากประชาชนเยาวชนทุกภาคส่วนหน่วยงานรัฐทุกภาคส่วนโดยแกนนำชุมชนได้รวบรวมข้อมูลของชุมชนด้านต่างๆ ตลอดจนสภาพปัญหาของชุมชน แล้วกำหนดทิศทางที่จะนำไปสู่การการปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
    • การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม
    • มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
    • การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้

     

    50 50

    24. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 8/10

    วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • หัวหน้ารับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดการประชุม
    • โดยในวันนั้นมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนการทำงานต่างๆ ในการทำกิจกรรมต่อตลอดจนร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนอย่างต่อเนื่อง แล้วกำหนดทิศทางที่จะนำไปสู่การการปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการสรุปผลหลังจากกิจกรรมนักจดนักจ่ายที่ได้จัดทำขึ้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนการทำงานต่างๆ ในการทำกิจกรรมต่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
    • การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์

     

    30 30

    25. แตกหน่อบ้านพอเพียง(อบรมบัญชีครัวเรือนและเกษตรพอเพียง)

    วันที่ 27 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกติดตามเยี่ยมแปลงเกษตรของสมาชิกเก่าและใหม่ รวม 3 ครั้ง
    เป็นเวลา 3 เดือน โดยวิธีการจับคู่บัดดี้ดังนี้ คู่ที่1 นายสาหมาด เตาวะโต กับนางปอหรา รอโซยล๊ะ คู่ที่ 2 นางฝาตีมีะ ตีกาสมกับ นางสำไพ เตาะโต คู่ที่ 3 นางตีส๊ะ ลาหมีด กับนางสำไพ เตาวะโต คู่ที่ 4 นางนางฝาตีม๊ะ ยาง๊ะ กับนางฝาตีม๊ะ เตาวะโต คู่ที 5 นางแบด๊ะ อาหมัน กับนางโบน ดำท่าคลอง คู่ที่ 6 นางฮาฝีเซาะ ดำท่าคลอง กับนายฮำดัน ยีบิลัง คุ่ที่ 7 นางโด๊ะ เตบสัน กับนางหัทยา เตาวะโต คู่ที่ 8 นางสาดเรียะ รอโซยล๊ะ กับนางดาริกา ล่านุ้ย คู่ที่ 9 นางตีรูมา อาหมัน กับนางนิสาชล ยาประจัน คู่ที่ 10 นางมานิ ยาง๊ะ กับนางก๊ะ ยาพระจันทร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ใช้วิธีจับคู่บัดดี้กัน ได้ขยายฐานกลุ่มเกษตรกร ได้กลุ่มเกษตรผสมผสานขึ้นใหม ได้ให้ความรู้และความร่วมมือทำบัญชีรายรับรายจ่ายจากการทำเกษตร

     

    20 20

    26. ถอดบทเรียนโครงการ

    วันที่ 29 มิถุนายน 2559

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการนายประเสริฐ ดำท่าคลอง ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิมิตร อาหมัน คณะทำงาน ด้านข้อมูลและเอกสาร นายกอเส็ม พิชัยยุทธ คณะทำงาน ติดต่อประสานงานต่างๆ เข้าร่วมเวทีถอดบทเรียนโครงการ ณ อิงธารารีสอร์ท อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ได้เข้าพบคุณถนอมขุนเพชร เจ้าหน้าที่จากสจรส. ณ อิงธารารีสอร์ท อ.ท่าแพ จ.สตูล ในช่วงเวลา 08.30น. - 11.30 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการนายประเสริฐ ดำท่าคลอง ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิมิตร อาหมัน คณะทำงาน ด้านข้อมูลและเอกสาร นายกอเส็ม พิชัยยุทธ คณะทำงาน ติดต่อประสานงานต่างๆ เข้าร่วมเวทีถอดบทเรียนโครงการ ณ อิงธารารีสอร์ท อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ได้เข้าพบคุณถนอมขุนเพชร เจ้าหน้าที่จากสจรส. ณ อิงธารารีสอร์ท อ.ท่าแพ จ.สตูล ในช่วงเวลา 08.30น. - 11.30น. โดยมีพี่เลี้ยงโครงการร่วมด้วยนั่งพูดคุยถาม- ตอบ ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ ดังนี้ ทำไมถึงทำโครงการนี้ ,กิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว ,ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ได้ทำไป ,มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้างในหมู่บ้าน ,มีตัวชี้วัดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง สรุปผลการทำกิจกรรมและแลกเปลี่นยนเรียนรู้เพื่อเปรียบเทียบว่าประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดในการทำกิจกรรมที่ผ่านมา วิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรค์ต่างๆในการทำงานจนบรรลุผลสำเร็จในที่สุด

     

    3 3

    27. ครัวเรือนนักจดนักจัดการรายจ่าย(ลงติดตามบันชีครัวเรือน)

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มกันมาลงทะเบียน หัวหน้ารับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ลงพื้นที่ติดตามการทำบัญชีครัวเรือน บ้านที่ 1 นางสาวนูรียะ อาหมัน บ้านที่ 2 นางรีหนี ดำท่าคลอง บ้านที่ 3 นางนิสาชล ยาประจัน บ้านที่ 4 นางก๊ะ ยาประจันทร์ บ้านที่5นางจิ ขุนรายา การลงพื้นที่ติดตามการทำบัญชีครัวเรือนในเดือนที่1 รายละเอียดรายรับ-รายจ่าย ส่วนใหญ่ตดลบเนื่องจากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของแต่ละครัวเรือนยังไม่ลงตัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความร่วมมือจากประชาชนเยาวชนทุกภาคส่วนหน่วยงานรัฐทุกภาคส่วนโดยแกนนำชุมชนได้รวบรวมข้อมูลของชุมชนด้านต่างๆ ตลอดจนสภาพปัญหาของชุมชน แล้วกำหนดทิศทางที่จะนำไปสู่การการปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
    • การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม
    • มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
    • การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้

     

    60 60

    28. ขยายเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะ

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เมื่อถึงเวลาในการจัดการจัดกิจกรรมในวันนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็ทะยอยกันมาลงทะเบียน ณ อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน โดยนายดุลยศักดิ์ มาลียันและนายกอเส็ม พิชัยยุทธ ตำแหน่งคณะคณะทำงานโครงการเป็นผู้รับลงทะเบียน หลังจากนั้นหัวหน้ารับผิดชอบโครงการโดยนายประเสริฐ ดำท่าคลอง ได้กล่าวเปิดกิจกรรมในวันนี้และมีการชี้แชงรายละเอียดกิจกรรมแล้วได้เชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อทิศทางการเลี้ยงแพะในปัจุบันและอนาคต จากนายนิติภูมิ หลงเก ตำแหน่ง ประธานชมรมการเลี้ยงแพะแกะ จังหวัดสตูลและเปิดโอกาศให้ผุ้เข้าร่วมกิจกรรมไดมีโอกาสซักถามวิะีการเลี้ยงแพะอย่างถุกวิธี ประโยชน์ของเนื้อแพะ ประโยชน์ของนำ้นมแพะฟังการบรรยาย ในหัวข้อการเลี้ยงแบบยั่งยืน โดยนายยำอาด รอโซยละ ตำแหน่งปราชญ์ชุมชนตำบลท่าเรือ ฟังการบรรยาย ในหัวข้อ การเลี้ยงแพะแบบ(ภูมิปัญญาท้องถิ่น) โดยนาสาหมาด เตาวะโต ตำแหน่งปราชญ์ชุมชนตำบลท่าเรือ หลังจากนั้น หัวหน้ารับผิดชอบโครงการโดยนายประเสริฐ ดำท่าคลอง ได้กล่าวปิดกิจกรรม แลงลงเยี่ยมครัวเรือนผู้เลี้ยงแพะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำความรู้ต่างๆที่ได้รับจากการบรรยายจากวิทยากรไปปรับใช้ในการเลี้ยงอย่างถูกวิธีในอนาคต
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เชิงปฏิบัติการที่ฟาร์มแพะตัวอย่างในชุมชน
    • ครัวเรือนได้มีอาชีพเสริมจากการทำอาชีพหลักเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
    • ทำให้ชุมชนห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติกต่างๆ
    • ชุมชุนมีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการตนเองได้ในอนาคต

     

    60 60

    29. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 9/10

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน30คน ทะยอยกันมาลงทะเบียน เมื่อครบองค์ประชุมหัวหน้ารับผิดชอบโครงการนายประเสริฐ ดำท่าคลอง ได้กล่าวเปิดประชุมในวันนี้ หลังจากนั้นสภาผู้นำชุมชนได้ร่วมกันสรุปผลการจัดกิจกรรมขยายเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะจำนวน30คนและขยายเพิ่มเติมอีก30คนโดยสมาชิกลุ่มผุ้ที่มีการเลี้ยงแพะอยู่แล้วได้มีการให้ยืมพ่อพันธ์ หรือแม่พันธ์แพะเพื่อขยายครัวเรือนที่มีการสนใจต่อไปหลังจากนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาในการเลี้ยงปัญหาอุปสรรค์ต่างในการเลี้ยงแพะ หลังจากนั้นได้มีการวางแวนต่อเพื่อจัดกิจกรรมกินไปปลูกไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการสรุปผลหลังจากกิจกรรมขยายเครือข่ายผู้เลี้งแพะที่ได้จัดทำขึ้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนการทำงานต่างๆ ในการทำกิจกรรมต่อเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

    • ผู้เลี้ยงแพะจำนวน30คนและขยายเพิ่มเติมอีก30คนโดยสมาชิกลุ่มผุ้ที่มีการเลี้ยงแพะอยู่แล้วได้มีการให้ยืมพ่อพันธ์ หรือแม่พันธ์แพะเพื่อขยายครัวเรือนที่มีการสนใจต่อ แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัวและชุมชน รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการเลี้ยงแพะข้อมูลที่เป็นประโยชน์

     

    30 30

    30. แตกหน่อพอเพียง(เยี่ยมติดตาม 1/3)

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้ารับผิดชอบโครงการและกรรมการได้ลงพื้นที่บ้านที่ได้ปลูกผักสวนครัวเพิ่ม บ้านคู่ที่1 คู่ที่1 นายสาหมาด เตาวะโต กับนางปอหรา รอโซยล๊ะ คู่ที่ 2 นางฝาตีมีะ ตีกาสมกับ นางสำไพ เตาะโต คู่ที่ 3 นางตีส๊ะ ลาหมีด กับนางสำไพ เตาวะโต คู่ที่ 4 นางนางฝาตีม๊ะ ยาง๊ะ กับนางฝาตีม๊ะ เตาวะโต คู่ที 5 นางแบด๊ะ อาหมัน กับนางโบน ดำท่าคลอง คู่ที่ 6 นางฮาฝีเซาะ ดำท่าคลอง กับนายฮำดัน ยีบิลัง คุ่ที่ 7 นางโด๊ะ เตบสัน กับนางหัทยา เตาวะโต คู่ที่ 8 นางสาดเรียะ รอโซยล๊ะ กับนางดาริกา ล่านุ้ย คู่ที่ 9 นางตีรูมา อาหมัน กับนางนิสาชล ยาประจัน คู่ที่ 10 นางมานิ ยาง๊ะ กับนางก๊ะ ยาพระจันทร์ ในพื้นบ้านไร่ทอนหมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล มีชนิดผักที่ปลูกได้แก มะเขีย ปลิก ตะใคร้ ถั่วผักยาว เผือก ฝักเขียว มะละกอ ขมิ้น บัวบก สาระแหน่ มะกรูด ฟ้าทะลายโจร ยอ โหระพา มะระ ฝักเขียว แตงกวา ฟักทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชุนต่อได้มีการขยายครัวเรือนที่ได้เกษตรผสมผสานเพิ่มเติมจากครัวเรือนที่ทำอยู่แล้ว ทำให้ครัวเรือนสามารถมีรายได้เสริมจากอาชีพหลักสร้างรายได้ให้กับครอบรัวต่อไป ประชาชนในหมู่บ้านได้มีอาชีพเสริมประหยัดเงินค่าอาหารและมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ได้ขยายฐานกลุ่มเกษตรกรจาก 10 ครัวเรือน เป็น 20 ครัวเรือน ได้กลุ่มเกษตรผสมผสานขึ้นใหม ได้ให้ความรู้และความร่วมมือทำบัญชีรายรับรายจ่ายจากการทำเกษตรผสมผสาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้เข้าร่วม 30 คน(กรรมการโครงการ 10 รุ่นพี่ 10 รุ่นน้อง 10) ใช้เวลา 2 วัน วันแรกเป็นการพูดคุยหลักวิชาวันที่สองเป็นการลงพื้นที่วางแปลนในพื้นที่จริง กรรมการโครงการออกติดตามเยี่ยมแปลงเกษตรของสมาชิกเก่าและใหม่ รวม 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมแต่ละครั้ง 10 คน

     

    20 20

    31. แตกหน่อบ้านพอเพียง(ติดตาม 2/3)

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้ารับผิดชอบโครงการและกรรมการได้ลงพื้นที่บ้านที่ได้ปลูกผักสวนครัวเพิ่ม บ้านคู่ที่1 คู่ที่1 นายสาหมาด เตาวะโต กับนางปอหรา รอโซยล๊ะ คู่ที่ 2 นางฝาตีมีะ ตีกาสมกับ นางสำไพ เตาะโต คู่ที่ 3 นางตีส๊ะ ลาหมีด กับนางสำไพ เตาวะโต คู่ที่ 4 นางนางฝาตีม๊ะ ยาง๊ะ กับนางฝาตีม๊ะ เตาวะโต คู่ที 5 นางแบด๊ะ อาหมัน กับนางโบน ดำท่าคลอง คู่ที่ 6 นางฮาฝีเซาะ ดำท่าคลอง กับนายฮำดัน ยีบิลัง คุ่ที่ 7 นางโด๊ะ เตบสัน กับนางหัทยา เตาวะโต คู่ที่ 8 นางสาดเรียะ รอโซยล๊ะ กับนางดาริกา ล่านุ้ย คู่ที่ 9 นางตีรูมา อาหมัน กับนางนิสาชล ยาประจัน คู่ที่ 10 นางมานิ ยาง๊ะ กับนางก๊ะ ยาพระจันทร์ ในพื้นบ้านไร่ทอนหมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล มีชนิดผักที่ปลูกได้แก มะเขีย ปลิก ตะใคร้ ถั่วผักยาว เผือก ฝักเขียว มะละกอ ขมิ้น บัวบก สาระแหน่ มะกรูด ฟ้าทะลายโจร ยอ โหระพา มะระ ฝักเขียว แตงกวา ฟักทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชุนต่อไได้มีการขยายครัวเรือนที่ได้เกษตรผสมผสานเพิ่มเติมจากครัวเรือนที่ทำอยู่แล้ว ทำให้ครัวเรือนสามารถมีรายได้เสริมจากอาชีพหลักสร้างรายได้ให้กับครอบรัวต่อไปประชาชนในหมู่บ้านได้มีอาชีพเสริมประหยัดเงินค่าอาหารและมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ได้ขยายฐานกลุ่มเกษตรกรจาก 10 ครัวเรือน เป็น 20 ครัวเรือน ได้กลุ่มเกษตรผสมผสานขึ้นใหม ได้ให้ความรู้และความร่วมมือทำบัญชีรายรับรายจ่ายจากการทำเกษตรผสมผสาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้เข้าร่วม 30 คน(กรรมการโครงการ 10 รุ่นพี่ 10 รุ่นน้อง 10) ใช้เวลา 2 วัน วันแรกเป็นการพูดคุยหลักวิชาวันที่สองเป็นการลงพื้นที่วางแปลนในพื้นที่จริง กรรมการโครงการออกติดตามเยี่ยมแปลงเกษตรของสมาชิกเก่าและใหม่ รวม 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมแต่ละครั้ง 10 คน

     

    20 20

    32. กินไป ปลูกไป

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรม เมื่อถึงเวลาผู้เข้าร่วมกิจกรรมไดทะยอยกันลงทะเบียน เมื่อถึงเวลาหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ดำท่าคลอง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดโครงการแนะนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ หลังจากนั้นวิยากร นายสืบศักดิ์ หมะเด ตำแหน่ง ผู้อำนวนการองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมไดบรรยายในหัวข้อการปลูกผักสวนครัวสมุนไพรไส้บริโภคเองในครัวเรือนโดยไม่ใช้สารเคมีอย่างน้อยปลูกพืชสมุนไพรอย่างน้อย ห้าชนิด ผักสวนครัวห้าชนิด วิทยากรคนต่อไป นางสาวกนกวรรณ กอลาบันหลง กล่าวบรรยายในหัวข้อ การเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดไว้บริโภคและจำหน่า หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นสองกลุ่มเพือทำกิจกรรรมร่วมกัน วิทยกรคนต่อไปคือปราชญ์ชุมชุน นายหมาดเหยน ยาประจันทร์ บรรยายในหัวข้อกาเลืกบริโภคผักเพื่อสุขภาพและผักสมุนไพรชนิดไหนที่นำไปใช้ในการรักษาโรค วิยากรคนต่อไป ปารชญชุมชนและผู้นำสาสนา นาบาราเหม ซะยานัย กล่าวบรรยายใหหัวข้อ การนำศสนามาใช้ในชีวิตประจำวันและการเลือกบริดภคผักที่ถุกต้องตามหลักศาสนา
    หลังจากนั้นในช่วงบ่ายได้มีการดินรณรงค์ให้ครัวเรือนปลูกผักและสมุนไพรอย่างน้อยห้าชนิดและมีการลงพื้นที่ร่วปลกผักเยี่ยมคัวเรือนที่มีการปลูกเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนมีผักและสมุนไพรไว้บริโภคเองโดยไม่ต้องซื้อหาจากท้องตลาดเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ทำให้ชุมชุมชนมีความเข้มแข็งและขยายผลในการปลุกพืชผักไปยังอีกหลายครัวเรือนสุดท้ายก้สามรถเป็นหมู่บ้านที่จัดการตนเองได้ทำให้เยาชนประชาชนในหมุ่บ้านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

     

    100 100

    33. ประชุมสภาผู้นำไร่ทอน 10/10

    วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการสรุปผลหลังจากกิจกรรมกินไปปลูกไปที่ได้จัดทำขึ้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนการทำงานต่างๆ ในการทำกิจกรรมต่อเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในวันนั้นมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนการทำงานต่างๆ

     

    30 30

    34. ครัวเรือนนักจดนักจัดการรายจ่าย(ลงติดตามบัญชีครัวเรือน)

    วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มกันมาลงทะเบียน หัวหน้ารับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ลงพื้นที่ติดตามการทำบัญชีครัวเรือน บ้านที่ 1 นางสาวนูรียะ อาหมัน บ้านที่ 2 นางรีหนี ดำท่าคลอง บ้านที่ 3 นางนิสาชล ยาประจัน บ้านที่ 4 นางก๊ะ ยาประจันทร์ บ้านที่5นางจิ ขุนรายา 6 นางหวัน เปรมใจ 7 นางสุวรรณี สลีมีน 8 นางโด๊ะ กอลาบันหลง 9 นางบิด๊ะ ยาง๊ะ 10 นางฮาบีบ๊ะ เตาวะโต การลงพื้นที่ติดตามการทำบัญชีครัวเรือนในเดือนที่2 รายละเอียดรายรับ-รายจ่าย ในเดือนที่ 2 เริ่มดีขึ้นมีการประหยัค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพราะมีการปลูกผักบริโภคเองทำให้ลดรายจ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความร่วมมือจากประชาชนเยาวชนทุกภาคส่วนหน่วยงานรัฐทุกภาคส่วนโดยแกนนำชุมชนได้รวบรวมข้อมูลของชุมชนด้านต่างๆ ตลอดจนสภาพปัญหาของชุมชน แล้วกำหนดทิศทางที่จะนำไปสู่การการปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
    • การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม
    • มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
    • การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้

     

    60 60

    35. แตกหน่อบ้านพอเพียง(ติดตาม 3/3)

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้ารับผิดชอบโครงการและกรรมการได้ลงพื้นที่บ้านที่ได้ปลูกผักสวนครัวเพิ่ม บ้าน คู่ที่1 นายสาหมาด เตาวะโต กับนางปอหรา รอโซยล๊ะ คู่ที่ 2 นางฝาตีมีะ ตีกาสมกับ นางสำไพ เตาะโต คู่ที่ 3 นางตีส๊ะ ลาหมีด กับนางสำไพ เตาวะโต คู่ที่ 4 นางนางฝาตีม๊ะ ยาง๊ะ กับนางฝาตีม๊ะ เตาวะโต คู่ที 5 นางแบด๊ะ อาหมัน กับนางโบน ดำท่าคลอง คู่ที่ 6 นางฮาฝีเซาะ ดำท่าคลอง กับนายฮำดัน ยีบิลัง คุ่ที่ 7 นางโด๊ะ เตบสัน กับนางหัทยา เตาวะโต คู่ที่ 8 นางสาดเรียะ รอโซยล๊ะ กับนางดาริกา ล่านุ้ย คู่ที่ 9 นางตีรูมา อาหมัน กับนางนิสาชล ยาประจัน คู่ที่ 10 นางมานิ ยาง๊ะ กับนางก๊ะ ยาพระจันทร์ ในพื้นบ้านไร่ทอนหมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล มีชนิดผักที่ปลูกได้แก มะเขีย ปลิก ตะใคร้ ถั่วผักยาว เผือก ฝักเขียว มะละกอ ขมิ้น บัวบก สาระแหน่ มะกรูด ฟ้าทะลายโจร ยอ โหระพา มะระ ฝักเขียว แตงกวา ฟักทอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หัวหน้ารับผิดชอบโครงการและกรรมการได้ลงพื้นที่บ้านที่ได้ปลูกผักสวนเพิ่มไม่น้อยกว่า 5 ชนิด ในพื้นบ้านไร่ทอนหมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ประชาชนในหมู่บ้านได้มีอาชีพเสริมประหยัดเงินค่าอาหารและมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ได้ขยายฐานกลุ่มเกษตรกรจาก 10 ครัวเรือน เป็น 20 ครัวเรือน ได้กลุ่มเกษตรผสมผสานขึ้นใหม ได้ให้ความรู้และความร่วมมือทำบัญชีรายรับรายจ่ายจากการทำเกษตรผสมผสาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้เข้าร่วม 30 คน(กรรมการโครงการ 10 รุ่นพี่ 10 รุ่นน้อง 10) ใช้เวลา 2 วัน วันแรกเป็นการพูดคุยหลักวิชาวันที่สองเป็นการลงพื้นที่วางแปลนในพื้นที่จริง กรรมการโครงการออกติดตามเยี่ยมแปลงเกษตรของสมาชิกเก่าและใหม่ รวม 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมแต่ละครั้ง 10 คน

     

    20 20

    36. ครัวเรือนนักจดนักจัดการรายจ่าย(ลงติดตามบันชีครัวเรือน)

    วันที่ 13 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มกันมาลงทะเบียน หัวหน้ารับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ลงพื้นที่ติดตามการทำบัญชีครัวเรือน บ้านที่ 1 นางสาวนูรียะ อาหมัน บ้านที่ 2 นางรีหนี ดำท่าคลอง บ้านที่ 3 นางนิสาชล ยาประจัน บ้านที่ 4 นางก๊ะ ยาประจันทร์ บ้านที่5นางจิ ขุนรายา 6 นางหวัน เปรมใจ 7 นางสุวรรณี สลีมีน 8 นางโด๊ะ กอลาบันหลง 9 นางบิด๊ะ ยาง๊ะ 10 นางฮาบีบ๊ะ เตาวะโต 11 นางนางบิด๊ะ หวันบิหลาย 12 นางปอหรา เตาวะโต 13 นางหัทยา เตาวะโต 14 นางตีรูมา อาหมัน15 นางสะออหลา บูเก็ม 16 นางโบน ดำท่าคลอง 17 นางแบดีะ อหมัน 18 คอดีเยาะ ยะรัง 19 นางรอกียะ มาลียัน 20 นาง กีนะ ตีกาสม การลงพื้นที่ติดตามการทำบัญชีครัวเรือนในเดือนที่2 รายละเอียดรายรับ-รายจ่าย ในเดือนที่ 2 เริ่มดีขึ้นมีการประหยัค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพราะมีการปลูกผักบริโภคเองทำให้ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ จากการจำหน่ายผักที่ปลูกในครัวเรือ การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไก การทำเกษตรผสมผสาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความร่วมมือจากประชาชนเยาวชนทุกภาคส่วนหน่วยงานรัฐทุกภาคส่วนโดยแกนนำชุมชนได้รวบรวมข้อมูลของชุมชนด้านต่างๆ ตลอดจนสภาพปัญหาของชุมชน แล้วกำหนดทิศทางที่จะนำไปสู่การการปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

    • การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม

    • มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
    • การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้

     

    60 60

    37. เพิ่มศักยภาพจัดการกลุ่มและเติมเต็มรูปแบบการทำงาน

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรม เมื่อถึงเวลาผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทะยอยกันลงทะเบียน เมื่อถึงเวลาหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ดำท่าคลอง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดโครงการแนะนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ หลังจากนั้นวิยากร นายสัน หมีนพราน ตำแหน่งวิทยากรชำนาญงานจากสหกรณ์ท่าแพ ได้กล่าวนำกิจกรรมบรรยายในหัวข้อการทำงานในระบบกลุ่มให้มีประสิทธิภาพการวิเคราะห์(swot)และทิศทางการทำงานในอนาคต หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มทำworkshopร่วมกันโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มคลังปัญญาชุมชน กลุ่มประมง กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน อสม. กุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มน้ำยางสด จำนวน 60 คน โดยนางสาวกนกวรรณ กอลาบันหลง ตำแหน่ง นักพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ซึ่งได้ปัญหาในการทำงาน และข้อเสนอแนะในการทำงานดังนี้

    1 กลุ่มคลังปัญญา มีสมาชิกดังนี้ - นายสาหมาด เตาวาโต - นายชาอิดัน หลังจิ - นายจันทวรรธ์ กฐินฉิมพลี - นางรอเบี้ยะ เหมมัน - นางสีตี บูสามารถ - นายหมาดเหยน ยาประจัน - นายรอหีม ยาง๊ะ - นายอน นุ้ยสัน - นายยำอาด รอโซยล๊ะ - นายหยาด เส็นสมมาตร โดยมีปัญาหาดังนี้ - ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต - ขาดเครื่องมือและงบประมาณ - ต้องการตลาดในการรองรับสินค้า ข้อเสนอแนะดังนี้ - ต้องการครูในการสอนเพิ่มเติม - ต้องการสร้างอาคารโรงเรือนเพื่อประกอบอาชีพและเก็บอุปกรณ์ผลผลิต - ต้องการเครื่องมือที่ได้มาตฐาน


    2 กลุ่มออมทรัพย์ มีสมาชิกดังนี้ - นางหวัน เปรมใจ - นางสำไพ เตาวาโต - นางมารีหยำ เตบสัน - นางอาฟีเซ๊าะ ดำท่าคลอง - นางออหลา เตาวาโต - นางตีส๊ะ ล่าหมีด - นางยอหลอ ยาพระจันทร์ โดยมีปัญหาดังนี้ - เงินกู้ยื่นคำร้องขอกู้แล้วไม่ได้เลในเดือนที่ยื่น - ปรับปรุงสถานที่ทำงานของกลุ่ม เช่น ห้องนำ้ ห้องส้วม ห้องละหมาด - อยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาดูแลให้ทั่วถึง ข้อเสนอแนะดังนี้ - อยากได้เงินสมทบเพิ่มเติมในการกู้ยืมของสมาชิก - อยากให้หน่วยงานเข้ามาดูแลเป็นกำลังใจกลับกลุ่ม - อยากให้มีการส่งเสริมอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพิ่มเพื่อจะได้ชำระเงินกู้


    3 กลุ่มประมง โดยมีสมาชิกดังนี้ - นายฮาริด เตาวะโต - นายดีแน่น ตีกาสม - นายสมาน ยาวาระยะ - นางรีหนา หยังหลัง - นางตีม๊ะ เตาวะโต - นางอัน เตาวะโต - นางสรัญญา บิหลังโหลด - นายดาโหด ตุกังล๊ะ - นางหวัน วิจารย์ โดยมีปัญหาดังนี้ - อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพมีราคาแพง - ผลผลิตในการทำประมงมีราคาที่ถูก ข้อเสนอแนะดังนี้ - ต้องการงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ


    4 กลุ่มเลี้ยงสัตว์ โดยมีสมาชิกดังนี้ - นางเซ๊าะ งะกูหลัง - นายอิสมาแอล เตาวะโต - นายฮาสัน เตาวะโต - นางดารา ยาพระจันท์ - นางสุดา ตาเอ็น - นายอุเส็น มีลียัน - นางฝาตีม๊ะ ยาง๊ะ - นายสะอาด เตาวะโต โดยมีปัญหาดังนี้ - ขาดพ่อพันธ์ทีมีคุณภาพ - ขาดผู้เชี่ยวชาญในการผสมเทียม - ขาดเวชภัณฑ์ ข้อเสนอแนะดังนี้ - ต้องการเงินทุนในการสนับสนุนในการประกอบอาชีพ - ต้องการพ่อพัธ์ทีมีคุณภาพ - ต้องการวิธีการผสมเทียมที่ถูกต้อง - ต้องการเวชภัณฑ์


    5 กลุ่มปลูกผัก - นางตีรูมา อาหมัน - นางคอดีย๊ะ ยาประจันทร์ - นางรอกีย๊ะ มาลียัน - นายหมาดดม หมีดนุ้ย - นางสาวนิลนรา เตาวะโต - นายสวัสดิ์ ลาดิง - นางยูไวดา เตาวะโต โดยมีปัญหาดังนี้ - แมลงศัตรูพืชกัดกินใบและผล - ขาดนำ้ในฤดูแล้ง - ขาดทีมีคุณภาพในการเพาะปลูก - ขาดความรู้ที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพ - ขาดตลาดรองรับ ข้อเสนอแนะดังนี้ - อยากได้วิธีการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี - อยากได้ที่กับเก็บนำ้ไว้งใช้ในฤดูแล้งให้เพียงพอ - อยากได้วิธีการเพาะที่ถูกต้อง - อยากมีตลาดรองรับในชุมชน


    6 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน โดยมีสมาชิกดังนี้ - นางจิ ขุนรายา - นางหัทยา เตาวะโต - นางสอฝีย๊ะ ตาเอ็น - นายอีน รัญจวน - นางอำร๊ะ เตบสัน - นางอ้อมจันทร์ ยีละงู - นางปรียา เตาวะโต

    โดยมีปัญหาดังนี้ - สมาชิกส่งเงินไม่ตรงตามงวด - กองทุนไม่มีเงินเพียงพอในการกู้ของสมาชิกในแต่ละเดือน ข้อเนอแนะดังนี้ - อยามให้มีหน่วยงานเข้ามาแนะนำแนวทางเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด - ขอเงินสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่่ยวของ - อย่ากให้หน่วยงานของรัฐให้ความรู้ทางกฎหมายแก่กรรมการและสมาชิกกลุ่ม - เพิ่มศักยภาพความรู้แก่กลุ่ม เช่นศึกษาดูงานนอกพื้นที่ มีการสอนการทำบัญชี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความร่วมมือจากประชาชนในการร่วมกิจกรรม ได้รู้ถึงปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มต่างๆที่เข้าร่อมกิจกรรมทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ได้รู้ถึงความต้องการของแต่ละกลุ่ม

     

    60 61

    38. ไร่ทอน โก ทู เดอะ มาร์เก็ต

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้ารับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ดำท่าคลอง รวบรวมผลผลิตทั้งจากครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร ได้ทำการติดต่อสถานที่ในตลาดนัดเพื่อนำผลิตจากชุมชนของเราไปวางขาย พร้อมกับทีมงานในสภาผู้นำชุมชน แม่บ้านและประชาชนนำผลผลิตที่ทำในชุมชน เช่น กระต่ายขูดมะพร้าว งานไม้ต่างๆ ผักปลอดสารพิษ ไปวางจำหน่าย ตามตลาดในชุมชน เดือนละ 1-2 ครั้งเพื่อเพิ่มระบายผลผลิต เพิ่มรายได้ ให้ผู้ผลิต หัดทำการตลาดและแบ่งปันอาหารปลอดภัยสู่สังคม โดยจัดทีม โก ทูเดอะ มาร์เก็ต ขึ้น 20 คนทำหน้าที่รับซื้อผลผลิตไปวางจำหน่ายที่ตลาดนัดของอำเภอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนประชาชน ได้หัดทำการตลาด การทำบัญชี รวบรวมผลผลิตสินค้าจากชุมชนของเรานำไปขายในตลาดชุมชนทั้งพืชผักสมุนไพร ต้นกล้าพันธุ์ผัก กระต่ายขูดมะพร้าวต่างๆทำให้มีรายได้เสริม จากการทำอาชีพหลักและแบ่งปันอาหารปลอดภัยสู่สังคม

     

    20 20

    39. ถอดบทเรียนโครงการ

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 25 กันยายน 2559 เมื่อถึงเวลาผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทะยอยกันลงทะเบียน เมื่อถึงเวลาหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ดำท่าคลอง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดโครงการแนะนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ ภาคเช้ากลุ่มกิจกรรมในโครงการมาเล่าสู่กันฟังจากนั้นร่วมประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากจัดโครงการ ปัญหา อุปสรรค์ แนวทางแก้ไข การดำเนินงานต่อหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ การนำข้อมุลที่ได้คืนสู่ชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมอย่างเป็นรูปธรรม ภาคบ่ายเป็นการมอบรางวัลบุคคลดีเด่น กลุ่มต่างต่างๆที่มีความดีเด่นมีการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้แก่ 1 นายสวัส ลาดิง ตัวแทนกลุ่มปลูกผัก 2 นายอาริด เตาวะโตตัวแทนกลุ่มประมง 3 นายยอหาด หวันบิหลาย ตัวแทนกลุ่มเลี้ยงแพะ 4 นายหมาด ยาประจันตัวแทนกลุ่มเลี้ยงวัว 5 นางสาววาสนา เอ็มเล็งสตรี 6 นางสาวหัทยาเตาวะโต ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ 7 นางตีสะ ล่าหมีดตัวตัวแทนกลุ่มนำ้ยางสด 8 นายหมาดเหยน ยาประจัน ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์คลังปัญญา 9 นางก๊ะ ยาประจัน ตัวแทนอสม. 10 นางนางตีม๊ะ เตาวะโตตัวแทนกลุ่ม อพส.(อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ) 11 นายสามาด เตาวะโตตัวแทนปราช์ชาวบ้าน 12 นายบาราเหม ซะยานัยตัวตัวแทนผู้นำสาสนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เวทีถอดบทเรียนสรุปโครงการที่ได้ดำเนินการมาแล้วทั้งปีโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเช่น สถาผู้นำชุมชน ปราชณ์ชุมชน เยาวชน ประชาชน ตัวแทนกลุ่มคลังปัญญาชุมชน กลุ่มประมง กลุมสตรี กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มปลูกผัก กลุ่มนำ้ยางสดฯ โดยได้รวบรวมข้อมุลของชุมชนด้านต่างๆ ทั้งปัญหาการว่างงาน ปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายฯ แล้วสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดตามสภาพปัญหาของชุมชนแล้วกำหนดทิศทางที่จะนำไปสู่การปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการตลอดจนเกิดอง์ความรู้แล้วนำไปประยุคใช้เพื่อให้เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จากอาชีพหลักที่ทำอยู้แล้ว แล้วนำความรู้เป็นบทเรียนในการพัฒนาชุมชนโดยภาพรวมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมอย่างแท้จริง

     

    80 82

    40. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม พบพี่เลี้ยงก่อนปิดงวดที่ 2

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 3 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม แกนนำ 3 คน รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง เดินทางมาพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามงานงวดที่ 2-3 โดย - สอบถามจากแกนนำที่มา - ดูจากการายงานในเวป พี่เลี้ยงอธิบายการปิดงวดและการจัดทำรายงาน พี่เลี้ยงแนะนำการทำรายงานในเวป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้สรุปกิจกรรมงวดที่ 2-3 เพื่อเพิ่มเติมและแก้ไขรายละเอียดในเวป ได้เพิ่มเติมข้อมูลที่ต้องดำเนินการให้เสร็จ เช่น รายงาน ส.3 ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและหน้าเว็บไซต์โดยเจ้าหน้าที่ สจสร. ทำ ง1. ง2. ส3. ส4. บนหน้าเว็บไซต์ Happynetwork.org ส่งเอกสารทำการปิดงวด 2 ส่งให้เจ้าหน้าที่ สจรส.

     

    3 3

    41. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.วันที่ 3ต.ค.59เข้าร่วมพิธีเปิดงานสร้างสุขร่วมรับฟังแนวคิดจากนาย อภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และการเสวนาจากผู้นำต่างๆ ของ สสส. สปสช. สจรส จัดบูทนำเสนอคลังปัญญาชุมชนของบ้านไร่ทอนหมุ่ที่3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

    2.วันที่ 4ต.ค.59 เข้าร่วมประชุมห้องย่อย ชุมชนน่าอยู่ รับฟังการทำงานของโครงการชุมชนน่าอยู่ต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จจัดบูทนำเสนอคลังปัญญาชุมชนของบ้านไร่ทอนหมุ่ที่3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

    3.วันที่ 5ต.ค.59 เข้าร่วมประชุมฟังการเสนอแนะการทำงานของ สสส สปสชสจรส และภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาคใต้จัดบูทนำเสนอคลังปัญญาชุมชนของบ้านไร่ทอนหมุ่ที่3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงการดำเนินกิจกรรมและความสำเร็จของชุมชนรวมไปถึงแนวทางและวิธีการในการดำเนินการจึงทำให้เห็นว่าหากเราสามารถดำเนินการค้วยตัวเองก็จะนำไปสู่ความแข็มแข็งของชุมชนทำให้หน่วยงานต่างๆเข้ามาสนับสนุนพร้อมที่จะเป็นเครี่อข่ายในการดำเนินกิจกรรมได้รับความรู้ และประสบการณ์ เพื่อนำไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนชุมชนของบ้านไร่ทอนหมุ่ที่3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูลต่อไป

     

    4 4

    42. จัดทำรายงาน

    วันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบเอกสารของแต่ละกิจกรรรมให้ครบถ้วน

    ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์

    เมื่อเอกสารเรียบร้อยก็จัดทำเป็นรูปเล่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ให้แก่ชุมชนบ้านไร่ทอน

    ได้แนวทางในการต่อยอดโครงการของปีต่อไปในอนาคต

     

    3 3

    43. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เลือกรูปถ่ายที่ต้องการ พาไปที่ร้านเพือล้างรูป ให้ทำรูปในกระดาษโฟโต้และทำลงซีดี จ่ายเงินค่ามัดจำ นัดวันรับรูปถ่าย ไปรับรูปถ่ายตามวันที่ตกลงกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปถ่ายที่ต้องการ

     

    3 3

    44. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปิดงวดที่ 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้ารับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 3 คน เข้าร่วมพบเจ้าหน้าที่จาก สสส.เพื่อตรวจเอกสารกิจกรรมทั้งหมดและตรวจเวปไวต์ ณ อิงธารีสอร์ท อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บ้านไร่ทอนหมู่ที3 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล นำข้อมูลของชุมชนด้านต่างๆ ตลอดจนสภาพปัญหาของชุมชน แล้วกำหนดทิศทางที่จะนำไปสู่การการปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันขยายผลการรับรู้และเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่หมู่บ้าน/ชุมชนและประชาชนในพื้นที่ให้ครอบคลุมและสามารถเป็นหมู่บ้านที่สามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

     

    3 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 จัดตั้งกลไกสภาผู้นำไร่ทอนเพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะ ดำเนินการขยายเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน 2. แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 หรือไม่น้อยกว่า 24คน 3. การประชุมทุกครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆ ในชุมชน
    1. มีการประชุมเพื่อติดตามและวางแผนงานทุกเดือน รวม 10 เดือน ตั้งแต่เดือน กันยายน 2558 - ตุลาคม 2559

    2. การประชุมแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 หรือไม่น้อยกว่า 24 คน

    3. การประชุมสภาผู้นำชุมชน สสส.ทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆ ของชุมชน เช่น ปัญหายางราคาตกต่ำ ปัญหาขี้เลนบ่อกุ้งลงในคลอง และเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างมั่วสุม ขี่รถซิ่ง

    3.1เรื่องอื่นๆ เรื่องที่ได้รับแจ้งจากอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน

    2 ทำฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สู่การทำแผนชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ได้ข้อมูลสถานการณ์เศรษฐกิจครัวเรือน 1 ชุดข้อมูลเพื่อการวางแผนแก้ปัญหา 2. ได้แผนชุมชน 1 แผนงาน
    1. ได้ข้อมูลจากครัวเรือนทั้งหมด 220 ครัวเรือน 1 ชุดข้อมูล

    2. แผนชุมชนที่เชื่อมโยงต่อยอด กิจกรรมหลักของแผนได้แก่ การจัดการขยะ สืบสานภูมิปัญญา ทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น

    3 เสริมสร้างนิสัยขยัน ประหยัด และออม ในอันที่จะก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 70 ของครัวเรือนที่ร่วมกิจกรรมมีการออมเพิ่มขึ้น 2. ร้อยละ 70 ของครัวเรือนที่ร่วมกิจกรรมมีการปลูกผักเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้กินเองและจำหน่าย
    1. ครัวเรือนมีการออมเพิ่มจากเงินออมที่มีอยู่เดิมทุกครัวเรือน (220 ครัวเรือน )
    2. ครัวเรือนที่ไม่มีการออม และได้เกิดการออมขึ้น 30 ครัวเรือน
    3. ครัวเรือนที่ร่วมกิจกรรม 40 ครัวเรือน มีการปลูกผักเพิ่มครบทั้ง 40 ครัวเรือน
    4 รวบรวมคลังปัญญาในหมู่บ้าน อนุรักษ์ และส่งเสริมให้สร้างรายได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
    ตัวชี้วัด : 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการสืบถอดต่อ อย่างน้อย2 ประเภท

    ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการสืบทอด

    1.การทำกระต่ายขูดมะพร้าว ด้ามมีด

    2.การเลี้ยงแพะด้วยสมุนไพรและขยายเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะ

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. แกนนำโครงการได้เข้าร่วมกิจกรรมและรเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ร้อยละ 100 ของจำนวนครั้งที่จัด

    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมโครงการและกิจกรรมอื่นๆในหมู่บ้าน

    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ที่ได้รับมอบหมาย

    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จัดตั้งกลไกสภาผู้นำไร่ทอนเพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะ ดำเนินการขยายเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง (2) ทำฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สู่การทำแผนชุมชน (3) เสริมสร้างนิสัยขยัน ประหยัด และออม ในอันที่จะก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน (4) รวบรวมคลังปัญญาในหมู่บ้าน อนุรักษ์ และส่งเสริมให้สร้างรายได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง

    รหัสโครงการ 58-03914 รหัสสัญญา 58-00-2190 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    กระต่ายขูดมะพร้าว และหัตถกรรมงานไม้

    ภาพกิจกรรม

    หนุนเสริมให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    สภาผู้นำไร่ทอน

    รายงานกิจกรรม

    หนุนเสริมให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    บ้านครูภูมิปัญญาหัตถกรรมงานไม้

    ภาพกิจกรรม

    หนุนเสริมให้ทำการถ่ายทอดภูมิปัญญาอย่างตอ่เนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    การขยายกลุ่มเลี้ยงแพะ กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มเกษตรผสมผสาน

    • สมาชิกใหม่กลุ่มเลี้ยงแพะ 30ครัวเรือน
    • สมาชิกใหม่กลุ่มเกษตรผสมผสาน20 ครัวเรือน
    • สมาชิกใหม่กลุ่มออมทรัพย์ 50 คน

    หนุนเสริมให้ดำเนินการติดตามกลุ่มใหม่เพื่อให้กำลังใจ คำแนะนำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดกติกาชุมชน 9 ข้อ

    รายงานกิจกรรม

    ร่วมกันหาวิธีการติดตามการปฏิบัติตามกติกา เพื่อสรุปผลและปรับกติกา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
    • คนในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ ทำงานในอบต.มาช่วยกิจกรรมโครงการ
    • ดึงคนนอกที่มีความรู้ความชำนาญเรื่อง บัญชีครัวเรือน เกษตรผสมผสานมาช่วยสอนคนในชุมชน

    รายงานกิจกรรม

    ค้นหาคนที่ทำบัญชีครัวเรือน เกษตรผสมผสานได้ดี มาแลกเปลี่ยนกันเองต่อไป เพื่อได้แลกเปลี่ยนวิธีการ เทคนิคการประสบความสำเร็จ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ภูมิปัญญาหัตถกรรมงานไม้จากคนในชุมชน

    รายงานกิจกรรม

    หนุนเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03914

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย ประเสริฐ ดำท่าคลอง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด