directions_run

บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

assignment
บันทึกกิจกรรม
การประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์14 ตุลาคม 2559
14
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน 2 คน ปิดงวดรายงานและกิจกรรมโดยปรับปรุงตามที่พี่เลี้ยงแนะนำ ดังนี้

  1. เติมข้อความให้สมบูรณ์
  2. เติมภาพให้สมบูรณ์
  3. ปรับปรุงหลักฐานทางการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  1. คณะทำงานเข้าร่วมปิดเอกสารโครงการ 2 คน
  2. ผลการตรวจสอบเอกสาร ถูกต้อง ครบถ้วน

ผลลัพธ์

  1. เข้าใจกระบวนการตรวจสอบเอกสารและวิธีการปิดงวดรายงาน
  2. โครงการดำเนินไปด้วยดีและปิดได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน13 ตุลาคม 2559
13
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันนี้เป็นกิจกรรมการประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการโดยในวันนีได้เดินทางมาที่ รพ.สต.เขาพระบาทเพื่อมาทำรายงานฉบับสมบูรร์ เพื่อเตรียมปิดโครงการโดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินการบันทึกข้อมูลใเวปไซต์บันทึกข้อมูลกิจกรรมต่างๆ รายละเอียดของกิจกรรมการบันทึกรูปในเวปไซต์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และก็ให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และข้อมูลในเว็บไซต์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.มีรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมปิดโครงการ

ผลลัพธ์

1.สามารถจัดทำเอกสารและหลักฐานทางการเงินได้ถูกต้อง 2.สามารถปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงานได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลและปิดรายงานโครงการ12 ตุลาคม 2559
12
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปกิจกรรมโครงการและปิดเอกสารโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ 2 คน พบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารมาตรวจสอบ และสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1.ตรวจเอกสารตามกิจกรรม พบว่าต้องมีการแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดการดำเนินงาน 2.ตรวจภาพถ่ายในการดำเนินงาน แนะนำให้ไปโหลดภาพถ่ายเพิ่ม และการทำกิจกรมแต่ละครั้ง สามารถทำเป็นกลุ่มย่อยๆได้
3.เอกสารทางการเงิน หลักฐานยังไม่ถูกต้องให้เขียน รายจ่ายแต่ละครั้งให้ละเอียด 4.ตรวจสอบสมุดบัญชี พบว่า ได้ถอนเงินออกจากบัญชีแล้ว
5.ดำเนินการปรับข้อมูล ในแผนภาพ รายละเอียดโครงการ และเคลียร์กิจกรรมการใช้เงินให้ถูกต้อง 6.ปิดรายงาน ง.1 และ ง.2 7.สรุปบทคัดย่อเพื่อจัดทำรายงาน ส.3

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนคณะทำงานพบพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบเอกสาร 2 คน 2.มีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารและบันทึกออนไลน์

ผลลัพธ์ 1.จัดทำสรุปรายงานตามกิจกรรมและบทคัดย่อ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 2.หลักฐานการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามกิจกรรมตามที่กำหนด 3.สามารถปิดงวดรายงาน ง.1ง.2 และ ส.3 ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  2  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้นำหลักฐานไปพบพี่เลี้ยงสจรส. รอบสุดท้ายเพื่อส่งเอกสาร ที่ ม.วลัยลักษณ์ ในวันที่ 14 - 15 ต.ค.2559 เพื่อตรวจเอกสารปิดโครงการ

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 38 ตุลาคม 2559
8
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมและสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงพื้นที่ ได้ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายและคณะทำงาน มานั่งพูดคุยถึงความเปลี่ยนแปลง หลังจากทำกิจกรรมของโครงการ พบว่ากลุ่มเป้าหมาย ได้เสนอความคิดหลากหลาย ดังนี้

สุทัศน์ ให้พวกเราฟังว่า “โครงการนี้ที่ผมได้เข้ามาทำ ดีมาก เป็นการเรียนรู้ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเรื่องค่าประกอบอาชีพ  การทำปุ๋ย ทำมานานแล้ว พอมาทำต่อยอดในโครงการผมถือว่าดี เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก พอได้ฟังจากพี่สมนึก ได้บรรยายก็ถึงว่าโครงการเรา ก็ละเอียด สมบูรณ์แล้ว  สำหรับเรื่องผักสวนครัว ทุกคนได้ปลูก อาจจะไม่เป็นรูปเป็นร่างที่สวยงาม แต่ทุกคนปลูกที่บ้าน  เรื่องการเลี้ยงเป็ด ก็มี สิ่งที่เราทำเป็นการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกไม้ ถือว่าโครงการนี้ดีมาก  คนในหมู่บ้านเปลี่ยน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดอาชีพ เกิดรายได้”

ลุงเหวียน บอกกับพวกเราทุกคนว่า “ผมได้เข้ามาทำกิจกรรมโครงการ ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมโครงการปุ๋ย  ทำน้ำยาอเนกประสงค์ ผมว่าสิ่งที่ทำเป็นเรื่องที่ดีมาก ผมสนับสนุนการทำปุ๋ย เป็นผลดีในบ้านเรา เรื่องน้ำหมักผมก็เห็นด้วย ต้นไม้ผมสวยงามมาก เศษอาหารบ้านผม ลดไป เดิมที่ดินผมไม่สวย ผมมาใช้น้ำหมักทำให้ดินผมดีขึ้น ปรับสภาพ ดินนุ่ม ตอนนี้มีไส้เดือน  ปุ๋ย ได้ทำเอง ทำให้ดินมีประสิทธิภาพ เป็นดินตามธรรมชาติ ต้นไม้เริ่มสวยงาม ผมเห็นด้วยกิจกรรมเหล่านี้  ผมเปลี่ยนแปลง เพราะเห็นว่ากิจกรรมเหล่านี้  ผมมีความสุขดี”

ลุงไข่ บอกกับทุกคนว่า “ผมสนับสนุนเรื่องปุ๋ยหมัก ทำน้ำหมัก ได้ต้นทุนมาหมุนเวียน ผมทำกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นมาก่อน ผมทำมา ตั้งแต่ปี 2548 และได้ช่วยเป็นครูมาสอนในพื้นที่ วันนี้ใครไปเยี่ยมผมที่บ้าน ทำให้ดีใจ ใครไปผมก็แจกให้ไปใช้ คนละสอบ  สิ่งที่ดีมากเลย เราใช้วัสดุในชุมชน ขี้ไก่ ขี้วัว ทำให้เกิดประโยชน์ ใช้แกลบดำ สิ่งเหล่านี้ตามหลักวิชาการ เป็นธาตุให้กับดิน เป็นการเสริมให้ดินมีคุณค่า โดยปกติผมจะเก็บขี้เดือนมาใส่ป่ายาง ตอนนี้ผมมาเลี้ยงเดือน ใช้ขุยมะพร้าว กำลังสร้างเครื่องย่อยขุยมะพร้าว ตอนนี้เดือนกินอะไร คือ กินผักที่ในครัวของเรา  ผลดีที่เลี้ยงเดือน  มีวิธีการเลี้ยง 2 แบบ คือ การเลี้ยงแบบในปล่อง ทำให้เราได้ขี้เดือนและเยี่ยวเดือน  เยี่ยวเดือนนำไปผสมน้ำ 5 ต่อ 25 ต่อ 50    ปุ๋ยที่นำไปใช้ ใส่ให้ได้มาตรฐาน 1 กิโลกรัมต่อ 1 ต้น ให้ใส่ระหว่าง 3 ระหว่าง 8  วัสดุที่เอามาทำ ขี้ไก่ ขี้วัว แกลบดิบ แกลบดำ  เราอย่าไปหาในสิ่งที่หาอยาก  เราเผาแกลบเพื่อให้ได้ฟอสฟอรัส  แกลบได้กรดซิลิคอน  ปุ๋ยถ้าทำเร่งรีบ ล้มเหลว ต้องผ่านการหมัก 90 วัน และย่อยสลาย แล้วหมักน้ำหมักอีก 7 วัน วิชาการแนะนำ 7 วัน 15 วัน ใช้ได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เลย ต้นทุนการผลิต แกลบขี้ไก่ 40 บาท ขี้วัว 50 บาท แกลบดำ สอบละ 40 บาท  ผมทำแต่ละครั้ง 3 – 4 ตัน ตอนนี้ทำใช้เอง 2 ตัน ขาย 2 ตัน ตอนนี้ที่บ้านเป็นศูนย์เรียนรู้และที่สอนคนในหมู่บ้าน  ผมยินดีและเผยแพร่”


พี่โสภา เล่าให้ฟังว่า “ได้เข้าร่วมกิจกรรมน้ำยาเอกนประสงค์ ใช้ในครัวเรือน มาทำกันในกลุ่ม ทำกันที่นี่ ทำแล้วไปใช้เอง ลดต้นทุน ใช้ซักผ้าได้ด้วย ทุกคนชอบ ประหยัดเงินด้วย  ประหยัด มาก ปกติซื้อ 3 ถุง ถุง 27 บาท  พอมาทำเอง ชุดละ 200 บาท ใช้ได้ทั้งปี ถ้าซื้อเอง 972 บาท ประหยัดได้ 772 บาท ที่สำคัญใช้ซักผ้า ถูพื้น ล้างห้องน้ำได้  เปลี่ยนแปลง สบายใจ ลดต้นทุน เงินเหลือ  ลดการซื้อทุกอย่าง ผงซักฟอง ล้างรถ ถูพื้น ซักเสื้อได้ขาว  การล้างรถ สีรถใหม่มากเลย แวววับ  เพื่อนข้างบ้าน บอกว่าดีมาก ประหยัดต้นทุน ทุกคนยอมรับ เข้ากับเศรษฐกิจพอเพียง เข้าร่วม 60 ครัว ลดได้ 43620 บาทต่อปี”

จุฑามาศ  บอกกับทุกคนว่า “ได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกผัก ปลอดสารพิษแน่นอน  ลูกได้มีงานทำ ผัวได้มีงานทำ มีการแลกผักกันกิน หญ้าข้างบ้านไม่รก  ตัวเรา เปลี่ยนแปลง  เดิมมีเวลาว่าง ไปเล่นไพ่ ตอนนี้ไม่มีเวลาแล้ว ได้รดน้ำผัก ถอดหญ้าข้างบ้าน  คนที่บ้านทั้งลูกและสามี  ปลูกผัก ประหยัด  เพื่อนบ้าน มีหลายครัวเรือน  มีการปลูกผัก บ้านพี่มีผักบุ้ง  เพื่อนเอาถั่ว ผัก มาแลกขนมจีน “พี่ขายขนมจีน เพื่อนเอามาแลก ไม่ต้องใช้เงิน  ผักเรากินได้”  บางวันเอายอดอมไปแลก แล้วไปเอาเส้นขนมจีนมา”

สุนี เป็นอีกคนในโครงการบอกพวกเราว่า “ได้ปลูกผัก ผักได้กินเอง ได้ขาย มีรายได้เพิ่ม  มีรายได้เพิ่มประมาณ  1,600 บาท ดีตรงที่เราได้กินผักข้างบ้าน ไม่ต้องไปซื้อให้เสียเวลา ได้ปลอดสารพิษ สะดวก เป็นตู้เย็นข้างบ้าน ตัวเองเปลี่ยน จากเดิมมีเวลาว่าง ได้นอน ตอนนี้มีกิจกรรมทำ ได้มีรายได้ ที่ทำเพราะชอบ เพราะขายได้รายได้”

พี่รัชดา เล่าให้เราฟังว่า “ที่ชอบมากเรื่องน้ำยาเอนกประสงค์  เพราะขายขนมจีน ซื้อใช้ ไม่ประหยัด  แต่พอมาทำเอง ประหยัดมาก ใช้ทั้งซักผ้า ล้างรถ  ตอนนี้คนที่บ้าน ชอบมาก ล้างรถได้ดีมาก ประหยัดน้ำยาล้างจาน ปกติซื้อทั้งนั้น วันนี้ทำเอง  ใช้แบบสมุนไพร ยอมรับว่าดีมาก เห็นด้วยที่จะทำกิจกรรมแบบนี้  ยอมรับว่ากิจกรรมนี้ดีมาก”

ทำกิจกรรมนี้ หมู่บ้านได้อะไร
1.ได้ร่วมทำกิจกรรม สามัคคี เดิมไม่คุยกัน วันนี้มานั่งพูดคุย 2.มีปัญหาไหร มานั่งพูดคุย 3.ประหยัดรายได้
3.ได้แลกกันกิน ความเป็นพี่เป็นน้องกลับมา
4.ได้ย้อนวิถีบรรพบุรุษ 5.ที่เปลี่ยนแปลงได้ชัดคือ การไปตลาดน้อยลง ทำเองมากขึ้น สิ่งที่ทำมา เขาไม่ต้องไปซื้อ ใช้ผักข้างบ้าน เมื่อก่อนไปตลาดกันบ่อ ย วันนี้ไปตลาดน้อยมาก

คนในหมู่บ้าน เปลี่ยนแปลงคือ 1.คนที่อิจฉา ทุกวันนี้ไม่มี เพราะเข้ามาร่วมกันทำกิจกรรม 2.คนคิดดี คิดบวก
3.คนรู้จักประหยัด  มีการทำรายรับ รายจ่าย  ลดค่าน้ำมันไปตลาด 4.เก็บเงินไว้ให้ลูกได้ไปโรงเรียน ดีกว่าไปซื้อของมากินเล่น 5.ซื้อในสิ่งที่ทำเอง
6.ได้รักความรัก ความสามัคคี 7.เล่นการพนัน เล่นไล่

มีการวิถีชีวิตเปลี่ยน ดังนี้
1.การปลูกผักไว้กินเอง ประหยัด 2.ครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา
3.ได้สุขภาพ เพราะกินของปลอดสารพิษ 4.ได้รวมกลุ่มกันมากขึ้น หันหน้ามาคุย จากเดิมตัวใคร ตัวมัน
5.คนที่อยู่บ้านอย่างเดียว ทุกวันนี้ หันมาคุย มาสอบถาม กัน

ความรู้ ที่ได้เพิ่มขึ้น 1.การทำปุ่ยหมัก น้ำหมัก
2.การทำน้ำยาเอนกประสงค์
3.ความรู้ปลูกผักแบบชีวภาพ 4.การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

วิธีการทำงานในหมู่บ้าน เปลี่ยนแปลงคือ 1.เปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น  ได้ใช้เวลาเกิดประโยชน์ ทำเป็นกลุ่มเป็นทีม

กลุ่มที่เกิดในการทำโครงการ 1.กลุ่มปุ่ยหมัก 2.กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์ 3.กลุ่มปลูกผักสวนครัว

สุขภาพเปลี่ยน คือมีกลุ่มออกกำลังกาย มีสมาชิก 40 คน ออกกำลังกายที่โรงเรียน

สรุป 1.คนในหมู่บ้านสูบบุหรี่  เหล้า ลดลง  เลิกสูบบุหรี่และสุราและการพนัน 1 คน 2.ตอนนี้ร้านค้า มีการขายบุหรี่ลดลง  ช่วงนี้คนไม่ซื้อเลย 1 ซองใหญ่ ภายใน 1 เดือนขายไม่หมด
คนกินเหล้า เพื่อเจริญอาหาร

3.โครงการนี้ดีจริง  เพราะ  คนได้มีงานทำ ได้สุขภาพดี ลดยาเสพติด สร้างความอบอุ่นในครอบครัว  มีรายได้เพิ่ม ประหยัดรายจ่าย ลดหนี้สิน
4.สิ่งที่ไม่ดี  เพราะคนคิดแตกต่าง  เมื่อคิดต่าง ความขัดแย้ง ก็มี  กลุ่มตรงนี้ มีความพร้อม กันพอสมควร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.เกิดกลุ่มและได้เรียนรู้ คือ กลุ่มทำปุ่ยหมัก กลุ่มทำน้ำยาเอนกประสงค์  กลุ่มปลูกผักแบบชีวภาพ 2.เกิดกลุ่มร่วมกันเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.เกิดกลุ่มออกกำลังกาย มีสมาชิก 40 คน ออกกำลังกายที่โรงเรียน

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดในหมู่บ้าน
1.กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมทำกิจกรรม เกิดความสามัคคี จากเดิมไม่คุยกัน วันนี้มานั่งพูดคุย 2.ประหยัดรายได้ครัวเรือน
3.ได้ย้อนเรียนรู้วิถีบรรพบุรุษ 4.คนไปตลาดน้อยลง  ผลิตเอง ทำเองมากขึ้น หลายสิ่งที่ไม่ต้องซื้อ เช่น ไม่ซื้อผัก ใช้ผักข้างบ้าน เดิมไปตลาดบ่อยมาก วันนี้ไปตลาดน้อยมาก

คนในหมู่บ้าน เปลี่ยนแปลงคือ 1.คนที่อิจฉา ทุกวันนี้ไม่มี เพราะเข้ามาร่วมกันทำกิจกรรม 2.คนคิดดี คิดบวก
3.คนรู้จักประหยัด  มีการทำรายรับ รายจ่าย  ลดค่าน้ำมันไปตลาด 4.เก็บเงินไว้ให้ลูกได้ไปโรงเรียน ดีกว่าไปซื้อของมากินเล่น 5.ซื้อในสิ่งที่ทำเอง
6.ได้รักความรัก ความสามัคคี 7.เล่นการพนัน เล่นไล่

มีการวิถีชีวิตเปลี่ยน ดังนี้
1.การปลูกผักไว้กินเอง ประหยัด 2.ครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา
3.ได้สุขภาพ เพราะกินของปลอดสารพิษ 4.ได้รวมกลุ่มกันมากขึ้น หันหน้ามาคุย จากเดิมตัวใคร ตัวมัน
5.คนที่อยู่บ้านอย่างเดียว ทุกวันนี้ หันมาคุย มาสอบถาม กัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน กลุ่มเป้าหมายและพี่เลี้ยง 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

เสนอแนะว่าให้มีการต่อยอดกิจกรรม เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัด

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

กิจกรรมที่ดำเนินงานตามโครงการเป็นสิ่งที่ดีมาก อยากให้มีการต่อยอดกิจกรรมกับภาคีเครือข่าย

ถอดบทเรียนการพัฒนา8 ตุลาคม 2559
8
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีลดรายจ่ายแบบเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พี่เลี้ยงโครงการนายยงยุทธสุขพิทักษ์ลงพื้นที่ร่วมถอดบทเรียนผลการทำโครงการที่ผ่านมาใน 1 ปี
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการทำโครงการ มีผลต่อชุมชนทำให้คนในชุมชนมีความกระตือรือร้นมีส่วนร่วมในการเข้าทำกิจกรรมดีมากชาวบ้านสนใจและร่วมกิจกรรมที่มีการเรียนรู้กันเช่นการทำน้ำยาเอนกประสงค์สามารถลดรายจ่ายให้กับครัวเรือนได้มีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือนเพิ่มความอบอุ่นในครอบครัวคนในครอบครัวมีเวลาให้กันมากขึ้นทำเวลาว่างให้เกดิดประโยชน์การทำปุ๋ยหมักใช้เองในชุมชนเพื่อลดต้นทุนการผลิตทางการประกอบอาชีพและได้ปรับปรุงดินให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ใหม่เหมือนเดิมเห็นได้จากการกลับมาของไส้เดือนการทำกิจกรรมของโครงการสร้างความพึงพอใจความสามัคคีให้กับชุมชนดีมาก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน  20  คน  ผู้สูงอายุ  10  คนวัยเรียน  10  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ร่วมงานสร้างสุขคนใต้3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. และ สจรส.ม.อ.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ จัดขึ้นในวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เข้าร่วมฟังการนำเสนอเรื่องชุมชนน่าอยู่ และชมการจัดบูทต่าง ๆ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ

  1. การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส.
  2. สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำสสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใครทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียนและทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด
  3. การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กรเชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการวันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็มโครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอทีหลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีอาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้
  4. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ ข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประเมินผลกิจกรรม ครั้งที่330 กันยายน 2559
30
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีลดรายจ่ายแบบเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา9.00 น.คณะครู และผู้นำชุมชน พร้อมเพรียงกัน เพื่อลงติดตามผลการทำงานของโครงการ เวลา11 .00 น.ได้ลงติดตามดูการทำงานบ้านนาย ณรงค์แพ่งโยธา เวลา13.00น. ได้ติดตามบ้านนางละอองไชยกรด เวลา 15.00น. สรุปผลการติดตาม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • บ้านนาย ณรงค์แพ่งโยธา มีการปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงสัตว์ยึดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักไว้กินเองเหลือไว้ขายในชุมชน เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
  • บ้านนางละอองไชยกรดดูการปลูกพริกขี้หนูปลอดสารเคมีในกระสอบ ปลูกมะนาวในบ่อปูนซีเมนต์ใช้ปุ๋ยหมักปลูกดอกดาวเรืองไล่แมลง แทนการใช้สารเคมี
  • สรุปผลการติดตามมีการทำงานที่เห็นได้ถึงการมีความเปลี่ยนแปลงในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน  20  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการงวด23 กันยายน 2559
3
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง และ ทีม สจรส.ม.อ.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันนี้เป็นกิจกรรม มาตรวจเอกสาร และติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ โดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินและการบันทึกในเว็บไซต์ จากพี่เลี้ยง และทีม สจรส.ม.อ.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
  2. ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของใบเสร็จและให้ไปบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ให้เรียบร้อย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 32 กันยายน 2559
2
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มพูลความรู้ให้กับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา9.00-10.00 น. คณะทำงานชาวบ้านมาพร้อมเพรียงกัน ณ จุดนัดหมายเพื่อมาเรียนรู้การทำกิจกรรมต่างๆกัน
  • เวลา10.00-12.00 น. กิจกรรมที่ทางแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนในกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมัก
  • เวลา12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวันกันตามอัธยาศัย แบบกันเองของคนในชุมชน
  • เวลา13.00-15.00 น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำความรู้ของตนเองมาเล่าสู่กันฟังมา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนในเรื่องที่แปลกใหม่และทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้วเพื่อเพิ่มความชัดเจนความรู้จริงให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมประสบการณ์ การทำงานของแต่ละคนเล่าสู่กันฟังเพื่อได้นำไปปรับใช้ในโอกาสต่อไป
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำความรู้ของตนเองมาเล่าสู่กันฟังมาแนะนำให้คนที่ยังไม่เข้าใจที่ยังประสบปัณหาได้เข้าใจได้ปฎิบัติอย่างถูกต้องเพื่อนำไปปรับใช้ในครัวเรือนของตนเองนำความรู้ใหม่ คิดค้นเรื่องราวใหม่ๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันทั้งเด็กเยาวชน บุคคลทั่วไปในชุมชนปราชญ์ชุมชนเพื่อให้ชุมชนก้าวหน้าต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

วัยเรียน 20 คน วัยทำงาน 40 คน ผู้สูงอายุ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประเมินผลกิจกรรม ครั้งที่ 230 สิงหาคม 2559
30
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีลดรายจ่ายแบบเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา9.00 น. คณะครูผู้นำชุมชนพร้อมเพรียงกันเพื่อลงประเมินกิจกรรมโครงการครั้งที่สอง โดยวันนี้ลงดูการทำน้ำยาเอนกประสงค์ของชุมชนหลังโรงเรียน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการรายงานผลการทำงานติดตามผลของโครงการ หลังจากมีการทำน้ำยาล้างจานน้ำยาซักผ้าใช้กันเองในครัวเรือนทำให้ครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้ประมาณ800 บาท/สามเดือนในการทำน้ำยาแต่ละครั้งลงทุนแค่200 บาทได้น้ำยา15ลิตรสามารถใช้ได้ 3เดือนเมื่อเทียบกับซื้อในตลาดแล้วจะประหยัดได้มากและชาวบ้านกำลังจัดตั้งกลุ่มเพื่อทำไว้จำหน่ายในชุมชนด้วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน  20  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 109 สิงหาคม 2559
9
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วาระที่ 1 นางขวัญใจ เนาว์สุวรรณ ฝ่ายการเงินโครงการบ้านควนหนองหงษ์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงชี้แจงรายละเอียดเรื่องงบเงินการสนับสนุนงวดที่ 2
  • วาระที่ 2 นางรัชนู มีชนะ ผู้รับผิดชอบโครงการบ้านควนหนองหงษ์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงได้ชี้แจงนำเสนอกิจกรรมต่อไปที่จะเริ่มทำกันและขอความคิดเห็นจากคณะกรรมการว่าจะทำอะไรกันก่อนและวันเวลาที่จะทำ
  • วาระที่ 3 สรุปผลการประชุมกรรมการทุกท่าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชี้แจงรายละเอียดเรื่องงบเงินการสนับสนุนงวดที่ 2 ที่ได้มีการโอนเข้าบัญชีมาแล้วเมื่อวันที่ 7มิถุนายน 2559 จำนวน 101,830 บาทถ้วนเพื่อที่จะทำกิจกรรมในงวดที่ 2 ต่อไป ซึ่งสามารถเบิกจ่ายได้ตามกิจรรมที่จะทำเท่านั้นขอให้กรรมการทุกท่านเข้าใจตรงกันว่าการเบิกจจ่ายเงินนั้นไม่สามารถเบิกมาครั้งเดียวหมดตามที่บางท่านเสนอได้เพราะมีการตรวจสอบบัญชีละเอียดมาก ต้องเบิกจ่ายไปตามกิจกรรมที่จะทำเราสามารถทำกิจกรรมไหนก่อนก็ได้ตามสถานการณ์และความเหมาะสมของฝน ฟ้า อากาศแต่ต้องเบิกจ่ายเงินตามกิจกรรมนั้นๆ
  • นำเสนอกิจกรรมต่อไปที่จะเริ่มทำกัน การทำกิจกรรมแต่ละครั้งที่สำคัญมากคือหลักฐานที่ทำกิจกรรมคือราชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม และภาพถ่ายของกิจกรรมที่ผ่านมาในงวดแรกผ่านมาแบบหวุดหวิดมาเพราะเราถ่ายรูปกันน้ออยมากและไม่ค่อยมีเทคนิคการถ่ายรูปและมีชาวบ้านบางคนมาร่วมกิจกรรมแต่ไม่ยอมเซ็นชื่อเพราะกลัวว่ากรรมการจะเอาไปทำอะไรไม่ดีไม่ควรต้อพูดคุยกันอธิบายให้เข้าใจและการทำกิจกรรมครั้งต่อไปอยากให้ป็นรบบระเบียบเรียบร้อยกว่าที่ผ่านมายิ่งขึ้นจากนี้ขอให้คณะกกรรมการเสนอกันว่าจะทำอะไรก่อน
  • นายสุทัศน์ ศรีมาลา สมาชิก ส.อบต.ได้เสนอว่าในช่วงนี้ป็นฤดูการเพาะปลูกเพราะเริ่มมีฝนโปรยปรายลงมาบ้างแล้วเห็นพี่น้องชาวบ้านหลายคนเตรียมพื้นที่ ที่จะปลูกกันบ้างแล้ว เราก็หน้าจะปลูกผักชีวมวลกันก่อนในที่ระชุมจะเห็นด้วยหรือไม่
  • นายสมนึก มีชนะ ปราชญ์ชุมชน ยกมือเห็นด้วยครับ และได้เสนอว่าเราเริ่มกิจกรรมการปลูกผักชีวภาพก่อนแล้วค่อยมาเรียนรู้การทำปุ๋และยการทำน้ำหมักชีวภาพกัน
  • สรุปผลการประชุมกรรมการทุกท่านได้ตกลงและเห็นด้วยว่าจะทำกิจกรรมการปลูกผ้กชีวภาพกันก่อนและได้เสนอวัที่ 19 มิถุนายน 2559 เพราะเป็นวันหยุดเนื่องจากชาวบ้านหลายท่านที่ทำงานข้าราชการ นักเรียนเขาสามารถจะมาร่วมกิจกรรมได้และดูแล้วว่าวันที่ 19 มิถุนายน 2559 จะไม่ตรงกับกิจกรรมใดๆของหมู่บ้าน
  • นางรัชนู มีชนะ กล่าวสรุปอีกครั้ง สรุปในที่ประชุมกิจกรรมที่จะทำคือกิจกรรมปลูกผักชีวภาพ ครั้งที่ 1 เป็นลำดับเเรกและตกลงทำกันในวันที่ 19 มิถนายน 2559 เริ่มตั้งแต่ 8.00น.-15.00น.กำหนดการจะทำอะไรบ้างจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 15 คน ผู้สูงอายุ 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่ม

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 26 สิงหาคม 2559
6
สิงหาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงานของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงได้เยี่ยมติดตามพื้นที่และพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นตัวแทนโครงการและลงไปเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายจากการพูดคุย พบว่า 1.นวัตกรรม ที่เกิดจากโครงการนี้ ได้แก่
1.1.น้ำยาเอนกประสงค์สูตรสมุนไพร เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยใช้ใช้น้ำด่างขี้เถ้า  สูตรมะเฟืองและตะลิงปิง  ผลที่เกิดขึ้นคือ  ทุกคนใช้ดี กัดซักผ้าขาว  ใช้ล้าง ไม่กัดมือ  ช่วยลดรายจ่าย  ตอนนี้ทุกงานที่เกิดในหมู่บ้าน ก็จะนำผลผลิตไปใช้คือมีการใช้น้ำยาเอนกประสงค์  เพราะถนอมมือ ไม่เป็นอันตราย 1.2.ปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรสำหรับสวนยาง และผลไม้ เป็นการรักษาหน้ายาง  หน้ายางไม่แข็งกระด้าง ไม่เป็นราดำ เปลือกจะนิ่ม เวลากรีด น้ำยางออก รากฝอยไม่แห้งตาย  (ถ้าเป็นผัก ต้องเพิ่มมูลสัตว์ เพื่อเร่งให้เกิดใบ แต่ถ้ายางหรือผลไม้ ต้องลดมูลสัตว์ลง ร้อยละ 40 และเพิ่มยูเรีย ตันละ 2 กิโลกรัม) ยูเรียช่วย กระตุ้น เร่งให้มีความเขียว  ความแตกต่างคือ 1.มีส่วนผสมขี้วัว ขี้ไก่แกลบ แกลบดิบ แกลบดำ  นำมาหมักใช้ ใบสาบเสือ (เสือหมอบหรือยี่หร้าบ้าน) มาผสมกับน้ำหมักชีวภาพ หมักนาน 90 วัน แล้วนำมาย่อยให้เป็นผง ผ่านเครื่องบด แล้วเอาหัวน้ำหมักฉีดผสม แล้วบรรจุกระสอบ หมักไว้อีกสักพัก แล้วนำมาใช้  2.น้ำที่นำมารด ต้องผสมกากน้ำตาลเพื่อกระตุ้นให้เกิดชีวภาพเร็ว 1 กก ผสม 50 ลิตร

2.ตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี ประกอบด้วย 2.1 การมีส่วนร่วม ลงหุ้น ในการทำน้ำยา จะมีการรวมหุ้นเพื่อซื้อสารตั้งต้น ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ชุดละ 192 บาท ชุด 3 คน เฉลี่ย คนละ 70 บาท ได้นำน้ำยาเอนกประสงค์ไปใช้ประมาณ 1 แกลลอน ใช้ได้ประมาณ 3 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 25 บาท  ขึ้นกับปริมาณและจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในบ้าน  การทำกิจกรรมแบบนี้เกิดผลดีคือ (1) รู้จักการทำงานเป็นทีม (2)รู้จักแบ่งปัน  (3)ใครมีอะไร ก็นำมา  แบ่งกันกิน แบ่งกันใช้  (4)ทำเสร็จแล้ว ทุกคนเก็บสถานที่ ไม่มีบ้านใครบ้านมัน (5)ตอนนี้มีหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย

3.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 3.1 การทำน้ำยาเอนกประสงค์  ทำไปแล้ว 70 ครัวเรือน  ได้ผลตอนรับที่ดี มีคนสมัครเข้ากลุ่มเพิ่มเติม ทำแล้วได้ประโยชน์ ลดรายจ่าย ได้ครัวเรือนละ 300 บาทต่อบ้าน 70 หลัง ได้ประมาณ 21000 บาท 3.2 การทำปุ๋ย ตอนนี้กำลังทำ 30 ครัวเรือน  การตอบรับ ถือ ว่าดีขึ้น ใช้ส่วนผสมแกลบ ขี้ไก่ ขี้วัว มีการนำไปทดลองใช้ พบว่า ผักสวยงาม ดินที่เสื่อมสภาพ มีไส้เดือน กลับมา และสามารถตัดยางได้สม่ำเสมอ ปริมาณน้ำยางออกมาดีกว่า  ลดรายจ่าย ค่าปุ๋ยได้ ประมาณร้อยละ 50
3.3 การปลูกผัก ตอนนี้ ทำ 30 ครัว เก็บขายได้บ้างแล้ว ลดค่าซื้อผัก ซื้อสิ่งที่ปลูกไม่ได้  วันละ 50 บาท เดือนละ 1500 บาท ให้สุขภาพดีขึ้น ลดสารพิษ ลดสารเคมี
3.4 บัญชีครัวเรือน ตอนนี้ หลายครัวเรือน สามารถเช็ด รายการสิ้นเปลืองได้ และลดส่วนนี้ได้ เช่น ค่าหวย ค่าเหล้า ค่าบุหรี่  ยกตัวอย่างเช่น  ชาวบ้านเรียกชายคนนี้ ซึ่งเป็นคนภาคอีสาน ขอเข้าร่วมโครงการ “ลดเหล้า จากการเข้าร่วมโครงการนี้ ไม่กินเหล้า มีรายได้เหลือ จากเดิมกินทุกวัน มีหนี้ ตอนนี้ไม่มีหนี้ มีเงินเหลือ เหลือวันละ 200 บาท” ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก
3.5 นักเรียนหลายคนได้ทำบัญชีครัวเรือน  และทำรายงานส่งครู ทำให้มีเงินเหลือเก็บสัปดาห์ 200 บาท  กิจกรรมนี้ ส่งผลให้เรียนรุ้เรื่องการออม เห็นคุณค่าของเงิน
3.6 การทำโครงการนี้ เดิม ทุกคนคิดว่าต้องเอาแบ่งกันกู้ แบ่งกันแจก แต่ในความเป็นจริง ต้องมาสอน ต้องมาเรียนรู้กัน ทำให้หลายคนผิดหวัง  หลายคนได้เรียนรู้ หลายคนได้เข้าร่วมกิจกรรม จากเดิมต้องเล่นไพ่ ได้แต่เงิน และหลายคนก็ไม่เคยสัมผัสกิจกรรมนี้มาก่อน ทำให้เกิดอคติ ตอนนี้ มีการตอนรับดีขึ้น เพราะไปทำแล้วเห็นผล  และอย่างทำต่อเนื่อง โดยเฉพาะ

4.บทสรุป ที่ได้รับ
-ทำให้ชาวบ้านกระตือรือร้น มากขึ้น
-ลดรายจ่าย
-รู้จักแบ่งปันกันมากขึ้น -มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  พอเสร็จตัดยาง จากเล่นไพ่ ตอนนี้หันมาทำงาน แลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน  บ้านใครมีอะไร ก็เอามาแลกกัน เช่น บ้านนี้มีมะละกอ บ้านนี้มีผัก ก็จะแลกกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.พี่เลี้ยงและคณะทำงานได้ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงาน 15 คน 2.พี่เลี้ยงได้ติดตามบ้านกลุ่มเป้าหมายและเยี่ยมชมกิจกรรมดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.รู้จักการทำงานเป็นทีม 2.รู้จักแบ่งปัน 3. มีน้ำใจ ใครมีอะไร ก็นำมาร่วมกิจกรรมแบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ 4.รับผิดชอบ ทำเสร็จแล้ว ทุกคนช่วยเก็บสถานที่ ไม่มีบ้านใครบ้านมัน
5.ขยายเครือข่ายได้ ตอนนี้มีหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย 6.กิจกรรมโครงการทำให้ชาวบ้านกระตือรือร้น มากขึ้น
7.ลดรายจ่ายครัวเรือน 8.มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พอกรีดยางเสร็จ เดิมเล่นไพ่ ตอนนี้หันมาทำงาน แลกเปลี่ยนความรู้กัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายและพี่เลี้ยงติดตามผลโครงการ 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การบันทึกกิจกรรมการดำเนินงานยังไม่ครอบคลุม ให้เพิ่มความครอบคลุม และการจัดทำหลักฐานทางการเขียน ต้องเขียนให้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้

วิเคราะห์เส้นสร้างรายได้ชุมชน6 สิงหาคม 2559
6
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อหาวิธีให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา9.00 น.- 10.00น. ผู้นำชุมชน สภาผู้นำ คณะทำงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาพร้อมเพรียงกัน
  • เวลา 10.00 น. ผู้นำชุมชน สภาผู้นำ คณะทำงาน ปราชญ์ชุมชนได้วิเคราะห์และตั้งหัวข้อ รายได้หลักของชุมชน ม.3 ต.ควนหนองหงส์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยาง ซึ่งตอนนี้เศรษฐกิจกำลังแย่ ราคายางตกต่ำผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำจนทำให้ชุมชนเกิดภาวะหนี้สิน รายได้ไม่พอรายจ่ายจะมีวิธีใดบ้างที่จะมาช่วยคนในชุมชนได้
  • เวลา 12.00 น.พักรับประทานอาหาร
  • เวลา 13.00 น.วิเคราะห์หารายได้รอง อาชีพเสริมที่สามารถทำได้ในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนมีอาชีพเสริมเกิดขึ้น ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
  • สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์หารายได้รอง อาชีพเสริมที่สามารถทำได้ในชุมชนเช่นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าใช้เองในครัวเรื่อน การทำปุ๋ยหมักน้ำหมักใช้เพื่อลดต้นทุนการทำเกษตร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถลดต้นทุนลดค่าใช้จ่ายไปได้อย่างน้อยครัวเรือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท/เดือนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเช่น การทำกล้วยฉาบ การทำไข่เค็ม นำผลผลิตมาเพิ่มมูลค่าของสินค้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชนเป็นต้น
  • มีแนวทางการลดหนี้การสร้างรายได้ให้ชุมชน วิธีที่สามารถทำให้เกิดรายสามารถที่จะเลี้ยงครอบครัวได้เพื่อลดปัณหาหนี้สินภาคครัวเรือนการลักเล็กขโมยน้อย ให้ชาวบ้านมีรายได้จุนเจือครอบครัวเพราะฉะนั้นเราต้องมีอาชีพเสริมและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปสิ่งไหนที่สามารถทำเองได้ก็จะร่วมกันทำ
  • สร้างความตระหนัก การรับรู้ให้เกิดกับชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 30    คน  วัยเรียน  20 คน  ผู้สูงอายุ  20  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การปลูกผักชีวภาพ ครั้งที่ 32 สิงหาคม 2559
2
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้การลดค่าใช้จ่ายด้านเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วาระที่ 1 นายสุทัศน์ ศรีมาลา:ส.อบต.วันนี้เป็นรอบที่ 2 ที่ได้มาพบปะกันในโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง วันนี้มาทำกิจกรรมเรียนรู้การปลูกผักชีวภาพครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งแรกได้ทำกันไปแล้วเมื่อ 19 มิถุนายน 2559 หลายคนได้กลับไปทำกันที่บ้านเห็นผลกันบ้างแล้ว
  • วาระที่ 2 นางขวัญใจ เนาร์สุวรรณ ฝ่ายการเงินโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง ชี้แจงงบสนับสนุนกิจกรรมการปลูกผักชีวภาพ
  • วาระที่ 3 นางรัชนู มีชนะ ผู้รับผิดชอบโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้เข้าร่วมประชุมในการปลูกผักในภาชนะ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าเรียนรู้ร้อยละ 60
  2. มีศูนย์เรียนรู้การปลูกผักชีวภาพ 1แห่ง
  3. มีการลดการใช้สารเคมีในชุมชนร้อยละ 30

- เจ้าหน้าที่การเงินชี้แจง ว่า กิจกรรมย่อยเรียนรู้การปลูกผักชีวภาพครั้งที่ 2 มีเงินสนับสนุน จำนวน 7,000 บาท ซึ่งเป็นค่าอาหารของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผักในภาชนะ หลายคนปลูกในกระถางต้นไม้ กะละมังที่ไม่ใช้แล้ว ตะกร้าหน้ารถมอเตอร์ไซต์ ถาดเพาะชำต้นไม้ พันธุ์ที่จะปลูก และอีกอย่างที่ทุกท่านมีหรือสามารถหาได้ในชุมชน คือการปลูกผักในต้นกล้วย สิ่งที่ต้องเตรียมก็มีดังนี้

  1. ต้นกล้วย สามารถใช้ต้นกล้วยอะไรก็ได้เช่น กล้วยน้ำหว้า กล้วยส้ม กล้วยไข่ กล้วยหินเป็นต้น เจาะเป็นหลุมตามลำต้นห่างกันพอประมาณ จะดูพอว่าต้นผักที่เราจะปลูกสามารถเจริญเติบโตได้ไม่แออัดมากนัก
  2. ต้นกล้าผักที่จะปลูก พันธุ์ผักที่เหมาะสมจะปลูกในหยวกล้วย ก็จะเป็นผักที่เรานำใบมารับประทานกันเช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาด เพราะระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้น ถ้าให้ดีให้ท่านเพาะพันธุ์ต้นกล้าไว้ในถาดหลุมก่อนเพราะเวลาจะปลูกสามารถนำมาปลูกได้ง่าย
  3. ดินผสมปุ๋ยหมักชีวภาพ นำดินร่วนซุยมาผสมกับปุ๋ยหมักชีวภาพในสัดส่วนดิน3 ส่วน ปุ๋ย 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • วิธีการปลูก นำดินผสมปุ๋ยหมักชีวภาพที่เตรียมไว้ นำไปในหยอดในหลุมที่เราเจาะไว้ตามต้นกล้วยประมาณครึ่งหนึ่งของหลุมแล้วนำต้นพันธุ์ผักที่เราเตรียมไว้ลงปลูกแล้วใส่ดินลงให้เต็มหลุ่ม บีบให้แน่นเล็กน้อยวิธีการปลูกแบบนี้ จะสามารถประหยัดน้ำที่ใชัรดได้เพราะในต้นกล้วยจะมีน้ำอยู่มาก

4.ชาวบ้านได้ความรู้มากจากการประชุมในวันนี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 70 คน วัยเรียน 10 คน คนชรา 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้บัญชีครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย ครั้ืงที่ 329 กรกฎาคม 2559
29
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มกิจกรรมโดยนางรัชนูมีชนะ ประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะมาเรียนรู้กันในวันนี้ ชี้แจงวัตถุประสงค์การทำบัญชีครัวเรือน และให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าของการบันทึกรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน ในวันนี้มีนายคมเดช มัชฉิมวงศ์ ผู้มีความรู้ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรียนมาสอนและแนะนำการทำบัญชีครัวเรือน พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้า
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครัวเรือนจำนวน 90 คน ได้ทำบันทึกรายรับรายจ่ายทุกครัวเรือน ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เห็นประโยชน์ของการทำบัญชีบันทึกรายรับ – รายจ่าย เป็นการบันทึกรายรับรายจ่ายของแต่ละวัน เปรียบเสมือนเป็นการวางแผนการเงินใช้จ่ายให้ถูกวิธี และทำให้ตัวเราเองเป็นคนที่มีระเบียบวินัยเพิ่มมากขึ้น
  • ปัญหาที่พบในการทำบัญชีครัวเรือน คือ รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากมาย ทำงานมาทั้งวันแล้วยังต้องมานั้งจดนั้งเขียนอยู่อีก แต่ทางวิทยากรที่มาพูดได้ให้กำลังใใจ ว่า การทำบันทึกรายรับรายจ่าย เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และไม่มีความยุ่งยากอะไรเลยแม้แต่น้อย อยู่ที่เราเปิดใจเมื่อได้ลงมือจดบันทึกเป็นประจำแล้วจะพบว่า การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายสามารถทำได้ง่ายๆ แถมยังประโยชน์ต่อเรามากอีกด้วย และการทำบัญชีบันทึกรายรับ-รายจ่าย ประจำวัน สามารถแบ่งแยกเป็นตารางที่มีส่วนประกอบ ได้ดังนี้ รายรับ คือรายรับที่เราได้รับมาเช่นเงินเดือน ค่าขายของได้พ่อแม่ให้เงินมาจ่ายค่าขายผลผลิตทางการเกษตรได้เงินที่ได้จากการขายสินค้าเงินทีได้ จากการทำงาน เป็นต้นส่วนรายจ่ายคือสิ่งที่เราต้องจ่ายออกไปทั้งหมดเช่น ค่าอาหาร ค่าเชื้อเพลิงรถค่าปุ๋ย ค่าเทอมให้ลูก ค่าโทรศัพท์ค่าเสื้อผ้า ค่านำ้ค่าไฟ เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 50 คน ผู้สูงอายุ 20 คน วัยเรียน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรุู้การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ ครั้งที่ 325 กรกฎาคม 2559
25
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้การลดค่าใช้จ่ายด้านเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 9.00-10.00 น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสภาผู้นำมาพร้อมเพรียงกัน ณ จุดนัดหมายตามจำนวนที่วางไว้
  • เวลา10.00-12.00 น.เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพโดยปราชญ์ชุมชน นายสมนึก มีชนะ ผู้เข้าร่วมอบรมได้เตรียมวัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก ได้แก่ แกรบดำ ขี้วัวหรือขี้ไก่ แกลบดิบ ขุยมะพร้าว รำข้าว น้ำหมัก กากน้ำตาล และน้ำสะอาด และร่วมกันทำปุ๋ยหมัก
  • เวลา 12.00-13.00น.พักรับประทานอาหาร
  • เวลา13.00-15.00น. ปฏิบัติการทำน้ำหมักชีวภาพ มีส่วนผสม ได้แก่ ถังหมัก น้ำสะอาด น้ำตาล และ วัสดุที่ใช้หมัก
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และมีความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก คือ นำแกลบดำ แกลบดิบขี้วัวหรือขี้ไก่ ขุยมะพร้าว และรำข้าว มากองรวมกันแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันจนดูมีความเสมอกัน นำน้ำผสมน้ำหมักกากน้ำตาลที่เตรียมไว้กวนให้เข้ากันนาน 10 นาที แล้วนำมารดในกองปุ๋ยคลุกเคล้าให้เข้ากันรดไปคลุกไปจนได้ความชื้น 60% ถ้ากองไว้คลุมให้มิดชิดกลับกองปุ๋ยทุกวัน 7 วัน ถ้าบรรจุกระสอบผูกหลวมๆใช้ไม้รองซ้อนกัน 15-30 วัน
  • ได้ความรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ โดยเริ่มจาก การเตรียมภาชนะที่ใช้หมักควรเป็นถังพลาสติกมีฝาปิดและทึบแสง ใส่น้ำสะอาดลงในถัง 10 ลิตร ใส่น้ำตาล ใส่วัสดุที่ต้องการหมัก และปิดฝาวางไว้ห้ามโดนแดดทิ้งไว้ 3 เดือนขึ้นไปจึงนำมาใช้ประโยชน์
  • ความรู้จากการปฏิบัติในวันนี้ สามารถนำไปทำเองได้ และทุกคนที่เข้าร่วมอบรมรอให้ปุ๋ยกับน้ำยาเอนกประสงค์ถึงช่วงที่นำมาใช้ได้ เพื่อจะได้นำมาใช้ในครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 50 คน วัยเรียน 20 คน ผู้สูงอายุ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประเมินผลกิจกรรม ครั้งที่ 123 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีลดรายจ่ายแบบเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 9.00 น. ทีมงาน คณะกรรมการคณะครู โรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ลงสำรวจพื้นที่การทำงานการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพในชุมชน
  • เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารจากนั้นได้ไปดูการทำปุ๋ยหมักที่โรงปุ๋ยนายสมนึกมีชนะ เพื่อดูผลผลิตปุ๋ยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันทำและแบ่งกันไปใช้ เวลา 15.00น. มีการสรุปความก้าวหน้าของโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการรายงานผลการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เริ่มเป็นไปในทางที่ดีมาก ชุมชนได้รับผลประโยชน์มาก ชาวบ้านให้ความร่วมมือทำทำปุ๋ยหมัก และน้ำยาล้างจาน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน  26  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การปลูกผักชีวภาพ ครั้งที่ 222 กรกฎาคม 2559
22
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีการลดรายจ่ายแบบเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 8.00 น. คณะทำงานโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงพร้อมเพรียงกันณ หอประชุมหมู่บ้าน ม.3เริ่มรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ชาวบ้านเริ่มทยอยกันมา
  • เวลา 9.00 น.ก็ได้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเต็มตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ คือ 100 คน หลังจากนั้น นางขวัญใจ เนาว์สุวรรณ ผู้รับผิดชอบฝ่ายการเงินโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง มาสรุปผลการทำกิจกรรมในงวดที่ผ่านมา
  • วันนี้ทางคณะทำงาน คณะกรรมการได้เชิญวิทยากรที่มีความเข้าใจในเรื่องเศษรฐกิจพอเพียงมาบรรยายพูดคุยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฟัง แล้วได้เชิญคุณจันทร์ฉาย เทียมดวงแก้ว เจ้าหน้าที่พัฒนาท้องถิ่นอำเภอชะอวด หรือที่ชาวบ้านกันว่า ปลัดจุ๊ ท่านปลัดจุ๊รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ในตำบลควนหนองหงส์ มีกิจกรรมแนวเศษรฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อหลวงของเรา ได้สอนได้นำความรู้มาให้ชาวบ้าน เพราะในปัจจุบันนี้ ในยุคราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำชาวบ้านแบบเรามีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย หลายคนหน้าตาคร่ำเครียดกับการหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายให้พอกับหนี้สิน การอยู่แบบพอเพียงนั้นดีที่สุดอยากให้ชาวบ้านทั้งหลายลองหันกลับมามองดูย้อนมองกลับไปรุ่นปู่ย่าตายายว่าทำไมเขาเหล่่านั้นจึงอยู่ดีกินดี มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาวไม่เจ็บไม่ไข้ เพราะเขาไม่ได้มาคิดมากกับภาระหนี้สิน ความอยากได้อยากมีเหมือนคนปัจจุบัน ที่จ่ายเงินเกินฐานะกำลังของตัวเอง เห็นคนอื่นเขามีกันก็อยากได้ตามเขาเกิดการอิจฉาริษยากันทุกวันนี้แม้แต่พี่น้องคลานตามกันมาก็ยังฆ่ากันได้ลงขอให้ชาวบ้านได้คิดตระหนักดูเราทำแบบง่ายๆ แค่ลองมาปลูกผักสวนครัวไว้กินเองในครัวเรือน ข้างบ้าน ริมรั้ว ในบ้าน ปลูกตะไคร้ไว้สักหนึ่งกอ ใบมะกรูดไว้สักหนึ่งต้นพริกขี้หนูสัก 4-5ต้นปลูกผักที่ให้ผลผลิตเร็ว เช่น ผักกวางตุ้งผักบุ้งมะเขือ มะละกอ เป็นต้นและอีกอย่างหนึ่งที่คนเฒ่าคนแก่มีอายุยืนคือเขาเหล่านั้นไม่ได้รับสารพิษสารเคมีเข้าสู่ร่างกายเหมือนคนปัจจุบัน การกลับมาใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใช้แทนปุ๋ยเคมีการทำน้ำหมักชีวภาพใช้รดผักไล่แมลงแทนยาฆ่าแมลงทำให้มีข้อดีหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็น คนมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นเพราะไม่ได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ทำให้สภาพแวดล้อมชุมชนดีขึ้นไส้เดือน ได้กลับมาอาศัยช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น และสำคัญสุดก็คือ ท่านสามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่ากับข้าวไปมากด้วย เงินส่วนนั้นท่านจะได้นำมาใช้จ่่ายในส่วนอื่นก็ขอฝากให้ชาวบ้านได้กลับไปคิดทบทวนดู
  • หลังจากนี้ชาวบ้านจะได้รับฟังการบรรยายเล่าเรืองการปลูกผักชีวภาพหรือภาษาบ้านๆว่าผักปลอดสารพิษผู้ที่จะมาพูดให้เราฟังในวันนี้ก็คือ คุณวิชาญ เชื้อจีน เจ้าหน้าที่ธนาคาร ธกส.ซึ่งท่านได้คลุกคลีกับชาวบ้านในเรื่องนี้อยู่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องการปลูกผักชีวภาพและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 50 คน
  • สรุปผลการทำกิจกรรมในงวดที่ผ่านมา ว่าการทำกิจกรรมที่ผ่านมานั้นชาวบ้านให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ได้ตรงตามเป้าหมายที่ทางโครงการได้วางไว้
  • สิ่งที่ชาวบ้านได้ประโยชน์จากโครงการนี้ คือได้เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ซึ่งชาวบ้านให้ความสนใจกันมากร้อยละ 30ในตอนนี้ที่ได้ทำนำ้ยาเอนกประสงค์ใช้เองในครัวเรือนเพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปประมาณ 200 บาท/ เดือนและมีการรวมกลุ่มกันช่วยกันทำและแบ่งปันกันไปใช้ทำให้เกิดความสามัคคีกันในชุมชน และเรียนรู้ว่าการปลูกผักชีวภาพนั้นไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มากมาย สามารถปลูกได้ในทุกสถานที่ บ้านใครมีภาชนะ เช่นกะละมัง ล้อรถ ถังน้ำที่ไม่ได้ใช้แล้วแต่สามารถยังใส่ดินได้ก็สามารถนำมาปลูกผักได้แล้ว คำว่าผักชีวภาพ ก็คือ ผักที่ปลูกโดยไม่ได้ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลงยากำจัดวัชพืช และก็ปุ๋ยเคมี ปลูกโดยธรรมชาติ ใส่ปุ๋ยที่หมักขึ้นเองโดยใช้เศษพืชมูลสัตว์มาหมักผสมกัน ซึ่งม.3 ไดได้มีปราชญ์ชุมชนเรื่องการทำปุ๋ยหมักอยู่แล้ว ยาฆ่าแมลงก็ใช้น้ำหมักที่ได้จากการหมักเศษผลไม้ ผักหรือน้ำส้มควันไม้หรืออาจมีการปลูกดอกดาวเรืองกะเพรา ไว้ข้างๆ เพราะมีกลิ่นสามารถไล่แมลงได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน  70 คน  ผู้สูงอายุ 30คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังมองไม่เห็นภาพพจน์ที่ชัดเจน    ครั้งต่อไปต้องมีการสาธิต          ปัญหาบางพื้นที่ของหมู่บ้านจะขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง   

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้ชุมชนขยายและปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านเพื่อชุมชนมีน้ำใช้ตลอด

สร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 220 กรกฎาคม 2559
20
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การลดค่าใช้จ่ายแบบเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 9.00น.ทีมคณะทำงานของโครงการ พร้อมเพรียงกัน ณ บ้านนางจุฑามาศ ปานมา ซึ่งเป็นจุดนัดหหมายของโครงการที่จะตั้งศูนย์เรียนรู้ ณ จุดนี้ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนหลังโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ เมื่อถึงเวลาผูเข้าร่วมทยอยกันมารวมทั้งเด็กนักเรียน-ครู โรงเรียนบ้านควนหนองหงส์
  • เวลา10.00น.เป็นการเปิดศูนย์เรียนรู้ซึ่งจัดทำกันแบบชาวบ้านไม่มีท่านประธาน ชาวบ้านช่วยกันเปิดพูดคุยกันแบบเป็นกันเองเหมือนญาติพี่น้องโดยนายสุทัศน์ ศรีมาลา ส.อบต.ม.3 ต.บ้านควนหนองหงส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทีมงานของโครงการได้พูดถึงเหตุผลที่ต้องมีแหล่งเรีียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์
  • เวลา 12.00น.พักรับประทานอาหารกลางวัน วันนี้ขอขอบคุณฝีมือการทำขนมจีนของคุณพี่ดำ รัชดา หนูเขียว ที่ทำน้ำแกงอร่อยๆให้พวกเรากินกัน
  • เวลา13.00น.ตามคำเรียกร้องของชุมชนที่จะให้มีการทำน้ำยาเอนกประสงค์น้ำยาล้างจานกันอีก วันนี้ทีมงานได้ซื้ออุปกรณ์การทำน้ำยาล้างจานและน้ำยาซักผ้ามาจาก ธกส.เพื่อมาสอนให้ชาวบ้านได้เรียนรู้กัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนได้เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ร้อยละ 60 เพราะกิจกรรมนี้ชาวบ้านให้การตอบรับมากสนใจกันมากเป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านได้รับประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้จริงและเพื่อให้ชาวบ้าน ชุมชน ผู้สนใจได้มาเรียนรู้กันโครงการจึงได้จัดศูนย์การเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่เรียนรู้ของคนในชุมชนต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

วัยเรียน 20 คน วัยทำงาน 40 คน ผู้สูงอายุ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปลูกผักชีวภาพ ครั้งที่ 118 กรกฎาคม 2559
18
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้การลดหนีด้วยเกษตรอินทรีย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 9.30-10.00 น. ทีมคณะทำงานของโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง เริ่มรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งชาวบ้านเริ่มทยอยกันมาเรื่อยๆ เเละเมื่อถึงเวลา 10.00น.ทั้งชาวบ้าน และทีมคณะทำงาน วิทยากรก็พร้อมเพรียงกัน
  • เวลา 10.00-12.00 น.กิจกรรมร่วมเรียนรู้การปลูกผักชีวภาพ โดยปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนวันนี้จะรวบรวมคนในชุมชนที่มีความรู้เรื่องการปลูกผัก และผู้ที่ปลูกผักประสบความสำเร็จในหมู่บ้านมาสอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยจะเน้นในเรื่องการปลูกผักที่ใช้พื้นที่การปลูกน้อยเช่นการปลูกผักในกระถางบ่อปูนซีเมนต์เพื่อเป็นการประหยัดนำ้ และดูแลรักษาง่ายใช้เวลาไม่มากวัสดุอุปกรณ์ก็สามารถหาได้ในชุมชนเพื่อลดค่าใช้จ่ายไปได้อีกทางหนึ่ง
  • เวลา12.00 น.พักรับประทานอาหารกัน วันนี้ทีมคณะทำงานเตรียมขนมจีน น้ำชากาแฟไว้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประทานกันตามอัธยาสัยแบบเป็นกันเองเพื่อสร้างความอบอุ่นในชุมชนเพิ่มรอยยิ้มในชุมชนให้มากขึ้น
  • เวลา13.00 มาเรียนรู้การปลูกผักกันต่อ
  • เวลา15.00-15.30น.สรุปการทำกิจกรรมในวันนี้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมร้อยละ 100 ได้เรียนรู้ขั้นตอนการปลูกผักในกระถางดิน ดังนี้
  1. นำเศษเปลือกมะพร้าวมาฉีกเป็นฝอย รองก้นกระถาง
  2. นำดินร่วนผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาใส่ในกระถาง 1/3 ของกระถาง
  3. ให้นำต้นกล้าที่ต้องการจะปลูกเช่น มะเขือ พริกขี้หนู มาลงปลูกจากนั้นเพิ่มดินลงไปให้เต็มกระถาง
  4. นำหญ้าแห้งหรือฟางข้าวมาปิดบนโคนต้น 5.รดน้ำให้ชุ่มนำไปวางไว้ที่ ที่สามารถกันแดดได้
  • สรุปผลการร่วมกิจกรรมในวันนี้ ทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้การปลูกผักชีวภาพโดยไม่พึ่งสารเคมี ชาวบ้านได้มองเห็นถึงการปลูกผักไม่ยากอย่างที่คิดขอแค่ลงมือทำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

วัยเรียน 20 คน วัยทำงาน 70 คน ผู้สูงอายุ 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มีไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 99 มิถุนายน 2559
9
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและวางแผนการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้ใหญ่บ้าน นางศิริรัตน์ นุราภักดิ์ เป็นประธานในการประชุม
  • วาระที่ 1 การทำฉโนดที่ิดินในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลควนหนองหงษ์
  • วาระที่ 2 โครงการสวนยางของ ค.ส.ช.ว่าด้วยการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางจากกองทุนสวนยางของร่อนพิบูรณ์ตำบลควนหนองหงษ์
  • วาระที่ 3 เรื่องโครงการปรับปรุงเดินท่อประปาหมู่ที่ 3
  • วาระที่ 4 นางรัชนู มีชนะ ผู้รับผิดชอบโครงการได้สอบถามความคิดเห็นในการใช้ชีวิตของแต่ละวันการใช้จ่ายในครัวเรือนใครคิดจะปลูกผักไร้สารผิดระดมควาคิดปลูกผักในแต่ละครัวแบ่งปันกันและเหลือจากครัวเรือนก็นำไปขายเป็นรายได้เสริมและผ้ักก็ปลอดสารพิษและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • ปิดการประชุมโดยผู้ใหญ่ศิริรัตน์ นุราภักดิ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20 คน 2.มีการติดตามกิจกรรมที่ผ่านมา และสรุปผลการประชุม ว่า
  • การทำฉโนนดที่ดินในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลควนหนองหงษ์จะมีผู้ช่วยผู้ใหญ่นำทางทำการวัดเนื้อที่ของแต่ละแปลงว่าตกค้างจากการทำรางวัดจากครั้งก่อนเขตคลองสาธารณะจะเว้นผ่านไป
  • โครงการสวนยางของ ค.ส.ช.ว่า้ด้วยการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางจากกองทุนสวนยางของร่อนพิบูรณ์ตำบลควนหนองหงษ์ได้รับเงินช่วยเหลือแล้ว1000 กว่าราย
  • เรื่องโครงการปรับปรุงเดินท่อประปาหมู่ที่ 3 เปลี่ยนท่อเมนท่อส่งน้ำใหม่จากสระน้ำไปแท๊งจ่ายน้ำภายในหมู่บ้านพร้อมกับซ่อมแซมท่อเก่าที่ชำรุดเปลี่ยนผู้กำกับน้ำและจดมิเตอร์น้ำใหม่ พร้อมเปลี่ยนมอเตอร์น้ำตัวใหม่และไฟฟ้าใกล้สระน้ำผิวดินประปาจะมีแรงดันน้ำมากกว่าเดิม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชน คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรุู้การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ ครั้งที่ 221 พฤษภาคม 2559
21
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพชีวภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก โดยจะมาเรียนรู้ร่วมกันในการทำปุ๋ยหมักและได้มอบหมายล่วงหน้าให้สมาชิกนำวัตถุดิบและอุปกรณ์มาช่วยกันทำ พร้อมทั้งนำกระสอบใส่ปุ๋ยหมัก หลักจากร่วมกันทำเสร็จในวันนี้โดยให้นางรัชนี มีชนะ เป็นแกนนำหลักในการเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย
  1. ขี้วัว จำนวน ๒๐ กระสอบ
  2. เศษวัชพืชเช่น ใบไม้ผักตบชวาผักบุ้งหยวกกล้วย
  3. แกลบ จำนวน ๒๐ กระสอบ
  4. พด.๑ จำนวน ๑ ซอง
  5. กากน้ำตาลจำนวน ๑ ขวด
  6. กระสอบสำหรับใส่ปุ๋ย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำวัตถุดิบมาช่วยกันทำปุ๋ยหมัก
  3. ผู้เข้าร่วมได้ช่วยกันทำปุึ๋ยหมักช่วยกันสับวัตุถุดิบช่วยกันผสมปุ๋ยหมัก ได้เรียนรู้วิธีทำปุ๋ยหมักดังกล่าว เป็นการหมักปุ๋ยชีวภาพแบบ ใส่กระสอบ โดยต้องจัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำกระสอบ และผ้ายางมารองปูพื้นเพื่อที่จะใช้ในการผสมปุ๋ยหมัก การเตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำใบไม้ผักตบชวาผักบุ้งหยวกกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆเพื่อความรวดเร็วในการย่อยสลาย และนำขี้วัว แกลบ โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำ พด.1ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ กากน้ำตาล 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้มารดในกองปุ๋ยให้ทั่วคลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้
  • เมื่อผสมปุ๋ยเสร็จ ก็นำกระสอบที่สมาชิกนำมาจากบ้าน คนละ 3-4 สอบ มาใส่ปุ๋ยโดยใส่ประมาณ2 ส่วน 4 ของกระสอบ เพื่อเหลือพื้นที่ไว้ในการที่จะพลิกกระสอบและนำเชือกมารัดปากกระสอบปุ๋ยไว้ 5.ก็ให้สมาชิกแต่ละคนนำกระสอบปุ๋ยที่ใส่ปุ๋ยไว้เสร็จแล้ว ไปทำการหมักเองที่บ้านโดยจะต้องป้องกันแสงแดดและคอยพลิกปุ๋ย ทุกๆ 2-3 วัน ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็สามารถนำปุ๋ยมาใช้ได้ บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเองพร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 50 คน วัยเรียน 20 คน ผู้สูงอายุ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่ 114 พฤษภาคม 2559
14
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงาน ปราชญ์ชุมชน และสมาชิกกลุ่ม ร่วมกันคัดเลือกบ้านต้นแบบ เพื่อร่วมกันจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
  • ปฏิบัติการทำน้ำยาเอนกประสงค์ร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนจำนวน 4 ฐาน คือ แหล่งเรียนรู้ผักปลอดสารพิษ แหล่งเรียนรู้น้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพ แหล่งเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ และแหล่งเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน แต่ละแหล่งเรียนรู้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนบ้านได้ โดยกำหนดเรียนรู้เดือนละ 1 ครั้งโดยมีข้อกำหนดในการเรียนรู้ แต่ละกลุ่มต้องนำวัสดุมาเองจากบ้าน เพื่อเป็นการสร้างความตระหนัก และมีส่วนร่วม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

วัยเรียน 20 คน ผู้สูงอายุ 20 คน วัยทำงาน 40 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 89 พฤษภาคม 2559
9
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและวางแผนการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วาระที่ 1 นางขวัญใจ เนาว์สุวรรณ ฝ่ายการเงินของโครงการบ้านควนหนองหงษ์เรียนรู้กการลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง ชี้แจงค่าใช้จ่ายของโครงการ
  • วาระที่ 2 รายละเอียดการระชุมวันนี้สรุปผลเรื่องการทำน้ำยาเอนกประสงค์
  • วาระที่ 3 เรื่องอื่นๆ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20คน
  2. มีการติดตามงานในการดำเนินโครงการ ดังนี้
  • ฝ่ายการเงินของโครงการบ้านควนหนองหงษ์เรียนรู้กการลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง ชี้แจงค่าใช้จ่ายของโครงการ ในการประชุมวันนี้ วันนี้มีเงินสนับสนุนกิจกรรมจำนวน 800 บาท ใช้เป็นค่าอาาร 500 บาท ค่าตอบแทนผู้ประสานงาน 300 บาท การประชุมวันนี้เป็นการพูดคุยของคณะกรรมการ ใม่ได้เป็นทางการมากนัก เพราะวันนี้หลายท่านติดภาระกิจตรงกับวันคัดเลือกทหารด้วยและก็ใกล้ถึงเทศกาลสงกรานต์กรรมการบางคนมีภาระกิจที่ต้องทำ
  • สรุปผลเรื่องการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ทำให้ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 30 ครัวเรือนที่ได้ใช้น้ำยาเอนกประสงค์ที่ทำขึ้นเองสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 200 บาท มีการรวมกลุ่มกันมาทำน้ำยาเอนกประสงคืและแบ่งปันกันไปใช้ ทำให้ชุมชนมีการหันมาพูดคุยกันมากขึ้น มีสุขภาพดีขึ้นสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้สารเคมีในน้ำยาล้างจานในผงซักฟอกตามท้องตลาดเมื่อมาใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเอนกประสงค์ที่ทำขึ้นเอง อาการแพ้คันก็หายไป รู้สึกว่าจะถนอมมือ มือไม่กระด้างเหมือนเมื่อก่อน- เรื่องอื่นๆ ฝากเรื่องประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ จะจัดกันในวันที่ 10 เมษายน 2559 ณ อบต.บ้านควนหนองหงษ์ขอให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านไปร่วมกันมากๆจะมีการทำบุญตักบาตรเวลา 6.30 น.พระฉันท์ภัทรตาหารเช้าแล้วก็จะทำพิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชน คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 79 เมษายน 2559
9
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและวางแผนการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประธานโครงการนางศิริรัตน์ นุราภักดิ์ ได้เปิดประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 7
  • เรื่องที่ 1 พูดถึงภาพรวมของการทำกิจกรรมของโครงการบ้านควนหนองหงษ์เรียรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง เป็นที่ตอบรับของชาวบ้าน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหลายคนมาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติตามกลับไปทำต่อที่บ้านโดยเฉพาะน้ำยาล้างจานร้อยละ 50 หันกลับมาใช้น้ำยาเอนกประสงค์กวนใช้กันเอง
  • เรื่องที่ 2 ประธานโครงการในฐานะที่เป็นผู้นำหมู่บ้าน ขอปรึกกษาหารือเรื่องน้ำประปาหมู่บ้าน น้ำกำลังมีปัณหามากเนื่องจากน้ำขุ่นเป้นขี้ดคลนทำให้ชาวบ้านใช้น้ำไม่ได้ จะมีแนวทางการแก้ไขกันยังใง นายสุรินทร์ มีชนะ ได้มีการเสนอให้มีการล้างอ่างพักน้ำใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนหน้าทรายใหม่ ปล่อยน้ำทิ้งเพื่อล้างท่อที่ปล่อยน้ำให้มีการปิดบริการน้ำเป็นเวลา 3 วัน เพื่อที่จะทำการล้างปรับปรุงถังพักน้ำทัั้งหมด ในที่ประชุมเห้นด้วยทั้งหมด
  • เรื่องที่ 3 นางขวัญใจ เนาว์สุวรรณ ฝ่ายการเเงินของโคงการบ้านควนหนองหงษ์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง ชี้แจงอธิบายรายละเอียดของกิจกรรมที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายเงินคงเหลือให้คณะกรรมการทั้งหมดฟังในแต่ละกิจกรรมมีการใช้จ่ายอะไรบ้างจากการชี้แจงทั้งหมดสรุปได้ว่า กรรมกการบางท่านไม่เห็นด้วยมีเคลือบแคลงใจบ้างบางท่านแต่ก็ไม่มีปัณหามากนัก สามารถแแก้ไขปัณหาได้
  • เรื่องที่ 4 นางรัชนู มีชนะ ผู้รับผิดชอบโครการ จากการที่ได้ทำงานทำกิจกรรมที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จทำที่ควรการตอบรับจากชาวบ้านยังไม่มากพอ หลายคนยังไม่เข้าใจคิดว่าโครงการต้องมาแจกเงินต้องนำเงินมาให้ชาวบ้านกู้ พอมาเข้าร่วมกิจกรรมแล้วไม่เป็นไปตามที่ต้องการจึงไม่พอใจกลับไปพูดในทางที่เสียหาย โดยเฉพาะตัวผูรับผิดชอบและฝ่ายการเงินต้องเข้าไปชีี้แจงแบบตัวต่อตัวกันถึงบ้าน แต่ก็ประมาณร้อยละ 50 ที่เข้าร่วมกิจกรรมเห็นด้วยและยินดีที่จะร่วมทำกิจกรรมต่อไปอีก มีความกระตือรือร้นที่จะทำเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมๆของครอบครัวตัวองให้หลุดพ้นจากหนี้สินกลับมาอยู่แบบพอเพียง ในกิจกรรมต่อๆไปของโครงการบ้านควนหนองหงษ์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงจะทำต่อไปก็จะมี การเรียนรู้การปลูกผัักชีวภาพจำนวน 3 ครัวเรือน กาารทำปุ๋ยหมักชีวภาพจำนวน 3 ครัวเรือน การทำบัญชีครัวเรืนจำนวน 3 ครัวเรือน และกิจกรรมสภาผู้นำ ซึ่งกิจกรรมหลายๆกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่หนักจึงใคร่ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการทุกท่านให้ช่วยชี้แนะออกความคิดเห็นเพื่อที่จะให้กิจกรรมทั้งหลายผ่านไปด้วยดี สุดท้ายต้องขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ให้ความร่วมมือ
  • เรื่องอื่น ๆ การเสนอแนะพูดคุยปรึกษาหารือเรื่องทั่วไปในเรื่องปัณหาของหมู่บ้าน ข้อดีและข้อเสียของการทำงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เขา้ร่วมกิจกรรม20 คน
  2. มีการติดตามการทำกิจกรรม ที่ทำผ่านมา คือ กิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย ครั้งที่ 1 ชาวบ้านได้เรียนรุู้การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ กิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย ครั้งที่ 2และกิจกรรมในครั้งต่อไปคือ ประชุมสภาชุมชนบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที 8 ในวันที่10 พ.ค. 2559
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 15 คน ผู้สูงอายุ 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธสุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้บัญชีครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย ครั้งที่ 229 มีนาคม 2559
29
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2 โดยทำกิจกรรมกันที่ ศาลาเอนกประสงค์ภายในวัดสวนขัน เริ่มกิจกรรมโดย นางรัชนูมีชนะศ์ ประธานโครงการไได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะมาเรียนรู้กันในวันนี้ ซึ่งจากการได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนในครั้งที่ 1 แล้วนั้นเราก็ได้ความรู้ได้ประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน และในวันนี้เราก็จะมาฝึกทำบัญชีครัวเรือนกัน โดยหลังจากการได้ช่วยกันออกแบบสมุดบัญชีครัวเรือนมาแล้ว ว่าให้เราทำแบบง่ายๆในแบบของบ้านควนหนองหงส์เอง ซึ่งในแต่ละวันก็ให้ไปบอกข้อมูลการใช้จ่ายในแต่ละครั้งให้กับลูกให้ช่วยในการบันทึกข้อมูลลงไปจะทำให้ลูกได้รู้เห็นในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพื่อจะได้ตระหนักในการใช้จ่ายในครัวเรือน โดยการบันทึกนั้นให้บันทึกไปเลยว่าเป็นรายจ่ายหรือรายรับใช่จ่ายไปเท่าไหรแล้วก็คงเหลือเท่าไหรเก็บออมไว้เท่าไหร
  • หลังจากนั้นก็ได้ให้สมาชิกที่เข้าร่วมลองฝึกทำบัญชีครัวเรือน โดยให้นึกค่าใช้จ่ายที่ผ่านมาในสัปดาห์นี้ว่าเราจ่ายค่าอะไรไปบ้างได้รายรับมาจากไหนบ้างและเหลือเงินเท่าไหรในสัปดาห์นี้ให้ลองฝึกหัดทำดู โดยได้ยกตัวอย่างในการบันทึกรายรับ-รายจ่าย เช่น สมมติว่า เราได้รับรายรับ (เงินเดือน) มาจำนวน 10,000 บาท และค่าขายยางแผ่นมา 2000บาท วิธีการบันทึกรายการจะเป็นแบบนี้ที่แนะนำไปจะเป็นการออมไว้ 10% ของรายรับที่ได้รับมาเพื่อจะเป็นการฝึกนิสัยในการอดออม ดังนี้
  • เริ่มต้นออมเงินก่อน 10% ของรายรับทันที 1,200 บาท
  • นำเงินส่วนที่เหลือ 10800 บาท มาลงบันทึกในบัญชี เป็น รายรับ
  • เมื่อมีรายการใช้จ่ายต่างๆก็นำมาจดบันทึกไว้เป็น รายจ่าย อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น ในวันนี้ก็จะมีค่าใช้จ่าย คือ
  • ค่าอาหาร500 บาท ค่าน้ำมันรถ 500 บาท ค่าโทรศัพท์ 100 บาท ค่าให้ลูกไปโรงเรียน 50 บาท และค่าไฟ 350บาท ให้ลงรายจ่ายทั้งหมดนี้ในช่องรายจ่ายโดยทั้งรายรับและรายจ่ายให้เขียนสิ่งที่เราได้รับหรือรายจ่ายที่ช่องรายการส่วนตัวเลขนั้นให้เขียนที่ช่องรายรับ หรือรายจ่าย และหักลบกัน ก็จะเป็นยอดคงเหลือในวันต่อๆๆไป
  • ตรวจสอบดูสรุปยอดรายการทุกสิ้นเดือนโดยการสรุปยอดการใช้จ่ายทั้งหมดและรายรับที่ได้มาและเงินคงเหลือของแต่ละเดือนและที่สำคัญก็ได้ดู้สิ่งที่ฟุ่มเฟือนไม่จำเป็นที่เราได้จ่ายไปฏ็ให้ลดสิ่งนั้นเพราะเราได้รู็แล้วหลังจากบันทึกว่าสิ่งไหนที่จำเป็นฟุ่มเฟือยในครัวเรือนของเรา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน
  2. ได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนด้วยตนเอง คือ การฝึกหัดทำบัญชีครัวเรือนจากที่ได้จ่ายในสัปดาห์นี้
  3. ได้ฝึกการทำบัญชีครัวเรือนและรู้ว่าได้ใช้จ่ายเงินไปเท่าไหรในสัปดาห์นี้
  4. มีการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชุมชนจากการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนคือได้ช่วยกันแนะนำซึ่งกันและกันในการทำบัญชีครัวเรือน
  5. มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นในการทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่องของการจดบันทึกรายรับรายจ่ายและเงินคงเหลือ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 50 คน ผู้สูงอายุ 20 คน วัยเรียน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธสุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามความก้าวหน้าโครงการ26 มีนาคม 2559
26
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอดบทเรียนและสังเคราะห์ผลการทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ อ.กำไลได้ให้ความรู้เรื่องการจัดทำโครงการ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธิก่อนเริ่มการประชุม ให้หลับตานึกถึงโครงการที่ได้ทำมาในระยะเวลา 6 เดือน ว่าจากที่ทำไปแล้ว มีใครที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง เกิดการรวมกลุ่มอย่างไรบ้าง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในชุมชนมีอะไรบ้าง แล้วระยะเวลาที่เหลือเราจะทำอะไรต่อไปบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษส่งพี่เลี้ยง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
  2. ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง
  3. ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างเพราะรายละเอียดกิจกรรมในเว็บไซต์ และรูปให้ครบถ้วน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่่มี

เรียนรุู้การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ ครั้งที่123 มีนาคม 2559
23
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กิจกรรมในวันนี้จะเป็นการเรียนรู้การทำน้ำหมักจากขยะครัวเรือน โดยจะมาเรียนรู้ร่วมกันในการทำน้ำหมักและได้มอบหมายล่วงหน้าให้สมาชิกนำเศษอาหารในครัวเรือนที่เหลือ ให้นำมาทำน้ำหมักถ้าเป็นผัก ก็สับให้เป็นชิ้นเล็กมาก่อนได้เลย และใครมีหยวกกล้วยก็ให้นำมาโดยแต่ละคนก็จะมีสูตรที่เคยได้ทำมาแลกเปลี่ยนรู้กัน ซึ่งแต่ละครัวเรือนก็ทำไม่เหมือนกันแล้วแต่ละครัวที่ถนัดและในกิจกรรมในวันนี้ก็จะเป็นการแนะนำสูตรทำน้ำหมัก สูตรบำรุงต้นและใบโดยนางกัณหา จงไกรจักร ได้เตรียมอุปกรณ์ประกอบด้วย
  1. หยวกกล้วย20กก.
  2. กากน้ำตาล2 กก.
  3. แกงเกลือ 1 กก.
  4. ถังหมักที่มีฝาปิด
  5. น้ำ 20ลิตร

วิธีการทำ

  1. นำหยวกกล้วย มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆโดยสมาชิกก็ได้นำหยวกกล้วย มาช่วยกันสับด้วยกัน และก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำด้วย
  2. นำกากน้ำตาล และเกลือแกง1กก.ผสมกับน้ำ 20ลิตรใช้ไม้กวนผสมให้เข้ากัน
  3. นำหยวกกล้วยที่สับไว้เป็นชิ้นเล็กๆ ไปเทใส่ในถังหมัก
  4. นำกากน้ำตาลและเกลือแกงที่ผสมน้ำไว้มาเทใส่ในถังหมักคนคลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาที่ทิ้งไว้ หมักไว้ 21วัน
  5. เมื่อน้ำหมักมีกลิ่นฉุนของแอลกอฮอล์ สีน้ำหมักมีลักษณะน้ำตาลใส ไม่ขุ่นดำ และมีกลิ่นหอม ก็สามารถนำไปใช้ได้
  • บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเองการทำงานวันนี้ได้มีน้องนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน
  2. สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้สมาชิกพร้อมที่จะเรียนรู้ในการทำน้ำหมักในครัวเรือนโดยการนำเศษอาหาร เศษผักเศษผลไม้ที่เหลือจากครัวเรือนและยังมีสูตรน้ำหมักที่ได้ทำกันไปวันนี้ เป็นสูตรบำรุงต้นและใบนำไปใช้เองในครัวเรือนมีการช่วยเหลือระหว่างกัน เกิดการยอมรับกันมากขั้น มีน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือนโดยการนำขยะในครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ ได้นำน้ำหมักที่ได้ไปรถผักที่ปลูกไว้มีการยอมรับกันในสมาชิก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 50 คน วัยเรียน 20 คน ผู้สูงอายุ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้บัญชีครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย ครั้งที่ 112 มีนาคม 2559
12
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 1 โดยทำกิจกรรมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน บ้านสวนขัน
  • เริ่มกิจกรรมโดยนางรัชนี มีชนะ ประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะมาเรียนรู้กันในวันนี้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้รายรู็รายรับรายจ่ายในครัวเรือนอะไรที่ไม่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย ในชีวิตประจำวันของเราเองซึ่งคณะทำงานเชิญผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ เรียนรู้ทำบัญชีครัวเรือน ให้ชาวบ้านที่เข้าร่วมจัดทำบัญชีแต่ละเดือนในรูปแบบของชาวสวนขันโดยจะร่วมกันคิดออกแบบบสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือนเป็นของชาวสวนขันเอง โดยให้เยาวชนเป็นผู้บันทึกและจัดทำบัญชีโดยผู้ปกครองเป็นคนให้ข้อมูล ว่าในแต่ละวันได้รับรายได้มาจากทางไหนบ้างได้มาเท่าไหร ส่วนรายจ่ายจ่ายอะไรไปบ้างเท่าไหรและในแต่ละวันคงเหลือเท่าไหร และจะมีการประสานกับทางโรงเรียนให้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์และมีการตรวจเช็คทุกสัปดาห์ แล้วผู้ปกครองมาจัดแลกเปลี่ยนกันว่าแต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรอย่างไง สามารถลดรายจ่ายได้หรือให้มีเงินออมแต่ละเดือนเท่าไหร่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งหาทางแก้ไขที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เราจะทำอย่างไรถึงจะมีเงินเก็บในครัวเรือนซึ่งจะให้เด็กนักเรียนได้รู้ถึงค่าจ่ายที่พ่อแม่ได้มาและได้ใช่จ่ายออกไปพเื่อที่จะให้เด็กได้ตระหนักถึงการใช้จ่าย มากขึ้นหลัง
  • จากนั้นก็ได้ร่วมกันออกแบบ ว่าจะทำอย่างไรเอาข้อมูลหรือตารางในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับรายจต่ายในครัวเรือนอย่างไรบ้างและจะมาสอนการทำบัญชีครัวเรือนกันอีกในครั้งต่อไป
  • ซึ่งในกิจกรรมในวันนี้มีนายคมเดช มัชฉิมวงศ์ ผู้มีความรู้ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรียนมาสอนและแนะนำการทำบัญชีครัวเรือนโดยเริ่มจากการบอกถึงความหมายการทำบัญชี คือ การจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบอกถึงอดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่างๆในชีวิต ในครอบครัวจะเป็นการการจดบันทึกรายการเกี่ยวกับการเงินทุกรายการ ทั้งที่ได้รับเข้ามาและที่ต้องจ่ายออกไปในแต่ละวัน การทำบัญชีบันทึกรายรับ – รายจ่าย เป็นการบันทึกรายรับรายจ่ายของแต่ละวัน เปรียบเสมือนเป็นการวางแผนการเงินใช้จ่ายให้ถูกวิธี และทำให้ตัวเราเองเป็นคนที่มีระเบียบวินัยเพิ่มมากขึ้น พอพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเลขบางท่านถึงกับสับสน ถึงแม้การทำบันทึกรายรับ – รายจ่าย หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากมาย ทำงานมาทั้งวันแล้วยังต้องมานั้งจดนั้งเขียนอยู่อีกเหรออันที่จริงการทำบันทึกรายรับรายจ่าย เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และไม่มีความยุ่งยากอะไรเลยแม้แต่น้อย อยู่ที่เราเปิดใจเมื่อได้ลงมือจดบันทึกเป็นประจำแล้วจะพบว่า การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายสามารถทำได้ง่ายๆ แถมยังประโยชน์ต่อเรามากอีกด้วย การทำบัญชีบันทึกรายรับ-รายจ่าย ประจำวัน ท่านสามารถแบ่งแยกเป็นตารางที่มีส่วนประกอบ ได้ดังนี้ รายรับ คือรายรับที่เราได้รับมาเช่นเงินเดือน ค่าขายของได้พ่อแม่ให้เงินมาจ่ายค่าขายผลผลิตทางการเกษตรได้เงินที่ได้จากการขายสินค้าเงินทีได้ จากการทำงาน เป็นต้นส่วนรายจ่ายคือสิ่งที่เราต้องจ่ายออกไปทั้งหมดเช่น ค่าอาหาร ค่าเชื้อเพลิงรถค่าปุ๋ย ค่าเทอมให้ลูก ค่าโทรศัพท์ค่าเสื้อผ้า ค่านำ้ค่าไฟ เป็นต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน 90 คน
  2. ได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนในการบันทึกรายรับ-รายจ่ายในแต่ละวันและมีเงินคงเหลือเท่าไหร
  3. ได้สมุดบัญชีครัวเรือนเป็นของตัวเองโดยกการร่วมกันออกแบบของชาวควนหนองหงส์
  4. มีความรักความสามัคคีมากขึ้นในชุมชนคือการได้มาร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน
    5.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชุมชน ในการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน และการออกแแบสมุดบันทึกรายรับ-รายจ่ายบัญชีครัวเรือนบ้านสวนขัน
  5. ได้เรียนรู้ประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน ดังนี้
  • เพื่อจดบันทึกรายการการดำเนินกิจการเรียงลำดับก่อนหลัง ในเรื่องของการใช้จ่ายเงินในแต่ละวัน
  • ง่ายต่อการตรวจสอบ ก็คือเราได้รู้ว่าเงินของเราได้จ่ายอะไรไปบ้างได้รับจากส่วนไหนบ้างรับมาเท่าไหรถือว่าเป็นการตรวจสอบตัวเองไปด้วย
  • บัญชีครัวเรือน” ช่วยชี้ว่าจัดการเงินได้ถูกต้องแค่ไหน
  • เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน
  • เพื่อรู้รับ-รู้จ่าย-รู้เก็บ..ไม่อด “จดแล้วไม่จน” จะได้มีเงินออมไว้ด้วย
  • เพื่อรับรู้รายได้และรายจ่ายที่แน่นอน รวมทั้งทราบค่าใช้จ่าย ที่ฟุ่มเฟือยค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จะได้รู้และจะได้ลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น - คุมยอดค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับรายได้ คือ จะได้รู้ว่าเรารับมาเท่าไหร และจะต้องจ่ายไปเท่าไหรควบคุมเพื่อที่จะได้ไม่เกินกับรายรับที่เรามาจะต้องไม่ต้องไปกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้จ่าย หลักการทำบัญชีรับ-จ่าย
  • จัดทำแบบฟอร์มบัญชีรับจ่ายอย่างง่าย ให้สะดวกต่อการจดบันทึกรายการโดยจะเป็นแบบที่ออกแบบร่วมกัน จดบันทึกรายการเรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละอย่าง ในแต่ละวัน สรุปยอดเงินรายรับรายจ่าย ประจำวัน เปรียบเทียบผลการดำเนินกิจการประจำวัน ยอดเงินคงเหลือจะได้เป็นเงินออมส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น
  • การทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทำให้เรารู้การใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน ช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในออกไปทำให้มีเงินเหลือมากขึ้น เช่น ค่ากาแฟ ค่าชอปปิ้งของที่ไม่จำเป็น ทำให้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อนจะใช้จ่าย รู้ว่าค่าใช้จ่ายไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เพราะถ้าเรารู้จักตัวเอง และมองเห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองแล้ว การละเลิกกิจกรรมที่สร้างความฟุ่มเฟือยทั้งปวง จะเป็นจุดเริ่มต้นของการออมที่เพิ่มขึ้นด้วยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 50 คน ผู้สูงอายุ 20 คน วัยเรียน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 69 มีนาคม 2559
9
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและวางแผนการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที 6 เริ่มโดยนางรัชนี มีชนะ ประธานโครงการ เปิดกิจกรรมได้กล่าวต้อนรับ และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในที่ได้ทำที่ผ่านมา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เขา้ร่วมกิจกรรม20 คน
  2. มีการติดตามการทำกิจกรรม และชี้แจงกิจกรรมต่อไป คือ การจัดทำรายงานเพื่อปิดงวดที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง และกิจกรรมในครั้งต่อไปคือเรียนรู้บัญชีครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย ครั้งที่ 1เรียนรุู้การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ ครั้งที่1 เรียนรู้บัญชีครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย ครั้งที่ 2 และประชุมสภาชุมชนบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที 7 ในวันที่ 9 เม.ย.2559
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชน คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธสุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำรายงาน ปิดงวดที่ 113 กุมภาพันธ์ 2559
13
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม พร้อมจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ปิดงวดโครงการที่ 1  โดยจัดกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์     ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ก็เป็นการตรวจเอกสารด้านการเงิน  เอกสารเกี่ยวกับโครงการ  และการบันทึกกิจกรรมในออนไลน์  ของเจ้าหน้าที่  สจรส.มอ.  ซึ่งจะต้องรอเข้าคิวในการตรวจเอกสาร  เพราะมีโครงการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจำนวนมากที่มาร่วมกันตรวจในวันนี้  โครงแต่ละโครงการได้ตรวจเป็นเวลา จึงทำให้ไม่ทันในการตรวจ  และเมื่อได้สอบถามจากโครงการที่ตรวจแล้ว  เอกสารเกี่ยวกับการเงินยังผิดอยู่บ้าง  และการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์  ยังไม่สมบูรณ์  รายละเอียดของกิจกรรม และผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ชัดเจน  ก็เลยกลับไปแก้ไขก่อนให้เรียบร้อยและจะส่งตรวจในภายหลัง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการดำเนินงานตามโครงการได้ว่าวันนี้มีตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน ส่ิ่งที่โครงการได้เรียนรู้คือ (1) โครงการได้รับการตรวจสอบเอกสารจากพี่เลี้ยง พร้อมทั้งได้รับการชี้แนะให้แก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง (2)พี่เลี้ยงได้ช่วยแก้ไขเอกสารที่ผิดให้มีความถูกต้อง และชัดเจน ได้แก่ เอกสารการเงิน (3)ได้เรียนรู้แนวทางในการเขียนเอกสารเพื่อปิดเอกสารโครงการ การเขียนผลผลิต การเขียนผลลัพธ์ (4)ได้เรียนรู้การสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สรุปผลการดำเนินงานครั้งนี้ สรุปได้ว่า 1.โครงแต่ละโครงการได้ตรวจเป็นเวลา จึงทำให้ไม่ทันในการตรวจและเมื่อได้สอบถามจากโครงการที่ตรวจแล้วเอกสารเกี่ยวกับการเงินยังผิดอยู่บ้างก็เลยกลับไปแก้ไขก่อนให้เรียบร้อยและจะส่งตรวจในภายหลัง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปิดรายงานงวดที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจเอกสารและปิดงวด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เดินทางมาพบพี่เลี้ยง รพ.สต. เขาพระบาท เพื่อดำเนินการปิดงวดครั้งที่ 1 ได้เรียนรู้ในเรื่อง: -การตรวจหลักฐานการทำงายงาน -การลงบันทึกโปรแกรมออนไลน์ -การโหลดรูปภาพ ขึ้นเว็บไซต์ -การลงบันทึกรายรับรายจ่าย ได้เรียนรู้การแก้ไขดังนี้ -การเขียนบันทึกรายงานลงโปรแกรมออนไลน์ในแต่ละกิจกรรม -ใบสำคัญรับเงิน -การเปลี่ยนแปลงวันที่ทำกิจกรรม -การเขียนผลที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ได้ว่า ตอนนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ 2 คน เพื่อฝึกการเรียนรู้ในการเขียนรายงานและสรุปการเขียนเอกสารในกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และนอกจากนี้คณะทำงานยังได้เรียนรู้การทำบัญชีทางการเงิน ในการตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารด้านการเงิน การตรวจสอบในการเขียนบิลและได้เรียนรู้ถึงการปิดงวดงบประมาณการทำกิจกรรม ได้รู้ถึงความสำคัญทางการเงิน ได้รู้ถึงน้ำใจของเพื่อนร่วมงาน ในการช่วยเหลือกันในการทำเอกสาร และบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ และความสามัคคีในทีมงานคือการได้ช่วยกันทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ให้เสร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

หัวหน้าโครงการ และเจ้าหน้าที่การเงิน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังบันทึกกิจกรรมข้อมูลในเวปไซต์  ในรายละเอียดของกิจกรรมและผลลัพธ์จากโครงกาารยังไม่ละเอียด และรูปกิจกรรม ยังไม่ครบ  แก้ไขโดยให้ไปบันทึกเพิ่มเติม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อปิดรายงานงวดที่ 111 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ เข้าพบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารการดำเนินงานมาส่งให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบ พบว่า
1.การบันทึกรายงานกิจกรรม ย้งไม่ครอบคลุม ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไปแล้ว แต่ยังไม่ครบทุกฉบับ ให้ปรับปรุงต่อไป
2.รายงานการเงิน การตรวจสอบหลักฐานพบว่า ยังต้องปรับปรุง บางฉบับ และโครงการได้นำไปแก้ไขแล้ว เพื่อรอให้ สจรส.ตรวจสอบต่อไป ในวันที่ 13 - 14 กพ.59

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานกิจกรรม 2.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานการเงิน
3.โครงการได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาการแก้ไขข้อมูลออนไลน์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เอกสารด้ารการเงินยังไม่ครบถ้วน ในเรื่องของใบเสร็จ เพราะยังไม่ได้เขียนชื่อโครงการ  แก้ไขโดยการให้ไปขอทางร้านมาใหม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 59 กุมภาพันธ์ 2559
9
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านควนหนองหงษ์ ครั้งที่ 5
ผู้ใหญ่บ้าน นางศิริรัตน์นุราภักดิ์ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนก่อนจะเริ่มชี้แจงวาระการประชุม
วาระที่ 1 เรื่องที่ 1 การขึ้นทะเบียนชาวสวนมีบางรายข้อมูลต้องกลับไปแก้ไข เรื่องที่ 2 ค่าฌาปณกิจกองทุนเงินล้าน มีผู้เสียชีวิต 1 คน ได้เงิน 190000 วาระที่ 2 นายสุนทรคลังจันทร์ ผอ.รพ.ควนหนองหงส์ประชาสัมพันธ์ เรื่องคลินิกแพทย์แผนไทย บริการนวด ประคบสมุนไพร นวดกดจุด คลายเส้น ยาสมุนไพรแบบแคปซูลค่าบริการข้าราชการเบิกได้ ประชาชนทั่วไป นวดกดจุด 200 บาท นวดประคบ 250 บาทตู้อบสมุนไพร100 บาท วาระที่ 3 นายสุรินทร์มีชนะรองนายก อบต. เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
วาระที่ 4 เรื่องยาเสพติดในหมู่บ้านเรื่องชู้สาว เรื่องการทะเลาะวิวาท วาระที่ 5 นายอำเภอชะอวด สั่งให้ดูพื้นที่เพื่อสร้างมหาวิทยาลัยในอำเภอชะอวดได้ที่พรุควนเงิน เพราหลายอำเภอตอนนี้มีมหาลัยแล้ว วาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ การทำโฉนดที่ดินให้วัดควนหนองหงส์ มาสามารถทำได้ เพราวัดยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัด
วาระท่ี่ 7 สรุปการดำเนินงานโครงการ สสส สิ่งที่ได้เห็นจากการดำเนินงานที่ผ่านมา 1. สมาชิกได้มองเห็นแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเป็นภาพรวม จากเดิมตัวใครตัวมัน ได้นำความรู้มาคิด ออกแบบการทำเกษตรพอเพียงให้เป็นของบ้านของควนหนองหงษ์เองเนื่องมาจากไปดูงานสวนลุงนิล จ. ชุมพร สวนคอนโด 9 ชั้นเดินตามรอยพ่อหลวงให้ประชาชนได้รับทราบการยึดหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนน่าจะทำมาเป็นแบบอย่างได้เพื่อลดค่าใช้จ่าย กับในยุคเศรษฐกิจแบบนี้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะที่สุดกับเกษตรอย่างเรา ขอให้คนที่ไปดูกลับมาปฎิบัติ แนะนำเพื่อนคนอื่นๆให้นำความรู้ที่ได้มานำมาประยุกต์ให้เป็นไปในแบบของบ้านควนหนองหงษ์เองลุงนิลได้บอกไว้ว่าให้เราเปลี่ยนความคิดชีวิตเราก็จะเปลี่ยนให้ค่อยๆทำไปทีละนิดทีละอย่างค่อยๆเป็นค่อยศึกษาและปรับปรุงกันไปเพราะสภาพแต่ละพื้นที่มันไม่เหมือนกันต้องค่อยๆศึกษากันไป ยังไงก็ฝากให้สมาชิกทุกคนลองคุยกันและนำความรู้มาแลกเปลี่ยนให้กับคนในชุมชนด้วย 2. สมาชิกยอมรับกันมากขึ้น จากเดิม ไม่ยอมรับ เพราะถือว่าไม่มีความรู้ ไม่ได้เรียนหนังสือ 3.กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในช่วงนี้คือ การปิดงวดรายงาน งวดที่ 1 ให้กับ สสส. โดยภาพรวมการพัฒนาหมู่บ้านผ่านไปประมาณ ร้อยละ 40 และขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ
กิจกรรมที่ต้องทำต่อหลังจากช่วงนี้คือ การทำนำ้หมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ขอให้ทุกท่านสมัครเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

ปิดประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า

  1. สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม 20 คนได้มีการพูดคุยและสรุปการเปลี่ยนแปลงในการทำกิจกรรม สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวม จากเดิมตัวใครตัวมันตอนนี้ช่วยกันทำมีการเรียนรุู้วิธีการลดหนี้โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
  2. คณะทำงานและประชาชนมีการพูดคุยกันมากขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนแนวคิดการดำเนินชีวิต
  3. มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม โดยการนำภูมิปํญญามาใช้ในการพัฒนาบ้านตนเอง ลดการใช้สารเคมี
  4. เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิด
  5. ประชาชนให้การยอมรับกันมากขึ้น จากเดิม ไม่ยอมรับ เพราะถือว่าไม่มีความรู้ ไม่ได้เรียนหนังสือ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 15 คน  ผู้สูงอายุ 5  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามผลการดำเนินงานงวดที่ 130 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงโครงการนัดพื้นที่ เพื่อมาเรียนรู้การเขียนรายงานเอกสารและรายงานการปิดงวดที่ 1 ดังนี้
1.ติดตามการรายงานผลการดำเนินงานตามเอกสารและปฏิทินของโครงการ สำหรับโครงการ ได้ทำครบตามกิจกรรม แต่ยังขาดความสมบูรณ์ในการบันทึกข้อมูล และกลุ่มเป้าหมายยังขาดความร่วมมือจากเยาวชน พบว่าช่วงนี้เยาวชนไปเรียนหนังสือ ทำกิจกรรมที่โรงเรียนมากเกิน ทำให้ไม่ได้มีโอกาสมาทำกิจกรรมร่วมกับโครงการ และขอให้ถึงเวลาปิดเทอม กลุ่มเยาวชน จะลงมาช่วยทำกิจกรรม ซึ่งประเด็นนี้พี่เลี้ยงรับทราบ
2.ติดตามตรวจสอบรายงานการเงิน พบว่า ยังมีหลายกิจกรรม ที่ยังเขียนใบเสร็จไม่ถุูกต้อง ให้ปรับแก้ไขใหม่ เช่น ไม่มีทะเบียนผู้เสียภาษีลายมือชื่อไม่ครบในกิจกรรม การขาดไปเพียง 1 - 2 คน ถือว่าไม่ครบ
3.การบันทึกภาพถ่ายยังไม่ได้บันทึก และเข้าใจว่าช่วงนี้ สัญญาณอินเตอร์เนต มีปัญหา โดยเฉพาะบริเวณช่องเขา พื้นที่ตั้งของชุมชน มีปัญหาอินเตอร์เนตจากมือถือ ได้แนะนำให้มาใช้บริการที่ รพสต.เขาพระบาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้ามาเรียนรู้การเขียนรายงานและการสรุปรายงานงวดที่ 1 2.ได้รับทราบปัญหาของโครงการ 3.โครงการได้ทำกิจกรรม มีความก้าวหน้าประมาณ ร้อยละ 60

ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจสอบความถูกต้องรายงานการเงิน มีความถูกต้องเพียงร้อยละ 60 ต้องปรับปรุงอีก ร้อยละ 40
2.ได้ตรวจสอบการเขียนรายงานบันทึกกิจกรรม พบว่า ยังเขียนไม่ละเอียด ให้ไปปรับปรุงเพิ่มเติม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตุัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ในการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ ยังไม่ลเอียด ไม่ชัดเจน  ในกิจกรรมที่ทำและ ผลลัพท์ที่เกิดขึ้น  แก้ไข โดยบันทึกเพิ่มเติม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามผลการดำเนินงานจากพี่เลี้ยงโครงการ30 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อดำเนินการจัดทำรายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงินเพื่อปิดงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

09.30น. ได้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน 10.30น. พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบหลักฐานการเงิน ตรวจสอบยอดเงินในโครงการและการบันทึกออนไลน์ และทำการบันทึกแก้ไขข้อผิดพลาด 11.30น. พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบหลักฐาน สมุดบัญชีธนาคารจะต้องทำกิจกรรมให้ได้ 60% พร้อมหลักฐานการจ่ายเงินภาษี 12.30น. พักรับประทานอาหารเที่ยง 13.30น. บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรม และสอบถามข้อปัญหา 16.30น. ปิดการอบรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า วันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม2 คน และพี่่เลี้ยงได้ตรวจความพร้อมของเอกสาร และทำความเข้าใจในการสรุปปิดงวดโครงการฯตัวแทนได้เรียนรู้และทำความเข้าใจการลงบันทึกบัญชี ได้ทราบถึงการบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์เรียนรู้การเขียนกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติยังไม่ชัดเจน มีการสอนแนะในการเพิ่มรูปของแต่ละกิจกรรม ส่ิงที่ตัวแทนเข้าใจมากขึ้นคือ การทำความเข้าใจของการปิดงวดและปิดบัญชีงวดที่ 1 นอกจากนั้นยังได้ได้เรียนรู้ระบบการทำงานงบประมาณของราชการเช่น การทำเอกสารทางเงินการเขียนบิล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และเจ้าหน้าที่การเงิน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ บางกิจกรรมยังบันทึกไม่ชัดเจน แก้ไขโดยการบันทึกเพิ่มเติมแล้ว และรายงานให้พี่เลี้ยงตรวจอีกครั้ง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ครั้งที่ 216 มกราคม 2559
16
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำนำ้ยาเอนกประสงค์ครั้งที่ 2ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์
กำหนดการกิจกรรม เวลา 9.00 – 10.30 น รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 10.30-11.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงพูดคุย เวลา 11.00-12.00 น.ปฎิบัติกิจกรรมการทำน้ำยาล้างจาน เวลา 12.00-13.00 น. พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-14.30 น.ปฎิบัติกิจกรรมการทำน้ำยาซักผ้า เวลา 14.00-15.00 น.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวลา 15.00-15.30 น.ปิดประชุมการทำกิจกรรม วาระที่ 1ผู้รับผิดชอบโครงการนางรัชนูมีชนะ กล่าวเปิดการประชุม เรื่องที่ 1ที่มาของงบประมาณโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียงเงินสนับสนุนมาจาก สสส.ซึ่งได้มาจากภาษีเหล้าและบุหรี่สนับสนุนมาเพื่อให้ชุมชนได้ทำกิจกรรมเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและกิจกรรมที่ทำในวันนี้คือการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ครั้งที่ 2

เรื่องที่ 2แนะนำวัสดุในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ซึ่งมี
1. N.701กก. /1ชุด 2. F.240.5 กก. / 1 ชุด 3. กลิ่นน้ำหอมสมุนไพร
4. น้ำมะนาว 1 ลิตร/1 ชุด 5. ผงฟอง 1ขีด/1 ชุด 6. ผงข้น 1ขีด/1 ชุด 7. น้ำด่างขี้เถ่า15 ลิตร / 1 ชุด วาระที่ 2 การเรียนรู้การทำน้ำยาล้างจานโดยนางขวัญใจ เนาว์สุวรรณ ให้ชาวบ้านแบ่งกลุ่ม 5-6 คน เพื่อเรียนรู้ ขั้นตอนที่1. นำผงฟองมาละลายกับน้ำอุ่นทิ้งไว้ ขั้นตอนที่2 นำ N 70 ลงในถังสีกวนไปในทางเดียวกันจนมีสีขาวนวลแล้วค่อยโรยเกลือลงไปโดยกวนไปทางเดียวกันถ้ารู้สึกหนักมือให้เติมน้ำลงไป แล้วค่อยๆโรยเกลือลงไปจนหมดแล้วใส่ F 24 ลงไป กวนเรื่อยๆ
ขั้นตอนที่3 เติมน้ำมะนาวลงไปแล้วกวนไปเรื่อยๆสลับกันเติมน้ำด่างขี้เถ่าหลังจากนั้นก็นำน้ำที่ละลายผงฟองไว้มาเติมลงไปแล้วก็ไปในทางเดียวกันเรื่อยๆสลับกันเติมน้ำด่างขี้เถ่าให้ได้ประมาณ15 ลิตรกวนไปในทางเดียวเรื่อยๆจนดูว่าส่วนผสมทั้งหมดละลายดีแล้วเติมหัวน้ำหอมลงไปจะเป็นน้ำยาล้างจานวันนี้จะใช้กลิ่นเลมอนสำหรับน้ำยาซักผ้าใช้กลิ่นลักษ์กวนไปเรื่อยๆประมาณ20 นาที หลังจากนั้นพักทิ้งไว้ จนฟองยุบแล้วค่อยแบ่งกันไปใช้ วาระที่ 3หลังจากเสร็จการเรียนรู้การทำน้ำยาล้างจานน้ำยาซักผ้าแล้วผู้ร่วมทำกิจกรรมทั้งหมดมาร่วมกันพูดคุยสนทนาความพึงพอใจ ความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรมในวันนี้ผลสรุปว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมในวันนี้และพร้อมที่จะนำไปทำใช้เองในครัวเรือนในครั้งต่อๆไปเพื่อเรียนรู้การลดหนี้ไปครับกัน เวลา 15.00 น.แบ่งน้ำยากับไปใช้และก็ปิดประชุมการทำกิจกรรมในวันนี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานาตามโครงการ สรุปได้ว่า กิจกรรมวันนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน มาเรียนรุ้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาเป็นส่วนผสม เป็นการลดการใช้สารเคมี และเรียนรู้การลดรายจ่ายของครัวเรือนในชีวิตประจำวัน เรียนรุู้การลดสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในครัวเรือนแทนการทำน้ำยาเอนกประสงค์ครั้งนี้ทำให้สมาชิกกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้รว่มกัน ได้พูดคุยระหว่างกัน ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีนอกจากนั้นสมาขิกกลุ่มยังมีความเอื้อเฟื้อ มีการแบ่งปันกันผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน เพราะหลังจากทำนน้ำยาเอนกประสงค์เสร็จ ได้มีการจัดแบ่งปันให้นำไปใช้ที่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน 20 คน  เยาวชน 20  คน  และผูที่สนใจ 40  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 49 มกราคม 2559
9
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านควนหนองหงษ์ ครั้งที่ 3
ผู้ใหญ่บ้าน นางศิริรัตน์นุราภักดิ์ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนก่อนจะเริ่มชี้แจงวาระการประชุม
วาระที่ 1 เวลา 13. 00 น. ผู้ใหญ่ศิริรัตน์นุราภักดิ์ เรื่องที่ 1 ราคายางพาราตกต่ำ และรัฐบาลอุดหนุนเงินชาวสวนพร้อมคนกรีดจำนวน 15 ไร่ ให้ชาวบ้านส่งรายชื่อพร้อมหลักบานเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นเกษตร เรื่องที่ 2 ประปาหมู่บ้าน ม.3 บ้านควนหนองหงส์จะปรับปรุงซ่อมแซมจุดต่างๆ เปลี่ยนเรื่องปั้มตัวใหม่ เรื่องที่ 3 กองทุนหมู่บ้าน รับสมัครฌาปณกิจหมู่บ้าน หลักฐาน สำเนาบัตรประชาชนสำเนาทะเบียนบ้าน ค่าสมัคร 610 บาท

วาระที่ 2 นายสุรินทร์มีชนะ รองนายก อบต. เรื่องที่ 1สถานการณ์ ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ที่มีวัยรุ่นมาสร้างความวุ่นวาย ขอให้ชาวบ้านได้ช่วยกันดูแล เรื่องที่ 2 พัฒนาชุมชนทำแผนประชาคมหมู่บ้านให้ชาวบ้านเสนอในที่ประชุม ว่าจะทำอะไรปรับปรุงอะไร เข้าทำแผนไว้ในงบประมาณปี 59
เรื่องที่ 3 เรื่องโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง ได้ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ จะหาแกนนำหมู่บ้านไปทัศนศึกษาดูงานที่สวนลุงนิล ในวันที่ 23-24 มกราคม 2559 ที่ จ.ชุมพร ซึ่งจะพาแกนนำคณะทำงานและผู้สนใจไปงานเพื่อเป็นการเรียนรู้การทำเกษตรพอเพียงให้นำมาปรับใช้ในแบบของควนหนองหงส์เองโดยให้สมาชิกเตรียมความพร้อมเตรียมจะเรียนรู้ให้มากที่สุดเพราะเราได้ไปดูขิงจริงที่เค้าทำอยู่และประสบความสำเร็จในการทำเกษตรแบบพอเพียง

วาระที่ 3 นางอนันต์ คลังจันทร์รองที่ปรึกษาเกษตรและสหกรณ์ เรื่องที่ 1 จัดตั้งคณะกรรมกราบริหารเรื่องดินที่กองอยู่ในสระน้ำหนองเตยเพื่อจำหน่ายดินนั้นมาปรับปรุงหอประชุมและสระน้ำ วาระที่ 4 นายนพรัตน์เนาว์สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3
เรื่องที่ 1 รายงานรายรับ-รายจ่าย ของประปาหมู่บ้านปี2558 จาก ม.ค.-ต.ค. 58 ยังค้างจ่ายยังไม่ได้เก็บ 2 เดือน พ.ย.-ธ.ค. ผลกำไรของหมู่บ้านอยู่ที่ 60000 บาท
เรื่องที่ 3 การขึ้นรางวัดที่ดิน ที่เปลี่ยนเป็นโฉนด ให้ผู้ที่ประสงค์ เตรียมหลักฐาน วาระที่ 5 ผูใหญ่บ้้านให้ชาวบ้าน ช่วยกันดูแลความสงบในหมู่บ้าน

วาระที่ 4 นางรัชนู มีชนะ สรุปผลการสำรวจข้อมูล ดังนี้

การดำเนินงานครั้งนี้ แบ่งการสำรวจออกเป็น 6 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 รับผิดชอบ 70 ครัวเรือน ชุดที่ 2 รับผิดชอบ 80 ครัวเรือน
ชุดที่ 3 รับผิดชอบ 75 ครัวเรือน ชุดที่ 4 รับผิดชอบ 80 ครัวเรือน ชุดที่ 5 รับผิดชอบ 75 ครัวเรือน ชุดที่ 6 รับผิดชอบ64 ครัวเรือนผลการสำรวจพบว่า มีครัวเรือนทั้งหมด 444 ครัวเรือน ประชากรเพศ ชาย 586 คน (ร้อยละ 49.70) เพศหญิง 593 คน (ร้อยละ 50.29) รวมประชากรทั้งหมด 1179 คนประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100
ข้อมูลประชากร ดังนี้
แรกเกิด – 5 ปี ทั้งหมด 87 คน ร้อยละ 7.38 เพศชาย 44 คน ร้อยละ 3.73 เพศหญิง 43 คน ร้อยละ 3.65
6 ปี – 10 ปี ทั้งหมด 65 คน ร้อยละ 5.51 เพศชาย 31 คน ร้อยละ 2.63 เพศหญิง 34 คน ร้อยละ 2.88
11 ปี – 15 ปี ทั้งหมด 73 คน ร้อยละ 6.19 เพศชาย 38 คน ร้อยละ 3.22 เพศหญิง 35 คน ร้อยละ 2.97
16 ปี – 20 ปี ทั้งหมด 75 คน ร้อยละ 6.36 เพศชาย 44 คน ร้อยละ 3.73 เพศหญิง 31 คน ร้อยละ 2.63
21 ปี – 25 ปี ทั้งหมด 99 คน ร้อยละ 8.40 เพศชาย 50 คน ร้อยละ 4.24 เพศหญิง 49 คน ร้อยละ 4.16
26 ปี – 30 ปี ทั้งหมด 109 คน ร้อยละ 9.25 เพศชาย 55 คน ร้อยละ 4.66 เพศหญิง 54 คน ร้อยละ 4.58
31 ปี – 35 ปี ทั้งหมด 119 คน ร้อยละ 10.09 เพศชาย 67 คน ร้อยละ 5.68 เพศหญิง 52 คน ร้อยละ 4.41
36 ปี – 40 ปี ทั้งหมด 95 คน ร้อยละ 8.06 เพศชาย 53 คน ร้อยละ 4.50 เพศหญิง 42 คน ร้อยละ 3.56
41 ปี – 45 ปี ทั้งหมด 102 คน ร้อยละ 8.65 เพศชาย 51 คน ร้อยละ 4.33 เพศหญิง 51 คน ร้อยละ 4.33
46 ปี – 50 ปี ทั้งหมด 73 คน ร้อยละ 6.19 เพศชาย 33 คน ร้อยละ 2.80 เพศหญิง 40 คน ร้อยละ 3.39
51 ปี – 55 ปี ทั้งหมด 63 คน ร้อยละ 5.34 เพศชาย 29 คน ร้อยละ 2.46 เพศหญิง 34 คน ร้อยละ 2.88
56 ปี – 60 ปี ทั้งหมด 64 คน ร้อยละ 5.43 เพศชาย 27 คน ร้อยละ 2.29 เพศหญิง 37 คน ร้อยละ 3.14
61 ปี – 65 ปี ทั้งหมด 59 คน ร้อยละ 5.00 เพศชาย 29 คน ร้อยละ 2.46 เพศหญิง 30 คน ร้อยละ 2.54
66 ปี – 70 ปี ทั้งหมด 26 คน ร้อยละ 2.21 เพศชาย 10 คน ร้อยละ 0.85 เพศหญิง 16 คน ร้อยละ 1.36
71 ปี – 75 ปี ทั้งหมด 32 คน ร้อยละ 2.71 เพศชาย 12 คน ร้อยละ 1.02 เพศหญิง 20 คน ร้อยละ 1.70
76 ปี – 80 ปี ทั้งหมด 20 คน ร้อยละ 1.70 เพศชาย 7 คน ร้อยละ 0.59 เพศหญิง 13 คน ร้อยละ 1.10
81 ปี ขึ้นไป ทั้งหมด 18 คน ร้อยละ 1.53 เพศชาย 6 คน ร้อยละ 0.51 เพศหญิง 12 คน ร้อยละ 1.02
รวม ทั้งหมด 1179 คน ร้อยละ 100.00 เพศชาย 586 คน ร้อยละ 49.70 เพศหญิง 593 คน ร้อยละ 50.30

สรุปผลจากการสำรวจ
1.ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เพศหญิง389คน 2. อายุเฉลี่ยของผู้ให้สัมภาษณ์47ปี 3. สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถามสมรส423คน 4. จำนวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน1179คน 5.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร439ครัว 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร365 ครัว 7. การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย29ครัวเรือน 8. รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพ เกษตร421 ครัวเรือน 9. รายได้เฉลี่ย 6,830 บาท/เดือน 10. การมีหนี้สินของครอบครัวในปัจจุบัน มีหนี้สิน413 ครัว
11. คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนรับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด 430 ครัว 12. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชน 354 ครัวเรือน 13.สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชนการเข้าวัดทำบุญ363 ครัว
14. ปัจจัยใดสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนของท่านเข้มแข็ง คือ การมีส่วนร่วม423 ครัว
15.ต้องการให้ชุมชนของมีการพัฒนาในด้านใด ด้านการมีส่วนร่วม400 ครัว
16. กิจกรรมใดของชุมชนที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดประเพณีสงกรานต์430 ครัว 17. ครัวเรือนของท่านมีผู้คุมกำเนิด จำนวน183ครัวเรือน
18. ในรอบปีที่ผ่านมา ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด เพียง 13คน
19. ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน87คน 20. ครอบครัวของท่านมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน155 คน
21. ในระยะ 5ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต จำนวน18 คน
22. ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน60ครอบครัว
23. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด คือ รพสต.381 ครอบครัว 24. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จำนวน63 คน
25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน จำนวน92 คน
26. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จำนวน40คน 27. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน270 คน 28. คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆไม่มี419ครอบครัว 29.คนในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นใด ไม่มี370 ครัว 30.ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ จำนวน 82 ครัว
31. ครัวเรือนท่านเคยได้รับความรู้ / ข่าวสารด้านสุขภาพและสาธารณสุข จากสื่อใดอสม.จำนวน 407 ครัว
32. บุคคลที่ให้ความรู้และข่าวสารด้านสุขภาพ ให้กับท่านและครอบครัวของท่านมากที่สุด คือใครอสม. 33. ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน จำนวน105ครัว
34. ครัวเรือนใช้น้ำดื่มจากแหล่งใดบ้างซื้อ จำนวน358 ครอบครัว 35. น้ำที่ใช้อุปโภคในครัวเรือนของท่านมีเพียงพอตลอดปี จำนวน420 ครอบครัว
36. ครัวเรือนมีถังขยะ จำนวน327ครอบครัว 37. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ เพียง163ครอบครัว
38. ครัวเรือนมีการปลูกพืชสมุนไพร เพียง221 ครอบครัว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้

  1. คณะทำงาน 30 คน ได้สำรวจครัวเรือน 444 ครัวเรือน มีประชากร 1179 คน
  2. มีฐานข้อมูลบ้านควนหนองหงส์จำนวน 1 ชุด และพบว่าครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย 6830 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติรายได้ครัวเรือน
  3. คณะทำงานได้เตรียมความพร้อมและวางแผนการทำงานร่วมกัน
  4. คณะทำงานได้ทราบข้อมุลที่เป็นจริงของพื้นที่บ้านหนองหงส์และนำข้อมูลมาเป็นแนวทางการพัฒนางานร่วมกัน
  5. มีภาคีเข้ามาร่วมทำงาน และได้ส่งมอบข้อมูลใหักับผู้นำชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 15 คน  ผู้สูงอายุ 5  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 627 ธันวาคม 2558
27
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งที่6 ซึ่งวันนี้เป็นการสำรวจครั้งสุดท้าย โดยมีกิจกรรมดังนี้ เวลา 9.00 – 9.30 น คณะทำงานพร้อมกันที่ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์ เวลา 10.00 – 12.00 น.ลงสำรวจข้อมูล เวลา 12.00-13.00 น.พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-15.30 น.ลงสำรวจข้อมูล วาระที่ 1
-แจกเอกสารประกอบการสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนให้กับทีมงานลงสำรวจข้อมูลชี้แจงกรอกข้อมูลในแต่ละข้อให้ทีมงานได้เข้าใจ -แบ่งกลุ่มสำรวจข้อมูลเป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 คน แยกย้ายกันไปสำรวจข้อมูลในแต่ละครัวเรือนตั้งเป้าหมายไว้ในวันนี้ให้ได้ 64 ครัวเรือน -ในแต่ละทีมลงสำรวจข้อมูลเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดต้องลงไปพูดกับผู้นำครอบครัวสมาชิกในบ้าน เพื่อให้เขาไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลกับโครงการ -หลังจากนั้นกลับมาพบกันอีกครั้งที่จุดนัดพบ เวลา 15.00 น. เพื่อวิเคราะห์การทำงานในวันวันนี้ เวลา15.00น.ทีมสำรวจข้อมูลมาพร้อมกันที่หอประชุมซึ่งเป็นจุดนัดพบ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงาน ครังนี้ พบว่า

  1. คณะทำงานได้ร่วมกันสำรวจข้อมูล 64 หลังคาเรือน โดยแบ่งออกเป็น 3 ทีม ทีมละ 10 คน
  2. คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลตามประเด็นที่ตนเองได้สำรวจในชุมฃน
  3. มีข้อมูลในชุมชน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคืนในชุมชน

สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจข้อมูล ชุดที่ 6จำนวน 64 ครัวเรือน พบข้อมูล ดังนี้

  1. เพศหญิง64 คน
  2. อายุเฉลี่ยของผู้ให้สัมภาษณ์43ปี
  3. สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถามสมรส64 คน
  4. จำนวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน296คน
  5. ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร64ครัว
  6. รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร50 ครัว
  7. การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย 6ครัวเรือน
  8. รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพ เกษตร60 ครัวเรือน
  9. รายได้เฉลี่ย 6,000 บาท/เดือน
  10. การมีหนี้สินของครอบครัวในปัจจุบัน มีหนี้สิน60 ครัว
  11. คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนรับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด 60 ครัว
  12. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชน60 ครัวเรือน
  13. สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชนการเข้าวัดทำบุญ60 ครัว
  14. ปัจจัยใดสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนของท่านเข้มแข็ง คือ การมีส่วนร่วม60 ครัว
  15. ต้องการให้ชุมชนของมีการพัฒนาในด้านใด ด้านการมีส่วนร่วม60 ครัว
  16. กิจกรรมใดของชุมชนที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดประเพณีสงกรานต์60 ครัว
  17. ครัวเรือนของท่านมีผู้คุมกำเนิด จำนวน29ครัวเรือน
  18. ในรอบปีที่ผ่านมา ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด เพียง 2คน
  19. ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน12คน
  20. ครอบครัวของท่านมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน45 คน
  21. ในระยะ 5ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต จำนวน3 คน
  22. ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน10ครอบครัว
  23. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด คือ รพสต.60 ครอบครัว
  24. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จำนวน10 คน
  25. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน จำนวน10 คน
  26. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จำนวน5คน
  27. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน30 คน
  28. คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆไม่มี50ครอบครัว
  29. คนในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นใด ไม่มี50 ครัว
  30. ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ จำนวน 10 ครัว
  31. ครัวเรือนท่านเคยได้รับความรู้ / ข่าวสารด้านสุขภาพและสาธารณสุข จากสื่อใดอสม.จำนวน 60 ครัว
  32. บุคคลที่ให้ความรู้และข่าวสารด้านสุขภาพ ให้กับท่านและครอบครัวของท่านมากที่สุด คือใครอสม.
  33. ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน จำนวน12ครัว
  34. ครัวเรือนใช้น้ำดื่มจากแหล่งใดบ้างซื้อ จำนวน60 ครอบครัว
  35. น้ำที่ใช้อุปโภคในครัวเรือนของท่านมีเพียงพอตลอดปี จำนวน60 ครอบครัว
  36. ครัวเรือนมีถังขยะ จำนวน50ครอบครัว
  37. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ เพียง40ครอบครัว
  38. ครัวเรือนมีการปลูกพืชสมุนไพร เพียง40 ครอบครัว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 30  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 526 ธันวาคม 2558
26
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 5 โดยมีกิจกรรมดังนี้ เวลา 9.00 – 9.30 น คณะทำงานพร้อมกันที่ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์ เวลา 9.30-10.00น. ชี้แจงสำรวจข้อมูล และสอบถามปัญหาหรืออุปสรรคจากการสำรวจที่ผ่านมา เวลา 10.00 – 12.00 น.ลงสำรวจข้อมูล เวลา 12.00-13.00 น.พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-15.30 น.ลงสำรวจข้อมูล วาระที่ 1
-แจกเอกสารประกอบการสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนให้กับทีมงานลงสำรวจข้อมูลชี้แจงกรอกข้อมูลในแต่ละข้อให้ทีมงานได้เข้าใจ -แบ่งกลุ่มสำรวจข้อมูลเป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 คน แยกย้ายกันไปสำรวจข้อมูลในแต่ละครัวเรือนตั้งเป้าหมายไว้ในวันนี้ให้ได้ 75 ครัวเรือน -ในแต่ละทีมลงสำรวจข้อมูลเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดต้องลงไปพูดกับผู้นำครอบครัวสมาชิกในบ้าน เพื่อให้เขาไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลกับโครงการ -หลังจากนั้นกลับมาพบกันอีกครั้งที่จุดนัดพบ เวลา 15.00 น. เพื่อวิเคราะห์การทำงานในวันวันนี้ เวลา15.00น.ทีมสำรวจข้อมูลมาพร้อมกันที่หอประชุมซึ่งเป็นจุดนัดพบ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการทำงานพบว่า
1. คณะทำงานมีการสำรวจข้อมูลในชุมชน 80 ครัวเรือน แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 10 คน
2. คณะทำงานมีความเข้าใจกันและเกิดความสามัคคี ตลอดจนได้เรียนรู้ว่าประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเพราะสอบถามข้อมูลใกล้ตัวและข้อมูลที่ทุกคนประสบปัญหาร่วมกัน
3. เกิดการยอมรับระหว่างกันมากขึ้นระหว่างครัวเรือนและกลุ่มที่เก็บข้อมูล

สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจข้อมูล ชุดที่ 5จำนวน 75 ครัวเรือน พบข้อมูล ดังนี้

  1. เพศหญิง70ครัว ชาย5คน
  2. อายุเฉลี่ยของผู้ให้สัมภาษณ์42ปี
  3. สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถามสมรส 70 คน
  4. จำนวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน342คน
  5. ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร75 ครัว
  6. รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร50 ครัว
  7. การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย 5ครัวเรือน
  8. รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพ เกษตร70 ครัวเรือน
  9. รายได้เฉลี่ย 6,600 บาท/เดือน
  10. การมีหนี้สินของครอบครัวในปัจจุบัน มีหนี้สิน65 ครัว
  11. คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนรับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด70 ครัว
  12. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชน60 ครัวเรือน
  13. สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชนการเข้าวัดทำบุญ60 ครัว
  14. ปัจจัยใดสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนของท่านเข้มแข็ง คือ การมีส่วนร่วม70 ครัว
  15. ต้องการให้ชุมชนของมีการพัฒนาในด้านใด ด้านการมีส่วนร่วม70 ครัว
  16. กิจกรรมใดของชุมชนที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดประเพณีสงกรานต์70 ครัว เดือนสิบ 59 ครัว
  17. ครัวเรือนของท่านมีผู้คุมกำเนิด จำนวน41ครัวเรือน
  18. ในรอบปีที่ผ่านมา ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด เพียง3คน
  19. ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน16คน
  20. ครอบครัวของท่านมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน51 คน
  21. ในระยะ 5ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต จำนวน5 คน
  22. ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน14ครอบครัว
  23. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด คือ รพสต.60 ครอบครัว
  24. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จำนวน13 คน
  25. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน จำนวน10 คน
  26. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จำนวน5คน
  27. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน31 คน
  28. คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆไม่มี70ครอบครัว
  29. คนในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นใด ไม่มี70 ครัว
  30. ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ จำนวน 15 ครัว
  31. ครัวเรือนท่านเคยได้รับความรู้ / ข่าวสารด้านสุขภาพและสาธารณสุข จากสื่อใดอสม.จำนวน 60 ครัว
  32. บุคคลที่ให้ความรู้และข่าวสารด้านสุขภาพ ให้กับท่านและครอบครัวของท่านมากที่สุด คือใครอสม.
  33. ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน จำนวน12ครัว
  34. ครัวเรือนใช้น้ำดื่มจากแหล่งใดบ้างซื้อ จำนวน60 ครอบครัว น้ำฝน15 ครอบครัว
  35. น้ำที่ใช้อุปโภคในครัวเรือนของท่านมีเพียงพอตลอดปี จำนวน70 ครอบครัว
  36. ครัวเรือนมีถังขยะ จำนวน51ครอบครัว
  37. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ เพียง40 ครอบครัว
  38. ครัวเรือนมีการปลูกพืชสมุนไพร เพียง41 ครอบครัว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 30  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 420 ธันวาคม 2558
20
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 4 โดยมีกิจกรรมดังนี้ เวลา 9.00 – 9.30 น คณะทำงานพร้อมกันที่ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์ เวลา 9.30-10.00น. ชี้แจงสำรวจข้อมูล และสอบถามปัญหาหรืออุปสรรคจากการสำรวจที่ผ่านมา เวลา 10.00 – 12.00 น.ลงสำรวจข้อมูล เวลา 12.00-13.00 น.พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-15.30 น.ลงสำรวจข้อมูล วาระที่ 1
-แจกเอกสารประกอบการสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนให้กับทีมงานลงสำรวจข้อมูลชี้แจงกรอกข้อมูลในแต่ละข้อให้ทีมงานได้เข้าใจ -แบ่งกลุ่มสำรวจข้อมูลเป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 คน แยกย้ายกันไปสำรวจข้อมูลในแต่ละครัวเรือนตั้งเป้าหมายไว้ในวันนี้ให้ได้ 80 ครัวเรือน -ในแต่ละทีมลงสำรวจข้อมูลเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดต้องลงไปพูดกับผู้นำครอบครัวสมาชิกในบ้าน เพื่อให้เขาไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลกับโครงการ -หลังจากนั้นกลับมาพบกันอีกครั้งที่จุดนัดพบ เวลา 15.00 น. เพื่อวิเคราะห์การทำงานในวันวันนี้ เวลา15.00น.ทีมสำรวจข้อมูลมาพร้อมกันที่หอประชุมซึ่งเป็นจุดนัดพบ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการทำกิจกรรม พบว่า

  1. คณะทำงานได้ร่วมกันสำรวจข้อมูล 80 ครัวเรือน แบ่งออกเป็น 3 ทีม ทีมละ 10 คน
  2. คณะทำงานได้รับรุ้ข้อมูลชุมชนโดยภาพรวม พบว่าปัจจุบันทุกครัวเรือนกำลังปัญหาหนี้สิน
  3. ปัญหาที่พบในลำดับรองลงมาคือ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน ยังไม่ถูกต้อง

สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจข้อมูล ชุดที่4จำนวน80 ครัวเรือน พบข้อมูล ดังนี้

  1. เพศหญิง73ครัว ชาย7คน
  2. อายุเฉลี่ยของผู้ให้สัมภาษณ์49ปี
  3. สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถามสมรส 68 คน
  4. จำนวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน356คน
  5. ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร80 ครัว
  6. รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร60 ครัว
  7. การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย4ครัวเรือน
  8. รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพ เกษตร72 ครัวเรือน
  9. รายได้เฉลี่ย 6,500 บาท/เดือน
  10. การมีหนี้สินของครอบครัวในปัจจุบัน มีหนี้สิน75 ครัว
  11. คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนรับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด80 ครัว
  12. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชน61 ครัวเรือน
  13. สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชนการเข้าวัดทำบุญ62 ครัว
  14. ปัจจัยใดสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนของท่านเข้มแข็ง คือ การมีส่วนร่วม74 ครัว
  15. ต้องการให้ชุมชนของมีการพัฒนาในด้านใด ด้านการมีส่วนร่วม75 ครัว
  16. กิจกรรมใดของชุมชนที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดประเพณีสงกรานต์75 ครัว เดือนสิบ 75 ครัว
  17. ครัวเรือนของท่านมีผู้คุมกำเนิด จำนวน 43ครัวเรือน
  18. ในรอบปีที่ผ่านมา ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด เพียง2คน
  19. ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน6คน
  20. ครอบครัวของท่านมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน21 คน
  21. ในระยะ 5ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต จำนวน3 คน
  22. ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน6ครอบครัว
  23. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด คือ รพสต.67 ครอบครัว
  24. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จำนวน10 คน
  25. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน จำนวน13 คน
  26. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จำนวน 6คน
  27. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน36 คน
  28. คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆไม่มี80ครอบครัว
  29. คนในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นใด ไม่มี80 ครัว
  30. ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ จำนวน 16 ครัว
  31. ครัวเรือนท่านเคยได้รับความรู้ / ข่าวสารด้านสุขภาพและสาธารณสุข จากสื่อใดอสม.จำนวน 67 ครัว
  32. บุคคลที่ให้ความรู้และข่าวสารด้านสุขภาพ ให้กับท่านและครอบครัวของท่านมากที่สุด คือใครอสม.
  33. ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน จำนวน17ครัว
  34. ครัวเรือนใช้น้ำดื่มจากแหล่งใดบ้างซื้อ จำนวน60 ครอบครัว น้ำฝน15 ครอบครัว
  35. น้ำที่ใช้อุปโภคในครัวเรือนของท่านมีเพียงพอตลอดปี จำนวน70 ครอบครัว
  36. ครัวเรือนมีถังขยะ จำนวน54ครอบครัว
  37. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ เพียง39 ครอบครัว
  38. ครัวเรือนมีการปลูกพืชสมุนไพร เพียง43 ครอบครัว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 30  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 30  คน

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 319 ธันวาคม 2558
19
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3 โดยมีกิจกรรมดังนี้

เวลา 9.00 – 9.30 น คณะทำงานพร้อมกันที่ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์ เวลา 9.30-10.00น. ชี้แจงสำรวจข้อมูล และสอบถามปัญหาหรืออุปสรรคจากการสำรวจที่ผ่านมา เวลา 10.00 – 12.00 น.ลงสำรวจข้อมูล เวลา 12.00-13.00 น.พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-15.30 น.ลงสำรวจข้อมูล วาระที่ 1
-แจกเอกสารประกอบการสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนให้กับทีมงานลงสำรวจข้อมูลชี้แจงกรอกข้อมูลในแต่ละข้อให้ทีมงานได้เข้าใจ -แบ่งกลุ่มสำรวจข้อมูลเป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 คน แยกย้ายกันไปสำรวจข้อมูลในแต่ละครัวเรือนตั้งเป้าหมายไว้ในวันนี้ให้ได้75 ครัวเรือน -ในแต่ละทีมลงสำรวจข้อมูลเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดต้องลงไปพูดกับผู้นำครอบครัวสมาชิกในบ้าน เพื่อให้เขาไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลกับโครงการ -หลังจากนั้นกลับมาพบกันอีกครั้งที่จุดนัดพบ เวลา 15.00 น. เพื่อวิเคราะห์การทำงานในวันวันนี้ เวลา15.00น.ทีมสำรวจข้อมูลมาพร้อมกันที่หอประชุมซึ่งเป็นจุดนัดพบ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงาน พบว่า

  1. วันนี้ได้สำรวจข้อมูลในชุมชน จำนวน 75 ครัว แบ่งทีมทำงานออกเป็น 3 ชุด ชุดละ 10 คน
  2. คณะทำงานได้มีการเรียนรู้ มีการสอนงานและช่วยเหลือกันมากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้นและมีความสามัคคีกันมากขึ้น
  3. คณะทำงาน ได้มองเห็นข้อมูลที่เป็นปัญหาของชุมชน
  4. การทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการเอื้อเฟื้อ เห็นใจ และช่วยเหลือกันในการลงสำรวจ ทำให้สำรวจได้เร็วขึ้น มีเทคนิคในการทำงาน

สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจข้อมูล ชุดที่3จำนวน 75 ครัวเรือน พบข้อมูล ดังนี้
1. เพศหญิง70ครัว ชาย5 คน

  1. อายุเฉลี่ยของผู้ให้สัมภาษณ์ 56 ปี
  2. สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถามสมรส71 คน
  3. จำนวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน301 คน
  4. ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร70 ครัว
  5. รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร65 ครัว
  6. การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย6 ครัวเรือน
  7. รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพ เกษตร 71 ครัวเรือน
  8. รายได้เฉลี่ย 6,800 บาท/เดือน
  9. การมีหนี้สินของครอบครัวในปัจจุบัน มีหนี้สิน 70 ครัว
  10. คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนรับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด70 ครัว
  11. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชน56 ครัวเรือน
  12. สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชนการเข้าวัดทำบุญ56 ครัว
  13. ปัจจัยใดสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนของท่านเข้มแข็ง คือ การมีส่วนร่วม70 ครัว
  14. ต้องการให้ชุมชนของมีการพัฒนาในด้านใด ด้านการมีส่วนร่วม75 ครัว
  15. กิจกรรมใดของชุมชนที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดประเพณีสงกรานต์75 ครัว เดือนสิบ 75 ครัว
  16. ครัวเรือนของท่านมีผู้คุมกำเนิด จำนวน 32 ครัวเรือน
  17. ในรอบปีที่ผ่านมา ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด เพียง 1คน
  18. ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน4คน
  19. ครอบครัวของท่านมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 13 คน
  20. ในระยะ 5ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต จำนวน2 คน
  21. ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 8ครอบครัว
  22. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด คือ รพสต.70 ครอบครัว
  23. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จำนวน10 คน
  24. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน จำนวน 16 คน
  25. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จำนวน 5 คน
  26. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน56 คน
  27. คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆไม่มี70ครอบครัว
  28. คนในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นใด ไม่มี70 ครัว
  29. ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ จำนวน 10 ครัว
  30. ครัวเรือนท่านเคยได้รับความรู้ / ข่าวสารด้านสุขภาพและสาธารณสุข จากสื่อใดอสม.จำนวน 70 ครัว
  31. บุคคลที่ให้ความรู้และข่าวสารด้านสุขภาพ ให้กับท่านและครอบครัวของท่านมากที่สุด คือใครอสม.
  32. ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน จำนวน12ครัว
  33. ครัวเรือนใช้น้ำดื่มจากแหล่งใดบ้างซื้อ จำนวน50 ครอบครัว น้ำฝน25 ครอบครัว
  34. น้ำที่ใช้อุปโภคในครัวเรือนของท่านมีเพียงพอตลอดปี จำนวน70 ครอบครัว
  35. ครัวเรือนมีถังขยะ จำนวน51ครอบครัว
  36. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ เพียง32 ครอบครัว
  37. ครัวเรือนมีการปลูกพืชสมุนไพร เพียง32 ครอบครัว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 30  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 213 ธันวาคม 2558
13
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2 โดยมีกิจกรรมดังนี้ เวลา 9.00 – 9.30 น คณะทำงานพร้อมกันที่ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์ เวลา 9.30-10.00น. ชี้แจงสำรวจข้อมูล เวลา 10.00 – 12.00 น.ลงสำรวจข้อมูล เวลา 12.00-13.00 น.พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-15.30 น.ลงสำรวจข้อมูล วาระที่ 1
-แจกเอกสารประกอบการสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนให้กับทีมงานลงสำรวจข้อมูลชี้แจงกรอกข้อมูลในแต่ละข้อให้ทีมงานได้เข้าใจ -แบ่งกลุ่มสำรวจข้อมูลเป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 คน แยกย้ายกันไปสำรวจข้อมูลในแต่ละครัวเรือนตั้งเป้าหมายไว้ในวันนี้ให้ได้80 ครัวเรือน -ในแต่ละทีมลงสำรวจข้อมูลเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดต้องลงไปพูดกับผู้นำครอบครัวสมาชิกในบ้าน เพื่อให้เขาไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลกับโครงการ -หลังจากนั้นกลับมาพบกันอีกครั้งที่จุดนัดพบ เวลา 15.00 น. เพื่อวิเคราะห์การทำงานในวันวันนี้ เวลา15.00น.ทีมสำรวจข้อมูลมาพร้อมกันที่หอประชุมซึ่งเป็นจุดนัดพบ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการวันนี่ สรุปได้ว่า

  1. มีการสำรวจข้อมูลในชุมชน จำนวน 80 ครัวเรือนแบ่งออกเป็น 3 ทีม ทีมละ 10 คน
  2. คณะทำงานได้นำข้อมูลที่สำรวจได้ร่วมกันมาสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน
  3. ทีมงานมีการเสนอแนะ มีการสอนระหว่างกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และมีการยอมรับกันมากขึ้นในหมู่คณะ

สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจข้อมูล ชุดที่2 จำนวน80 ครัวเรือน พบข้อมูล ดังนี้

  1. เพศหญิง70 ครัว ชาย 10 คน
  2. อายุเฉลี่ยของผู้ให้สัมภาษณ์ 50 ปี
  3. สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถามสมรส 80 คน
  4. จำนวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน312 คน 5.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 80 ครัว 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร70 ครัว
  5. การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย3 ครัวเรือน
  6. รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพ เกษตร 78 ครัวเรือน
  7. รายได้เฉลี่ย7,400 บาท/เดือน
  8. การมีหนี้สินของครอบครัวในปัจจุบัน มีหนี้สิน 73 ครัว
  9. คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนรับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด 80 ครัว
  10. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชน61 ครัวเรือน 13.สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชนการเข้าวัดทำบุญ 60 ครัว
  11. ปัจจัยใดสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนของท่านเข้มแข็ง คือ การมีส่วนร่วม 79 ครัว
    15.ต้องการให้ชุมชนของมีการพัฒนาในด้านใด ด้านการมีส่วนร่วม 65 ครัว
  12. กิจกรรมใดของชุมชนที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดประเพณีสงกรานต์ 80 ครัว เดือนสิบ 75 ครัว
  13. ครัวเรือนของท่านมีผู้คุมกำเนิด จำนวน 35 ครัว
  14. ในรอบปีที่ผ่านมา ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด เพียง3คน
  15. ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน 10 คน
  16. ครอบครัวของท่านมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 22 คน
  17. ในระยะ 5ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต จำนวน5 คน
  18. ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 12 ครอบครัว
  19. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด คือ รพสต.75 ครอบครัว
  20. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จำนวน10 คน
    25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน จำนวน 26 คน
  21. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จำนวน 6 คน
  22. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน 61 คน
  23. คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆไม่มี80ครอบครัว 29.คนในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นใด ไม่มี80 ครัว 30.ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ จำนวน 12 ครัว
  24. ครัวเรือนท่านเคยได้รับความรู้ / ข่าวสารด้านสุขภาพและสาธารณสุข จากสื่อใดอสม.จำนวน 80 ครัว
  25. บุคคลที่ให้ความรู้และข่าวสารด้านสุขภาพ ให้กับท่านและครอบครัวของท่านมากที่สุด คือใครอสม.
  26. ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน จำนวน30 ครัว
  27. ครัวเรือนใช้น้ำดื่มจากแหล่งใดบ้างซื้อ จำนวน78 ครอบครัว น้ำฝน 12 ครอบครัว
  28. น้ำที่ใช้อุปโภคในครัวเรือนของท่านมีเพียงพอตลอดปี จำนวน80 ครอบครัว
  29. ครัวเรือนมีถังขยะ จำนวน 60 ครอบครัว
  30. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ เพียง25 ครอบครัว
  31. ครัวเรือนมีการปลูกพืชสมุนไพร เพียง35 ครอบครัว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 30คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 112 ธันวาคม 2558
12
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลโดยมีกิจกรรมดังนี้ บันทึกวาระการประชุม
เวลา 9.00 – 9.30 น รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน เวลา 9.30-10.00น. ชี้แจงสำรวจข้อมูล เวลา 10.00-12.00 น.พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-15.30 น.ลงสำรวจข้อมูล วาระที่ 1
-แจกเอกสารประกอบการสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนให้กับทีมงานลงสำรวจข้อมูลชี้แจงกรอกข้อมูลในแต่ละข้อให้ทีมงานได้เข้าใจ -แบ่งกลุ่มสำรวจข้อมูลเป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 คน แยกย้ายกันไปสำรวจข้อมูลในแต่ละครัวเรือนตั้งเป้าหมายไว้ในวันนี้ให้ได้ 70 ครัวเรือน -ในแต่ละทีมลงสำรวจข้อมูลเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดต้องลงไปพูดกับผู้นำครอบครัวสมาชิกในบ้าน เพื่อให้เขาไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลกับโครงการ -หลังจากนั้นกลับมาพบกันอีกครั้งที่จุดนัดพบ เวลา 15.00 น. เพื่อวิเคราะห์การทำงานในวันวันนี้ เวลา15.00น.ทีมสำรวจข้อมูลมาพร้อมกันที่หอประชุมซึ่งเป็นจุดนัดพบ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานผลปรากฏว่าชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเพื่อเป็นข้อมูลของโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า

  1. มีกลุ่มเป้าหมายร่วมสำรวข้อมูล 30 คน แบ่งการทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน จำนวน 75 ครัวเรือน
  2. ได้สร้างกระบวนการให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลในชุมชน
  3. คณะทำงานได้เรียนรู้ทีมงานด้วยกัน ส่งผลให้เกิดมีความสามัคคีกัน
  4. เดิมการทำงานไม่มีการรวมกลุ่ม แต่ตอนนี้มีการรวมกลุ่ม มีการพูดคุยทำให้เกิดการยอมรับกันมากขึ้นในหมู่คณะ

สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจข้อมูล ชุดที่ 1 จำนวน 70 ครัวเรือน พบข้อมูล ดังนี้

  1. เพศหญิง 51 ครัว ชาย 19 คน
  2. อายุเฉลี่ยของผู้ให้สัมภาษณ์ 52 ปี
  3. สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถามสมรส 70 คน
  4. จำนวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน 255 คน 5.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 70 ครัว 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร 70 ครัว
  5. การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย 5 ครัวเรือน
  6. รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพ เกษตร 70 ครัวเรือน
  7. รายได้เฉลี่ย8,000 บาท/เดือน
  8. การมีหนี้สินของครอบครัวในปัจจุบัน มีหนี้สิน 70 ครัว
  9. คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนรับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด 70 ครัว
  10. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชน56 ครัวเรือน 13.สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชนการเข้าวัดทำบุญ 60 ครัว
  11. ปัจจัยใดสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนของท่านเข้มแข็ง คือ การมีส่วนร่วม 70 ครัว
    15.ต้องการให้ชุมชนของมีการพัฒนาในด้านใด ด้านการมีส่วนร่วม 55 ครัว
  12. กิจกรรมใดของชุมชนที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุดประเพณีสงกรานต์ 70 ครัว เดือนสิบ 52 ครัว
  13. ครัวเรือนของท่านมีผู้คุมกำเนิดจำนวน 33 ครัว
  14. ในรอบปีที่ผ่านมา ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด เพียง 2 คน
  15. ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน 11 คน
  16. ครอบครัวของท่านมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 45 คน
  17. ในระยะ 5ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต จำนวน 2 คน
  18. ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 10 ครอบครัว
  19. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด คือ รพสต. 49 ครอบครัว
  20. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จำนวน 11 คน
    25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน จำนวน 24 คน
  21. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จำนวน 8 คน
  22. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน 56 คน
  23. คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆไม่มี 69 ครอบครัว 29.คนในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นใด หรือไม่ ไม่มี 70 ครัว 30.ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ จำนวน 15 ครัว
  24. ครัวเรือนท่านเคยได้รับความรู้ / ข่าวสารด้านสุขภาพและสาธารณสุข จากสื่อใดอสม.จำนวน 70 ครัว
  25. บุคคลที่ให้ความรู้และข่าวสารด้านสุขภาพ ให้กับท่านและครอบครัวของท่านมากที่สุด คือใครอสม.
  26. ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน จำนวน 22 ครัว
  27. ครัวเรือนใช้น้ำดื่มจากแหล่งใดบ้างซื้อ จำนวน 50 ครอบครัว น้ำฝน 20 ครอบครัว
  28. น้ำที่ใช้อุปโภคในครัวเรือนของท่านมีเพียงพอตลอดปี จำนวน 70 ครอบครัว
  29. ครัวเรือนมีถังขยะ จำนวน 61 ครอบครัว
  30. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ เพียง 20 ครอบครัว
  31. ครัวเรือนมีการปลูกพืชสมุนไพร เพียง 15 ครอบครัว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 30คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 39 ธันวาคม 2558
9
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านควนหนองหงษ์ ครั้งที่ 3
ผู้ใหญ่บ้าน นางศิริรัตน์นุราภักดิ์ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนก่อนจะเริ่มชี้แจงวาระการประชุม 1.การขึ้นทะเบียนสวนยางของตำบล 2.การทำโฉนดที่ดินของชุมชนใน ม.3ที่ตกค้างอยู่ 3.ไข้เลือดออกในหมู่บ้านที่ต้องเฝ้าระวัง 4.การจับปลาด้วยโพงพาง-ช๊อตปลา มีโทษหนักปรับ 5000 บาท โดยกฎหมาย คสช. คำสั่งวันที่ 29 ต.ค.58 5.นายทุนปล่อยเงินกู้ การขึ้นภาษีน้ำมันเถื่อน การพนันบอล 6.การค้าประเวณี การคุ้มครองเรียกค่าเสียหาย คณะ คสช. มาตรวจในเขตพื้นที่
7.การทำโครงการ ของสสส.ของบ้านหนองหงษ์นางรัชนู ได้เล่าให้ฟังว่า กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้วประกอบด้วย
-การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมไปแล้ว ครั้งที่ 1 มีกลุ่มเป้าหมาย 80 คน ได้ร่วมกันทำน้ำยาเอนกประสงค์ และแจกจ่ายให้ทุกบ้าน นำไปใช้ เสียงตอบรับทุกคนเห็นด้วย เป็นการเรียนรู้การ ดรายจ่ายในครัวเรือน เรียนรู้การลดใช้สารเคมี และทุกคนอยากจะทำต่อเนื่อง
- แบบสำรวจสุขภาพชุมชน เป็นแบบสำรวจประกอบด้วยคำถาม 5 ส่วน จำนวน 96 ข้อดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลประชากรในครัวเรือนข้อที่ 1 - 3
ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและประเพณี ข้อที่ 4 - 21
ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ข้อที่ 22 - 26
ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการปลูกพืชผักสมุนไพรในครัวเรือนข้อที่ 27 - 50
ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนข้อที่ 51 - 86

-กำหนดแบ่งพื้นที่ในการสำรวจข้อมูล แบ่งเป็น 6 ชุด ดังนี้
ชุดที่ 1 รับผิดชอบ 70 ครัวเรือน
ชุดที่ 2 รับผิดชอบ 80 ครัวเรือน
ชุดที่ 3 รับผิดชอบ 75 ครัวเรือน
ชุดที่ 4 รับผิดชอบ 80 ครัวเรือน
ชุดที่ 5 รับผิดชอบ 75 ครัวเรือน
ชุดที่ 6 รับผิดชอบ64 ครัวเรือน

เพิ่มเติม
รองนายก อ.บ.ต. นายสุรินทร์ มีชนะ 1.เรื่องน้ำประปาในหมู่บ้าน ไม่มีการพักน้ำ ค่าซ่อมบำรุงค่าซ่อมไม่มีการจ่ายค่าแรงงานแก่ช่างซ่อมบำรุง นายปรีชา สิทธิ์ศักดิ์ กรรมการหมู่บ้านหมู่ที่3 1.การกำหนดส่งเงินกู้กองทุนหมู่บ้าน ในวันที่ 15 ธ.ค.58 เวลา 09.00-12.00 น. 2.การทำสัญญาเงินกู้ เจ้าตัวต้องอยู่ในการทำสัญญาในวันที่เขียนหนังสือเงินกู้ 3.เงิน 1 ล้านเข้ามาใหม่ คณะกรรมการทำสัญญากับธนาคารออมสินคณะกรรมการ 1 แสน คณะทำงานค้ำประกันกับธนาคาร ใช้กฎกติกาของเงินล้านเก่า ใช้สมุดเงินฝากเดิมในการฝาก พิจารณาเป็นรายบุคคล และเชิญชวนชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมกิจกรรมตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม 2559 เวลา 07.00 น. ใน สำนักสงฆ์หงส์สุรินทรฆราวาสผู้ใหญ่บ้านปิดวาระการประชุม เวลา 15.30 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงานวันนี้1. ได้มีการวางแผนการทำงานเป็นลำดับและกำหนดกลุ่มในการสำรวจข้อมูล2.มีการบอกความก้าวหน้าของกิจกรรมและประเมินติดตามผลงานในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง 3.จากผลการดำเนินงานโครงการสรุปได้ว่าตอนนี้ได้มีการทำกิจกรรม หลังจากเปิดโครงการไปแล้ว คือการประชุมจัดตั้งสภาผู้นำของบ้านควนหนองหงษ์ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด25คนตามที่ได้เลือกกันมาแล้วในการประชุมครั้งที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ และออกแบบสำรวจข้อมูลเพื่อสำรวจข้อมูลในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 15 คนผู้สูงอายุ 5คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การติดตามโครงการจาก สจรส.มอ7 ธันวาคม 2558
7
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อความเข้าใจในการทำโครงการ และการทำรายงานที่ถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรม ที่เกิดขึ้น และไปพบ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เรียนรู้; 1.การเขียนรายงานและการเงิน การบันทึก รายงานลงโปรแกรม การประเมินผล คุณภาพกิจกรรม 2.การเก็บรวมรายงานใน 1กิจกรรม เอกสาร -รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม -ใบเสร็จรับเงิน 1ใบเสร็จ -สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับเงิน 2.2 การจ่ายภาษี  เอกสารทางภาษี 2.3การเขียนรายงาน บันทึกการทำกิจกรรมลงในเว็บไซต์ 3.การหักภาษี ออกภาษีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ภงด.3 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินกิจกรรมวันนี้ สรุปได้ว่า 1. เข้าร่วมกิจกรรมของ สสส.โดยการติดตามการทำโครงการของพี่เลี้ยง 2. เข้าใจการเขียนรางงาน 3. การเรียนรู้การทำรายงาน เรียนรู้การทำรายงานการเงิน เรียนรู้การหักภาษี ณ ที่จ่าย 4. เข้าใจการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกเวปไซด์และทำรายงาน สังเคราะห์ข้อมูล7 ธันวาคม 2558
7
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยง สจรส.มอ. ร่วมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มาสอนการเขียนรายงานและการจัดทำรายงานการเงิน  ทีี่มหาวิทยาลัยวลัยลัก 1.การเขียนรายงานต้องมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียน การเขียนรายงานมีทั้งการบันทึก การทำ mind map สอนให้เขียนผลลัพธ์ ผลผลิต วิธีการจะได้มาซึ่งผลงาน ต้องทำการสนทนากลุ่ม มีการวิเคราะห์ผล การรวบรวมและต้องมีการบันทึกข้อมูลการเขียนรายงานเพื่อป้องกันความผิดพลาด วิธีการที่ที่สุดในการเขียนผลลัพธ์คือการถอดบทเรียนในการดำเนินงาน 2.การเขียนรายงานเวปไซด์ ให้ทุกโครงการเข้าไปทำการ log in เข้าโปรแกรม ไปโครงการในความรับผิดชอบ และไปเมนู รายงานผู้รับผิดชอบ ให้ไปคลิกบันทึกซึ่งมีการจัดทำปฏิทินโครงการไว้แล้วให้บันทึกชื่อกิจกรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและขั้นตอนการทำงานให้บรรยายให้ละเอียด เล่าถึงกระบวนการทำงานผลลิตที่ได้ หรือสิ่งทีเกิดจากการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ และงบประมาณในการดำเนินงาน
3.การโหลดภาพกิจกรรม ให้โหลดภาพประมาณ 5 ภาพในการทำกิจกรรม การถ่ายภาพให้สื่อถึงกิจกรรมที่ดำเนินงาน 4.ผลผลิต เป็นผลทีเกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรมครั้งนั้น เช่น ผู้เข้าร่วมประชุมกี่คน ผู้ผ่านการอบรมกี่ครั้ง ครัวเรือนปลูกผักไว้กินเองกี่ครัวเรือน
5.ผลลัพธ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังการอบรมมีประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมกี่คน
6.การเขียนให้เชื่อมโยงสุขภาวะ เป็นการเชื่อมโยงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต ปัญญาและสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล โดยครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะบุคคล แต่ครอบคลุมไปยังครอบครัว ชุมชนและสาธารณะ การจัดทำรายงานการเงิน ให้คำนึงดังนี้
1.ถ้ามีการจ้างทำอาหาร เอกสารที่ควรมีประกอบด้วยรายชื่อคนเข้าร่วมกิจกรรม ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ สำเนาบัตรประชาชน เอกสารหักภาษีภาพถ่ายและรายงานกิจกรรม 2.ค่าตอบแทนวิทยากร ถ้าเกิน 1000 บาทให้หักภาษีด้วย 3.ค่าจ้างทำป้าย ให้ใช้ใบเสร็จจากทางร้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมาย 2 คน ได้เรียนรู้การเขียนรายงาน การทำรายงานการเงิน 2.กลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีการเขียนผลลัพธ์และผลผลิต 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเขียนหลักฐานทางการเงิน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกการจัดเอกสารและมีการปรับแก้ให้ถูกต้อง
2.กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและสามารถสอนทีมงานได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการเข้าร่วมประชุม 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ออกแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ครั้งที่ 229 พฤศจิกายน 2558
29
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม การออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินครัวเรือน ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์ โดยมีกิจกรรมดังนี้ เวลา 9.00 – 10.30 น รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และ นางศิริรัตน์นุราภักดิ์ผู้ใหญ่บ้าน เปิดประชุม เรื่องการ ออกแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือนครั้งที่ 2และพบปะพูดคุยกับคณะทำงาน เวลา 10.00-12.00 น. ร่างแบบฟอร์มชุดออกแบบสำรวจข้อมูล เวลา 12.00-13.00 น.รับประทานอาหาร เวลา 13.00-14.00 น.ทบทวนแบบสำรวจข้อมูล เวลา 14.00-14.30น.พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 14.30-15.30 น.ออกแบบสำรวจข้อมูลที่สำเร็จรูป วาระที่ 2 ร่างแบบฟอร์มเป็นข้อ เพื่อพิมพ์เป็นแบบฟอร์ม การสำรวจข้อมูล หนี้ครัวเรือน -คำชี้แจงเหตุผล การออกแบบสำรวจข้อมูล เหตุผลทำไมต้องสำรวจข้อมูล -ข้อมูลผู้ตอบแทนสอบถาม ชื่อ-สกุล บ้านเลขที่ สมาชิกในครัวเรือนอาชีพ การศึกษา อายุ -ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณีข้อมูลด้านการเงิน รายได้-รายรับ จำนวนหนี้สินการเข้าร่วมกับชุมชนในเรื่องประเพณี กิจกรรมในหมู่บ้าน
-ข้อมูลสภาวะสุขภาพมีโรคประจำตัวหรือไม่ ความวิตกกังวล ในโรคที่เป็น ความปลอดภัย ในการดำรงชีวิต -ความมั่นคงทางดานอาหารและเครื่องดื่มบ้านคงทนถาวรหรือไม่ อาหารการกินมีเพียงพอหรือไม่น้ำดื่ม-น้ำใช้เพียงพอหรือไม่ วาระที่ 3 ได้ชุดแบบฟอร์มสำรวจชุมชนบ้านควนหนองหงษ์บ้านควนหนองหงส์ ที่สามารถนำไปสำรวจข้อมูลชุมชนได้แล้ว

แบบสำรวจสุขภาพชุมชน บ้านควนหนองหงส์
แบบสำรวจนี้ประกอบด้วยคำถาม 5 ส่วน จำนวน 86 ข้อ ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลประชากรในครัวเรือน ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและประเพณี ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการปลูกพืชผักสมุนไพรในครัวเรือน ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลด้านประชากรในครัวเรือน 1. ที่อยู่ปัจจุบัน
2. เพศของผู้ให้สัมภาษณ์ 3. อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ ……….. ปี
4. สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
5. ชื่อ-สกุลผู้สัมภาษณ์…………………………..………………….…..เลขบัตรประชาชน........................

1.2 ข้อมูลด้านประชากรในครัวเรือน 1. จำนวนสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือน จำนวน................คนแยกเป็น 2. จำนวนผู้อาศัยที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ...............คนแยกเป็นหญิง................คน ชาย................ คน
3. จำนวนผู้อาศัยอยู่ในบ้านจริง..............คน แยกเป็นหญิง.........คน ชาย........คน(ต้องอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน)
ส่วนที่ 2 ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี 4. ในครัวเรือนของท่านมีการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรหรือไม่ (ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา)
5. ในรอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนของท่านติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตรอะไรบ้าง
6. การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย 7. ขณะนี้ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพหรือไม่ (ทุน/ เทคโนโลยี /โรคระบาด)
8. รายได้หลักของครอบครัวท่านมาจากอาชีพอะไร
9. รายได้ของครอบครัว รายได้ .........................บาท/เดือนรายได้เฉลี่ย...............................บาท/ปี 10. การมีหนี้สินของครอบครัวในปัจจุบัน
11. ครอบครัวท่านมีที่ดินทำกินหรือไม่
12. คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนของท่านได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
13. คนในครอบครัวของท่านมีบทบาทเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนหรือไม่ 14. เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด 15. ท่านคิดว่ากิจกรรมการรวมกลุ่มในชุมชนที่ท่านเข้าร่วมมากที่สุด สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้มากน้อยเพียงใด
16. ท่านคิดว่าชุมชนของท่านมีปัญหาต่อไปนี้หรือไม่และมีการจัดการและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนได้ผลเป็นที่น่าพอใจเพียงใด 17. ท่านคิดว่าสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชน คือสิ่งใด (ตอบได้เพียงข้อเดียว)
18. ท่านคิดว่าปัจจัยใดสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนของท่านเข้มแข็ง (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
19. จงระบุชื่อหรือตำแหน่งทางสังคมของบุคคลหรือสิ่งต่อไปนี้ในชุมชนของท่าน (เฉพาะด้านสุขภาพ)
20. ท่านต้องการให้ชุมชนของท่านมีการพัฒนาในด้านใดบ้าง(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
21. กิจกรรมใดของชุมชนที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุด ในชุมชนของท่านในปัจจุบัน

ส่วนที่ 3 ข้อมูลสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กและผู้สูงอายุ 22. ครัวเรือนของท่านมีผู้คุมกำเนิดหรือไม่ (ถามวัยเจริญพันธ์ที่ยังอยู่กินกับคู่สมรส อายุ 15-44 ปี) 23.ปัจจุบันมีบุคคลในครัวเรือนของท่านกำลังตั้งครรภ์หรือไม่ (ถ้ามีมากกว่า 1 คน ให้ระบุอายุครรภ์เป็นรายๆไป)
24. ในรอบปีที่ผ่านมา (เม.ย. 56-พ.ค.57) ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอดหรือไม่
25. ในครัวเรือนของท่านมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี (หรือ 0-60 เดือน) หรือไม่ (ขอดูข้อมูลในสมุดคู่มือบันทึกสุขภาพเด็กประกอบ)
26. ครอบครัวของท่านมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปหรือไม่
ข้อมูลสภาวะสุขภาพ 28. ในระยะ 5ปี (ตั้งแต่มกราคม 2551ถึง กรกฎาคม 2557)ที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิตหรือไม่
29. ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วยหรือไม่
30. ในรอบปีที่ผ่านมา (ก.ย.56-ก.ค.57) สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด 31. เหตุผลที่ท่านเลือกเข้ารับบริการรักษาในสถานพยาบาลในข้อ 31 (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
32. ท่านรู้จัก “ยาปฏิชีวนะ” หรือ “ยาแก้อักเสบ” หรือไม่ (ให้ผู้สัมภาษณ์ยกตัวอย่างยา เช่น แอมพิซิลิน อะมอกซี่ซิลินเพ็นนิซิลลิน ) 33. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านหรือคนในครัวเรือนมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ) หรือไม่* 34. ท่านได้รับยาปฏิชีวนะดังกล่าว (ยาแก้อักเสบ) จากแหล่งใด (รวมทุกแหล่งที่ผู้ใช้ยาคนที่1 และคนที่2 ใช้ ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 35. ท่านหรือคนในครัวเรือนได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากแหล่งที่ท่านซื้อยาหรือไม่ (รวมคำตอบของผู้ใช้ยา)
36. ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ท่านและคนในครัวเรือมีอาการเจ็บป่วยที่ได้ใช้ยาชุด หรือ “ยาหลายเม็ดที่บรรจุในซองเดียวกัน”หรือไม่
37. ท่านหรือคนในครัวเรือนซื้อยาชุดเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยจากที่ใด 38. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่
39. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านมีผู้ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่
40. โดยทั่วไปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดที่ท่านหรือคนในรัวเรือนมีการดื่มบ่อยครั้ง(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
41.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนหรือไม่
42. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลังหรือไม่
43. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่หรือไม่
44. โดยทั่วไปท่านและคนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ หรือไม่ และบ่อยครั้งเพียงใด 45.ในปัจจุบันคนในครัวเรือนของท่านมีการใช้ยานอนหลับหรือไม่
46.ในปัจจุบันคนในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นใด หรือไม่ (เช่น กาว ทินเนอร์ กัญชา กระท่อม และยาบ้ายาไอซ์ ยาอี ยาเค เป็นต้น)
พฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง 47. กิจกรรมเหล่านี้ ท่านและคนในครัวเรือนของท่าน มีผู้ปฏิบัติหรือไม่ และปฏิบัติพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่
48.ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ หรือไม่
49. ครัวเรือนท่านเคยได้รับความรู้ / ข่าวสารด้านสุขภาพและสาธารณสุข จากสื่อใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
50. บุคคลที่ให้ความรู้และข่าวสารด้านสุขภาพ ให้กับท่านและครอบครัวของท่านมากที่สุด คือใคร
ส่วนที่ 4 ข้อมูลทางด้านสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม 51. ที่พักอาศัยมีลักษณะ ดังกล่าวหรือไม่ (สังเกต) 52. ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้านหรือไม่ (สังเกต)
53. ครัวเรือนของท่านประสบปัญหาสัตว์และแมลงพาหะนำโรคชนิดใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
54. ครัวเรือนของท่านปกติใช้น้ำดื่มจากแหล่งใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
55.1น้ำที่ครัวเรือนท่านดื่มได้ปรับปรุงคุณภาพ เช่น กรอง หรือ ต้ม ก่อนบริโภคหรือไม่
56. น้ำที่ใช้ดื่มเพียงพอสำหรับครัวเรือนของท่านหรือไม่ 57. ครัวเรือนของท่านปกติใช้น้ำใช้เพื่อการอุปโภคจากแหล่งใดบ้าง(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
58. น้ำที่ใช้อุปโภคในครัวเรือนของท่านมีเพียงพอตลอดปี หรือไม่
59. ครัวเรือนของท่านมีตู้เย็น / ตู้แช่ เพื่อเก็บอาหารสด หรือไม่ 1. ไม่มี 2. มี
60. ครัวเรือนของท่านเก็บอาหารปรุงแล้วเสร็จ อย่างไร (ใช้การสังเกตร่วมด้วย)
61. ครัวเรือนมีการกำจัดน้ำเสียอย่างไร(ใช้การสังเกตร่วมด้วย)
62. ครัวเรือนมีถังขยะหรือไม่(ใช้การสังเกตร่วมด้วย)
63. ครัวเรือนของท่านมีการคัดแยกขยะหรือไม่ (ใช้การสังเกตร่วมด้วย)
64. ท่านนำขยะเปียกไปกำจัดอย่างไร(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 65. ท่านนำขยะแห้งไปกำจัดอย่างไร(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
66. ท่านนำขยะอันตรายไปกำจัดอย่างไร(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
67. ท่านคิดว่าในชุมชนของท่านมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องการแก้ไข หรือไม่
68. ในครัวเรือนของท่านมีการปลูกพืชสมุนไพรหรือไม่
69. ท่านรู้จักยาสมุนไพร/พืชสมุนไพรหรือไม่
70. ท่านเคยใช้ยาสมุนไพร/พืชสมุนไพรหรือไม่
71. ท่านมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไรบ้าง ส่วนที่ 5 ความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน 72. ใครเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการซื้อหาอาหารมาบริโภค(รับประทาน)ในครัวเรือนของท่าน
73. โดยทั่วไปครัวเรือนของท่านใช้จ่ายเงินเป็นค่าอาหารประมาณเดือนละเท่าใด เดือนละประมาณ........…บาท (วันละประมาณ.............………บาท หรือ สัปดาห์ละประมาณ.............………บาท)

  1. ครัวเรือนของท่านมีเงินใช้จ่ายเป็นค่าอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอหรือไม่
  2. ในปัจจุบันครัวเรือนของท่านซื้ออาหารจากแหล่งใดบ้างเรียงจากมากที่สุด(5)ไปหาน้อยที่สุด (1)
  3. อาหารที่ครัวเรือนของท่านบริโภคมาจากแหล่งใดบ้าง พร้อมระบุชนิดของอาหารที่แลกเปลี่ยน แบ่งปัน ของฝาก ของป่า หรือสัตว์ที่หา/ล่ามาได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อโดยให้ใส่เครื่องหมาย ในกล่อง )

ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ท่านหรือสมาชิกในครัวเรือนของท่านประสบกับสภาพต่างๆต่อไปนี้หรือไม่
77.ท่านมีความวิตกกังวลว่าจะมีเงินไม่เพียงพอสำหรับเป็นค่าอาหารในครัวเรือน
78. ท่านมีความวิตกกังวลว่าอาหารที่ท่านซื้อมาบริโภคในครัวเรือนในแต่ละครั้งอาจไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครัวเรือนทุกคน 79.ท่านเคยต้องซื้ออาหารในปริมาณที่ลดลงเนื่องจากต้องจ่ายเงินค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่ายารักษาโรค หรือค่าใช้จ่ายอื่นแทน
80.ในภาพรวมสมาชิกในครัวเรือนของท่านได้รับประทานอาหารครบถ้วนเท่าที่แต่ละคนควรจะได้รับ
81. ท่านต้องรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน 82. ท่านเคยอดอาหารในบางมื้อเนื่องจากมีเงินซื้ออาหารไม่เพียงพอในครัวเรือน 83. สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นผู้ใหญ่เคยต้องลดปริมาณที่รับประทานให้น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน
84. เด็กอายุต่ำกว่า12 ปีในครัวเรือนของท่านได้รับประทานอาหารที่ครบถ้วนทุกมื้อ
85. ช่วงเดือนใดในรอบปีที่ผ่านมา (ก.ย. 56-ก.ค.57)ที่ท่านและครัวเรือนของท่านมีความยากลำบาก จนต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายและซื้ออาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน
86. ช่วงเดือนใดในรอบปีที่ผ่านมา (ก.ย. 56-ก.ค.57) ที่ท่านต้องซื้ออาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารโดยเชื่อไว้ก่อนแล้วจึงผ่อนหรือชำระในภายหลัง

สมาชุิกทุกคนเห็นด้วย ให้เก็บแบบสอบถามไปก่อน แล้วค่อยปรับแก้ในข้อที่ไม่สามารถตอบได้
ปิดประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า วันนี้มีผู้เข้าร่วมกกิจกรรม 25 คน ได้ร่วมกันสรุปข้อคำถามในแบบสอบถาม จำนวน 5 ส่วน 86 ข้อ เป็นแบบสำรวจของบ้านควนหนองหงส์ และทุกคนได้อ่านข้อคำถาม ให้ความคิดเห็น และทุกคนยอมรับ ภาพการทำงานวันนี้ ทำให้เห็นว่าคนในชุมชน มีการยอมรับกันมากขึ้นไม่โกรธกัน เพราะได้มาทำกิจกรรมร่วมกันมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชน  และคณะทำงาน 25 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ครั้งที่ 129 พฤศจิกายน 2558
29
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำนำ้ยาเอนกประสงค์ครั้งที่ 1ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์
กำหนดการกิจกรรม เวลา 9.00 – 10.30 น รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 10.30-11.00 น. ประธานโดยนางจีระนันท์แปะก๋งเส้ง เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านควนหนองหงส์ เปิดกิจกรรม เวลา 11.00-12.00 น.เรื่องเล่าจากผู้ที่ใช้น้ำยาเอนกประสงค์อยู่แล้วบรรยายโดย นายสมนึกมีชนะ ปราชญ์ชาวบ้าน ม.3 ต.ควนหนองหงส์ เวลา 12.00-13.00 น. พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-14.30 น.เริ่มทำกิจกรรมทำน้ำยาเอนกประสงค์ เวลา 14.00-15.00 น.แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เวลา 15.00-15.30 น.ปิดประชุมการทำกิจกรรม

เวลา 9.00 น.ชาวบ้านเริ่มทยอยกันมาลงทะเบียน ณ หอประชุม หมู่บ้าน ม. 3 ควนหนองหงส์ เวลา10.30น. ประธานในพิธีโยนางจีระนันท์แปะก๋งเส้งพยาบาลชำนาญการ รพ.สต.ควนหนองหงส์เดินทางมาถึงและได้ทำพิธีเปิดพูดคุยถึงที่มาที่ไปของกิจกรรมนี้ กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงซึ่งมีผู้รับผิดชอบคือนางรัชนูมีชนะและนางขวัญใจเนาว์สุวรรณ โครงการนี้สนับสนุนงบประมานโดย สสส.ซึ่งในโครงการจะมีการทำกิจกรรมหลายๆ กิจกรรมที่ยึดหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจะลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของชาวบ้านได้เพื่อชาวบ้านได้ปรับใช้กับยุคที่ราคายางพาราตกต่ำในขณะนี้ในยุคสมัยนี้ไม่มีอะไรเหมาะสำหรับเราเท่ากับการเดินตามรอยพ่อหลวงโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงอีกแล้ว เวลา11.00น.เป็นการเล่าเรื่องราวของ นายสมนึกมีชนะ ปราชญ์ชาวบ้าน ม.3 ต.ควนหนองหงส์ผู้ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเวลาหลายปีแล้วนายสมนึกมีชนะ ปัจจุบันอายุ 63 ปี เมื่อก่อนมีอาชีพเป็นช่างซ่อมรถเปิดร้านอยู่ที่บ้าน แต่หลังจากนั้นไดผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรโดยมาเป็นชาวสวนยางและได้มาเล็งเห็นว่าแนวเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมันมีประโยชน์และสามารถทำให้เป็นจริงได้ท่านก็เลยไปอบรม ไปศึกษาแนวเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มจาก ธกส. มาแนะนำการทำน้ำหมักจากเศษวัสดุที่มีอยู่ตามบ้านเราเช่นเศษอาหารสด เปลือกผลไม้เศษผัก ที่เราใช้ทำกับข้าว และนำมาทำน้ำยาล้างจานใช้เองน้ำยาซักผ้าใช้เองซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้มากทีเดียวหลังจากนั้นท่านก็ได้ไปเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพราะเห็นว่ายางพาราที่ท่านกรีดอยู่นั้นให้ผลผลิตไม่เต็มที่ ตามที่ควรจะเป็น แม้ว่าจะใส่ปุ๋ยเคมีในแต่ละปีใช้งบประมาณเป็น 10000- 20000 บาทต้องเสียเงินไปกับการซื้อปุ๋ยเคมีปีหนึ่งๆหลายบาทท่านก็เลยมาคิดทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองและปัจจุบันนายสมนึกมีชนะ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าใช้เอง มาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว สามารถลดภาระหนี้สินในครัวเรือนได้และมีสุขภาพร่างกายที่ดี ปลอดจากสารเคมีต่างๆ ครอบครัวมีสุข เวลา12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย ร่วมพูดคุยกันตามความสะดวก เวลา 13.00 น. เริ่มทำกิจกรรมกวนน้ำยาเอนกประสงค์วันนี้ที่ทำคือน้ำยาซักผ้าและน้ำยาล้างจานเริ่มแรกวิทยากรแนะนำการทำน้ำยาซักผ้าและน้ำยาล้างจานโยวิทยากร วันนี้คือนางขวัญใจเนาว์สุวรรณเป็นปราชญ์ชาวบ้านวัสดุที่ใช้ทำวันนี้ซื้อมาจาก ธกส.ก่อน เริ่มจากแนะนำวิธีการทำโดยแจกเอกสารประกอบการทำกิจกรรม ขั้นตอนที่1. ผสมเกลือกับน้ำคนให้ละลายก่อนวางพักไว้ 2. นำ N 70 ใส่ถังกวนไปทางเดียวกันประมาณ 5 นาที นำน้ำเกลือที่ละลายไว้เติมลงไปและกวนต่อไปสลับกับใส่น้ำเกลือจนหมดไปเรื่อยๆ 3. เติม F 24 กวนไปทางเดียวกันจนเข้ากันดี 4. ผงฟองนำมาละลายน้ำร้อนคนจนละลายดีนำมาเติมลงไปกวนจนเข้ากันดี 5. เติมน้ำหมักชีวภาพ มะกรูดลงไปกวนต่อไปเรื่อยๆ ในทางเดียวกัน 6. นำน้ำเปล่าประมาณ 6 ลิตร มาเติมลงไป กวนไปเรื่อยๆในทางเดียวกันประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นทิ้งไว้ให้ฟองยุบและก็แบ่งกันไปใช้ เวลา 14.30 – 15.30 น.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของการนำน้ำยาเอนกประสงค์ไปใช้ และก็แบ่งน้ำยาที่ร่วมกันทำในวันนี้ไปใช้ที่บ้านและปิดการทำกิจกรรมในวันนี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมในครั้งนี้ สรุปได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 80 คน ได้เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ สูตรสมุนไพร เป็นการเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้การประหยัดในครัวเรือน และทำให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำำน้ำยาเอนกประสงค์ ทำให้เกิดภาพการทำงานร่วมกันและเมื่อทำเสร็จแล้วมีการแบ่งปันน้ำยาเอนกประสงค์ให้ไปใช้ที่บ้าน ส่ิงที่ได้เรียนรุู้จากกิจกรรมในวันนี้คือเป็นการนำภูมิปัญญาชุมชนมาใช้ เรียนรู้การลดรายจ่ายครัวเรือนและทุกคนมีความร่วมมือสามัคคีกันในการร่วมทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน 30 คนประชาชนผู้สนใจ 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 29 พฤศจิกายน 2558
9
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุม วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านควนหนองหงษ์ ครั้งที่ 2
โดยเปิดประชุมเวลา 13.00 น.ซึ่งผู้ใหญ่บ้าน นางศิริรัตน์นุราภักดิ์ได้กล่าวต้อนรับผู็เข้าร่วมประชุมทุกคนก่อนจะเริ่มชี้แจงวาระการประชุม วาระที่ 1การปรับปรุงแก้ไขปัญหาน้ำประปาหมู่บ้าน -เนื่องจากประปาหมู่บ้านประสบปัญหาน้ำที่ส่งไปยังผู้ใช้น้ำมีสีขุ่นสาเหตุมาจากกำลังปรับปรุงบ่อน้ำและไม่ได้ล้างถังกรอง -ในที่ประชุมตกลงจะทำการปิดการจ่ายน้ำในวัน ที่ 10 พ.ย.58 วาระที่ 2 เรื่องกองทุนหมูบ้าน -นัดส่งเงินที่สมาชิกกู้ยืมไปในวันที่ 25 พ.ค. 58เวลา 9.00 น. พร้อมทั้งเงินต้นและเงินดอก วาระที่ 3 เรื่องทอดกฐิน วันควนหนองหงส์ ประชุมโดยพระส้อง สุธมโน เจ้าอาวาสวัดควนหนองษ์ -ทางวัดทอดกฐินวัน ที่ 22 พ.ย. 58 อยากให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบเงินสร้างโบสถ์ วาระที่ 4 เรื่องโครงการ บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียงโดยนางรัชนูมีชนะผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับแบบสอบถามโครงการ ดังนี้

แบบสำรวจสุขภาพชุมชน เป็นแบบสำรวจประกอบด้วยคำถาม 5 ส่วน จำนวน 96 ข้อ รวมทั้งสิ้น 18 หน้า ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลประชากรในครัวเรือนข้อที่ 1 - 3
ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและประเพณี ข้อที่ 4 - 21
ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ข้อที่ 22 - 26
ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการปลูกพืชผักสมุนไพรในครัวเรือนข้อที่ 27 - 50
ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนข้อที่ 51 - 86 และมอบหมายให้ทุกคนไปอ่านมาก่อนล่วงหน้า และรอบต่อไป จะมาเลือกข้อคำถามที่จะไปสอบถามในหมู่บ้าน

ผลจากการพูดคุยไม่เป็นทางการ ที่พอจะเป็นแนวทางการสำรวจข้อมูลได้ดังนี้คำชี้แจงเหตุผลการทำแบบสำรวจ ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลด้านประชากรครัวเรือนข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมประเพณี ข้อมูลสภาวะสุขภาพความมั่นคงในด้านอาหาร และครัวเรือน โดยสรุปเป็นรายข้อ

1.ข้อแรก ข้อมูลประชากร ของหมู่ 3มีจำนวนครัวเรือน ประมาณ 450 ครัวเรือน มีทุกช่วงวัย ทั้งวัยทำงาน วัยชราวัยเด็ก วัยรุ่น คนพิการ 2. ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมประเพณีมีอาชีพ มีทำสวน อาชีพเกษตรกรรม เป็นส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธในหมู่บ้านมีประเพณี วัฒนธรรม เช่น ประเพณีให้ทานไฟ ประเพณีสงกรานต์รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 3. ข้อมูลสภาวะสุขภาพ ม.3ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีโรคประตัว เช่น ควานดัน-เบาหวาน เพราะในชุมชนมีตลาดนัดทุกวัน ชาวบ้านเลยกินของสำเร็จรูปมากขึ้น ซื้อทุกอย่าง 4. ความมั่นคงทางด้านอาหารและครัวเรือนชุมชนควนหนองหงส์ มีความปลอดภัยด้านอาหารและทรัพย์สินพอประมาณไม่ถึงกับ 100 เปอเซ็นต์ แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ คอยดูแลสอดส่องทุกเวลา ยังสามารถป้องกันหรือเฝ้าระวังได้


วาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ ร่วมกันให้ความคิดเห็นในเรื่องปัญหาต่าง ปิดประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า กิจกรรมวันนี้ มีผู้ร่วมเข้าประชุม 20คน และผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจในโครงการมากขึ้นมีการร่วมกันวางแผนในการทำโครงการในครั้งต่อไป นอกจากนั้นคณะทำงานมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้นมีการวางแผนการทำงาน

โดยมีข้อสรุปตามวาระการประชุมเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ดังนี้

  • ให้ผู้เข้าร่วมประชุมสมัครเป็นสมาชิกโครงการ เพื่อร่วมทำกิจกรรมของโครงการ
  • ขอความร่วมมือชาวบ้านช่วยกันให้ความร่วมมือสำรวจข้อมูลครัวเรือน เมื่อมีทีมงานไปสัมภาษณ์
  • นัดสมาชิกร่วมเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ วันที่ 29 พ.ย. 58 เวลา 9.00 น.
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน  15 คน
ผู้สูงอายุ    5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ออกแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ครั้งที่ 17 พฤศจิกายน 2558
7
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม การออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินครัวเรือน ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์ โดยมีกิจกรรมดังนี้ เวลา 9.00น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมออกแบบสำรวจข้อมูล เวลา 9.30 น. นางศิริรัตน์นุราภักดิ์ผู้ใหญ่บ้าน เปิดประชุม เรื่องการ ออกแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ได้ชี้แจงเหตุผลทำไมต้องทำแบบสำรวจข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการทำโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง เวลา 10.00 น. เริ่มมีการนำเสนอ การทำแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนของผู้เข้าร่วมประชุม ได้เสนอและร่วมกันพิจารณาแบบสำรวจ เวลา 11.00 น. ได้สำรวจข้อมูลแบบไม่เป็นทางการ ที่พอจะเป็นแนวทางการสำรวจข้อมูล เวลา 12. 00 น. ร่วมกันรับประทานอาหาร เวลา 13.00 น.ผู้เข้าร่วมเพื่อประชุมในช่วงบ่ายต่อ โดยจะพิจารณาเป็นข้อๆ ซ่ึ่งเนื้อหาประกอบด้วย
แบบสำรวจสุขภาพชุมชน เป็นแบบสำรวจประกอบด้วยคำถาม 5 ส่วน จำนวน 96 ข้อ รวมทั้งสิ้น 18 หน้า ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลประชากรในครัวเรือนข้อที่ 1 - 3
ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและประเพณี ข้อที่ 4 - 21
ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ข้อที่ 22 - 26
ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการปลูกพืชผักสมุนไพรในครัวเรือนข้อที่ 27 - 50
ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนข้อที่ 51 - 86 และมอบหมายให้ทุกคนไปอ่านมาก่อนล่วงหน้า และรอบต่อไป จะมาเลือกข้อคำถามที่จะไปสอบถามในหมู่บ้าน

ผลจากการพูดคุยไม่เป็นทางการ ที่พอจะเป็นแนวทางการสำรวจข้อมูลได้ดังนี้คำชี้แจงเหตุผลการทำแบบสำรวจ ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลด้านประชากรครัวเรือนข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมประเพณี ข้อมูลสภาวะสุขภาพความมั่นคงในด้านอาหาร และครัวเรือน โดยสรุปเป็นรายข้อ

1.ข้อแรก ข้อมูลประชากร ของหมู่ 3มีจำนวนครัวเรือน ประมาณ 450 ครัวเรือน มีทุกช่วงวัย ทั้งวัยทำงาน วัยชราวัยเด็ก วัยรุ่น คนพิการ 2. ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมประเพณีมีอาชีพ มีทำสวน อาชีพเกษตรกรรม เป็นส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธในหมู่บ้านมีประเพณี วัฒนธรรม เช่น ประเพณีให้ทานไฟ ประเพณีสงกรานต์รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 3. ข้อมูลสภาวะสุขภาพ ม.3ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีโรคประตัว เช่น ควานดัน-เบาหวาน เพราะในชุมชนมีตลาดนัดทุกวัน ชาวบ้านเลยกินของสำเร็จรูปมากขึ้น ซื้อทุกอย่าง 4. ความมั่นคงทางด้านอาหารและครัวเรือนชุมชนควนหนองหงส์ มีความปลอดภัยด้านอาหารและทรัพย์สินพอประมาณไม่ถึงกับ 100 เปอเซ็นต์ แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ คอยดูแลสอดส่องทุกเวลา ยังสามารถป้องกันหรือเฝ้าระวังได้

เวลา15.00 น. ปิดประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานโครงการครั้งนี้ สรุปว่า มีผู้เข้าร่วมออกแบบสำรวจ 25คน โดยมานั่งพูดคุยและออกแบบสำรวจเป็นของบ้านควนหนองหงส์เอง เหตุผลเพื่อให้ข้อมูลและเป็นแนวทางในการนำข้อมูลครัวเรือนไปใช้พัฒนาหมู่บ้าน และจากการพูดคุยในวันนี้ ทำให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของคนที่มาเข้าร่วมทำกิจกรรมร่วมกันออกแบบและแสดงความเห็นในการออกแบบสำรวจ สิ่งที่ได้ในกระบวนการถัดไปคือ แบบสอบถามที่สอดคล้องกับข้อมูลของบ้านควนหนองหงส์เอง และเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชน  และคณะทำงาน 25 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เปิดโครงการ17 ตุลาคม 2558
17
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเปิดเวทีโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงได้มาร่วมกิจกรรมเปิดโครง บ้านควนหนองหงส์ เรียนรู้ลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงส์
โดยได้พบปะแลพพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของกิจกรรมในโครงการ แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม - คณะทำงานจะสำรวจข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายรายได้หนี้สิน เงินออม ความต้องการการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพน้ำยาอเนกประสงค์และข้อมูลพื้นฐานของชุมชนโดยใช้แบบสำรวจที่ร่วมกันคิดและออกแบบ  และจะนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคาระห์และสรุปเพื่อเป็นฐานข้อมูลของชุมชน
-มีการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำยาเอนกประสงค์ โดยใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมี และประหยัดต้นทุนในการผลิต

1.กิจกรรมเรียนรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการลดรายจ่ายและการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยแกนนำร่วมกันคิดและจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบชุมชนบ้านควนหนองหงส์ และเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ดดยจะมรการอบรมการทำครัวเรือนและหลังจากคนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ทำบัญชีครัวเรือนแล้ว ก็นำข้อมูลที่ชาวบ้านได้จัดทำบัญชีแต่ละเดือนนำมาพูดคุยกันว่าแต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรอย่างไง สามารถลดรายได้ได้หรือไม่มีเงินออมแต่ละเดือนเท่าไหร่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งหาทางแก้ไขที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เราจะทำอย่างไรถึงจะมีเงินเก็บได้

-กิจกรรมเรียนรู้กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักไว้ใช้เองในครัวเรือน  การเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และน้ำหมักชีวภาพโดยทุกคนที่มาร่วมกิจกรรม ให้นำวัสดุในการทำปุ๋ยมาด้วย เช่น แกลบ มูลสัตว์ ใบไม้ ดิน ฯลฯ แล้วร่วมกันเรียนรู้ ทำตามขั้นตอนที่ปราชญ์แนะนำแล้วหมักปุ๋ยไว้เพื่อการเรียนรู้ที่ฐาน  แล้วก็ให้ทุกคนมาช่วยกันพลิกกลับหน้าปุ๋ย จะกำหนดให้ทุกคนที่สมัครเป็นทีมงานของฐานการเรียนรู้เรื่องปุ๋ย ทุกคนต้องกลับไปทดลองทำเองที่บ้านของตนเองต่อ เพื่อไว้ใช้ในการเกษตรของตนที่บ้าน  และมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องปุ๋ยหมัก

-เรียนรู้การปลูกผักไว้กินเองโดยใช้เกษตรอินทรีย์

-หลังจากได้ทำกิจกรรมผ่านไป ก็ให้ร่วมกันคัดเลือกบ้านต้นแบบ เพื่อร่วมกันจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ดังนี้ -แหล่งเรียนรู้ผักปลอดสารพิษ -แหล่งเรียนรู้น้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพ -แหล่งเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ -แหล่งเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน 2.แหล่งเรียนรุ้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนบ้านได้ โดยกำหนดเรียนรู้เดือนละ 1 ครั้งโดยมีข้อกำหนดในการเรียนรู้ แต่ละกลุ่มต้องนำวัสดุมาเองจากบ้าน เพื่อเป็นการสร้างความตระหนัก และมีส่วนร่วม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ครบตามที่กำหนด 2.ประชาชนได้รับทราบวัตถุประสงค์โครงการ  และกิจกรรมที่จะมีในโครงการ 3.ประชาชนได้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการและกลุ่มเป้าหมายประชาชนในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชาสัมพันธ์โครงการ17 ตุลาคม 2558
17
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ  และประชาสัมพันธ์โครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมครั้งนี้ จัด 2 ครัั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2559 และครั้งที่ 2 วันที่ 18 ตุลาคม 2559โดยเริ่มจาก เวลา 9.00 น. รับลงทะเบียนผู้เข่าร่วมกิจกรรม เวลา 10.00น. พี่เลี้ยงโครงการ โดยนายยงยุทธสุขพิทักษ์มาเข้าร่วมกจิกรรมและเปิดโครงการ พร้อมด้วยนายมนูญพลายชุม โดยพี่เลี้ยงได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่าเกิดขึ้นได้จากความพยายามของสมาชิกกลุ่มบ้านควนหนองหงส์ ที่อยากจะพัฒนาและเสียสละ เพื่ออยากเห็นบ้านควนหนองหงส์พัฒนาขึ้น โดยคนทำงานนี้ต้องมีใจรักและเสียสละเพื่อส่วนร่วมกิจกรรมได้รับเงินสนับสนุนจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้ชื่อโครงการ "บ้านควนหนองหงษ์เรียนรู้การลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง" วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง และ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีลดรายจ่ายด้วยเกษตรอินทรีย์ โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญคือ (1)ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 50 ครัวเรือน (ทั้งหมด 400 ครัว) (2)ครัวเรือนเป้าหมายเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100(3)กลุ่มเป้าหมายลดรายจ่ายครัวเรือนได้ 500 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน(4)มีแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ 1 แห่ง เมื่อสอบถามถึงความเป็นได้ทุกคนเห็นด้วย และคิดว่ากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 คน

และนางรัชนู เล่าให้ฟังถึงเหตุผลว่ทำไมถึงได้ทำโครงการนี้ เดิมปัญหาในชุมชนมีหลายปัญหา แต่ปัจจุบันพบว่า ปัญหารายได้ไม่พอเพียงกับรายจ่าย เป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะร้อยละ 90 ของชุมชน มีรายจ่ายที่มากกว่ารายรับเพราะปัจจุบันรายได้น้อย เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง ราคาผลผลิตถูก ราคาสินค้าในปัจจุบันแพงขึ้น ประชาชนมีเพียงอาชีพเดียว ไม่มีอาชีพเสริมเมื่อสินค้าราคาถูก ทำให้มีผลต่อรายได้ลดลง ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการทำสวนยาง มีต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากมีการใช้สารเคมี ในการทำสวนยาง แต่ราคาผลผลิตตกต่ำ บางรายก็ไม่ได้รับการประกันราคา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลระดับลึก พบว่า ปัญหาเหล่านี้ประชาชนไม่มีการรวมตัวอย่างจริงจัง ต่างคนต่างทำ ขาดความรักต่อกันไม่มีความปรองดองประชาชน ขาดคุณธรรม จริยธรรม มีกลุ่มคนที่มีความรู้ แต่ขาดความตระหนักกับปัญหา ไม่นำความรู้มาใช้ในการพัฒนากลุ่มที่มีอยู่ในชุมชน ก็ไม่มีการพัฒนา ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้บางครัวเรือนว่างงาน เมื่อไม่ได้ทำอะไร วัยรุ่นก็มีเวลาว่าง อยากที่จะอยากรู้อยากลอง บางส่วนก็หันไปพึ่งยาเสพติด มีการเล่นการพนันเพราะหวังโชคในระยะสั้น ไม่มีการนำภูมิปัญญาของคนในชุมชนมาทำให้เกิดประโยชน์ การที่จะแก้ปัญหาก็ใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชน ใช้การเรียนรู้การใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง นำทุนที่มีในชุมชนมาเป็นกลไกขับเคลื่อน เรียนรู้การลดค่าใช้จ่ายในชุมชนในครัวเรือน ประหยัดค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปการทำบัญชีครัวเพื่อจะได้ทราบถึงสถานการณ์ใช้จ่ายของครัวเรือน มีสิ่งไหนที่ใช้จ่ายอย่างไม่ จำเป็นกันมาทำการเกษตรแบบพอเพียงลดการใช้สารเคมี โดยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพปลูกผักกินเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยจะมีแกนนำ ชุมชน อสม. ผู้สูงอายุจิตอาสานักเรียน และเยาวชนร่วมการเรียนรู้ นำคนในชุมชนมาร่วมกันทำกิจกรรมร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อที่จะให้ประชาชนมีเหตุผลและใช้ความคิดในการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเอง
มีการพัฒนาให้หมู่บ้านมีเศรษฐกิจที่ดี มีความพอเพียง รู้จักการใช้จ่ายและมีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อลดความเห็นแก่ตัว

และตอนนี้โครงการดังกล่าวได้ผ่านการอนุมัติแล้ว และขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมโครงการอย่างเป็นทางการ และในวันดังกล่าว ใช้สถานที่หอประชุมหมู่ที่ 3 บ้านควนหนองหงส์มีผู้นำเข้าร่วมเปิดโครงการ ได้แก่รองนายก อบต. คือ นายสุรินทร์มีชนะ และผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต.นายสุทัศน์ศณีมาลา เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ควนหนองหงส์นางจีรนันท์แป๋ะคงเส้งเข้าร่วมในวันนี้ด้วย เวลา 11.30 น. ร่วมรับประทานอาหาร
เวลา 13.40 น. กล่าวขอบคุณ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ และเข้าใจความเป็นมาของโครงการพร้อมวัตถุประสงค์ที่ทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นในหมู่บ้านของเราด้วยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพ่อ กิจกรรมต่อไป ก็จัดตั้งสภาชุมชนในโครงการ 20 คน และร่วมประชุมในโอกาสต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า วันนี้มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 200 คน โดยมีผุ้นำชุมชนคือ รองนายก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน และ สอบต.ให้ความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม วันนี้ได้ประชาสัมพันธ์ ได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการ และบอกถึงกิจกรรมโครง มีสมาชิกสนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 35 คน และสมาชิกได้แสดงความถึงเห็นถึงกิจกรรมที่จะดำเนินการคือ การทำปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ การทำบัญชีครัวเรือน การทำน้ำยาเอนกประสงค์ สมาชิกเห็นด้วยสิ่งที่เห็นได้ชัดจากกิจกรรมวันนี้คือ ประชาชนเกิดการยอมรับในกิจกรรมเสนอมาในวันนี้ เพราะทุกคนเห็นแนวทางการลดหนี้ครัวเรือนและเห็นภาพการสมัครใจเช้าร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน 20  คน วัยทำงาน 140 คน  ผู้สูงอายุ 20 คน  เยาวชน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำป้ายโครงการและป้ายปลอดบุหรี่16 ตุลาคม 2558
16
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำป้ายไวนิลโครงการ บ้านควนหนองหงส์ เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง  และป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่  จัดทำป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายปลอดบุหรี่และป้ายปลอดสุรา เพื่อรณรงค์การปลอดบุหรี่และปลอดสุรา 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า วันนี้ได้ป้ายโครงการ 1 ป้าย เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการ และมีการติดตั้งสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ 1 ป้ายเพื่อรณรงค์การงดสูบบุหรี่ และแสดงเขตพื้นที่ปลอดบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 19 ตุลาคม 2558
9
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุม วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดประชุมเวลา 13.00 น.โดยผู้ใหญ่บ้าน นางศิริรัตน์ นุราภักดิ์ วาระที่่ 1เรื่องประเพณีการแห่หมรับ วันที่ 28 ตุลาคม 2558 อบต.บ้านควนหนองหงส์จัดกิจกรรมประเพณีแห่หมรับจากอบต.มายังวัดควนหนองหงส์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมกันหน้าอบต. เวลา 8 .30 น.มีการจัดประกวดหมรับของหน่วยงานต่างๆ และประชาชนทั่วไป เงินรางวัลที่ 11,000 บาทรางวัลที่ 2700 บาท รางวัลที่ 3500 บาท วาระที่ 2เรื่องเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 400 บาทให้หญิงตั้งครรภ์ไปขึ้นทะเบียนที่อบต.บ้านควนหนองหงส์ วาระที่ 3 เรื่องเงินอุดหนุนหมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท กรรมการของกองทุนต้องไปทำสัญญากับธนาคารออมสิน ผู้เข้าร่วมประชุมลงมติเห็นด้วย วาระที่ 4 เรื่องเบี้ยยังชีพผู้พิการ สตรีตั้งครรภ์ให้ไปขึ้นทะเบียนได้ที่อบต. โดยนำหลักฐาน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน สมุดสีชมพู
วาระที่ 5 เรื่องโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง โดยนางรัชนู มีชนะ ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.1ชี้แจงเรื่องที่มาของโครงการด้วยได้เขียนโครงการขอทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[สสส.] จำนวน 203,650 บาททำกิจกรรมทั้งหมด 11 กิจกรรม เริ่มกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม2559 ตามตารางปฏิทินของโครงการ 1.2ขอจัดตั้งสภาผู้นำซึ่งเป็นกิจกรรมที่ 1 ของโครงการ จำนวน 20 คนโดยการให้ผู้เข้าร่วมประชุมยกมือเสนอชื่อ สภาผู้นำบ้านควนหนองหงส์จำนวน 25 คน ซึ่งเกินความคาดหมาย รายชื่อสมาชิกมีดังนี้
(1)นางศิริรัตน์ นราภักดิ์ (2)นายสุรินทร์ มีชนะ (3)นางขวัญใจ เนาว์สุวรรณ (4)นางอุไรมุสิกะ(5) นางแดง มีชนะ (6) นางส่งเสริม คงประเสริฐ(7) นางรัชนูมีชนะ (8)นายสุทัศ ศรีมาลา(9) นายอิทธิฤทธิ์ ขุนสิทธิ์(10) นายนพรัตน์ เนาว์สุวรรณ(11) นางอรสา เทพยศ (12)นางจินดา อ้นประวัติ (13)นางเพ็ญศรี อินอักษร(14)นางวนิดา หนูเนียม(15)นางวิไล พริกสุข(16)นางชาลินี คงสำเร็จ(17)นางสาวภัทธีรา จรเปลี่ยว(18)นางเตือนใจ ทองกลับ(19)นางริ่น ทองนุ่น(20)นายปรีชา สิทธิศักดิ์(21)นางสุพิศ ปราบไพรี(22)นางรวิดา แพ่งโยธา(23)นางสุจารี เดชนวล(24)นางจิณณพัต รอดเรืองฤทธิ์
(25)นายเสวียน รอดเรืองฤทธิ์ และได้มีการมอบหมายหน้าที่การทำงาน ดังนี้
หน้าทีประสานงาน คือนางอุไร มุสิกะ หน้าที่บันทึกเอกสาร คือ นางขวัญใจ เนาว์สุวรรณ หน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์ คือ นางเตือนใจ ทองกลับ หน้าที่จัดทำแหล่งเรียนรู้ คือ นายสุรินทร์ มีชนะ
ผู้ประสานงนหลักคือ นางรัชนู มีชนะ

วาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ ซักถามความคิดเห็นทั่วไป ปิดประชุมเวลา 15.00น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า วันนี้มีผู้เข้าร่ววมกิจกรรม 50 คน เกินเป้าหมาย ซึ่งเดิมตั้งไว้เพียง 20 คน และได้พูดคุยเพื่อให้มีการจัดตั้งสภาผู้นำควนหนองหงส์ จนประสบความสำเร็จมีสมาชิก 25 คนและยังได้อธิบายให้กลุ่มเป้าหมายและผู้เข้าร่วมประชุม ได้เข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมตามโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ และรายละเอียดการดำเนินงาน นอกจากนั้นรับสมัครผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่าทั้ง 50 คน สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดในวันนี้สภาผู้นำชุมชนควนหนองหงส์ ได้ประุชุมและวางแผนการทำงาน โดยมีการแบ่งหน้าที่การทำงาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประสานงานและทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 30  คน ผู้สูงอายุ  20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพือปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ ทาง สจรส.มอ. ได้รวมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ปฐมนิเทศโครงการใหม่ วันที่ 3 -4 ตุลาคม 2558 โดยในวันแรก ไ้ดพบกับ ผศ.ดร.พงศ์เทพ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ
วันที่สอง พี่เลี้ยงได้แนะนะวิธีการเขียนรายงานตามเอกสาร และการเขียนเอกสารทางการเงินพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้ฝึกบัน่ทึกเวปไซด์โครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมประชุมตามที่กำหนด 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การบันทึกเอกสาร การจัดเตรียมเอกสาร 3.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติบันทึกในเวปไซด์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทน โครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงิน
อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ 3.เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารโครงการและการทำเอกสารเกี่ยวกับการเงินเช่นการเขียนบิล 4.เรียนรู้วิธีดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 5.ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 6.ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี