แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง

ชุมชน หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามู ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ 58-03969 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2181

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นสัญลักษณ์และประกาศให้คนในหมู่บ้านทราบถึงกิจกรรมที่จะดำเนินการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และเตรียมจัดทำรายงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและสร้างความเข้าใจโครงการร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ดำเนินการจัดทำป้ายและเตรียมข้อมูลเพื่อทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

 

5 5

2. ประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจวิธีการดำเนินโครงการและการรายงานผลการดำเนินการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ -ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม

    • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
    • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)
    • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง
    • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
    • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน
    • ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน
  2. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

  3. รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์

- ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

  1. สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

  2. การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ

- การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ปฐมนิเทศโครงการฯ
  2. เรียนรู้การรายงานผลทางเวปไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง
  2. กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
  3. การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
  4. การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
  5. การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

 

2 2

3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สสส.

วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้าน บุคคลทั่วไปทราบว่าหมู่บ้านได้รับการสนันสนุนโครงการสสส.และมีการดำเนินการขั้นต้นในเรื่องสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ และเชิญชวนให้ทุกคนเลิกสูบบุหรี่ด้วย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีการจัดเปิดตัวโครงการ จำนวน 1 ครั้ง
  2. มีข้อเสนอแนะโครงการจากการจัดกิจกรรม
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจ ร้อยละ 80

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจโครงการและซักถามที่มาของโครงการจากพี่เลี้ยง แสดงให้เห็นถึงความสนใจและเห็นความสำคัญของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดีและเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพตัวเองพร้อมทั้งเรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อนำมาปรับใช้กับชุมชนต่อไป พร้อมกันนั้นยังช่วยให้มีพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน 2.จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาผู้นำชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม
  2. จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้อง ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 141 คน
  3. ทีมทำงาน ประสาน กลุ่ม อสม. ในการร่วมแจกหนังสือเชิญในเขตที่รับผิดชอบของตนเอง
  4. ทีมงานเตรียมความพร้อม ด้านข้อมูล ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ อบต ควนโดนรพ,สต ควนโดนเกษตรตำบล พัฒนาชุมชนกศน. 6. จัดเปิดตัวโครงการ โดยฉายวีดีทัศน์ หมู่บ้านต้นแบบวิถีพอเพียง
  5. พี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ภารกิจการดำเนินงานของ สสส
  6. ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน มีการพูดคุย แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูล แผนงานโครงการ รายละเอียดงบประมาณ การประเมินผล
  7. เปิดเวทีข้อซักถาม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
  8. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ
  9. ทีมงานสรุปผลการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน 2.จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาผู้นำชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม
  2. จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้อง ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 141 คน
  3. ทีมทำงาน ประสาน กลุ่ม อสม. ในการร่วมแจกหนังสือเชิญในเขตที่รับผิดชอบของตนเอง
  4. ทีมงานเตรียมความพร้อม ด้านข้อมูล ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ อบต ควนโดนรพ,สต ควนโดนเกษตรตำบล พัฒนาชุมชนกศน. 6. จัดเปิดตัวโครงการ โดยฉายวีดีทัศน์ หมู่บ้านต้นแบบวิถีพอเพียง
  5. พี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ภารกิจการดำเนินงานของ สสส
  6. ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน มีการพูดคุย แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูล แผนงานโครงการ รายละเอียดงบประมาณ การประเมินผล
  7. เปิดเวทีข้อซักถาม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
  8. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ
  9. ทีมงานสรุปผลการจัดกิจกรรม

 

141 141

4. สร้างทีมงานสภาชุมชน

วันที่ 18 ตุลาคม 2558 เวลา 20:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคัดเลือกคณะทำงาน สร้างทีมงาน และทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาผู้นำผู้นำชุมชนจำนวน1 ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าทีในการดำเนินงาน
2. สภาผู้นำชุมชนมีการประชุมทุกเดือน 3. การประชุมมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 4. การประชุมทุกครั้งมีการหารือปรึกษาโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกแบบไม่เป็นทางการที่มีความหลากหลายของกลุ่ม มีทีมโครงการ กลุ่มเยาวชนอสม. และผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คน และประสานตัวบุคคลด้วยวาจา เข้าร่วมเป็นทีมก่อนเบื้องต้น และทำคำสั่งแต่งตั้งโดยท่านผู้ใหญ่บ้านและการมอบหมายความรับผิดชอบอย่างชัดเจน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน เรื่องการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนและความรับผิดชอบในแต่ละด้านเพื่อการขับเคลื่อนงานในชุมชนพร้อมทั้งทบทวนทรัพยากรเพื่อการระดมทุนและการเชือมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ร่วมศึกษาดูงาน พื้นที่ภายในอำเภอ คือ หมู่ที่ 4บ้านกลาง ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน เพื่อเสริมพลัง ไอเดีย และเรียนรู้รูปแบบการทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อการเตรียมความพร้อมในการคัดเลือกทีมงาน
  2. คัดเลือกทีมงาน จากทีมคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกแบบไม่เป็นทางการที่มีความหลากหลายของกลุ่ม มีทีมโครงการ กลุ่มเยาวชนอสม. และผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คน และประสานตัวบุคคลด้วยวาจา เข้าร่วมเป็นทีมก่อนเบื้องต้น
  3. ทำหนังสือเชิญ ผู้ที่ตอบรับ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติ และทำคำสั่งแต่งตั้งโดยท่านผู้ใหญ่บ้านและการมอบหมายความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
  4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน เรื่องการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนและความรับผิดชอบในแต่ละด้านเพื่อการขับเคลื่อนงานในชุมชนพร้อมทั้งทบทวนทรัพยากรเพื่อการระดมทุนและการเชือมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
  5. ร่วมศึกษาดูงาน พื้นที่ภายในอำเภอ คือ หมู่ที่ 4บ้านกลาง เพื่อเสริมพลัง ไอเดีย และเรียนรู้รูปแบบการทำงาน 5.เลขาทีมรับผิดชอบโครงการ ประเมินผลและสรุปกิจกรรม การเรียนรู้
  6. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ
  7. มีการประชุมปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน ทุก 1 เดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อการเตรียมความพร้อมในการคัดเลือกทีมงาน
  2. คัดเลือกทีมงาน จากทีมคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกแบบไม่เป็นทางการที่มีความหลากหลายของกลุ่ม มีทีมโครงการ กลุ่มเยาวชนอสม. และผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คน และประสานตัวบุคคลด้วยวาจา เข้าร่วมเป็นทีมก่อนเบื้องต้น
  3. ทำหนังสือเชิญ ผู้ที่ตอบรับ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติ และทำคำสั่งแต่งตั้งโดยท่านผู้ใหญ่บ้านและการมอบหมายความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
  4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน เรื่องการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนและความรับผิดชอบในแต่ละด้านเพื่อการขับเคลื่อนงานในชุมชนพร้อมทั้งทบทวนทรัพยากรเพื่อการระดมทุนและการเชือมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
  5. ร่วมศึกษาดูงาน พื้นที่ภายในอำเภอ คือ หมู่ที่ 4บ้านกลาง เพื่อเสริมพลัง ไอเดีย และเรียนรู้รูปแบบการทำงาน 5.เลขาทีมรับผิดชอบโครงการ ประเมินผลและสรุปกิจกรรม การเรียนรู้
  6. จัดทำแผนร่วมกัน ในการติดตามโครงการและการพบปะพูดคุยเพื่อการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ
  7. มีการประชุมปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน ทุก 1 เดือน

 

30 30

5. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส.

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเปิดตัวโครงการให้ชุมชนรับทราบว่ามีโครงการสสส.เกิดขึ้นและดำเนินการปี งบประมาณ 2558 นี้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีการจัดเปิดตัวโครงการ จำนวน 1 ครั้ง
  2. มีข้อเสนอแนะโครงการจากการจัดกิจกรรม
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจ ร้อยละ 80

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. การเตรียมการ: มีการประชุมทีมคณะกรรมการก่อนเพื่อมอบหมายการดำเนินงาน และมีการจัดทำหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีประชาคมเพื่อเปิดตัวโครงการ (โดยมีเลขานุการโครงการผู้จัดทำหนังสือและลงนามโดยผู้รับผิดดชอบโครงการ) ทีมงานมีการส่งหนังสือถึงครัวเรือนและมอบหมายการชี้แจง ดังนี้โดยเปิดเวที และพูดคุยโครงการ การจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม (หัวหน้าโครงการ)ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในแต่ละกิจกรรม (หัวหน้าโครงการและเลขา) และสรุปผล แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ การอุดหนุนจาก สสส การติดตามและประเมินผล (พี่เลี่ยง)
  2. การดำเนินการ : จัดเวทีประชาคม ณ อาคารเนกประสงค์เริ่มเวลา 13.00 น.ลงทะเบียน โดย คณะกรรมการสภาชุมชน(กลุ่มเป้ามายในชุมชนเริ่มทยอยเข้าร่วมเวทีประชาคม) มีความหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กเยาวชน ผู้นำ แกนนำ ประชาชน และผู้สูงอายุพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ เริ่มพูดคุย เวลา 14.00 น. เริ่มเวทีประชาคม โดยหัวหน้าโครงการ พูดกล่าวทักทาย และเปิดตัวโครงการ วัตถุประสงค์ การได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สสสโดยภาพรวม บรรยากาศ สมาชิกชุมชนมีความตั้งใจฟัง เงียบ ยังมีคนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้นทางผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดต่อ ในรายละเอียด แนะนำคณะกรรมการทีมทำงานแนะนำพี่เลี่ยง ในพื้นที่เลขานุการ มีการชี้แจงรายละเอียด ปฏิทินการดำเนินงานต่อ ใน กิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อย รวมถึงชี้แจงงบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรรให้ชุมชนได้รับทราบในแต่ละงวดและ พี่เลี้ยง ก็ สรุป พูด ถึง นโยบาย แนวทางการดำเนินงานของ สสส และประชาสัมพันธ์ การดำเนินงาน วัตถุประสงค์ การสนับสนุนในโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ฯ เพื่อให้ ชุมชนได้ทราบขั้นตอน การขอรับการสนับสนุน และสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมของโครงการ ขอความร่วมมือชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ทางทีมทำงานโครงการจะได้ดำเนินการนับจากนี้ต่อไปพร้อมทั้งเสริมสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน ที่มีจิตอาสาในการทำงานพัฒนาชุมชนและทางผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าโครงการ ได้เปิดโอกาส ข้อซักถาม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากชุมชน และ พูดคุย เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับทราบและสร้างการรียนรู้ร่วมกัน
  3. การประเมินผล: ด้านสถานที่สะอาด ปลอดภัย ศูนย์รวมชุมชน มีการติดป้ายชื่อโครงการและป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ด้านคนมีครบองค์ประกอบที่วางไว้มีการเสนอ ซักถาม ประเด็นข้อสงสัยและมีภาคีเครือข่ายร่วมด้านการบริหารจัดการ : ตามวัน เวลา ที่กำหนดมีการชี้แจงแผนกิจกรรมและงบประมาณชัดเจน ทีมงานสภาชุมชนครบและใส่เสื้อทีมเชิงสัญลักษณ์เพื่อการประชาสัมพันธ์สสส.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน 2.จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาผู้นำชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม
  2. จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้อง ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 141 คน
  3. ทีมทำงาน ประสาน กลุ่ม อสม. ในการร่วมแจกหนังสือเชิญในเขตที่รับผิดชอบของตนเอง
  4. ทีมงานเตรียมความพร้อม ด้านข้อมูล ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ อบต ควนโดนรพ,สต ควนโดนเกษตรตำบล พัฒนาชุมชนกศน. 6. จัดเปิดตัวโครงการ โดยฉายวีดีทัศน์ หมู่บ้านต้นแบบวิถีพอเพียง
  5. พี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ภารกิจการดำเนินงานของ สสส
  6. ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน มีการพูดคุย แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูล แผนงานโครงการ รายละเอียดงบประมาณ การประเมินผล
  7. เปิดเวทีข้อซักถาม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
  8. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ
  9. ทีมงานสรุปผลการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดตัวโครงการคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดรูปแบบกิจกรรม มอบมายความรับผิดชอบ และร่วมกำหนดวันในการดำเนินงาน
  2. จัดทำสื่อ วัสดุประชาสัมพันธ์ สสส. เสื้อทีมสภาผู้นำชุมชนพร้อมโลโก้ สสส. เพื่อเชิงสัญลักษณ์ การเสริมพลัง การทำงานเป็นทีม
  3. จัดทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้อง ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 141 คน
  4. ทีมทำงาน ประสาน กลุ่ม อสม. ในการร่วมแจกหนังสือเชิญในเขตที่รับผิดชอบของตนเอง
  5. ทีมงานเตรียมความพร้อม ด้านข้อมูล ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ อบต ควนโดนรพ,สต ควนโดนเกษตรตำบล พัฒนาชุมชนกศน.
  6. จัดเปิดตัวโครงการ โดยฉายวีดีทัศน์ หมู่บ้านต้นแบบวิถีพอเพียง
  7. พี่เลี้ยงโครงการในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ภารกิจการดำเนินงานของ สสส
  8. ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน มีการพูดคุย แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูล แผนงานโครงการ รายละเอียดงบประมาณ การประเมินผล
  9. เปิดเวทีข้อซักถาม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
  10. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ
  11. ทีมงานสรุปผลการจัดกิจกรรม

 

141 141

6. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบเครื่องมือ

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คัดเลือกเยาวชนเพื่อจัดเก็บข้อมูลในหมู่บ้านมาวิเคราะห์ปัญหาในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดการจัดการข้อมูลชุมชน ฐานข้อมูลรายรับ รายจ่าย หนี้สินของชุมชน เกิดแผนที่คุณค่าทรัพยากร
  2. ได้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร
  2. เกิดอาสาสมัครที่เป็นเยา่วชนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและจัดเก็บข้อมูล จำนวน 15 คน
  3. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจโครงการสสส.และกระบวนการทำงานในรูปแบบเดียวกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. คณะทำงานประชุมหารือ และเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน
  2. รับสมัครเยาวชนจิตอาสา เข้าร่วมพัฒนาชุมชน
  3. สร้างทีมเยาวชนนักจัดการข้อมูล จำนวน 15 คน ร่วมปฏิบัติการเรียนรู้การจัดเก็บข้อมูลในชุมชน จำนวน 3 วัน

วันที่1 เรื่องหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและ การวิเคราะห์ชุมชน อดีต สภาพความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน และความคาดหวังในอนาคต

วันที่2 ทำความเข้าใจกับทีมเยาวชนและการพัฒนาออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่ตรงกับสภาพความเป็นชุมชนและทบทวนให้เป็นปัจจุบันโดยจัดเก็บ ข้อมูล ด้านเศรษฐกิจรายรับรายจ่าย หนี้ การดำรงชีวิตด้านสถานะสุขภาพและด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน

วันที่3 พัฒนาเครื่องมือ/บัญชีครัวเรือน และทดลองฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล 4. จัดทำเสื้อทีม เยาวชนนักจัดเก็บข้อมูล เพื่อการทำงานเป็นทีม เชิงสัญลักษณ์พร้อมประชาสัมพันธ์ สสส. 5. ประเมินผลการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คณะทำงานประชุมหารือ และเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน
  2. รับสมัครเยาวชนจิตอาสา เข้าร่วมพัฒนาชุมชน ทำความเข้าใจโครงการและกิจกรรมที่จะทำร่วมกันหลังจากนี้และให้แสดงความคิดเห็นเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่อไป
  3. สร้างทีมเยาวชนนักจัดการข้อมูล จำนวน 15 คน ร่วมปฏิบัติการเรียนรู้การจัดเก็บข้อมูลในชุมชน จำนวน 3 วัน

 

15 15

7. การทำรายงานและการเงิน

วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจระบบการทำงานของโครงการ การคีย์ระบบติดตามโครงการ และเรียนรู้รายงานการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันนี้ จำนวน 3 คน ทั้งประธานโครงการ การเงินและบันทึกข้อมูลเพื่อมารับรู้การทำงานร่วมกันและเข้าใจการทำงานในระบบผ่านเว็ปและติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เรียนรู้การคีย์ข้อมูลเข้าระบบในรูปแบบเดียวกัน
  2. ติดตามการทำงานตั้งแต่เริ่มโครงการ และดำเนินโครงการไปแล้วบางส่วน พร้อมทั้งคีย์ระบบข้อมูลลงในเว็ป
  3. การจัดทำรายงานการเงินของโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมรับฟังบรรยายการคีย์ระบบติดตามและการเงิน เป็นขั้นตอนตั้งแต่ติดตามกิจกรรมที่บันทึกไว้ในปฏิทินที่ดำเนินการไว้ก่อนแล้ว ทำการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมให้ครบถ้วน เพื่อให้ระบบบันทึกการทำรายงานเสร็จสมบูรณ์

 

2 3

8. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในชุมชนแล้วนำมาวิเคราะห์ 2. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาแก้ปัญหาต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร จำนวน1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม ทำให้ชุมชนมีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน การออม หนี้สินครัวเรือน หนี้สินชุมชน
  2. เกิดแผนที่ทำมือด้วยตนเองของกลุ่มเยาวชนเพื่อบ่งชี้ถึงสถานที่สำคัญ ทรัพยากรในหมู่บ้านและวิเคราะห์โอกาสพัฒนาด้านต่างๆในอนาคตได้
  3. ได้รับข้อมูลด้านสุขภาพจากการบริโภคในแต่ละมื้อ แต่ละวัน พร้อมนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ทีมเยาวชนจัดทำตารางเวลาในการจัดเก็บข้อมูลและศึกษาแผนที่ โดยประสานขอแผนที่จาก อบต.ควนโดน
  2. แบ่งโซนการเก็บข้อมูลเตรียมแบบสอบถาม และประสาน อสม.ในพื้นที่
  3. แบ่งทีมลงเก็บข้อมูล นำแบบสอบถาม และแผนที่ย่อๆเพื่อบันทึก จุด ที่ดินว่างเปล่า ศูนย์เรียนรู็ ทรัพยากรชุมชน หรืออื่นๆพร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม ปัญหาอุปสรรคและสิ่งที่ค้นพบระหว่างการเก็บข้อมูลจำนวน 4 วัน
  4. ทีมเยาวชน นัดหมายรวบรวมแบบสอบถาม เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ 1 วัน
  5. ทีมสภาผู้นำชุมชนร่วมประเมินเสริมพลัง ให้กำลังใจ รวมกิจกรรมจำนวน 5 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทีมเยาวชนจัดทำตารางเวลาในการจัดเก็บข้อมูลและศึกษาแผนที่ โดยประสานขอแผนที่จาก อบต.ควนโดน
  2. แบ่งโซนการเก็บข้อมูลเตรียมแบบสอบถาม และประสาน อสม.ในพื้นที่
  3. แบ่งทีมลงเก็บข้อมูล นำแบบสอบถาม และแผนที่ย่อๆเพื่อบันทึก จุด ที่ดินว่างเปล่า ศูนย์เรียนรู็ ทรัพยากรชุมชน หรืออื่นๆพร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม ปัญหาอุปสรรคและสิ่งที่ค้นพบระหว่างการเก็บข้อมูลจำนวน 4 วัน
  4. ทีมเยาวชน นัดหมายรวบรวมแบบสอบถาม เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์1วัน
  5. ทีมสภาผู้นำชุมชนร่วมประเมินเสริมพลัง ให้กำลังใจและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
    รวมกิจกรรมจำนวน 5 วัน

 

15 15

9. นำข้อมูลมาวิเคราะห์

วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นของชุมชนและวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีชุดข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ จำนวน 1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1.1 ของครัวเรือนที่ทำแบบสอบถาม 141 ครัวเรือน

1.2 สมาชิกในครัวเรือน 635 คน ชาย 343 หญิง 292 คน

1.3 อาชีพหลักของครัวเรือน -รับจ้าง 36 ครัวเรือน
-ค้าขาย 11 ครัวเรือน
-ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 6 ครัวเรือน
-เกษตรกร 77 ครัวเรือน
-พนักงงาน/ลูกจ้าง 11 ครัวเรือน

1.4อาชีพรองของครัวเรือน -ค้าขาย 20 ครัวเรือน
-ค้าขาย 11 ครัวเรือน
-ข้าราชการ 2 ครัวเรือน
-เกษตรกร 95 ครัวเรือน
-พนักงาน/ลูกจ้าง 3 ครัวเรือน
-อื่นๆ 3 ครัวเรือน

1.5 ลักษณะบ้าน -ที่อยู่อาศัย 137 ครัวเรือน
-ร้านค้าเชิงพาณิชย์ 4 ครัวเรือน

1.6 รายได้ของครอบครัวต่อเดือน
- ต่ำกว่า 5000ไม่มี -5001-10,000 = 66 ครัวเรือน
-10,001-15,000 = 29 ครัวเรือน
-15,001-20,000 = 3 ครัวเรือน
-20,000 บาทขึ้นไป = 10 ครัวเรือน


ตอนที่ 2ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจพอเพียง

2.1 หลักการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็น -อยู่อย่างพอประมาณ -พึ่งพาตนเอง -ปลูกผักกินเอง -เก็บเงินใช้ยามจำเป็น

2.2 การปลูกผักปลอกสารพิษ ปลูก 118 ครัวเรือนไม่ปลูก 23 ครัวเรือน

2.3 การปลูกสมุนไพร ปลูก 128 ครัวเรือนไม่ปลูก 13 ครัวเรือน

2.4 การกำจัดศัตรูพืช -น้ำหมักสมุนไพร 52 ครัวเรือน
-ฉีดพ่นสารเคมี 45 ครัวเรือน
-อื่นๆ 32 ครัวเรือน

2.5 วิธีการกำจัดวัชพืช -ตัด/ถาง 118 ครัวเรือน
-ยาฆ่าหญ้า 19 ครัวเรือน
-ไถ-กลบ 3 ครัวเรือน

2.6 ผลิตของใช้ที่จำเป็น -ทำเอง 25 ครัวเรือน
-ไม่ได้ทำ 116 ครัวเรือน

2.7 การจัดทำบัญชีครัวเรือน
-ทำ 17 ครัวเรือน
-ทำแต่ไม่ต่อเนื่อง 23 ครัวเรือน
ไม่ทำ 101 ครัวเรือน

2.8 รายรับรายจ่ายมีความสมดุลหรือเพียงพอหรือไม่ -เพียงพอไม่มีหนี้สิน 67 ครัวเรือน
-ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน 74 ครัวเรือน
-ในระบบ54 ครัวเรือน
-นอกระบบ 17 ครัวเรือน

2.9หนี้สินในระบบ
-ธกส. 16 ครัวเรือน
-ธนาคารพาณิชย์/ธนาคารออมสิน 4 ครัวเรือน
-สหกรณ์ 7 ครัวเรือน
-กองทุนในหมู่บ้าน 23 ครัวเรือน
-อื่นๆ 7 ครัวเรือน

2.10 หนี้สินนอกระบบ
-นายทุนเงินกู้ 1 ครัวเรือน
-ญาติ เพื่อนบ้าน 16 ครัวเรือน

2.11 สาเหตุการมีภาระหนี้สิน -ค่าเล่าเรียนบุตร 30 ครัวเรือน
-ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน 20 ครัวเรือน
-ผลผลิตได้รับความเสียหาย 4 ครัวเรือน
-ขายผลผลิตไม่ได้ /ได้น้อน/ราคาต่ำ 16 ครัวเรือน
-มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มึ้นและรายได้ไม่เพียงพอ 19 ครัวเรือน
-ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ 7 ครัวเรือน
-ค่าปุ๋ยและวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร 18 ครัวเรือน
-ไม่ได้ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ 2 ครัวเรือน
-อื่นๆ 8 ครัวเรือน

2.12 ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงของภาระหนี้สิน -ลดลงเรื่อยๆ 35 ครัวเรือน
-ไม่เปลี่ยนแปลง 14 ครัวเรือน
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 50ครัวเรือน

2.13 เริ่มลดค่าใช้จ่ายประเภทใดเป็นอันดับแรก -อาหารจุกจิก -เครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น

2.14 วิธีการแก้ไขปัญหารายได้ไม่เพียงพอ -หารายได้เสริม -ปลูกผักสวนครัว -กินใช้อย่างประหยัด -ต้องขยัน

2.15 กรณีที่ไม่มีหนี้ -รู้จักออม -ใช้จ่ายอย่างเพียงพอ อยู่กินอย่างประหยัด


ตอนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ

3.1กินอาหารบรรจุสำเร็จมี อย. -ทุกครั้ง 88ครัวเรือน
-บางคร้ง 53ครัวเรือน

3.2กินอาหารสุกๆ ดิบๆ
-ทุกครั้ง 4ครัวเรือน
-บางครั้ง 26 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 111 ครัวเรือน

3.3 ผักต้องเป็นผักปลอดสารพิษ
-ทุกครั้ง 102 ครัวเรือน
-บางครั้ง 36 ครัวเรือน

3.4 ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
-ทุกครั้ง 118 ครัวเรือน
-บางครั้ง 23 ครัวเรือน

3.5 ใช้ช้อนกลาง
-ทุกครั้ง 132 ครัวเรือน
-บางครั้ง 9ครัวเรือน

3.6 รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ใน 1 วัน -ทุกครั้ง 57ครัวเรือน
-บางครั้ง 84ครัวเรือน

3.7กินอาหารรสจัด -ทุกครั้ง 18 ครัวเรือน
-บางครั้ง 69 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 54 ครัวเรือน

3.8 รับประทานผัก ผลไม้ 1 จาน/วัน -ทุกครั้ง 69 ครัวเรือน
-บางครั้ง 7 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 2 ครัวเรือน

3.9 ใช้สารปรุงแต่งอาหาร
-ทุกครั้ง 34 ครัวเรือน
-บางครั้ง 78 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 29 ครัวเรือน

3.10 ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว -ทุกครั้ง 98 ครัวเรือน
-บางครั้ง 36 ครัวเรือน . -ไม่เคยปฏิบัติ 7 ครัวเรือน

3.11 ดื่มน้ำอัดลม/น้ำหวานเป็นประจำ -ทุกครั้ง 20 ครัวเรือน
-บางครั้ง 75 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 46 ครัวเรือน

3.12 เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ซื่อยาชุดมารับประทานเอง -ทุกครั้ง 20 ครัวเรือน
-บางครั้ง 48 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 73 ครัวเรือน

3.13 ใช้ยาสามัญ
-ทุกครั้ง 37 ครัวเรือน
บางครั้ง 102 ครัวเรือน
ไม่เคยปฏิบัติ 2 ครัวเรือน

3.14 ใช้สมุนไพร -ทุกครั้ง 56 ครัวเรือน
-บางครั้ง 66 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 19 ครัวเรือน

3.15ปล่อยให้หายเอง
-ทุกครั้ง 8ครัวเรือน
-บางครั้ง 43 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 90 ครัวเรือน

3.16 มีการออกกำลังกาย -ได้ออกกำลังกาย 138 ครัวเรือน
-ไม่ได้ออก 3 ครัวเรือน

3.17 ภาวะน้ำหนักเกิน -มี 50 ครัวเรือน
-ไม่มี 91 ครัวเรือน

3.18 ภาวะการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว -มี 51 ครัวเรือน
-ไม่มี 90 ครัวเรือน

3.19 ตรวจสุขภาพประจำปี -มี 87 ครัวเรือน
-ไม่มี 54 ครัวเรือน

3.20 การสูบบุหรี่ -มี 70 ครัวเรือน
-ไม่มี 71 ครัวเรือน


ด้านที่ 4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำโครงการ

1.ความต้องการของคนในชุมชนในการแก้ปัญหา 1.1 ข้อเสนอแนะระดับครัวเรือน -ปรับปรุงความเป็นอยู่ -ปรึกษาการือกัน -ลดค่าใช้จ่าย -ทำบัญชีครัวเรือน -ส่งเสริมอาชีพ

1.2 ระดับครัวเรือน -อยากให้มีไฟฟ้าทางเข้าหมู่บ้าน -ทำถนนใหม่เพื่อการสัญจร -ลดช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่

2.ข้อเสนอแนะในการทำโครงการ -ทำต่อเนื่อง -ทำแล้วให้เกิดผล

3.หิอจกรรมครัวเรือนต้นแบบตามแนวเศรฐกิจพอเพียง -สนใจเข้าร่วมโครงการ 133ครัวเรือน
-ไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ 8ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สภาผู้นำชุมชน ร่วมกับทีมเยาวชน ประชุม เตรียมความพร้อม
  2. ทีมเยาวชน นำข้อมูลที่ได้ร่วมกับสภาชุมชน มาวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ร่วมกัน ระหว่าง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้รู้ในชุมชนโดยเน้นการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สาเหตุที่มาจากคน สภาพแวดล้อมบริบทของชุมชน กลไก โครงสร้างชุมชนว่าเป็นอย่างไร ตั้งแต่รากเหง้าโดยวิเคราะห์ทั้งระดับครัวเรือน
  3. เยาวชนนำเสนอกรณีศึกษา ตัวอย่างครัวเรือนต้นแบบ การดำรงชีวิตแบบพอเพียงโดยใช้รูปแบบจัดทำกลุ่ม นำเสนอ
  4. ข้อมูลที่ได้ มาสังเคราะห์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุติ ในชุมชน นักวิชาการภายนอก และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อปรับปรุงข้อมูลและเติมเต็มข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์จริง
  5. เตรียมข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ เพื่อการคืนข้อมูลสู๋ชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สภาผู้นำชุมชน ร่วมกับทีมเยาวชน ประชุม เตรียมความพร้อม
  2. ทีมเยาวชน นำข้อมูลที่ได้ร่วมกับสภาชุมชน มาวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ร่วมกัน ระหว่าง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้รู้ในชุมชนโดยเน้นการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สาเหตุที่มาจากคน สภาพแวดล้อมบริบทของชุมชน กลไก โครงสร้างชุมชนว่าเป็นอย่างไร ตั้งแต่รากเหง้าโดยวิเคราะห์ทั้งระดับครัวเรือน
  3. เยาวชนนำเสนอกรณีศึกษา ตัวอย่างครัวเรือนต้นแบบ การดำรงชีวิตแบบพอเพียงโดยใช้รูปแบบจัดทำกลุ่ม นำเสนอ
  4. ข้อมูลที่ได้ มาสังเคราะห์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุติ ในชุมชน นักวิชาการภายนอก และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อปรับปรุงข้อมูลและเติมเต็มข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์จริง
  5. เตรียมข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ เพื่อการคืนข้อมูลสู่ชุมชน

 

45 45

10. จัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน

วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์นำสนอคืนสู่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ชุมชนมีการรับรู้ข้อมูลชุมชน ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร 2. มีสื่อเพลงพื้นบ้าน ที่เป็นของชุมชนเองจำนวน 1 ชุด 3.มีมาตราการทางสังคมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายอาหมาดซอและ หมันเล๊ะ ผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนอสม. ประกาศหลังละหมาดวันศุกร์ให้ทุกครัวเรือนเข้าร่วมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน และให้ตัวแทนอสม.เดินบอกตามบ้านอีกครั้งก่อนวันทำเวทีคืนข้อมูลเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการประสานงาน รวมทั้งบอกสำหรับครัวเรือนที่มีหญิงม่ายและคนชราด้วย พร้อมกันนั้นได้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมรับฟังด้วย โดยประธานโครงการกล่าวต้อนรับและชี้แจงกิจกรรมวันนี้ และวัตถุประสงค์ หลังจากนั้น นางสาวเจนวลี ปะดุกา ผู้บันทึกข้อมูลและเลขาฯทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลที่ได้รับจากชุมชน ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วนำเสนอเพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน หลังจากนั้นพี่เลี้ยงโครงการ คุณธิดา เหมือนพะวงค์ ได้พบปะพูดคุยกับพี่น้อง และกิจกรรมรำไม้กระบองเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการออกกำลังกายในชุมชนโดยสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยรวมถึงผู้สูงอายุที่สนใจด้วย ช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี และให้ทุกคนมีส่วนร่วมเสนอแนะและแจ้งข่าวสารอื่นๆต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชาสัมพันธ์การจัดทำเวทีคืนข้อมูลแก่ชุมชน โดยเชิญตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วม
  2. ขอความร่วมมือ จาก อสม. ในการแจ้งครัวเรือนเข้าร่วม
  3. เชิญ ภาคีเครือข่าย อบตรพ.สตเกษตร พัฒนา
  4. สภาผู้นำชุมชนแบ่งหน้าที่เตรียมข้อมูล โดยผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้นำเสนอข้อมูลร่วมเตรียมสถานที่ เตรียมอาหารว่าง และความสะดวกอื่นๆ
  5. จัดเวทีคืนข้อมูล โดยเชิญ นายก อบต กล่าวพบปะผู้รับผิดชอบโครงการ คุยความเป็นมารูปแบบ การจัดเก็บข้อมูลต่อเวที
  6. วีดีทัศน์และจัดทำสื่อเพลงพื้นบ้านประกอบ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้ชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อสู่หมู่บ้านต้นแบเศรษฐกิจพอเพียง นำเสนอข้อมูล เพิ่มเติม จาก ผู้รับผิดชอบโครงการ และข้อเสนอแนะ
  7. ร่วมพูดคุย และเปิดโอกาสการซักถาม การแสดงความคิดเห็นของชุมชน

  8. พูดคุย เสนอ กติกาชุมชนรือมาตราการทางสังคม ในชุมชน

  9. จัดทำป้าย มาตราการทางสังคม ติดในที่ชุมชน
  10. รวบรวมข้อเสนอแนะจากชุมชน ภาคเครือข่ายเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดเตรียมการทำแผนชุมชน

    ร่วมกิจกรรม จำนวน 141 คนในช่วงบ่ายวันพุธ(เพราะเป็นวันหยุดและเป็นวันที่สะดวกของชุมชน)

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. อสม. เดินบอกกล่าวการเข้าร่วมประชุม
  2. ประชาสัมพันธ์ที่มัสยิด
  3. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับฟังการคืนข้อมูลและพี่เลี้ยงโครงการ
  4. นำเสนอวีดีทัศน์เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้ชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อสู่หมู่บ้านต้นแบเศรษฐกิจพอเพียง นำเสนอข้อมูล เพิ่มเติม จาก ผู้รับผิดชอบโครงการ และข้อเสนอแนะ
  5. ร่วมพูดคุย และเปิดโอกาสการซักถาม การแสดงความคิดเห็นของชุมชน
  6. พูดคุย เสนอ กติกาชุมชนรือมาตราการทางสังคม ในชุมชน
  7. จัดทำป้าย มาตราการทางสังคม ติดในที่ชุมชน
  8. รวบรวมข้อเสนอแนะจากชุมชน ภาคเครือข่ายเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดเตรียมการทำแผนชุมชน

 

141 141

11. พบพี่เลี้ยงทำรายงานการเงินโครงการ งวด 1

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดทำรายงานและตรวจสอบเอกสารการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตรวจเอกสารการเงินโครงการงวดที่ 1 และจัดทำรายงานความก้าวหน้า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายงานตรวจผลการดำเนินงาน และเอกสารทาการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

พบพี่เลี้ยงโครงการ ตรวจสอบความเรียบร้อย ใบลงทะเบียน กำหนดการ ใบสำคัญรับเงินและ ใบจ่ายภาษี

 

2 2

12. จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการวางแผนงานในการพัฒนาชุมชนต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีการกำหนดโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนจำนวน 1 แผน 2. แผนพัฒนาหมู่บ้านมีการนำสู่การปฏิบัติามแผนอย่างเป็นรูปธรรมและอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนอสม.เดินประกาศให้ทีมสภาผู้นำเข้าร่วมจัดทำแผนหลังจากที่ได้ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และคืนข้อมูลมาแล้ว นำมาจัดทำแผนทีละข้อดังนี้

  1. ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

- โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนทั้งสองข้างทาง - โครงการตลาดน้ำคลองดุสน


2. ด้านการเกษตร - โครงการช่วยเหลือเกษตรกรช่วงฤดูแล้ง - โครงการทัศนศึกษาด้านอาชีพให้แก่กลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้าน - โครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนประจำหมู่บ้าน (กองทุนสัจจะ)


3. ด้านเศรษฐกิจ การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ - โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรี เช่นนวดแผนไทย เสริมสวย ทำขนมพื้นเมือง - โครงการฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านอาชีพแก่กลุ่มสตรีและศึกษาดูงาน - โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลา - โครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง - โครงการฝึกอบรมกลุ่มอาชีพทำแชมพูสมุนไพร เช่น ทำสบู่ ผงซักฟอก ฯลฯ - โครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งหมู่บ้าน


4. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน - โครงการต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน - โครงการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในหมู่บ้าน ซอยทอนเรือ ซอยต้นท้อน ป่าโต๊ะโร๊ะ - โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนทุกสายในหมู่บ้าน - โครงการบุกเบิกถนนนาโต๊ะโผ 4x300 เมตร - โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ป่าโต๊ะเหรียม 3x400 เมตร - โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ต้นท้อน 3x200 เมตร - โครงการก่อสร้างประปา(ที่มัสยิด) ประจำหมู่บ้าน/ถังน้ำ - โครงการติดตั้งและก่อสร้างเครื่องทำน้ำดื่มสะอาด


5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - โครงการคลองสวยน้ำใส - โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ


6. ด้านการศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม - โครงการเข้าค่ายฤดูร้อนแก่เด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน - โครงการสนับสนุนครูสอนอันกุรอ่าน


7. ด้านการจัดระเบียบชุมชน - โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด


8. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต - โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย - โครงการสนับสนุนเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง - โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ - โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก - โครงการฝึกอบรมอสม.ชุมชน - โครงการตรวจ คัดกรอง เบาหวาน ความดัน - โครงการเฝ้าดูแลหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดและหลังคลอด - โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านเพศศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร


9. ด้านบริหารจัดการที่ดี - โครงการติดตั้งเครื่องกระจายเสียงประจำอาคารเอนกประสงค์ จัดกิจกรรมกลุมย่อยโดยแบ่งโซนโดยคละกันทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ พร้อมนำเสนอข้อมูลแต่ละโซน ประกาศใช้โรดแมพและนำเสนอต่อการจัดทำแผนประชาคมของอบต.ควนโดนต่อไป

สรุปการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนหมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน ดังนี้ 1. โครงการต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน 2. โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ป่าโต๊ะเหรียม 3x400 เมตร 3. โครงการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในหมู่บ้าน ซอยทอนเรือ ซอยต้นท้อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สภาผู้นำชุมชน ร่วมเตรียความพร้อม ประชุม หารือ การเตรียมวัน สถานที่ ข้อมูล และการประสานวิทยากรในการจัดทำแผน
  2. มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน
  3. ประสานพี่เลี้ยงและทีมวิทยากร เพื่อเข้าร่วมในกระบวนการจัดทำแผน
  4. ประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา จัดทำโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในระดับครัวเรือนโรงเรียน สู่ชุมชน แบบยั่งยืนโดยสภาชุมชนและทีมเยาวชน มีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดปฏิทินการดำเนินงานในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการความรู้สู่การปฏิบัติจำนวน45 คนและจัดทำแผนชุมชนในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และจัดทำแผนฉบับปฏิบัติการ ในการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเชิญ ผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน จากตัวแทนกลุ่มต่างๆ ตัวแทนภาคีเครือข่าย จาก อบต.ควนโดน กองทุนสุขภาพตำบล รพ.สต ควนโดน กศน. พัฒนาชุมชน ร่วมจัดทำแผนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน จำนวน 3 วัน เพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานและเพื่อมิติเกิด สัมพันธภาพการทำงานที่ดีในอนาคตโดยครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
  • ด้านการลดรายจ่าย
  • ด้านการเพิ่มรายได้
  • ด้านการออม
  • ด้านการดำรงชีวิต
  • ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
  • ด้านการเอื้ออาทร ซึ่งแต่ละกิจกรรมการดำเนินงานในแต่ะแผน เน้นการแก้ปัญหา คน สภาพแวดล้อม และสร้างกลไกที่มั่นคงของชุมชน
  1. จัดกิจกรรมกลุ่มย่อย จำนวน 4 กลุ่ม 4 โซน เพื่อร่วมพิจารณาแผนและการสอบถามความต้องการของชุมชนในแต่ละกลุ่มวัยเพิ่มเติมเพื่อการมีส่วนร่วม
  2. แต่ละโซนนำเสนอแผน และมาร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์ ระยะยาว จำนวน 3 ปีของชุมชนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้จริงของแต่ละกลุ่มและความต่อเนื่องและยั่งยืน
  3. นำเสนอโรดแมพเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกหลังคาเรือน เพื่อร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมวัดความสำเร็จ
  4. ประกาศ การใช้โรดแมพในเวทีชุมชนเพื่อสร้างการรับรู้และการประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระยะๆเพือการวางแผนและแก้ไขปัญหาในระยะยาว
  5. นำเสนอแผนเพื่อบรรจุแผน แก่ อบต.ควนโดน กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลควนโดน 10 คณะทำงาน วิทยากร สรุปแผนชุมชน
  6. นำเสนอแผน

รวม 45คน จำนวน 3วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ให้ทีมสภาผู้นำเสนอโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนจำนวน 1 แผ่น ซึ่งทุกคนให้ความร่วมมือในการคิดและวางแผนงานในอนาคตของชุมชนอย่างสนุกสนาน 2.เกิดแผนพัฒนาหมู่บ้านมีการนำสู่การปฏิบัติามแผนอย่างเป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

 

45 45

13. จัดทำรายงานปิดงวด1

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เข้าร่วมประชุมปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน งวดที่1 ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่

  1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558
  2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
  3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สสส.
  4. สร้างทีมงานสภาชุมชน
  5. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส.
  6. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบเครื่องมือ
  7. เรียนรู้การทำรายงานและการเงิน
  8. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
  9. นำข้อมูลมาวิเคราะห์
  10. จัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน
  11. พบพี่เลี้ยงทำรายงานการเงินโครงการ
  12. จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา
  13. จัดทำรายงานปิดงวด1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้ารับการตรวจเอกสารการเงิน ปิดงวดโครงการ ในระยะที่ 1 ณสจรส.มอ

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้ารับการตรวจเอกสารการเงิน ปิดงวดโครงการ ในระยะที่ 1 ณ  สจรส.มอ

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 32 13                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,900.00 100,248.00                  
คุณภาพกิจกรรม 52 41                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

-

-

-

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. จัดทำสื่อเพลงพื้นบ้านและวิดีดทัศน์ชุมชน ( 14 มี.ค. 2559 )
  2. สภาผู้นำชุมชน ประชุมเพื่อคลี่ผลลัพธ์โครงการ ( 18 มี.ค. 2559 )
  3. สร้างวิทยากรชุมชน จัดการเรัยนรู้ด้านการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และการออม ( 9 เม.ย. 2559 - 13 เม.ย. 2559 )
  4. พบพี่เลี้ยง ( 21 เม.ย. 2559 )
  5. เปิดรับสมัครสมาชิกการทำบัญชีครัวเรือน ( 6 พ.ค. 2559 )
  6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนการทำบัญชีครัวเรือน ( 7 พ.ค. 2559 )
  7. พบพี่เลี้ยง ( 7 มิ.ย. 2559 )
  8. จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนแนวทางวิถีพอเพียง การจัดทำวัสดุ ใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ( 18 มิ.ย. 2559 - 22 มิ.ย. 2559 )
  9. จับบ้านเกลอเพื่อแบ่งปัน ( 19 มิ.ย. 2559 )
  10. ถอดบทเรียน ทีมสื่อ สจรส.มอ ( 29 มิ.ย. 2559 )
  11. ร่วมจัดสถานที่ " บูเกตยามูโมเดล" ( 9 ก.ค. 2559 )
  12. เปิดตัวศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง " บูเกตยามูโมเดล" ( 10 ก.ค. 2559 )
  13. พบพี่เลี้ยงปรึกษาการดำเนินงาน ( 10 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย นที หลังเกต
ผู้รับผิดชอบโครงการ