แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ ”

บ้านคลองต่อ หมู่ 10 ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

หัวหน้าโครงการ
นาย เดชา หมัดอารี

ชื่อโครงการ อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ

ที่อยู่ บ้านคลองต่อ หมู่ 10 ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 58-03816 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2142

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านคลองต่อ หมู่ 10 ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ



บทคัดย่อ

โครงการ " อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านคลองต่อ หมู่ 10 ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา รหัสโครงการ 58-03816 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 145,350.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 260 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน และดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาในชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน
  2. เพื่อให้คนในชุมชนเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  3. เพื่อจัดตั้งคณะทำงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
  4. เพื่อสร้างชุมชนพึ่งตนเอง โดยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน
  5. เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนรวมกลุ่มกันเพื่อทำอาชีพเสริมตามความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตลาด
  6. เพื่อจัดตั้งจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน
  7. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชน การวางแผน และการจัดทำแผนปฏิบัติการของชุมชน
  8. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการทำความเข้าใจกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. พี่เลี้ยง และผู้รับผิดชอบโครงการการบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเวบไซต์ การบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การเข้าใช้งานระบบเวบไซต์คนใต้สร้าง www.happynetwork.org ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอีดยโครงการ ลงในเวบไซต์ประกอบด้วย • รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ) • แผนภาพเชิงระบบโครงการ • กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี • รายงานผู้รับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. พี่เลี้ยง และผู้รับผิดชอบโครงการการบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเวบไซต์ การบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การเข้าใช้งานระบบเวบไซต์คนใต้สร้าง www.happynetwork.org ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอีดยโครงการ ลงในเวบไซต์ประกอบด้วย • รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ) • แผนภาพเชิงระบบโครงการ • กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี • รายงานผู้รับผิดชอบ

     

    2 2

    2. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 1

    วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย -จัดสถานที่สำหรับการประชุม -จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง -ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการ โดยคัดเลือกจากสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน มีหน้าที่ดำเนินการโครงการและรายงานผลการดำเนินงานต่อสภาผู้นำทุกเดือน

     

    30 30

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 4 แผ่นป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 4 แผ่นป้าย

     

    260 260

    4. สำรวจและรวบรวมข้อมูลการว่างงาน รายรับ รายจ่าย และหนี้ครัวเรือนชุมชนบ้านคลองต่อ

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกแบบใบสอบถามในการเก็บข้อมูล
    • ทำการสำรวจข้อมูลด้านการอุปโภคและบริโภคของคนในชุมชน
    • สัมภาษณ์ข้อมูลของแต่ละครัวเรือนในประเด็นต่างๆ เช่น รายรับ รายจ่าย การว่างงาน ความทุกข์ที่เกิดจากการว่างงาน ความต้องการและแนวทางการจัดการหนี้และอาชีพเสริม เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่ได้จากการสำรวจข้อมูลชุมชน มีดังนี้ 1. บ้านคลองต่อพื้นที่เป็นที่ราบบางส่วนเป็นควนเอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพการเกษตรเศรษฐกิจส่วนใหญ่เกิดจากผลผลิตทางการเกษตร และมีประชากรจำนวนครัวเรือน 272 ครัวเรือน ได้มีการประกอบอาชีพของราษฎรในหมู่บ้านแยกเป็นประเภท ดังนี้ 1. การประกอบอาชีพยางพารา จำนวน 214 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 72.05 % 2. การประกอบอาชีพค้าขาย จำนวน 28 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 9.42 % 3. การประกอบอาชีพอื่น ๆจำนวน 55 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 18.15 %

    1. ผู้มีความรู้ /ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่าง ๆ ในชุมชน
      แพทย์แผนไทย/ สมุนไพร/ หมอพื้นบ้านได้แก่ 2.1 นางเสียะบิลอะหลีที่อยู่20 หมู่ที่10ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลารายละเอียดหมอบีบนวด 2.2 นายดลเหล๊าะหมัดอะด้ำ ที่อยู่196 หมู่ที่ 10 ตำบลกำแพงเพชรอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลารายละเอียดหมอบีบเส้น 2.3นายเหย็บหมัดอารีที่อยู่442 หมู่ที่ 10 ตำบลกำแพงเพชรอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลารายละเอียดหมอต้มยา

    3.ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ ประเพณีท้องถิ่นได้แก่ 3.1 นายหรอนีบิลหรีม ที่อยู่98 หมู่ที่ 10ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลารายละเอียดจัดงานเมาลิดประจำปี 3.2นายหนอดบุญเลิศที่อยู่29 หมู่ที่ 10ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลารายละเอียดจัดงานทำบุญกุโบร์ประจำปี

    1. งานฝีมือต่าง ๆ เช่นช่างไม้ ช่างปั้นช่างแกะหัตถกรรม/ จักรสาน ทอผ้า ได้แก่
      4.1นายดลเหล๊าะหมีนเส็นที่อยู่564หมู่ที่ 10ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา รายละเอียด ช่างไม้แกะสลัก 4.2นายอีบหมัดยูโส๊ะที่อยู่437หมู่ที่ 10ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา รายละเอียด ช่างไม้เฟอร์นิเจอร์

    2. ผู้มีความรู้ด้านการเกษตรเช่นการเพาะปลูก ขยายพันธ์การปรับใช้เทคโนโลยีได้แก่
      5.1 นายสันติหลีอาสันที่อยู่48หมู่ที่ 10ตำบลกำแพงเพชรอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา รายละเอียด การขยายพันธ์พืชติดตาลองกอง เสียบยอดลองกอง เสียยอดทุเรียน

      1. การรวมกลุ่มของประชากรในชุมชน มีดังนี้
      • กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสมาชิก 1,019คน
      • กลุ่มแม่บ้าน (กพสม.) สมาชิก 25 คน
      • กลุ่ม อสม. สมาชิก 299 คน
      • สหกรณ์ ส.ก.ย. จำกัด สมาชิก 299คน
      • สถาบันการเงินชุมชน สมาชิก 2,847 คน
      • กองทุนหมู่บ้าน สมาชิก 1,019คน
      • กองทุนแม่ของแผ่นดิน สมาชิก1,019คน
      • ศูนย์สาธิตการตลาด สมาชิก1,019คน
      • กองทุนปุ๋ย กลุ่มออมทรัพย์ สมาชิก1,019 คน
      • สวัสดิการมูรอบาอะห์ (ขายสินค้าบวกกำไร) สมาชิก1,019คน
      • กองทุนมูรอบาอะห์ (กทบ) สมาชิก475 คน
      • กลุ่มน้ำยางสด สมาชิก59คน
      • กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ สมาชิก375 คน
      • กองทุน กข.คจ สมาชิก38คน
      • กองทุนสงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน สมาชิก- คน
      • กองทุนกลุ่มอาชีพเยาวชนเลี้ยงแพะ สมาชิก 17 คน
      • กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย / ที่ดินทำกิน สมาชิก 863 คน
      • กลุ่มผู้ใช้น้ำประปา สมาชิก 317 คน

    รายได้ของหมู่บ้าน / อาชีพของครัวเรือน แบ่งตามประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ข้าราชการ ครู ตำรวจ พยาบาล จำนวน 30 คน รายได้เฉลี่ย/ต่อปี16,200,000 บาท
    - ลูกจ้าง ราชการ/ประจำ/ชั่วคราว จำนวน 16 คน รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 5,904,000 บาท
    - พนักงานบริษัท จำนวน 120 บริษัท รายได้เฉลี่ย/ต่อปี22,860,000 บาท
    - ทำสวน (ยางพารา,ปลูกผัก,ผลไม้) จำนวน 447 คน รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 46,916,000 บาท
    - รับจ้าง จำนวน 44 บริษัท รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 12,636,000 บาท
    - ธุรกิจส่วนตัวรายได้เฉลี่ย/ต่อปี 9,702,000 บาท

    อาชีพทางการเกษตร แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ยางพารา จำนวน 5,500 ไร่ รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 79,200,000 บาท
    - มะพร้าว จำนวน 56 ไร่ รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 20,000 บาท
    - ทุเรียน จำนวน 50 ไร่ รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 150,000 บาท
    - ลองกอง จำนวน 87 ไร่ รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 800,000 บาท
    - สะตอ จำนวน 13 ไร่ รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 25,000 บาท
    - มังคุด จำนวน 10 ไร่ รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 40,000 บาท
    - เงาะ จำนวน 32 ไร่ รายได้เฉลี่ย/ต่อปี 160,000 บาท

    อาชีพทางการเลี้ยงสัตว์ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ไก่พื้นเมือง จำนวน รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี 1,080 86,400 บาท
    - เป็ด จำนวน 400 ตัวรายได้เฉลี่ย/ ต่อปี 32,000 บาท
    - แพะ จำนวน 500 ตัว รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี 60,000 บาท
    - วัว จำนวน 50 ตัว รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี 50,000 บาท

    การเลี้ยงปลา แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ - ปลาดุก จำนวน 2,000ตัว รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี 100,000 บาท
    - ปลานิล จำนวน 1,000 ตัว รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี 50,000 บาท

    อาชีพทางการค้าขาย แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ของชำ จำนวน 8ราย รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี2,880,000 บาท
    - เสื้อผ้า จำนวน 3ราย รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี1,620,000 บาท
    - ซื้อของขาย(คนกลาง) จำนวน 4ราย รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี1,728,000 บาท
    - อาหาร จำนวน 6ราย รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี1,512,000 บาท
    - อื่น ๆ จำนวน 4ราย รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี1,008,000 บาท

    อาชีพทางการบริการ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ร้านช่างตัดผม/เสริมสวย จำนวน3 ราย รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี21,600 บาท
    - ร้านซ่อมรถ จำนวน3 ราย รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี108,000 บาท
    - ขับรถรับจ้าง จำนวน 120 ราย รายได้เฉลี่ย/ ต่อปี54,000 บาท

    รายได้อื่น ๆ
    - ลูกหลานส่งให้ 200,000 บาท/ปี
    - ดอกเบี้ย/เงินปันผล 700,000 บาท/ปี
    - ค่าเช่า 300,000 บาท/ปี
    - อื่น ๆ -

    ค่าใช้จ่ายของหมู่บ้าน หมวดของใช้สิ้นเปลือง แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - สบู่/ครีบอาบน้ำ 154,480 บาท/ปี
    - แชมพู/ครีมนวด 140,860 บาท/ปี
    - ผงซักฟอก396,600 บาท/ปี
    - น้ำยาล้างจาน 81,720 บาท/ปี
    - น้ำยาล้างห้องน้ำ73,000 บาท/ปี
    - น้ำยาปรับผ้านุ่ม 73,000 บาท/ปี
    - น้ำมันรถจักรยานยนต์ 1,830,725 บาท/ปี
    - ยาสีฟัน/แปรงสีฟัน 100,260 บาท/ปี
    - ผ้าอนามัย 78,000 บาท/ปี
    - สก๊อตไบต์27,000 บาท/ปี
    - กระดาษชำระ 205,200 บาท/ปี
    - เครื่องสำอางต่าง ๆ 122,400 บาท/ปี
    - เสื้อผ้า 235,000 บาท/ปี
    - น้ำมันรถยนต์ 2,160,000 บาท/ปี

    ค่าใช้จ่าย หมวดการผลิต (ต้นทุนการผลิต/ประกอบอาชีพ) แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - น้ำมันเครื่องสูบน้ำ- บาท/ปี
    - ค่าน้ำมันรถไถ- บาท/ปี
    - ค่าไถปรับพื้นที่ 366,000 บาท/ปี
    - ค่าปุ๋ยเคมี 6,094,400 บาท/ปี
    - ค่าปุ๋ยหมัก/ชีวภาพ1,900,000 บาท/ปี
    - ยาฆ่าแมลง96,000บาท/ปี
    - ค่าจ้างแรงงาน 2,218,000บาท/ปี
    - เครื่องมือ/อุปกรณ์การผลิต 856,000บาท/ปี
    - ค่าพันธ์พืช 332,000บาท/ปี
    - ค่าอาหารสัตว์ 319,200บาท/ปี

    ค่าใช้จ่าย หมวดการศึกษา แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ค่าเทอม/ค่าเล่าเรียน 2,450,000 บาท/ปี
    - อุปกรณ์การเรียน 415,000 บาท/ปี
    - เงินไปโรงเรียน 6,516,000 บาท/ปี
    - ค่ากิจกรรมพิเศษ 7,800 บาท/ปี
    - ค่าเรียนพิเศษ/ติว 25,500 บาท/ปี

    ค่าใช้จ่าย หมวดอาหารและยารักษาโรค แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ผัก1,376,400 บาท/ปี
    - ผลไม้2,034,000 บาท/ปี
    - ข้าสาร 1,749,600 บาท/ปี
    - เนื้อสัตว์ 1,789,920 บาท/ปี
    - อาหารทะเล 4,068,000 บาท/ปี
    - ขนม 4,881,600 บาท/ปี
    - ไข่ 813,600 บาท/ปี
    - ผงชูรส 13,560 บาท/ปี
    - เครื่องปรุงสำเร็จรูป21,600 บาท/ปี
    - กาแฟ/โอวัลติน/ครีมเทียม 1,146,000 บาท/ปี
    - นมผง/นมสด 345,600 บาท/ปี
    - เกลือ 13,620 บาท/ปี
    - กะปิ 90,000 บาท/ปี - ยาบำรุงร่างกาย 9,500บาท/ปี
    - พริก/หอม/กระเทียม 606,000 บาท/ปี
    - น้ำมันพืช 777,000 บาท/ปี
    - น้ำตาลทราย 266,400 บาท/ปี
    - น้ำปลา/เครื่องปรุงรส 134,400 บาท/ปี
    - อาหารสำเร็จรูป 120,000 บาท/ปี
    - อาหารกระป๋อง 471,600 บาท/ปี
    - น้ำดื่ม 265,200บาท/ปี
    - ยาแก้ปวด 1,075 บาท/ปี
    - ยาแก้ไข้ 3,800 บาท/ปี
    - ยาสมุนไพร 5,500 บาท/ปี
    - ยาจากโรงพยาบาล/อนามัย 110,000 บาท/ปี
    - ยาจากคลีนิค 17,500 บาท/ปี

    ค่าใช้จ่าย
    หมวดสังคม แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - งานบุญ (มัสยิด) 90,000 บาท/ปี
    - งานสังคม(บวช/แต่งงาน/ศพ) 207,000 บาท/ปี
    - บริจาคช่วยเหลือผู้เดือนร้อน 111,000 บาท/ปี

    ค่าใช้จ่าย หมวดบันเทิง/ฟุ่มเฟือย แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - เครื่องดื่มชูกำลัง 72,000 บาท/ปี
    - น้ำอัดลม/น้ำหวาน 63,000 บาท/ปี
    - การพนัน 480,000 บาท/ปี
    - บุหรี่ 780,000 บาท/ปี
    - ดูหนัง/ฟังเพลง 5,500 บาท/ปี
    - ซื้อแผ่นหนัง/เพลง 37,500บาท/ปี
    - เสี่ยงโชค(หวย) 5,520 บาท/ปี

    หมวดสิ่งอำนวยความสะดวก/ของใช้ในครัวเรือน แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ปั้มน้ำ ท่อน้ำ 235,000 บาท/ปี
    - ค่าไฟ 810,000 บาท/ปี
    - ค่าโทรศัพท์บ้าน/มือถือ 232,000 บาท/ปี
    - ค่าซื้อของใช้ในครัว(จาน/ช้อน) 38,500 บาท/ปี
    - เฟอร์นิเจอร์ 325,000 บาท/ปี
    - น้ำมันรถ 6,570,000 บาท/ปี
    - คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 315,000บาท/ปี
    - พัดลม/แอร์ 135,000 บาท/ปี
    - โทรทัศน์/เครื่องเสียง 1,350,000 บาท/ปี
    - รถจักรยานยนต์ 7,300,000 บาท/ปี
    - รถยนต์ 41,400,000 บาท/ปี

    หมวดหนี้สิน ที่ รายการ หนี้คงเหลือ งวดชำระ/เดือน รวม กู้เพื่อ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - ธ.ก.ส. หนี้คงเหลือ 2000000 งวดชำระ/เดือน 20,000 รวม 2,020,000 กู้เพื่อการเกษตร
    - กองทุนหมู่บ้าน หนี้คงเหลือ 1040,000 งวดชำระ/เดือน 10,400 รวม 1,050,400 กู้เพื่อการเกษตร
    - กลุ่มออมทรัพย์ หนี้คงเหลือ 683460 งวดชำระ/เดือน 6,834 รวม 690,294 กู้เพื่อการเกษตร
    - สถาบันการเงินชุมชน หนี้คงเหลือ 3,069,448 งวดชำระ/เดือน 30,694 รวม 3,100,142 กู้เพื่อการเกษตร
    - บริษัทเงินทุน (ไพแนนส์) หนี้คงเหลือ 1,800,000 งวดชำระ/เดือน 18,000 รวม 1,818,000 กู้เพื่อธุรกิจ

    ทรัพย์สินสิ้นเปลืองภายในหมู่บ้าน แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    - รถยนต์กระบะบรรทุก จำนวน 2 มูลค่า 1,000,000
    - รถเก๋ง รถนั่งส่วนบุคคล จำนวน 200 มูลค่า 6,000,000
    - รถบรรทุก 6ล้อ จำนวน 6 มูลค่า 3,000,000
    - จักรยานยนต์ จำนวน 300 มูลค่า 3,000,000
    - รถไถนาเดินตาม จำนวน 2 มูลค่า 40,000
    - รถแทรกเตอรไถนา จำนวน 2 มูลค่า 1,300,000
    - ตู้เย็น จำนวน 270 มูลค่า 2,700,000
    - ทีวี จำนวน 270 มูลค่า 1,350,000
    - เครื่องเล่น ซีดี ดีวีดี เครื่องเสียง จำนวน 70 มูลค่า 350,000
    - โทรศัพท์มือถือ จำนวน 200 มูลค่า 1,000,000
    - พัดลม จำนวน 200 มูลค่า 200000
    - เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 100 มูลค่า 100,000

     

    60 60

    5. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 2

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อสรุปในการประชุม มีดังนี้
    - กำหนดวันและเวลาในการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจรายรับ รายจ่าย และหนี้สินครัวเรือนมาวิเคราะห์
    - กำหนดให้อาคารอเนกประสงค์สถาบันการเงินชุมชนฯเป็นสถานที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์
    - กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

     

    30 30

    6. อบรมการเขียนรายงานการดำเนินงานและรายงานการเงิน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
    เวลา 09.00 – 09.30 น. การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ โดย คุณญัตติพงค์ แก้วทอง : สจรส.มอ.
    เวลา 09.30 – 10.00 น. การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง โดย คุณนงลักษณ์ รักเล่ง และคุณเยาวลักษณ์ ศรีสุกใส : สจรส.มอ.
    เวลา 10.30 – 11.00 น. การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่ โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
    เวลา 11.00 – 12.00 น. ซักถามแลกเปลี่ยน
    เวลา 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00 – 16.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    กลุ่ม 1 : คุณซูวารีมอซู
    กลุ่ม 2 : คุณอารีย์สุวรรณชาตรี
    กลุ่ม 3 : คุณใบเฟริ์น สุวรรณมณี
    กลุ่ม 4 : คุณนงลักษณ์รักเล่่่่่่ง
    กลุ่ม 5 : คุณญัตติพงค์แก้วทอง
    กลุ่ม 6 : คุณเยาวลักษณ์ ศรีสุกใส
    กลุ่่่่่่่ม 7 : คุณฮามีดะ หวันนุรัตน์
    กลุ่่ม 8 : คุณจุรีย์ หนูผุด
    เวลา 16.00 – 16.30 น. สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับทุนโครงการ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการการจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่ และสามารถปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้องได้

     

    2 1

    7. วิเคราะห์ข้อมูลการว่างงาน รายรับ รายจ่าย และหนี้สินที่ได้จากการสำรวจ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10:00 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทีได้จากการสำรวจ วิเคราะห์ถึงสาเหตุสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดการปัญหาหนี้สิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อมูลทีได้จากการวิเคราะห์และเเบ่งออกเป็นประเภท มีดังนี้
    วิเคราะห์SWOTANALYSIS
    1. จุดแข็ง (Strengths : S)
    - มีผู้นำทางพิธีกรรม
    - มีสถานศึกษาระดับมัธยมใกล้หมู่บ้าน
    - มีกลุ่มอาชีพหลากหลาย
    - มีแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน (น้ำตกโตนปลิว) - มีกลุ่มองค์กรการเงินในหมู่บ้าน (แหล่งเงินทุน)
    - มีการนวดแผนโบราณ
    - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
    - กองทุนหมู่บ้าน - ธนาคารหมู่บ้าน
    - วิสาหกิจชุมชน (ศูนย์สาธิตการตลาด)
    - สหกรณ์ยาง
    - สภาผู้นำหมู่บ้าน

    1. จุดอ่อน (Weaknesses : W)

    - การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง (ไม่มีหอกระจายข่าว)
    - มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (เครื่องดื่นมึนเมาบุหรี่)
    - ความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพอนามัยมีน้อย
    - ขาดที่สาธารณะในหมู่บ้าน
    - ตลาดการเกษตรต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง
    - ขาดระบบโทรศัพท์พื้นฐาน - มีการมั่วสุมอบายมุข
    - ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์
    - ระบบประปาไม่ทั่วถึง
    - ขาดตลาดรองรับงานประดิษฐ์

    3.โอกาส (Opportunities : O)
    - เงินอุดหนุน SMLโครงการพัฒนาหมู่บ้าน / ชุมชน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พ.พ.พ.) อยู่ดีมีสุข
    - อยู่ใกล้ย่านธุรกิจการค้า (หาดใหญ่) สถานศึกษา (วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย) สถานพยาบาล (ทั้งของรัฐและเอกชน)

    1. อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threats: T)
      -ขาดการวางแผนและการประสานแผนในระยะยาว

    สภาพปัญหาของหมู่บ้าน
    1. ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน - การคมนาคมในหมู่บ้านไม่สะดวก (เป็นหลุมเป็นบ่อ)
    - ถนน 1สายหน้าฝนมีน้ำท่วมขังใช้ได้ไม่สะดวก
    - คูระบายน้ำตื้นเขินน้ำไหลไม่สะดวกในช่วงน้ำหลาก
    - ท่อระบายน้ำมีน้อย
    - ถนนภายในหมู่บ้านไม่ได้มาตรฐาน
    - โทรศัพท์พื้นฐานไม่ทั่วถึง
    - ระบบประปาที่มีอยู่ไม่สามารถใช้การได้
    - น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่เพียงพอ (ต้องซื้อน้ำดื่ม)
    - ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร (ฝาย หรือบึงเก็บน้ำ)
    2. ปัญหาด้านการพัฒนาอาชีพ
    - การขายผลผลิตต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง
    - ต้นทุนการผลิตสูง
    - การประกอบอาชีพเสริมมีน้อยและไม่แน่นอน
    - สินค้าอุปโภคและบริโภคราคาแพง
    - มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
    - ไม่มีการทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายครัวเรือน
    - ราคาผลผลิตการเกษตรไม่แน่นอน
    - ไม่มีตลาดกลางซื้อขายผลผลิตในหมู่บ้าน

    ความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน
    1. ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน - การพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับถนนภายในหมู่บ้านประสานงานองค์การโทรศัพท์ให้มีการให้บริการโทรศัพท์อย่างทั่วถึง
    - พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเร่งรัดให้มีการประปาหมู่บ้านที่ใช้น้ำบริโภคและอุปโภคให้มีการขุดบ่อน้ำตื้นความลึก15เมตรให้มากขึ้น
    2. ความต้องการทางด้านการพัฒนาอาชีพ
    - มีการส่งเสริมอาชีพด้านการรวมกลุ่มภายในหมู่บ้านอย่างน้อย3กลุ่มโดยมีคณะกรรมการระเบียบกลุ่มและระบบการจัดการที่ชัดเจนมีการระดมทุน
    - จัดให้มีตลาดกลางซื้อขายผลผลิตและร้านค้าริมทางเพื่อรองรับการส่งเสริมการผลิต
    - จัดให้มีการอบรมด้านการประกอบอาชีพและด้านคุณภาพชีวิตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
    - ฝึกอบรมกลุ่มอาชีพ
    - คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชน
    - นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจข้อมูลการว่างงาน รายรับ รายจ่าย และหนี้ครัวเรือนมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
    - สามารถทราบถึงสาเหตุสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดการปัญหาหนี้สิน

     

    60 60

    8. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 3

    วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม ณ อาคารศูนย์ประสานงานประจำหมู่บ้าน
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อสรุปในการประชุม มีดังนี้
    - กำหนดวันและเวลาในการจัดกิจกรรมเปิดเวทีอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดทำบัญชีครัวเรือน
    - กำหนดให้อาคารอเนกประสงค์มัสยิดบ้านคลองต่อในเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว
    - กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

     

    30 32

    9. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการจัดทำบัญชีครัวเรือน

    วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ให้แก่คนในชุมชน เยาวชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    • ชี้แจงวัตถุประสงค์และรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้แก่คนในชุมชน เยาวชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบ
    • กิจกรรมการเสวนาในหัวข้อ อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ
    • เปิดรับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการตามกลุ่มอาชีพที่ตนถนัด 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเปิดเวทีอาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ มีดังนี้ - คนในชุมชนเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการและเข้าใจบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโครงการ
    - ครัวเรือนที่สนใจได้สมัครเข้าร่วมโครงการตามกลุ่มอาชีพที่ตนถนัด
    - คนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งกันและกัน
    - คนในชุมชนได้รับข้อมูลจากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน

     

    130 137

    10. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 4

    วันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 20:00 เป็นต้นไป น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่ได้จากการประชุม มีดังนี้
    - ได้มีการรายงานรายละเอียดในการจัดกิจกรรมการเปิดเวทีอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านมา
    - ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
    - ติดตามความคืบหน้าและกระแสตอบรับของผู้เข้าร่วมโครงการ
    - ได้มีมติให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการสำรวจข้อเกี่ยวกับอาชีพเสริมของครัวเรือนในชุมชนจากเดิมที่จะให้เด็กนักเรียนเป็นผู้สำรวจข้อมูลเปลี่ยนมาเป็นการประชุมย่อยตามกลุ่มอาชีพต่างๆ กลุ่มองค์กรในชุมชน และกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนบ้านคลองต่อแทน

     

    30 30

    11. สำรวจข้อมูลอาชีพเสริมของครัวเรือนในชุมชน

    วันที่ 24 มกราคม 2559 เวลา 09:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดรวมกลุ่มอาชีพต่างๆมาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
    • สรุปข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสอบถาม
    • คัดเลือกอาชีพเสริมที่ครัวเรือนมีความถนัดและสนใจมา 3 ลำดับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อสรุปข้อมูลจากการสำรวจและสอบถามจากกลุ่มอาชีพต่างๆและกลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน
    • ได้มีการคัดเลือกอาชีพเสริมที่ครัวเรือนมีความถนัด จำนวน 3 ลำดับ ได้แก่
      1. เลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)
      2. แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
      3. ปลูกพืชเกษตรผสมผสานและปุ๋ยหมักอินทรีย์โรงเรียนบ้านคลองต่อ

     

    230 230

    12. ประชุมปิดงวดโครงการ งวดที่ 1

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน 10.00 น.
    • ตรวจสอบรายงานการดำเนินงานและเอกสารการเงิน
    • ปรับปรุงและแก้ไขรายงานการดำเนินงานและเอกสารการเงินในส่วนทียังบกพร่องไม่สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการการจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่ และสามารถปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้องได้

     

    2 2

    13. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 5

    วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่ได้จากการประชุม มีดังนี้

    • ได้มีการสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของโครงการอาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตฯ

    • ได้รายงานด้านการเงิน บัญชี และงบประมาณของโครงการในการปิดงวดครั้งที่ 1

    • ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ

    • ติดตามความคืบหน้าและกระแสตอบรับของผู้เข้าร่วมโครงการ

    • ได้มีมติกำหนดให้อาคารอเนกประสงค์มัสยิดบ้านคลองต่อในเป็นสถานที่สำหรับการจัดประชุมครั้งต่อไป

     

    30 30

    14. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 6

    วันที่ 17 เมษายน 2559 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่ได้จากการประชุม มีดังนี้

    • ได้รายงานด้านการเงิน บัญชี และงบประมาณของโครงการในการปิดงวดครั้งที่ 1

    • ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่อๆไปของโครงการ

    • มีการรายงานเกี่ยวกับด้านงบประมาณว่าขณะนี้ยังไม่ได้รับงบประมาณในงวดที่ 2

    • ในการประชุมครั้งต่อไปจะกำหนดในภายหลังจากที่ได้รับงบประมาณโครงการในงวดที่ 2 ส่วนด้านสถานที่จะกำหนดในภายหลังเช่นเดียวกัน

     

    30 31

    15. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 7

    วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 เวลา 14:00 - 15:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่ได้จากการประชุม มีดังนี้

    • ได้มีการรายงานด้านการเงินว่าช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทางสสส.ได้มีการโอนเงินงวดที่ 2 สำหรับการจัดโครงการฯแล้ว
    • ได้กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในการจัดประชุมตัวแทนครัวเรือนเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริม ได้แก่ กิจกรรมให้ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพเสริมตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน กิจกรรมการแบ่งกลุ่มอาชีพเสริมตามความสนใจและตามความถนัด เป็นต้น

    • กำหนดให้จัดกิจกรรมประชุมตัวแทนครัวเรือนเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริมขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 24 กรกฎาคม 2559

    • กำหนดให้ใช้อาคารอเนกประสงค์มัสยิดบ้านคลองต่อในเป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรม

     

    30 31

    16. ประชุมตัวเเทนครัวเรือนเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริมตามความถนัด

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:30 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมให้ความรู้และข้อมูลด้านการประกอบอาชีพเสริมและการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยวิทยากร 2 ท่าน
    • กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆของชุมชน อาทิ ด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ด้านการทำกิจกรรมในเวลาว่าง เป็นต้น
    • กิจกรรมการเสนอด้านอาชีพเสริมประเภทต่างๆที่สนใจ
    • กิจกรรมการรวมกลุ่มตามประเภทอาชีพเสริมสำหรับผู้ที่มีความสนใจเหมือนๆกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการประชุมตัวแทนครัวเรือนเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริม มีดังนี้

    • คนในชุมชนเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ดียิ่งขึ้น

    • คนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งกันและกัน

    • ครัวเรือนที่สนใจได้สมัครเข้าร่วมโครงการตามกลุ่มอาชีพที่ตนสนใจ และมีความถนัด

    • เกิดกลุ่มอาชีพเสริมในชุมชนขึ้นเป็นจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่

      1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)

      2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม

      3. กลุ่มเกษตรปลูกพืชร่วมยาง

     

    100 100

    17. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 8

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่ได้จากการประชุม มีดังนี้
    - ได้มีการรายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริมในหมู่บ้านออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)
    2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
    3. กลุ่มเกษตรปลูกพืชร่วมยาง
    - ได้กำหนดรายละเอียดกิจกรรมการมอบวัสดุสำหรับการประกอบอาชีพ ได้แก่ กิจกรรมให้ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพเสริมตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการมอบวัสดุแก่กลุ่มอาชีพเสริม เป็นต้น
    - กำหนดให้จัดกิจกรรมประชุมตัวแทนครัวเรือนเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริมขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 09.30 เป็นต้นไป
    - กำหนดให้ใช้อาคารสถาบันการเงินชุมชน และอาคารศูนย์ประสานงานประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรม

     

    30 32

    18. ให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพเสริมแก่ครัวเรือน และมอบวัสดุอุปกรณ์สำหรับการประกอบอาชีพ

    วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 09:30 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมให้ความรู้และข้อมูลด้านการประกอบอาชีพเสริมและการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยวิทยากร 3 ท่าน
    • กิจกรรมการเสนอด้านอาชีพเสริมประเภทต่างๆที่สนใจ
    • กิจกรรมการรวมกลุ่มตามประเภทอาชีพเสริมสำหรับผู้ที่มีความสนใจเหมือนๆกัน
    • กิจกรรมการมอบอุปกรณ์สำหรับการประกอบอาชีพเสริม ได้แก่
    1. การมอบอุปกรณ์สำหรับการทำผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
    2. การมอบต้นกล้าพันธ์ไม้สำหรับกลุ่มเกษตรผสมผสาน
    3. การมอบอุปกรณ์สำหรับกลุ่มเลี้ยงอุง(ชันโรง)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพเสริมและมอบอุปกรณ์สำหรับการประกอบอาชีพ มีดังนี้
    - คนในชุมชนเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ดียิ่งขึ้น
    - คนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งกันและกัน
    - คนในชุมชนได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อทำอาชีพเสริม
    - ได้มีการมอบอุปกรณ์สำหรับการประอาชีพเสริมในชุมชนขึ้นเป็นจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่
    1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)
    2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
    3. กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง

     

    100 100

    19. ติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 09:30 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการจัดการติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม มีดังนี้
    - ได้เกิดการทำงานร่วมกันในกลุ่มของสตรีในชุมชน
    - เกิดการติดตามการทำงานและด้านผลงานงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม

     

    30 30

    20. ติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 10:00 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการจัดการติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม มีดังนี้
    - ได้เกิดการทำงานร่วมกันในกลุ่มของผู้ชายในชุมชน
    - เกิดการติดตามการทำงานและด้านผลงานงานของกลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)
    - เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนทำให้เกิดรายได้

     

    30 30

    21. ประชุมปิดงวดที่ 2

    วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียน 10.00 น.
    • ตรวจสอบรายงานการดำเนินงานและเอกสารการเงิน
    • ปรับปรุงและแก้ไขรายงานการดำเนินงานและเอกสารการเงินในส่วนทียังบกพร่องไม่สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
    • เอกสารการเงิน ยังขาดความสมบูรณ์เนื่องจากผู้รับผิดชอบโครงการยังไม่สามารถรวบรวมเอกสารกาารเงินได้ครบ

     

    2 1

    22. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 9

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 14:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่ได้จากการประชุม มีดังนี้
    - ได้มีการรายงานเกี่ยวกับการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)กับกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม มีดังนี้
    1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง) มีข้อสรุปดังนี้
    - ปัจจุบันมีสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มมีจำนวน 14 คน
    - สมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มบางส่วนก็ได้มีการดำเนินการทำลังสำหรับการเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)เรียบร้อยแล้ว และมีบางส่วนกำลังจัดหาอุปกรณ์สำหรับการประกอบลัง
    - ด้านวิทยากรมีนายวิสุทธ์สุวรรณ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้
    2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
    - ปัจจุบันมีสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มมีจำนวน 28 คน
    - ด้านวิทยากรมีนางก่อรีเย๊าะสามารถ ใหเกียรติมาเป็นวิทยากร และสอนวิธีการถักผลิตภัณฑ์จากเชือกร่มให้ เช่น การถักกระเป๋า หมวก กล่อง เป็นต้น

     

    30 30

    23. ติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 3

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมการรวมกลุ่มของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อ
    • กิจกรรมถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชนในชุมชน
    • กิจกรรมการสาธิตการทำปุ๋ยหมักเพื่อการเกษตร
    • กิจกรรมการสาธิตการตอนกิ่งพันธ์ุไม้และการขยายพันธุ์ไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการจัดการติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม มีดังนี้
    - ได้เกิดการรวมกลุ่มกันในหมู่เยาวชนมาทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรร
    - เกิดการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชนในชุมชน
    - เยาวชนได้รับความรู้ด้านการขยายพันธ์พืชและการทำปุ๋ยหมักแบบง่าย
    - เยาวชนนำความรู้ที่ได้จากการบรรยายมาสู่การฝึกในการปฏิบัติจริง
    - เยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาอาชีพได้ในอนาคต

     

    30 30

    24. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ตรั้งที่ 10

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 14:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกหนังสือเชิญให้กับบุคคลต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดสถานที่สำหรับการประชุม
    • จัดการประชุมพร้อมบริการอาหารว่าง
    • ดำเนินการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่ได้จากการประชุม มีดังนี้
    - ได้มีการรายงานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อด้านการขยายพันธ์ุพืชและการทำปุ๋ยหมัก มีดังนี้
    1. ได้มีการบรรยายความรู้ด้านการขยายพันธ์ุพืชและการทำปุ๋ยหมักโดยมีนายอุเส็น  สามารถมาเป็นวิทยากรให้
    2. นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้จากอบรมมาฝึกการปฏิบัติจริงทั้งการขยายพันธ์ุพืชโดยการตอนกิ่งและการทำปุ๋ยหมักแบบง่าย

     

    30 30

    25. ร่วมงานสร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ด้านสุขภาวะ
    • กิจกรรมการเสวนา
    • กิจกรรมการจัดนิทัศการต่างๆของแต่ละพื้นที่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ถูกต้องตามหลักของสุขภาวะ
    • ได้เยี่ยมชมรูปแบบการจัดระเบียบสังคมที่ไม่ให้เป็นมลพิษต่อสุขภาพ

     

    2 2

    26. ติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 4

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 - 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมการรวมกลุ่มของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อ
    • กิจกรรมถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชนในชุมชน
    • กิจกรรมการสาธิตการเลี้ยงอุง(ชันโรง)ในกล่องไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการจัดการติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม มีดังนี้
    - ได้เกิดการรวมกลุ่มกันในหมู่เยาวชนมาทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรร
    - เกิดการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชนในชุมชน
    - เยาวชนได้รับความรู้ด้านการเลี้ยงอุง(ชันโรง)ในกล่องไม้
    - เยาวชนนำความรู้ที่ได้จากการบรรยายมาสู่การฝึกในการปฏิบัติจริง
    - เยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาอาชีพได้ในอนาคต

     

    30 30

    27. มอบรางวัลประกาศเกียรติคุณแก่ครัวเรือนและเยาวชนต้นแบบ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 15:00 - 18.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเสนองานในส่วนของการติดตามการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ ได้แก่
    1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)
    2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
    3. กลุ่มนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อ

    - กิจกรรมมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณแก่ครัวเรือนและเยาวชนต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการนำเสนองานในส่วนของงานที่กลุ่มต่างๆได้ดำเนินกิจกรรม ได้แก่
    1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)
    2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
    3. กลุ่มนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อ

    - ได้มีการมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณแก่ครัวเรือนและเยาวชนต้นแบบ จำนวน 20 รางวัล

     

    130 130

    28. ติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 5

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 - 14:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมรายงานความคืบหน้าในกิจกรรมของกลุ่มอาชีพเสริม
    • กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นของกลุ่มอาชีพเสริม
    • กิจกรรมเสนอความต้องการและแนวทางการพัฒนาของกลุ่มในระยะต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการจัดการติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพเสริมโดยรวม มีดังนี้
    - ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพเสริมขี้นในชุมชนจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่
    1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)
    2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
    3. กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง
    - เกิดการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชนในชุมชนในด้านการขยายพันธ์ุไม้ การทำปุ๋ยหมัก และการเลี้ยงอุงชันโรง
    - กลุ่มอาชีพที่ได้รวมกลุ่มกันปัจจุบันได้มีการขยายสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    - ปัจจุบันทางกลุ่มอาชีพเสริมกำลังติดต่อไปทางหน่วยงานของอำเภอเพื่อจะทำการขึ้นทะเบียน OTOP ของผลิตภัณฑ์
    - ทางกลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยางก็ผสานไปทางหน่วยงานกรมอุทยานเขาวัง เพื่อติดต่อพันธ์ุไม้ประเภทไม้ยืนต้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของสมาชิกที่จะปลูกในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะถึงมา

     

    30 30

    29. จัดตั้งจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 14:00 - 17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กิจกรรมสาธิตการถักผลิตภัณฑ์จากเชือกร่มให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อ
    • กิจกรรมการปรับปรุงและตกแต่งสถานที่สำหรับจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการถ่ายทอดความรู้ด้านการถักผลิตภัณฑ์จากเชือกร่มให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อ
    • ได้มีการปรับปรุงและตกแต่งสถานที่สำหรับจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน

     

    30 51

    30. ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน ปิดโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 - 14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จัดทำรายงานปิดโครงการให้แล้วเสร็จ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน และดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาในชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน
    ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนร้อยละ 80 เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ 2. คนในชุมชนร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการคิด วางแผน และดำเนินการกิจกรรมของโครงการ

    จำนวนผู้ชาวบ้านและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

    2 เพื่อให้คนในชุมชนเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ตัวชี้วัด : คนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 เข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

    ผู้ที่เข้าร่วมโครงการแล้วกลับไปฝึกการทำบัญชีครัวเรือนและทำอาชีพเสริมที่บ้าน

    3 เพื่อจัดตั้งคณะทำงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
    ตัวชี้วัด : มีคณะทำงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จำนวน 1 คณะ

    เกิดการติดตามการทำงานของกลุ่มอาชีพเสริมในชุมชนได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม กลุ่มเลี้ยงผึ้งและชันโรง กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง และกลุ่มนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อ

    4 เพื่อสร้างชุมชนพึ่งตนเอง โดยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีค่าใช้จ่ายลดลง และมีรายได้เพิ่มขึ้น

    -ครัวเรือนในชุมชนบางส่วนมีจำนวนหนี้สินที่ลดลงพร้อมกับการลดลงของการในสร้างภาระหนี้สินของครัวเรือนในชุมชน

    5 เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนรวมกลุ่มกันเพื่อทำอาชีพเสริมตามความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตลาด
    ตัวชี้วัด : เกิดกลุ่มอาชีพเสริมในชุมชน อย่างน้อย 3-5 กลุ่ม

    กลุ่มต่างๆที่เกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้านได้แก่
    1.กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม
    2.กลุ่มเลี้ยงผึ้งและชันโรง
    3.กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง
    4.กลุ่มนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองต่อ

    6 เพื่อจัดตั้งจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน
    ตัวชี้วัด : มีจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน อย่างน้อย 1 จุด

    เปิดร้านจำหน่ายสินค้าผลิตในภัณฑ์ชุมชน

    7 เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชน การวางแผน และการจัดทำแผนปฏิบัติการของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ชุมชนมีฐานข้อมูลด้านสถานการณ์และทุนชุมชนอย่างน้อย 1 ชุด 2. มีกลุ่มเด็กเยาวชน และคนในชุมชนที่มีทักษะในการเก็บข้อมูล อย่างน้อย 20 คน 3. มีแผนชุมชนหรือแผนปฏิบัติการเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน อย่างน้อย 1 ฉบับ

    มีการจัดทำการรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลชุมชนด้านรายรับ รายจ่าย และหนี้สินครัวเรือน

    8 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    -เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่ทาง สสส.หรือสจรส.มอ.จัดขึ้น
    -มีการจัดทำปิดป้ายปลอดบุหรี่ขึ้นในสถานที่สาธารณะ ได้แก่ บริเวณอาคารอเนกประสงค์มัสยิดบ้านคลองต่อใน และบริเวณอาคารศูนย์ประสานงานประจำหมู่บ้าน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน และดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาในชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน (2) เพื่อให้คนในชุมชนเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (3) เพื่อจัดตั้งคณะทำงานด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน (4) เพื่อสร้างชุมชนพึ่งตนเอง โดยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน (5) เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนรวมกลุ่มกันเพื่อทำอาชีพเสริมตามความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตลาด (6) เพื่อจัดตั้งจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน (7) เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชน การวางแผน และการจัดทำแผนปฏิบัติการของชุมชน (8) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ

    รหัสโครงการ 58-03816 รหัสสัญญา 58-00-2142 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
    • มีการสำรวจข้อมูลการว่างงาน รายรับ รายจ่าย และหนี้ครัวเรือน
    • มีถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชนในชุมชนในด้านการขยายพันธ์ุไม้ การทำปุ๋ยหมัก และการเลี้ยงอุงชันโรง
    • เอกสารรายงานการสำรวจข้อมูลการว่างงาน รายรับ รายจ่าย และหนี้ครัวเรือน
    • กลุ่มนักเรียนแกนนำระดับชั้น ป.4 - ป.ุ6 ของโรงเรียนบ้านคลองต่อ
    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาจัดทำเป็นฐานข้อมูลและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
    • ขยายขนาดของกลุ่มนักเรียนแกนนำ โดยการเพิ่มจำนวนสมาชิก และการถ่ายทอดองค์ความรู้ในกลุ่มนักเรียนภายในโรงเรียน และภายนอกโรงเรียน รวมถึงการถ่ายทอดความรู้สู่รุ่นน้องต่อไป
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดสภาผู้นำชุมชน มีการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการรายงานผลการดำเนินการโครงการเป็นประจำ ทุกเดือน ทำให้เกิดกลไกและกระบวนการใหม่ในการจัดการชุมชน

    • บันทึกรายการการประชุมสภาผู้นำประจำเดือน
    • ข้อมูลในเว็บไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    พัฒนาและปรับปรุงกลไกการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนผ่านสภาผู้นำชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มอาชีพเสริมขี้นในชุมชนจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่

    1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)

    2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม

    3. กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง

    • จุดปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพ
    • ข้อมูลในเว็บไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    การเพิ่มจำนวนสมาชิกของกลุ่มเพิ่มขึ้น และขยายจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกลุ่มอาชีพให้มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน

    อาคารศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน

    ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมของศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน ให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)และกลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง เป็นกลุ่มอาชีพที่ส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในชุมชน เนื่องจากมีการผลิตอาหารด้วยตนเอง

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    การกำหนดให้พื้นที่จัดกิจกรรมเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ทำให้กลุ่มผู้สูบบุหรี่ลดการสูบบุหรี่ลงได้ในช่วงเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม และการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพทำให้กลุ่มผู้สูบบุหรี่ตระหนักถึงโทษของบุหรี่มากขึ้น

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • ป้ายเขตปลอดบุหรี่

    ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ให้คลอบคลุมเต็มพื้นที่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    การมีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกในชุมชนมีโอกาสในการพูดคุย ปรึกษาหารือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแสดงความปราถนาดีต่อกัน ทำให้ช่วยลดความเครียด และมีโอกาสในการลดความเครียดจากปัญหาในการดำเนินชีวิต

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    จัดกิจกรรมให้สมาชิกในชุมชนมีโอกาสพบปะพูดคุยกันมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)และกลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง เป็นกลุ่มอาชีพที่ใช้ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    คนในชุมชนเข้าร่วมกลุ่มอาชีพที่เกิดขี้นในชุมชนจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่

    กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)

    กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม

    กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา
    • มีการถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เด็กและเยาวชน
    • คนในชุมชนเข้าร่วมกลุ่มอาชีพที่จัดตั้งขึ้น ทำให้เกิดรายได้เสริม เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิปัญญาแก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดกลุ่มอาชีพเสริมขี้นในชุมชนจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่

    1. กลุ่มเลี้ยงผึ้งและอุง(ชันโรง)

    2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม

    3. กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กลุ่มอาชีพเสริมในชุมชนจำนวน 3 กลุ่ม มีการกำหนดกฎระเบียบของกลุ่ม

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • กฎระเบียบของกลุ่มอาชีพ

    ดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่มในชุมชน เช่น กลุ่มอสม. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มสถาบันการเงินชุมชนฯ และคณะกรรมการหมู่บ้าน รวมถึงการสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนร่วมกับโรงเรียนบ้านคลองต่อ

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    ขยายเครือข่ายกับองค์กรทั้งภายในและภายนอกชุมชนอย่างหลากหลายเพื่อประสานงานในการพัฒนากลุ่มอาชีพต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ในกระบวนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การอบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกกลุ่ม การจัดทำแผนปฏิบัติงานกลุ่ม และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่ม

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • เอกสารรายงานการสำรวจข้อมูล

    ควรจัดทำฐานข้อมูลให้มีความทันสมัย อบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพมีการสำรวจสถานการณ์ปัญหาในชุมชน ค้นหาทุนด้านอาชีพในชุมชน นำมาสู่การจัดตั้งกลุ่มอาชีพโดยใช้ทุนของชุมชนในการดำเนินการขับเคลื่อน ทั้งทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทรัพยากรบุคคล และทุนด้านภูมิปัญญา

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • กลุ่มอาชีพในชุมชน

    ค้นหาทุนชุมชนเพิ่มเติม และนำทุนของชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการต่อยอดนำผลผลิตของกลุ่มอาชีพมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน สำหรับจำหน่ายในศูนย์จำหน่ายสินค้าของชุมชน

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน

    พัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชนให้มีความหลากหลายรวมถึงพัฒนาการประชาสัมพันธ์และการดำเนินการด้านการตลาดของศูนย์จำหน่ายสินค้าของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการรวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูล และร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการชุมชน

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • เอกสารรายงานการสำรวจข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

    ควรจัดทำฐานข้อมูลให้มีความทันสมัย อบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    มีการสำรวจข้อมูลด้านอาชีพของชุมชน และการจัดทำแผนปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพ

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • เอกสารรายงานการสำรวจข้อมูลด้านอาชีพของชุมชน

    ดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    จากการจัดตั้งกลุ่มอาชีพทำให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีความภาคภูมิใจในการรวมกลุ่มกันทำงาน และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจของชุมชนในความสำเร็จที่เกิดขึ้น

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชน

    พัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในชุมชนให้มีความหลากหลาย พัฒนาการประชาสัมพันธ์และการดำเนินการด้านการตลาดของศูนย์จำหน่ายสินค้าของชุมชน รวมถึงการขยายกลุ่มอาชีพ และเพิ่มสมาชิกของกลุ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การรวมกลุ่มทำอาชีพเสริมทำให้คนในชุมชนมีจิตสาธารณะและมีโอกาสได้ทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • กลุ่มอาชีพในชุมชน

    ควรเพิ่มกลุ่มอาชีพให้ครอบคลุมความถนัดและความสนใจของคนในชุมชน และเพิ่มสมาชิกของแต่ละกลุ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การจัดตั้งกลุ่มอาชีพบนพื้นฐานของภูมิปัญญาเป็นการดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ต้องละทิ้งชุมชนเพื่อประกอบอาชีพในเมือง สามารถใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างเรียบง่ายและมีความสุข

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    • กลุ่มอาชีพในชุมชน

    ควรขยายความรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เด็กและเยาวชนรวมถึงคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    การมีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกในชุมชนมีโอกาสในการพูดคุย ปรึกษาหารือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแสดงความปราถนาดีต่อกัน

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพมีการจัดทำแผนการปฏิบัติการ การติดตามประเมินผล โดยมีกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ฐานของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและและการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์

    • ข้อมูลในเว็บไซต์

    • ภาพถ่ายกิจกรรม

    ดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลตามแผนปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 58-03816

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย เดชา หมัดอารี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด