แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน ”

คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

หัวหน้าโครงการ
นาย เจ๊ะหมาด ฮะอุรา

ชื่อโครงการ คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

ที่อยู่ คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03931 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2185

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน รหัสโครงการ 58-03931 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,940.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 200 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อก่อตั้งสภาผู้นำชุมชนและ M.5 Buddy (สภาเยาวชนบ้านควน) เพิ่มประสิทธิภาพกลไกใหม่(เยาวชน)ในชุมชนซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติด
  2. เพื่อสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในเยาวชน
  3. เพื่อลดโอกาสการทดลองใช้ยาเสพติด และลดการใช้สารเสพติดของกลุ่มเป้าหมายหลัก
  4. เพื่อสร้างการมีจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 23 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนร่วมและผู้นำชุมชนร่วมดำเนินการติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุดต่างๆดังนี้

    • มัสยิดมิสบาฮุสดีน ต.บ้านควน เนื่องจากเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของคนในหมู่บ้านในแต่ละวันจะมีผู้เข้ามัสยิดวันละ 5 ครั้ง
    • ที่ทำการกำนันตำบลบ้านควนเนื่องจากชาวบ้านจะจะมาใช้บริการบ่อยครั้ง
    • ศูนย์เรียนรู้ตำบลบ้านควนเนื่องจากมีผู้เข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก
    • โรงเรียนตาดีประจำมัสยิดมิสบาฮุสดีน ต.บ้านควน เป็นโรงเรียนในชุมชนมีผู้ปกครองและนักเรียนสามารถพบเห็นป้ายได้ชัดเจน
    • บังสมานโฮมสเตย์ เป็นโฮมสเตย์ชุมชนมีผู้เข้าพักและทำกิจกรรมต่างๆ
    • ป้ายเคลื่อนย้านเพื่อประชาสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรมนอกพื้นที่ในแต่ละครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านในชุมชนพบเห็นป้ายประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติตามในพื้นที่ไมสูบบุหรี่ นำไปสู่การตระหนักในการไม่สูบบุหรี่ได้ และเป็นที่อากาศบริสุทธิ์สิ่งแวดล้อมสุขภาวะที่ดีกับชุมชน

     

    1,000 1,000

    2. ประชาสัมพันธ์โครงการและกระตุ้นกระแสสังคมในชุมชน

    วันที่ 26 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าว แนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการแก่ประธานในพิธี และผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับทราบ
    • ด้วยสถานการยาเสพติดในชุมชนอยู่ในขั้นวิกฤต ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ชุมชนได้รับงบประมาณสนับสนุนจัดทำโครงการ คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
    • ภายในงานมีการติดป้าย ประชาสัมพันธ์โครงการ และ ป้ายปลอดบุหรี่ที่เต็นหลักของงาน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ อีกทางหนึ่ง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบ
    • ในช่วงเช้ากลุ่มแม่บ้านรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 200 คน
    • รูปแบบกิจกรรมแบ่งเป็นสองส่วนคือ กิจกรรมบนเวที และกิจกรรมการแข่งขันกีฬา
    • มีการแข่งขันกีฬาทางน้ำได้แก่การแข่งขัน ว่ายน้ำทวนน้ำ พายเรือทวนน้ำ มวยทะเล ดำน้ำหาของ(สลัมปุนโจะ) และแข่งขันกินก๋วยเตี๋ยว
    • กิจกรรมจะแบ่งการแข่งขันเป็น 3 รุ่น ได้แก้ รุ่นผู้ใหญ่อายุ 35ปีขึ้นไป รุ่นเยาวชนอายุ 15-25 ปี และรุ่นแด็กอายุ 10-15 ปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
    • กิจกรรมภาคเวทีมีการแสดงจากโรงเรียนตาดีกาประจำมัสยิดในชุมชนจำนวน 8 ชุดการแสดง ได้แก่ การแสดงอานาชีร ของเยาวชนจำนวน 5 ชุดการแสดง การขับเสภามลายู(ซาเยาะ) จำนวน 2 ชุดการแสดง และการแสดงปันจักสีลัตจำนวน 1 ชุดการแสดง และ ได้ทำการมอบของรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันแต่ละชนิดกีฬา และ ชุดการแสดงต่างๆ
    • ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณเสร็จสิ้นกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านควนได้รับทราบการดำเนินการจัดทำโครงการ คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 229 คน
    • เยาวชนในชุมชน 100คน เกิดการรวมตัวและทำกิจกรรมร่วมกัน
    • ชาวบ้าน 229 คน เกิดการรวมตัวและตระหนักถึงปัญหายาเสพติดในชุมชน

     

    200 200

    3. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์ พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ว่าด้วยเรื่องการดำเนินโครงการ
    • รับฟังการบรรยายอธิบายเรื่องการใช้เวบและการคีย์ข้อมูลโดย อ.ภานุมาศ
    • รับฟังและสอบถามเรื่องการดำเนินงานอย่างละเอียด โดย นาง นฤมล ฮะอุรา
    • รับฟังและสอบถามเรื่องการทำบัญชี โดย คุณธิดา
    • คีย์ข้อมูลแผนดำเนินงานและกิจกรรมย่อยลงเวบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558

    • รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์ พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ว่าด้วยเรื่องการดำเนินโครงการ และยกตัวอย่างโครงการที่ทำสำเร็จและไม่สำเร็จ
    • รับฟังการบรรยายอธิบายเรื่องการใช้เวบและการคีย์ข้อมูลโดย อ.ภานุมาศ พร้อมยกตัวอย่างอย่างละเอียดและง่าย
    • รับฟังและสอบถามเรื่องการดำเนินงานอย่างละเอียด โดย นาง นฤมล ฮะอุรา
    • รับฟังและสอบถามเรื่องการทำบัญชี โดย คุณธิดา
    • คีย์ข้อมูลแผนดำเนินงานและกิจกรรมย่อยลงเวบ
    • รับฟังการบรรยายการทำสื่อโดย คุณถนอม

      วันที่ 6 ตุลาคม 2558

      • คีย์ข้อมูลกิจกรรมเพิ่มเติม
      • ประชุมรายงานผลกิจกรรมที่ได้ทำมาแล้วให้แก่พี่เลี้ยง

     

    2 1

    4. ประสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 1/10

    วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมพบปะสภาผู้นำชุมชน ทำความรู้จัก พร้อมอบรมให้ความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชนโดย นาย สุรศักดิ์ ราษฎร์นุ้ย หัวหน้าพัฒนาชุมชนบ้านควน สภาผู้นำชุมชนเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของชุมชนทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ พิจารณาให้ความเห็นชอบความเห็นชอบกิจการสำคัญของ ชุมชน โดยใช้มติของที่ประชุมสภาผู้นำชุมชน เป็นหลัก มีประธานสภาผู้นำชุมชน เป็นหัวหน้า
    อำนาจหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน มีดังนี้
    (1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาชุมชน. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ ชุมชน
    (2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ ชุมชน ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ของ ชุมชน (3) ควบคุมการปฏิบัติงานของประธานสภาผู้นำชุมชน ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา ชุมชน ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
    มีใครบ้างในสภาผู้นำชุมชน และมีหน้าที่อย่างไร
    (1) สมาชิกสภาสภาผู้นำชุมชน มีหน้าที่ดังนี้
    - เข้าร่วมประชุมสภาผู้นำชุมชน อภิปรายแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภาผู้นำชุมชน และลงมติในประเด็นต่างๆ
    - ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน - หน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎของสภาผู้นำชุมชนกำหนดเท่านั้น
    (2) ประธานสภา 1 คน : เลือกจากสมาชิกผู้นำชุมชน ประธานสภามีหน้าที่ดำเนินการประชุมและดำเนินการกิจการอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมที่ทางสภาได้กำหนดไว้ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
    -ดำเนินกิจการของสภา ตามกฎสภาผู้นำชุมชนกำหนด
    -เป็นประธานของที่ประชุมสภา
    -บังคับบัญชาการงานในสภาผู้นำชุมชน
    -รักษาความสงบเรียบร้อยในสภาผู้นำชุมชน
    (3) รองประธานสภา 2 คน : เลือกจากสมาชิกสภาผู้นำชุมชน
    รองประธานสภาผู้นำชุมชนมีหน้าที่ช่วยประธานสภาผู้นำชุมชน ปฏิบัติการตามหน้าที่และกระทำกิจการตามที่ประธานสภาผู้นำชุมชนมอบหมาย: ในกรณีไม่มีประธานสภาผู้นำชุมชนหรือประธานสภาผู้นำชุมชน ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้รองประธานสภาผู้นำชุมชน ปฏิบัติหน้าที่แทน
    (4) เลขานุการสภา 1 คน: ซึ่งสภาผู้นำชุมชน เลือกจากสมาชิกสภาผู้นำชุมชน เลขานุการ อบต. มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ และจัดการประชุมและงานอื่นใดตามที่ประธานสภาผู้นำชุมชน มอบหมาย
    -แจ้งนัดประชุมสภา อบต. ตามคำสั่งของประธานสภาผู้นำชุมชน -ชี้แจ้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งหรือหนังสือส่งการ หรือ แนวทางปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของชุมชน ต่อที่ประชุมสภาผู้นำชุมชน -ช่วยเหลือประธานสภาผู้นำชุมชน จัดทำระเบียบวาระการประชุมสภา ผู้นำชุมชน
    -จัดทำรายงานการประชุมสภาผู้นำชุมชน -เก็บรักษาข้อมูลข่าวสาร หรือเอกสารของสภาผู้นำชุมชน แต่จะเปิดเผยได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้นำชุมชน การปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน จะเกิดจากการประชุมสภาผู้นำชุมชน และมติของที่ประชุมสภาผู้นำชุมชน ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีการประชุมในวันเสาร์แรกของทุกเดือน

    ผู้นำควรมีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักอยู่ 4 ด้าน คือ 1. หน้าที่ที่มีต่อองค์การ เป็นหน้าที่ที่จะต้องกระทำในฐานะผู้นำกลุ่ม ซึ่ง หน้าที่ดังกล่าวนี้ได้แก่ การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย วางแผน ติดตามงานอย่าง สม่ำเสมอ และหากพบข้อบกพร่องต้องรีบหาทางแก้ไข เพื่อเสริมสร้างให้ปริมาณ และคุณภาพของงานได้ผลสูงสุด
    2. หน้าที่ที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ในฐานะหัวหน้างาน ผู้นำย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในงาน 3 ด้าน คือ ในด้านการบริหารในด้านการปกครองคนและการฝึกอบรมและเป็นที่ปรึกษาที่ดี ส่งเสริมให้ผู้บังคับบัญชาก้าวหน้า บำรุง ขวัญและกำลังใจ ใกล้ชิดกับกลุ่มและรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ
    3. หน้าที่ที่มีต่อหน่วยงานอื่นในองค์การเดียวกัน นั่นคือ ผู้นำจะต้องทำ หน้าที่ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆเพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล
    4. หน้าที่ที่มีต่อตนเอง ประกอบด้วย - สอนตนเองให้เป็นผู้นำที่ดี มีจิตสำนึกของความเป็นผู้นำ - รับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ - ปฏิบัติตนให้เข้ากับสังคมได้ดี - ศึกษาหาความรู้ปรับปรุงตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ - ขยันในการทำงาน และอุทิศตนให้กับงานในหน้าที่ - กล้ายอมรับผิด - ตรงต่อเวลา - มีความยุติธรรม - มีความซื่อสัตย์ - มีคุณธรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดสภาผู้นำชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
    • กลุ่มเป้าหมายตัวแทนแกนนำจากฝ่ายปกครอง 4 คน, อสม. 3 คน, ชรบ. 2คน, กลุ่มแม่บ้าน 2 คน, เยาวชน 3 คน, สอบต. 2 คน, ผู้นำศาสนา 1 คน, กลุ่มผู้สูงอายุ 2 คน, กลุ่มร้านค้าชุมชน 1 คน รวม 20 คนครบตามเป้าหมายที่วางไว้
    • สมาชิกสภาผู้นำชุมชนเกิดความเข้าใจในการขับเคลื่อนงานของสภาฯ ในการสร้างสุข และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยผ่านโครงการคนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน
    • สมาชิกสภาผู้นำชุมชนทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง และร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป

     

    20 24

    5. ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 2/10-Oct

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มลงทะเบียนเวลา 13.00 น.
    • นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา ประธานสภาได้กล่าวต้อนรับและได้แจ้งปัญหาของชุมชนให้ที่ประชุมทราบ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด เนื่องจากทางอำเภอได้เชิญกำนันเข้าไปพุดคุยปัญหาในชุมชน และเสนอแนวทางการแก้ไข
    • เริ่มประชุมเรื่องการจัดทำกิจกรรม Islamic Way Of Life 1 ทำการวางแผนและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกสภาผู้นำชุมชนมีหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรม
    • สมาชิกสภาผู้นำชุมชนได้รับหนังสือเชิญการมาประชุม
    • กิจกรรม Islamic Way Of Life 1 ได้แบ่งหน้าที่ ดังนี้
      1. นายอาลี ฮะอุรา เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาเยาวชนจำนวน 50 คน
      2. นายยะโกบ หาบยูโซ๊ะ เป็นผู้รับผิดชอบด้านสถานที่
      3. นายอัครวัฒน์ ฮะอุรา รับผิดชอบด้านกิจกรรม
      4. นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา เป็นผู้รับผิดชอบประสานงานกับวิทยากร
      5. นายรามัน ตอหิรัญ เสนอให้มีหนังสือเชิญสำหรับการมาประชุม

     

    20 20

    6. ค่ายศาสนาบำบัด Islam Way of Life Camp I

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 21พ.ย.2558

    • เวลา08.00 น.ลงทะเบียนพร้อมกันที่มัสยิดมิสบาฮุสดีน
    • ในภาคเช้าเปิดพิธีโดยนายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กำนันตำบลบ้านควนได้ไห้โอวาสแสดงถึงความห่วงใยเยาวชนในชุมชน
    • ผู้เข้าร่วมโครงการรับฟังการบรรยายพิเศษจาก ดาบตำรวจ ด่าเร็ต พินธ์สุวรรณ์ วิทยากรจากสถานีตำรวจเมืองสตูล ในหัวข้อเรื่อง การสร้างภูมิคุมกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชน
    • น้อง ๆ ร่วมรับประทานอาหารเที่ยง ภาคบ่าย กิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรม โดยทีมสภานักเรียนโรงเรียนสตูลวิทยา อาทิละลายพฤติกรรมทำความรู้จัก สวัสดี กิจกรรมกลุ่ม 10 กลุ่ม
    • กิจกรรมระดมความคิด พิษยาเสพติด
    • ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละกลุ่มจะระดมความคิดถึงพิษภัยโทษของยาเสพติดและออกมานำเสนอ
    • กิจกรรมภาคกลางคืน รับฟังการบรรยายจากอาจารย์สราวุธ นิยมเดชาวิทยากรจากโรงเรียนตาดีกาประจำมัสยิดมิสบาฮุสดีนในหัวข้อเรื่องนิทานคุณธรรม

    วันที่ 22 พ.ย. 2558

    • ผู้เข้าร่วมโครงการตื่นนอนปฏิบัติภารกิจส่วนตัวรับประทานอาหารเช้า
    • รับประกาศนียบัตรและพิธีปิดโครงการโดยนายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กำนันตำบลบ้านควน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติดมีเครือข่ายเพื่อนและภูมิคุ้มกันตนเองในการปฏิเสธและหลีกห่างจากยาเสพติด
    • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความภูมิใจที่ไม่ยุ่งกับยาเสพติดและหันมาสนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆของโครงการ ได้แก่ กิจกรรมการแสดงมวยไทยและฟุตบอล

     

    50 54

    7. ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 3/10

    วันที่ 2 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มลงทะเบียนเวลา 13.00 น.
    • นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กล่าวเปิดประชุมและได้กล่าวสรุปกิจกรรม Islamic Way Of Life 1 สมาชิกสภาชุมชนไก้ลงความเห็นว่ากิจกรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
    • นางนัชร๊ะ บูนำ ได้เสนอว่า ให้เชิญกลุ่มสตรีมาเปิดรบูธขายของเพื่อหารายได้เข้าสู่กลุ่มสตรี
    • ปรึกษาหารือกิจกรรม ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ Practice and Play: Child Chor-Sport and Culture 1 , Practice and Play: Teen Chor-Sport and Culture 1 และกิจกรรม Islamic Way Of Life 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกสภาผู้นำชุมชนได้รับหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมในเดือนธันวาคม
    1. กิจกรรม Islamic Way Of Life 2 ผู้รับผิดชอบคือ นายรมลี นารอยี โต๊ะคอเต็บประจำมัสยิดมิศบาฮุดดีนบ้านควน
    2. กิจกรรมทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ผู้รับผิดชอบคือ นายอัครวัฒน์ ฮะอุรา
    3. กิจกรรม Practice and Play: Child Chor-Sport and Culture 1 ผู้รับผิดชอบคือ นายยะโกบ ตอหิรัญ
    4. กิจกรรมPractice and Play: Teen Chor-Sport and Culture 1ผู้รับผิดชอบคือ นายสาการียา ตอหิรัญ
    • ได้ผลสรุปกิจกรรม Islamic Way Of Life 1

     

    20 21

    8. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ให้ความรู้เรื่องการเขียนรายงานและการเงิน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 9.00 น ลงทะเบียน
    • 10.00 น รับฟังการบรรยายเรื่องการเขียนรายงานและการเงิน
    • 12.00 น รับประทานอาหารเที่ยง
    • 14.00 น รับฟังการบรรยายเรื่องการเขียนรายงานและการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • รู้วิธีการเขียนรายงานที่ถูกต้อง
    • รู้วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

     

    2 1

    9. Practice and Play:Child Chor-Sport and Culture1

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในรุ่นอายุ ไม่เกิน 13 ปี ณ สนามหญ้าเทียมควนกาหลง อารีน่า
    • ผลเข้ารอบ 32 ทีมสุดท้ายจากจำนวนเข้าแข่งขัน 48 ทีม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในรุ่นอายุ ไม่เกิน 13 ปี ณ สนามหญ้าเทียมควนกาหลง อารีน่า
    • ผลเข้ารอบ 32 ทีมสุดท้ายจากจำนวนเข้าแข่งขัน 48 ทีม
    • เยาวชนได้มีทักษะเพิ่มขึ้นและมุ่งมั่นฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันต่อไป

     

    30 30

    10. ค่ายศาสนาบำบัด Islam Way of Life Camp II

    วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 19 ธ.ค.2558

    • ลงทะเบียนเวลา12.00 น.ณ.ศูนย์เรียนรู้ตำบลบ้่านควน
    • รับประทานอาหารร่วมกัน
    • ปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน 14.00 -17.00น.พิธีเปิดโครงการโดยนายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กำนันตำบลบ้านควนกล่าววัตถุประส่งค์โครงการและให้โอวาสแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
    • เปิดโครงการ Islamic Way of Life II i โดยนายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กำนันตำบลบ้านควน
    • รับฟังการบรรยายหัวข้อการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและแนวทางการปฏิเสธยาเสพติด โดยคุณนฤมล โต๊ะหลัง วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน
    • เวลา 17.00 น.เดินทางไปพัก ณ มัสยิด
    • พักผ่อนตามอัธยาศัย
    • รับประทานอาหารและปฏิบัติศาสนกิจ เวลา 20.00-22.00น.
    • กิจกรรมกลุ่มศาสนบำบัดขัดเกลาตักเตือนด้วยหลักการศาสนาอิสลาม

    วันที่ 20 ธันวาคม 2558

    • 05.00 น.ปฏิบัติภารกิจส่วนตัวและปฏิบัติศาสนกิจกรรมพบประพูดคุยเรื่องศาสนาตามแนวทางศาสดา
    • 07.00 น.รับประทานอาหารเช้าเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจถึงพิษภัยยาเสพติดโดยยึดหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินชีวิตมีภูมิคุ้มกันตัวเองหลีกห่างจากยาเสพติดได้

     

    50 50

    11. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 1

    วันที่ 27 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดรวมตัวเวลา15.00 น
    • 16.00-18.00 น.ลงสนามฝึกซ้อมฟุตบอล ณ สนามหญ้าเทียมควนกาหลงอารีน่า
    • ทำการแบ่งทีม เป็น 3 ทีม ทีมละ 10คน
    • ทำการแข่งขับพบกันทุกทีม
    • ทีมที่มีคะแนนสูงสุดสองทีมเข้าแข่งขันชิงชนะเลิศ
    • ฝึกซ้อมด้วยการจำลองการแข็งขันเสมือนจริง
    • เรียนรู้การถูกกดดันขณะแข่งขัน
    • เรียนการแก้เกมการแข่งขัน
    • เรียนรู้การระงับสติการม
    • มอบรางวัลแก่ผู้ชนะ
    • รับประทานอาหารร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนมีความสนุกและกระตือรือร้นเพิ่มขึ้น
    • เยาวชนได้เรียนรู้ร่วมกันเรื่องทักษะการแข่งขัน การระงับอารมณ์ การแก้เกม การวางแผน
    • เยาวชนรวมกลุ่มฝึกซ้อมด้วยตนเองด้วยความสนใจทุกวันหลังเลิกเรียนทำให้มีพัฒนาการด้านทักษะการเล่นดีขี้นเรื่อยๆและมีเยาวชนสนใจเพื่มขึ้น- -

     

    30 30

    12. ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 4/10-Jan

    วันที่ 2 มกราคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มลงทะเบียน 13.00 น.
    • นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กำนันตำบลบ้านควน ได้กล่าวเปิดประชุม
    • นายอัครวัฒน์ ฮะอุรา ได้กล่าวรายงานการประชุมร่วมกับ สสส. เรื่องการเขียนรายงานและการเงิน
    • ประธานสภาผู้นำชุมชนกล่าวสรุปโครงการที่ได้ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด สมาชิกสภาผู้นำชุมชนได้ลงความเห็นว่ากิจกรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
    • ประธานสภาผู้นำชุมชนได้แต่งตั้งหน้าที่ให้สมาชิกสภาผู้นำชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมของเดือนมกราคม ดังนี
      • นายอัครวัฒน์ ฮะอุรา เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม Chor-Muaythai ไปร่วมการแสดงศิลปะการป้องกันตัว ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
      • นายยะโกบ ตอหิรัญ เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม Practice and Play: Child Chor-Sport and Culture 2
      • นายสาการียา ตอหิรัญ เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม Practice and Play: Teen Chor-Sport and Culture 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกสภาผู้นำชุมชนมีหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมของเดือนมกราคม
    • ได้ผลสรุป กิจกรรม ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ , Practice and Play: Child Chor-Sport and Culture 1, Practice and Play: Teen Chor-Sport and Culture 1 และกิจกรรม Islamic Way Of Life 2

     

    20 20

    13. นำกลุ่ม Chor-Muaythai ไปร่วมการแสดงศิลปะการป้องกันตัว

    วันที่ 9 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แสดงโชว์บนเวทีงานวันเด็ก ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลโดยทำการแสดงโชว์ชื่อชุดตอมวยกำปงฆ๊วน(มวยไทยบ้านควน)โดยผู้ทำการแสดงเป็นเยาวชนที่ร่วมฝึกฝนและได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มให้ทำการแสดง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากกิจกรรมการแสดงชุดตอมวยกำปงฆ๊วน(มวยไทยบ้านควน)ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและหลังจากวันนั้นได้มีผู้สนใจติดต่อให้ไปทำการแสดงในงานอื่นๆหลายงานซึ่งเป็นขวัญและกำลังใจที่ดีให้แก่เยาวชนและเยาวชนอื่นๆที่อยู่ในชุมชนก็สนใจเพิ่มขึ้น

     

    18 18

    14. Practice and Play:Child Chor-Sport and Culture 2

    วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09.00-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวมตัวเวลา 09.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลบ้านควน
    • เดินทางไปที่สนามหญ้าเทียม Corner Stadium
    • ทำการฝึกซ้อม ยืดหยุ่นร่างกาย ประมาณ 1 ช.ม.
    • เยาวชนรู้สึกตื่นเต้นและสนุกสนานเพราะเป็นสนามหญ้าเทียมในใหญ่
    • เยาวชนที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวจริงลงสนามแข่งขันโดยเพื่อนๆคอยให้กำลังในข้างๆสนาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • หลังจบการแข่งขันแพ้1ครั้งชนะ1ครั้ง
    • แม้นจะตกรอบแรกก็ทำให้เยาวชนได้รับการเรียนรู้ทักษะที่เพิ่มขึ้นและมีความสุขกับกิจกรรม
    • กิจกรรมครั้งนี้ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้การมีน้ำใจแม้นพ่ายแพ้แต่พวกเขาบอกว่าจะกลับมาคว้าชัยชนะอีกครั้ง

     

    30 30

    15. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 2

    วันที่ 24 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวมตัวเวลา 13.00น.ออกเดินทางไปยังสนามกีฬาฟุตบอลชั่วคราวบ้านเขาจีน
    • เยาวชนอบอุ่นร่างกายยืดหยุ่นกล้ามเนื้อแบบกลุ่มด้วยความสนุกสนาน
    • โดยให้ทุกคนในกลุ่มสลับกันออกมาเป็นผู้นำการออกท่าตัวอย่างแล้วให้เพื่อนๆทำตาม
    • ได้เห็นถึงรอยยิ้มความสุขและสนุกสนานของเด็กๆ
    • ตัวแทนที่ถูกคัดเลือกลงสนามแข่งขันโดยเพื่อนๆคอยให้กำลังใจ
    • ขณะทำการแข่งขันผู้แข่งขันก็มีความทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการแข่งขัน
    • เพื่อนที่อยู่ข้างๆสนามก็ส่งเสียงเชียร์อย่างสุดกำลัง
    • หลังจบการแข่งขัน ก็รับประทานอาหารร่วมกันและกลับบ้านพร้อมกันด้วยรอยยิ้ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลการแข่งขันเป็นที่ 1 ของสาย o ได้คะแนนรวม 7 แต้ม
    • ผลสรุปแพ้การยิงลูกโทษ 3:2 ประตู ตกรอบ 32ทีมสุดท้าย
    • สิ่งที่เกิดขึ้นมากว่าประสบการณ์คือทักษะและน้ำใจนักกีฬาที่เกิดขึ้นตลอดการแข่งขัน
    • ภาพที่เพื่อนต่างทีมจับมือกอดกันคือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นแม้นจะมาต่างพื้นที่
    • เมื่อกีฬานำพามิตรภาพต่างถิ่นมาเจอกันเพียงระยะเวลาไม่นานกีฬาได้สร้างความผูกพันธ์ให้เกิดขึ้นต่อไป

     

    30 30

    16. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินเปิดบัญชี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินเปิดบัญชี 500 บาท

     

    1 1

    17. พบพี่เลี้ยง

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวไปยังบ้านพี่เลี้ยง
    • จัดเตรียมเอกสารและรายละเอียดโครงการที่ใช้ในการปิดงบ
    • พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสาร
    • เพิ่มเติมและแก้ไขเอกสารตามคำแนะนำของพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทราบถึงข้อผิดพลาดในเรื่องการจัดเตรียมเอกสาร
    • สามารถจัดเตรียมเอกสารได้ถูกต้องตามคำแนะนำของพี่เลี้ยง

     

    2 0

    18. พบพี่เลี้ยง

    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวไปบ้านพี่เลี้ยง
    • แก้ไขเอกสารตามคำแนะนำของพี่เลี้ยง
    • เพิ่มรูปภาพในเว็บ พร้อมบรรยายภาพ
    • พี่เลี้ยงตรวจสอบรายละเอียดในเว็ปไซด์
    • สอนวิธีการทำ ง.1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้การจัดเตรียมเอกสารเพื่อปิดงวดที่ถูกต้อง
    • เอกสารถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์

     

    2 2

    19. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปิดงวดที่ 1

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดลำดับคิวพบผู้ตรวจโครงการ ได้คิวลำดับที่ี 2 เจ้าหน้าที่ สจรส.  (พี่เอก) ตรวจสอบเอกสารการดำเนินกิจกรรมในงวดที่1ได้แก่กิจกรรม
    ตรวจสอบเอกสารและแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ตรวจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดลำดับคิวพบผู้ตรวจโครงการ เจ้าหน้าที่ สจรส.  (พี่เอก) ตรวจสอบเอกสารการดำเนินกิจกรรมในงวดที่1ได้แก่กิจกรรม
    - ประชาสัมพันธ์โครงการและกระตุ้นกระแสสังคมในชุมชน ผู้ตรวจแนะนำเอกสารลายเซ็นต์ไม่ครบ - กิจกรรมป้ายไวนิล"สถานที่ปลอดบุหรี่"เอกสารครบถ้วน - กิจกรรมปฐมนิเทศ กับสสส และ สจรส มอ  เอกสารครบถ้วน - กิจกรรมประชุมผู้นำสภาชุมชนบ้านควน ครั้งที่ 1-4 ผู้ตรวจแนะนำควรมีเอกสารการเสียภาษีของร้านถ่ายเอกสารหรือตราปั๊ม - กิจกรรม Islamic Way of Life ครั้งที่ 1-2 ผู้ตรวจแนะนำควนมีตราปั๊มมัสยิดในใน - กิจกรรม Child Chor - Sport and Culture  ครั้งที่ 1-2  เอกสารครบถ้วน - กิจกรรม Teen Chor - Sport and Culture ครั้งที่ 1-2  เอกสารครบถ้วน

     

    2 2

    20. ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 5/10-Feb

    วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 13.30 - 16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสรุปงบและกิจกรรมของงวดแรกแก่สภาฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    13.30น.ลงทะเบียนก่อนเข้าประชุมที่ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ต.บ้านควน 14.00 น. ประธานสภากล่าวเปิดการประชุมและได้กล่าวเรื่องโครงการเศษฐกิจพอเพี่ยงของทางอำเภอที่จะจัดสรรงบลงมาที่หมู่บ้าน
    14.30 น. นายอัครวัฒน์ ฮะอุา รายงานเรื่องที่ได้ไปสรุปงานที่ สจรส.มอ ซึ่งได้ทำกิจกรรมไปทั้งหมด 15 กิจกรรม จาก 64 กิจกรรม โดยไช้งบประมาณไปทั้งหมด 77,180 บาท 15.00 น. เปิดไห้ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอความคิดเห็น แต่ไม่มีผู้เสนอความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว 16.00 น. ประธานที่ประชุม นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กล่าวขอบคุณและปิดการประชุม

     

    20 20

    21. จัดตั้งและประชุมชมรม M.5 Buddy

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำการลงทะเบียนเวลา 14.00 น ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์เรียนรู้ตำบลบ้านควน  นายอัครวัฒน์ ฮะอุรา ทำการปรึกษาหารือกับเยาวชนภายในชุมชน เกี่ยวกับการจัดตั้งชมรมภายในหมู่ที่ 5 ตำบลบ้านควน ต่อจานั้นทำการเลือกประธานของชมรมโดย นายอัฟดอล นิสาแระ อายุ 18 ปี ได้รับเลือกให้เป็นประธาน นายรอซี รอหิรัน อายุ 17 ปี ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานคนที่ 1 นายอิมรอน ต๊ะหะรา อายุ 16 ปี ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานคนที่ 2 และ นายวันเราะหมัด ฮะอุรา อายุ 15 ปี ได้รับเลือกให้เป็นเลขา สำหรับสมาชิกที่เหลือ เป็นกรรมการภายชมรม โดยงานแรกของชมรมก็คือ ทำการจัดทำบัญชีรายชื่อของ นักฟุตบอลทั้ง 3 รุ่น ได้แค่ รุ่นอายุ 12 ปี รุ่นอายุ 14 ปี และรุ่นอายุ 20 ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน รวมถึงจัดทำบัญชีรายชื่อของนักมวย จำนวน 10 คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ชมรม M.5 Buddy 1 ชมรม(ชมรมเด็กเยาวชน)
    • เยาวชนมีเวทีทางความคิดในระดับชุมชน
    • เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนในชุมชนบ้านควน
    • เยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    • ลดเวลามั่วสุ่มของเยาวชน 

     

    50 50

    22. Practice and Play:Child Chor-Sport and Culture 3

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 16.00 - 18.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เยาวชนChild Chor-Sport and Culture จากบ้านควน  รุ่นอายุ 12 ปี  จำนวน 15 คน เยาวชนที่เล่นกีฬาฟุตบอลจากทีมสภาเด็กและเยาวชนตำบลเกตรี รุ่นอายุ 12 ปี  จำนวน 15 คน - อบอุ่นร่างกาย 30 นาที่ - ลงสนามแข่งขันครึ่งแรก 20 นาที - พัก 5 นาที - ลงสนามแข่งขันครึ่งหลัง  20 นาที - คลายกล้ามเนื้อหลังการแข่งขัน 15 นาที - จับมือทักทายเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้ฝึกซ้อมทักษะฟุตบอลกับเพื่อนต่างทีมต่างพืนที่ ได้เชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างทีมต่างพืนที่

     

    30 30

    23. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 3

    วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 19.00 - 20.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 19.00 น.นัดรวมตัวเพื่อเดินทางไปยังสนามหญ้าเทียมควนกาหลงอารีน่า
    • 19.15 น.เดินทางถึงสนามหญ้าเทียมควนกาหลงอารีน่า
    • อบอุ่นร่างกายยืดกล้าม 15 นาที
    • ทำการแข่งขันครึ่งแรก 30 นาที
    • พัก 5 นาที
    • ทำหารแข่งขันครึ่งหลัง 30 นาที
    • ผลกการแข่งขัน ชนะ 2:1 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เพื่อนำเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมาฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลนอกพื้นที่และสานสัมพันธ์กับเพื่อนต่างทีม และมีการนัดพบประเชื่อสัมพันธ์เป็นระยะ

     

    30 30

    24. Practice and Play:Child Chor-Sport and Culture 4

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 19:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดรวมตัวกันที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลบ้านควนเวลา 18.00น.
    ทำการแสดงโชว์ศิลปะมวยไทยท้องถิ่นบ้านควน(ตอมวยกำปงฆวร)ในการแสดงกิจกรรมในงานวันกำนันผู้ไหญ่บ้านในเวลา 20.30 น. ในการแสดงครั้งนี้ น้องชำพลาดตกลงมาจากหลังของเพื่อนระหว่างการแสดงท่า หนุมานเหยียบลงกา แต่ไม่ได้รับบาทเจ็บมากและทำการแสดงจนจบ พร้อมกับได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หลังจากการแสดงมีผู้คนให้การชื่นชมเยาวชนและขอเบอร์โทรเพื่อติดต่อชุดการแสดงในโอกาสต่อไป เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างกำลังใจให้เด็กมากขึ้นด้วย

     

    30 30

    25. ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 6/10-Mar

    วันที่ 27 มีนาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    14.10 น.ประธานสภานายเจ๊ะหมา ฮะอุรา ประธานสภาฯกล่าวเปิดการประชุม - นายอัครวัฒน์ ฮะอุรา ชี้แจงผลการจัดกิจกรรมในงวดที่ ๑ - สมาชิกสภาร่วมประเมินปัญหาอุปสรรค์ในการจัดทำโครงการ - อุปสรรค์เรื่องงบประมาณล่าช้ามีมติให้ชะลอจัดกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูงจนกว่าจะได้รับงบประมาณ - ให้ดำเนินกิจกรรมที่สามารถจัดได้ตามความเหมาะสม เช่นกิจกรรม Teen Chor-Sport and Culture,Child Chor-Sport and Culture เป็นต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลสรุปจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา อุปสรรค์เรื่องงบประมาณล่าช้ามีมติให้ชะลอจัดกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูงจนกว่าจะได้รับงบประมาณ
    • ให้ดำเนินกิจกรรมที่สามารถจัดได้ตามความเหมาะสม เช่นกิจกรรม Teen Chor-Sport and Culture,Child Chor-Sport and Culture เป็นต้น

     

    20 20

    26. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 4

    วันที่ 27 มีนาคม 2559 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    15.45 น. นัดรวมตัวเดินทางไปยังสนามกีฬาโรงเรียนบ้านเกตรี 16.00 น. ลงสนามอบอุ่นร่างกาย ทำการแข่งขัน 60 นาทีแบ่งเป็นการแข่งขันครึ่งละ 30 นาที พัก5 นาที โดยในครึ่งเวลาแรกทั้งสองทีมสู้กันได้อย่างสูสีโดยที่ Chor-teen ยิงขึ้นนำไปก่อน 2 ประตู แต่ใครึ่งเวลาหลังทีมเกตรีได้ไล่มาตีเสมอได้ในที่สุด จบเกมส์เสมอกันไป 2-2 เสร็จการแข่งขันจับมือเชื่อมสัมพันธ์ คลายกล้ามเบื้อเดินทางกลับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการแข่งขัน ผลการยิงประตู เสมอ 2:2 ประตู
    เยาวชนได้ทดสอบความสามารถและมีความกระตือรือร้นในการซักซ้อมและฝึกฝนต่อไป มีการตกลงจะทำการแข่งขันใหม่ในครั้งหน้าตามเวลาเหมาะสม

     

    30 30

    27. นำกลุ่ม Chor-Muaythai ไปร่วมการแสดงศิลปะการป้องกันตัว

    วันที่ 10 เมษายน 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป็นการแสดงโชว์ในงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน ได้แก่การล่องแก่ง ชมต้นยางอายุ๑๐๐ ปี บ้านโบราณอายุ ๑๐๐ กว่าปี มีการแข่งขันล่องแก่ง และใด้ ทำการแสดงโชว์ Chor-Muaythai๒ ชุดการแสยาวดง ในช่วงพิธีเปิดและพิธีปิดงานซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก และผู้จัดงานได้มองของรางวัลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่นักแสดงเพื่อทำการฝึกฝนและอนุรักษ์ศิลปะมวยไทยนี้ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จดทำการแสดง Chor - Muaythai ได้ความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก และผู้จัดงานได้มองของรางวัลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่นักแสดงเพื่อทำการฝึกฝนและอนุรักษ์ศิลปะมวยไทยและเยาวชนที่ทำการแสดงมีกำลังใจฝึกซ้อมต่อไป

     

    18 18

    28. Meeting and Learning M.5 Buddy 2/10

    วันที่ 16 เมษายน 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 14.00น ทำการลงทะเบียน ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์เรียนรู้ตำบลบ้านควน ต่อจากนั้นเริ่ม ประธานทำการอ่านบัญชีรายชื่อแก่สมาชิก แล้วทำการจัดตารางซ้อมและตารางอุ่นเครื่องฟุตบอล โดยตารางซ้อมจะใช้รวมกันทั้ง 3 รุ่น แต่สำหรับตารางอุ่นเครื่องจะทำการอุ่นเครื่องกับทีมอื่นๆเดือนละครั้ง  จัดทำตารางการซ้อมมวย อย่างน้อย อาทิตละ 2 ครั้ง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ตารางซ้อมฟุตบอล และตารางซ้อมมวย
    • ได้รับทราบความคืบหน้าของชมรม
    • สมาชิกในชมรมได้พบปะพูดคุย
    • รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีม


     

    50 50

    29. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 5

    วันที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียกรวมตัวพร้อมกันที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลบ้านควน เวลา 18.00 น.ออกเดินทางไปยังสนาม coner stadium เมื่อถึงสนาม ผู้ฝึกสอนเริ่มทำการอบอุ่นร่างกายนักกีฬาประมาณ20นาที ก่อนการแข่งขันกระชับมิตรกับทีมสภาเด็กและเยาวชนตำบลเกตรี แต่ละทีจะทำการแบ่งนักกีฬาตามช่วงอายุ คือ รุ่นอายุ14 ปี และ 18 ปี โดยระยะเวลาในการแข่งขันจะใช้เพียงแค่ 15 นาที/เกมส์ เมื่อแข่งกันตามรุ่นอายุเสร็จแล้ว แข่งขันแบบผสมช่วงอายุ เพื่อเสริมสร้างกระดูกฝึกฝนทักษะ และเพิ่มประสบการณ์ ให้แก่นักกีฬาอายุ 14 ปี ใช้เวลาในการทำการแข่งขันทั้งหมด 2ชม. เริ่มแข่งขัน ตั้งแต่เวลา 19.00-21.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้ทดสอบความสามารถและมีความกระตือรือร้นในการซักซ้อมและฝึกฝนต่อไป มีการตกลงจะทำการแข่งขันใหม่ในครั้งหน้าตามเวลาเหมาะสม

     

    30 30

    30. Practice and Play:Child Chor-Sport and Culture 5

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2559 เวลา 17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียกเยาวชนกลุ่ม Chor muaythai รวมตัวกันที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านควน ในเวลา 16.30 น. ออกเดินทางไปยังลานกีฬาอเนกประงสงค์ ณ โรงเรียนตาดีกา มัสยิสบุเก็ตตรี เพื่อทำการสอนศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้แก่เยาวชนในตำบลเกตตรี โดยในการสอนเริ่มจากการ warm up 30นาที ต่อจากนั้นจะทำการสอน วิธีการยืนมวย การออกอาวุธ ได้แก่ หมัด เท้า เข่า ศอก ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกซ้อมทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง ต่อจากนั้น ทำการ cool down เป็นเวลา 10 นาที

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythai ได้เผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้กับเพื่อนๆเด็กๆในชุมชน
    -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythaiได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กในชุมชน -เด็กๆในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ -ลดเวลามั่วสุ่มของเด็กๆในชุมชน

     

    30 30

    31. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 6

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2559 เวลา 09.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้ทำการส่งทีม Teen Chor-Sport and Culture เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอล 7 คน ในรายการ ฮารีรายอ คัพ โดยในรอบแบ่งกลุ่มมีการแข่งขันจำนวณ 2 นัด โดยนัดแรกได้ทำการแข่งขันในเวลา 10.00 น. ซึ่งในการแข่งขันนัดแรก Teen Chor-Sport and Culture แพ้ให้กับทีม อันดามัน เอฟซี 2-1 ทำให้ในนัดที่2 ทีมTeen Chor-Sport and Culture จำเป็นจะต้องชนะเพื่อที่จะเข้ารอบ nock out ถัดไป ในนัดที่ 2 ได้ทำการแข่งขันในเวลา 20.00 น. แข่งขันกับทีม ปูยู เอฟซี ซึ่งระหว่างการแข่งขัน ทีม Teen Chor-Sport and Culture สามารถยิงประตูขึ้นนำไปก่อน 1-0 แต่ช่วง5นาทีสุดท้าย ทีม ปูยู เอฟซี พลิกชนะ ทีม Teen Chor-Sport and Culture ไป 2-1จึงทำให้ทีม Teen Chor-Sport and Culture ตกรอบแรกไปตามระเบียบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -สอนให้เยาวชนรู้แพ้ รู้ชนะ รู้ให้อภัย
    -รู้จักมิตรภาพระหว่างการแข่งขัน

     

    30 30

    32. ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 7/10-Apr

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เนื่องจากได้รับงบประมาณครั้งที่ 2 ท่านกำนัน นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา หัวหน้าโครงการ ได้เรียกประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อหารือเรื่องการจัดทำกิจกรรมที่เหลืออยู่ของโครงการ และได้รายงานความคืบหน้าของกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้วระหว่างรองบประมาณงวดที่ 2 ได้แก่ กิจกรรมการแสดงมวยไทย กิจกรรม child chor. และ Teen Chor Sport and culture เป็นต้น และมีอีกหลายกิจกรรมใหญ่ๆที่ยังไม่ได้จัดทำ ได้แก่ กิจกรรมรวมพรรค กิจกรรมออกแบบข้อมูลยาเสพติด ลงพื้นที่เก็บข้อมูล กิจกรรมถอดบทเรียน กิจกรรมคืนข้อมูลให้กับชุมชน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการติดตามการดำเนินโครงการอย่างเป็นรูปธรรม
    • ได้แผนการดำเนินงาน
    • สภาชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและการเสนอข้อคิดเห็นต่างๆ

     

    20 20

    33. Practice and Play:Child Chor-Sport and Culture 6

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เนื่องจากสภาเด็ก และ เยาวชนตำบลเกตตรี ต้องการที่จะฝึกซ้อมแอร์โรบิกมวยไทย จึงขอการสนับสนุนจากกลุ่ม Chor-Muaythai ให้มาฝึกซ้อมเพื่อความพร้อมเพรียงและแม่นย่ำมากยิ่งขึ้น ดังนั้นกลุ่ม Chor-Muaythai รวมจึงตัวกันที่ศูนย์เรียนรู้ตำบลบ้านควน เวลา 16.30น. เดินทางไปยัง ลานกีฬาโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบูเกตตรี หมูที่ 1 ตำบลเกตตรี โดยเด็กกลุ่ม Chor-Muaythai  จะเป็นผู้ช่วยวิทยากรในการสอน แผนในการสอนของวิทยากรจะมีดังนี้ เริ่มจากยืดเส้น ยืดสาย คอ แขน สะเอว เข่า และขา ใช้เวลาในการยืดเส้นประมาณ 10นาที ต่อด้วยการ warm up ด้วยการวิ่งอีก 10 นาที ต่อจากนั้น จัดแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่งเป็นจำนวน 4 แถว แล้วทำการสอนมวยไทยขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การยืนมวย การออกอาวุธ หมัด เท้า เข่า ศอก ใช้เวลาในการสอน ประมาณ 30นาที หลังจากเสร็จสิ้นการสอน วิทยากรจะสั่งให้ cool down เพื่อคลายกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกาย ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ก่อนจากการแยกย้ายกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythai ได้เผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้กับเพื่อนๆเด็กๆในชุมชน
    -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythaiได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กในชุมชน -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythaiมีความกล้าแสดงออก และมีความเป็นผู้นำมากยิ่งขึ้น -เด็กๆในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     

    30 30

    34. Practice and Play:Child Chor-Sport and Culture 7

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อสรุปกิจกรรม "มาออกกำลังกายกันเถอะ มวยไทย" กิจกรรมนี้มีท่านกำนัน และท่านนายยก อบต ตำบลเกตตรี เป็นประทานในพิธี โดยกิจกรรมนี้มีกลุ่ม Chor-Muaythai เป็นแกนนำในการแสดง ในการแสดงจะมี การออกหมัด เท้า เข่า ศอก รวมเวลาที่ใช้ในการแสดง 15 นาที 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythai ได้มีความกล้าแสดงออก -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythaiได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กในชุมชน

     

    30 30

    35. ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 8/10-May

    วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 14.00น ประธานในพิธี นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กำนันตำบลบ้านควน เปิดงาน สำหรับประเด็นในการประชุมครั้งนี้ คือ ปัญหาเรื่องร้านค้าชุมชน เกี่ยวกับการปันผลผิดเวลาไปจากที่ได้กำหนดไว้ 2 เดือน และได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชีแจงเกี่ยวกับรายละเอียด แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป ต่อจากนั้นท่านกำนันก็ได้พูดถึงเรื่องที่จะจัดกิจกรรม ออกแบบ วิธีเก็บข้อมูล ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สรุปข้อมูล 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องร้านค้าชุมชน

     

    20 20

    36. Practice and Play:Child Chor-Sport and Culture 8

    วันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมนี้จัดในงาน ผู้สูงอายุ กลุ่มChor-Muaythai และกลุ่มสภาเด็กและเยาวชน ตำบลเกตตรีรวมตัวกัน ณ ลานอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านเกตตรี โดยในงานจะมีการจัดบูทให้ความรู้ด้านสุขภาพ และ กลุ่มกลุ่มChor-Muaythai และกลุ่มสภาเด็กและเยาวชน ได้จัดแสดงแอร์โรบิกมวยไทยในงาน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythai ได้เผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้กับคนในชุมชน -เด็กกลุ่ม Chor-Muaythaiได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนในชุมชนหันมาออกกำลังกาย

     

    30 30

    37. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 7

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียกรวมตัวพร้อมกันที่สนามกีฬากลางจังหวัดสตูล เวลา 17.00 น.ได้ทำการแข่งขันที่สนามฟุตซอล อบจ สตูล ในรายการ New born cup ในรอบแบ่งกลุ่มมีการแข่งขันจำนวน 2นัด คือ นัดแรกจะทำการแข่งขันในเวลา 20.00 น. ทำการแข่งขันกับทีม อบจ สตูล ในนัดนี้ทีม อบจ สตูล นำไปก่อน 1-0 แต่ ทีมTeen Chor-Sport and Culture ตีเสมอได้ในช่วงต้นครึ่งหลัง หลังจากผ่านไป 3 นาที Teen Chor-Sport and Culture โดนนำเป็น 2-1 ทำให้ ทีมTeen Chor-Sport and Culture ต้องพ้ายแพ้ไป สำหรับนัดที่2 แข่งขันในเวลา 24.00 ทีมไต๋บอส เอฟซี  ชนะ ทีมTeen Chor-Sport and Culture ด้วยสกอร์ 2-1 ทำให้ทีม Teen Chor-Sport and Culture ต้องตกรอบแรกไปในที่สุด 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -รู้ถึงจุดอ่อนขงทีมเพื่อที่จะได้ทำมาปรับปรุงให้ทีมของตนมีประสิทธิภาพ และพร้อมที่จะทำการแข่งขันในรายการอื่นๆ -สอนให้เยาวชนรู้แพ้ รู้ชนะ รู้ให้อภัย
    -รู้จักมิตรภาพระหว่างการแข่งขัน

     

    30 30

    38. ออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลและอบรมการเก็บข้อมูล

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มลงทะเบียนในเวลา 13.30 น. ณ อาคารอเนกค์ประสงค์ศูนย์การเรียนรู้ตำบลบ้านควน เมื่อเวลา14.00 น. นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กำนันตำบลบ้านควน กล่าวเปิดกิจกรรม หลังจากนั้นวิทยากรเริ่ททำการสอน เรื่อง วิธีการทำแบบสอบถามรวมถึงวิธีการนำแบบสอบถามไปใช้ นอกจากนี้วิทยากรยังมีตัวอย่างแบบสอบถามที่เหมาะสมให้เยาวชนได้ศึกษาเป็นกรณีตัวอย่าง โดยกิจกรรมดังกล่าวใช้เวลารวมทั้งสิ้น 2 ชม. 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมงานได้แบบสอบถามที่มีคุณภาพสำหรับวัดระดับความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันสารเสพติดของเยาวชนภายในชุมชน
    • เยาวชนมีความพร้อมในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
    • ทีมงานเก็บข้อมูลมีความรู้ความเข้าใจแบบสอบถาม สามารถเก็บข้อมูลได้
    • ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการทำข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติด

     

    60 60

    39. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 8

    วันที่ 4 กันยายน 2559 เวลา 07.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมวิ่งมินิมาราทอน โดยเส้นทางในการวิ่งคือ เส้นทางภายในของตำบลบ้านควน เส้นทางดังกล่าวได้พาดผ่าน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 3 รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 5 กิโลเมตร เวลา 07.00 น. นัดรวมตัวกันที่ อบต บ้านควน นักกีฬาทำการลงทะเบียน แล้วต่อด้วย warm up ร่างกาย พร้อมทำการแข่งขันในเวลา 08.00น. ผลการแข่งขัน Teen Chor-Sport and Culture เข้าเส้นชัย ติด1 ใน 20 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แก่เยาวชน
    -ชาวบ้านได้ทำร่วมกิจกรรมร่วมกันภายในชุมชน -ส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการรักษาสุขภา

     

    30 30

    40. M.5 Buddy ลงพื้นที่เก็บข้อมูล

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนทีม M.5 Buddy จำนวน 40 คนและทีมสภาฯ 10 คน รวม 50 คนออกพื้นที่เก็บข้อมูลตามการได้รับมอบหมาย
    • โดยแบ่งเป็น 5 ทีม ทีมละ 40 ครัวเรือน
    • ใช้เวลา 2 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลดิบสถานการณ์ยาเสพติด จำนวน 200 ชุด โดยมี อสม เป็นผู้นำทีมให้แก่เยาวชนในการลงพื้นที่ 2 คนต่อเยาวชน 8 คน ทำการลงพื้นในเขตรับผิดชอบของ อสม. โดยแต่ละทีมแบ่งกันรับผิดชอบทีมละ 15 หลังคาเรือนโดยใช้เวลาในการลงพื้นที่ทั้งหมด 2 วันซึ่งแบ่งเป็น วันละ 7-8 ครัวเรือน

     

    50 50

    41. Practice and Play:Teen Chor-Sport and Culture 9

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ไปพร้อมกันที่ สนาม corner staduim เวลา 19.30 น. เมื่อนักกีฬามาพร้อมกัน ก็เริ่มทำการอบอุ่นร่างกายนักกีฬาประมาณ20นาทีก่อนการแข่งขันอุ่นเครื่องและฝึกซ้อม โดยการแบ่งทีมนักกีฬาออกเป็น 3 ทีม แต่ละทีมจะทำการแข่งขันนักละ 15นาที ระว่างเกมส์การเล่นจะฝึกฝนทักษะในด้านการรับส่งลูก การแย่งบอล การยิงประตูและการเลี้ยงลูก รวมเวลาในการฝึกซ้อมทั้งหมด 2 ชม.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ลองฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ เช่น การรับส่งลูก การแย่งบอล การยิงประตู และการเลี้ยงลูก
    • เพิ่มความสามัคคีภายในทีม

     

    30 30

    42. ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านควน 9/10-Jun

    วันที่ 16 กันยายน 2559 เวลา 20.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวมตัวกัน ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์การเรียนรู้ตำบลบ้านควน มีการจัดชุดรักษาความปลอดภัย โดยแบ่งออกเป็น 3 ชุด เนื่องจาก กิจกรรมลานคนเก่ง จะมีกิจกรรมบนบก และกิจกรรมทางน้ำในเวลาที่ใกล้เคียงกัน โดยชุดแรก จะดูแลความเรียบร้องเรื่องสถานที่จอดรถ และดูแลเรื่องรถเข้าออก ชุดที่ 2 จะทำการดูแลความปลอดภัยทางน้ำ ได้แก่กิจกรรม มวยทะเล พายเรือเร็ว ว่ายน้ำ ทางชุดดูแลความปลอดภัยจะจัดเตรียมเสื้อชูชีพไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ชุดที่ 3  ดูแลรักษาความปลอดภัยภายในงาน เพื่อเฝ้าระวังผู้ไม่ประสงค์และอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันที่จะสามารถเกิดขึ้นภายในงาน โดยแต่ละชุดจะมีจำนวน 10 คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ชุดรักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลความปลอดภัยภายในงาน
    • รู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม

     

    20 20

    43. ลานคนเก่ง

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ณ อาคารอเนกประสงค์ เวลา 11.00 น.นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กำนันตำบลบ้านควนทำการกล่าวสรุปผลของโครงการหลังจากดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ทางชุมชน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านควนได้ทีมฟุตบอลจำนวน 3 ทีมคิดเป็น จำนวนนักกีฬา 30 คน โดยแบ่งตามช่วงอายุได้แก่ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี  รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี และ รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี นอกจากนี้ ทางชุมชนยังได้นักแสดงชุดแม่ไม้มวยไทย เพื่อสืบสารและเผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทย โดยใช้ชื่อชุดการแสดงว่า "ตอมวยกำปงฆวร" มีนักแสดงทั้งสิ้นจำนวน 10 คน นอกจากนี้ทางเจ้าของโครงการได้กล่าวถึงสถานการณ์ยาเสพติดภายในตำบลบ้านควนที่มีแนวโน้วในทิศทางที่ดีขึ้น ในช่วงบ่ายได้รับเกียรติจากท่านรองนายยก อบจ. นายรอซี ใบกาเด็น มาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมในช่วงบ่าย ซึ่งมีการจัดกิจกรรมบนเวทีร่วมกับชุมชน ในงานวันฮารีรายอ โดยมีกิจกรรมทั้งบนเวทีและกิจกรรมทางน้ำ อาทิเช่น กิจกรรมพายเรือเร็ว กิจกรรมมวยลำคลอง กิจกรรมดำน้ำหาของ สำหรับกิจกรรมบนเวที ได้แก่ กิจกรรมแข่งกินแตงโม กิจกรรมการโชว์ความสามารถและการกล้าแสดงออกของเยาวชนภายในชุมชน ภายในงานยังมีการแสดงของโรงเรียนตาดีกา คือ การร้องอัลนาเชด ส่วนการแสดงตลกชุดทุ่งวิมานโชว์ซึ่งการแสดงดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหมู่บ้านใกล้เคียง และยังมีการแสดงชุด"ตอมวยกำปงฆวร"ซึ่งเป็นไฮไลท์ของงานด้วย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีลานกิจกรรมให้แก่เยาวชนได้แสดงความสามารถที่ฝึกฝนมาตลอดทั้งปี
    • ประชาชนชาวบ้านควนและพื้นที่ใกล้เคียงได้มาชมความสามารถของลูกหลาน
    • เสริมสร้างความสามัคคีให้แก่คนในชุมชนบ้านควนและชุมชนใกล้เคียง
    • ส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนรู้จักการกล้าแสดงออก
    • สนับสนุนให้คนภายในชุมชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สูงสุด

     

    250 250

    44. Practice and Play : Teen Chor-sport and Culture 10/10

    วันที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มาทำการแข่งขัน เกตตรี คัพ ครั้งที่ 1 นัดรวมตัวนักกีฬา ณ โรงเรียนเกตตรี เวลา 8.00 น. แต่งกายชุดนักกีฬา เมื่อเทำการแต่งกายเรียบร้อยแล้ว โค้ชทำการ warm up ร่างกายนักกีฬาโดยใช้เวลาในการ warm up ประมาณ 30 นาที  เริ่มทำการแข่งขันเวลา 9.00 น. โดยนัดแรกทำการแข่งขันกับทีม country boy ในระหว่างการแข่งขันทั้งสองทีมสลับกันทำเกมส์รับและลุกอย่างต่อเนื่องทั้งเกมส์การแข่งขัน จึงทำให้เสมอกันไป 0-0  สำหรับนัดที่ 2 ทีม ศูนย์เรียนรู้บ้านควร เอฟซี ชนะไปอย่างง่ายดาย เนื่องจาก พรรสุคล ไม่มาทำการแข่งขัน ในรอบ16ทีมสุดท้าย เจอกับทีม ฉลุงกลาง โดยในเกมส์นี้ได้เสมอกันไป 0-0 จึงทำให้ต้องมีการดวนจุดโทษ ทีม ศูนย์การเรียนรู้บ้านควนเอาชนะไป 4-3 ทำให้เข้ารอบ 8 ทีม สุดท้าย ไปพบกับ ทีมสภาเด็กและเยาวชนตำบลเกตตรี โดยครึ่งแรก  ทีมศูนย์การเรียนรู้บ้านควน ทำscoreนำไปก่อน 1-0 แล้วในครึ่งหลังทีมสภาเด็กและเยาวชนตำบลเกตตรี ยิ่งทำไป2ประตูทำให้สามารถเอาชนะ ทีมศูนย์การเรียนรู้บ้านควน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นมีแรงจูงใจในการออกกำลังกายและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    • ลดเวลามั่วสุมของวัยรุ่น
    • ทำให้วัยรุ่นสนใจด้านกีฬามากยิ่งขึ้น
    • รู้รักสามัคคี
    • มีน้ำใจนักกีฬา

     

    30 30

    45. สรุปข้อมูลสถานการณ์ยาเพติด

    วันที่ 21 กันยายน 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ก่อนการจัดเวทีแกนนำโครงการได้ช่วยกันเอาข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาสรุปสถานการณ์ ใช้เวลา 2 วันโดยการเข้าขอคำปรึกษาจากวิทยากรช่วยสรุปข้อมูลเพื่อไม่ให้ใช้เวลามากในการรวมกลุ่มเยาวชนมาช่วยสรุปอีกครั้ง โดยกำหนดบทบาทให้เยาวชนช่วยยืนยันข้อมูล และแสดงความคิดเห็นต่อข้อมูลที่ได้
    • เมื่อถึงวันนัดทำเวทีทำการลงทะเบียนเวลา 14.00 น. ณ อาคารอเนกค์ประสงค์ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลบ้านควน
    • แกนนำโครงการ นำเสนอการสรุปข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยเล่าไปทีละโจทย์คำถามแต่ละข้อ ดังนี้
    • ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 200 คน เป็นชาย จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 61.5 เป็นหญิง จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5 มีอายุ 10-15 ปี จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 17 อายุ 16-20 ปี จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 อายุ 21-25 ปี จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 19.5 อายุ 26-30 ปี จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ16.5 และช่วงอายุ 31-35 ปี จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 9.5 สถานภาพของบิดามารดาของผู้ตอบแบบสอบถาม บิดามารดาอยู่ด้วยกัน จำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 78ครอบครัวหย่าร้าง จำนวณ 29 คน คิดเป็นร้อยละ14.5 บิดาเสียชีวิต จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 5 มารดาเสียชีวิต จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยลละ 2.5 อาศัยอยู่กับบิดามารดา จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 76.5 อาศัยอยู่กับบิดา จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 5.5อาศัยอยู่กับมารดา จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 10 อาศัยอยู่กับปู่ย่า จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2 อาศัยอยู่กับตายาย จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 4.5 และอื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5 จากแบบสอบถามยังแสดงให้เห็นอีกว่า สมาชิกในครอบครัวมีการไม่ใช้สารเสพติด จำนวน 62คน คิดเป็นร้อยละ 31 สมาชิกในครอบครัวมีการใช้สารเสพติด จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 69 จากผลการสำรวจพบว่าครอบครัวที่ใช้สารเสพติด ได้แก่ บุหรี่ เป็น จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 23 และ สุรา เป็น จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 82 สำหรับ พฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ไม่เข้าห้องเรียน จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 45.6 เที่ยวในเวลากลางคืนจำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 44.4สูบบุหรี่ จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 36.9 ดื่มสุราและ ขับรถซิ่ง (เร็ว)มีจำนวนเท่ากัน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 29.4ติดเกมส์ จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 25 พนันบอล อื่นๆ จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 23.8 เรียงตามลำดับจากมากหาไปน้อย
      เมื่อวิเคราะห์การวัดผลความรู้เรื่องยาเสพติดของคนในชุมชนพบว่า คะแนนเฉลี่ยรวม มีค่า 142 คนคิดเป็นร้อยละ 71.08 ถือว่าคนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะความรู้เรื่องยาเสพติดในหัวข้อดังต่อไปนี้
    1. สารเสพติดออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดประสาทหลอน มีอาการทางจิตคิดเป็นร้อยละ 86.50
    2. ยาบ้าออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้รู้สึกคึกคัก คิดเป็นร้อยละ 84.50
    3. คนที่ใช้สารเสพติดนานๆอาจเป็นบ้าถาวรได้ คิดเป็นร้อยละ 82.00
    4. ครอบครัวที่มีคนใช้สารเสพติด จะเกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย เนื่องจากผู้เสพสารทำให้เสียเงินทอง เกิดการทะเลาะวิวาทในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 81.50
    5. การป้องกันไม่ให้ตนเองติดสารเสพติด คือ การไม่ไปลองใช้สารเสพติดทุกชนิด คิดเป็นร้อยละ 81.50

    แต่ในทางกลับกันเยาวชนภายในตำบลบ้านควนควรได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารเสพติดเนื่องจากคะแนนตำ่กว่าคะแนนเฉลี่ยรวม ในหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. น้ำกระท่อมออกฤทธิ์เหมือนกับยาบ้า คิดเป็นร้อยละ 28 2. การเสพสารเสพติดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันเนื่องจากผู้เสพจะขาดสติในการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 47.5 3. อันตรายของการเสพสารติดต่อกันเป็นเวลานานคือทำให้ร่างกายทรุดโทรม และเสียชีวิตได้ คิดเป็นร้อยละ 61.00 4. คนที่ใช้สารเสพติด ทำให้สังคม ชุมชน มีความรักสามัคคีกัน เนื่องจากผู้เสพสารเสพติด สามารถ ทำให้คนมารวมกลุ่มช่วยเหลือกันคิดเป็นร้อยละ 63.00 และจากแบบสอบถามสำหรับวัดระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดในภาพรวมพบว่า ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชุมชนบ้านควน มีค่าเฉลี่ย 82.36คน คิดเป็นร้อยละ 41.2 อยู่ในระดับ ทำได้มาก อย่างไรก็ตาม ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชุมชนบ้านควนที่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจาก ในการวัดระดับความสามารถของตนเองส่วนที่ทำได้น้อยที่สุดยังพบเห็นเปอร์เซนต์ของเยาวชน โดยเฉพาะในเรื่อง เมื่อนักเรียนมีความเครียดหรือกลัดกลุ้มใจนักเรียนสามารถควบคุมตนเองไม่ใช้บุหรี่ หรือสารเสพติดทุกชนิด ในการระบายความเครียด หรือความกลุ้มใจ พบว่ามีจำนวนร้อยละ 2

    • เยาวชนและสภาที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นทุกข้อที่แกนนำสรุปให้ฟัง เยาวชนยอมรับว่าข้อมูลที่ได้เป็นความจริง และรู้สึกตกใจที่มีจำนวนมาก

    • ต่อจากนั้นให้เยาวชนเขียนแผนการป้องกันยาเสพติดโดยใช้สีวาดแผนลงลงในกระดาษ ซาลาเปา

    • โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ตามที่ได้ลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูล
    • ใช้เวลาประมานครึ่งชั่วโมง เมื่อทำแผนเสร็จ ก็ให้เยาวชนเขียนแนวทางการปฎิบัติของคนในชุมชนโดยแบ่งเป็นมุมมองของผู้ใหญ่ และ มุมมองของเยาวชน ลงในกระดาษ ซาลาเปา 1.ควรมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในชุมชน เช่น ฟุตบอล ฟุตซอล วอลเลย์บอล เป็นต้น ปีละ 5 ครั้ง

    2.ควรจัดอบรมในเรื่องยาเสพติด ปีละ 3 ครั้ง

    3.ควรจัดให้มีสถานที่เล่นเพิ่มขึ้นภายในชุมชน

    4.เยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชน ควรร่วมกันพัฒนาชุมชนให้ปราศจากยาเสพติด

    5.ควรจัดให้มีการทัศนศึกษาตามแหล่งบำบัดยาเสพติดในที่ต่างๆ

    6.ควรส่งเสริมอาชีพของคนภายในชุมชน

    แผนการในเรื่องข้อควรปฏิบัติระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก

    -สำหรับผู้ใหญ่

    1.ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก

    2.ควรทำตัวให้เป็นที่น่าเคารพนับถือ

    3.ควรชวนลูกหลานไปละหมาดที่มัสยิด

    4.ควรแนะแนวทางที่ดีให้แก่เด็ก

    -สำหรับเด็ก

    1.ควรใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

    2.ควรคบเพื่อนที่ดี และกล่าวตักเตือนเพื่อนที่กระทำความผิด

    3.ควรให้ความเคารพนับถือผู้ใหญ่

    4.ควรเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่

    5.ไม่คิดลองยาเสพติดทุกชนิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้สรุปข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติดของหมู่บ้าน
    • ได้แผนการป้องกันยาเสพติดของชุมชนโดยเยาวชน
    • ได้ข้อควรปฎิบัติบัติ ในการป้องกันยาเสพติด

     

    50 50

    46. จัดกิจกรรมรวมพรรค

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โครงการ คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน ร่วมมือกับ อบต. อนามัยชุมชนบ้านควน และฝ่ายปกครอง รวมตัว ณ ลานกิจกรรมหมู่ที่ 5 ตำบลบ้านควน เวลา 14.00 น. ตั้งขบวนรถมุ่งหน้าไปยังหมู่ที่ 3 2 1 7 6 และ 4 ระหว่างทางมีการให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกที่กำลังระบาดอย่างหนักในเขตตำบลบ้านควน จนครบ 7 หมู่บ้าน ใช้ระยะเวลาทั้งหมด ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกองค์กรภายในหมู่บ้านร่วมมือกัน ช่วยเหลือ ดูแล ห่วงใย สุขภาพของคนในชุมชนตำบลบ้านควน
    • ทุกองค์กรในชุมชนตระหนัก และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชนไปด้วยกัน
    • ชาวบ้านรู้เท่าทันและตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากไข้เลือดออก

     

    60 60

    47. จัดกิจกรรมรวมพรรค

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดรวมตัวกันที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านควนเวลา 14.00 น. ประทานโครงการคือท่านกำนัน นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กล่าวเปิดงาน  ชาวบ้านได้นำอุปกรณ์ในการบำเพ็ญประโยชน์ของตนเองเพื่อช่วนกันพัฒนา ปรับปรุง ทัศนียภาพ ของชุมชนให้สะอาดและเป็นระเบียบ เช่น ตัดต้นไม้ ถางหญ้า และ กวาดขยะบริเวณริมทางคลองมัมบัง-ดูสนเป็นระยะทางประมาณ 200 เมตร  เป็นต้น สำหรับชาวบ้านที่ไม่มีอุปกรณ์ก็จะทำความสะอาดบริเวณชุมชนด้วยการเก็บขยะ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ทัศนียภาพรอบๆริมทางคลองมัมบัง-ดูสน สะอาด เรียบร้อย
    -คนในชนมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมพัฒนาชมชนของตัวเอง

     

    60 60

    48. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันจันทร์ที่ 3 ลงทะเบียนเวลาบ่ายโมงและเข้าร่วมพิธีเปิด โดยมีท่านอดีนายกอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ มากล่าวเปิดงาน แล้วเข้าร่วมกิจกรรมที่ ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ และนวัตกรรม เข้าร่วมประชุมย่อย และ ทางคนบ้านควนรวมใจได้นำการแสดงโชว์มวยไทยมาแสดง ณ ลานสร้างสุขด้วย
    วันอังคารที่ 4 เข้าร่วมการประชุมย่อยที่ห้องใต้สร้างสุขเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งแนะแนวทางการจัดกิจกรรมและการจัดทำโครงการ เวลา 14.00-17.00 น. วันพุธที่ 5 เข้าร่วมพิธีปิด และร่วมถ่ายรูปหมู่กับผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ณ หอประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ได้รับและแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดที่แปลกใหม่
    -ได้รู้จักพบปะพูดคุยกับเพื่อนใหม่ 

     

    2 2

    49. นำกลุ่ม Chor-Muaythai ไปร่วมการแสดงศิลปะการป้องกันตัว

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป็นการแสดงโชว์ในงานสร้างสุขภาคใต้ ในงานมีการออกบูทให้ความรู้แก่ประชาชน และภายในงานมการแสดงโชว์มากมายจาก 14 จังหวัดภาคใต้ อาทิเช่น การแสดงโขน การแสดงตลก รวมทั้งการแสดงโชว์มวยไทย ของโครงการ คนบ้านควนรวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชนซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก รายละเอียดของการแสดงโชว์ คือ การแสดงจะแบ่งเป็น 3 ช่วง  ช่วงที่ 1 จะเป็นการไหว้ครู ช่วงที่ 2 จะเป็นการแสดงท่าพื้นฐาน เช่น หมัด เท้า เข่า และ ศอก ช่วงที่ 3 เป็นการแสดงการต่อสู้โดยใช้ศิลปะแม่ไม้มวยไทย โดยระยะเวลาในการแสดงทั้งหมด 8 นาที

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เยาวชนได้แสดงออกในเวทีระดับภูมิภาค
    -เยาวชนมีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น

     

    18 18

    50. จัดกิจกรรมรวมพรรค

    วันที่ 6 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดรวมตัวกันที่ลานอเนกประสงค์เวลา 14.00 น. ประทานโครงการคือท่านกำนัน นายเจ๊ะหมาด ฮะอุรา กล่าวเปิดงาน  ชาวบ้านได้นำอุปกรณ์ในการบำเพ็ญประโยชน์ของตนเองเพื่อช่วนกันพัฒนา ปรับปรุง ทัศนียภาพ ของชุมชนให้สะอาดและเป็นระเบียบ เช่น ตัดต้นไม้ ถางหญ้า และ กวาดขยะ เป็นต้น สำหรับชาวบ้านที่ไม่มีอุปกรณ์ก็จะทำความสะอาดบริเวณชุมชนด้วยการเก็บขยะ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทัศนียภาพรอบๆบริเวณร้านค้าของชุมชน ลานอเนกประสงค์ และสถานที่จัดการประชุมของชุมชน สะอาด เรียบร้อย ดึงดูดให้มีผู้เข้าใช้บริการมากยิ่งขึ้น

     

    60 60

    51. คืนข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติดและทำแผนชุมชน

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มทำการลงทะเบียนเวลา 14.00 น. เปิดพิธีโดยท่านกำนัน ตำบลบ้านควน นายเจ๊ะหมาด ฮะอุราผู้นำโครงการกล่าวสรุปผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล ได้ข้อสรุปดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 200 คน เป็นชาย จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 61.5 เป็นหญิง จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5 มีอายุ 10-15 ปี จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 17 อายุ 16-20 ปี จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 อายุ 21-25 ปี จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 19.5 อายุ 26-30 ปี จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ16.5 และช่วงอายุ 31-35 ปี จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 9.5 สถานภาพของบิดามารดาของผู้ตอบแบบสอบถาม บิดามารดาอยู่ด้วยกัน จำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 78ครอบครัวหย่าร้าง จำนวณ 29 คน คิดเป็นร้อยละ14.5 บิดาเสียชีวิต จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 5 มารดาเสียชีวิต จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยลละ 2.5 อาศัยอยู่กับบิดามารดา จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 76.5 อาศัยอยู่กับบิดา จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 5.5อาศัยอยู่กับมารดา จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 10 อาศัยอยู่กับปู่ย่า จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2 อาศัยอยู่กับตายาย จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 4.5 และอื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5 จากแบบสอบถามยังแสดงให้เห็นอีกว่า สมาชิกในครอบครัวมีการไม่ใช้สารเสพติด จำนวน 62คน คิดเป็นร้อยละ 31 สมาชิกในครอบครัวมีการใช้สารเสพติด จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 69 จากผลการสำรวจพบว่าครอบครัวที่ใช้สารเสพติด ได้แก่ บุหรี่ เป็น จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 23 และ สุรา เป็น จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 82 สำหรับ พฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ไม่เข้าห้องเรียน จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 45.6 เที่ยวในเวลากลางคืนจำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 44.4สูบบุหรี่ จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 36.9 ดื่มสุราและ ขับรถซิ่ง (เร็ว)มีจำนวนเท่ากัน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 29.4ติดเกมส์ จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 25 พนันบอล อื่นๆ จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 23.8 เรียงตามลำดับจากมากหาไปน้อย
    เมื่อวิเคราะห์การวัดผลความรู้เรื่องยาเสพติดของคนในชุมชนพบว่า คะแนนเฉลี่ยรวม มีค่า 142 คนคิดเป็นร้อยละ 71.08 ถือว่าคนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะความรู้เรื่องยาเสพติดในหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. สารเสพติดออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดประสาทหลอน มีอาการทางจิตคิดเป็นร้อยละ 86.50 2. ยาบ้าออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้รู้สึกคึกคัก คิดเป็นร้อยละ 84.50 3. คนที่ใช้สารเสพติดนานๆอาจเป็นบ้าถาวรได้ คิดเป็นร้อยละ 82.00 4. ครอบครัวที่มีคนใช้สารเสพติด จะเกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย เนื่องจากผู้เสพสารทำให้เสียเงินทอง เกิดการทะเลาะวิวาทในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 81.50 5. การป้องกันไม่ให้ตนเองติดสารเสพติด คือ การไม่ไปลองใช้สารเสพติดทุกชนิด คิดเป็นร้อยละ 81.50

    แต่ในทางกลับกันเยาวชนภายในตำบลบ้านควนควรได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารเสพติดเนื่องจากคะแนนตำ่กว่าคะแนนเฉลี่ยรวม ในหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. น้ำกระท่อมออกฤทธิ์เหมือนกับยาบ้า คิดเป็นร้อยละ 28 2. การเสพสารเสพติดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันเนื่องจากผู้เสพจะขาดสติในการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 47.5 3. อันตรายของการเสพสารติดต่อกันเป็นเวลานานคือทำให้ร่างกายทรุดโทรม และเสียชีวิตได้ คิดเป็นร้อยละ 61.00 4. คนที่ใช้สารเสพติด ทำให้สังคม ชุมชน มีความรักสามัคคีกัน เนื่องจากผู้เสพสารเสพติด สามารถ ทำให้คนมารวมกลุ่มช่วยเหลือกันคิดเป็นร้อยละ 63.00 และจากแบบสอบถามสำหรับวัดระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดในภาพรวมพบว่า ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชุมชนบ้านควน มีค่าเฉลี่ย 82.36คน คิดเป็นร้อยละ 41.2 อยู่ในระดับ ทำได้มาก อย่างไรก็ตาม ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชุมชนบ้านควนที่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจาก ในการวัดระดับความสามารถของตนเองส่วนที่ทำได้น้อยที่สุดยังพบเห็นเปอร์เซนต์ของเยาวชน โดยเฉพาะในเรื่อง เมื่อนักเรียนมีความเครียดหรือกลัดกลุ้มใจนักเรียนสามารถควบคุมตนเองไม่ใช้บุหรี่ หรือสารเสพติดทุกชนิด ในการระบายความเครียด หรือความกลุ้มใจ พบว่ามีจำนวนร้อยละ 2

    ต่อจากนั้นมีตัวแทนของเยาวชนคือ เด็กชายมูฮาหมัดนาบิล อาดัม ออกมานำเสนอแผนการป้องกันและการปฎิบัติของเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนเรื่องยาเสพติด ซึ่งมีตัวอย่างยาเสพติด ได้แก่ กระท่อม, แคปซูล, กัญชา, บุหรี่, เบียร์ และเหล้า เป็นต้น เยาวชนจึงมีแผนการในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งแผนการที่เยาวชนได้ลงมือทำและดำเนินการมาตลอดจนถึงขณะนี้มีด้วยกันดังนี้
    แผนการป้องกันยาเสพติด

    1.ควรมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในชุมชน เช่น ฟุตบอล ฟุตซอล วอลเลย์บอล เป็นต้น ปีละ 5 ครั้ง

    2.ควรจัดอบรมในเรื่องยาเสพติด ปีละ 3 ครั้ง

    3.ควรจัดให้มีสถานที่เล่นเพิ่มขึ้นภายในชุมชน

    4.เยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชน ควรร่วมกันพัฒนาชุมชนให้ปราศจากยาเสพติด

    5.ควรจัดให้มีการทัศนศึกษาตามแหล่งบำบัดยาเสพติดในที่ต่างๆ

    6.ควรส่งเสริมอาชีพของคนภายในชุมชน

    แผนการในเรื่องข้อควรปฏิบัติระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก

    -สำหรับผู้ใหญ่

    1.ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก

    2.ควรทำตัวให้เป็นที่น่าเคารพนับถือ

    3.ควรชวนลูกหลานไปละหมาดที่มัสยิด

    4.ควรแนะแนวทางที่ดีให้แก่เด็ก

    -สำหรับเด็ก

    1.ควรใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

    2.ควรคบเพื่อนที่ดี และกล่าวตักเตือนเพื่อนที่กระทำความผิด

    3.ควรให้ความเคารพนับถือผู้ใหญ่

    4.ควรเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่

    5.ไม่คิดลองยาเสพติดทุกชนิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชน 1 แผน
    • ชุมชนได้เรียนรู้นำทำแผนชุมชนจากข้อมูลจริงของหมู่บ้าน
    • ชุมชนได้รับทราบถึงสถานการณ์จริงด้านยาเสพติดที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนเอง
    • เยาวชนได้ตระนักถึงภัยอันตรายที่จะเกิดจากยาเสพติด
    • เยาวชนรู้จักการป้องกัน และ ประเมินตนเอง เกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด

     

    80 80

    52. ภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 2 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม คณะทำงาน 2 คน รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง เลือกรูปถ่าย พาไปร้านเพื่อล้างรูป ให้ทำรูปลงกระดาษโฟโต้และทำลงซีดี จ่ายเงินมัดจำ นัดวันรับรูปถ่าย -ไปรับรูปตามวันนัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปถ่ายที่ต้องการ

     

    2 2

    53. จัดทำรายงาน

    วันที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 2 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม คณะทำงาน 2 คน รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง -ตรวจสอบเอกสารแต่ละกิจกรรม -ปรับปรุงแก้ไข จัดทำรูปเล่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ -ได้แนวทางในกาต่อยอดโครงการ

     

    2 2

    54. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเคราะห์โครงการปิดงวดที่ 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจงานของงวดที่สองที่อิงธารารีสอร์ทเวลา 10.00 น
    พี่เลียงตรวจเว็บและเอกสารก่อนให้ทาง สจรส.มอ ตรวจเพื่อความเรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ตรวจสอบความถูกต้องตลอดการทำโครงการในงวดที่สอง
    • ปิดงวดที่สอง

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อก่อตั้งสภาผู้นำชุมชนและ M.5 Buddy (สภาเยาวชนบ้านควน) เพิ่มประสิทธิภาพกลไกใหม่(เยาวชน)ในชุมชนซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติด
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมสภาชุมชนทุกเดือนจำนวน 10 ครั้งแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 16 คน 2. มีการประชุม M.5 Buddy ทุกเดือนจำนวน 10 ครั้งแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 20 คน 3. การประชุมทุกครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆ ของชุมชน
    1. สภาผู้นำชุมชนได้ทำการประชุมทั้งหมด 90 % และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 20 คนทุกครั้ง
    2. มีการประชุมเพียงสองครั้งถือว่าไม่บรรลุตามวัตถุประสงแต่สามารถนำไปต่อยอดได้
    3. ทุกครั้งที่มีการประชุมสภาจะมีการนำปัญหาของชุมชนมาพูดคุยทุกครั้งเช่น เรื่องร้านค้าชุมชน เยาวชน ยาเสพติด เป็นต้น
    2 เพื่อสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในเยาวชน
    ตัวชี้วัด : 1. ได้ข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติดในเยาวชน 1 ชุดข้อมูล
    • ได้ทำการสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดข้อมูลจำนวน 200 ชุด ซึ่งเป็นเพศชาย จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 61.5 เป็นหญิง จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5
    • เมื่อวิเคราะห์การวัดผลความรู้เรื่องยาเสพติดของคนในชุมชนพบว่า คะแนนเฉลี่ย รวม มีค่า 142 คิดเป็นร้อยละ 71.08 ถือว่าคนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดค่อนข้างมาก
    • วัดระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติด ข้างต้นในภาพรวมพบว่าระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชุมชนบ้านควน มีค่าเฉลี่ย82.36 คิดเป็นร้อยละ 41.2 อยู่ในระดับ ทำได้มาก อย่างไรก็ตาม ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชุมชนบ้านควนที่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจาก ในการวัดระดับความสามารถของตนเองส่วนที่ทำได้น้อยที่สุดยังพบเห็นเปอร์เซนต์ของเยาวชน โดยเฉพาะในเรื่อง เมื่อนักเรียนมีความเครียดหรือกลัดกลุ้มใจนักเรียนสามารถควบคุมตนเองไม่ใช้บุหรี่หรือสารเสพติด ทุกชนิดในการระบายความเครียด หรือความกลุ้มใจ พบว่ามีจำนวนร้อยละ 2
    3 เพื่อลดโอกาสการทดลองใช้ยาเสพติด และลดการใช้สารเสพติดของกลุ่มเป้าหมายหลัก
    ตัวชี้วัด : 1. เยาวชนกลุ่มเสี่ยงไม่ไปใช้ยาเสพติด 2. เยาวชนกลุ่มใช้ยาเสพติดแล้ว สามารถลด ละ เลิกการใช้ยาเสพติดร้อยละ 20
    • เยาวชนกลุ่มเสี่ยงอายุประมาณ 7-12 ปี เป็นจำนวน 20 คน หลังจาเสร็จสิ้นโครงการแล้วเยาวชนกลุ่มนี้ยังไม่ใช้ยาเสพติด
    • เยาวชนกลุ่มใช้ยาเสพติดแล้วอายุระหว่าง13-20ปี จำนวน 20 คน สามารถลดการเสพได้ 3 คน และสามารถเลิกได้จำนวน 1 คน
    4 เพื่อสร้างการมีจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
    ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมโครงการ ร้อยละ 60 จากครัวเรือนทั้งหมด 2. ได้แผนชุมชนด้านการจัดการยาเสพติด 1 แผนงาน
    • ในชุมชนบ้านควนมีสมาชิกจำนวน 600 ครัวเรือน มีผู้เข้าร่วมจำนวน 400 ครัวเรือน คิดเป็น 66.67%ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
    • มีแผนชุมชนด้านการจัดการยาเสพติดโดยเยาวชนคือ 1.มีการแข่งขันกีฬาภายในชุมชนเช่น ฟุตบอล ฟุตซอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น ปีละ5 ครั้ง 2. ควรจัดอบรมเรื่องยาเสพติดปีละ 3 ครั้ง3. จัดให้มีสถานที่เล่นกีฬาเพิ่ม 4. เยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชน ควรร่วมกันพัฒนาชุมชนให้ปราศจากยาเสพติด 5. ควรจัดให้มีการทัศนศึกษาตามแหล่งบำบัดยาเสพติดในสถานที่ต่างๆ 6. ควรส่งเสริมอาชีพของคนภายในชุมชน
    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • ทางแกนนำเข้าร่วมประชุมทุกครั้งที่ทาง สจรส.มอ จัดและมีการติดป้ายปลอดบุหรี่ที่สถานที่จัดกิจกรรมหลักคือ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ต.บ้านควน ทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นมีการถ่ายรูปประกอบทุกครั้งและจัดส่งตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อก่อตั้งสภาผู้นำชุมชนและ M.5 Buddy (สภาเยาวชนบ้านควน) เพิ่มประสิทธิภาพกลไกใหม่(เยาวชน)ในชุมชนซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติด (2) เพื่อสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในเยาวชน (3) เพื่อลดโอกาสการทดลองใช้ยาเสพติด และลดการใช้สารเสพติดของกลุ่มเป้าหมายหลัก (4) เพื่อสร้างการมีจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

    รหัสโครงการ 58-03931 รหัสสัญญา 58-00-2185 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มเยาวชยมวยไทย และฟุตบอล

    ภาพกิจกรรมโครงการ

    empowerment ให้ทำกิจกรรมกับกลุ่มนี้ต่อเนื่องต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    กลุ่มเยาวชน 7-20ปี 60คน รวมตัวกันออกกำลังกายด้วยมวยไทยและฟุตบอล เป็นประจำอาทิตย์ละ 1 - 3 วัน

    ภาพกิจกรรม

    empowerment ให้ทำกิจกรรมกับกลุ่มนี้ต่อเนื่องต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่
    • เยาวชนกลุ่มเสี่ยงอายุประมาณ 7-12 ปี เป็นจำนวน 20 คน หลังจาเสร็จสิ้นโครงการแล้วเยาวชนกลุ่มนี้ยังไม่ใช้ยาเสพติด
    • เยาวชนกลุ่มใช้ยาเสพติดแล้วอายุระหว่าง13-20ปี จำนวน 20 คน สามารถลดการเสพได้ 3 คน และสามารถเลิกได้จำนวน 1 คน

    สอบถามแกนนำโครงการและเยาวชน

    empowerment ให้ทำกิจกรรมกับกลุ่มนี้ต่อเนื่องต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การเก็บข้อมูลสถานการณ์เยาวชนด้านยาเสพติดแล้วนำมาคืนให้ชุมชนรับทราบสู่การทำแผนชุมชน

    • ภาพกิจกรรม
    • กิจกรรมหลักของแผนในรายงานกิจกรรม

    ให้นำกระบวนการทำงานบนฐานข้อมูลแบบนี้ไปใช้กับการทำงานแก้ปัญหาอื่นๆต่อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    เยาวชนกลุ่มเป้าหมายและครอบครัวมีความภาคภูมิใจในตัวเอง

    การพูดคุยสัมภาษณ์เยาวชนและผู้ปกครองในเวทีสรุปโครงการ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03931

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย เจ๊ะหมาด ฮะอุรา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด