แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดพื้นที่อาหารของชุมชน
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกยางพารา มีการปลูกร่วมยาง เช่น พืชประเภทไม้กินใบ กินยอด และไม้ใช้สอย - ร้อยละ 20 ของพื้นที่บ้าน มีการปลูกผักปลอดสารพิษ ,ผักสวนครัว เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน/แลกเปลี่ยน แบ่งปัน ในชุมชน - ร้อยละ 10 ของพื้นที่สาธารณะ เช่น ริมถนนทางเข้าหมู่บ้านมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยการปลูกต้นไม้ เช่น มะม่วงหิมพานต์,สะเดา ,มะขาม

 

 

1.มีครัวเรือน จำนวน 7 ครัวเรือนพื้นที่แปลงยางพาราแปลงยางพาราจำนวน 10 ไร่ ของพื้นที่สวนยางพารา มีการปลูกพืชแซม เช่น ไม้ใฝ่ตง ใฝ่กิมจู ผักเหรียงแต่จากที่ประสบปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ ทำให้พันธุ์ไม้ที่ปลูกมีการตายบ้างและอีก 5 ไร่ ซึ่งเป็นแปลงยางต้นเล็ก อายุยาง 1-3 ปี มีการปลูกปอเทือง เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด

2.พื้นที่ข้างบ้าน จำนวน 30 ครัวเรือน มีการปลูกผักสวนครัวกินเอง เช่น มะเขือ พริก ตะใคร้ พริกไทยตลอดจนพื้นทีถนนเข้าหมู่บ้านได้มีการปลูกถางหญ้า ปรับภูมิทัศน์ของชุมชนให้มีความปลอดภัยทางถนน

2 เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดแกนนำชุมชน จำนวน 30 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการที่เป็นทางการและไม่ทางการ 2. มีการประชุมประจำเดือนๆละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง และบันทึกการประชุมทุกครั้ง โดยการประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน 3. แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80และสภาผู้นำต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ

 

 

1.เกิดสภาผู้นำในการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 22 คนตลอดจนมีการปรึกษาหารือ มีวงคุยทุกเดิอน โดยมีรายงานผล และเรื่องแจ้งให้ทราบทั้งการดำเนินงานโครงการ และวาระอื่นๆของชุมชน

3 ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
ตัวชี้วัด : - ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 50 คน มีความรู้การทำบัญชีครัวเรือน สามารถลดรายจ่าย มีรายได้เพิ่ม (ดูจากบัญชีครัวเรือน) - ร้อยละ 50 มีกลุ่มทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ

 

 

1.มีความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 30 คน ที่เป็นแกนนำสามารถแลกเปลี่ยนกับครัวเรือนอื่นได้

2.ร้อยละ 50 มีกลุ่มทั้งหญิงและชาย ร่วมทำปุ๋ยชีวภาพ มีการแบ่งปันปุ๋ยไปใช้ เฉลี่ย 80-100 กก.ต่อคน ซึ่งมีการนำไปใช้แปลงเกษตร เช่น ไม้ผล นาข้าวแปลงผักแปลงแตงโม ทำให้เกิดรายได้ โดยเฉพาะการปลูกแตงโม ทำให้เกษตรกรมีรายได้ 10,000 บาท ต่อครัวเรือน ในฤดูกาลแตงโม ช่วยลดต้นทุนการผลิต และอาหารมีความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตแลผู้บริโภค

4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

1.มีการเข้าร่วมประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ และการบันทึกรายงานผลผ่านเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข โดยทีม สจรส.มอ. พี่เลี้ยงติดตามโครงการ จำนวน 5 ครั้ง

2.มีการจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ ในรูปแบบไวนิวส์ จำนวน 1 แผ่นป้าย รณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม