directions_run

หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง ”

หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย ดนรอหมาน ตาเดอิน

ชื่อโครงการ หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง

ที่อยู่ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03904 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2194

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง



บทคัดย่อ

โครงการ " หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03904 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,940.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 910 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองด้านหมู่บ้านสีเขียวได้
  2. เพื่อให้มีปฏิบัติการชุมชนในการสร้างพื้นที่เกษตรสีเขียวชุมชนปลอดสารพิษ
  3. เพื่อมีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
  4. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ สู่การพึ่งพาตนเองได้
  5. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการสุขภาพ ในชุมชนป้องกันโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วม
  6. เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานหมู่บ้านสีเขียว ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์
  7. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการปี 2558 จ.สตูล สงขลา

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อธิบายให้ความรู้ในเรื่อง ดังนี้

    1. แนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง
    2. กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
    3. การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    4. การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    5. การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้
      • ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม
      • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
      • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)
      • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง
      • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
      • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน -ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน
    2. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้
    3. รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ o ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org
    4. สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
    5. การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    2 2

    2. สร้างทีม สภาผู้นำชุมชน

    วันที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมสร้างทีมงานและประชุมสภาผู้นำชุมชนในครั้งนี้มีทั้งหมด 2 วัน

    โดยกิจกรรมในวันแรกวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ก็จะมีการพบปะพูดคุยกับทีมงานโดยนางสาวนริศราแกสมานประธานโครงการหลังจากนั้น ก็จะมีการคัดเลือกสภาผู้นำชุมชน จากคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกจากผู้นำแบบไม่เป็นทางการและจากกลุ่มต่างๆในชุมชนอาสาสมัคร จิตอาสาในชุมชน เข้าร่วมเป็นทีมทำงาน โดยกำหนดกลุ่มที่มีความหลากหลาย จาก ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน เยาวชนนักเรียน อสม และแกนนำอื่นๆในชุมชน รวมทั้งหมด จำนวน 30 คนมีกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชนซึ่งจะมีการพัฒนาศักยภาพผู้นำสภาชุมชน โดยมีการประสานกลุ่มเป้าหมายวิทยากรภายนอก และปราชญ์ชาวบ้าน ในชุมชน ร่วมเป็นวิทยากร เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อปรับฐานแนวคิด ความรู้ให้กับสภาผู้นำชุมชน

    กิจกรรมวันที่ 13 ตุลาคม 2559ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมงาน เพื่อทำความเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดบทบาทหน้าที่ และร่วมวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานเพิ่มเติม การออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อการวางแผนการแก้ไขปัญหาในประเด็นที่ทำจากโครงการ จำนวน 2 วันและมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาโครงการ และการเติมเต็มกิจกรรมการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อน หมู่บ้านและโรงเรียนสีเขียว หลังจากนั้นจัดทำแผนการติดตาม ประชุมประเมินผลการดำเนินงาน จำนวน10ครั้ง และมีการประชุมปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นของชุมชนทุก 1 เดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีสภาผู้นำชุมชน จากคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกจากผู้นำแบบไม่เป็นทางการและจากกลุ่มต่างๆในชุมชนอาสาสมัคร จิตอาสาในชุมชน เข้าร่วมเป็นทีมทำงาน โดยกำหนดกลุ่มที่มีความหลากหลาย จาก ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน เยาวชนนักเรียน อสม และแกนนำอื่นๆในชุมชน จำนวน 30 คน

    • มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน และมีการพัฒนาศักยภาพผู้นำสภาชุมชน โดยมีการประสานกลุ่มเป้าหมายวิทยากรภายนอก และปราชญ์ชาวบ้าน ในชุมชน ร่วมเป็นวิทยากร เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อปรับฐานแนวคิด ความรู้ให้กับสภาผู้นำชุมชน

     

    30 30

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายปลอดบุหรี่ ตามมาตรฐานของ สสส.กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำป้ายปลอดบุหรี่ ตามมาตรฐานของ สสส.กำหนด

     

    5 5

    4. จัดทำเสื้อประชาสัมพันธ์พร้อมโลโก้ สสส.

    วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน 2.จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน 2.จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม

     

    30 30

    5. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส.

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน 2.จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม
    2. จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้อง ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 213 คน
    3. ทีมทำงาน ประสาน กลุ่ม อสม. ในการร่วมแจกหนังสือเชิญในเขตที่รับผิดชอบของตนเอง
    4. ทีมงานเตรียมความพร้อม ด้านข้อมูล ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ อบต ควนโดนรพ,สต ควนโดนเกษตรตำบล พัฒนาชุมชนกศน.
    5. พี่เลี้ยงโครงการในพื้นประชาสัมพันธ์ภาระกิจการดำเนินงานของ สสส.
    6. จัดเปิดตัวโครงการ โดยฉายวีดีทัศน์ หมู่บ้านต้นแบบวิถีพอเพียง การทำเกษตรอินทรีย์
    7. ตัวแทนสภาชุมชน มีการพูดคุย แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูล แผนงานโครงการ รายละเอียดงบประมาณ การประเมินผล
    8. เปิดเวทีข้อซักถาม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
    9. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ
    10. ทีมงานสรุปผลการจัดกิจกรรม 10.พร้อมรับสมัครผู้เข้าร่วมครอบครัวต้นแบบ ผู้เข้าร่วมจำนวน 100 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมทีมคณะกรรมการก่อนเพื่อมอบหมายการดำเนินงาน และมีการจัดทำหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีประชาคมเพื่อเปิดตัวโครงการ (โดยมีเลขานุการโครงการผู้จัดทำหนังสือและลงนามโดยผู้รับผิดดชอบโครงการ) ทีมงานมีการส่งหนังสือถึงครัวเรือนและมอบหมายการชี้แจง ดังนี้
      โดยเปิดเวที และพูดคุยโครงการ การจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม (หัวหน้าโครงการ)
      ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในแต่ละกิจกรรม (หัวหน้าโครงการและเลขา) และสรุปผล แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ การอุดหนุนจาก สสส การติดตามและประเมินผล (พี่เลี่ยง) ณ โรงเรียนข้าวในพระราชดำริเริ่มเวลา 13.00 น.ลงทะเบียน โดย คณะกรรมการสภาชุมชน

    • เริ่มพูดคุย เวลา 14.00 น. โดยหัวหน้าโครงการ พูดกล่าวทักทาย และเปิดตัวโครงการ วัตถุประสงค์ การได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สสส แนะนำคณะกรรมการทีมทำงานแนะนำพี่เลี่ยง ในพื้นที่มีการชี้แจงรายละเอียดชี้แจงงบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรรให้ชุมชนได้รับทราบในแต่ละงวดและ พี่เลี้ยง ก็ สรุป พูด ถึง นโยบาย แนวทางการดำเนินงานของ สสส และประชาสัมพันธ์ การดำเนินงาน วัตถุประสงค์ การสนับสนุนในโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ฯ เพื่อให้ ชุมชนได้ทราบขั้นตอน การขอรับการสนับสนุน และสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมของโครงการ ขอความร่วมมือชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ทางทีมทำงานโครงการจะได้ดำเนินการนับจากนี้ต่อไป หัวหน้าโครงการ เชิญทางเกษตรตำบลพูดคุย เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับทราบและสร้างการรียนรู้ร่วมกัน

     

    231 236

    6. จัดทำเสื้อทีมโลโก้ สสส เพื่อประชาสัมพันธ์

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 2 ทำความเข้าใจกับทีมเยาวชนและการพัฒนาออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่ตรงกับสภาพความเป็นชุมชนและทบทวนให้เป็นปัจจุบันโดยจัดเก็บ ข้อมูล ด้านเศรษฐกิจรายรับรายจ่าย หนี้ การดำรงชีวิตด้านสถานะสุขภาพและด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน

    • วันที่ 3 พัฒนาเครื่องมือ/บัญชีครัวเรือน และทดลองฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล

    • จัดทำเสื้อทีม เยาวชนนักจัดเก็บข้อมูล เพื่อการทำงานเป็นทีม เชิงสัญลักษณ์พร้อมประชาสัมพันธ์ สสส.

    • โดยแบ่งโซน มีครู อสม. เป็นหัวหน้าทีม และกลับมาสรุปรายงานสิ่งที่ได้เรียนรู้
    • ประเมินผลการทำงานนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ มาสรุป วางแผน สิ่งที่จะดำเนินการต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดการจัดการข้อมูลชุมชน ฐานข้อมูลรายรับ รายจ่าย หนี้สินของชุมชน เกิดแผนที่คุณค่าทรัพยากร สถานะสุขภาพชุมชน และได้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลชุมชนและเกิดเยาวชนนักจัดการข้อมูลจำนวน1ชุด(ทีมเยาวชนไบซิเคิลทัวร์)

     

    20 20

    7. ศึกษาและออกแบบเครื่องมือ ข้อมูลดี มันหาย ปลอดสารเคมี ปลดหนี้ ด้วย ไบซิเคิลทัวร์

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำชุมชนประชุมหารือ และเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน
    2. รับสมัครเยาวชนจิตอาสา เข้าร่วมพัฒนาชุมชน
    3. สร้างทีมเยาวชนไบซิเคิลทัวร์ นักจัดการข้อมูล จำนวน 20 คน ร่วมปฏิบัติการเรียนรู้การจัดเก็บข้อมูลในชุมชน จำนวน 3 วัน
    4. จัดทำสื่อ เสื้อทีมในการออกจัดเก็บข้อมูล เพื่อการทำงานเป็นทีมเชิงสัญลักษณ์ และประชาสัมพันธ์ สสส เสริมพลังคนทำงาน วันที่1 เรื่องหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและ การวิเคราะห์ชุมชน อดีต สภาพความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน และความคาดหวังในอนาคต
      วันที่2 ทำความเข้าใจกับทีมเยาวชนและการพัฒนาออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่ตรงกับสภาพความเป็นชุมชนและทบทวนให้เป็นปัจจุบันโดยจัดเก็บ ข้อมูล ด้านเศรษฐกิจรายรับรายจ่าย หนี้ การดำรงชีวิตด้านสถานะสุขภาพและด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน วันที่3 พัฒนาเครื่องมือ/บัญชีครัวเรือน และทดลองฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล
    5. จัดทำเสื้อทีม เยาวชนนักจัดเก็บข้อมูล เพื่อการทำงานเป็นทีม เชิงสัญลักษณ์พร้อมประชาสัมพันธ์ สสส.
    6. โดยแบ่งโซน มีครู อสม. เป็นหัวหน้าทีม และกลับมาสรุปรายงานสิ่งที่ได้เรียนรู้
    7. ประเมินผลการทำงานนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ มาสรุป วางแผน สิ่งที่จะดำเนินการต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมออกเเบบเครื่องมือในครั้งนี้มีทั้งหมด 3วันประกอบด้วย กิจกรรมวันแรก วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 ประธานโครงการร่วมพบปะพูดคุย ผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจ้งกิจกรรมการดำเนินในครั้งนี้ หลังจากนั้นประธานโครงการก็เชิญพี่เลี้ยงโครงการร่วมพูดคุยที่มาในการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่คณะทำงานโครงการและผู้เข้าร่วมประชุมและหลังจากนั้นเชิญทีมวิทยากรร่วมพูดคุยในเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมีการวิเคราะห์ชุมชนโดยทีมเยาวชนในชุมชน ทีมเยาวชนแนะนำตัวเองกับเพื่อนๆทีมงาน หลังจากนั้นก็แบ่งโซนการเก็บเครื่องมือ ซึ่งในการแบ่ง โซในครั้งนี่ได้ทั้งหมด 3 โซน คือ

    • โซนควนโต๊ะเหลง • โซนทุ่งกาด • โซนตีหงี

    โดนในแต่ละโซนก็จะคัดเลือกประธานรองประธานและเลขาขอแต่ละโซนและร่วมกันวาดแผนผังในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบและกำหนดจุดสำคัญในแต่ละโซนทีมเยาวชนร่วมมือกันและให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี กิจกรรมวันที่24 พฤศจิกายน2558 ก็เป็นในเรื่องของการทำความเข้าใจกับทีมเยาวชนในเรื่องการออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของชุมชน ซึ่งผลที่ได้จากการออกแบบเครื่องมือมือในครั้งนี้ จะมีอยู่ 4 ประเด็นประด้วยรายละเอียดดังนี้

    ข้อมูลทั่วไป

    • จำนวนสมาชิกในครัวเรือน
    • อาชีพ (หลัก ,เสริม)
    • รายได้ รายจ่าย
    • อายุของสมาชิกในครัวเรือน
    • บ้านเลขที่ผู้ให้ข้อมูล
    • ค่าใช้จ่ายหลัก

    ด้านสุขภาพ

    • โรคประจำตัว
    • น้ำหนัก ส่วนสูง
    • อาหารการกิน
    • การออกกำลังกาย
    • ประประเสี่ยงของการเกิดโรค
    • น.ส.ค. ที่รับผิดชอบ

    ด้านเศรษฐกิจ

    • อาชีพ (หลัก เสริม)
    • รายได้มาจากไหนเป็นหลัก
    • รายจ่ายหมดไปกับ
    • อาชีพเสริมที่นาสนใจ

    ด้านเกษตรอินทรีย์

    • ปลูกผัก กินเองไหม
    • ใช้ปุ๋ยอะไร
    • เป็นสมาชิกกลุ่มไหนบ้าง
    • ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองไหม

    กิจกรรมวันที่ 25 พฤศจิกายน2558 หลักจากที่ได้เครื่องมือมาแล้วก็จะมีการพัฒนาเครื่องมือ บัญชีครัวเรือน และทดลองฝึกการปฏิบัติในการเก็บข้อมูล ด้านต่างๆที่ได้ออกแบบมาในชุมชน ทีมเยาวชนให้ความร่วมมือและสนุกสนานมากทุกคนดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆในชุมชน

     

    20 20

    8. การทำรายงานและการเงิน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมการเขียนรายงาน และเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เข้าใจการจัดทำเอกสารรายงาน เข้าเร่ื่องการเขียนผลผลิต ผลลัพธ์ ของกิจกรรม และเข้าใจเรื่องเอกสารทางการเงินอันไหนใช้ได้อันไหนใช้ไม่ได้

     

    3 3

    9. กิจกรรมจัดเก็บข้อมูลในชุมชน

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมการเก็บข้อมูลในครั้งนี้มีทั้งหมด 4 วัน ซึ่งทั้ง4 วันนี้ ทีมไบซิเคิลทัวร์ ก้จะมีการจัดจัดทำตารางเวลาในการจัดเก็บข้อมูลและศึกษาแผนที่และเตรียมจักรยาน ทีมไบซิเคิลทัวร์แบ่งโซนการเก็บข้อมูลเตรียมแบบสอบถามตามโซนที่ได้แบ่งไว้ซึ่งจะมีทั้งหมด 3 โซนโดยจะมีการประสาน อสม.ในพื้นที่หลังจากนั้นทีมไบซิเคิลทัวร์ก็จะนำแบบสอบถามตามที่ได้ออกแบบไว้และผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว รวมถึงแผนที่ย่อๆเพื่อบันทึก จุด ที่ดินว่างเปล่า ศูนย์เรียนรู้ ทรัพยากรชุมชน บ้านผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงหรืออื่นๆพร้อมทั้งบันทึกกิจกรรมซึ่งในการลงเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงของชุมชน และชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร

     

    20 20

    10. จัดกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

    วันที่ 23 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นการศึกษาพื้นที่โดนทีมทีมไบซิเคิลทัวร์หลังจากนั้นเตรียมงานทำความเข้าใจ ชี้แจงวัตถุประสงค์ กับทีมไบซิเคิลทัวร์และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย กรณีศึกษา ผู้ป่วย 3 ราย กลุ่มเสี่ยง 3 ราย ปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 4 คนให้ทีมไบซิเคิลทัวร์ ได้ศึกษาข้อมูลสอบถามพูดคุย การดูแลสุขภาพและประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหลังจากนั้นมีการแบ่งทีมไบซิเคิลทัวร์ แบ่งกลุ่มออกปฏิบัติการ โดยมีครู อสม.เป็นพี่เลี้ยง ทีมไบซิเคิลทัวร์ พูดคุยบันทึกข้อมูลนำข้อมูลกลับมาร่วมวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูล ร่วมกัน นำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ มาวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีข้อมูลพื้นฐานชมชน ด้านรายได้ ทรัพยากรต่างๆของชุมชนและมีชุดข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน,การใช้ชีวิต, การออกกำลังกาย ที่ผ่านการวิเคราะห์ จำนวน 1 ชุด

     

    52 42

    11. คืนข้อมูล

    วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับงบสนับสนุนจาก อบต.ควนโดน
    • กิจกรรมคืนข้อมูลในครั้งนี้ ได้มีตัวแทนจากอบต.ควนโดน กศน. คณะกรรมการโครงการ ผู้นำศาสนาและอสม.เข้าร่วมประชุมหลังจากนั้นทางคณะกรรมโครงการพูดคุยความเป็นมาของโครงการและกิจกรรมต่างๆที่ได้ดำเนินงานมา และสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรับทราบ ซึ่งกิจกรรมที่เด่นๆในครั้งนี้คือจะมีการดึงทีมเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของชุมชนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างเยาวชนกับชุมชน เพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการร่วมกัน นำเสนอข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนมีการรับรู้ข้อมูลชุมชน ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร พฤติกรรมสุขภาพ
    • มีมาตราการทางสังคมของชุมชน คือ

    1. คนในชุมชนกินปลาให้มากขึ้น
    2. ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน
    3. ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม ในงานบุญ งานแต่ง

     

    231 180

    12. ประชุมเชิงปฏิบัติการ

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เส้นทางสู่การสลัดมัน มีทั้งหมด 2 วัน

    • วันที่3 กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มเป้าหมายลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ซักประวัติ และได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดัน และเจอะเลือดเพื่อหาค่าน้ำตาลในเลือดโดยมีทีม อสม. จดบันทึกลงในสมุดประจำตัว หลังจากนั้นได้ร่วมพูดคุยถึงพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของชุมชน ซึ่งทางทีมไบซิเคิ้ลทัวร์ได้เก็บข้อมูลมาและได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้เข้าร่วมประชุมร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จากการร่วมพูดคุยก็ได้มีข้อสรุปที่คล้ายๆกัน คือ ต้องเริ่มที่พฤติกรรมการกิน หลังจากนั้นได้มีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมเป็น 5 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม หลังจากนั้นก็ออกมานำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม โดยในภาพรวมได้ข้อสรุปคือให้จัดทำประกวดเมนูอาหารเพื่อกระตุ้นให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของอาหารที่รับประทานในแต่ละวันซึ่งแต่ละกลุ่มคิดเมนูอาหารกันเองและสรรพคุณเมนูอาหารโดยแต่ละกลุ่มไม่ซ้ำกัน เมื่อตกลงกันได้แร้วผู้รับผิดชอบโครงการได้สนับสนุนงบประมาณในการทำเมนูอาหารให้แต่ละกลุ่มและได้มอบเมล็ดพันธุ์ผักเพื่อต่อยอดการปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อรับประทานในครัวเรือน โดยจะมีการติดตามผลความก้างหน้าเป็นระยะๆ

    • วันที่4 กุมภาพันธ์ 2559 ประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้ร่วมประชุม และเชิญวิทยากรร่วมพุดคุยให้ความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย หลังจากนั้นก็มาที่โซประกวดเมนูอาหาร ซึ่งให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเมนูอาหารที่เตรียมมาพร้อมทั้งบอกสรรคุณว่ามีผลดีต่อสุขภาพอย่างไรบ้างและจะมีทีมคณะกรรมการให้คะแนนระหว่างรอคะแนนจากทีมกรรม ก็จะมีการสาธิตการออกกำลังกายไม้พลองป้าบุญมีโดยทีมวิทยากรในชุมชน และหลังจากนั้นคณะกรรมการประกาศผลและมอบของรางวัลพร้อมทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดพันธะสัญญาใจของกลุ่มสลัดมัน ลำดับที่ ชื่อ-สกุล เกิดพันธะสัญญาใจ

    1. นางเจ๊ะหยีแกสมาน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
    2. นางปรีดาดาหูนุ้ย ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
    3. นางภูริษาชำนาญนา เพิ่มน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
    4. เสาด๊ะตาเดอิน ลดน้ำหนัก 3 กิโลกรัม
    5. รอหนายะรินทร์ ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัมในเวลา 3 เดือน
    6. ชารินาแกสมาน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัมในเวลา 3 เดือน
    7. ดาริสล่านุ้ย ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม
    8. สาน๊ะตาเดอิน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัมในเวลา 3 เดือน
    9. ไซม๊ะหลังยาหน่าย ลดความดัน
    10. สีตีบาดน แกสมาน ลดเอว ลดพุง
    11. อำหรงระโซยล๊ะ ปลูกผักปลอดสารพิษ
    12. ฮาหวากรมเมือง ลดน้ำหนัก
    13. ฮาบีบ๊ะล่านุ้ย ออกกำลังกายทุกวัน
    14. รัตนาล่านุ้ย ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
    15. สาเปี๊ยะมาราสา ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
    16. ไหมหม๊ะแกสมาน ลดความดัน
    17. ออระวรรณหวังกุหลำ ปลูกผักกินเอง ลดน้ำหนัก ลดเอว
    18. สารีหยันหลีหมาด ลดน้ำหนัก 3 กิโลกรัม
    19. นริศราแกสมาน งดอาหารรสจืด
    20. อาแซะอามา ลดน้ำหนัก ให้เหลือ 38 กิโลกรัม
    21. นัยนายาพระจันทร์ ลดน้ำหนัก ให้เหลือ 47 กิโลกรัม
    22. สุวิทย์ตาเดอิน ลดน้ำหนัก
    23. ดนราหมานตาเดอิน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม ปลูกผัก
    24. เอกชัยตาเดอิน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม ปลูกผัก
    25. ฮามีด๊ะตาเดอิน ลดน้ำหนัก ลดความดัน
    26. สุดาแปะโพระ ลดน้ำหนัก
    27. พิทักษ์แกสมาน ออกำลังกาย ปลูกผัก
    28. อรทัยฮะยีบิลัง ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
    29. มารีย๊ะหลังยาหน่าย ลดน้ำหนัก
    30. สาน๊ะแกสมาน ลดน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ลดเอว
    31. สีนวลประพฤติ ลดน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ลดเอว
    32. ปรีดาแกสมาน ลดน้ำหนัก ลดเอว
    33. มารีย๊ะหลงหัน ลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ลดเอว
    34. กฤษณาโซ๊ะสม ลดน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ลดเอว
    35. ยาร๊ะเล็มโดย ลดน้ำหนักให้เหลือ 63 กิโลกรัม
    36. อาซันแกสมาน เพิ่มน้ำหนัก 5 กิโลกรัม
    37. รอเดี๊ยะแกสมาน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม ลดเอว
    38. ปรีชาแกสมาน ลดน้ำหนักให้เหลือ 65 กิโลกรัม
    39. มัรวานตาเอดิน ลดน้ำหนัก 3 กิโลกรัม
    40. คอรีย๊ะ แกสมาน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
    41. สุดารัตน์แกสมาน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
    42. ผุสดีหวังกุหลำ ลดเอว
    43. ไซม๊ะตาเดอิน ลดน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ลดความดัน
    44. ฮาเมี๊ยะหวังกุหลำ ปลูกผักกินเอง
    45. อังคณาเล๊ะสัน ออกกำลังกาย
    46. ฮัมซ๊ะตาเดอิน ออกกำลังกาย
    47. ฮามีด๊ะตาเดอิน ลดเรื่อยๆ
    48. มารีหยำตาเดอิน ทำให้สุขภาพแข็งแรง
    49. ฮาเบี๊ยะตาเดอิน ลดน้ำหนัก 2 กิโลกรัม ปลูกผัก
    50. สะเดี๊ยะแกสมาน ลดน้ำหนัก
    51. ลลิตายะฝา ลดน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ภายใน 3 เดือน
    52. โนรีนาหลีเส็น ลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ภายใน 3 เดือน

     

    50 50

    13. พบพี่เลี้ยงปรึกษาการดำเนินงาน

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พบพี่เลี้ยงเพื่อปรึกษาการลงรายงานในเวปไซส์ และสรุปเอกสารการเงินงวด1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงให้คำรึกษาและอธิบายอย่างเข้าใจ ทำให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

     

    2 2

    14. จัดทำรายงานปิดงวด1

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้ารับการตรวจเอกสารการเงิน ปิดงวดโครงการ ในระยะที่ 1 ณสจรส.มอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เข้าร่วมประชุมปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน งวดที่1

     

    3 3

    15. จัดทำแผนชุมชนสร้างแผน สลัดมัน สลัดสารเคมี เติมเต็มวิถีพอเพียง"

    วันที่ 1 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดเวทีร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการทำแผนชุมชน จำนวน 2 วันและเชิญผู้เกี่ยวข้อง ทีมสภาสุขภาพทีมไบซิเคิลทัวร์ และผู้เกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 50คน
      2.นำแผนชุมชนเข้าแจ้งรายละเอียดในเวทีประชาคมหมู่บ้าน
    2. หาแนวทางการขับเคลื่อน หมู่บ้าน โรงเรียนสีเขียว
    3. กิจกรรมการจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนฉบับปฏิบัติการ
    4. นำเสนอแผนปฏิบัติการของชุมชนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้จริงของแต่ละกลุ่ม
    5. คัดเลือกกิจกรรมนำไปสู่ปฏิบัติจริงในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีเวทีร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการทำแผนชุมชน จำนวน 2 วัน
    2. มีแผนชุมชน จำนวน 1 แผน
    3. มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน

    ผลสรุปกิจกรรมสำคัญ

    ทำหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ทีมสภาชุมชน คณะกรรมการโครการ และทีมไบซิเคิลทัวร์ ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน และภาคีเครือข่ายต่างๆ รวม 50 คนโดยมีกำหนดในกาจัดกิจกรรม จำนวน 2 วัน
    วันที่ 1 ทางเจ้าหน้าที่ ฝ่ายแผน อบต.ควนโดน ได้พูดคุยในขั้นตอนการจัดทำแผน ในเชิงวิชาการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ก่อนการจัดทำแนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำแผนชุมชน
    ความหมายของแผนชุมชนว่า หมายถึง การกำหนดอนาคตและกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน โดยเกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันจัดทำแผนขึ้นมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง ให้เป็นไปตามที่ต้องการและสามารถแก้ปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ คนในชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมกำหนด แนวทางและทำกิจกรรมการพัฒนาร่วมกัน ยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก คำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก จึงกล่าวได้ว่า แผนชุมชนเป็นของชุมชนดำเนินการโดยชุมชนและเพื่อประโยชน์ของชุมชนเอง ซึ่งแตกต่างจากแผนที่ภาครัฐจัดทำขึ้นเพื่อการจัดสรรงบประมาณเป็นหลัก กระบวนการจัดทำแผนชุมชน ก่อนอื่นควรเข้าใจถึงวัตถุประสงค์หลักๆ ของการจัดทำแผนชุมชนก่อน คือ
    1.เพื่อให้ชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของชุมชน กำหนดอนาคตของชุมชน ตนเอง
    2.เพื่อให้เกิดกระบวนการในการจัดการชุมชน มีการเรียนรู้ร่วมกัน เพิ่มคุณค่าทางสังคม และทุนทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่การวางแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาและชุมชน
    3.เพื่อให้ชุมชนได้มีเป้าหมาย แนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาให้คน ในชุมชนอยู่ดีมีสุขในทุกบ้าน
    เพื่อให้ชุมชนได้มีแผนรองรับการสนับสนุนจากภายนอกได้อย่าง ครอบคลุมสมบูรณ์ ในการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนที่ผ่านมา กรมการพัฒนา-ชุมชน ได้กำหนดขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชนไว้ 5 ขั้นตอนดังนี้
    ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมชุมชนโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้นำชุมชน ผู้แทนคุ้มบ้าน อบต. ผู้แทนกลุ่ม/องค์กรชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ 1. ทีมงานระดับชุมชนมีความพร้อมและมีแนวทางในการจัดกระบวนการแผนชุมชน
    2. ผู้นำชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและสามารถระบุความจำเป็นในการจัดกระบวนการแผนชุมชน 3. ผู้นำชุมชนกำหนดแผนปฏิบัติการและยอมรับพร้อมมีส่วนร่วมในกระบวนการแผนชุมชนประเด็นการเรียนรู้ 4. เป้าหมายของการทำงานเพื่อชุมชนและความสำคัญของประชาชนทุกคนในการทำงานเพื่อชุมชน 5. สถานการณ์ของชุมชน 6. สถานการณ์การทำงานจากภาครัฐ
    7. แนวคิดการจัดกระบวนการแผนชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเรียนรู้ตนเองและชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้นำชุมชน ผู้แทนคุ้มบ้าน อบต. ผู้แทนกลุ่ม/องค์กรชุมชน ตัวแทนครัวเรือน ประชาชนในชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ 1. ชุมชนได้เรียนรู้ข้อมูลตนเอง ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะทุนทางสังคมและสภาพปัญหา 2. ชุมชนได้วิเคราะห์สาเหตุปัญหาและจัดลำดับความต้องการของชุมชน 3. ชุมชนแยกแยะศักยภาพที่มีอยู่และสภาพปัญหาที่เป็นแนวโน้มกำลังเกิดขึ้นกับชุมชน

    วันที่ 2ลงมือปฏิบัติจัดทำแผนการนำเสนอแผนดังนี้

    หลังจากนั้นได้ให้ความรู้ในการให้ความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อสอดคล้องในการแก้ปัญหาได้ตรงจุดของคนในชุมชนมากขึ้น อาจจะเป็นโครงการที่ชาวบ้านสามารถทำเองหรือต้องการขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อทำร่วมกับภาครัฐ ซึ่งการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือแผนสามปี ของอบต.นั้นล้วนมีความสำคัญเพราะเป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกภาคส่วน และเป็นการแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุด และต่อมาท่านวิทยากรได้ให้ความรู้ด้านปัญหาสุขภาพของชุมชน จากที่ทีมเก็บข้อมูลได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากชาวบ้านมาแล้ว ให้ทางผู้ประชุมได้แบ่งกลุ่มและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน โดยจะมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อวิเคราะห์และเสนอปัญหาร่วมกัน โดยการระดมความคิด และเสนอปัญหาในด้านสุขภาพ ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข และทำอย่างที่จะแก้ปัญหาเพื่อจัดทำเป็นแผนพัฒนาหมู่บ้าน โดยแต่ละกลุ่มได้เสนอแนวคิดในด้านต่างๆ โดยมีบัณฑิตอาสาฯร่วมเป็นพี่เลี้ยงกระบวนการกลุ่มในครั้งนี้ด้วย เพื่อเสนอในแผนพัฒนาหมู่บ้านควบคู่กับแผนหมู่บ้านของ อบต.ต่อไป และทางเลขานุการฯได้ขอขอบคุณท่านวิทยากรที่มาร่วมให้ความรู้ในการจัดแผนในครั้งนี้ด้วย โดยทางชุมชนได้เสนอแผนในเรื่่องโครงสร้างพื้นฐาน ถนน และจากการทำแผนปัญหาด้านสุขภาพที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอเพื่อบรรจุไว้ในแผน อบต.เช่่นกัน ไม่ว่าการสนับสนุนเครื่องออกกำลังกายในชุมชน สร้างสนามกีฬา อบรมเพิ่มความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น ทำให้ผู้เข้ารับการเสนอแผนมีความพึงพอใจในการร่วมประชุมทำแผนในครั้งนี้ สุดท้าย ผู้ใหญ่บ้านได้ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทำแผนและให้น้อมนำโอวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการทำงานเพื่อส่วนร่วม และปิดประชุม เวลา 16.00 น.

     

    50 50

    16. พบพี่เลี้ยงในการปรึกษาการดำเนินงาน

    วันที่ 13 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โทรนัดหมาย
    2. เตรียมเอกสารขอคำปรึกษา
    3. เข้ารับขอคำปรึกษา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โทรนัดหมาย
    2. เตรียมเอกสารขอคำปรึกษา
    3. เข้ารับขอคำปรึกษา

     

    2 2

    17. กิจกรรมปรับวิถี สลัดสารเคมีด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์

    วันที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดตั้งกลุ่มการปลูกพืชผัก จำนวน 50 ครัวเรือนและนักเรียนในโรงเรียน เพื่อเป็นแกนนำ จำนวน 10 คนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและทำความเข้าใจ เรื่องเกษตรอินทรีย์
      การทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมัก การปลูกผักสวนครัว จำนวน 2 วัน

    2. เชิญวิทยากรปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความรู้ร่วมเรียนรู้ และให้ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมกลับไปเริ่มดำเนินกิจกรรมตามข้อตกลงที่ทำร่วมกัน เรียนรู้การปลูกพืชผักไว้กินเอง และเพื่อรายได้ ผักที่ปลูกเป็นผักสวนครัว สวนพืชที่ปลูกคือมะนาวพันธ์ดี ถ่ายทอดโดยปราชญ์ในชุมชนที่ทำเกษตรอินทรีย์เป็นผู้ถ่ายทอด

    3. เรียนร่วมกันทำตามขั้นตอนที่ปราชญ์แนะนำแล้วช่วยกันทำกิจกรรม เพื่อการเรียนรู้ที่ฐาน ศุนย์เรียนรู้ชุมชน
    4. ทุกคนที่สมัครเป็นทีมงานของฐานการเรียนรู้เรื่องนี้ก็กลับมาทดลองทำเองที่บ้านของตนเองต่อเพื่อปลูกผักไว้กินเองในชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน
    5. การปลูกผักเพื่อจัดทำแปลงสาธิต โดยใช้เกษตรอินทรีย์ทั้งในระดับครัวเรือนและ โรงเรียน
    6. สนับสนุน พันธ์ผักและการกิ่งมะนาวเพื่อการขยายพันธ์ต่อ
    7. คณะทำงานลงติดตาม ประเมินผลและหาแนวทาง การเปิดตลาดนัดสีเขียวในโรงเรียน
    8. กลับมาพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันถึงอุปสรรคที่พบเพื่อหาแนวทางแก้และแลกเปลี่ยนแนวทางที่ประสบความสำเร็จ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปลูกพืชผักอีก 1 ครั้ง เพื่อมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน เก็บรวบรวมเป็นองค์ความรู้ของกลุ่มเพื่อเผยแพร่แก่ชุมชนเพื่อถ่ายทอดต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีแปลงสาธิต ตัวอย่าง ผักสวนครัวโดยใช้เกษตรอินทรีย์ ระดับครัวเรือนจำนวน 50 แปลงและในโรงเรียน จำนวน 5 แปลง
    2. ในชมุชนมีการปลูกผัก โดยใช้เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 95


      ผลสรุปกิจกรรมสำคัญ


      การจัดกลุ่มเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติการทำ ทุกคนร่วมมือกัน มีบรรยากาศที่สนุกสนานกับการเรียนรู้ และให้ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมกลับไปเริ่มดำเนินกิจกรรมตามข้อตกลงที่ทำร่วมกัน เรียนรู้การปลูกพืชผักไว้กินเอง และเพื่อรายได้ ผักที่ปลูกเป็นผักสวนครัว เรียนร่วมกันทำตามขั้นตอนที่ปราชญ์แนะนำแล้วช่วยกันทำกิจกรรม เพื่อการเรียนรู้ที่ฐาน ศุนย์เรียนรู้ชุมชน
      โดยมีข้อตกลง ทุกคนที่สมัครเป็นทีมงานของฐานการเรียนรู้เรื่องนี้ก็กลับมาทดลองทำเองที่บ้านของตนเองต่อเพื่อปลูกผักไว้กินเองในชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน
      โดยจะมีการติดตาม คณะทำงานลงติดตาม ประเมินผลและหาแนวทาง และกลับมาพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันถึงอุปสรรคที่พบเพื่อหาแนวทางแก้และแลกเปลี่ยนแนวทางที่ประสบความสำเร็จ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปลูกพืชผักอีก 1 ครั้ง เพื่อมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน เก็บรวบรวมเป็นองค์ความรู้ของกลุ่มเพื่อเผยแพร่แก่ชุมชนเพื่อถ่ายทอดต่อไป

     

    60 60

    18. จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนการทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน
    2. คืนข้อมูลให้กับชุมชน ให้ความรู้การทำบัญชีครัวเรือน การเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายและให้ประชาชนสมัครเข้ารวมกลุ่ม
    3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนให้แก่ประชาชนในชุมชน และนักเรียนแกนนำในโรงเรียน จำนวน 50คน จำนวน 2 วัน
      4.ติดตามการจัดทำบัญชีอย่างต่อเนืื่อง และมีการสรุป ประเมินผล กำหนดให้แต่ละบ้าน ทำบัญชีครัวเรือนและนำมาเปรียบเทียบกันทุกๆ3ดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ร้อยละ 80 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนถูกต้อง
    2. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    3.รายได้ต่อครอบครัวของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น จากการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือน


    ผลสรุปกิจกรรมสำคํญ

    วันที่ 1 พิธีกรประชาสัมพันธ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน เมื่อที่ประชุมพร้อมนายดลรอหมาน ตาเดอิน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในวันนี้ และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม ต่อจากนั้นนายบุญฤทธิ์ ยะรินทร์ ผู้ใหญ่้บาน และ ท่านผโต๊ะอิหม่าม ได้ให้ความรู้และกล่าวหลักธรรมในการดำเนินชีวิตในวิถีอิสลาม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงการดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสนาอิสลาม หลังจากนั้น วิทยากร นางนัฐฐา รูบามา วิทยากรจากเครือข่ายสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนโดน วิทยากรมาให้ความรู้การทำบัญชีครัวเรือน ที่สามารถใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 2 ช่วงเช้าเริ่มลงทะเบียน หลังจากนั้นวิทยากรได้ให้ความรู้ทบทวนการทำบัญชีครัวเรือนเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต่อจากนั้นให้ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วยตนเอง โดยวิทยากรได้คอยให้คำแนะนำระหว่างการฝึกปฎิบัติและให้ตัวแทนอาสาได้ออกมาอธิบายและทำเป็นตัวอย่างให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ดู และให้สมาชิกที่เหลือเปิดโอกาสได้ซักถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจ ซึ่งได้มีคำถามจากผู้เข้าร่วมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน ในการลงในสมุดบัญชีครัวเรือนว่า การลงรายรับและรายจ่ายนั้นต้องแยกออกมาชัดเจนหรือไม่ เช่นค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าเล่าเรียน ต้องลงอย่างไร ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าในช่องรายการนั้นให้ลงในหน้าใช้ได้ 12 เดือนการลงรายละเอียดให้ใช้วิธีการรวมและในช่องรายการไม่ต้องลงรายละเอียดแต่ให้รวมยอดแล้วใส่ในช่องที่แยกให้ในเล่มอยู่แล้วและช่วงสุดท้ายเป็นการสรุปและทบทวนในการทำบัญชีครัวเรือน และเปิดโอกาสให้ตัวแทนครัวเรือนได้ซักถามในปัญหาหลังจากที่ทุกคนได้ลองกลับไปทำที่บ้าน ซึ่งจากสอนการทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทุกคนได้ให้ความสนใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ ในการเข้าร่วมโครงการทางเลขาโครงการ ชี้แจงหลังจากนั่นจะมีการติดตามการทำบัญชีครัวเรือนจากคณะทำงานต่อไป จากนั่นพิธีกรได้กล่าวขอบคุณวิทยากรที่มาให้ความรู้ในครั้งนี้

     

    50 50

    19. พบพี่เลี้ยงในการปรึกษาการดำเนินงาน

    วันที่ 15 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานพี่เลี้ยงนัด วัน เวลา
    2. เตรียมเอกสารที่จะพูดคุย
    3. พบพี่เลี้ยงตามนัดหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เจอพี่ลี้ยงโครงการตามนัดหมาย

     

    2 2

    20. ประเมินผลมอบของที่ระลึก และรับประกาศเกีตรติ เสริมพลัง บุคคลต้นแบบ กิจกรรมปรับพฤติกรรมสุขภาพ เส้นทางสู่การสลัดมัน

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย
    2. ประสานกลุ่มเป้าหมาย วิทยากร
    3. ตรวจสุขภาพก่อนเข้าร่วมโคงการ
    4. ประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน โดยใช้กระบวนการ พัฒนาศักยภาพ การวิเคราะห์ตนเอง
      ประสบการณ์ชีวิต การเติมเต็ม องค์ความรู้ในการจัดการสุขภาพตนเอง ให้ความรู้ ทักษะชีวิต
      เปลี่ยนวิธิคิด วิธีกิน สู่ปลอดโรค
    5. จัดทำสมุดบันทึกน้ำหนัก รอบเอวของตัวเองพร้อมมีคำแนะนำเรื่องอาหาร การออกกำลังกายในสมุด
    6. ฟื้นฟูชมรมออกกำลังกายในชุมชน
    7. ประกวดเมูนูชูสุขภาพ ผักปลอดโรคจากแปลงผักที่เข้าร่วมโครงการ
    8. จัดทำ สัญญา“ฟากาต 60 90 180 สู่คนต้นแบบ ลดมันภายใน 360 วัน
    9. ติดตามประเมินผลการดูแลสุขภาพ ในสมุดบันทึกโดยทีมไบซิเคิลทัวร์ 1 เดือน 3 เดืิิอน 6 เดือน
    10. มอบของที่ระลึก ประกาศเกียรติ เสริมพลัง บุคคลต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีบุคลคลต้นแบบ จำนวน 2 คน
    2. ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 8 หลังคาเรือน

    ผลสุปกิจกรรมสำคัญ

    มอบของที่ระลึก ประกาศเกียรติ เสริมพลัง บุคคลต้นแบบออกกำลังกายเพิ่มขึ้น โดยก่อนเริ่มโครงการ เพียงร้อยละ 45
    แต่หลังดำเนินงาน พบว่า อยู่ที่ร้อยละ85 เพิ่มขืน ร้อยละ 40 มีบุคคลต้นแบบของชุมชนในการจัดการสุขภาพ
    จำนวน 2 คน คือ นางฮามีด๊ะตาเดอินและ นางอรทัยฮะยีบิลัง และครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 8 หลังคาเรือน

     

    50 45

    21. พบพี่เลี้ยงในการปรึกษาการดำเนินงาน

    วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งในตัวเอกสาร และในเว็ป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งในตัวเอกสาร และในเว็ป

     

    2 2

    22. มหกรรมสุขภาพ/เปิดตัวตลาดนัดสีเขียวในโรงเรียน

    วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยร่วมหารือ ในทีม สภาชุมชน โรงเรียน แกนนำไบซิเคิลทัวร์เพื่อวางกติกา แนวทาง ความรับผิดชอบ และการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพโดยจัดทำแผนงานสถานที่ วัน เวลา
    2. ประสานทีมงาน วิทยากร กลุ่มเป้าหมาย คัวเรือน
    3. ร่วมจัดเตรียมสถานที่ กับทางโรงเรียน
    4. ประชสัมพันธ์ครัวเรือน ต้นแบบ การจัดเตรียม พืช ผัก พันธ์ผัก หรือกิ่งมะนาว หรืออื่นๆ มารว่มแสดงจัดจำหน่าย
    5. จัดมหกรรม1 วัน
    6. มีการจัดรูปแบบ เชิญภาคีเครือข่ายร่วมพูดคุย ผลการประเมินด้านเศณษฐกิจด้านสุขภาพ และปราชญ์ชาวบ้าน รว่มพูดคุย สรุปการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
    7. ทีมไบซิเคิลทัวร์ แสดงละคร สื่อวิถีชีวิต จากการร่วมกิจกรรมสิ่งที่ไดเห็น จากการทำงาน
    8. กลุ่มแม่บ้าน แสดง การออกกำลังกาย
    9. มอบเกียรติบัตรให้ทีมไบซิเคิลทัวร์และคนต้นแบบ
    10. ร่วมเปิดตัว ตลาดสีเขียนในโรงเรียนโดยชุมชนกำหนดวัน สถานที่รูปแบบ
    11. ตลาดสีเขียวในโรงเรียน ร่วมประชาสัมพันธ์ กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า เพื่อการจำหน่าย และรับไปจำหน่ายในตลาด
    12. ประเมินความพึงพอใจ
    13. สรุปผลกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดคณะทำงานตลาดนัดสีเขียว ผักปลอดสารพิษ ในโรงเรียน จำนวน 1 ชุด

    ส่วนกำหนดงานตลาดนัดสีเขียวและกิจกรรมต่างๆ อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

     

    231 185

    23. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แต่ละพื้นที่ได้ไปจัดนิทรรศการ ความสำเร็จของโครงการร่วมกัน โดยนำผลงานจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชน ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ มีการนำผลไม้ และผักพื้นบ้านไปจำหน่าย และร่วมตกแต่งบูธให้ดูเป็นธรรมชาติเสมือนภาพจำลอง มีการนำผลผลิตของชุมชน เช่น ก้อนเชื้อเห็ด ผลไม้ จำพวกลองกอง จำปะดะ ไปจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลงานออกมามีคุณภาพ เพราะความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของคณะทำงาน และยังได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับพี่เลี้ยง และชุมชนอื่นๆอีกด้วย

     

    2 3

    24. จัดเวทีถอดบทเรียนและสรุปโครงการ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แจ้งคณะทำงานเตรียมข้อมูลบทบาทหน้าที่การทำงานที่ผ่านมาในโครงการด้าน หนี้สิน เปรียบ-เทียบ ก่อนหลังสถานะสุขภาพ ก่อน หลัง รายได้ชุมชน ที่เกิดขึ้นจากการร่วมเข้าโครงการ
    2. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของประชาชนในชุมชน ผลการประเมิน ร้อยละ 85 3.นำแบบประเมินมาสรุปก่อนล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลการถอดบทเรียนร่วมด้วย
    3. คณะทำงาน และทีมเยาวชน ร่วมกระบวนการถอดบทเรียน
    4. ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปแผนการดำเนินงาน งบประมาณท้งหมดในการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
    5. สรุปสิ่งที่ได้จากถอดบทเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดคณะทำงานที่สามารถบริหารจัดการโครงการและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน1 ชุด

    ผลสรุปกิจกรรมที่สำคัญ


    1. ความคาดหวังต่อโครงการ -ประชาชนสุขภาพดี -ลดการป่วยและผู้ป่วยมีสุขภาพดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน -การใช้สารเคมีในชุมชนลดลง - ความสามัคคีที่เกิดขึ้นในชุมชนเพิ่มขึ้น -คนในชุมชนปลูกผักปลดสารเคมีเพิ่มมากขึ้น -คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ

    1. สิ่งที่เกิดขึ้นจริง/ความประทับใจ -บุคคลต้นแบบและครัวเรือนต้นแบบ -แปลงปลูกผักเพิ่มขึ้นในชุมชนและโรงเรียน -รายจ่ายลดลงเพราะปลูกผักทานเอง -ทราบรากเหง้าชุมชนจากผู้สูงอายุต้นแบบ -มีทีมเยาวชนเรียนรู้การทำงานของชุมชน -ได้เรียนรู้แนวทางเซรษฐกิจพอเพียง -รายจ่ายลดจากการทำบัญชีครัวเรืือน -ได้เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน -เกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น -ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์รวมเรื่องราวดีดีในการเรียนรู้แนวทางกษตรอินทรีย์และเศรฐกิจพอเพียง -นำแนวทางเกษตรอินทรีย์ลดหนี้ได้

    2. ความต้องการของชุมชน -อยากให้มีโครงการดีดีแบบนี้ต่อเนื่อง -เพิ่มเติมการอบรมความรู้เรื่องยาเสพติด -พัฒนาศักยภาพทีมเยาวชนไบซิเคิลทัวร์ต่อเนื่อง -สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (สนามกีฬา) -เพิ่มกิจกรรมความสามัคคีของชุมชน (เพราะมีปัญหาขัดแย้งทางการเมือง)

    การขยายผลต่อจัดทำการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของชุมชน มีห้องเรียนชุมชนแต่ละจุด แต่ละประเด็น โดยพัฒนาศักยภาพทีมเยาวชนไบซิเคิลทัวร์เป็นไกด์ชุมชน มีจักรยานชุมชนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการจำหน่าย เสริมรายได้

    นวัตกรรมสุขภาพ นวัตกรรมสุขภาพ ที่เกิดขึ้น ไบซิเคิลทัวร์ จากการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค เกิดกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเข้าร่วมเป็นทีมทำงาน โดยพัฒนาทักษะการเก็บข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นจริงของชุมชน ให้สำนึกรักบ้านเกิด และมีการเรียนรู้วิถีชีวิตผู้สูงอายุต้นแบบ เพื่อการเรียนรู้และเกิดความรัก ความอบอุ่น และเป็นแนวทาง แบบแผนการดำเนินชีวิตให้กับตนเองและการเรียนรู้การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมทั้งการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและเยี่ยมติดตามผู้สูงอายุ โดยมี อสม. เป็นพี่เลี้ยง เกิดการเรียนรู้และเสริมความมีคุณค่า ให้เด็กและเยาวชน

     

    42 42

    25. พบพี่เลี้ยงในการปรึกษาการดำเนินงาน

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -สรุปการทำงานโครงการในระยะเวลา 1 ปี ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข และจะดำเนินการโครการปี ๒ หรือไม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ สสส. จากการทำงานร่วมกัน ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน การทำงานร่วมกันของทีมงาน ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนซึ่งถือว่าการให้ความร่วมมือของชาวบ้านอยู่ในระดับดีมาก เพราะทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะได้รับความสนใจในการเข้าร่วม และจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสในการซักถามถึงความต้องการต่อโครงการในปีต่อไป ได้รับการตอบรับที่ดี 

     

    15 15

    26. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เลือกภาพถ่าย และปริ้นภาพถ่ายกิจกรรม เพื่อรายงานผลการดำเนินงานรายกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ภาพกิจกรรมเป็นรายกิจกรรม เพื่อจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการแก่ พี่เลี้ยง สสส สจรส.เพื่อตรวจเอกสารต่อไป

     

    2 2

    27. จัดทำรายงาน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารในการดำเนินงานโครงการ เพื่อนำเอกสารไปตรวจกับ สสส สจรส ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประสานพี่เลี้ยง เพื่อรับคำแนะนำในการตรวจเอกสารจากพี่เลี้ยง 

     

    2 2

    28. ปิดโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทาง สสส สจรส ตรวจเอกสารทางการเงิน และแนะนำการแก้ไขเอกสารเพิ่มเติมส่ง สจรส ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีเอกสารปิดโครงการ จำนวน 1 ชุด
    และคืนเงินเปืดบัญชี 500 บาท

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองด้านหมู่บ้านสีเขียวได้
    ตัวชี้วัด : มีมาตรการทางสังคมร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่อง

    -

    2 เพื่อให้มีปฏิบัติการชุมชนในการสร้างพื้นที่เกษตรสีเขียวชุมชนปลอดสารพิษ
    ตัวชี้วัด : 1. มีแปลงสาธิต ตัวอย่าง ผักสวนครัวโดยใช้เกษตรอินทรีย์ ระดับครัวเรือนจำนวน 50 แปลงและในโรงเรียน จำนวน 5 แปลง 2. ในชมุชนมีการปลูกผัก โดยใช้เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90
    1. เกิดแปลงสาธิตตัวอย่างผักสวนครัวโดยใช้เษตรอินทรีย์ จำนวน 52 หลังและมีครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 10 หลัง

    2.ในชุมชนมีการปลูกผักโดยใช้เกษรอินทรีย์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 92

    3 เพื่อมีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุม 1 ครั้ง/เดือน 2. การประชุมแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 3. การประชุมทุกครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
    1. มีการประชุม 1 ครั้ง/เดือน
    2. การประชุมแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วม ร้อยละ 90
    3. การประชุมทุกครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
    4 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ สู่การพึ่งพาตนเองได้
    ตัวชี้วัด : 1. มีข้อมูลด้านเศรษฐกิจครัวเรือน จำนวน1 ชุด 2. มีทีมไบซิเคิลทัวร์ จำนวน1 ชุด 3. มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหา จำนวน 1 แผน
    1. มีข้อมูลด้านเศรษฐกิจครัวเรือน จำนวน1 ชุด
    2. มีทีมไบซิเคิลทัวร์ จำนวน1 ชุด
    3. มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหา จำนวน 1 แผน
    5 เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการสุขภาพ ในชุมชนป้องกันโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วม
    ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเสี่ยงลดลง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 2. บุคคลต้นแบบ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของกลุ่ม
    1. กลุ่มเสี่ยงลดลงร้อยละ 25
    2. บุคคลต้นแบบ จำนวน 2 คน
    6 เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานหมู่บ้านสีเขียว ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์
    ตัวชี้วัด : 1. มีบ้านต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน้อย 50 หลังคาเรือน 2. ประชาชนเข้าร่วมโครงการ ดำเนินงานเกษตรอินทรีย์ อย่างน้อยร้อยละ 50 จากครัวทั้งหมด 3. ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์และนำสู่ปฏิบัติได้ถูกต้อง
    1. มีบ้านต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน้อย 50 หลังคาเรือน

    2. ประชาชนเข้าร่วมโครงการ ดำเนินงานเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 80 จากครัวทั้งหมด

    3.ร้อยละ 85ของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์และนำสู่ปฏิบัติได้ถูกต้อง ...

    7 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทกครั้งของจำนวนครั้งที่จัด
    2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองด้านหมู่บ้านสีเขียวได้ (2) เพื่อให้มีปฏิบัติการชุมชนในการสร้างพื้นที่เกษตรสีเขียวชุมชนปลอดสารพิษ (3) เพื่อมีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง (4) เพื่อให้ประชาชนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ สู่การพึ่งพาตนเองได้ (5) เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการสุขภาพ ในชุมชนป้องกันโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วม (6) เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานหมู่บ้านสีเขียว ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ (7) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง

    รหัสโครงการ 58-03904 รหัสสัญญา 58-00-2194 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    อาหารพื้นบ้านต้านโรค ชุมชนมีการจัดทำเมนูอาหารต้านโรคโดยนำภูมิปัญญาและพืชผักในชุมชนมาปรุงอาหารเป็นเมนูต้านโรค และแต่ละเมนูมีสรรพคุณมากมาย

    -เอกสารความรู้ และแหล่งข้อมูลจากคนเข้าร่วมกิจกรรมและปราชญ์ผู้รู้

    -จัดทำเป็นคู่มือชุมชนหรือพัฒนาต่อความมั่นคงด้านอาหาร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    -บันทึกรักษ์สุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยรวบรวมเนื้อหาการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย

    -สมุดคู่มือ

    -เพิ่มรายละเอียด 3 อ 2 ส

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    จากการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค เกิดกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเข้าร่วมเป็นทีมทำงาน โดยพัฒนาทักษะการเก็บข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นจริงของชุมชน ให้สำนึกรักบ้านเกิด และมีการเรียนรู้วิถีชีวิตผู้สูงอายุต้นแบบ เพื่อการเรียนรู้และเกิดความรัก ความอบอุ่น และเป็นแนวทาง แบบแผนการดำเนินชีวิตให้กับตนเองและการเรียนรู้การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมทั้งการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและเยี่ยมติดตามผู้สูงอายุ โดยมี อสม. เป็นพี่เลี้ยง เกิดการเรียนรู้และเสริมความมีคุณค่า ให้เด็กและเยาวชน

    คณะทำงาน

    ไกด์ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    -เกิดรูปแบบการทำงานที่มีหลากหลายกลุ่มเพิ่มมากขึ้น จากเดิมฌแพาะกลุ่ม อสม. ที่ดูแลด้านสุขภาพ แต่มีการร่วมเครือข่ายทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน โครงร้างการทำงาน

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    ไบซิเคิลทัวร์

    คณะทำงาน ทะเบียนรายชื่อ

    ไกด์ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น

    จากการสังเกต สำรวจ

    สร้างความตระหนักและกิจกรรม สื่อสร้างสุข

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ชุมชนมีการนำภูมิปัญญามาส่งเสริมการบริโภค เป็น เมนูอาหาร และมีการปลูกผักในระดับครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

    จากการสอบถาม สำรวจ

    ขยายผลการปลูกให้ครอบครัวทุกหลังคาเรือนและสร้างครัวเรือนต้นแบบโดยนำแนวทางเกษตรอินทรีย์ร่วมด้วย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    การชักชวนจากการเข้าร่วมกิจกรรม มีการขยายผลขยายกลุ่มในชุมชนเพิ่มมากขึ้น มีกลุ่มปั่นเพื่อลด มีกลุ่มออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

    ชมรมปั่นจักรยาน

    ขยายกลุ่มและร่วมจัดทำแผนของชมรมในการหนดกิจกรรมสาธารณประโยชน์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ลดละเลิก บุหรี่ อย่างห็นได้ชัดโดยเฉพาะการเคารพกติกาไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

    จากการสังเกต สำรวจ

    สร้างมาตราการทางสังคม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    รวมกลุ่มในการทำกิจกรรม และมีการนำแนวทางศาสนาอิสลามกับสร้างเสริมสุขภาพร่วมด้วย

    สมาชิกกลุ่ม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการนำภูมิปัญญา สมุนไพรและพืชผักในชุมชน มาปรุงเป็นเมนูต้านโรค เมนูอาหารพื้นบ้าน

    เมนูอาหารพื้นบ้าน

    จัดทำเป็นสื่อเรียนรู้ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    มีการรวมกลุ่มกันของสมาชิกครัวเรือนในการปลูกผักปลอดสารเคมีและชักชวนกันออกกำลังกายร่วมกัน

    ผลการสำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    สมาชิกในชุมชนไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผัก

    แบบสอมถามก่อน-หลังร่วมโครงการ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการเสริมสร้างการออกกำลังกายในชุมชนเพิ่มขึ้น

    สนามกีฬาชุมชน จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม อุปกรณ์กีฬา

    สร้างเครือข่ายทุกกลุ่มวัย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ,มีกลุ่ม องค์กร หน่วยงานและเครือข่าย ที่มีความเข้มแข็งเป็นกำลังหลักในงานพัฒนาชุมชน ดังนี้
    ๑ ) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีสมาชิก จำนวน 40 คน ประธานคือนางอรทัย ฮะยีบิลัง โดยมีวัตถุประสงค์ในการ ดำเนินงานคือ เพื่อให้คนในชุมชนได้มีเงินออม และใช้เป็นเงินทุนเมื่อยามจำเป็น 2) กลุ่มสตรีปักจักร มีสมาชิกจำนวน 20 คน ประธานคือ นางอรทัย ฮะยีบิลัง โดยมีวัตถุประสงค์ในการ ดำเนินงานคือ เพื่อให้สตรีในชุมชนมีอาชีพเสริม และมีรายได้ เพิ่มให้กับครอบครัว 3) กองทุนหมู่บ้าน มีสมาชิกจำนวน 51 คน ประธานคือ นายดลตาเหยบ ตาเดอิน โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคือ เพื่อให้คนในชุมชนได้มีแหล่งเงินกู้เพื่อประกอบอาชีพ และสร้างรายได้แก่ครอบครัว 4) กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน มีสมาชิก จำนวน 53 คน ประธานคือ นายดนรอหมาน ตาเดอิน โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการดำเนินงานคือ เพื่อให้ครัวเรือนยากจนในหมู่บ้าน ได้มีแหล่งเงินทุน เพื่อนำไปประกอบอาชีพกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    ทะเบียนกลุ่ม

    สร้างเครือข่ายเพิ่มและระดมทรัพยากรในการสนับสนุนให้กับกลุ่มจากภาคีเครือข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน
    1. งานเลี้ยงชุมชนเลี้ยงน้ำสมุนไรแทนน้ำอัดลม
    2. งานเลี้ยงชุมชน มีเมนูผัก 2-3 ชนิด
    3. ทุกครัวเรือนปลูกผัก อย่างน้อย 5 ชนิดขึ้นไป

    รายงานผลการดำเนินงาน

    ประกาศใช้ครอบคลุมและขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.ควนโดนอบต.ควนโดน

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    นำแผนสู่การปฏิบัติและนำเสนอสู่ช่องทางอื่นๆเทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ใช้ทรัยากรชุมชนด้านคน ผู้ทรงคูณวุฒิ ปราชญ์ผู้รู้ ในการศึกษาภูมิปัญญา วิถีชุมชนและมีการระดมทุนจากผู้นำทางการในการขอรับสนุนกิจกรรมนอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    จัดทำเป็นคู่มือ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรมการดูแลสุขภาพ

    คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรมการดูแลสุขภาพ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    ภูมิปัญญากับการส่งเสริมสุขภาพ ลดโรค

    เอกสาร รายงาน

    จัดทำเป็นคู่มือ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    เกิดการรวมกลุ่มในการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนปฏิบัติการของชุมชนในการแก้ไขปัญหาในแต่ละด้าน

    รายงานผลการดำเนินงาน /แผนปฏิบัติการ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    คณะกรรมการการดำเนินงาน มีความภูมิใจในการทำงานที่ทางชุมชนให้ความร่วมมือและงานที่ได้รับมอบหมายเกิดประโยชน์กับชุมชน และได้รับความไว้วางใจในการดำเนินงานต่อ

    จากการพูดคุย ซักถาม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การดำเนินงานมีความตั้งใจในการทำงานโดยมีการสละเวลาในการประกอบอาชีพในบางช่วงกิจกรรมหรือการเข้าร่วมประชุม มีการสลับหมุ่นเวียนกันในทางทีมงานเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

    จากการพูดคุย สัมภาษณ์

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ส่วนใหญ่มีการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผักเพิ่มขึ้น ขึ้น และใช้พืืชสมุนไพรในท้องถิ่น อยู่แบบเรียบง่าย

    จาการรายงานผลการดำเนินงาน

    จัดทำคู่มือ บันทึกชีวิตเพื่อการเรียนรู้ของเด้กและเยาวชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    การช่วยเหลือในการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนทั้งกิจกรรมในโครงการและกิจกรรมอื่นๆของชุมชน เช่น งานแต่งงาน งานุญ งานกีฬาของชุมชน

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03904

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย ดนรอหมาน ตาเดอิน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด