directions_run

สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง ”

บ้านซอย 10 หมู่ที่ 2 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย สุภาพ สิตะรุโณ

ชื่อโครงการ สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

ที่อยู่ บ้านซอย 10 หมู่ที่ 2 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03920 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2189

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านซอย 10 หมู่ที่ 2 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านซอย 10 หมู่ที่ 2 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03920 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 211,050.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 650 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างสภากลไกชุมชนที่เข็มแข็งนำเศรษฐกิจพอเพียง
  2. 2. เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และส่งเสริมการออมในครัวเรือน
  3. 3. เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตและสืบทอดวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 5 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์ พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ว่าด้วยเรื่องการดำเนินโครงการ รับฟังการบรรยายอธิบายเรื่องการใช้เวปและการคีย์ข้อมูลโดย อ.ภานุมาศ รับฟังและสอบถามเรื่องการดำเนินงานอย่างละเอียด โดย นาง นฤมล ฮะอุรา รับฟังและสอบถามเรื่องการทำบัญชี โดย คุณธิดา คีย์ข้อมูลแผนดำเนินงานและกิจกรรมย่อยลงเวบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์ พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ว่าด้วยเรื่องการดำเนินโครงการ และยกตัวอย่างโครงการที่ทำสำเร็จและไม่สำเร็จ รับฟังการบรรยายอธิบายเรื่องการใช้เวบและการคีย์ข้อมูลโดย อ.ภานุมาศ พร้อมยกตัวอย่างอย่างละเอียดและง่าย รับฟังและสอบถามเรื่องการดำเนินงานอย่างละเอียด โดย นาง นฤมล ฮะอุรา รับฟังและสอบถามเรื่องการทำบัญชี โดย คุณธิดา คีย์ข้อมูลแผนดำเนินงานและกิจกรรมย่อยลงเวบ รับฟังการบรรยายการทำสื่อโดย คุณถนอม วันที่ 6 ตุลาคม 2558 คีย์ข้อมูลกิจกรรมเพิ่มเติม ประชุมรายงานผลกิจกรรมที่ได้ทำมาแล้วให้แก่พี่เลี้ยง

     

    6 3

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 10 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์งดสูบบุหรี่ จำนวน  6 ป้าย
    2. นำไปติดประชาสัมพันธ์ที่ทำการโครงการ ศาลาอเนกประสงค์บ้านซอย 10 หมู่ที่ 2
    3. นำไปติดประชาสัมพันธ์ในการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน  และประชุมประจำเดือนของโครงการฯ
    4. นำไปประชาสัมพันธ์ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของโครงการ
    5. เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการรณรงค์และติดป้ายประชาสัมพันธ์ห้ามสูบบุหรี่ ทำให้ คณะกรรมการโครงการ  แกนนำ ประชาชนที่เข้ามาร่วมประชุมในศาลาอเนกประสงค์ ไม่สูบบุหรี่  และมีการพูดตักเตือนถึงข้อห้ามนี้ให้เพื่อนทราบและปฏิบัติ ตามด้วย

     

    500 500

    3. จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

    วันที่ 11 ตุลาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญแกนนำกลุ่มต่างๆเข้าร่วมประชุม
    2. จัดประชุมประชาคมหมู่บ้านเพื่อคัดเลือกตัวแทนกลุ่มมาเป็นคณะทำงานของโครงการ
    3. ดำเนินการคัดเลือกโดยการโหวตและเสนอชื่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการจำนวน40คน และแบ่งหน้าที่การทำงาน

     

    40 40

    4. ปัดลานเล่าขานสานกลุ่มชุมชน

    วันที่ 28 ตุลาคม 2015 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดเตรียมตกแต่งเรือพระ

    2. ประชาสัมพันธ์ทางแกนนำคณะทำงาน 40 คนแจ้งกำหนดการของกิจกรรมให้ประชาชนในหมู่ที่ 2 เข้าร่วมงาน เปิดตัวด้วยการจัดกิจกรรมประกวดเรือพระร่วมในประเพณีตำบลควนกาหลง โดยการตั้งขบวนลากเรือพระ ตามด้วยขบวนพาเรดมีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมกับรถแห่โฆษณา เดินทางมายังบริเวณลานคอนกรีตตลาดนัดบ้านซอย 10

    3. กำหนดการกิจกรรมปัดลานเล่าขานสานกลุ่มชุมชนมีดังนี้

    เวลา 08.00 น.ประชาชนหมู่ที่ 2 พร้อมกันที่วัดกุมภีลบรรพต

    เวลา 08.40 น.เริ่มเคลื่อนขบวนการชักลากเรือพระจากวัดมายังลานจัดงาน โดยให้ทันกับเวลาที่ อบต.กำหนด ไม่เกิน 9.30 น. พร้อมรถแห่ประชาสัมพันธ์

    เวลา 10.00 - 12.00 น. เริ่มกิจกรรมปัดลานเล่าขานสานชุมชน

    เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา 13.00 - 16.30 น. เริ่มกิจกรรมปัดลานเล่าขานสานชุมชน(ต่อ)

    เวลา 19.30 - 20.30 น. การแสดงรำมโนราห์เปิดกิจกรรมปัดลานฯของเยาวชน นักเรียนโรงเรียนบ้านซอย 10

    เวลา 20.30 - 21.00 นนายสุภาพ สิตะรุโณ เล่าขานกิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการสานชุมชนรวมพลเครือข่ายสู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

    ลากเรือพระกลับวัดในวันที่ 29 ตุลาคม 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากกิจกรรมเปิดตัวในงานประเพณีชักพระประจำตำบลควนกาหลง เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลควนกาหลงเป็นเจ้าภาพ โดยมีกำหนดการจัดงานทั้งวันทั้งคืนเป็นประจำทุกปี และมีประชาชนทุกหมู่เข้าร่วมกิจกรรม นายสุภาพ สิตะรุโณ ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานฯ จึงเลือกวันเดียวกันนี้ในการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ สานชุมชนรวมพลเครือข่ายสู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง เพื่อแนะนำประชาสัมพันธ์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส. ด้วยการจัดเรือพระประชาสัมพันธ์ร่วมในงานประเพณีชักพระตำบลควนกาหลง โดยเริ่มตั้งแต่ตกแต่งเรือพระให้สวยงามและติดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการประดับเรือพระ จากนั้นเริ่มตั้งขบวนพาเหรดลากเรือพระตั้งแต่เวลา 08.00 น.ของวันที่ 28 ตุลาคม 2558 แล้วเริ่มเคลื่อนขบวนในเวลา 08.30 น.ออกจากหน้าวัดกุมภีลบรรพต โดยมีรถแห่ประชาสัมพันธ์โครงการนำหน้าขบวนพาเหรดลากเรือพระ และมีเยาวชนจำนวน 2 คน ถือป้ายโครงการเดินนำหน้าขบวนพาเหรด เดินทางมายังบริเวณงาน ณ ลานคอนกรีตตลาดนัดบ้านซอย 10 นำเรือพระประชาสัมพันธ์โครงการฯมาจอดให้ประชาชนทั่วไปทำบุญเดือนสิบ โดยในงานนี้มีนายอำเภอควนกาหลงเข้าร่วมงาน ซึ่งท่านได้รับทราบข้อมูลของโครงการในงานนี้พร้อมกับประชาชนอื่นๆที่มาเที่ยวงาน และท่านนายอำเภอให้เกียรติถ่ายภาพกับเรือพระประชาสัมพันธ์โครงการด้วย เมื่อส่งทานนายอำเภอกลับแล้ว แกนนำคณะทำงานใช้โทรโข่งพูดประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการให้ประชาชนหมู่ที่ 2 บ้านซอย 10 ได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมตามโครงการและกิจกรรมต่างๆร่วมในงานประเพณีชักพระตำบลควนกาหลง จากการเปิดลานเวทีประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการทำให้ หน่วยงานรัฐและเอกชน พ่อค้าแม่ค้า เยาวชนและประชาชนตำบลควนกาหลงได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่างของโครงการฯ ทราบที่มาของโครงการ รับรู้ว่า สสส.สนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามโครงการนี้ และประชาชนได้รู้วิธีการดำเนินงาน เป้าหมาย และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดความกระตือรือร้น สนใจที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ที่จะได้รับต่อชุมชน

     

    300 400

    5. พบพี่เลี้ยงทำความเข้าใจการทำเอกสารการเงิน

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆ
    พี่เลี้ยงดูการเขียนรายงานบนเว็บไซต์เบื้องต้นรูปแบบการเขียนและเนื้อหา จัดเรียงเอกสารในแต่ละกิจกรรมเก็บไว้เป็นชุดๆ ปรึกษาพี่เลี้ยงในเรื่องของการจัดกิจกรรม เนื่องจากกิจกรรมหลายกิจไม่ได้จัดตามแผนที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้การทำบัญชี การตรวจสอบเอกสารทางการเงิน  การเตรียมความพร้อมในการทำโครงการ การเขียนรายงานบนเว็บไซต์

     

    4 2

    6. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 1/10

    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2015 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ขั้นตอนเตรียมการ

    • เชิญตัวแทนของกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558

    2.ขั้นตอนประชุม

    3.ขั้นตอนสรุปการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมครั้งนี้ใช้ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่ 2 เป็นสถานที่ประชุม จัดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 เวลาประชุม 13.00 น. โดยมีนายสุภาพ สิตะรุโณ เป็นผู้ใหญ่บ้านและผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานการประชุม เมื่อเวลา 14.00 น.ประธานกล่าวเปิดประชุมและแจ้งเรื่องที่ประชุมทราบ ดังนี้ ด้วย สสส.ได้อนุมัติทุนสนับสนุนโครงการสานชุมชนรวมพลเครือข่ายสู่เป้าหมายบ้าน ซอย 10 วิถีพอเพียง ภายในวงเงินงบประมาณ จำนวน 211,050 บาทเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ชุมชนตามกิจกรรมโครงการที่ขอเสนองบประมาณ โดยมีเงื่อนไขและแนวทางในการดำเนินงานและการสนับสนุนตามเอกสารแจกให้ ส่วนกิจกรรมต่างๆที่ต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อสร้างสุขภาพในหมู่ที่ 2 บ้านซอยสิบมีดังนี้

    • จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

    • สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10

    • ปัดลานเล่าขานสานกลุ่มชุมชน

    • พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้าน ซอย 10

    • ครัวเรือนอาสาเก็บข้อมูลสถานการณ์เศรษฐกิจระดับครัวเรือน

    • เก็บข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน
    • คืนข้อมูลและจัดทำแผนชุมชน
    • น้ำดื่มสะอาดบริโภคปลอดภัย
    • ชวนกันลด ละ เลิกบุหรี่
    • จัดตั้งกองทุนธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อชุมชนน่าอยู่
    • กลุ่มออมทรัพย์บ้านซอย 10 เข้มแข็ง
    • สืบทอดการทำเรือพระและมโนราห์
    • การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยง
    • ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
    • ถ่ายภาพกิจกรรมและจัดทำรายงาน โดย สสส.จะสนับสนุนงบประมาณโดยแบ่งเป็นงวดๆ จำนวน 3 งวด ซึ่งงวดแรกจะได้รับเงินสนับสนุนมาเป็นเงิน 84,420 บาท ให้ดำเนินกิจกรรมภายในระยะเวลาตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2559 และนายสุภาพ สิตะรุโณ แจ้งการเตรียมพร้อมในเรื่องของเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย เมื่อเงินเข้ามาจะได้ดำเนินการต่อไป

    2 ดำเนินการคัดเลือกตัวแทนแต่ละกลุ่ม โดยสมาชิกแกนนำเสนอชื่อตัวแทนจำนวนกลุ่มละ 5 คนมาเป็นคณะทำงานในสภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 ซึ่งดำเนินการคัดเลือกได้คณะทำงานดังนี้

    • ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 4 คน

    • สมาชิก อบต.หมู่ที่ 2 จำนวน2 คน

    • แกนนำกลุ่มสตรี จำนวน 3 คน

    • บัญฑิตอาสาประจำหมู่บ้าน1 คน

    • สารวัตรกำนัน1 คน

    • แกนนำกลุ่มธนาคารขยะ จำนวน5 คน

    • ปราชญ์ชาวบ้านเรื่องสืบสานเรือพระ จำนวน 5 คน

    • ปราชญ์มโนราห์ จำนวน3 คน

    • อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่ที่ 2 จำนวน 4 คน

    • แกนนำกลุ่มออมทรัพย์จำนวน6คน

    • แกนนำกลุ่มน้ำดื่มสะอาด จำนวน6 คน รวมจำนวน40 คน

     

    40 40

    7. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมรับฟังบรรยายการคีย์ระบบติดตามและการเงิน เป็นขั้นตอนตั้งแต่ติดตามกิจกรรมที่บันทึกไว้ในปฏิทินที่ดำเนินการไว้ก่อนแล้ว ทำการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมให้ครบถ้วน เพื่อให้ระบบบันทึกการทำรายงานเสร็จสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 2 คน คือผู้ประสานงานโครงการ และเหรัญิกของโครงการ เพื่อมาเรียนรู้การทำงานร่วมกันและเข้าใจการทำงานในระบบผ่านเว็ปและติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งเป็นไปในรูปแบบเดียวกันเช่น
    การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
    การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
    การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่ ซักถามแลกเปลี่ยน
    สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน

     

    3 1

    8. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 2/10

    วันที่ 11 ธันวาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

    1. เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
    • ผลการดำเนินกิจกรรมปัดลานเล่าขานสานชุมชน
    1. เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว
    • ไม่มี
    1. เรื่องเพื่อพิจารณา
    • กิจกรรมที่เริ่มดำเนินการในเดือนต่อไป
    1. เรื่องอื่น ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 ธันวาคม 2558ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่ 2 เป็นสถานที่ประชุมโดยมีนายสุภาพ สิตะรุโณ เป็นผู้ใหญ่บ้านและผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานการประชุม เมื่อเวลา 13.30 น.ประธานกล่าวเปิดประชุม

    • เรื่องที่แจ้งที่ประชุมทราบ

    จากการดำเนินกิจกรรมปัดลานเล่าขานสานกลุ่มชุมชน ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการสานชุมชนรวมพลเครือข่ายสู่เป้าหมายบ้าน ซอย 10 วิถีพอเพียง ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส. โดยใช้งบประมาณในการดำเนินงาน ภายในวงเงินจำนวน 39,400 บาทนั้น มีประชาชนทั้งตำบลให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และได้นำเรียนแจ้งให้นายอำเภอควนกาหลงทราบถึงโครงการและกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ

    • เรื่องสืบเนืองจากการประชุมครั้งที่แล้ว

      ไม่มี

    • เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา นายสุภาพ สิตะรุโณ กล่าวกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไปในเดือนหน้า ตามปฏิทินการดำเนินงาน คือการพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 คณะทำงานเห็นควรดำเนินการในเดือนนี้เลยได้มั้ย นายทอง ตรีรัตน์ กล่าวว่าเนืองด้วยในเดือนนี้มีกิจกรรมอื่นๆของหมู่บ้านหลายอย่างทำให้คณะทำงานหลายคนไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ทำให้คณะทำงานไม่รู้ไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ และไม่สามารถทำงานได้ถูกต้องจึงเห็นควรเลื่อนออกไปก่อน ไว้เสนอพิจารณาในคราวที่คณะทำงานว่างและพร้อมเข้าร่วมอบรม นายสุภาพ สิตะรุโณ ขอให้ที่ประชุมลงมติพิจารณาเห็นด้วยหรือไม่ตามข้อเสนอของคุณ ทอง ตรีรัตน์

    มติที่ประชุม เห็นด้วยเลื่อนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำสภาฯไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด

    • เรื่องอื่นๆ

      นายสุภาพ สิตะรุโณ กล่าวว่า ข้าพเจ้าในนามผู้รับผิดชอบโครงการและตั้งใจหางบประมาณจากหน่วยงานภายนอกมาพัฒนาหมู่บ้าน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนหมู่ที่ 2 บ้านซอย 10 โดยการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่างๆหลายกิจกรรมในโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ความสามัคคี ของคณะทำงานทุกคนในการขับเคลื่อนต่อไป

     

    40 40

    9. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 3/10

    วันที่ 11 มกราคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

    • เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

      กิจกรรมที่ต้องดำเนินการเดือนกุมภาพันธ์

    • เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว ไม่มี

    • เรื่องเพื่อพิจารณา แนวทางการดำเนินกิจกรรมสืบทอดทำเรือพระและสืบทอดมโนราห์ เรื่องอื่น ๆ ...................

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมครั้งที่ 3 ในวันที่ 11 มกราคม 2559ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่ 2

    โดยมีนายสุภาพ สิตะรุโณ เป็นประธานการประชุม เปิดประชุมเมื่อเวลา 14.00 น.

    เรื่องที่แจ้งที่ประชุมทราบ

    ในเดือนภุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ตามปฏิทินการดำเนินงาน ต้องดำเนินกิจกรรม สืบทอดการทำเรือพระและมโนราห์โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการ ภายในวงเงิน 37,500 บาท

    เรื่องสืบเนืองจากการประชุมครั้งที่แล้ว ไม่มี

    เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

    • นายสุภาพ สิตะรุโณ กล่าวกิจกรรมสืบทอดการทำเรือพระและมโนราห์ที่ต้องดำเนินการต่อไปในเดือนหน้า รายละเอียดขอให้ นายรอศักดิ์อาดำ ผู้ประสานงานชี้แจงแนวทางให้คณะทำงานทราบและพิจารณาวางแผนแนวทางการดำเนินงานต่อไป

    • นายรอศักดิ์ อาดำขอชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่จะดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ประกอบด้วย1 กิจกรรมหลักมี 2กิจกรรมย่อยดังนี้

    • สืบทอดการทำเรือพระกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนของโรงเรียนบ้านซอยสิบ และเยาวชนบ้านซอยสิบ จำนวน 25คน มาเรียนรู้การทำเรือพระ โดยมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้สอน เรียนทั้งหมด 10ครั้ง

      -สืบทอดการรำมโนราห์กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนของโรงเรียนบ้านซอยสิบ และเยาวชนบ้านซอยสิบ จำนวน 20คน มาเรียนรู้การรำมโนราห์โดยมีครูโรงเรียนบ้านซอยสิบและปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้สอน เรียนทั้งหมด 15ครั้ง

    • นายสุภาพ สิตะรุโณ เมื่อคณะทำงานรู้แนวทางในการดำเนินงานคร่าวๆ ขอมอบให้คณะกรรมการสืบทอดมโนราห์ และคณะกรรมการสืบทอดเรือพระ เตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน เสนอให้ที่ประชุมรับทราบต่อไปในการประชุมครั้งที่ 4 ขอฝากคณะทำงานทั้งสองทีมเร่งดำเนินการเตรียมการและวางแผนเพื่อทันดำเนินการในเดือนหน้า

     

    40 40

    10. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 4/10

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

    เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

    กิจกรรมสืบทอดทำเรือพระและมโนราห์

    เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว

    ไม่มี

    เรื่องเพื่อพิจารณา

    ไม่มี

    เรื่องอื่น ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมครั้งที่ 4 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่ 2 โดยมีนายสุภาพ สิตะรุโณ เป็นประธานการประชุม เปิดประชุมเมื่อเวลา 13.00 น.

    • เรื่องที่แจ้งที่ประชุมทราบ

    ในเดือนภุมภาพันธ์นี้ เรากำหนดดำเนินกิจกรรม สืบทอดการทำเรือพระและมโนราห์ ภายในวงเงิน 37,500 บาท โดยเริ่มครั้งแรกในวันที่ 12 กุมพาพันธ์ 2559 นี้

    • เรื่องสืบเนืองจากการประชุมครั้งที่แล้ว

      1. การสืบทอดมโนราห์ มีครูมโนราห์ 3 ท่าน คือนายบุญให้ปราบคง นายวีนัส อนันตพงศ์ และครูถนอมพันธ์ ชัยชนะ เป็นผู้ฝึกสอน เด็ก เยาวชน 20 คน จำนวน 15 ครั้ง

      2. การสืบทอดเรือพระ มีครูทำเรือพระจำนวน5 ท่าน คือนายอาทิตย์ คนหาญนายก้วน คงพรหม นายวินัย จันทร์คง นายสินไชย ไหมรักษ์ และนางสาวทิพาพร พรหมทอง เป็นผู้รับผิดชอบฝึกสอนเด็กนักเรียนและเยาวชน จำนวน 10 ครั้ง

    • เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

    ไม่มี

    • เรื่องอื่นๆ

      นายสุภาพ สิตะรุโณ ขอฝากให้คณะทำงานชุดสืบทอดทำเรือพระและมโนราห์ ทำหน้าที่ฝึกฝนลูกหลานของเราให้ได้มีความรู้สามารถสืบทอดวัฒนธรรมที่ดีต่อไปสู่ลูกหลาน หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน ท่านสามารถติดต่อข้าพเจ้าได้ทุกเวลา

     

    40 40

    11. พบพี่เลี้ยงทำความเข้าใจการทำเอกสารการเงิน

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆ ก่อนที่จะส่งงาน สจรส. งวดที่ 1 พี่เลี้ยงดูการเขียนรายงานบนเว็บไซต์เบื้องต้นรูปแบบการเขียนและเนื้อหา จัดเรียงเอกสารในแต่ละกิจกรรมเก็บไว้เป็นชุดๆ ปรึกษาพี่เลี้ยงในเรื่องของการจัดกิจกรรม เนื่องจากกิจกรรมหลายกิจไม่ได้จัดตามแผนที่วางไว้


    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้ได้เตรียมความพร้อมก่อนส่งงาน สจรส. งวดที่ 1 การเขียนรายงานบนเว็บไซต์บางกิจกรรมรายละเอียดน้อยไป เอกสารที่เตรียมพร้อมส่งเรียบร้อย

     

    2 2

    12. ปิดงวด ที่ 1

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม เพื่อตรวจความเรียบร้อยของผลดำเนินงานและเอกสารทางการเงินที่ถูกต้อง และสามารถส่งผลดำเนินงานได้ตามตตัวชี้วัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรวจสอบเอกสารมีความถูกต้อง เอกสารการเงินมีการใช้จ่ายตรงตามเป้าหมายและได้ตัวชี้วัดกิจกรรมเป็นไปตามผลสำเร็จ สามารถส่งเอกสารเพื่อขออนุมัติงวดต่อไป เพื่อดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

     

    2 2

    13. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 5/10

    วันที่ 11 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานแจ้งเรื่องให้ที่ประชุมทราบ
    • เรื่องเสนอพิจารณา
    • เรื่องอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานแจ้งให้ทราบว่า ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการสภาผู้นำ โดยจัดอบรมที่ไร่สมบูรณ์ปาล์มรีสอร์ทในเดือนเมษายนนี้  รายละเอียดกิจกรรมและวันที่ดำเนินโครงการ รอการประสานงานให้ได้ความชัดเจนแล้วจะแจ้งให้ทราบในการประชุมครั้งหน้าในเดือนเมษายน
      - ส่วนกิจกรรมอื่นๆที่กำหนดดำเนินการของแต่ละกลุ่มให้เตรียมความพร้อมเมื่อได้รับการโอนงบประมาณสามารถดำเนินการได้ทันที

     

    40 40

    14. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 6/10

    วันที่ 11 เมษายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
    • เรื่องเสนอพิจารณา
    • เรื่องอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานแจ้ง การเตรียมการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 ในวันที่ 16 เมษายนนี้ ณ ไร่สมบูรณ์ปาล์มรีสอร์ท ตั้งแต่เวลา 9.00 น - 15.00 น. โดยเชิญท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมาเป็นประธานเปิดและพูดแนวทางการพัฒนาตำบล ขอคณะกรรมการทั้งหมดเข้าร่วมประชุมด้วย โดยจะเรียนรู้วิธีการดำเนินโครงการในแต่ละกิจกรรมที่ท่านรับผิดชอบว่าดำเนินการอย่างไร รายละเอียดแต่ละกิจกรรม

     

    40 40

    15. อบรมคณะทำงานพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10

    วันที่ 16 เมษายน 2016 เวลา 09:00 - 15.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พิธีเปิดแบบไม่เป็นทางการ โดย นายก อบต.ควนกาหลง และฟังแนวทางการพัฒนาตำบล -  ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ โดย นายสุภาพ  สิตะรุโณ ผู้รับผิดชอบโครงการ
    • แบ่งกลุ่มตามกิจกรรมที่รับผิดชอบและเรียนรู้วิธีการดำเนินกิจกรรมตนเอง
    • แต่ละกลุ่มวางแผนดำเนินงาน ปรึกษาหารือแนวทางของกิจกรรมที่ดำเนินการ
    • สรุปแนวทางแต่ละกิจกรรม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เมื่อวันเสาร์ที่ 16 เมษายน2559 ได้กำหนดจัดกิจกรรมอบรมคณะทำงานพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 ณ ไร่สมบูรณ์ปาล์มโฮมสเตย์ หมู่ที่ 6 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 - 15.00 น. โดยมีนายณัฐภาพงศ์ สุวรรณชนะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนกาหลงมาเป็นประธานเปิดกิจกรรมของโครงการอย่างไม่เป็นทางการพร้อมทั้งพูดแนวทางการพัฒนาตำบลควนกาหลง และชื่นชมผู้ใหญ่บ้านพร้อมคณะทำงานที่สามารถหางบประมาณจากภายนอกหรือหน่วยงานต่างๆมาช่วยพัฒนาหมู่บ้านและตำบล ต่อจากนั้นนายสุภาพ สิตะรุโณ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดถึงแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อประโยชน์ของพี่น้องในหมู่บ้านและขอความร่วมมือคณะทำงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 ทุกท่านตั้งใจทำงานทำกิจกรรมที่ตนเองรับผิดชอบเพื่อประชาชนในหมู่บ้าน หลังจากนั้นให้คณะทำงานนั่งเป็นกลุ่มตามกิจกรรมที่ตนรับผิดชอบ เพื่อฟังแนวทางการดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมทั้งโครงการ และร่วมกันวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และประชาชนในหมู่บ้านได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆที่ช่วยกันดำเนินการดังกล่าว

     

    40 40

    16. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 7/10

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง กำหนดระเบียบวาระการประชุม ดังนี้ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ กิจกรรมสืบทอดทำเรือพระและมโนราห์ เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ ได้กลุ่มแกนนำที่เป็นกลไกบริหารสำคัญของโครงการแกนนำหรือคณะทำงานของสภาฯได้รับรู้แนวทางการดำเนินงาน และเข้าใจในหน้าที่ เป็นสถานที่ประชุมปรึกษาหารือ แก้ไขปัญหา หรือเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาหมู่บ้าน

    ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ประชุมครั้งที่ 4 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่ 2 โดยมีนายสุภาพ สิตะรุโณ เป็นประธานการประชุม เปิดประชุมเมื่อเวลา 13.00 น. เรื่องที่แจ้งที่ประชุมทราบ ในเดือนภุมภาพันธ์นี้ เรากำหนดดำเนินกิจกรรม สืบทอดการทำเรือพระและมโนราห์ ภายในวงเงิน 37,500 บาท โดยเริ่มครั้งแรกในวันที่ 12 กุมพาพันธ์ 2559 นี้ เรื่องสืบเนืองจากการประชุมครั้งที่แล้ว การสืบทอดมโนราห์ มีครูมโนราห์ 3 ท่าน คือนายบุญให้ปราบคง นายวีนัส อนันตพงศ์ และครูถนอมพันธ์ ชัยชนะ เป็นผู้ฝึกสอน เด็ก เยาวชน 20 คน จำนวน 15 ครั้ง การสืบทอดเรือพระ มีครูทำเรือพระจำนวน5 ท่าน คือนายอาทิตย์ คนหาญนายก้วน คงพรหม นายวินัย จันทร์คง นายสินไชย ไหมรักษ์ และนางสาวทิพาพร พรหมทอง เป็นผู้รับผิดชอบฝึกสอนเด็กนักเรียนและเยาวชน จำนวน 10 ครั้ง

     

    40 40

    17. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 8/10

    วันที่ 11 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง กำหนดระเบียบวาระการประชุม ดังนี้ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ กิจกรรมสืบทอดทำเรือพระและมโนราห์ เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว .

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่ 2 โดยมีนายสุภาพ สิตะรุโณ เป็นประธานการประชุม เปิดประชุมเมื่อเวลา 13.00 น. เรื่องที่แจ้งที่ประชุมทราบ ในเดือนภุมภาพันธ์นี้ เรากำหนดดำเนินกิจกรรม สืบทอดการทำเรือพระและมโนราห์ ภายในวงเงิน 37,500 บาท โดยเริ่มครั้งแรกในวันที่ 12 กุมพาพันธ์ 2559 นี้ เรื่องสืบเนืองจากการประชุมครั้งที่แล้ว การสืบทอดมโนราห์ มีครูมโนราห์ 3 ท่าน คือนายบุญให้ปราบคง นายวีนัส อนันตพงศ์ และครูถนอมพันธ์ ชัยชนะ เป็นผู้ฝึกสอน เด็ก เยาวชน 20 คน จำนวน 15 ครั้ง การสืบทอดเรือพระ มีครูทำเรือพระจำนวน 5 ท่าน คือนายอาทิตย์ คนหาญนายก้วน คงพรหม นายวินัย จันทร์คง นายสินไชย ไหมรักษ์ และนางสาวทิพาพร พรหมทอง เป็นผู้รับผิดชอบฝึกสอนเด็กนักเรียนและเยาวชน จำนวน 10 ครั้ง

     

    40 40

    18. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 9/10

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ


    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง กำหนดระเบียบวาระการประชุม ดังนี้ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ กิจกรรมสืบทอดทำเรือพระและมโนราห์ เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว .

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


    ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ผลลัพท์ที่ตั้งไว้ ได้กลุ่มแกนนำที่เป็นกลไกบริหารสำคัญของโครงการ แกนนำหรือคณะทำงานของสภาฯได้รับรู้แนวทางการดำเนินงาน และเข้าใจในหน้าที่ เป็นสถานที่ประชุมปรึกษาหารือ แก้ไขปัญหา หรือเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาหมู่บ้าน ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ ได้กลุ่มแกนนำที่เป็นกลไกบริหารสำคัญของโครงการ  แกนนำหรือคณะทำงานของสภาฯได้รับรู้แนวทางการดำเนินงาน และเข้าใจในหน้าที่ เป็นสถานที่ประชุมปรึกษาหารือ แก้ไขปัญหา หรือเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาหมู่บ้าน ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ประชุมครั้งที่ 4 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่ 2 โดยมีนายสุภาพ สิตะรุโณ เป็นประธานการประชุม เปิดประชุมเมื่อเวลา 13.00 น. เรื่องที่แจ้งที่ประชุมทราบ ในเดือนภุมภาพันธ์นี้ เรากำหนดดำเนินกิจกรรม สืบทอดการทำเรือพระและมโนราห์ ภายในวงเงิน 37,500 บาท โดยเริ่มครั้งแรกในวันที่ 12 กุมพาพันธ์ 2559 นี้ เรื่องสืบเนืองจากการประชุมครั้งที่แล้ว การสืบทอดมโนราห์ มีครูมโนราห์ 3 ท่าน คือนายบุญให้ปราบคง นายวีนัส อนันตพงศ์ และครูถนอมพันธ์ ชัยชนะ เป็นผู้ฝึกสอน เด็ก เยาวชน 20 คน จำนวน 15 ครั้ง การสืบทอดเรือพระ มีครูทำเรือพระจำนวน5 ท่าน คือนายอาทิตย์ คนหาญนายก้วน คงพรหม นายวินัย จันทร์คง นายสินไชย ไหมรักษ์ และนางสาวทิพาพร พรหมทอง เป็นผู้รับผิดชอบฝึกสอนเด็กนักเรียนและเยาวชน จำนวน 10 ครั้ง

     

    40 40

    19. จัดประชุมแกนนำกลุ่มออมทรัพย์บ้านซอย10 เข็มแข็ง6 ครั้ง1/6

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรื่องแจ้งเพื่อทราบ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา เรื่องอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เรื่องแจ้งเพื่อทราบ นายทอง ตรีรัตน์ประธานกลุ่มออมทรัพย์บ้านซอย 10 ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส โดยทางกลุ่มได้รับเงินสนันสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการออมให้ประชาชนหันมาออมเงินเพิ่มมากขึ้นโดยตั้งเป้าหมายหาสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 50 ครัวเรือน ฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนในหมู่บ้านด้วยว่า กลุ่มออมทรัพย์ฯเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่จำนวน 50 คนหรือมาสมัครมากกว่านี้ก้อได้รับไม่จำกัด เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา - ขอให้คณะกรรมการร่วมกันคิดวิธีการส่งเสริมการออมของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเชิญชวนเข้ามาเป็นสมาชิกและแจ้งผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อมาเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มด้วย

    เรื่องอื่นๆ

     

    50 50

    20. จัดประชุมแกนนำกลุ่มออมทรัพย์บ้านซอย10 เข็มแข็ง 6 ครั้ง 2/6

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรื่องแจ้งเพื่อทราบ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา เรื่องอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมสรุปร่วมกันโดยใช้ใบปลิวแจกประชาสัมพันธ์แต่ละครัวเรือน และแจ้งให้ประชาชนที่สนใจมาสมัครเป็นสมาชิกได้ในวันที่กองทุนเปิดทำการของวันที่ 30 ของเดือน

     

    50 50

    21. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ 1/10

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.แกนนำและปราชญ์เรือพระวางแผนการสอนนักเรียน 2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการฝึกสอน 3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีและประวัติเรือพระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปราชญ์ได้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและประวัติเรือพระ มีดังนี้     ประวัติความเป็นมา  ประเพณีลากพระ บางท้องถิ่นเรียกว่า "ประเพณีชักพระ" เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน และเป็นประเพณีที่มีกำหนดการแน่นอน คือ จัดทำในแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ตรงกับวันออกพรรษา     ที่มาของประเพณี เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่ 7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน ครั้งทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก ใบลาน ใบตาล ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น     การลากพระ เป็นการบำเพ็ญบุญประเพณีในเทศกาลคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์ เพื่อให้ประเพณีดังกล่าวโน้มน้าวเร้าจิตใจให้คิดระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์ทรงกลับมาสู่มนุษย์โลก และ โปรดเวไนยสัตว์จนเสด็จดับขันปรินิพพาน ประเพณีลากพระจัดทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยอัญเชิญพระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรือ ปางห้ามสมุทร ซึ่งเป็นปางประทับยืนปละทรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระ ประดิษฐานเหนือบุษบกคือมณฑปขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ที่จัดตั้งไว้ในยานพาหนะสำหรับลากจูงต่อไป ขบวนลากจูงเรือพระนี้ เป็นประเพณีที่ชาวภาคใต้เรียกว่า "พิธีลากพระ"

        การลากพระแบ่งเป็น 2 ประเภท     เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้บางแห่งเป็นที่ราบลุ่ม ชุมชนที่อยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ทะเล แม่น้ำลำคลอง การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ สำหรับชุมชนที่อาศัยในที่ราบสูงใช้เกวียนหรือรถยนต์เป็นพาหนะ ดังนั้น บุญประเพณีลากพระจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะให้เหมาะกับพื้นที่ จึงจะประกอบพิธีลากพระได้ทั่วภูมิภาคและต่อละสถาน ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันต่างกันแต่รูปแบบ หรือ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในพิธีดังนี้     1.การลากพระเรือ เป็นประเพณีลากพระทางน้ำของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลุ่ม การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ     2.การลากพระบก เป็นประเพณ๊ลากพระทางบกของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบสูง การคมนาคมในชีวิตประจำวันใช้เกวียนหรือรถยนต์และรถไฟเป็นพาหนะ แต่ร้านม้าที่จัดตั้งบุษบกใช้คำว่า "เรือ" นำหน้าจึงเรียกว่า "เรือพระบก" สันนิษฐานว่า การลากพระคงเริ่มจากลากพระเรือก่อนที่จะดัดแปลงมาเป็นลากพระบก

          การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการลากพระ     1.เครื่องประโคม ประกอบด้วย ฆ้อง ระฆัง ตะโพน (กลองชนิดหนึ่ง)     2.พระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทร หรือ ปางห้ามญาติ จำนวน 1 องค์ หรือ 2 องค์ ภาษาถิ่นเรียกว่า "พระลาก" นิยมใช้ไม่เกิน 2 องค์     3.ยานพาหนะ สำหรับจัดตั้งบุษบก ถ้าลากพระทางน้ำใช้เรือเป็นพาหนะ ลากพระทางบกใช้ร้านม้าเป็นพาหนะ         3.1 ลากพระทางน้ำ จัดเตรียมเรือขนาดใหญ่ 1 ลำ หรือ เรือขนาดกลาง 2 ลำ ผูกติดกันเป็นคู่ขนาน วางคาน ปูพื้นและขนาดพื้นที่กว้างไม่น้อยกว่า 4*4 เมตร เพื่อวางบุษบกและอุปกรณ์อื่นๆ สะดวก         3.2 ลากพระทางบก จัดทำร้านม้าวางบนคานเลื่อน 2 แผ่น ดังเลื่อนที่สุนัขลากบนน้ำแข็ง ต้องสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรง แต่ลากเลื่อนสะดวก สำหรับบุษบกจัดตั้งบนร้านม้ายึดทุกส่วนติดกันให้แข็งแรง มิฉะนั้นอาจจะหักพัง เพราะบางท้องถิ่นมีประเพณีแย่งเรือพระซึ่งกันและกันด้วย (จะเล่าให้ทราบในขบวนพิธีลากพระ) ปัจจุบันบางท้องถิ่นใช้รถยนต์แทนร้านม้า ทำให้ความสนุกสนานในการลากพระบกลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงเรือพระไม่สามารถกระทำได้     4.เชือกลากเรือพระ วัสดุลากจูง ถ้าลากพระทางน้ำใช้เชือกลากพระ เพราะน้ำหนักน้อยกว่าหรือไม่ ถ้าลากพระทางบกนิยมใช้ไม้ไผ่แทนเชือก เพราะประชาชนจับลากจูงสะดวกกว่าเชือก
        ขบวนลากพระ     การลากพระทั้งทางบกและทางน้ำ มีทั้งสิ่งที่เหมือนกันและต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่และยานพาหนะที่ใช้เป็นเรือพระ     สิ่งที่แตกต่างกัน คือ การลากพระทางน้ำ เนื่องจากใช้เรือเพื่อจัดตั้งบุษบกและใช้เรือยาวขนาดหลายๆฝีพาย พร้อมทั้งเรือเล็กทุกขนาดลากจูง กรรมวิธีก็คือ เรือลากจูงผูกติดกับเชือกลากเรือพระเป็นขบวนยาวสุดสายตา เรียงหน้าขนานไปตามลำคลองเหมือนเป็นฝูงใหญ่ลงว่ายน้ำพร้อมกัน สายน้ำที่ใสสะอาดปราศจากมลภาวะ ถึงกับต้องเปลี่ยนสีที่เกิดจากเงาสะท้อน ย้อนแสงสีเขียว เหลืองแดงของอาภรณ์หนุ่มสาวที่สรรหามาแต่งตัวยั่วกัน เช่น เรือยางบางลำแต่งกายด้วยสีม่วงหรือสีแดง ทั้ง 30 ฝีพาย สายน้ำยิ่งดูยิ่งงามยามเรือผ่าน เห็นด้วยกับคำว่า "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า" เรือทุกลำต่างคนต่างพาย พร้อมทักทายเพื่อนร่วมงานเป็นฉันท์มิตรที่ค้นเคยมาแต่ก่อนก็สาดน้ำเข้าใส่สกิจใจแทนวาจา ต่างเพศ ต่างฐานะ ต่างวัย แต่เสมอกันด้วยศรัทธาร่วมใจลากจูงเรือพระไปยับสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ ให้ทันเพลาถวายภัตตาหารเพลแด่ภิกษุสามเณรร่วมกัน ประชาชนทั้งสองฝั่งคลอง เมื่อขบวนเรือพระมาถึงหน้าบ้าน ยกภาชนะขนมต้นลงเรือไปแขวนพระหัตถ์พระพุทธรูป ซึ่งประทับยืนอยู่ในบุษบก แล้วก็รีบพายเรือของตนไปผูกติดกับเชือกลากเรือพระเข้าขบวน มือพายเรือปากทักทายเจรจาพาทีกับพี่น้องน้าป้าต่อไป     การลากพระทางบก แตกต่างจากลากพระทางน้ำ คือ การใช้แรงคนเดินเท้าลากจูงเรือพระ ตั้งขบวนเดินลัดตัดทุ่งนา หมู่บ้าน ผ่านคูหนองร่องลำธาร โดยใช้ไม้ไผ่ผูกติดโคนต่อปลายให้ยาวตามที่ต้องการผูกติดกับเรือพระเป็นคู่ขนานหลายๆเส้นแทนเชือก เพราะสะดวกในการจับลากจูงขบวนผ่านหมู่บ้านใด ประชาชนนำขนมต้มมาแขวนพระหัตถ์พระพุทธรูปหรือผูกห้อยกับร้านม้า ร่วมอนุโมทนาแล้วเสร็จ รีบก้าวไปเข้าขบวนลากพระตามประเพณี บางคนแย่งเรือพระหรือบังคับให้อ้อมโค้งออกนอกเส้นทาง หวังจะให้เรือพระผ่านทุ่งนาของตน เพราะมีความเชื่อว่า เรือพระผ่านท้องทุ่งแห่งใด จะทำให้ข้าวกล้าพืชพันธุ์ธัญญาหารงอกไพบูลย์ การลากพระบก มีทั้งนันทนาการ มีความสนุกสนาน ตลกขบขันและความสัมพันธ์ก็เกิดขึ้น เป็นต้นว่าขบวนผ่านลงน้ำทุกคนก็เปียกน้ำ ผ่านโคลนตมก็เปื้อนโคลนตม บางครั้งแย่งเรือพระซึ่งกันและกัน อีกกลุ่มหนึ่งลากไปข้างหน้า อีกกลุ่มหนึ่งดึงถอยหลัง เพราะอยากเปลี่ยนเส้นทางจนกลายเป็นกีฬาชักเย่อไปโดยไม่เจตนา เสียงหัวหน้ากลุ่มและลูกน้องร้องตะโกนหาแนวร่วมจากชุมชน ประสมประสานเสียงกับเครื่องประโคม เช่น ระฆัง ตะโพน ฆ้อง ก้องกัมปนาทสะเทือนทุ่ง หากขบวนมุ่งตรงเข้าหมู่บ้านใด หมูจะแหกคอก วัวควายวิ่งออกนอกบ้านพลัดถิ่นหลงฝูง เชือกผูกล่ามจูงขาดกระจัดกระจาย เหตุการณ์เหล่านี้ ไม่มีใครโกรธและโทษใคร เพราะบุญประเพณีเป็นที่ยึดใจ ความโกรธไม่สามารถมาบัญชาให้ใครโกรธใคร เพราะจิตใจพกพาอภัยทานตั้งแต่ก่อนจะร่วมงานซึ่งกันและกัน ความผิดพลาดทั้งหลายละลายด้วยการให้อภัยโทษ สิ่งที่เหมือนกัน คือ ขบวนลากพระทั้งทางบกและทางน้ำ ต่างมุ่งหน้าไปยังสถานที่แห่งเดียวกัน เพื่อบำเพ็ญทำกิจกรรมและนันทนาการร่วมกัน สถานที่ดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางท้องถิ่นนั้นๆ เรือพระที่ขบวนลากมาจากวัดเหนือ วัดใต้ หรือ จากวัดอื่นใด ทั้งเรือพระบกและพระน้ำ จะลากไปหยุดร่วมกัน ณ สถานที่นั้นและจะถึงก่อนเวลาถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ทุกๆ ขบวน

          กิจกรรมประจำประเพณี     แต่ละสถานที่อาจจะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและค่านิยมของชุมชน กิจกรรมที่จัดทำทั่วไป ได้แก่     1.ประกวดเรือพระ หลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือก ตัดสินแพ้ชนะ พิจารณาถึงความสวยงาม ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีชาวภาคใต้ทั้งเรือพระบกและเรือพระน้ำ ได้ประดับด้วยสิ่งประดิษฐ์อันวิจิตรการตา เช่น เรือพระบกคานรองร้านม้าและสลักเป็นพญานาค 2 ตัว ยกหัวชูหงอนสะบัดหาง เลื้อยเคียงคู่ประคองบุษบกไปตามเส้นทาง ยิ่งดูยิ่งเพิ่มศรัทธาเร้าใจ จนเข้าไปร่วมขบวนโดยไม่รู้สึกเหนื่อยหน่าย     2.การแข่งตะโพน ซึ่งเป็นกลองชนิดหนึ่ง หัวสอบท้ายสอบตัวตะโพนทำด้วยไม้ขึงด้วยหนังหัวท้าย มีขารอง ตีด้วยฝ่ามือ (ภาษาถิ่นบางแห่งเรียกว่า "ปืด") เข้าทำการแข่งขันครั้งละคู่ ตัดสินโดยการฟังเสียงเป็นสำคัญ วิธีแข่งขัน เรียงตะโพนตามกัน 2 ใบ ใบแรกจะตั้งเสียงตีก่อน ใบที่ 2 จะตัดเสียงทีหลัง คณะกรรมการจะดักฟังเสียงทางด้านหลังของตะโพนทั้ง 2 ใบ และต้องอยู่ห่างไกล จึงสามารถแยกเสียงตั้งและเสียงตัดได้ดี คู่แข่งขันจะสลับวางด้านหน้าและด้านหลังอย่างน้อยคนละหนึ่งครั้ง ตะโพนอีกประเภทหนึ่ง ตีด้วยไม้ ผู้ตีกลองต้องแข็งแรง วิธีแข่งขันจะตีแรงๆ รัวเร็วๆ และช่วงเวลาตียาวนาน ผลัดเปลี่ยนตีโชว์คนละครั้ง     3.แข่งเรือยาว กำหนดรุ่นตามจำนวนฝีพาย กติการและวิธีแข่งขัน ตัดสินการแพ้ชนะที่ความเร็วช้ากว่ากัน ดังแข่งขันเรือยาวทั่วไป     4.แข่งขันซัดขนมต้ม เป็นกีฬาที่รุนแรง ผู้แข่งขันต้องตาเร็ว มือเร็ว มีทักษะในการขว้างปาแม่นยำด้วย     อุปกรณ์ในการแข่งขัน คือ ขนมต้มสามเหลี่ยมและจัดทำเป็นขนมต้มชนิดแข่งขันเฉพาะ บางแห่งใช้ข้าวเหนียวผสมทรายห่อด้วยใบกะพ้อ ต้มหรือนึ่งจนแห้งให้ข้าวเหนียวแข็ง วิธีแข่งขัน แข่งเป็นคู่ๆ และใช้สนามกว้างๆ ผู้ชมยืนห่างจากนักกีฬาในระยะที่ปลอดภัย เตรียมการโดยคู่แข่งมีขนมต้มข้างละ 30-40 ลูก ยืนห่างกันประมาณ 12 เมตร กติกาในการแข่งขัน ใช้ขนมต้มปาให้ถูกร่างกายของคู่แข่งให้มากที่สุด ห้ามปาต่ำกว่าเข็มขัด เมื่อหมดขนมต้มนับจำนวนที่ปาถูกร่างกายคู่แข่งเป็นสำคัญ เมื่อจบกิจกรรมต่างวัดต่างลากเรือพระของตนกลับ สนุกสนานสั่งลาก่อนจากฝากมิตรต่อไป     ดังนั้น งานประเพณีลากพระ จะเป็นงานเทศกาลบุญกุศลเท่านั้นก็หาไม่ได้ แต่เป็นประเพณีเสริมสร้างสามัคคี อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวภาคใต้ ให้สืบสานไปสู่เยาวชนคนรุ่นหลัง และคงเป็นมรดกสังคมคงอยู่คู่ไทยถิ่นใต้ชั่วนิรันดร์

     

    20 20

    22. ฝึกมโนราห์ 1/15

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกสอนรำมโนราห์ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนชั้นประถมมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 20 คน ได้รับการฝึกรำมโนราห์ในเวลาบ่ายในช่วงคาบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  โดยมีปราชญ์ชาวบ้านและคุณคณูร่วมกันสอน

     

    20 20

    23. ฝึกมโนราห์ 2/15

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกสอนรำมโนราห์ท่ายูงฟ้อนหาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนชั้นประถมมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 20 คน ได้รับการฝึกรำมโนราห์ท่ายูงฟ้อนหางในเวลาบ่ายในช่วงคาบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  โดยมีปราชญ์ชาวบ้านและคุณคณูร่วมกันสอน

     

    20 20

    24. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ 3/10

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกปฏิบัติการตัดโฟมเป็นลายกนกต่างตามลวดลายที่วาดไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความรู้เรื่องลายกนก ลายไทย วิธีการตัดโฟม เทคนิคการตัด และได้ฝึกทักษะแก่เด็กที่มาเรียนด้วย

     

    20 20

    25. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ 2/10

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอนนักเรียนเรื่องลายไทยลายกนกที่ใช้ตกแต่งเรือพระ และฝึกฝน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องลายกนก  และฝึกวาด ทาสี 

     

    20 20

    26. อบรมแกนนำคณะทำงานกองทุนธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อชุมชนน่าอยู่

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่กองทุนและให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ การดำเนินธนาคารขยะ  เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองงทุนและคัดแยกขยะ รีไซด์เคิลมาขายที่ธนาคารขยะของหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำจำนวน 30 คนมาเป็นคณะทำงานของกองทุน และมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลได้เกิดผลกำไรและมีเงินสมทบกองทุนและปันผลให้แก่คณะทำงานและสมาชิกทุกคน ต่างช่วยกันประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามาเป็นสมาชิกธนาคารขยะ และส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักคัดแยกขยะ เก็บขยะมาขายในทุกวันสิ้นเดือนของทุกเดือน

     

    30 30

    27. จัดประชุมแกนนำกลุ่มออมทรัพย์บ้านซอย10 เข็มแข็ง 6 ครั้ง 3/6

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมประจำเดือนเพื่อแจ้งสถานะการเงิน  บริการฝากเงินถอนเงิน  รับสมัครสมาชิก และประชาสัมพันธ์ การออม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับบริการฝากเงินออมประจำเดือนแก่สมาชิก  และรับสมัครสมาชิกใหม่  ท่านประธานกลุ่มแจ้งฝากเชิญชวนให้ประชาชนมาออมเงิน

     

    50 50

    28. ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานโครงการต้นแบบ 1 แห่ง

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2016 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการศึกษาดูงาน - 7.30 น. มานัดมาพร้อมกันที่ ศาลาประชาคม - 8.00 น. เดินทางไปศึกษาดูงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ที่ อ.มะนัง - 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน - 13.00 น. ศึกษาดูงานต่อ - 16.00 น. เดินทางกลับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานของสภาผู้นำฯ จำนวน 40 คน ได้เดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของนายโฉม คงสุวรรณ ที่อยู่ 93 หมู่ที่1 ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ได้เรียนรู้การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยหมักและหญ้าแฝก การผลิตข้าวกล้อง การเพาะพันธุ์ปลา
    การเลี้ยงแพะ การเพาะกล้าไม้การผลิตน้ำส้มควันไม้จุลินทรีย์ ทำหน้ายางและจุลินทรีย์ที่ฆ่าหญ้าได้

     

    40 40

    29. ฝึกมโนราห์ 3/15

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2016 เวลา 9.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกสอนรำมโนราห์ท่าชูพวงมาลัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนชั้นประถมมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 20 คน ได้รับการฝึกรำมโนราห์ท่าชูพวงมาลัย  โดยมีคุณครูเป็นผู้สอน

     

    20 20

    30. ฝึกมโนราห์ 4/15

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกท่ารำโคมเวียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้และฝึกหัดรำท่าโคมเวียนพร้อมทบทวนท่ที่เรียนผ่านมาแล้วด้วย

     

    20 20

    31. จัดประชุมแกนนำกลุ่มออมทรัพย์บ้านซอย10 เข็มแข็ง6 ครั้ง4/6

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมประจำเดือน  บริการออมทรัพย์  ฝากเงิน  ถอนเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกใหม่ได้นำเงินมาฝากจำนวน20 คน เป็นยอดเงิน2,000 บาท

     

    50 50

    32. สำรวจปัญหาน้ำดื่มสะอาดเพื่อบริโภคปลอดภัย

    วันที่ 2 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำแบบสำรวจปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคในครัวเรือนจำนวน 400 หลังคาเรือน
    • อสม.20คนและเยาวชน 20คน ร่วมกันลงสำรวจ
    • นำข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนดำเนินการแก้ไขครัวเรือนที่มีปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับทราบสถานการณ์การมีน้ำสะอาดเพื่อดื่มเพื่อใช้ของชุมชน
    • ข้อมูลที่ได้พบว่า จากการสำรวจปัญหาของประชาชนพบว่า มีครัวเรือนจำนวน 350 หลังใช้น้ำสำหรับดื่มโดยซื้อน้ำถังจากร้านค้ามาดื่มกิน โดยราคาถังละ 10-12 บาท ซึ่งแต่ละครัวเรื่อนใช้เฉลี่ย3- 4 ถังต่อเดือน และมี 50 ครัวเรือนใช้บ่อน้ำตื้นโดยติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่ม ส่วนน้ำอุปโภคมีครัวเรือนจำนวน 350 หลังใช้น้ำประปาหมู่บ้านซึ่งเป็นประปาภูเขา เป็นน้ำธรรมชาติไม่ได้ผ่านการกรองใดๆจึงทำให้ เจอปัญหาน้ำขุ่นเมื่อฝนตก และมีเศษหญ้า เศษใบไม้ผสมอยู่ในน้ำด้วย ส่วนอีก 50 หลังใช้นำ้บ่อน้ำตื้นและประปาภูเขาร่วมด้วย

     

    40 40

    33. จัดประชุมแกนนำกลุ่มออมทรัพย์บ้านซอย10 เข็มแข็ง 6 ครั้ง 5/6

    วันที่ 3 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดบริการออมทรัพย์  ฝากเงิน ถอนเงิน แก่สมาชิก และแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกใหม่จำนวน  30 คนได้นำเงินมาฝากออมทรัพย์จำนวน 5,000  บาท 

     

    50 50

    34. ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาน้ำดื่ม

    วันที่ 4 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมนำข้อมูลจากการสำรวจปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ของประชาชนมาวิเคราะห์วางแผนแก้ไข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาฯจำนวน 10 คน ร่วมกับอสม.จำนวน 10 คน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำถ้งที่ซื้อจากร้านค้ามาบริโภค ส่วนน้ำอุปโภคใช้น้ำประปาหมู่บ้านซึ่งเป็นระบบประปาภูเขาจากน้ำตกธาราสวรรค์ ทำให้เจอปัญหานำ้ขุ่น  น้ำขุ่นในช่วงเวลาฝนตกหนัก และขาดน้ำในหน้าแล้ง เป็นน้ำทีไม่ได้รับการกรองทำให้มีเศษใบไม้ เศษหญ้า ผสมมากับน้ำด้วย จากปัญหาขอเสนอแนวทางแก้ไขในส่วนของน้ำดื่มทางหมู่บ้านน่าปรับปรุงแก้ไขน้ำดื่ม

     

    20 20

    35. จัดประชุมแกนนำกลุ่มออมทรัพย์บ้านซอย10 เข็มแข็ง 6 ครั้ง 6/6

    วันที่ 5 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเบิก ถอน ฝากเงินแก่สมาชิกกลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มได้จำนวน 75 คน ได้ฝากเงินรวมยอด 10,000 บาท

     

    50 50

    36. ฝึกมโนราห์ 5/15

    วันที่ 6 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกซ้อมรำท่าร้อยพวงมาลัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้เรียนรู้ท่าร้อยพวงมาลัยและฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย

     

    20 20

    37. ฝึกมโนราห์ 6/15

    วันที่ 7 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกซ้อมรำท่าเยื่องกร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้ท่าร้อยพวงมาลัยและฝึกปฏิบัติ

     

    20 20

    38. ฝึกมโนราห์ 7/15

    วันที่ 8 สิงหาคม 2016 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกซ้อมรำท่าเทพพนม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกท่าเทพพนม ทบทวนท่าต่างๆที่ได้เรียนมาก่อนหน้านี้

     

    20 20

    39. ฝึกมโนราห์ 8/15

    วันที่ 9 สิงหาคม 2016 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกซ้อมรำท่าร้อยพวงมาลัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้เรียนรู้ท่าร้อยพวงมาลัยและฝึกทบทวนท่าต่างๆ

     

    20 20

    40. ฝึกมโนราห์ 9/15

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอนการรำชูสูงเสมอหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้ท่าและฝึกท่ารำชูสูงเสมอหน้า และทบทวนท่าที่เรียนผ่านมาแล้ว

     

    20 20

    41. ฝึกมโนราห์ 10/15

    วันที่ 11 สิงหาคม 2016 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอนท่ารำพรหมเทวา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้และฝึกซ้อมท่าพรหมเทวา และฝึกทบทวนท่าต่างๆ

     

    20 20

    42. ฝึกมโนราห์ 11/15

    วันที่ 12 สิงหาคม 2016 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอนท่าเขาควาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติท่ารำเขาควาย และทบทวนท่าต่างๆ

     

    20 20

    43. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการน้ำดื่มสะอาดปราศจากสารปนเปื้อน

    วันที่ 13 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการอบรม

    -9.00 น ลงทะเบียน -9.30 น อบรมให้ความรู้เรื่องวิธีการทำน้ำดื่มให้สะอาดและปลอดภัย - 12.00 นพักรับประทานอาหารกลางวัน - 13.00 นฝึกปฏิบัติการทำน้้ำดื่มให้สะอาด - 15.00 นจบการอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือน  อสม แกนนำ คณะทำงานสภาผู้นำ  จำนวน 50 คน ได้เรียนรู้การทำน้ำดื่มสะอาดด้วยตนเองและความรู้การผลิตน้ำประปา ดังนี้

    "ขั้นตอนการผลิตน้ำประปา"

    น้ำประปา เป็นน้ำที่ผ่านขบวนการต่าง ๆ มากมายกว่าจะเป็นน้ำประปาให้บริการแก่ประชาชนได้นั้น มีขั้นตอนการผลิตหลายชั้นตอน และต้องมีการลงทุนที่สูงมาก  ดังขบวนการผลิตต่อไปนี้

    1. การสูบน้ำ    การผลิตน้ำประปา เริ่มจาก "โรงสูบน้ำแรงต่ำ" ทำการสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อลำเลียงเข้าสู่ระบบผลิต ซึ่งน้ำดิบที่สามารถนำมาผลิตน้ำประปาได้นั้นต้องเป็นน้ำที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสิ่งสกปรกโสโครกปนเปื้อนเกินกว่าที่กำหนด ซึ่งได้ผ่านการวิเคราะห์ตรวจสอบจากนักวิทยาศาสตร์แล้วว่าสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นน้ำประปาได้ และต้องมีปริมาณมากเพียงพอที่จะนำมาผลิตน้ำประปาได้อย่างต่อเนื่อง

    2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ    น้ำดิบที่สูบเข้ามาแล้ว จะถูกผสมด้วยสารเคมี เช่น สารส้มและปูนขาว  เพื่อทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ สารละลายสารส้มจะช่วยให้มีการตกตะกอนได้ดียิ่งขึ้น และสารละลายปูนขาวจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายในน้ำ หรือบางครั้งจะมีการเติมคลอรีน เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับน้ำในชั้นต้นนี้ก่อน

    3. การตกตะกอน    ขั้นตอนนี้จะปล่อยน้ำที่ผสมสารส้มและปูนขาวแล้ว  ที่ทำให้เกิดการหมุนวนเวียนเพื่อให้น้ำกับสารเคมีรวมตัวกันจะช่วยให้มีการจับตัวของตะกอนได้ดียิ่งขึ้น และจะนำน้ำเหล่านั้นให้เข้าสู่ถังตะกอนที่มีขนาดใหญ่ เพื่อทำให้เกิดน้ำนิ่ง ตะกอนที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักมาก จะตกลงสู่ก้นถัง และถูกดูดทิ้ง น้ำใสด้านบนจะไหลตามรางรับน้ำเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

    4. การกรอง    ในการกรองจะใช้ทรายหยาบและทรายละเอียดเพื่อการกรองตะกอนขนาดเล็กมากในน้ำ และให้มีความใสสะอาดมากขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้น้ำที่ผ่านการกรองจะมีความใสมากแต่จะมีความขุ่นหลงเหลืออยู่ประมาณ 0.2-2.0 หน่วยความขุ่น และทรายกรองจะมีการล้างทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การกรองมีประสิทธิภาพ

    5. การฆ่าเชื้อโรค    น้ำที่ผ่านการกรองมาแล้วจะมีความใส แต่อาจจะมีเชื้อโรคเจือปนมากับน้ำ ฉะนั้นจึงจะต้องทำการฆ่าเชื้อโรค โดยใช้ คลอรีน ซึ่งคลอรีนนี้สามารถฆ่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี น้ำที่ได้รับการผสมคลอรีนแล้ว เรียกกันว่า "น้ำประปา" สามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้  และจะทำการจัดเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ เรียกว่า ถังน้ำใส เพื่อจัดการบริการต่อไป

    6. การควบคุมคุณภาพน้ำประปา    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ  เพราะน้ำประปาที่ทำการผลิตมาแล้วนั้น จะต้องวิเคราะห์ตรวจสอบอีกครั้งจากนักวิทยาศาสตร์ และการตรวจสอบนี้จะดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้น้ำประปาที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับการอุปโภคบริโภค

    7. การสูบจ่าย    น้ำประปาที่ผลิตมาแล้วนั้น จะต้องให้บริการถึงบ้านเรือนของผู้ใช้น้ำโดยส่งผ่านไปตามเส้นท่อ ดังนั้นการสูบจ่ายจึงมีความจำเป็น ด้วยการส่งจากหอถังสูงที่สามารถริการได้ในพื้นที่ใกล้เคียง และในพื้นที่ที่ไกลออกไปหรือมีความสูงมากจำเป็นต้องใช้เครื่องอัดแรงดันน้ำ เพื่อให้น้ำประปาสามารถบริการได้อย่างทั่วถึง

    แนะนำวิธีการทำน้ำสะอาดด้วยตนเอง ตามบ้านเรือน แนวทางการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค (น้ำใช้) และบริโภค (น้ำดื่ม) ตามบ้านเรือนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ของหมู่ที่ 2 บ้านซอย 10  โดยอาศัยอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ตามบ้านเรือน รวมถึงหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป โดยมีประเด็นต่างๆ ดังนี้ แหล่งน้ำ ควรเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย ห่างไกลจากแหล่งสุขา กองขยะ และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และไม่ผ่านการปนเปื้อนของสารเคมี นอกจากนี้ เรายังอาจเลือกแหล่งน้ำได้จากการสังเกตความใส (มีความขุ่นต่ำ) รวมทั้งควรมีการไหลของแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าว (ลดการสะสมสิ่งสกปรก รวมถึงปัญหาเรื่องกลิ่น) หรือใช้น้ำประปา (ที่อาจมีสี ความขุ่น หรือคุณภาพลดลงในภาวะน้ำท่วม) อุปกรณ์ที่จำเป็น ถังน้ำ 2 ใบ เก้าอี้ สายยางสำหรับทำกาลักน้ำ หนังยาง (หนังสติก) 2 เส้น สำลี หรือ ผ้าสำลี หรือ ผ้ายืด หรือ ผ้าขาวบาง ไฟฉาย สารส้ม น้ำยาคลอรีนเหลว (หยดทิพย์) หรือด่างทับทิมละลายน้ำ (ละลายผงด่างทับทิม 2 ช้อนชาลงในน้ำสะอาด 500 มิลลิลิตร หรือให้เป็นดังสัดส่วนข้างต้น) กาต้มน้ำ ขั้นตอนการผลิต วางถังน้ำใบที่ 1 ลงบนเก้าอี้ เติมน้ำจากแหล่งน้ำที่เลือกแล้วว่าสะอาดที่สุด ลงในถังใบที่ 1 แกว่งสารส้ม จนกระทั่งมองเห็นก้อนตะกอนเกิดขึ้น (ใช้ไฟฉายส่องดู) ซึ่งอาจใช้เวลา 5-20 นาที ขึ้นกับปริมาณน้ำและลักษณะความขุ่นของน้ำ ในกรณีที่มีก้อนสารส้มขนาดเล็ก เราสามารถใช้ผ้าขาวบางมัดสารส้มขนาดเล็กๆ ด้วยกัน เพื่อทำการแกว่งสารส้ม
    ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนในถังใบที่ 1 (ประมาณ 20 – 30 นาที) เมื่อใช้ไฟฉายส่องดูอาจเห็น 1) ตะกอนด้านล่าง 2) ตะกอนลอย (ฝ้า) ด้านบน และ 3) น้ำใส (ด้านบนหรือกลางของถังใบที่ 1)
    ใช้สายยาง เพื่อทำกาลักน้ำ (ถ่ายส่วนน้ำใสจากถังใบที่ 1 ไปสู่ถังใบที่ 2) โดยที่ปลายด้านที่น้ำจะไหลออกไปสู่ถังใบที่ 2 นั้น อาจใช้การอุดสายยางด้วยสำลีและมัดด้วยหนังยาง หรือพันหุ้มปลายสายยางด้วยผ้าสำลี/ผ้ายืด/ผ้าขาวบาง ด้วยยางหนังสติก 2 เส้น เพื่อทำการกรองให้ได้น้ำใสอีกครั้งหนึ่ง (ไม่ควรใช้ผ้าหนา หรือซ้อนหลายชั้นเกินไป อาจทำให้น้ำไม่สามารถไหลได้) หากไม่มีอุปกรณ์สายยางทำ กาลักน้ำ อาจใช้ขันตักน้ำส่วนที่ใสและกรองน้ำผ่านผ้าขาวบางหรือผ้ายืดก่อนเข้าถังใบที่ 2 แทน
    ทำการฆ่าเชื้อโรคในถังใบที่ 2 (เราควรทราบปริมาตรน้ำในถังใบที่ 2) เติมน้ำยาคลอรีนเหลว (หยดทิพย์) 1 หยดต่อ 1 ลิตร หรือ เติมด่างทับทิมละลายน้ำ 3 – 5 หยดต่อ 1 ลิตร จากนั้น กวนผสมและปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
    ได้น้ำใช้สำหรับการอุปโภค (อาบน้ำ ซักล้าง หรือกิจกรรมอื่นๆ) ไม่สามารถนำไปดื่มได้ (บริโภคไม่ได้) หากท่านไม่สามารถหาอุปกรณ์ เช่น สายยาง สำลี หรือผ้า เพื่อทำกาลักน้ำและกรองอีกชั้นหนึ่งได้ ท่านอาจใช้วิธีการทำน้ำใช้ด้วยตนเองซึ่งได้เสนอแนะไปก่อนหน้านี้เพื่อทำน้ำสำหรับอุปโภค (น้ำใช้เท่านั้น) ได้ การกรองด้วยสำลีหรือผ้าอีกชั้นหนึ่งจะช่วยให้น้ำมีความใสมากขึ้นและช่วยให้การฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนหรือด่างทับทิมมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำน้ำสำหรับดื่ม  เราอาจใช้วิธีดังนี้ นำมาต้มให้เดือด เพื่อฆ่าเชื่อโรค รวมถึงไล่สารพิษหรือสารเคมีอันตรายที่ระเหยได้ออก เพื่อใช้เป็นน้ำดื่ม สำหรับน้ำประปาซึ่งขุ่นและมีสี สามารถทำให้ใสขึ้นด้วยวิธีข้างต้นในข้อ 3 และนำมาต้มให้เดือด เพื่อใช้เป็นน้ำดื่มได้

     

    50 50

    44. ฝึกมโนราห์ 12/15

    วันที่ 16 สิงหาคม 2016 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอนท่ารำกินรเหยียบฝั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติท่ากินรเหยียบฝั่งและท่าอื่นๆ

     

    20 20

    45. ฝึกมโนราห์ 13/15

    วันที่ 17 สิงหาคม 2016 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกสอนท่ารำจีบขวาเสมอหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้และฝึกท่าจีบขวาเสมอหน้า และทบทวนท่าต่างๆ

     

    20 20

    46. ฝึกมโนราห์ 14/15

    วันที่ 18 สิงหาคม 2016 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกสอนท่าจีบซ้ายเสมอหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติท่าจีบซ้ายเสมอหน้า และทบทวนท่ารำต่างๆ

     

    20 20

    47. ฝึกมโนราห์ 15/15

    วันที่ 19 สิงหาคม 2016 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกสอนท่าจีบขวาเพียงบ่า/จีบซ้ายเพียงบ่า และซ้อมรำทบทวนทุกท่าทางเพื่อสามารถแสดงได้บนเวทีต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้เรียนท่ารำมโนราห์ครบ 12 ท่า และมีสามารถแสดงบนเวทีได้

     

    20 20

    48. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ 4/10

    วันที่ 23 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอนนักเรียนระบายสี และฝึกฝน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีของสี และฝึกทักษะการระบายสี
    • นักเรียนสืบทอดวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่คนรุ่นใหม่ต่อไป

     

    20 0

    49. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ 5/10

    วันที่ 24 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอนการสร้างลายกนก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนทำลายกนก
    • เยาวชนได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
    • เยาวชนสืบทอดวัฒนธรรมในชุมชนต่อไป

     

    20 20

    50. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ6/10

    วันที่ 25 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สอนเด็กวาดลวดลายไทย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เด็กได้ฝึกฝนการวาดลวดลายไทย การระบายสีเทคนิคการใช้สีทำให้เกิดความสวยงาม
    • เยาวชนได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
    • เยาวชนสืบทอดวัฒนธรรมในชุมชนต่อไป

     

    20 20

    51. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ7/10

    วันที่ 26 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้ครูสอนเรื่องการลงสีในชิ้นงานขนาดเล็ก
    • โดยนำชิ้นงานที่มีการวาดลายแล้วมาให้เด็กๆลงสี หลัก โดยเลือกลงเฉพาะส่วนที่ทำเครื่องหมายไว้ เพราะส่วนที่ไม่ได้ทำเครื่องหมายจะนำไปลงสีอื่นในขั้นตอนต่อไป
    • เด็กๆ มาร่วมเรียนรู้กันมาก จนชิ้นงานท่ีเตรียมไว้ไม่เพียงพอ บางคนจึงนั่งให้กำลังใจเพื่อน หรือสลับกันลงสี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้เรียนรู้แลฝึกฝนการลงสีในชิ้นงานขนาดเล็ก

     

    20 20

    52. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ8/10

    วันที่ 27 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้ครูสอนให้เด็กระบายสีหัวพญานาคและหางพญานาค
    • หลักในการลงสี คือให้เลือกสีที่ตรงกันข้ามกัน จะตัดกันทำให้เกิดความสวยงาม สีที่ใช้เป็นสีโปสเตอร์ หรือสีโปสเตอร์สะท้อนแสง
    • การลงสีต้องทำอย่างปราณีต ใจเย็น มีสมาธิ เด็กๆจะได้ฝึกการมีสมาธิ
    • ต้องวางแผนว่าลายตรงไหนจะลงสีอะไร เพื่อจะได้เป็นไปในแนวเดียวกันทั้งตัวพญานาค
    • วิธีการคือการแต้มสีของส่วนนั้นนำทางไปก่อน จากนั้นจึงให้เด็กๆช่วยกันลงสีตามแนวที่ลอกลายไว้
    • เด็กๆรู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมลงสีที่ได้ทำในวันนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กเรียนรู้การวาดลวดลายพญานาคทั้งส่วนหัวและหาง พร้อมทั้งฝึกระบายสี เทคนิคการใช้สีทำเกิดความสวยงาม

     

    20 20

    53. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ 9/10

    วันที่ 28 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้ครูสอนการนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้นส่วนที่มีความโค้งมาประกอบกับชั้นส่วนหลัก
    • ครูสอนว่าให้ทำเบามือ เพราะถ้าชิ้นส่วนหักจะต้องทำให้ เกิดความหาย เสียเวลา
    • เด็กบางคนสามารถทำได้ บางคนไม่กล้าทำเพราะกลัวทำชิ้นสวนเสียหาย
    • เด็กส่วนใหญ่สนุกกับการช่วยหยิบชิ้นส่วนที่เป็นชุดเดียวกันนำมาวางเรียงให้ครูหรือพี่เลี้ยงช่วยต่อ แสดงถึงความเข้าใจในการเลือกลาย การประกอบชิ้นส่วน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้เรียนรู้เทคนิคการตัดโฟมลายกนกและฝึกปฎิบัติ

     

    20 20

    54. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ10/10

    วันที่ 29 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย ครูได้ชักชวนให้เยาวชนมาเรียนรู้การประกอบเรือพระจากชิ้นส่วนต่างๆที่แกะสลักมาทั้งหมด
    • เยาวชนเรียนรู้การติดประกอบชิ้นส่วนเรือพระ แต่ยังไม่สามารถติดประกอบเองได้
    • เยาวชนแสดงความรู้สึกตื่นเต้นดีใจเมื่อประกอบเรือพระเสร็จ ต่างชี้ชวนกันดูว่าส่วนไหนเป็นฝีมือของตนเอง
    • ครูเรือพระรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้สอนวิชาความรู้ให้เยาวชน และจะแฟ้นเด็กที่มีแวว มีฝีมือ มาทำการฝึกสอนต่อให้เชี่ยวชาญ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้ฝึกฝนการติดกนกตกแต่งลำเรือและได้ความรู้ เทคนิการติด การประดับให้สวยงาม การติด ณ ตำแหน่งหัวเรือ กลางลำเรือ และท้ายเรือ 

     

    20 20

    55. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 16 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตรวจสอบเอกสารของแต่ละกิจกรรรมให้ครบถ้วน • ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ • เมื่อเอกสารเรียบร้อยก็จัดทำเป็นรูปเล่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    •ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ให้แก่ชุมชน •ได้แนวทางในการต่อยอดโครงการของปีต่อไป

     

    2 2

    56. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 26 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ดำเนินการจัดเก็บรวบรวมภาพกิจกรรมต่างๆ จำนวน100 รูป
    • นำไปร้านเพื่อพริ้นลงกระดาษโฟโต้
    • นำรูปที่ได้จัดเป็นบอร์ดนิทรรศการตามสถานที่จัดกิจกรรม เช่น วัดซอย10 บ้านครูมโนราห์โรงเรียน อบต. เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เก็บรวบรวมภาพกิจกรรมต่างๆตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนสิ้นสุดโครงการและจัดแสดงให้คนในหมู่บ้านชม

     

    1 1

    57. สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 10/10

    วันที่ 1 ตุลาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมครั้งที่ 10 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2559ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านที่ 2 โดยมีนายสุภาพ สิตะรุโณ เป็นประธานการประชุม
    • เปิดประชุมเมื่อเวลา 13.00 น. เรื่องที่แจ้งที่ประชุมทราบ ในเดือนนี้กิจกรรมต่างของโครงการ สานชุมชนรวมพลเครือข่ายสสู่เป้าหมาย บ้านซอย 10 วิถีพอเพียง ที่ได้รับงบมา จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ หากกิจกรรมใดที่ไม่ดำเนินการหรือยังดำเนินการไม่เสร็จข้าพเจ้าในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการเมื่อไม่ได้จ่ายเงินก้อต้องคืนกลับกองทุน สสส. ต่อไป
    • ส่วนใครทีดำเนินกิจกรรมแล้วให้รีบรายงานผลและส่งเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายกลับมายังสภาชุมชน เพื่อเตรียมจัดทำรายงานส่ง สสส. ต่อไป
    • ในวันที่ 3-5 ตุลาคมนี้ สสส.จัดงานสร้างสุขภาคใต้ขอให้คณะทำงานที่สนใจเข้าร่วมงานนี้สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ข้าพเจ้า
    • จากนั้นนานรอศักดิ์ อาดัม เจ้าหน้าที่อบต.ผู้ประสานงานโครงการและพี่เลี้ยงได้สรุปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน จากกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว ดังนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนได้รับทราบผลการจัดโครงการและการสรุปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1) เกิดกลไลการทำงานของหมู่บ้านทีมใหญ่ขึ้น และเข้มแข็งขึ้น ช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมย่อยของโครงการ
    2) เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการเพิ่มการออม มีสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพิ่มขึ้น 75 คนยอดเงินออมสมาชิกใหม่ได้ 10,000 บาท
    3) เงินออมรวมเพิ่มขึ้นจาก ปี 2558 เป็นเงิน 42,000 บาท
    4) ผลจากการสำรวจเรื่องน้ำดื่มไม่เพียงพอจึงจัดอบรมเรื่องน้ำดื่มสะอาด ปลอดภัยให้กลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่มในชุมชน ทำให้ครัวเรือนที่ขาดน้ำดื่มสะอาด 150 ครัวเรือน ได้มีน้ำดื่ม
    5) เกิดกลุ่มเยาวชนที่ได้สืบทอดหัตถกรรมการประดิษฐ์เรือพระ 40 คน และการแสดงมโนราห์ 20 คน

     

    40 40

    58. งานสร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ในวันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
    • เยี่ยมชมผงงานนิทรรศการของโครงการต่าง ๆ ที่นำมาจัดเสนอผลงาน
    • เข้าร่วมพิธีเปิด - ปิด งานสร้างสุขภาคใต้
    • เข้าห้องประชุมย่อย ประเด็นชุมชนน่าอยู๋่
    • เรียนรู้นวัตกรรมที่น่าสนใจจากโครงการต่าง ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เห็นผลงานของโครงการแต่ละโครงการที่นำมาเสนอผลงาน ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการสามารถนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายไ้ให้กับชุมชน ได้ข้อคิดจากการฟังเสวนาจากโครงการที่ไดนำเสนอเป็นตัวอย่างบนเวที เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโครงการของตนเองต่อไป ไดรับข้อมูลและความรู้ใหม่ๆ จากกิจกรรมครั้งนั้ เข่น จากหนังสือ จากห้องเสวนาย่อย เป็นต้น

     

    2 2

    59. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปิดงวดเอกสารจัดทำเอกสารการคืนเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปิดงวดเอกสารจัดทำเอกสารการคืนเงิน

     

    2 2

    60. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเคราะห์โครงการปิดงวดที่ 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้ารับการตรวจเอกสารจากเจ้าหน้าที่สจรส.
    ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและเอกสารอื่น ๆ ตรวจสอบการรายงานหน้าเวปไซต์ ฟังคำแนะนำ เพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่สจรส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานผลการดำเนินงานการทำกิจกรรมตามโครงการงวดที่ 2 และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจาก สจรส.

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อสร้างสภากลไกชุมชนที่เข็มแข็งนำเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมทุกเดือน 2. ประชุมแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 24 คน 3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

    สภาผู้นำชุมชนบ้านซอย 10 ได้ดำเนินการประชุมสภาประจำทุกเดือน ในวันที่ 11 ของเดือน ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 รวมจำนวน 10 ครั้ง โดยประชุมแต่ละครั้งมีคณะทำงานสภาผู้นำฯและประชาชนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 50 คน โดยในการประชุมแต่ละครั้ง คณะทำงานมีการปรึกษาหารือเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

    2 2. เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และส่งเสริมการออมในครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 60 ของครัวเรือนต้นแบบมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการออมเพิ่มขึ้น และสามารถลดค่าใช้จ่ายบางรายการลง

     

    3 3. เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตและสืบทอดวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1. วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการสานต่อโดยเยาวชน 1 ภูมิปัญญา

     

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อสร้างสภากลไกชุมชนที่เข็มแข็งนำเศรษฐกิจพอเพียง (2) 2. เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และส่งเสริมการออมในครัวเรือน (3) 3. เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตและสืบทอดวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

    รหัสโครงการ 58-03920 รหัสสัญญา 58-00-2189 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มเยาวชนเรียนรู้/สืบทอดการทำเรือพระและมโนราห์

    • เยาวชนสืบทอดการทำเรือพระ 40คน
    • เยาวชนสืบทอดการแสดงมโนราห์ 20 คน
    • ภาพถ่าย/รายงานกิจกรรม

    หนุนเสริมให้ซ้อมมโนราห์ ฝึกทำเรือพระอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03920

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สุภาพ สิตะรุโณ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด