assignment
บันทึกกิจกรรม
งานสร้างสุขคนใต้3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้มีการประชุมวิชาการ นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ Innovation of Health Promotion (งานสร้างสุขภาคใต้ปี 2559)

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 2 ต.ต.2559 เวลา 16.00-18.00 น. มาจัดนิทรรศการและตกแต่งบู๊ท
  • วันที่ 3 ต.ค.2559 เวลา 09.00-18.00 น. เข้าร่วมกิจกรรมชมการแสดงโขน ของศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และร่วมกิจกรรมออกบู๊ท ขายสินค้า และ เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ และ นวัตกรรม จากชุมชนต่างๆ ที่ลานปัญญาสร้างสุข
  • วันที่ 4 ต.ค.2559 เวลา 09.00-18.00 น ร่วมกิจกรรมออกบู๊ท ขายสินค้า และ เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ และ นวัตกรรม จากชุมชนต่างๆ ที่ลานปัญญาสร้างสุข และ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนหัวข้อ สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสารธารณะ ณ ห้องประชุม4
  • วันที่ 5 ต.ค.2559 เวลา 09.00-12.00 น ร่วมกิจกรรมออกบู๊ท ขายสินค้า และ เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ และ นวัตกรรม จากชุมชนต่างๆ ที่ลานปัญญาสร้างสุข และเข้าร่วมรับฟังการสรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาพใต้ และเข้าร่วมพิธีปิดกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับความรู้ในการแลกเปลี่ยนกิจกรรมต่างๆ ระหว่างชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม เช่นในเรื่องของการออกแบบชุมชนในพื้นที่ของแต่ละชุมชนทีมีความแตกต่างกัน ในด้านต่าง ๆ เช่น พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม ทางด้านศาสนา และวัฒนธรรม แล้วสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับชุมชนของตัวเองได้ เพื่อให้เป็นชุมชนเข้มแข็งและน่าอยู่
  • ได้รับความรู้ทางด้านนวัตกรรม ของแต่ละชุมชน ซื่ง เกิดจากภูมิปัญญา จากการประดิษฐ์ของแต่ละพื้นที่ เช่น โมเดลการสร้างฝายน้ำมีชีวิต การออกแบบชุมชนให้เป็นพื้นที่อาหารของเครือข่ายอาหารของแต่ละพื้นที่ การเรียนรู้ทางด้านพลังงานเพื่อชีวิต 5 ฐานการเรียนรู้ และศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว
  • เกิดมิตรภาพและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นจากเครือข่ายระหว่างชุมชม และเครือข่าย ที่เข้ามาร่วมกิจกรรม
  • สามารถนำความรู้จากเครีือข่ายและชุมชนต้นแบบมาประยุกต์ในชุมชมของตัวเองได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนสมาชิกชุมชนโครงการซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงจำนวน 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมร่วมกับ สจรส.มอ. ในการเตรียมความพร้อมการจัดทำรายงานปิดโครงการ11 กันยายน 2559
11
กันยายน 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการบันทึกรายงานโครงการและการจัดทำเอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

09.00 น. ทีม สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง ร่วมกันตรวจดูรายงานในระบบเว้บไซต์ คนใต้สร้างสุข และเอกสารการเงินโครงการ ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการยังมีการบันทึกรายงานที่เนื้อหาให้มีการปรับอีกเล็กน้อย ส่วนเอกสารการเงินมีความเรียบร้อย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจในการจัดทำรายงานปิดงวด 2 และต้องนำเอกสารส่งในเดือนตุลาคม คือ รายงาน ส.3 รายงาน ส.4 และรายงานการเงิน ง.1 งวดที่ 2

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ ,ทีม สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แลกเปลี่ยน เรียนรู้ การจัดทำรายงานปิดงวด2 โดยทีม สจรส.มอ.11 กันยายน 2559
11
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อจัดทำข้อมูลรายงานในระบบweb site คนใต้สร้างสุข2.เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการในงวดที่ 2

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เวลา 09.10-16.30 พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลรายงานในระบบ Web Site คนใต้สร้างสุข

2.ตรวจสอบเอกสารการเงินในงวดที่ 2

3.จัดทำรายงานฉบับสมบรูณ์ รายงานการเงิน ง.1 ,รายงาน ส.3

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ดำเนินโครงการสามารถ Up Date ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน ก่อนที่จะส่งรายงานพร้อมปิดงวดที่ 2

  • มีความเข้าใจในการจัดทำเอกสารปิดงวด 2 รายงานการเงิน ง.1 งวด 2 .ส.3และส.4

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เข้าร่วมเวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการชุมชนซอยปลักควาย28 สิงหาคม 2559
28
สิงหาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การถอดบทเรียนการดำเนินโครงการซอยปลักควายเกาตรอินทรียืวิถีพอเพียง 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

13.00 น.นางสาวอมรรัตน์ ได้กล่าวเปิดประชุม และแนะนำวิทยากรถอดบทเรียนนางยุรี และนายประนอบ ตลอดจนตัวแทน สนง.สหกรณ์ควนเนียงที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยน ในวงของการแลกเปลี่ยนเปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นจากการดำเนินโครงการ  ในการทำกิจกรรมร่วมกันทำให้คนในชุมชนมีการแบ่งปัน ทั้งความรู้ ประสบการณ์ เกิดความสามัคคี คนในชุมชนรู้จักกันมากขึ้น ชุมชนมีคนเก่ง มีความรู้ หากใครจะไปเรียนรู้เรื่องอะไร ปราชญ์ชุมชนยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ เช่น การเลี้ยงผึ้งในลังไม้ การทำขนมไทย และการทำเกษตรอินทรีย์ (ทำปุ๋ยหมัก การตอนกิ่งพันธุ์มะนาว ผักเหรียง ) จึงสรุปได้ว่าชุมชนมีต้นทุนมากมายทั้งตัวคน ปราชญ์ชุมชน ที่ดินที่ทำกิน ซึ่งทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สภาผู้นำ และประชาชนวอยปลักควาย ประมาณ 100 คน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ ทำให้เกิดความรู้ที่สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงผึ้ง การทำขนม และการลดรายจ่าย โดยการทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เองในครัวเรือน  การร่วมกันทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อไปใช้ในการปลูกผัก  ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคี ความเอื้ออาทร และสามารถพึงตนเองได้ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • สภาผู้นำ
  • ประชาชน
  • ตัวแทนหน่วยงานในท้องถิ่น 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ถอดบทเรียน และการก้าวต่อไปของชุมชน28 สิงหาคม 2559
28
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

1.เพี่อให้เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง และเกิดการทบทวนกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทางชุมชนร่วมมือกันตั้งแต่เริ่มกิจกรรมแรกจนถึงกิจกรรมถอดบทเรียน

2.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา13.00 น. ลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนลังจากนั้นจึงส่งข้อมูลให้ น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ เพื่อเข้าสู่กิจกรรมถอดบทเรียนในลำดับถัดไป
  • เวลา 13.25 น. น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ กล่าวเปิดกิจกรรม โดยการขอบคุณพี่เลี้ยงโครงการ คือ นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี ที่เป็นผู้ผลักดันให้โครงการเริ่มต้นและดำเนินไปครบทุกกิจกรรม และแนะนำสภาผู้นำชุมชนคนปลักควายให้กับสมาชิก คือ นายผ่อง นวลละออ, นายพร้อม ทองเอื่อ, นายสัญญา ทองเอือ , นายณรงค์ สังฆะปาโน, นายนิวัฒ ปิยะพงษ์,นายประคอง เพรชพรหมศร,นายนิยม ศิริมุกศิกะ,นายสาธิต ทองอำพล(แทนนายผอบ ทองอำพล(ป่วย)),นายเวียน ธรรมรัตน์, น.ส.คะนึง ยิ้มเยื้อน,นางพิณ อุไรรัตน์,นางสาวอัมไพ ธรรมรัตน์,นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์,นายพิศาล ธรรมรัตน์,นางสาวทัศนีย์ ธรรมรัตน์ และผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
  • เวลา 13.15 น. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ กล่าวทักทายผู้ร่วมประชุมและแจ้งหัวข้อกิจกรรมถอดบทเรียน แนะนำวิทยากรที่มาร่วมถอดบทเรียนชุมชน จำนวน 2 ท่าน คือ นายประนอม คงสม วิทยากรคนที่1 และ นางยุรี แก้วชูช่วง วิทยากรคนที่ 2 และ ผู้สังเกตการณ์ นายสุทิศ พงษ์จีน ตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด มีการเปิด สไลต์พร้อมวิดีโอสรุปกิจกรรม ทั้ง 16 กิจกรรม

  • ขั้นตอนและกระบวนการถอดบทเรียน

นายประนอบ คงสม และนางสาวยุรี แก้วชูช่วง วิทยากรกระบวนการ การนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้คนในชุมชนได้ย้อนนึกถึง ประวัติของชุมชนซอยปลักควายจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

  • การแลกเปลี่ยน สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 1.นายสุุทิศ พงษ์จีน ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรควนเนียง ไ้ด้แสดงความคิดเห็น ว่า สิงที่เปลี่ยนแปลงคือ มีกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ มีการปรับระบบความคิดใหม่ในการพัฒนาอาชีพ และมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยหมักที่ทำกันเองในชุมชนมากขึ้น เนื่องจากคนในชุมชนซอยปลักควายเกือบ 100% เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง โดยสหกรณ์ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมคือ ให้สถานที่โรงปุ๋ยให้คนในชุมชนเข้าไปทำปุ๋ยไว้ใช้เอง ซื่งก็ได้สมาชิกเข้าไปทำปุ๋ยเยอะ รวมทั้งมีการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน เนื่องจากมีคนจากภายนอกเพิ่มปริมาณมากขคฃึ้นที่เข้ามาเที่ยวในชุมชนและเข้ามาซื้อของที่คนในชุมชนผลิตเอง ทำให้มีการกระจายรายได้ให้กับทุกคนในชุมชน แต่ปัญหาที่มีในชุมชน คือถนนแคบ
  1. นายนิยม ศิริมุกสิกะ ได้บอกว่า สิ่งที่ตัวเองเห็น คือ มีคนให้ความสนในเรื่องสมุนไพรที่ตัวเองทำมากขี้น เพราะเมื่อก่อนคนอื่นหรือคนภายนอกจะมองว่าตัวเองบ้า แต่พอเข้ามาร่วมโครงการ ตัวเองได้เป็นปราชญ์ชุมชน ้ด้านการเลื้ยงผึ้งจากลังไม้ และการปลูกพืชสมุนไพร มีคนเข้ามาศึกษาดูงานและเข้ามาเรียนรุ้ และเกิดการยอมรับมากขึ้น ตัวเองรู้สีกภูมิใจมาก รวมทั้งสามารถสอนคนในชุมชนให้ทำสมุนไพรใช้เอง ในส่วนตัวมีรายได้เสริมการขายน้ำผึ้งจากลังไม้ประมาณ ปีละ 6,000 บาท นอกเหนือจากตัดยางและทำนา และปัจจุบัน ก็ได้ทำปุ๋ยหมักใช้เองกับนาข้าวและ พืชผัก ผลไม้ที่ปลูกในสวน
  2. นายประคอง เพรชพรหมศร บอกว่าสิ่งที่ตัวเองได้รับคือ ความสามัตตีของคนในชุมชน หลังจากที่ห่างกันมานานที่เกิดจากวงคุยเวลามีกิจกรรม และผลผลิตทางการปลูกพืชผักได้ปริมาณและคุณภาพมากขึ้นหลังจากนำปุ๋ยหมักที่เข้ามาร่วมกิจกรรมไปใช้กับถัวฝักยาว รสชาดกรอบ อร่อย และ ฝักยาวมากๆ และปลูกแล้วมีที่ขายไม่ต้องกังวลเหมือนเมื่อก่น เพราะมีคนมาเที่ยวในชุมชนมากขึ้น
  3. นายสาธิต ทองอำพล บอกว่าตัวเองเข้ามาร่วมกิจกรรมเกือบทุกกิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย ค่าปุ๋ยได้มาก ทางโครงการได้สอนการทำปุ๋ยหมัก และได้นำไปใช้กับปาล์มน้ำมันที่ปลูกอยู่ หลังใช้แล้วปาล์มโตไวและไม่มีโรคและแมลงรบกวน ตอนนี้ตัวเองได้ทำปุ๋ยหมักใช้เองแล้ว
  4. นางจำเนียน เฉ่งฉิม ก็ได้บอกว่าสิ่งที่ตัวเองได้หลังจากมาร่วมทำกิจกรรมได้ทำฮอร์โมนไข่ให้ไก่และเป็ดกิน สิ่งที่ได้รับคือไก่และเป็ดตัวโต น้ำหนักดีมาก ขนไม่ร่วง รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องข้ออ่อน ได้ดี ทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่ายลงได้เยอะ
  5. นายพร้อม ทองเอื้อ กล่าวว่าในฐานะผู้นำชุมชนซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ก็ได้แสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่ได้รับคือ คนในชุมชนพูดคุยและลดช่องว่างระหว่างวัย และทำให้มีความสามัคคีกันมากขึ้น รวมถึงลดการเจ็บป่วยของคนในชุมชนได้เยอะขึ้น เนื่องจากปัจจุบันคนหันมาทำแนวเกษตรอินทรีย์ การใช้สารเคมี ประเภทยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงน้อยมาก การที่คนในชุมชนหันมาใช้ปุ๋ยหมักทำให้ดินดีขึ้น สภาพอากาศก็ดีตามไปด้วย รวมถึงการสอนการทำน้ำยาล้างจานและสบู่สมุนไพรใช้เองภายในครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นจริง
  • สรุปบทเรียนจากการทำงานโครงการ

จุดแข็ง
- มีการทำข้อมูลชุมชน พบว่า หนี้น้อย
- ชาวบ้านในชุมชนกินดีอยู่ดี มีหนี้สินน้อย มีการเก็บ-ออมเงิน - สิ้งที่ค้นพบ,เห็น คนในชุมชนใช้สีอได้ - ใช้ทุนชุมชน,คน,มั่นคง โดยคนใช้ความรู้จากพื้นที่ คนมีความเป็นอยู่พอเพียง มีจุดเรียนรู้ภายในชุมชนและบริเวณภายนอกชุมชน - วิถีการใช้สมุนไพร "ทำเป็น ใช้เอง"

จุดอ่อน

  • ถนนแคบ การเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังโครงการ
  • ความคาดหวัง ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และเกิดแกนนำชุมชนเข้มแข็ง

  • ก่อนเริ่มโครงการ

1.คนในชุมชนไม่มีการรวมกลุ่่ม(แยกกันทำงาน) ปลูกพืชเชิงเดี่ยว(ยางพารา) มีของขายจุดเดียวคือตลาดควนเนียงของล้นตลาด

  • หลังโครงการ
    1.เกิดความสามัคคี มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมมากขึ้น 2.สร้างอาชีพ สร้างภาคี กับกลุ่มสมุนไพรสปาฮาลาลของม.อ. มีอาชีพที่สร้างรายได้เสริม คือกลุ่มเลี้ยงผึ้ง งานปูนปั้นไม้เทียม ทำปุ๋ยหมักใช้เอง 3.มีตัวอย่างบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ เช่น ผลิตน้ำยาล้างจานใช้เอง ปลูกพืชร่วมยาง เลี้้ยงเป็ด ปลูกกล้วย(ผลใหญ่) ปลูกข้าว ปลูกปาล์มน้ำมัน ภาคีเครือข่าย
  • สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด เน้น กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ปรับวิธีคิด,ระบบคิด,อาชีพ,ทำตัวอย่างสินค้าชุมชน,มีคนมาเยี่ยมชมและดูงานเยอะกว่าเดิม
  • กลุ่มสมุนไพรสปาฮาลาล ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร
  • กลุ่มเครื่องแกง รับซื้อวัตถุดิบผลิตเครื่องแกง
  • วิทยาลัยชุมชน มาสอนการทำขนมและน้ำดื่มสมุนไพรจากท้องถิ่น
  • อบต.ควนโส เชิญตัวแทนชุมชนเป็นวิทยากรสอนการผลิตปุ๋ยหมักให้ใช้ในครัวเรือน
  • เทศบาลบางเหรียง เชิญปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรเรื่องกินเป็นลืมป่วยจากสมุนไพรในท้องถิ่น
  • โรงเรียนควนเนียงวิทยา เชิญปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรเรื่องการทำสบู่สมุนไพรในท้องถิ่น
  • เทศบาลคลองแห เชิญชุมชน ออกบู๊ทขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนงานเทศบาลบริการประชาชน ประจำปี 2559
    เวลา 15.00 น.ปิดกิจกรรมการถอดบทเรียน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
- ประชาชนในซอยปลักควาย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการฯ จำนวน 100 คน

ผลผลัพธ์ กิจกรรมถอดบทเรียน ทำให้คนในชุมชนเห็นสถานการณ์ของชุมชน

  • ก่อนเริ่มโครงการ 1.คนในชุมชนไม่มีการรวมกลุ่่ม (แยกกันทำงาน) ปลูกพืชเชิงเดี่ยว(ยางพารา) มีของขายจุดเดียวคือตลาดควนเนียงของล้นตลาด

  • หลังโครงการ
    1.เกิดความสามัคคี มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมมากขึ้น 2.สร้างอาชีพ สร้างภาคี กับกลุ่มสมุนไพรสปาฮาลาลของม.อ. มีอาชีพที่สร้างรายได้เสริม คือกลุ่มเลี้ยงผึ้ง งานปูนปั้นไม้เทียม ทำปุ๋ยหมักใช้เอง 3.มีตัวอย่างบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ เช่น ผลิตน้ำยาล้างจานใช้เอง ปลูกพืชร่วมยาง เลี้้ยงเป็ด ปลูกกล้วย(ผลใหญ่) ปลูกข้าว ปลูกปาล์มน้ำมัน 4.เกิดภาคีเครือข่าย

  • สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด เน้น กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ปรับวิธีคิด,ระบบคิด,อาชีพ,ทำตัวอย่างสินค้าชุมชน,มีคนมาเยี่ยมชมและดูงานเยอะกว่าเดิม
  • กลุ่มสมุนไพรสปาฮาลาล ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร
  • กลุ่มเครื่องแกง รับซื้อวัตถุดิบผลิตเครื่องแกง
  • วิทยาลัยชุมชน มาสอนการทำขนมและน้ำดื่มสมุนไพรจากท้องถิ่น
  • อบต.ควนโส เชิญตัวแทนชุมชนเป็นวิทยากรสอนการผลิตปุ๋ยหมักให้ใช้ในครัวเรือน
  • เทศบาลบางเหรียง เชิญปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรเรื่องกินเป็นลืมป่วยจากสมุนไพรในท้องถิ่น
  • โรงเรียนควนเนียงวิทยา เชิญปราชญ์ชุมชนเป็นวิทยากรเรื่องการทำสบู่สมุนไพรในท้องถิ่น
  • เทศบาลคลองแห เชิญชุมชน ออกบู๊ทขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนงานเทศบาลบริการประชาชน ประจำปี 2559
    5.มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
  • วิธีคิดของชุมชน คือ มีการทำแปลงเกษตรปลอดสารพิษ หรือเกษตรอินทรีย์ เกิดการต่อยอดและขยายผล
  • การปฏิบัต มีการแลกเปลี่ยนใช้ทุนจากความรู้ของคนในชุมชนสู่การพัฒนา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในชุมชน ชาย-หญิง 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ย้อนอดีต ตามรอยเส้นทางวิถีชุมชน คนปลักควาย( ลงพื้นที่เก็บข้อมูล)29 กรกฎาคม 2559
29
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนเข้มแข็งเห็นความแตกต่างของวิถีการทำเกษตรของชุมชน2.เพื่อจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.แกนนำชุมชน และเด็ก เยาวชน ลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครั้งที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจชุมชน โดยเด็ก เยาวชน /คณะทำงานโครงการ โดยวิธีการสัมภาษณ์ครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือน

  • ครั้งที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูล วิทยากรกระบวนการคุณประนอบ คงสม วิทยากรกระบวนการ อ.ควนเนียงแกนนำชุมชน สรุปข้อมูลที่ได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล ซื่งผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลดังนี้ จากการสำรวจข้อมูลชุมชนประชากร 35 หลังคาเรือน ได้ข้อมูลดังนี้ ประชาชนในชุมชน ประกอ

กราฟแสดงสถิติของการเก็บข้อมูลชุมชนซอยปลักควาย จากชุมชน 50 ครัวเรีอน
- อาชีพ การประกอบ อาชีพ การใช้สารเคมี ปลูกพืชแซม หนี้สิน เงินออม 100.00% 100.00%100.00%100.00%100.00%

  • ทำนา/ตัดยางอาชีพ 80.00% การใช้สารเคมี 5.71% ปลูกพืชแซม 68.57% หนี้สิน 11.43%เงินออม 68.57%

  • ตัดยางอาชีพ 8.57% การใช้สารเคมี 2.86% ปลูกพืชแซม 5.71% หนี้สิน 2.86%เงินออม 8.57%

  • พนง.รัฐวิสาหกิจ อาชีพ2.86% การใช้สารเคมี 0.00% ปลูกพืชแซม 0.00% หนี้สิน 2.86%เงินออม 0.00%

  • ลูกจ้างรพ.เอกชนอาชีพ5.71% การใช้สารเคมี 0.00% ปลูกพืชแซม 0.00% หนี้สิน 5.71% เงินออม 0.00%

  • ลูกจ้าง บ.เอกชนอาชีพ2.86% การใช้สารเคมี 0.00% ปลูกพืชแซม 0.00% หนี้สิน 2.86%เงินออม 0.00%

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในชุมชน ชาย-หญิง จำนวน 40 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบชุมชนน่าอยู่23 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเก็บข้อมูล ชุดความรู้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายถนอม ขุนเพชร วิทยากรกระบวนการถอดบทเรียน สัมภาษณ์ นางสาวอมรรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการและนายสนธุิ์ มรรมรัตน์ ซึ่งเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งมีกิจกรรมที่มีการดำเนินงานในพื้นที่ชุมชนทำให้คนในชุมชนได้รับผลประโยชน์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เช่น การจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน และมีการประชุมประจำเดือน ทำให้คนในชุมชนได้มีพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสถานการณ์ปัญหาของคนในชุมชน กิจกรรมย้อนรอยอดีตคนปลักควาย ที่เป็นการให้เด้ก เยาวชน สืบค้นข้อมูลของชุมชน โดยมีแกนนำ และประชาชนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เล่าเรื่องราวให้เด็ก ๆฟัง มีการรื้อฟื้นการทำบุญซอยปลักควาย ซึ่งได้ห่างหายไป แต่เมื่อมีการทำโครงการ แกนนำชุมชนและประชาชนได้ร่วมกันรื้อฟื้นกิจกรรมทำบุญซอยขึ้นมาใหม่ ทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคีกันมากขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบดครงการ นางสาวอมรรัตน์ และคณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คน สามารถถ่ายทอดเรื่องราวในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน โดยมีคุณถนอม ขุนเพชร วิทยากรกระบวนการได้คอยป้อนคำถาม ทำให้เห็นว่าะโครงการสามารถสร้างการเรียนรู้ และเกิดประโยชนืต่อคนในท้องถิ่น ตลอดจนสามารถขยายผลไปยังหน่วยงานในท้องถิ่นเข้ามาหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และวิทยากรกระบวนการถอดบทเรียน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แกนนำชุมชน เด็กเยาวชน ประเมินครัวเรือนต้นแบบหน้าบ้าน หน้ามอง23 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อลดรายจ่าย เพื่มรายได้ และเกิดพื้นที่อาหารของชุมชน2.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดระเบียบ ความสะอาดภายในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เวลา 11.30 น. มีการประชุมกับคณะกรรมการชุมชนในกาลลงพื้นที่ตรวจหน้าบ้านหน้ามอง โดยแยกประเภทบ้านออกเป็น 4 ประเภท

ประเภทที่ 1 บ้านสวนสมุนไพร

ประเภทที่ 2 บ้านสวนสวยงาม

ประเภทที่ 3 บ้านผักสวนครัวรั้วกินได้

ประเภทที่ 4 บ้านสวนป่าร่มรื่น

  • วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 ทางทีมกรรมการชุมชน แบ่งเป็น 4 สายลงพื้นที่ตรวจตามประเภทบ้าน และติดตามให้กำลังใจเจ้าของบ้าน พร้อมนำผลการตรวจมาตัดสินใจการให้รางวัลเจ้าของบ้าน

สายที่ 1 บ้านสวนสมุนไพร นำตรวจโดย น.ส.ทัศนีย์ ธรรมรัตน์

สายที่ 2 บ้านสวนสวยงาม นำตรวจโดย น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์

สายที่ 3 บ้านผักสวนครัว นำตรวจโดย น.ส.วลัยลักษณ์ สุวรรณมณี

ประเภทที่ 4 บ้านสวนป่าร่มรื่น นำตรวจโดย นายสาธิต ทองอำพล

  • วันที่ 28 สิงหาคม 2559 เวลา 13.30 น.ประกาศผลรางวัลหน้าบ้านหน้ามองในวันถอดบทเรียนก้าวต่อไปของชุมชน ตามประเภทบ้านที่ไปตรวจประเมินดังนี้

ประเภทบ้านสวนสมุนไพร

รางวัลที่ 1 นายนิยม ศิริมุกศิกะ

ประเภทบ้านสวนสวยงาม
รางวัลที่ 1 นายพันธ์ ธรรมรัตน์

รางวัลที่ 2 นางสาวถนอม สุวรรณมณี

รางวัลที่ 3 นางสาวอนิศา สุขธานี

ประเภทบ้านบ้านผักสวนครัว

รางวัลที่ 1 นายสาธิต ทองอำพล

รางวัลที่ 2 นายนิวัตร ปิยะพงษ์

รางวัลที่ 3 นายประคอง เพรชพรหมศร

ประเภทบ้านป่าร่มรื่น

รางวัลที่ 1 นายพร้อม ทองเอื้อ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีจำนวนครัวเรือน 8 หลัง ที่เป็นต้นแบบครัวเรือนตัวอย่างในการจัดพื้นที่ในบริเวณบ้านของตนเองในรูปแบบต่างๆเช่น 1) บ้านสวนสมุนไพร 2)บ้านสวนสวยงาม 3)บ้านผักสวนครัวรั้วกินได้ 4)บ้านสวนป่าร่มรื่น

ผลลัพธ์

1.เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนในการทำหน้าบ้านให้น่ามอง อย่างน้อย 80 ครัวเรือน

2.ภูมิทัศน์ของชุมชนมีความสะอาดน่าอยู่ น่ามอง เช่น บริเวณบ้านเรือน ,ถนนทางเข้าหมู่บ้าน

3.ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่มาจากยุงลาย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มผู้หญิง 30 คน
  • กลุ่มวัยทำงาน 50 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการฯ ร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม23 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจในตนเอง /กลุ่ม/ชุมชน และเห็นลำดับขั้นตอนของการพัฒนาก่อนเริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน และเกิดแกนนำชุมชนเข้มแข็ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุม เวลา 09.00 น. โดยนายถนอม ขุนเพรช วิทยากรโครงการ สัมภาษณ์ นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ เกี่ยวกับประวัติการทำโครงการซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงว่ามีการเกี่ยวข้องกับชื่อโครงการได้อย่างไร  นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ เริ่มเล่าประวัติความเป็นมาของตัวเองโดยบอกว่าตั้งแต่ตัวเองเป็นเด็กและจำความได้ก็เห็นพ่อกับแม่ทำนาแบบใช้วัวไถนา และใช้ขี้วัวผสมกับไม้ยาภูเขา(ปู๋ยจากภูเขา)มาผสมกันและขุดหลุมเล็กที่บนคันนาเพื่อเป็นที่เก็บปุ๋ย หลังจากนั้นได้ใช้รากตั้นกล้าจุ่มลงไปในหลุมปุ๋ยที่ขุดไว้ ก็จะได้ปู้ยที่กับรากของต้นกล้าก่อนปักดำ เมือผ่านฤดูกาลทำนา จนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว พ่อกับแม่ไม่เคยซื้อปู๋ยเคมมีมาใช้เลย ได้ข้าวที่ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยในปริมาณที่เยอะ ประโยชน์ ดินไม่เสื่อมและระบบนิเวศน์ก็ยังความธสรรมชาติอยู่เหมือเหมือนเดิม คนสมัยก่อนเป็นสังตมพึ่งพาอาศัยร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียกว่าปันกันกินแบ่งกันใช้ เป็นวิถีชีวิตที่มีความเป็นอยู่แบบพอเพียง ซึ่งสังคมปัจจุบันแทบจะไม่เหลือวิถีชุมชนหลงเหลืออยู่อีกแล้ว ตนเองและสมาชิกในชุมชนจีงอยากจะรื้อฟื้นวิถีชุมชนสมัยก่อนกกลับมาอีกเพื่อไม่ให้เลือนหาย จึงเกิดแนวคิดใช้โครงการเกษตรวิถึพอเพียงเป็นแนวคิดขับเคลื่อนเกิดขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เด็ก เยาวชน แกนนำชุมชน มีความรู้เกียวกับวิถีชีวิตของชุมชนสมัยเก่อน

2.คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจในตนเอง /กลุ่ม/ชุมชน ที่ได้มีอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และทำใ้ห้มีการร่วมกับรื้อฟื้นประเพณีดั้งเดิมในอดีตกลับมาใช้ไม่เลือนหาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  1. นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ผู้ดำเนินโครงการ
  2. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ แกนนำเด็กและเยาวชน
  3. นางสาวทัศนีย์ ธรรมรัตน์ สมาฃิกในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล22 กรกฎาคม 2559
22
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และทำให้คนในชุมชนรู้จักวิธีการลงบัญชี่ที่ถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น.ประชุมให้ความรู้การทำบัญชีครัวเรือน โดย นายผ่อง นวลละออ ตำแหน่ง ครูบัญชีครัวเรือนสหกรณ์การเกษตรควนเนียงอำเภอควนเนียง

วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 มีการพัฒนาเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลครัวเรือน โดยเด็กเยาวชน/คณะทำงาน โดยมี ครูบัญชีครัวเรือนควนเนียงเป็นพี่เลี้ยง วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 ลงพื้นที่สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนโดยการตรวจสอบการบันทึกข้อมูลบัญชีครัวเรือนของแต่ละชุมชน ตามแบบฟอร์มพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปบัญชีครัวเรือนของคนที่ทำบัญชีเป็นประจำสม่ำเสมอ

วันที่ 26 สิงหาคม 2559 มอบเกียรติบัตรและรางวัลให้กับครัวเรือนต้นแบบ ผู้ที่ได้รับรางวัล มี คือ นายเจษฎา ทองเอื้อ และ นางสาวทัศนีย์ ธรรมรัตน์ นางสาววลัยลักษณ์ สุวรรณมณี นางสาวถนอม สุวรรณมณี นางสาวพร สุขพรหม  ที่มีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและมีความถูกต้อง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับครัวเรือนอื่นในชุมชนในวันสรุปปิดโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลังจากที่ได้สรุปข้อมูลก่อนและหลังการทำกิจกรรมบันทึกบัญชีครัวเรือนสรุปข้อมูลที่ได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล ซื่งผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลดังนี้

กราฟแสดงสถิติของการเก็บข้อมูลชุมชนซอยปลักควาย จากชุมชน 50 ครัวเรีอน
- อาชีพการประกอบอาชีพ 100.00% หนี้สิน 100.00% เงินออม 100.00%

  • ทำนา/ตัดยางการประกอบอาชีพ 80.00%หนี้สิน11.43%เงินออม 68.57%

  • ตัดยางการประกอบอาชีพ 8.57% หนี้สิน2.86%เงินออม 8.57%

  • พนง.รัฐวิสาหกิจ การประกอบอาชีพ 2.86% หนี้สิน2.86% เงินออม 0.00%

  • ลูกจ้างรพ.เอกชน การประกอบอาชีพ 5.71%หนี้สิน5.71%เงินออม 0.00%

  • ลูกจ้าง บ.เอกชนการประกอบอาชีพ 2.86%หนี้สิน 2.86%เงินออม 0.00%

  • เกิดบุคคลต้นแบบในการลงบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มมีการลงบันทึกบัญชีตั้งแต่เดือน มกราคม-กันยายน 2559 ตามรายชื่อของสมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกกรรม คือ 1.นายเจษฎา ทองเอื้อ
    2.นางสาวทัศนีย์ ธรรมรัคน์) 3.นางสาววลัยลักษณ์ สุวรรณมณี 4.นางสาวถนอม สุวรรณมณี 5.นางสาวพร สุขพรหม

  • หลังจากมีการลงบัญชีแล้วทุกคนมีความเข้าใจเกียวกับการลงบัญชีและเห็นความสำคัญของการทำบัญชีครัวเรือนมากขึ้น โดยสามารถแบ่งประเภทของรายรับ-รายจ่าย อย่างชัดเจน เช่น

  1. รายรับทั้งหมด เกิดจากที่มา2ทางคือ

- รายรับจากการประกอบอาชีพ และ
- รายรับอื่นๆที่นอกเหนือจากการประกกอบอาชีพ

  1. รายจ่าย มี 2 แบบ คือ 2.1 รายจ่ายที่เกิดจากการประกอบอาชีพ และ รายจ่ายจากการซื้อทรีพย์สิน 2.1 รายจ่ายที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าของใช้ ค่าน้ำมันรถ ค่าน้ำไฟและค่าโทรศัพท์ ค่าเงินกู้ และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
    ซึ่งเมื่อมีการสัมภาษณ์ความเข้าใจและความสนในการบันทึกประจำวันทุกคนให้ความสนใจ พร้อมทั้งสามารถวางแผนการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับตัวเองได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาเงินไม่พอใช้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน ชาย-หญิง 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน ก.ค.5916 กรกฎาคม 2559
16
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

  เพื่อให้เกิดสภาชุมชนที่ผู้นำชุมชน มีภาวะความเป็นชุมชนเข้มแข็งและมีการปรึกษาหารรือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 11.00-11.10 น.ลงทะเบียน สมาชิกสภาผู้นำชุมชน
  • เวลา 11.10-12.00 น. เริ่มเข้าสู่วาระที่ประชุม โดย น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการประชุมของ สสส.ผ่านสภาผู้น้ำมาแล้วทั้งหมด 9 ครั้งโดยมีการประชุม เดือนละ 1 ครั้ง เริมตั้งแต่ เดือน ตุลาคม2558-เดือน มิถุนายน 2559 และครั้งนี้ วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เป็นครั้งที่ 10 โดยรายงานผลการประชุมทั้งหมด ได้ทำกิจกรรมไปเกือบจะถึงเป้าหมายปลายทาง แล้วโดยแจ้งกิจกรรมที่เหลือคื่อ
  1. กิจกรรมย้อนร้อยอตีดชุมชนชนคนปลักควาย ในส่วนขั้นตอนการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
  2. กิจกรรมหน้าบ้านน่ามอง 3.ถอดบทเรียน
  3. คนใต้สร้างสุข มติที่ประชุม สมาชิกรับทราบและรับรองที่ประชุม

- วาระที่ 2 น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ แจ้งความคืบหน้า เกี่ยวกับเรื่องการปลูกพืชสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ ซื่งทางกระทรางเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา มีความสนใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพร ในการนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเครื่องแกง โดยมีการประสานงานกันโดยผ่าน กระทราวงวิทยาศาสตร์เป็นผู้ประสานงานที่กลุ่มสมาชิกเพื่อสะดวกในการประสานงานกันโดยมีรายละเอียดดังนี้้
ข้อมูลที่จะส่งให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 14 ก.ค. 2559 1.ชื่อกลุ่ม ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง
2.สมาชิก 9 คน 3.พื้นที่ 16 ไร่ 4.ชนิดของพืช
4.1 ตะใคร้ 1/2 ไร่(ประมาณ 1,000 กอ) อยู่ระหว่างการปลูก 4.2 ข่า 3 ไร่ แยก2 ชนิดข่า
- ขาตาแดง ใหญ่ 2 ไร่ - ข่าป่า 3 ไร่ 4.3 พริกไทยดำ 1 ไร่(อยู่ระหว่างการปลูก) 4.4 พริกสด 0 ไร่ 4.5 พืชเกษตรผสมผสาน – มะนาว 3 ไร่ (อยู่ระหว่างการปลูก) - ไพร 2ไร่(อยู่ระหว่างการปลูก) - ดาหลา2 ไร่(กำลังรอต้นพันธุ์)

  1. ฐานอินทรีย์เดิม
    5.1 ทำปุ๋ยหมักใช้เอง โดยใช้จุลินทรีย์ ท้องถิ่นเป็นตัวย่อย มี 2 ชนิด

- ปุ๋ยหมักแห้ง สูตรปุ๋ยหมักเงินล้าน สูตร เอ็กชั่น - ปุ๋ยหมักสูตรน้ำ เช่น อาหารจานด่วนสูตรเอ็กซ์ตร้า และฮอร์โมนไข่ซุปเปอร์ 5.2 ไม่ใช้สารเคมี สำหรับพืช และดิน เช่น ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืช

6.สิ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ได้การรับรอง 6.1 แนวกันชน 6.2 สระเก็บน้ำ 6.3 การประสานงานในการเตรียมข้อมูลการขอรับรองเกษตรอินทรีย์

7.เป้าหมาย 7.1 เชื่อมโยงกลุ่มเครื่องแกงผลิตภัณฑ์เครื่องแกง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการประชุมประจำเดือน โดยมีสภาผู้นำ และคนในชุมชนเข้าร่วม ร้อยละ 80 โดยมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
  • น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ได้ทำการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการประชุมของ สสส. โดยรายงานผลการประชุมทั้งหมด และแจ้งกิจกรรมที่เหลือ
  • กระทรางเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา มีความสนใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพร ในการนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเครื่องแกง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • อสม.2 คน
  • กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง 2 คน
  • ปราชญ์ชุมชน 5 คน
  • ตัวแทนหมู่บ้าน 13 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ศึกษาดูงาน เกษตรธาตุ 43 กรกฎาคม 2559
3
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้สมาชิกได้เห็นรูปแบบการปลุกพืชในรูปแบบ 4 ชั้นและการปลูกผักเหรียงแซมยาง ซึ่งเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรดินเพื่อให้แกนนำได้นำมาปรับใช้ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มการทำกิจกรรม

  • เวลา 11.00-11.15 น. สมาชิกลงทะเบียน และขึ้นรถเดินทางศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรธาตุ4 ณ.สวนปะหรน ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

  • เวลา 11.15-11.30 น. รับประทางอาหารว่าง ระหว่างเดินทาง

  • เวลา 12.15 น. ถึงศูนย์การเรียนรู้เกษตรธาตุ4 รับประทานอาหารเที่ยง

  • เวลา 12.45-13.00 น. เริ่มกิจกรรมโดย นางสาวอมรรัตน์ ตัวแทนกลุ่มผู้ดำเนินโครงการ แนะนำตัวและแนะนำคณะกลุ่มซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงที่ร่วม มาที่ศูนย์เรียนรู้ และแจ้งวัตถุประสงค์ในการเข้ามาศึกษาดูงานในครั้งนี้ และได้เชิญวิทยากร นายอภินันต์ หมัดหลี หัวหน้ากลุ่มศูนย์เรียนรู้เกษตรธาตุ 4 มาบรรยายและแนะนำสถานที่ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางศูนย์ ดำเนินกิจกรรมอยู่

  • เวลา 13.00-13.30 น.นายอภินันต์ หมัดหลี (บังนัน)วิทยากร ศูนย์เรียนรู้เกษตรธาตุ 4 เล่าประวัติความเป็นมาของ จุดเด่นของศูนย์ฯ วิถีธรรมชาติเกษตรธาตุ 4 สวนสังคมพืช 12 ชั้น การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การแปรรูปสมุนไพร พฤกษา ศาสตร์ชุมชน การตีผึ้งเชิงอนุรักษ์การแพทย์แผนไทย การจักรสาน และการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้าเขาพระ ปัจจุบันตนเองได้สืบทอดและพัฒนาเกี่ยวกับการทำ เกษตรกรรมวิถีเกษตรธาตุ 4 ของบิดา (นายหรน หมัดหลี ปราชญ์ชาวบ้านปี 2551) ในการพัฒนาแปลงเกษตรเป็นสวน 12 ชั้น ซึ่งเป็นตัวอย่าง ในการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันแปลงเกษตรดังกล่าวเป็น แหล่งศึกษาดูงานของเกษตรกรทั่วไปที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทา การเกษตร นอกจากนี้ ได้ร่วมจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษุ์พื้นที่ต้นน้า เขาพระและส่งเสริมกลุ่มสตรีก้าวหน้าเพื่อดาเนิน กิจกรรมด้านการแปรรูปสมุนไพร และการเพาะพันธุ์กล้าไม้เพื่อจำหน่าย รางวัลเชิดชูเกยีรติที่เครือข่ายเคยได้รับ - ปี 2551 รางวัลดีเด่นการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ
    ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ฯ ที่ตั้ง 13/1 บ้านนบนควน ม.6 ถนนยนตรการกำธร ตำบลเขาพระอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์ฯ ศูนย์เรียนรู้ครูปัญญาไทเกษตรธรรมชาติธาตุ 4และได้นำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาศึกษาวิเคราะห์กับข้อมูลชุมชน จนสามารถรวบรวมภูมิปัญญาชุมชนและนำ ไปประยกุต์ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ได้เล่าต่อว่า ป๊ะหรนมีลูก 11 คนตัวเองเป็นลูกชายคนโต ป๊ะหรน ได้จากโลกนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา แต่ได้สร้างคุณงามความดีไว้มากมายทิ้งไว้ จนลูกหลานไม่อาจไม่สานต่อเจตนารมณ์ เมื่อ 40 ปีที่แล้วมาแต่เดิมทำความเข้าใจยาก แต่ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว ตนเองพยายามบอกคนให้รู้จักพืชทุกชนิด ให้ชิมรส ซึ่งการรู้จักธาตุง่ายนิดเดียว ถ้ารสฝาดหรือขมจัดนี่เป็นธาตุดิน ผลไม้ที่ชิมแล้วจืดเป็นธาตุน้ำถ้ารสเฝื่อนเป็นธาตุลม ถ้ารสเผ็ดร้อน เช่นพริก ขมิ้น นี่เป็นธาตุไฟ แต่พริกจะมีธาตุดินปนด้วย" ปัจจุบัน ตนเอง และลูกๆป๊ะสืบทอดแนวคิดธาตุ 4 ได้แล้ว ในหมู่บ้านก็ตั้งมูลนิธิเรียกเด็กๆมาอบรมให้รู้จักพืชผักพื้นบ้าน อบรมชาวบ้านให้ทำเกษตรผสมผสานรู้จักปลูกและแปรรูปผลิตภัณท์จากพืชสมุนไพรทีมีอยู่แล้วภายในสวน เช่น การทำแชมพูย่านสะบ้า จากย่านสะบ้า การทำยางหม่อง จาก ไพรดำ การทำสบู่จากต้นสาบเสือ และพืชพื้นบ้านมากขึ้น แล้วทำหนังสือถึงโรงเรียนให้นำนักเรียนมาเรียนเรื่องเกษตรผสมผสาน ให้เข้าใจสิ่งแวดล้อม ป๊ะก็เป็นวิทยากรและยังสอนชาวบ้านให้หยุดทำลายป่าด้วย" และตอนนี้ตนเองและลูกๆ ทุกคนของป๊ะสืบทอดต่อด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ มีการ อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การทำกลุ่มออมทรัพย์ การในด้านการเกษตรที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ แนวทางของป๊ะหรน ตอบโจทย์ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และยั่งยืนอย่างแท้จริง เช่น การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก แต่ขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุนได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและวิถีชีวิตที่พึ่งพาอาศัยกัน เป็น
แนวทางดังกล่าว ถูกนำไปใช้ซ้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยกลุ่มคนที่เข้ามาศึกษาดูงาน หรือเข้าอบรมต่างๆที่จัดขึ้นตั้งสมัยปะหรนยังอยู่ ป๊ะหรน ได้ศึกษาการปลูกพืชผลที่ต่างชนิดกันมาไว้รวมกันในหลุมเดียว โดยค้นพบว่าต้นไม้ก็มีธาตุ ธรรมชาติเช่นเดียวกับธรรมชาติของมนุษย์ ที่มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ หากธาตุทั้งสี่ในร่างกายมนุษย์มีความสมดุลก็จะเจริญแข็งแรง ซึ่งต้นไม้ก็จะ มีลักษณะเช่นเดียวกัน
เมื่อค้นพบแล้ว จึงใช้ความรู้เรื่องธาตุ 4 มาเป็นหลักในการคัดเลือกพืชที่มีลักษณะเข้ากันได้มาปลูกได้ด้วยกันเพื่อให้ เกิดการพึ่งพาอาศัยระหว่างไม้ต่างชนิด เมื่อไม้แต่ละชนิดไม่ทำลายกันเองก็ได้ดอกผลที่อุดมสมบูรณ์
วิธีการที่จะรู้ได้ว่าต้นไม้แต่ละชนิดมีธาตุประเภทใดมาก คือ นำส่วนใดส่วนหนึ่งของลำต้นมาเคี้ยว ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่จะมีรสมากกว่าหนึ่งรส เช่น ในการเคี้ยวครั้งแรกจะได้รสฝาด แต่เมื่อเคี้ยวไปสักพักจะออกรสหวานหรือจืด เป็นต้น สำหรับไม้ที่มีรสฝาดเท่ากับมีธาตุลม รสจืดจะเป็นธาตุน้ำ รสเผ็ดหรือร้อนจะเป็นธาตุไฟ เช่น ยางพาราจะมีธาตุไฟมาก และกล้วยจะมีธาตุน้ำมาก เป็นต้น
แน่นอนว่าต้นไม้แต่ละชนิดจะมีธาตุที่ต่างกัน บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า พืชทุกชนิดประกอบด้วยทั้งธาตุ 4 แต่จะมีไม่เท่ากัน และถ้ามีธาตุตรงกันข้ามกันก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพราะพืชแต่ละชนิดมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น พืชที่มีธาตุน้ำมากจะต้องปลูกร่วมกับพืชที่มีธาตุไฟมาก เพื่อให้เกิดดุลยภาพ และทำให้พืชแต่ละชนิดออกดอกออกผลเต็มที่
“เกษตรธาตุ 4” เป็นเกษตรธรรมชาติ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ส่งผลดีต่อสุขภาพ ธรรมชาติ และผู้บริโภคอย่างยั่งนืน
- เวลา 13.00-14.45 น.นายบีลอม หมัดหลี (บังสร) ได้พาคณะไปเดินเยี่ยมชม สวนปะหรน โดยแนะนำว่า สวนมีพื้นที่ 19 ไร่ แยกเป็น 2 ส่วนคือ - เนื้อที่ 14 ไร่ จ สวนยาง สวนผลไม้ และ ปลูกพืชผสมผสาน พืชแซมยาง บ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด
- เนื้อที่ 5 ไร่ สำหรับปลูกไม้ป่ายืนต้น
โดยพื้นที่ทั้ง 2 จุด จะไปจรด กับป่าต้นน้ำ คลองรำแชงที่อุดมสมบูรณ์มาก

  • เวลา 14.45-15.00 น.คณะมารวมกันที่อาคารเรียนรู้ และนายอภินันต์ หมัดหลี (บังนัน)วิทยากร ได้สรุปกิจกรรมทั้งหมดให้ทางคณะซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเองให้อยู่รอดภายใต้วิถีธรรมชาติ โดยได้รับความสนใจและประทับใจในการเดินทางในครั้งนี้ของกลุ่มเป็นอย่างมาก

  • เวลา 15.00 น. ปิดการเยี่ยมชมศึกษาดูงาน โดย บังนัน ศูนย์การเรียนรู้เกษตรธาตุ4 สมาชิกขึ้นรถเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชร่วมกันในรุปแบบ 4 ชั้น  ผักเหรียงแซมยางและสามารถนำมาใช้ในแปลงตนเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน ในชุมชน 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรม "การเลี้ยงผึ้งจากลังไม้"30 มิถุนายน 2559
30
มิถุนายน 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเลี้ยงผึ้งในลังไม้ และการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสาวอมรรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้แนะนำปราชญ์ชุมชน นายนิยม ศิริมุสิกะ (ตานุ่น ) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญในการเลี้ยงผึ้งที่ใช้วัสดุท้องถิ่น เช่น เศษไม้ มาสร้างเป็นกล่องไม้ เพื่อให้ผึ้งได้เข้ามาทำรัง อยู่อาศัย ทำให้เกิดอาชีพเสริม รายได้ให้กับครอบครัว และใช้ต้นทุนน้อย  โดยตานุ่นได้เล่าถึงวิธีการทำลังไม้  การสังเกตการเข้ามาอยู้อาศัยของผึ้งในลังไม้ที่ทำไว้ และวิธีการจับผึ้ง ตลอดจนการเก็บรักษาน้ำผึ้ง  จากนั้นสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมเรียนรู้ได้ร่วมกันสร้างรังผึ้งจากลังไม้พาเลช และแบ่งปันกันกลับบ้าน เพื่อไปทดลองเลี้ยงที่บ้านของตนเอง โดยสมาชิกสามารถสอบถาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตานุ่นได้หากมีข้อสงสัย หรือเพิ่มเติมความรู้ได้ตลอด 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สมาชิกของชุมชนปลักควายที่เข้าร่วมประชุมเกิดความรู้ในการเลี้ยงผึ้งจากลังไม้ และสามารถทำ และประกอบลังไม้ได้
2.เกิดการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชน ทำให้เกิดความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกัน 3.เกิดการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งด้วยวิถีธรรมชาติ สามารถนำไปสู่การเสริมสร้างรายได้ให้กับตนองและครอบครัว
4.สมาชิกของชุมชนที่เข้าร่วมเรียนรู้สามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบให้กับสมาชิกรายอื่นในชุมชนและนอกชุมชน ที่มีความสนใจ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

ทีมสนับสนุนวิชาการภาคใต้ (พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

อาจจะเพิ่มเติมในส่วนของการลงไปดูแต่ละขั้นตอนของในพื้นที่จริง เช่น วิธีการจับ การสกัดน้ำผึ้ง 

เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียง : ผึ้งน้อยจากลังไม้ ในป่ายาง26 มิถุนายน 2559
26
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ การเลี้ยงผึ้งจากลังไม้แผงพาเลท โดยจะมีการเลี้ยงในพื้นที่ป่ายาง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 13.00-14.00 น. โดย นายนิยมศิริมุกศิกะ วิทยากรสอน การทำรังผึ้ง แบบปราชญ์ชาวบ้าน ของ สภาชุมชนคนปลักควาย เริ่มจากการอธิบายวิธีการทำรังผึ้ง เริ่มจากขนาดของรังไม้คือ ขนาดสำเร็จของรังผึ้งสูง (ซม.) 22 x กว้าง(ซม.) 40 x ยาว(ซม.) 40 การเตรียมอุปกรณ์ 1.เตรียมขนาดไม้หน้ากว้าง 10 นิ้ว จำนวน 8 ชิ้น 2.ค้อน 1 อัน 3.ตะปูขนาด นิ้วครึ่งและ ขนาด 2 นิ้ว 4..เลื่อย 1 คัน 5. เก้าอี้กลม /ไม้กลม 1 อัน สำหรับทำเสา 6.ยางล้อรถยนต์ /กะละมัง เพื่อทำฐานรองรับเสาด้านล้าง และสำหรับใส่น้ำให้ผึ้งมีน้ำกิน วิธีทำรังผึ้ง 1.เริ่มจากทำด้านหน้าตีไม้เป็นแผง ขนาด40 ซม.x40ซม. และตีด้านหลังให้มีขนาดเท่ากัน 2.หลังจากนั้นตีไม้ด้านข้างของรังผึ้งโดยตีเวียนไปเรื่อยให้เป็นลังสี่เหลี่ยม 3.เตรียมไม้ให้ความสูงของรังผึ้งได้ขนาด 20 ซม. 4.การทำหลังตาหรือด้านบนของรังผึ้งให้ใช้สังกะสีหรือกระเบื้องแกลลอนวางปิดทับก็ได้ 6.ขาตั้งสำหรับรังผึ้งให้ใช้ไม้ทำเสา หรือเก้าอื้หัวล้านทำเป็นเสาก็ได้ 7.ใช้ไม้ปักเป็นเสา4เสา 8. ใส่น้ำด้านล่างบริเวณขาตั้งไว้ในกะละมังหรือยางล้อรถยนต์หรือในฐานรองรับเพื่อให้ผึ้งมีน้ำกิน ข้อควรระวังในการ ตัดไม้จากพาเลทเพื่อทำรังผึ้ง ให้ตัดตะปูจากไม้พาเลทด้วยความระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยในการทำรังผึ้งเนื่องจากไม้จะแตก และตะปูจะได้ไม่ทืมตำนิ้วมือ
วิธีการจับผึ้งแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน การเตรียมอุปกรณ์ 1.ใส่เสื้อแขนยาว สวมกางเกงขายาว พร้อมมีเสื้อคลุมทำด้วยผ้าหรือตาข่ายละเอียด(แนดสีฟ้า) 2.ใส่รองเท้าบู๊ท 3.สวมหมวกไอ้โม่ง
4.ถุงมือยาง เวลา 14.00-17.00 น. เข้าสู่ภาคฏิบัติการทำรังผึ้ง โดยนายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ โดยเริ่มต้นจากการตัดไม้ตามขนาดที่ นายนิยม อธิบาย แล้วให้ผู้เข้าอบรม ช่วยกันประกอบ จนครบ 20 รัง โดยการจับคู่ 3 คน/1รัง เวลา 17.00 น. ปิดการอบรม เดินทางกลับบ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คนในชุมชนสามารถเรียนรู้วิธีการเลี้ยงผึ้งด้วยวิธีธรรมชาติ และได้ร่วมกันทำรังผึ้งจากไม้ยางพารา จนแล้วเสร็จจำนวน30 ลัง มีการแบ่งปันให้สมาชิกที่มาร่วมกันทำเพื่อนำกลับไปเป็นต้นทุนเบื้องต้นในการเลี้ยงผึ้งครัวเรือนละ 1 ลัง

2.สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงระบบนิเวศน์ที่สมดุลร่วมกันได้

3.คนในชุมชนสามารถแลกเปลียนแบ่งปันความรู้ร่วมกันภายในชุมชนโดยอาศัยความได้เปรียบความสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่ชุมชนมีเป็นต้นทุนอยู่แล้ว ได้แก่ สวนยางพารา สวนผลไม้

4.ทำให้คนในชุมชนได้บริโภคน้ำผึ้งแท้ และเป็นการเสริมสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในชุมชน จำนวน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน มิ.ย.5919 มิถุนายน 2559
19
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดแกนนำฃุมชนเข้มแข็ง มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง ในระยะเวลา 12 เดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา15.00น. ครบองค์ประชุม1/3 ของคณะกรรมการสภาชุมชนคนปลักควาย นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ แกนนำเด็กและเยาวชนกล่าวเปิดประชุมและมีการชี้แจงรายละเอียดของหัวข้อการประชุม วาระที่1 ติดตามผลเรื่องการลงมติการโหวตให้มีการซ่อมปรับปรุงถนนซอยปลักควาย โดยเล่าถึงที่มาของการเปิดหัวข้อการประชุมโดยเริ่มลำดับเรื่องราวความเป็นมาของการได้งบประมาณของการซ่อมถนนในครั้งนี้ว่าเกิดจากความร่วมมือของกรรมการชุมชนและชาวบ้านในซอยปลักควายในการล่ารายชื่อแจ้งร้องทุกข์เรื่องถนนชำรุดและมีโอกาสเกิดความเสี่ยงจากการใช้รถใช้ถนนเนื่องจากถนนชำรุดโดยทางชุมชนได้เสนอให้มีการปรับปรุงโดยการลาดยางทับความหนาประมาณ 3-4 ซม. จากผิวถนน โดยความกว้างของถนนคือ 4 เมตร เท่าเดิม แต่ไม่ได้ขยายขอบทางเพิ่ม แต่หลังจากมีการอนุมัติงบประมาณในการซ่อมปรับปรุงถนนแล้วก็มีเสียงชาวบ้านส่วนหนึ่งขอคัดค้านการปรับปรุงถนน เนื่องจาก กลัวว่าถนนจะแคบเกินไป ไม่สะดวกเวลารถวิ่งสวนทางกัน และกลัวว่าเมื่อหลังจากที่มีการลาดยางปูทับผิวถนนแล้ว จะไม่มีการติดตามการขยายขอบทางเพิ่มเพราะอ้างว่ามีการปรับปรุงถนนไปแล้ว จึงเป็นสาเหตุของการปรชุมในหัวข้อดังกล่าว แต่ก่อนที่จะมีการโหวตลงมติ ก็ให้ นายอาก อบต. ม.1นายอุทิศ อบต.ม.13 และนาย ชาญชัย อบต.ม.1ได้ชี้แจงและทำความเข้าใจกับสภาผู้นำชุมชนคนปลักควายเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับที่มาของงบประมาณ และการติดตามงานเพื่อขยายความกว้างของขอบทางเพิ่มว่าจะติดตามงานอย่างต่อเนื่องโดยจะแจ้งข้อมูลลงในแผนพัฒนา ปี 2561 ในที่ประชุมสภา อบต. วันที่ 17 มิ.ย 2559 เพื่อจะได้มีการพัฒนาถนนต่อเนื่องและป้องกันการถูกลืมจากหน่วยงานภาครัฐ พร้อมกับเสนอให้สภาชุมชนลงมติเห็นด้วยกับการปรับปรุงผิวถนนในครั้งนี้ หลังจากนั้น นายพร้อมทองเอื้อ ประธานสภาชุมชนขอให้ทาง อบต.รับรองว่าจะมีการปรับปรงถนนอย่างต่อเนื่องพร้อมกับชาวบ้านหลายคนสนับสนุนคำถามดังกล่าว ซื่งทางสมาชิก อบต. ลงมติเห็นด้วยในในการโว๊ต ให้ซ่อมถนนหรือไม่ซ่อม ส่วนประเด็นเรื่องแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการปลูกพืชผลทางการเกตรอีกต่อไป มติที่ประชุม มีการลงมติรับรองจากคณะกรรมการทุกคน โดยจำนวนสมาชิกสภาชุมชนยอมรับให้มีการซ่อมถนนจำนวน 3 เสียง และ จำนวนเสียงที่ไม่ยอมรับ จำนวน 27 เสียง แต่ทาง สมาชิก อบต.ขอไปดำเนินการไปเสนอขอเข้าแผนในการขยายถนนในปี 2561 ซื่งสาเหตุที่เข้าแผนในปี 2560 ไม่ได้เนื่องจากมีการทำแผนงบประมาณเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่หลังจากนี้จะมีการทำงานในฐานะตัวแทน อบต.ของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และจะกลับมาแจ้งผลอีกที 1 เดือน หลังจากที่มีการประชุมในวันนี้ โดยทาง อบต.จะเป็นคนประสานงานในการรวมกลุ่มชาวบ้านและสภาผู้นำชุมชนคนปลักควายให้ทราบหลังจากได้มีคำตอบที่ชัดเจนจากสภา อบต.รัตภูมิ วาระที่2 แจ้งกิจกรรมครั้งถัด คือ ซอแรงบ้านเธอ บ้านฉัน ร่วมทำปุ๋ยอินทรีย์ ครั้งที่ 3 มติที่ประชุมมีการลงมติรับรองจากคณะกรรมการทุกคนให้มีการจัดกิจกรรมวันที่ 18 มิถุนายน 2559

ปิดการประชุม เวลา 16.30 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เกิดการติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม

• เกิดความเข้มแข็งของสภาผู้นำ

• เกิดผลลัพธ์เชิงประเด็น 1)การติดตามผลเรื่องการซ่อมปรับปรุงถนนซอยปลักควาย เนื่องจากเกิดการล่ารายชื่อแจ้งร้องทุกข์เรื่องถนนชำรุดและมีโอกาสเกิดความเสี่ยงจากการใช้รถใช้ถนน

• เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายนอก และชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • อบต.3 คน
  • ผช.ผญ.บ้าน 1 คน
  • อสม.2 คน
  • กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง 2 คน
  • ปราชญ์ชุมชน 5 คน
  • ตัวแทนหมู่บ้าน 17 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เกิดการล่ารายชื่อแจ้งร้องทุกข์เรื่องถนนชำรุดและมีโอกาสเกิดความเสี่ยงจากการใช้รถใช้ถนนเนื่องจากถนนชำรุดโดยทางชุมชนได้เสนอให้มีการปรับปรุงโดยการลาดยางทับความหนาประมาณ 3-4 ซม. จากผิวถนน โดยความกว้างของถนนคือ 4 เมตร เท่าเดิม แต่ไม่ได้ขยายขอบทางเพิ่ม แต่หลังจากมีการอนุมัติงบประมาณในการซ่อมปรับปรุงถนนแล้วก็มีเสียงชาวบ้านส่วนหนึ่งขอคัดค้านการปรับปรุงถนน เนื่องจาก กลัวว่าถนนจะแคบเกินไป ไม่สะดวกเวลารถวิ่งสวนทางกัน และกลัวว่าเมื่อหลังจากที่มีการลาดยางปูทับผิวถนนแล้ว จะไม่มีการติดตามการขยายขอบทางเพิ่มเพราะอ้างว่ามีการปรับปรุงถนนไปแล้ว
    แนวทางแก้ไขทาง อบต. เฃ้าร่วมการประฃุม และนำประเด็นการร้องทุกข์ เข้าประชุมในสภาเพื่อเสนองบประมาณในปีถัดไป
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ซอแรงบ้านเธอ บ้านฉัน ร่วมทำปุ๋ยอินทรีย์ครั้งที่318 มิถุนายน 2559
18
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิตของคนในชุมชนในด้านปุ๋ยเคมีและเกิดการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน และพัฒนาวิธีการทำปุ๋ยในการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยขึ้นของคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มการทำกิจกรรม ซอแรงบ้านเธอบ้านฉันร่วมกันทำปุ๋ยอินทรีย์

เวลา 13.00-13.15 น. ลงทะเบียนรายชื่อสมาชิกที่มาร่วมซอแรงทำปุ๋ยอินทรีย์
เวลา 13.15-13.45 นางสาวอัมไพ ธรรมรัตน์ ปราชญ์ชุมชนเริ่มบรรยายเกี่ยวกับส่วนผสมที่ต้องใช้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ พร้อมกับอธิบายประโยชน์และคุณสมบัติของส่วนผสมทีละรายการ ตามรายละเอียด ลำดับที่ อุปกรณ์/ส่วนประกอบ ปริมาณ/จำนวน ประโยชน์ 1 ขี้ไก่แกรบ 360 กก. บำรุงดิน เป็นปุ๋ยบำรุงดิน 2 ขี้วัว 240 กก ทำให้ดินร่วนซุย 3 รำละเอียด 60 กก. ทำให้ขั้วเหนียว 4 ยูเรียน้ำ 6 กก. บำรุงราก และเร่งการเจริญเติบโตของรากและลำต้น 5 ปุ๋ยน้ำหนักชีวภาพจากปลา/ผลไม้ 6 กก. ทำให้ลำต้นและใบสมบูรณ์ 6 อาหารจานด่วน 6 กก. เร่งการเจริญเติบโต ของราก ลำต้น ดอก และใบ 7 จุลินทรีย์หน่อกล้วย 6 กก. เป็นจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย 8 ไตรโตเดอร์มา 6 กก. ฆ่าเชื้อรา รากเน่า โคนเน่า 9 บูวาเลีย 500 มล. กำจัดแมลงปากดูด เช่นไข่แมลงวัน 10 น้ำสะอาด 600 ลิตร ช่วยผสมให้ส่วนประกอบเคล้ารวมกัน 11 ถังผสมน้ำหมัก 1 ใบ บรรจุน้ำหมัก 12 1กากน้ำตาล 6 กก. เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้เพิ่มประสิทธิ์ภาพในการย่อยสลาย

วิธีการทำขั้นตอนการทำปุ๋ย

มีการพัฒนาการนำเครื่องจักรมาใช้ในการผสมปุ๋ยแทนแรงงานคน เนื่องจาก นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ ได้ทำการซื่อเครื่องผสมปุ๋ยที่ชำรุด และมีการปล่อยวางทิ้งไว้ไม่มีการใช้งานเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ซึ่งตอนนี้ได้ทำการซ่อมบำรุงให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ขั้นตอนการเตรียมส่วนผสมลงในเครื่องผสมปุ๋ย 1. เทขี้ไก่แกรบจำนวน 45 กก. 2. เทขี้วัว จำนวน 15 กก.ผสมกับขี้ไก่แกรบ กรณีที่ขี้วัวเป็นก้อนๆ ก็ต้องใช้เครื่องบดโดยการเทก้อนขี้วัว ลงในเครื่องยดให้ละเอียด 3. เทรำละเอียด จำนวน 8 กก.ผสมรวมในกองขี้ไก่และขี้วัว โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ขั้นตอนการเตรียมน้ำหมัก

  1. เทปุ๋ยหมักชีวภาพ จุลินทรีย์หน่อกล้วย อาหารจานด่วน บูวาเลืย ยูเรียน้ำ ไตรโคโดม่าผสมลงไปในถังบรรจุน้ำ 500 ลิตร พร้อมกวนให้เข้ากัน

ขั้นตอนการผสมปุ๋ย

  1. ใช้สายยางฉีดพ่นหรือรดน้ำหมักที่ผสมแล้วจากถังหมักเอามารดลงในเครื่องผสมปุ๋ยที่มีการผสมขี้ไก่ที่คลุกเคล้ากับขี้วัวและรำละเอียดโดยรดน้ำให้ชุ่มๆ เอามือทดลองกำปุ๋ยพอแห้งหมาดๆ
  2. รอ 15 นาที เพื่อให้เครื่องผสมปุ๋ยคลุกเคล้าส่วนผสมปุ๋ยและน้ำหมักที่เหมาะสมแล้ว
  3. ใช้กระสอบปุ๋ยรับปุ๋ยที่ถ่ายจากท่อระบายปุ๋ยออกจากเครื่องผสมปุ๋ย
  4. ใช้เชือกรัดปากกระสอบแบบหลวมๆ หรือสามารถใช้ท่อพีวีซี หรือ กระบอกไม้ไผ่ที่มีรูเจาะลงใปในปากกระสอบเพื่อระบายความร้อนของปุ๋ยออกจากกระสอบ
  5. หมักไว้ 15 วันนับจากวันที่18 มิ.ย 59 จนถึง วันที่ 3ก.ค.59 แล้ว ค่อยมาพลิกกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อนออก พักไว้อีก 15 วัน จน ถึงวันที่ 18 ก.ค.59 สังเกตว่ากองปุ๋ยมีราสีขาวขึ้น และปุ๋ยเย็นลง แล้วจึงตักปุ๋ย เพื่อเอาไปใช้งานกับพืชต่อไป เวลา 15.30 น. สมาชิกทำปุ๋ยเสร็จเรียบร้อย สรุปยอดที่ทำปุ๋ยจากกิจกรรมซอแรงบ้านเธอบ้านฉันร่วมกันทำปุ๋ยทั้งหมด ยอดผลิตรวม 900 ก.ก.
    เลิกประชุมในการทำกิจกรรมเวลา16.00 น. แบ่งปุ๋ยกัน คนละ 50 กก. แล้วบรรทุกกระสอบปุ๋ยกลับบ้านตามอัธยาศัย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน

2.คนในชุมชนมีความเข้าใจกันมากขึ้น มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

3.ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิตในด้านปุ๋ยเคมีของคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน ในชุมชน 65 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียง : อาชีพเสริม ที่เพิ่มรายได้ ขนมไทยและเครื่องดื่มสมุนไพรจากพืชท้องถิ่นครั้งที14 มิถุนายน 2559
4
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงสามารถมีงานทำ มีอาชีพเสริมที่เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว และมีความรู้พืชอาหารในท้องถิ่นที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างอาชีพ เช่น ขนม และเครื่องดื่ม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.45 น.-10.00 น. ประชาชนในชุมชน ลงทะเบียนรายชื่อร่วมกิจกรรม
  • 10.00 น.-10.15 น. นางสาวอัมไพ ธรรมรัตน์ สมาชิกในชุมชนกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแนะนำ อ.ศุภสุตา วิสมิตะนันทน์ วิทยากรจากวิทยาลัยชุมชน และ นางสาวคนึง ยิ้มเยื้อน ปราชญ์ชุมชนทางด้านฃนมไทย ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับทราบ
  • 10.15 น.-10.30 น. วิทยากรอ.ศุภสุตา วิสมิตะนันทน์ จากวิทยาลัยชุมชน และ นางสาวคนึง ยิ้มเยื้อน ปราชญ์ชุมชน แนะนำตัว และกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมกับแจกเอกสารเกี่ยวกับโปรแกรมการทำขนมไทยและน้ำดิ่มสมุนไพรเพื่อ สุขภาพ
  • 10.30-น.-12.00 น. วิทยากร อ.ศุภสุตา วิสมิตะนันทน์ สอนวิธีการทำวุ้นมะพร้าวจากมะพร้าวน้ำหอม พร้อมอธิบายชั้นตอนการลงมือทำภาคปฏิบัติโดยเริ่มจากการทำวุ้นมะพร้าวจากมะพร้าวน้ำหอม ส่วนผสม
    วุ้นผง1 ถุง น้ำตาลทราย1 กิโลกรัม
    น้ำตะไคร้,น้ำดอกอัญชัน 2260 กรัม มะพร้าวอ่อน

วิธีทำ
1. ต้มน้ำมะพร้าวน้ำหอม 2. ต้มจนเดือดจัด รอจนน้ำใส 3. เทวุ้นใส่กระทะใส่น้ำ และน้ำตาลทรายคนด้วยไม้พายยกขึ้นตั้งไฟโดยใช้พายไม้คนจนกระทั่งเดือด 4. ตักใส่ลูกมะพร้าวทิ้งไว้ให้เย็น - 12.00 น. - 12.30 น. พักรับประทานอาหารและขนมหวาน - 12.30 น. - 16.00 น. อบรมการทำขนมครองแครงกรอบ และทำน้ำตะใคร้ เพื่อสุขภาพ โดยขั้นตอนการทำ ตามรายละเอียดดังนี้ ครองแครงกรอบ ส่วนผสมแป้ง
แป้งสาลี1000 กรัม ผงฟู1ช้อนโต๊ะ ไข่แดงของไข่ไก่5ฟอง น้ำปูนใส1 ถ้วยตวง หัวกะทิ1ถ้วยตวง ใบมะกรูดซอย น้ำมันพืชสำหรับทอด วิธีทำ 1.ร่อนแป้งสาลีและผงฟูเข้าด้วยกัน 2.ผสมไข่แดง น้ำปูนใส หัวกะทิเทลงในส่วนผสมของแป้งนวดจนแป้งนุ่มพักแป้งไว้ 15-20 นาที 3.แบ่งแป้งเป็นก้อนกลม กดบนพิมพ์ครองแครงให้เป็นลายแล้วม้วนพอหลวมๆวางเรียงในถาด ทำจนหมดแป้ง 4.นำแป้งที่ได้ลงไปทอดในน้ำมันพืชร้อนไฟกลางจนเหลืองกรอบ

ส่วนผสมน้ำเคลือบ
รากผักชี1/2 ถ้วย กระเทียม 2ช้อนโต๊ะ พริกไทยเม็ด1ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า 1/2ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 400กรัม เกลือป่น3ช้อนชา ผักชี 4 ต้น


วิธีทำ
1.โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทยให้ละเอียด 2. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชพอร้อนนำเครื่องที่โขลกผักให้หอมใส่น้ำเปล่าน้ำตาลทรายเกลือเคี่ยวพอเป็นยางมะตูมใส่ครองแครงที่ทอดแล้วลงคลุกเคล้าพอเข้ากันใส่ใบผักชีตักใส่ภาชนะพักไว้ให้เย็น


น้ำตะใคร้ ส่วนผสม

น้ำตาลทราย1 กิโลกรัม
น้ำตะไคร้,น้ำดอกอัญชัน 2260 กรัม/60ต้น น้ำสะอาด 6 ลิตร

วิธีทำ
1. ทุบตะใคร้สด และ ต้มน้ำตะไคร้จนเดือดจัด 2. ตักตะใตร้ออก 3. เติมน้ำตาลทรายขาว และเกลือ รสชาดตามใจชอบ 4. รอเย็น บรรจุลงขวด - 16.00 น. ปิดการอบรมการทำน้ำสุมนไพรและขนมไทย ภาคปฏิบัติ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงสามารถมีงานทำ มีอาชีพเสริมที่เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว
2.คนในชุมชนมีความรู้เรื่องพืช และวัสดุในท้องถิ่นที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างอาชีพ เช่นการทำขนม และเครื่องดื่มเพื่อจำหน่ายในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในชุมชน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

บัญชีครัวเรือน เรียนรู้คู่ครัวไทย18 พฤษภาคม 2559
18
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก เยาวชน/ ผู้ปกครอง เด็ก เยาวชน ลงบันทึกรายรับ -รายจ่ายในระดับครัวเรือนและชุมชน เพื่อให้เห็นสถานการณ์การใช้เงินครัวเรือน ในการสามารถวางแผนลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มการทำกิจกรรม ลงพื้นที่เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล

เวลา 13.00-13.15 น. ลงทะเบียนรายชื่อสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรม ลงพื้นที่เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล

เวลา 13.15-13.45 นายผ่อง นวลละออง ครูอธิบายถึงเหตุผลที่ต้องทำบัญชีครัวเรือน เกี่ยวกับ รายรับ-รายจ่าย ในครัวเรือน โดยใช้สมุดต้นทุนประกอบอาชีพ ตาม สโลแกน รู้รายรับ รู้รายจ่าย รู้ต้นทุน รู้การออม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางบัญชี สร้างวิถีสู่อนาคต ของ กรมตรวจปัญชีสหกรณ์ โดย ให้แนวคิดกับผู้เข้าร่วมอบรม ว่า บัญชี กับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนายผ่อง ครูบัญชี ได้อธิบายข้อมูลและรายละเอียดในสมุดบัญชีดังนี้ วิธีการลงบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน โดยใช้วิธีการบันทึกรายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงทั้งในครัวเรือนและการประกอบอาชีพ 1.วิธีลงวัน เดือน ปีช่อง “วัน เดือน ปี”ให้เขียนวันที่ เดือน ปี พ.ศ. ที่มีรายการรับเงิน และรายการจ่ายเงิน 2.วิธีลงรายการ ช่อง “รายการ” เขียนรายละเอียดของการรับเงิน และจ่ายเงินที่เกิดขึ้น 3.วิธีลงรายรับ ช่อง “รายรับ” แบ่งเป็น รายรับประกอบอาชีพ และรายรับอื่นๆ
ช่อง (1) ประกอบอาชีพให้เขียนจำนวนเงินที่ได้รับ จากการประกอบอาชีพ เช่น ขายข้าวเปลือก ขายผัก ขายผลไม้ ขายไก่ ขายปลา ขายน้ำยางพารา เป็นต้น ช่อง (2) รายรับอื่นๆ เขียนจำนวนเงินที่ได้รับ โดยเป็นเงินที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบอาชีพ เช่น รับเงินค่าจ้าง รับเงินรางวัล รับเงินกู้ยืม ถอนเงินฝากสหกรณ์หรือธนาคาร เป็นต้น ช่อง (3) รวมรายรับ เขียนจำนวนเงินที่ได้รับทั้งสิ้น โดยรวมยอดเงินจากช่องที่(1) และ (2) โดยกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มในสมุดบัญชี วิธีลงรายจ่าย
4. “รายจ่าย” แบ่งเป็น รายจ่ายประกอบอาชีพ และรายจ่ายในครัวเรือน รายจ่ายประกอบอาชีพ ช่อง(4) ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพเช่น จำนวนเงินที่จ่ายเป็น ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพต่างๆ เช่าน ค่าปุ๋ย ค่าพันธุ์ข้าว ค่าพันธุ์ปาล์ม ค่าปุ๋ย เป็นต้น ช่อง(5) ซื้อสินทรัพย์ถาวร เขียนจำนวนเงินที่จ่าย เพื่อซื้อหรือสร้างเครื่องใช้ที่ใช้งานได้หลายปีและมีราคาสง สูง รวมถึงลงทุนในการประกอบอาชีพ เช่น ซื้อรถไถนา เครื่องสูบน้ำ ขุดบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น รายจ่ายในครัวเรือน
ช่อง(6)-(14) เขียนจำนวนเงินที่จ่ายเป็น ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ตามประเภทรายจ่ายในครัวเรือนที่แยกไว้ โดยรายจ่ายในครัวเรือจะเป็นรายจ่ยที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบอาชีพ เช่าน ค่าอาหาร ค่าของใช้ ค่าน้ำมันรถ ให้เงินลูกไปโรงเรียน ชำระคืนเงินกู้ อื่นๆ เป็นต้น ช่อง(15) รวมรายจ่าย เขียนจำนวนเงินที่จ่ายทั้งสิ้น โดยรวมยอดเงินจากช่องที่ (4) ถึง (14) โดยครูบัญชีเน้นให้ทำบัญชีตามแบบฟอร์มในสมุด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็ก เยาวชนและคนในชุมชนมีความรู้การทำบัญชีครัวเรือน สามาถรับรู้สถานะทางการเงินภายในครอบครัว และเกิดความตระหนัก รู้จักวางแผนในเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างน้อย 50 ครัวเรือน ในการดำเนินการต่อหลังจากอบรมเสร็จแล้วเพื่อนำไปสู่การบันทึกรับ จ่ายในครัวเรือนตนเอง และมีการนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลในลำดับต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนวัยแรงงาน 60 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน พ.ค.5917 พฤษภาคม 2559
17
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อใหเ้เกิดแกนนำชุมชนเข้มแข็ง มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง ในระยะเวลา 12 เดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา10.30น. ครบองค์ประชุม1/3 ของคณะกรรมการสภาชุมชนคนปลักควาย ผู้ดำเนินโครงการกล่าวเปิดประชุมแล้วดำเนินการประชุมตามวาระดังนี้

  • วาระที่ 1 ติดตามผลเรื่องการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ มติที่ประชุม มีการลงมติรับรองจากคณะกรรมการทุกคนว่าจะปลูกต้นดาหลาสีแดง พริกไทย มะขามป้อม และ ฟ้าทะลายโจร โดยจะปลูกในระยะแรกเพื่อหาสารตกค้างจากดิน และการส่งน้ำไปตรวจหาสารปนเปื้อนและสารตกค้าง ก่อนที่จะปลูกลงดิน ตามแปลงปลูกของสมาชิกแต่ละคนสู่ ส่วนคนที่มีที่ดินน้อยหรือแปลงปลูกไม่พร้อมปลูกพืชก็ให้ใช้วิธีการปลูกโดยการผสมดินปลูกลงกระถาง หรือ กระสอบเก่าที่ไม่ใช้แล้ว หรือภาชนะที่มีอยู่แล้ว เช่น เข่งพลาสติก หรือ ภาชนะที่ไม่ใช้แล้วสามารถดัดแปลงมาเพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษได้

  • วาระที่ 2 การสนับสนุนการทำท่อกระถางปูนปั้นสำหรับการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ มติที่ประชุม มีการลงมติรับรองจากคณะกรรมการทุกคนให้นางพิณ อุไรรัตน์ ปราชญ์ชุมชน ผลิตท่อซีเมนต์ขนาดเล็กเพื่อให้สมาชิกในชุมชนในมาใช้เป็นกระถางสำหรับการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ โดยกำหนดเสร็จวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 และส่งมอบในวันเดียวกัน วาระที่2 .แจ้งกิจกรรมครั้งต่อไป มติที่ประชุม มีการลงมติรับรองจากคณะกรรมการทุกคนโดยกำหนดให้วันที่ 4 มิถุนายน 2559 ทำกิจกรรม เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียง: อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ขนมไทยและเครื่องดื่มสมุนไพรจากพืขท้องถิ่น

ปิดการประชุม เวลา 11.30 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เกิดการติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม

• เกิดความเข้มแข็งของสภาผู้นำ

• เกิดผลลัพธ์เชิงประเด็น
1) มีการติดตามผลเรื่องการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ 2)มีการลงมติรับรองจากคณะกรรมการทุกคนเรื่องการปลูกพืชสมุนไพร การหาสารตกค้างจากดินและการส่งน้ำไปตรวจหาสารปนเปื้อน สารตกค้าง ก่อนที่จะปลูกลงดิน ตามแปลงปลูกของสมาชิกแต่ละคน

• มีการลงมติรับรองจากคณะกรรมการทุกคนให้นางพิณ อุไรรัตน์ ปราชญ์ชุมชน ผลิตท่อซีเมนต์ขนาดเล็กเพื่อให้สมาชิกในชุมชนในมาใช้เป็นกระถางสำหรับการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ โดยกำหนดเสร็จวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 และส่งมอบในวันเดียวกัน

• เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายนอก และชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • อบต.1 คน
  • อสม.2 คน
  • กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง 2 คน
  • ปราชญ์ชุมชน 5 คน
  • ตัวแทนหมู่บ้าน 12 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ8 พฤษภาคม 2559
8
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และเป็นการให้ความรู้การปลูกพืช และผักปลอดสารพิษทั้งแบบปลูกลงดิน และในภาชนะอื่น เช่น ท่อซีเมนต์ ล้อยางรถยนต์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มการทำกิจกรรม

เวลา 08.50-09.15 น. ลงทะเบียนรายชื่อสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรม การอบรม

เวลา 09.15.15-09.20 นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ผู้ดำเนิน บอกที่มาของโครงการกล่าววัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมในครั้งนี้ พร้อมทั้งแนะนำ วิทยากร ที่มาบรรยาย คือ นางผ่อง นวลลออ และ วิทยากรรับเชิญคือ นายอธิศพัฒน์ วรรณสุทธิ์ ปราชญ์เกษตรอินทรีย์ จากไร่อธิศพัศน์ อ.ท่าลี่ จ.เลย พร้อมทั้งเชิญ นายผ่องนวล ละออง หมอดินอาสา ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง เริ่มบรรยยายการอบรม

เวลา 09.20-12.00 น. นายผ่อง นวลละออ วิทยากร เริ่มบรรยายกการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเริ่มจากให้ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการทำการเกษตร โดยยึดหลัก “ปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง”เน้นการพึ่งพาตนเองในทุกๆ ขั้นตอน ของการเริ่มต้นการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆ รอบๆ บ้าน ถ้ามีพื้นที่เยอะๆ ค่อยๆ ขยับขยายไปพื้นที่แปลงใหญ่ ขึ้น โดย ให้หลัก แนวคิด ว่า การปลูกผักปลอดสารพิษ ยุคใหม่ คือจากการผลิตและบริโภค เพื่ออิ่มมาเป็นบริโภค เพื่อสุขภาพ และชีวิตที่ยืนยาว และเป็นสุข มองเห็นธรรมชาติที่สบายตา ผสมผสามกลมกลืนระหว่างโลกไอทีในปัจจุบันและโรคธรรมชาติ นและ มีการสร้างจิตสำนักในการรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนมนุษย์ และส่งต่อไปสู่ทายาทได้เต็มภาคภุมิ โดยให้แนวคิดเรื่องการปลูกพืชปลอดสารพิษใช้หลักต่างๆ ดังนี้ แนวทาง ปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก โดยการลดต้นทุนการผลิตเพราะเรามีเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตรจำนวนมาก ไม่ต้องไมหาซื้อจากที่อื่น เช่น มูลสัตว์ ขี้วัว ขี้ไก่ หญ้า ซังข้าว วัสดุที่เหลือจากของเหลือใช้อีกมากมาย รวมถึงเศษอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่หาง่าย ราคาถูก แล้วยังทำให้ดินดี สิ่งแวดล้อมดี ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพ ทั้งนี้ผลผลิตที่ออกมายังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก เป้าหมายที่สำคัญ คือ การกระตุ้นให้ผู้คนได้ตระหนักถึงภัยคุกคามของสารเคมีที่มีพิษร้ายในขบวนการผลิตพืชผลทางการเกษตร

เวลา 12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารเที่ยง

เวลา 13.00-14.00 น. นายอธิศพัศน์ วรรณสุทธิ์ ปราชญ์เกษตรอินทรีย์ วิทยากรรับเชิญ ได้แนะนำวิธีการปลูกผักกินใบ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ โดยแนะนำการปลูกตามประเภทของพืชและวิธีการปลูกดังนี้

1.การปลูกผักกินใบระบบเกษตรอินทรีย์ เริ่มจาก การเตรียมดิน เมื่อเราไถตากดิน 7 วัน เรียบร้อยแล้ว ให้นำเชื้อไตรโคเดอร์ม่า สำหรับฆ่าเชื้อรา รากเน่าโคนเน่า ในดิน (ขอได้จากกรมพัฒนาที่ดิน)1ลิตร+น้ำหมักที่เรามีอยู่อีก1ลิตร(ถ้าไม่มีไม่เป็นไร) ผสมน้ำ 100 ลิตร รดบงในดินที่ไถแล้ว ให้ทั่วๆ หรือจะใช้วิธีฉีดพ่นก็ได้ หลังจากนั้นเติมปุ๋ยหมักลงไปประมาณ 1 กก./พื้นที่ 1 ตร.ม.คลุกเคล้าให้ทั้วกัน แล้วจึงขึ้นแปลง ขนาดกว้าง 70 ซม.ความยาวและแต่ขนาดพื้นที่ จากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งที่เหลือใช้ทางการเกษตรคลุมแปลงไว้ เรียกว่า “ห่มดิน” แล้วพรม น้ำให้ชื้น ๆ ทิ้งไว้ต่ออีก 7-10 วัน จึงย้ายกล้าผักลงแปลง หรือจะใช้วิธีการหว่านก็นได้ หลังจาก 7 วันไปแล้ว ให้ใช้ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ 2 ช้อนโต๊ะ+น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้ทุกๆ 3-7 วัน จนถึงวันเก็บเกี่ยว ผักจะแข็งแรงไม่เกิดโรคและแมลงรบกวน - ผักกินใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง เป็นต้น

  1. การปลูกผักกินผลเช่น มะนาว มะละกอ มีความจำเป็นมากในเรื่องของการปรับปรุงดินให้แข็งแรง มีธาตุอาหารที่เพียงพอ มิฉะนั้นสิ่งที่ตามมาคือ แมลงและโรคพืช เราจะไม่ใช้วิธีการแก้ไข แต่จะใช้วิธีป้องกันซึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และปลอดภัย ลดต้นทุนการผลิตอย่างยั่งยืน
    วิธีการปลูก ระบบเกษตรอินทรีย์ -ลงดิน และลูกในลูกท่อและในวงล้อยาง รถยนต์ ขนาดหลุมปลูก กว้าง x ยาว x ลึก หน่วยเป็น เซนติเมตร (30 x 30 x 30)แต่สำหรับการปลูกในล้อยางรถยนต์ควรวางล้อยางให้สูงประมาณ 3 ชั้น หรือ 3 เส้น เพื่อรากจะได้หากินได้สะดวกและโตแร็ว เมื่อขุดหลุมเสร็จ ให้น้ำดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุม มาผสมกับปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน ดิน 4 ส่วน + ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน แล้ววผสมด้วย ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ + เชื้อไตรโคเดอร์ม่า+น้ำอัตราส่วน 1:1:100 ผสมดิน และปุ๋ยหมัก ใส่ลงไปในหลุมเหมือนเดิม หลังจากนั้นครุมหลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน -เมื่อครบกำหนด7 วันให้ย้ายต้นกล้าลงหลุม รดน้ำให้ชุ่ม แล้ววคลุมบริเวณโคนต้นหนา ๆ ด้วยฟ้าง และหญ้า หมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผลไม้เริ่มแตกยอด (ประมาณ 15 วัน) จึงเริ่มให้ปุ๋ยน้ำหมัก รดทุก 15 วัน ควรทำอย่างสม่ำเสมอ หรือฉีดพ่นทางใบด้วยก็ได้ -การดูแลขณะมะนาวติดดอก ควรงดปุ๋ยอย่างน้อย 7-14 วัน เมื่อผ่านช่วงการผสมเกสรติดเป็นผลเล็กๆ ควรฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำหมัก ไม่ครบกำหนด จึงเก็บเกี่ยวผลผลิต -การดูแลหลังเก็บเกี่ยว ควรมีการตัดแต่งกิ่งที่ไม่สวยงามให้โปร่งโดยเฉพาะกิ่งกระโดน(กิ่งที่ตั้ง) หลังจากตัดแต่ง ควรเติมปุ๋ยหมักบริเวฯโคนต้น และคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งให้หนา เพื่อรักษะระดับความชื้นไว้โดยไม่ต้องพรวนดิน แต่จะใช้ปุ๋ยหมักน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน อัตราส่วนผสม4 ช้อนโต๊ะ+น้ำ 20 ลิตร จนติดดอกออกผลในรอบต่อไป สรุป การให้ปุ๋ยทางดินและทางใบ+กับการให้น้ำที่สม่ำเสมะ จะทำให้ผลไม้ติดดอกออกผลตลอดทั้งปี

เวลา 14.30 น.ปิดการการบรรยาย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คนในชุมชนมีความรู้ในการปลูกพืชและผักปลอดสารพิษมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 60 คน มาเข้าร่วมจริง 84 คน

  2. คนในชุมชนมีความรู้ในการปลูกมะนาวในลูกท่อ

  3. เกิดการทำงานร่วมกันของคนในชมชน

  4. คนในชุมชนมีความรู้ในการทำกระถางจากล้อยางรถยนต์ และสามารถทำได้ อย่างน้อย 40 ครัวเรือน

  5. เกิดภาคีร่วมสนับสนุนกิจกรรมในชุมชนคือสหกรณ์กษตรเนียง จำกัด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 84 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน ชาย-หญิง จำนวน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน เม.ย.5924 เมษายน 2559
24
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนเข้มแข็ง และมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารและปรึกษาหารือกันในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา15.00น. ครบองค์ประชุม1/3 ของคณะกรรมการสภาชุมชนคนปลักควาย ผู้ดำเนินโครงการกล่าวเปิดประชุมแล้วดำเนินการประชุมตามวาระดังนี้ วาระที่1 เรื่องอบรมการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ โดย นางเพ็ญศรี แซ่ตัน หัวหน้าเกษตรอำเภอควนเนียง ขอเป็นผู้ข้าร่วมการประชุมเพื่อผลักดันการปลูกพืชสมุนไพรเป็นพืชแซมยางพาราในรอบนี้ด้วยโดยวัตถุประสงค์ คือต้องการให้ชุมชนซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเป็นต้นแบบของการปลูกพืชสมุนไพรที่ปลอดสารพิษ สืบเนื่องมาจากทราบมาว่าทางกลุ่มซอยปลักควายมีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง และสมาชิกในกลุ่มไม่มีการใช้สารเคมี ประเภท ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีที่กำจัดศัตรูพืช จึงแนะนำให้ทางสมาชิกแจ้งความจำนงพืชสมุนไพรที่จะปลูกในพื้นที่ในที่ดินของเจ้าของที่ดินในแต่ละราย พร้อมกับลงพื้นที่ออกตรวจพื้นที่ทั้งหมดที่ละแปลงที่จะเพาะปลูก มติที่ประชุม มีการรับทราบทุกคนและรับรองจากคณะกรรมการทุกคนว่าจะปลูกต้นดาหลาสีแดง

วาระที่2 การพาสมาชิกในชุมชน ลงสำรวจพื้นที่สำหรับให้เป็นต้นแบบในการเพาะปลุกพืชสมุนไพร มติที่ประชุม มีการคัดเลือกแปลงต้นแบบขึ้นมา 2 แปลง คือ แปลงของนายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ จำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ ปลูกต้นดาหลา โดยปลูกพืชแซมลงในสวนยางพารา และ แปลงของนายพิศาล ธรรมรัตน์ ปลูกหัวไพร ในพื้นที่ 3 ไร่

วาระที่2 แจ้งกิจกรรมครั้งถัดไป - กิจกรรมอบรมการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ มติที่ประชุม รับทราบและรับรองการประชุม กรรมการทุกคนรับทราบวันทำกิจกรรมอบรมการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 09.00-15.00 น.

  • ติดตามผลคืบหน้าการตามเรื่องการสร้างฝายกั้นน้ำ และ การสร้างประตูปิด-เปิด น้ำ ที่สายห้วย จากแหล่งน้ำ 2 แหล่ง คือ สายห้วยซอยปลักควาย และสายห้วยบริเวณ สายม่วงแต ซึ่งเป็นจุดรับน้ำที่สามารถนำน้ำไปใช้ต่อในทางเกษตรของชุมชน
    มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ทางชุมชนได้รับหนังสือการเซ็นยินยอมอุทิศที่ดินที่อยู่ข้างเคียงแหล่งน้ำ และเซ็นอนุญาตให้มีการปรับปรุงการสร้างฝายการกั้นแหล่งน้ำ ปิดการประชุม เวลา 12.00 น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เกิดการติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม

• เกิดความเข้มแข็งของสภาผู้นำ

• เกิดผลลัพธ์เชิงประเด็น

• เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายนอก และชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำหมู่บ้าน ประกอบด้วย

  • อบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง
  • ปราชญ์ชุมชน
  • ตัวแทนหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียง : พลังงานใกล้ตัว แก๊สชีวภาพจากครัวเรือน12 เมษายน 2559
12
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดรายจาย เพิ่มรายได้ของคนในชุมชนและสามารถรู้จักวิธีการทำพลังงานทดแทนได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 14.00 น.-14.15 น. ลงทะเบียนสมาชิกผู้สนใจเข้าอบรมการผลิตแก๊สชีวภาพแบบ.แบบหลุมเก็บแก๊สโดยใช้ถุงดำเก็บแก๊สสีดำ ขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 3 เมตร ใช้เองภายในครัวเรือน
  • เวลา 14.15 น.-16.00 น. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ ปราชญ์ชุมชน และนายนิวัตร ปิยะพงษ์ ปราชญ์ชุุมชน กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมอบรม และบรรยายพร้อมกับแนะนำวิธีการผลิตแก๊สชีวภาพใช้เองภายในบ้าน โดยเริ่มต้นจากแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบด้วย 1.ถุงดำขนาด กว้างxสูงxยาว (ม.).1.5x1.5x3 (ม.)สำหรับเก็บแก๊ส 2.ท่อซีเมนต์เติมแก๊สขนาดกว้างใหญ่ 1 ชิ้น สำหรับเติมเศษอาหารหรือมูลสัตว์
    3.ท่อซีเมนต์ขนาดกลาง สำหรับเป็นบ่อน้ำทิ้ง 1 ชิ้น สำหรับเก็บน้ำล้นที่ไหลมาจากถุงดำเก็บแก๊ส 4.ท่อเติมอาหาร ประกอบด้วย Pvc 4 นิ้ว ยาว 1เมตร เจาะรูที่ด้านข้างของท่อซีเมนต์ 5.แท่งกวนประกอบด้วยท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ง สมาทับท่อขนาด 1 1/2 นิ้ว ประคองท่อ1 น้ำวด้านก้นถังเพื่อป้องกันการแกว่าวตัวของแท่งกวนผสม 6.ท่อก๊าซออก ในการผลิตแก๊ส โดยใช้ถุงดำที่ใช้ในการหมักและรเก็บแก๊ส ท่อสำหรับการเติมเศษอาหาร หรือมูลสัตว์ ขั้นตอน การทำ การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ และประโยชน์ที่คนในชุมชนได้รับจากการทำ ตลอดจนการเตรียมเศษอาหารหรือมูลสัตว์ที่มีภายในชุมชนมาผ่านกระบวนการหมักจนทำให้เกิดแก๊ส แล้วนำมาหุงต้มในการปรุงอาหารให้สุกภายในครัวเรือนได้ รวมถึงการวิธีการ ผสมน้ำจุลินทรีย์ผสมกับเศษอาหารและมูลสัตว์เพื่อให้มีการย่อยแล้วกลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี
  • เวลา 16.00 น.-17.00 น. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ และนายนายนิวัตร ปิยะพงษ์ ปราชญ์ชุุมชน ได้ประกอบอุปกรณ์ชุดผลิตแก๊สชีวภาพ โดยมีนายณรงค์ สังฆะปาโน เป็นผู้ช่วยในการประกอบแก๊สชีวภาพที่ละขั้นตอน โดยเริ่มจากการเอาถุงดำมาประกอบในหลุมแก๊สที่ขุดเตรียมไว้แล้ว หลังจากนั้น ก็มีการติดตั้ง ท่อรับศษอาหารหรือมูลสัตว์ เพื่อผสมก่อนใส่ถุงดำเก็บแก๊ส และ ติดตั้งท่อน้ำทิ้งหลังจากมีแก๊สเกิดขึ้นและพร้อมใช้งาน และ นายนุสนธิ์ ได้บรรยายถึง ระยะเวลาในการเกิดแก๋สคือ เมื่อเติมเศษอาหารหรือมูลสัตว์ ครบ 15 วันแล้้ว ก็จะเกิดก๊าซขึ้นมาเต็มถงุดำแต่ไม่สามารถใช้งานได้เลย เนื่องจากเป็นก๊าซไข่เน่าให้ปล่อยก๊าซทิ้ง ประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นก็จะเกิดแก๊สNGV ซืึ่งสามารถน้ำมาใช้ปรุงอาหารได้ภายในครัวเรื่อน
  • เวลา 17.00 น. นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ กล่าวปิดการอบรมให้กับคนในชุมชนที่มาร่วมการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คนในชุมชนมีความรู้ในการทำพลังงานทดแทนมาใช้ในครัวเรือน เป็นครัวเรือนต้นแบบการใช้แก๊สชีวภาพแบบถุงหมัก ในครัวเรือนของ น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ 1 จุด

  2. ได้ติดตั้งชุดแก๊สชีวภาพ จำนวน 1 จุด ที่บ้านเลขที่ 37/2 ม.1 ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา เพื่อเป็นครัวเรือนนำร่อง จุดเรียนรู้แก๊สชีวภาพให้กับคนในชุมชน และผู้ที่สนใจในด้านพลังงานทางเลือก

  3. ปริมาณขยะเปียกขยะอินทรีย์ ในครัวเรือนมีปริมาณลดลง และได้รับการจำกัดอย่างถูกวิธี

  4. ได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ทีผ่านกระบวนการหมักแก๊สแล้ว สามารถนำไปใช้ในการเกษตร เช่น ปลูกผักปุ๋ยยางพาราไม้ผล ทำให้ลดต้นทุน และลดการใช้ปุ๋ยเคมี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชน ชาย-หญิง 51 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน มี.ค.5920 มีนาคม 2559
20
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา10.30น. ครบองค์ประชุม1/3 ของคณะกรรมการสภาชุมชนคนปลักควาย ผู้ดำเนินโครงการกล่าวเปิดประชุมแล้วดำเนินการประชุมตามวาระดังนี้ วาระที่ 1เรื่องการส่งรายงานการปิดงวดโครงการ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธุ์ 2559 โดยสรุปจำนวนกิจกรรมที่ทำไปแล้วทั้งหมดกิจกรรม และมีกิจกรรมที่ค้างทั้งหมด 21 กิจกรรม ข้อมูลตามเอกสารที่แนบการประชุม มติที่ประชุม มีการรับทราบทุกคนและรับรองจากคณะกรรมการทุกคน วาระที่2 แจ้งกิจกรรมครั้งถัดไป - กิจกรรมSummer Big Bonus และตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ วันที่ 26 มีนาคม ณ ศูนย์อาหาร ชั้น3 ห้างอาเชี่ยนพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยConcept ในการไปออกงานคือนำบผลผลิตของชุมชุนในรูปแบบครัวของครัวซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง เช่น ข่า ตะใคร้ ใบมะกรูด พริกไทย ผักสวนครัว และ ขนมพื้นบ้าน เช่นขนมสอดไส้ ขนมข้าวต้มมัด และขนมต้มเหนียวดำ และขนมจีน แกงกะทิ แกง ไตปลา - กิจกรรมการอบรมทำบัญชีครัวเรือน โดยนายผ่อง นวลละออ ขออาสาเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอบรมบัญชีครัวเรือน โดยกำหนดเป็นวันที่ 19 พฤษภาคม มติที่ประชุม รับทราบและรับรองการประชุม กรรมการทุกคนยินดีให้ความร่วมมือกันทุกคน เรื่องเพิ่มเติม - ผลคืบหน้าการตามเรื่องการสร้างฝายกั้นน้ำ และ การสร้างประตูปิด-เปิด น้ำ ที่สายห้วย จากแหล่งน้ำ 2 แหล่ง คือ สายห้วยซอยปลักควาย และสายห้วยบริเวณ สายม่วงแต ซึ่งเป็นจุดรับน้ำที่สามารถนำน้ำไปใช้ต่อในทางเกษตรของชุมชน
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ซึ่งทางสภาผู้นำมีมติเป็นเสียงเดียวกันให้มีการลงชื่อของคนในชุมชนที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตรเพื่อยี่นหนังสือส่งให้ อบต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา ประสานงานต่อในการดำเนินการต่อไป

  • ผลคืบหน้าการปรับปรุงก่อสร้างถนนที่ชำรุดทรุดโทรมในซอยปลักควาย
    มติที่ประชุม ทางสภาผู้นำมีมติเป็นเสียงเดียวกันให้มีการลงชื่อของคนในชุมชนที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตรเพื่อยี่นหนังสือส่งให้ อบต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา ประสานงานต่อในการดำเนินการต่อไป และทางตัวแทนของสภาผู้นำจะคอยติดตามความคืบหน้าต่อไป นัดประชุมครั้งต่อไปวันที่24 เมษายน 2559 ปิดการประชุม เวลา 12.00 น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรม Summer Big Bonus และตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ มีตัวแทนจากชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4 คน ในวันที่ 26 มีนาคม ณ ศูนย์อาหาร ชั้น3 ห้างอาเชี่ยนพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • เกิดอาสาสมัครครูบัญชีในชุมชน 1 คน คือ นายผ่อง นวลละออง
  • มีการแจ้งผลคืบหน้าการติดตามเรื่องการสร้างฝายกั้นน้ำ และ การสร้างประตูปิด-เปิด น้ำ ที่สายห้วย จากแหล่งน้ำ 2 แหล่ง คือ สายห้วยซอยปลักควาย และสายห้วยบริเวณ สายม่วงแต ซึ่งเป็นจุดรับน้ำที่สามารถนำน้ำไปใช้ต่อในทางเกษตรของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • สมาชิก อบต.
  • สมาชิกสหกรณ์
  • ปราชญ์ชุมชน
  • เด็กและเยาวชน
  • ปราชญ์ชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน ก.พ.5921 กุมภาพันธ์ 2559
21
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา10.30 น. นายพร้อม ทองเอื้อ แกนนำอาวุโสชุมชนคนปลักควาย ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม พร้อมกับกล่าวเชิฐให้ น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ เลขาสภาชุมชน แจ้งรายงานความคืบหน้าของกิจกรรมที่ได้มีการจัดกิจกรรมผ่านไปแล้วทั้งหมด พร้อมกับรายงานสถานะทางการเงินของกลุ่มซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงที่ได้จัดกิจกรรมผ่านเรียบร้อยไปแล้ว และ กล่าวแจ้ง
  • เวลา 11.00-11.30 น.ส.อมรรัตน์ธรรมรัตน์ แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการทดลองปลูกพืชสมุนไพรเข้าสู่สปาฮาลาล ร่วมกับ มหาวิทยาลัย มอ.หาดใหญ่ ซื่งเพื่อให้เกิดคุณภาพ และสามารถขายได้จริง แต่ต้องผ่านการตรวจสอบเรื่อง คุณภาพดิน และน้ำ ว่าจะต้องไม่มีสารตกค้าง แล้วสามารถปลูกพืชที่เหมาะกับน้ำและดินในแต่บริเวณได้อย่างเหมาะสม
  • เวลา 11.30-12.00 น. จัดให้มีแบ่งกิจกรรมการปลูกพืชสมุนไพร แบบมีส่วนร่วม
    เวลา 12.00 น.ปิดการประชุม และรับประทานอาหาร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง
  • เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงาน และวางแผนปฎิบัติงานของสภาผู้นำ
  • มีการวางแผนกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป คือกิจกรรมอบรมการปลูกพืช ผักปลอดสารพิษ และการปลูกมะนาวในลูกท่อ เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำหมู่บ้าน ประกอบด้วย

  • อบต. 1 คน
  • อสม. 2 คน
  • กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง 2 คน
  • ปราชญ์ชุมชน 5 คน
  • ตัวแทนหมู่บ้าน 6 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำรายงานปิดงวด 1 โดยทีม สจรส.มอ11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้จัดทำรายงานปิดงวด 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรายงานปิดงวด 1 โดยทีม สจรส.มอ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรายงานปิดงวด 1  ประกอบด้วย รายงาน ส.1 รายงานการเงิน ง.1 และการตรวจเอกสารบิลค่าใช้จ่ายในกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้้รับผืดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำรายงานปิดงวดที่1 โดยทีม สจรส.มอ.11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานปิดงวด 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 จัดทำรายงานปิดงวด 1 รายงาน ส.1 รายงานการเงิน ง.1  และตรวจสอบเอกสารการเงิน การบันทึกรายงานหักภาษี ณ ที่จ่าย และรายการคืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรายงานปิดงวด 1 รายงาน ส.1 รายงานการเงิน ง.1  และตรวจสอบเอกสารการเงิน การบันทึกรายงานหักภาษี ณ ที่จ่าย และรายการคืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาริมถนนทางเข้าหมู่บ้าน (ซอยปลักควาย )เพื่อปลูกพืชกินยอด2 กุมภาพันธ์ 2559
2
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพือ่พัฒนาถิมถนนซอยปลักควายใช้ในการปลูกพืชกินยอด 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พัฒนาริมถนนทางเข้าซอยปลักควายเพื่อปลูกพืชกินยอด โดยใช้ความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน โดยการเกณฑ์คนที่สามารถมีความพร้อมทั้งในเรื่องของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง เช่น มีดพร้า เครื่องตัดหญ้า เพื่อให้ริมทางโล่งเตียน และ สามารถสัญจรโดยใช้เส้นทางได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย ไม่มีแสงแดด หรือร้อนเกิน และเป็นเส้นทางที่ประชาชนทั่วไปนิยมใช้เส้นทางนี้เป็นประจำทุกวันด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พัฒนาริมถนนทางเข้าซอยปลักควายเพื่อปลูกพืชกินยอด เช่น มะม่วงหิมมะพาน สะหมุย
  • สามารถเป็นที่ปลูกผักสวนครัวตามแนวริมถนน เช่น ตะใคร้ และ พริก
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้สวยงามน่าอยู่ ไม่รก
  • ทำให้ประชาชนที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมา รู้สึกปลอดภัย จากป่ารก ข้างทาง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนซอยปลักควาย20 คน
  • เด็ก เยาวชน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ซอแรงบ้านเธอ บ้านฉัน ร่วมทำปุ๋ยอินทรีย์ ครั้งที่224 มกราคม 2559
24
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิตของคนในชุมชนในด้านปุ๋ยเคมีและเกิดการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มการทำกิจกรรม ซอแรงบ้านเธอบ้านฉันร่วมกันทำปุ๋ยอินทรีย์ เวลา 13.00-13.15 น. ลงทะเบียนรายชื่อสมาชิกที่มาร่วมซอแรงทำปุ๋ยอินทรีย์
เวลา 13.15-13.45 นางสาวอัมไพ ธรรมรัตน์ ปราชญ์ชุมชนเริ่มบรรยายเกี่ยวกับส่วนผสมที่ต้องใช้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ พร้อมกับอธิบายประโยชน์และคุณสมบัติของส่วนผสมทีละรายการ ตามรายละเอียด ลำดับที่ อุปกรณ์/ส่วนประกอบ ปริมาณ/จำนวน ประโยชน์ 1 ขี้ไก่แกรบ 360 กก. บำรุงดิน เป็นปุ๋ยบำรุงดิน 2 ขี้วัว 240 กก ทำให้ดินร่วนซุย 3 รำละเอียด 60 กก. ทำให้ขั้วเหนียว 4 ยูเรียน้ำ 6 กก. บำรุงราก และเร่งการเจริญเติบโตของรากและลำต้น 5 ปุ๋ยน้ำหนักชีวภาพจากปลา/ผลไม้ 6 กก. ทำให้ลำต้นและใบสมบูรณ์ 6 อาหารจานด่วน 6 กก. เร่งการเจริญเติบโต ของราก ลำต้น ดอก และใบ 7 จุลินทรีย์หน่อกล้วย 6 กก. เป็นจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย 8 ไตรโตเดอร์มา 6 กก. ฆ่าเชื้อรา รากเน่า โคนเน่า 9 บูวาเลีย 500 มล. กำจัดแมลงปากดูด เช่นไข่แมลงวัน 10 น้ำสะอาด 600 ลิตร ช่วยผสมให้ส่วนประกอบเคล้ารวมกัน 11 ถังผสมน้ำหมัก 1 ใบ บรรจุน้ำหมัก 12 1กากน้ำตาล 6 กก. เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้เพิ่มประสิทธิ์ภาพในการย่อยสลาย วิธีการทำ
ขั้นตอนการทำปุ๋ย ขั้นตอนการเตรียมปุ๋ย 1. เทขี้ไก่แกรบให้ครบตามจำนวน 690 ก.ก.
2. เทขี้วัวผสมกับขี้ไก่แกรบ กรณีที่ขี้วัวเป็นก้อนๆ ก็ต้องใช้เครื่องบดโดยการเทก้อนขี้วัว ลงในเครื่องยดให้ละเอียด 3. เทรำละเอียดผสมรวมในกองขี้ไก่และขี้วัว โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขั้นตอนการเตรียมน้ำหมัก 1.เทปุ๋ยหมักชีวภาพ จุลินทรีย์หน่อกล้วย อาหารจานด่วน บูวาเลืย ยูเรียน้ำ ไตรโคโดม่าผสมลงไปในถังบรรจุน้ำ 700 ลิตร พร้อมกวนให้เคล้ากัน ขั้นตอนการผสมปุ๋ย 1.ราดหรือฉีดพ่นน้ำหมักที่ผสมแล้วจากถังหมักเอามารดลงบนกองขี้ไก่ที่ผสมคลุกเคล้ากับขี้วัวและรำละเอียดโดยรดน้ำให้ชุ่มๆ เอามือทดลองกำปุ๋ยพอแห้งหมาดๆ 2.คลุกเคล้าส่วนผสมปุ๋ยตอกรวมกับน้ำหมักรดน้ำพอชุ่มหมาดๆ
3.กวาดปุ๋ยที่ผสมเรียบร้อยแล้ว เอาไปเก็บไว้ในล็อคปุ๋ยให้เรียนร้อยความสูงของปุ๋ย ไม่เกิน 45 ซม. 4.ใช้ผ้าใบ/ถุงดำคลุมกองปุ๋ยที่ผ่านการผสมเรียบร้อย พร้อมใช้ท่อแป๊ป พีวีซี เสียบระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย 5.กองปุ๋ยหมักไว้ 15 วันนับจากวันที่23ม.ค.59 จนถึง วันที่ 8 ก.พ.59 แล้ว ค่อยมาพลิกกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อนออก พักไว้อีก 15 วัน จน ถึงวันที่ 23 ก.พ. 59 สังเกตว่ากองปุ๋ยมีราสีขาวขึ้น และปุ๋ยเย็นลง แล้วจึงตักปุ๋ยบรรจุลงกระสอบ เพื่อเอาไปใช้งานกับพืชต่อไป เวลา 15.45 น. สมาชิกทำปุ๋ยเสร็จเรียบร้อย สรุปยอดที่ทำปุ๋ยจากกิจกรรมซอแรงบ้านเธอบ้านฉันร่วมกันทำปุ๋ยทั้งหมด ยอดผลิตรวม 600 ก.ก.
เลิกประชุมในการทำกิจกรรมเวลา16.00 น. นัดรวมกลุ่มในการพลิกปุ๋ยระบายความร้อนครั้งต่อไป วันที่ 8 ก.พ.59 เวลา 16.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำเกิดการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน

2.ทำให้คนในชุมชนมีความเข้าใจกันมากขึ้น มีความเอื้ออาทรแบ่งปันร่วมกันทำให้มีความสัมพัันธ์ที่ดีกันมากขึ้น 3.ทำให้ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิตของคนในชุมชนในด้านปุ๋ยเคมี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กวัยเรียน 10 คน
  • วัยทำงาน 40 คน
  • ผู้สูงอายุ 15 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้และอยู่อย่างพอเพียง : ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นครั้งที่223 มกราคม 2559
23
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และทำให้คนในชุมชนมีความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ และลดการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลงภายในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 11.00-11.15 น. รับลงทะเบียนผู้เข้าอบรม
    -11.15-13.30 น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ผู้ดำเนินโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรม และแนะนำวิทยากร ปราชญ์ชุมชน คือ น.ส.อัมไพ ธรรมรัตน์ และ น.ส.สุวิมล ทองเอื้อ ให้ความรู้เรื่องการทำปุ่ญอินทรีย์
  • 11.15-12.15 น.เข้าสู่กิจกรรมบรรยายเรื่องการนำวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร มาใช้เป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก และ ให้ความรู้เกี่ยวกับส่วนผสม อัตราส่วน และประโยชน์ ของส่วนผสมแต่ละรายการที่ให้ในการทำปุ๋ยหมัก
  • 12.15-13.00 น.พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00-14.40 เข้าสู่กิจกรรมภาคปฏิบัติ โดย น.ส.สุวิมล ทองเอื้อ พร้อม กับแบ่งกลุ่มสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมทำปุ๋ย กับกิจกรรม ซอแรง บ้านเธอบ้านฉันร่วมกันทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยจะแบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่มๆ และจัดให้มีหัวหน้าทีมในการทำปุ๋ยแต่ละครั้ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนมีความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ และสามารถนำวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์
  • คนในชุมชนลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมดีขึ้น และสงผลให้ดินดี สามารถบริโภคอาหารได้อย่างปลอดภัยภายในพื้นที่ของชุมชน
  • ลดขยะและของเสียภายในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 41 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • วัยทำงาน 36 คน
  • ผู้สูงอายุ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ซอแรงบ้านเธอ บ้านฉัน ร่วมทำปุ๋ยอินทรีย์ ครั้งที117 มกราคม 2559
17
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  1. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิตของคนในชุมชนในด้านปุ๋ยเคมี และเพื่อให้คนในชุมชนเกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 15.00 น. ลงทะเบียนรายชื่อสมาชิกที่มาร่วมซอแรงทำปุ๋ยอินทรีย์
เวลา 13.15-13.45 นางสาวอัมไพ ธรรมรัตน์ ปราชญ์ชุมชนเริ่มบรรยายเกี่ยวกับส่วนผสมที่ต้องใช้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ พร้อมกับอธิบายประโยชน์และคุณสมบัติของส่วนผสมทีละรายการ ตามรายละเอียด ลำดับที่ อุปกรณ์/ส่วนประกอบ ปริมาณ/จำนวน ประโยชน์ 1 ขี้ไก่แกรบ 360 กก. บำรุงดิน เป็นปุ๋ยบำรุงดิน 2 ขี้วัว 240 กก ทำให้ดินร่วนซุย 3 รำละเอียด 60 กก. ทำให้ขั้วเหนียว 4 ยูเรียน้ำ 6 กก. บำรุงราก และเร่งการเจริญเติบโตของรากและลำต้น 5 ปุ๋ยน้ำหนักชีวภาพจากปลา/ผลไม้ 6 กก. ทำให้ลำต้นและใบสมบูรณ์ 6 อาหารจานด่วน 6 กก. เร่งการเจริญเติบโต ของราก ลำต้น ดอก และใบ 7 จุลินทรีย์หน่อกล้วย 6 กก. เป็นจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย 8 ไตรโตเดอร์มา 6 กก. ฆ่าเชื้อรา รากเน่า โคนเน่า 9 บูวาเลีย 500 มล. กำจัดแมลงปากดูด เช่นไข่แมลงวัน 10 น้ำสะอาด 600 ลิตร ช่วยผสมให้ส่วนประกอบเคล้ารวมกัน 11 ถังผสมน้ำหมัก 1 ใบ บรรจุน้ำหมัก 12 1กากน้ำตาล 6 กก. เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้เพิ่มประสิทธิ์ภาพในการย่อยสลาย

วิธีการทำและขั้นตอนการทำปุ๋ย

ขั้นตอนการเตรียมปุ๋ย

  1. เทขี้ไก่แกรบให้ครบตามจำนวน 340 ก.ก.
  2. เทขี้วัวผสมกับขี้ไก่แกรบ กรณีที่ขี้วัวเป็นก้อนๆ ก็ต้องใช้เครื่องบดโดยการเทก้อนขี้วัว ลงในเครื่องยดให้ละเอียด
  3. เทรำละเอียดผสมรวมในกองขี้ไก่และขี้วัว โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขั้นตอนการเตรียมน้ำหมัก 1.เทปุ๋ยหมักชีวภาพ จุลินทรีย์หน่อกล้วย อาหารจานด่วน บูวาเลืย ยูเรียน้ำ ไตรโคโดม่าผสมลงไปในถังบรรจุน้ำ 700 ลิตร พร้อมกวนให้เคล้ากัน ขั้นตอนการผสมปุ๋ย 1.ราดหรือฉีดพ่นน้ำหมักที่ผสมแล้วจากถังหมักเอามารดลงบนกองขี้ไก่ที่ผสมคลุกเคล้ากับขี้วัวและรำละเอียดโดยรดน้ำให้ชุ่มๆ เอามือทดลองกำปุ๋ยพอแห้งหมาดๆ 2.คลุกเคล้าส่วนผสมปุ๋ยตอกรวมกับน้ำหมักรดน้ำพอชุ่มหมาดๆ
    3.กวาดปุ๋ยที่ผสมเรียบร้อยแล้ว เอาไปเก็บไว้ในล็อคปุ๋ยให้เรียนร้อยความสูงของปุ๋ย ไม่เกิน 45 ซม. 4.ใช้ผ้าใบ/ถุงดำคลุมกองปุ๋ยที่ผ่านการผสมเรียบร้อย พร้อมใช้ท่อแป๊ป พีวีซี เสียบระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย 5.กองปุ๋ยหมักไว้ 15 วันนับจากวันที่15 ม.ค.59 จนถึง วันที่ 1 ก.พ.59 แล้ว ค่อยมาพลิกกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อนออก พักไว้อีก 15 วัน จน ถึงวันที่ 15 ก.พ. 59 สังเกตว่ากองปุ๋ยมีราสีขาวขึ้น และปุ๋ยเย็นลง แล้วจึงตักปุ๋ยบรรจุลงกระสอบ เพื่อเอาไปใช้งานกับพืชต่อไป เวลา 15.45 น. สมาชิกทำปุ๋ยเสร็จเรียบร้อย สรุปยอดที่ทำปุ๋ยจากกิจกรรมซอแรงบ้านเธอบ้านฉันร่วมกันทำปุ๋ยทั้งหมด ยอดรวม 700 ก.ก.
    เลิกประชุมในการทำกิจกรรมเวลา16.00 น. นัดรวมกลุ่มในการพลิกปุ๋ยระบายความร้อนครั้งต่อไป วันที่ 1 ก.พ.59 เวลา 16.00 น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  1. เกิดการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ร้อยละ 70 ลดความแตกแยกของคนในสังคม

  1. คนในชุมชนมีความเข้าใจกันมากขึ้น มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน ร้อยละ 70

  2. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิตของคนในชุมชนในด้านปุ๋ยเคมี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย
  • วัยทำงาน ชาย-หญิง 55 คน
  • ผู้สูงอายุ ชาย-หญิง 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้และอยู่อย่างพอเพียง : ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นครั้งที่116 มกราคม 2559
16
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และทำให้คนในชุมชนมีความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ และลดการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลงภายในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 10.30-11.00 น. รับลงทะเบียนผู้เข้าอบรม
  • 11.00-11.15 น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ผู้ดำเนินโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรม และแนะนำวิทยากร ปราชญ์ชุมชน คือ น.ส.อัมไพ ธรรมรัตน์ และ น.ส.สุวิมล ทองเอื้อ ให้ความรู้เรื่องการทำปุ่ญอินทรีย์
  • 11.15-12.15 น.เข้าสู่กิจกรรมบรรยายเรื่องการนำวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร มาใช้เป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก และ ให้ความรู้เกี่ยวกับส่วนผสม อัตราส่วน และประโยชน์ ของส่วนผสมแต่ละรายการที่ให้ในการทำปุ๋ยหมัก
  • 12.15-13.00 น.พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00-14.40 เข้าสู่กิจกรรมภาคปฏิบัติ โดย น.ส.สุวิมล ทองเอื้อ พร้อม กับแบ่งกลุ่มสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมทำปุ๋ย กับกิจกรรม ซอแรง บ้านเธอบ้านฉันร่วมกันทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยจะแบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่มๆ และจัดให้มีหัวหน้าทีมในการทำปุ๋ยแต่ละครั้ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนมีความรู้และมีความเข้าใจในการทำปุ๋ยอินทรีย์
  • คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมี และ สามารถลดรายจ่ายภายในครอบครัว
  • คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการเข้ามารับฟังความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับปราชญ์ชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กวัยเรียน 10 คน
  • เด็กวัยทำงาน 50 คน
  • ผู้สูงอายุ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เสวนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ พืชร่วมยาง กับวิถีเกษตรยุคใหม่10 มกราคม 2559
10
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ จุดเด่น จุดด้อยในการปลูกสวนยางเชิงเดี่ยว และสวนยางแบบพืชร่วมยาง และเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมาเรียนรู้และสามารถนำไปหฏิบัติใช้ในพิ้นที่แปลงขอตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 12.40-13.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการทำกิจกรรม
  • เวลา 13.00-13.20 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ พิธีกร และปราชญ์ชุมชน กล่าวสวัสดีทักทายพี่น้องในชุมชนที่มาร่วมทำกิจกรรม และได้เชิญ คุณเพ็ญศรี แซ่ตัน หัวหน้าเกษตรอำเภอ มากล่าวเปิดงาน และพบปะทักทายกับพี่น้องเกษตรกรในชุมชนที่เข้าร่วมรับฟังเวที เสวนา พร้อมทั้งแนะนำตัว ประวัติความเป็นมา และเสนอแนะกิจกรรมที่ทางเกษตรอำเภอควนเนียงกำลังจะจัดให้พี่น้องเกษตรกร เกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยที่ทางรัฐบาลกำลังสนับสนุนและช่วยเหลือชาวสวนยางพาราให้พี่น้องเกษตรกรไร่ละ 1,500 บาท สำหรับเกษตรกรที่เคยได้รับเงินค่าชดเชยไปแล้วผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรอำเภอเมื่อปี 2557 และ มีการประชาสัมพันธ์ เรื่อง ขอเชิญร่วมงานวันถ่ายทอดความรู้(Filed Day) ปี 2559 ณ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปี 2559 เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญา ที่มีความเหมาะสมกับพี้นที่ ตลอดจนการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้สำหรับพื้นที่การทำยางพาราซึ่งเป็นพืชเชิงเดี่ยวในปัจจุบัน เพื่อจัดกระบวนการในการบรรเทาปัญหายางราคาถูก และ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากเด็กนักเรียนในโรงเรียน เผยแพร่เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การปลูกพืชร่วมยาง และการป้องกันกำจัดโรคยางพาราให้มีคุณภาพ เพื่อให้มีการถ่ายทอดจากเด็กไปสู่ผู้ใหญ่ให้ร่วมด้วยช่วยกันพึ่งพาตัวเองสู่การอยู่รอดต่อไปในอยาคต
  • เวลา 13.20-13.40 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญให้นายสำเริง แก้วศรีนวล จนท.ส่งเสริมการเกษตร จังหวัดสงขลา มาพบปะพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินงานของหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบัน ซึ่ง นายสำเริงได้แจ้งถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการทำงานในปัจจุบันว่า ในภาคใต้ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรขึ้นมาแล้วทั้งหมด 16 แห่ง ซึ่งเกษตรกรที่ทำสวนยางพาราสามารถไปขอข้อมูลและขอความรู้ได้ตามจุดต่างๆ ที่ทางจัดหวัดกำหนดไว้ตามอำเภอต่างๆ เช่น อ.รัตภุมิ อ.สิงหนคร อ.นาทวี อ.สทิงพระ เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่ประสบปัญหาจากภาวะที่ยางพารา ราคาตกต่ำ
  • เวลา 13.40-14.00 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญให้ นายสุทิศ พงษ์จีน ผจก.สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จก. มาร่วมเสวนา ซึ่ง นายสุทิศ พงษ์จีน ได้บอกถึงแนวทางที่ทางสหกรณ์การเกษตรควนเนียงได้มีแผน การทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือ พี่น้อง เกษตรกร ที่กำลังประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ในช่วงภาวะราคายางตกต่ำเปิดร้านขายอาหารราคาถูก เริ่มต้นที่ราคาจานละ10 บาททุกวันพุธ ของสัปดาห์ และอาหารบุฟเฟ่ จานละ 50 บาท ทุกวัน จันทร์-ศุกร์(ยกเว้นวันพุธ) มีการขายของราคาถูกตลาดนัดเปิดท้ายทุกวันพุธสุดท้ายของวันสิ้นเดือน ฯ พร้อมทั้งเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรภายในชุมชนสามารถนำสินค้า เช่น พืชผลทางการเกษตร ไป จำหน่าย ณ ตลาดกลางเกษตรอินทรีย์จุดร้านค้าจำหน่ายของ สหกรณ์การเกษตรควนเนียง ได้ทุกคน
  • เวลา 14.00-15.00 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญให้ นาย จำนาญ วิจะสิกะ หน.ฝ่ายปฏิบัติการ กยท.รัตภูมิ เข้าร่วมเวที่ เสวนา ซึ่ง จำนาญ ได้บอกเล่าประวัติความเป็นมาของการการจัดตั้ง หน่วยงาน กยท. เปลี่ยนชื่อมาจาก สกย. เพื่อเป็นการ ส่งเสริม และ รวมกลุ่ม เพื่อแสวงหากำไรให้กับกลุ่มพี่น้องเกษตรกร เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางมากขึ้น ส่วนการส่งเสริมในการปลูกพืชแซมยาง โดยเปลี่ยนจากสวนยางโล่งเตียนให้เป็นป่ายาง เนื่องจากมีพืชหลายชนิดที่ช่วยเกื้อหนุนให้ยางพารามีน้ำยางที่มีคุณภาพดีมากขึ้น เช่นการปลูกกล้วย ปลูกผักเหมียง(เหรียง) ปลูกพืชสมุนไพรเช่น ขมิ้น หัวไพร หรือสำหรับเกษตรกรที่ล้มยางรัฐบาลจะมีเงินส่งเสริมการปลูกพืชแทนยางล้มครัวเรือนละ 100,000 บาท พร้อมทั้งได้ชี้แนะและเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรสวนยางปรับเปลี่ยนความคิดจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาปลูกพืช ร่วมแนวผสมผสานที่หลากหลายในบริเวณสวนยาง และเปลียนสภาพจากสวนยางเป็นป่ายางอีกครั้ง เพื่อคืนความชุ่มชื้นให้กับผืนดิน และสามารถเอื้อกับยางพารา สามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้มีคุณภาพและทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชแซมด้วย
  • เวลา 15.00-15.40 นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญ นางสุดา ยาอีด หน.เกษตรอำเภอคลองหอยโข่งมาเสวนาเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชร่วมยาง จากประสบการณ์จริงของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ อ.คลองหอยโข่ง นางสุดา ได้เริ่มบรรยายพร้อมฉายสไลต์ภาพประกอบ เกี่ยวกับหัวข้อทางรอดของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ได้เริ่มจากการเปิดประเด็นปรับเปลี่ยนความคิดของเกษตรกรที่มาร่วมรับฟัง โดยใช้หลักการทำสวนยางพาราดังนี้
  1. ต้องทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 2.ต้องทำให้มีรายได้เสริม นอกเหนือจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3.ต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ในส่วนของเกษตรกรที่จะมีการปรับเปลี่ยนจากพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นพืชผสมผสาน ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้

- ต้องรู้จักวิธีการปลูกพืชแซมที่ถูกต้อง เช่น การปลูกผักเหลียง - ต้องมีงบประมาณในการลงทุน เช่น กิ่งพันธ์ ค่าเดตรียมพื้นที่ การสนับสนุนจาก ภาครัฐ เช่น ภาคการเกษตร
- ต้องมีตลาดรองรับ - ควรรู้วิธีการปลูกที่ถูกต้อง สำหรับพืชร่วมยางที่แนะนำให้ปลูกและมีเกษตรกรในพื้นที่ อ.คลองหอยโข่งปลูกและมีตลาดรองรับสามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง แยกประเภทตามอายุอย่างได้แก่ 1. พื้นที่ยางพาราแก่ เหมาะสำหรับปลูก หมากเหลือง,สละอินโด,ผักเหรียง,เหรง,และ เลี้ยงเป็ด 2. พื้นที่ยางพาราอ่อนเหมาะสำหรับการปลูก ดาวเรือง,ผักกูด,มะละกอ 3. พื้นที่ล้มยางพาราไปแล้ว เหมาะสำหรับการปลูก ข้าวโพดหวาน,ฝรั่ง สำหรับการปลูกพืชร่วมยาง คือ การปลูกพืชที่อยู่ร่วมกับยางอายุ มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป เช่น ไผ่ลวก คุณสุดา ได้สรุปตอนท้ายไว้ สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่มากกว่า 100 ไร่ กรมทรัพยากรธรณี มีการลงทุน เรื่องน้ำ ผ่านพลังงาน Solar Cell  เกษตรกรสามารถยื่นหลักฐานการขึ้นทะเบียนได้ที่หน่วยงานดังกล่าวได้ เวลา 15.40-16.00 นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญนายอนุชา ยาอีด ตำแหน่งหัวหน้ายุทธศาสตร์เกษตร จ.สงขลา มากล่าวสรุปปิดการเสวนา พืชร่วมยาง ซึ่งนายอนุชา ได้กล่าวสรุปว่า เกษตรกรทุกคนต้องหันมาปรับทัศนคติเกี่ยวกับการปลูกพืชเสริมให้มากขึ้นเปลี่ยนจากสวนยางพาราที่โล่งเตียน มาเป็นป่ายางที่มีพืชแซม แต่ต้องเป็นพืชที่ตลาดต้องการ และต้องมีการรวมกลุ่มและมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันได้เพื่อจะได้พึ่งพาเกี่ยวกับเรื่องควบคุมคุณภาพของผลผลิตและตลาดที่จะนำไปขาย เพื่อจะได้เป็นทางรอดในการดำเนินชีวิตเพื่อปากท้องของพี่น้องเกษตรกรทุกคนในขณะที่กำลังเผชิญกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจราคายางตกต่ำ 16.00-16.20 นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เปิด การถามตอบระหว่าง วิทยากร ปราชญ์ชุมชน และเกษตรกรในชุมชน โดยนายนุสนธิ์ ได้ถามถึง ตลาดผักเหลียงพร้อมขอคำแนะนำวิธีการปลูก ว่าสามารจำหน่ายที่ไหน นางสุดาได้ตอบว่า ตลาดส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารในหาดใหญ่ และ ตลาดกิมหยง ส่วนวิธีการปลูก นางสุดา แนะนำให้ปลูก 2 วิธี คือ ผักเหรียงใบเรียวเล็ก ให้ปลูกเอียง 45 องศา ส่วนผักเหรียงใบใหญ่ ให้ปลูกลำต้นตั้งตรง


16.20 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ ขอบคุณ วิทยากรที่มาร่วมเสวนาทุกคน พร้อมกล่าวปิดการเสวนา และ มอบกระเช้าของที่ระลึก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และีความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชแบบผสมผสาน
  • ทำให้คนในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มรายได้จากการปลูกพืชเสริมในพื้นที่สวนยางที่มีอยู่แล้วโดยการปลูกพืชแซมที่เหมาะสมในพื้นที่ของ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 214 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน หมู่ 1 และหมู่ 13

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน ม.ค.59 และร่วมทำบุญตักบาตรซอย10 มกราคม 2559
10
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง- เพื่อเป็นเวทีในการปรึกษา หารือ และมีการประชุมประจำเดือนๆละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง และบันทึกการประชุมทุกครั้ง โดยการประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางสาวอัมไพ ธรรมรัตน์ ได้เสนอวิธีการแก้ปัญหา เพื่อเอาตัวรอดโดยใช้วิธีการสร้างความยั่งยืนสำหรับสมาชิกในชุมชน โดยเสนอให้มีการปลูกพืชสมุนไพร ไว้ข้างรั้วบ้าน หรือเป็นพืชแซมยาง เนื่องจากประสบปัญหาราคายางตกต่ำ ซืึ่งได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องของการสร้างรายได้เสริมเพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วงปัญหาราคายางพาราตกต่ำ
  • สมาชิกที่มาร่วมประชุมได้ร่วมกันทำบุญตักบาตร ทำบุญซอย ซึ่งเป็นกิจกรรมครั้งแรกของชุมชนที่เริ่มมีการจัดขึ้น ทำให้ในชุมชนเกิดความพร้อมเพรียงในการร่วมใจการมาโดยการหิ้วสายชั้นมาคนละ1ปิ่นโต และได้มีโอกาสให้คนทั้งซอยได้มาพบปะพูดคุยกันทุกรุ่นทุกวัย และมีการลงมติในที่ประชุมขอให้มีกิจกรรมนี้จัดต่อเนื่องในวันอาทิตย์ที่2ของเดือนธันวาคม ของทุกๆปี
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-.ทีมสภาผู้นำ จำนวน ..14........ คน เป็นทีมทำงานในการขับเคลื่อนโครงการ และมีการประชุมปรึกษาหารือทุกเดือน เพื่อรายงานผลการทำกิจกรรมโครงการ ตลอดจนการวางแผนงาน และการประเมิน ติดตาม การดำเนินงาน

2.สภาผู้นำ มีความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน

3.เกิดการผลักดันในเชิงนโยบาย ศก.พอเพียงเพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 14 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำหมู่บ้าน ประกอบด้วย

  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกตรควนเนียง
  • ปราชญ์ชุมชน
  • ตัวแทนหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน ธ.ค.5813 ธันวาคม 2558
13
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • รายงานแผนการดำเนินงานกิจกรรมลำดับถัดไปในการนำข้อมูลไปถ่ายทอดประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกในชุมชนรับรู้ข้อมูล- สรุปความคืบหน้าของกิจกรรมในแผนแต่ละกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สภาผู้นำชุมชนประชุมประจำเดือน ครั้งที่3/ 2558 วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคมพ.ศ. 2558ณ สวนลุงวรควนเนียง

สมาชิกที่เข้าประชุม

ลำดับที่ รายชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ

  1. นายพร้อม ทองเอื้อ
  2. นายผ่อง นวลลออ ที่ปรึกษาโครงการ
  3. นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ เลขานุการ
  4. นายประคอง เพรชพรหมศร กรรมการ
  5. นายผอบ ทองอำพล กรรมการ
  6. นางอัมไพ ธรรมรัตน์ กรรมการ
  7. นางสุวิมล ทองเอื้อ กรรมการ
  8. นางพิน อุไรรัตน์ กรรมการ
  9. นายนิยม ศิริมุกศิกะ กรรมการ
  10. นายชาญชัย คงขวัญ กรรมการ
  11. นางสาววลัยลักษณ์ สุวรรณมณี กรรมการ
  12. นายสัญญา ทองเอื้อ กรรมการ
  13. นางสาวคะนึง ยิ้มเยื้อน กรรมการ
  14. นายเวียน ธรรมรัตน์ กรรมการ

เริ่มประชุมเวลา13.00น.
วาระที่ 1.นางสาวอมรตน์ ธรรมรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งแผนการดำเนินกิจกรรมตามปฏิทินโครงการและรายงานผลความคืบหน้าของกิจกรรมที่ทำไปแล้ว โดยสรุปกิจกรรม ที่มีการทำไปแล้วทั้งหมดดังนี้

  1. กิจกรรมการประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง ครบจำนวนตามแผน

  2. กิจกรรมสภาผู้นำประชุมประจำเดือน มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง คือ เดือน ตุลาคม และ พฤศจิกายน

  3. กิจกรรมสภาผู้นำชี้แจง กิจกรรม เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง ผลิตของใช้ใกล้ โดยการทำสบู่ และน้ำยาล้างจาน

  4. กิจกรรมทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

  5. กิจกรรมเรียนรู้และอยู่อย่างพอเพียง ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเตรียมวัตถุดิบไว้พร้อมแล้ว รอสมาชิกที่มีการแบ่งกลุ่มนัดวันทำกิจกรรม

  6. กิจกรรมซอแรงบ้านเธอบ้านฉัน ร่วมกันทำปุ๋ยอินทรีย์ มีการเตรียมวัตถุดิบไว้พร้อมแล้ว รอสมาชิกที่มีการแบ่งกลุ่มนัดวันทำกิจกรรม

  7. กิจกรรมการประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม มีการปฐมนิเทศ และ อบรมการเขียนรายงาน ไปแล้ว

วาระที่ 2.เรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม

2.1 นางสาวสุวิมล ทองเอื้อ ได้เสนอให้มีการทำบุญซอยปลัก ในวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน โดยเสนอให้มีการทำบุญทุกๆปี เพื่อจะได้เป็นวัฒนธรรมของซอย
มติที่ประชุม มีการรับรองจากคณะกรรมการทุกคน นัดประชุมครั้งต่อไปวันที่10 มกราคม 2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำให้คนในชุุมชน สนใจมาร่วมประชุมประจำเดือน เพื่อช่่่่่วยเหลือเรื่องปากท้องมากขึ้น
  • ทำให้กรรมการชุมชนมีความกระตือรือร้้นในการมาพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตลอดจนเป็นเวทีในการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน
  • เป็นเวที ที่ใช้สำหรับการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อคนในชมชน
  • เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีตัวแทนที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้นำชุมชนได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 14 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำหมู่บ้าน ประกอบด้วย

  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกตรควนเนียง
  • ปราชญ์ชุมชน
  • ตัวแทนหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  -

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

  -

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

  -

เรียนรู้ออกแบบเครื่องมือสำรวจชุมชน8 ธันวาคม 2558
8
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนได้เรียนรู้เรื่องราว ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทั่วไป เช่น อาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม แหล่งทรัพยากรณ์ จุดเด่น จุดด้อย ของชุมชนตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมครั้งที่1. แยกตามวาระดังนี้ วาระที่1.การออกแบบเครื่องมือสำรวจ โดยวิทยากรกระบวนการ นายสมนึก หนูเงิน และ นายประนอบ คงสม จากหน่วยงานสภาผู้นำชุมชนตำบลควนรู เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดหัวข้อแบบสอบถาม  เพื่อใช้ในการตั้งถามจากเด็กกับผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง และสมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ต่อได้  และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบก่อนและหลัง จากการทำกิจกรรมของ สสส. โดยข้อมูลที่ใช้ในการทำแบบสอบถาม มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ย้อนรอยตามรอยเส้นทางวิถีซอยปลักควาย (6/12/2558) วิถีชุมชนซอยปลักควาย เก็บข้อมูล 1. กลุ่มตัวอย่าง o ชุมชนซอยปลักควาย 50 ครัวเรือน
o ทำแผนที่เดินดิน (ทำมือ) o เด็ก 37 คน o ผู้สูงอายุ 10 คน 2. เปรียบเทียบก่อนหลัง o แผนที่ชุมชน(แผนที่ทำมือ) o ประวัติศาสตร์ (เล่าผ่านเวทีผู้สูงอายุ—ลุงพร้อม ทองเอื้อ,ลุงเต็กอิ้น วิไลรัตน์,กำนันสวัสดิ์ สุจิชาติ เวลา 1 ชม.)  ภูมิปัญญา  ความเชื่อ  ประเพณี o อาชีพ o รายได้/รายจ่าย o หนี้สิน o การออม o สมาชิกกลุ่ม/องค์กร o บัญชีครัวเรือน 3. ความแตกต่างวิถีทำการเกษตร 4. ข้อเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง o ปัญหาความต้องการ/ข้อเสนอแนะ 5. การบวนการสร้างการเรียนรู้เด็ก/เยาวชน รู้วิถีชุมชน/ครอบครัว

ขั้นตอน 1. ออกแบบเครื่องมือสำรวจ 2. ลงพื้นที่สำรวจโดยเด็ก/เยาวชน o ทำความเข้าใจ/ทดลอง/แบ่งพื้นที่ 3. วิเคราะห์ข้อมูล o ทำความเข้าใจ/ทดลอง ผลผลิต/ผลลัพธ์ 1. เด็กเยาวชน/ประชาชนเรียนรู้ 2. ความสัมพันธ์เด็ก/เยาวชน/ประชาชน 3. ความรู้จากการวิเคราะห์




กิจกรรมสำรวจพื้นที่ชุมชน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1,8,9,13 o แบ่งพื้นที่เป้าหมายออกเป็น 7 กลุ่มและเด็กทำหน้าที่สำรวจกลุ่มละ 5 คนและพี่เลี้ยงกลุ่มละ 1 คน o เวทีเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน โดยผู้อาวุโสในคาบเรียน o ทำแผนที่ทำมือ o ทำความเข้าใจเครื่องมือ o ลงพื้นที่เก็บข้อมูล o รวบรวมวิเคราะห์ o เวทีเติม/เรียนรู้ ผลลัพธ์ที่จะได้/เกิดขึ้นกับชุมชน -การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรประวัติศาสตร์ชุมชน             -เปิดประเด็นหัวข้อการประชุม วาระที่ 2. ปิดการประชุม เวลา 16.00 น. นัดประชุมกิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 8/11/2558  สถานที่ โรงอาหาร รร.บ้านควนเนียงใน กิจกรรมครั้งที่2 เริ่มประชุม  เวลา  1430  น. เรียนรู้ชุมชนชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้  เรื่องเล่าประวัติศาสตร์ซอยปลักควาย               ผู้ดำเนินการโครงการกล่าวสวัสดีทักทายคณะครู-นักเรียน โรงเรียนบ้านควนเนียงใน แนะนำวิทยากรกระบวนการ อ.ประนอบ คงสม  และดำเนินการแนะนำเกี่ยวกับหัวข้อการผีกอคณะคนเล่าเรื่องอดีตย้อนรอยซอยปลักควาย แนะนำ นายพร้อม ทองเอื้อ นายอนันต์ แก้วเจริญ นายเฉลิม วรรณกูล (อดีตครูเกษียณ ร.ร.บ้านควนเนียงใน) หลังจากนั้นผู้ดำเนินการโครงการนางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ เชิญ อ.ประนอบเริ่มกระบวนการดำเนินการเล่าเรื่องย้อนรอย วิทยากรกระบวนการ เชิญวิทยากรคนเฒ่าเล่าเรื่องความเป็นมาของถนน โดยเชิญ นายเฉลิม วรรณกูล และนายอนันต์ แก้วเจริญ และนายพร้อม ทองเอื้อ  เริ่มเล่าประวัติซอยปลักควาย
โดยเล่าว่าแรกเริ่มเดิมที่ซอยปลักควายพื้นที่เป็นป่ามาก เมื่อ แรกเริ่มเดิมที่คนที่มาตั้งบ้านอยู่อาศัยประมาณ 10 หลังคาเรือน ประมาณ พ.ศ 2518 ตาเสี้ยน วรรณกูล อดีตผู้ใหญ่บ้านนักพัฒนา ไม่มีงบจากภาครัฐหรืองลประมาณของอำเภอ สมัยนั้นมีความคิดต้องการพัฒนาช่วยเหลือตัวเองโดยการสร้างถนนเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมาได้เกนคนมาช่วยกันทำและตัดถนน ได้ถนนกว้าง 8 เมตร ยาว ไม่ถึง 1 กก. ก็โดนชาวเอามีดไล่คนหลังจากนั้น เส้นทางถนนไม่ได้ยาวสุดซอย เมื่อถนนตัดมาถึงหน้าบ้านใครให้คนนั้นทำถนนเอง  ก็ได้ตั้งชื่อซอยปลักควายนายเมิน สาเหตุที่มีการตั้งชื่อซอยนี้ เนื่องจากมีงานศพ และชาวบ้านซ้อนท้ายรถและได้เกิดการพลัดตกลงบนถนน เนื่องจากถนนมีพื้นผิวไม่เรียบและขรุขระเป็นพื้นที่ทุระกันดานมาก หลังจากนั้น และได้ระดมครูและชาวบ้านมาระดมกำลังตัดไม้ไผ่มาสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านควนเนียง -ถนนซอยปลักควาย ไปชนป่าที่เป็นท่อง
-บ้านสายม่วงแค เมื่อก่อนมีต้นมะม่วงใหญ่อยู่ที่ริมสายน้ำเมื่อมีผลผลิตก็เลยใช้”แค”(หมายถึงเอาไม้ไผ่ไปผูกกับต้นไม้เผื่อให้ขึ้นต้นไม้ใหญ่ ได้ง่ายขึ้น)ทาบต้นเป็นโอ่งเพื่อที่จะเก็บเอาลูกมาเก็บกิน “เกนคน”(การไปขอช่วยคนมามีจำนวนชัดเจนว่าจะต้องทำงานให้ได้ตามจำนวนที่ตั้งไว้ เป้าหมายเช่นต้องทำงานให้ได้ 5 วา คือขอช่วยจำนวน 5 คน “ตัง” คือ เครื่องลากไม้ชนิดหนึ่ง โดยใช้ควายลาก “โกก” คือ มีลักษณะโค้งสวมบนหลังควาย
หลังจากนั้นมีการตั้งชื่อซอยปลักควายอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520
การช่วยกันทำงาน ใช้ น้ำตาลหวาก แทนเงินเป็นเครื่องมือในการเลื้ยงแขก เพื่อให้งานทำถนนให้ออกมาสำเร็จเป็นซอยปลักควายจนถึงปัจจุบัน

-เดิมโรงเรียนท่องเสา ย้ายจากที่ไปตั้งอยู่ในวัดควนเนียงใน หลังจากนั้นปี พ.ศ.2511 มีรัฐมนตรีกระทรวงศึกษานับถือศาสนาคริสต์ ได้มีคำสั่งให้แยกโรงเรียนออกจากวัด และได้ย้ายโรงเรียนกลับมาที่โรงเรียนบ้านท่องเสาเดิมโดยมีชื่อ ว่า โรงเรียนบ้านควนเนียงใน โดยมี ครูเล็ก และ พระเจ้าแก้วมาร่วมกันก่อตั้งและพัฒนาโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน -ซอยปลักควายได้ขยายซอยไปเรื่อยๆ ไปจนถึงบ้านกลางท่อง และไปชนบ้านหนองขี้แตก(และโรงเรียนบ้านยางงาม) วาระที่2 กิจกรรมการร่วมกันตั้งคำถาม-ตอบ ระหว่าง วิทยากรกระบวการกับนักเรียน และผู้เฒ่าเล่าเรื่องราวอดีตชุมชน โดยอาจารย์ประนอบ คงสม ระดมความคิดเห็นของนักเรียน คำถามที่1โรงเรียนบ้านควนเนียงใน มีชื่อเดิมว่าอะไร “นักเรียนตอบโรงเรียนบ้านทุ่งเสา” คำถามที่2 ผู้ใหญ่บ้านที่คิดตัดถนนซอยปลักควายมีชื่อว่าอะไร นักเรียนตอบ นายเถี้ยน วรรณกูล คาถามที่3 ทำไมถึงเรียกว่าซอยปลักควาย นักเรียนตอบ“มีที่มา เนื่องจากมีป่าเยอะ มีหลุมมากเหมือนรางหนมครก เหมือน มียายหล่นพลัดตกลงในหลุมที่ดูเหมือนปลักควาย และมีการเปลี่ยนแปลงจากป่ามาเป็นซอยจนถึงปัจจุบัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนได้เรียนรู้เรื่องราว ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทั่วไป เช่น อาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม แหล่งทรัพยากรณ์ จุดเด่น จุดด้อย ของชุมชนตนเอง
  • เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ และเด็ก /เยาวชน ของคนในชุมชน และได้เรียนรู้เรื่องราวของชุมชนตนเอง
  • ทำให้เด็กมีความรู้ในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้สูงอายุ ชาย-หญิง
  • ประชาชนชาย-หญิง
  • เด็กนักเรียน ชาย-หญิง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สนับสนุนต้นพันธุ์ผักเหรียงปลูกในโซนบ้าน และแปลงเกษตร4 ธันวาคม 2558
4
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนต้นพันธุ์ผักเหรียงใหช้ปลูกในโซนบ้าน และแปลงเกษตร 2.เพื่อให้เกิดพื้นที่อาหารของชุมชน 3.เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สนับสนุนต้นพันธุ์ผักเหรียง จำนวน 350 ต้น 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สนับสนุนต้นพันธุ์ผักเหรียง จำนวน 350 ต้น 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนบ้านปลักควาย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้ ทำสบู่สมุนไพร และน้ำยาล้างจาน29 พฤศจิกายน 2558
29
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักที่จะเรียนรู้ และสามารถนำความรู้มาทำใช้เองเพื่อลดรายจ่ายภายในรัวเรือนได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง ผลิตของใช้ใกล้ตัว วันอาทิตย์ ที่ 29 เดือน พฤศจิกายน 2558
ณ โรงอาหารโรงเรียนบ้านควนเนียงใน

………………………………….

  • เวลา 11.00 น. น.ส.อมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ผู้ดำเนินโครงการได้กล่าวต้อนรับสมาชิกในชุมชนซอยปลักควายผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และได้เชิญให้ นายพร้อม ทองเอื้อ ผู้นำชุมชน มากล่าวทักทายและเชิญชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจและตั้งใจในการเรียนรู้ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการผลิตน้ำยาล้างจาน และสบู่ ซึ่งเป็นของใช้สิ้นเปลืองที่มีความจำเป็นต้องใช้ภายในครัวเรือนทุกๆบ้าน

  • ฝึกการทำสบู่สมุนไพร และ น้ำยาล้างจาน

  • เวลา 11.20-12.00 นนางสาวอมรรัตน์ ได้เชิญวิทยากร ซึ่งเป็นปราชญ์ชุมชน คือ นางสาวอัมไพ ธรรมรัตน์ ปราชญ์ ทางด้านการทำสบู่สมุนไพรมาสอนวิธีการทำสบู่ และบอกถึง ประโยชน์ของการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาประยุกต์การทำสบู่ น.ส.อัมไพ ธรรมรัตน์ เริ่มการสอนวิธีการทำสบู่ โดยเริ่มจากแนะนำส่วนอุปกรณ์และส่วนประกอบที่ใช้ในการทำสบู่ ดังนี้

ลำดับที่ อุปกรณ์/ส่วนประกอบ ปริมาณ/จำนวน ประโยชน์

1 กรีเซอร์รีน 1 ก.ก. ทำให้เกิดฟองและแข็งตัว

2 ฟักข้าว 1 ลูก สมุนไพร บำรุงผิวพรรณ

3 ขมิ้นชัน 200 กรัม ช่วยให้ผิวขาว แก้ผดผื่น คัน

4 น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น 1 ช้อนโต๊ะ ทำให้ผิวนุ่ม

5 น้ำผึ้งรวง 1 ช้อนโต๊ะ ช่วยสมานแผล กระชับรูขุมขน

6 กะทะก้นลึก 1 อัน ใช้ใส่น้ำรองก้นหม้อ

7 จวัก1 อัน สำหรับกวนกรีเซอร์รีน

8 น้ำเปล่า 1 ขวด ช่วยให้ละลายกรีเซอร์รีนผ่านความร้อน

9 หม้อ 1 ใบ ใสกรีเซอร์รีนและส่วนผสมของสมุนไพรสำหรับทำสบู่

10 เครื่องปั่น 1 ใบ ปั่นสมุนไพรทั้งหมด

11 หัวน้ำหอม 10 ซีซี เพิ่มความหอมสดชื่น

วิธีการทำ / ขั้นตอนการเตรียมน้ำสมุนไพร
1. ปอกเปลือกฟักข้าว พร้อมหั้นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ และน้ำมาใส่เครื่องปั่น

  1. หั่นขมิ้น เป็นชิ้นเล็กๆ และนำมาใสในเครื่องปั่น

  2. เติมน้ำเปล่าลงไปในฟักข้าวเล็กน้อยพร้อมปั่นให้ละเอียด

  3. ต้มน้ำสมุนไพรที่ปั่นแล้ว และเมื่อเดือดได้ที่ แล้วยกลงจากเตา

  4. เทใส่แก้ว ประมาณ 100 กรัม

  • ขั้นตอนการกวนสบู่สมุนไพร
  1. หั่นกรีเซอร์รีนเป็นชิ้นเล็กๆ และนำมาใส่ในหม้อที่เตรียมไว้

  2. ตั้งกระทะพร้อมใส่น้ำ แล้วนำหม้อที่ใส่กรีเซอร์รีนและวางในกระทะที่มีน้ำ

  3. กวนกรีเซอร์รีนเบาๆ เปิดไฟอ่อน พร้อมคนไปทางเดียวกันประมาณ 5 นาที จนละลายเป็นน้ำเหลวๆ

  4. เทกรีเซอร์รีนที่เตรียมไว้ 100 กรัม และกวนให้ละลายผสมกับกรีเซอร์รีนประมาณ 10 นาทีจนเป็นเนื้อเดียวกัน

  5. ยกลงจากเตา เติมหัวน้ำหอมกลิ่นที่ชอบลงไป(หากไม่ชอบกลิ่นก็ไม่ต้องใส่ลงไป) และคนให้น้ำหอมผสมให้เข้ากับน้ำสมุนไพร

  6. เทใส่ภาชนะ หรือบล็อค ที่เตรียมไว้ พักไว้ประมาณ 30-60 นาที รอแห้ง

  • เวลา 12.30-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

  • เวลา 13.00-15.00 น. เข้าสู่กิจกรรมภาคปฏิบัติการสอนวิธีการทำน้ำยาล้างจาน วิทยากรโดยปราชญ์ชุมชน นางสาว สุวิมล ทองเอื้อ ซึ่ง วิทยาการได้บอกขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์และส่วนผสม วิธีการทำ และประโยชน์ ตามรายละเอียดและขั้นตอน ดังนี้

ลำดับที่ อุปกรณ์/ส่วนประกอบ ปริมาณ/จำนวน ประโยชน์

1 N70 1 กก. ทำให้เกิดฟอง

2 F24 1 กก. ขจัดคราบมัน

3 เกลือ 1 กก. ทำให้น้ำยาแข็งตัว

4 น้ำหมักมะนาว 3 กก. ชำระล้างคราบ และกลิ่นติดจาน

5 กันเสีย 10 ซีซี กันบูด เน่าเสีย

6 สีผสมอาหาร 1 ซอง แยกประเภทน้ำยา

7 ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนชา แก้พื้น และแก้คันมือ ฆ่าเชื้อราที่มือและซอกเล็บ

8 น้ำเปล่า 14 ลิตร ละลายให้น้ำยาไม่แข็งตัวเกินไป

วิธีทำ

1.กวนN70 ไปทางเดียวกัน จนเป็นเนื้อครีมสีขาวขุ่น ใช้เวลา 15 นาที

2.ใช้เกลือ 1 กก. ผสมน้ำ 3 กก. คนละลายให้เข้ากน จนได้เกลืออิ่มตัว

3.เทN70 ใส่ลงไปในถังพลาสติก 1กิโลกรัม พร้อมเติมน้ำเกลื้อลงไป

4.เติมน้ำหมัก+F24กันเสีย +สีผสมอาหาร+ผงขมิ้นชัน กวนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน

5.เติมกันเสีย พร้อมน้ำเปล่าทั้งหมดลงไป

6.กวนทั้วหมดให้เข้ากัน

7.พักทั้งไว้ พร้อมปิดฝาเบา รอฟองยุบ ประมาณ 1 วัน แล้วสมารถนำมาบรรจุใส่ขวดพร้อมใช้

  • สรุปผลงาน ผลผลิต

จากที่สมาชิกได้ร่วมกันทำสบู่สมุนไพร และน้ำยาเอนกประสงค์ ผลิตที่ได้ คือ

1.สบู่สมุนไพร จากฝักข้าว จำนวน ....160.......... ก้อน

2.สบู่สมุนไพร จากขมิ้นชันจำนวน .......160.......ก้อน

3.น้ำยาเอนกประสงค์จำนวน...........240........... กก.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการทำสบู่สมุนไพร และน้ำยาเอนกประสงค์ และ สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติใช้จริงในการผลิต สบู่ และ น้ำยาล้างจาน ไว้ใช้เองภายในรัวเรือน
  • เป็นการลดค่าใช้จ้ายสำหรับของใช้สิ้นเปลืองในชีวิตประจำวัน ทำให้คนในชุมชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในสภาวะเศรษฐกิจตกต้ำ และสามารถพึ่งพาตัวเองได้
  • เป็นการนำวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วภายในชุมชน มาแปรรูปเป็นของใช้ประจำวันได้ เช่นการ ทำน้ำหมักจากมะนาว และลดปัญหาขยะในชุมชนด้วยที่เกิดจากผลผลิตที่เน่าเสีย
  • ทำให้คนในชุมชนมีการพูดคุย และแบ่งปันกันมากขึ้น ทำให้สังคมน่าอยู่ เนื่องจากมีการรวมกลุ่มกันทำของใช้สิ้นเปลืองในครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 81 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กวัยเรียน ชาย 3 คน
  • เด็กวัยเรียน หญิง 11 คน
  • วัยทำงาน ชาย 13 คน
  • วัยทำงาน หญ่ิง 36 คน
  • ผู้สูงอายุชาย 6 คน
  • ผู้สูงอายุ หญิง 12 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  -

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

  - 

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

  -

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน พ.ย.5825 พฤศจิกายน 2558
25
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง- เพื่อเป็นเวทีในการปรึกษา หารือ และมีการประชุมประจำเดือนๆละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง และบันทึกการประชุมทุกครั้ง โดยการประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 10.30 น.มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 16 คน โดยมีนายพร้อมทองเอี้อ ปราชญ์ชุมชน เป็นประธานเปิดประเด็นการประชุม นางสาวอมรรัตน์ ได้แจ้งหัวข้อการประชุม

  • สรุปกิจกรรม ผลงาน ที่ทำมา เช่น ประชุมชี้แจงโครงการ และ การทำผลิตภัณฑ์ เช่น การทำสบู่น้ำยาล้างจาน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจ และคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน
  • แจ้งการทำกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน และงานบุญชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เกี่ยวกับแนวทางในการการป้ญหาเร่ืองปากท้อง
  • มีการนำเสนอเรื่องราวที่ที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อร้ือฟื้นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน กลับมาใช้อีกในปัจจจุบันเพื่อไม่ให้สูญหาย
  • การลงมติร่วมกัน เช่น การทำบุญซอยปลักควายให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
  • การการรวมกลุ่มกันช่วยกันการซ่อมแซมถนนคอนกรีด และลาดยางในซ่อย ในวันพ่อแห่งชาติ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำหมู่บ้าน ประกอบด้วย

  • อบต.1 คน
  • อสม.2 คน
  • กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง 2 คน
  • ปราชญ์ชุมชน 5 คน
  • ตัวแทนหมู่บ้าน 6 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมชี้แจงโครงการ22 พฤศจิกายน 2558
22
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมประชุมชี้แจงโครงการ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสาวอมรรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้อธิบายเกี่ยวกับโครงการของชุมชนและได้รับงบสนับสนุนจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส )
วิทยากร นายประนอบ ได้อธิบายการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง ได้อย่างไร พี่เลี้ยง นส.อารีย์สุวรรณชาตรี ได้เสริม และนะนำองค์กรที่เข้ามาหนุนเสริม ขบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ ภายใต้การทำงานทั้ง สสส. และสจรส.มอ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชนในชุมชน ซ. ปลักควายที่เข้าร่วมมีความเข้าใจในแผนงานโครงการตนเอง และสนใจในกิจกรรมโครงการ เนื่องจากกิจกรรมสอดคล้องกับวิถีชุมชน และการประกอบอาชีพของตนเอง ตลอดจนกิจกรรมในหลายกิจกรรมทำให้คนในชุมชนมีการพูดคุย ปรึกษาหารือกันมากขึ้น 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนชุมชนซอยปลักควาย ทั้งชาย และหญิง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมชี้แจงโครงการ22 พฤศจิกายน 2558
22
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ-เพื่อจัดเวทีชี้แจงการดำเนินโครงการ ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ให้ประชาชนได้รับทราบการดำเนินโครงการภายใต้การสนับสนุนจาก สสส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุม เวลา 13.00 น.
วาระที่ 1

  • นางสาวอมรตน์ ธรรมรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงการดำเนินงานโครงการภายใต้การสนับสนุนของ สสส. และแนะนำทีมสภาผู้นำ
  • วิทยากรกระบวนการ คุณประนอบ คงสม ได้สรุปประเด็นการขับเคลื่อนโครงการของแต่ละกิจกรรม ให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการทำกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง
  • นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี พี่เลี้ยงโครงการ พบปะพูดคุยและอธิบายกระบวนการทำงานของ สสส. สจรส.มอ.เกี่ยวกับการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ และการทำความเข้าใจเรื่องงบประมาณที่ทาง สสส.สนับสนุนการทำกิจกรรมทั้งหมดตลอดระยะเวลา 1 ปี ของการทำโครงการ เพื่อให้ทางชุมชนรับทราบและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการ
  • นายนิยม ศิริมุกศิกะ ปราชญ์ทางด้านการเลื้ยงผึ้งจากลังไม้ซึ่งเป็นครัวเรือนต้นแบบด้าน ศก.พอเพียง ที่ได้มีการใช้พื้นที่บริเวณ และสวนยางพารา ในการเลี้ยงผึ้ง พร้อมเชิญชวนสมาชิกในชุมชนที่สนใจมาทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมทั้งบอกผลดี-ข้อควร ระวัง และประโยชน์จากการเลี้ยงผึ้ง

วาระที่ 2 นัดประชุม แจ้งการทำกิจกรรมครั้งถัดไปเรียนรู้และอยู่อย่างพอเพียง ทำของใช้ภายในครัวเรือนวันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10.00 น.-14.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง โดยใช้กลุ่มคณะกรรมการภายใต้ชื่อ สภาชุมชนคนปลักควาย
  • เกิดต้นแนบผู้นำทางความคิด ในการเข้าามาทำกิจกรรมร่วมกัน
  • คนในชุมชนรับรู้ร่วมกันเกียวกับการทำกิจกรรมที่ทางโครงการจัดทำขึ้น และสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมที่ตัวเองสนใจได้
  • ลดช่องว่างในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนในชุมชนได้
  • คนในชุมชนสามารถร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวข้อมูลที่มีอยู่แล้วในชุมชนได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กวัยเรียน-ชาย 6 คน
  • เด็กวัยเรียน-หญิง 20 คน
  • วัยทำงาน-หญิง 42 คน
  • วัยทำงาน-ชาย 25 คน
  • ผู้สูงอายุ-ชาย 7 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

อบรมการเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงินภาษ๊ ณ ที่จ่าย21 พฤศจิกายน 2558
21
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่ออบรมการเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงินภาษ๊ ณ ที่จ่าย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.อบรมการเขียนรายงานในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

2.แนะนำการจัดทำเอกสารการเงินภาษ๊ ณ ที่จ่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการปรับแก้ข้อมูล เช่น ปฎิทินโครงการรายงานกิจกรรม ในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้รับผิดชอบโครงการจะมีจุดอ่อนที่การเขียนอธิบายขยายความเนื้อหาในกิจกรรมที่ทำ ในขณะที่จุดแข็งคือ มีความรู้ในเรื่องของภาษี เนื่องมีประสบการณ์จากที่ทำงานมาก่อน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การเขียนรายงานอาจจะใช้วิธีแบบเล่าเรื่อง ซึ่งจะทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการกล้าที่จะนำเสนอและกล้าแสดง

อบรมการเขียนรายงานโดยทีม สจรส.มอ.21 พฤศจิกายน 2558
21
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการเขียนรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง ในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการผู้รับผิดชอบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
  • รับฟังคำแนะนำการเขียนรายงานทางการเงิน และการยี่นเอกสารการเสียภาษี ตามข้อกำหนดของ สสส.
  • พี่เลี้ยงตรวจความถูกต้องของเอกสารและข้อมูลให้ตรงกับWeb Site ที่บันทึกข้อมูล พร้อมแนะนำวิธีการตรวจเช็คเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดความรู้ความเข้าใจในการบันทึกข้อมูลผ่าน Web site ของ สสส.
  • สามารถเข้าใจวิธีการรายงานทางการเงิน และการส่งเอกสารยื่นเสียภาษี
  • มีการ Up Date เอกสารที่ทันสมัย และเป็นปัจจุบันได้ตามแบบฟอร์มของเอกสาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 4 จังหวัด ภาคใต้ คือ สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สภาผู้นำประชุมประจำเดือน ต.ค.5825 ตุลาคม 2558
25
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง- เพื่อเป็นเวทีในการปรึกษา หารือ และมีการประชุมประจำเดือนๆละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง และบันทึกการประชุมทุกครั้ง โดยการประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ประกาศรายชื่อแกนนำชุมชนที่ได้รับการคัดเลือก และแต่งตั้ง ให้เป็นตัวแทนของสภาผู้นำ ซึ่งจะมีโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย

1.นายพร้อม ทองเอื้อ ตำแหน่งผู้นำอวุโส บทบาท หน้าที่ ให้คำปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับสมาชิกและกรรมการชุมชน

2.นายผ่อง นวลละออ ตำแหน่งที่ปึกษาโครงการบทบาทหน้าที่. ให้คำปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับสมาชิกและกรรมการชุมชน

3.นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ตำแหน่ง เลขานุการ บทบาทหน้าที่ จดบันทึกรายงานการประชุม และประสานงานกับสภาผู้นำชุมชน และ ชาวบ้านในชุมชน

4.นายประคอง เพรชพรหมศร ตำแหน่ง กรรมการ บทบาทหน้าที่ ร่วมกันให้ความคิดเห็นและประสานงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียงเม่ือมีการทำกิืจกรรมแต่ละครั้ง 5.นางสาววลัยลักษณ์ สุวรรณมณี ตำแหน่ง เหรัญญิก บทบาทหน้าที่ ควบคุมดูแลการรับ-จ่ายเงิน และดูแลทรัพย์สินของชุมชน 6.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทีมสภาผู้นำ จำนวน ...24......... คน เป็นทีมทำงานในการขับเคลื่อนโครงการ และมีการประชุมปรึกษาหารือทุกเดือน เพื่อรายงานผลการทำกิจกรรมโครงการ ตลอดจนการวางแผนงาน และการประเมิน ติดตาม การดำเนินงาน

2.สภาผู้นำ มีความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน

3.เกิดการผลักดันในเชิงนโยบาย ศก.พอเพียงเพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำหมู่บ้าน ประกอบด้วย
- กำนัน 1 คน - อบต.1 คน - อสม.2 คน - กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกตรควนเนียง 3 คน
- ปราชญ์ชุมชน 6 คน - ตัวแทนหมู่บ้าน 11 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ18 ตุลาคม 2558
18
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนเข้มแข็ง - เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน- เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีปรึกษาหารือจัดตั้งสภาผู้นำ มีการจัดเวที จำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18 ต.ค. 58และครั้งที่ 2 วันที่ 25 ต.ค.58 สถานที่ สวนลุงวร เวลาในการประชุม เวลา 13.00 น. ถึง 15.30 น. โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการ ,คณะทำงานโครงการ และวิทยากรกระบวนการ คุณสมนึก หนูเงิน และคุณประนอบ คงสม จากตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลควนรูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เวทีครั้งที่ 1 วันที่ 18 ต.ค. 58

  • นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ แกนนำเยาวชนชี้แจ้งวัตถุประสงค์ความเป็นมาการจัดตั้งโครงการซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงและการดำเนินกิจกรรมจัดตั้งสภาผู้นำเพื่อสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ และการพัฒนาชุมชน
    เรียนรู้ และทำความเข้าใจรูปแบบของสภาผู้นำ

    1. การใช้หลักสหกรณ” ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้ประโยชน์ คือ คนในชุมชนเอง

    2. การใช้หลักการทำงานของภาครัฐที่ได้เน้นการรวมตัวขององค์กรศูนย์ประสานงานชุมชน ทุกตำบลเป็นการทำงานรวมของเครือข่าย ซึ่งปี2551 เกิดกฎหมายรองรับองค์กร ชาวบ้านที่จัดตั้งขึ้น ของพี่น้องเครือข่ายภาคประชาชน เกิด พรบ.รับรองสภาชุมชน ที่ถูกต้องตาม กฎหมาย ได้ยกตัวอย่าง เช่น สภาผู้นำ หนองกลางดง ของผู้ใหญ่โชคชัย, สภาผู้นำหนองสาหร่าย,สภาผู้นำหนองนาใต้(สี่แยกคูหา) บางพื้นที่ใช้คำว่า สภาประชาชร เกิดจากศูนย์ประสานงาน ยกระดับเป็นสภาประชาชนที่รวมตัวกลุ่ม องค์กร เครือข่ายถ้าเป็นทางการ เช่น -สภาองค์กรชุมชนตำบลเช่น กลุ่มควนรู ใช้หลักการ “ผู้นำสามขา” เปรียบเสมือนเก้าอี้หัวล้าน ไม่มีพนักพิง -ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน -สภาซูลอง(อิสลาม)

  • แกนนำชุมชนได้ร่วมสะท้อน และแสดงความคิดเห็น เช่น

    1.นายพิศาล ธรรมรัตน์ ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากรกระบวนการคุณสมนึก หนูเงิน ได้ซักถามเป้าหมายของคำวาสภาผู้นำ ซึ่ง คำตอบจากวิทยากรคือ เพื่อเชื่อมโยงประสานงานองค์กรกับภาครัฐ

    2.นายวัฒนา ทองเอื้อ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายของสภาผู้นำ คืออยากเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน โดยการนำความรู้จากคนในพื้นที่ที่ได้รับความรู้จากการเล่าเรียนมาพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้น

    3.นายพร้อม ทองเอื้อ ผู้สูงอายุ ได้เล่าย้อนรอยอดีตเกี่ยวกับปัญหาชุมชนที่ภาครัฐไม่เคยส่งทุนมาสนับสนุนมาให้ชุมชนเลย ได้เสนอแนวคิดว่าให้แก้ปัญหาเรื่อการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทราด้านการเกษตรโดยการลดใช้สารเคมีค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นอินทรีย์ โดยใช้หลักทฤษฎี “ฝูงควาย” โดยใช้แม่ควายหรือพ่อควายเป็นตัวขับเคลื่อนในการนำทาง และควายตัวอื่นจะเดินตามโดยไม่แตกฝูง

    4.นายสุทิศ พงษ์จีน ผจก.สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด ได้แสดงความคิดเห็น ของโครงการซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง โดยบอกว่า จุดเด่นของโครงการนี้คือสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรควนเนียง มีจุดเด่น คือ การทำเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ แก๊สชีวภาพ จุดด้อยคือ มีปัญหาเรื่องตลาดจัดจำหน่ายสินค้าและผลผลิต ซึ่งคุณสุทิศในฐานะ ผจก.สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัดจะช่วยการประสานงานให้มีตลาดชุมชนสหกรณ์ขึ้นโดยใช้สถานที่หน้าโรงปุ๋ยสหกรณ์การเกษตรควนเนียง ซึ่งอยู่ห่างจากปากซอยชุมชนซอยปลักควายประมาณ 500 เมตร

    5.นายนิยม ศิริมุกศิกะ ได้เสนอเรื่องการรื้อฟื้นภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การทำครกสี การทำครกถีบ การทำรังผึ้งจากไม้ยางพารา เพื่อให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนสามารถรู้จักและสืบทอดรุ่นต่อๆไป ไม่ให้สูญหาย

  • ดังนั้นในเวทีครั้งที่หนึ่งจึงสรุปได้ว่า แกนนำชุมชนมีความเข้าใจการทำงานภายใต้รูปแบบของสภาผู้นำ และเห็นทิศทางการทำงานของชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ในส่วนของชุมชนปลักควาย การใช้หลัก ธรรมชาติ คือ ทฤษฎี “งูบองหลากับหมาฝูง” ซึ่ง จะใช้แนวคิดคือ “งูบองหลา” เป็นตัวปัญหา ส่วน “หมาฝูง”เป็นตัวจัดการที่เป็นกระบวนการ โดยตั้งข้อสังเกต คือ หมาจะเห่าเมื่อเจองู โดยจะแบ่งกลุ่มการเห่าของมาตามวัยดังนี้

    กลุ่มที่1.หมาเด็ก จะเห่าเพื่อส่งเสียงรบกวนประสาท
    กลุ่มที่2.หมาแก่ จะคอยสังเกตการณ์

    กลุ่มที่3.หมาหนุ่ม คอยจัดการปัฐหา

    กลุ่มที่4.หมาไม่สังกัดกลุ่มที่1-3 จะแอบเห่าอยู่ในที่ลับหรืออยู่ในป่าซึ่งจะไม่ปรากฎตัว


    เวทีครั้งที่ 2 วันที่ 25 ต.ค.58

นางสาวอมรรัตน์แจ้งที่ประชุมถึงเวทีคุยสรุปการจัดตั้งสภาผู้นำโครงสร้างของสภาผู้นำ บทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกัน ประกอบด้วย

1.นายพร้อม ทองเอื้อตำแหน่งผู้นำอวุโสชุมชน บทบาท หน้าที่ให้คำปรึกษา ตัดสินใจร่วมกันกับสมาชิกและกรรมการชุมชน 2.นายประจวบ คงขวัญตำแหน่ง ที่ปรึกษาชุมชนคนที่2 บทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษา ตัดสินใจร่วมกันกับสมาชิกและกรรมการชุมชน 3.นายผ่อง นวลละออ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาชุมชนคนที่2 บทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษา ตัดสินใจร่วมกันกับสมาชิกและกรรมการชุมชน 4.นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ตำแหน่ง เลขานุการ บทบาทหน้าที่จดบันทึกรายงานการประชุมประสานงานกับสภาชุมชนและชาวบ้าน 5.นางสาววลัยลักษณ์ สุวรรณมณี ตำแหน่ง เหรัญญิก บทบาทหน้า ดูแลการรับ-จ่ายเงิน และดูแลทรัพย์สินของชุมชน 6.นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ ตำแหน่ง กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 7.นายพิศาล ธรรมรัตน์ ตำแหน่ง กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 8.นายประคอง เพรชพรหมศร กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 9.นายผอบ ทองอำพล กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 10.นางเสาวนีย์ บุญการกรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 11.นางอัมไพ ธรรมรัตน์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 12.นางสุวิมล ทองเอื้อกรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 13.นางพิน อุไรรัตน์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 14.นายนิยม ศิริมุกศิกะ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 15.นายชาญชัย คงขวัญ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 16.นายสัญญา ทองเอื้อ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 17.นางสาวคะนึง ยิ้มเยื้อน กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 18.นายเวียน ธรรมรัตน์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 19.นายอนันต์ แก้วเจริญ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 20.นางสาวทัศนีย์ ธรรมรัตน์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 21.นายนิวัฒน์ ปิยะพงษ์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 22.นายณรงค์ สังฆะปาโน กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ มีการดำเนินงานจัดเวทีให้แกนนำชุมชนได้พูดคุย ปรึกษาหารือ จำนวน 2 ครั้งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 ต.ค. และ 25 ตค. 58 จากการหารือทั้งสองเวที ทำให้เกิดคณะทำงานชุมชนในรูปแบบสภาผู้นำ ที่ประกอบด้วย ปราชญ์ชุมชน, กรรมการหมู่บ้าน ,เยาวชน , อสม. จำนวน22 คน

2.แกนนำฃุมชนมีความเข้าใจเรื่องสภาผุ้นำเพิ่มมากชึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ของชุมชน

3.เกิดการทำงานร่วมกันของแกนนำชุมชนภายใต้การขับเคลื่อนของวงสภาผู้นำชุมชน

4.เกิดโครงสร้างสภาผู้นำชุมชน แบ่งบทบาทหน้าที่ ของแต่ละบุคคล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ปราชญ์ชุมชน 5 คน
  • ผูู้สูงอายุ 2 คน
  • ประชาชนวัยทำงาน ชาย หญิง 13 คน
  • อบต 1 คน
  • อสม 2 คน
  • เยาวชน 4 คน
  • สมาชิกสหกรณ์ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่16 ตุลาคม 2558
16
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่การดำเนินกิจกรรมโครงการ และพื้นที่สาธาณณะของชุมชน เช่น โรงเรียน วัด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 6/10/2558 ออกแบบป้ายสัญลักษณ์ลักษณ์(LOGO) ของ สสส. สถานที่นี้ปลอดบุหรี่
  • วันที่ 7/10/2558 ส่งข้อมูลห้ร้านอาร์ตพ้อย พร้อมกับขอดูแบบหลังจากที่ทางร้านได้ทำแบบ และPrint ไวนิล
  • วันที่ 16/10/2558 ร้านนำส่งไวนิวส์ให้พื้นที่โครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ไวนิวส์จำนวน 1 แผ่นป้ายขนาด 240 ซม.x 120 ซม. ใช้รณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  -

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

  -

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

  -

ปฐมนิเทศ โครงการชุมชนน่าอยู่ 25585 ตุลาคม 2558
5
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการ ชุมชนน่าอยู่ 2558

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-แนะนำให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในการใช้ระบบฐานข้อมูลเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข ,การจัดทำเอกสารการเงิน ,การบันทึกรายงาน,การลงปฎิทินในการปฎิบัติงาน

-การเรียนรู้การดำเนินโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจในเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ระบบบานข้อมูลเว้ปไวต์คนใต้สร้างสุข ซึ่งพี่เลี้ยงต้องให้คำแนะนำเพิ่มเติมในช่วงที่ลงพื้นที่และผ่านการประสานงานทางโทรศัพท์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศน์โครงการ5 ตุลาคม 2558
5
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้และและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนรายงานและบันทึกข้อมูลผ่านweb site คนใต้สร้างสุข

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 5-6/10/58 ผู้ดำเนินโครงการเข้ารับการปฐมนิเทศน์กับ สสส.สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ณ อาคาร LRC ชั้น14 เวลา 09.00-16.00น. เรื่องกางลงบันทึกข้อมูลผ่าน web site คนใต้สร้างสุข เรื่องการลงบันทึกข้อมูล,การเก็บเอกสารทาการเงินและวิธีการลงกิจกรรมทางปฏิทิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  - ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจวิธิการบันทึกข้อมูลผ่านweb
- ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจวิธิการเขียนรายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน
  • จนท.ฝ่ายIT
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

web site น่าจะมีตัวอย่าง การเขียนบันทึกข้อมูลกิจกรรมในmenu คู่มือเอกสารของweb site คนใต้สร้างสุข

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี