directions_run

ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ ”

หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย สันติ ดาราหมานเศษ

ชื่อโครงการ ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ

ที่อยู่ หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03928 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2187

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03928 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,030.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อมีสถาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ สังคมและด้านสุขภาพของชุมชน
  3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา 3.1ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศษรฐกิจพอเพียง 3.2ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย 3.3 ด้านสังคม ส่งเสริมความสามัคคีของชุมชน
  4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา 4.1ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง 4.2ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย 4.3 ด้านสังคม ส่งเสริมความสามัคคีของชุมชน
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง • กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล • การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ • การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ - ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม - บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม - กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง) - กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง - ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม - ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน - ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน

    2.รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

    3.รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ - ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

    4.สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

    5.การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    2 2

    2. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ 1 ตค.

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 08.30-16.00 o. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับผู้ที่มาเข้าร่วมประชุมและพี่เลี้ยงได้ชี้แจงรายละเอียนเกี่ยวกับกิจกรรมในครั้งนี้ว่าเป็นกิจกรรมที่จะมาคัดเลือกตัวแทนเพื่อที่จะตั้งสภาผู้นำเพื่อที่จะมาเป็นตัวขับเคลื่อนดำเนินโครงการต่อไปในที่ประชุมได้มีการคัดเลือกตัวแทนตั้งเป็นคณะกรรมการสถาผู้นำเข้ามาทำงานจำนวน 22 คน จากตัวแทนกลุ่มต่างๆจากกลุ่มผู้นำที่เป็นทางการ (ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนาผู้นำท้องถิ่นอบต.)กลุ่มสตรีกลุ่มเยาวชน จาก 2 โซนในหมู่บ้าน เหนือและใต้ซึ่งได้ เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการประชุมคัดเลือกคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนในที่ประชุมได้เสนอให้มีคณะกรรมการที่มาจากหลายกลุ่มเพื่อเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนและดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆในโครงการ

    • รายชื่อทีมงานสถาผู้นำดังนี้คือ

    1. นายสันติดาราหมานเศษประธานโครงการ
    2. นางนูรีย๊ะหวังกุหลำเหรํญญิก
    3. นางสีตีสามัญประชาสัมพันธ์
    4. นารอเกี๊ยะมรรคาเขคประชาสัสัมพันธ์
    5. นางสาวจีรนาอาดตันตราบันทึกข้อมูล
    6. นายเอกรัตญ์ปังหลีเส็นปฏิคม
    7. นายไพศาลหวังกุหลำ
    8. นายอบูบากากคงแก้ว
    9. นายอูหมากอาดตันตรา(กรรมการมัสยิด)
    10. นายเฉนสมายุ้ย(อบต.)
    11. นายสมชายมาลา(อิหม่าม)
    12. นายวิรัตสามัญ(ใหญ่บ้าน)
    13. นายฮาหมิดแกสมาน
    14. นางสาวยารอนีสมายุ้ย
    15. นางสอเปี๊ยะหลีเส็น
    16. นางสาน๊ะหลีเส็น
    17. นายยูโสบเพ็ชรเนียม
    18. นายรอเฉดลัสมาน (หมอดิน)
    19. นายสันใบหมาดปันจอร์(ปราชญ์ชาวบ้าน)
    20. นางสาวนูรีสาเกษมสัน
    21. นางสาวต่วนวรรณยาดาราหมานเศษ
    22. นายบากา อาดำ

     

    22 22

    3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สสส.

    วันที่ 19 ตุลาคม 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายไวนิลและจัดทำเสื้อทีมสภาชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเป็นประชาสัมพันธ์โครงการ สสส. เชิงสัญลักษณ์การทำงานเป็นทีม และการเสริมพลังการทำงาน
    • พี่เลี้ยงในพื้นที่ประชาสัมพันธ์ภาระกิจการดำเนินงานของสสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ชุมชนได้รับรู้ถึงวัตถุประสงค์และที่มาของงบประมาณการจัดกิจกรรมของโครงการ -ประชาชนได้รับทราบถึงภาระกิจการดำเนินงานของสสส. มากขึ้นและมีความสนใจในกิจกรรมของโครงการ

     

    22 22

    4. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส.

    วันที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา13.30 น. ประชาชนได้เริ่มมาลงทะเบียนเริ่มต้นเปิดกิจกรรมด้วยนายสันติดาราหมานเศษ ประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและแนะนำคณะทำงานพี่เลี้ยงโครงการและกล่าวถึงที่มาของโครงการซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนมาจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ทางโครงการชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุได้รับงบทั้งหมด212,030บาทโดยจะมีการแบ่งการโอนเงินเข้ามาเป็นงวดๆมีทั้งหมด 3 งวดตามกิจกรรมของโครงการเพื่อเป็นการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่และเกิดความสามัคคีโดยใช้กระบวนการกิจกรรมในโครงการเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์และเพื่อได้รู้ถึงสาเหตุปัญหาในชุมชนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดวางแผนในการแก้ไขต่อไปโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาหลังจากนั้นในช่วงท้ายกิจกรรมเป็นการซักถามข้อสงสัยต่างๆ ในการทำกิจกรรมซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความเป็นกันเอง และมีประชาชนหลายคนได้ถามเกี่ยวกับสถานการหมอกควันที่ปกคลุมอยู่ในขณะนี้ด้วยว่าจะรับมืออย่างไรซึ่ง อสม.ในพื้นที่ก็ได้เตรียมหน้ากากมาแจกให้ชาวบ้านด้วยพร้อมกับพี่เลี้ยงได้ทำการสาธิตวิธีใช้ไห้ถูกต้องผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจและแสดงความต้องการเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และเห็นด้วยกับโครงการที่จะเกิดขึ้น
    • ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดความสามัคคี • ประชาชนให้ความสนใจในเรื่องสุภาพกันมากขึ้น • ทุกคนอย่ากให้หมู่บ้าน/ชุมชนมีความสสุขสามัคคี

     

    91 91

    5. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดสูบบุหรี่ • ติดป้ายสถานที่ประชุมหมู่บ้านอาคารที่ประชุมและสถานที่ประชาชนเข้าใช้บริการ • คณะทำงานโครงการผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา รณรงค์เพื่อลดการสูบบุหรี่ในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คนในชุมชนทราบตระหนักถึงภัยของบุหรี่
    2. มีป้ายประชาสัมพันธ์สถานที่ปลอดบุหรี

     

    2 2

    6. คัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลชุมชนพร้อมจัดทำเสื้อทีมประชาสัมพันธ์พร้อมโลโก สสส.

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม
    • ชี้แจงทำความเข้าใจการปฎิบัติงานในการจัดเก็บข้อมูลชุมชน
    • ออกพื้นที่จัดเก็บข้อมูลชุมชนและนำมาวิเคราะห์สรุปผลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานในการจัดเก็บข้อมูลชุมชน
    • จัดเก็บข้อมูลชุมชนที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์และจัดทำฐานข้อมูลชุมชน

     

    15 15

    7. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ 2 พย

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมประเมินกิจกรรมที่ผ่านมา เตรียมความพร้อม แบ่งงาน มอบหมายหน้าที่ รับผิดชอบในกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เตรียมความพร้อม แบ่งงาน มอบหมายหน้าที่ รับผิดชอบในกิจกรรมครั้งต่อไป
    2. สภาผู้นำมีความเข้าใจ และเกิดการทำงานร่วมกัน

     

    22 22

    8. พัฒนาศักยภาพเยาวชนการจัดเก็บข้อมูล

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเยาวชนในการจัดเก็บข้อมูลมีทั้งหมด 2 วัน

    • ขั้นตอนที่ 1 เริ่มด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจกับเยาวชนที่จะออกจัดเก็บข้อมูล
    • ขั้นตอนที่ 2 สร้างและออกแบบเครื่องมือ(แบบสอบถาม)ร่วมกันโดยมีพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา
    • ขั้นตอนที่ 3 การวางแผน จัดทำแผนที่แบ่งกลุ่มแบ่งโซน

      ในการเดินเก็บข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 2 โซนมีโซนบ้านเหนือและโซนบ้านใต้เมื่อเยาวชนเข้าใจก็มีความพร้อมที่จะลงเก็บข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เยาวชนมีความเข้าใจในข้อมูลและแบบสอบถามที่จะออกไปจัดเก็บข้อมูล -เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและเรียนรู้ร่วมกันในการที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อที่จพะใช้ในการพัฒนาชุมชน/หมู่บ้านต่อไป -มีการมีกิจกรรมระหว่างแกนนำ/สภาผู้นำกับเยาวชนทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างวัย -เยาวชนมีความพร้อมที่จะออกไปจัดเก็บข้อมูล

     

    15 15

    9. การทำรายงานและการเงิน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมรับฟังบรรยายการคีย์ระบบติดตามและการเงิน เป็นขั้นตอนตั้งแต่ติดตามกิจกรรมที่บันทึกไว้ในปฏิทินที่ดำเนินการไว้ก่อนแล้ว ทำการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมให้ครบถ้วน เพื่อให้ระบบบันทึกการทำรายงานเสร็จสมบูรณ์  และรับฟังการหักภาษีที่โครงการจะต้องดำเนินการต่อไปจากนี้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันนี้ จำนวน 2 คน ทั้งประธานโครงการ และบันทึกข้อมูลเพื่อมารับรู้การทำงานร่วมกันและเข้าใจการทำงานในระบบผ่านเว็ปและติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งการหักภาษีของกิจกรรมในโครงการให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน

     

    2 2

    10. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ 3 ธค

    วันที่ 17 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา และการทำงานในกิจกรรมในระยะต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของสภาผู้นำในชุมชน ประเมินและติดตามผลการดำเนินงานและวางแผนงาน การพบปะพูดคุย ทำให้คนในชุมชนเกิดความเข้าใจในการทำงาน

     

    22 22

    11. กิจกรรมถอดบทเรียนศึกษาวีถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์

    วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมถอดบทเรียนเป็นกิจกรรมที่ผู้แทนจากชุมชนปราชญ์ ร่วมพูดคุ่ยเพื่อจัดทำชุดข้อมูลชุมชนโดยวิทยากรได้ตั้งโจทก์ร่วมพูดคุยเพื่่อศึกษาถึงวิถีชีวิตชุมชน ประวัติความเป็นมาของชุมชนการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตจากวิถีชีวิตในอดีตจนถึงปัจจุบันทั้งทางด้านของเศรษฐกิจภายในชุมชนการประกอบอาชีพเพื่อที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบการคืนข้อมูลให้ชุมชนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการศึกษาและถอดบทเรียนได้ทำทราบข้อมูลปัญหาของประชาชนในชุมชน เดิมหมู่ที่3บ้านถำ้ทะลุเป็นหมู่ที่14 และต่อมาได้แยกออกมาเป็นหมู่ที่ 8ด้วยขบนธรรมเนียม วัฒนธรรมและความเป็นที่แตกต่างกันในปี พ.ศ. 2521ได้แยกออกมาเป็นหมู่ที่ 3 เรียกว่าบ้านถ้ำทะลุในอตีดชาวบ้านมีอาชีพทำสวนทำนาอยู่แบบพอเพียงต้นตระกูลใหญ่ๆ ที่เข้าตั้งรกรากคือตระกูลส่องสว่างซึ่งย้ายมาจากหมู่บ้านเขาไครและตระกูลสามัญซึ่งมาจากท่าแพแต่ปัจจุบันมีการเป็นอยู่ที่แตกต่างไปจากอดีตปัญหาต่างๆจึงเข้ามาในหมู่บ้านการดำเนินชีวิตก็เปลี่ยนไป มีปัญหาทั้งด้านรายได้ในครอบครัวปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนปัญหาด้านความสามัคคีของคนในชุมชน

    สถานการณ์และปัญหาในหมู่บ้านซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ ข้อดี -ประชาชนในหมู่บ้านยึดมั่นในหลักการของศาสนาในการดำเนินชีวิต -ประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพทำสวนและทำการเกษตร -มีโรงเรียนสอนศาสนา(ตาดีกา)ในชุมชนโดยมีครูที่อยู่ในชุมชนเป็นผู้สอน -มีผู้รู้ทางด้านศาสนามาสอนคนในชุมชนอาทิตย์ละ 1ครั้งเพื่อเป็นการเรียนรู้และขัดเกลาจิตใจคนในชุมชน

    ข้อเสีย-มีปัญหายาเสพติดในชุมชน -มีความแตกแยกซึ่งมาจากปัญหาทางการเมือง

    ปัญหาทางด้านสุขภาพ-การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกลักษณะส่งผลให้เกิดโรคตามมา -ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์สูงมาก

    ปัญหาในเรื่องของรายได้ของคนในชุมชน-รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย -ไม่มีอาชีพเสริม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้หารือกันว่าจะรณรงค์ให้คนในชุมชนได้มีการออกกำลังกาย ทำกิจกรรมปลูกผักสวนครัวกินเอง เพื่อส่งเสริมการทานผักที่ปลอดสารพิษและเป็นการลดรายจ่ายด้วย ทั้งนี้เพื่อนำข้มูลคืนกลับไปให้ชุมชนเพื่อร่วมกันแก้ไขพัฒนาต่อไป

     

    10 11

    12. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ 4 มค

    วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
    • สรุปยอดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
    • วางแผนในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานที่ประชุม ได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ที่ประชุมรับทราบ

     

    22 22

    13. สภาผู้นำนำข้อมูลมากำหนดแนวทางกิจกรรมในการแกำหนดรูปแบบการคืนข้อมูลสุ่ชุมชน

    วันที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการได้ชี้แจงข้อมูลแบบสำรวจที่ได้จากการออกไปสำรวจข้อมูลในชุมชนแล้วและนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ซึ่งมีข้อมูลทั้งหมด 4 ส่วนคือ

    • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
    • ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสาธารณะชุมชนและเศรษฐกิจ
    • ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ
    • ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ

    • เกี่ยวกับโครงการจากการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้จะเห็นว่าคนในชุมชนมีอาชีพส่วนใหญ่ทำทำสวนและการเกษตรมีรายได้น้อยซึ่งอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท ปัญหาอีกอย่างของชุมชนคือความไม่สามัคคีความคิดเห็นไม่ตรงกันก่อให้เกิดความแตกแยกและคนในชุมชนส่วนใหญ่อย่างให้มีกิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกันเพื่อให้เกิดความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การทำกิจกรรมครั้งนี้คือการรวบรวมข้อมูลการสำรวจจัดเก็บแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ และเก็บเป็นข้อมูลหมู่บ้านเพื่อดำเนินแก้ไขต่อไป ข้อมูลทั้งหมดมี 4 ส่วนคือส่วนที่1ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสาธารณะชุมชนและเศรษฐกิจ ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนที่4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการ จากการวิเคราะห์ข้อมูล

    • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน พบว่า 56.04 % ของครัวเรือนที่สำรวจประชาชนมีอาชีพทางด้านการเกษตรรองลงมาคือรับจ้างและค้าขายส่วนในเรื่องของรายได้ของคนในชุมชน 63.73% พบว่ามีรายได้อยู่ที่ประมาณ 5,001 – 10,000 บาท

    • ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสาธารณะชุมชนและเศรษฐกิจ สำรวจจากครัวเรือน 91 ครัวเรือนพบว่าการรับประทานอาหารส่วนใหญ่ได้ซื้ออาหารผักมาจากตลาดมีการปลูกผักกินเองน้อยมากแค่ 27.47 % จากครัวเรือนทั้งหมด 91 ครัวเรือนในเรื่องของการทำบัญชีครัวเรือนคนในชุมชนยังไม่ค่อยให้ความสนใจครัวเรือนแต่ละครัวมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย คิดได้ 63.73 % จากครัวเรือนที่ได้สำรวจการกู้เงิน/เป็นหนี้ส่วนใหญ่จะกู้ยืมจากญาติและเพื่อนบ้าน 21.79% จาก 91 ครัวเรือน สาเหตุการเป็นหนี้มาจากมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นรายได้ไม่เพียงพอค่าเล่าเรียนของบุตรและค่าอุปกรณ์ทางการเกษตร

    • ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพจากข้อมูลการสำรวจการรับประทานอาหารของคนในชุมชนชอบกินอาหารสำเร็จรูป 96.70 % ชอบกินอาหารที่มีรสจัดเมื่อมีการเจ็บป่วยจะใช้ยาสามัญประจำบ้าน 87.91 % และจะซื้อยาชุดมากินเอง 49.45 % จากข้อมูลแบบสอบถามสมาชิกในครัวเรือนมีภาวะน้ำหนักเกิน 63.73 % และมีโรคประจำตัว 64.83 % และพบว่าในแต่ละครอบครัวมีการสูบบุหรี่ 46.15 %

    • ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการประชาชน 68.13 % มีความสนใจโครงการและอยากให้มีโครงการต่อไป ประธานได้ชี้แจงผลการจัดเก็บข้อมูลของชุมชนเพื่อคืนข้อมูลนี้ให้กับชุมชนหมู่ที่3 บ้านถ้ำทะลุ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจะเห็นว่าคนในชุมชนมีอาชีพส่วนใหญ่ทำทำสวนและการเกษตรมีรายได้น้อยซึ่งอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท ปัญหาอีกอย่างของชุมชนคือความไม่สามัคคีความคิดเห็นไม่ตรงกันก่อให้เกิดความแตกแยกและคนในชุมชนส่วนใหญ่อยากให้มีกิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกันเพื่อให้ความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชนจัดเก็บข้อมูลเพื่อที่จะนำข้อมูลนี้ไปสู่กิจกรรมการคืนข้อมูลสู่ชุมชนต่ไป

     

    15 15

    14. จัดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน

    วันที่ 19 มกราคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชาสัมพันธ์การจัดทำเวทีคืนข้อมูลแก่ชุมชน โดยเชิญตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วม จำนวน 91 ครัวเรือน
    2. ขอความร่วมมือ จาก อสม. ในการแจ้งครัวเรือนเข้าร่วม
    3. เชิญ ภาคีเครือข่าย อบตรพ.สตเกษตร พัฒนา
    4. สภาผู้นำชุมชนแบ่งหน้าที่เตรียมข้อมูลโดยผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้นำเสนอข้อมูล และร่วมเตรียมสถานที่ เตรัยมอาหารว่าง และความสะดวกอื่นๆ
    5. จัดเวทีคืนข้อมูล โดยเชิญ นายก อบต กล่าวพบปะผู้รับผิดชอบโครงการ คุยความเป็นมาเป็นมา รูปแบบ การจัดเก็บต่อเวที
    6. แกนนำเยาวชน แสดงบทบาทสมมุติ การใช้ชีวิตวิถีพอเพียง
    7. นำเสนอข้อมูล เพิ่มเติม จาก ผู้รับผิดชอบโครงการ และข้อเสนอแนะ
    8. ร่วมพูดคุย และเปิดโอกาสการซักถาม การแสดงความคิดเห็นของชุมชน
    9. พูดคุย เสนอ กติกาชุมชนรือมาตราการทางสังคม ด้านการจัดการขยะในชุมชน
    10. นำเสนอมาตราการทางังคม เพื่อลงมติของชุมชน
    11. รวบรวมข้อเสนอแนะจากชุมชน ภาคเครือข่ายเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดเตรียมการทำแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประธานได้สรุปการจัดเก็บข้อมูลของชุมชนเพื่่อคืนข้อมูลนี้ให้กับชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ จากข้อมูลแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วนซึ่งสำรวจจากครัวเรือน 91 ครัวเรือน คือ

    • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน พบว่า 56.04 % ของครัวเรือนที่สำรวจประชาชนมีอาชีพทางด้านการเกษตรรองลงมาคือรับจ้างและค้าขายส่วนในเรื่องของรายได้ของคนในชุมชน 63.73 % พบว่ามีรายได้อยู่ที่ประมาณ 5,001 – 10,000 บาท

    • ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสาธารณะชุมชนและเศรษฐกิจ สำรวจจากครัวเรือน 91 ครัวเรือนพบว่าการรับประทานอาหารส่วนใหญ่ได้ซื้ออาหารผักมาจากตลาดมีการปลูกผักกินเองน้อยมากแค่27.47%จากครัวเรือนทั้งหมด 91ครัวเรือน

    2.1 ในเรื่องของการทำบัญชีครัวเรือนคนในชุมชนยังไม่ค่อยให้ความสนใจครัวเรือนแต่ละครัวมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย คิดได้63.73 % จากครัวเรือนที่ได้สำรวจ

    2.2 การกู้เงิน / เป็นหนี้ส่วนใหญ่จะกู้ยืมจากญาติและเพื่อนบ้าน 21.79 % จาก 91 ครัวเรือน สาเหตุการเป็นหนี้มาจากมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นรายได้ไม่เพียงพอค่าเล่าเรียนของบุตรและค่าอุปกรณ์ทางการเกษตร

    • ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ
      3.1 จากข้อมูลการสำรวจการรับประทานอาหารของคนในชุมชนชอบกินอาหารสำเร็จรูป 96.70 %
      3.2 ชอบกินอาหารที่มีรสจัดเมื่อมีการเจ็บป่วยจะใช้ยาสามัญประจำบ้าน 87.91 % และจะซื้อยาชุดมากินเอง 49.45 %
      3.3 จากข้อมูลแบบสอบถามสมาชิกในครัวเรือนมีภาวะน้ำหนักเกิน 63.73 % และมีโรคประจำตัว 64.83 % และพบว่าในแต่ละครอบครัวมีการสูบบุหรี่ 46.15%

    • ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการประชาชน 68.13 % มีความสนใจโครงการและอยากให้มีโครงการต่อไป

     

    91 91

    15. กิจกรรมเวทีปรับเปลี่ยนเรียนรู้ดูแลสุขภาพ

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชนเตรียมความพร้อม หารือ การทำกิจกรรมร่วมกันและพูดคุยกับปราชญชุมชน ในการจัดทำเมนู สุมนไพร
    2. ประสานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กับ อสมรพสต ควนโดน เพื่อวิเคราะห์สถานะสุขภาพ
    3. ประสานกลุ่มเป้าหมาย และวิทยากร
    4. จัดพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ถึงชายเริ่น(ถึงชายคาบ้าน)ร่วมเวทีชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพ จำนวน 45 คน
    5. วิทยากรคอยสรุปแนะนำรูปแบบการปฏิบัติตนที่เหมาะสม นำของจริงมาเล่าสู่การฟัง และปรับเรื่องจริง ความเชื่อที่ยังไม่ถูกต้อง
      ุ6. จัดทำสมุดบันทึกน้ำหนัก รอบเอวพร้อมมีคำแนะนำเรื่องอาหาร การออกกำลังกายในสมุด
    6. นำเสนอเมนู ตำรับอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน
    7. ประสาน อสม. แบ่งโซนการติดตาม และรายงานสถานะสุขภาพ ทุก 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีรูปแบบการออกกำลังกายสอดคล้องอาชีพ จำนวน 1 ชุด
    2. มีตำรับอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน
    3. จำนวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เรื่องการร่วมกลุ่ม จำนวน 50 ครัวเรือน
    4. ประชาชนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีสุขภาพดีขึ้น
      กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ถึงชายเริ่น(ถึงชายคาบ้าน)มี 3วัน กลุ่มเป้าหมายลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมมีการซักประวัติและได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นเช่นการวัดความดันชั่งน้ำหนักวัดรอบเอวโดยทีมอสม.จดบันทึกลงในสมุดประจำตัวพี่เลี้ยงได้พบปะพูดคุยแนะนำเกี่ยวกับการจดบันทึกลงในสมุดประจำตัวกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    ประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลังจากนั้นวิทยากรได้เริ่มกระบวนการด้วยการร่วมพูดคุยให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพโดยร่วมของชุมชนเรื่องการรับประทานอาหารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพการออกกำลังกายและได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันมีการแบ่งกลุ่มจัดทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งแต่ละกลุ่มมีเมนูอาหารที่ไม่ซ้ำกันเสร็จแล้วจะต้องนำอาหารมาบรรยายสรรคุณและสารอาหารที่จะได้รับในแต่ละเมนูให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบด้วย และมีการสาธิตการออกกำลังกายไม้พลองป้าบุญมีโดยมีวิทยากรชุมชนเป็นผู้สาธิตและนำผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนออกกำลังกายกิจกรรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนจะได้รับเมล็ดพันธ์ผักเพื่อต่อยอดการปลูกผักปลอดสารเคมีรับประทานในครัวเรือน

     

    45 45

    16. จัดทำรายงานปิดงวดที่ 1

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามรายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 1ส 1และ ง 1 เอกสารทางการเงิน พร้อมทั้งรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ สรุปผลการดำเนินงาน ระยะที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจเอกสารทางเงิน เพื่อปิดการรายงานการเงินงวด 1 โดยมีเจ้าหน้าที่ให้การแนะนำในการแยกหมวดหมู่ทางการเงินให้ถูกต้อง และการส่งรายงาน การทำใบปะหน้าในการตรวจเอกสารให้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และรวมถึงการดำเนินแบบ ภาคีเครือข่าย ในการดำเนินโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายมากที่สุด

     

    2 2

    17. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ 5 กพ.

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา และการทำงานในกิจกรรมในระยะต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของสภาผู้นำในชุมชน ประเมินและติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ  และวางแผนงาน การพบปะพูดคุย ทำให้คนในชุมชนเกิดความเข้าใจ

     

    22 22

    18. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ึ 6 มีค

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คัดเลือกและแต่งตั้ง สภาผู้นำชุมชนโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ในชุมชนที่มีความหลากหลายกลุ่ม เช่น อสม กลุ่มกองทุน เยาวชน โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 2 โซน เหนือและใต้ จำนวน 22 คน
    2. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
    3. จัดทำแผนการประชุม ติดตามการดำเนินงานจำนวน10ครั้ง
    4. ทำคำสั่งแต่งตั้งทีมทำงาน
    5. เลขาทีมรับผิดชอบโครงการ ประเมินผลและสรุปกิจกรรม
    6. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ จำนวน 10 ครั้ง.
    7. มีการประชุมประจำเดือนเพื่อปรึกษาหารือเรื่องโครงการและปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีสภาผู้นำจำนวน 1ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน 3.การประชุม แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวางแผนการทำกิจกรรมครั้งต่อไปติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของสภาผู้นำในชุมชน ร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปประเมินและติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและวางแผนงาน การพบปะพูดคุย ทำให้คนในชุมชนเกิดความเข้าใจ

     

    22 22

    19. พัฒนารูปแบบสื่อการออกกำลังกาย

    วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชนเตรียมความพร้อม ประชุมหารือ การทำกิจกรรมร่วมกันและพูดคุยกับปราชญชุมชน ในการจัดทำเมนู สุมนไพร
    2. ประสานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กับ อสมรพ.สต ควนโดน เพื่อวิเคราะห์สถานะสุขภาพ
    3. ประสานกลุ่มเป้าหมาย และวิทยากร
    4. จัดพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ถึงชายเริ่น(ถึงชายคาบ้าน)ร่วมเวทีชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพ จำนวน 45 คน
    5. วิทยากรคอยสรุปแนะนำรูปแบบการปฏิบัติตนที่เหมาะสม นำของจริงมาเล่าสู่การฟัง และปรับเรื่่องจริง ความเชื่อที่ยังไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม จำนวน 3 วัน ุ6. จัดทำสมุดบันทึกน้ำหนัก รอบเอวพร้อมมีคำแนะนำเรื่องอาหาร การออกกำลังกายในสมุด
    6. ศึกษาสอบถาม พัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะกับการประกอบอาชีพ
    7. นำเสนอเมนู ตำรับอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน
    8. ประสาน อสม. แบ่งโซนการติดตาม และรายงานสถานะสุขภาพ ทุก 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีรูปแบบการออกกำลังกายสอดคล้องอาชีพ จำนวน 1 ชุด
    2. มีตำรับอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน
    3.จำนวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เรื่องการร่วมกลุ่ม จำนวน 50 ครัวเรือน
    4.ประชาชนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีสุขภาพดีขึ้น

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    1. แกนนำสุขภาพสามารถทำกิจกรรมเพิ่ม-กระตุ้น บทบาท และเป็นแกนนำสุขภาพ
    2. มีรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบเข้มแข็ง ยั่งยืน
    3. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การดูแลตนเอง ตามมาตรฐาน 3 อ.
    4. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีกำลังใจในการออกกำลังกาย
    5. มีเอกสารให้ความรู้ และสื่อประชาสัมพันธ์การออกกำลังกาย
    6. ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ และมีต้นแบบในการนำเอาปฏิบัติเกิดพฤติกรรมที่ยั่งยืน ทำให้ลดปัญหาโรควิถีชีวิต

     

    45 45

    20. ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนรวมและบูรณาการแผนร่วมกัน

    วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงานร่วมเตรียความพร้อม ประชุม หารือ การเตรียมวัน สถานที่ ข้อมูล และการประสานวิทยากรในการจัดทำแผน
    2. มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน 3. ประสานพี่เลี้ยงและทีมวิทยากร เพื่อเข้าร่วมในกระบวนการจัดทำแผน 4. ประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา โดยทีมสภาผู้นำชุมชนตัวแทนหมู่บ้านเพื่อการมีส่วนร่วมและการบูรณาการแผนร่วมกันโดยครอบคลุมประเด็นด้าน สังคม เสรษฐกิจ สุขภาพ
    3. คณะทำงาน วิทยากร สรุปแผนชุมชน
    4. นำเสนอแผน 8. คณะทำงาน จัดกำหนดการติดตาม ประชุม ประเมินผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดแผนชุมชนแบบบูรณาการเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพ จำนวน 1 แผน 2.จำนวนแกนนำของหมู่บ้านร้อยละ 70 เข้าร่วมประชุมจัดทำแผน 3.มีการนำแผนชุมชนมาแก้ไขปัญหา ในการส่งเสริมสุขภาพ เศรษฐกิชุมชนและสังคม

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    วันที่18มี.ค.2559 คณะทำงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนพร้อมกันเมื่อพร้อมแล้วประธานโครงการนายสันติดาราหมานเศษได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนรวมและบูรณาการแผนร่วมกันในวันนี้ หลังจากนั้นได้เชิญอิหม่ามมาพูดคุยแนะนำการใช้ชีวิตตามหลักศาสนาควบคู่กับการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันถ้าทำได้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะในยุคปัจจุบันค่าใช้จ่ายมีมากถ้าเราเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวเช่นการปลูกผักกินเองการปลูกพริกตะไครผักริมรั่วต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำลึกซึ่งสามารถลดการใช้จ่ายได้บ้างและเป็นผลดีต่อสุขภาพด้วยจากนั้นผู้ใหญ่ได้มาพูดคุยเกี่ยวกับงบประมาณที่รัฐบาลได้ให้งบมาตอนนี้ได้ทำไปเรียบร้อยแล้วและจะมีโครงการเกี่ยวกับการปลูกสมุนไพรให้กับชาวบ้านซึ่งกำลังกำเดินการอยู่และการทำกิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ทุกคนจะได้เสนอความคิดเห็นและนำเสนอแผน/โครงการเพื่อที่จะนำไปทำแผนชุมชนได้ต่อจากนั้นนายวินิจตาเดอินวิทยากรได้เข้าขั้นตอนกระบวนการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนเบื้องต้นให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอธิบายเกี่ยวกับและกระบวนการซึ่งจะมีขั้นตอนคือ 1. การเตรียมชุมชนในการจัดทําแผนชุมชนคือการที่มีข้อมูลเบื้องต้นของชุมชนหรือข้อมูบพื้นฐานเกี่บวกับชุมชน 2. การประเมินศักยภาพของชุมชนในด้านต่างๆ3. การกำหนดวิสัยทัศน์แนวทางและจุดมุ่งหมายในการพัฒนาชุมชน 4. การกําหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชน 6. การกําหนดแผนงาน / โครงการแนวทางทั้งด้านการพัฒนา และการแก้ไข้ปัญหาชุมชนร่วมทั้งกิจกรรมการพัฒนาชุมชน

    วันที่19มี.ค.2559 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคณะทีมงานมาลงทะเบียนพร้อมกันหลังจากนั้นนายสันติดาราหมานเศษประธานโครงการได้พูดคุยเกี่ยวกับการจัดทำแผนในวันนี้ซึ่งเป็นกิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนรวมและบูรณาการแผนร่วมกันเป็นกิจกรรมต่อจากเมื่อวาน และวันนี้มีวิทยากรที่จะมาช่วยในเรื่องของการจัดทำแผนโดนมีนายรินหลังยาหน่ายเจ้าหน้าที่ อบต.หัวหน้าสำนักปลัดผู้รับผิดชอบในเรื่องของแผนชุมชนได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการจัดทำแผนและกระบวนการจัดทำแผนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการโดยการมีส่วนรวมและสามารถนำแผนนี้ไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาของ อบต.ได้กิจกรรมในวันนี้ได้มีการเสนอความคิดเห็นซึ่งแบ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกได้ 3 กลุ่มซึ่งจะมาร่วมกันทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและปัญหาของชุมชนออกเป็น3ด้านคือด้านเศรษฐกิจด้านสังคมด้านสุขภาพและแต่ละกลุ่มสามารถวิเคราะห์ได้คือ ด้านเศรษฐกิจชุมชนมีปัญหาคือ ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำหนี้สินรายได้ไม่พอกับรายจ่ายแนวทางการแก้ไขคือการส่งเสริมให้มีอาชีพเสริมและการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน
    ด้านสังคมชุม ชนมีปัญหาคือปัญหายาเสพติดคนในชุมชนขาดความรักสามัคคีแนวทางการแก้ไขการนำศาสนาบำบัดมาใช้เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นทางด้านครอบครัวทางด้านสังคมการอยู่รวมกันในชุมชน เพื่อให้สังคมเกิดความสามัคคี ด้านสุขภาพชุมชนมีปัญหาคือการขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพคนในชุมชน/หมู่บ้านมีปัญหาเรื่องโรคอ้วนแนวทางการแก้ไขมีการสนับสนุนการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีการให้ความรู้เรื่องสุขภาพเป็นประจำส่งเสริมการกินที่มีประโยชน์เพื่อให้ห่างไกลโรค วันที่20มี.ค.2559 ในวันที่3ของการจัดกิจกรรมคณะทำงานและวิทยากรร่วมกันคิดวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนที่ได้มาโดยครอบคลุมทุกประเด็นทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจด้านสุขภาพของคนในชุมชนเพื่อนำมาสรุปและสร้างแผนพัฒนาชุมชน เพื่อชุมชนที่เข้มแข็งพร้อมทั้งร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนของคนในชุมชนต่อไป การทำกิจกรรมกิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนรวมและบูรณาการแผนร่วมกันทั้งหมด3วัน ซึ่งกิจกรรมนี้ก่อให้เกิดและเห็นแผนชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วนคนในชุมชนเอง

     

    22 22

    21. จัดกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสร้างความรัก ความไว้วางใจและมีทัศนะคติที่ดีต่อกัน

    วันที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ก่อนเริ่มกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ มีการจัดกิจกรรมสัมพันธ์ เพื่อละลายพฤติกรรม แก่กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน ประชาชน 100คน เพื่อสร้างความรักความคุ้นเคย ความไว้วางใจ การยอมรับตลอดจนเพื่อสร้างการมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลร่วมกัน
    2. จัดโซน จัดสี คละกันระหว่างเหนือใต้ เพื่อการสร้างสัมพันธภาพ ละลายพฤติกรรม และการเปิดใจในการอยู่ร่วมกันในชุมชนโดยผ่านกิจกรรม
      1. มีการจัดกีฬาพื้นบ้านเชื่อมความสามัคคี 2.ร่วมลงแขกเตรียมแปลงผักและปลูกผักในชุมชนซึ่งมีพื้นที่ว่างเปล่าของชุมชน
      2. เตรียมแปลงผักในชุมชนซึ่งมีพื้นที่ว่างเปล่าของชุมชนอยู่แล้ว
    3. ร่วมปลูกผักในแปลงสาธิตของชุมชนเพื่อเป็นแหล่งอาหารของชุมชนและเป็นฐานเรียนรู้ของชุมชนต่อไป 5 มอบหมายภาระกิจร่วมกันดูแล ทำอย่างต่อเนื่องกำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลแปลงพักรวมของชุมชน โดยกำหนดออกเป็น 4 กลุ่มในกลุ่มประกอบด้วยคณะทำงานสภาผู้นำ เด็ก เยาวชน
    4. นำผักที่ได้แจกจ่ายให้คนในชุมชนและเป็นอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนในโรงเรียน
    5. ทำพันธะสัญญาการดูแลร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร้อยละ 60 ของประชากรมีส่วนร่วมการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    กิจกรรมสัมพันธ์เชื่อมรัก ความสามัคคี 08.30 น.-09.00 น.-รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.00-09.30 น.-นายสันติดาราหมานเศษประธานโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในวันนี้ พร้อมกล่าวเปิดงาน และมอบหมายหน้าที่ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ให้กับวิทยากรกระบวนการ 09.30 – 10.15 น. – วิทยากรได้เริ่มกิจกรรมโดยการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบ่งกลุ่มออกเป็นโซนเพื่อทำกิจกรรมสัมพันธ์สร้างความสามัคคีร่วมกัน 10.15-12.00 น. – ลงพื้นที่ร่วมกันเตรียมที่ดินว่างเปล่าในบริเวณโรงเรียนเป็นแปลงดินเพื่อปลูกผักเป็นแปลงผักสาธิตและให้เป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กๆ โรงเรียนบ้านถ้ำทะลุ 12.00- 13.30 น.- รับประทานอาหารร่วมกัน
    13.30 – 16.30 น .- เริ่มกิจกรรมช่วงบ่ายเป็นการแข่งกีฬาและกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งมีการแข่งขันฟุตบอลวอลเลย์บอลและกีฬาพื้นบ้านมีการแข่งขันโยนโบลิงมะพร้าว ชักเย่อ โดยเริ่มเปิดสนามแข่งขันด้วยการแข่งโยนโบว์ลิ่งมะพร้าว โดยแบ่งคนเล่นออกเป็น 2 กลุ่มเป็นโซนบ้านเหนือและโซนบ้านใต้ ให้มีคนเท่าๆ กัน เมื่อแบ่งทีมเสร็จแล้ว ให้ไปอยู่คนละแถวโดยให้โยนลูกมะพร้าวครั้งละ 1 คนเมื่อโยนครบทุกคนแล้วทีมที่โยนได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ กีฬาชักเย่อวิธีเล่นจัด คนเล่นออกเป็น 2 กลุ่มโดยแบ่งเป็นโซนบ้านเหนือและโซนบ้านใต้ ให้มีกำลังพอๆ กัน เมื่อแบ่งพวกเสร็จแล้ว ให้ไปอยู่คนละข้างของไม้หรือเชือกนั้น ให้คนหัวแถวจับก่อนข้างละคน นอกนั้นให้จับเอวกันตลอดทั้งสองข้าง เมื่อ ให้สัญญาณแล้วต่างฝ่ายก็ลงไปข้างหลังทุกคนระเบียบการตัดสิน ใช้ตัดสินกันเองหรือให้มีผู้ตัดสิน ๑ คน ยืนตรงกลางให้สัญญาณและตัดสินได้ เพื่อให้รู้แน่ว่าฝ่ายใดแพ้ชนะจะปักธง ไว้ตรงกลางก็ได้ ฝ่ายใดถูกดึงเลยเขตได้หมดตั้งแต่หนึ่งศอกขึ้นไปนับเป็นแพ้
    หลังจากนั้นจะเป็นการแข่งขันฟุตบอลและวอลเลย์บอลเมื่อจบการแข่งขันครบทุกรายการกีฬาแล้วนายสันติดาราหมานเศษประธานโครงการ มอบของรางวัลแก่ทีมที่ชนะแต่ละประเภท ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ได้สร้างความสุข ความสนุกสนาน และความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างยิ่ง - ประธานโครงการ ขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือด้วยดีและกล่าวปิดกิจกรรมในครั้งนี้

     

    100 101

    22. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ 7 เมย

    วันที่ 16 เมษายน 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คัดเลือกและแต่งตั้ง สภาผู้นำชุมชนโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ในชุมชนที่มีความหลากหลายกลุ่ม เช่น อสม กลุ่มกองทุน เยาวชน โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 2 โซน เหนือและใต้ จำนวน 22 คน
    2. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
    3. จัดทำแผนการประชุม ติดตามการดำเนินงานจำนวน10ครั้ง
    4. ทำคำสั่งแต่งตั้งทีมทำงาน
    5. เลขาทีมรับผิดชอบโครงการ ประเมินผลและสรุปกิจกรรม
    6. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ จำนวน 10 ครั้ง
    7. มีการประชุมประจำเดือนเพื่อปรึกษาหารือเรื่องโครงการและปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีสภาผู้นำจำนวน 1ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน 3.การประชุม แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ80 การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    • เวลา 13.30 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน • เริ่มการประชุมโดยนายสันติดาราหมานเศษประธานโครงการชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุได้สรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา2กิจกรรม คือ กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนรวมและบูรณาการแผนร่วมกันและจัดกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสร้างความรัก ความไว้วางใจและมีทัศนะคติที่ดีต่อกัน เป็นกิจกรรมที่ทำในเดือนมีนาคม โดยสรุปดังนี้ กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนรวมและบูรณาการแผนร่วมกันมีผู้เข้าร่วม22 คน ถือเป็นผลตอบรับที่ดี ทุกคนได้รับความรู้เรื่องการการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมซึ่งองค์กรหน่วยงานต่างๆสามารถนำแบบแผนนี้ไปปรับรูปแบบใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนมากที่สุดและกิจกรรมที่ 2คือ กิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสร้างความรัก ความไว้วางใจและมีทัศนะคติที่ดีต่อกันถือเป็นกิจกรรมที่สร้างความรักสามัคคีให้กับคนในชุมชนเพิ่มมากขึ้นซึ่งทั้ง2กิจกรรมถือว่าผ่านไปได้ด้วยดี
    • ในประเด็นต่อมาเป็นการวางแผนในการจัดกิจกรรมถัดไป โดยครั้งหน้ากิจกรรมพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนในการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยกำหนดทำกิจกรรมวันที่ 18 เมษายน 2559 ตามปฎิทินโครงการ ที่ประชุมเห็นว่าควรจัดตามปฎิทินไม่มีการเปลี่ยนแปลงและในกิจกรรมลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลการทำระบบบัญชีรายรับ – รายจ่ายของครัวเรือนจะทำกิจกรรมกันในวันที่23 เมษายน2559 ตามปฎิทินโครงการเช่นกันเพื่อให้โครงการบรรลุตามแผนที่วางไว้
    • ประเด็นสุดท้าย ได้ซักถามถึงปัญหากิจกรรมที่ผ่านมา ที่ประชุมไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้น

     

    22 22

    23. กิจกรรมบัญชีครัวเรือน ช่วยออม สู่สุขภาพดี

    วันที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชน นำเสนข้อมูลการจัดทำและข้อมูลสถานการณ์รายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน หนี้สิน
    2. เชิญตัวแทนครัวเรือนกิจกรรมซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ทีมคณะทำงานโครงการ ,เด็กและเยาวชนและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 3.พัฒนาศักยภาพคนในชุมชน การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนโดยเจ้าหน้าที่ ธกส.

    4.พัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลระบบบัญชีรายรับ -รายจ่าย ของครัวเรือน โดยคณะทำงานโครงการ,เด็กเยาวชนและภาคีที่เกี่ยวข้องหลังจากเสร็จกิจกรรมในระยะประเมินผล

    5.ทีมเยาวชนลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน ติดตามก่อน-หลังเพื่อ ประเมินครัวเรือน ตลอดการสร้างแรงจูงใจในการทำบัญชีอย่างถูกต้องสำหรับครัวเรือน ที่มีรายได้เพิ่ม รายจ่ายลด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ร้อยละ 60 คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 2.เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 50 หลัง ในการทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 3. รายได้ต่อครอบครัวของคนในชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40จากการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือน 4.จำนวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เรื่องการร่วมกลุ่ม มากกว่า ร้อยละ 70

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    วันที่18เม.ย.2559

    08.30 -09.00 น.-รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.00 -09.30น.-ประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และรายงานการจัดกิจกรรมหลายๆ กิจกรรมที่ผ่านมาซึ่งทุกๆ กิจกรรมจะได้รับความร่วมมือจากทุกคนเป็นอย่างดีและกล่าวแนะนำวิทยากรนางสาวเจลวลีปะดุกาครูบัญชีอาสา ที่จะมาให้ความรู้เรื่องการทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายของครัวเรือน 09.30 - 12.00น.วิทยากร บรรยายให้ความรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งการทำบัญชีรับ-จ่ายหมายถึง การจดบันทึกรายการเกี่ยวกับการเงินทุกรายการ ทั้งที่ได้รับเข้ามาและที่ต้องจ่ายออกไป เพื่อเปรียบเทียบว่ารายรับ - รายจ่ายของแต่ละวันว่าจะมีรายรับมากกว่ารายจ่ายหรือไม่ ซึ่งประโยชน์ของการทำบัญชีรับ-จ่าย
    1.เพื่อจดบันทึกรายการการดำเนินกิจการเรียงลำดับก่อนหลัง
    2.ง่ายต่อการตรวจสอบ 3.เป็นการควบคุมรักษาทรัพย์สินของกิจการ 4.ป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินกิจการ
    5.สามารถปรับปรุงแก้ไขทัน 6.ทำให้ทราบฐานะของกิจการ 7.เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบผลกำไร-ขาดทุนได้ทุกเวลา เวลา12.00 - 13.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวันและทำภารกิจต่างๆ ช่วงบ่ายเริ่มตั้งแต่เวลา13.30น.เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาพร้อมกันแล้ววิทยากรได้ให้ทุกคนได้จดรายรับของแต่ละคนในวันนี้และลองลงมือทำบัญชีครัวเรือนของตนเองว่าแต่ละคนจะมีรายรับหรือรายจ่ายมากกว่ากันและนำบัญชีที่ทำมาตรวจความถูกต้องซึ่งพบว่าทุกคนได้มีความรู้ เข้าใจในเรื่องของการทำบัญชีครัวเรือน มาบ้างแล้ว แต่การลงรายการบางช่องอาจสับสนอยู่บ้าง ซึ่งวิทยากรได้ให้คำแนะนำและทำความเข้าใจในส่วนที่สงสัยทุกรายการเพื่อให้ทุกคนได้ลงบัญชีที่ถูกต้องต่อไปและแจ้งว่าจะมีการติดตามการทำบัญชีจากทีมงานโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

    91 93

    24. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลการทำระบบบัญชีรายรับ - รายจ่ายของครัวเรือน

    วันที่ 23 เมษายน 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชน นำเสนข้อมูลการจัดทำและข้อมูลสถานการณ์รายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน หนี้สิน
    2. เชิญตัวแทนครัวเรือนกิจกรรมซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ทีมคณะทำงานโครงการ ,เด็กและเยาวชนและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

    3.พัฒนาศักยภาพคนในชุมชน การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนโดยเจ้าหน้าที่ ธกส.

    4.พัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลระบบบัญชีรายรับ -รายจ่าย ของครัวเรือน โดยคณะทำงานโครงการ,เด็กเยาวชนและภาคีที่เกี่ยวข้องหลังจากเสร็จกิจกรรมในระยะประเมินผล

    5.ทีมเยาวชนลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน ติดตามก่อน-หลังเพื่อ ประเมินครัวเรือน ตลอดการสร้างแรงจูงใจในการทำบัญชีอย่างถูกต้องสำหรับครัวเรือน ที่มีรายได้เพิ่ม รายจ่ายลด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ร้อยละ 60 คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 2.เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 50 หลัง ในการทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 3. รายได้ต่อครอบครัวของคนในชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40จากการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือน 4.จำนวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เรื่องการร่วมกลุ่ม มากกว่า ร้อยละ 70

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    คณะกรรมการโครงการได้จัดทีมเยาวชนแบ่งออกเป็น2โซนลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนเพื่อจัดเก็บและติดตามการทำบัญชีนำมาประเมินครัวเรือน ตลอดการสร้างแรงจูงใจในการทำบัญชีอย่างถูกต้องสำหรับครัวเรือน ที่มีรายได้เพิ่ม รายจ่ายลด ของสมาชิกที่เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรม และกระตุ้นให้สมาชิกโครงการฯได้ทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและให้คำแนะนำใส่ส่วนที่ยังไม่เข้าใจและเพื่อเป็นการประเมินผลการดำเนินงาน ในแต่ละกิจกรรม สามารถนำไปสรุปผล เพื่อตัดสินผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ และมอบรางวัลให้กับครอบครัวตัวอย่างที่สามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

     

    25 22

    25. ประชุมทีมงาน ครั้งที่8พ.ค.

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คัดเลือกและแต่งตั้ง สภาผู้นำชุมชนโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ในชุมชนที่มีความหลากหลายกลุ่ม เช่น อสม กลุ่มกองทุน เยาวชน โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 2 โซน เหนือและใต้ จำนวน 22 คน
    2. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
    3. จัดทำแผนการประชุม ติดตามการดำเนินงานจำนวน10ครั้ง
    4. ทำคำสั่งแต่งตั้งทีมทำงาน
    5. เลขาทีมรับผิดชอบโครงการ ประเมินผลและสรุปกิจกรรม
    6. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ จำนวน 10ครั้ง.
    7. มีการประชุมประจำเดือนเพื่อปรึกษาหารือเรื่องโครงการและปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีสภาผู้นำจำนวน 1ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน
    2. มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน 3.การประชุม แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ80
    3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำได้ทำการประชุมตามวาระดังนี้ • เวลา 13.30 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน • เริ่มการประชุมโดยนายสันติดาราหมานเศษประธานโครงการชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุได้สรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา2กิจกรรม คือ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนในการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยทำกิจกรรมวันที่ 18 เมษายน 2559และกิจกรรมลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลการทำระบบบัญชีรายรับ – รายจ่ายของครัวเรือน โดยสรุปดังนี้ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนในการจัดทำบัญชีครัวเรือนถือเป็นผลตอบรับที่ดี ทุกคนได้รับความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนการคุมการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดการออมและมีเงินเก็บ ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้มากและกิจกรรมที่ 2เป็นการลงติดตามการจัดทำบัญชีครัวเรือนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อดูว่าจัดทำบัญชีได้ตรงและถูกต้องหรือไม่พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจในการลงบัญชีซึ่งทั้ง 2กิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดี
    • ในประเด็นต่อมาเป็นการวางแผนในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป จัดกิจกรรมประมาณวันที่19 พ.ค. 2559 - 21 พ.ค. 2559นี้ • ประเด็นสุดท้าย เป็นการซักถามถึงปัญหากิจกรรมที่ผ่านมา ที่ประชุมไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้น

     

    22 22

    26. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพครูชุมชน

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชนร่วมหารือแนวทางการดำเนินงาน ร่วมกำหนดรูปแบบ
    2. จัดหาสถานที่ศูนย์รวมของชุมชน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง
    3. ศึกษา ทุนชุมชน องค์ความรู้ ในชุมชนและสอบถามความต้องการการเรียนรู้ ฝึกอาชีพในด้านใดบ้าง
    4. คัดเลือก ครูชุมชน จำนวน30คนประสานวิทยากรทั้งภายนอกและปราชญ์ชาวบ้าน
    5. พัฒนาศักยภาพ ฝึกอบรมครูชุมชนด้านอาชีพ จำนวน 3 วัน ในกิจกรรมที่กลุ่มสนใจ เพื่อการเรียนรู้และเป็นครู ก เช่น การเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์มที่เหลือใช้ที่มีอยู่ในชุมชนโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติโดยแบ่งกลุ่ม 1.เพาะเห็ดฟาง 2.ทำน้ำยาล้างจาน
    6. น้ำหมักชีวภาพ
    7. หรือการปลูกผักตามที่สมาชิกสนใจ
    8. แบ่งกลุ่ม ออกเป็น 7 กลุ่ม คละโซน
    9. เรียนรู้ตามฐาน
    10. สรุปผลการดำเนินงาน
    11. ขยายผลสอนโดยให้สมาชิกในชุมชมที่สนใจเพิ่ม ประกอบด้วยสมาชิก 10-11 คนต่อกลุ่มพร้อมคัดเลือกประธานกลุ่ม สำหรับแนวทางการบริหารจัดการการดำเนินกิจกรรม โดยเน้นเพื่อผลิตบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจะจำหน่ายตามตลาด/ร้านอาหารในชุมชน เพื่อหารายได้เข้ากลุ่มเก็บไว้ทำทุนในการดำเนินการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดวิทยากรครูชุมชนที่จะเป็นเครือข่ายในการต่อยอดและการเรียรู้ร่วมกันของชุมชน จำนวน 30 คน
    2. เกิดคนต้นแบบในการนำภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน
    3. มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน1 แห่ง

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    กิจกรรมพัฒนาศักยภาพครูชุมชนจัดกิจกรรมจำนวน ๓วันเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพให้กับคนอื่นต่อไปได้ วันที่หนึ่ง 08.30-09.00น.ลงทะเบียน 09.00-09.30น.ประธานโครงการชี้แจงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
    09.30 – 12.00น.ประธานโครงการแนะนำวิทยากรนายนรามียังเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอได้มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่อง แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการใช้ชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรัสแก่ชาวไทย เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสของความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆของสังคมได้ การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง และความไม่ประมาท หลักความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย3ห่วง 2เงื่อนไข 3ห่วงคือ •ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น
    •ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
    •การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในอนาคต เศรษฐกิจพอเพียงถือว่าเป็นร่างฐานของการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข รู้จักพอประมาณ ซื่อสัตย์ มีภูมิคุ้มกันในตัวถ้าทุกคนทำได้ก็จะทำให้เกิดความสุขและไม้จนอย่างแน่นอน การตัดสินใจอะไรก็แล้วแต่ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น จะต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ก็คือ 2 เงื่อนไขซึ่งประกอบด้วย • เงื่อนไขความรู้ประกอบด้วย ความรอบรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้นั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในการปฏิบัติ • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์และมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงถือเป็นแนวทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา ทั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 12.00 – 13.30น.พักรับประทานอาหารกลางวันและทำศาสนกิจ 13.30 – 16.00 น.เริ่มการบรรยายให้ความรู้การทำการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและการประกอบอาชีพเสริมในครัวเรือนโดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรและสามรถทำให้รายจ่ายในครัวเรือนลดลง

    วันที่สอง 08.30-09.00น.ลงทะเบียน 09.00 – 12.00น.เชิญ นายรอเฉดลัสมาน ปราชญ์ชาวบ้าน(หมอดินอาสา) มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องการลดต้นทุนการผลิตปุ๋ยต่างๆนายรอเฉด ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้จากการไปศึกษาดูงานจากที่ต่างๆว่าส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงคือเป็นการประกอบอาชีพตามทรัพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้ความสามารถเพื่อให้เกิด ความพอเพียงในลักษณะของความพออยู่ พอกินทำให้เกิดความสุขภายในครอบครัวหากเหลือจากการใช้สามารถนำไปขายเพื่อเป็นรายได้และเก็บออมเป็นเงินทุนต่อไปการอยู่แบบพอเพียงสามารถทำได้คือ • ปลูกผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
    • ใช้ปุ๋ยคอกและทำปุ๋ยน้ำหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดินซึ่งสิ่งเหล่านี้ทุกคนสามารถทำได้ถ้ามีความตั้งใจหมู่บ้านของเราคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรการทำการเกษตรที่ผ่านมาเราต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีและสารเคมีมากเกินไปทำให้ดินที่เพาะปลูกเสื่อมสภาพจากการที่ได้ไปดูงานจากที่ต่างๆนั้นทำให้เห็นว่าเราสามารถลดต้นทุนรายจ่ายจากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและครัวเรือนของเราได้นั้นคือการทำปุ๋ยน้ำหมักโดยใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็นปัจจัยการผลิตเป็นปุ๋ย เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเป็นการบำรุงดินอีกด้วยการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากการนำของเหลือใช้ในครัวเรือนมาหมักทำเป็นปุ๋ยใช้ ซึ่งจะทำให้สามารถลดรายจ่ายในเรื่องของการซื้อปุ๋ยเคมีได้และมีความปลอดภัยพร้อมทั้งตอบปัญหาข้อซักถาม ต่างๆของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 12.00 – 13.30น.พักรับประทานอาหารกลางวันและทำศาสนกิจ 13.30 – 16.00 น.ให้ความรู้เรื่องการทำอาชีพเสริมจากการเพาะเห็ดและทำปุ๋ยหมักเพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้และสามารคนำไปถ่านทอดให้ผู้อื่นได้

    วันที่สาม 09.00-09.30น.ลงทะเบียน 09.30-12.00น.เริ่มกระบวนการลงมือฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดและทำปุ๋ยหมัก 12.00 – 13.30น.พักรับประทานอาหารกลางวันและทำศาสนกิจ 13.30 – 16.00สรุปผลการฝึกปฏิบัติและให้ผู้เข้าร่มกิจกรรมได้สักถามและตอบคำถามต่าง ๆ

     

    30 30

    27. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ 9มิย.

    วันที่ 12 มิถุนายน 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คัดเลือกและแต่งตั้ง สภาผู้นำชุมชนโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ในชุมชนที่มีความหลากหลายกลุ่ม เช่น อสม กลุ่มกองทุน เยาวชน โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 2 โซน เหนือและใต้ จำนวน 22 คน
    2. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
    3. จัดทำแผนการประชุม ติดตามการดำเนินงานจำนวน10ครั้ง
    4. ทำคำสั่งแต่งตั้งทีมทำงาน
    5. เลขาทีมรับผิดชอบโครงการ ประเมินผลและสรุปกิจกรรม
    6. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ จำนวน 10ครั้ง.
    7. มีการประชุมประจำเดือนเพื่อปรึกษาหารือเรื่องโครงการและปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนทุกเดือน

    ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำได้ทำการประชุมตามวาระดังนี้ 1. ประธานได้ทำการชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการและกิจกรรมที่ผ่านมา2. ประธานได้ร่วมหารือการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปของโครงการคือการอบรมเชิงปฎิบัติการและทำความเข้าใจด้านการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ 3. คณะทำงานได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาถือว่าผลที่ออกมาประสบความสำเร็จด้วยดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีสภาผู้นำจำนวน 1ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน 2.มีการประชุมสภาผู้นำ แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ80 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำได้ทำการประชุมตามวาระดังนี้

    1. ประธานได้ทำการชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการและกิจกรรมที่ผ่านมา2. ประธานได้ร่วมหารือการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปของโครงการคือการอบรมเชิงปฎิบัติการและทำความเข้าใจด้านการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ 3. คณะทำงานได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาถือว่าผลที่ออกมาประสบความสำเร็จด้วยดี

     

    22 22

    28. กิจกรรมสร้างรายได้และการออม

    วันที่ 22 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. กลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม รวม 7 กลุ่มๆละ 10 คน รวม 70 คน อบรมเชิงปฏิบัติการและทำความเข้าใจ เรื่อง

    - เพาะเห็ดฟาง -ทำน้ำยาล้างจาน -น้ำหมักชีวภาพ -หรือการปลูกผักตามที่สมาชิกสนใจ จำนวน 2 วัน 2.จัดทำแปลงสาธิต โดยใช้เกษตรอินทรีย์ทั้งในระดับครัวเรือนและมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ในการบริโภค เพื่อการขยายไปสู่ชุมชนโดยรวมเพื่อความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกัน

    3.ครัวเรือนเริ่มดำเนินการในแต่ละครัวเรือนของตนเองโดยมีกติกาว่าครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องมีแปลงผักปลอดสารพิษในครัวเรือนจำนวนครัวเรือนละ 1 แปลง โดยร่วมกันลงแขกช่วยกันปรับแปลงช่วยกันปลูก และพบปะกันเพื่อร่วมกันเรียนรู้ 2ครั้ง 4. ประเมินผลด้านกิจกรรม สัมพันธภาพความพึงพอใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.รายได้ต่อครอบครัวของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น จากการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือน 2.สมาชิกลุ่ม มีการจัดร่วมกิจกรรมและมีผลผลิตนำมาใช้ในครัวเรือน ไม่น้อยกว่า 50 ครัวเรือน

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    จัดทำกิจกรรมและแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและประสานงานวิทยากรและสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมการสาธิต / ดำเนินการติดตามประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายก่อนการอบรม การจ้ดกิจกรรมจะแบ่งเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมด้านวิชาการ ดำเนินการจัดอบรมส่งเสริมให้ความรู้อาชีพด้านภูมิปัญญาแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่นการเพาะเห็ดฟางการทำน้ำยาล้างจานการน้ำหมักชีวภาพการปลูกผักตามที่สมาชิกสนใจ เช่นพริตะไครริมรั้วบ้านตนเอง โดยยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการบรรยายในภาคทฤษฎี ระยะเวลาในการอบรมให้ความรู้ 1 วัน และ กิจกรรมด้านการฝึกปฏิบัติ เป็นการสาธิตฝึกปฏิบัติร่วมกับวิทยากร(ปราชญ์ชาวบ้าน) เพื่อเน้นการปฏิบัติจริง สามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง และสร้างแนวคิด เทคนิค และแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ระยะเวลาในการปฏิบัติการสาธิตการปฏิบัติจริงจำนวน 1 วันซึ่งมีการสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพน้ำยาล้างจานการเพาะเห็ดฟางและให้ผู้เข้าร่วมทดลองทำ *** ทำปุ๋ยหมัก *** ส่วนประสมและวิธีทำดังนี้สูตรที่ 1ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี *** สูตรที่2น้ำหมักชีวภาพจากปลา *** ส่วนผสม : เนื้อปลา น้ำกรดเข้มข้น 3% กากน้ำตาล 20% และหัวเชื้อจุลินทรีย์
    วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำมากรองกากมาทำปุ๋ย และน้ำไปฉีดพ่น เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนเหมาะแก่การเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ได้อีกด้วย ** การทำน้ำยาล้างจานวัสดุส่วนผสมการทำน้ำยาล้างจานคือ 1น้ำสะอาด10 ลิตร 2โซฮาแลบ30-ลดคราบ 1.5กก.
    3N-70 - ทำความสะอาด1กก.
    4เอ็มอี - ทำให้หนืด 160 กรัม
    5แอมโมเนียม คลอไรด์- ผงข้น 100 กรัม
    6 ผงกันบูด15 กรัม
    7สี -เหลืองหรือเขียว ตามสมควร
    8 กลิ่นมะนาว ตามสมควร วิธีทำน้ำยาล้างจาน ผสมโซฮาแลบ30 และ แอมโมเนียมคลอไรด์ เข้าด้วยกันคนจนส่วนผสมเป็นสีขาว แล้วจึงเติมเอ็มอี

    และ เอ็น70ลงไปค่อยๆเติมน้ำ กวนช้าๆไปจนเข้ากันดี แล้วเติมกลิ่นและสีดูความเข้มตามใจชอบทิ้งไว้จนหมด ฟอง(ประมาณ1-2 ชั่วโมง) จึงนำไปบรรจุขวดตามต้องการผู้เข้าร่วมโครงการได้ความรู้และแบ่งน้ำยาล้างจานที่ร่วมการทำไปใช้ในครัวเรือน

     

    60 73

    29. พบพี่เลี้ยงในการปรึกษาการดำเนินงาน

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เวลา 14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารครบตามรายละเอียดกิจกรรม

     

    2 2

    30. สภาผู้นำชุมชนออกติดตามการดำเนินกิจกรรม ในครัวเรือนและสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชนออกติดตามการดำเนินกิจกรรม ในครัวเรือน เช่นการจัดทำบัญชีครัวเรือน การปลูกพืชผักในครัวเรือน การใช้ปุ๋ย ชีวภาพ จำนวน 3 ครั้ง
    2. รวบรวมข้อมูลประเมิลผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีบุคคลต้นแบบในการพัฒนาเพิ่มขึ้น
    2.มีครัวเรือนต้นแบบในการพัฒนาเพิ่มขึ้น

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    ทีมสภาผู้นำชุมชนได้ลงพื้นที่ออกติดตามการดำเนินกิจกรรม ในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ในเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนจำนวน3ครั้ง พร้อมทั้งให้คำแนะนำและสร้างแรงจูงใจในการทำบัญชีอย่างถูกต้องแนะนำเรื่องการปลูกผักในครัวเรือน และเรื่องการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากกิจกรรมที่ได้อบรมร่วมกันและเพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการประเมิลผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม

     

    22 22

    31. ประชุมทีมงาน ครั้งที่ 10ส.ค.

    วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คัดเลือกและแต่งตั้ง สภาผู้นำชุมชนโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ในชุมชนที่มีความหลากหลายกลุ่ม เช่น อสม กลุ่มกองทุน เยาวชน โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 2 โซน เหนือและใต้ จำนวน 22 คน
    2. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
    3. จัดทำแผนการประชุม ติดตามการดำเนินงานจำนวน10ครั้ง
    4. ทำคำสั่งแต่งตั้งทีมทำงาน
    5. เลขาทีมรับผิดชอบโครงการ ประเมินผลและสรุปกิจกรรม
    6. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ จำนวน 10ครั้ง.
    7. มีการประชุมประจำเดือนเพื่อปรึกษาหารือเรื่องโครงการและปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีสภาผู้นำจำนวน 1 ชุด และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน
    2. มีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน 3.การประชุม แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ80
    3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำได้ทำการประชุมตามวาระดังนี้ • เวลา 13.30 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน • เริ่มการประชุมโดยนายสันติดาราหมานเศษประธานโครงการชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุได้สรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา คือ เป็นกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการและทำความเข้าใจด้านการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด70คนจำนวน2วันมีการให้ความรู้เรื่อง-การเพาะเห็ดฟางการทำน้ำยาล้างจาน การน้ำหมักชีวภาพ และการปลูกผักตามที่สมาชิกสนใจ ทั้งนี้ได้มีการจัดทำแปลงสาธิต โดยใช้เกษตรอินทรีย์ทั้งในระดับครัวเรือนและมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ในการบริโภค เพื่อการขยายไปสู่ชุมชนโดยรวมกิจกรรมนี้เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกัน • ในประเด็นต่อมาเป็นการวางแผนในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปเป็นกิจกรรมการถอดบทเรียนจัดทำแบบประเมิลความพึงพอใจของคนในชุมชนและสรุปแผนการดำเนินงาน จัดกิจกรรมประมาณวันที่ 24 ส.ค. 2559 นี้
    • ประเด็นสุดท้าย เป็นการซักถามถึงปัญหากิจกรรมที่ผ่านมา ที่ประชุมไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้น

     

    22 22

    32. พบพี่เลี่้ยงปรึกษาโครงการ

    วันที่ 13 กันยายน 2559 เวลา 14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนตามแผนกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เอกสารที่ถูกต้องและครบตามรายการที่จัดกิจกรรม

     

    3 3

    33. กิจกรรมการถอดบทเรียนและสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชนเตรียมข้อมูลบทบาทหน้าที่การทำงานที่ผ่านมาในโครงการ
    2. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของประชาชนในชุมชน
    3. .นำแบบประเมินมาสรุปก่อนล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลการทอดบทเรียนร่วมด้วย
    4. สภาผู้นำชุมชน และทีมเยาวชน ร่วมกระบวนการถอดบทเรียน
    5. สรุปสิ่งที่ได้จากถอดบทเรียน
    6. ร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ ร่วมวางแผน เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ด้านคนในชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างการทำงาน ว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไร ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร มีอะไรที่ควรทำต่อ และทำต่ออย่างไรเพื่อจะขยายผลต่อยอดในปีต่อไปในการต่อยอดการขยายผล ต่อในระยะ ปีที่ 2
    7. สรุปผลการดำเนินงานโดยภาพรวมภาวะหนี้สินเปรีบเทียบก่อน-หลังการดำเนินโครงการ ของคนในชุมชน
    8. จัดเตรียมเอกสารการใช้จายงบประมาณทั้งหมด ตรวจสอบความถูกต้อง
    9. นำเสนอกิจกรรมการประเมินผลแก่พี่เลี้ยงโครงการ
    10. สรุปรายงาน ส่ง สสส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีชุดข้อมูลจากการถอดบทเรียนจำนวน1ชุด
    2. มีแผนการดำเนินงานต่อยอดโครงการในปีต่อไป

    ผลสรุปกิจกรรม

    08.30 – 09.00 น. เริ่มลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 09.30 – 10.30 น. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงรายละเอียดโครงการ และประมวลผลภาพถ่ายกิจกรรม 10.30 – 12.00 น. ประชุมกลุ่มเป้าหมายและสรุปโครงการตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดโครงการ 12.00 – 13.30น.พักรับประทานอาหารเที่ยงพร้อมประกอบศาสนกิจ 13.30 -15.30 น.ประชุมกลุ่มเป้าหมายและสรุปโครงการตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดโครงการ (ต่อ)

    15.30 น.ปิดประชุมผลสรุปของกิจกรรมการประชุมเพื่อสรุปโครงการและคืนข้อมูลให้ชุมชนในครั้งนี้ประธานโครงการโดย นายสันติดาราหมานเศษ กล่าวเปิดประชุม และกล่าวชื่นชมพร้อมทั้งขอบคุณชาวบ้านทุกคนที่ให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรมของโครงการด้วยดีซึ่งในวันนี้ไดจัดกิจกรรมประชุมเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการและสรุปประเด็นหัวข้อในแต่ละกิจกรรม ผลที่ได้รับ ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และ รายงานภาพกิจกรรมต่างๆ ให้ทุกคนได้รับทราบ และกล่าวขอบคุณชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือมาด้วยดีมาตลอด และให้ชาวบ้านในชุมชนแสดงความคิดเห็น โดยที่ประชุมส่วนใหญ่ เห็นควรให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนและเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ที่ทำให้ชุมชนน่าอยู่มีกิจกรรมที่สามารถทำให้ทุกคนหันมาสนใจในการออกกำลังกายหันมาสนใจในเรื่องของสุขภาพและสามารถสร้างความรักสามัคคีกิจกรรมหลายกิจกรรมที่สามารถนำมาเป็นอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทำให้เด็กๆ มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีผู้นำที่ตั้งใจทำงานให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการทั้งหมด ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมและสร้างกระแสการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน โดยการจัดการชุมชนของตนเองเพื่อให้สามารถช่วยเหลือกัน และ พัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ต่อไป อย่างยั่งยืน พี่เลี้ยง และทีมงาน ได้เห็นพลังการขับเคลื่อนการจัดการตนเองด้านสุขภาพและด้านต่าง ๆ ในชุมชน เป็นเรื่องที่ดีมาก และพร้อมจะสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

     

    50 50

    34. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 2 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวบรวมภาพถ่ายทุกกิจกรรมเพื่อสรุปผลงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้จัดทำรายงานกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานทั้งหมดลงเว็บไซด์ให้เรียบร้อยและส่งภาพรายงานกิจกรรมผ่านทางเว็บไซด์

     

    2 2

    35. จัดทำรายงาน

    วันที่ 2 ตุลาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานกิจกรรม และจัดทำภาพถ่ายเพื่อสรุปผลงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จัดทำรายงานกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานทั้งหมดลงเว็บไซด์ให้เรียบร้อยและส่งภาพรายงานกิจกรรมผ่านทางเว็บไซด์ • จัดทำสรุปรายงานการเงิน • เคลียเอกสารหลักฐานการเงินในทุกกิจกรรมเรียบร้อย สมบูรณ์

     

    2 2

    36. งานสร้างสุขโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ 2559

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนร่วมงานสร้างสุขโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ ปี 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เรียนรู้นิทรรศการจากหลายๆพื้นที่เช่น การจัดทำสื่อต่างๆ
    2. การเข้าร่วมกิจกรรมในเวทีย่อย และเวทีส่วนกลาง
    3. ร่วมพิธีเปิดและพิธีปิด

     

    3 3

    37. พบพี่เลี้ยงปรึกษาโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 14.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจเอกสารและจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    ได้เอกสารและจัดทำรายงานที่ถูกต้อง

     

    3 3

    38. สรุปรายงานผลการดำเนินงานและปิดโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมรายละเอียดและผลงานกิจกรรมที่ทำมาในแต่ละกิจกรรมเพื่อนำมาสรุปจัดทำเป็นรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รวบรวมรายละเอียดและผลงานกิจกรรมที่ทำมาในแต่ละกิจกรรมเพื่อนำมาสรุปจัดทำเป็นรายงาน

    ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    เอกสารครบถ้วนถูกต้องและจัดทำรายงานที่สมบูรณ์

     

    22 22

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อมีสถาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1.สภาผู้นำชุมชน มีการประชุมสภาทุกเดือน 2. การประชุม แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ80 3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน

    1.สภาผู้นำชุมชน มีการประชุมสภาทุกเดือน 2. การประชุม แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ80 3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน

    2 เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ สังคมและด้านสุขภาพของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีฐานข้อมูลชุมชน ด้านเศรษฐกิจสังคม และสถานะสุขภาพของชุมชนจำนวน 1 ชุด 2. มีข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนเชิงคุณภาพ 3. มีสภาชุมชนและเยาวชนนักจัดเก็บข้อมูล จำนวน 1 ทีม 4. ร้อยละ 60 ของประชากรมีส่วนร่วมการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน 5.ร้อยละ 60 คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 6. ประชาชนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีสุขภาพดีขึ้น

    1.มีฐานข้อมูลชุมชน ด้านเศรษฐกิจสังคม และสถานะสุขภาพของชุมชนจำนวน 1 ชุด 2.มีข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนเชิงคุณภาพ 3.มีสภาชุมชนและเยาวชนนักจัดเก็บข้อมูล จำนวน 1 ทีม 4.ร้อยละ 60 ของประชากรมีส่วนร่วมการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน 5.ร้อยละ 60 คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 5.ประชาชนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีสุขภาพดีขึ้น

    3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา 3.1ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศษรฐกิจพอเพียง 3.2ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย 3.3 ด้านสังคม ส่งเสริมความสามัคคีของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.เกิดแผนชุมชนแบบบูรณาการเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพ จำนวน 1 แผน 2.จำนวนแกนนำของหมู่บ้านร้อยละ 70 เข้าร่วมประชุมจัดทำแผน 3.มีการนำแผนชุมชนมาแก้ไขปัญหา ในการส่งเสริมสุขภาพ เศรษฐกิชุมชนและสังคม

    1.เกิดแผนชุมชนแบบบูรณาการเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพ จำนวน 1 แผน

    2.จำนวนแกนนำของหมู่บ้านร้อยละ 70 เข้าร่วมประชุมจัดทำแผน

    3.มีการนำแผนชุมชนมาแก้ไขปัญหา ในการส่งเสริมสุขภาพ เศรษฐกิชุมชนและสังคม

    4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา 4.1ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง 4.2ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย 4.3 ด้านสังคม ส่งเสริมความสามัคคีของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 50 หลัง ในการทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 2. รายได้ต่อครอบครัวของคนในชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40จากการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือน 3.จำนวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เรื่องการร่วมกลุ่ม มากกว่า ร้อยละ 70

    1.เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 50 หลัง ในการทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 2. รายได้ต่อครอบครัวของคนในชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40จากการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือน

    3.จำนวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เรื่องการร่วมกลุ่ม มากกว่า ร้อยละ 70

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2.มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3.มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4.มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อมีสถาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง (2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ สังคมและด้านสุขภาพของชุมชน (3) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา

    3.1ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศษรฐกิจพอเพียง

    3.2ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย

    3.3 ด้านสังคม ส่งเสริมความสามัคคีของชุมชน (4) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา 4.1ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง 4.2ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย 4.3 ด้านสังคม ส่งเสริมความสามัคคีของชุมชน (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ

    รหัสโครงการ 58-03928 รหัสสัญญา 58-00-2187 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    มีโครงสร้างการทำงานโดยดึงกลุ่มเด็กเยาวชนในชุมชนม่ร่วมทีมในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและร่วมกิจกรรมของชุมชน

    รายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีโครงสร้างการทำงานโดยดึงกลุ่มเด็กเยาวชนในชุมชนม่ร่วมทีมในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและร่วมกิจกรรมของชุมชน

    รายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดสภาชุมชนที่มีหลากหลายกลุ่มเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม จาก 2 โซนที่เป็นคู่ขัดแย้งสามารถมาร่วมดำเนินงานในโครงการดังกล่าวได้

    จากการสังเกตและรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

    ลงติดตามในพื้นที่จากการสัมภาษณ์และรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น

    จากการสังเกต สำรวจ

    สร้างความตระหนักและกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ชุมชนมีการปลูกผักบริโภค เในระดับครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

    จากการสอบถามสำรวจ

    ขยายผลการปลูกให้ครอบครัวทุกหลังคาเรือนและสร้างครัวเรือนต้นแบบโดยนำแนวทางเกษตรอินทรีย์ร่วมด้วย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ชุมชนมีการรวมกลุ่มออกำลังกาย แต่ละกลุ่ม และรูปแบบสอดคล้องวิถีชุมชนเช่น ไม้พลองป้าบุญมีฟุตบอล ตระกร้อ วิ่ง เดินและการปั่นจักรยาน

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการลดละเลิก บุหรี่ อย่างห็นได้ชัดโดยเฉพาะการเคารพกติกาไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม และมีการนำแนวทางศาสนาอิสลามกับสร้างเสริมสุขภาพร่วมด้วย สมาชิกกลุ่ม

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการนำภูมิปัญญา สมุนไพรและพืชผักในชุมชน มาปรุงเป็นเมนูต้านโรค เมนูอาหารพื้นบ้าน

    จัดทำเป็นสื่อเรียนรู้ชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    มีการจัดการพฤติกรรมการใช้จ่ายในระดับตนเองและครัวเรือน โดยมีการจัดทำสมุดบัญชีการออม

    คู่มือการออม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการปลูกผักในครัวเรือนเพิ่มขึ้นโดยเน้นพืชผักระยะสั้น โดยไม่ใช้สารเคมี

    สังเกตและสำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการจัดพื้นที่ด้านการปลูกผักและการออกกำลังกายโดยชุมชน

    สังเกตและสำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการรวมกุล่มด้านการจัดทำวิสาหกิจชุมชน

    โลชั่นทาผิว

    ขยายผลผลิตภัณฑ์ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.ควนโดนอบต.ควนโดนพัฒนาชุมชนเกษตรตำบล

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้ทรัยากรชุมชนด้านคน ผู้ทรงคูณวุฒิ ปราชญ์ผู้รู้ ในการศึกษาภูมิปัญญา วิถีชุมชนและมีการระดมทุนจากผู้นำทางการในการขอรับสนุนกิจกรรมนอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรม โดยการรวมกลุ่มของแม่บ้าน ผู้สูงอายุ ในการอกกำลังกายและวิสาหกิจชุมชนพร้อมทั้งมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมร่วมกัน

    จากข้อมูลของชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การจัดการสุขภาพของคนต้นแบบ

    รายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ทางคณะกรรมการการดำเนินงาน มีความภูมิใจในการทำงานที่ทางชุมชนให้ความร่วมมือและงานที่ได้รับมอบหมายเกิดประโยชน์กับชุมชน

    จากการพูดคุย ซักถาม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การดำเนินงานมีความตั้งใจในการทำงานโดยมีการสละเวลาในการประกอบอาชีพในบางช่วงกิจกรรมหรือการเข้าร่วมประชุม มีการสลับหมุ่นเวียนกันในทางทีมงานเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

    จาการรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ชุมชนโดยส่วนใหญ่มีการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผักเพิ่มขึ้น และใช้พืืชสมุนไพรในท้องถิ่น อยู่แบบเรียบง่าย

    จาการรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เกิดการช่วยเหลือในการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนทั้งกิจกรรมในโครงการและกิจกรรมอื่นๆของชุมชน เช่น งานแต่งงาน งาบุญ งานกีฬาของชุมชนเกิดการแบ่งปันพันธ์ไม้นานาชนิด

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ในการดำเนินงานมีการพูดคุย โดยใช้เหตุและผลในการดำเนินกิจกรรม เมื่อเกิดข้อขัดแย้ง จะมีการร่วมฟังความิดเห็นและลงมติโดยใช้กระบวนการมีส่วนรวมและเสียงจากคนส่วนใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03928

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สันติ ดาราหมานเศษ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด