directions_run

ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ”

บ้านบาลาหมู่ที่ 5 ตำบลโละจูด อำเภอแว้งจังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นาย มะอะฮูมือรี ยูนุ๊

ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ที่อยู่ บ้านบาลาหมู่ที่ 5 ตำบลโละจูด อำเภอแว้งจังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 58-03989 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2177

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านบาลาหมู่ที่ 5 ตำบลโละจูด อำเภอแว้งจังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านบาลาหมู่ที่ 5 ตำบลโละจูด อำเภอแว้งจังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 58-03989 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 193,950.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 185 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อสร้างสภาผู็นำที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ?
  2. เพื่อให้ประชาชน เยาวชน มีความรู้ในการจัดการขยะ
  3. เพื่อพัฒนาให้เกิดความร่วมมือของชุมชนในการจัดการขยะ
  4. 1. เพื่อพัฒนาให้เกิดเครื่อข่ายจัดการขยะในชุมชน
  5. 2.เพื่อลดการสร้างขยะในชุมชน
  6. 3.เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บ การคัดแยกในชุมชน
  7. 4.เพื่อให้ชุมชนสามารถนำขยะมาสร้างมูลค่า
  8. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการปี 2558

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ฟังการบรรยายการบันทึกข้อมูล หลักฐานเอกาสรต่างๆ และรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทีม สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้การจัดทำโครงการชุมชนน่าอยู่ ทดลองการบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานเอกสารที่จำเป็นต่างๆ และรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน ได้ลงปฏิทินแผนการดำเนินงานในเวบไซต์ตนเสร็จ และได้วางแผนการทำโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ.

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ออกแบบ จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่จำนวน 2 แผ่นคือ 1.เขตปลอดบุหรี่ ขนาด 50 x 50cm 2. เขตปลอดบุหรี่ ขนาด 49 x 130 cm

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 แผ่นคือ 1.เขตปลอดบุหรี่ ขนาด 50 x 50cm 2. เขตปลอดบุหรี่ ขนาด 49 x 130 cmนำไปวางที่มัยิดราวฏอลตุลญัณนะห์ บ้านบาลา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไม่ให้สูบบุหรี่ในบริเวณศาสนสถาน

     

    2 2

    3. ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำและคณะทำงาน

    วันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 น. - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

      ได้บรรยายโครงการให้คณะทำงานรับทราบ พร้อมคัดเลือกสภาผู้นำ มีผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม สมาชิก อบต. ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มสตรีกลุ่มเยาวชน อสม.กลุ่มอาชีพต่างๆคณะกรรมการหมู่บ้านในชุมชนกลุ่มกองทุน จิตอาสาญาลันนันบารู มีจำนวน30 คน และร่วมคิดร่วมกำหนดบทบาท หน้าที่ของแต่ละงานตามความถนัดและกำหนดโซนรับผิดชอบ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายมะอะฮูมือรี ยูนุ๊  ประธานได้จัดตั้งประชุมสภาผู้นำและคณะทำงาน ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ รายละเอียดของโครงการและกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ พร้อมร่วมคิดร่วมกำหนดบทบาท หน้าที่ของแต่ละงานตามความถนัดและกำหนดโซนรับผิดชอบ ให้สภาผู้นำและคณะทำงานเข้าใจและรับทราบในทางเดียวกัน

     

    30 31

    4. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ

    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน ทั้ง 30 คน เข้าร่วมอบรม โดยมีนางจินตนา เลาะนะ เป็นวิทยากรในครั้งนี้ เนื่องจากท่านมีความรู้ในการพัฒนาบุคลากรและปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นระยะเวลานาน ในการจัดอบรมสภาผู้นำให้มีความรู้การขับเคลื่อนชุมชนด้วยสภาผู้นำการวางระบบการจัดการโดยสภาผู้นำ เช่น การประชุมวางแผนกำหนดปัญหา การถอดบทเรียน บนพื้นฐานของข้อมูล การบันทึกการประชุม ความรู้ของกิจกรรม การประเมินติดตามโครงการ เช่น การทำผังชุมชน (แผนที่เดินดิน) การจัดกระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน การทำข้อมูลประชาชน ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม ทำแผนชุมชนและการประเมินติดตามโครงการ วิธีการถอดบทเรียนแบบพูดคุยสนทนา การเล่าเรื่องและการถาม พร้อมการเขียนรายงานการประชุมและถอดบทเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำผ่านกระบวนการอบรมและพัฒนาศักยภาพตนเองและกลุ่ม และมีความเข้มแข็ง มีความรู้ มีศักยภาพในการวางแผนและการจัดการโดยชุมชน ใช้กระบวนการร่วมคิดร่วมทำในชุมชน
    ได้ผลผลิตดังนี้ 1.แผนที่เดินดิน 6 โซน 2.แผนที่เดินดินทั้งหมู่บ้าน 1 แผ่น

     

    31 31

    5. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่1

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม

    09.30 - 11.00 น. นางนิมลต์ หะยีนิมะ พี่เลี้ยงโครงการ มาชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คณะทำงาน

    11.00 - 12.00 น.จัดหาเด็กเข้ากลุ่มเยาวชนจูเนียร์ตาสับปะรดและหาผู้รับผิดชอบกิจกรรมการจัดเก็บขยะด้วยวิถีมุสลิมและสรุปถอดบทเรียนร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน ผลผลิตที่เกิดขึ้น
    1. วันนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
    2. ได้รายชื่อกลุ่มเยาวชนจูเนียร์ตาสับปะรด จำนวน 40 คน
    3. ได้รายชื่อคณะรับผิดชอบกิจกรรมการจัดเก็บขยะด้วยวิถีมุสลิม 2 คน
    4. แบ่งการดำเนินงานเป็นโซนเขตรับผิดชอบ 6 โซน
    5. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบเรื่องเวทีประชาคม ซึ่งจัดในวันที่ 7 ธันวาคม 2558

     

    30 30

    6. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
    09.30 - 10.00 น. การจัดเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
    10.30 - 11.00 นการหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่
    11.00 - 12.00 น. ซักถามแลกเปลี่ยน
    13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    16.00 - 16.30 น. สรุปถอดบทเรียนร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมโครงการจริง 2 คน
    2. ได้ความรู้เกี่ยวกับระบบการหักภาษีณที่จ่าย
    3. ผู้จัดทำโครงการมีความรู้ในการทำเอกสารการเงินและการหักภาษีได้อย่างถูกต้อง

     

    2 2

    7. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่1

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.00 -13.30น. ลงทะเบียน

    เวลา 13.30 - 14.00 น. ฟังหลักธรรมจากโต๊ะอิหม่าม เรื่องการรักษาความสะอาด ซึ่งความสะอาดนั้นแท้จริงเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ดังนั้นการจัดการขยะก็เป็นการดูแลรักษาความสะอาดตามหลักศรัทธา

    เวลา 14.00 - 16.00 น. ทำความสะอาดบริเวณ มัสยิด ตาดีกา บ้านตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีผู้เข้าร่วม 60 คน

    ผลลัพธ์

    1. ชาวบ้านร่วมกันทำความสะอาดมัสยิดและตาดีกา
    2. ได้ทำความสะอาดบริเวณบ้านตนเอง
    3. ได้ฟังหลักธรรม เรื่องทำความสะอาด ทำให้ประชาชนตระหนักเรื่องการทิ้งขยะในเขตมัสยิด ตาดีกา

     

    60 60

    8. ประชุมเวทีประชาคม เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมที่1ประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจ 1.1 ประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการให้ประชาชนรับทราบ ร่วมคิดร่วมวิพากษ์และกำหนดบทบาทหน้าทีสมาชิกทีมคณะทำงานโครงการ และประธานแกนนำร่วมกัน และออกแบบ กิจกรรมที่กำหนดให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม งบประมาณ จากแหล่ง สสส ค่าอาหารและอาหารว่าง 190 คน ซึ่งจากการขี้แจงโครงการผู้เข้าร่วมได้ซักถามเรื่องการทิ้งขยะการกำจัดขยะในหมู่บ้านว่าต้องทำอย่างไรต่อไป มีผู้เสนอให้ทำถุังขยะจากสัสถุในชุมชน เช่นเศษไม้ และมีผู้เสนอว่า ถ้าขยะขายได้ก็ดี ทุกคนจะได้ไม่ทิ้งขยะ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นประธานโครงการได้แจ้งว่า นั้นสิ่งที่ชุมชนต้อง และร่วมกันคิกต่อไปว่าจะทำอย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.ผู้เข้าร่วมประชุม 190 คน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์

    ผลลัพธ์

    1. ประธานโครงการชี้แจงงานดำเนินงานโครงการครั้งนี้ให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบ
    2. แนะนำสมาชิกสภาชุมชนให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบ
    3. ประชาชนมีความสนใจในเรื่องการดำเนินโครงการอย่างดี เห็นได้จากการซักถามเรื่องการทิ้งขยะ การกำจัดขยะในหมู่บ้านว่าต้องทำอย่างไรต่อไป

     

    185 190

    9. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่2

    วันที่ 11 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00-16.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.00 น.- 13.30 น. ลงทะเบียน

    เวลา 13.30 น.- 14.30 น. ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการสรุปผลการดำเนินงานครั้งที่แล้ว

    เวลา 14.30 น.- 16.00 น. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน

    ผลลัพธ์

    1. ประธานชี้แจงการดำเนินงานครั้งที่ผ่านมาเรื่องการจัดเก็บขยะด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่ 1 ว่า กิจกรรมที่ผานมามีผู้เข้าร่วม 60 คน ได้เข้าร่วมทำความสะอาดบริเวณมัสยิด ตาดีกา และบ้านของตนเอง ทั้งนี้จากการไปตรวจสอบผลพบว่ายังทำความสะอาดไม่ได้ค่อยเรียบร้อย ยังมีเศษขยะหลงเหลืออยู่บ้าง
    2. จากการทำเวทีประชาคม พบว่าประชาชนให้ความสนใจในเรื่องการดำเนินโครงการ และจะให้ความร่วมมือกับคณะทำงานโครงการ
    3. การดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลขยะโดยเยาวชนจูเนียร์ต้องเลื่อนเป็นเดือนมกราคมเนื่องจากภายในเดือนนี้คณะทำงานมีภารกิจในงานราชการอย่างอื่น

     

    30 30

    10. การจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชนครั้งที่ 1

    วันที่ 3 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

    เวลา 09.00 - 12.00 น. เด็กเก็บขยะถนน บ้าน และบริเวณบ้านโซนไอร์ยะกา ระยะทางประมาณ 500 เมตร

    เวลา 13.00 - 16.00 น. เด็กเก็บขยะถนน บ้าน และบริเวณบ้านโซนลูโบ๊ะแปะ ระยะทาง 1 กิโลเมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตที่เกิดขึ้น

    • เด็กเข้าร่วม 40 คน
    • เด็กเก็บขยะได้ 2 โซน คือ
    • เด็กแยกขยะได้ 4 ประเภท ดังนี้ โซนไอร์ยะกา
    1. เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 7 กิโลกรัม
    2. เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 5 กิโลกรัม
    3. เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 8.6 กิโลกรัม
    4. เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม
      โดยโซนโซนลูโบ๊ะแปะ

    5. เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 3 กิโลกรัม

    6. เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 2 กิโลกรัม
    7. เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 2.5 กิโลกรัม
    8. เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม
    • ทั้งนี้ประชาชนได้ให้การตอบรับอย่างดีตอนที่เด็กไปเก็บขยะตามบ้าน ถนน เพราะช่วยให้เด็กใช้เวลาว่างวันเสาร์ช่วยดูแลความสะอาดในหมู่บ้าน หลังจากเด็กเก็บจากที่ต่างๆแล้วจะมาชั่งน้ำหนักที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อแยกการกำจัดขยะตามประเภทขยะ

     

    40 40

    11. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่3

    วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 13.00น. -16.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.00 น.-13.30 น. ลงทะเบียน

    เวลา 13.30 น.-14.30 น. ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการสรุปผลการดำเนินงานครั้งที่แล้ว

    เวลา 14.30 น.-16.00 น. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน

    ผลลัพธ์

    2.ประธานชี้แจงการดำเนินงานครั้งที่ผ่านมาเรื่องการจัดเก็บขยะได้ 2 โซน โดยให้เยาวชนจูเนียร์เป็นผู้ดำเนินการทำสำเร็จแล้ว ทั้งนี้เหลืออีก 4 โซนให้ดำเนินการต่อไป 3.จากการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลขยะโดยเยาวชนจูเนียร์ ประชาชนในหมู่บ้านให้ความร่วมมืออย่างดี 4.เยาวชนจูเนียร์นำขยะที่ได้ไปเก็บที่ธนาคารขยะเพื่อรวบรวมนำมาประดิษฐ์เป็นผลิตพันธ์ต่อไป

     

    30 30

    12. การจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชนครั้งที่ 2

    วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

    เวลา 09.00 - 12.00 น. เด็กเก็บขยะตามถนน บ้าน และบริเวณบ้านโซนสะบือรัง ประมาณ 600 เมตร

    เวลา 13.00 - 16.00 น. เด็กเก็บขยะตามถนน บ้าน และบริเวณบ้านโซนบาลาบน ประมาณ 400 เมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตที่กิดขึ้น

    • เด็กเข้าร่วม 40 คน
    • เด็กเก็บขยะได้ 2 โซน
    • เด็กแยกขยะได้ 4 ประเภทโดยโซนบาลาบน

    1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 3 กิโลกรัม
    2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 6 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 4 กิโลกรัม
    4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

    โดยโซนโซนสะบือรัง

    1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 6 กิโลกรัม
    2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 7 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 3 กิโลกรัม
    4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

    • ทั้งนี้ประชาชนได้ให้การตอบรับอย่างดีตอนที่เด็กไปเก็บขยะตามบ้าน ถนน เพราะช่วยให้เด็กใช้เวลาว่างวันเสาร์ช่วยดูแลความสะอาดในหมู่บ้าน หลังจากเด็กเก็บจากที่ต่างๆแล้วจะมาชั่งน้ำหนักที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อแยกการกำจัดขยะตามประเภทขยะ

     

    40 40

    13. การจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชนครั้งที่ 3

    วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

    เวลา 09.00 - 12.00 น. เด็กเก็บขยะตามถนน บ้าน และบริเวณบ้านไอร์บือซี ประมาณ 800 เมตร

    เวลา 13.00 - 16.00 น. เด็กเก็บขยะตามถนน บ้าน และบริเวณบ้านปาลอฆือเตาะ ประมาณ 300 เมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • เด็กเข้าร่วม 40 คน
    • เด็กเก็บขยะได้ 2 โซน
    • เด็กแยกขยะได้ 4 ประเภท โดยโซนไอร์บือซี

    1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 7 กิโลกรัม
    2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 9 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 2 กิโลกรัม
    4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

    โดยโซนปาลอฆือเตาะ

    1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 2 กิโลกรัม
    2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 7 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 3 กิโลกรัม
    4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

    • ทั้งนี้ประชาชนได้ให้การตอบรับอย่างดีตอนที่เด็กไปเก็บขยะตามบ้าน ถนน เพราะช่วยให้เด็กใช้เวลาว่างวันเสาร์ช่วยดูแลความสะอาดในหมู่บ้าน หลังจากเด็กเก็บจากที่ต่างๆแล้วจะมาชั่งน้ำหนักที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อแยกการกำจัดขยะตามประเภทขยะ

     

    40 40

    14. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่2

    วันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 13.00น. - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดกิจกรรมในวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันที่คนในชุมชนมาละมาดรวมกันที่มัสยิด หลังจากละมาดวันศุกณ์เสร็จ โต๊ะอีม่ามได้กล่าวคุตเบาะฮ์ (เทศนา)ให้ผู้มาละมาดฟังในเรื่อง เรื่องหลักการอิสลามกับการรักษาความสะอาด หลังจากเสร็จก็ทานอาหารว่างร่วมกัน และร่วมกันทำความสะอาดบริเวณมัสยิด ตาดีกา บ้านตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วม 60 คน

    ผลลัพธ์
    2.ชาวบ้านได้ร่วมกันทำความสะอาดบริเวณมัสยิด และโรงเรียนตาดีกา (โรงเรียนสอนอิสลามศึกษาเบื้องต้น ทำการเรียนในวันเสาร์อาทิตย์) และยังทำความสะอาดบิเวณบ้านตนเอง ทำให้บริเวณมัสยิดและบ้านเรือนเกิดความสะอาด ผู้คนในชุมชนได้เข้ามาช่วยเหลือกัน ได้พูดคุยกันและมีความสุขที่ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วยังได้ผลบุญด้วย เนื่องจากเป็นทำตามหลักการศาสนาอิสลาม ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนรักษาความสะอาด ซึ่งความสะอาดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ผู้ที่รักษาความสะอาดเป็นผู้ที่มีศรัทธาต่อพระเจ้าด้วยเช่นกัน

     

    60 60

    15. วิเคราะห์ข้อมูลขยะ

    วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 10.00น.-14.30น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    10.00 น.-10.30 น. ลงทะเบียน

    10.30 น.-12.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานเก็บขยะในพื้นที่ โดยเยาวชนจูเนีย ได้นำขยะมาแสดงให้ดูแต่ละประเภท และนำเสนอในเวทีให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ประเภทของขยะในชุมชนจากข้อมูลที่เก็บมาได้

    12.00 น.-13.30 น. พักรัปประทานอาหารพร้อมละหมาด

    13.30 น.-14.30 น. สรุปสถานการณ์ขยะในพื้นที่หมู่ 5 บ้านบาลา

    14.30 น. ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. ผู้เข้าร่วมประชุม 50 คน
    2. ตัวแทนประชาชนใน ม.5 บ้านบาลารับรู้ถึงสถานการณ์ขยะในพื้นที่ สามารถสรุป 3 วันที่เยาวชนจูเนียร์เก็บขยะได้ดังนี้
    • เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 28 กิโลกรัม
    • เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 36 กิโลกรัม
    • เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 23.1 กิโลกรัม
    • เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

    ผลลัพธ์

    1. ประชาชนยังทิ้งขยะไม่ถูกวิธี
    2. ประชาชนส่วนใหญ่ยังจำแนกวิธีการทิ้งขยะไม่ถูกตามประเภทของขยะ
    3. ประชาชนส่วนใหญ่ใช้พลาสติกในการดำเนินชีวิตประจำวัน
    4. มีแกนนำเยาวชนจูเนียร์คอยแนะนำการทิ้งขยะในหมู่บ้าน เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักเรื่องการใช้ ทิ้ง ทำลายขยะ
    5. การดำเนินงานเก็บขยะในแต่ละโซนหมู่บ้านทำให้เป็นการดูแลสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านอย่างทั่วถึง

     

    50 50

    16. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่4

    วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 15.30 -16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.00 - 13.15 น. ลงทะเบียน

    เวลา 13.15 - 15.30 น. ประธานได้จัดประชุมสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นกับคณะทำงาน และวางแผนการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดเก็บขยะ ที่จะจัดในครั้งต่อไป

    เวลา 15.30 - 16.00 น. ประธานได้ปิดการประชุมพร้อมรับประทานอาหารว่างร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้วางแผนการประชาสัมพันธ์การทำกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบ โดยมอบหมายให้ทีมสภาผู้นำทำหน้าที่ประสานผู้เข้าร่วม และกำหนดจัดในวันที่ 28-29 มกราคม 59 เนื่องจากทีมวิทยากรมีความพร้อมและสะดวกในการมาร่วมทำกิจกรรม

     

    30 30

    17. อบรมให้ความรู้การจัดเก็บขยะอย่างครบวงจร วันที่ 1

    วันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 09.00น. -16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน

    เวลา 09.30-10.30 น. บรรยายเรื่องประเภทขยะ และการนำขยะไปดัดแปลงรีไซเคิล เพื่อเพิ่มมูลค่าและนำไปใช้ต่อได้ โดยคุณสุธีมนต์ สกุลวิศัลย์ ครูโรงเรียนเทพประสานบ้านเจ๊ะเต็ง
    เวลา 10.30-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

    เวลา 11.00-12.00 น. บรรยายเรื่องประเภทของขยะ(ต่อ)

    เวลา 12.00-13.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวันพร้อมละหมาดซุฮรี

    เวลา 13.30 - 15.30 น. บรรยายเรื่องการเก็บขยะและทำลายขยะ

    เวลา 15.30 - 15.50 น. พักรับประทานอาหารว่าง

    เวลา 15.50 -16.30 น.บรรยายเรื่องการลดการใช้ขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ผู้เข้าร่วม 140 คน

    ผลลัพธ์

    • ประชาชนมีความรู้เรื่องประเภทของขยะ สามารถคัดแยกขยะได้เองที่บ้าน ก่อนนำไปทิ้ง
    • ประชาชนสามารถทำลายขยะได้ถูกวิธี
    • มีการรวมตัวของประชาชนในหมู่บ้านสามารถแลกเปลี่ยนเรื่องเอกสารต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน มาเล่าสู่กันฟัง
    • ประชาชนมีโรงเรียนเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการนำขยะให้เป็นประโยชน์

     

    140 151

    18. อบรมให้ความรู้การจัดเก็บขยะอย่างครบวงจร วันที่ 2

    วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 09.00 -16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน

    เวลา 09.30 - 10.30 น. บรรยายเรื่องการคัดแยกขยะ โดยคุณอัครเดช วัฒนเสรีกุล ครูโรงเรียนเทพประทานบ้านเจ๊ะเด็ง

    เวลา 10.30 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

    เวลา 11.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่องการคัดแยกขยะ (ต่อ)

    เวลา 12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันพร้อมละหมาด

    เวลา 13.30 - 15.00 น. บรรยายเรื่อง การนำขยะมาใช้ประโยชน์

    เวลา 15.00 - 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง

    เวลา 15.30 - 16.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนกับวิทยากรเรื่องขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - ผู้เข้าร่วม จำนวน 152 คน

    ผลลัพธ์

    • ประชาชนสามารถแยกขยะได้ถูกวิธี
    • ประชาชนสามารถนำขยะมารีไซเคิลโดยได้รับคำปรึกษาจากวิทยากรโรงเรียนเทพประทาน(บ้านเจ๊ะเด็ง)
    • ประชาชนเริ่มตระหนักเรื่องการใช้พลาสติกมากขึ้น เนื่องจากถุงพลาสติกไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

     

    140 152

    19. การถ่ายทอดและการสื่อสารข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน
    เวลา 09.30-10.30 น. ประธานโครงการเสนอข้อมูลขยะในหมู่บ้าน

    เวลา 10.30-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

    เวลา 11.00-12.00 น. ร่วมทำแผนการจัดการขยะ

    เวลา 12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา 13.30-16.30 น. ร่วมทำแผนการจัดการขยะ(ต่อ)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • ผู้เข้าร่วม 165 คน
    • แจ้งสถานการณ์ขยะจาก 3 วันที่เยาวชนจูเนียร์เก็บขยะได้ดังนี้

    1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 28 กิโลกรัม
    2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 36 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 23.1 กิโลกรัม
    4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

    ผลลัพธ์

    • มีแผนการจัดการขยะ 1 แผน
    • ประชาชนและคณะทำงานมีความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาขยะในหมู่บ้านตนเอง
    • ประชาชนสามารถนำขยะที่คัดแยกแล้วไปขายให้ธนาคารขยะ
    • คณะทำงานร่วมกับประชาชนจัดตั้งธนาคารขยะ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
    • หาคณะทำงานธนาคารขยะในการประชุมสภาชุมชนครั้งต่อไป

     

    165 165

    20. จ่ายภาษีเดือนกุมภาพันธ์ 2559

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00น.-16.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำใบหักภาษีเดือนมกราคม 2559 ในโครงการชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายที่สรรพกรอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เข้าใจเรื่องการจ่ายภาษีโครงการในแต่ละครั้งที่ทำโครงการ ต้องจ่ายเดือนต่อเดือน ไม่เกินภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

     

    1 1

    21. จัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00น.-16.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงพื้นที่ตรวจสอบและแนะนำเพิ่มเติมการเขียนรายงานการเขียนโครงการในเวบไซต์ และให้พี่เลี้ยง สจรส. ตรวจสอบข้อมูลการทำโครงการ การเงิน และรายละเอียดการเขียนโครงการในเวปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับคำแนะนำการการเขียนรายงานการเงินและรายละเอียดการเขียนโครงการในเวปไซต์ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ถูกต้อง ตรวจสอบได้

     

    2 4

    22. การจัดตั้งธนาคารขยะของชุมชนบ้านบาลา

    วันที่ 4 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน เวลา 09.30 - 11.00น. นายมะอะฮูมือรี ยูนุ๊ ประธานโครงการได้เปิดพิธีการประชุม ได้ชี้แจงโครงการเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ผู้เข้าร่วมรับรู้ และประกาศเปิดพิธีธนาคารขยะในหมู่บ้าน ถ้าหารท่านใดมีขยะสามารถมาแลกกับไข่ที่ธนาคารขยะได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ชาวบ้านทุกท่านจงรักษาความสะอาดบริเวณรอบบ้านและทางถนนด้วย ในหมู่บ้านเรามีการประกวดบ้านสะอาดได้สามอันดับ ( 1) อันดับ 1 ได้เงินจำนวน 1,000 บาท(2) อันดับ 2 ได้เงินจำนวน 500 บาท(3) อันดับ 3 ได้เงินจำนวน 300 บาทจะมีกรรมการไปตรวจความสะอาดและมาดัดแปลงขยะรีไซเคิลเดือนละครั้ง และในวันนี้ ได้มีผู้รับรางวัล 3 คน ด้วยกัน เวลา 11.00 - 12.00 น. นายวิษณุ ทองมั่นคง ปลัดอำเภอประจำตำบลโละจูด เป็นที่ปรึกษา ได้อธิบายวิธีคัดแยกขยะในครัวเรือน และวิธีดัดแปลงขยะรีไซเคิลมาใหม่ เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันพร้อมละหมาด เวลา 13.00 -14.00 น. ทหารพรานได้อธิบายวิธีรักษาความสะอาดที่ถูกวิธีในบริเวณบ้าน เวลา 14.00- 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
    เวลา 14.30 -15.30 น. นายมะอะฮูมือรี ยูนุ๊ ได้เป็นวิทยากรในการมอบรางวัลให้แก่บ้านสะอาดจำนวน 3 ครัวเรือน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ อันดับ 1 คือ นายซานูซีมะลาเย็งปลัดอำเภอเป็นผู้มอบ อันดับ 2.นายสุรินทร์วิวัฒนาชัย ทหารพรานเป็นผู้มอบ อันดับ 3 นางสาวมัสอีลานิ่งอับดุลรอแมตำรวจเป็นผู้มอบ เวลา 15.30 น. ประธานได้ปิดพิธีการอบรมครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สมาชิกธนาคารขยะอย่างน้อย 50 ครัวเรือน / กลุ่มธนาคารขยะร่วมกันขับเคลื่อนและขยายเครือข่ายต่อไป เกิดธนาคารขยะ 1แห่ง เกิดรายได้จากการขายขยะในธนาคาร และสามารถชี้แจงโครงการเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ผู้เข้าร่วมรับรู้ และประกาศเปิดพิธีธนาคารขยะในหมู่บ้าน ถ้าหากท่านใดมีขยะสามารถมาแลกกับไข่ที่ธนาคารขยะได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป มีการรับซื้อขยะพวกเหล็ก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก โดยอัตราการแลกอยู่ที่ขยะ 1 กิโลกรัมต่อไข่เป็ด 2 ฟอง หรือ ขยะ 1 กิโลกรัมต่อไข่ไก่ 3 ฟอง
    2. ให้ชาวบ้านทุกท่านจงรักษาความสะอาดบริเวณรอบบ้านและทางถนนด้วย ในหมู่บ้านเรามีการประกวดบ้านสะอาดได้สามอันดับ ( 1) อันดับ 1 ได้เงินจำนวน 1,000 บาท(2) อันดับ 2 ได้เงินจำนวน 500 บาท(3) อันดับ 3 ได้เงินจำนวน 300 บาทจะมีกรรมการไปตรวจความสะอาดและมาดัดแปลงขยะรีไซเคิลเดือนละครั้ง และในวันนี้ ได้มีผู้รับรางวัล 3 คน ด้วยกัน
    3. ผลิตไก่และนกเงือกจากขวดพลาสติกโดยอาจารย์อิสมาแอ รอแม แต่ยังไม่จำหน่าย
    4. ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านให้ความร่วมมือโดยนำขยะมาแลกตลอด ถึงจะไม่มีไข่ให้

     

    165 165

    23. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่5

    วันที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 20 .00 น. ลงทะเบียน

    เวลา 20.15น. นายมะอะฮูมอรียูนุ๊ ประธานได้เปิดการประชุม พร้อมปรึกษาหารือกันเรื่องจะประกวดบ้านสะอาดภายในหมู่บ้าน
    ได้ตั้งหลักเกณฑ์ดังนี้ 1) บ้านสะอาด 2) จะต้องแยกขยะ 3) จะต้องมีนวัตกรรม รีไซเคิลขยะ 4) จะต้องมีเศรษฐกิจพอเพียง สวนครัวหน้าบ้าน

    รางวัลที่จะมอบให้ ลำดับที่ 1 บ้านสะอาดครบตามเกณฑ์ จะได้เงิน 1,000 บาท ลำดับที่ 2 จะได้เงิน 500 บาท ลำดับที่ 3 จะได้เงิน 300 บาท

    คณะสภาผู้นำทุกคนรับทราบพร้อมลงมติที่ประชุม

    เวลา 22.30 น.ได้ปิดการประชุมพร้อมร่วมรับประทานอาหารว่างและเครื่องดืม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการแบ่งคณะทำงานตรวจบ้านเป็นโซน ทั้งหมดเป็น 6 โซน
    2. ได้เกณฑ์การประกวดบ้าน 1 ฉบับ
    3. ได้ตัดสินใจผู้มอบรางวัลการประกวด โดยจะเชิญหัวหน้าส่วนราชการ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโละจูดเป็นผู้มอบ
    4. เป็นเวทีที่คณะสภาผู้นำได้พบปะพูดคุยกันภายในเดือนนี้

     

    30 30

    24. ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชนร่วมกันทำฮูกมปากัตครั้งที่ 1

    วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายมะอะฮูมือรี ยุนุ๊ ประธาน ได้ประชุมเรื่องประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชน รวมกัน 100 คน โดยให้ประชาชนเสนอแนวทางการจัดการขยะในจัดการครัวเรือน โรงเรียน ตาดีกาและมัสยิด ร้านค้า ร่วมกันทำฮูกมปากัตหรือมาตรการข้อตกลง เรื่องขยะของชุมชน กำหนดเกณฑ์โรงเรียนแบบอย่างด้านการจัดการขยะ การลดการสร้างขยะ เพื่อเกิดการสร้างเครือข่ายคณะทำงานจัดการขยะของมัสยิด ตาดีกาและร้านค้าชุมชนโรงเรียน กลุ่มครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมใข้ถุงผ้าในการจับจ่ายสินค้า และสร้างเครือข่ายร้านค้าในชุมชน 4ร้าน และโรงเรียน มัสยิดเข้าร่วมเป็นเครือข่าย ลดการใช้พลาสติกและประชุมร่วมวิเคราะห์ปัญหาและบทเรียน การใช้ข้อตกลง พร้อมนายวิษณุทองมั่นคง ปลัดอำเภอประจำตำบลโละจูด ได้บรรยายเรื่องโทษภัยของขยะ มีการเสนอหัวข้อมติการว่า ห้ามทิ้งขยะในสาธารณะ กรณีพบการทิ้งขยะ ให้บุคคลดังกล่าวไปบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะ ร่วมกันสอดส่องดูแลการทิ้งขยะในบริเวณหมู่บ้าน การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนเสนอให้มีฮูกมปากัตใช้เพื่อตระหนักการจัดการขยะในหมู่บ้าน
    2. มีปรึกษาหาเรื่องห้ามถิ้งขยะตามที่สาธารณะในหมู่บ้าน เช่น ตามไหล่ทาง กูโบร์ มัสยิด ศาลาเอนกประสงค์ สุเหร่า โดยส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วย
    3. มีการเสนอห้ามไปปิ้งย่างบริเวณ น้ำตก
    4. มีการเสนอห้ามทิ้งขยะในแม่น้ำลำคลอง ซิ่งทุกคนเห็นด้วยอย่างยิ่ง
    5. ประชาชนจะเริ่มใช้ถุงผ้าในการซื้อของ

     

    100 100

    25. ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชนร่วมกันทำฮูกมปากัตครั้งที่2

    วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชน ครัวเรือน โรงเรียน ตาดีกาและมัสยิด ร้านค้า เข้าร่วมประชุมต่อจากครั้งที่ 1 เพื่อหาแนวทางจัดทำฮูกมปากัต 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. หาข้อสรุปประชามติในชุมชนในแต่ละข้อโดยการยกมือ
    2. โดยสรุปมีมาตรการฮูกมปากัต 5 ข้อ
    • ห้ามทิ้งขยะในพื้นสาธารณะของหมู่บ้าน หากพบผู้ฝ่าฝืนต้องลงโทษโดยการทำคุณประโยชน์ให้กับสาธารณที่สาธารณะ
    • การจับกิจกรรมเยาวชนภาคกลางคืน ให้เยาวชนสำรวจขยะที่บ้าน และนำขยะไปคัดแยกเพื่อส่งธนาคารขยะ
    • ต้องร่วมกันสอดส่องดูแลขยะในบริเวณพื้นที่สาธารณะ
    • ต้องทำความสะอาดกูโบร์ ฝายน้ำล้นทุกๆ 3 เดือน
    • ให้มีการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ถ้าพบผู้ฝ่าฝืนต้องลงโทษโดยการทำคุณประโยชน์ให้กับสาธารณที่สาธารณะ

    3.มติในที่ประชุมเห็นด้วย

    4.เกิดมติจากชุมชนเพื่อชุมชน

     

    100 100

    26. ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชนร่วมกันทำฮูกมปากัตครั้งที่3

    วันที่ 16 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชน ครัวเรือน โรงเรียน ตาดีกาและมัสยิด ร้านค้า ร่วมกันทำฮูกมปากัตหรือมาตรการข้อตกลง เรื่องขยะของชุมชน กำหนดเกณฑ์แบบอย่างด้านการจัดการขยะ การลดการสร้างขยะเช่น นายอับดุลอาซิ หะยีมะ เสนอห้ามทิ้งขยะบริเวณคลอง ฝายเก็บน้ำ และเสนอให้มีมาตราการลงโทษ เพราะนายอับดุลอาซิ หะยีมะ ดูแลการเก็บกวาดขยะในหมู่บ้านคนเดียว มีการน้อยใจ เหมือนมีคนทิ้งมากกว่าเก็บขยะ ดังนั้นจึงเสนอมาในที่ประชุม ประธานโครงการ นายมะอะฮูมือรี ยูนุ๊ สอบถามในที่ประชุมพบว่าทุกคนต่างเห็นชอบ ดังนั้นจึงเป็นมติฮูกมปากัต 1 ข้อ และมีคนเสนอให้จัดทำป้ายไวนิลห้ามทิ้งขยะในบริเวณหมู่บ้าน เพื่อสร้างจิตสำนึกคนในหมู่ให้ดูแลเรื่องขยะ เมื่อมองเห็นป้ายไวนิล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้กฏเกณฑ์ฮูกมปากัต 1 ฉบับ 5 หัวข้อเป็นของชุมชนโดยชุมชน 2.ได้รับความคิดเห็นจาก ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชน ครัวเรือน โรงเรียน ตาดีกาและมัสยิด ร้านค้า เป็นที่ยอมรับจากทุกคน 3.มีการเริ่มใช้ฮูกมปากัตในชุมชนตั้งแต่วันที่ 01 เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป 4.หาผู้ดูแลโดยสรุปให้เยาวชนจิตอาสาตาสับปะรดและสภาผู้นำช่วยกันสอดส่องดูแลตามกฎฮูกมปากัต 5.มีความรักสามัคคีในการจัดการขยะ 6.ประชาชนมีส่วนร่วม และร่วมกันเสนอในการจัดการขยะในชุมชนเอง

     

    100 100

    27. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่3

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 13.00 -13.30 น.ได้ลงทะเบียน
    เวลา 13.30 -14.30. น. นายเอิบบือราเฮงลาเตะ อิหม่าม ได้อธิบายทำความสะอาดในทางศาสนาอิสลามให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจ เช่นเรื่องความสะอาดรอบบริเวณมัสยิด ห้ามสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นมักโระต่อตนเอง ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการชำระล้างก่อนละหมาด ซึ่งก่อนการละหมาดต้องทำการชำระล้างร่างกายให้พร้อมต่อการทำสาศนกิจที่ดี มีคนสอบถามเรื่องโตะสีเยาะ(คนทำความสะอาดประจำมัสยิด) 1 คนถือว่าเป็นการทำความสะอาดแล้วหรือไม่ อิหม่านตอบคำถามว่า การทำความสะอาดคือการช่วยกันของทุกคนในหมู่บ้าน หาไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นขอให้ทุกคนช่วยกันทำความสะอาดหลังละหมาดทุกครั้ง เวลา 14.00 - 16.00 น. อิหม่านตัวแทนครอบครัว สมาชิกสภาผู้นำ 60 คนได้ทำความสะอาดในคลองประปาของหมู่บ้าน ที่ฝายลูโบะแปะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกลุ่มจัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิม ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลองในหมู่บ้านโดยการขุดลอกคูคลองระบายน้ำ และเก็บขยะโดยประชาชน ทุกวันศุกร์ โดยคณะกรรมการมัสยิดกับครัวเรือน และกลุ่มเยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสัปปะรด ร่วมกันทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง ลำคลองระบสยน้ำสะอาดขึ้น ไม่มีเศษขยะปน เกิดความสามัคคีและมีส่นร่วมในการทำงาน

     

    60 60

    28. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่4

    วันที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อิหม่ามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสะอาดตามหลักศาสนาที่มัสยิด เรื่องการทำความสะอาดในบริเวณโรงเรียนตาดีกา เนื่องจากที่ผ่านมาเด็กนักเรียนที่เรียนอยู่มีการทิ้งขยะไม่เป็นที่ อิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดต้องไปช่วยกันทำความสะอาดตลอด และมีการทิ้งขยะในคลองได้ มีการพูดเรื่องน้ำเสียถือว่าเป็นน้ำที่ไม่สามารถใช้ทำสาศนกิจในอิสลาม ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนดูแลเรื่องการทิ้งขยะในลำคลอง มีการจัดการทำความสะอาดคลองด้วย ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลองในหมู่บ้านโดยการขุดลอกคูคลองระบายน้ำ และเก็บขยะโดยประชาชน ทุกวันศุกร์ โดยคณะกรรมการมัสยิดกับครัวเรือน และกลุ่มเยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสัปปะรด ร่วมกันทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง และ ประกวดบ้านน่าอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.กลุ่มคนในหมู่บ้านออกมาช่วยกันทำความสะอาดโดยเอาเศษไม้ ใบไม้ที่ติดอยู่ออกจากคู คลอง ทำให้ไม่มีสิ่งกีดกั้นทางน้ำ
    2.อิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดประชาสัมพันธ์เรื่องการทำความสะอาดบริเวณมัสยิด โรงเรียนตาดีกา ทำให้บิรเวณนั้นสะอาดขึ้น

     

    60 60

    29. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 6

    วันที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 13.00 น. ลงทะเบียน
    2. เวลา 13.30 น. นายมะอะฮูมือรียูนุ๊ประธาน ได้กล่าวเปิดการประชุม ได้ชี้แจงเรื่องขยะรีไซเคิลให้สมาชิกสภารับฟัง จะมีการดัดแปลกขวดพลาสติก เศษผ้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชน ซึ่งทั้งนี้ต้องหาวิทยากรที่จะช่วยสอนกลุ่มเยาวชน ซึ่งในที่ประชุมเสนอ นายอิสมาแอ ลอแม และนางซง วาหะ พร้อมด้วยนางสาวฐิติมา มะดาโอะ และสอบถามการดำเนินงานการคัดแยกขยะในแต่ละโซนที่รับผิดชอบเป็นอย่างไรกันบ้าง ซึ่งผู้รับผิดชอบได้ให้คำตอบว่า มีการคัดแยกขยะในแต่ละบ้านเรือน มีการทิ้งขยะน้อยลง มีการกำจัดขยะโดยการฝัง กลบ แทนการเผา แต่บ้านไหนที่มีผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะยังกำจัดขยะโดยการเผา ซึ่งสมาชิกสภาผู้นำต้องร่วมกันเข้าไปแนะนำการกำจัดขยะเป็นระยะๆ และเน้นเรื่องความสะอาดในหมู่บ้าน จะประกวดบ้านสะอาด เดือนละครั้ง โดยกลุ่มเป้าหมาย เดือนละ 3 ครัวเรือน คัดเลือกบ้านที่สะอาดที่สุด จะให้รางวัลเป็นขวัญกำลังใจแก่บ้านสะอาดและร่วมเสนอปัญหาในหมู่บ้านและปรึกษาหารือกัน
    3. เวลา 15.00 น ประธานได้กล่าวปืดการประชุม
    4. เวลา15.15 น. ได้ร่วมรับประธานอาหารว่างด้วยกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน
    2. เริ่มดำเนินการดูแลตามฮูกมปากัต
    3. กำหนดวันประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 และติดตามการใช้ฮูกมปากัต

     

    30 30

    30. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 7

    วันที่ 7 เมษายน 2559 เวลา 13.:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 13. 00 น. ลงทะเบียน
    2. เวลา 13.30 น. นายมะอะฮูมือรียูนุ๊ ประธานได้กล่าวเปิดการประชุม ตอนนี้ขยะรีไซเคิล ขยะที่ได้รับการแยกแล้วของพวกเรามีจำนวนมาก เช่น เศษเหล็ก ขวดน้ำต่างๆที่นำมาแลกมีมากจนล้นธนาคาร ต้องระบายออกจึงของให้สมาชิกสภาผู้นำเสนอแนวทางการจัดการ ซึ่งได้รับการเสนอว่า ให้ขายรถขยะที่เข้ามาในชุมชน และให้ประธานโครงการไปขายที่ร้านรับซื้อขยะอำเภอสุไหง-โกลก และนำเงินที่ได้เข้าธนาคารขยะ และประธานโครงการได้ให้สมาชิกสภาผู้นำช่วยกันหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้า สามารถเพิ่มรายได้ให้กับธนาคารขยะของเรา เพื่อผลิตสินค้าตัวใหม่ สภาผู้นำช่วยกันปรึกษาหารือกัน ประธานโครงการได้สอบถามเรื่องการดำเนินเรื่องฮูกมปากัตได้ดำเนินการถึงไหนแล้ว ให้ผู้รับผิดชอบแต่ละโซนบอกเล่าสถานการณ์ ซึ่งแต่ละโซนได้เล่าเหตุการณ์ว่า ไม่มีผู้ใดทำผิดอีก เนื่องจากแต่ละบ้านมีการแยกขยะใส่ถุงกระสอบแยกเป็นประเภทขยะอย่างชัดเจน โดยที่สามารถรีไซเคลิได้แยกเก็บไว้เพื่อรอไปแลกที่ธนาคารขยะ และหากเป็นเศษอาหารจะทำการฝังกลบหลังบ้าน และให้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงภายในวันต่อวัน หากเป็นขยะที่ไม่สามารถกำจัดได้จะไปทิ้งที่ ม.4 บ้านเจ๊ะเด็งบริเวณที่มีรถเก็บขยะของเทศบาลมารับ
    3. เวลา 15.00นายมะอะฮูมือรียูนุ๊ ประธูาน ได้กล่าวปิดการประชุม
    4. เวลา 15.15ได้ร่วมรับประทานอาหารว่างด้วยกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน
    2. จากการติดตามตามมาตรการฮูกมปากัต พบว่ายังไม่พบผู้กระทำผิดกฏ
    3. ที่ประชุมขอเลื่อนกิจกรรมอบรมสร้างนวัตกรรมเป็นไม่มีกำหนด เนื่องจากคณะกรรมการหลายท่านติดประชุมและติดประเมินหมู่บ้าน

     

    30 30

    31. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่5

    วันที่ 16 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อิหม่ามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสะอาดตามหลักศาสนาที่มัสยิด เรื่องการทำความสะอาดมูลสัตว์ บริเวณหมู่บ้าน ซึ่งมูลสัตว์ คือนายิสใหญ่ที่ทำให้การทำละหมาดไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงให้มะมูมทุกคนต้องชำระร่างกายให้สะอาด พร้อมทำการละหมาด ทั้งนี้มูลจะมีให้เห็นมากตามถนนในหมู่บ้าน ดังนั้นผู้ใดที่เลี้ยงสัตว์ให้เลี้ยงในคอกสัตว์เป็นสัดส่วน เพื่อไม่ให้สัตว์ถ่ายมูลบริเวณถนน และควรมีการจัดเก็บเพื่อทำปุ๋ย ก๊าซชีวภาพในหมู่บ้าน
    อิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดประชาสัมพันธ์เรื่องการทำความสะอาดบริเวณมัสยิด โรงเรียนตาดีกาในมัสยิด กลุ่มประชาชนร่วมกันทำความสะอาดในพื้นที่สาธารณะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. อิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดประชาสัมพันธ์เรื่องการทำความสะอาดบริเวณมัสยิด โรงเรียนตาดีกา
    2. กลุ่มประชาชนร่วมกันทำความสะอาดในพื้นที่สาธารณะ บริเวณศาลาอเนกประสงค์ คลอง
    3. มีการร่วมมือกันของคนในชุมชน

     

    60 60

    32. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 8

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 13.00 น. ลงทะเบียน
    2. เวลา 13.30น. นายมะอะฮูมือรียูนุ๊ประธาน กล่าวเปิดการประชุม ได้ร่วมเสนอปัญหา ปรึกษาหารือกันเรื่องขยะรีไซเคิลในหมู่บ้านและความสะอาดในหมู่บ้าน ให้ช่วยกันรักษาความสะอาดบริเวณรอบบ้าน สถานที่สาธารณะต่างๆและรวมสองข้างทางในหมู่บ้านเพื่อเพิ่มรายได้จากขยะ จากการทำกิจกรรมจัดเก็บขยะด้วยวิถีมุสลิม พบว่า สภาพแวดล้อมภาพในหมู่บ้านดีขึ้น ไม่ค่อยเห็นขยะตามท้องถนน และสอบถามเรื่องการใช้น้ำปะปาหมู่บ้าน ซึ่งพบว่านายสะอูดี เจ๊ะมามะ เสนอว่าน้ำประปามีการไหลตลอดถึงแม้จะมีฝน แต่ไม่มีเศษใบไม้กิ่งไม้ติดมาพร้อมน้ำ ไม่พบการร้องเรียนเรื่องทรายลมทับ หรือมาพร้อมน้ำ ไม่พบสิ่งกีดขว้างทางน้ำทำให้บ้านเรือนละแวกฝายท่วม และสอบถามการดำเนินการเรื่องฮูกมปากัตว่าดำเนินการไปเช่นไรบ้าง พบว่าผู้รับผิดชอบแต่ละโซนให้การปฏิเสธ ไม่พบผู้ฝ่าฝืนกฏฮูกมปากัตอีก
    3. เวลา 15.00 น. นายมะอะฮูมือรียูนุ๊ประธาน กล่าวปิดการประชุม
    4. เวลา 15.15 น. ได้ร่วมรับประทานอาหารว่างด้วยกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน
    2. กำหนดวันในการอบรมสร้างนวัตกรรม 2 วัน โดยให้คณะสภาผู้นำจัดหาและเชิญวิทยากรจากชุมชน
    3. แบ่งหน้าที่หาอุปกรณ์ในการทำความสะอาดครั้งต่อไป
    4. สมาชิกสภามีความกระตือรือร้นในการทำงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

     

    30 30

    33. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 9

    วันที่ 16 มิถุนายน 2559 เวลา 13.:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 13.00น. ลงทะเบียน
    2. เวลา 13.30 น. นายมะอะฮูมือรียูนุ๊ ประธานได้กล่าวเปิดการประชุม ได้ชี้แจงเรื่องขยะในหมู่บ้านมีจำนวนน้อยลง ทำให้เกิดความภาคภูมิใจที่มีโครงการขยะเกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านตระหนักเรื่องขยะเพิ่มขึ้นและสามารถเพิมรายได้จากขยะให้กับครอบครัว และร่วมกันปรึกษาหารือความภายหน้าจะผลิตขยะรีไซเคิลชนิดไหนทำให้ตลาดต้องการสินค้าเพื่อจำหน่ายสินค้าได้ และชี้แจงเรื่องให้ประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมการประดิษฐ์เข้าอบรมได้ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2559 ที่ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้าน บ้านบาลา และสอบถามเรื่องอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ให้จัดหาตามที่วิทยากรต้องการ และแบ่งหน้าที่ในการเชิญวิทยากร การจัดหาอุปกรณ์ จัดเตรียมสถานที่ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้านรับรู้ ซึ่งสมาชิกสภาผู้นำสามารถแบ่งหน้าที่กันเองตามโซนรับผิดชอบของแต่ละคนเอง โดยยกตัวอย่างเช่น นางรอฮีมะห์ ดอเลาะ รับผิดชอบโซนไอบือซี รับหน้าที่ประชาสัมพัน์ในหมู่บ้าน
    3. เวลา 15.00 น. นายมะอะฮูมือรียูนุ๊ ประธานได้กล่าวปิดการประชุม
    4. เวลา 15.15น. ได้ร่วมรับประทานอาหารว่างด้วยกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สามารถเกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน
    2. สรุปจัดหาวิทยากรในการทำเข็มกลัดคือนางสาวฐิติมา มะดาโอ๊ะ โดยใช้อุปกรณ์คือ เศษผ้าและเศษริบบิ้นผ้า มาทำเป็นเข็มกลัด
    3. ส่วนวิทยากรผู้สอนการทำนกเงือกจากขวดพลาสติก คือ นายอิสมาแอ รอแม
    4. นางสาวยุสนีรา อูเซ็งเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ โดยหาอุปกรณ์ในชุมชน จากกลุ่มผู้ตัดเย็บผ้า

     

    30 30

    34. อบรมสร้างผลงานนวัตกรรมจากขยะรุ่นที่1

    วันที่ 26 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 09.00 -09.30 น. ลงทะเบียน
    2. เวลา 09.30 - 12.00 น. นายอิสมาแอ รอแม ได้เป็นวิทยากรมาสอนวิธีรีไซเคิลขยะใหม่ให้ชาวบ้านเข้าใจและสอนวิธีรีไซเคิลขยะเพื่อดัดแปลงใหม่
    3. เวลา 12.00 13.00 น. พกละหมาดเพื่อทำศาสนกิจ
    4. เวลา 13.00 -15.00 น. นายมะอะฮูมือรียุนุ๊ ได้ชี้แจงโครงการเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ผู้เข้าร่วมรับฟังและทำการประดิษฐ์ต่อจากภาคเช้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมรู้จักสร้างผลงานนวัตกรรมจากขยะด้วยการใช้ในชุมชนและทำเป็นของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว
    2. มีเยาวชนพร้อมผู้ปกครองเข้าร่วมอบรม 100 คน
    3. อบรมวิธีการทำนกเงือกจากขวดน้ำพลาสติก
    4. รายละเอียดกิจกรรมคือตัดขวดพลาสติกตามแบบ โดยนกเงือก 1 ตัวใช้ขวด 5 -6ใบ และต่อชิ้นส่วนให้แห้ง

     

    100 100

    35. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่1

    วันที่ 27 มิถุนายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 08.30 -09.00 น. เด็กเยาวชนลงทะเบียน
    2. เวลา 09.00 -09.30 น. นายรอมลีรอแมได้สอนวิธีทำนกเงือกจากขวดพลาสติกให้แก่เด็กเยาวชนทุกคน
    3. เวลา 09.30 -12.00 น. เด็กเยาวชนได้ลงมือทำ ถ้าหากไม่เข้าใจได้ซักถามผู้สอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดการรวมกลุ่มของเยาวชนเอง
    2. เกิดความรักสามัคคีที่ดีในกลุ่มเยาวชน
    3. เยาวชนสามารถทำสิ่งประดิษฐ์ได้ด้วยตนเอง

     

    50 50

    36. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 10

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานโครงการชี้แจงการดำเนินกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมาพร้อมบทสรุปของกิจกรรม
    2. ให้สมาชิกสภาผู้นำพูดคุยสถานการณ์ในชุมชนภายในระยะเวลาที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ให้กลุ่มเยาวชนและผู้ปกครองเข้าร่วมประดิษฐ์ไก่จากขวดพลาสติกต่อจากเดือนที่แล้ว
    2. เพิ่มกิจกรรมการประดิษฐ์จากขวดพลาสติกเป็นเศษผ้า โดยให้คนให้ชุมชนเป็นผู้สอน
    3. เป็นเวทีการพบปะของประชุมสภาผู้นำในหมู่บ้าน

     

    30 30

    37. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่6

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.อิหม่ามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสะอาดตามหลักศาสนาที่มัสยิด ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ 2.ร่วมกันทำความสะอาดโรงเรียนตาดีกา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. อิหม่ามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสะอาดตามหลักศาสนาที่มัสยิด ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์
    2. ร่วมกันทำความสะอาดโรงเรียนตาดีกา
    3. ประชาชนเข้าร่วมทำความสะอาดตระหนักในเรื่องความสะอาดตามสถานศึกษาของบุตรหลาน
    4. โรงเรียนตาดีกาสะอาดขึ้นจากเดิม มีการคัดแยกขยะ

     

    60 60

    38. อบรมสร้างผลงานนวัตกรรมจากขยะรุ่นที่2

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 09.00 -09.30 น. ลงทะเบียน
    2. เวลา 09.30 - 12.00 น. นางสาวฐิติมา มะดาโอ๊ะ ได้เป็นวิทยากรมาสอนวิธีรีไซเคิลขยะใหม่ให้ชาวบ้านเข้าใจและสอนวิธีรีไซเคิลขยะเพื่อดัดแปลงใหม่
    3. เวลา 12.00 13.00 น. พกละหมาดเพื่อทำศาสนกิจ
    4. เวลา 13.00 -15.00 น. ทำการประดิษฐ์ต่อจากภาคเช้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนและผู้ปกครองมีความรู้ และสามารถประดิษฐ์เข็มกลัดจากเศษผ้าและริบบิ้น คนละ 1 ชิ้น
    2. เกิดการรวมกลุ่มระหว่างเยาชนและผู้ปกครองในการสร้างนวัตกรรมจากขยะให้มีมูลค่า
    3. ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดความรักความสามัคคีในกลุ่ม
    4. สามารถนำผลิตภัณฑ์มาเป็นที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว

     

    100 100

    39. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่2

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 - 12:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมต่อจากครั้งที่แล้ว ทำนกเงือกจากขวดน้ำพลาสติก โดยนายอิสมาแอ รอแมสอนวิธีการทาสีนกเงือกให้เหมือนจริง โดยใช้สีน้ำมัน 3 สี ขาว ดำ และเหลือง พู่กัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนสนใจในการร่วมกิจกรรมรีบกันเข้ากิจกรรมที่ศาลาเอนกประสงค์ก่อนเวลานัดหมาย
    2. เป็นแกนนำเป็นตัวแทนให้การถ่ายทอดวิธีการทำให้คนอื่นได้ด้วย
    3. มีการรวมกลุ่มกันเองของเยาวชนหลังอ่านอัลกรุอ่าน
    4. เป็นที่รวมกลุ่มเยาวชนในการพบปะช่วงกลางคืน
    5. เยาวชนไม่นอกลู่ทาง มีที่เข้าสมาคม อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่

     

    50 50

    40. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่3

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มตั้งแต่เวลา 09:00น. ถึง 12:00 น.เยาวชน 50 คน เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำนกเงือกเอง ทำเองตัดแต่งตัดขวดพลาสติก ติดกาว ทาสีเองโดยมีเด็กชายวีกี อีซอ และเด็กชายนิอาพีโซ ดอมะ และเพื่อนอีก 3 คนเป็นแกนนำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนสามารถดำเนินกิจกรรมเองได้
    2. เป็นแกนนำเป็นตัวแทนให้การถ่ายทอดวิธีการทำให้คนอื่นได้ด้วย
    3. มีการรวมกลุ่มกันเองของเยาวชนหลังอ่านอัลกรุอ่าน
    4. เยาวชนสนใจในการร่วมกิจกรรม

     

    50 50

    41. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่4

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เวลา 09:00น.ถึง 12:00 น. โดยเยาวชน 50 คนและกลุ่มสตรี 3 คนดำเนินการเอง โดยมีนางนิซง วาหะเป็นผู้แนะนำ ตั้งแต่การตัดเศษผ้า เย็บผ้าให้ติดกัน ติดกาวทำกลีบดอก ติดเข็มกลัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลิตภัณฑ์เข็มกลัดคนละชิ้น
    2. มีคนทำเสร็จ 20 คน ทำไม่เสร็จ 30 คน
    3. เยาวชนสนใจในการทำเข็มกลัดมาก ต้องการทำต่อไปอีกหลายๆแบบ
    4. เยาวชนและกลุ่มสตรีสามารถถ่ายทอดวิธีการทำเองได้
    5. สามารถนำผลิตภัณฑ์เป็นของที่ระลึกได้

     

    50 50

    42. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่5

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เวลา 09:00น.ถึง 12:00 น. โดยเยาวชน 47 คนและกลุ่มสตรี 3 คนดำเนินการเอง โดยมีนางนิซง วาหะเป็นผู้แนะนำ ตั้งแต่การตัดเศษผ้า เย็บผ้าให้ติดกัน ติดกาวทำกลีบดอก ติดเข็มกลัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลิตภัณฑ์เข็มกลัดคนละชิ้น
    2. เยาวชนสนใจในการทำเข็มกลัดมาก ต้องการทำต่อไปอีกหลายๆแบบ
    3. เยาวชนและกลุ่มสตรีสามารถถ่ายทอดวิธีการทำเองได้
    4. สามารถนำผลิตภัณฑ์เป็นของที่ระลึกได้

     

    50 50

    43. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่6

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เวลา 09:00น.ถึง 12:00 น. โดยเยาวชน 47 คนและกลุ่มสตรี 3 คนดำเนินการเอง โดยมีนางนิซง วาหะเป็นผู้แนะนำ ตั้งแต่การตัดเศษผ้า เย็บผ้าให้ติดกัน ติดกาวทำกลีบดอก ติดเข็มกลัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลิตภัณฑ์เข็มกลัดคนละชิ้น
    2. เยาวชนสนใจในการทำเข็มกลัดมาก ต้องการทำต่อไปอีกหลายๆแบบ
    3. เยาวชนและกลุ่มสตรีสามารถถ่ายทอดวิธีการทำเองได้
    4. สามารถนำผลิตภัณฑ์เป็นของที่ระลึกได้

     

    50 50

    44. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่7

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เวลา 19:00น.ถึง 22:00 น. โดยเยาวชน 47 คนและกลุ่มสตรี 3 คนดำเนินการเอง โดยมีนางนิซง วาหะเป็นผู้แนะนำ ตั้งแต่การตัดเศษผ้า เย็บผ้าให้ติดกัน ติดกาวทำกลีบดอก ติดเข็มกลัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลิตภัณฑ์เข็มกลัดคนละชิ้น
    2. เยาวชนสนใจในการทำเข็มกลัดมาก ต้องการทำต่อไปอีกหลายๆแบบ
    3. เยาวชนและกลุ่มสตรีสามารถถ่ายทอดวิธีการทำเองได้
    4. สามารถนำผลิตภัณฑ์เป็นของที่ระลึกได้

     

    50 50

    45. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่8

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 19:00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เวลา 19:00น.ถึง 22:00 น. โดยเยาวชน 47 คนและกลุ่มสตรี 3 คนดำเนินการเอง โดยมีนางนิซง วาหะเป็นผู้แนะนำ ตั้งแต่การตัดเศษผ้า เย็บผ้าให้ติดกัน ติดกาวทำกลีบดอก ติดเข็มกลัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลิตภัณฑ์เข็มกลัดคนละชิ้น
    2. เยาวชนสนใจในการทำเข็มกลัดมาก ต้องการทำต่อไปอีกหลายๆแบบ
    3. เยาวชนและกลุ่มสตรีสามารถถ่ายทอดวิธีการทำเองได้
    4. สามารถนำผลิตภัณฑ์เป็นของที่ระลึกได้

     

    50 50

    46. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่9

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 09.00 -09.30น. ได้ลงทะเบียน
    2. เวลา 09.30 -11.30 น. เด็กเยาวชนได้ร่วมทำเข็มกลัดดอกกุหลาบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ทำให้เด็กเยาวชนมีความรักความสามัคคี
    2. ทำให้เด็กเยาวชนรู้จักใช้ขยะรีไซเคิลมาเป็นประโยชน์ใหม่

     

    50 50

    47. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่10

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มเวลา 16.00 น. กลุ่มเยาวชนร่วมกันเข้าร่วมลงทะเบียนร่วมกิจกรรม และเริ่มแยกขวดพลาสติกเพื่อแยกกัดตัดขวด เพื่อทำเป็นนกเงือก และฟังการแนะนำการทาสีให้ผลิตภัณฑ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลิตภัณฑ์จากขวดคนละ 1 ชิ้น
    2. เข้าร่วมกิจกรรมพบปะเพื่อนเยาวชนหลังเลิกเรียน ไม่ไปเล่นห่างไกลสายตาผู้ปกครอง
    3. เป็นการสร้างเสริมกิจกรรมให้เยาวชนฝึกฝีมือ เพื่อต่อยอดในอนาคต
    4. ได้รับแนวทางการทาสีที่ดี

     

    50 50

    48. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่11

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มเวลา 16.00 น. กลุ่มเยาวชนร่วมกันเข้าร่วมลงทะเบียนร่วมกิจกรรม และเริ่มแยกขวดพลาสติกเพื่อแยกกัดตัดขวด เพื่อทำเป็นนกเงือก และฟังการแนะนำการทาสีให้ผลิตภัณฑ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลิตภัณฑ์จากขวดคนละ 1 ชิ้น
    2. เข้าร่วมกิจกรรมพบปะเพื่อนเยาวชนหลังเลิกเรียน ไม่ไปเล่นห่างไกลสายตาผู้ปกครอง
    3. เป็นการสร้างเสริมกิจกรรมให้เยาวชนฝึกฝีมือ เพื่อต่อยอดในอนาคต
    4. ได้รับแนวทางการทาสีที่ดี

     

    50 50

    49. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่12

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มเวลา 16.00 น. กลุ่มเยาวชนร่วมกันเข้าร่วมลงทะเบียนร่วมกิจกรรม และเริ่มแยกขวดพลาสติกเพื่อแยกกัดตัดขวด เพื่อทำเป็นนกเงือก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ผลิตภัณฑ์จากขวดคนละ 1 ชิ้น
    2. เข้าร่วมกิจกรรมพบปะเพื่อนเยาวชนหลังเลิกเรียน ไม่ไปเล่นห่างไกลสายตาผู้ปกครอง
    3. เป็นการสร้างเสริมกิจกรรมให้เยาวชนฝึกฝีมือ เพื่อต่อยอดในอนาคต

     

    50 50

    50. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่7

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 13.00-13.30 น. ลงทะเบียน
    2. เวลา 13.30 - 14.30 . นายเอิบบือราเฮงลาเตะ อิหม่าม ได้บรรยายในการใช้ชีวิตประจำวันโดยวิถีมุสลิม
    3. เวลา 14.30 -16.00 น. ได้ร่วมทำความสะอาดในสถานที่สาธารณะ กูโบร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทำให้ประชาชนเข้าใจในทำความสะอาดโดยวิถีมุสลิมมากขึ้น 2.ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ 3.ทำให้สถานที่สาธารณะสะอาดมากขึ้น

     

    60 60

    51. จ่ายภาษีเดือนกรกฎาคม 2559

    วันที่ 5 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จ่ายภาษีเดือน กรกฎาคม 2559 ณ สรรพากร อำเภอแว้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จ่ายภาษีเดือน กรกฎาคม 2559

     

    1 1

    52. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่8

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 09.00 น. ลงทะเบียน
    2. เวลา 09.30 -11.30น. ได้เข้าร่วมทำความสะอาดสถานที่สาธารณประโยชน์ คือ นำ้ตกสิรินธร
    3. เวลา 11.30 -12.00 น. ได้ร่วมรับประทานอาหารว่าง
    4. เวลา 12.30 -13.30 น. อิหมามได้ให้ความรู้เรื่องทำความสะอาดโดยวิถีมุสลิมให้กับชาวบ้านรับฟัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชนได้รับความสมัคคีกัน
    2. ปลูกฝังให้กับนักท่องเที่ยวไม่ทิ้งขยะที่นำ้ตกสิรินธร
    3. ทำให้ชาวบ้านได้รับความรู้เรื่องทำความสะอาด

     

    60 60

    53. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 11

    วันที่ 18 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการเพื่อถอดบทเรียนและร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ประชุมวิเคราะห์โครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ก่อนหลังทำกิจกรรม และประเมินโครงการเป็นระยะๆโดยวิธีการสนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อนและหลังการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน

     

    30 60

    54. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่9

    วันที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อิหม่ามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสะอาดตามหลักศาสนาที่มัสยิด ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลองในหมู่บ้านโดยการขุดลอกคูคลองระบายน้ำ และเก็บขยะโดยประชาชน ทุกวันศุกร์ โดยคณะกรรมการมัสยิดกับครัวเรือน และกลุ่มเยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสัปปะรด ร่วมกันทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง และ ประกวดบ้านน่าอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดบ้านสะอาดชุมชนน่าอยู่โดยใช้หลักธรรมของศาสนาเป็นต้นแบบ โดยอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    2. ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน

     

    60 60

    55. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 12

    วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการเพื่อถอดบทเรียนและร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ประชุมวิเคราะห์โครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ก่อนหลังทำกิจกรรม และประเมินโครงการเป็นระยะๆโดยวิธีการสนทนาเล่าเรื่อง โดยมีเรื่องถกเถียงเรื่องการแยกขยะของบางบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน ร่วมกันหาแนวทางโดยจะมีการเข้าไปให้คำแนะนำแก่บ้านที่ยังไม่ให้ความร่วมมือเป็นระยะ
    2. เกิดการพบปะพูดคุยของคณะสภาผู้นำ
    3. มีการหาแนวทางการแก้ไขสิ่งประดิษฐ์ที่ได้มายังไม่ได้มาตรฐานพอที่จะขายทอดตลาดใหญ่ๆ
    4. หารือประชุมเรื่องต่างๆที่นอกเหนือจากโครงการ

     

    30 30

    56. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่10

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อิหม่ามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสะอาดตามหลักศาสนาที่มัสยิด ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลองในหมู่บ้านโดยการขุดลอกคูคลองระบายน้ำ และเก็บขยะโดยประชาชน ทุกวันศุกร์ โดยคณะกรรมการมัสยิดกับครัวเรือน และกลุ่มเยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสัปปะรด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดบ้านสะอาดชุมชนน่าอยู่โดยใช้หลักธรรมของศาสนาเป็นต้นแบบ
    2. ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
    3. เสริมสร้างความตระหนักในการรักษาความสะอาดของทุกคนเดือนละครั้ง

     

    60 60

    57. จ่ายภาษีเดือนสิงหาคม 2559

    วันที่ 22 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จ่ายภาษีเดือนสิงหาคม 2559 ณ สรรพากร อำเภอแว้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จ่ายภาษีเดือนสิงหาคม 2559 ณ สรรพากร อำเภอแว้ง

     

    1 1

    58. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนการเรียนรู้หลังทำงาน

    วันที่ 26 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สภาผู้นำเข้าร่วมประชุม 30 คน
    2. ประธานโครงการชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมา
    3. ประธานโครงการชี้แจงถึงผลลับธ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น สภาพแวดล้อมในหมู่บ้านดีขึ้นไม่มีขยะให้เห็นตามข้างทาง สภาพแวดล้อมรอบบ้านของประชาชน สภาพลำคลองปัจจุบันไม่มีขยะให้เห็น มีการรวมตัวของกลุ่มเยาวชน ความร่วมมือของประชาชนในหมู่บ้าน
    4. ประธานโครงการชี้แจงปัญหาที่ยังมีในชุมชน เช่น บางบ้านยังมีการเผาขยะ การแยกขยะไม่ถูกประเภทที่ยังให้เห็นบ้าง ฯลฯ
    5. หาแนวทางการจัดการปัญหาร่วมกันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สภาผู้นำเข้าร่วมประชุม 30 คน จะดำเนินงานต่อไปถึงแม้โครงการจะสิ้นสุดลง จะมีการติดตามต่อเนื่อง
    2. มีแผนการจัดทำรีสอร์ทที่พักในเขตหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านต่อไป
    3. สภาผู้นำมีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านหลังทำโครงการที่ผ่านมา

     

    30 30

    59. งานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2558

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเข้าร่วมกิจกรรมวันที่3-5 ต.ค.59 ณ หอประชุมนานาชาติ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
    2. โดยวันที่ 3 ต.ค.59 ชมการแสดงทางวัฒนธรรมของการแสดงโขน รับฟังปฐถาพิเศษจากอดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนา นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซี่ยน มีการกล่าวรายงานโดยผส.ดร.ภก.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการสุขภาพ(สจรส.มอ)และมีเวทีเสวนาด้านการเสริมสร้างนวัตกรรมสร้างสุข
    3. ในวันที่ 4 ต.ค 59 ได้เข้ารับฟัง เวทีแลกเปลี่ยน การนำเสนอผลงานวิชาการโครงการต่างๆในชุมชน ตามห้องประชุมต่างๆ
    4. วันที่ 5 ต.ค .59 เข้ารับฟังการ เสวนา การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. แนวคิดการดำเนินงานในชุมชนบ้านบาลาต่อไป
    2. แนวทางการต่อยอดการจัดการขยะที่ได้ดำเนินงานไปแล้ว ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น
    3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากโครงการ กิจกรรมต่างๆ จากชุมชนอื่นๆ
    4. รับฟังแนวทางการดำเนินที่แตกต่างจากโครงการบ้านบาลา
    5. ชมบูธนิทรรศการจากชุมชนต่างๆเพื่อปรับใช้ในหมู่บ้านตนเอง

     

    2 2

    60. จ่ายภาษีเดือนกันยายน 2559

    วันที่ 6 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จ่ายภาษีเดือนสิงหาคม 2559 ณ สรรพากร อำเภอแว้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จ่ายภาษีเดือนสิงหาคม 2559 ณ สรรพากร อำเภอแว้ง เกิดการใช้จ่ายเงินตามระเบียบ สสส.

     

    1 1

    61. จัดทำภาพถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 - 16:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำภาพถ่าย คัดเลือกรูปภาพ เพื่อนำไปจัดทำรยงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปภาพจำนวน 10 ภาพ ประกอบการทำรายงาน และยังได้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับทราบว่าห้ามสูบบุหรี่บริเวณศาสนสถาน

     

    2 10

    62. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ รวบรวมแก้ไขข้อมูลในเว็บไซต์ และจัดทำเป็นเล่มรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม

     

    2 2

    63. ติดตามความก้าวหน้า งวดที่ 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยง สจรส. ตรวจสอบข้อมูลการทำโครงการ การเงิน และรายละเอียดการเขียนโครงการในเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับคำแนะนำการการเขียนรายงานการเงิน การจัดทำรายงาน และรายละเอียดการเขียนโครงการในเวปไซต์ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ถูกต้อง ตรวจสอบได้

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อสร้างสภาผู็นำที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ?
    ตัวชี้วัด : 1.มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง ทุกๆวันที่ 14 ของเดือน 2. สมาชิกสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม อย่างน้อยร้อยละ 80

     

    2 เพื่อให้ประชาชน เยาวชน มีความรู้ในการจัดการขยะ
    ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเยาชนเข้าร่วมในการอบรมการจัดการขยะ อย่างน้อย40 คน 2.กลุ่มครัวเรือนเข้าร่วมในการอบรมการจัดการขยะ อย่างน้อย50 ครัวเรือน

     

    3 เพื่อพัฒนาให้เกิดความร่วมมือของชุมชนในการจัดการขยะ
    ตัวชี้วัด : 1.มีฮูกุมปากัตการจัดการขยะในชุมชน 1 กติกา

     

    4 1. เพื่อพัฒนาให้เกิดเครื่อข่ายจัดการขยะในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.เกิดกลุ่มสมากชิกธนาคาร ขยะ จำนวน 50 ครัวเรือน 2.เกิดเยาวชนจิตอาสาตาสัปรดและจัดเก็บข้อมูลขยะ 3.เกิดกลุ่มครัวเรือนคัดแยกขยะ

     

    5 2.เพื่อลดการสร้างขยะในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 50 ครัวเรือนใช้ถุงผ้าและตะกร้า 2.เกิดร้านค้าในชุมชน 4ร้านเข้าร่วมเป็นเครือข่าย ลดการขายผลิตภัณฑ์และพลาสติก ?

     

    6 3.เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บ การคัดแยกในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.เกิดธนาคารขยะในชุมชน 1 แห่ง 2.ครัวเรือน มีการคัดแยกขยะ 50 ครัวเรือน

     

    7 4.เพื่อให้ชุมชนสามารถนำขยะมาสร้างมูลค่า
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐที่คนชุมชุมทำขึ้นมาอย่างน้อย1อย่าง 2. ครัวเรือนมีรายได้จากการจดการและคัดแยกขยะ

     

    8 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อสร้างสภาผู็นำที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ? (2) เพื่อให้ประชาชน เยาวชน มีความรู้ในการจัดการขยะ (3) เพื่อพัฒนาให้เกิดความร่วมมือของชุมชนในการจัดการขยะ (4) 1. เพื่อพัฒนาให้เกิดเครื่อข่ายจัดการขยะในชุมชน (5) 2.เพื่อลดการสร้างขยะในชุมชน (6) 3.เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บ การคัดแยกในชุมชน (7) 4.เพื่อให้ชุมชนสามารถนำขยะมาสร้างมูลค่า (8) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    รหัสโครงการ 58-03989 รหัสสัญญา 58-00-2177 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    แผนที่เดินดิน 6 โซน 2.แผนที่เดินดินทั้งหมู่บ้าน 1 แผ่น
    สิ่งประดิษฐ์ เข็มกลัดนกเงือก โมบายไล่ยุงเสริมพัฒนาการเด็ก กระเป๋าจากเศษผ้า

    แผนที่เดินดิน 6 โซน 2.แผนที่เดินดินทั้งหมู่บ้าน 1 แผ่น
    สิ่งประดิษฐ์ เข็มกลัดนกเงือก โมบายไล่ยุงเสริมพัฒนาการเด็ก กระเป๋าจากเศษผ้า

    พัฒนาผลิดภันณ์เป็นผลงาน otop ชุมชน สร้างรายได้ อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    -วิธีการทำงานการร่วมคิดร่วมทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมผ่านการประชุมร่วมกัน ตามตัวแบบของไม้เรียง และหนองกลาง

    คณะกรรมการสภาขุมขน

    สภาขุมขนร่วมคิดร่วมทำ สร้างแผนชุมชนทุกระบบ และที่คณะทำงานในแต่ละแผน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    สภาผู้นำและคณะทำงาน 30 คน

    เกิดกลุ่มเยวชนจุเนียร์จิตอาสา

     

    ขยายกลุ่มเยวชนจุเนียร์จิตอาสา พัฒนาศักยภาพให้กลุ่มยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    ประชาชนแยกประเภทขยะและการทำลายขยะได้ถูกต้อง บ้านเรือนสะอาด

    เกิดธนาคารขยะ

    ขยายรัวเรือนจัดการขยะ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สู่การลดการสร้างขยะที่ยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ประชาชนแยกประเภทขยะและการทำลายขยะได้ถูกต้อง บ้านเรือนสะอาด

    ครัวเรือนจัดการขยะ50 ครัวเรือน

    ขยายครัวเรือนจัดการขยะ50 ครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    ประชาชนแยกประเภทขยะและการทำลายขยะได้ถูกต้อง บ้านเรือนสะอาด

    เกิดพื้นที่สร้างกิจกรรมสำหรับเยาวชนในการทำกิจกรรมสาธารณประโยขน์ คอยแนะนำการทิ้งขยะในหมู่บ้าน

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    การสร้างขยะในชุมชนให้เป็นมูลค่า

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ฮูกมปากัตใช้เพื่อตระหนักการจัดการขยะในหมู่บ้าน มีปรึกษาหาเรื่องห้ามถิ้งขยะตามที่สาธารณะในหมู่บ้าน เช่น ตามไหล่ทาง กูโบร์ มัสยิด ศาลาเอนกประสงค์ สุเหร่า โดยส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วย ห้ามไปปิ้งย่างบริเวณ น้ำตกและห้ามทิ้งขยะในแม่น้ำลำคลอง ซิ่งทุกคนเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร่วมกับการใช้ถุงผ้าในการซื้อของ

    มีป้ายประกาศ

    ตืดตามการปฏิบัติและติดตามอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    ขุมขนร่วดำเนินการจัดการขยะ ร่วมกับ รพสต อบต ในเรื่องมาตรฐาน อชีวะอนามัย รพสต สนับสนุนวิชาการ ร่วมตืดตามสนับสนุนการดำเนินการ

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    -วิธีการทำงานการร่วมคิดร่วมทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมผ่านการประชุมร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชน

    -

    สภาขุมขนร่วมคิดร่วมทำ สร้างแผนชุมชนทุกระบบ และที่คณะทำงานในแต่ละแผน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    การใช้วิทยากรที่มีความรู้ในสิงประดิษฐ์ มาขยายสอนเยาวชนและผู้ปกครองในชุมชนสามารถประดิษย์ได้

    สิ่งประดิษฐ์ เข็มกลัดนกเงือก โมบายไล่ยุงเสริมพัฒนาการเด็ก กระเป๋าจากเศษผ้า

    พัมนากลุ่มเยาวขนเป็นวิทยากรขุมขน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    การขับเคลือนการแก้ปัญหาขยะในชุมชน โดยกลุ่มเยวชนจุเนียร์จิตอาสา มีส่วนร่วม

    -

    ขยายกลุ่มเยวชนจุเนียร์จิตอาสา มีส่วนร่วม สู่แผนพัฒนาอย่างยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    กลุ่มเยวชนจุเนียร์จิตอาสาเก็บขัอมูลขยะในชุมชนโดยเป็นฐานข้อมุลสำคัญในการวิเคราห์ขยะ นำไปการวางแผนการสร้างสิ่งประดิษญ์จากขยะเพื่อสร้างมูลค่า

    -

    สภาขุมขนร่วมคิดร่วมทำ สร้างแผนชุมชนทุกระบบ และที่คณะทำงานในแต่ละแผน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    เกิดกลุ่มจัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิม ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลองในหมู่บ้านโดยการขุดลอกคูคลองระบายน้ำ และเก็บขยะโดยประชาชน ทุกวันศุกร์ โดยคณะกรรมการมัสยิดกับครัวเรือน และกลุ่มเยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสัปปะรด ร่วมกันทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง ลำคลองระบสยน้ำสะอาดขึ้น ไม่มีเศษขยะปน เกิดความสามัคคีและมีส่นร่วมในการทำงาน

    ผู้นำศาสนาสอนหลักศาสนาประเด็นความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัธา

    การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นำสู่การแก้ปัญหาชุมชนนำด้วยวิถีมุสลิม เพื่อการเข้าถึงจิตวิณญาญ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    -

    --

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 58-03989

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย มะอะฮูมือรี ยูนุ๊ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด