directions_run

มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจรากเหง้าประวัติศาสตร์ของชุมชน
ตัวชี้วัด : - ได้ข้อมูลผังเครือญาติจำนวน 1 ชุด

 

 

  • มีข้อมูลผังเครือญาติในชุมชน จำนวน 7 ตระกูล คือ ตระกูลนาคสง่า ตระกูลขุนนา ตระกูลโสธามาด ตระกูลกูลดีน ตระกูลอุสมา ตระกูลติงหวัง และตระกูลแดงนุ้ย เพื่อนำสู่การป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากพันธุกรรม คือโรค ความดันโลหิตและโรคเบาหวาน
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมปฏิบัติปรับปรุงสภาพพื้นที่เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้
ตัวชี้วัด : - คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตลอดโครงการร้อยละ 80 - มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ 1 แห่ง - มีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

 

 

  • คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตลอดโครงการร้อยละ 80
  • ใช้มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ ม.17 บ้านวังช่อนชัย ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สร้างความสามัคคีและสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพื่อลดความแตกแยกในชุมชน
3 เพื่อพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการทำงานของชุมชน
ตัวชี้วัด : - มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน1ชุด - เกิดสภาหมู่บ้าน1สภา - มีการประชุมสภาผู้นำจำนวน10ครั้งต่อปี - สมาชิกสภาประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านจำนวน35คน - มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ80 - มีแผนปฏิบัติการจัดกิจกรรมชุมชนอย่างน้อย5แผน

 

 

  • คณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน1ชุดที่ช่วยกันทำงานในหมู่บ้าน
  • ประชุมสภาผู้นำจำนวน10ครั้งต่อปี ในการขับเคลื่อนการทำงานต่างๆในชุมชน และเกิดกระบวนการแสดงความคิดเห็น การมีส่วนร่วมการทำงานในชุมชน
  • สภาผู้นำหมู่บ้านประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านจำนวน35คน เช่น กลุ่ม อสม. กลุ่มสตรี อบต. คณะกรรมการมัสยิด
  • ผู้เข้าร่วมประชุมร้อยละ 80 เช่น กิจกรรมการประชุมประชาคม ร่วมแสดงความคิดเห็น การจัดสภาอาซูรอฮ์ และการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ของชุมชน
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • ได้รับคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดทำป้ายโครงการและป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  • ถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  • จัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด