task_alt

โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

ชุมชน บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ 58-03912 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1926

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การบริหารจัดการโครงการ ระบบการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ฝึกปฏิบัติขั้นตอนการลงข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องการเขียนรายงาน และการจัดการ เอกสารการเงิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ลงแผนการดำเนินงานของโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ฟังการชี้แจงจาก สจรส.
  2. ลงแผนการดำเนินงาน
  3. บันทึกกิจกรรม
  4. การเสริมสร้างสมรรถนะขีดความสามารถของผู้รับทุนด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
    ผ่านกระบวนการ ปฐมนิเทศ การอบรมการเขียนรายงาน การจัดการ เอกสารการเงิน
    และการติดตามสนับสนุนโครงการ

 

2 2

2. พบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสารการเงินและป้ายโครงการ

วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรึกษาการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานมีความเข้าใจในการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เดินทางพบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อปรึกษาการจัดทำเอกสารการเงินใบลงทะเบียนและป้ายไวนิล

กิจกรรมที่ทำจริง

มาปรึกษาพี่เลี้ยงเรื่องการจัดทำเอกสารและร่วมกันกำหนดวันในการจัดกิจกรรมจริงของพื้นที่

 

2 2

3. ทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และป้ายโครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)ตามความต้องการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การเดินทางในการจัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

กิจกรรมที่ทำจริง

การวางแผนออกแบบป้ายและดำเนินการในการจัดทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ

 

2 2

4. คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการรับเงินคืนสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

 

1 1

5. ประชุมคณะทำงานโครงการ

วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงการทำงานโครงการและคณะทำงานได้รับทราบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • คณะทำงานมีความเข้าใจในการทำงานโครงการ และมีส่วนร่วมในการวางแผนงาน นำไปสู่การเกิดสภาหมู่บ้าน หมู่ 11 บ้านห้วยมะพร้าว ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในการทำกิจกรรมของโครงการ ทราบที่มาที่ไปของการดำเนินโครงการ
  • เกิดการวางแผนกิจกรรม สร้างครัวเรือนต้นแบบการปลูกผัก การจัดศูนย์เรียนรู้ที่โรงเรียน
  • เกิดการขับเคลื่อนโครงการโดยการมีสวนร่วมของทุกฝ่ายผ่านสภาผู้นำชุมชนทุกฝ่าย มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการทำโครงการต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อสร้างความเข้าใจการทำงานโครงการและช่วยกันร่วมคิดร่วมคุยร่วมกันทำงานโครงการที่ได้รับให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
  • ร่วมกันวางแผนในการจัดกิจกรรมชี้แจงให้กับคนในชุมชนได้รับทราบแผนการทำงานโครงการ
  • ร่วมกันกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะมาจัดตั้งเป็นสภาหมู่บ้าน
  • แบ่งบทบาทหน้าที่ในการประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะมาเข้าร่วมเวทีชี้แจงโครงการให้กับคนในชุมชน
  • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละครั้งพร้อมรายงานผลการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มลงทะเบียนเวลา 09.00 น.ต่อด้วยการร่วมพูดคุยปรึกษาหารือการทำงานร่วมกันในคณะทำงานโครงการ เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม

  • หลังจากนั้นเวลา 14.00 น. นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ประธานโครงการกล่าวแนะนำพี่เลี้ยงโครงการ คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวังและคุณอนัญญา แซะหลี ต่อที่ประชุมและกล่าวขอบคุณที่พร้อมมาให้คำชี้แจงการดำเนินงาน และคำแนะนำ แก่คณะทำงานโครงการ ต่อด้วยประธานโครงการได้กล่าวถึงความตั้งใจในการทำโครงการเพื่อให้เกิดการพัฒนาให้เป็นชุมชนต้นแบบได้ในอนาคต ทีพร้อมให้ภายนอกมาศึกษาดูงานในพื้นที่ได้

  • หลังจากนั้นผู้ประสานงานโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจการทำงานโครงการให้กับผู้ประสานงานได้รับรู้รับทราบข้อมูลการทำงานโครงการ คุณกัลยทรรศน์ติ้งหวัง : พี่เลี้ยงโครงการ ชี้แจงความเป็นมาของการเกิดโครงการนี้ในหมู่บ้าน มาจากความตั้งใจ ความอดทนและความเสียสละของคณะทำงานที่เสนอโครงการจนผ่านขั้นตอน กระบวนการต่างๆจนโครงการผ่านการอนุมัติ และเล่าสถานการณ์ของ สสส.ที่ถูกแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของให้กับคนในชุมชน สสส.คือ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.มี 12 สำนัก และงบประมาณที่ลงมาพื้นที่ในครั้งนี้มาจากสำนัก 6 คือโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โครงการนี้จะมีพี่เลี้ยงโครงการที่คอยหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ และถ้าพื้นที่มีปัญหาอะไรก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเรื่องในส่วนของการขับเคลื่อนงานภายใต้แผนงานที่ร่วมกันกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในการทำงานของพื้นที่ถ้าคณะทำงานเห็นว่าไม่โปร่งใสก็สามารถรายงานไปยังพี่เลี้ยง ซึ่งพี่เลี้ยงมีอำนาจในการระงับโครงการได้สำหรับพื้นที่ตำบลละงู ปีนี้ได้ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน

  • หัวใจของโครงการนี้ต้องการให้เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งชวนคิดชวนคุยในการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกเรื่อง ส่วนการใช้จ่ายงบประมาณที่ให้เกิดความโปร่งใส โดยการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้ระบุรายละเอียดที่ชัดเจน และมีการรายงานค่าใช้จ่ายที่มีเอกสาร หลักฐานทางการเงินที่ชัดเจน

  • คุณอนัญญาแสะหลี : ชี้แจงแผนงานกิจกรรมโดยกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการคือประชุมคณะทำงานสภาผู้นำโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน พัฒนาทีมสภาผู้นำเพื่อการทำงานจิตอาสา การศึกษาดูงาน การจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน อาจจะใช้พื้นที่โรงเรียนหรือพื้นที่ใดก็ได้ที่มีความพร้อมครูโรงเรียน :

  • การจัดพิ้นที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทางโรงเรียนมีความพร้อมและมีพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อมีส่วนร่วมกับชุมชนด้วย เนื่องจากทางโรงเรียนก็มีการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนอยู่แล้ว โดยการร่วมประกวดในระดับโรงเรียนและระดับเขตพื้นที่ เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแก่เด็กนักเรียน ทางโรงเรียนมีความยินดีที่จะร่วมกับชุมชนในการดำเนินโครงการประธาน

  • โครงการ : พูดคุยการวางเป้าหมายให้หมู่บ้านเกิดสภาผู้นำชุมชน เกิดชุมชนเข้มแข็ง สามารถให้คนอื่นมาดูงานได้ เกิดครัวเรือนต้นแบบเน้นการปลูกผักสวนครัว ที่ใช้กินในครัวเรือน จัดหาเมล็ดพันธุ์ ปลูกพืชผักอย่างน้อย 10 ชนิดเพื่อให้มีกินในครัวเรือน เหลือสามารถส่งผลผลิตขายได้ เพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

  • คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : โครงการชุมชนน่าอยู่เริ่มมาจากฐานข้อมูลของชุมชนมีการเรียงลำดับปัญหาที่ชัดเจนว่าปัญหาที่แท้จริงของชุมชนมีอะไรโดยกิจกรรมในการขับเคลื่อนคือการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหาของชุมชน และในเรื่องของงบประมาณเราจะไม่ให้ค่าเดินทางเนื่องจากมีแนวคิดว่าหมู่บ้านจะเข้มแข็งได้คนในหมู่บ้านต้องมีจิตอาสา และเสนอเรื่องการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละฝ่ายเพื่อช่วยในการทำงานโดยอาจจะชักชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่มาช่วยในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้มีคนทำงานมากขึ้น

 

15 15

6. เวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา

วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนได้รับทราบโครงการและใส่แนวคิดการทำงานจิตอาสา จิตสาธารณะให้กับคนในชุมชนเห็นด้วยในการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • คนในชุมชนเข้าใจที่มาที่ไปของการทำงานและได้รับทราบหลักการในการทำงานของชุมชน
  • คนในชุมชนจำนวน 80 คนเข้าร่วมประชุม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนในชุมชนได้รับทราบโครงการ เข้าใจที่มาที่ไปของการทำงานและได้รับทราบหลักการแนวคิดในการทำงาน ได้รับความรู้ใหม่ๆและมีทัศนคติที่ดีขึ้นเกิดการสร้างแนวคิดจิตอาสาในการร่วมกันทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในชุมชน ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และมีวิทยากรมาให้ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินโครงการ ส่งเสริมความรู้ด้านเกษตรพอเพียงเพื่อให้เกิดการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ตามโครงการ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อให้คนในชุมชนได้รับทราบโครงการและใส่แนวคิดการทำงานจิตอาสา จิตสาธารณะให้กับคนในชุมชนเห็นด้วยในการทำงาน
  • ประชุมทีมคณะทำงานโครงการเพื่อวางแผนงานประสานผู้เข้าร่วมประชุม
  • ประสานผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นคนในชุมชนจำนวน 80 คนเพื่อมาให้รับรู้รับทราบความเป็นมาของโครงการและพูดคุยเพื่อหาความร่วมมือในการทำงานโครงการต่อไป
  • สรุปผลการดำเนิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มเวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา เวลา 13.30 น. โดยนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมโครงการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ชุมชน (ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว) ได้กล่าวแสดงความยินดีกับพี่น้องบ้านห้วยมะพร้าว ที่ได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและชี้แจงให้กับคนในชุมชนรับทราบ เพื่อให้เห็นวัตถุประสงค์เป้าหมายความเป็นมาของโครงการ ที่เกิดจากความพยายามและความตั้งใจของคณะทำงานโครงการในการขอเสนอโครงการจนได้รับการสนับสนุน คือ โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน (ม.11 บ้านห้วยมะพร้าว)

  • คุณมนัสนันท์นุ่นแก้ว : แนะนำตัวเองและร่วมเป็นวิทยากร เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอละงู ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พูดคุยวิธีการในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

  • คุณรุจิรารักปลื้ม : นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ให้ความรู้เรื่องการเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ซึ่งสอนให้คนไทยรู้จักคำว่าพอเพียง ที่เมื่อก่อนอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก คำว่าพอเพียงคือคำว่าพอดี เราต้องการให้ลดรายจ่ายตามหลัดเศรษฐศาสต์ เท่ากับเพิ่มรายได้ และแนะนำการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำบัญชีครัวเรือน รายรับ-รายจ่าย วิธีการจดบันทึกบัญชีรับ-จ่าย ประจำเดือน ซึ่งการทำบัญชี เพื่อปรับวิธีคิดแล้วจะเหลือ และเพื่อหาอาชีพ

  • นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง : กล่าวขอบคุณวิทยากร จากเวทีจุดประกายความคิดชุมชนในการทำงานจิตอาสา ทุกคนต่างมีความฝัน แต่ความฝันต้องมีจิตอาสาด้วย จากการเดินพื้นที่หมู่บ้านมีตรงไหนเป็นจุดเด่นให้ผู้อื่นมาศึกษาดูงานบ้าง ปัจจุบันพบว่ามีการพัฒนามากขึ้น เกิดการรวมกลุ่มปลูกมะนาว สร้างฟาร์มแพะ ฟาร์มวัว และมีครัวเรือนตัวอย่างด้านเศรฐกิจพอเพียง อยากให้เกิดการรวมกลุ่มกัน มีวิธีการคิดแบบเครือข่าย มีสถานที่ศึกษาดูงานในชุมชน และเกิดครัวเรือนต้นแบบ และต่อไปอยากให้มีการเกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการพูดคุยร่วมกัน ซึ่งทุกอย่างทุกกิจกรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในชุมชน

 

82 57

7. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและสรุปรายงานตามกิจกรรมแต่ละครั้ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 1 สภา ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมประชุมจากุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมของชุมชน คือ กรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา สมาชิกอบต. ผู้อำนวยการโรงเรียน อสม. กลุ่มสตรี บัณฑิตอาสา และผู้แทนกลุ่มต่างๆ มาร่วมพูดคุยทำความเข้าใจและวางแผนการทำงาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ มีการแต่งตั้งประธาน  รองประธาน  เลขานุการ  เหรัญญิก  และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานของชุมชน
  • มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง จำนวน 10 ครั้งต่อปี
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้ง ที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
  • สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งที่ประชุมทราบการจัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน กำหนดขึ้นเพื่อเป็นเวทีร่วมกันปรึกษาหารือ วางแผนการทำงานร่วมกัน เพื่อให้พื้นที่มีสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นแกนนำที่มาช่วยกันขับเคลื่อนงานของชุมชน มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน และให้สภาที่มาจากทุกกลุ่มองค์กรในชุมชน ร่วมกันพัฒนาสภาผู้นำให้มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลืชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็ง และพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงบประมาณที่สนับสนุนเพื่อนำมาพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมไปในทิศทางเดียวกัน โดยงบประมาณทางสสส.ได้มีการจัดการในการสนับสนุนงบประมาณมาให้พื้นที่จำนวน 3 งวด มีการดำเนินการงาน 19 กิจกรรมตามแผนและมีพี่เลี้ยงมาหนุนเสริมการทำงานในพื้นที่

  • นางสาวเพ็ญศรีราเหม ชี้แจงรายงานทางการเงิน และมีการคัดเลือกแต่งตั้งประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการเหรัญญิกและกรรมการฝ่ายต่างๆ นายรอสักคงทอง ผู้ได้รับการคัดเลือกแต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้นำพูดคุยเสนอแนะการวางแผนหรือทำอย่างไรให้ให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่างๆของหมู่บ้านจากสภาผู้นำหมู่บ้าน อยากให้ผู้นำทุกคนมีความสามัคคี ก็จะเกิดเป็นสภาและนำไปสู่ความสำเร็จเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป้หมายของโครงการให้มีครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือนและเกิดสภาผู้นำ 30 คน นายปรีชาหมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียน พูดคุยเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานให้เกิดการร่วมกันขับเคลื่อนงานในหมู่บ้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้หลัก การทำงานเป็นทีมและวางแผนการทำงาน

 

30 23

8. พัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและใส่แนวคิดการทำงานจิตอาสาการทำงานกับชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • คณะทำงานสามารถบริหารจัดการและมีแนวคิดการทำงานจิตอาสาการทำงานกับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน เป็นกิจกรรมที่สามารถเสริมทักษะการสร้างภาวะการเป็นผู้นำที่ดี เปลี่ยนความคิดคนให้มีจิตอาสามากขึ้นการเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานกันเป็นทีมมากขึ้น  ทีมสภาผู้นำที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความรู้ประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนาและร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและใส่แนวคิดการทำงานจิตอาสาการทำงานกับชุมชน
  • ประชุมเตรียมทีมงานในการจัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพทีมทำงาน
  • ประสานวิทยากรกระบวนการ
  • เตรียมสถานที่จัดอบรม
  • สรุปผลการจัดอบรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 10.00 น. นายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดเวทีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน โดยเชิญวิทยากรจำนวน 2 ท่านมาให้ความรู้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างภาวะความเป็นผู้นำชุมชนและสร้างกระบวนการการละลายพฤติกรรมเสริมทักษะการเป็นผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง

  • นายรอสักคงทอง ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้กล่าวถึงเป้าหมายทีมสภาผู้นำที่มาร่วมในวันนี้ จำนวน 23 คน การมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ เพื่อให้วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาเสริมทักษะในการเป็นผู้นำ

  • นายปรีชาหมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้ร่วมทีมสภาผู้นำ แนะนำวิทยากรทั้ง 2 ท่าน คือ

  1. นายอุมัธสวาหลัง ผู้อำนวยการโรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 3 ต.สาคร อ.ท่าแพ จ.สตูล
  2. นางสาวสุชดาแซ่ตั้ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่ ต.ท่าเรือ อ.ท่าแพ จ.สตูล
  • การดำเนินกระบวนการตามกิจกรรมที่กำหนด โดยทีมสภาผู้นำรับฟังการบรรยายจากท่านวิทยากร นายอุมัธ สวาหลัง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ เรื่องของการสร้างจิตอาสาการทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้นำที่ดี คือการเป็นผู้นำตามสถานการณ์ การทำงานด้วยจิตอาสาเพื่อชุมชนของตนเองให้สามารถพึ่งตนเองได้หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมการทำงานเป็นทีมผ่านเกมส์ซึ่งดำเนินกิจกรรมโดยวิทยากรทั้งสองท่าน โดยการให้สมาชิกสภาทุกคนเขียนความคาดหวังที่ได้จากกิจกรรมในครั้งนี้ และแบ่งกลุ่มสภาผู้นำเป็น 2 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรม เป็นการฦึกความกล้าแสดงออกในการเป็นผู้นำ การวางแผน การมีไหวพริบที่ดี มีความตั้งใจ การเป็นคนช่างสังเกตุ การเสริมทักษะการฟัง จดจำ และนำข้อมูลที่ได้รับไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นที่ดีและได้รับประโยชน์สูงสุด มีการวางแผนเพื่อเป็นนักวางแผนที่ดี ผ่านกิจกรรมที่กำหนดขึ้น แต่ละกลุ่มแต่ละคนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น กล้าคิดกล้าทำ และปฏิบัติร่วมกันเป็นทีมงานสภาที่เข้มแข็งช่วยเหลือซึ่งกันและกันหลังจากนั้นวิทยากรกำหนดกิจกรรมให้แต่ละทีมร่วมกันวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของหมู่บ้าน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม (วิถีชีวิต,วัฒนธรรม,ประเพณ๊) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทัศนียภาพ ซึ่งแต่ละทีมได้ร่วมกันวิเคราะห์โครงสร้างทางด้านต่างๆทั้งจุดเด่นจุดด้อยที่มีในหมู่บ้าน แล้วออกมานำเสนอให้ทุกคนร่วมรับฟังเพื่อนำมาร่วมกันพัฒนาและแก้ปัญหาร่วมกัน จึงทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน หลังจากนั้นวิทยากรก็ได้สรุปผลการวิเคราะห์ "เมื่อรู้แล้ว - เราควรทำอย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เราพึ่งตนเองได้ โดยจากข้อมูลที่แต่ละทีมร่วมกันวิเคราะห์สามารถนำจุดด้อยไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โดยผู้นำชุมชนหรือสมาชิกอบต. เพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีวิธีการพึ่งตนเอง การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการนำมาปฏิบัติแก่ตนเองและชุมชนให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้

  • น.ส.สุชดา แซ่ตั้ง ได้พูดคุยเรื่องการทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผู้นำหมู่บ้านควรมีจิตสาธารณะช่วยเหลือผู้อื่นและชุมชน ผู้นำควรมีศักยภาพในการพัฒนาชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ

 

30 23

9. อบรมการเขียนรายงาน

วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนในการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดการเอกสารการเงินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
  • การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
  • การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่
  • ซักถามแลกเปลี่ยน
  • แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
  • สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
  • การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
  • การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่
  • ซักถามแลกเปลี่ยน
  • สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน

 

2 2

10. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม

วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 1 สภา ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 23 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 9 ของเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานของชุมชน
  • มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง จำนวน 10 ครั้งต่อปี
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้ง ที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
  • สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าวโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป

  • หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนทำความเข้าใจในการกำหนดจัดประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนตามกิจกรรมต่อไป หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน

 

30 23

11. ประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน

วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ได้แบบสำรวจข้อมูลและข้อมูลที่ต้องการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินที่ได้ร่วมกันออกแบบจำนวน 1 ชุดที่เข้าใจตรงกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชน
  • เกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแบบสำรวจ
  • เกิดกระบวนการคิดร่วมกันและเกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
  • และร่วมกันวางแผนลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อทำความเข้าใจเรื่องข้อดีของการได้มาซึ่งข้อมูลและร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจที่จะต้องลงเก็บข้อมูล
  • ประสานทีมคณะทำงานโครงการและทีมวิชาการจำนวน 20 คนมาช่วยออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน
  • จัดทำแบบสำรวจเพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนโดยใช้เด็กเยาวชนและอาสาสมัครสาธารณสุขลงพื้นที่คู่กันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วย
  • สรุปผลการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.ณ อาคารโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยมีนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานในการเปิดประชุมทีมวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน บ้านห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการทำงาน โดยมีนายปรีชา หมีนคลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว เป็นวิทยากรร่วมในการออกแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนและทางคณะทำงาน ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันคิดวิเคราะห์ออกแบบสำรวจ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดิบที่สามารถนำมาวิเคราะห์เป็นชุดข้อมูลของหมู่บ้านที่สมบูรณ์

 

21 21

12. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที 3 เดือนมกราคม

วันที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 1 สภา ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 23 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล จำนวน 20 คน ตามแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 9 ของเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานของชุมชน
  • มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง จำนวน 10 ครั้งต่อปี
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้ง ที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
  • สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าวโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป
  • หลังจากนั้นนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และชี้แจงการดำเนินการการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนและการวางแผนในการลงพื้นที่สำรวจ โดยกำหนดจัดประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล มาร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือและวางแผนในการลงเก็บข้อมูลต่อไป
  • หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน

 

30 23

13. ประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน

วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเครื่องมือและวางแผนในการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกัน
  • ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เกิดข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกพื้นที่

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

• เกิดความเข้าใจในแบบสำรวจข้อมูล

• เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกันของ อสม.และเยาวชนในชุมชน

• ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เกิดข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือและวางแผนในการลงเก็บข้อมูล
  • นัดทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน เยาวชน 10 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 10 คน มาพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจเครื่องมือ
  • แบ่งโซนเพื่อให้คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนโดยให้จับคู่กับ อสม.ในการลงพื้นที่สำรวจ
  • สรุปการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มประชุมเวลา 9.30 น. ณ ห้องโรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว โดยมีนายอับดุลเลาะห์โส๊ะเต่ง
    ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานในการเปิดการประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งคณะทำงานและอสม.ในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพร้อมลงพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน

  • ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจะมีการแบ่งโซนเพื่อให้คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนโดยให้คณะทำงานจับคู่กับอสม. 1 คน ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล โดยมีนาง รอย๊ะ เป็นหัวหน้าทีมลงพื้นที่สำรวจ เพื่อติดตามผลและเป็นที่ปรึกษาในระหว่างการลงพื้นที่สำรวจ

 

20 20

14. มาพบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน ก่อนปิดงวดโครงการ

วันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจการจัดการเอกสาร
  • จัดเรียงเอกสารการเงินแต่ละกิจกรรมครบถ้วน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจเอกสารการเงิน และรายงานกิจกรรมในเว็บไซน์ก่อนปิดงวดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นำเอกสารมาให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ
  • ตรวจสอบการเขียนรายงานโครงการ

 

2 2

15. พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารรายงานการเงินก่อนปิดงวดโครงการ

วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจเอกสารการเงินและกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้เอกสารที่ถูกต้องพร้อมที่รายงานการปิดงวด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตรวจสอบเอกสารรายงานการเงินและบัญชีเพื่อตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการโครงการก่อนปิดงวด
  • ปรับปรุงแก้ไขในระบบและเพิ่มเติมเนี้อหาในระบบให้มมากขึ้น
  • ฟังคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง

 

2 2

16. ลงพื้นที่สำรวจในการจัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน

วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจหนี้สินของคนในชุมชนและสาเหตุปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้สินในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานเก็บข้อมูลมีความชำนาญในการเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • แกนนำชุมชนได้ข้อมูลหนี้สินเบื้องต้นของคนในชุมชน จำนวน 312 ครัวเรือนจากการสอบถามตามแบบสอบถาม
  • ได้พูดคุยถึงสภาพปัญหาความต้องการของแต่ละครัวเรือน เพือนำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชน
  • ทีมเก็บข้อมูลแบ่งทีมกันลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสำรวจที่ได้ร่วมกันออกแบบจำนวน 10 วัน
  • ทีมลงเก็บข้อมูลมีการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
  • สรุปผลการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

อสม.และคณะทำงานลงพื้นที่ลงสำรวจครัวเรือน จำนวน 312 ครัวเรือน จำนวน 10 วัน (30 ม.ค. - 8 ก.พ. 59)

โดยทำการสอบถามข้อมูลตามแบบสอบถาม การสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม.11 บ้านห้วยมะพร้าว)
โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ประกอบ คือ

  • ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร
  • ส่วนที่ 2 สภาพทางเศรษฐกิจสังคม
  • ส่วนที่ 3 การถือครองที่ดิน
  • ส่วนที่ 4 ภาระหนี้สินของครัวเรือน
  • ส่วนที่ 5 ความสามารถในการออมของครัวเรือน
  • ส่วนที่ 6 ปัญหาอุปสรรคขัดขวางแนวทางการเพิ่มรายได้และเพิ่มโอกาสการขยายรายได้ และสอบถามปัญหาความต้องการของครัวเรือนทุกครัวเรือน

 

20 20

17. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 1 สภา ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคจากการทำกิจกรรมต่างๆของคณะทำงาน
  • ได้ทีมผู้นำที่พร้อมจะขับเคลื่อนการทำงานไปด้วยกัน
  • เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  • ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการพูดคุยในที่ประชุม
  • สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานของชุมชน
  • มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง จำนวน 10 ครั้งต่อปี
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้ง ที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
  • สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 4 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยมะพร้าว จำนวน 24 คนโดยนายรอสัก คงทอง ประธานสภาได้เปิดการประชุม

  • เวลา 14.00 น.โดยประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่างๆตามวาระ ให้ข้อเสนอแนะ และชี้แจงปัญหาความต้องการด้านต่างๆในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันนำปัญหาความต้องการที่ได้รับมาช่วยกันแก้ไข

  • นายอับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง ชี้แจงผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไปเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพโดยตรงและตามเป้าหมาย และนางสาวอนงค์ รอดเสน ชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณแต่ละกิจกรรมเพื่อให้คณะทำงานเกิดความเข้าใจ ส่วนภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน

 

30 24

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 45 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,895.00 59,900.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 52                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. คนในชุมชนไม่เข้าใจในการใช้งบประมาณของโครงการ
  2. คนในชุมชนคาดหวังจากการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ
  3. ชุมชนไม่เข้าใจในการทำงานร่วมกัน
  • เป็นโครงการใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในหมู่บ้าน
  • ชุมชนเกิดจากความเคยชินจากการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ ในลักษณะของการให้ โดยไม่คำนึงถึงการทำงาน
  • คนในชุมชนมีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานส่วนตัวเนื่องจากต้องหารายได้มาจุนเจือครอบครัวให้เพียงพอ ต้องออกหางานทำข้างนอก จึงไม่ค่อยมีเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน
  • คณะทำงานได้ประชุมชี้แจงถึงที่มาที่ไปของโครงการและการใช้จ่ายเงินในแต่ละกิจกรรม
  • จัดกิจกรรมในการละลายพฤติกรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก
  • จัดตั้งกลุ่ม ให้ทุกคนสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ทำให้ชุมชนเกิดความรักความสามัคคีและมีความเข้าใจในการทำงานร่วมกันมากขึ้น

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 เดือนมีนาคม ( 5 มี.ค. 2559 )
  2. สรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน ( 8 มี.ค. 2559 )
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่ ( 13 มี.ค. 2559 )
  4. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที 6 เดือนเมษายน ( 18 เม.ย. 2559 )
  5. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 7 เดือนพฤษภาคม ( 14 พ.ค. 2559 )
  6. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 8 เดือนมิถุนายน ( 24 มิ.ย. 2559 )
  7. พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามและปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ ( 14 ก.ค. 2559 )
  8. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 9 เดือนกรกฎาคม ( 19 ก.ค. 2559 )
  9. เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนอย่างน้อย 100 คน ( 23 ก.ค. 2559 )
  10. ประชุมทำความเข้าใจการทำงานร่วมกับครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน ( 24 ก.ค. 2559 )
  11. อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริง ( 30 ก.ค. 2559 )
  12. อบรมใส่แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 ครัวเรือน ( 31 ก.ค. 2559 )
  13. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ( 6 ส.ค. 2559 )
  14. พัฒนาพื้นที่เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน ( 12 ส.ค. 2559 - 13 ส.ค. 2559 )
  15. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 10 เดือนสิงหาคม ( 14 ส.ค. 2559 )
  16. ทบทวนกติกาหมู่บ้าน ( 15 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย อับดุลเลาะห์ โส๊ะเต่ง
ผู้รับผิดชอบโครงการ