directions_run

โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

assignment
บันทึกกิจกรรม
ตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมเพื่อปิดโครงการ15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมเพื่อปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงานโครงการตรวจสอบเอกสารก่อนจะให้พี่เลี้ยงและทีม สจรส.ตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ
  • พี่เลี้ยงและทีม สจรส.ตรวจสอบรายงานกิจกรรมเติมเต็มเพื่อความสมบูรณ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานพื้นที่สามารถปรับเอกสารการเงินให้ถูกต้องตามที่ผู้ตรวจเอกสารแนะนำสามารถปิดโครงการได้
  • ได้มีการเติมเต็มข้อมูลกิจกรรมในเวบไซค์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • ทีม สจรส.
  • คณะทำงานพื้นที่
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เอกสารในแต่ละโครงการมีหลายกิจกรรมทำให้ตรวจสอบล่าช้าบางพื้นที่ไม่สามารถตรวจได้ในวันเดียว

แนวทางแก้ไข

  • ให้พื้นที่ที่ยังไม่ได้ตรวจเอกสารการเงินไปตรวจที่ สจรส.มอ.ภาคใต้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้พื้นที่ปรับเอกสารและรายงานกิจกรรมตามคำแนะนำของพี่เลี้ยงและทีมสจรส.
สังเคราะห์โครงการปิดงวด215 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yaowalak
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินและการทำรายงานโครงการก่อนปิดงวด 2 ของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจดูรายละเอียดการเงินในเอกสารให้สอดคล้องกับในเว็ปไซด์และตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนรายงานก่อนพบทีม สจรส.
  • นำเอกสารการเงินให้เจ้าหน้าที่ สจรส.ตรวจสอบความถูกต้องและตรงกับรายงานในเว็ปไซน์
  • ดำเนินการปิดงวดรายงานการเงิน (ง.2)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รายงานและเอกสารการปิดงวดโครงการที่สมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดทำรูปถ่าย15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yaowalak
circle
วัตถุประสงค์
  • จัดทำรายงานรูปถ่ายกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ปริ้นรูปภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ภาพถ่ายกิจกรรมโครงการที่สามารถถ่ายทอดเป็นสื่อความรู้ต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yaowalak
circle
วัตถุประสงค์
  • จัดทำรายงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รายงานรูปเล่มที่สมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
หนุนเสริมพื้นที่ในการตรวจสอบเอกสารการเงินก่อนปิดโครงการ10 ตุลาคม 2559
10
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อหนุนเสริมติดตามการทำงานของพื้นที่ในการตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมก่อนปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจสอบเอกสารการทำงานของพื้นที่แนะนำเติมเต็มข้อมูลในเอกสาร
  • แนะนำเรื่องรายงานกิจกรรมในเวบไซค์เพื่อความสมบูรณืของข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการได้มีความเข้าใจในการจัดการเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้พื้นที่ไปปรับตามคำแนะนำของพี่เลี้ยง
พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบเอกสารทางการเงิน10 ตุลาคม 2559
10
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบเอกสารโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 10  ตุลาคม  2559  เวลา  13.00 น.  คณะทำงานโครงการเข้าพบพี่เลียงเข้าตรวจสอบเอกสารโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารทางการเงิน9 ตุลาคม 2559
9
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 1ุุุ6 ตุลาคม2559 เวลา 13.00 น.คณะทำงานโครงการเข้าพบพี่เลียงเข้าตรวจสอบเอกสารโครงการและรายละเอียดการเขียนรายงาน เพื่อให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องและให้คำแนะนำ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการและได้รายงานทางการเงินที่ถูกต้อง
  • ได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงในการรายงานการบันทึกกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ8 ตุลาคม 2559
8
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการทำงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่  8  ตุลาคม  2559  เวลา 09.00 น. ณ  อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว  ได้จัดกิจกรรมการถอดบทเรียนการทำงานโครงการ โดยทางคณะทำงานได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและนำเสนอสรุปผลการทำงานในกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อให้เห็นว่าโครงการที่ได้ปฏิบัตินี้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่อย่างไร  โดยมีรายละเอียดจากการถอดบทเรียนดังนี้ ความคาดหวังของโครงการจากเริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจากความคาดหวัง (ปัญหา - อุปสรรค) และข้อเสนอแนะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่  8  ตุลาคม  2559  เวลา 09.00 น. ณ  อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว  ได้จัดกิจกรรมการถอดบทเรียนการทำงานโครงการ โดยทางคณะทำงานได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและนำเสนอสรุปผลการทำงานในกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อให้เห็นว่าโครงการที่ได้ปฏิบัตินี้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่อย่างไร  โดยมีรายละเอียดจากการถอดบทเรียนดังนี้ ความคาดหวังของโครงการจากเริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจากความคาดหวัง (ปัญหา - อุปสรรค) และข้อเสนอแนะ ซึ่งนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงได้พูดถึงข้อมูลจากการได้ลงสำรวจข้อมูลของชุมชน บ้านห้วยมะพร้าว ม.11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูลจำนวน314ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเชิงเดี่ยวคือ ทำสวนยางไม่มีอาชีพเสริมและบางคนไม่มีอาชีพแต่ใช้จ่ายแบบฟุ่มเฟือยและปัจจุบันค่าครองชีพก็สูงมากโดยดูได้จากการซื้อของจากตลาดนัด ยกตัวอย่างจากการซื้อพริกขี้หนูกองละ20 บาทซื้อกลับมาบ้านใช้จริงไม่เกิน 2 บาทที่เหลือต้องทิ้งเพราะพริกสดเก็บไว้ได้ไม่นานก็เน่าหลายครัวเรือนอยู่ในฐานะลำบาก หนี้สินพะรุงพะรังแม้หน่วยงานราชการหลายแห่งมาให้แนวคิดเรื่องอาชีพเสริมแต่ไม่มีงบประมาณมาสนับสนุน จึงทำให้ครัวเรือนมีหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แนวคิดอาชีพเสริมของชุมชนส่วนมากเลี้ยงวัวเลี้ยงแพะก็ไม่สามารถทำได้ทุกครัวเรือนอีกอย่างมันก็ยังไม่เกิดจากความต้องการเปลี่ยนแนวคิดพฤติกรรมของชาวบ้านเองโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมมาลดค่าใช้จ่ายและที่ผ่านมาไม่เคยมีสภาชุมชนแต่พอมีโครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชนก็มีเวทีชุมชนแกนนำทุกองค์กรในชุมชนสามารถเข้ามานั่งพูดคุยกันจนสามารถคัดเลือกกลุ่มแกนนำจำนวน30คนเข้ามาเป็นคณะทำงานและได้ร่วมกันไปดูงานแปลงตัวอย่างเกษตรกรรมผสมผสานที่บ้านเขาพระอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลาของนายชิต ขวัญคำ"มีคำพูดหนึ่งของคุณชิตที่สำคัญมากเขาบอกว่าถ้าไม่เปลี่ยนแนวคิดชีวิตคุณก็จะไม่เปลี่ยน"คณะทำงานจึงมีแรงบันดาลใจมากจากการไปดูงานครั้งนั้นจากการเห็นวิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกโดยใช้วัสดุเหลือใช้แบบง่ายๆ ทำให้มีแนวคิดกลับมาทำหลายคนขณะอีกจำนวนหนึ่งเริ่มกลับมาปลูกผักปลูกมะนาวและเลี้ยงไก่พื้นที่ว่างข้างบ้านแทนที่จะปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามอย่างเดียวก็หันมาปลูกพืชกินได้หลายอย่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวเห็นด้วยกับแนวคิด อาสามาให้ใช้พื้นที่กลางในการเรียนรู้ของหมู่บ้านทุกกลุ่มทุกวัยจึงให้พื้นที่ตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนในโรงเรียนเป็นแปลงรวมขนาดพื้นที่1ไร่เพื่อจะปลูกไม้ยืนต้นเช่น มะละกอมะนาวข้าวโพดและเกษตรผสมผสานยิ่งสร้างกระแสแนวคิดให้คนหันมาสนใจมากขึ้น นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปกิจกรรมทั้งหมดของโครงการที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหนึ่งปี จะเห็นได้จากการไปศึกษาดูงานจากศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ เราสามารถมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง และจากการทำบัญชีครัวเรือนทำให้เรามีการวางแผนในการจ่าย ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นลงทำให้เราลดปัญหาหนี้สินลงด้วย ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม สมาชิกสนใจที่จะมีส่วนร่วมกิจกรรมมากขึ้น และสนใจที่จะหันมาส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนมากขึ้น และต่อยอดให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เกิดความร่วมมือ การร่วมแรง ร่วมใจกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดความสำเร็จในระดับหนึ่ง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 26 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง7 ตุลาคม 2559
7
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 10.00 น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดเวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนะนำวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดเวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พักรับประธานอาหารว่าง จากนั้นนางสาวมนัสนันทร์ นุ่นแก้ว วิทยากรนำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และพักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00 น. การนำเสนอการประกวดครัวเรือนดีเด่นจากการลงพื้นที่ประเมิน สรุปผลที่เกิดขึ้นจากการประเมิน ปัญหา ข้อเสนอแนะในการเป็นครัวเรือนต้นแบบ และดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับบทเรียนและประสบการณ์ในการทำเกษตรพึ่งตนเองโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พักรับประทานอาหารว่าง หลังจากนั้นเป็นการประกาศผลครัวเรือนต้นแบบที่ได้รับคัดเลือกเป็นครัวเรือนต้นแบบดีเด่น จำนวน 4 ครัวเรือน และมอบรางวัลเพื่อการยกย่องให้แก่ครัวเรือนดีเด่น จำนวน 4 ครัวเรือน คือ ๑. นายกูมูฮำมัดซอดิก ราเหม
๒. นางร่อบีอะ จำฝังใจ
๓. นางบิฉ๊ะ ศิวลักษณ์
๔. นายดีน ราเย็น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีรูปแบบครัวเรือนดีเด่นสามารถให้คนในชุมชนดูเป็นแบบอย่างได้
  • เป็นกำลังใจให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น
  • ทำให้ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สุขภาพคนในชุมชนแข็งแรง
  • สมาชิกในชุมชนเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความกระตือรือร้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 127 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ครัวเรือนนำร่อง 40 ครัวเรือน
  • หน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น
  • ผู้นำศาสนา
  • ผู้นำชุมชน
  • หน่วยงานเกษตรอำเภอ
  • โรงเรียน
  • วิทยากร
  • คณะกรรมการตัดสิน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
งานสร้างสุข3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมการประชุมวิชาการ เรื่อง นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้
  • วันที่ 3 ตุลาคม เวลา 12.00-13.00 น.มีการแสดงโขน และพิธีเปิด โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และกล่าวพิธีเปิด โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เวลา 13.30-15.00 มีการปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการเสวนาเรื่องมุมมองใหม่ในการพััฒนาระบบสุขภาพในอนาคต
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00-17.00 น.ประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ชมวิดีทัศน์การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นมีการเสวนา เรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่สาธารณะโครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชันสน จังหวัดพัทลุง โดยผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จากนั้นมีการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร และต่อมาได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการจัดการจัดการขยะ ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นเด็กและเยาวชน ประเด็น การจัดการทรัพยากรและการท่องเทียว และประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการได้มีโอกาสในการเข้าร่วมงานสร้างสุขร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้
  • คณะทำงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการระบบสุขภาพและได้เรียนรู้ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของโครงการชุมชนน่าอยู่ ของจังหวัดต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงตรวจเอกสารการเงินและการบันทึกข้อมูล1 ตุลาคม 2559
1
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจเอกสารการเงินและกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค นางสาวอณัญญา  แสะหลี  พี่เลี้ยงได้เข้ามาตรวสอบเอกสารทางการเงินและการรายงานผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลการจัดทำเอกสารและการบันทึกกิจกรรมที่ถูกต้องครบถ้วน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ลงพื้นที่ประเมินโดยคณะกรรมการ แบ่งประเมินจำนวน 2 วัน29 กันยายน 2559
29
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินครัวเรือนต้นแบบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการประเมิน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม. บัณฑิตอาสาฯ และตัวแทนกลุ่ม ร่วมกันลงพื้นที่ประเมินครัวเรือนนำร่อง จำนวน 2 วัน โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่วางไว้แล้วนำมาสรุปร่วมกันเพื่อให้ได้ครัวเรือนที่ปฏิบัติตามกติกาได้อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบให้ครัวเรือนอื่นได้เรียนรู้แล้วขยายไปสู่ครัวเรือน 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการประเมินลงพื้นที่ประเมินครัวเรือนนำร่องที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เกณฑ์การประเมินที่วางไว้สามารถสรุปผลการประเมินครัวเรือนที่ปฏิบัติตามกติกาได้อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบให้ครัวเรือนอื่นได้เรียนรู้แล้วขยายไปสู่ครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการประเมินเป็นครัวเรือนต้นแบบดีเด่น ดังต่อไปนี้ ๑. นายกูมูฮำมัดซอดิก ราเหม บ้านเลขที่90 ๒. นางร่อบีอะ จำฝังใจ บ้านเลขที่25 ๓. นางบิฉ๊ะ ศิวลักษณ์ บ้านเลขที่163 ๔. นายดีน ราเย็น บ้านเลขที่77 ซึ่งครัวเรือนดังกล่าวเป็นครัวเรือนที่มีการใช้พื้นที่บริเวณบ้านปลูกผักสวนครัว พืชผักสมุนไพรได้หลากหลายชนิด สามารถถ่ายทอดการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจนให้ผู้อื่นสามารถศึกษาและเป็นต้นแบบได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการประเมิน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม. บัณฑิตอาสาฯ และตัวแทนกลุ่ม
  • ครัวเรือนต้นแบบที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมคณะกรรมการประเมินครัวเรือนต้นแบบ28 กันยายน 2559
28
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

มาประชุมพูดคุยเพื่อวางแผนในการลงพื้นที่เพื่อประเมินครัวเรือนนำร่องที่ผ่านเกณฑ์ตามกติกาที่เคยได้วางเอาไว้ตอนเข้าร่วมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 10.00 น. คณะกรรมการประเมินครัวเรือนประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการประเมินครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องและวางแผนในการลงพื้นที่เพื่อประเมินครัวเรือนนำร่องที่ผ่านเกณฑ์ตามกติกาที่เคยได้วางเอาไว้ตอนเข้าร่วมโครงการ โดยแบ่งเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
10. ด้านการลดรายจ่าย - ครัวเรือนทำสวนครัว มีผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด - ครัวเรือนปลอดอบายมุข 2. ด้านการเพิ่มรายได้ - ครัวเรือนมีอาชีพเสริม - ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 3. ด้านการประหยัด - ครัวเรือนมีการออมทรัพย์ 4. ด้านการเรียนรู้ - ครัวเรือนมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น - ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน - ครัวเรือนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพ - ครัวเรือนมีการปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นเป็นครัวเรือนน่าอยู่ 6. มีความสามัคคีในหมู่คณะ 7. ความเอาใจใส่ของงาน การจัดระเบียบ แบ่งสัดส่วนของสวนผักสวนครัว 8. มีความต่อเนื่องยั่งยืน 9. ผักที่ปลูกปลอดสารพิษ 10. ด้านความสะอาด
- มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยของสวนผักและบริเวณบ้าน โดยคณะกรรมการประเมินจะลงพื้นที่ประเมิน จำนวน 2 วัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการประเมินครัวเรือนประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการประเมินครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องและวางแผนในการลงพื้นที่เพื่อประเมินครัวเรือนนำร่องที่ผ่านเกณฑ์ตามกติกาที่เคยได้วางเอาไว้ มีการวางระเบียบกฎเกณฑ์ครัวเรือนต้นแบบ จนได้รูปแบบการประเมินครัวเรือนนำร่องเพื่อนำไปเป็นเกณฑ์ในการประเมินครัวเรือนต้นแบบดีเด่นต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • คณะกรรมการประเมิน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ทบทวนกติกาหมู่บ้าน15 สิงหาคม 2559
15
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น โดยเติมเต็มกติกาชุดเก่าของชุมชนกับกติกากลุ่มครัวเรือนต้นแบบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น. คนชุมชนได้มาคิดร่วมกันในการจัดทบทวนกฎกติกาหมู่บ้าน เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น โดยเติมเต็มกติกาชุดเก่าของชุมชนกับกติกากลุ่มครัวเรือนต้นแบบ โดยเริ่มต้นจากการทำประชาคม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กรในชุมชน ได้แก่ ประชาชนในชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน กลุ่มสตรีและกลุ่มอาชีพในชุมชน
- ที่ประชุมเสนอกฎกติกาหมู่บ้าน ดังนี้
1) ห้ามทุกคนในชุมชนเล่นการพนันทุกชนิดหรือข้องเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด หากพบเห็นโทรแจ้งตำรวจ 2) ไม่ให้ร้านค้า ขายสุรา บุหรี่ ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี หากฝ่าฝืนจะถูกปรับโดยกรรมการหมู่บ้านคนละ 300 บาท 3) ห้ามมิให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เที่ยวเตร่หรือออกจากบ้านเวลากลางคืน หลังเวลา 24.00 น. โดยลำพัง ยกเว้นมีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง หากฝ่าฝืนจะถูกปรับคนละ 300 บาท เป็นต้น 4) การลักทรัพย์และทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายผู้ที่ลักทรัพย์สินของมีค่าของผู้อื่น ปรับ 3-5 เท่า ของมูลค่าทรัพย์สิน นั้น 5) ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทุกชนิดและปล่อยสัตว์ให้ไปทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น ให้มีความผิดและปรับค่าเสียหาย ดังนี้ 5.1 ประเภทพืชยืนต้น คิดค่าปรับในอัตรา100 บาท/ต้น 5.2 นาข้าว ตารางเมตรละ 100 บาท 5.3 พืชไร่/พืชสวน คิดค่าปรับ ในอัตราระหว่าง 200-1,000บาท(แล้วแต่ความเสียหาย) 6) การรักษาความสงบ ให้ชุด ชรบ.หมู่บ้านมีการจัดเวรยามหรือลาดตระเวนในหมู่บ้าน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 7) ห้ามก่อเหตุทะเลาะวิวาทภายในบริเวณที่สาธารณะของหมู่บ้าน โดยเป็นผู้ก่อเหตุ จะถูกปรับเป็นเงิน 500 บาท 8) ห้ามยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถ้ายิงเล่นปรับ 500 บาทต่อ 1 นัด 9) สมาชิกครัวเรือนละ 1 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกเดือน หากครัวเรือนใดไม่เข้าร่วมประชุม สิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจะให้การพิจารณาผู้เข้าร่วมประชุมทุกเดือนก่อน ไม่ว่ากรณีใดๆ 10) ครัวเรือนต้นแบบ
10.1 ต้องทำบัญชีครัวเรือน 10.2 ครัวเรือนต้องปลูกพักในครัวเรือนอย่างน้อย10ชนิด 10.3 ต้องเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมในหมู่บ้านทุกครั้ง 10.4 ต้องมีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 10.5 ต้องยอมรับและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้าน 11) กฎระเบียบดังกล่าวข้างต้น สามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงได้ในวันประชุมประจำเดือน หรือตามที่คณะกรรมการหมู่บ้าน เห็นสมควรเป็นเรื่องไป 12) ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของหมู่บ้าน หลังจากนั้นสรุปกฎกติกาหมู่บ้านที่ได้จากการทำประชาคมประกาศให้คนในชุมชนรับทราบ และกำหนดวันเริ่มบังคับใช้ ซึ่งกฎกติกาหมู่บ้านที่บังคับใช้นั้นได้รับการลงนามรับรองจากผู้ใหญ่บ้านซึ่งถือว่าเป็นกฎระเบียบ และเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้กติการ่วมของชุมชนที่มีความครอบคลุมมากขึ้น
  • คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาของชุมชน
  • มีกติการ่วมของชุมชน 1 ชุด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 32 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนในชุมชน
  • ผู้นำชุมชน
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
  • อสม.
  • โรงเรียน
  • กลุ่มสตรี
  • กลุ่มอาชีพในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 10 เดือนสิงหาคม14 สิงหาคม 2559
14
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 13.30 น.ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยพร้อมเพรียงกัน และเริ่มเปิดการประชุมโดย นายหมาน ยาบา ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นประธาน ชี้แจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกแจงให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ 1. เรื่องการขึ้นทะเบียนชาวสวนยางทีดินทีไม่มีเอกสารสิทธิ์สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ทีการยางแห่งประเทศไทย 2. ขอบคุณชาวบ้านทุกท่านทีให้ความร่วมมือในการออกมาลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ทีผ่านมา 3. ติดตามการชำระหนี้ของลูกหนี้กองทุนหมู่บ้านให้ดำเนินการชำระทุกวันที่ 14 ของทุกเดือน 4. การขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้น้อยโดยจะหมดเขตในวันที 15 สิงหาคม 2559 และแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
  • ที่ประชุมรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ชี้แจงในที่ประชุม เพื่อนำไปปฏิบัติ
  • มีแผนการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พัฒนาพื้นที่เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน12 สิงหาคม 2559
12
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้ภายในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 12-13 สิงหาคม 2559 คณะทำงานร่วมกับครัวเรือนนำร่องลงพื้นที่จัดทำศูนย์เรียนรู้ มีการปรับพื้นที่ที่จะทำศูนย์โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว และมอบวัตถุดิบให้กับศูนย์ พร้อมลงมือร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวในศูนย์เรียนรู้โดยมีวิทยากรคอยให้ความรู้และแนะนำ เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน หลังจากนั้น มีการแบ่งกลุ่มลงมือทำปุ๋ยหมักซึ่งมีวิทยากรคอยให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  • คนในชุมชนมีความสามัคคีกันเกิดกลุ่มที่มีความเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 42 คน จากที่ตั้งไว้ 42 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • ครัวเรือนต้นแบบ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้6 สิงหาคม 2559
6
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง กล่าวเปิดเวทีอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ โดยชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรมในครั้งนี้ หลังจากนั้น ฟังบรรยายทฤษฎี โดย
ซึ่งทางวิทยากรก็จะให้ความรู้แก่ครัวเรือนต้นแบบตั้งแต่หลักการพื้นฐาน พืชผักสวนครัว หมายถึง สวนผักขนาดเล็กที่ปลูกในบริเวณบ้านหรือโรงเรียนหรือที่ทำงานใช้แรงงานในครอบครัว และใช้พื้นที่ไม่มากนัก มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งด้านคุณค่าทางอาหารและความสาคัญในด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ผักบุ้ง มะนาว ผักกาด มะละกอ พริกขี้หนู โหระพา ตะไคร้ มะเขือ ผักคะน้า เป็นต้นซึ่งสามารถปลูกรับประทานได้ในครัวเรือน และนำเสนอหัวข้อต่างๆในการปลูกผักสวนครัว เช่น - ทำไมเราจะต้องปลูกผักทานเอง - หลักการปลูกผักปลอดสารเคมี - ประโยชน์การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ - การเตรียมดินและปรับปรุงดิน - การเพาะกล้า มีความสำคัญอย่างไร - การปลูกและการดูแลรักษา - เทคนิคปลูกพืชสวนครัวยอดนิยม 10 ชนิด - การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
นายอับดุลเลาะ โส๊ะเต่ง สรุปผลการดำเนินงานให้ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรับทราบ ซึ่งเพื่อนำไปสู่การวางแผนในการปฏิบัตงานร่วมกันในการนำไปปฏิบัติ และกล่าวปิดการประชุมใน เวลา 15.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการปลูกผักและการดำเนินชีวิตของผู้เข้าอบรม ที่จะสามารถต่อยอดความรู้และสามารถนำไปเป็นหลักของการพึ่งพาตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 42 คน จากที่ตั้งไว้ 42 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • ครัวเรือนต้นแบบ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
อบรมใส่แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 ครัวเรือน31 กรกฎาคม 2559
31
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบสามารถนำความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการเปิดเวทีกิจกรรมอบรมใส่แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 ครัวเรือน หลังจากนั้นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดาเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ตามหลัก 3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
  • ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
  • ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
  • ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
  • การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    1 ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ 2 ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ 3 ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต 4 ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม
  • วิทยากรได้ให้เสนอแนะ : เศรษฐกิจพอเพียงจะดำเนินไปได้ดี ด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม ที่ขอให้อย่าลืมที่จะปฏิบัติในเรื่อง ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ปฏิบัติตนเป็นคนดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถึงเวลาที่พวกเราทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจ กันปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะติดเป็นนิสัยความพอเพียงไปตลอดชีวิต สามารถนำไปพัฒนาตน พัฒนาประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้า เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครัวเรือนต้นแบบ มีความรู้ และเข้าใจแนวทางการดำเนินการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตประจำวันได้
  • มีชุดความรู้ชุมชนจากฐานการเรียนรู้ชุมชน ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมชุมชน เผยแพร่ให้ความรู้คนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 42 คน จากที่ตั้งไว้ 42 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ครัวเรือนต้นแบบ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริง30 กรกฎาคม 2559
30
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบสามารถบันทึกบัญชีรับ-จ่ายได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2559 ทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน และครัวเรือนต้นแบบที่เลือกไว้ 40 ครัวเรือน มาประชุมที่อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 09.00 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ได้เปิดวาระการประชุม และหัวข้อการประชุม คือ อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน และชี้แจงเรื่องรายละเอียดของกิจกรรมประชุมครัวเรือนต้นแบบ ตามระเบียบวาระตามที่วางแผนในการจัดกิจกรรมหลังจากนั้นประธานเรียนเชิญวิทยากร คือ นางสมปอง บุญฤทธิ์ พัฒนากรชุมชน มาพูดคุยเกียวกับการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายทำอย่างไร มีวิธีการอย่างไร มีรูปแบบอย่างไร เพื่อให้คนที่เข้าร่วมกลุ่ม ได้บันทึกเป็น ว่าก่อนเริ่มโครงการมีรายได้และรายจ่ายเป็นอย่างไรและสิ้นสุดโครงการเป็นอย่างไร มีการยกตัวอย่างการทำบัญชีอย่างง่ายๆให้สมาชิกได้เข้าใจ ท่านวิทยากรได้พูดคุยกันจนถึงเวลา 11.00 น. เวลา 12.00 น.สมาชิกทุกคนรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเมื่อเสร็จแล้วก็ได้มีการพูดคุยกันต่อหลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำ จากภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้านจากนั้น ประธานได้สรุปการประชุม และปิดการ ประชุมใน เวลา 15.00 น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครัวเรือนต้นแบบจำนวน 40 ครัวเรือน ได้รับทราบและเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายได้และสามารถทำได้ทุกเดือน
  • เกิดครัวเรือนต้นแบบสามารถให้ความรู้และทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 42 คน จากที่ตั้งไว้ 42 คน
ประกอบด้วย
  • ทำงาน
  • ครัวเรือนต้นแบบ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมทำความเข้าใจการทำงานร่วมกับครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน24 กรกฎาคม 2559
24
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับครัวเรือนนำร่องในการร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 ทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน และครัวเรือนต้นแบบที่เลือกไว้ 40 ครัวเรือน มาประชุมที่อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 09.00 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดย นายหมาน ยาบา ได้เปิดวาระการประชุม และหัวข้อการประชุม คือประชุมทำความเข้าใจการทำงานร่วมกับครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือนซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุม หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องรายละเอียดของกิจกรรมประชุมครัวเรือน ตามระเบียบวาระตามที่วางแผนในการจัดกิจกรรมหลังจากนั้นประธานเรียนเชิญวิทยากร คือ นางสมปอง บุญฤทธิ์ พัฒนากรชุมชน มาพูดคุยเกียวกับการเป็นครัวเรือนต้นแบบ ว่าเป็นอย่างไร ที่จะเป็นตัวอย่างแบบอย่างให้คนในชุมชนเป็นแบบอย่าง ที่จะลดการใช้สารเคมีในครัวเรือนและยาฆ่าแมลง โดยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำ บัญชีครัวเรือน ปลูกผักสาวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด และต้องคิดวางกติการ่วมกัน ท่านวิทยากรได้พูดคุยกันจนถึงเวลา 11.00 น. หลังจากนั้น ท่านวิทยากรได้สรุปกฏกติกาให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่จะได้ครัวเรือนดีเด่นคื่อ1.ต้องทำบัญชีครัวเรือน2.ครัวเรือนต้องปลูกพักในครัวเรือนอย่างน้อย10ชนิด3.ต้องเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมในหมู่บ้านทุกครั้ง4.ต้องทำกิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง5.ต้องมีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน6.ต้องยอมรับและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้าน เวลา 12.00น.สมาชิกทุกคนรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเมื่อเสร็จแล้วก็ได้มีการพูดคุยกันต่อหลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำ จากภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้านจากนั้น ประธานได้สรุปการประชุม และปิดการ ประชุมใน เวลา 15.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้กติการ่วมกันของครัวเรือนนำร่องที่จะลดการใช้สารเคมีในครัวเรือนและยาฆ่าหญ้าแมลง โดยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำ บัญชีครัวเรือน ปลูกผักสาวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด
  • ได้มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • ครัวเรือนนำร่อง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนอย่างน้อย 100 คน23 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินที่มีอยู่ในชุมชน ที่จะได้แก้ไขปัญหาที่เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนในอนาคต

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานดำเนินการในการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนอย่างน้อย 100 คน ดังนี้ - เตรียมข้อมูลที่จะนำเสนอในเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน - เตรียมความพร้อมในเรื่องสถานที่อาหารและอุปกรณ์ในการจัดการประชุม - กระบวนการนำเสนอในวันนี้ วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00 น. - 16.00 น  ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว หมู่ 11  ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดเวทีคืนข้อมูล โดยนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนในวันนี้ เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินที่มีในชุมชน ที่จะได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เป็นที่ยอมรับของชุมชนในอนาคต ซึ่งข้อมูลได้จากการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลหนี้สินในชุมชนที่ผ่านมา ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้นางสาวสมปอง  บุญฤทธิ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ ชี้แจงทางในการดำเนินกิจกรรมในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายและการขยายโอกาสของครัวเรือน ซึ่งข้อมูลการนำเสนอมีดังนี้ ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 312 ครัวเรือน อาชีพหลักของคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้างทั่วไป และข้าราชการ/พนักงานของรัฐ ตามลำดับ รายได้หลักต่อเดือนของคนในชุมชน อยู่ระหว่าง 0-5000 บาท จำนวน 105 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง5001-15000 บาท จำนวน 134 ครัวเรือน อยุ่ระหว่าง 15001-30000 บาท จำนวน 67 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง30001-50000บาท จำนวน  4 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไปจำนวน 1 ครัวเรือน ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่พบว่า มาจากรายได้ในภาคการเกษตรประเภทยางพารา ส่วนรายจ่ายของครัวเรือนส่วนใหญ่พบว่าประชาชนมีรายจ่ายนอกภาคการเกษตรมากกว่าในภาคการเกษตร ซึ่งจำนวนครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายจ่ายอยู่ระหว่าง 0-5,000 บาทต่อเดือน
- ภาระหนี้สินของครัวเรือน พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินในระบบ อยู่ระหว่าง 0-50,000บาท จำนวน 86 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 50,001-150,000 จำนวน 19 ครัวเรือน 150,001-350,000 จำนวน 36 ครัวเรือน 350,001-500,000 จำนวน 18 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 500,001 ขึ้นไป จำนวน 12 ครัวเรือน  และภาระหนี้สินนอกระบบของครัวเรือน เช่น นายทุนเงินกู้ ญาติ เพื่อนบ้านและอื่นๆ อยู่ระหว่าง 0-50,000บาท จำนวน 40 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 50,001-150,000 จำนวน 8 ครัวเรือน 150,001-350,000 จำนวน 2 ครัวเรือน 350,001-500,000 จำนวน - ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 500,001 ขึ้นไป จำนวน - ครัวเรือน
- สรุปสาเหตุการเกิดหนี้สิน โดยเรียงลำดับจากความคิดเห็นส่วนมากของประชาชน พบว่า 1. มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและรายได้ไม่เพียงพอ 2. ขายผลผลิตไม่ได้/ได้น้อย/ราคาต่ำ 3. มีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเกิดขึ้นในครัวเรือน 4. อื่นๆ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร 5. ไม่ได้ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ 6. ผลผลิตได้รับความเสียหาย - พักรับประทานอาหารว่าง รับสมัครครัวเรือนนำร่องจำนวน 40  ครัวเรือน ในการอบรมทำบัญชีครัวเรือน นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดประชุม ปิดประชุม เวลา 16.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้สถานการณ์หนี้สินแต่ละครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด
  • เกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถดำเนินไปพร้อมกับแผนชุมชนได้
  • เกิดการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคเพื่อลดหนี้สินทั้งในครัวเรือนและชุมชน
  • คนในชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากแบบวิเคราะด้านต่างๆที่ครัวเรือนได้ตอบคำถามจากการสำรวจจริง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 115 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี เยาวชน ประชาชนในพื้นที่

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 9 เดือนกรกฎาคม19 กรกฎาคม 2559
19
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 13.30 น.ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว โดยพร้อมเพรียงกัน และเริ่มเปิดการประชุมโดย นายรอสัก คงทอง ซึ่งเป็นประธาน ชี้แจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกแจงให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป
นายหมาน ยาบา ผู้ใหญ่บ้าน แจ้งเรื่องต่างๆดังนี้ 2. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญพร้อมนำแผ่นพับสื่อประชาสัมพันธ์นำมาแจกจ่ายและสร้างความเข้าใจกับประชาชนในหมู่บ้านและประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกคนในหมู่บ้านให้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงลงประชามติในวันที 7 สิงหาคม 2559 เวลา 08.00-16.00 น. ณ ที่ออกเสียง อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว 2. การจัดเก็บข้อมูลเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์การยางแห่งประเทศไทย เปิดรับแจ้งข้อมูลการปลูกยางของเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลใช้ประกอบการกำหนดนโยบายด้านยางพารา สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ที่ทำการการยางแห่งประเทศไทยสาขาอำเภอละงู ตั้งแต่วันนี้-30 กันยายน 2559 3. ประชาสัมพันธ์ โครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสวัสดิการของรัฐ สำหรับผู้ที่จะไปลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ต้องตรวจสอบว่าเรามีคุณสมบัติตามดังนี้ 1. มีสัญชาติไทย
2. อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยต้องเกิดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2541 3. เป็นผู้ว่างงาน หรือมีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทในปี 2558 เปิดให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนในวันที่ 15 กรกฎาคม-15 สิงหาคม 2559 ผู้มีสิทธิ์สามารถลงทะเบียนได้ 3 แห่งคือ - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ธนาคารออมสิน - ธนาคารกรุงไทย นายประเวทย์ หนูวงศ์ (อสม.) รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ขณะนี้ในหมู่บ้านมีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 24 ราย ซึ่งโรคไข้เลือดออกได้แพร่ระบาดมากในตอนนี้ ต้องขอความร่วมมือทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์และช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทำลายแหล่งพันธุ์อย่างต่อเนื่อง อย่าให้มีน้ำขังในภาชนะ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที และให้ดูแลปกป้องตนเองให้ปลอดภัยจากโรคด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
  • ที่ประชุมได้รับความรู้เกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ และพร้อมมาลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559
  • ที่ประชุมได้รับทราบการจัดเก็บข้อมูลเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์การยางแห่งประเทศไทย เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลใช้ประกอบการกำหนดนโยบายด้านยางพารา เพื่อดำเนินการไปแจ้งข้อมูลที่ทำการการยางแห่งประเทศไทยสาขาอำเภอละงู
  • ที่ประชุมรับรู้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกของยุงลาย และนำไปปฏิบัติตามหลักการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามและปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ14 กรกฎาคม 2559
14
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พบพี่เลี้ยงในการดำเนินการปรับปฏิทินโครงการสำหรับกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ ให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรมให้ละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แผนการจัดกิจกรรมที่เป็นปัจจุบันและสามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องตามปฏิทินโครงการ
  • ได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรม โดยเพิ่มเติมเนื้อหาข้อความ ให้มีความละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • เสนอแนะการปรับปฏิทินกิจกรรมให้ถูกต้อง
  • ให้เพิ่มเติมรายละเอียดรายงานการบันทึกกิจกรรมให้ละเอียด และชัดเจนมากขึ้น
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 8 เดือนมิถุนายน 24 มิถุนายน 2559
24
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 8 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน โดยนายประเวทย์ หนูวงค์เป็นรองประธานสภาได้เปิดการประชุม เวลา 14.00 น. นายประเวศย์ หนูวงค์ รองประธานสภาฯ เปิดการประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆ ตามวาระดังนี้
  1. การออกเสียงประชามติ พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 กำหนดวันออกเสียงประชามติฯ ในวันอาทิตย์ที่ 7สิงหาคม2559ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันออกเสียงประชามติตามวันเวลาดังกล่าวด้วย
  2. แจ้งการประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 9 ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว

- นายอับดลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงเรื่องการดำเนินงานของโครงการ และชี้แจงยอดเงินงวดที่ 2 แก่ที่ประชุม โดยทางโครงการได้รับการโอนเงินงวด 2 เข้าบัญชีแล้ว จำนวน 106,450 บาทและได้ชี้แจงการดำเนินงานของกิจกรรมต่อไป คือการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 100 ครัวเรือน - ต่อด้วยการจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว - ภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน ดังนี้ 1. นายดุสิต ขวัญทอง : แจ้งเรื่องการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฌาปนกิจ ผู้ใดมีความประสงค์เข้าร่วมกองทุนฌาปนกิจ เป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกและบุคคลในครอบครัวในกรณีเสียชีวิต เพื่อช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพแก่ผู้เสียชีวิต ใครประสงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกให้มาสมัครได้ ทุกวันที่ ๑๔ ของทุกเดือน และให้สมาชิกที่กู้เงินกองทุนหมู่บ้านให้ติดต่อชำระอย่างต่อเนื่อง 2. เรื่องปัญหายาเสพติดและการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ให้ทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านด้วย เพราะที่ผ่านมามีกรณีโรงเรียนถูกงัดเข้าขโมยของบ่อยครั้ง 3. นายประเวทย์ หนูวงศ์ (อสม.) ชี้แจงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกต้องขอความร่วมมือทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์และช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทำลายแหล่งพันธุ์อย่างต่อเนื่อง อย่าให้มีน้ำขังในภาชนะที่ไม่ใช้แล้วเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 8 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน โดยนายประเวทย์ หนูวงค์เป็นรองประธานสภาได้เปิดการประชุม เวลา 14.00 น. นายประเวศย์ หนูวงค์ รองประธานสภาฯ เปิดกาiประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆ ตามวาระ
  • ที่ประชุมลงมติจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้
  • ที่ประชุมได้รับรู้เรื่องการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และพร้อมนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับทราบต่อไปเพื่อให้มาลงประชามติ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.

•กลุ่มสตรี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 7 เดือนพฤษภาคม14 พฤษภาคม 2559
14
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 7 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน โดยนายประเวทย์ หนูวงค์เป็นรองประธานสภาได้เปิดการประชุม
    เวลา 14.00 น. นายประเวศย์ หนูวงค์ รองประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน เปิดการประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆ ตามวาระดังนี้ 1. 1.1 แจ้งผู้เข้าร่วมโครงการ “ส่งเสริมหมู่บ้านต้นแบบเพื่อการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรชาวสวนยางพารารายย่อยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"ภายใต้โครงการขับเคลื่อนอนาคตสตูลด้านการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2559 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เข้าร่วมการอบรมตามโครงการ เป็นระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว 1.2 โครงการยกระดับศักยภาพของหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐที่ได้ประชาคมลงมติที่ผ่านมา คือ โครงการปรับปรุงและต่อเติมต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านขณะนี้กำลังดำเนินการทำเอกสารรายละเอียดเสนอโครงการและการเปิดบัญชีโครงการ และแจ้งการประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 7ในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว
  • นายอับดลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงเรื่องการดำเนินงานของโครงการ ของกิจกรรมต่อไป คือการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 100 ครัวเรือน
    และการจัดทำศูนย์เรียนรู้ ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ไถหน้าดินแล้ว เพื่อเตรียมจัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอพียงต่อไปหลังจากนี้ด้วยโดยจัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
  • ภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน ดังนี้
  1. นายดุสิต ขวัญทอง : แจ้งเรื่องการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฌาปนกิจ ผู้ใดมีความประสงค์เข้าร่วมกองทุนฌาปนกิจ เป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกและบุคคลในครอบครัวในกรณีเสียชีวิต เพื่อช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพแก่ผู้เสียชีวิต ใครประสงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกให้มาสมัครได้ ทุกวันที่ ๑๔ ของทุกเดือน และให้สมาชิกที่กู้เงินกองทุนหมู่บ้านให้ติดต่อชำระอย่างต่อเนื่อง
  2. นายหมาน ยาบา ผู้ใหญ่บ้าน ติดตามโครงการส่งเสริมอาชีพผู้ด้อยโอกาสบ้านห้วยมะพร้าว ตามโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล กลุ่มส่งเสริมอาชีพทำขนมพื้นบ้าน โดยประธานกลุ่มกำลังดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับหน่วยงานเกษตรอำเภอละงู
  3. เรื่องปัญหายาเสพติดและการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ให้ทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านด้วย
  4. นายประเวทย์ หนูวงศ์ (อสม.) แจ้งประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องสุขภาพ และการป้องกันยุงลายสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 7 ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน โดยนายประเวทย์ หนูวงค์เป็นรองประธานสภาได้เปิดการประชุม
    เวลา 14.00 น. นายประเวศย์ หนูวงค์ รองประธานสภาฯ เปิดการประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆ ตามวาระและแจ้งการประชุมสภาหมู่บ้านครั้งที่ 7ในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว
  • ที่ประชุมลงมติจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
  • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที 6 เดือนเมษายน18 เมษายน 2559
18
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 1.ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ประจำเดือนเมษายน เริ่มประชุมเวลา14.00 น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว ต.ละงู อ.ละงู จังหวัดสตูล ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบตามวาระ ดังนี้
  • 1.1 ขอเชิญร่วมเวทีโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรและชนบท เวทีที่ ๒ เวทีนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์และประมวลผลจากการสำรวจข้อมูลบัญชี รายรับ-รายจ่าย และประชาคมคัดเลือกโครงการ เป้าหมาย ๕๐ คน ในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
  • 1.2 การคัดเลือกคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอ.พ.ป.และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
  • 1.3 โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
  • 1.4 ประชุมทีมสภาในการวางแผนทำกิจกรรมรวมเวทีคืนข้อมูลชุมชน 100 คน โดยมีการ
  • กำหนดหน้าทีความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมในการคืนข้อมูลให้กับคนในชุมชน
  • แบ่งหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ผู้เข้าร่วมเวที่คืนข้อมูลมาร่วมเวทีให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
  • ชี้แจงการวางแผนการจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน
  • 2.การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆภายในพื้นที่หมู่บ้านและข่าวสารทางราชการให้ที่ประชุมรับทราบ
  • 2.1 นายประเวทย์ หนูวงศ์ (อสม.) แจ้งประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องสุขภาพ “กินอย่างไรให้ห่างไกลโรคมะเร็ง” เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในเรื่องการป้องกันและระมัดระวังเรื่องสุขภาพ การเกิดโรคมะเร็ง จากพฤติกรรมการบริโภคในแต่ละวัน ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็ง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและปฏิบัติตน เพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายสามารถเอาชนะเซลล์ร้ายที่อยู่ในร่างกายของเราได้
  • 2.2 นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง แจ้งการจัดกิจกรรมลากูเกมส์ ประจำปี 2559 ที่กำลังมีกำหนดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ซึ่งปีนี้ทางหมู่บ้านจะให้มีการส่งนักกีฬาประเภทต่างๆร่วมแข่งขันด้วย เช่น วอลเลย์บอล ฟุตบอล ฟุตซอล และแชร์บอล เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • 2.3 นายดุสิต ขวัญทอง ประชาสัมพันธ์ให้มาประชุมกองทุนหมู่บ้าน ในวันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว ให้สมาชิกชำระเงินกองทุนหมู่บ้าน ทุกวันที่ 14 ของเดือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวจำนวน 30 คนมีการชี้แจงการทำกิจกรรมต่างๆ
    โดยได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี
  • ทีมสภาได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการเตรียมจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
  • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
  • ทีมสภาผู้นำได้รับความรู้เรื่อง "กินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง" เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและปฏิบัติตนให้ถูกต้องในชีวิตประจำวันได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
  • กองทุนหมู่บ้าน
  • ผู้นำศาสนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่13 มีนาคม 2559
13
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 08.00 น. คณะทำงานและผู้นำครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 25 คน เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ บ้านนาลึก หมู่3 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอรัตภูมิและใกล้เคียง โดยมีนายนายชิต ขวัญคำ เป็นวิทยากรและผู้จัดการเรียนรู้ประจำศูนย์ฯ ให้ความรู้การดำเนินวีถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรแบบผสมผสาน
  • เวลา 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
  • เวลา 10.15 น. เดินศึกษากิจกรรมตามศูนย์เรียนรู้ มี 13 ฐานแห่งการเรียนรู้ คือ ฐานที่ 1 ผักพื้นเมืองกินยอด
    ฐานที่ 2 การปลูกไม้ไผ่ตงโดยการตอน
    ฐานที่ 3 ระบบน้ำ E-Wave
    ฐานที่ 4 การเลี้ยงผึ้งโดยธรรมชาติ ฐานที่ 5 การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก ฐานที่ 6 เตาเผาถ่านและเก็บน้ำส้มควันไม้ ฐานที่ 7 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฐานที่ 8 การผลิตอาหารสัตว์ ฐานที่ 9 การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ฐานที่ 10 เตาเผาขยะ
    ฐานที่ 11 แปลงขยายพันธุ์พืช ฐานที่ 12 กับดักแมลงศัตรูพืช ฐานที่ 13 พืชร่วมยาง หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากรและมอบของที่ระลึก
  • เวลา 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • เวลา 13.30 น. เดินทางไปเยี่่ยมชมบ้านสวนของนาย สิกชัย ยาสิน หมู่ที่ 5 บ้านทางงอ ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล พื้นที่ จำนวน 10 กว่าไร่ ในการใช้พื้นที่ปลูกพืชผสมผสานตามแนวเศรฐกิจพอเพียง และกำลังอยู่ในช่วงเก็บผลผลิตจากการปลูกข้าวโพดหวาน เป็นรายได้ในครัวเรือน และปรับพื้นที่บริเวณโดยรอบเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นๆไปด้วย และเป็นเกษตร ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีบทบาทในภาคการเกษตรปัจจุบัน
  • เวลา 16.00 น. รับประทานอาหารว่างและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานและผู้นำครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 25 คน ได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ บ้านนาลึก หมู่ 3 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
    เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเยี่่ยมชมบ้านสวนของนาย สิกชัย ยาสิน หมู่ที่ 5 บ้านทางงอ ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล พื้นที่ จำนวน 10 กว่าไร่
    ในการใช้พื้นที่ปลูกพืชผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  • คณะศึกษาดูงานได้ความรู้ ต้นแบบการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่และครัวเรือนของตนเองได้
  • ได้แนวความคิดการจัดการศูนย์เรียนรู้ เพื่อนำมาจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • ครัวเรือนต้นแบบ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
สรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน8 มีนาคม 2559
8
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้ข้อมูลจากการสำรวจมาผ่านการสังเคราะห์นำไปคืนข้อมูลสู่ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น. ทีมลงพื้นที่สำรวจข้อมูล มาลงทะเบียนและนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จำนวน 312 ชุดมาวิเคราะห์ร่วมกับวิทยากร
โดยวิธีการแยกข้อมูลการวิเคราะห์เป็น 6 ส่วน ประกอบด้วย - ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร - ส่วนที่ 2 สภาพทางเศรษฐกิจสังคม - ส่วนที่ 3 การถือครองที่ดิน - ส่วนที่ 4 ภาระหนี้สินของครัวเรือน
- ส่วนที่ 5 ความสามารถในการออมของครัวเรือน - ส่วนที่ 6 ปัญหาอุปสรรคขัดขวางแนวทางการเพิ่มรายได้และเพิ่มโอกาสการขยายรายได้ โดยทีมวิเคราะห์ข้อมูล นำโดยทีมอสม.และคณะทำงานโครงการ ช่วยกันแยกแยะข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้มา เพื่อสรุปเป็นความถี่ แล้วนำความถี่ที่ได้นำมาคำนวณเป็น "ร้อยละ"ของข้อมูลแต่ละด้านแต่ละคำถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ผ่านการสังเคราะห์ให้เข้าใจง่ายที่สามารถนำไปสู่เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน ให้เข้าใจง่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมลงพื้นที่สำรวจข้อมูล จำนวน 20 คน นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จำนวน 312 ชุดมาวิเคราะห์ร่วมกับวิทยากร
  • ผลลัพธ์จากการสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ทำให้รู้รายรับ รายจ่าย หนีสิ้น และปัญหาของชุมชน จนเข้าใจสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมของชุมชน เข้าใจว่าทำไมจึงเกิดปัญหาหนีสิ้นมาก รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
  • ได้ข้อมูลหนี้สิน และครอบครัวที่ผ่านการวิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นพร้อมนำไปสู่เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชนต่อไป 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 21 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ข้อมูลบางส่วนไม่ครบถ้วนหรือมีน้อย เพราะผู้ตอบแบบสอบถามไม่ให้ข้อมูลหรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 เดือนมีนาคม5 มีนาคม 2559
5
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 30 คน เปิดการประชุมเวลา 14.00 น.โดยนายรอสัก คงทอง ประธานสภาได้เปิดการประชุมตามวาระดังนี้ 1.เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
  • 1.1 ขอเชิญเข้าร่วมโครงการจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้านและโครงการจัดทำเวทีประชาคมแผนชุมชนประจำปี พ.ศ. 2559เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น กำหนดทิศทางในการพัฒนาให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ในวันที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 น. ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
  • 1.2 ขอเชิญร่วมการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ชุมชน “ห้วยมะพร้าวเกมส์” ภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าวและขอความร่วมมือผู้นำกรรมการหมู่บ้านและประชาชนทุกคนในการมีส่วนร่วมการจัดการแข่งขันและร่วมทำกิจกรรมต่างๆภายในกิจกรรมพิธีเปิด การเดินขบวนพาเหรด ในวันที่ 21 มีนาคม และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2559
  • 1.3 ขอเชิญร่วมเวทีโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียง กิจกรรมการให้การศึกษาชุมชน จัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชน เวทีที่1 เวทีชี้แจงและวางแผนการจัดเก็บข้อมูล เป้าหมาย 30 คน ในวันที่ 15 มีนาคม 2559 ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว

    1. นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงผลการลงพื้นที่สำรวจในการจัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน และเตรียมจัดกิจกรรมสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน การวางแผนการสร้างศุนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเริ่มจากนำทีมสภาผู้นำหมู่บ้านไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ บ้านนาลึก หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาเป็นแนวทางและต้นแบบในการทำศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและปรับใช้ในพื้นที่
  • นางสาวเพ็ญศรี ราเหมชี้แจงรายงานการปิดงวด 1 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 โดยสรุปการใช้จ่ายเงินประจำงวด 1 รวมรายรับ = 85,722.62 บาท รวมรายจ่าย= 59,900.00 บาท สรุปเงินคงเหลือ รายรับ - รายจ่าย = 25,822.62 บาท
    1. นายหมาน ยาบา ผู้ใหญ่บ้าน ชี้แจงปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
      จากปัญหาชาวบ้านหลายครัวเรือนได้รับผลกระทบ เนื่องจากน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ และผลกระทบสำหรับครัวเรือนที่ปลูกพืชผลทางการเกษตรที่ไม่ค่อยมีน้ำใช้ในการเกษตรซึ่งชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนได้เรียกร้องอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยแก้ปัญหา โดยเฉพาะครัวเรือนที่ไม่มีน้ำประปาและอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำอื่นๆ ได้รับความเดือดร้อนอย่างมากเพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ทางสมาชิกอบต.ได้ประสานองค์การบริหารส่วนตำบลละงูให้ช่วยบริการแจกจ่ายน้ำดื่มน้ำใช้ โดยให้พี่น้องประชาชนเตรียมภาชนะหรือถังใส่น้ำ เตรียมไว้ให้เรียบร้อย โดยทางอบต.จะจัดสรรน้ำมาแจกจ่ายให้
    1. ภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน
  • นายดุสิต ขวัญทอง แจ้งให้ทราบว่าการขอรับสนับสนุนการเพิ่มทุนระยะที่ 3 หรือล้านที่สอง ทางคณะกรรมการกองทุนได้ดำเนินการยื่นเอกสารขอรับทุนสนับสนุนเรียบร้อยแล้ว แต่เงินยังไม่ได้รับการอนุมัติเข้าบัญชี
  • เรื่องขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว  จำนวน 30 คน  มีการชี้แจงผลการทำกิจกรรมต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี
  • ที่ประชุมมีมติร่วมกันในการวางแผนการสร้างศุนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยเริ่มจากนำทีมสภาผู้นำหมู่บ้านไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ  อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เพื่อเตรียมการวางแผนล่วงหน้านำมาเป็นแนวทางและต้นแบบในการทำศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและปรับใช้ในพื้นที่
  • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
  • ผู้นำศาสนา
  • ประธานกองทุนหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปิดงวด111 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจเอกสารทางการเงินและรายงานเพื่อปิดโครงการงวดที่1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจดูรายละเอียดการเงินในเอกสารให้สอดคล้องกับในเว็ปไซด์และตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนรายงานก่อนพบทีม สจรส.
  • นำเอกสารการเงินให้เจ้าหน้าที่ สจรส.ตรวจสอบความถูกต้องและตรงกับรายงานในเว็ปไซน์
  • ดำเนินการปิดงวดรายงานการเงิน (ง.1)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการตรวจสอบเอกสารการเงินสอดคล้องกับข้อมูลในเว็ปไซด์
  • สามารถปิดงวด 1(ง.1) ได้เรียบร้อย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • เจ้าหน้าที่การเงิน
  • ผู้บันทึกข้อมูล
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ร่วมกับพื้นที่สรุปปิดงวด 1 โครงการ11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อหนุนเสริมพื้นที่ในการปิดงวดโครงการงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ช่วยดูแลพื้นที่ในการตรวจสอบเอกสารก่อนพบทีมสจรส.ในการตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมในเวบไซค์ก่อนปิดงวดโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมคณะทำงานโครงการของพื้นที่มีความเข้าใจสามารถจัดการเอกสารได้ถูกต้อง
  • สามารถปิดโครงการงวดที่ 1 ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • พื้นที่รับผิดชอบโครงการประกอบด้วยตัวแทนคณะทำงานโครงการและเจ้าหน้าที่ข้อมูล
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • เรื่องการจัดการเอกสารอย่างถูกต้อง
  • การเขียนรายงานกิจกรรมลงในเวบไซค์
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์9 กุมภาพันธ์ 2559
9
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 4 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 24 คนโดยนายรอสัก คงทอง ประธานสภาได้เปิดการประชุม

  • เวลา 14.00 น.โดยประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆตามวาระ ให้ข้อเสนอแนะ และชี้แจงปัญหาความต้องการด้านต่างๆในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันนำปัญหาความต้องการที่ได้รับมาช่วยกันแก้ไข

  • นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไปเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพโดยตรงและตามเป้าหมาย และนางสาวอนงค์ รอดเสน ชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณแต่ละกิจกรรมเพื่อให้คณะทำงานเกิดความเข้าใจ ส่วนภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคจากการทำกิจกรรมต่างๆของคณะทำงาน
  • ได้ทีมผู้นำที่พร้อมจะขับเคลื่อนการทำงานไปด้วยกัน
  • เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  • ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการพูดคุยในที่ประชุม
  • สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
  • กองทุนหมู่บ้าน
  • ผู้นำศาสนา
    จำนวน 24 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ลงพื้นที่สำรวจในการจัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน30 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจหนี้สินของคนในชุมชนและสาเหตุปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้สินในครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อสม.และคณะทำงานลงพื้นที่ลงสำรวจครัวเรือน จำนวน 312 ครัวเรือน จำนวน 10 วัน (30 ม.ค. - 8 ก.พ. 59)

โดยทำการสอบถามข้อมูลตามแบบสอบถาม การสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม.11 บ้านห้วยมะพร้าว)
โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ประกอบ คือ

  • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร
  • ส่วนที่ 2 สภาพทางเศรษฐกิจสังคม
  • ส่วนที่ 3 การถือครองที่ดิน
  • ส่วนที่ 4 ภาระหนี้สินของครัวเรือน
  • ส่วนที่ 5 ความสามารถในการออมของครัวเรือน
  • ส่วนที่ 6 ปัญหาอุปสรรคขัดขวางแนวทางการเพิ่มรายได้และเพิ่มโอกาสการขยายรายได้ และสอบถามปัญหาความต้องการของครัวเรือนทุกครัวเรือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำชุมชนได้ข้อมูลหนี้สินเบื้องต้นของคนในชุมชน จำนวน 312 ครัวเรือนจากการสอบถามตามแบบสอบถาม
  • ได้พูดคุยถึงสภาพปัญหาความต้องการของแต่ละครัวเรือน เพือนำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

อสม.และคณะทำงานชุมชน จำนวน  20  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การให้ข้อมูลของคนในชุมชนไม่ค่อยตรงตามความเป็นจริงและไม่ครบถ้วน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารรายงานการเงินก่อนปิดงวดโครงการ29 มกราคม 2559
29
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจเอกสารการเงินและกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการโครงการก่อนปิดงวด
  • ปรับปรุงแก้ไขในระบบและเพิ่มเติมเนี้อหาในระบบให้มมากขึ้น
  • ฟังคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เอกสารที่ถูกต้องพร้อมที่รายงานการปิดงวด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่ค่อยเข้าใจขั้นตอนการจัดทำเอกสารเพราะมีเอกสารประกอบเยอะ ต้องทำความเข้าใจเพื่อความถูกต้อง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
มาพบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน ก่อนปิดงวดโครงการ28 มกราคม 2559
28
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำเอกสารมาให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ
  • ตรวจสอบการเขียนรายงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจการจัดการเอกสาร
  • จัดเรียงเอกสารการเงินแต่ละกิจกรรมครบถ้วน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน26 มกราคม 2559
26
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเครื่องมือและวางแผนในการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา 9.30 น. ณ ห้องโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยมีนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง
    ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานในการเปิดการประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งคณะทำงานและอสม.ในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพร้อมลงพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน

  • ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจะมีการแบ่งโซนเพื่อให้คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนโดยให้คณะทำงานจับคู่กับอสม. 1 คน ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล โดยมีนาง รอย๊ะ เป็นหัวหน้าทีมลงพื้นที่สำรวจ เพื่อติดตามผลและเป็นที่ปรึกษาในระหว่างการลงพื้นที่สำรวจ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เกิดความเข้าใจในแบบสำรวจข้อมูล

• เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกันของ อสม.และเยาวชนในชุมชน

• ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เกิดข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • อสม.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาว อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที 3 เดือนมกราคม11 มกราคม 2559
11
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าวโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป
  • หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และชี้แจงการดำเนินการการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนและการวางแผนในการลงพื้นที่สำรวจ โดยกำหนดจัดประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล มาร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือและวางแผนในการลงเก็บข้อมูลต่อไป
  • หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 23 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล จำนวน 20 คน ตามแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 9 ของเดือน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา ส.อบต. อสม. โรงเรียน กลุ่มสตรี กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 23 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาว อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน8 มกราคม 2559
8
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้แบบสำรวจข้อมูลและข้อมูลที่ต้องการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยมีนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานในการเปิดประชุมทีมวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการทำงาน โดยมีนายปรีชา หมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว เป็นวิทยากรร่วมในการออกแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนและทางคณะทำงาน ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันคิดวิเคราะห์ออกแบบสำรวจ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดิบที่สามารถนำมาวิเคราะห์เป็นชุดข้อมูลของหมู่บ้านที่สมบูรณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชน
  • เกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแบบสำรวจ
  • เกิดกระบวนการคิดร่วมกันและเกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
  • และร่วมกันวางแผนลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 21 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
  • วิทยากร
    จำนวน 21 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม9 ธันวาคม 2558
9
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าวโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป

  • หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนทำความเข้าใจในการกำหนดจัดประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนตามกิจกรรมต่อไป หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 23 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 9 ของเดือน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • ผู้นำศาสนา
  • ส.อบต.
  • อสม.
  • โรงเรียน
  • กลุ่มสตรี
  • กองทุนหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาว อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
อบรมการเขียนรายงาน4 ธันวาคม 2558
4
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนในการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
  • การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
  • การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่
  • ซักถามแลกเปลี่ยน
  • สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดการเอกสารการเงินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เน็ตช้าเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมหลายพื้นที่จึงจำเป็นต้องใช้wifi ส่วนตัวเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็วมากขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ร่วมกับพื้นที่ในการอบรมเรื่องการเขียนรายงาน4 ธันวาคม 2558
4
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารต่างๆในการจัดกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้มีการอบรมเรื่องการเขียนรายงานร่วมกับพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดการเอกสารการเงินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • พื้นที่ที่รับโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เน็ตช้าเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมหลายพื้นที่จึงจำเป็นต้องwifi ส่วนตัวเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็วมากขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ทำความเข้าใจเพิ่มเติมในส่วนที่พื้นที่ยังไม่เข้าใจ
พัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน21 พฤศจิกายน 2558
21
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและใส่แนวคิดการทำงานจิตอาสาการทำงานกับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 10.00 น. นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดเวทีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน โดยเชิญวิทยากรจำนวน 2 ท่านมาให้ความรู้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างภาวะความเป็นผู้นำชุมชนและสร้างกระบวนการการละลายพฤติกรรมเสริมทักษะการเป็นผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง

  • นายรอสักคงทอง ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้กล่าวถึงเป้าหมายทีมสภาผู้นำที่มาร่วมในวันนี้ จำนวน 23 คน การมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ เพื่อให้วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาเสริมทักษะในการเป็นผู้นำ

  • นายปรีชาหมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้ร่วมทีมสภาผู้นำ แนะนำวิทยากรทั้ง 2 ท่าน คือ

  1. นายอุมัธสวาหลัง ผู้อำนวยการโรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 3 ต.สาคร อ.ท่าแพ จ.สตูล
  2. นางสาวสุชดาแซ่ตั้ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่ ต.ท่าเรือ อ.ท่าแพ จ.สตูล
  • การดำเนินกระบวนการตามกิจกรรมที่กำหนด โดยทีมสภาผู้นำรับฟังการบรรยายจากท่านวิทยากร นายอุมัธ สวาหลัง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ เรื่องของการสร้างจิตอาสาการทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้นำที่ดี คือการเป็นผู้นำตามสถานการณ์ การทำงานด้วยจิตอาสาเพื่อชุมชนของตนเองให้สามารถพึ่งตนเองได้หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมการทำงานเป็นทีมผ่านเกมส์ซึ่งดำเนินกิจกรรมโดยวิทยากรทั้งสองท่าน โดยการให้สมาชิกสภาทุกคนเขียนความคาดหวังที่ได้จากกิจกรรมในครั้งนี้ และแบ่งกลุ่มสภาผู้นำเป็น 2 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรม เป็นการฦึกความกล้าแสดงออกในการเป็นผู้นำ การวางแผน การมีไหวพริบที่ดี มีความตั้งใจ การเป็นคนช่างสังเกตุ การเสริมทักษะการฟัง จดจำ และนำข้อมูลที่ได้รับไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นที่ดีและได้รับประโยชน์สูงสุด มีการวางแผนเพื่อเป็นนักวางแผนที่ดี ผ่านกิจกรรมที่กำหนดขึ้น แต่ละกลุ่มแต่ละคนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น กล้าคิดกล้าทำ และปฏิบัติร่วมกันเป็นทีมงานสภาที่เข้มแข็งช่วยเหลือซึ่งกันและกันหลังจากนั้นวิทยากรกำหนดกิจกรรมให้แต่ละทีมร่วมกันวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของหมู่บ้าน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม (วิถีชีวิต,วัฒนธรรม,ประเพณ๊) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทัศนียภาพ ซึ่งแต่ละทีมได้ร่วมกันวิเคราะห์โครงสร้างทางด้านต่างๆทั้งจุดเด่นจุดด้อยที่มีในหมู่บ้าน แล้วออกมานำเสนอให้ทุกคนร่วมรับฟังเพื่อนำมาร่วมกันพัฒนาและแก้ปัญหาร่วมกัน จึงทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน หลังจากนั้นวิทยากรก็ได้สรุปผลการวิเคราะห์ "เมื่อรู้แล้ว - เราควรทำอย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เราพึ่งตนเองได้ โดยจากข้อมูลที่แต่ละทีมร่วมกันวิเคราะห์สามารถนำจุดด้อยไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยผู้นำชุมชนหรือสมาชิกอบต. เพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีวิธีการพึ่งตนเอง การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการนำมาปฏิบัติแก่ตนเองและชุมชนให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้

  • น.ส.สุชดา แซ่ตั้ง ได้พูดคุยเรื่องการทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผู้นำหมู่บ้านควรมีจิตสาธารณะช่วยเหลือผู้อื่นและชุมชน ผู้นำควรมีศักยภาพในการพัฒนาชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน เป็นกิจกรรมที่สามารถเสริมทักษะการสร้างภาวะการเป็นผู้นำที่ดี เปลี่ยนความคิดคนให้มีจิตอาสามากขึ้นการเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานกันเป็นทีมมากขึ้น  ทีมสภาผู้นำที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความรู้ประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนาและร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับชุมชนต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน9 พฤศจิกายน 2558
9
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและสรุปรายงานตามกิจกรรมแต่ละครั้ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งที่ประชุมทราบการจัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน กำหนดขึ้นเพื่อเป็นเวทีร่วมกันปรึกษาหารือ วางแผนการทำงานร่วมกัน เพื่อให้พื้นที่มีสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นแกนนำที่มาช่วยกันขับเคลื่อนงานของชุมชน มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน และให้สภาที่มาจากทุกกลุ่มองค์กรในชุมชน ร่วมกันพัฒนาสภาผู้นำให้มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลืชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็ง และพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงบประมาณที่สนับสนุนเพื่อนำมาพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมไปในทิศทางเดียวกัน โดยงบประมาณทางสสส.ได้มีการจัดการในการสนับสนุนงบประมาณมาให้พื้นที่จำนวน 3 งวด มีการดำเนินการงาน 19 กิจกรรมตามแผนและมีพี่เลี้ยงมาหนุนเสริมการทำงานในพื้นที่

  • นางสาวเพ็ญศรีราเหม ชี้แจงรายงานทางการเงิน และมีการคัดเลือกแต่งตั้งประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการเหรัญญิกและกรรมการฝ่ายต่างๆ นายรอสักคงทอง ผู้ได้รับการคัดเลือกแต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้นำพูดคุยเสนอแนะการวางแผนหรือทำอย่างไรให้ให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่างๆของหมู่บ้านจากสภาผู้นำหมู่บ้าน อยากให้ผู้นำทุกคนมีความสามัคคี ก็จะเกิดเป็นสภาและนำไปสู่ความสำเร็จเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป้หมายของโครงการให้มีครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือนและเกิดสภาผู้นำ 30 คน นายปรีชาหมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียน พูดคุยเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานให้เกิดการร่วมกันขับเคลื่อนงานในหมู่บ้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้หลัก การทำงานเป็นทีมและวางแผนการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมประชุมจากุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมของชุมชน คือ กรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา สมาชิกอบต. ผู้อำนวยการโรงเรียน อสม. กลุ่มสตรี บัณฑิตอาสา และผู้แทนกลุ่มต่างๆ มาร่วมพูดคุยทำความเข้าใจและวางแผนการทำงาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ มีการแต่งตั้งประธาน  รองประธาน  เลขานุการ  เหรัญญิก  และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้อำนวยการโรงเรียน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
  • ผู้นำศานา
  • บัณฑิตอาสา
  • ผู้แทนกลุ่มต่างๆ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา31 ตุลาคม 2558
31
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชนได้รับทราบโครงการและใส่แนวคิดการทำงานจิตอาสา จิตสาธารณะให้กับคนในชุมชนเห็นด้วยในการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มเวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา เวลา 13.30 น. โดยนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมโครงการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ชุมชน (ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว) ได้กล่าวแสดงความยินดีกับพี่น้องบ้านห้วยมะพร้าว ที่ได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและชี้แจงให้กับคนในชุมชนรับทราบ เพื่อให้เห็นวัตถุประสงค์เป้าหมายความเป็นมาของโครงการ ที่เกิดจากความพยายามและความตั้งใจของคณะทำงานโครงการในการขอเสนอโครงการจนได้รับการสนับสนุน คือ โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน (ม.11 บ้านห้วยมะพร้าว)

  • คุณมนัสนันท์นุ่นแก้ว : แนะนำตัวเองและร่วมเป็นวิทยากร เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอละงู ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พูดคุยวิธีการในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

  • คุณรุจิรารักปลื้ม : นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ให้ความรู้เรื่องการเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ซึ่งสอนให้คนไทยรู้จักคำว่าพอเพียง ที่เมื่อก่อนอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก คำว่าพอเพียงคือคำว่าพอดี เราต้องการให้ลดรายจ่ายตามหลัดเศรษฐศาสต์ เท่ากับเพิ่มรายได้ และแนะนำการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำบัญชีครัวเรือน รายรับ-รายจ่าย วิธีการจดบันทึกบัญชีรับ-จ่าย ประจำเดือน ซึ่งการทำบัญชี เพื่อปรับวิธีคิดแล้วจะเหลือ และเพื่อหาอาชีพ

  • นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง : กล่าวขอบคุณวิทยากร จากเวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา ทุกคนต่างมีความฝัน แต่ความฝันต้องมีจิตอาสาด้วย จากการเดินพื้นที่หมู่บ้านมีตรงไหนเป็นจุดเด่นให้ผู้อื่นมาศึกษาดูงานบ้าง ปัจจุบันพบว่ามีการพัฒนามากขึ้น เกิดการรวมกลุ่มปลูกมะนาว สร้างฟาร์มแพะ ฟาร์มวัว และมีครัวเรือนตัวอย่างด้านเศรฐกิจพอเพียง อยากให้เกิดการรวมกลุ่มกัน มีวิธีการคิดแบบเครือข่าย มีสถานที่ศึกษาดูงานในชุมชน และเกิดครัวเรือนต้นแบบ และต่อไปอยากให้มีการเกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการพูดคุยร่วมกัน ซึ่งทุกอย่างทุกกิจกรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คนในชุมชนได้รับทราบโครงการ เข้าใจที่มาที่ไปของการทำงานและได้รับทราบหลักการแนวคิดในการทำงาน ได้รับความรู้ใหม่ๆและมีทัศนคติที่ดีขึ้นเกิดการสร้างแนวคิดจิตอาสาในการร่วมกันทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในชุมชน ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และมีวิทยากรมาให้ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินโครงการ ส่งเสริมความรู้ด้านเกษตรพอเพียงเพื่อให้เกิดการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ตามโครงการ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 57 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • สมาชิกอบต.
  • กลุ่มสตรี
  • ประชาชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง และทางชุมชนไม่มีเสียงตามสายช่วยกระจายข่าวหรือแจ้งเตือนผู้เข้าร่วม รวมทั้งการตั้งบ้านเรือนแต่ละหลังค่อนข้างห่างไกลกันทำให้การบอกต่อเป็นไปได้ยาก ทางโครงการได้หาแนวทางในการแก้ปัญหาในครั้งต่อไป โดยการตั้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ประจำโซนต่าง ๆ ทั่วหมู่บ้าน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ติดตามและหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่16 ตุลาคม 2558
16
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของพื้นที่ก่อนเริ่มทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงโครงการคุณกัลยทรรศน์  ติ้งหวัง และนางสาวอนัญญา  แสะหลี : ชี้แจงในเรื่องเป้าประสงค์หลักของ สสส.ต้องการให้พื้นที่มีสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นแกนนำที่มาช่วยกันขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกประเด็น ซึ่งที่ผ่านมาเราก็มีคณะกรรมการหมู่บ้านแต่ก็ยังไม่เห็นการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมมีความแตกแยกในการทำงานของชุมชนจะเห็นว่าด้วยหลักการแล้วในชุมชนเราเป็นพี่น้องกันส่วนใหญ่แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างทำให้มีความแตกแยก ชี้แจงเรื่องการจัดการงบประมาณ โดยทาง สสส. ได้มีการจัดการในการสนับสนุนงบประมาณมาให้พื้นที่จำนวน 3 งวด และพี่เลี้ยงก็ต้องลงมาหนุนเสริมการทำงานพื้นที่จำนวน 3 ครั้งและนอกเหนือจากนี้คณะทำงานพื้นที่สามารถสอบถามการทำงานได้เพื่อให้งานสามารถขับเคลื่อนได้อย่างลื่นไหล ในการได้มาซึ่งโครงการนี้ก็ขอชื่นชมคณะทำงานก่อการในการเขียนโครงการไม่ท้อเมื่อเจอปัญหาอุปสรรคตอนขาขึ้นโครงการ งบประมาณที่ได้มาเป็นของคนในชุมชนทุกคนไม่ใช่เฉพาะของคนที่เขียนโครงการเท่านั้น ในการเบิกงบประมาณเราสามารถเบิกได้ตามกิจกรรมและให้มีเงินสดในมือไม่เกิน 5,000 บ.และปฏิทินโครงการที่เราได้ทำไว้แล้วนั้นสามารถปรับได้ตามความเป็นจริงในการทำงานของพื้นที่ วันนี้อยากให้เราช่วยกันแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานเพื่อในการขับเคลื่อนงานมีความเข้มแข็งและงานไม่กระจุกกระจายการทำให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของการจดบันทึกการประชุมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงานดังนั้นวันนี้ที่เรามีการประชุมก็ต้องจดบันทึกเพื่อใช้ในการรายงานกิจกรรมและเป็นข้อมูลในการยืนยันการทำงานของพื้นที่ที่เป็นหลักฐานในการทำงานของคณะทำงานสภาผู้นำ ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว และในการทำงานถ้าพื้นที่มีปัญหาพี่เลี้ยงวิเคราะห์แล้วว่าพื้นที่มีความเสี่ยงพี่เลี้ยงก็สามารถระงับโครงการของพื้นที่ได้ทำความเข้าใจเรื่องการส่งรายงานกิจกรรมแต่ละงวดผู้ประสานงานโครงการ ตอกย้ำเรื่องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้สภาผู้นำหมู่บ้านเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งตั้งเป้าว่าในปีแรกนี้ถ้าเราช่วยกันก็น่าจะทำให้เกิดศูนย์เรียนรู้ของคนในชุมชน และมีครัวเรือนต้นแบบอย่างน้อย 40 ครัวเรือน โดยใช้คนที่มีใจอาสาที่เข้ามาร่วมกิจกรรมก่อนเพื่อลดปัญหาความแตกแยกและถ้าคนอื่นๆในชุมชนมีความพร้อมก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เพราะคิดว่าถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จก็จะมีแหล่งทุนเข้ามาหนุนเพื่อให้พื้นที่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างลื่นไหล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการได้รับทราบที่มาของโครงการและเป้าประสงค์ของ สสส.ในการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
  • มีความเข้าใจการทำงานและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน
  • มีการแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานเพื่อให้การทำงานไม่ติดขัด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • การจัดสถานที่ประชุมต้องจัดแบบตัวยูซึ่งเป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วม
  • การจัดการเอกสารให้กับผู้รับผิดชอบ
  • การใช้จ่ายงบประมาณ การถอนเงิน
ประชุมคณะทำงานโครงการ16 ตุลาคม 2558
16
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงการทำงานโครงการและคณะทำงานได้รับทราบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มลงทะเบียนเวลา 09.00 น.ต่อด้วยการร่วมพูดคุยปรึกษาหารือการทำงานร่วมกันในคณะทำงานโครงการ เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม

  • หลังจากนั้นเวลา 14.00 น. นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ประธานโครงการกล่าวแนะนำพี่เลี้ยงโครงการ คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวังและคุณอนัญญา แซะหลี ต่อที่ประชุมและกล่าวขอบคุณที่พร้อมมาให้คำชี้แจงการดำเนินงาน และคำแนะนำ แก่คณะทำงานโครงการ ต่อด้วยประธานโครงการได้กล่าวถึงความตั้งใจในการทำโครงการเพื่อให้เกิดการพัฒนาให้เป็นชุมชนต้นแบบได้ในอนาคต ทีพร้อมให้ภายนอกมาศึกษาดูงานในพื้นที่ได้

  • หลังจากนั้นผู้ประสานงานโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจการทำงานโครงการให้กับผู้ประสานงานได้รับรู้รับทราบข้อมูลการทำงานโครงการ คุณกัลยทรรศน์ติ้งหวัง : พี่เลี้ยงโครงการ ชี้แจงความเป็นมาของการเกิดโครงการนี้ในหมู่บ้าน มาจากความตั้งใจ ความอดทนและความเสียสละของคณะทำงานที่เสนอโครงการจนผ่านขั้นตอน กระบวนการต่างๆจนโครงการผ่านการอนุมัติ และเล่าสถานการณ์ของ สสส.ที่ถูกแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของให้กับคนในชุมชน สสส.คือ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.มี 12 สำนัก และงบประมาณที่ลงมาพื้นที่ในครั้งนี้มาจากสำนัก 6 คือโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โครงการนี้จะมีพี่เลี้ยงโครงการที่คอยหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ และถ้าพื้นที่มีปัญหาอะไรก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเรื่องในส่วนของการขับเคลื่อนงานภายใต้แผนงานที่ร่วมกันกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในการทำงานของพื้นที่ถ้าคณะทำงานเห็นว่าไม่โปร่งใสก็สามารถรายงานไปยังพี่เลี้ยง ซึ่งพี่เลี้ยงมีอำนาจในการระงับโครงการได้สำหรับพื้นที่ตำบลละงู ปีนี้ได้ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน

  • หัวใจของโครงการนี้ต้องการให้เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งชวนคิดชวนคุยในการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกเรื่อง ส่วนการใช้จ่ายงบประมาณที่ให้เกิดความโปร่งใส โดยการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้ระบุรายละเอียดที่ชัดเจน และมีการรายงานค่าใช้จ่ายที่มีเอกสาร หลักฐานทางการเงินที่ชัดเจน

  • คุณอนัญญาแสะหลี : ชี้แจงแผนงานกิจกรรมโดยกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการคือประชุมคณะทำงานสภาผู้นำโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน พัฒนาทีมสภาผู้นำเพื่อการทำงานจิตอาสา การศึกษาดูงาน การจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน อาจจะใช้พื้นที่โรงเรียนหรือพื้นที่ใดก็ได้ที่มีความพร้อมครูโรงเรียน :

  • การจัดพิ้นที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทางโรงเรียนมีความพร้อมและมีพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อมีส่วนร่วมกับชุมชนด้วย เนื่องจากทางโรงเรียนก็มีการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนอยู่แล้ว โดยการร่วมประกวดในระดับโรงเรียนและระดับเขตพื้นที่ เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแก่เด็กนักเรียน ทางโรงเรียนมีความยินดีที่จะร่วมกับชุมชนในการดำเนินโครงการประธาน

  • โครงการ : พูดคุยการวางเป้าหมายให้หมู่บ้านเกิดสภาผู้นำชุมชน เกิดชุมชนเข้มแข็ง สามารถให้คนอื่นมาดูงานได้ เกิดครัวเรือนต้นแบบเน้นการปลูกผักสวนครัว ที่ใช้กินในครัวเรือน จัดหาเมล็ดพันธุ์ ปลูกพืชผักอย่างน้อย 10 ชนิดเพื่อให้มีกินในครัวเรือน เหลือสามารถส่งผลผลิตขายได้ เพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

  • คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : โครงการชุมชนน่าอยู่เริ่มมาจากฐานข้อมูลของชุมชนมีการเรียงลำดับปัญหาที่ชัดเจนว่าปัญหาที่แท้จริงของชุมชนมีอะไรโดยกิจกรรมในการขับเคลื่อนคือการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหาของชุมชน และในเรื่องของงบประมาณเราจะไม่ให้ค่าเดินทางเนื่องจากมีแนวคิดว่าหมู่บ้านจะเข้มแข็งได้คนในหมู่บ้านต้องมีจิตอาสา และเสนอเรื่องการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละฝ่ายเพื่อช่วยในการทำงานโดยอาจจะชักชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่มาช่วยในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้มีคนทำงานมากขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในการทำกิจกรรมของโครงการ ทราบที่มาที่ไปของการดำเนินโครงการ
  • เกิดการวางแผนกิจกรรม สร้างครัวเรือนต้นแบบการปลูกผัก การจัดศูนย์เรียนรู้ที่โรงเรียน
  • เกิดการขับเคลื่อนโครงการโดยการมีสวนร่วมของทุกฝ่ายผ่านสภาผู้นำชุมชนทุกฝ่าย มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการทำโครงการต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • อสม.
  • สมาชิก อบต.
  • ครูโรงเรียน
  • บัณฑิตอาสาฯ
  • กลุ่มสตรี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร15 ตุลาคม 2558
15
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อคืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการรับเงินคืนสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่ 15 ตุลาคม 2558
15
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การวางแผนออกแบบป้ายและดำเนินการในการจัดทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และป้ายโครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)ตามความต้องการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้ประสานงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสารการเงินและป้ายโครงการ14 ตุลาคม 2558
14
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรึกษาการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มาปรึกษาพี่เลี้ยงเรื่องการจัดทำเอกสารและร่วมกันกำหนดวันในการจัดกิจกรรมจริงของพื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีความเข้าใจในการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปฐมนิเทศน์โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่7 ตุลาคม 2558
7
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของพื้นที่ก่อนเริ่มทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. โดยทีมพี่เลี้ยงโครงการในการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานกิจกรรมและทำความเข้าใจเวบไซค์ ทำความเข้าใจเอกสารการเงิน ชี้แจงกิจกรรมหลักในการทำงานของพื้นที่ร่วมกับ สจรส. ให้พื้นที่ลงปฏิทินการทำงานของโครงการ แลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจหลักการทำงานของ สสส.ในการทำโครงการของพื้นที่
  • คณะทำงานได้มีการลงข้อมูลและจัดทำปฏิทินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • แนะนำเรื่องการคีย์ข้อมูลและก็จัดลำดับในการลงวันที่เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง
ปฐมนิเทศโครงการ7 ตุลาคม 2558
7
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางร่อฝีย๊ะ หวันจิ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การบริหารจัดการโครงการ ระบบการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ฟังการชี้แจงจาก สจรส.
  2. ลงแผนการดำเนินงาน
  3. บันทึกกิจกรรม
  4. การเสริมสร้างสมรรถนะขีดความสามารถของผู้รับทุนด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
    ผ่านกระบวนการ ปฐมนิเทศ การอบรมการเขียนรายงาน การจัดการ เอกสารการเงิน
    และการติดตามสนับสนุนโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ฝึกปฏิบัติขั้นตอนการลงข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องการเขียนรายงาน และการจัดการ เอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • เจ้าหน้าที่ข้อมูลโครงการ
  • ผู้ประสานงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี