แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)

ชุมชน บ้านสือดัง ม.4 ต. เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

รหัสโครงการ 58-03806 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2210

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการท้องถิ่นน่าอยู๋

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะขีด ความสามารถของผู้รับทุนด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการ ปฐมนิเทศ การอบรมการเขียนรายงาน การจัดการ เอกสารการเงิน และการติดตามสนับสนุนโครงการ เพื่อให้สามารถนําความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้เรียนรู้ และ จัดทำ ดังนี้

  • การจัดทำเอกสารรายงานลงเว็บไซด์ คนใต้สร้างสุข
  • การบันทึกข้อมูลลงเว็บ
  • การบันทึกกิจกรรมลงปฎิทิน
  • การจัดทำรายงาน การรับฟังคำชี้แจง
  • การจัดทำรายงานทางการเงิน
  • การบันทึกรายงานการเงิน
  • การเบิกจ่ายงบประมาณตามงวดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การชี้แจกรายละเอียดโครงการ ดังนี้

  • ทราบวัตถุประสงค์ของ สสส.
  • แหล่งที่มาของกองทุน
  • การวางแผนดำเนินงานโครงการ
  • การดำเนินโครงการตามแผน
  • การสรุปโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิการชี้แจงรายละเอียดการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ปี 58
  • อ.สุวิทย์ หมาดอะดำ ให้ความรู้การวางแผนดำเนินโครงการ
  • คุณนฤมล อุโหยบ อธิบายและสอนการทำเอกสารการเงิน
  • สรุปโครงการและซักถามประเด็นปัญหา

 

2 3

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชาสัมพันธ์การทำโครงการ สสส.และการกำหนดเขตปลอดบุหรี่ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หลังจากได้ทำการติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นดังนี้

  1. คนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะงดการสูบบุหรี่ในสถานที่นั้นๆ
  2. เกิดจิตสำนึกเรื่องของการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี

กิจกรรมที่ทำจริง

สั่งทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย นำป้ายไปติดตามสถานที่ดังนี้

  1. ที่มัสยิดบ้านสือดัง
  2. โรงเรียนดาตีกาบ้านสือดัง

 

150 150

3. ซักซ้อมความเข้าใจในการทำโครงการ โดยภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น รวมถึงกำหนดกรอบแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ

วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดแผนงานด้านกิจกรรมและกำหนดบทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบให้กับคณะกรรมการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประธานโครงการได้ชี้แจงโครงการ สือดังเบอร์ซาตู(ร่วมเป็นหนึ่ง)ให้คณะกรรมการได้ทราบถึงรายละเอียดโครงการการจัดกิจกรรม ตลอดระยะเวลา 1 ปี ทำให้ทีมคณะกรรมการชุมชนมีความเข้าใจการทำงาน และร่วมดำเนินการเป็นคณะทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้ง ร่วมกันวางแผนในการจัดกิจกรรม การประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะมาจัดตั้งเป็นสภาหมู่บ้านร่วม
  • ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านต่างๆให้คณะกรรมการ แบ่งออกเป็น ฝ่ายผู้รับผิดชอบ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ประชาชน ครู
  • ได้หารือการเตรียมการจัดตั้งคณะกรรมสภาผู้นำ เพื่อสร้างความเข้าใจการทำงานโครงการและเป็นคณะทำงานที่มาช่วยกันร่วมคิดร่วมคุยร่วมกันทำงานโครงการที่ได้รับให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
  • ร่วมกันวางแผนในการจัดกิจกรรมชี้แจงให้กับคนในชุมชนได้รับทราบแผนการทำงานโครงการร่วมกันกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะมาจัดตั้งเป็นสภาหมู่บ้านแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานและผู้รับผิดชอบในการประสานกลุ่มเป้าหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีประชุมคณะกรรมการตามโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนโดยมีคณะกรรมการตามโครงการจำนวน 8 คน และคณะกรรมการชุมชนจำนวน 12 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
  • ประชุมกลุ่มทีมงาน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
  • จัดตั้งคณะกรรมการทีมนำในการดำเนินงานโครงการพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่/ขอบเขตงาน
  • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด

 

20 20

4. ประชาสัมพันธ์โครงการสือดังเบอร์ซาตู (สือดังร่วมเป็นหนึ่ง)/เตรียมความพร้อมในการพัฒนาการจัดตั้งสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)จำนวน 35 คน
  2. มีกลุ่มแกนนำหมู่บ้านสือดัง หน่วยงานรัฐในพื้นที่จำนวน30คน รับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินการและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  3. มีกลุ่มอาสาสมัครเยาวชนและ แกนนำหมู่บ้านในการจัดเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ชี้แจงและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการได้มาของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ และขอความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมที่จะดำเนินกิจกรรมพี่เลี้ยงโครงการ ได้แนะนำความเป็นมาของโครงการชุมชนทัองถิ่นน่าอยู่ และบอกถึงงบประมาณ วิธีการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงการ ทำให้คนในชุมชนเข้าใจกระบวนการทำโครงการ และให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้งปี
  • ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ได้พบปะกับพี่น้องประชาชนและให้การสนับสนุนในด้านการดูแลสุขภาพข้อมูล
  • นางรอกีเยาะ วามะ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสายบุรี ได้พบปะกับพี่น้องประชาชนและได้แจ้งในส่วนงานด้านภาคการเกษตร พร้อมให้การสนับสนุนในกิจกรรมของโครงการด้วย
  • เจ้าหน้าที่ ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัย ได้ร่วมแสดงความยินดี และได้ฝากถึงประชาชนที่ต้องการจะศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • หน่วยงานทหารพรานในพื้นที่รับผิดชอบ ได้ร่วมแสดงความยินดี และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ สนับสนุนในโครงการครั้งนี้อีกด้วย
  • ในกิจกรรมดังกล่าวมีประชาชนในชุมชน มากกว่า 150 คนรับทราบถึงวิธีการทำโครงการ และกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นแก้ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
  • มีการคัดเลือคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)จำนวน 35 คน ชึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน 8 คน,อสม.2 คน,ผู้นำศาสนา 5 คน,ตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน 10 คน,เยาวชน 5 คน,คณะทำงานโครงการ 5 คน,ผู้สูงอายุ 5 คน
  • ได้คัดเลือกแกนนำจิตอาสาในชุมชนเป็นคณะทำงานอาสาสมัครหมู่บ้านสือดัง ทำหน้าที่สำรวจและเก็นรวบรวมข้อมูลพื้นฐานชุมชนจำนวน 20 คน มีกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมการดำเนินงานเป็นการสร้างประสบการณ์และทักษะชีวิตในการพัฒนาท้องถิ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เปิดเวทีโครงการ เพื่อเป็นการ โดยผู้ใหญ่บ้านนัดชาวบ้าน เข้าร่วมประชุม โดยผ่านทางการกระจายข่าว ผ่านทางแกนนำกลุ่ม และพี่เลี้ยงโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าในชุมชนมีโครงการของ สสส.
  • จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการชุมชนซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเครือข่ายมาจากกลุ่มต่างๆในชุมชนประกอบด้วยพร้อมให้ความรู้รับรุ้ถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติและรับผิดชอบของกลุ่มเครือข่าย
  • คัดกรองกลุ่มอาสาสมัครแกนนำ เพื่อเป็นคณะทำงานอาสาสมัครหมู่บ้านสือดัง เพื่อทำหน้าที่สำรวจและเก็นรวบรวมข้อมูลพื้นฐานชุมชนจำนวน 20 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำและคณะทำงานเพื่อออกแบบการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ
  • ประสานนัดพี่เลี้ยงโครงการและบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม
  • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
  • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
  • จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและปฎิทินกิจกรรมเพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งให้ประชาชนรับทราบ
  • เตรียมอุปกรณ์ต่างๆและใบลงทะเบียนใช้ในการจัดกิจกรรม
  • ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งรายละเอียดโครงการเกี่ยวกับโครงการ
  • ผอ.รพ.สต.เตราะบอน พูดคุยเรื่องระบบสนับสนุนการดูแลสุขภาพของคนในพื้นที่
  • ให้พี่เลี้ยงเสนอที่มา ขั้นตอนต่างๆของโครงการ
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม
  • โ๊ต๊ะอีม่ามกล่าวดุอาร์ปิดการประชุม

 

150 154

5. พัฒนาศักภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)กำหนดบทบาท หน้าที่ของสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)

วันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 08.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำ(อาซูรอเบอร์ซาตู)ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาของหมู่บ้าน มีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการและสามารถเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกับคณะทำงานตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบเปิดโครงการ และได้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ พร้อมทำความเข้าใจในการจัดทำโครงการ สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)
  • ทีมสภาผู้นำที่ถูกจัดตั้งในเวทีประชาสัมพันธ์โครงการและแกนนำจิตอาสาชุมชน ได้พูดคุยกันในเรื่องการจัดทำกิจกรรมในโครงการ โดยในการประชุมสภาผู้นำจะนำเรื่องวาระการประชุมในหมู่บ้านเข้ามาพูดคุยด้วย พร้อมให้ความรู้รับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติและรับผิดชอบของกลุ่มเครือข่าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำ โดยสื่อสารและซักซ้อมความเข้าใจในบทบาทการทำงาน การวางแผน การตัดสินใจ การประสานงาน การประสานความร่วมมือ การบูรณาการร่วมหน่วยงานและการพัฒนาเครื่องมือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
  • ประชุมกลุ่มทีมงาน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
  • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

 

35 35

6. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 1

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ฟื้นฟูความสัมพันธ์ สร้างการมีส่วนร่วมตลอดถึงปลูกฝังวัฒนธรรมและเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้กับประชาชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้มีการประชุมวางแผนกิจกรรมและประเมินผล จำนวน 10 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้มีการประชุมวางแผนในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด และที่ประชุมได้มีการนำเสนอโครงการเร่งด่วนแก้ปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น โดยมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้าน คือ โครงการขุดเจาะบ่อบาดาลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)กับคณะทำงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน เดือนละ1ครั้งเพื่อร่วมเรียนรู้วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนในการกำหนดกิจกรรม พร้อมทั้งร่วมคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชนตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนากิจกรรมโครงการครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
  • จัดเตรียมข้อมูลด้านเอกสารการเงินและอื่นๆ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
  • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

 

35 35

7. การออกแบบเครื่องมือการจัดการด้านความสัมพันธ์ /อบรม สร้างความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูล

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลด้านความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีแบบสำรวจพื้นฐานข้อมูลของชุมชนจำนวน 130 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในที่ประชุมร่วมกันออกแบบสำรวจข้อมูล ให้มีควาสอดคล้องกับชุมชนและง่ายต่อความเข้าใจในการกรอกข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลด้านโภชนาการ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ อาชีพ ทรัพยากร สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและด้านจารีต โดยให้วิทยากรช่วยจัดการให้เป็นหมวดหมู่ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ใช้วิทยากรให้ความรู้สร้างความเข้าใจวิเคราะห์ทุนในชุมชนเพื่อออกแบบการด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมทั้งโดยจัดเก็บข้อมูลด้านโภชนาการ ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ ด้านอาชีพ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านจารีต ปัญหาของหมู่บ้าน ศักยภาพและความต้องการ บทบาทองค์กรของชุมชน(ที่เป็นทางการจัดตั้งและไม่เป็นทางการ) ตลอดจนชุดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน
  • ใช้วิทยากรให้ความรู้สร้างความเข้าใจ การใช้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลให้กับอาสาสมัคร

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
  • ประสานวิทยากรกระบวนการในการออกแบบเครื่องมือ
  • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
  • จัดเตรียมอุปกรณืต่างๆใช้ในการออกแบบสำรวจ
  • ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
  • ให้วิทยากรให้ความรู้ในการออกแบบเครื่องมือในการสำรวจ/ให้ความรู้สร้างความเข้าใจ การใช้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลให้กับอาสาสมัคร
  • ให้ผู้เข้าร่วมเสนอข้อมูลที่จะใช้ในการสำรวจ
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

 

50 50

8. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลสถานการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ครั้งที่1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลด้านความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม130ครัวเรือนและการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนการเก็บข้อมูลระหว่างคนในครัวเรือนและอาสาสมัคร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • อาสาสมัครสาธารณสุขและเด็กเยาวชน ร่วมกันจัดเก็บข้อมูล วันแรกในพื้นที่โซน ทฺิศเหนือ(ออก-ตก) เป็นจำนวน 50 ครัวเรือน และในระหว่างการจัดเก็บข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แนะนำให้กับตัวแทนครัวเรือนในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารประเภทไขมัน เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครัวเรือนที่ทำการสำรวจในเรื่องหลักการอยู่ร่วมกันในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกสำรวจโดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในแบบสอบถาม โดยเยาวชนและแกนนำในชุมชนซึ่งแบ่งการสำรวจเป็น 5โซน จำนวน โซนละ 4คน
  • จัดเก็บเป็น 3 วัน รวมจำนวน 130 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดเตรียมเอกสารการสำรวจ
  • จัดวางแผนในการออกสำรวจ/กำหนดครัวเรือน
  • ออกสำรวจข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม
  • สรุปข้อมูลที่จัดเก็บ

 

20 20

9. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลสถานการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ครั้งที่2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลด้านความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม130ครัวเรือนและการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนการเก็บข้อมูลระหว่างคนในครัวเรือนและอาสาสมัคร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • อาสาสมัครสาธารณสุขและเด็กเยาวชน ร่วมกันจัดเก็บข้อมูล วันที่สองในพื้นที่โซน ทฺิศใต้(ออก-ตก) เป็นจำนวน 40ครัวเรือน และในรหว่างการจัดเก็บข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แนะนำให้กับตัวแทนครัวเรือนในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารประเภทไขมัน เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครัวเรือนที่ทำการสำรวจในเรื่องหลักการอยู่ร่วมกันในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกสำรวจโดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในแบบสอบถาม โดยเยาวชนและแกนนำในชุมชนซึ่งแบ่งการสำรวจเป็น 5โซน จำนวน โซนละ 4คน
  • จัดเก็บเป็น 3 วัน รวมจำนวน 130 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ออกสำรวจวันที่ 2
  • กำหนดครัวเรือนที่จะจัดเก็บข้อมูล ทั้ง 4โซน
  • จัดเตรียมตัวบุคคลในการจัดเก็บตามโซนต่างๆทั้ง 4 โซน
  • ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม
  • ผู้จัดเก็บข้อมุลแนะนำตัวเองทุกครั้งในการลงมีอปฎิบัติ

 

20 20

10. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลสถานการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ครั้งที่3

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลด้านความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม130ครัวเรือนและการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนการเก็บข้อมูลระหว่างคนในครัวเรือนและอาสาสมัคร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • อาสาสมัครสาธารณสุขและเด็กเยาวชน ร่วมกันจัดเก็บข้อมูล วันที่สามในพื้นที่โซน ทฺิศตะวันออก(ริมถนนสาย4074) เป็นจำนวน 40ครัวเรือน และในรหว่างการจัดเก็บข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แนะนำให้กับตัวแทนครัวเรือนในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดยการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารประเภทไขมัน เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครัวเรือนที่ทำการสำรวจในเรื่องหลักการอยู่ร่วมกันในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกสำรวจโดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในแบบสอบถาม โดยเยาวชนและแกนนำในชุมชนซึ่งแบ่งการสำรวจเป็น 5โซน จำนวน โซนละ 4คน
  • จัดเก็บเป็น 3 วัน รวมจำนวน 130 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดเก็บข้อมูลของวันที 3
  • กำหนดครัวเรือนที่จะจัดเก็บข้อมูล ทั้ง 4โซน
  • จัดเตรียมตัวบุคคลในการจัดเก็บตามโซนต่างๆทั้ง 4 โซน
  • ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม
  • ผู้จัดเก็บข้อมุลแนะนำตัวเองทุกครั้งในการลงมีอปฎิบัติ

 

20 20

11. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเตรียมความพร้อมการทำเอกสารการเงิน - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การบันทึกข้อมูลลงบนเว็บไซต์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำเอกสารการเงินร่วมกับสสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม กิจกรรมที่ดำเนินการ
  • ได้เรียนรู้และทราบแนวทางในการจัดทำเอกสารทางการเงิน
  • การหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 1 ฉบับ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้รับผิดชอบการเงินของโครงการสามารถจัดทำเอกสารการเงินได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ คือ

  • การทำเอกสาร
  • การรายงานทางการเงิน
  • การรายงานกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ลงเวปไซค์ คนใต้สร้างสุข
  • การรับฟังคำชี้แจง
  • การจัดทำรายงานทางการเงิน
  • การเสียภาษี

 

2 3

12. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ครั้งที่1

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • หมู่บ้านเกิดแผนพัฒนาหมู่บ้านเพื่อไปสู่ในการปฎิบัติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

• ได้ข้อมูลของชุมชนเพื่อมาจัดทำแผนชุมชน

• เกิดแผนที่เดินทางครอบครัวหมู่บ้านสือดัง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • วิทยากรให้คณะทำงานจัดรวมรวมข้อมูลจากแบบสำรวจทั้ง 130 ชุดจัดออกเป็น 4 หมวดใหญ่ๆคือ ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลด้านวัฒนธรรม และข้อมูลสุขภาพ
  • หาผลการสำรวจข้อมูลดิบจากแบบสำรวจ ผลที่ได้คือมีควารู้ความเข้าใจด้านประวัฒิศาตร์ ร้อยละ 85 รู้ ร้อยละ 15 ไม่รู้ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 81 มีปัญหา ร้อยละ 19 ไม่ปัญหาข้อมูลด้านวัฒนธรรม ร้อยละ 55 มีปัญหา ร้อยละ 45 ไม่ปัญหา ข้อมูลสุขภาพร้อยละ 68 มีปัญหา ร้อยละ 32 ไม่ปัญหา
  • กลุ่มเป็าหมายที่ตอบแบบสำรวจ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 75 วัยทำงาน ร้อยละ 20 อื่นๆ ร้อยละ 5
  • ข้อมูลที่ได้ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาในเรื่องเศษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพ รายได้ รายจ่าย เศรษฐกิจภายนอกในการส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว รองลงมาคือด้านปัญหาด้านสุขภาพเพราะกลุ่มผู้สูงอายุยังคงมีปัญหาเรื่องโรคเรื้อรังคือเบาหวาน และความดันโลหิต เป็นส่วนหลัก
  • ชุมชนได้ข้อมูลชุมชนประกอบด้วยข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลด้านวัฒนธรรม และข้อมูลสุขภาพ
  • คณะทำงานโครงการเกิดทักษะด้านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน
  • สภาชุมชนมีทักษะกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดหมวดหมู่ข้อมูลดิบจากแบบสำรวจ
  • วิเคราะห์ข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการจัดทำแผนชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
  • ประสานวิทยากรกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
  • จัดเตรียมข้อมูลจากการสำรวจในพื้นที่เพื่อให้วิทยากรนำมาวิเคราะห์
  • ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

 

50 51

13. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 2

วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้มีการประชุมวางแผนกิจกรรมและประเมินผล จำนวน 10 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะสภาผู้นำเสนอให้คณะทำงานทุกฝ่ายรับรู้ถึงปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกันในการดำเนินงานเพื่อแก้แก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกัน และการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบมีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชนและชุมชนเองก็จะเจริญก้าวหน้าสามารถรับกับสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน
  • ผู้ใหญ่บ้านได้นำเรื่องสั่งการจากอำเภอสา่ยบุรีมารายงานให้กับสภาผู้นำรับทราบในเรื่องต่างๆคือ งบกระตุ้นเศษฐกิขชุมชน 5,000,000 บาท ซึ่งหมู่บ้านได้รับจัดสรรค์มาเพื่อดำเนินโครงการจำนวน 450,000 บาท ให้เสนอโครงการตกลงมีมติร่วมกันที่จะดำเนินจัดสร้างโครงซ่อมแซมห้องนำของมัสยิดเพื่อสาธารณะชุมชน
  • ด้านการส่งเสริมงานเกษตร ของเกษตรอำเภอ การทำปุ๋ยหมัก
  • กำหนดแผนการจัดกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งที่ 2 และการคืนข้อมูลให้กับประชาชนรับฟัง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
  • จัดเตรียมข้อมูลด้านเอกสารการเงินและอื่นๆ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
  • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานคณะกรรมการสภาโดยใช้โทรศัพท์
  • จัดเตรียมรายละเอียดใช้ในการประชุม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการใด้ชี้แจงผลของการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และให้เจ้าหน้าที่การเงินรายงานรายละเอียดการเงินที่จ่ายไปทำไหรคงเหลือเท่าไหร ให้กับสภาผู้นำรับรู้
  • เวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน เดือนละ1ครั้งเพื่อร่วมเรียนรู้วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนในการกำหนดกิจกรรม พร้อมทั้งร่วมคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชนตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนากิจกรรมโครงการครั้งต่อไป

 

35 39

14. พบพี่เลี้ยง แลกเปลี่ยนการทำโครงการ

วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง และ สจรส.ม.อ.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • พี่เลี้ยงแนะนำวิธีการบันทึกข้อมูล การจัดทำรายงานการเงิน การลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งโดยให้มีการใช้แบบลงทะเบียนในคูมือเอกสารคนใต้สร้างสุขทำให้เข้าใจการบันทึกข้อมูนลงบนเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การเบิกเงินในการดำเนินกิจกรรมในแต่ครั้งโดยการเบิกครั้งเดยวใน 1 เดือนที่มีกิจกรรมและสามารถถือเงินสดในมือได้ไม่เกิน 5,000 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาในการดำเนินกิจกรรมโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พี่เลี้ยงประชุมเพื่อความเข้าใจเอกสารรายงานการเงิน การบันทึกข้อมูล การใช้จ่ายงบปนะมาณในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ประสานเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล/การเงินแลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจกิจกรรมตามแผนงานโครงการ

 

2 2

15. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ครั้งที่2

วันที่ 24 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้หมู่บ้านเกิดแผนพัฒนาหมู่บ้านเพื่อไปสู่ในการปฎิบัติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

• ได้ข้อมูลของชุมชนเพื่อมาจัดทำแผนชุมชน

• เกิดแผนที่เดินทางครอบครัวหมู่บ้านสือดัง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้เรียนรู้การทำแผนที่เดินดิน มีหลักการ คือ

  1. ถ้าเป็นหมู่บ้านที่มีระยะห่าง ไม่ควรนั่งรถยนต์ทำแผนที่ อาจใช้รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ แต่ต้องหมั่นจอดแวะทักทายชาวบ้าน
  2. ต้องเดินสำรวจให้ทั่วถึง โดยเฉพาะบ้านคนจน บ้านผู้ทุกข์ยากที่อยู่ชายขอบของชุมชน บ้านของผู้ที่แยกตัวอย่างโดดเดี่ยวในชุมชน
  3. มองพื้นที่ทางกายภาพแต่ตีความให้เห็นถึงพื้นที่ทางสังคม
  4. ถ้าทีมงานมีหลายคน ไม่ควรแยกเขียนแล้วนำมาต่อกัน ควรเดินสำรวจร่วมกันทั้งทีม
  5. หมั่นสังเกตและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทีมระหว่างเดินสำรวจว่าพื้นที่ที่เห็นบอกเรื่องราวอะไรที่สำคัญของชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ
  6. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเพียงอย่างเดียว ( อาจเป็นภาพลวงตา ) จำเป็นต้องสอบถามจากเจ้าของบ้านญาติ เพื่อนบ้าน หรือบุคคลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
  7. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสอบถามจากเจ้าของบ้านได้โดยตรง จำเป็นต้องสอบถามคนในชุมชนเพิ่มเติม หรืออาศัยการสังเกตเพิ่มเติมด้วยตนเอง
  8. ข้อพึงระวัง เมื่อให้ชาวบ้านนำทาง ข้อมูลอาจจะมีอคติจากผู้พาเดิน เช่น ไม่ต้องการให้พบเห็นสิ่งที่คิดว่าสร้างความเสื่อมเสียต่อชุมชน
  9. พยายามเขียนข้อสังเกต เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนในชุมชน หน้าที่ทางสังคมของพื้นที่ต่าง ๆ
  • การวิเคราะห์ทุนหมู่บ้าน คือ บ้านสือดังยังมี่พื้นที่ไม่ได้ปรโยชน์เพื่อให้เกิดรายได้ บุคคลที่ยังขาดความรู้ในการแก้ปัญหาหมู่บ้านทั้ง 4 ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานยังน้อย
  • ร่วมเสนอแนวทางการแก้ปัญของหมู่บ้าน
  1. ทำให้มองเห็นภาพรวมของชุมชนได้ครบถ้วน
  2. ได้ข้อมูลมากและละเอียดในระยะเวลาสั้น
  3. ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะได้จากการสังเกตด้วยตนเอง
  4. นำไปสู่ความเข้าใจในมิติอื่นๆ ตามมา
  5. นำข้อมูลมาปรับใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

• จัดทำแผนที่ทางเดินครอบครัว(แผนที่เดินดิน) ซึ่งต้องระบุให้เห็นถึงผังกายภาพของทรัพยากร ผังโครงสร้างพื้นฐาน ผังเรียนรู้ เป็นต้น

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
  • ประสานวิทยากรกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
  • จัดเตรียมข้อมูลที่ผ่านจากเวทีวิเคราะห์ครั้งที่1เพื่อให้ทีมวิทยากรวิเคราะห์ครั้งที่ 2 โดยวิทยากรให้ความรู้ในขั้นตอนการจัดทำแผนที่เดินดินของหมู่บ้าน มีขั้นตอนการทำคือ มาทำแผนที่เดินดินโดย การเดินสำรวจดูด้วยตา และจดบันทึกทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นลงบนบันทึก เพื่อเข้าใจถึงความหมายทางสังคม (Social Meaning) และหน้าที่ทางสังคม (Social Function) ของพื้นที่ทางกายภาพ (Physical Space) เป็นเครื่องมือชิ้นแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจชุมชน ด้วยวิธีการง่ายๆ และใช้เวลาไม่นานมาก
  • วิธีการ และข้อแนะนำโดยการนำแผนที่ชุมชน ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น ทบทวนข้อมูลในแผนชุมชน มีข้อมูลที่สามารถนำกลับมาใช้หรือจำเป็นต้องสำรวจใหม่ การให้ความสำคัญกับการสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านในชุมชนควบคู่กับการเขียนแผนที่ แวะทักทายชาวบ้านระหว่างการทำ
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

 

50 51

16. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 3

วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้มีการประชุมวางแผนกิจกรรมและประเมินผล จำนวน 10 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการใด้ชี้แจงผลของการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และให้เจ้าหน้าที่การเงินรายงายรายละเอียดการเงินที่จ่ายไปทำไหรคงเหลือเท่าไหร ให้กับสภาผู้นำรับรู้
  • คณะสภาผู้นำเสนอให้คณะทำงานทุกฝ่ายรับรู้ถึงปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกันในการดำเนินงานเพื่อแก้แก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกัน
  • ผู้ใหญ่บ้านได้นำเรื่องสั่งการจากอำเภอสา่ยบุรีมารายงานให้กับสภาผู้นำรับทราบในเรื่องต่างๆคือ การจัดตังกองทุนหมู่บ้านและการพัฒนนากองทุนการของงบประมาณในระยะ 3 และงบประชารัฐ ในวงเงิน 1000,000 บาท เพื่อมาจัดทำด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
  • คณะกรรมการให้รับมอบถุงยังชีพจากอำเภอโครงของ ศอ.บต.โดยการคัดประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 10 รายโดยให้ศาสนามอบให้กับประชาชน
  • กำหนดแผนการจัดกิจกรรมการการคอนข้อมูลให้กับประชาชนรับฟัง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน เดือนละ1ครั้งเพื่อร่วมเรียนรู้วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนในการกำหนดกิจกรรม พร้อมทั้งร่วมคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชนตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนากิจกรรมโครงการครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานคณะกรรมการโดยใช้โทรศัพท์
  • จัดเตรียมข้อมูลด้านเอกสารการเงินและอื่นๆ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการรับทราบ
  • คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

 

35 37

17. จัดเวทีเพื่อถ่ายทอดและสื่อข้อมูลสู่สมาชิกในหมู่บ้าน

วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • พัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการการมีส่วนในการจัดการข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบัน1ชุด นำไปสู่การจัดทำแผนด้านความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชาชนร้อยละ 80 รับทราบถึงข้อมูล และปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และหมู่บ้านมีข้อมูลที่เป็นทุนชุมชนมาใช้ในการจัดทำแผนชุมชนนำไปสู่การแก้ปัญหาชี้แจงทราบถึงปัญหา ข้อมูล ด้านต่างๆ นำจัดหมวดหมู่ทั้ง 4 ด้านคือ 1.ด้านประวัฒิศาตร์ 2.ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ3.ข้อมูลด้านวัฒนธรรม 4.ข้อมูลด้านสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ตอบแบบสำรวจ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 75 วัยทำงาน ร้อยละ 20 อื่นๆ ร้อยละ 5
  • ปัญหาประชาชนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาในเรื่องเศษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพ รายได้ รายจ่าย เศรษฐกิจภายนอกในการส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว รองลงมาคือด้านปัญหาด้านสุขภาพเพราะกลุ่มผู้สูงอายุยังคงมีปัญหาเรื่องโรคเรื้อรังคือเบาหวาน และความดันโลหิต
  • ให้ประชาชนในหมู้บ้านรับรู้ถึงโครงการเพิ่มเติมจากภาครัฐ คือ การจัดตังกองทุนหมู่บ้านและการพัฒนนากองทุนการของงบประมาณในระยะ 3 และงบประชารัฐ ในวงเงิน 1000,000 บาท เพื่อมาจัดทำด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้านและงบกระตุ้นเศษฐกิขชุมชน 5,000,000 บาทซึ่งหมู่บ้านได้รับจัดสรรค์มาเพื่อดำเนินโครงการจำนวน 450,000 บาท ให้เสนอโครงการตกลงมีมติร่วมกันที่จะดำเนินจัดสร้างโครงซ่อมแซมห้องนำของมัสยิดเพื่อสาธารณะชุมชน
  • การจัดทำแผนที่เดินดินเพื่อนำแผนที่มาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของหมู่บ้านและพัฒนาไปสู่การจัดทำแผนหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชนโดยให้วิทยากรนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ คืนข้อมูลที่ได้ให้กับประชาชนในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำและคณะทำงานเพื่อออกแบบการจัดเวทีคืนข้อมูล
  • ประสานผู้ใหญ่หมู่ที่7 บ้านกะลาพอเป็นวิทยากรกระบวนการในการคืนข้อมูล
  • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
  • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
  • จัดเตรียมข้อมูลที่ผ่านจากเวทีวิเคราะห์เพื่อให้ทีมวิทยากรถ่ายทอดข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม

 

132 143

18. พบพี่เลี้ยง นัดตรวจเอกสารปิดงวดโครงการ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงตรวจเอกสารรายงานปิดโครงการงวดที่1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • พี่เลี้ยงได้ตรวจเอกสารบัญชี การบันทึกกิจกรรม ใบสำคัญรับเงินเพื่อจัดทำงานเอกสารรายงานปิดโครงการ และให้ไปแก้ไขเอกสารที่ไม่ถูกต้อง และมาส่งให้พี่เลี้ยงดูอีกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • นัดตรวจเอกสารส่งรายงานโครงการงวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นัดพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานการเงิน การบันทึกกิจกรรม จัดเตรียมเอกสารรายละเอียดการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง

 

3 3

19. พบพี่เลี้ยง ทำรายงานปิดงวดครั้งที่1

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง และตรวจเอกสารปิดโครงการ งวด 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้จัดทำรายงานในเวบไซต์ ได้ปรับแก้ให้เรียบร้อย และทำเสร็จ ส่วนเอกสารการเงินมีความถูกต้องและเรียบร้อย สามารถส่งให้ สจรส.ตรวจสอบและส่งรายงานได้ในวันพรุ่งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำรายงานปิดงวดครั้งที่1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำรายงานปิดงวดครั้งที่ 1 นำเอกสารการเงินที่ปรับแก้แล้วมาส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งให้ สจรส.ตรวจเอกสารในวันพรุ่งนี้

 

3 2

20. ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เอกสารใบเสร็จการเงินถูกต้อง เรียบร้อย สามารถทำรายงานเพื่อปิดงวดโครงการและส่งให้ สจรส.และคืนเงินเปิดบัญชี 100 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตรวจเอกสารจัดทำรายงานเพื่อปิดงวดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นำเอกสารการเงินในงวดที่ 1 ส่งให้ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่าย และตรวจสอบการเขียนรายงานในเวบไซต์

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 54 20                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 180,025.00 69,163.00                  
คุณภาพกิจกรรม 80 60                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.สถานที่ประชุมคับแคบอาศัยที่ประชุมเป็นลานหน้ามัสยิด

1.ห้องประชุมโรงเรียนอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

1.ต้องเช่าเต้นท์ในการทำกิจกรรมทุกครั้ง

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครั้งที่ 4 ( 3 มี.ค. 2559 )
  2. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 1 ( 25 มี.ค. 2559 )
  3. วิเคราะห์และประมวลความต้องการของชุมชนที่มีต่อการพัฒนา พร้อมทั้งประเมินศักยภาพและทุนทางสังคม ครั้งที่ 1 ( 28 มี.ค. 2559 )
  4. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 5 ( 30 มี.ค. 2559 )
  5. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 2 ( 1 เม.ย. 2559 )
  6. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 3 ( 8 เม.ย. 2559 )
  7. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 6 ( 10 เม.ย. 2559 )
  8. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 4 ( 15 เม.ย. 2559 )
  9. วิเคราะห์และประมวลความต้องการของชุมชนที่มีต่อการพัฒนา พร้อมทั้งประเมินศักยภาพและทุนทางสังคม ครั้งที่ 2 ( 19 เม.ย. 2559 )
  10. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 5 ( 22 เม.ย. 2559 )
  11. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 6 ( 27 เม.ย. 2559 )
  12. เรียนรู้ความสัมพันธ์ของชุมชนเพื่อสร้างความเอกภาพของชุมชนด้วยเครื่องมือผังเครือญาติ ครั้งที่ 1 ( 29 เม.ย. 2559 )
  13. เรียนรู้ความสัมพันธ์ของชุมชนเพื่อสร้างความเอกภาพของชุมชนด้วยเครื่องมือผังเครือญาติ ครั้งที่ 2 ( 30 เม.ย. 2559 )
  14. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 7 ( 2 พ.ค. 2559 )
  15. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพโดยปราชญ์ชุมชนพร้อมฝึกการทำปุ่ยหมักและน้ำหมัก ครั้งที่ 1 ( 17 พ.ค. 2559 )
  16. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพโดยปราชญ์ชุมชนพร้อมฝึกการทำปุ่ยหมักและน้ำหมัก ครั้งที่ 2 ( 18 พ.ค. 2559 )
  17. พัฒาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ ( 19 พ.ค. 2559 )
  18. บูโบซูรอสุขภาพสัมพันธ์ตามวิถีมุสลิมเพื่อสุขภาพและส่งเสริมภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้าน ( 23 พ.ค. 2559 )
  19. สร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 ( 7 มิ.ย. 2559 )
  20. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 7 ( 10 มิ.ย. 2559 )
  21. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 8 ( 17 มิ.ย. 2559 )
  22. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 9 ( 24 มิ.ย. 2559 )
  23. ลานมัสยิดศาสนานำชีวิตสร้างสัมพันธ์ชุมชน ครั้งที่ 10 ( 1 ก.ค. 2559 )
  24. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้ง 8 ( 2 ก.ค. 2559 )
  25. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 9 ( 17 ก.ค. 2559 )
  26. สร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 ( 20 ก.ค. 2559 )
  27. ปรึกษาพี่เลี้ยง ( 31 ก.ค. 2559 )
  28. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ(สภาอาซูรอเบอร์ซาตู)/ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 10 ( 5 ส.ค. 2559 )
  29. สร้างยุวจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 ( 10 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย ฮาฎอรอมี สะตา
ผู้รับผิดชอบโครงการ