แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า ”

ชุมชนสะพานม้าเทศบาลเมืองตะลุบัน ถ.สะพานม้า ต.ตะลุบัน อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นาง อำพร กังพานิช

ชื่อโครงการ โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า

ที่อยู่ ชุมชนสะพานม้าเทศบาลเมืองตะลุบัน ถ.สะพานม้า ต.ตะลุบัน อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 58-03978 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2179

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนสะพานม้าเทศบาลเมืองตะลุบัน ถ.สะพานม้า ต.ตะลุบัน อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนสะพานม้าเทศบาลเมืองตะลุบัน ถ.สะพานม้า ต.ตะลุบัน อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี รหัสโครงการ 58-03978 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 186,060.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 457 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วม ในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชนด้านความสัมพันธ์บน2วิถีชุมชนสะพานม้า
  3. เพื่อการวางแผนการอยู่ร่วมกันให้ 2วิถีศาสนาอยู่ร่วมอย่างสันติสุขและจัดทำแผนปฏิบัติการ
  4. เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม โดยใช้ประเด็นงานที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการท้องถิ่นน่าอยู๋

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สจรส.นัดหมายผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล/การเงินเพื่อทำความเข้าใจระเบียบการใช้งบประมาณการบันทึกข้อมูนลงเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข การลงปฏิทินโครงการ เรียนรู้การลงบัญชีรับจ่าย การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมโดยเบิกใช้ตามกิจกรรมในเดือนนั้นๆและต้องรายงานการประชุมสภาผู้นำเกี่ยวกับงบปนระมาณในแต่ละกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่คีย์ข้อมูลทำการเงิน ได้เรียนรู้การทำเอกสารโครงการ การรายงานการเงินให้ถูกต้อง ว่า ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมต้องมีหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน และค่าใช้จ่ายต้องตรงกับแผนที่วางไว้ และการรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข ได้ลงปฏิทินกิจกรรม และฝึกการรายงานกิจกรรม 

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกแบบป้ายสัญลักษณ์ตามกำหนดของ สสส.จัดจ้างให้ร้านทำป้ายดำเนินการทำป้ายตามแบบ นำป้ายรณรงค์ติดตามสถานที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนสะพานน้ำให้ความร่วมมือในการติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการไม่สูบบุหรี่ในสถานที่มีป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในที่ประชุม

     

    450 450

    3. จัดเวทีประชุมคณะกรรมการตามโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีประชุมคณะกรรมการชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมโดยมีการคัดเลือก รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเช่นกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรีในการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความถนัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดคณะทำงาน 1 ชุดในการดำเนินกิจกรรมโครงการโดยมีคณะกรรมการชุมชน 10 คน คณะทำงาน 8 คนรวม18 คนในการร่วมดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน เช่น คณะกรรมสภาผู้นำ 1 ชุดอย่างน้อย 18 คนมีบทบาทหน้าที่ในการประชุมเดือนละ 1 ครั้งในการรับฟังฟัญหา ความต้องการ และแก้ไขปัญหาของชุมชน

     

    18 18

    4. เปิดเวทีโครงการประชาสัมพันธ์โครงการ/จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการชุมชน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เปิดเวทีโครงการ เพื่อเป็นการประชาสันพันธ์ โดยประธานชุมชนนัดชาวบ้าน เข้าร่วมประชุมผ่านทางแกนนำกลุ่ม และพี่เลี้ยงโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าในชุมชนมีโครงการของ สสส.เป็นโครงการท้องถิ่นชุมชนน่าอยู่ และบอกให้ถึงทราบถึงวิธีการทำโครงการ และกิจกรรมต่างที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในพัฒนาเป็นแก้ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ทั้ง2 ศาสนา ในชุมชน
    • ประธานชุมชนกล่าวเปฺิดกิจกรรมตามโครงการทั้งพร้อมอธิบายเหตุผลและหลักการต่างๆ ที่มาของการเสนอโครงการของบประมาณจาก สสส. บอกถึงประชาชนให้มีส่วนร่วมในขั้นตอนและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด13 กิจกรรมหลักอยากให้ประชาชนเข้าร่วมดังกล่าว คุณกัลยา เอี่ยวสกุล ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงติดตามโครงการชี้แจงความเป็นมาโครงการเรียกว่าโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เป็นโครงการของชุมชนสะพานน้ำที่จะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดกิจกรรมร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการชุมชนซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเครือข่ายมาจากกลุ่มต่างๆในชุมชนประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน 10 คน,อสม.3 คน,ปราญชาวบ้าน2 คน,ผู้นำศาสนา 4 คน,ตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน 10 คน,เยาวชน 5 คน,คณะทำงานโครงการ 5 คน,ผู้สูงอายุ 3 รวมจำนวน 42 คน พร้อมทั้งคัดเลือกกลุ่มจิตอาสาชุมชน เยาวชน 5 คน และ แกนนำชุมชน 5 ให้พร้อมให้ความรู้รับรุ้ถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติและรับผิดชอบของกลุ่มเครือข่าย
    • การก่อเกิด การจัดตั้งสภาผู้นำเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการ การแก้ไขปัญหา การรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องในชุมชนสะพานม้า ขั้นตอนการคัดเลือกคณะกรรมการสภาผู้นำโดยขอความร่วมมจากคณะกรรมการชุมชนกลุ่มเครือข่ายในชุมชนจากคนที่ทำงานจิตอาสาเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีความยั่งยืนสามารถดูแลชุมชนของตนเองได้ผลจากการตัดเลือกคณะกรรมการสภาผู้นำ ดังรายชื่อต่อไปนี้
    1. ประธานชุมชน นางอำพรกังพานิช
    2. รองประธานชุมชน นายนิมูฮัมหมัดวาบา
    3. กรรมการฝ่ายปกครอง นายพลแสงมณี
    4. กรรมการฝ่ายคลังนายนิยมทองดวง
    5. กรรมการฝ่ายสวัสดิการ นายมงคลบุญส่ง
    6. กรรมการฝ่ายสาธารณสุขนางเจ๊ะตอฮีเราะ พงษ์พืช
    7. กรรมการฝ่ายพัฒนา นายอุทัยแซ่ซิ่น
    8. กรรมการฝ่ายการศึกษา นายอ้วน สีโท
    9. กรรมการประชาสัมพันธ์ นางสาวนวรพรแซ่ซิ่น
    10. เลขานุการเพ็ญรพีขุนบุญจันทร์

    อสม.3 คนคือ

    1. นางเจ๊ะตอฮีเราะ พงษ์พืช
    2. นางสาวฐาปนีพรหมเอียด
    3. นางสาวศิริวรรณกังพานิช

    ปราญชาวบ้าน 2 คน คือ

    1. นายดอรอแมกามะ
    2. นายสมนึกกังพานิช

    ผู้นำศาสนา 2 คนคือ

    1. นายอ้วน สีโท
    2. นายดอรอแมกามะ

    ตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน 10 คน

    1. นางดารียะอาบู
    2. นายมงคลบุญส่ง
    3. นายพลแสงมณี
    4. นางซารอแมกามะ
    5. นายอัฐทองไชย
    6. นายนิยมทองดวง
    7. นายบุญเพ็ญพงษ์พืช
    8. นายสะมาแออาบู
    9. นางสาวฐาปนีพรหมเอียด
    10. นางรัตนาจิวตระกูล

    เยาวชน 5 คน

    1. เด็กหญิงฟิรดาวส์แดวอสะนุง
    2. เด้กหญิงโซเฟียกามะ
    3. นายพิชิตบุญส่ง
    4. เด้กชายพันธิการแซ่ซิ่น
    5. เด็กหญิงจิตติมาทองไชย

    คณะทำงานโครงการ 6 คน ผู้สูงอายุ 3 คน

    1. นางมือเลาะบางกา
    2. นางมาลีสุ่มประดิษฐ์
    3. นางเคลื่อนสีโท

    อีกทั้งเลือก กลุ่มจิตอาสาชุมชน เยาวชน 5 คน แกนนำชุมชน 5 คนและกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ คณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน 42คน เยาวชนเก็บข้อมูล 20คน

     

    133 120

    5. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่1เดือนตุลาคม

    วันที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)จำนวน 42 คน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอปัญหาร่วมกับคณะทำงาน โดยมีการวางแผนกิจกรรมโครงการทบทวนกิจกรรมการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจโครงการ และเกิดการประชุมสภาผู้นำ (สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทบทวนกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ

    • ประธานสภาผู้นำ แจ้งจำนวนประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากการวางแผนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมจำนวน 133 คน แต่มีผู้เข้ากิจกรรมในวันเปิดโครงการจำนวน 92 คนเนื่องจากผู้นำชุมชน ผู้ศาสนามีการประชุมซ้อนกับนายอำเภอภายใต้โครงการ ตำบลละ 5 ล้านทำให้ผู้เข้าร่วมไม่ครบตามจำนวนที่วางเป้าหมายไว้แต่สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้

    วางแผนกิจกรรมชุมชน

    • กิจกรรมดำเนินต่อไปได้อย่างดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับงบประมาณกระตุ้นเรื่องงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ตำบลละ 5 ล้าน โดยชุมชนมีมติจากคณะกรรมการชุมชนเสนอทำโครงการ เพาะเลี้ยงอนุบาลลูกปลา เลี้ยงปลานิลแดงในกระชัง โดยใด้รับงบประมาณจำนวนทั้งสื้น 185,000 บาท อีกทั้งเทศบาลตะลุบันขอความร่วมมือชุมชนสะพานม้าเข้าร่วมงานประเพณีชักพระประจำปี 2558 ซึ่งชุมชนจะมีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในงานประเพณี เช่น กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ประกวดขบวนเรือพระ ประกวดกลองยาวชุมชน มีมติให้คณะกรรมการและประชาชนในชุมชนที่เป็นไทยพุทธและไทยอิสลามเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

     

    62 42

    6. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 2เดือนพฤศจิกายน

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)จำนวน 42 คน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอปัญหาร่วมกับคณะงาน โดยมีการวางแผนกิจกรรมโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และวางแผนกิจกรรมออกแบบสอบถาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประธานสภาผู้นำชี้แจงเรื่องโครงการเกษตรอำเภอจะมาให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งเสริมการทำปุ่ยหมัก เชื้อราฆ่าแมลง เตรียมความพร้อมในการต้อนรับคณะกรรมการเจ้าสาธารณะสุขจังหวัดปัตตานี เพื่อมาถอดบทเรียนให้ความรู้ในชุมชน ตามโครงการหมู่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพชุมชนโดยมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ คือ คณะกรรมการชุมชนเป็นต้อนรับ ให้นายสมนึก กังพานิช เป็นวิทยากรพื้นที่ในการบรรยายในศูนย์เศษฐกิจพอเพียงชุมชน นางสาววรภรแซ่ซินและคณะกรรมการรับผิดชอบด้านอาหาร
    • นัดประชุมกิจกรรมครั้งต่อไป คณะทำงานโดยมีผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่เลี้ยง สสส.และสจรส.วันที่ 24 พฤศจิกายน ในเดือนพฤศจิกายนวันที่ 25 มีกิจกรรมการออกแบบสอบถามชุมชนขึ้น ณ.ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้านขึ้นขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมตามกิจกรรมโครงการ

     

    62 42

    7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงานและรายงานการเงิน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สจรส.นัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำรายงานและรายงานการเงินร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยการทำเอกสารการเงิน การรายงานทางการเงิน การรายงานกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ลงเว็บไซค์ คนใต้สร้างสุข และการเสียภาษี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำเอกสารการเงินร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม กิจกรรมที่ดำเนินการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมความพร้อมในการจัดทำเอกสารการเงินการรายงานทางการเงิน การจัดทำเอกสารการเงินที่ถูกต้อง การบันทึกข้อมูลเว็บไซด์คนใต้สร้างสุขโดยมีเจ้าหน้าที่การเงิน/บันทึกข้อมูลมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารการรายงานการเงิน การเสียภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้น ได้แก่ ค่าตอบแทน 1000 บาท หักภาษี 10 บาท ค่าอาหารเกิน 5000 บาทจ่ายภาษี 1% การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดงบประมาณให้บันทึกตามงบประมาณก่อนหักภาษีทำให้เจ้าหน้าที่การเงิน/บันทึกข้อมูล ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณและการบันทึกข้อมูลมากยิ่งขึ้นสะดวกกับการบันทึกในครั้งต่อไป

     

    2 2

    8. ออกแบบการด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมทั้ง 2 วิถี

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เตรียมความพร้อมวางแผน โดยมีคณะกรรมการสภาผู้นำ อาสาสมัคร ในการสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนข้อมูลพื้้นฐาน ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมทั้ง 2 วิถี ด้านโภชนาการ ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ ด้านอาชีพ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านจารีต ปัญหาของชุมชน ศักยภาพและความต้องการ บทบาทองค์กรของชุมชน ตลอดจนชุดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยมีวิทยากรให้ความรู้สร้างความเข้าใจการวิเคราะห์ทุนในชุมชนเพื่อออกแบบสอบถาม
    • วิทยาการให้ความรู้แก่เยาวชน อาสาสมัคร ลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจปัญหาในครัวเรือนและปัญหาในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลจากการระดมความคิดตามแนวทางการจัดทำแบบสำรวจปัญหาในครัวเรือน และปัญหาในชุมชนผลจาการการระดม การแลกเปลี่ยนข้อมูลจนเกิดเป็นแบบสำรวจที่ตรงกับความต้องการและปัญหาของชุมชน
    • ได้วางแผนเตรียมการเก็บข้อมูล โดยแบ่งกลุ่มโซนชุมชนออกเป็น 4 กลุ่ม ตามเขตรับผิดชอบของ อสม.อาสาสมัครจัดเก็บทั้ง 4 โซนแบ่งจำนวนครัวเรือนในการจัดเก็บโดยให้ อสม.เป็นชุดหัวหน้าทีมลงพื้นที่จัดเก็บตามข้อมูลแบบสำรวจปัญหาในครัวเรือนและปัญหาในชุมชน

     

    30 32

    9. อาสาสมัครลงพื้นเก็บข้องมูลชุมชน ครั้งที่1

    วันที่ 3 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เตรียมการแบ่งโซลรับผิดชอบ 5 โซนๆละ 4 คน ลงพื้นที่นำแบบสำรวจปัญหาครัวเรือนและปัญหาในชุมชนลงสัมภาษณ์ สอบถาม พูดคุยกับหัวหน้าครัวเรือนหรือบุคคลในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนในการสำรวจวันแรก เกิดการแลกเปลี่ยนแบบสอบถามในครัวเรือนเรื่องปัญหาด้านรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น และช่วงนี้เศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากราคายางพาราตกต่ำ ทำให้ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และได้พูดคุยกับคนในชุมชนแต่ละโซน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีเมื่อได้พูดคุย ชาวบ้านให้ความร่วมมือทำให้ทีมอาสาสมัครเก็บข้อมูลมีกำลังใจในการทำกิจกรรม

     

    20 20

    10. อาสาสมัครลงพื้นเก็บข้องมูลชุมชน ครั้งที่2

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานประชุมร่วมกับอาสาสมัครเพื่อเตรียมการแบ่งโซลรับผิดชอบ5โซลๆละ 4คน ลงพื้นที่นำแบบสำรวจปัญหาครัวเรือนและปัญหาในชุมชนลงสัมภาษณ์ สอบถาม พูดคุยกับหัวหน้าครัวเรือนหรือบุคคลในครัวเรือนให้ครอบคลุมทั้ง133ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการเก็บข้อมูลวันที่สอง ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มในเรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่น เช่น หนี้สิน รายได้ ว่างงาน ขาดที่ดินทำกิน ราคาผลผลิตตกต่ำ และค่าครองชีพสูงฯ

     

    20 20

    11. อาสาสมัครลงพื้นเก็บข้องมูลชุมชน ครั้งที่3

    วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานประชุมร่วมกับอาสาสมัครเพื่อเตรียมการแบ่งโซลรับผิดชอบ5โซลๆละ 4คน ลงพื้นที่นำแบบสำรวจปัญหาครัวเรือนและปัญหาในชุมชนลงสัมภาษณ์ สอบถาม พูดคุยกับหัวหน้าครัวเรือนหรือบุคคลในครัวเรือนให้ครอบคลุมทั้ง133ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนและแกนนำชุมชนลงพื้นที่ใช้แบบสำรวจพร้อมบันทึกข้อมูลจากการพูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์ตามรายละเอียดในแบบสำรวจโดยมีบุคคลในครัวเรือน 2-3 คน ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ ผลจากการแบ่งโซนเก็บข้อมูลได้ดังนี้

    โซนที่ 1 จำนวน 26 ครัวเรือน

    โซนที่ 2 จำนวน 27 ครัวเรือน

    โซนที่ 3 จำนวน 26 ครัวเรือน

    โซนที่ 4 จำนวน 26 ครัวเรือน

    โซนที่ 5 จำนวน 26 ครัวเรือน

    • สามารถลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจครอบคลุม 131 ครัวเรือน

     

    20 20

    12. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจ ครั้งที่1

    วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกับคณะกรรมการสภาผู้นำประชุมนำแบบสำรวจปัญหาครัวเรือนและปัญหาในชุมชนจากการลงพื้นที่สำรวจ 131 ครัวเรือน โดยแกนนำเยาวชนคัดแยกข้อมมูลออกมาแต่ละด้านทั้ง 7 ด้านนำข้อมูลแยกตามประเด็นปัญหา สรุปผลที่ได้จากการจัดเก็บของปัญหาในชุมชนทั้ง 7 ด้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักวิชาการและเยาวชนนำข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจมาจัดแยกข้อมูลออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้
    • จากการศึกษาจากแบบสำรวจข้อมูลชุมชนสะพานม้า พบว่าข้อมูลทั้ง 7 ด้าน คือ
    1. มิติด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น มีปัญหา ร้อยละ 25 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 75
    2. มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีปัญหา ร้อยละ 18 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 82
    3. ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณี / สังคม /ครอบครัว /สวัสดิการ/ศาสนา มีปัญหา ร้อยละ 45 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 55
    4. การศึกษามีปัญหา ร้อยละ 0.5 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 95
    5. ประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม / ธรรมาภิบาล มีปัญหา ร้อยละ 45 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 55
    6. โครงสร้างพื้น ฐาน มีปัญหา ร้อยละ 25 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 75
    7. สุขภาพ มีปัญหา ร้อยละ 25 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 75
    • ประชาชนตอบแบบสอบถอบถามทั้งหมด 131 ชุด
    • ร้อยละ 80 เป็นหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ 15 เป็นคนในครอบครัว ร้อยละ 0.5 อืนๆ

     

    90 65

    13. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 3เดือนธันวาคม

    วันที่ 25 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานร่วมกับสภาผู้นำเตรียมการพูดเกี่ยวกับวาระการพูดคุยโดยเริ่มจากการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมโครงการในการดำเนินการภายในเดือนธันวาคมและรายการสถานการณ์การเงินใช้ไป จำนวนเงินคงเหลือ และร่วมรับฟังปัญหาความต้องการของคนในชุมชนพร้อมทั้งรายงานสถานการณ์ทั่วไปเกี่ยวกับชุมชนสะพานม้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการสภาผู้นำติดตามความก้าวหน้าของการประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ ของคณะกรรมการโดยเฉพาะตัวแทนกลุ่มต่างๆ เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรม ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งจำนวนงบประมาณที่ใช้ไปแล้ว และคงเหลือ พร้อมทั้งแจ้งในเรื่องของการส่งรายงายปิดงวดครั้งที่ 1 เดือน 15 กุมภาพันธ์ 2559 แจ้งเรื่องข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมเพราะประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ประธานชุมชนแจ้งวาระการประชุมเรื่อง การจัดกรรมงานประเพณีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันปีใหม่รายงานความคืบหน้าโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจสู่ตำบลกำหนดวันเพื่อทำการปัลผลให้กับสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ กำหนดกิจกรรมงานวันเด็กร่วมกับเทศบาลเมืองตะลุบัน อสม.แจ้งให้คณะกรรมชุมชนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูล จปฐ.กับประชาชน

     

    42 38

    14. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 4เดือนมกราคม

    วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ดำเนินการประชุมโดยประธานสภาผู้นำและกรรมการผู้ดำเนินโครงการ ในเรื่องดังนี้
    1. ปรึกษาหารือถึงความก้าวหน้าของกิจกรรมที่ทำมา
    2. สรุปบัญชีการเงินให้กับคณะกรรมการรับทราบ
    3. ให้ประธานชุมชนแจ้งเรื่องกิจกรรมเร่งด่วนในชุมชนให้ประชาชนรับทราบ
    4. วางเแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมในการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการสภาผู้นำมีการติดตามความก้าวหน้าของเอกสารทางการเงินของโครงการผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งจำนวนงบประมาณคงเหลือ15,355.12 บาท
    • ประเมินปัญหาทั่วไปจากแบบสำรวจส่วนใหญ่ ประชาชนในชุมชนยังให้ข้อมูลกับแบบสำรวจไม่ครบถ้วนและไม่กล้าที่จะตอบตามความจริง เนื่องจากเกิดความไม่เข้าใจในข้อมูลจากแบบสำรวจจะไปใช้อะไรจึงไม่ให้ข้อมูลครบถ้วน อาสาสมัครเก็บข้อมูลใช้การสังเกตุประกอบด้วยเป็นคนในพื้นที่ชุมชนโนโซนที่ลงไปเก็บข้อมูล จึงใช้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดนำมาประกอบการลงพื้นที่
    • ประธานชุมชนแจ้งวาระการประชุมเรื่อง การปรับโครงการสร้างคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เพื่อคณะกรรมการมาขับเคลื่อนกองทุนของชุมชม รายงานโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจสู่ตำบลได้รับวัสดุและอุปกรณ์ตามรายเอียดโครงการเรียบร้อยแล้ว และพร้อมจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการและงบ กทบ.ให้กองทุนหมู่บ้านเสนอของงบประมาณโครงการประชารัฐสู่ชุมชน และกำหนดวันที่จะเชิญสมาชิกกองทุนเข่าร่วมเสนอโครงการ

     

    42 38

    15. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจ ครั้งที่2

    วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะทำงานร่วมกับสภาผู้นำเพื่อเตรียมเวทีการวิเคราะห์จากแบบสอบถามนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ คัดแยกมาสรูปประเด็นเพื่อกำหนดเป็นแผนที่ทางเดินดินรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้นในชุมชนเพื่อจัดทำแผนที่ทางเดินของชุมชน ประสานกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมจำนวน 90 คน ตามแผนงานที่วางกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เสียงตามสยขอความร่วมมือคนในชุมชนเข้าร่วมการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมมูลครั้งที่ 2 โดยมีทีมวิทยากรนำการทบทวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อสรุปจากครั้งที่ผ่านมาเพื่อจัดทำแผนที่เดินดิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดข้อมูลชุมชน 1 ชุด ในการจัดทำแผนชุมชนและแผนที่เดินดิน เช่นข้อมูล สถานที่ราชการมีโรงเรียน 2 แห่ง กูโบร์ 1 แห่ง โรงงาน 1 แห่ง ฟาร์มสุกร 1 แห่ง กลุ่มอาชีพ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเพาะเลี้ยงลูกปลาทับทิม 2) กลุ่มโค 3) กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง 4) กลุ่มเลี้ยงสุกร
    • ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลละเอียดชัดมากขึ้นแม้ใช้ระยะเวลาสั้น ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือมาเพราะเป็นข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามซึ่งคนในชุมชนเป็นผู้ให้ข้อมูล การนำข้อมูลด้านเศษฐกิจุชุมชนมาประโยชน์ในการทำแผนที่เดินดินซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
    1. นำแผนที่เก่าที่เคยทำไว้มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น แล้วตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ใส่รายละเอียดเพิ่มเติม
    2. ให้ความสำคัญกับการสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านในชุมชนควบคู่กับการเขียนแผนที่ แวะทักทายชาวบ้านระหว่างการทำ
    3. ถ้าเป็นหมู่บ้านที่มีระยะห่าง ไม่ควรนั่งรถยนต์ทำแผนที่ อาจใช้รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ แต่ต้องหมั่นจอดแวะทักทายชาวบ้าน
    4. เดินสำรวจให้ทั่วถึง โดยเฉพาะบ้านคนจน บ้านผู้ทุกข์ยากที่อยู่ชายขอบของชุมชน บ้านของผู้ที่แยกตัวอย่างโดดเดี่ยวในชุมชน
    5. มองพื้นที่ทางกายภาพแต่ตีความให้เห็นถึงพื้นที่ทางสังคม
    6. ถ้าทีมงานมีหลายคน ไม่ควรแยกเขียนแล้วนำมาต่อกัน ควรเดินสำรวจร่วมกันทั้งทีม
    7. หมั่นสังเกตและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทีมระหว่างเดินสำรวจว่าพื้นที่ที่เห็นบอกเรื่องราวอะไรที่สำคัญของชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ
    8. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเพียงอย่างเดียวต้องสอบถามจากเจ้าของบ้านญาติ เพื่อนบ้าน หรือบุคคลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
    9. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสอบถามจากเจ้าของบ้านได้โดยตรง จำเป็นต้องสอบถามคนในชุมชนเพิ่มเติม หรืออาศัยการสังเกตเพิ่มเติมด้วยตนเอง
    10. ข้อพึงระวัง เมื่อให้ชาวบ้านนำทาง ข้อมูลอาจจะมีอคติจากผู้พาเดิน เช่น ไม่ต้องการให้พบเห็นสิ่งที่คิดว่าสร้างความเสื่อมเสียต่อชุมชน
    11. พยายามเขียนข้อสังเกต เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนในชุมชน หน้าที่ทางสังคมของพื้นที่

     

    90 80

    16. จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชนเพื่อถ่ายทอดและสื่อข้อมูลสู่สมาชิกในชุมชน

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานโดยมีการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำแบ่งบทบาทภาระกิจหน้าที่ในการประสานงานวิทยากร ประสานผู้เข้าร่วม เตรียมสถานที่ในการจัดเวทีคืนข้อมูลจากการสำรวจโดยวิทยากรได้นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว คืนข้อมูลที่ได้ให้กับชาวชุมชนสะพานม้า และชี้แจงให้ทราบถึงปัญหาในชุมชนสะพานม้าที่ได้สำรวจมาจากทุกครัวเรือนให้ประชาชนรับทราบ รับรู้ข้อมูลด้านต่างๆแล้วจัดหมวดหมู่ข้อมูลและสามารถกำหนดแนวทางการปฎิบัติในการแก้ไขปัญหาชุมชนให้ชัดเจนและยกร่างทำแผนชุมชน โดยการแบ่งกลุ่มย่อยจากประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อระดมความคิดเห็นในการยกร่างแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การคืนข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน เกิดข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบัน 1 ชุด นำไปสู่การจัดทำแผนด้านความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม ผู้เข้าร่วมได้ทราบปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนสะพานม้าเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปชองชุมชนด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ด้านสุขภาพของคนในชุมชนและด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน จากการนำเสนอข้อมูลที่มาจากการจัดทำแผนชุมชนและแผนที่เดินดิน

     

    140 95

    17. ถอนเงินเปิดบัญชีโครงการ

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ถอนเงินที่เปิดบัญชีโครงการ จำนวน 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ถอนเงินที่เปิดบัญชีออกเพื่อไม่ให้สับสนกับเงินโครงการ และสามารถลงบัญชีในการทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง

     

    2 2

    18. พบพี่เลี้ยงตรวจเอกสารรายงานปิดงวดที่1

    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายการเงิน การบันทึกกิจกรรมปิดโครงการงวดที่1
    • ตรวจเอกสารบัญชี การบันทึกกิจกรรม ใบสำคัญรับเงินเพื่อจัดทำงานเอกสารรายงานปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำการปรับแก้ใบเสร็จ และรายงานกิจกรรมให้เพิ่มข้อมูลและกลับไปแก้ไข แล้วมาพบพี่เลี้ยงอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบเอกสารก่อนส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.

     

    3 3

    19. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำรายงานปิดโครงการงวดที่1

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารการเงินที่แก้ไขและผ่านการตรวจจากพี่เลี้ยงแล้ว มาส่งให้ สจรส.ม.อ. เพื่อทำการตรวจสอบเอกสารการเงินอีกครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ใบเสร็จรับเงินและเอกสารการเงินถูกต้อง สามารถส่งเอกสารการเงินและการจัดทำรายงานปิดงวดโครงการให้ สจรส.ม.อ.ได้

     

    2 2

    20. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 5เดือนกุมภาพันธ์

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดหมายการประชุมครั้งที่ 5 หลังจากประชุมครั้งที่ 4 โดยคณะสภาผู้นำร่วมประชุมจำนวน 40 คน ชี้แจงโดยผู้รับผิดชอบโครงการนำพูดคุยเกี่ยวกับการทำกิจกรรมในโครงการงวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำได้พูดคุยเกี่ยวกับโครงการ เกี่ยวกับงบประมาณที่ลงมาในชุมชนสะพานม้า เนื่องจากนายอำเภอผู้รับมอบหมายในการประชุมเพื่อให้ชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ในชุมชมและโครงการเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงปลา หรืออาชีพอื่นๆ ที่คนในชุมชนสนใจถึงกิจกรรมที่ผ่านมา และการรับปันผลสหกรณ์ให้ผู้ที่ลงหุ้นสหกรณ์เข้าร่วมประชุม เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการสภา การพูดคุยครั้งนี้ประธานสภาได้สอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตภายใต้เศรษฐกิจที่ตกต่ำรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เพื่อรองรับงบประมาณโครงการลงสนับสนุนในชุมชนในการเก็บข้อมูลเบื้องต้น
    • คณะกรรมการสภาและผู้เข้าร่วมสนใจในการระดมปัญหาในชุมชนส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับปากท้อง การดำรงชีวิตภายใต้เศรษฐกิจยุคปัจจุบัน

     

    42 40

    21. วิเคราะห์และประมวลความต้องการของชุมชนที่มีต่อการพัฒนา พร้อมทั้งประเมินศักยภาพและทุนทางสังคม

    วันที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคณะกรรรมการโครงการ คณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครเยาวชน หัวหน้าครัวเรือน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น จำนวน 32คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกันวางแผนกำหนดการ จัดกิจกรรม และนัดหมายผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้
    2. เตรียมข้อมูลสถานการณ์ที่ร่วมกันวิเคราะห์มาจัดร่างทำแผน
    3. เตรียมสถานที่ สะดวก และเหมาะกับผู้เข้าร่วมโดยใช้สถานที่ที่ทำการชุมชนสะพานม้า โดยมีประเด็นศึกษาชุมชนแบ่งเป็น 4 ด้าน
    4. เทศบาลเมืองตะลุบัน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี คณะกรรมการโครงการ อาสาสมัครเยาวชน คณะกรรมการชุมชน และหัวหน้าครัวเรือน ร่วมจัดทำแผนที่ชุมชนสะพานม้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดร่างแผนที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างพุทธและมุสลิมที่ต้องเกิดขึ้นในชุมชน โดยการนำประเด็นด้านโครงสร้างทางสังคม เช่น การนำประวัติชุมชน ความเป็นมาของชุมชน เอกลักษณ์และเหตุการณ์สำคัญๆของชุมชน โดยการเล่าความเป็นมาของชุมชนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนในชุมชน เหตุกาณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
    • ร่วมจัดทำปฏิทินกิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรมซึ่งเป็นเนื้อหาของชุมชน ได้แก่
    1. ทรัพยากรของชุมชนและการใช้ประโยชน์
    2. การทำมาหากินและเศรษฐกิจของชุมชน
    3. โครงสร้างทางสังคมของชุมชน
    4. ความสัมพันธ์ทางสังคมของชุมชน กลุ่ม/องค์กร ระบบเครือญาติ
    • การวิเคราะห์กรอบการศึกษาชุมชนด้านการทำมาหากินและเศรษฐกิจของชุมชน พบ ปัญหาจากการประกอบอาชีพ การทำมาหากินของคนในชุมชน หนี้สินที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบ
    • ส่วนด้านโครงสร้างทางสังคมแบ่งออกเป็น 4 ด้าน 1.ด้านการศึกษา 2.ด้านสุขภาพ 3.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 4.ด้านประเพณี วัฒนธรรม

     

    32 32

    22. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 6เดือนมีนาคม

    วันที่ 25 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมสภาผู้นำจาการประชุมสภา ครั้งที่ 5
    2. ประสานงานผู้เข้าร่วมประชุมจากตัวแทนและกรรมการสภาผู้นำและคณะกรรมการ
    3. ร่วมกันวางแผนปฏิบัติการหรือวาระการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหา ความต้องการของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ ครั้งที่ 6 ประธานสภาเปิดการประชุมและสอบถามผู้เข้าการประชุมเพื่อรายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมการร่างแผนโดยการจัดทำปฏิทินทางสังคมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชุมชนโดยการพูดคุยถึงกิจกรรมการแข่งว่าวเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของพี่น้อง 2 ศาสนา

     

    42 40

    23. เวทีแผนปฏิบัติชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่1

    วันที่ 27 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน ผู้นำศาสนาทั้ง 2 ฝ่าย นักวิชาการจากหน่วยงานเทศบาลเมืองตะลุบัน คณะทำงานโครงการ
    2. เตรียมเอกสารแผนปฏิบัติการ
    3. เตรียมสถานที่โดยใช้สถานที่ที่ทำการชุมชนสะพานม้า คณะกรรมการชุมชน ผู้นำศาสนาทั้ง 2 ฝ่าย นักวิชาการจากหน่วยงานเทศบาลเมืองตะลุบัน คณะทำงานโครงการจำนวน 27คน โดยวิทยาจากเทศบาลตะลุบันเริ่มชวนคุยและนำข้อมูล 4 ด้านมาวิเคราะห์ร่วมกับคณะกรรมการชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แผนปฎิบัติการ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการทำมาหากินและเศรษฐกิจชุมชน ด้านโครงสร้างทางสังคม ด้านโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของชุมชน โดยการแบ่งกลุ่ม 4กลุ่มภายใต้โครงสร้างทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับชุมขน คือ สุขภาพ การศึกษาทรัพยากรและประเพณี วัฒนธรรม เช่น ประเพณีวัฒนธรรม ฟื้นฟูประเพณีแข่งว่าวเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์พี่น้อง 2ศาสนา

     

    30 27

    24. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 7เดือนเมษายน

    วันที่ 10 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดคณะทำงานและชุมชนผ่านการประชุมสภา ครั้งที่ 6
    2. ประสานสถานที่โดยใช้สถานที่ที่ทำการชุมชนสะพานม้า
    3. เตรียมข้อมูลในการประชุม คณะกรรการสภา จำนวน 42 คนประชุมสภาผู้นำวันที่ 10 เมษายน 59 ณ.ที่ทำการชุมชนสะพานม้าเวลา 9.00น.-13.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เริ่มการประชุมประธานสภากล่าวเปิดประชุมชี้แจงเรื่องการจัดงานสงกรานต์ในวันที่ 12เมษายน59 โดยมีพิธีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประชาสัมพันธ์ผ่านเวทีสภาในการขอความร่วมมือคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป บ้านไหนมีผู้สูงอายุในความดูแลและสามารถเดินทางมาร่วมงานขอให้แจ้งประธานชุมชนเพื่อเตรียมของขวัญสำหรับผู้สูงอายุ ช่วงเช้าชุมชนมีการตักบาตรอาหารแห้ง โดยขอนัดพี่น้องในชุมชนให้ความร่วมมืออกมาตักบาตรเวลา 7.30 น.ณ.ที่ว่าการอำเภอสายบุรีและขอความร่วมมือแต่ละชุมชนส่งกิจกรรมการละเล่นต่างๆเข้าร่วมพร้อมกับทำอาหารหวานคาวถวายพระภิกษุสงฆ์ในวันที่ 13เมษายน59เวลา 11.00น.พร้อมกันที่หอประชุมอำเภอสายบุรี

     

    42 42

    25. จัดเวที แบ่งกลุ่มย่อยให้กับตัวแทนครัวเรือนประชาชนในชุมชนสะพานม้า ที่เป็นมุสลิม

    วันที่ 16 เมษายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อมอบหมายความรับผิดชอบการจัดเวที
    2. เตรียมผู้เข้าร่วมโดยมีกลุ่มเป้าหมาย หัวหน้าครัวเรือนและเยาวชนที่เป็นมุสลิมจำนวน 40 คน
    3. เตรียมข้อมูลในการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เข้าร่วมเสวนา หัวหน้าครัวเรือนและเยาวชนมุสลิมจำนวน 40 คน พูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์ที่ชุมชนสะพานม้าตั้งแต่เวลา 9.00น. รูปแบบการเสวนา แลกเปลี่ยนข้อมูล นางอำพร กังพานิช ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับผู้นำศาสนาในการแบ่งกลุ่มตั้งวงคุยเพื่อให้สะท้อนถึงทุนที่มีอยู่ในชุมชนพร้อมทั้งมองปัญหาและความต้องการของพี่น้องมุสลิม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าครัวเรือนและแกนนำเยาวชนมุสลิมในการมองคนในชุมชนมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติค่อนข้างเหนียวแน่น ซึ่งส่วนใหญ่เยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือออกไปทำงานนอกพื้นที่และประเทศมาเลเซียหน่วยงานองค์กรต่างๆได้เข้ามาสนับสนุนงานพัฒนาชุมชนค่อนข้างมากในปี 2547 กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอกค่อนข้างกระจุกตัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เยาวชนทิ้งอาชีพเดิมของครอบครัวคือ การประมงจับปลาทะเลส่งถึงความสัมพันธ์ของพี่น้องในชุมชนสะพานม้าซึ่งมีทั้ง 2ศาสนา เริ่มจะห่างหายไปด้วยสถานการณ์ความไม่สงบ ทำให้เกิดความหวาดระแวง ด้วยการสะท้อนต้นทุนทางสังคมของชุมชนสะพานม้า ทำให้กลุ่มแกนนำเยาวชน หัวหน้าครัวเรือนสะท้อนถึงความสัมพันธ์แบบเครือญาติและใช้ทุนเดิมคือประเพณีการแข่งว่าวที่หายไปกลับคืนมา

     

    50 40

    26. จัดเวที แบ่งกลุ่มย่อยให้กับตัวแทนครัวเรือนประชาชนในชุมชนสะพานม้า ที่เป็นพุทธ

    วันที่ 22 เมษายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อมอบหมายความรับผิดชอบการจัดเวที
    2. เตรียมผู้เข้าร่วมโดยมีกลุ่มเป้าหมาย หัวหน้าครัวเรือนและเยาวชนที่เป็นพุทธจำนวน 60 คน
    3. เตรียมข้อมูลในการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เข้าร่วมเสวนา สรุปจากการเตรียมผู้เข้าร่วม การเตรียมข้อมูล การเตรียมสถานที่นัดหมายการจัดเวทีเสวนาพี่น้องพุทธโดยการแบ่งกลุ่มพูดคุยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนต้นทุนทางสังคมของชุมชนและปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันรวมทั้งการหาทางแก้ไขในการอยู่ร่วมกันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นผู้สูงอายุและผู้อาวุโส ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนสะพานม้า ได้กล่าวทักทายพร้อมเล่าประวัติสาสตร์ความเป็นมาของชุมชนสะพานม้าถึงการอยู่ร่วมกันของพุทธ-มูสลิม เป็นการเล่าถึงความเป็นมา เพื่อช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงของชุมชนจากอดีตสู่ปัจจุบันสิ่งที่คนรุ่นหลังควรรู้ เช่น ระยะเวลาการก่อตัวของชุมชน พื้นฐานทางวัฒนธรรมของพี่น้องพุทธ มุสลิมที่อยู้ร่วมกันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นและผลกระทบต่อคนในชุมชนสะพานม้าโดยการชวนกันบอกเล่าจากผู้เฒ่า ผู้แก่ และคนวัยกลางคนเพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนในการสร้างและเชื่อมความสัมพันธ์ของพี่น้องพุทธ มุสลิม จะได้เห็นความสัมพันธ์พี่น้อง เครือญาติซึ่งนำมาสู่การสร้างรากฐานแห่งชีวิตในชุมชนต่อไป

     

    50 60

    27. จัดทำแผนปฏิบัติชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้ง ที่2

    วันที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อมอบหมายความรับผิดชอบการจัดเวที
    2. เตรียมผู้เข้าร่วมโดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน
    3. เตรียมข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนทั้งพุทธและมุสลิม โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 30คนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเพื่อจัดทำแผนชุมชนภายใต้โครงสร้างและทุนทางสังคมชุมชนสะพานม้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการโครงการ ผู้นำศาสนา นักวิชาการอิสระและหัวหน้าครัวเรือนจำนวน 30 คน รูปแบบการเสวนาเละรวบรวมข้อมูลจากเวที่พี่น้องพุทธและมุสลิมเพื่อจัดทำแผนชุมชนและนำแผนที่ได้ นำไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม เช่น แผนด้านโครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ทางสังคมของชุมชน ได้แก่ เรื่องความสัมพันธ์ของคนในชุมชนนอกเหนือจากระบบเครือญาติ ระบบผู้นำ ผู้อาวุโส ความศรัทธาในศาสนา ประวัติศาสตร์ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำแผนเพื่อการพัฒนาชุมชน

     

    30 30

    28. จัดเวทีถอดบทเรียนรู้การอยู่ร่วมกันทั้ง2 ศาสนา

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อมอบหมายความรับผิดชอบการจัดเวที
    2.เตรียมผู้เข้าร่วมโดยมีกลุ่มเป้าหมาย หัวหน้าครัวเรือนและเยาวชนทพุทธและมุสลิมจำนวน 50 คน
    3.นำข้อมูลจากการทำแผนชุมชนผู้เข้าร่วมทั้งพุทธและมุสลิมจำนวน 50 คน ใช้สถานที่ชุมชนสะพานม้านัดหมายเริ่มการประชุมตั้งแต่า 10.00 น เป็นต้นไป ชาวพุทธ 50 คน ผู้นำศาสนาและเยาวชนมุสลิม 30 คน ร่วมทำแผนชุมชนโดยมีพี่น้องทั้งพุทธและมุสลิมร่วมสรุปจัดทำแผนชุมชนและนำแผนที่ได้นำไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้ง2วิถีพุทธและมุสลิมเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2559 ณ ชุมชนสะพานม้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการจัดเวทีครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนจากการดำเนินกิจกรรมทั้งสิ้น 3 เวทีคือเวทีพี่น้องพุทธและมุสลิม 2 เวทีและเวทีรวมพี่น้องพุทธและมุสลิม 1 เวที ครั้งนี้จัดการถอดบทเรียนจากข้อมูลที่ผ่านมาเพื่อมองให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคจาการดำเนินการที่ผ่านมาเพื่อการวางอนาคตที่เดินทางไปให้ถึงแม้จะมีอุปสรรค แต่พี่น้องสองศาสนาจะต้องช่วยกันแก้ไข เช่น เรื่องทุนจากการสนับสนุนจากหน่วยงานที่กระจุก ทำให้ชุมชนหาทางออกร่วมกันโดยมีการนำเสนอการจัดตั้งสวัสดิการชุมชนสะพานม้าเพื่อดูแลคนในชุมชน ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ของพี่น้อง 2ศาสนาทั้งพุทธและมุสลิม สาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบทำให้เกิดความหวาดระแวง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนร่วมกันแก้ปัญหาด้วยการสืบค้นระบบเครือญาติ การก่อตั้งชุมชน ความสัมพันธ์เมื่อครั้งอดีตให้ย้อนกลับคืนมาสู่ชุมชนสะพานม้า

     

    50 80

    29. กิจกรรมผู้เฒ่าเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนสะพานม้า

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อมอบหมายความรับผิดชอบการจัดเวที
    2.เตรียมผู้เข้าร่วมโดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน ใช้สถานที่ชุมชนสะพานม้านัดหมายเริ่มการประชุมตั้งแต่ 8.30น กิจกรรมครั้งนี้มอบหมายงานให้กับผู้สูงอายุ ผู้เฒ่าในชุมชนเพื่อเล่าประวัติสาสตร์ชุมชนสะพานแก่เยาวชนและประชาชนในชุมชนสะพานม้าในการสร้างความสัมพันธ์ อีกทอดเป็นการส่งข้อมูลให้แก่เยาวชนคนรุ่นหลัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนในชุมชนสะพานม้าจำนวน 100 คน ฟังผู้สูงอายุในชุมชนเล่าถึงเรื่องในอดีตเกี่ยวกับความเป็นมาของคำว่าสะพานม้าให้แก่ผู้เข้าร่วมทั้งพุทธและมุสลิมที่อาศัยอยู่ในชุมชนจำนวน 100 คน โดยมีประธานชุมชนชี้แจง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์พี่น้องพุทธ และพี่น้องมุสลิมให้เกิดความจิตสำนึกในการรักษ์แผ่นดิน เริ่มตั้งแต่ความเป็นมาของชุมชนสะพานม้า คำว่า สะพานม้าเพี้ยนมาจากคำวา่สะพานไม้สมัยก่อน เขาใช้สะพานไม้ข้ามคูน้ำระหว่างบ้านค้อกับสะพานม้า ซึ่งสะพานม้าเป็นชุมชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลตะลุบัน ย้อนถึงความเป็นมาที่น่าภาคภูมิใจ จัดตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เดิมเป็นเมืองตะลุบัน ขึ้นกับอำเภอสายบุรี และประกาศจัดตั้งเทศบาล เมื่อ 15 ตุลาคม 2483 เป็นชุมชนเมือง มีการปกครองระบบเทศบาล อาชีพหลัก ทำการประมง อาชีพเสริม รับจ้าง เมื่อครั้งอดีตพุทธมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างฉันพี่น้อง กิจกรรมงานประเพณีพุทธจัด มุสลิมช่วย มุสลิมจัดพุทธช่วย แต่ ณ วันนี้ความสัมพันธ์เหล่านั้นกำลังจะหายไปจากชุมชน การแบ่งปัน การช่วยเหลือ การอยู่แบบต่างคนต่างอยู่เริ่มเกิดในชุมชนสะพานม้า การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการฯทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องพุทธ มุสลิมกลับคืนมาอีกครั้ง

     

    95 100

    30. พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงนัดเพื่อแนะนำการปรับแผนงานกิจกรรมโครงการโดยการดำเนินการในงวดที่2และงวดที่3พร้อมทั้งจัดทำการบันทึกกิจกรรมบนเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุขให้เป็นปัจจุบันและพบการใหม่เพื่อตรวจการบันทึกข้อมูลประมาณกลางเดือนกรกฏาคมหลังเทศกาลรายอของพี่น้องมุสลิม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การปรับแผนกิกรรมปฏิทินเพื่อสะดวกรวดเร็วแก่การจัดกิจกรรมให้ทันตามแผนกำหนดปิดโครงการและการบันทึกข้อมูลเป็นปัจจุบัน

     

    3 3

    31. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 8เดือนพฤษาคม

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดประชุมคณะกรรมการสภา คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการจากการประชุมครั้งที่ 7เป็นประชุมครั้งต่อไปวันที่ 21 พ.ค.2559
    2. เตรียมสถานที่ชุมชนสะพานม้านัดหมายเริ่มการประชุมตั้งแต่ 8.00 น คณะกรรมการชุมชน อสม ผู้นำศาสนาและตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน30 คน ประชุมสภาผู้นำที่ชุมชนสะพานม้าเวลา 9.00 น นางอำพร กังพานิช ประธานสภาอีกฐานะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการสอบถามปัญหาและชี้แจงวัตถุประสงค์ทำไมถึงต้องประชุม พร้อมทั้งแจ้งเพื่อทราบการร่วมชุมนุมที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอสายบุรี ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แจ้งเพื่อทราบ การร่วมชุมนุมที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอสายบุรี ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี พี่น้องประชาชนชาวอำเภอสายบุรี เข้าร่วมกิจกรรม “ชาวสายบุรีปฏิเสธความรุนแรง ร่วมปรองดองสมานฉันท์” เพื่อแสดงจุดยืนการต่อต้านความรุนแรงทุกรูปแบบหลังจากเกิดเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดชุดรักษาความปลอดภัยพระสงฆ์ ขณะออกบิณฑบาตในพื้นที่เทศบาล ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จนเป็นเหตุให้พระสงฆ์มรณภาพ 1 รูป,เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 1 นาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 ราย เหตุเกิด เมื่อโดยกิจกรรมในวันนี้ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทั้งชาวไทยพุทธ, ชาวไทยมุสลิม รวมถึงกลุ่มผู้นำศาสนา ที่ต่างไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงจนก่อให้เกิดความสูญเสีย มาร่วมรณรงค์ถือป้ายผ้าแสดงข้อความต่อต้านการใช้ความรุนแรงและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมปรองดองสมานฉันท์เพื่อนำสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่ ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก นายวีระพงศ์ แก้วสุวรรณ ผวจ.ปัตตานี /ผอ.รมน.จ.ปัตตานี เดินทางมาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย พันเอกสุวัฒน์ ทองใบ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 ,นายก้องสกุล จันทราช นายอำเภอสายบุรี และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมพิธี

     

    42 30

    32. กิจกรรมว่าวร้อยใจสองวิถีชุมชน

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมแข่งว่าว
    2. ประสานวิทยากรการสอนทำว่าว
    3. เตรียมอุปกรณ์การฝึกทำว่าวและอาหาร
    4. เตรียมปรับสถานที่ในการจัดการแข่วว่าว ประชาชนในชุมชน เยาวชน เด็กเล็กๆ เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี จำนวน 84 คน ร่วมฝึกการทำว่าวและนำว่าวร่วมแข่งขันที่ลานกลางชุมชนสะพานม้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนในชุมชน เยาวชน เด็กเล็กๆ เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี จำนวน 84 คน ร่วมฝึกการทำว่าวและนำว่าวร่วมแข่งขันที่ลานทุ่งนากลางชุมชนสะพานม้า วิทยากรในการฝึกสอนทำว่าวเริ่มตั้งแต่ตัดไม้ไฝ่ เลาไม้ไฝ่ ตัดกระดาษ ตกแต่งลาย ตัดแบบลายไทย ลายดอกติดบนตัวว่าวและทดลองว่าว ประชาชนร้อยละ 50 มีความเข้าใจและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันใน 2 วิถีเริ่มจากการสอนทำว่าวมีสมาชิกสนใจในการทำว่าวและนำไปทำเพื่อมาแข่งขัน จึงมีรับลงทะเบียนสำหรับผู้ที่จะนำว่าวเข้าแข่ง การแข่งขันมีคณะกรรมการตัดสินและมีกฎกติกาการตัดสินชุมชนทั้ง 2 วิถียินดีและพร้อมในการฟื้นฟูประเพณีการแข่งว่าวให้กลับคืนมาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีให้คงอยู่คู่ชุมชนสะพานม้้า

     

    100 84

    33. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 9เดือนมิถุนายน

    วันที่ 18 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการโครงการ
    2. ประสานงานคณะกรรมการสภา
    3. จัดเตรียมสถานที่
    4. ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย คณะกรรมการชุมชน อสม ผู้นำศาสนาและตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน42 คน ประชุมสภาผู้นำที่ชุมชนสะพานม้าเวลา 9.00น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการสภาเข้าร่วมประชุมสภาครั้งที่ 7 ที่ชุมชนสะพานม้า เริ่มการพูดคุยตั้งแต่เวลา 9.00 น ประธานชี้แจงกิจกรรมการแข่งว่าววันที่ 22 พฤษภาคม 2559 ที่ลานกลางแจ้งชุมชนสะพานม้ามีผู้เข้าร่วมจำนวน 80 กว่าคนมีหน่วยงานทหารในพื้นที่เป็นประธานเปิดพิธีการแข่งว่าวเชื่อมพี่น้อง 2 วิถี ผลการจัดงานเป็นที่น่าพอใจ ผุ้เข้าร่วมสะท้อนความคิดเห็นปี 2560 ขอให้ประธานสภาจัดประเพณีการแข่งว่าวอีกครั้ง เพื่อสืบสายประเพณีของชุมชน 2 วิถี หน่วยทหารในพื้นที่ขอความร่วมมือคนในชุมชนสอดส่องดูแลคนแปลกหน้า หรือของแปลกปลอมเข้ามาในชุมชรของความร่วมมือรีบแจ้งหน่วยงานทหารในพื้นที่ทราบด่วย ฝ่ายเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรีแจ้งช่วงหน้าร้อนโรคที่เกิดขึ้นมาในชุมชนมากคือโรคตาแดง ท้องร่วง ขอความร่วมมือกระจายข่าวแก่คนในชุมชนรับประทานอาหารต้องปรุงสุกใหม่ๆและล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง

     

    42 32

    34. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือครั้งที่ 1

    วันที่ 19 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
    2. ประสานประชาชนในพื้นที่นัดหมายการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
    3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการบำเพ็ญประโยชน์
    4. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม คณะกรรมการและประชาชน หน่วยงานทหารในพื้นที่ชุมชนสะพานม้าร่วมจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เช่น ตัดหญ้า 2ข้างทางเข้าชุมชนสะพานม้า ทำให้ชุมชนสะพาน ผู้เข้ามีสุขภาพที่ดีและเชื่อมความสัมพันธ์ทั้งคนในชุมชนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการชุมชนและประชาชนทั่วไปในชุมชนพร้อมกับหน่วยงานทหารในพื้นที่อำเภอสายบุรีร่วมบำเพ็ญประโยชน์ตัดหญ้าสองข้างทางเข้าชุมชนสะพานม้าตั้งแต่เวลา 10.00น.ฝึกการเป็นผู้มีจิตอาสาเป็นการทําความสะอาดภายในชุมชน และบําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมทำให้ชุมชนมีความสะอาด

     

    50 46

    35. กิจกรรมชุมชนคืนความสัมพันธ์พุทธ-มุสลิม

    วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรม
    2. ประสานประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานทหารในพื้นที่
    3. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค
    4. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ประชาชนในชุมชนทั้งพุทธ มุสลิม จำนวน 90 คนร่วมแลกเปลี่ยนเครื่องอุปโภคบริโภคที่ชุมชนสะพานม้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการโครงการและประชาชนในชุมชนเยาวชน หน่วยงานทหารในพื้นที่ จำนวน 90 คนแลกเปลี่ยนเครื่องอุปโภคบริโภคในกลุ่มพี่น้องพุทธ มุสลิม ที่ชุมชนสะพานม้าเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง 2 ศาสนา สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนสะพานม้าระหว่างคนในชุมชนสร้างความไว้วางใจ ลดความหวาดระแวงและนำสันติสุขกลับคืนมาดังภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่อยากได้สันติสุขคืนมาสู่ชุมชนสะพานม้า

     

    100 90

    36. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 10เดือนกรฎาคม

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมประชุมสภา
    2. ประสานคระกรรมการสภา
    3. เตรียมสถานที่
    4. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการโครงการและประชาชนทั่วไปจำนวน 35 คนประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 10 ที่ชุมชนสะพานม้าเริ่มการประชุมเวลา 10.00 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน 35 คนจัดประชุมสภาผุ้นำที่ชุมชนสะพานม้าตั้งเวลา 10.00 น ประธานสภาผู้นำแจ้งเพื่อทราบเกี่ยวกับกิจกรรมในชุมชนสะพานม้าซึ่งเข้าร่วมรับฟังจากท่านอำเภอสายบุรีเช่นด้านเศรษฐกิจ อุดหนุนงบประมาณในการดําเนินงานของกลุ่มแม่บ้าน โครงการศึกษาอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน “ สินค้าOTOPสร้างรายได้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีอ โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงโครงการอบรมด้านการป้องกันและกําจัดศัตรูพืชโครงการส่งเสริมการปลูกพืชและสัตว์ในกลมยุวเกษตรกรในโรงเรียน โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โครงการส่งเสริมโรงสีข้าวขนาดเล็กในชุมชนเพื่อบริโภคในครัวเรือนและเหลือจําหน่าย และโครงการที่เกี่ยวกับด้านสังคม เช่นโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปญหายาเสพติดภายในชุมชน โครงการหรือกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการจัดระเบียบชุมชนและสังคมโครงการตั้งด่านตรวจตราและเฝ้าระวังพื้นที่รักษาทรัพยสินของประชาชนและเฝ้าระวังยาเสพติดภายในชุมชน และ โครงการหรือกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพยสินประชาชน จึงขอความร่วมมือจากผู้นำชุมชนจัดเวทีประชาคม ชุมชนสะพานม้าขอใช้การประชุมสภาผู้นำเป็นเวทีในการคัดเลือกโครงการที่เหมาะและสอดคล้องกับปัญหาของชุมชน

     

    42 35

    37. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือครั้งที่2

    วันที่ 1 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
    2. ประสานประชาชนในพื้นที่นัดหมายการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
    3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการบำเพ็ญประโยชน์
    4. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม คณะกรรมการและประชาชน หน่วยงานทหารในพื้นที่ชุมชนสะพานม้าร่วมจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เช่น ตัดหญ้า 2ข้างทางเข้าชุมชนสะพานม้า ทำให้ชุมชนสะพาน ผู้เข้ามีสุขภาพที่ดีและเชื่อมความสมัมพันธ์ทั้งคยในชุมชนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการชุมชนและประชาชนทั่วไปในชุมชนพร้อมกับหน่วยงานทหารในพื้นที่อำเภอสายบุรีร่วมบำเพ็ญประโยชน์ตัดหญ้าสองข้างทางเข้าชุมชนสะพานม้าตั้งแต่เวลา 10.00 น.ฝึกการเป็นผู้มีจิตอาสาเป็นการทําความสะอาดภายในชุมชน และบําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมทำให้ชุมชนมีความสะอาด

     

    50 49

    38. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 11เดือนสิงหาคม

    วันที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมประชุมสภา
    2. ประสานคระกรรมการสภา
    3. เตรียมสถานที่
    4. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการโครงการและประชาชนทั่วไปจำนวน 42 คนประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 10 ที่ชุมชนสะพานม้าเริ่มการประชุมเวลา 10.00น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการโครงการและประชาชนทั่วไปจำนวน 40 คนประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 11ที่ชุมชนสะพานม้าเริ่มการประชุมเวลา 10.00น ประธานโครงการ นางอำพร กังพานิชได้ชี้แจงถึงภาระกิจที่ประชาชนชาวไทยต้องทำเพื่อระลึกถึงบุญคุณแม่ของแผ่นดินในวันที่12 สิงหาคม โดยการเข้าทำพิธีพร้อมกับหน่วยงานราชการอื่นๆที่หอประชุมอำเภอสายบุรีและคัดเลือกโครงการที่ได้รับการประสานงานจากอำเภอ จากการประชุมสภาผู้นำผลการตัดเลือกโครงการ จำนวน 3 โครงการ คือ 1.โครงการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปญหายาเสพติดภายในชุมชน 2.โครงการหรือกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการจัดระเบียบชุมชนและสังคม 3. โครงการตั้งด่านตรวจตราและเฝ้าระวังพื้นที่รักษาทรัพยสินของประชาชนและเฝ้าระวังยาเสพติดภายในชุมชน เหตุผลที่เลือกโครงการ 3 โครงนี้เพราะเป็นโครงที่สามารถแก้ปัญหา เฝ้าระวังเด็ก เยาวชนในชุมชนได้

     

    42 40

    39. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือครังที่ 3

    วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมเพื่อทบทวนพื้นที่การบำเพ็ญประโยชน์และแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน
    2. ประสานแกนนำชุมชนเข้าร่วมการบำเพ็ญประโยชน์
    3. นัดหมายผ่านเสียงตามสาย แกนนำและประชาชนในชุมชนสะพานม้าจำนวน 40 คนเข้าร่วมกิจกรรมต่างช่วยกันตัดหญ้าพร้อมกับทำความสะอาดริมถนนทั้งสองข้างทางในชุมชนสะพานม้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนในชุมชนจำนวน 40 คนร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน กลุ่มแกนนำเป็ฯกลุ่มคนจิตอาสาในดการดูแลและสอดส่องความเรียบร้อยในชุมชนสะพานม้า จากการดำเนินกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำให้กิดแกนนำจิตอาสาดูแลทำความสะอาดในชุมชนกิจกรรมนี้ทำให้สภาพแวดล้อมของชุมชนสะอาด สุขภาพคนในชุมชนแข็งแรงด้วยการออกมาร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชนสะพานม้า

     

    50 45

    40. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือครั้ง ที่4

    วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมเตรียมการเพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน
    2. นัดหมายแกนนำประชาชนเข้าบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชนสะพานม้า
    3. ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายในการร่วมกันตัดหญ้าเก็บกวาดทำความสะอาดบริเวณริมถนนสองข้างทางภายในชุมชนสะพานม้า ประชาชนในชุมชนจำนวน 40 คนเข้าร่วมบำเพ็ญประโยชน์และดูแลรักษาความสะอาดภายในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนในชุมชนจำนวน 40 คนเข้าร่วมบำเพ็ญประโยชน์และดูแลรักษาความสะอาดภายในชุมชน ทำให้เกิดแกนนำจิตอาสาในการบำเพ็ญประโยชน์จำนวน 40 คนซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการดูแลความสะอาดในชุมชน

     

    50 40

    41. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 12เดือนกันยายน

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมนัดหมายคณะกรรมการสภา
    2. เตรียมเอกสารรายงานการเงิน
    3. เตรียมสถานที่ประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมสภาครั้งที่12จำนวน 40 คน นางอำพร กังพานิชประธานสภาชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานโดยมีคณะกรรมการสภาซึ่งมีหน้าที่การเงินชี้แจงถึงสถานการณ์การเงินเพื่อปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมคณะกรรมการสภาครั้งที่ 12 ณ.ชุมชนสะพานม้า ตั้งแต่เวลา 9.00 น โดยประธานสภาในสถานะผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผลการดำเนินงานโครงการซึ่งจะปิดโครงการในวันที่ 15ตุลาคม 2559นี้ จึงขอรายงานการเงิน รับเงินทั้งโครงการจากสสส.จำนวน 186,060 บาท โดยแบ่ง 3 งวดงวดที่ 1.สสส.โอน 74,730 บาท งวดที่ 2.สสส.โอน 93,030บาท และงวดที่ 3.สสส.ต้องโอนมาหลังเสร็จสิ้นโครงการและสามารถปิดโครงการ จัดทำรายงานส่งสสส.จำนวน 186,060บาทจึงรายงานเพื่อให้คณะกรรมการทราบงวดที่3 ยังมิได้โอนเงินแต่การดำเนินกจกรรมจะต้องดำเนินต่อและสามารถปิดโครงการจึงจำเป็นต้องสำรองเงินเพื่อปิดโครงการจึงแจ้งให้คณะกรรมการสภาทราบ

     

    42 40

    42. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือ ครั้งที่ 5

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการจัดบำเพ็ญประโยชน์
    2. นัดหมายประชาชนผู้เข้าร่วมบำเพ็ญประโญชน์
    3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนสะพานม้าทราบผ่านเสียงตามสายประชาชนในชุมชนรวมทั้งแกนนำ หัวหน้าครัวเรือนและเยาวชนในชุมชนสะพานม้าจำนวน 40 คน ร่วมบำเพ็ญประโยชน์ โดยการตัดหญ้าเก็บกวาดขยะและสิ่งปฎิกูลต่างๆบริเวณบาราเสาะและที่ทำการชุมชนตลอดไปจนสุดถนนในเขตชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชน แกนนำ เยาวชนจำนวน 40 คน ร่วมกันตัดหญ้าบริเวณถนนทางเข้าชุมชนสะพานม้า เป็นการสร้างจิตสำนึกและตระหนักต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดของชุมชนและชุมชนมีความสะอาด จากเดิมผู้เข้าบำเพ็ญประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการชุมชนสะพานม้า หลังมีการดำเนินกิจกรรมโครงการ ทำให้ประชาชนในชุมชนร่วมกันออกมาพัฒนาและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนทุกครังเรือนอย่างน้อยครัวเรือนละ 1คน

     

    50 40

    43. พัฒนาศักยภาพตรวจเอกสารรายงาน/การเงิน

    วันที่ 4 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ดำเนินกิจกรรมโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการส่งรายงานสจรส.
    2. นัดพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานการการบันทึกข้อมูล/รายงานการจัดทำเอกสารการเงิน
    3. ตรวจเอกสารการเงิน /เอกสารบนเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการบันทึกข้อมูล รายงานการเงิน ตรวจบัญชีการใช้จ่ายเงินตลอดงวดที่ 2 และงวดที่ 3 เพื่อทำรายงานส่ง สจรส.ตรวจปิดโครงการสิ่งที่เกิดขึ้น จากการดำเนินการตรวจเอกสารรายงานผู้รับผิดชอบโครงการกลับไปเพิ่มเติมข้อมูลบนเว็บไซต์และตรวจเอกสารใบลงทะเบียนให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม

     

    2 2

    44. ตรวจเอกสารรายงาน

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารการเงินก่อนส่งเจ้าหน้าที่สจรส.
    2. นำเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง
    3. นัดการลงพื้นที่ตรวจเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินจำนวน 2 นำเอกสารการเงิน ใบสำคัญรับเงิน เอกสารลงทะเบียบและตรวจการลงบันทึกบนเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข ณ.ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดปัตตานีตั้งแต่เวลา 9.00 น. เป็นต้นไปผลจากการตรวจเอกสารรายงานพี่เลี้ยงแนะนำกลับไปเพิ่มบัตรประชาชนใหม่่พร้อมทั้งเซ็นสำเนาถูกต้อง

     

    2 2

    45. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประเมินผล/สรุปโครงการ

    วันที่ 2 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
    2. จัดเตรียมสถานที่ เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานและประชาชนในชุมชนจำนวน 80 คนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในทุกมิติทำให้รู้ว่าการเข้าใจกัน การมีส่วนร่วม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ทำให้รู้ปัญหาและความต้องการของพี่น้องประชาชนในชุมชนทั้งสองศาสนา หลังจากนี้ความเข้าใจกันและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันจะเกิดขึ้น และนำไปสู่การขยายผลเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานและประชาชนในชุมชนสะพานม้าจำนวน 80 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานณ ชุมชนสะพานม้า ตั้งแต่เวลา 9.00 น.เป็นต้นไป โดยผู้รับผิดชอบโครงการทบทวนการดำเนินงานโครงการโดยเฉพาะกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ พี่น้องสองศาสนา ผลกระทบจากสถานการณ์ สร้างความหวาดระแวง หวาดกลัวให้กับพี่น้องสองศาสนา จากเดิมซึ่งมีความรัก ความเข้าใจกัน เมื่อมีพื้นที่ให้ต่างคนต่างพูดคุยแลกเปลี่ยนหลายๆครั้ง ทำให้ลดความหวาดระแวงได้รับรู้ปัญหาต่างๆในชุมชน ประชาชนในชุมชนมีความรักความสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันและคืนความรักกลับมาสู่ชุมชนสะพานม้า

     

    70 80

    46. ร่วมงานสร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ส่งรายชื่อประสานพี่เลี้ยงคณะทำงาน 2คน
    2. ประสานที่พักที่หาดใหญ่
    3. ลงทะเบียนเข้าร่วมงานวันที่3 เดินทางเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้วันที่1 ตุลาคม2559ถึงวันที่5ตุลาคม2559 โดยผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้จำนวน2 คน ตั้งแต่เวลา 13.00น จนเสร็จสิ้นวันที่5ตุลาคม2559 ณหอประชุมนานาชาติมอ.หาดใหญ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานโครงการร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 3-5 ตุลาคม2559 ณหอประชุมนานาชาติมอ.หาดใหญ่เริ่มงานวันที่3ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 13.00นเป็นต้นไป บรรยากาศในงานสร้างสุขภาคใต้ประกอบด้วยนิทรรศการจากโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 14 จังหวัด และนิทรรศการเครือข่ายเช่น สสส. สปสช. กองทุนสุขภาพท้องถิ่น ปัจจัยเสี่ยง ฯ ทำให้เห็นผลงานมีการแลกเปลี่ยนประเด็นความสำเร็จ ส่วนวันที่4ตุลาคมซึ่งเป็นงานวันที่ 2มีห้องแต่ละประเด็นเช่น ห้องชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ห้องกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ห้องเยาวชน ห้องปัจจัยเสี่ยงเป็นต้น ส่วนห้องชุมชนท้องน่าอยู่ในห้องมีการเสวนาแลกเปลี่ยนพื้นที่ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและทิศทางในการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ในปีต่อไป

     

    2 2

    47. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำเอกสารโดยการพิมพ์บนเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุขจัดทำรูปเล่ม
    2. ล้างรูปการดำเนินกิจกรรมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จัดทำเอกสารจำนวน 10เล่มเพื่อแจกคณะทำงาน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
    2. ล้างรูปกิจกรรมต่างๆเพื่อเก็บไว้เป็นแนวทางในการทำกิจกรรมต่อไป

     

    2 2

    48. ปิดโครงการ

    วันที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดพี่เลี้ยงตรวจเอกสาร
    2. นำเอกสารพบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนไปสจรส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานและพี่เลี้ยงร่วมตรวจเอกสารรายงานการเงิน การเพิ่มเติมข้อมูลบนเว็ปไซด์ พี่เลี้ยงแนะนำเพิ่มเติมเอกสารที่ไม่ถูกต้องให้ปรับแก้ให้ถูกต้อง

     

    2 2

    49. พัฒนาศักยภาพพบพี่เลี้ยงปิดโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ได้นำเอกสารการเงิน และรายงานผลในเว็บไซต์ส่งให้ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งรายงานให้ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เอกสารการเงิน และรายงานในเว็บไซต์ถูกต้อง สามารถส่งรายงานให้ สสส.ได้

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วม ในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)
    ตัวชี้วัด : 1.เกิดสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)จากภาคีเครือข่ายจำนวน 42 คน 2.สภาผู้นำขับเคลื่อนประเมินผล โดยการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง มีการประชุม เพื่อกำหนดกิจกรรม พร้อมทั้งการประเมินเดือนละ 1 ครั้ง

    สมาชิกสภาผู้นำจำนวน42 คนเข้าร่วมประชุมทุภครั้ง

    2 เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชนด้านความสัมพันธ์บน2วิถีชุมชนสะพานม้า
    ตัวชี้วัด : 1.ชุมชนมีข้อมูลด้านความสัมพันธ์ทั้งพุทธและมุสลิม 2.เกิด 1 กลุ่มสภาผู้นำ(สถาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)สองศาสนิกที่มาจากแกนนำชุมชนของศาสนาพุทธและอิสลามจำนวน 42 คน

    ในชุมชนมีข้อมูลด้านความสัมพันธ์ทั้งพุทธและมุสลิมทำให้ทราบถึงปัญหา

    3 เพื่อการวางแผนการอยู่ร่วมกันให้ 2วิถีศาสนาอยู่ร่วมอย่างสันติสุขและจัดทำแผนปฏิบัติการ
    ตัวชี้วัด : 1.เกิดแผนการอยู่ร่วมกันของสองวิถีพุทธและมุสลิมที่นำไปสู่การสร้างสันติสุขของชุมชนสะพานม้า

    ชุมชนสะพานม้าทราบถึงแผนการอยู่ร่วมกันสองวิถีพุทธและมุสลิมและสามารถนำแผนดังกล่าวนำไปใช้ได้

    4 เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม โดยใช้ประเด็นงานที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น
    ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มจิตอาสาชุมชน พุทธ 15 คน มุสลิม 15 คน จำนวน 30 คน 2.กลุ่มสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)สองศาสนิกในการจัดการแผนสร้างความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิมจำนวน 42 คน สะท้อนถึงปัญหา ประสบการณ์ ในอดีตของชุมชนโดยในการเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า(Story Telling) และตารางเวลา(Timeline)

    มีกลุ่มจิตอาสาเข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คนและกลุ่มสภาผู้นำจำนวน 42 คนได้สะท้อนถึงประสบการณ์ปัญหาในอดีตของชุมชน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. คณะทำงานเข้าร่วมประชุมทุกครั้งที่จัดกิจกรรมกับ สสส.สจรส.มอ.หาดใหญ่
    2. มีป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ จำนวน2ป้ายและทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนไม่สูบบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. มีการบันทึกภาพกิจกรรมทุกครั้งที่ทำกิจกรรม
    4. มีการทำรายงานกิจกรรมส่ง สสส.ทุกครั้งภายในระยะเวลาที่นัดหมาย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วม ในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม) (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชนด้านความสัมพันธ์บน2วิถีชุมชนสะพานม้า (3) เพื่อการวางแผนการอยู่ร่วมกันให้ 2วิถีศาสนาอยู่ร่วมอย่างสันติสุขและจัดทำแผนปฏิบัติการ (4) เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม โดยใช้ประเด็นงานที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า

    รหัสโครงการ 58-03978 รหัสสัญญา 58-00-2179 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การดำเนินการภายใต้การประชุมสภาผู้นำที่มีการประชุมเดือนละ1 ครั้ง

    รายงานการประชุมสภา

    การจัดเวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์ ค้นหาปัญหาและความต้องการต้องผ่านกลไลคณะกรรมการสภาผู้นำ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มจิตอาสาในการบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน

    รายชื่อผู้เข้าร่วมการบำเพ็ญประโยชน์ตามถนนสองข้างทางเข้าชุมชนจำนวน 50คน

    การดำเนินการบำพ็ญประโยชน์ในชุมชนนอกเหนือจากวันสำคัญๆในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชนเช่นการตัดหญ้า 2ข้างทางเป็นการออกกำลังกายและสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะในชุมชน

    รายชื่อผู้เข้าร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน

    การบำเพ็ญประโยชน์ในรูปแบบการออกกำลังกายครบ 4มิติ กาย จิต สังคมและปัญญานำมาสู่สุขภาวะที่สมบูรณ์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    พื้นที่จัดกิจกรรมและติดป้ายเป็นพื้นสาธารณที่ทุกคนให้ความสำคัญในการไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้าย

    ป้ายรณงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่

    การติดป้ายห้ามสูบห้ามดื่มในพื้นที่สาธารณะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    กิจกรรมการเล่นว่าวของพี่น้องสองศาสนา

    การฝึกอบรมการทำว่าวเป็นการจัดการตนเองให้อยู่กับการฝึกอบรมและฝึกสมาธิได้อีกหนึ่งมิติ

    การฟื้นฟูประเพณีแข่งว่าให้กลับคืนสู้ชุมชนสะพานม้า

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    การบำเพ็ญประโยชน์เช่นการถางหญ้าบนถนนสองข้างทางเข้าชุมชนเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี

    กิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์เดือนละ 1ครั้ง

    การพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเยาวชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง 2 ศาสนาระหว่างพุทธกับมุสลิมด้วยกระบวนการสานเสวนา

    แผนการอยู่ร่วมกันของสองวิถีพุทธและมุสลิมที่นำไปสู่การสร้างสันติสุขของชุมชนสะพานม้า

    การนำแผนเข้าสู่แผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    กลไกคณะกรรมการสภาผู้นำในการแก้ปัญหา ความค้องการและแหาแนวทางแก้ไขของชุมชน

    คณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน 42คน

    การส่งต่อกลไกสภาผู้นำแก่เด็กและเยาวชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    การทำแผนปฏิบัติการตลอดโครงการ

    ปฏิทินโครงการบนเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข

    การนำกระบวนการวางแผนปฏิบัติการไปปรับใช้ในการดำรงชีวิต

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    กืจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน

    กลุ่มจิตอาสาชุมชน พุทธ-มุสลิม จำนวน 30 คน

    การถอดบทเรียนคนจิตอาสา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    การแลกเปลี่ยนเครื่องอุปโภคบริโภคระหว่างพุทธ - มุสลิม

    ผู้เฒ่าเล้่าเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนสะพานม้าแก่คนในชุมชน

    การเขียนเรื่องเล่าเป็นเอกสารเพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังมีหลักฐานและรากเหง้าของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า จังหวัด ปัตตานี

    รหัสโครงการ 58-03978

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง อำพร กังพานิช )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด