directions_run

ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

assignment
บันทึกกิจกรรม
หนุนเสริมพื้นที่ในการตรวจสอบเอกสารการเงินปิดโครงการ15 ตุลาคม 2016
15
ตุลาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงานโครงการตรวจสอบเอกสารก่อนจะให้พี่เลี้ยงและทีม สจรส.ตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ
  • พี่เลี้ยงและทีม สจรส.ตรวจสอบรายงานกิจกรรมเติมเต็มเพื่อความสมบูรณ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานพื้นที่สามารถปรับเอกสารการเงินให้ถูกต้องตามที่ผู้ตรวจเอกสารแนะนำสามารถปิดโครงการได้
  • ได้มีการเติมเต็มข้อมูลกิจกรรมในเวบไซค์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการจำนวน 2 คน
  • ทีมสจรส.จำนวน 3 คน
  • คณะทำงานพื้นที่ๆละ 2 คน จำนวน 35 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เอกสารในแต่ละโครงการมีหลายกิจกรรมทำให้ตรวจสอบล่าช้าบางพื้นที่ไม่สามารถตรวจได้ในวันเดียว

แนวทางแก้ไข

  • ให้พื้นที่ที่ยังไม่ได้ตรวจเอกสารการเงินไปตรวจที่ สจรส.มอ.ภาคใต้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ให้พื้นที่ปรับเอกสารและรายงานกิจกรรมตามคำแนะนำของพี่เลี้ยงและทีมสจรส.
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดทำรูปถ่ายงบประมาณ15 ตุลาคม 2016
15
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย yaowalak
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำข้อมูลรูปถ่ายเก็บเป็นฐานข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ถ่ายภาพกิจกรรมโครงการเพื่อรายงานผล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ภาพถ่ายกิจกรรมโครงการที่สามารถถ่ายทอดเป็นสื่อความรู้ต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์15 ตุลาคม 2016
15
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย yaowalak
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รายงานรูปเล่มฉบับสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อดำเนินการจัดทำรายงาน และจัดทำเอกสารการเงิน15 ตุลาคม 2016
15
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อดำเนินการจัดทำรายงาน และตรวจสอบเอกสารการเงิน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเอกสารการเงิน ตรวจสอบรายงาน
    และได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ตรวจสอบเอกสารการเงิน และตรวจสอบรายงาน
  • ได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขรายงานให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อดำเนินการจัดทำรายงาน และจัดทำเอกสารการเงิน14 ตุลาคม 2016
14
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานและตรวจสอบเอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้ดำเนินการพบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อทำการตรวจสอบรายงานและเอกสารทางการเงิน พร้อมทั้งได้รับคำชี้แนะและเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ จากนั้นได้ปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมให้รายงานเกิดความสมบูรณ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการจัดทำรายงานและเอกสารการเงิน
  • ได้ตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  • ได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยงโครงการ
  • เกิดการปรับปรุงรายงานและเพิ่มเติมให้สมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ เพื่อสรุปผลการทำงานโครงการและจัดทำแผนงานในการทำโครงการ ระยะถัดไป7 ตุลาคม 2016
7
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลการทำงานโครงการและจัดทำแผนงานในการทำโครงการ ระยะถัดไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 7 ตุลาคม 2559 นางสุกัลญา ดำเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวเปิดการดำเนินกิจกรรมถอดบทเรียนการทำงานโครงการ เพื่อสรุปผลการทำงานโครงการและจัดทำแผนงานในการทำโครงการ ระยะถัดไป เพื่อให้คณะทำงานโครงการได้ช่วยกันสรุปการดำเนินโครงการที่ผ่านมา และได้เชิญ นางนภาภรณ์แก้วเหมือนตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ร่วมเป็นวิทยาในกิจกกรรมการถอดบทเรียนในครั้งนี้

  • จากนั้นวิทยากรได้เริ่มดำเนินกิจกรรม โดยให้คณะทำงานโครงการเล่าถึงอดีตที่มาของโครงการโดยนางสุกัลญา ดำเดิม ได้ดำเนินการเล่าถึงความเป็นมาของโครงการ ดังนี้โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาที่มีในชุมชน จนพบว่าลักษณะการเป็นอยู่ของคนในชุมชนและพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหาร เพราะส่วนใหญ่คนในชุมชนจะประกอบอาชีพการทำเกษตร เช่น กรีดยาง ทำนาในฤดูทำนา พฤติกรรมความเป็นอยู่โดยรวมคือ หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจในอาชีพหลักของแต่ละวัน จะใช้เวลาว่าง ในการพักผ่อน นอนหลับ กินแล้วนอน ทำให้เกิดการสะสมของไขมันทำให้เกิดภาวะโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ตามมา จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการดังกล่าว ต่อจากน้้นวิทยากร ได้กล่าวถึงกิจกรรมถอดบทเรียนโครงการโดยแบ่งเป็น
  1. ความคาดหวังในโครงการ
  • คนในชุมชนเห็นความสำคัญของสุขภาพตนเองและคนรอบข้าง
  • ลดความเสี่ยง เบาหวาน ความดัน
  • ไม่ให้เกิดโรคเพิ่มขึ้น
  • ต้องการให้มีกิจกรรมในชุมชนเรื่อยๆ เช่น การอบรมให้ความรู้เรื่อง ผักสวนครัวและพืชสมุนไพร
  • เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
  1. คิดว่าเกิดความสำเร็จอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนมากขึ้น
  • ตรงกับปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน
  • ทำให้เกิดความตระหนักเรื่องการบริโภคมากขึ้น
  • คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ
  • เห็นประโยชน์ ทำแล้วเกิดประโยชน์
  1. อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
  • อยากให้มีการตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปรุงอาหาร เช่น ในงานบุญ หรืองานแต่งในชุมชน อยากให้ลดอาหารรสจัด และหลีเลี่ยงการปรุงด้วยผงชูรส
  • อยากให้เห็นโทษของอาหารรสจัด และผลที่ตามมา
  1. ปัญหาและอุปสรรค
  • ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง
  • รู้แล้วทำเฉย ไม่เกี่ยวอะไรกับตน
  • อยากนอนพักผ่อน ไม่อยากร่วมกิจกรรม
  1. ข้อเสนอแนะ
  • อยากให้มีการต่อยอดโครงการ เพื่อชุมชนมีกิจกรรมดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
  • อยากให้เน้นเรื่องสุขภาพ
  • ต้องการให้ต่อยอดเรื่องการอบรมพืชสุมนไพรกับสุขภาพ เพราะสามารถนำไปใช้ได้จริง
  • อยากเห็นคนในชุมชนให้ความร่วมมือแบบนี้ทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรมต่างๆ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ร่วมกันสรุปผลการดำเนินการโครงการที่ผ่านมา
  • ได้ข้อคิดและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การจัดการระยะถัดไป
  • ทำให้เห็นว่าทุกคนให้ความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 107 ตุลาคม 2016
7
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสุนันทา ใหม่สวัสดิ์วันนี้มีเรื่องดีๆ มานำเสนอกันอีกแล้ว ซึ่งวันนี้จะมานำเสนอเรื่องใกล้ตัวของเราที่คนส่วนใหญ่อาจมองข้าม ในเรื่องอาหารการกิน การบริโภค คือ ผักและผลไม้มีประโยชน์อย่าง เชิญรับฟังได้เลยค่ะ

  • ผักและผลไม้เป็นที่ทราบกันดีว่าผักและผลไม้นั้นมีประโยชน์มากมายมหาศาล เพราะเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีคุณสมบัติของการเป็นแหล่งใยอาหาร ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลและไขมัน และยังช่วยทำให้ระบบการย่อย ระบบการขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติอีกด้วย นอกจากนี้ผักและผลไม้บางชนิดยังมีสารพิเศษที่ช่วยทำหน้าที่คล้ายยาป้องกันและรักษาโรคบางชนิด

ประโยชน์ของผักผลไม้

1.ผักผลไม้เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การรับประทานผักผลไม้เป็นประจำจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงมีอายุยืนยาว และมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต

2.ผักผลไม้มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ รวมไปถึงโรคมะเร็ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งลำไส้)

3.ช่วยป้องกันความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย บำรุงสุขภาพและอวัยวะภายในร่างกาย

4.การรับประทานผักผลไม้เป็นประจำจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ และช่วยป้องกันโรคท้องผูกได้ 5. ผักผลไม้บางชนิดยังสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อบำบัดและรักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เช่น ไข้หวัด ร้อนใน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ตาฝ้าฟาง แผลอักเสบ เหน็บชา เป็นต้น

  1. ผักผลไม้บางชนิดก็เป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เช่น กล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ ผักสลัด ถั่ว หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด เป็นต้น

  2. การรับประทานผักผลไม้สามารถช่วยพัฒนาสมอง เสริมสร้างความจำ และเป็นอาหารสมองได้เป็นอย่างดี เพราะสารอาหารที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท มักจะพบได้ในอาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ

  3. ช่วยบำรุงสายตา ผักผลไม้บางชนิดจะมีวิตามินสูง สารอาหารที่ชื่อว่าลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารที่สำคัญในการบำรุงสายตา โดยผักผลไม้ที่วิตามินเอสูง ได้แก่ แครอท ฟักทอง ผักบุ้ง ผักคะน้า ตำลึง มะละกอ มะม่วงสุก เป็นต้น

  4. การรับประทานผักผลไม้ก็ทำให้ผิวพรรณของคุณดูสวยงามขึ้นได้ เพราะนอกจากจะช่วยทำให้มีหุ่นเพรียวสวยแล้ว ผักผลไม้บางชนิดยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งเป็นอาหารผิวที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของผิว ทำให้ผิวพรรณมีเลือดฝาด ผิวดูมีสุขภาพดีและเรียบเนียน อีกทั้งยังช่วยในการสังเคราะห์คอลาเจนในเซลล์ จึงช่วยทำให้ผิวแน่นและยืดหยุ่น เต่งตึง ไม่เหี่ยวย่นก่อนวัยอันควรได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของผักผลไม้ 5 สี

-ผักผลไม้สีเขียว โดยสารที่ให้สีเขียวก็คือสารคลอโรฟิลล์ และยังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติบำรุงสุขภาพ เช่น ลูทีน ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง และลดการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตาได้ เป็นต้น ผักผลไม้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ชะอม ผักคะน้า ผักโขม บล็อกโคลี่ ชมพู่เขียว แตงไทย ฝรั่ง พุทรา น้อยหน่า มะกอกน้ำ อะโวคาโด องุ่นเขียว แอปเปิ้ลเขียว ฯลฯ

-ผักผลไม้สีขาวหรือสีน้ำตาล จะมีสารฟลาโวนอยด์อยู่หลายชนิด ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยลดอาการปวดข้อเข่า ซึ่งจะพบได้มากในเนื้อและเปลือกมังคุด แก้วมังกรเนื้อขาว ฝรั่ง แอปเปิ้ล และผลไม้อื่น ๆ เช่น กล้วย เงาะ ลางสาด ลองกอง ลิ้นจี่ พุทรา เป็นต้น

-ผักผลไม้สีเหลืองหรือสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีน ฟลาโวนอยด์ วิตามินซี ที่่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง กระตุ้นการกำจัดเซลล์มะเร็งของร่างกาย ช่วยดูแลรักษาสุขภาพหัวใจ หลอดเลือด และระบบภูมคุ้มกันภายในร่างกาย ผักผลไม้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ข้าวโพด แครอท ฟักทอง กล้วย ขนุน แคนตาลูปสีเหลือง มะละกอสุก ส้ม สับปะรด แอปริคอต เป็นต้น

-ผักผลไม้สีแดงหรือสีชมพูอมม่วง จะมีสารในกลุ่ม Lycopene และ Betalain ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากของผู้ชาย ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ช่วยปริมาณของไขมันร้าย (LDL) ภายในเลือด และบำรุงระบบทางเดินปัสสาวะ โดยจะพบอยู่ในผักผลไม้จำพวกดอกกระเจี๊ยบ แก้วมังกรเนื้อชมพู แตงโม ตะขบ ชมพู่แดง เชอร์รี่ มะเขือเทศ มะละกอเนื้อแดง หัวบีทรูท หัวหอม สตรอเบอร์รี่ แอปเปิ้ลแเดง เป็นต้น

-ผักผลไม้สีม่วงแดงหรือสีม่วงหรือสีน้ำเงิน จะอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และกลุ่ม Polyphenol ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ป้องกันการทำลายของรังสีอัลตร้าไวโอเลต ช่วยปกป้องทุกเซลล์ให้พ้นภัยจากเซลล์มะเร็งตัวร้าย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผนังหลอดเลือด ช่วยลดการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดท้องเสีย ช่วยต้านไวรัส และลดการอักเสบได้ ผักผลไม้กลุ่มนี้ได้แก่ กะหล่ำปลีม่วง ข้าวเหนียวดำ ข้าวแดง ข้าวนิล ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง ถั่วดำ ถั่วแดง เผือก มันสีม่วง มะเขือม่วง หอมแดง ดอกอัญชัน น้ำว่านกาบหอย ลูกหว้า ลูกไหน ลูกพรุน บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ องุ่นแดง องุ่นม่วง เป็นต้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับข่าวข้อมูลข่าวสารเรื่องประโยชน์ของผัก และผลไม้
  • สามารถเลือกรับประทานได้ตามความเหมาะสม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม.ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 96 ตุลาคม 2016
6
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางวรรณดีตรีมีน ประธาน อสม. ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในชุมชน สำหรับวันนี้นำเสนอเรื่อง โรคที่มากับหน้าฝน มีโรคอะไรบ้าง เชิญรับฟังได้เลยค่ะ

1.กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร

ที่พบบ่อยคือ โรคท้องเดิน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน รวมทั้งการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือใช้น้ำที่ไม่สะอาด เช่น น้ำคลอง มาประกอบอาหาร และยังรวมถึงการรับประทานอาหารที่ปรุงไว้นานข้ามมื้อ หรือเกิน 6 ชั่วโมง เช่น อาหารกล่องที่ทำไว้สำหรับคนจำนวนมาก ที่อาจจะบูดเสียได้ง่าย ๆ

คำแนะนำ

1.ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ไม่ควรทานอาหารค้างคืน หรือปรุงเสร็จมานานหลายชั่วโมงแล้ว เพราะอาหารอาจบูดเน่า

2.ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำที่ต้มแล้ว หรือน้ำบรรจุขวดที่มี อย.รับรองคุณภาพ

3.ควรเลือกซื้อน้ำแข็งที่ไม่มีตะกอน และไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้สำหรับแช่อาหารอื่น

4.ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ควรล้างมือให้สะอาดเป็นนิสัย

5.ถ่ายอุจจาระลงในส้วม และล้างมือทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระเสร็จ หากเป็นช่วงน้ำท่วม ไม่สามารถเข้าส้วมได้ ควรถ่ายอุจจาระลงในถุงพลาสติก แล้วใส่ปูนขาวจำนวนพอสมควรลงไปในถุง มัดปิดปากถุงให้แน่น แล้วใส่ถุงดำซ้อนอีกชั้นหนึ่งก่อนนำไปทิ้ง ไม่ควรถ่ายอุจจาระลงน้ำเด็ดขาด เพราะจะยิ่งเป็นการแพร่เชื้อโรค


2.กลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งร้อนจัด ฝนตก ก็ทำให้คนป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศ แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงแค่การไอ จาม หรือมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ฉะนั้นแล้ว เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเมื่อเวลาไอ จาม หรือจะสวมหน้ากากอนามัยก็เป็นวิธีป้องกันที่ดี ที่สำคัญ อย่าลืมหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เราอาจจะไปสัมผัสมา หรือป้องกันไม่ให้เราแพร่เชื้อโรคไปสู่คนอื่น

และนอกจากโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่แล้ว ยังมีโรคคออักเสบ หลอดลมอักเสบ และโรคปอดบวมที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ซึ่งโรคปอดบวมนี้ถือเป็นโรคอันตรายถึงชีวิตหากเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้น หากพ่อแม่สังเกตว่า ลูกหลานมีไข้ ไอ หายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที

คำแนะนำ

1.เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเมื่อเวลาไอ จาม หรือจะสวมหน้ากากอนามัยก็เป็นวิธีป้องกันที่ดี

2.หมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เราอาจจะไปสัมผัสมา หรือป้องกันไม่ให้เราแพร่เชื้อโรคไปสู่คนอื่น

3.หลีกเลี่ยงการคลุกคลี หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เพื่อป้องกันการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย


3.โรคเลปโตสไปโรซิส หรือ ไข้ฉี่หนู

หลายคนเข้าใจผิดว่า โรคฉี่หนูมีพาหะคือ "หนู" เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว พาหะของโรคฉี่หนู มีได้ทั้งสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข สุกร โค กระบือ รวมทั้งสัตว์ป่า และสัตว์ที่มีฟันแทะทั้งหลาย โดยเชื้อเหล่านี้จะปะปนอยู่ในน้ำ และสิ่งแวดล้อมในที่ที่มีน้ำท่วมขัง หากใครสัมผัสถูก เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยขีดข่วน เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา เยื่อบุในช่องปากได้ง่าย ๆ

อาการเด่น ๆ ของโรคนี้คือ หลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะมักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่อง และโคนขาอย่างรุนแรง และตาแดง คอแข็ง สลับกับไข้ลด หากเป็นมากอาจมีจุดเลือดออกที่เพดานปาก หรือตามผิวหนัง จนกระทั่งตับวาย ไตวายได้เลยทีเดียว

คำแนะนำ

1.สำหรับคนที่มีไข้ แต่ไข้ไม่สูงมาก ควรเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะ และรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล แต่ห้ามใช้แอสไพรินเด็ดขาด

2.หากต้องเดินย่ำน้ำท่วม หรือน้ำสกปรก ต้องล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งหลังจากย่ำน้ำแล้ว และใช้ผ้าสะอาดเช็ดเท้าให้แห้ง อย่าปล่อยให้เท้าเปียก อับชื้น นอกจากนี้ หากจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ต้องสวมใส่รองเท้าบูทให้เรียบร้อย

4.โรคน้ำกัดเท้า

กลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้คือคนที่ต้องเดินในแหล่งน้ำ ลุยน้ำสกปรกนาน ๆ เช่น คนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง หรือต้องลุยน้ำขังในช่วงฝนตก โดยเชื้อราจะทำให้ผิวหนังซอกนิ้วเท้าแดง ขอบนูนเป็นวงกลม และคัน แต่ถ้าไปเกา แผลจะแตกและมีน้ำเหลืองเยิ้มออกมา

คำแนะนำ

1.หลีกเลี่ยงการเดินในที่ที่มีน้ำขัง หรือน้ำท่วม แต่หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรรีบเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้ง และอาจต้องสวมรองเท้าบูท

2.หากผิวหนังเริ่มเปื่อย เกิดตุ่มคัน น้ำกัดเท้า หรือมีบาดแผล ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการดังกล่าวก่อนที่จะลุกลามจนทำให้เกิดโรแทรกซ้อน

5.โรคไข้เลือดออก

พาหะนำโรคไข้เลือดออกก็คือ "ยุงลาย" ซึ่งหากได้รับเชื้อประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง (38.5-41 องศาเซลเซียส) ติดต่อกัน 2-7 วัน หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก บางรายเบื่ออาหาร ปวดท้อง อาเจียน จากนั้นจะมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามลำตัว ในรายที่มีอาการรุนแรงจะเกิดภาวะช็อกหลังไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ตัวเย็น ปากเขียว บางรายมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ถ่ายเป็นเลือด หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 12-24 ชั่วโมง

ข้อควรระวังคือ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ห้ามทานยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น

6.โรคมาลาเรีย

เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่มากับ "ยุงก้นปล่อง" ซึ่งมักอาศัยอยู่ในป่าตามแนวชายแดน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่นเป็นพัก ๆ ในเวลาเดิม ๆ แต่หากไปพบแพทย์ทันก็สามารถรักษาหายได้ด้วยการทานยาไม่กี่วัน แต่หากไปพบแพทย์ช้า ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง ภาวะปอดบวมน้ำ ภาวะไตวาย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ฉะนั้น วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ อย่าให้ตัวเองถูกยุงกัด เช่น อาจทายากันยุง หรือนอนในมุ้งชุบสารเคมี

7.โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี

เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมี "ยุงรำคาญ" ซึ่งแพร่พันธุ์ตามแหล่งน้ำในทุ่งนาเป็นพาหะนำโรค โดยยุงรำคาญได้รับเชื้อมาจาก "หมู" และเมื่อมากัดคนก็จะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนไปด้วย หากคนได้รับเชื้อแล้วมักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่ในบางรายอาจมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียน และอ่อนเพลีย บางรายที่มีอาการรุนแรง อาจไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตได้ ขณะที่บางรายหากหายป่วยแล้ว อาจมีความพิการทางสมอง สติปัญญาเสื่อม และเป็นอัมพาตได้

คำแนะนำสำหรับโรคที่มียุงเป็นพาหะ

1.พยายามอย่าให้ถูกยุงกัด โดยการทายากันยุง และควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงเป็นประจำ ทั้งในแจกันดอกไม้ พลูด่าง หรือตู้รองกับข้าว จานรองกระถางต้นไม้

2.หากมีอาการไข้ และเพิ่งกลับจากการพักค้างแรมในป่ามา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อรับการตรวจเลือดหาเชื้อมาลาเรีย


8.โรคเยื่อตาอักเสบ หรือ โรคตาแดง

เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และติดต่อกันง่ายเพียงการสัมผัส หรือใช้ของส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งการใช้น้ำที่ไม่สะอาดล้างหน้า อาบน้ำ น้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา ก็ทำให้เยื่อตาอักเสบ และตาแดงได้

คำแนะนำ

1.ระวังอย่าให้น้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา หากมีน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตาแล้ว ให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งทันที

2.อย่าใช้มือ แขน หรือผ้าที่สกปรกขยี้ตา หรือเช็ดตา

3.อย่าใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคตาแดง หรือเยื่อตาอักเสบ


9.อันตรายจากสัตว์มีพิษ

ในช่วงน้ำท่วม อาจมีสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง หนีน้ำท่วมเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ซึ่งหากไม่ระวังก็อาจถูกสัตว์เหล่านี้กัด หรือต่อยได้

คำแนะนำ

ดูแลรักษาความสะอาดในบ้าน จัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษมาอยู่อาศัย หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันได้

10.โรคอาหารเป็นพิษ จากเห็ดพิษ

ในช่วงหน้าฝนทุกปีจะเป็นช่วงที่มีเห็ดพิษเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นจำนวน มาก ซึ่งหากใครไปรับประทานเห็ดพิษเหล่านี้เข้าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจล้มป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โดยจากสถิติที่ผ่านมาของกรมควบคุมโรค พบว่า ชาวภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้เสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษมากที่สุด

คำแนะนำ

วิธีการป้องกันก็คือ ไม่ควรเก็บเห็ดที่ไม่แน่ใจ หรือเห็ดที่ไม่เคยมีใครรับประทานมาปรุงอาหารทาน ควรรับประทานเฉพาะเห็ดที่แน่ใจแล้วเท่านั้น นอกจากนี้ เห็ดยังเน่าเสียได้เร็วหากเก็บไว้นาน จึงควรแช่ตู้เย็นไว้ และหากเป็นเห็ดที่ไม่เคยทานมาก่อน ควรทานเพียงเล็กน้อยในครั้งแรก เพราะเห็ดบางชนิดอาจไม่เป็นพิษต่อคนอื่น แต่อาจเป็นพิษต่อเราก็เป็นได้


นอก จากคำแนะนำข้างต้นแล้ว เราก็ควรหมั่นรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และอบอุ่นอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือตามประกาศของทางราชการด้วย

และที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นโรคที่มากับหน้าฝน ซึ่งช่วงนี้ในพื้นที่หมู่บ้านของเรามีฝนตกเกือบทุกวัน ดังนั้น เรามาดูแลสุขภาพของตั

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบข่าวสารการประชาสัมพันธ์โรคที่มากับหน้าฝน
  • คนในชุมชนเกิดความตระหนักในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพของตน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม.ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เปิดพื้นที่กลางเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการปลูกพืชสมุนไพร และพืชสวนครัวโดยใช้พื้นที่มัสยิดบ้านเกาะยวน4 ตุลาคม 2016
4
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเกิดศูนย์การเรียนรู้และได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 4-5 ตุลาคม 2559 ได้จัดกิจกรรมเปิดที่กลางเป็นศูนย์เรียนรู้ในเรื่องของการปลูกพืชสมุนไพรและพืชสวนครัว ซึ่งบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นตัวแทนในชุมชนจำนวน 30 คน ร่วมปลูกผักสวนครัวที่ได้นำพันธุ์ผักจากครัวเรือนของตนมาร่วมกันปลูกในพื้นที่กลางเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน เช่น พริก มะเขือ ตะไคร้ กระเพรา เป็นต้น จากนั้นวันที่ 2 ของการดำเนินกิจกรรม โดยมีวิทยากรเข้าร่วมให้ความรู้อบรมเรื่องการทำปุ๋ยหมัก ได้รับเกียรติจากวิทยากร คือ น.ส.มนัสนันท์ นุ่นแก้ว เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอละงู ได้ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัว และผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืช วัสดุอินทรีย์ที่ใช้จะเป็นปุ๋ยคอก เช่น มูลไก่ มูลวัน มูลค้างคาว รำละเอียด ยูเรีย ฟอสเฟส สำหรับการหมัก อาจใช้ขุยปาล์ม ซากพืชก็ได้ เพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM กากน้ำตาลผสมเข้าด้วยกันและนำมารดให้ทั่ว จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อนจึงจำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน้ำให้ทั่ว ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และหากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุด และความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อมใช้งานแล้ว

  • กิจกรรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และต้องการให้ชุมชนมีการจัดกิจกรรมที่ทำร่วมกันเรื่อยๆ เพื่อให้คนในชุมชนได้มาพบปะกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้ความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ศูนย์เรียนรู้ที่เป็นพื้นที่กลางในการทำเรื่องพืชผักสวนครัวรั้วกินได้
  • เกิดความรู้ในเรื่องการทำปุ๋ยหมักและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
  • ชุมชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมและสามารถต่อยอดออกไปได้
  • เกิดการพบปะกันของคนในชุมชนและอยากให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้เรื่อยๆ
  • ได้ปุ๋ยชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ในการปลูกพืชสวนครัว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
งานสร้างสุข3 ตุลาคม 2016
3
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำเสนอผลการประเมิน รวบรวมสถานการณ์ และการจัดการความรู้ด้านระบบสุขภาพของภาคใต้ สู่ภาคีเครือข่ายพันธมิตรที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 3 ตุลาคม เวลา 12.00-13.00 น.มีการแสดงโขน และพิธีเปิด โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และกล่าวพิธีเปิด โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เวลา 13.30-15.00 มีการปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการเสวนาเรื่องมุมมองใหม่ในการพััฒนาระบบสุขภาพในอนาคตการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยเฉพาะการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง4ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมากเมื่อปี2543ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่ององค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงเรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายนปี2558ถึงเดือนสิงหาคม2573 ครอบคลุมระยะเวลา15ปีโดยประกอบไปด้วย17เป้าหมายคือองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน17เป้าหมายหลักเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมิติสุขภาวะของโลกและประเทศไทย

  • วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00-17.00 น.ประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ชมวิดีทัศน์การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นมีการเสวนา เรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่สาธารณะโครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชันสน จังหวัดพัทลุง โดยผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จากนั้นมีการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร และต่อมาได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการจัดการจัดการขยะ ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นเด็กและเยาวชน ประเด็น การจัดการทรัพยากรและการท่องเทียว และประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย วันที่5ตุลาคม2559เวลา10.30-11.45น.หัวข้อเสวนาการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียนภาคใต้มีกระบวนการขับเคลื่อนงานสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยในทุกๆปีจะมีการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ปีละครั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อที่หลากหลายโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับประเทศมาเป็นวิทยากรนอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐอาจารย์นักวิจัยนักศึกษาระดับบัณฑิตอาสาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปการประชุมห้องย่อยตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ซึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นวิกฤตสุขภาพได้แก่

  1. ความมั่นคงทางมนุษย์

  2. ความมั่นคงทางอาหาร

  3. ความมั่นคงทางทรัพยากร

  4. ความมั่นคงทางสุขภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทราบการดำเนินงานการทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน
  • การดำเนินการทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่แต่ละสำนักมีความแตกต่างกันแต่เกิดการสมดุล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
หนุนเสริมติดตามการทำงานของพื้นที่ในการตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมโครงการ1 ตุลาคม 2016
1
ตุลาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมก่อนปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทำความเข้าใจการรายงานกิจกรรมโครงการในเวบไซค์เพื่อเติมเต็มข้อมูล
  • ตรวจสอบเอกสารการเงินของพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานได้เติมเต็มข้อมูลรายงานกิจกรรม
  • ตรวจสอบเอกสารการเงินปรับแก้เพื่อความถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • คณะทำงานพื้นที่
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้พื้นที่รายงานกิจกรรมตามที่ได้แนะไปไปในทุกกิจกรรม
พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามและดำเนินการจัดทำรายงาน เอกสารการเงิน1 ตุลาคม 2016
1
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานก่อนปิดงวดโครงการ งวดที่ 2
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ดำเนินการตรวจสอบรายงานกิจกรรมโครงการและ ตรวจสอบเอกสารเงินก่อนปิดงวด 2
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รายงานที่สมบูรณ์
  • ได้ตรวจสอบเอกสาร และตรวจสอบความถูกต้อง 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 81 ตุลาคม 2016
1
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาพบกันเช่นเคย หลังจากห่างหายไป สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ที่ผ่านมาได้จัดให้ความรู้เกี่ยวผักสวนครัวและพืชสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ความดัน และวันนี้เราจะมาให้ความรู้ในเรื่องของสมุนไพรใกล้ตัวที่ช่วยรักษาโรคต่างๆ เชิญรับฟังได้เลยค่ะ

  1. สมุนไพรรักษาแผลในทางเดินอาหาร     ขมิ้น เหง้าขมิ้นมีน้ำมันหอมระเหยและสารสีเหลือง คือ เคอร์คิวมินมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนที่ใช้ เหง้าสดตากแห้ง บดเป็นผง
        กล้วยดิบ ผลกล้วยดิบกระตุ้นให้เชลล์ในเยื่อบุกระเพาะอาหารหลั่งสาร มาเคลีอบแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนที่ใช้ ผลกล้วยดิบฝานเป็นแว่น ตากแห้ง บดเป็นผง

  2. สมุนไพรแก้อาการท้องเสีย     ฟ้าทะลายโจร สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสียและอาการในระบบทางเดินหายใจได้ ยาลูกกลอน นำใบสดมาตากแห้ง บดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน     ฝรั่ง ส่วนที่ใช้ ใบแก่หรือผล ใบฝรั่งมีแทนนินและน้ำมันหอมระเหย สารแทนนินมีฤทธิ์ลดการระคายเคืองของลำไส้และลดการเสียน้ำ สารสกัดจากใบฝรั่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ วิธีใช้ ใช้ใบแก่ ปิ้งไฟและชงน้ำดื่ม ใช้ผลอ่อนฝนน้ำปูนใสดื่มเมื่อท้องเสีย

  3. สมุนไพรแก้อาการคลื่นไส้     ยอ ส่วนที่ใช้ ผลดิบหรือผลห่ามสด วิธีใช้ ใช้ผลยอฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบนำมาต้มหรือชงน้ำดื่ม     ขิง ส่วนที่ใช้ เหง้าแก่ วิธีใช้ ใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้อเอาน้ำดื่ม

  4. สมุนไพรที่มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ     มะเกลือ ส่วนที่ใช้ ผลดิบ มีสารที่ละลายน้ำได้ แต่ไม่ดูดซึมในกระเพาะและลำไส้ เมื่อพยาธิกินจะทำให้พยาธิตายได้ ใช้ได้ผลดีกับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิปากขอ วิธีใช้ ผลสดสีเขียว จำนวนเท่ากับอายุ แต่ไม่เกิน 25 ผล โขลกพอแหลกแล้วผสมกับหัวกะทิสด คั้นเอาแต่น้ำ

  5. สมุนไพรแก้อาการเบื่ออาหาร     บอระเพ็ด ใช้เถาหรือต้นสดตำคั้นเอาน้ำดื่ม     มะระขี้นก ผลอ่อนใช้รับประทานเพื่อเจริญอาหาร ผลสุกห้ามรับประทานเพราะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน     ขี้เหล็ก ใช้ใบอ่อนและดอกตูมปรุงเป็นอาหาร

  6. สมุนไพรแก้กลากเกลื้อน     กระเทียม ฝานกระเทียมแล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือตำคั้นน้ำทาบริเวณที่เป็น     ชุมเห็ดเทศ ตำใบชุมเห็ดเทศผสมน้ำทาบริเวณที่เป็น     ทองพันชั่ง ตำใบให้ละเอียดแช่เหล้านาน 7 วัน     พลู ตำใบให้ละเอียดแช่เหล้า คั้นน้ำนำมาทา

  7. สมุนไพรแก้เริม งูสวัด     พญายอ ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำทาบริเวณที่เป็น

  8. สมุนไพรแก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
        ว่านหางจระเข้ ส่วนที่ใช้ วุ้นจากใบ วิธีใช้ ใช้วุ้นโดยล้างยางสีเหลืองให้สะอาด เอาวุ้นใสมาพอกแผลให้ชุ่มตลอดเวลาในชั่วโมงแรก หลังจากนั้นทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย

  9. สมุนไพรแก้เคล็ด ขัดยอก     ไพล ใช้เหง้าแก่ ตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ

  10. สมุนไพรแก้อาการไอ มีเสมหะ     ขิง ใช้เหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว หรือขิงสดตำผสมน้ำ ใช้จิบ     มะขามป้อม  มะนาว  มะขาม  มะแว้งเครือ มะแว้งต้น

และที่กล่าวทั้งหมดนี้ เป็นสมุนไพรที่หาง่ายในครัวเรือน เราสามารถนำมาดัดแปลงเป็นยาสมุนไพรได้ ลองทำดูกันนะค่ะ ปลอดภัย และหาง่าย สำหรับวันนี้ขอจบการประชาสัมพันธ์เพียงเท่านี้ สวัสดีค่ะ    

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำให้คนในชุมชนได้รับความรู้ดีๆ เกี่ยวกับสมุนไพรที่มีในครัวเรือน และรักษาโรคได้
  • ทำให้คนในชุมชนเกิดความสนใจและหันมาปลูกพืชสมุนไพรไว้ใช้เอง และยังนำมาบริโภคได้
  • ทุกคนสามารถนำไปบอกต่อให้กับบุคคลใกล้เคียงได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม. ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้30 กันยายน 2016
30
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรังและผักสวนครัว สมุนไพรในครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสุกัลญา ดำเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวเปิดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้และพืชสมุนไพรที่สามารถช่วยในเรื่องของโรคเบาหวาน ความดัน และได้กล่าวเชิญ นางสาวเฉลิม บัวดำ ตำแหน่งแพทย์แผนไทยปฏิบัติการ ประจำโรงพยาบาลละงู เป็นวิทยากรในการอบรมในครั้ง
นางสาวเฉลิม บัวดำ ตำแหน่งแพทย์แผนไทยปฏิบัติการ ได้กล่าวสวัสดี และ พูดถึงเรื่องสุขภาพของคนในชุมชนและสถานการณ์โรคที่พบบ่อย โดยสาเหตุหลัก ที่พบมักมาจากการบริโภค การเป็นอยู่ และบริโภคผักที่ปนเปื้อนสารพิษ วิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้ห่างไกลจากโรคควรเลือกที่จะปลูกผักไว้กินเอง ในบ้านอย่างคนละ 10 ชนิด เช่น ตะไคร้ พริก ผักบุ้ง กะเพรา เป็นต้น ควรหลีเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด หวาน มัน เค็ม และควรออกกำลังกาย เพราะดูจากสภาพทั่วไป บ้านเกาะยวน มีพื้นที่ที่สามารถใช้ออกกำลังกายได้ สำหรับวันนี้นอกจากจะแนะนำในเรื่องของการรับประทานผักและยังมีเรื่องสมุนไพรใกล้ตัวที่สามารถช่วยในเรื่องของสุขภาพและยังช่วยในผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดัน เช่น
1. 5 สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนในวัยทำงานและวัยชรา มักประสบปัญหาความดันโลหิตสูงกันเป็นจำนวนมาก เพราะวิถีชีวิตที่เร่งรีบขึ้นทำให้หลายคนต้องรีบบริโภค โดยไม่มีเวลามาพิจารณาอาหารที่กินเข้าไป และเวลาที่มีจำกัดทำให้ออกกำลังกายได้น้อยลงด้วย แต่วันนี้มีทางเลือกเป็นสมุนไพรไทยที่ช่วยลดความดันโลหิตสูงมาฝาก

  • กระเทียม วิธีการกิน ซอยกระเทียมสดประมาณครึ่งช้อนชา กินพร้อมอาหารวันละ 2-3 ครั้ง หรือจะใช้วิธีเคี้ยวสดหลังมื้ออาหาร แต่ไม่ควรกินตอนท้องว่าง เพราะกระเทียมมีฤทธิ์ร้อยอาจทำให้แสบกระเพาะได้

  • ขึ้นฉ่าย วิธีการกิน ควรเลือกต้นสดที่สะอาด แข็งแรง วิธีแรกคือ นำมาตำและคั้นเอาน้ำมาดื่ม อีกวิธีคือนำต้นสด 1-2 กำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาต้มกับน้ำจนเดือด จากนั้นกรองเอากากออก ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

  • กระเจี๊ยบแดง ตามตำรายาไทยระบุว่า นอกจากกระเจี๊ยบแดงจะช่วยลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไข้ และแก้อาการนิ่วได้อีกด้วย วิธีการกิน ใช้กลีบแห้งต้มน้ำ หรือชงน้ำร้อนดื่มเป็นชากระเจี๊ยบ

  • บัวบก ตามตำรายาไทยทั่วไป นิยมใช้บัวบกบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลี ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน วิธีการกิน นำต้นสด 1-2 กำมาต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำชา หรือกินสดร่วมกับมื้ออาหาร

  • กาฝากมะม่วงเป็นไม้พุ่มปรสิตที่ขึ้นบนกิ่งไม้ใหญ่ โดยเฉพาะพบบ่อยบนต้นมะม่วง วิธีการใช้ ตำรายาไทยให้นำมาตากแห้ง หรือตากแล้วคั่ว จากนั้นนำมาดื่มต่างน้ำชา

  1. สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • มะระขี้นก มะระขี้นก สมุนไพรไทยที่ขึ้นชื่อในเรื่องการลดระดับน้ำตาลในเลือด เรียกว่าเป็นสมุนไพรที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างแท้จริง ด้วยเพราะสารซาแรนติน ในผลมะระขี้นกที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ต้านอาการของโรคเบาหวาน และช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อน เพิ่มความทนทานต่อกลูโคสของร่างกาย และช่วยเร่งการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด

  • ตดหมูตดหมา
    แม้ว่าชื่ออาจจะแปลกไปสักนิด แต่สรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้นไม่มีบกพร่องเลยแม้แต่น้อย โดยมีการศึกษาในสัตว์ทดทองพบว่า สารสกัดของใบตดหมูตดหมาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการเพิ่มการหลั่งของอินซูลินในร่างกาย

  • อบเชย
    อบเชย หรือชินนามอน เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่มีสารสำคัญในการช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อีกทั้งยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย โดยแค่เพียงโรยผงอบเชยลงในอาหารที่รับประทานก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

  • เห็ดหลินจือ
    อีกหนึ่งสุดยอดสมุนไพรจีนล้ำค่าที่อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยา ไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งเท่านั้น แต่ยังมีคุณกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย เนื่องจากในเห็ดหลินจือมีสารในกลุ่มโพลีแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน อีกทั้งยังช่วยให้น้ำตาลที่อยู่ในเลือดถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

  • ตำลึง ตำลึง สมุนไพรที่ถูกนำมาใช้รักษาเบาหวานนานนับพันปี โดยตำราแพยท์แผนอายุรเวทระบุไว้ว่า ตำลึงสามารถใช้ในการรักษาโรคเบาหวานได้แทบจะทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็นราก เถา หรือใบ อีกทั้งยังเป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีพอๆ กับโสม แค่เพียงรับประทานตำลึงเพียงวันละ 50 กรัม ติดต่อกันเป็นประจำทุกวันก็สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติได้

  • มะเขือพวง
    มะเขือพวงที่คนไทยนิยมใส่ลงในอาหารไทยหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน พะแนงหรือในน้ำพริกต่างๆ นอกจากสรรพคุณทางยาพื้นบ้านของไทยแล้ว มะเขือพวงก็ยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

  • ขมิ้น
    ขมิ้น สมุนไพรที่ให้สีเหลืองสดใสนี้ นอกจากจะช่วยลดอาการอักเสบได้แล้วยังสามารถชะลอการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยพบว่าคนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานหากรับประทานอาหารที่มีสารเคอร์คูมิน ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในขมิ้นติดต่อกันเป็นประจำจะช่วยให้ความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง

  • ขิง ขิงมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมทั้งยังช่วยลดระดับของคอเรสเตอรอลในเลือดได้ ทั้งนี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณอินซูลินด้วย

  • กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และคุณค่าทางโภชนาการสูง ยังมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีไฟเบอร์สูง ช่วยดูดซึมของคอเลสเตอรอลและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้

    จะเห็นได้ว่าผักในครัวเรือนของเราบางชนิดเป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องเบาหวาน ความดัน ดังนั้นอยากให้เริ่มที่ตัวเราในการเริ่มปลูกผักไว้กินเอง ในครัวเรือนไว้ข้างบ้าน ปลอดภัยและไม่ต้องกังวลเรื่องสารพิษที่ตกค้างในผัก และสำหรับความรู้ที่ได้ในวันนี้ เราสามารถนำมาใช้ได้เพื่อตัวเราเองและคนที่เรารัก และสำหรับวันนี้ขอจบการอบรมเพียงเท่านี้ สวัสดีค่ะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปลูกผักสวนครัวและเข้าใจสรรพคุณของสมุนไพรในครัวเรือนในการช่วยรักษาโรคเบาหวาน ความดัน
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
  • กลุ่มเป้าหมายสามารถบอกต่อให้กับบุคคลใกล้เคียงให้สนใจการปลูกผักไว้กินเองและเลือกสมุนไพรที่เหมาะกับโรค
  • เกิดการร่วมมือกันของคนในชุมชน
  • เกิดความต้องการของคนในชุมชนคือ อยากให้ชุมชนมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับคนในชุมชนแบบนี้เรื่อยๆ
  • เนื้อหาของการบรรยาย ตรงตามความต้องการของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 63 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • กลุ่มสตรี
  • ประชาชนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปฏิบัติการลงพื้นที่ ผู้นำ 2 รุ่น ครั้งที่ 529 กันยายน 2016
29
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชนและร้านค้าในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 29 กันยายน 2559 ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าในชุมชน ซึ่งเป็นร้านค้าของชำภายในหมู่บ้าน เช่น อาหารสด ของแห้ง ขนม เป็นต้น การจัดพื้นที่ภายในร้าน จัดวางสินค้าไว้เป็นระเบียบ เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกซื้อได้ง่าย และทีมลงพื้นที่ได้สอบถามพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าเพื่อนำมาจำหน่าย และอยากให้เจ้าของร้านเน้นความสะอาด สด และปลอดภัย เพื่อส่งผลดีแก่คนในชุมชนที่มาเลือกซื้อสินค้าในร้าน

  • เวลา 15.30 น. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยความดัน คือ นางสาเปียะ หลีหลัง ซึ่งมีลูกค่อยดูแลให้ความช่วยเหลือ และได้ให้คำแนะนำกับญาติในเรื่องการควบคุมอาหาร การให้กำลังใจผู้ป่วย การได้รับยาต้องต่อเนื่องและพบแพทย์ตามที่นัดหมาย นอกจากนี้ยังได้พูดคุยเพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง จากการลงเยี่ยมครั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างผู้ป่วยเป็นอย่าง สร้างความดีใจและยินดีที่ทีมลงเยี่ยมบ้านได้ลงพบปะพูดคุย สร้างความสนุกสนานและรอยยิ้ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทำการตรวจสอบร้านค้าในชุมชน
  • เป็นการเฝ้าระวังอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพ
  • ทำให้เกิดความตระหนักในเรื่องสุขภาพทั้งตนเองและลูกค้า
  • เกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วมให้ชุมชนน่าอยู่
  • เกิดความเป็นกันเองระหว่างผู้ป่วยกับทีมลงเยี่ยม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำ 2 รุ่น รุ่นผู้ใหญ่และรุ่นเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปฏิบัติการลงพื้นที่ ผู้นำ 2 รุ่น ครั้งที่ 428 กันยายน 2016
28
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 09.30 น. ได้ลงเยี่ยมบ้านนายโหยบ สงคง อายุ 87 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในเรื่องของความดัน โดยมีทีม อสม.ในหมู่บ้านคอยให้ความช่วยเหลือและดูแลอย่างต่อเนื่อง ในการลงเยี่ยมบ้านครั้งนี้ พร้อมด้วยทีม อสม. และพูดคุยถามไถ่เรื่องอาการป่วย ผู้ป่วยได้อาศัยอยู่กับลูก ในวันที่ลงเยี่ยมผู้ป่วยได้สอบถามอาการกับลูกสาวและทราบว่าผู้ป่วยมีอาการไข้เล็กน้อย อสม.พูดคุยให้กำลังใจและแนะนำวิธีการดูแลเอาใจใส่เพื่อเป็นการให้กำลังใจผู้ป่วยด้วย สังเกตจากอาการของผู้ป่วย รู้สึกดีใจที่มีการลงเยี่ยมบ้านและให้กำลังใจ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการปฏิบัติการลงเยี่ยมบ้าน เพื่อสอบถามอาการผู้ป่วย
  • เกิดกำลังที่ดีกับผู้ป่วย
  • เกิดความไว้วางใจต่อ อสม.ในชุมชน
  • เกิดความเป็นกันเองมากขึ้น ของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำ 2 รุ่น รุ่นผู้ใหญ่และรุ่นเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 1027 กันยายน 2016
27
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงข้อมูลข่าวสารต่างๆและประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 27 กันยายน 2559 เวลา 13.30 น. นายกิตติคุณมาลัยสนั่น ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้ชี้แจงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้กับทีมสภาผู้นำทราบคือ
  1. การดำเนินกิจกรรมโครงการ "ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ" และตอนนี้ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมมาโดยตลอดทำให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น เกิดการพบปะกันของคนในชุมชน เป็นสิ่งที่ดี ที่คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับกิจกรรมต่างๆ และหวังว่าชุมชนของเราจะได้รับความร่วมมือแบบนี้ตลอดไป

  2. สำหรับเรื่องการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกข้าวในปีนี้ ทางสำนักงานเกษตรได้ฝากประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวได้ทำการลงทะเบียนผู้ปลูกข้าว เพื่อเข้าโครงการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท และสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอละงูในวันและเวลาราชการ

  3. กองทุนหมู่บ้าน ตอนนี้ทางคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ได้ดำเนินการรับชำระหนี่้และเปิดรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน หากท่านใดสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกสามารถติดต่อได้ในวันทำการคือ วันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน

  4. การคัดเลือกอาสาสมัครผู้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับหมู่/ชุมชน โดยมีกำหนดให้หมู่บ้าน/ชุมชนละ 1 คน

  • ซึ่งมีคุณสมบัติ คือ เป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นผู้มีจิตอาสาไม่เป็นผู้มีประวัติเสื่อมและขาดวินัยทางการเงิน

  • บทบาทหน้าที่ คือ ประชาสัมพันธ์การรับสมัครกองทุนบทบาทสตรีให้คำปรึกษาในการเขียนโครงการของสมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมชน และเป็นผู้ประสานงานการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระหว่างสมาชิกกับคณะทำงานขับเคลื่อนฯ

และมติที่ประชุม ได้เสนอ นางสุนันทา ใหม่สวัสดิ์ เป็นอาสาสมัครผู้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีหมู่บ้าน/ชุมชน ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ
  • เกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชุมชน
  • เกิดการพูดคุยและเก็บข้อมูล เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและความต้องการต่างๆ ของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม. อบต. กลุ่มสตรีในชุมชน ผู้นำศาสนา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปฏิบัติการลงพื้นที่ ผู้นำ 2 รุ่น ครั้งที่ 326 กันยายน 2016
26
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฏิบัติการลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าและร้านอาหารในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 26 กันยายน 2559 เวลา 09.30 น.ได้ลงพื้นที่เยี่ยมร้านค้าในชุมชน ซึ่งร้านค้าแห่งนี้เป็นร้านขายของชำและเป็นที่รู้จักของคนในชุมชน มีผู้คนมาอุดหนุนมากมาย ภายในร้านมีสินค้าหลายอย่าง เช่น ข้าวสาร ขนม ของเล่นเด็ก ฯลฯ และทีมลงเยี่ยมร้านประกอบด้วย เยาวชนในชุมชน อสม. พร้อมทั้งพูดคุยทักทายเจ้าของร้านและขออนุญาติ ตรวจดูสินค้าภายในร้าน แนะนำในเรื่องการตรวจดูวันหมดอายุของสินค้าแต่ละอย่าง รวมทั้งการจัดร้านที่เป็นระเบียบสามารถหาสินค้าได้ง่าย หากพบว่าสินค้าภายในร้านหมดอายุแล้ว ให้นำออกจากชั้นวางจำหน่าย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้มาซื้อสินค้า ได้รับสินค้าที่หมดอายุ หากนำไปบริโภคอาจเกิดอันตรายได้ จากการลงเยี่ยมร้านค้า เจ้าของร้านให้การต้อนรับและรับฟังคำแนะนำจากทีมลงเยี่ยมร้านเป็นอย่างดี

  • เวลา 13.30 น. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมร้านอาหารภายในชุมชน โดยภายในร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว และมีลูกค้ามาอุดหนุนมากมาย นอกจากจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวแล้วทางร้านยังจำหน่าย ลูกชิ้นทอด ขนมกล้วยทอด ข้าวโพดอบเนย การลงเยี่ยมร้านพร้อมด้วย อสม.และเยาวชน ได้พูดคุยให้คำแนะนำในเรื่องการใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัย อาหารที่ต้องทอด แนะนำเรื่องของการใช้น้ำมัน หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันทอดซ้ำ หากผู้ที่บริโภคเป็นประจำจะทำให้ส่งผลตามมาได้รวมไปถึงการจัดร้านต้องให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยและทางร้านได้ปฏิบัติเป็นอย่างดี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ลงพื้นที่สอบถามและแนะนำข้อมูลต่างๆ กับเจ้าของร้าน
  • เกิดการพบปะ พูดคุยกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • ทำให้เกิดความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยของอาหารและสินค้า รวมทั้งผู้ที่นำไปบริโภคเองเกิดความปลอดภัยมากขี้น
  • เห็นความสำคัญของลูกค้าไม่เอาเปรียบกัน
  • เกิดประโยชน์ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อที่ได้ของมีคุณภาพและปลอดภัย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำ 2 รุ่น รุ่นผู้ใหญ่และรุ่นเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 725 กันยายน 2016
25
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สวัสดีค่ะ พบกันเช่นเคย วันนี้เรามีเรื่องมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบในเรื่องของสุขภาพและโรคภัยต่างๆ กัน โดยวันนี้เรานำสาระความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นบ่อยในบุตรหลานของท่าน เพราะเด็กในช่วงอนุบาลมักจะติดโรคได้ง่าย และผู้ปกครองควรมั่นสังเกตบุตรหลานของท่านกันน่ะค่ะ และสาระสำคัญของโรคต่างๆ มีดังนี้

เด็กที่อยู่ในช่วงเวลาปิดเทอมหรือเด็กๆที่ยังไม่เข้าเรียน เมื่ออยู่บ้านร่างกายจะแข็งแรงดี วิ่งเล่นได้ทั้งวัน ร่าเริงสดใส แต่พอถึงเวลาต้องไปโรงเรียนทีไรลูกกลับไม่สบายบ่อยมาก ทั้งหวัดและโรคอื่นๆ สารพัด สาเหตุหลักก็คือ ติดมาจากเพื่อนในห้องเรียน ส่วนโรคที่มักติดต่อกันในวัยเด็กที่อยู่ในชั้นอนุบาลมีโรคอะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่มาดูกันค่ะ เพื่อจะได้ระมัดระวังและดูแลลูกของเราได้

4 โรคติดต่อที่เด็กๆวัยอนุบาลเป็นบ่อยที่สุด

1.โรคท้องร่วง

โรคนี้จะเกิดจากไวรัส เช่น ไวรัสโรต้า เด็กๆเป็นกันง่ายมาก เพราะเชื้อโรคจะเข้าจากทางปาก จะพบบ่อยมากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการลูกได้ดังนี้ ถ่ายเป็นน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว มีไข้ บางรายมีน้ำมูกหรือไอรวมด้วย บางรายมีอาการรุนแรงร่างกายเสียน้ำมากจนมีอาการขาดน้ำ ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้หลายวันอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ค่ะ
2.มือ เท้า ปาก

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม เอ็นเทอโรไวรัส (enterovirus) พบมากกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี สังเกตอาการได้ดังนี้ มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย และหลังจากนั้น 2-3 วันเด็กจะมีอาการเจ็บปาก กินข้าวไม่ได้ มีตุ่มใสสีแดงขึ้นบริเวณปากก่อนและตามด้วยมือ เท้า และ ลำตัว โรคนี้ไม่รุนแรงมาก รักษาโรคได้ตามอาการ อาการจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วันค่ะ ยกเว้นเด็กที่ติดเชื้อรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้ตุ่มใสๆนี้เป็นหนอง อาการจะรุนแรง จนทำให้ปอดบวม สมองอักเสบ เยื้อสมองอักเสบ ถึงขึ้นเสียชีวิตได้ โรคนี้ติดกันง่ายมาก เพียงแค่สัมผัสสิ่งของต่างๆร่วมกันหรือ ไอใส่กัน ก็สามารถติดกันได้แล้วค่ะ
3.โรคไข้หวัดใหญ่

โรคจะติดกันได้ง่ายในที่ๆมีคนเยอะๆ ติดกันผ่านลมหายใจ การไอ จาม ละอองน้ำมูก น้ำลาย อาการคือ ไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดหัว เมื่อยตัว อ่อนเพลียมาก คัดจมูก เจ็บคอถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ อาการแทรกซ้อนคือ โรคปอดอักเสบค่ะ
4.โรคไข้หวัด

จะเป็นบ่อยในช่วงหน้าฝน และหน้าหนาว เชื้อไข้หวัดจะมีหลายสายพันธุ์ เวลาเป็นแล้วหายร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรคที่เคยเป็น แต่ก็อาจจะกลับมาเป็นได้อีก อาการคือ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ จาม คอแห้ง เจ็บคอ เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ไอ้แห้ง ไอมีเสมหะ โรคแทรกซ้อนที่มากับไข้หวัดคือ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ คุณพ่อคุณแม่ควรระวังเด็กอาจชักเพราะไข้ขึ้นสูงค่ะ

เชื้อโรคมีอยู่ทุกที่ไม่ใช่เฉพาะที่โรงเรียนอนุบาลนะคะ เพียงแต่เด็กวัยอนุบาลนั้นสามารถเป็นโรคต่างๆเหล่านี้ได้บ่อยครั้ง เพราะเด็กยังมีภูมิคุ้มกันโรคไม่เพียงพอ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ลูกป่วยง่ายหรือบ่อยจนเกินไป เพราะถ้าลูกป่วยบ่อยๆจะส่งผลเสียทางด้านจิตใจ ร่างกาย และ การเรียนรู้ของลูกได้ค่ะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและโรคภัยต่างๆ
  • ได้ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม.ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปฏิบัติการลงพื้นที่ ผู้นำ 2 รุ่น ครั้งที่ 225 กันยายน 2016
25
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าในชุมชนและเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09.30 น.ลงพื้นที่ตราจสอบร้านค้าในชุมชน โดยในชุมชนมีทั้งร้านขายอาหาร เช่น อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยวและร้านขายของชำ ในการลงตรวจสอบครั้งนี้ เลือกร้านขายอาหาร ซึ่งดูจากการจัดระเบียบร้านค้า สะอาดถูกหลักอนามัย และวัตถุดิบที่นำใช้สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษ

  • เวลา 13.30 น. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วย คือ นายมานะ ใบจิ ซึ่งเป็นผู้ป่วยความดัน ซึ่งมีอาการอื่นร่วมด้วย จากการลงพื้นที่ได้พบปะพูดคุยกับญาติ และให้กำลังใจพร้อมทั้งวิธีปฏิบัติตัวกับผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความดีใจ และแสดงออกถึงความยินดีที่ทีมลงเยี่ยมบ้านได้พูดคุย สร้างความเป็นกันเองมากขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าในชุมชน
  • ได้พูดคุยและแนะนำกับเจ้าของร้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำ 2 รุ่น รุ่นผู้ใหญ่และรุ่นเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
อบรมให้ความรู้กับผู้นำ 2 รุ่น โดยให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริโภคที่ปลอดภัยต่อสุขภาพวิธีการติดตามลงเยี่ยมบ้าน23 กันยายน 2016
23
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจก่อนการลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 23 กันยายน 2559 จัดอบรมให้ความรู้กับผู้นำ 2 รุ่น โดยทำความเข้าใจเรื่องการบริโภคที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และวิธีการติดตามลงเยี่ยมบ้าน โดยมีนางวรรณดี ตรีมีน ประธาน อสม. เป็นวิทยากร ในการให้ความรู้เรื่องวิธีการลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและลงตรวจสอบร้านค้าในชุมชน ซึ่งในการลงเยี่ยมบ้านนั้น เราจะลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน และผู้สูงอายุที่มีในชุมชน ซึ่งเราจะลงให้คำแนะนำการปฏิบัติตนของผู้ป่วย และให้คำแนะนำแก่ญาติผู้ป่วย วิธีปฏิบัติกับผู้ป่วย ให้กำลังใจและปฏิบัติด้วยความจริงใจ เพื่อเป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วยด้วย สำหรับร้านค้าในชุมชน ประกอบด้วย ร้านขายของชำ ร้านขายอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคในชุมชนได้รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะ และได้อาหารหรือสินค้าที่ปลอดภัย โดยการให้คำแนะนำเจ้าของร้าน ให้เลือกใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
  • สามารถลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยได้
  • ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยพฤติกรรมทั้งผู้ลงพื้นที่และผู้ป่วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำ 2 รุ่น รุ่นผู้ใหญ่และรุ่นเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 617 กันยายน 2016
17
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สวัสดีค่ะ มาพบกันอีกแล้ว วันนี้เราจะมาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องของโรคเบาหวานกันนะค่ะ รายละเอียดมีดังนี้ - โรคเบาหวาน ถือเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากคนไทยป่วยด้วย โรคเบาหวาน นี้มากถึง 2-3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย โรคเบาหวาน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโรคที่คุกคามคนไทย พบได้ในทุกช่วงวัย อย่างไรก็ตาม มีคนอีกจำนวนมากที่ป่วยด้วย โรคเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัว ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ป่วยได้ปล่อยให้ โรคเบาหวาน ลุกลามจนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ดังนั้น วันนี้ลองมาสำรวจดูว่าคุณอยู่ในข่ายเสี่ยง โรคเบาหวาน หรือไม่ พร้อม ๆ กับทำความเข้าใจ โรคเบาหวาน นี้อย่างถูกต้องกันค่ะ

ทั้งนี้ โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด และเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ นอกจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานด้วย เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมาก ๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นโรคเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

ลักษณะโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ และด้วยความที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ จึงทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย

อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จะมีอาการปัสสาวะบ่อย (และออกครั้งละมาก ๆ) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย หรือกินข้าวจุ อ่อนเพลีย บางคนอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น
  • หากเป็น โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวที่ลดลงฮวบฮาบ ในช่วงระยะเวลาเพียงสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน โดยในเด็กที่ป่วยเป็น โรคเบาหวาน บางคนอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน
  • สำหรับคนที่เป็น โรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อาการมักค่อยเป็นค่อยไปแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีรูปร่างอ้วน หญิงบางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการคันตามช่องคลอดหรือตกขาว ในรายที่เป็นไม่มาก อาจไม่มีอาการผิดปกติอย่างชัดเจน และตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดขณะที่ไปหาหมอด้วยโรค อื่น
  • ผู้ป่วย โรคเบาหวาน บางคนมีอาการคันตามตัว เป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก
  • ผู้หญิงที่ป่วย โรคเบาหวาน บางคนอาจคลอดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่าธรรมดา หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ หรือคลอดทารกที่เสียชีวิตแล้วโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ในรายที่เป็น โรคเบาหวาน มานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจมาหาหมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

    ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วย โรคเบาหวาน

  1. โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก
  2. ควบคุมอาหาร การลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) และการออกกำลังกาย มีความสำคัญมาก ในรายที่เป็น โรคเบาหวาน ไม่มาก ถ้าปฎิบัติในเรื่องเหล่านี้ได้ดี อาจหายจาก โรคเบาหวาน ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ทั้งนี้ ผู้ป่วย โรคเบาหวาน ควรอาหารที่มีผลต่อโรค ดังต่อไปนี้

- ลดการกินน้ำตาล และของหวานทุกชนิด รวมทั้งผลไม้หวานและน้ำผึ้ง และควรเลิกกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน เหล้าเบียร์ - ลดการกินอาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น เผือก มัน เป็นต้น - ลดอาหารพวกไขมัน เช่น ของทอด ของมัน ขาหมู หมูสามชั้น อาหารหรือขนมที่ใส่กะทิ หันไปกินอาหารพวกโปรตีน เนื้อแดง ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ รวมทั้งเพิ่มผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดให้มากขึ้น - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน เล่นโยคะ กายบริหาร เป็นต้น

  1. ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ

  2. หมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ เพราะอาจลุกลามจนกลายเป็นแผลเน่าจนต้องตัดนิ้วหรือขาทิ้ง

- ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ เช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตรงซอกเท้า อย่าถูแรง ๆ - เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรง ๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ - อย่าเดินเท้าเปล่า ระวังเหยียบถูกของมีคม หนาม หรือของร้อน - อย่าสวมรองเท้าคับไป หรือใส่ถุงเท้ารัดแน่นเกินไป - ถ้าเป็นหูดหรือตาปลาที่เท้า ควรให้แพทย์รักษา อย่าแกะหรือตัดออกเอง - ถ้ามีตุ่มพอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้าควรรีบไปให้แพทย์รักษา

  1. ผู้ป่วย โรคเบาหวาน ที่กินยาหรือฉีดยารักษา โรคเบาหวาน อยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือมีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมาก ๆ อาจเป็นลม หมดสติ หรือชักได้ ดังนั้น จึงต้องระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หาย

  2. หมั่นตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง และตรวจเลือดที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพราะเป็นวิธีที่บอกผลการรักษาได้แน่นอนกว่าการสังเกตจากอาการเพียงอย่าง เดียว

  3. อย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่า ยานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

  4. ควรมีบัตรประจำตัว (หรือกระดาษแข็งแผ่นเล็ก ๆ) ที่เขียนข้อความว่า "ข้าพเจ้าเป็น โรคเบาหวาน " พร้อมกับบอกชื่อยาที่รักษาพกติดกระเป๋าไว้ หากบังเอิญเป็นลมหมดสติ ทางโรงพยาบาลจะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยและให้การรักษาได้ทันท่วงที

  5. ป้องกัน โรคเบาหวาน ด้วย การรู้จักกินอาหาร ลดของหวาน ๆ อย่าปล่อยตัวให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็น โรคเบาหวาน ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรตรวจเช็คปัสสาวะหรือเลือดเป็นครั้งคราว เพราะหากพบเป็น โรคเบาหวาน ในระยะเริ่มแรก จะสามารถควบคุมอาการของโรค โรคเบาหวาน ได้

    และนี่ก็เป็นความรู้เรื่องโรคเบาหวาน หากมีญาติที่กำลังประสบกับโรคเบาหวาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ของแพทย์และเป็นกำลังใจต่อกันน่ะค่ะ และวันนี้หมดเวลาแล้ว พบกันใหม่ในครั้งหน้า สวัสดีค่ะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องของสุขภาพให้คนในชุมชนได้รับทราบ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม. ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 53 กันยายน 2016
3
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สวัสดีค่ะ มาพบกันเช่นเคยนะค่ะ วันนี้จะมาประชาสัมพันธ์ในเรื่องของโรคที่มากับหน้าฝนอย่างนี้ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่สำหรับเรื่องที่จะมานำเสนอในวันนี้คือ เรื่องไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

  • ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก

    • การติดต่อของไข้หวัดใหญ่

เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่

  • ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
  • สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
  • สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

    • อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับไข้หวัด แต่ไข้หวัดใหญ่จะเร็วกว่า ไข้สูงกว่า อาการทำสำคัญได้แก่

  • ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
  • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
  • ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
  • ไข้สูง 39-40 องศาในเด็ก ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา
  • เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
  • ไอแห้งๆ ตาแดง
  • ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์

    • ระยะติดต่อ

ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น

  • ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
  • ห้าวันหลังจากมีอาการ
  • ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน

    ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง และ ควรดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝนกันด้วยนะค่ะ พบกันใหม่ในครั้งหน้า สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้คนในชุมชนได้ทราบอย่างทั่วกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม. ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมจัดทำกติการ่วมของชุมชน24 สิงหาคม 2016
24
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชนมีแนวทางและกฏกติการ่วมกันของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 24 สิงหาคม 2559นางสุกัลญา ดำเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวเปิดการประชุมจัดทำกติการ่วมของชุมชน และชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการจัดทำกติกาของชุมชน โดยเริ่มจากการหาปัญหาของชุมชน ที่พบบ่อยที่สุดมาสังเคราะห์จนเกิดกติกาของชุมชน ทั้งได้เชิญวิทยากร ร่วมจัดทำกติกาของชุมชนร่วมกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประชุมได้เสนอปัญหาดังนี้

  • ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย
  • ปัญหาการขาดความร่วมมือกันของชุมชน
  • ปัญหายาเสพติด
  • ปัญหาน้ำใช้ในครัวเรือน
  • ปัญหาถนนในหมู่บ้านทรุดโทรม เป็นต้น

จากนั้นได้สังเคราะห์เพื่อให้เกิดกติกาของชุมชนดังนี้

หมวดที่ 1 ว่าด้วยการศึกษา

  1. จัดให้มีการเรียนการสอนด้านศาสนาแก่เด็กเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไปในวันเสาร์-อาทิตย์ ตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมสนับสนุนอบรมแก่มุสลีมีน มุสลีม๊ะ
  2. จัดการเรียนการสอนอัลกรุอ่านในชุมชน
  3. สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปกครองและผู้เรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในตำบล

    หมวดที่ 2 ว่าด้วยสาธารณูปโภคสาธารณูปการ

  4. ร่วมดูแลบำรุงรักษาเส้นทางสัญจร ภายในหมู่บ้าน

  5. จะใช่ช่องทางการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและทันสถานการณ์ เช่น เสียงตามสาย วิทยุชุมชน เอกสารเผยแพร่

    หมวดที่ 3 ว่าด้วยการป้องกัน การแก้ไขปัญหายาเสพติดและรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน

  6. กำหนดเพิ่มมาตรการ เฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย สร้างความเข้มแข็งให้ชุดรักษาความสงบเรียบร้อย และชุดอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในชุมชน

  7. ไม่ยิงปืน ประทัด ในหมู่บ้าน ตำบล และในงานประเพณีต่างๆ
  8. กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหา ยาเสพติดและร่วมสอดส่องดูแลติดตามเด็ก เยาวชนในหมู่บ้านตำบลให้ห่างไกลยาเสพติด
  9. การลักขโมย ของผู้อื่น เช่น ขี้ยาง (เศษยางพารา) จะต้องหมดไป
  10. ร่วมสร้างค่านิยม รู้รักสามัคคี เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อลดความขัดแย้งภายในหมู่บ้าน
  11. ช่วยสอดส่อง ตรวจสอบร้านเกมส์ให้มีการขออนุญาตเปิด-ปิด ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพร้อมประสานความร่วมมือไปยังท้องถิ่นข้างเคียงเพื่อสร้างมาตรฐาน หรือกติกาชุมชน

    หมวดที่ 4 ว่าด้วยการพัฒนารายได้การส่งเสริมอาชีพ

12 .สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมโดยการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ สร้างงาน เพื่อแก้ปัญหาคนว่างงาน ความยากจน การรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หมวดที่ 5 ว่าด้วยศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. ศรัทธาและยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาอิสลามย่างแน่วแน่ เช่น การละหมาด 5 เวลาและการละหมาดวันศุกร์ เป็นต้น
  2. รณรงค์ให้มุสลิมละศีลอด ร่วมกันที่มัสยิดและปลูกจิตสำนึกให้แก่ร้านค้าในชุมชน งดจำหน่ายหรือบริการอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน
  3. พัฒนาศาสนสถานให้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชนและการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน

    หมวดที่ 6 ว่าด้วยสุขภาพและการสาธารณสุข

  4. ร่วมรณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน เช่น ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน

  5. คนในตำบล หมู่บ้านทุกกลุ่มวัยรู้จักการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง
  6. งดสูบบุหรี่/ใบจาก สิ่งมึนเมาในที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน มัสยิด สถานที่ราชการ
  7. ให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือน
  8. รณรงค์รวมพลังชุมชนลดการซื้อสินค้าตามโฆษณาที่เกินจริง

    หมวดที่ 7 ว่าด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน

  9. สร้างความร่วมมือในการลดความขัดแย้งในชุมชนและระหว่างชุมชนที่เกิดจากความไม่ เข้าใจทางด้านการเมืองการปกครองและด้านอื่นๆ

  10. ทุกหมู่บ้านกำหนดวันประชุมประจำเดือนและให้มีตัวแทนครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนตามที่หมู่บ้านนั้นๆ กำหนด
  11. พัฒนากระบวนการประชาธิปไตยทางตรงเพื่อเป็นพื้นที่กลางในชุมชน
  12. จัดทำแผนผังหมู่บ้านโดยจัดโซนเพื่อการบริการข้อมูลต่างๆ

    หมวดที่ 8 ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  13. ร่วมกับภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรท้องที่ องค์กรท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่นการจัดการที่ดินทำกินและเพื่อที่อยู่อาศัย การบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล เพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้

    หมวดที่ 9 ว่าด้วยกองทุนการเงินชุมชนและสวัสดิการสังคม

  14. ร่วมรณรงค์และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน (สัจจะเดือนละ 20 บาท) ให้ครอบคลุมและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการกองทุนเงินต่างๆ ในตำบล

  15. ให้ทุกครัวเรือนดูแล บริเวณบ้านเรือนของตนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีขยะมูลฝอย
  16. ร่วมรณรงค์ให้คนในหมู่บ้าน ตำบลมีการรวมกลุ่มกันจัดทำกลุ่มออมทรัพย์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้น
  • ได้กติกาของชุมชนที่นำไปปฏิบัติร่วมกัน
  • ได้แสดงความคิดเห็นร่วมของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมคณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 915 สิงหาคม 2016
15
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประสภาผู้นำหมู่บ้านได้กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงวาระการประชุมดังนี้
  1. กองทุนหมู่บ้าน แจ้งผู้กู้รายเก่าให้ผ่อนชำระหนี้ด้วย เพื่อจะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป และสำหรับท่านใดที่สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน สามารถมาสมัครได้ ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งจะมีวันทำการ ในวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน
  2. แจ้งสถานการณ์ไข้เลือดออกซึ่งหมู่บ้านมีผู้ที่เป็นไข้เลือดออกจำนวนหลายราย ให้ประชาชนช่วยกันดูแลกำจัดแหล่งลูกน้ำยุงลาย จัดบริเวณบ้านให้สะอาด
  3. โครงการช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ ให้เกษตรกรแจ้งได้ที่เกษตรอำเภอละงู
  4. การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ชายไทยที่เกิด พ.ศ.2542 ขึ้นทะเบียนทหารได้ที่สำนักอำเภอที่ตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ หมดเขตวันที่ 30 ธันวาคม 2559
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร เช่น เรื่องกองทุนหมู่บ้าน สถานการณ์ไข้เลือดออกในชุมชน และโครงการช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท
  • เกิดความร่วมมือของคนในชุมชน
  • ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • อสม.
  • อบต.
  • กลุ่มสตรีในชุมชน
  • ผู้นำศาสนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดการการดูแลสุขภาพคนเกาะยวน14 สิงหาคม 2016
14
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดมาตการการปฏิบัติการจัดการสุขภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 14 สิงหาคม 2559 ได้จัดกิจกรรมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดการการดูแลสุขภาพคนเกาะยวน โดยมีนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประธานสภาผู้นำหมู่บ้านได้กล่าวเปิดการประชุม เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดการการดูและสุขภาพของคนในชุมชน สืบเนื่องจากเวทีคืนข้อมูลที่ผ่านมา เป็นการสรุปการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชน จะเห็นได้ว่าลักษณะความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และการรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่จะติดรสหวาน มัน เค็ม และบริโภคอาหารที่ซ้ำๆ กันทุกวัน ของทอด ของมัน และหลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชนกันแล้ว ดังนั้นในวันนี้ จึงอยากให้พวกเราทุกคนได้ร่วมกันวางมาตรการในเรื่องของการจัดการสุขภาพ เรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตามมาได้

  • นางธัญลักษณ์ พัตรา ได้เสนอให้แต่ละครัวเรือนสำรวจพฤติกรรมการปรุงอาหารในครัวเรือนของตนเอง ค่อยๆลด การปรุงอาหารที่เป็นรสจัด เช่น ลดการปรุงอาหารที่ให้รสเค็ม รสหวาน รสมัน ลงเพื่อให้เป็นผลดีต่อสุขภาพ
  • นายบุญลือ คงขวัญ ได้เสนอให้มีการจัดอบรมให้ความรู้ในแต่ละครัวเรือน โดยให้ผู้ที่เป็นคนปรุงอาหารหรือแม่ครัวในแต่ละครัวเรือน มาร่วมรับฟังในเรื่องการปรุงอาหารที่ปลอดภัยต่อคนในครัวเรือนและตนเอง และผลกระทบที่ตามมาเมื่อบริโภคอาหารรสจัดเป็นประจำ
  • นางวรรณดี ตรีมีน ได้เสนอให้มีการส่งเสริมในเรื่องของการออกกำลังกายของคนในชุมชน และอยากให้คนในชุมชนร่วมกิจกรรมการเต้นแอโรบิคในช่วงตอนเย็นของทุกวันซึ่งการจัดเป็นประจำทุกวัน ณ สนามหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกายและห่างไกลจากโรค

และทุกความคิดเห็นที่ได้เสนอมาต่างเป็นผลดีต่อคนในชุมชนที่สามารถเลือกปฏิบัติได้ เพื่อสุขภาพของตัวเราเอง ถึงแม้อาจไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทีเดียวหากแต่เราค่อยๆ ลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และความใส่ใจในตัวเองเป็นสำคัญก็จะเกิดผลดีแก่ตัวเราเอง และเพื่อให้เห็นความสำคัญของสุขภาพของคนในชุมชน เราจึงอยากให้มีเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารของคนในชุมชน เป็นแกนนำร่วมกับ อสม. และแกนนำรุ่นผู้ใหญ่ในชุมชนต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้มาตรการการจัดการเรื่องสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน
  • เกิดการแสดงความคิดและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  • เกิดความตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น
  • เกิดแกนนำที่สามารถเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพของคนในชุมชนได้ต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • สมาชิก อบต.
  • กลุ่มสตรี
  • ประชาชนในชุมชนบ้านเกาะยวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 414 สิงหาคม 2016
14
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

25 วิธีการดูแลสุขภาพแบบง่ายๆ

  1. การดื่มน้ำปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็วอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำเป็นพิษ เนื่องจากเลือดเจือจาง ร่างกายจึงขับโปแตสเซียมออกจากเซลล์เพื่อปรับสมดุลระหว่างน้ำในเซลล์และนอกเซลล์ ผลที่ตามมาคือเป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง หากเกิดอาการเกร็งที่สมอง หัวใจ หรือปอด จะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ แต่ไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะหากดื่มน้ำทีละเล็กทีละน้อย แม้ดื่มมากกว่าปกติก็ไม่เป็นอันตรายเพราะไตจะขับออกมาเป็นปัสสาวะ และถ้าเมื่อไรมีอาการจุกนั่นแสดงว่าดื่มน้ำมากไป ควรหยุดได้แล้ว

  2. การปล่อยให้ตนเองหิวอาจนำไปสู่โรคร้ายเพราะความหิวกระตุ้นร่างกายให้หลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นประจำจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหรือเบาหวานได้ ลองควบคุมความหิวด้วยการแบ่งมื้ออาหารจากวันละ 3 มื้อเป็นมื้อเล็กๆ 5-6 มื้อต่อวัน

  3. ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดหลัง เพราะคาเฟอีนลดการหลั่งสารเอนโดรฟีนซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายผลิตขึ้นและมีฤทธิ์ลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ

  4. วิธีง่ายๆในการดูแลสุขภาพคือ หลังจากตื่นนอนทุกเช้า จะดื่มน้ำส้มสายชูที่หมักจากผลแอ๊ปเปิ้ล ผสมกับน้ำผึ้งอย่างละ 1 : 1 ใส่น้ำอุ่นคนให้เข้ากันแล้วค่อยเติมน้ำแข็งลงไปเพื่อให้ทานง่ายและมีรสชาติดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะไปช่วยการดูดซึมของระบบลำไส้ และการเผาผลาญของร่างกาย แต่โรคบางโรคอาจเกิดจากสุขภาพจิตที่อ่อนแอ ในหนึ่งอาทิตย์จึงควรจะมีวันพักผ่อนอย่างจริงจังหรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น เล่นโยคะ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพกายและลดมลภาวะทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน
    5.การนอนดึกคืนวันศุกร์-เสาร์แล้วตื่นสายในวันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้นาฬิกาชีวภาพของร่างกายตั้งเวลาตื่นใหม่ เมื่อถึงวันจันทร์จึงมีอาการอิดเอื้อนไม่อยากตื่น ทั้งยังทำให้ขาดสมาธิในการทำงานหรือเรียนหนังสืออีกด้วย

  5. แสงแดดยามเช้าไม่ได้ช่วยให้กระดูกแข็งแรงเท่านั้น แต่การออกกำลังกายกลางแดดในช่วงเวลาดังกล่าวยังช่วยให้ร่างกายผลิตสารเอนโดรฟีนซึ่งเป็นสารต่อต้านอาการซึมเศร้าตามธรรมชาติอีกด้วย

  6. ความเครียดเป็นตัวการทำลายผิวที่ร้ายแรงที่สุด ฉะนั้นเราต้องปรับความคิดใหม่ และใช้ร่างกายเราอย่างทะนุถนอมตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะสม หาเวลาออกกำลังกายบ้าง และรับประทานอาหารดีๆ

  7. แอ๊ปเปิ้ล แตงโม กล้วย กีวี มีประโยชน์ แต่ถ้าคุณรับประทานยาปฏิชีวนะอยู่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เหล่านี้เพราะบูดง่ายในลำไส้ อาจเกิดการอักเสบในระบบทางเดินอาหารได้

  8. การไอเรื้อรังอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งเพื่อรักษาอาการหวัดไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ให้ใช้วิธีที่สุดแสนธรรมดาแต่ได้ผลมากกว่าคือ ดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อลดเสมหะในทางเดินหายใจ อมยาอมให้ลำคอชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แค่นี้ก็หายแล้ว

  9. การที่เราคิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี แถมอายุยังน้อย ทำให้เราชะล่าใจในการดูแลรักษาสุขภาพ เวลาเกิดอะไรผิดปกติขึ้นกับร่างกายจะคิดว่าช่างมัน เดี๋ยวคงหายเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง

  10. เมื่อมีอาการเท้าและข้อเท้าบวมให้นั่งยองๆ ทุกวันๆ ละ 15 นาที แล้วขยับข้อเท้าไปข้างหน้าและข้างหลัง เพื่อช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น หลังจากนั้นใช้แปรงที่ขนทำจากวัสดุธรรมชาติ แปรงผิวหนังเบาๆ เริ่มบริเวณฝ่าเท้าซึ่งเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททั่วร่างกาย แล้วค่อยๆ ปัดไล่ขึ้นมาที่ข้อเท้า น่อง ต้นขา ท้อง แขนไปจนสุดที่มือทั้งสองข้าง (ยกเว้นผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะเสี่ยงจะเกิดบาดแผล) จากนั้นอาบน้ำอุ่นแล้วตามด้วยน้ำเย็น จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

  11. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและรับประทานไข่มากกว่าอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

  12. ผู้ที่รับประทานไข่เป็นเวลา 8 อาทิตย์ลดน้ำหนักได้มากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานถึง 65 เปอร์เซ็นต์ และรอบเอวลดลงเกือบสองเท่า เพราะผู้ที่รับประทานไข่รู้สึกอิ่มกว่าการรับประทานขนมปัง ทำให้รับประทานอาหารกลางวันและอาหารเย็นน้อยลง

  13. การรับประทานอาหารไปดูหนังไปทำให้รับประทานอาหารมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าจะกินอิ่มมาแล้วหรือรสชาติของอาหารไม่ได้เรื่องเลยก็ตาม นอกจากนี้ไฟสลัวๆ ทำให้ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ค่อยระวังตัว เพลิดเพลินเจริญอาหารไปเรื่อย

  14. เสียงเพลงมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของคนเรา ยิ่งดนตรีมีจังหวะเร็วเท่าไรก็ยิ่งกระตุ้นให้รับประทานอาหารมากขึ้นเท่านั้น

  15. การดื่มน้ำ(เปล่า)เย็น 50 ออนซ์ (8 ออนซ์= 1 ถ้วย) จะช่วยเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 50 แคลอรี เท่ากับช่วยให้น้ำหนักลดลงปีละ 5 ปอนด์หรือ 2.5 กิโลกรัม เพราะการดื่มน้ำเปล่าไม่ทำให้ร่างกายได้รับพลังงาน แต่ต้องใช้พลังงานในการเผาผลาญน้ำ ยิ่งไปกว่านั้นน้ำเย็นทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานเผาผลาญมากขึ้นอีก

  16. การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักและพิลาทิส ควบคู่กันไปจะช่วยพัฒนาความแข็งแรงของปอดและหัวใจ รวมถึงความแข็งแรงและยืดหยุ่นของโครงสร้าง และการรับประทานอาหารมื้อย่อยๆ 5 มื้อต่อวัน โดยมื้อกลางวันจะเน้นอาหารประเภทโปรตีนเพียง 1 มื้อ นอกนั้นเน้นผักและผลไม้ จะทำให้มีพลังงานที่พอเหมาะในการใช้งาน และไม่ทิ้งไขมันส่วนเกินสะสม

  17. ผู้ชายที่รับประทานมะเขือเทศ ซึ่งมีไลโคปีนสูงอย่างน้อยอาทิตย์ละ 10 ผลหรือมากกว่านั้น เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลง 45 เปอร์เซ็นต์ วิธีง่ายๆ ให้นำมะเขือเทศไปปั่นให้ละเอียดเติมน้ำมันมะกอกและนำไปปรุงสุก ความร้อนจะช่วยให้มะเขือเทศปล่อยสารไลโคปีนออกมามากขึ้น

  18. รับประทานแอ๊ปเปิ้ลหนึ่งชิ้นหลังอาหาร ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดแบคทีเรียในช่องปากและช่วยให้เหงือกแข็งแรง การรับประทานสับปะรดและมะละกอก่อนอาหารประมาณ 2-3 ชิ้น ดีต่อกระเพาะอาหารเพราะมีเอนไซน์ซึ่งช่วยย่อย จึงเท่ากับช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารมื้อหลักที่ตามลงมาได้ง่ายขึ้น
  19. หากไม่อยากมีกรดในกระเพาะมากเกินไป ควรลดปริมาณการดื่มน้ำผลไม้เข้มข้น อย่างเช่นมะนาว ส้ม ส้มโอ เกรฟฟรุ๊ต หรือน้ำมะเขือเทศสดปั่น หรือทำให้เจือจางด้วยการผสมน้ำเข้าไป

  20. สำหรับหนุ่มเจ้าสำราญ ที่ชอบปาร์ตี้หามรุ่งหามค่ำ ก็สามารถฟื้นฟูร่างกายได้ด้วยการนอนหลับให้นานหน่อย อีกวิธีหนึ่งในการดูแลตัวเองคือมีแฟนเด็ก จะได้มีแรงกระตุ้นให้เราทำตัวเด็กตาม ต้องดูดีตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอบายมุข การเที่ยวกลางคืนก็เป็นอันต้องงด

  21. การเล่นเกมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเกมส์ที่ต้องใช้สมาธิ ช่วยให้ระบบประสาททำงานเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันโรคอัลเซเมอร์ได้ เกมอื่นๆ เช่น ปริศนาอักษรไขว้ หรือเลือกเรียนดนตรี ก็ช่วยได้เช่นกัน

  22. การใช้พลาสติกใส่อาหารหรือปิดอาหาร รวมถึงใส่จานชามพลาสติกในไมโครเวฟ เพราะความร้อนจะทำให้พลาสติกปนเปื้อนในอาหาร เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

  23. ก่อนตั้งครรภ์ควรเตรียมตัวล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน 1.ดูแลเรื่องอาหารการกิน เน้นโฟเลต แคลเซียม วิตามินต่างๆ ป้องกันอาการแพ้ท้องหรืออยากอาหารประหลาดๆ 2.ระวังเรื่องการรับประทานยาทุกชนิด อ่านฉลากให้ดี เพราะอาจทำร้ายลูกโดยไม่เจตนา 3.ทำใจให้สบาย คิดในแง่บวก 4. ออกกำลังกายที่เหมาะสม

  24. ถ้ามื้อนั้นรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก ไม่ควรรับประทานผลไม้อีก เพราะกว่าเนื้อจะย่อยหมดต้องใช้เวลานาน ทำให้ผลไม้ที่ย่อยเสร็จไปเรียบร้อยแล้วถูกกักอยู่ในกระเพาะ เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารในเรื่องการดูแลสุขภาพของตัวเอง
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริง ในเรื่องการดูแลสุขภาพ
  • เกิดความรู้ใหม่ๆ มีแนวคิดใหม่ๆ ที่จะปรับเปลี่ยนการดูแลสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม.ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนจำนวน 120 คน8 สิงหาคม 2016
8
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบสถานการณ์ในด้านสุขภาพ และสามารถนำไปแก้ไขได้ตรงจุด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสุกัลญาดำเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวเปิดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพของคนในชุมชน และได้เชิญวิทยากร นางสาวอรทัยอุสมา มาเป็นวิทยากร เพื่อร่วมกันสรุปปัญหาและสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชนดังนี้

สรุปข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชน ม.3 บ้านเกาะยวนจะเห็นได้ว่าจำนวนประชากรที่ได้ทำการสำรวจทั้งหมด 394 คน เป็นชาย 153 คน
เป็นหญิง 241 คน และพฤติกรรมการบริโภคของคนในชุมชนคือ

  1. ท่านกินผักและผลไม้หลากหลายใน 1 วัน จำนวนคนที่รับประทานผักและผลไม้มากที่สุด คือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 163 คน รองลงมา คือทานทุกวัน จำนวน 110 คน

  2. ท่านกินผักและผลไม้ อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมหรือ 5 กำมือต่อวัน จำนวนที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 243 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 83 คน

  3. ท่านกินผลไม้รสหวาน เช่น มะม่วงสุก ทุเรียน ขนุน เงาะ ลำไย จำนวนที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 153 คน รองลงมา คือ
    1 วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 116 คน

  4. ท่านดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้สำเร็จรูป น้ำหวาน ชานม กาแฟ จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 190 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 85 คน

  5. ท่านกินอาหารที่ปรุงด้วยกะทิที่เคี่ยวแตกมัน เช่น แกงเผ็ด แกงมัสมั่น แกงคั่ว จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 175 คน รองลงมา คือ 1 วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 81 คน

  6. ท่านกินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงหรือคลอเลสเตอรอลสูง จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 145 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 95 คน

  7. ท่านกินอาหารทอด เช่น ลูกชิ้นทอด ไก่ทอด มันฝรั่งทอด กล้วยทอด จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ ทานทุกวัน จำนวน 115 คน รองลงมา คือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 101 คน

  8. ท่านกินอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือการถนอมอาหาร เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง อาหารกระป๋อง จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 202 คน รองลงมาคือ คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 97 คน

  9. ท่านกินขนมกรุบกรอบเป็นถุง เช่น สาหร่าย ข้าวเกรียบ มันฝรั่ง 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 120 คน รองลงมาคือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ
    จำนวน 110 คน

  10. ท่านกินขนมหวานต่างๆ เช่น ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมเค้ก จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 175 คน รองลงมาคือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 118 คน

  • พฤติกรรมการออกกำลังกาย

จากการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชน ให้ความสนใจการออกกำลังกาย แต่อาจจะมีบางรายที่พบว่าไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เนื่องจากไม่มีเวลาว่าง หรือไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

  • พฤติกรรมด้านอารณ์

จากการสำรวจพบว่า ความเครียดของคนในชุมชนส่วนใหญ่อาจมาจากปัญหาครอบครัว รายได้ บางคนมีความเครียดจนทำให้นอนไม่หลับ และส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลง และบางคนเมื่อประสบกับปัญหาความเครียดหาทางออกโดยการ ใช้เวลาว่างในการประกอบอาชีพเสริม และหางานอดิเรกทำเพื่อให้คลายจากความเครียด

  • พฤติกรรมสุขอนามัย

จากการสำรวจพบว่า คนในชุมชนให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากออกจากห้องน้ำ ทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหาร


จากการสำรวจพฤติกรรมในการบริโภค จะเห็นได้ว่า การเลือกรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ยังมีจำนวนเลือกปฏิบัติบ่อยและซ้ำๆกัน เหมือนเดิม ซึ่งอาจส่งผลในเกิดโรคตามมา เช่น เบาหวาน ความดัน คลอเรสเตอรอลในเลือดสูง และในขณะนี้ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวในชุมชน มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น หากหยุดไว้ที่ภาวะเสี่ยง อยากให้ลดพฤติกรรมการบริโภคเหล่านี้ให้น้อยลงที่สุด หันมาทานผักและผลไม้ให้เยอะๆ เพื่อที่จะได้ลดภาวะเสี่ยงลงมาเป็นภาวะปกติหันมาออกกำลังกายในตอนเย็นของทุกวันๆละประมาณ 30 นาที
และจากตัวอย่างการสำรวจข้างต้น ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีความมัน เช่นแกงกะทิ ทำให้ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ไขม้นในเลือดสูง หากลดจากแกงทิมาเป็นแกงจืด แกงเลียง น้ำพริก ผักลวก จะดีมาก และอยากฝากให้ทุกคนได้เห็นความสำคัญของร่างกายของเรา อยากเลือกรับประทานตามปาก ลดพฤติกรรมการบริโภคที่เคยปฏิบัติมา มาเป็นการดูแลสุขภาพ เพื่อตนเองและคนในครอบครัวกันนะค่ะ
จากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวขอบคุณ วิทยากรที่ได้มาช่วยจัดดำเนินการเวทีคืนข้อมูลและครั้งต่อไปจะเป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดการการดูแลสุขภาพคนเกาะยวน เราจะมาวางกติการ่วมกันในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ สำหรับวันนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ค่ะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้รับทราบผลสรุปการสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชน
  • ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน
  • ร่วมกันขับเคลื่อนงานของชุมชนให้ได้ผลสำเร็จ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • สมาชิก อบต.
  • กลุ่มสตรีในชุมชน
  • ประชาชนในชุมชน
  • คณะทำงาน
  • ผู้นำศาสนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 36 สิงหาคม 2016
6
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สวัสดีค่ะ  มาพบกันอีกเช่นเคยสำหรับวันดีๆ และเวลาดีๆ อย่างนี้ และสำหรับวันนี้จะมานำเสนอในเรื่องของไข้เลือดออก ซึ่งตอนนี้จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงขอประชาสัมพันธ์และวิธีการรับมือ กับอาการของผู้ที่เป็นไข้เลือดออกกัน     ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย โรคไข้เลือดออกต้องระวังยุงชนิดไหน         ยุงลายเป็นพาหะตัวร้ายของโรคไข้เลือดออก ทางที่ดีที่จะป้องกันโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้น คือการป้องกันตัวเองและคนรอบข้างไม่ให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะยุงลาย ถ้ากำจัดลูกน้ำยุงลายบริเวณรอบ ๆ บ้านได้จะยิ่งดี ยุงลายชอบกัดตอนไหน ช่วงไหนควรระวังพาหะไข้เลือดออก         ยุงลายที่กัดเราแล้วจะทำให้เป็นโรคไข้เลือดออกมีเฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น เพราะยุงลายตัวเมียต้องการโปรตีนจากเลือดเพื่อสร้างไข่ และมักจะออกหาเหยื่อในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน ฉะนั้นช่วงกลางวันจึงเป็นช่วงเวลาอันตรายที่ต้องเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดมากที่สุด แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาไหน ๆ ก็อย่ายอมให้ยุงมาดูดเลือดเลยน่าจะปลอดภัยกว่า         อาการของ ไข้เลือดออก

          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ

          1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 องศาเซลเซียส มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
        2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว
        3. ตับโต
        4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
นวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก

          โรคไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้

          1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
          2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด
          3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
          4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย
การควบคุมสิ่งแวดล้อม - การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้ยุงมีการขยายพันธุ์
- แท็งก์น้ำ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
- ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แท็งก์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน - ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
- หมั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธุ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- ตรวจสอบรอบ ๆ บ้านว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนหลังคามีแอ่งขังน้ำหรือไม่ หากมีต้องจัดการ - ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
- ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
- หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชาชนในชุมชนได้รับทราบข้อมูลข่าวเรื่องไข้เลือดออก
  • สามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
  • สามารถรู้วิธีป้องกันได้อย่างถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม.ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 231 กรกฎาคม 2016
31
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สำหรับวันนี้มานำเสนอเรื่อง "วิธีการดูแลสุขภาพของตัวคุณและคนที่คุณรัก โดยการออกกำลังกายและรับประทานอาหาร " ซึ่งไม่แตกต่างจากครั้งที่แล้ว และวันนี้เนื้อหาสาระอาจมีมากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้       ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรก รรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปทั้งในแง่การใช้แรงงานทำงานมาใช้สมองนั่งโต๊ะทำงาน การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบทำให้เกิดความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ขาดความสนใจต่อสุขภาพตัวทำให้เกิดโรคต่างๆซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดีเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกัน หรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง เพียงใช้เวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมงก็สามารถทำให้สุขภาพดีขึ้น    1.รู้จักประมาณตน การประมาณตนในการออกกำลังกายแต่พอควร จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารและพลังงานส่วนเกินได้ดี  2.เลือกเวลาออกกำลังกาย เวลาเช้าตรู่และตอนเย็นเหมาะที่สุดในการออกกำลังกายมากกว่าตอนกลางวัน ซึ่งจะทำให้เหนื่อยเร็วและได้ปริมาณน้อย บางรายอาจหน้ามืดเป็นลมก็มี ทั้งนี้ควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพราะจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของร่างกาย  3.จิตใจต้องพร้อม ควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง หากมีเรื่องไม่สบายใจ ก็ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย    4.ความสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรงหรือลดน้ำหนัก แต่จะได้ผลแค่ไหนขึ้นกับปริมาณ และความหนักเบาของการออกกำลังกายด้วย       การดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ต้องรู้จักการกินอาหารเป็นสิ่งสำคัญ รองลงมาคือการออกกำลังกาย ด้วยเหตุนี้ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวิจัยโภชนาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านอาหารและโภชนาการ จึงได้จัดทำ “ข้อปฏิบัติในการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 9 ข้อ หรือโภชนบัญญัติ 9 ประการ” เพื่อเผยแพร่ให้ใช้ยึดเป็นแนวทางในการกินอาหารให้หถูกต้องตามหลักโภชนาการ

          โภชนบัญญัติ 9 ประการ ประกอบด้วย

    1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากกลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว เพื่อให้สารอาหารที่ ร่างกายต้องการอย่างครคบถ้วนและมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่อ้วนหรือผอมเกินไป

    2. กินข้าวเป็นหลักสลับกับอาหารแป้งในบางมื้อ เลือกกินข้าวกล้องแทนข้าวขาวและได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า

    3. กินผักให้มาก และกินผลไม้ประจำ กินผักและผลไม้ทุกมื้อ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและต้านโรคมะเร็งได้

    4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี และย่อยง่าย เป็นอาหารที่หาง่าย ถั่วเมล็ดแห้งเป็นโปรตีนจากพืชที่ใช้แทนเนื้อสัตว์ได้

    5. ดื่มนมให้เหมาะสมกับวัย นมช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เด็กควรดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1-2 แก้ว

    6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร กินอาหารประเภททอด ผัด หรือแกงกะทิ แต่พอควร เลือกกินอาหาร ประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง (ที่ไม่ไหม้เกรียม) แกงไม่ใส่กะทะเป็นประจำ

    7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด กินหวานมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด กินเค็มจัดเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

    8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน อาหารที่ไม่สุกและปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมี เช่น สารบอแร็กซ์ สารเร่งสี สารกันเชื้อรา สารฟอกขาว สารฆ่าแมลง ฟอร์มาลิน ทำให้เกิดโรคได้

    9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีความเสียงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคตับแข็ง โรคมะเร็งในหลอดอาหาร และโรคร้ายอีกมาก และนี่่ก็เป็นสาระความรู้เรื่องสุขภาพดีๆ ที่ทุกคนสามารถนำมาปฏิบัติได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวของเราเอง เริ่มวันละนิด เพื่อสุขภาพของเราเองนะค่ะ สำหรับวันนี้ ขอจบการประชาสัมพันธ์เพียงเท่านี้ พบกันใหม่ในครั้งต่อไป จะเป็นเรื่องอะไรนั้น รอรับฟังกันได้ในครั้งต่อไปค่ะ สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ


circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเรื่องสุขภาพ
  • ชาวบ้านได้รับความรู้ ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม.ในหมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 829 กรกฎาคม 2016
29
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-โดยมีนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้กล่าวเปิดประชุมและชี้แจงรายละเอียดการประชุมดังนี้ 1.1 กองทุนหมู่บ้าน ทางคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเปิดให้ประชาชนที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ้านเกาะยวน หมู่ที่ 3 ตำบลละงู และดำเนินการรับชำระเงินกู้สำหรับสมาชิกที่ได้ทำการกู้ยืมเงินกับทางกองทุนหมู่บ้าน โดยจะทำการเดือนละ 2 ครั้ง คือ ทุกวันที่ 15 และวันที่ 30 ของทุกเดือน เพื่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน

1.2 ร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพสตรีตำบลละงูประจำปี 2559 ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาสตรี อสม. กลุ่มอาชีพสตรีตำบลละงู ณ องค์การบริหารส่วนตำบลละงู โดยกำหนดให้สตรีในแต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรม หมู่บ้านละ 50 คนซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้สตรีในตำบลละงู ได้ร่วมกิจกรรมเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสตรีภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง ดังนั้นจึงขอความร่วมมือพี่น้องสตรีในหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมในวันและเวลาดังกล่าว

1.3 การร่วมมือกันป้องกันปัญหายาเสพติด ในชุมชนควรมีมาตรการการป้องกันอย่างจริงจังและช่วยกันเป็นหูเป็นตา เพราะยาเสพติดนำมาสู่ปัญหาการลักขโมย เด็กและเยาวชนควรได้รับการดูแลจากผู้ปกครองผู้ปกครองเองควรให้ความร่วมมือไม่ปกปิด ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ลูกหลานทำความผิดต่อไป

1.4 การช่วยกันดูแลความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน ของคนในชุมชน ทุกคนสามารถเป็นหูเป็นตาช่วยกันดูแล ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในทรัพย์สิน และในด้านความเป็นอยู่ รวมไปถึงหากมีบุคคลที่น่าสงสัยเข้ามาในหมู่บ้านให้รีบแจ้งให้กับทางผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยทราบทันที

1.5 เฝ้าระวังปัญหาเรื่องไข้เลือดออกในชุมชน ทั้ง อสม.และคนในชุมชนเอง ช่วยกันจัดบริเวณบ้านเรือนให้ดูสะอาด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อไม่ให้การระบายของโรคแพร่มากขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ
  • เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ในเรื่องของการเสนอแนะต่างๆ
  • เกิดการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. กลุ่มสตรี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมครัวเรือนนำร่อง 60 ครัวเรือน27 กรกฎาคม 2016
27
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางกฎกติกาของกลุ่มและชี้แจงกฎระเบียบต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 เวลา 10.00 น. นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมในการจัดการประชุมครั้งนี้เพื่อให้พี่น้องประชาชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ และเป็นครัวเรือนนำร่องในการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่หาง่ายในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและ ยังเป็นผักที่ปลอดสารพิษ ทำให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บได้โดยจะให้ครัวเรือนนำร่องที่เข้าร่วมในครั้งนี้ ได้ปลูกผัก ในครัวเรือนอย่างน้อย 15 ชนิด ในแต่ละครัวเรือน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน เมื่อเห็นผลที่ตามมาจากการลงมือปฏิบัติจริง ครัวเรื่อนอื่นๆ สามารถเอาเป็นแบบอย่าง และต่อยอดการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ในครัวเรือนของเราต่อไป จากนั้นได้มีเจ้าหน้าที่จากพัฒนาชุมชนอำเภอละงูร่วมลงพื้นที่เพื่อเป็นการในความรู้และส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อให้ชุมชนได้เห็นความสำคัญในการเริ่มปลูกที่ครัวเรือนเราก่อน เพราะในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผักและผลไม้ ตามท้องตลาดที่เห็นสวยงาม แต่ทราบหรือไม่ว่าสารพิษที่ปนเปื้อนมีอยู่มากมาย ดังนั้น พื้นที่ที่ว่างในบ้านของเราสามารถที่จะปลูกได้หลายๆ อย่าง ไม่ต้องมาก แต่รับประกันว่าปลอดภัยแน่นอน และยังเป็นการสนองโครงการเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย

  • จากการร่วมประชุมในครั้งนี้ทำให้คนในชุมชนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ และได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี รวมไปถึงทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอีกด้วย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ครัวเรือนนำร่องในการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ จำนวน 60 ครัวเรือน
  • ได้ทราบกฎกติการ่วมกัน และนำไปปฏิบัติในแต่ละครัวเรือน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • สมาชิก อบต.
  • กลุ่มสตรีในชุมชน
  • ประชาชนในชุมชน
  • คณะทำงาน
  • ผู้นำศาสนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 123 กรกฎาคม 2016
23
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพในด้านต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 15.30 น. นางวรรณดี ตรีมีน ประธาน อสม. ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายภายในหมู่บ้าน ในเรื่องของสุขภาพ วันนี้มาในเรื่องของ การกินที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดี โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • วารสารทางโภชนาการและแพทย์ทางเลือกบอกถึงลักษณะการกินเอาไว้ว่า ควรจะกินให้น้อย ยกตัวอย่างคนอายุยืน สุขภาพดี บางคนถึง 100 ปีว่ามักกินอาหารไม่มาก บางคนกินมื้อเดียว เน้นที่ผักผลไม้ บางคนกินปลา บางคนกินโปรตีนจากพืช ช่วงเวลาที่กินให้กินช่วง 10 โมงถึงเที่ยง เวลานอนที่ควรนอนให้ได้ก็ตั้งแต่ 3 ทุ่มถึงตี 5 เชื่อว่าถ้านอนหัวค่ำจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่ดีของร่างกาย เช่น Growth Hormone ซึ่งจะช่วยซ่อมแซมส่วนสึกหรอของอวัยวะต่างๆ

ช่วงตี 5 ถึง 10 โมงเช้าเป็นช่วงเอา พิษออกจากร่างกาย เราจะปวดท้องถ่ายหนัก ถ่ายเบา ช่วงนี้ไม่ควรกินอาหารหนัก กินได้ แต่พวกพืช ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำเปล่ามากๆ เพราะน้ำจะเร่งล้างเอาพิษออกจากร่างกาย หรือจะดื่มน้ำผลไม้คั้นก็ได้ ในช่วง 10 โมงถึง 12 โมง จึงให้กิน อาหารหลัก ในช่วงนี้อาหารที่กินก็ควรเป็นผักสด ผลไม้สด และโปรตีนที่ย่อยง่ายๆ เช่น ปลา ถ้ากินโปรตีนเนื้อสัตว์มากๆ จะเกิดการสะสมพิษทำให้ตับทำงานหนัก ซึ่งตับจะพิการได้ ผลเสียจะตามมาอีกมาก และควรงดแป้งขัดขาว ควรกินข้าวกล้อง จะดีกว่า น้ำตาลทรายขาวก็ควรเปลี่ยนเป็น น้ำตาลทรายแดงที่ไม่ฟอกสี แต่อย่ากินมาก ให้กินความหวานจากผักผลไม้จะดีกว่า ได้มีการแนะนำว่าหลังอาหารมื้อนี้ควรจะงีบสัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ก็จะดี ซึ่งปกติก็จะง่วงอยู่แล้ว เพราะมีฮอร์โมนหลั่ง ออกมาทำให้ง่วง ถ้าได้นอนจะยิ่งสดชื่นกันใหญ่ ถ้าคนกินอาหารหนักแล้วฝืนทำงานหนักหรือขับรถนานๆ ก็อันตราย ก่อนนอนไม่ควรกินอาหารหนักโดยเฉพาะ ของหวาน เพราะ Growth Hormone จะไม่หลั่ง คนกินของหวานก่อนนอนร่างกายจะเสื่อมเร็วมาก ภูมิต้านทานก็ต่ำ ควรกินผักผลไม้เท่านั้น เช่น น้ำส้มคั้นหรือกล้วยน้ำว้า 1-2 ลูก ในกล้วยมีกรดอะมิโนสูงมาก ทำให้หลับสบาย พวกทำงานกลางคืนนอนกลางวัน มักจะอายุสั้น สุขภาพไม่ดี เพราะ Growth Hormone จะหลั่งมากตอนกลางคืนเท่านั้น คนที่อยากกินมากๆ กินอาหาร แปลกๆ มักจะมีความเครียดมากกว่าคนอื่นๆ เพราะมักมีนิสัยอยากได้มากๆ ไม่เคยพอ ความเครียดทำให้สารความทุกข์หลั่งออกมา เกิดโรคภัยต่างๆ ได้มาก

นอกจากดูแลเรื่องการกินอาหารให้ถูกต้องแล้ว ควรดูแลตัวเองเรื่องการหายใจอากาศบริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ไม่ให้ เครียด ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเสมอๆ ถ่ายอุจจาระให้ได้ทุกวัน พักผ่อนให้เพียงพอ จะทำให้มีชีวิตอยู่ได้ยาวขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายให้คนในชุมชนทราบข้อมูลข่าวสาร
  • ได้รับทราบข้อมูลสุขภาพ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องการบริโภคอาหาร การเข้านอนให้ตรงเวลา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อสม.ในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปฏิบัติการลงพื้นที่ ผู้นำ 2 รุ่น ครั้งที่ 120 กรกฎาคม 2016
20
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฏิบัติการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 ได้ลงพื้นที่เยี่ยมนายหลี โต๊ะขวัญ อายุ 86 ปี เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดัน และไม่สามารถเดินได้เอง เนื่องจากได้หกล้ม มีภรรยาและลูกคอยให้ความช่วยเหลือดูแล จึงได้ให้คำแนะนำในเรื่องอาหารการกินและความเป็นอยู่ให้กำลังใจกับผู้ป่วย รวมไปถึงญาติผู้ป่วย ให้กำลังใจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ไม่ถูกทอดทิ้ง ทั้งญาติและตัวผู้ป่วยเองดีใจที่มีคนในชุมชนลงเยี่ยมและพูดคุยให้กำลังใจ
  • เวลา 13.30 น.ได้ลงพื้นที่เยี่ยมนางฮาบีดะ ปิริยะ ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะความดันสูง ด้วยร่างกายที่ค่อยข้างอ้วน ทำให้ลำบากแก่การขยับตัว และทีมเจ้าหน้าที่อนาวมัยพร้อมด้วยทีมผู้นำ ได้ลงให้คำแนะนำ และให้กำลังใจ พบแพทย์ตามที่นัดหมายทุกครั้งเพื่อไม่ให้มีผลกระทบมาตามภายหลัง และรักษาอย่างต่อเนื่อง

  • จากการลงเยี่ยมผู้ป่วยในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงการเป็นอยู่ อาหารการกิน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ญาติในการปฏิบัติตนเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้พบปะพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย
  • ได้ข้อมูลของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำ 2 รุ่น รุ่นผู้ใหญ่และรุ่นเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 715 กรกฎาคม 2016
15
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการดำเนินงานและรับทราบข้อมูลข่าวสารของคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 15 กรกรฎาคม 2559 เวลา 14.00 น. นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้เปิดการประชุม โดยมีวาระดังนี้

  1. เรื่องการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ต้องมีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์นับถึงวันออกเสียง(เกิดก่อน 9 สิงหาคม 2559) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตออกเสียง ไม่น้อยกว่า 90 วัน ดังนั้นจึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนออกมาใช้สิทธิการออกเสียงประชมาติกัน และสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่หน่วยเลือกตั้ง ซึ่งตอนนี้ได้ปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติแล้ว ณ หน่วยเลือกตั้งมัสยิดบ้านเกาะยวน

  2. รายงานความสำเร็จโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตาม แนวทางประชารัฐ ซึ่งหมู่ที่ 3 บ้านเกาะยวนได้ดำเนินโครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำ หมู่บ้าน และตอนนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้มีการส่งมอบงานจ้างและทำการเบิกจ่าย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  3. รัฐบาลเชิญชวนบุคคลที่มีรายได้น้อย มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000
    บาท/ปี ลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการจากรัฐที่ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสินและ ธกส. ในระหว่างวันที่
    15 ก.ค. - 15 ส.ค. 59

  4. การติดตามสถานการณ์ไข้เลือดออก ซึ่งตอนนี้พื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเกาะยวน จะเห็นได้ว่ามีจำนวนผู้ ป่วยเพิ่มขึ้น จึงอยากให้ทุกคนเฝ้าระวังเรื่องไข้เลือดออก หากครอบครัวใดพบว่ามีบุตรหลานหรือคนในครอบ ครัว ป่วยมีไข้สูงติดต่อกันหลายวันให้นำตัวส่งโรงพยาบาล และหากพบภาชนะที่มีน้ำขังควรที่จะคว่ำน้ำเพื่อ ลดการแพร่กระจายลูกน้ำยุงลาย และเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 59 ที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านใน เมืองร่วมกับทีม อสม.ได้ทำการพ่นควันกำจัดยุงลายในพื้นที่หมู่บ้านที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกและบริเวณใกล้ เคียง ดังนั้นหน้าที่ของพี่น้องคือ ช่วยกันจัดบริเวณบ้านให้สะอาดไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของคนในชุมชนและได้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้คนในชุมชนทราบ
  • ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • ได้รับทราบข้อเสนอแนะ ปัญหา ความต้องการของคนชุมชน และนำไปแก้ไข
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามและปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ14 กรกฎาคม 2016
14
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พบพี่เลี้ยงในการดำเนินการปรับปฏิทินโครงการสำหรับกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ ให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรมให้ละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แผนการจัดกิจกรรมที่เป็นปัจจุบันและสามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องตามปฏิทินโครงการ
  • ได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรม โดยเพิ่มเติมเนื้อหาข้อความ ให้มีความละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 618 เมษายน 2016
18
เมษายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านได้ทำการประชุมสภาครั้งที่ 6 โดยมีนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้ชี้แจงรายละเอียดดังนี้

1โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โดยสนับสนุนงบประมาณหมู่บ้านละ 200,000 บาท ซึ่งมีลักษณะโครงการดังนี้ - การดำเนินโครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหรือดำเนินโครงการตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - การดำเนินโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การปรับปรุงหรือให้มีแหล่งน้ำ - การส่งเสริมอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน - การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การซ่อมแซมสาธารณประโยชน์ โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นกลไกในการขับเคลื่อน กิจกรรมโครงการที่มาจากประชาชนคิด ประชาชนร่วมมือร่วมใจกันทำ และร่วมรับประโยชน์จากโครงการ ที่เสนอมาเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน

2 โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เวทีที่ 2 ซึ่งหมู่ที่ 3 จะมีการจัดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2559 เวลา 13.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์มัสยิดบ้านเกาะยวน กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน เพื่อรับฟังการนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์และประมวลผลจากการสำรวจข้อมูลรายรับ – รายจ่าย ของประชาชนหมู่ที่ 3 พร้อมทั้งทำการประชาคมคัดเลือกโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมการจัดเวทีในวันและเวลาดังกล่าวข้างต้นอย่างพร้อมเพรียงกัน

3 คณะกรรมการมัสยิดได้มีมติให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนากุโบร์บ้านเทศ ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมในวันที่ 20 เมษายน 2559 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชนและเกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน นอกจากนี้ได้มีการจัดทำอาหารกลางวันให้พี่น้องที่ร่วมกิจกรรมได้รับประทานกัน จึงอยากให้ทุกคนได้มาร่วมกิจกรรมและฝากประชาสัมพันธ์ไปยังพี่น้องใกล้เคียง

4 การคัดเลือกคณะกรรมกลางหมู่บ้าน อพป.และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ นั้นจะมีการจัดประชาคมเพื่อให้คนในชุมชนได้รับทราบโดยทั่วกัน โดยจะมีปลัดประจำตำบลละงูเข้าร่วมชี้แจงในเรื่องการดำเนินการโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โดยสนับสนุนงบประมาณหมู่บ้านละ 200,000 บาท

5 การเตรียมจัดเวทีคืนข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน บ้านเกาะยวน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านได้ร่วมประชุมเพื่อเสนอความคิด ปัญหา และความต้องการต่างๆ ของหมู่บ้าน
  • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกอบต.
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
สรุปวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพ22 มีนาคม 2016
22
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาสังเคราะห์เพื่อนำไปสู่การคืนข้อมูลต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 22 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 น. ได้จัดกิจกรรมสรุปวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพ ของคนในชุมชนบ้านเกาะยวน หมู่ที่ 3 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ได้ทำการสำรวจทั้งหมด 470 ครัวเรือน โดยมี นางสาวอรทัย อุสมา พยาบาลวิชาชีพ ประจำ รพ.สต. บ้านในเมือง ตำบลละงูเป็นวิทยากรในการสังเคราะห์ข้อมูล จากแบบสำรวจลงพื้นที่่จัดเก็บข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์ในครั้งนี้นำไปสู่การจัดทำเวทีคืนข้อมูลให้กับคนในชุมชนได้รับทราบถึงสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชน และจากการลงสำรวจข้อมูลของชุมชนพบว่าสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชนส่วนใหญ่จะปฏิบัติซ้ำๆ กันทุกวัน การเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ ซึ่งที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่จะส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน เป็นต้นเหตุการเกิดโรคได้

  • พฤติกรรมการบริโภค

  1. ท่านกินผักและผลไม้หลากหลายใน 1 วัน จำนวนคนที่รับประทานผักและผลไม้มากที่สุด คือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 163 คน รองลงมา คือทานทุกวัน จำนวน 110 คน

  2. ท่านกินผักและผลไม้ อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมหรือ 5 กำมือต่อวัน จำนวนที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 243 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 83 คน

  3. ท่านกินผลไม้รสหวาน เช่น มะม่วงสุก ทุเรียน ขนุน เงาะ ลำไย จำนวนที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 153 คน รองลงมา คือ
    1 วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 116 คน

  4. ท่านดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้สำเร็จรูป น้ำหวาน ชานม กาแฟ จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 190 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 85 คน

  5. ท่านกินอาหารที่ปรุงด้วยกะทิที่เคี่ยวแตกมัน เช่น แกงเผ็ด แกงมัสมั่น แกงคั่ว จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 175 คน รองลงมา คือ 1 วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 81 คน

  6. ท่านกินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงหรือคลอเลสเตอรอลสูง จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 145 คน รองลงมา คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 95 คน

  7. ท่านกินอาหารทอด เช่น ลูกชิ้นทอด ไก่ทอด มันฝรั่งทอด กล้วยทอด จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ ทานทุกวัน จำนวน 115 คน รองลงมา คือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 101 คน

  8. ท่านกินอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือการถนอมอาหาร เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง อาหารกระป๋อง จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 202 คน รองลงมาคือ คือ 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 97 คน

  9. ท่านกินขนมกรุบกรอบเป็นถุง เช่น สาหร่าย ข้าวเกรียบ มันฝรั่ง 5 ถึง 6 วัน/สัปดาห์ จำนวน 120 คน รองลงมาคือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ
    จำนวน 110 คน

  10. ท่านกินขนมหวานต่างๆ เช่น ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมเค้ก จำนวนครั้งที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 2 ถึง 4 วัน/สัปดาห์ จำนวน 175 คน รองลงมาคือ 1วัน/สัปดาห์หรือไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 118 คน

  • พฤติกรรมการออกกำลังกาย

จากการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชน ให้ความสนใจการออกกำลังกาย แต่อาจจะมีบางรายที่พบว่าไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เนื่องจากไม่มีเวลาว่าง หรือไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

  • พฤติกรรมด้านอารณ์

จากการสำรวจพบว่า ความเครียดของคนในชุมชนส่วนใหญ่อาจมาจากปัญหาครอบครัว รายได้ บางคนมีความเครียดจนทำให้นอนไม่หลับ และส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลง และบางคนเมื่อประสบกับปัญหาความเครียดหาทางออกโดยการ ใช้เวลาว่างในการประกอบอาชีพเสริม และหางานอดิเรกทำเพื่อให้คลายจากความเครียด

  • พฤติกรรมสุขอนามัย

จากการสำรวจพบว่า คนในชุมชนให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากออกจากห้องน้ำ ทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน จำนวน 1 ชุด
  • ได้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การจัดทำเวทีคืนข้อมูลในกับคนในชุมชน
  • ได้ทราบถึงสถานการณ์และปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เช่น เบาหวาน ความดัน
  • เกิดกระบวนการในการแสดงความคิดเห็นร่วมกันของคณะทำงานและทีมจัดเก็บข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • อสม.
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 515 มีนาคม 2016
15
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านเกาะยวน โดยมีนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น เป็นประธานสภาฯ
  • เวลา 14.00 น. นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประธานสภาฯ ได้กล่าวเปิดการประชุมโดยแจ้งที่ประชุมทราบตามวาระต่างๆ ดังนี้
  1. โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคเกษตรประสบปัญหาหลายประการ ได้แก่ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และปัญหาสินค้าตกต่ำ เป็นต้น ดังนั้นจึงได้มีโครงการของประชารัฐให้หมู่บ้านได้จัดทำโครงการขึ้นภายในหมู่บ้าน ซึ่งได้งบสนับสนุนจำนวน 5 แสนบาท เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความมั่นคง แข็งแรง ต่อไป โดยงบที่ได้รับการสนับสนุนจะดำเนินผ่านทางกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งให้สมาชิกในกองทุนได้ร่วมกันเสนอ แนวทางและการจัดทำโครงการให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

  2. โครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดเวทีในวันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอละงู จึงแจ้งให้ทราบและขอความร่วมมือให้ตัวแทนหมู่บ้านจำนวน 30 คนเข้าร่วมโครงการในวันและเวลาดังกล่าวอย่างพร้อมเพรียงกัน

  3. การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จากสถานการณ์ในตอนนี้ เห็นได้ว่าเกือบทุกครัวเรือนประสบกับปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะน้ำดื่ม น้ำใช้ รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้ได้รับความเสียหายจากปัญหาภัยแล้ง ขาดน้ำให้การเกษตร หากครัวเรือนใดประสบปัญหาดังกล่าว สามารถแจ้งมายัง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเพื่อหาทางช่วยแก้ไขปัญหาและรายงานไปยังหน่วยที่เกี่ยวข้องทราบถึงปัญหาดังกล่าวต่อไป
  • นางสุกัลญาดำเดิม ชี้แจงผลการลงสำรวจพื้นที่การลงจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์การบริโภคของคนในชุมชน และเตรียมจัดกิจกรรมสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การบริโภค
  • ภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน
  1. นายกะหรีมฟองชล คณะกรรมการมัสยิด ชึ้แจงการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิด คือ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2559 คณะกรรมการมัสยิดบ้านเกาะยวน และประชาชนในพื้นที่ ได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยกันก่อสร้างโรงจอดรถภายในบริเวณมัสยิดบ้านเกาะยวนและรื้อถอนโรงจอดรถหลังเก่า พร้อมกันนี้เพื่อปรับภูมิทัศน์และจัดระเบียบพื้นที่ภายในมัสยิดบ้านเกาะยวน ให้เป็นสัดส่วนและมีระเบียบมากขึ้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านเข้าร่วมการประชุมและมีการชี้แจงสถานการณ์ด้านต่างๆในชุมชน
  • เกิดความร่วมมือและการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมประชุม
  • ได้ข้อเสนอแนะของแต่คนในการร่วมมือกันขับเคลื่อนงานในชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
  • ประธานกองทุนหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพจำนวน 10 วัน17 กุมภาพันธ์ 2016
17
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสำรวจสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมลงจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน ประกอบด้วย อสม.และเยาวชน ทั้งหมด 30 คน โดยลงพื้นที่ในวันที่ 17 ก.พ. 59 จนถึง วันที่ 26 ก.พ. 59 เป็นเวลา 10 วัน ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่ลงสำรวจทั้งหมด 470 ครัวเรือน ในแต่ละทีมที่ลงสำรวจประกอบด้วยเยาวชน 2 คน ต่อ อสม. 1 คนและจะมีการแบ่งเขตการลงพื้นที่โดยแบ่งเป็นโซนได้แก่ โซนเกาะยวนใน โซนเกาะสุเหร่า โซนควนกลาง โซนควนนาใน ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของ อสม. โดยทำการสอบถามข้อมูลตามแบบสอบถาม และแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบ คือ

  • ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

  • ตอนที่ 2 พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส.

    2.1 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

    2.2 พฤติกรรมการออกกำลังกาย

    2.3 พฤติกรรมด้านอารมณ์

    2.4 พฤติกรรมการสูบบุหรี่

    2.5 พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(การดื่มสุรา)

  • ตอนที่ 3 พฤติกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคล

    3.1 พฤติกรรมการใช้ช้อนกลาง

    3.2 พฤติกรรมการล้างมือ

    3.3 พฤติกรรมการกินอาหารปรุงสุกใหม่ๆ

    3.4 พฤติกรรมการนอนหลับ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลการบริโภคอาหารของคนในชุมชนเพื่อนำไปสรุปวิเคราะห์และนำไปสู่กระบวนการในการคืนข้อมูลสู่ชุมชนและเพื่อให้คนในชุมชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้น
  • ได้พูดคุยสักถามถึงลักษณะความเป็นอยู่และการเลือกบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและไม่ก่อให้เกิดโรค
  • ได้พูดคุยพร้อมทั้ง อสม.ได้ให้คำแนะนำแก่คนในชุมชนในเรื่องของสุขภาพ
  • ในกลุ่มเสี่ยงที่คาดว่าน่าจะก่อให้เกิดโรค อสม.แนะนำในการเข้าร่วมการคัดกรองเบาหวาน/ความดัน โดยจะมีเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านในเมืองจะลงพื้นที่คัดกรองเบาหวาน/ความดันในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งจะมีการนัดอีกครั้งหนึ่ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ทีม อสม. และเยาวชนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ในบางครัวเรือนอาจได้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงบ้างและไม่ครบถ้วน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
รายงานปิดงวด 112 กุมภาพันธ์ 2016
12
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดงวดโครงการ งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทำการตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ โดยมีเจ้าหน้าที่ทำการตรวจเอกสารการเงินและรายงานในเวปไซด์ ตามกิจกรรมที่พื้นที่ได้จัดดำเนินการในแต่ละกิจกรรม พร้อมทั้งตรวจรายงานและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะและเขียนรายงานเพิ่มเติมในบางกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมและเพื่อความเสร็จสมบูรณ์ครบถ้วน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการตรวจสอบเอกสารการเงินได้เอกสารการเงินสอดคล้องกับกิจกรรมและในเวปไซด์
  • ได้สรุบผล และได้ปิดงวดโครงการ งวดที่ 1 อย่างเสร็จสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • บางกิจกรรมอาจบันทึกรายงานยังไม่ครบถ้วน และได้ทำความเข้าใจพร้อมเพิ่มเติมรายงานให้สมบูรณ์
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ร่วมกับพื้นที่สรุปปิดงวด 1 โครงการ11 กุมภาพันธ์ 2016
11
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อหนุนเสริมพื้นที่ในการปิดงวดโครงการงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ช่วยดูแลพื้นที่ในการตรวจสอบเอกสารก่อนพบทีม สจรส.ในการตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมในเวบไซค์ก่อนปิดงวดโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมคณะทำงานโครงการของพื้นที่มีความเข้าใจสามารถจัดการเอกสารได้ถูกต้อง
  • สามารถปิดโครงการงวดที่ 1 ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • เรื่องการจัดการเอกสารอย่างถูกต้อง
  • การเขียนรายงานกิจกรรมลงในเวบไซค์
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 46 กุมภาพันธ์ 2016
6
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมรับฟังการชี้แจงข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 13.30 น. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 4 ณ มัสยิดบ้านเกาะยวน โดยมีประธานสภา นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น กล่าวเปิดการประชุมและแจ้งระเบียบวาระการประุชมและชี้แจงการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการ รวมทั้งร่วมกันวางแผนในการดำเนินกิจกรรมต่อไปเพื่อการขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขี้น พร้อมทั้งสรุปปัญหาที่เกิดขี้นในการดำเนินกิจกรรมในแต่ครั้งนอกจากนี้ยังมี ภาคีเครือข่าย นายเจษฎา สวาหลัง ผอ.รพ.สต.บ้านในเมือง รวมการประชุมในครั้งนี้ เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการ "ลด ละ เลิก บุหรี่" ที่ผ่านมา เพื่อให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและโทษของบุหรี่ โดยโครงการนี้ดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการมัสยิดบ้านเกาะยวน เพื่อให้กาารขับเคลื่อนงานในชุมชน ทุกฝ่ายจึงต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้คนในชุมชนได้รับทราบและนำไปปฏิบัติได้จริง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของคณะทำงาน
  • เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีม
  • เห็นถึงความมีน้ำใจต่อกัน
  • ได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ อสม.ผู้นำศาสนา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ทำความเข้าใจและชี้แจงหน้าที่การรับผิดชอบ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อนัญญาแสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารเงินรายงานก่อนปิดงวดโครงการ29 มกราคม 2016
29
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงานก่อนปิดงวดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน เพื่อความถูกต้อง
  • ปรึกษาหารือพี่เลี้ยงโครงการเกี่ยวเอกสารการเงินและสมุดบัญชีธนาคาร
  • เพิ่มเติมเนื้อหาในรายงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดเรียงเอกสารทางการเงินได้อย่างถูกต้อง
  • ได้รายละเอียดรายงานโครงการเพิ่มเติม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อนัญญาแสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินรายงานก่อนปิดงวดโครงการ28 มกราคม 2016
28
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงานก่อนปิดงวดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงาน ก่อนปิดงวดโครงการ
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดเรียงเอกสารทางการเงินและรายงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการจำนงน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 315 มกราคม 2016
15
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่ห้องประชุมโรงเรียนบ้านเกาะยวนโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป หลังจากนั้นนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และชี้แจงการดำเนินการการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพและการวางแผนในการลงพื้นที่สำรวจ  ร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือและวางแผนในการลงเก็บข้อมูลต่อไป หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการประชุมชี้แจงตามระเบียบวาระให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ
  • ร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป
  • มีการชี้แจงและร่วมกันจัดการวางแผนการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพ
  • แกนนำร่วมภาคีได้มีส่วนร่วมในการประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารรวมทั้งสถานณ์การต่างๆในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา ส.อบต. อสม. โรงเรียน กลุ่มสตรี กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 40 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล 30 คน26 ธันวาคม 2015
26
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเครื่องมือและวางแผนในการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านเกาะยวน โดยมีนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานในการเปิดการประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 30 คน เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งเยาวชนและ อสม.ในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพร้อมลงพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจะมีการแบ่งโซนเพื่อให้คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนโดยให้เยาวชน 2 คน ต่อ อสม. 1 คน ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดความเข้าใจในแบบสำรวจข้อมูล
  • เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกันของ อสม.และเยาวชนในชุมชน
  • ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เกิดข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล โดยมี เยาวชน 20 คน และ อสม. 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมทีมวิชาการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพ19 ธันวาคม 2015
19
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้แบบสำรวจข้อมูลและข้อมูลที่ต้องการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 9.00 น.ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านเกาะยวน โดยมีนายกิตติคุณ  มาลัยสนั่น ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานในการเปิดประชุมทีมวิชาการในการออกแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชนบ้านเกาะยวน หมู่ที่ 3 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการทำงาน โดยมีนางสาวอรทัย อุสมา เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านในเมือง หมู่ที่ 12 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เป็นวิทยากรในการออกแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนและทางคณะทำงาน ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันคิดวิเคราะห์ออกแบบสำรวจ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดิบที่สามารถนำมาวิเคราะห์เป็นชุดข้อมูลของหมู่บ้านที่สมบูรณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แบบสำรวจมีรายละเอียดทั้งหมด 3 ตอน ประกอบด้วย

ตอนที่ 1 ข้อมูทั่วไป

ตอนที่ 2 พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส.

2.1 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร 2.2 พฤติกรรมการออกกำลังกาย 2.3 พฤติกรรมด้านอารมณ์ 2.4 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ 2.5 พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(การดื่มสุรา)

ตอนที่ 3 พฤติกรรมสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล

3.1 พฤติกรรมการใช้ช้อนกลาง 3.2 พฤติกรรมการล้างมือ 3.3 พฤติกรรมการกินอาหารปรุุงสุกใหม่ๆ 3.4 พฤติกรรมการนอนหลับ

และได้วางแผนสำรวจทั้งหมด 470 ครัวเรือน เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาสรุปวิเคราะห์ภาวะการเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดัน เบาหวานของคนในชุมชนเพื่อนำข้อมูลมาจัดทำปิงปองเจ็ดสี โดยปิงปองเจ็ดสีคือ สีขาวกลุ่มปกติ สีเขียวอ่อนกลุ่มเสี่ยง สีเขียวเข้มกลุ่มป่วยระดับ 0 สีเหลืองกลุ่มป่วยระดับ 1 สีส้มกลุ่มป่วยระดับ 2 สีแดงกลุ่มป่วยระดับ 3 สีดำกลุ่มแทรกซ้อน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม.กลุ่มสตรีและคณะทำงาน จำนวน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 216 ธันวาคม 2015
16
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่ห้องประชุมโรงเรียนบ้านเกาะยวนโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป หลังจากนั้นนางสุกัลญา ดำเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาหลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง
อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน รวมทั้งชี้แจงการประชุมทีมวิชาการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการประชุมชี้แจงตามระเบียบวาระให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ
  • ร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป
  • มีการชี้แจงและร่วมกันจัดการวางแผนการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนในครั้งต่อไป
  • มีการออกแบบการสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านและแกนนำร่วมภาคีได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของชุมชน และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารรวมทั้งสถานณ์การต่างๆในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม. อบต. กลุ่มสตรีในชุมชน ผู้นำศาสนา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
อบรมการเขียนรายงานและการเงิน4 ธันวาคม 2015
4
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการเขียนรายงานและการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • รับฟังการชี้แจงการเขียนรายงานและการเงิน
  • การหักภาษี ณ ที่จ่ายของโครงการในชุมชน
  • การจัดการเอกสารการและเอกสารที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ
  • ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อสงสัย
  • สรุปผลการผลอบรมร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานแต่พื้นที่เข้าใจหลักการเขียนรายงานและหลักการในการจัดเอกสารการเงินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการพื้นที่ละ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมกับพื้นที่ในการอบรมเรื่องการเขียนรายงาน4 ธันวาคม 2015
4
ธันวาคม 2015รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารต่างๆในการจัดกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้มีการอบรมเรื่องการเขียนรายงานร่วมกับพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดการเอกสารการเงินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • พื้นที่ที่รับโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เน็ตช้าเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมหลายพื้นที่จึงจำเป็นต้องwifi ส่วนตัวเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็วมากขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ทำความเข้าใจเพิ่มเติมในส่วนที่พื้นที่ยังไม่เข้าใจ
พัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน22 พฤศจิกายน 2015
22
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00-15.00 น.จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน โดยนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น กล่าวชี้แจงการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และเชิญวิทยากรนายเจษฎา สวาหลัง ผอ.รพ.สต.บ้านในเมือง มาให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องของการสร้างจิตอาสาการทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้นำที่ดี คือการเป็นผู้นำตามสถานการณ์ การทำงานด้วยจิตอาสาเพื่อชุมชนของตนเองให้สามารถพึ่งตนเองได้ทำงานจิตอาสา การทำงานร่วมกับชุมชนและการทำงานร่วมกับหมู่คณะให้เข้าใจหลักการทำงานและมีจิตอาสามากขึ้น รวมถึงการทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยสมัครใจ เพื่อการดูแล ป้องกัน แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน หรือสิ่งอื่นใด ซึ่งผลตอบแทนที่อาสาสมัครได้รับคือ ความสุข ความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ และในด้านสภาวะจิตใจของบุคคลที่ทำงานจิตอาสานั้น ต้องมีความรักความปรารถนาที่จะให้ และมีจิตใจที่จะทำความดี เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึง ยอมเสียสละเวลา โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ หลังจากนั้นได้แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาทีมให้มีประสิทธิภาพและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้การทำงานประสบผลสำเร็จ รวมทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแนวความคิดให้มีจิตอาสามากขึ้น ทีมสภาผู้นำที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความรู้ประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนาและร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับชุมชนต่อไป
  • เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องการเป็นผู้นำ ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงาน
  • เกิดความเข้าใจในภาวะการเป็นผู้นำได้มากขึ้น โดยให้แต่ละกลุ่มสามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค์ของการทำงานร่วมกัน และวิธีการแก้ไขเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ และช่วยกันสรุปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขการทำงานให้มีศักยภาพสูงสุด เพื่องานที่ออกมาตรงตามวัตถุประสงค์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม. อบต. กลุ่มสตรีในชุมชนและผู้นำศาสนา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 19 พฤศจิกายน 2015
9
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและสรุปรายงานตามกิจกรรมแต่ละครั้ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสุกัลญา ดำเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งที่ประชุมทราบการจัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน กำหนดขึ้นเพื่อเป็นเวทีร่วมกันปรึกษาหารือ วางแผนการทำงานร่วมกัน เพื่อให้พื้นที่มีสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นแกนนำที่มาช่วยกันขับเคลื่อนงานของชุมชน มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน และให้สภาที่มาจากทุกกลุ่มองค์กรในชุมชน ร่วมกันพัฒนาสภาผู้นำให้มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลืชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็ง และพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงบประมาณที่สนับสนุนเพื่อนำมาพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมไปในทิศทางเดียวกัน โดยงบประมาณทางสสส.ได้มีการจัดการในการสนับสนุนงบประมาณมาให้พื้นที่จำนวน 3 งวด มีการดำเนินการงาน 18 กิจกรรมตามแผนและมีพี่เลี้ยงมาหนุนเสริมการทำงานในพื้นที่ นางสาวรสน๊ะ สายเส็น ชี้แจงรายงานทางการเงิน และมีการคัดเลือกแต่งตั้งประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการ  เหรัญญิก  และกรรมการฝ่ายต่างๆ นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น ผู้ได้รับการคัดเลือกแต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้นำพูดคุยเสนอแนะการวางแผนหรือทำอย่างไรให้ให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่างๆของหมู่บ้านจากสภาผู้นำหมู่บ้าน อยากให้ผู้นำทุกคนมีความสามัคคี ก็จะเกิดเป็นสภาและนำไปสู่ความสำเร็จเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป้าหมายของโครงการเพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและเกิดสภาผู้นำ 1 สภา  และเกิดการร่วมกันขับเคลื่อนงานในหมู่บ้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้หลัก การทำงานเป็นทีมและวางแผนการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการแต่งตั้งสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 ชุด ประกอบด้วย
    • ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน
    • อสม. 12 คน
    • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3 คน
    • กลุ่มสตรี 15 คน
    • อบต. 1 คน
    • บัณฑิตอาสาฯ 1 คน
    • ผู้นำศาสนา 3 คน
    • เยาวชน 4 คน
  2. เกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 ชุด เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ มีการแต่งตั้งประธานรองประธานเลขานุการเหรัญญิกและคณะกรรมการฝ่าย
  3. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหมู่บ้านในแต่เดือนเพื่อกระจายให้คนในชุมชนทราบข่าวสารต่างๆ
  4. มีการวางแผนงานการขับเคลื่อนงานในหมู่บ้านโดยร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น อสม.โรงเรียน อบต.เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศานา บัณฑิตอาสา และผู้แทนกลุ่มต่างๆ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดเวทีชี้แจงโครงการ28 ตุลาคม 2015
28
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชนเห็นที่มาและวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมในพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

    เริ่มประชุมเวลา  13.00 น.  ณ มัสยิดบ้านเกาะยวน หมู่ที่ 3  ต.ละงู  อ.ละงู  จ.สตูล  จัดเวทีชี้แจงโครงการให้กับคนในชุมชน  โดยมีผู้ใหญ่บ้านนายนายกิตติคุณ มาลัยสนั่น  เป็นประธานที่ประชุม  กล่าวเปิดประชุมโครงการ ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ พร้อมทั้งชี้แจงให้กับคนในชุมชน  เพื่อให้เห็นวัตถุประสงค์เป้าหมายความเป็นมาของโครงการ ซึ่งได้รับงบประมาณมาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนัก 6 ซึ่งสัดส่วนในการสนับสนุนของ สสส.มี 2 ทางคือแบบเปิดรับทั่วไปและเสนอผ่าน สจรส.มอ. ก็คือโครงการที่เราได้รับงบประมาณมาครั้งนี้ ทำงานภายใต้ชุมชน หมู่บ้าน ปีละ 200,000 บาท การจัดทำโครงการขึ้นต้องทำร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการซึ่งต้องชื่นชมทีมทำงานที่ช่วยกันพัฒนาโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงและกว่าจะได้มีของโครงการก็เริ่มจากหลักคิดการค้นหาปัญหาของชุมชนที่เราอยากจะพัฒนาให้ดีขึ้นหรือแก้ไขปัญหาของชุมชน ของพื้นที่เกาะยวน ม. 3 ทำเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังและคนในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนงานภายใต้โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่คือการทำงานแบบมีส่วนร่วม เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งพูดคุยหาทางออกในการแก้ปัญหาที่มีในชุมชนองค์ประกอบประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนเครือข่ายที่มีอยู่ในชุมชน
    วิทยากรให้ความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพทั้งในเรื่องโรคความดัน เบาหวาน โดยสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคมาจากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อาหารจำพวก หวาน มัน เค็ม สาเหตุจากพันธุกรรม และความเครียด เป็นต้น รวมทั้งให้ความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมอาหารสำหรับในผู้ป่วยที่เป็นโรคและหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดโรค นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องปัญหาสุขภาพและร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมนการประชุมเวทีชี้แจงโครงการให้ความสนใจและบรรลุตามเป้าหมาย จากการชี้แจงโครงการในครั้งนี้ทำให้คนในชุมชนได้รับทราบโครงการและเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ทำให้คนในชุมชนเกิดความคิดและเปลี่ยนแปลงทัศนคติในเรื่องของสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากขี้น ส่งผลให้การเกิดโรคลดลงและการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรค

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 103 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร20 ตุลาคม 2015
20
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อคืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการได้รับเงินสำรองเปิดบัญชีธนาคาร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมคณะทำงานโครงการ20 ตุลาคม 2015
20
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงการทำงานโครงการและคณะทำงานได้รับทราบ- เพื่อขับเคลื่อนงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 16.00 น. โดยผู้ประสานงานโครงการ...ชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อชี้แจงการทำงานโครงการให้ทีมคณะทำงานได้รับทราบการขับเคลื่อนงานโครงการและได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานแต่ละฝ่าย คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : ชี้แจงความเป็นมาของโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นภาษีเหล้าและบุหรี่ ซึ่งสนับสนุนให้กับชุมชนที่สนใจซึ่งสนับสนุนพื้นที่ละ 200,000 บาท โดยจะทำปีต่อปี ซึ่งในการพัฒนาโครงการทำภายใต้ สจรส.มอ.ภาคใต้ และมีพี่เลี้ยงในพื้นที่มาช่วยหนุนเสริมการทำงานชุมชนซึ่งเริ่มจากการค้นหาพื้นที่และพัฒนาโครงการขึ้นพร้อมกัน และมีขั้นตอนในการเขียนโครงการที่หลายขั้นตอนทางทีมพี่เลี้ยงโครงการซึ่งต้องชื่นชมทีมทำงานที่ช่วยกันพัฒนาโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงและกว่าจะได้มีของโครงการก็เริ่มจากหลักคิดการค้นหาปัญหาของชุมชนที่เราอยากจะพัฒนาให้ดีขึ้นหรือแก้ไขปัญหาของชุมชน ของพื้นที่เกาะยวน ม. 3 ทำเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังและคนในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนงานภายใต้โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่คือการทำงานแบบมีส่วนร่วม เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งพูดคุยหาทางออกในการแก้ปัญหาที่มีในชุมชนองค์ประกอบประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนเครือข่ายที่มีอยู่ในชุมชน ระบบการรายงานกิจกรรมของโครงการเราต้องบันทึกการประชุมเพื่อนำไปรายงานในเวบไซค์และเป็นข้อมูลในการจัดประชุมแต่ละครั้งเพื่อความต่อเนื่อง และในส่วนของการสนับสนุนงบประมาณทาง สสส.จะให้มา 3 งวด โครงการนี้จะไม่สนับสนุนการเดินทางให้กับผู้เข้าร่วมประชุมเนื่องจากคนส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนเดินทางใกล้ๆ และสามารถถอนเงินมาไว้เป็นเงินสดในมือไม่เกิน 5,000 บาท โครงการนี้มีระบบธรรมาภิบาล กิจกรรมหลักๆของโครงการประกอบด้วย การประชุมคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านจำนวน 10 ครั้งต่อปี ชี้แจงการทำงานโครงการให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ สำรวจข้อมูลสถานการณ์คุ้มครองผู้บริโภค ภายใต้โครงการการสำรวจข้อมูลก็มีการสร้างแบบสำรวจ ลงเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลสุดท้ายก็คืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นสถานการณ์ปัญหาที่แท้จริงและช่วยกันแก้ไขปัญหาต่อไป โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการในการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้เพื่อลดปัญหาการบริโภคที่ไม่ปลอดภัย และสรุปถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานโครงการมีทั้งหมด 20 คน ประกอบด้วย
    • ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน
    • อสม. 12 คน
    • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3 คน
    • กลุ่มสตรี 4 คน
  2. คณะทำงานโครงการร่วมมือกันขับเคลื่อนโครงการ การดำเนินโครงการ ร่วมดำเนินการจัดกิจกรรม เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ
  3. เกิดความเข้าใจการทำงานและรับรู้แผนงานโครงการมีการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบงานในการจัดกิจกรรมของพื้นที่และมีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เข้าใจการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม. อบต. ผู้นำศาสนา กลุ่มสตรี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ติดตามและหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่20 ตุลาคม 2015
20
ตุลาคม 2015รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของพื้นที่ก่อนเริ่มทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงโครงการชี้แจงการทำงานโครงการชาวเกาะยวนหมู่ 3 ยุคใหม่คิดใหม่ทำใหม่ใส่ใจสุขภาพ ซึ่งได้รับงบประมาณมาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนัก 6 ซึ่งสัดส่วนในการสนับสนุนของ สสส.มี 2 ทางคือแบบเปิดรับทั่วไปและเสนอผ่าน สจรส.มอ. ก็คือโครงการที่เราได้รับงบประมาณมาครั้งนี้ ทำงานภายใต้ชุมชน หมู่บ้าน ปีละ 200,000 บาท การจัดทำโครงการขาขึ้นต้องทำร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการซึ่งต้องชื่นชมทีมทำงานที่ช่วยกันพัฒนาโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงและกว่าจะได้มีของโครงการก็เริ่มจากหลักคิดการค้นหาปัญหาของชุมชนที่เราอยากจะพัฒนาให้ดีขึ้นหรือแก้ไขปัญหาของชุมชน ของพื้นที่เกาะยวน ม. 3 ทำเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังและคนในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนงานภายใต้โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่คือการทำงานแบบมีส่วนร่วม เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งพูดคุยหาทางออกในการแก้ปัญหาที่มีในชุมชนองค์ประกอบประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนเครือข่ายที่มีอยู่ในชุมชน ผู้ใหญ่บ้านทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านที่ผ่านมามีการประชุมกันทุกเดือนและประเด็นที่มีการพูดคุยเป็นประจำทุกเดือนคือเรื่องยาเสพติด ระบบการรายงานกิจกรรมของโครงการเราต้องบันทึกการประชุมเพื่อนำไปรายงานในเวบไซค์และเป็นข้อมูลในการจัดประชุมแต่ละครั้งเพื่อความต่อเนื่อง และในส่วนของการสนับสนุนงบประมาณทาง สสส.จะให้มา 3 งวด โครงการนี้จะไม่สนับสนุนการเดินทางให้กับผู้เข้าร่วมประชุมเนื่องจากคนส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนเดินทางใกล้ๆ และสามารถถอนเงินมาไว้เป็นเงินสดในมือไม่เกิน 5,000 บาท โครงการนี้มีระบบธรรมาภิบาล  กิจกรรมหลักๆของโครงการประกอบด้วย การประชุมคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านจำนวน 10 ครั้งต่อปี ชี้แจงการทำงานโครงการให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ สำรวจข้อมูลสถานการณ์คุ้มครองผู้บริโภค ภายใต้โครงการการสำรวจข้อมูลก็มีการสร้างแบบสำรวจ ลงเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลสุดท้ายก็คืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นสถานการณ์ปัญหาที่แท้จริงและช่วยกันแก้ไขปัญหาต่อไป โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการในการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้เพื่อลดปัญหาการบริโภคที่ไม่ปลอดภัย และสรุปถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการเข้าใจหลักการทำงานมากขึ้น
  • มีการทบทวนโครงสร้างคณะทำงาน คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อนำไปสู่สภาผู้นำหมู่บ้าน
  • มีการแลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่การทำงานที่เข้าใจร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ห้องประชุมไม่เอื้อต่อการประชุมแบบมีส่วนร่วม
  • เป็นห้องประชุมเปิดทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่มีสมาธิ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • การคีย์ข้อมูลในเวบไซค์
  • การเบิกเงินมาจัดกิจกรรม
  • โครงสร้างสภาผู้นำหมู่บ้าน
จัดทำป้ายปลอดบุหรี่16 ตุลาคม 2015
16
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

  การวางแผนออกแบบป้าย  การเดินทางไปจัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการตามที่ต้องการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 390 คน จากที่ตั้งไว้ 390 คน
ประกอบด้วย

ผู้ประสานงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสารการเงินและป้ายโครงการ14 ตุลาคม 2015
14
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรึกษาการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มาปรึกษาพี่เลี้ยงเรื่องการจัดทำเอกสารและร่วมกันกำหนดวันในการจัดกิจกรรมจริงของพื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีความเข้าใจในการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้พี่เลี้ยงลงพื้นที่เพื่อร่วมในการจัดกิจกรรมของพื้นที่

ปฐมนิเทศน์โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่7 ตุลาคม 2015
7
ตุลาคม 2015รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของพื้นที่ก่อนเริ่มทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. โดยทีมพี่เลี้ยงโครงการในการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานกิจกรรมและทำความเข้าใจเวบไซค์ ทำความเข้าใจเอกสารการเงิน ชี้แจงกิจกรรมหลักในการทำงานของพื้นที่ร่วมกับ สจรส. ให้พื้นที่ลงปฏิทินการทำงานของโครงการ แลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจหลักการทำงานของ สสส.ในการทำโครงการของพื้นที่
  • คณะทำงานได้มีการลงข้อมูลและจัดทำปฏิทินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • พื้นที่รับโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • แนะนำเรื่องการคีย์ข้อมูลและก็จัดลำดับในการลงวันที่เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง
ปฐมนิเทศ7 ตุลาคม 2015
7
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายกิตติคุณ มาลัยสนั่น
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การบริหารจัดการโครงการ การใช้ระบบการทำงาน เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะขีด ความสามารถของผู้รับทุนด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการ ปฐมนิเทศ การอบรมการเขียนรายงาน การจัดการ เอกสารการเงิน และการติดตามสนับสนุนโครงการ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ฟังการชี้แจงจาก สจรส.เรื่องการจัดทำข้อมูลลงเวบไซด์และทำความเข้าใจเรื่องเอกสารโครงการ
  2. ลงแผนการดำเนินงานโครงการ
  3. ชี้แจงกิจกรรมหลักในการทำงานของพื้นที่ร่วมกับ สจรส. โดยให้พื้นที่ลงปฏิทินการทำงานของโครงการ
  4. แลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น
  5. บันทึกกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ฝึก ปฏิบัติการลงข้อมูล
  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจหลักการทำงานของ สสส.ในการทำโครงการของพื้นที่
  • คณะทำงานได้มีการลงข้อมูลและจัดทำปฏิทินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

เจ้าของโครงการและคณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี