directions_run

ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น ”

หมู่ 14 ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

หัวหน้าโครงการ
ส.ต. สุจิน พุทธกุล

ชื่อโครงการ ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น

ที่อยู่ หมู่ 14 ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 58-03886 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2141

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ 14 ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น



บทคัดย่อ

โครงการ " ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ 14 ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา รหัสโครงการ 58-03886 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,950.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 250 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เกิดสภาแกนนำในการขับเคลื่อนงานชุมชน
  2. เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  3. คนในชุมชนมีการจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชน
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 5 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบเอกสารคู่สัญญาให้กับเว็บไซด์ แนะนำวิธีการทำเอกสารการเงินการลงรายละเอียดโครงการในระบบเว็บไซด์ ฅนใต้สร้างสุข การจัดทำทำปฏิทินโครงการ ปฐมนิเทศโครงการ ปี 2558

    5 ตุลาคม 2558 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

    • 09.00 – 10.00 น. ประชุมทีมพี่เลี้ยง จ.สตูล สงขลา ปัตตานี และ ยะลา

    • 10.00 - 10.30 น. กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. พี่เลี้ยง และผู้รับผิดชอบโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    -10.30 - 11.30 น การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเวบไซต์ การบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ โดย คุณนฤมล ฮะอุรา และคุณสุวิทย์ หมาดอะดำ การจัดรายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน เอกสารการเงิน) โดย คุณธิดา เหมือนพะวงศ์

    • 11.30 - 12.00 น. การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ โดย คุณถนอม ขุนเพ็รช

    • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

    • อธิบายขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการ การจัดการความเสี่ยงของโครงการ โดย คุณนฤมล ฮะอุรา ข้อมูลที่เน้นย้ำ คือ เรื่องการแบ่งบทบาททีมงานในโครงการ การวางแผนทำกิจกรรม การจัดการงานการเงิน ที่สำคัญทาง สจรส.มอ.จะตรวจสอบการรายงานกิจรรมทางเวบไซต์หากไม่มีมีการรายงานกิจกรรมเกิน 2 เดือน จะทำการบุติโครงการ
    • อธิบายการจัดทำเอกสารการเงิน การเบิกเงินจากธนาคารมาทำกิจกรรม ซึ่งจะไม่สามารถถือเงินสดในมือเกิน 5,000 บาท วิธีการเขียนใบสำคัญรับเงิน โดย คุณธิดา เหมือนพะวงศ์
    • อธิบายขั้นตอนการลงข้อมูลในเวบไซต์ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องลงในวันนี้ คือ ปฏิทินแผนการทำกิจกรรมตลอด 1 ปี โดยคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ และ คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
    • ซักถามข้อสงสัยจากผู้รับทุน และชี้แจงเรื่องการบริหารจัดการโดยทีมพี่เลี้ยง และ ทีม สจรส.มอ. และฝึกปฏิบัติเขียนใบสำคัญรับเงิน และการรายงานกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางโครงการได้ตรวจสอบเอกสารคู่สัญญาให้ตรงกับเว็บไซด์ ทางโครงการมีความเข้าใจในการลงข้อมูลในเว็บไซด์ สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ มีความเข้าใจในการทำเอกสารการเงิน

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:00น.-15:00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ จำนวน 6 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่จำนวน 6 ป้าย

     

    250 250

    3. ประชุมสภาแกนนำประจำเดือน พฤศจิกายน ครั้งที่ 1

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดตั้งคณะกรรมการสภาผู้นำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดคณะกรรมแกนนำในการขับเคลื่อนโครงการ

    1.จัดตั้งคณะกรรมการสภาผู้นำ

    • นายบรรจบ จันทระประธาน
    • นางภัทราวรรณ เสนคงรองประธาน
    • นายกิตติ แจ่มจันทารองประธาน
    • นางคณิรยา สวนสินธ์เลขานุการ
    • นายณรงค์ศักดิ์บุญรอดฝ่ายตรวจสอบ
    • นายเพิ่ม มณีสว่างปฏิคม
    • นางสาวอนงค์ เสมอนุ่น ปฏิคม
    • นายอำพร พงค์แพะประชาสัมพันธ์
    • นางสาวมาลี บุญรัตน์ ประชาสัมพันธ์

    ที่เหลือเป็นคณะกรรมการ

     

    30 30

    4. อบรมพัฒนาศักยภาพการเขียนรายงานและการหักภาษี ณ ที่จ่าย

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฟังบรรยายวิธีการจ่ายภาษี จากเจ้าหน้าที่ สจรส มอ หาดใหญ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โครงการสามารถจัดทำเอกสารการจ่ายภาษีได้ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเขียนรายงานและเอกสารทางการเงิน

     

    2 2

    5. จัดประชุมชี้แจงโครงการในเวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เชิญเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและปีชระชาชนเข้ารับฟังชี้แจงรายละเอียดโครงการ 2.ชุมชนมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีคนเข้าร่วม 208 คน ได้แก่ อสม. 30 คนเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกษตรกร พัฒนาชุมชน กศน วิทยาลัย อบต.เทศบาลเมือง รวม 30 คน ปราชญ์ชาวบ้าน 20 คน พี่น้องในชุมชน 128 คน

    2.มีการอธิบายเรื่องที่มาของงบประมาณโครงการ สสส.ที่ได้จัดสรรจากรัฐบาล 2%ของภาษีสรรพสามิตร การชี้แจงรายละเอียดของโครงการลดรายจ่ายเสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียงบ้านหนองไม้แก่น

    3.ที่ประชุมได้ซักถามถึงกิจกรรมว่า ชุมชนได้อะไรจากโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงให้ได้ทราบถึงกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพ รักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

    4.การสังเกตุจากการประชุมคนส่วนใหญ่เห็นด้วยจากการทำกิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาชุมชน ให้เข้มแข็ง ยังมีคนบางส่วนไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการในการพัฒนาชุมชนถึงแม้ทางผู้รับผิดชอบโครงการพยายามชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการและกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

     

    200 208

    6. ประชุมสภาแกนนำประจำเดือน มกราคม ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 มกราคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • หาข้อตกลงในการไปศึกษาดูงาน
    • การจัดอบรมการทำบัญชีครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ศึกษาดูงาน 1 วัน ที่ อบต.ท่าข้าม
    • การคัดแยกขยะ
    • ผลิตภัณฆ์ใช้เองและการเรียนรู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    • การแปรรูปอาหารที่มีในชุมชน

     

    30 30

    7. อบรมพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำ

    วันที่ 18 มกราคม 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมบทบาทการทำหน้าที่ผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการอบรมเรื่องภาวะผู้นำ บทบาทและหน้าที่ของผู้นำ และเรื่องสภาองค์กรชุมชน

    2.มีการเลือกตั้งประธานสภา รองประธานสภา เลขา เหรัญญิก ปฏิคม ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายตรวจสอบ เพื่อบริหารสภาองค์กรชุมชนบ้านหนองไม้แก่น และมีการอธิบายถึงกฏระเบียบของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551

    3.มีการนัดประชุมสภา ทุกวันที่ 12 ของเดือน เพื่อติดตามกิจกรรมโครงการ สสส. และประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆ ภายในชุมชน

     

    30 30

    8. ศึกษาดูงาน 1 วันการทำเกษตร การปลูกพืช ปลูกผัก ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 28 มกราคม 2016 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ศึกษาดูงาน 1 วัน การคัดแยกขยะ การแปรรูปอาหาร  ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พื้นที่ชุมชนต้นแบบ อบต.ท่าข้าม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การคัดแยกขยะ ได้มีการประชุมคนในชุมชนเรื่องการคัดแยกขยะ ให้ถูกต้องโดยแยกขยะ เป็นขยะแห้ง ขยะเปียก ขยะรีไซเคิ้ล ขยะมีพิษ ให้เป็นสัดส่วน
    2. การแปรรูปอกหาร เรื่องการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น กล้วย มันสำปะหลังฟักทองทางหมู่บ้านได้ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกและแปรรูป ขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยตั้งกลุ่มและทำอาคารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้า OTOP ประจำหมู่บ้าน
    3. เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งพาตนเอง การทำน้ำยาอเนกประสงค์ไว้ใช้เอง ในครัวเรือนและทำกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของครัวเรือน

     

    50 50

    9. อบรมพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน แกนนำในชุมชน ในการเก็บข้อมูลครัวเือน

    วันที่ 29 มกราคม 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีฐานข้อมูลเรื่อง สถาณการณ์ชุมชน ทุนชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการชุมชนให้สมารถพึ่งตนชุมชนเองได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ฐานข้อมูลของชุมชน ประวัติชุมชน ผังชุมชน ข้อมูลทั่วไป รายรับรายจ่ายของครัวเรือน ข้อมูลอาชีพ ภูมิปัญญา ปราชญ์ และข้อมูลอื่นๆ

    2. ทุนชุมชน มีวัด มัสยิส มหาวิทยาลัย โรงเรียน อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสถาบันการเงิน ห้วย คลอง พื่นที่ราบที่เหมาะกับการเพาะปลูกทำการเกษตร ภูมิปัญญาปราชญ์

     

    40 40

    10. ประชุมสภาแกนนำประจำเดือน กุมภาพันธ์ ครั้งที่ 3

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดกิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือนในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 กำหนดการประชุมประจำเดือนในวันที่ 12 ของทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เป้าหมายโครงการจำนวน 100 ครัวเรือน ได้แบ่งผู้รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูลเป็นเขต 5 เขตหนองจาดนอก หนองจาดใน หนองไม้แก่น หนองหน้าซั่ง ชายคลอง
    2. เรื่องอื่นๆมีการพิจารณา 2 วาระ
      วาระที่ 1 เรื่อง การร่างกฏกติกาชุมชน
      วาระที่ 2 เรื่อง การจัดทำ ทำเนียบสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองไม้แก่น
      และเรื่องอื่นๆประธานที่ประชุมแจ้งการทำกิจกรรมครั้งต่อไปให้ชะลอไว้ก่อน ให้เสร็จเรื่องการชี้แจงรายละเอียดโครงการในวันที่ 11 กุมภาพันธ์2559 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

     

    30 30

    11. ประชุมให้ความรู้การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 100 ครัวเรือน

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมรับทราบการทำบัญชีครัวเรือน การจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวันของครัวเรือน
    • ทดลองการใช้เครื่องมือกับคณะกรรมการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การทำบัญชีครัวเรือน การจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวันของครัวเรือน
    • ทดลองการใช้เครื่องมือกับคณะกรรมการ

     

    100 100

    12. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปิดงวดครั้งที่ 1

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานบันทึกลงในระบบเว็ปไซค์ จัดทำเอกสารการเงิน การหักภาษีณที่จ่าย ตรวจสอบเอกสารโดยเจ้าหน้าที่ สจรส พี่เลี้ยง เพื่อจัดส่งรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โครงการจัดทำรายงาน พร้อมทั้งเอกสารการเงิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย

     

    2 3

    13. คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

     

    2 2

    14. ประชุมสภาแกนนำประจำเดือน มีนาคม ครั้งที่ 4

    วันที่ 12 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาแกนนำ เพื่อชี้แจงผลการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา และร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการในเดือนถัดไปเพื่อให้ตรงตามกิจกรรมของโครงการที่ได้วางไว้ ที่ประชุมดำเนินการร่างกฏกติกาชุมชนบ้านหนองไม้แก่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาแกนนำชุมชนมีการประชุมประจำเดือนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของคนในชุมชน

    2.มีสภาแกนนำเข้าร่วมประชุมร้อยละ 100 ตามกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

    3.สภาแกนนำรู้และเข้าใจการดำเนินกิจกรรมโครงการและร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    4.มีร่างกฎกติกาชุมชนจำนวน 12 ข้อ

    ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านนองไม้แก่นหมู่ที่14ต.ท่าชะมวงอ.รัตภูมิจ.สงขลา ครั้งที่4/2559วันที่12มีนาคม2559เวลา13.00น. ณ.อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านหนองไม้แก่น

    ระเบียบวาระที่1เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

    1.1 เรื่องกฎระเบียบชุมชนที่ร่างขึ้นมาบังคับใช้ร่วมกันภายในหมู่ที่14

    1.2 เรื่องการประชุมที่หอประชุมนานาชาติมอ.หาดใหญ่เพื่อรับฟังคำชี้แจงของคณะรัฐมนตรีและเสนอเรื่องต่าง ๆ เช่นชรบ.กับกรรมการหมู่บ้านควรได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่บทบาทหน้าที่ของกรรมการหมู่บ้านเทียบเท่ากับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

    1.3 เรื่องโครงการตำบล5ล้านบาทหมู่ที่14ได้เจาะบ่อบาดาล1ลูกจำนวนเงิน2แสนบาทและให้มาลอกคูข้างถนนความยาว200เมตรความกว้าง2เมตรความลึก1เมตรจำนวนเงิน27,000บาท


    ระเบียบวาระที่2เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว รายงานการประชุมครั้งที่3/2559วันที่3กุมภาพันธ์2553 ที่ประชุมมีมติรับรองเป็นเอกฉันท์


    ระเบียบวาระที่3เรื่องเสนอเพื่อทราบ 3.1เรื่องติดตามการประชุมครั้งที่แล้ว3/2559 ที่ประชุมติดตาม-การร่างกฎระเบียบชุมชนยังไม่แล้วเสร็จ - การทำธรรมเนียบสภาผู้นำเสร็จเรียบร้อยแล้ว 3.2 เรื่องติดตามกิจกรรมโครงการสสส.การลดรายจ่ายเสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียงบ้านหนองไม้แก่น ผู้รับผิดชอบโครงการรายงาน- ได้รวบรวมโครงการที่ทำไปแล้วทั้งหมดพร้อมเอกสารรายรับ-รายจ่ายและเอกสารประกอบอื่น ๆ ส่งให้กับทางเจ้าหน้าที่รับตรวจสอบโครงการที่มอ. เพื่อจะรับงบประมาณรอบที่2มาดำเนินกิจกรรมโครงการต่อไป


    ระเบียบวาระที่4เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
    4.1เรื่องการร่างกฎกติกาชุมชนบ้านหนองไม้แก่น ที่ประชุมเสนอ - ร่างกฎระเบียบชุมชนบ้านหนองไม้แก่นจำนวน12ข้อต่อไปนี้

    ข้อ1กฎระเบียบว่าด้วยการลักเล็กขโมยน้อย เช่นขี้ยางผลผลิตทางการเกษตรไก่เป็ดเป็นต้น บทลงโทษ

    (1)ปรับไม่เกิน10เท่าของราคาสินค้าที่ขโมย

    (2) ขึ้นป้ายในที่สาธารณะเป็นเวลา3เดือน

    (3) งดการทำธุระกรรมทางการเงินในชุมชนทุกกองทุนฯ

    ข้อ2การขาดการประชุมทั้งผู้นำชุมชนและบุคคลทั่วไปติดต่อกัน3ครั้งโดยไม่แจ้งให้ที่ประชุมทราบ บทลงโทษ

    (1) งดการทำธุระกรรมทางการเงินในชุมชนทุกกองทุนฯ

    (2) ตัดสิทธิในการลงสมัครเป็นผู้นำ

    (3) มีมติให้ออกจากการเป็นผู้นำ(ถอดถอนออกจากตำแหน่งผู้นำ)

    ข้อ3ผู้ที่ไม่เคารพกฎระเบียบชุมชน บทลงโทษ

    (1) ไม่ให้ความช่วยเหลือและไม่ร่วมมือในกิจกรรมทุกเรื่อง (เช่นงานแต่งงานบวชงานศพเป็นต้น)

    (2) ไม่ให้สวัสดิการใด ๆ

    (3) งดการทำธุรกรรมทางการเงินในชุมชนทุกกองทุนฯ

    ข้อ4การดูแลสัตว์เลียงในชุมชน บทลงโทษ

    (1) ปรับไม่เกิน10เท่าของที่สัตว์เลี้ยงทำให้เสียหาย

    (2) ต้องดูแลสัตว์เลี้ยงให้ดีต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น

    (3) ให้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงภายในเขตรับผิดชอบของตัวเองเท่านั้น

    ข้อ5เรื่องของการดูแลชุมชนให้เกิดความสงบความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินสร้างความเป็นระเบียบในการอยู่ร่วมกันภายในชุมชน กิจกรรม

    (1) ร่วมกันเข้าเวรเฝ้าระวังดูแลความสงบที่ป้อม ชรบ.ทุกวันเวลา19.00 – 23.00น.

    (2) การตั้งจุดตรวจหรือการลาดตระเวนอย่างน้อยเดือนละ2ครั้ง

    (3) การแจ้งเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวเหตุการณ์ต่าง ๆ เดือนละ1ครั้ง


    ข้อ6การดูแลความสะอาดภายในชุมชน กิจกรรมและบทลงโทษ

    (1) ร่วมกันพัฒนาดูแลความสะอาดเรียบร้อยภายในชุมชนเดือนละ1 ครั้งทุกวันที่16ของเดือนเวลา15.00 - 17.00น.

    (2) บทลงโทษผู้ที่ทิ้งขยะในบริเวณชุมชนหมู่ที่14ปรับครั้งละไม่เกิน500บาท

    (3) ให้ครัวเรือนภายในชุมชนหมู่ที่14จัดบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยให้สะอาดเรียบร้อย

    ข้อ7เรื่องยาเสพติดภายในชุมชนหมู่ที่14 บทลงโทษ

    (1) ห้ามร่วมกิจกรรมทุกอย่างกับครัวเรือนผู้ค้ายาเสพติดในชุมชนหมู่ 14

    (2) ขึ้นป้ายชื่อผู้ค้ายาเสพติดในที่ชุมชนเวลา3เดือน

    (3) งดทำธุระกรรมทางการเงินทุกกองทุนฯ

    (4) งดการช่วยเหลือทุกอย่างจากชุมชนหมู่ 14

    (5) ผู้เสพยาเสพติดภายในชุมชนหมู่ที่14ให้นำไปบำบัด

    (6) หาอาชีพให้ผู้เสพยาเสพติดภายในชุมชน หมู่ที่14

    ข้อ8การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนหมู่ที่14 กิจกรรมและบทลงโทษ

    (1) ส่งเสริมให้ปลูกพืชร่วมยาง

    (2) ส่งเสริมปลูกไม้บริเวณบ้านและบริเวณที่สาธารณะหัวไร่ปลายนา

    (3) รณรงค์ไม่ให้ใช้โฟมใส่อาหาร

    (4) รณรงค์ไม่ให้ใช้ถุงพลาสติก

    (5) ส่งเสริมให้ทำปุ๋ยใช้เอง

    (6) รณรงค์ให้ลดการใช้สารเคมีปุ๋ยเคมี

    (7) รณรงค์ห้ามเผาป่าไม้

    (8) ห้ามบุกรุกหรือทำลายเขตสาธารณะเช่นห้วย คูคลอง

    (9) จับปลาในเขตอนุรักษ์ปรับตัวละ500บาท

    (10) ตัดต้นไม้ในเขตอนุรักษ์โดยไม่ได้รับอนุญาตปรับต้นละ10,000บาท

    (11)จับสัตว์ในเขตอนุรักษ์ปรับตัวละ10,000บาท

    (12)งดการทำธุระกรรมทางการเงินทุกกองทุนฯ

    (13)งดการช่วยเหลือต่าง ๆ ภายในชุมชน

    ข้อ9การเล่นการพนันภายในชุมชนหมู่ที่14 บทลงโทษ

    (1) ห้ามซื้อขายหรือเล่นการพนันภายที่ชุมชนในหมู่ที่14

    (2) ห้ามซื้อขายหวยสัตว์เด็ดขาดภายในหมู่ที่14

    (3) งดการทำธุระกรรมทางการเงินทุกกองทุนฯ

    (4) งดการช่วยเหลือต่าง ๆ ภายในชุมชน

    ข้อ10การควบคุมบุคคลที่เข้ามาอยู่ภายในชุมชนหมู่ที่14

    (1) ให้ทุกคนที่เข้ามาอยู่ในชุมชน หมู่ที่14ต้องแจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านทราบ

    (2) ถ้าบุคคลใดเข้ามาอยู่ในหมู่14 ไม่ได้แจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านทราบให้ขับไล่ออกไปจากหมู่ที่ 14ทันที

    (3) ครัวเรือนที่ให้บุคคลอื่นมาอยู่ในหมู่14ต้องรับผิดชอบในการกระทำของผู้ที่เข้ามาอาศัยในหมู่ที่14ทุกอย่าง

    ข้อ11การดูแลสุขภาพพลานามัยในหมู่ที่14

    (1) รณรงค์การไม่บริโภคอาหารหวาน เค็มมันจัด

    (2) รณรงค์การลดการดื่มน้ำอัดลม

    (3) รณรงค์การลดละเลิกของมึนเมาเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดทุกชนิด

    (4) รณรงค์การทำอาหารกินเอง ปลูกผักกินเอง

    (5) รณรงค์การเลี้ยงอาหารแบบบุฟเฟ่ต์

    ข้อ12การแก้ปัญหาความจนหนี้สินภาคครัวเรือน กิจกรรม

    (1)ทุกครัวเรือนต้องทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของครัวเรือน

    (2) ทุกครัวเรือนต้องทำกิจกรรมลดรายจ่าย – เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเช่นปลูกผักกินเอง ทำปุ๋ยหมักให้เองทำน้ำยาเอนกประสงค์ เป็นต้น

    (3) ทุกครัวเรือนรวมกลุ่มสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

    (4) มีการออมเงินอย่างน้อย 10%ของรายได้

    (5) ลดละเลิกรายจ่ายที่ไม่จำเป็นกับครัวเรือนเช่นการเล่นการพนันสิ่งเสพติดรายจ่ายฟุ่มเฟือย



    4.2เรื่องการประชุมครั้งต่อไป ที่ประชุมกำหนด วันที่2เมษายน59ทำกิจกรรมโครงการจัดเก็บข้อมูลชุมชนออกแบบฟอร์มจัดเก็บข้อมูลชุมชน วันที่11เมษายน59ประชุมสภาผู้นำชุมชนเวลา13.00น.ณอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

    ระเบียบวาระที่5เรื่องอื่น ๆ


    ปิดประชุมเวลา16.00น.





    ผู้บันทึกรายงานการประชุม ผู้ตรวจรายงานการประชุม


    (นางคนิณยา นวนสินธุ์) (นายบรรจบ จันทระ)
    เลขาสภาผู้นำชุมชน ประธานสภาผู้นำชุมชน

     

    30 30

    15. พัฒนาเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนออกแบบความต้องการข้อมูลชุมชน

    วันที่ 7 เมษายน 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พัฒนาเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนออกแบบความต้องการข้อมูลชุมชนที่อยากทราบ เพื่อให้เราสามารถเข้าใจชุมชนได้มากขึ้น เช่น ประวัติความเป็นมาของชุมชน วัฒนธรรมชุมชน ทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญา พื้นที่เสี่ยงภายในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พัฒนาเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลครัวเรือน ออกแบบตามความต้องการของชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีความเข้าใจในการจัดเก็บข้อมูลชุมชนมากยิ่งขึ้น เช่นประวัตความเป็นมาของชุมชน วัฒนธรรมชุมชน ทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญา พื้นที่เสี่ยงภายในชุมชน

     

    40 40

    16. ประชุมสภาแกนนำประจำเดือน เมษายน ครั้งที่ 5

    วันที่ 11 เมษายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาแกนนำตามวาระต่างๆที่ได้กำหนดขึ้น ชี้แจงผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ และเรื่องอื่นๆในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาแกนนำชุมชนมีการประชุมประจำเดือนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของคนในชุมชน

    2.ร้อยละ 80 ของสภาแกนนำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ

    3.มีโครงสร้างกฏกติกาของสภาแกนนำชุมชน

    4.สภาแกนนำเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของตนเอง

    ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองไม้แก่น ครั้งที่5/2559วันที่11เมษายน2559เวลา13.00น. ณอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านม.14ต.ท่าชะมวงอ.รัตภูมิจ.สงขลา

    ระเบียบวาระที่1เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

    1.1 เรื่องทางอำเภอให้พัฒนาชุมชนทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงให้ทางคณะกรรมการหมู่บ้านช่วยเก็บข้อมูลชุมชนเพื่อนำมาประกอบทำแผนพัฒนาหมู่บ้านในวันที่18เมษายน2559เวลา13.30น.อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

    1.2 เรื่องกิจกรรมรดน้ำขอพรผู้สูงอายุวันที่13เม.ย.59เวลา09.00น.เป็นต้นไป ณวัดรัตนวรารามให้ไปจัดสถานที่ในวันที่12เมษายน2559เวลา15.00 น.

    1.3 เรื่องความเข้มแข็งของกลุ่มต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านในการประชุม หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ยังอ่อนแอไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร

    ระเบียบวาระที่2เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ครั้งที่4/2559 ที่ประชุม รับรองด้วยเสียงเอกฉันท์

    ระเบียบวาระที่3เรื่องเสนอเพื่อทราบ
    3.1เรื่องติดตามการประชุมครั้งที่4/2559 ที่ประชุมติดตามเรื่องการร่างกฎกติกาชุมชนหนองไม้แก่น ได้ร่างกฎกติกาชุมชนแล้วมีทั้งหมด12ข้อในการบังคับใช้กับพี่น้องในหมู่ที่14
    3.2เรื่องติดตามกิจกรรมโครงการ ได้อบรมโครงการจัดเก็บข้อมูลชุมชนในวันที่7เมษายน2559เวลา10.00 – 15.00 น. ณ. อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านจำนวนผู้นำชุมชน40คนใช้งบประมาณ6,400บาทเพื่อออกแบบการจัดเก็บข้อมูลชุมชน

    ระเบียบวาระที่4เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
    4.1 เรื่องกำหนดวันทำกิจกรรมครั้งต่อไป ที่ประชุม กำหนดวันที่ 14พฤษภาคม2559เวลา10.00 น. – 15.00 น.ณอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ม.14เรื่องการรวบรวมข้อมูลชุมชนทำแผนพัฒนาชุมชน
    4.2 เรื่องกำหนดวันประชุมประจำเดือนสภาผู้นำ ที่ประชุมกำหนดวันที่12พ.ค.59เวลา13.00น.ณอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

    ระเบียบวาระที่5เรื่องอื่น ๆ
    5.1เรื่องกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประจำเดือนทุกวันที่16ของเดือน ที่ประชุม กำหนดพัฒนาสายหนองจาดเวลา15.00 น.เป็นต้นไป
    5.2เรื่องการห้ามเผาไฟฉีดยาฆ่าหญ้าในฤดูแล้งเดือนเม.ย. – พ.ค.
    5.3เรื่องงบตำบล5ล้านบาท หมู่14ได้งบประมาณ2แสนบาท ทำโครงการเจาะบ่อบาดาลขนาด6นิ้วความลึก60เมตรปริมาณน้ำได้6คิวเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้
    5.4เรื่องกิจกรรมการออกกำลังกายให้หางบประมาณมาทำฟิตเนตขอสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
    5.5 เรื่องการขับขี่รถการสวมหมวกกันน๊อก100%ตรวจจับใบขับขี่รถทุกชนิด


    ปิดประชุมเวลา 15.50น.


    ผู้บันทึกรายงานการประชุม ผู้ตรวจรายงานการประชุม


    (นางคนิณยานวนสินธุ์)(นายบรรจบ จันทระ) เลขาสภาผู้นำชุมชน ประธานสภาผู้นำชุมชน

     

    30 30

    17. ประชุมประจำเดือน พฤษภาคม

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 เรื่องเกี่่ยวกับโครงการประชารัฐได้มี มติให้เจาะบ่อบาดาลที่วัดรัตนวราราม

    1.2 เรื่องโครงการเศรษฐกิจพอเพียงทำแผนชุมชนในเรื่องการขยายเขตประปาภูเขา

    ว่าระที่ 2 รับรองวาระการประชุม ครั้งที่ 5 /2559 มติที่ประชุม รับรองด้วยมติเป็นเอกฉันต์

    วาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อทราบ เรื่องติดตามการประชุมครั้งที่ 5/2559 เรื่องติดตามกิจกรรมโครงการเรื่องการออกแบบฟอร์มสำรวจข้อมูลชุมชน เรื่องงบประมาณ รอบที่ 2  ยังไม่เข้าบัญชี

    วาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา เรื่องการรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อจัดทำแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สภาแกนนำชุมชนมีการประชุมประจำเดือนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของคนในชุมชน 2.ร้อยละ 80 ของสภาแกนนำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ 3.มีโครงสร้างกฏกติกาของสภาแกนนำชุมชน 4.สภาแกนนำเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของตนเอง

     

    30 30

    18. ประชุมประจำ เดือนมิถุนายน

    วันที่ 12 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาแกนนำ จำนวน 30 คน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมโครงการตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บันทึกการประชุมสภาแกนนำชุมชนบ้านหนองไม้แก่น ครั้งที่ 7/2559
    ณ.อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ม.14 ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ. สงขลา กิจกรรมเรื่องติดตามกิจกรรมโครงการลดรายจ่ายเสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียงบ้านหนองไม้แก่นผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงในเรื่องของการเก็บข้อมูลชุมชนยังไม่เสร็จสมบูรณ์จึงต้องเลื่อนการประชุมสรุปแผนชุมชนออกไปก่อน ประกอบกับเงินในงวดที่ 2 ยังไม่เข้าบันชี้ซึ่งทางโครงการยังมีกิจกรรม อีก 5 กิจกรรมโครงการเมื่อเงินเข้าบัญชีจะต้องเร่งดำเนินการจัดทำกิจกรรมของโครงการให้ทันกับช่วงเวลาโครงการที่ได้กำหนดไว้ในแผน

     

    30 30

    19. ประชุมสภาแกนนำประจำ เดือนกรกฏาคม

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองไม้แก่น ที่ประชุมได้ติดตามเรื่องการจัดทำแผนชุมชนโดยผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานถึงการจัดเก็บข้อมูลว่ายังไม่เรียบร้อยจะต้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาประกอบการจัดประชุมสรุปแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมสภาแกนนำเพื่อรับทราบข้อมูลการดำเนินกิจรรมของโครงการ วางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการในเดือนถัดไป สรุปผลการดำเนินกิจกรรมของเดือนที่ปผ่านมา

     

    30 30

    20. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือน ลงสำรวจพื้นที่ และเก็บข้อมูลชุมชนพื้นที่โซนที่ตัวเองรับผิดชอบ

    วันที่ 6 สิงหาคม 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือน ลงสำรวจพื้นที่ และเก็บข้อมูลชุมชน พื้นที่โซนที่ตัวเองรับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลครัวเรือน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปเป็นเอกสาร

     

    40 31

    21. ประชุมประจำ เดือนสิงหาคม

    วันที่ 16 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมติดตามประเมินผลภาพรวมของโครงการประจำเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปกิจกรรมที่ผ่าน และวางแผนผลการดำเนินงานต่อไป

     

    30 30

    22. วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปเป็นเอกสาร

    วันที่ 31 สิงหาคม 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน และสมาชิกในชุมชน จำนวน 40 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปประเด็นจากรายบุคคล 1. ทุนในชุมชนมีอะไรบ้าง • ทรัพยากรด้านบุคคล มีผู้นำดีมีคนที่มีความสามารถมีคนมีความรู้มีปราชญ์ชาวบ้านมีบุคคลคุณภาพ มีการศึกษาที่ดีมีการร่วมมือกันในชุมชน • ทรัพยากรทางธรรมชาติ มีสิ่งแวดล้อมดีมีทรัพยากรดีมีพื้นที่ดินดีมีที่ดินทำมาหากิน • สาธารณูปโภค มีไฟฟ้ามีถนนมีน้ำประปาหมู่บ้านมีแหล่งน้ำ • สถาบัน หน่วยงานสนับสนุน มีกลุ่มออมทรัย์สถาบันการเงินมีโรงเรียนมหาวิทยาลัย ศูนย์การเรียนรู้
    2. สภาพปัญหาเป็นอย่างไรบ้าง • เศรษฐกิจ ยางราคาถูก ไม่มีทุนเพียงพอ ปัญหาหนี้สินล้นตัว • คนในชุมชน การไม่ให้ความร่วมมือกันในการพัฒนาและการแก้ปัญหามีความขัดแย้งขาดความรู้ความสามารถที่เหมาะสม • ขาดปัจจัยการใช้งานในพื้นที่ เช่น ขาดน้ำในการเพาะปลูก
    3. เราจะมีทางรอดอย่างไรบ้าง • พัฒนาคน มีจิตสำนึกรับผิดชอบมีคุณธรรมนำจิตใจพัฒนาจิตใจคนให้เข้มแข็งให้คนในชุมชนร่วมมือกันช่วยกันคิดช่วยกันทำ รวมกลุ่มกันทำงานจัดคนให้คู่กับงานจัดอบรมประชุม

    • พัฒนาอาชีพ จัดการศึกษาดูงานเพื่อเป็นแนวทางนำมาปรับปรุงแก้ปัญหาให้ตรงจุดมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำงานเสริมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้มีสวัสดิการเพื่อคนในชุมชนให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันจัดหาแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาและอาศัยความรู้ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

    สรุปจากกลุ่มวิเคราะห์หมู่บ้าน 1. ที่มาของหมู่บ้าน เดิมชื่อบ้านต้นม่วงหีผี ต่อมาเรียกบ้านหนองจาด หมู่ที่ 4 คลองยางแดง แยกหมู่บ้านจากหมู่ 4 คลองยางแดงมาเป็นหมู่ 14 บ้านหนองไม้แก่นเมื่อ พ. ศ. 2545 บ้านหนองไม้แก่นมี 6 ชุมชน
    1. บ้านหลังโรงงานไม้ขีด2. บ้านชายคลอง3. บ้านหนองจาด4. บ้านหนองไอ้เล 5. บ้านหนองหน้าซั้ง6. บ้านหนองไม้แก่น 2. ประเพณีดั้งเดิม
    ทำบุญเดือนห้าอาบน้ำผู้สูงอายุ ทำบุญว่าง ทำบุญบ้าน ทำบุญเข้าพรรษา ทำบุญเดือนสิบ
    ประเพณีชักพระ 3. ภูมิปัญญา
    ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ค้าขาย ทำใต้ นวดแผนโบราณ หมอไหว้ภูมิ หมอต่อกระดูก วยาวัชกรทำคันไถ ทำเครื่องจักรสาน เช่นไซ สุ่ม ข้อง สาดเตย 4. การละเล่น หมากเก็บ หมากขุม เป่ากบ ข้ามยาง ตี่ เตย กระโดดเชือก โยนลูกแก้ว ซัดราวลูกฉุด ว่าว มโนรา หนังตะลุง กาหรอ 5. อาชีพหลัก
    ทำนา ทำสวน ค้าขาย ปลูกผักรับจ้างทั่วไป 6. อาชีพรอง ทำกสิกรรม ปศุสัตว์ รับจ้างทั่วไป 7. การศึกษา
    ระดับประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระดับปริญญาตรี 8. การคมนาคมมี 3 เส้นทางหลัก สายชายคลอง – โคกสัก สายหนองจาด – โคกสัก สายไม้ไผ่งาม – โคกสัก 9. ของดี
    แหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์เช่น คลอง ห้วย เขื่อน มีพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก 10. อื่นๆ
    มีสถานที่ต่างๆ เช่น วัด มัสยิด โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศูนย์เรียนรู้ สถาบันการเงิน กลุ่มออมทรัพย์
    สรุปจากกลุ่มเกี่ยวกับโครงการ

    1. ความสำเร็จที่ภูมิใจในการทำโครงการนี้มีอะไรบ้าง • ได้เห็นความสามัคคี มีความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนสร้างความอยุ่ดีกินดี • ได้มีกฏระเบียบของหมู่บ้านมีประชาคมหมู่บ้าน มีแผนการจัดการหมู่บ้านทำให้หมู่บ้านมีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน

    2. ความสำเร็จนั้นมีกระบวนการทำงานอย่างไร • มีการจัดอบรม ประชุมในหมู่บ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง • มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อจัดหาองค์ความรู้ เพื่อกลับมาประเมินผลและจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง • มีการทำงานเป็นทีมร่วมกันคิดร่วมกันทำ

    3. มีเงื่อนไขปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จและไม่สำเร็จ • มีกฎระเบียบและเงื่อนไขต่างๆ • ผู้นำแต่ละองค์กรและผู้นำในหมู่บ้านต้องร่วมมือกัน • งบประมาณในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง • ความตั้งใจในการทำงาน • เมื่อไปดูงานข้างนอกแล้วกลับมาทำไม่ถูกทางหรือไม่ตรงเป้าหมายขาดความพร้อมในการลงมือปฏิบัติ หรือไม่ลงมือปฏิบัติ

    4. ถ้าต้องการจัดโครงการใหม่อีกครั้ง ท่านจะมีข้อเสนออะไร • พัฒนาบุคคลากรให้เห็นความสำคัญของชุมชนมากกว่านี้ • กำหนดระยะเวลาในการทำโครงการให้น้อยกว่านี้กำหนดระยะเวลาของโครงการให้สอดคล้องกับชุมชน • ตั้งเป้าหมายใหม่ หาอาชีพใหม่ให้ตรงจุด คิดใหม่ทำใหม่อยู่เสมอ

     

    40 40

    23. ประชุมสภาแกนนำประจำ เดือนกันยายน

    วันที่ 3 กันยายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมพัฒนาศักยภาพของสภาผู้นำชุมชนเพื่อที่จะให้มีความเข้าใจในการแบ่งบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำในการดำเนินการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนแบ่งหน้าที่มีศักยภาพในการวางแผนกิจกรรมของโครงการ

     

    30 30

    24. รับสมัครสมาชิกกลุ่มในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริม จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน

    วันที่ 4 กันยายน 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับสมัครสมาชิกกลุ่มในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเสริม จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกลุ่ม ในการส่งเสริมอาชีพด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 กลุ่ม คือ

    1. กลุ่มเมล็ดพันธุ์เพาะชำกล้าไม้ จำนวน 30 คน

    2. กลุ่มปลูกพืชสมุนไพร จำนวน 30 คน

    3. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ  จำนวน 30 คน 

     

    90 90

    25. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน

    วันที่ 6 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิธีการ

    4.1.ประชุมให้ความรู้การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 100 ครัวเรือน โดยทีมคณะทำงานโครงการ ,เด็กและเยาวชนและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

    4.2.พัฒนาเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลครัวเรือน โดยคณะทำงานโครงการ,เด็กเยาวชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้คำแนะนำ

    4.3.ทดลองใช้เครื่องมือกับคณะกรรมการโครงการ

    4.4.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน

    4.5.วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปเป็นเอกสารจัดเวทีเสวนา คืนข้อมูลบัญชีครัวเรือนให้กับครัวเรือน จำนวน 2 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะ 5 เดือนแรก และ 5 เดือนหลัง เพื่อให้เห็นความแตกต่างของรายรับ รายจ่าย เพิ่มลดอย่างไร

    4.6 มอบเกียรติบัตรและรางวัลให้กับครัวเรือนต้นแบบ ที่มีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและมีความถูกต้อง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับครัวเรือนอื่นในชุมชนในวันสรุปปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รวบรวมข้อมูลด้าน รายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน และชุมชน นำไปสูการวิเคราะห์ ต่อไป

     

    100 40

    26. อบรมให้ความรู้การปลูกพ์ชผักสมุนไพร

    วันที่ 10 กันยายน 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพรมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

    1. สาธิตการทำแปลงปลูกพืชผักสมุนไพร

    2. สรุปการอบรมเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มร่วมซักถามข้อสงสัย

    โดยมีวิทยากร 2 ท่าน คือ 1.นางมาลี พรหมเพชร เกษตรตำบลท่าชะมวง และ 2 .นายประภาศ ยอดสี ปราชย์ชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับสมชิดกลุ่มปลูกพืชสมุนไพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนและวางจำหน่ายในชุมชน

    2.เกิดการบริโภคผักปลอดสารพิษของสมาชิกในชุมชน

    3.ครัวเรื่อนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผักปลอดสารพิษ

     

    30 30

    27. เพาะชำกล้าไม้ ตอนกิ่งพันธ์

    วันที่ 11 กันยายน 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. อบรมให้ความรู้ในการขยายพันธ์ไม้ด้วยวิธีต่างๆ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การเสียบยอด การทาบกิ่ง การแยกหน่อ การปักชำ การเพาะเนื้อเยื่อ

    2. สาธิตการขยายพันธ์ุไม้ด้วยวิธีต่างๆพร้อมการใช้อุปกรณ์ในการขยายพันธุ์ไม้

    3. ให้สมาชิดกลุ่มทดลองทำการขยายพันธุ์ไม้ด้วยวิธีการต่างๆ

    4. การสาธิตการผสมดินเพาะชำกล้าไม้ การผสมดินเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้

    5. สรุปการอบรมการเพาะเมล็ดและการขยายพันธุ์ไม้ด้วยวิธีต่างๆเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มซักถามข้อสงสัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สมาชิกกลุ่มมีความรู้ความเข้าในในเรื่องของการเพาะชำกล้าไม้ การตอนกิ่งพันธุ์ เพื่อที่จะสามารถนำมาปฏิบัตรสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน

    2. เกิดกลุ่มเพาะชำกล้าไม้ วางจำหน่ายในชุมชน

     

    30 30

    28. อบรมการจัดทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักไล่แมลง

    วันที่ 12 กันยายน 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมการจัดทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำสมุนไพรไล่แมลง 2 วัน อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ

    กิจกรรมวันที่ 12 กันยายน
    1. อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพประโยชน์และขั้นตอนการทำรวมถึงวัสดุต่างๆที่นำมาผสมเข้าด้วยกันประกอบด้วย มูลสัตว์ 1ส่วน เศษวัสดุ (ขี้เลื้อย แกลบ บไม้ ) 1 ส่วน รำ1 ส่วน น้ำ กากน้ำตาล หัวเชื้อจุรินทรี

    1. สาธิตการผสมปุ๋ยชีวภาพ จำนวน 1 กอง

    2. สรุปการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การนำไปใช้กับพืชต่างๆ เปิดให้สมาชิกซักถามข้อสงสัยในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

    วันที่ 13 กันยายน

    1. อบรมให้ความรู้การทำน้ำหมักชีวภาพและน้ำสมุนไพรไล่แมลงถึงขั้นตอนการทำและส่วนผสมของแต่ละอย่าง

    2. สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาและสาธิตการทำน้ำยาสมุนไพรไล่แมลง

    3. สรุปการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและเศษปลาและสรุปการทำน้ำยาสมุนไพรไล่แมลงและเปิดให้สมาชิกซักถามข้อสงสัยในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและยาสมุนไพรไ่ล่แมลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดกลุ่มน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชน

    2.ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกลุ่ม

     

    30 30

    29. วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปเป็นเอกสารจัดเวทีเสวนา คืนข้อมูลบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2

    วันที่ 28 กันยายน 2016 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิธีการ

    4.1.ประชุมให้ความรู้การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 100 ครัวเรือน โดยทีมคณะทำงานโครงการ ,เด็กและเยาวชนและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

    4.2.พัฒนาเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลครัวเรือน โดยคณะทำงานโครงการ,เด็กเยาวชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้คำแนะนำ

    4.3.ทดลองใช้เครื่องมือกับคณะกรรมการโครงการ

    4.4.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน

    4.5.วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปเป็นเอกสารจัดเวทีเสวนา คืนข้อมูลบัญชีครัวเรือนให้กับครัวเรือน จำนวน 2 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะ 5 เดือนแรก และ 5 เดือนหลัง เพื่อให้เห็นความแตกต่างของรายรับ รายจ่าย เพิ่มลดอย่างไร

    4.6 มอบเกียรติบัตรและรางวัลให้กับครัวเรือนต้นแบบ ที่มีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและมีความถูกต้อง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับครัวเรือนอื่นในชุมชนในวันสรุปปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รวบรวมข้อมูลด้าน รายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน และชุมชน นำไปสูการวิเคราะห์ จะนำสู่สรุปต่อไป

     

    100 100

    30. มอบเกียรติบัตรและรางวัลให้กับครัวเรือนต้นแบบ ที่มีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    วันที่ 30 กันยายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มอบเกียรติบัตรและรางวัลให้กับครัวเรือนต้นแบบ ที่มีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มอบมอบเกียรติบัตรและรางวัลให้กับครัวเรือนต้นแบบ ที่มีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง จำนวน 30 ครัวเรือน

     

    30 30

    31. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 3 ต.ค.2559 เวลา 09.00-18.00 น. เข้าร่วมกิจกรรมชมการแสดงโขน ของศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และร่วมกิจกรรมออกบู๊ท ขายสินค้า และ เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ และ นวัตกรรม จากชุมชนต่างๆ ที่ลานปัญญาสร้างสุข

    วันที่ 4 ต.ค.2559 เวลา 09.00-18.00 น ร่วมกิจกรรมออกบู๊ท ขายสินค้า และ เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ และ นวัตกรรม จากชุมชนต่างๆ ที่ลานปัญญาสร้างสุข และ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนหัวข้อ สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสารธารณะ ณ ห้องประชุม4

    วันที่ 5 ต.ค.2559 เวลา 09.00-12.00 น ร่วมกิจกรรมออกบู๊ท ขายสินค้า และ เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ และ นวัตกรรม จากชุมชนต่างๆ ที่ลานปัญญาสร้างสุข และเข้าร่วมรับฟังการสรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาพใต้ และเข้าร่วมพิธีปิดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความรู้ในการแลกเปลี่ยนกิจกรรมต่างๆ ระหว่างชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม เช่นในเรื่องของการออกแบบชุมชนในพื้นที่ของแต่ละชุมชนทีมีความแตกต่างกัน ในด้านต่าง ๆ เช่น พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม ทางด้านศาสนา และวัฒนธรรม แล้วสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับชุมชนของตัวเองได้ เพื่อให้เป็นชุมชนเข้มแข็งและน่าอยู่ ได้รับความรู้ทางด้านนวัตกรรม ของแต่ละชุมชน ซื่ง เกิดจากภูมิปัญญา จากการประดิษฐ์ของแต่ละพื้นที่ เช่น โมเดลการสร้างฝายน้ำมีชีวิต การออกแบบชุมชนให้เป็นพื้นที่อาหารของเครือข่ายอาหารของแต่ละพื้นที่ การเรียนรู้ทางด้านพลังงานเพื่อชีวิต 5 ฐานการเรียนรู้ และศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว เกิดมิตรภาพและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นจากเครือข่ายระหว่างชุมชม และเครือข่าย ที่เข้ามาร่วมกิจกรรม สามารถนำความรู้จากเครีือข่ายและชุมชนต้นแบบมาประยุกต์ในชุมชมของตัวเองได้

     

    3 3

    32. ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 6 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เตรียมเอกสารการเงิน การลงข้อมูลในเว็ปไซย์ การชำระภาษี เตรียมเอกสารต่างที่จะปิดสรุปโครงการเพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องจากพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความเข้าใจในเรื่องของการจัดเตรียมเอกสาร การลงข้อมูลในเว็ป การชำระภาษี และสามารถดำเนินการเตรียมเอกสารเพื่อทำรายงานปิดงวดได้อย่างถูกต้อง

     

    2 2

    33. ถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมโครงการตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา

    วันที่ 10 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปถอดบทเรียนเป็นเอกสารในประเด็นที่ดำเนินกิจกรรมโครงการดังต่อไปนี้

    กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกแกนนำที่มาจากกลุ่มต่างๆ ในชุมชน จำนวน 30 คน เพื่อจัดตั้งเป็นสภาแกนนำชุมชน
    ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธาน

    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจำนวน 3 คน

    ส.อบต. จำนวน 3 คน

    อสม. จำนวน 6 คน

    ประธานกลุ่มต่างๆ จำนวน8 คน

    ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน

    ตัวแทนชาวบ้าน จำนวน6 คน

    กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมชี้แจงโครงการในเวทีประชุมประจำเดือนของ เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้และเข้าใจความเป็นมาของโครงการ และประชาสัมพันธ์ รณรงค์การจัดพื้นที่ ในการดำเนินกิจกรรมเป็นเขตปลอดบุหรี่

    กิจกรรมที่ 3 ประชุมให้ความรู้ เรื่อง การจัดเก็บข้อมูลครัวเรือน พัฒนา เครื่องมือ เพื่อนำข้อมูลของครัวเรือนมาวิเคราะห์สรุปเป็นเอกสาร

    กิจกรรมที่ 4 การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน เพื่อวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

    กิจกรรมที่ 5 ปรับแนวคิดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    กิจกรรมที่ 6 สร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน 3 กลุ่ม

    กิจกรรมที่ 7 ถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมโครงการตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดชุดความรู้จากการถอดบทเรียน ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น

     

    200 205

    34. สังเคราะห์โครงการปิดงวดรายงาน ครั้งที่ 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่ สจรส และพี่เลี้ยงตรวจเอกสารการเงิน แนะนำการแก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง
    การจ่ายภาษีและลงข้อมูลในเว็ปไซย์ จัดทำรายงาน ง1 งวด 2 ส 3 และส 4

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางโครงการสามารถจัดส่งรายงานสรุปปิดงวดได้

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เกิดสภาแกนนำในการขับเคลื่อนงานชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีคณะกรรมการ 30 คน ที่มีความเข้มแข็ง เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการ ที่เป็นทางการและไม่ทางการ 2. มีการประชุมประจำเดือนๆละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง และบันทึกการประชุมทุกครั้ง โดยการประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน 3. แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80และสภาผู้นำต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ

    1.มีสภาแกนนำ 30 คนในการขับเคลื่อนงานชุมชน

    2.มีการประชุมสภาแกนนำจำนวน 10 ครั้ง

    3.ในการประชุมจะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 24 คน ในการประชุมในแต่ละครั้ง

    2 เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 60 คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำเกษตรตามหลักปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถปฎิบัติได้ 2. เกิดกลุ่มผลิตในชุมชนอย่างน้อย 3 กลุ่ม กลุ่มปลูกพืชผักสมุนไพร กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มเมล็ดพันธ์เพาะชำกล้าไม้ 3. กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 30 ครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น (ดูจากบัญชีครัวเรือน)
    1. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคบริเวณครัวเรือน

    2.เกิดกลุ่มปลูกพืชผักสมุนไพร 1 กลุ่ม ,กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ 1 กลุ่ม ,กลุ่มเมล็ดพันธ์เพาะชำกล้าไม้ 1 กลุ่ม

    3.ครัวเรือนตัวอย่าง30 ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ

    3 คนในชุมชนมีการจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 60 คน ในชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ในการจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 2. ร้อยละ 60 คน ในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ การจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน 3. เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 30 ครัวเรือน ในการทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    1.ร้อยละ 60 ของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในการจัดทำบัญชีครัวเรือน

    2.ร้อยละ 60 ของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน

    3.มีครัวเรือนต้นแบบ30ครัวเรือนในการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีฐานข้อมูลชุมชนที่มีรายละเอียดด้าน สถานการณ์ และทุนของชุมชน 2. มีกลุ่มเด็กเยาวชนและกลุ่มแกนนำที่มีทักษะในการเก็บข้อมูล

    1.มีรายงานฐานข้อมูลของชุมชนจำนวน 1 เล่ม

    2.มีกลุ่มเด็กและเยาวชนในการเก็บข้อมูล

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.เข้าร่วมประชุม ติดตามสนับสนุนจาก สจรส และพี่เลี้ยงทุกครั้ง

    2.มีป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ติดบริเวณพื้นที่ดำเนินกิจกรรม

    3.มีภาพถ่ายในการดำเนินกิจกรรมในทุกครั้ง

    4.ส่งรายงานประจำงวดตามเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เกิดสภาแกนนำในการขับเคลื่อนงานชุมชน (2) เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความมั่นคงยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3) คนในชุมชนมีการจัดทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชน (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น

    รหัสโครงการ 58-03886 รหัสสัญญา 58-00-2141 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    มีการสำรวจข้อมูลของชุมชนและการสำรวจรายรับรายจ่ายของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน

    ข้อมูลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข ภาพถ่ายกิจกรรม เอกสารรายงานการสำรวจข้อมูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    มีประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกในชุมชน ผ่านเวทีประชุมสภาผู้นำประจำเดือนทุกเดือน ทำให้เกิดกระบวนการคิดที่ผ่านผู้นำชุมชน

    -ทีมสภาผู้นำประชุมประจำเดือนของสภาหนองไม้แก่น -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    ส่งเสริมการรวมกลุ่มในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเวที สภาชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่ม ในการส่งเสริมอาชีพด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 กลุ่ม คือ

    กลุ่มเมล็ดพันธุ์เพาะชำกล้าไม้ จำนวน 30 คน

    กลุ่มปลูกพืชสมุนไพร จำนวน 30 คน

    กลุ่มปุ๋ยชีวภาพจำนวน 30 คน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองไม้แก่น

    พื้นที่ศูนย์เรียนรู้หมู่14 บ้านหนองไม้แก่น

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การปลูกผักปลอดสารพิษและการจัดสวนสมุนไพร ทำให้คนในชุมชนได้บริโภคอาหารและยาที่ปลอดภัย

    ข้อมูลในเว็บไซต์ คนใต้สร้างสุข ภาพถ่ายกิจกรรม แปลงผักลอดสารพิษและสวนสมุนไพร

    เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    การกำหนดให้พื้นที่จัดกิจกรรมเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ทำให้กลุ่มผู้สูบบุหรี่ลดการสูบบุหรี่ลงได้ในช่วงเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม และการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพทำให้กลุ่มผู้สูบบุหรี่ตระหนักถึงโทษของบุหรี่มากขึ้น

    ข้อมูลในเว็บไซต์ ภาพถ่ายกิจกรรม ป้ายเขตปลอดบุหรี่

    ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ให้คลอบคลุมเต็มพื้นที่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการปลูกพืชผักสมุนไพร ผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายในชุมชน

    ข้อมูลในเว็บไซต์ ภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    -มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน -มีการรวมกลุ่มกันเพื่อลดรายจ่ายเสริมรายได้ในครัวเรือน

    ข้อมูลในเว็บไซต์ ภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดกลุ่มเมล็ดพันธุ์เพาะชำกล้าไม้

    กลุ่มปลูกพืชสมุนไพร
    กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ

    กลุ่มปุ๋ยชีวภาพจำนวน

    ข้อมูลในเว็บไซต์ ภาพถ่ายกิจกรรม

    พัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกฎกติกาของสภาผู้นำชุมชน เผื่อใช้ในการบริหารจัดการชุมชนให้เป็นระเบียบ

    ข้อมูลในเว็บไซต์ ภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มต่างๆในชุมชน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เช่นกสน เกษตรอำเภอ มหาวิทยาลัยในชุมชน

    ข้อมูลในเว็บไซต์ ภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีสถาแกนนำของชุมชนขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

    ข้อมูลในเว็บไซต์ ภาพถ่ายกิจกรรม บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 58-03886

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ส.ต. สุจิน พุทธกุล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด