directions_run

บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร ”

ม.10 บ้านห้วยไทร ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย สุไหลหมาน สายเส็น

ชื่อโครงการ บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

ที่อยู่ ม.10 บ้านห้วยไทร ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03948 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1917

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม.10 บ้านห้วยไทร ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร " ดำเนินการในพื้นที่ ม.10 บ้านห้วยไทร ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03948 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,920.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 270 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและสามารถจัดการข้อมูลชุมชนได้
  2. เพื่อให้เกิดกระบวนการการจัดการปัญหาหนี้สินในชุมชน
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศ โครงการ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ฟังการชี้แจงจาก สจรส พี่เลี้ยงได้แนะนำในการเขียนรายงานในการจัดกิจกรรมโครงการ
    2. ลงแผนการดำเนินงาน
    3. ฝึกบันทึกผลการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ฝึกปฏิบัติในการลงข้อมูล เข้าใจหลักการบริหารจัดการโครงการ วางแผนปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ และเข้าใจหลักเอกสารการเงิน การใช้จ่ายให้ตรงกับสัญญาโครงการและบริหารจัดการในโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การวางแผนออกแบบป้ายการเดินทางไปจัดทำป้าย สถานที่ติดป้่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ป้ายโครงการตามที่ต้องการ ติดตั้งในพื้นที่ชุมชน เป็นเขตปลอดบุหรี่ให้ชุมชนปฏิบัติตาม เพื่อเห็นป้ายแล้วกิดความตระหนักในการไม่สูบบุหรี่ต่อไป และเป็นพื้นที่อากาศบริสุทธิ์ไม่มีควันบุหรี่ทำให้ดีต่อสุขภาพ

     

    2 270

    3. พบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสารการเงินและป้ายโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 2 คน
    • เพื่อปรึกษาเรื่องเอกสารทางการเงินและทำความเข้าใจความดป็นไปในโครงการที่ได้รับมอบหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มาปรึกษาพี่เลี้ยงเรื่องการจัดทำเอกสารและร่วมกันกำหนดวันในการจัดกิจกรรมจริงของพื้นที่
    • ได้หารือกับพี่เลี้ยงในการกำหนดกิจกรรมโครงการในครั้งต่อไป

     

    2 2

    4. ประชุมคณะทำงานโครงการ

    วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. โดยผู้ประสานงานโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจการทำงานโครงการให้กับผู้ประสานงานได้รับรู้รับทราบข้อมูลการทำงานโครงการ ต่อด้วยการแนะนำตัวของคณะทำงานโครงการพร้อมบทบาทการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ หลักคิดการทำงานโครงการเริ่มจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชนทำให้แกนนำร่วมกับพี่เลี้ยงได้มีการคิดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการทำงานของพื้นที่ เห็นด้วยกับการทำงานโครงการของพื้นที่แต่ปัญหาคือเมื่อมีงบประมาณมาในพื้นที่กลัวชาวบ้านจะมีความแตกแยก
    2. คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : พี่เลี้ยงโครงการ เล่าสถานการณ์ของ สสส.ที่ถูกแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของให้กับคนในชุมชน สสส.คือ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.มี 12 สำนัก และงบประมาณที่ลงมาพื้นที่ในครั้งนี้มาจากสำนัก 6 คือโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โครงการนี้จะมีพี่เลี้ยงโครงการที่คอยหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ และถ้าพื้นที่มีปัญหาอะไรก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเรื่องในส่วนของการขับเคลื่อนงานภายใต้แผนงานที่ร่วมกันกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในการทำงานของพื้นที่ถ้าคณะทำงานเห็นว่าไม่โปร่งใสก็สามารถรายงานไปยังพี่เลี้ยง ซึ่งพี่เลี้ยงมีอำนาจในการระงับโครงการได้สำหรับพื้นที่ตำบลละงู ปีนี้ได้ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน หัวใจของโครงการนี้ต้องการให้เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งชวนคิดชวนคุยในการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกเรื่อง ผู้แทนหมู่บ้าน : ถ้าต้องการให้การทำงานมีความสำเร็จเนื่องจากบทเรียนที่ผ่านมาการทำงานของชุมชนมีความล้มเหลวแต่อยากให้โครงการนี้นำชุมชนไปสู่ความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานของชุมชน
    3. ชี้แจงเรื่องการเบิกงบประมาณของโครงการ และงบประมาณที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหารและวัสดุอุปกรณ์แต่จะไม่ให้ค่าเดินทาง ผู้ใหญ่ : ชี้แจงเรื่องกิจกรรมของโครงการเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการทำงานคือพื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยไทรโดยมีเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม พื้นที่ รพ.สต.ห้วยไทรและพื้นที่ศูนย์เด็กเล็ก จะเห็นว่าหลายภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : โครงการชุมชนน่าอยู่เริ่มมาจากฐานข้อมูลของชุมชนมีการเรียงลำดับปัญหาที่ชัดเจนว่าปัญหาที่แท้จริงของชุมชนมีอะไรโดยกิจกรรมในการขับเคลื่อนคือการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหาของชุมชน และในเรื่องของงบประมาณเราจะไม่ให้ค่าเดินทางเนื่องจากมีแนวคิดว่าหมู่บ้านจะเข้มแข็งได้คนในหมู่บ้านต้องมีจิตอาสา คุณอนัญญาแสะหลี : ชี้แจงแผนงานกิจกรรมโดยกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการคือประชุมคณะทำงานสภาผู้นำโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน พัฒนาทีมสภาผู้นำเพื่อการทำงานจิตอาสา การศึกษาดูงาน มีพื้นที่ปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหา คณะกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง : เสนอเรื่องการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละฝ่ายเพื่อช่วยในการทำงานโดยอาจจะชักชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่มาช่วยในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้มีคนทำงานมากขึ้น
      บัณทิตอาสา : แจกแจงเรื่องบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้คุยมาแล้วเบื้องต้นตอนนี้ก็มีคนทำงานที่ชัดมากขึ้นและคณะทำงานเองก็เห็นมิติใหม่ที่มาช่วยกันทำงานร่วมมือขับเคลื่อนงานภายใต้ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ให้สามารถเดินต่อได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมประชุมคณะทำงาน 15 คน
    • เข้าใจกิจกรรมกระบวนการชุมชนน่าอยู่มีระบบการหนุนเสริมโดยพี่เลี้ยง
    • เข้าใจหลักการวางแผน การใช้จ่ายเงินที่ถูกต้อง กับการบันทึกข้อมูลรายงานผลที่ตอบตัวชี้วัดผลลัพธ์ผลิต และการเก็บเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    • ต้องการให้งานสำเร็จต้องถอดบทเรียน

     

    15 15

    5. ชี้แจงรายละเอียดทำความเข้าใจโครงการให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ 100 คน

    วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรเข้ามาให้ความรู้ชี้แจงโครงการให้คนที่ข้าร่วมประชุมได้รับทราบและนำไปสู่การขยายต่อในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนรู้ที่มาและวัตถุประสงค์การทำงานโครงการที่นำไปสู่ความร่วมมือในการทำงานต่อไป

     

    100 100

    6. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ื 1

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่5พฤศจิกายน2558เวลา13.00น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยไทรนางกิ่งดาวเอ็กหลี ผู้ใหญ่บ้านประธาน ที่ประชุมเรียกประชุมคณะทำงานโครงการโดยให้นายสุไลหมานสายเส็น ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่1เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการทำงานโดยให้คณะทำงานได้เสนอความคิดเห็นกันปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกันในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกันและการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบมีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชนและชุมชนเองก็จะเจริญก้าวหน้าสามารถรับกับสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันมีการเลือกแต่งตั้งประธานสภารองประธานสภาเลขานุการเหรัญญิกและกรรมการฝ่ายต่างๆ

    • นายสุชาติหมาดง๊ะ ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการเสนอให้มีการสร้างจิตสำนึกโดยการให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือเมื่อมีการประชุมหรือการประชาคมหมู่บ้านให้คณะกรรมการหมู่บ้านและคนในชุมชนเข้าร่วมประชุมเพื่อที่จะได้รับรู้ข่าวสารและการเคลื่อนไหวในชุมชนว่ามีการพัฒนาไปในรูปแบบใดเพราะบางคนคิดว่าการเข้าร่วมประชุมประชาคมไม่มีความสำคัญกับตนแต่ในการประชุมประชาคมต่างๆเป็นผลต่อตัวของตนเองทั้งนั้น จึงอยากให้ตระหนักถึงความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมประชาคม

    • นายสุชาติหมาดง๊ะ ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการกล่าวสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและให้มีการวางแผนกิจกรรมต่อไปโดยมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายดำเนินกิจกรรมตามแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แต่งตั้งประธานรองประธานเลขานุการเหรัญญิกและคณะกรรมการฝ่ายต่างๆเกิดจิตอาสาการทำงานมากขึ้นเข้าใจและยอมรับกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้
    • คณะทำงานได้เสนอความคิดเห็นกันปัญหาการรวมกลุ่มการอยู่ด้วยกันในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องไปด้วยกันและการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบมีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชนและชุมชนเองก็จะเจริญก้าวหน้าสามารถรับกับสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันมีการเลือกแต่งตั้งประธานสภารองประธานสภาเลขานุการเหรัญญิกและกรรมการฝ่ายต่างๆ

     

    30 20

    7. คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการรับเงินคืนสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

     

    1 1

    8. พัฒนาศักยภาพทีมสภาหมู่บ้านจำนวน 30 คน

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 9- 10 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10.00น. - 16.30 น. ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านห้วยไทรหมู่ที่ 10ตำบลละงูอำเภอละงู จังหวัดสตูล จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพที่สภาหมู่บ้านจำนวน30คน (ภายใต้งบประมาณ สสส.) โดยมีนายสุไลหมานสายเส็น เป็นประธาน ในที่ประชุม และมีคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. กลุ่มสตรี และกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านภายใน

    • พร้อมรับฟังการบรรยายจากนายประยุทธ์ อัศวภักดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ท่านวิทยากรจะให้คำแนะและการดำรงชีวิตประจำวันการอยู่แบบพอเพียง ปลูกผักสวนครัว รั่วกินได้ หลีเลี่ยงกันกินอาหารที่มีรสชาดจัด อาหารมัน เพื่อที่จะได้ห่างไกลจากโรคภัยและยังให้การแนะนำเกี่ยวกับการปลูกผักที่ปลอดสารพิษและการส่งเสริมให้กิจกรรมกลุ่มมีรายได้เสริมจากการปลูกพืชผักและสามารถนำผักจากการปลูกมารับทานเองแล้วปลอดสารพิษและยังขายภายในหมู่บ้านหรือตามท้องตลาดที่มีความต้องการของผักปลอดสารพิษและได้เน้นย้ำให้ชาวบ้านอยู่อย่างพอเพียงดำเนินตาม พระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัว หลีกเลี่ยงจากการซื้อผักที่มีสารพิษ ถ้าหากเราปลูกผักไว้กินเองแล้ว เราก็จะได้ปลอดภัย ไม่มีโรคภัยและได้บอกกล่าวทีมสภาผู้นำหมู่บ้านให้ถึงแม้ว่างานนั้นจะไมีมีค่าตอบแทนใดๆก็ตามหากว่าทุกคนมีจิตสาธารณะช่วยเหลือคนอื่นและชุมชนเหมือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้านสามารถเปลี่ยนความคิดคนให้มีจิตอาสามากขึ้นและเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานกันเป็นทีมมากขึ้นมีความผูกพันกันมากขึ้นและได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่ทางสสส.ให้มาทำกิจกรรมต่างๆจากที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่างบของสสส.เขาให้มาใช้เพื่อทำอะไรทุกคนสามารถเข้าใจและพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชน

    • กิจกรรมจะมีการแบ่งออกเป็น 3กลุ่ม ๆ ละ 10คน เพื่อจะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน การทำงานเป็นทีมและมีการจัดกาใส่แนวคิดในการทำงานจิตอาสา ของแต่ละกลุ่มได้มีการเสนอการปลูกผักครอบครัวรั้วกินได้ โดยแต่ละกลุ่มจะเสนอการปลูกผักสวนครัว10 - 20ชนิด เพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

    • ในการจัดกิจกรรมในวันนี้คือการพัฒนาศักยภาพทีมผู้นำหมู่บ้านถ้าหากเราไม่มีความสามัคคีกันศักยภาพผู้นำจะไม่เห็นเลยเพราะเราขาดความรับผิดชอบการมาของทุกคนทั้งหมดในวันนี้ถือว่ามีศักยภาพมากแต่ละคนเพราะทุกคนต้องการที่จะมาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือชุมชนของตนเองให้มีประสิทธิภาพด้านความเป็นผู้นำในชุมชนความคิดความกล้าที่จะแสดงให้เห็นว่าคนในชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถยืนอยู่ด้วยลำแข้งของตนเองได้

     

    30 30

    9. อบรมการเขียนรายงาน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนรายงานตัว
    • เพื่อรับเอกการในการอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    •คณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดการเอกสารการเงินโครงการ และเข้าใจการหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่

     

    2 2

    10. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 2

    วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยไทรโดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.30 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป หลังจากนั้นนายสุไลหมานสายเส็น ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนทำความเข้าใจในการกำหนดจัดประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนตามกิจกรรมต่อไป หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียนผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยไทร จำนวน 30 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานวิชาการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียนผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 20 ของเดือน

     

    30 30

    11. ประชุมทีมวิชาการจำนวน 20 คน ออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินของคนในชุมชน

    วันที่ 19 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.ณ อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทร นายสุไลหมาน  สายเส็น ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานในการเปิดประชุมทีมวิชาการออกแบบแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน โดยมีนางนูรอัยนี  มณีโสะ เป็นวิยากรในการออกแบบสำรวจหนี้สินข้อมูล บ้านห้วยไทร  หมู่ที่ 10 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการทำงาน โดยมีวิทยากรร่วมในการออกแบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนและทางคณะทำงาน ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันคิดวิเคราะห์ออกแบบสำรวจ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดิบที่สามารถนำมาวิเคราะห์เป็นชุดข้อมูลของหมู่บ้านที่สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แบบสำรวจข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชน
    • เกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแบบสำรวจ
    • เกิดกระบวนการคิดร่วมกันและเกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน •และร่วมกันวางแผนลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลต่อไป

     

    21 21

    12. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 3

    วันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาประชุมที่อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยไทร โดยพร้อมเพรียงกันในเวลา 13.00 น.และเริ่มเปิดการประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งประธานแจ้งเรื่องที่จะประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบและแจ้งกำหนดการประชุมประจำเดือนครั้งต่อไป หลังจากนั้นนายสุไลหมาน  สายเส็น  ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และชี้แจงการดำเนินการการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนและการวางแผนในการลงพื้นที่สำรวจ โดยกำหนดจัดประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล มาร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือและวางแผนในการลงเก็บข้อมูลต่อไป หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านห้วยไทร จำนวน 30 คน มีการประชุมชี้แจงเรื่องประชุมตามระเบียบวาระที่ได้แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทราบ และร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ประชุมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล จำนวน 20 คน ตามแบบสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชน และแกนนำกลุ่มภาคีต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน และกำหนดจัดประชุมสภาผู้นำทุกวันที่ 20 ของเดือน

     

    30 30

    13. ประชุมทีมลงเก็บข้อมูล 20 คน

    วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยไทร โดยมีนายสุไลหมานสายเส็นเป็นประธานในการเปิดการประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยมีวิทยากร นางนูรอัยณีมณีโสะ ได้บอกวิทีการทำงานในการเดินสำรวจข้อมูลของชาวบ้าน ทั้งเยาวชนและ อสม.ในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพร้อมลงพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความเข้าใจในแบบสำรวจข้อมูล
    • เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกันของ อสม.และเยาวชนในชุมชน
    • ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เกิดข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกพื้นที่
    • การลงพื้นที่เก็บข้อมูลจะมีการแบ่งโซนเพื่อให้คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนโดยให้เยาวชน 1 คน ต่อ อสม. 1 คน ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล

     

    20 21

    14. ลงพื้นที่สำรวจในการจัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชนจำนวน 10 วัน

    วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      - เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชน - ทีมเก็บข้อมูลแบ่งทีมกันลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสำรวจที่ได้ร่วมกันออกแบบ - สรุปสังเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นและทราบถึงข้อมูลของการเป้นหนี้สินของครัวเรือนในปัจจุบัน - สรุปผลการดำเนินงานพร้อมรายงานผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • อสม.ได้ลงพื้นที่ลงสำรวจครัวเรือนทุกครัวเรือน
    • สอบถามข้อมูลรายรับรายจ่ายในครัวเรือน
    • สอบถามปัญหาความต้องการของประชาแต่ต้องพึงตนเองให้ได้มากที่สุด
    • ได้แบบสำรวจที่สำรวจแล้ว
    • ได้พูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์
    • ได้รับรู้ความเป็นอยู่และสัมผัสความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมากขึ้น

     

    20 20

    15. มาพบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสาร รายงาน ก่อนปิดโครงการ

    วันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การจัดทำเอกสารการเงิน
    • การเข้ารับการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเอกสารการเงินและเอกสารกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจการจัดการเอกสารและร่วมกันปรับตามคำแนะนำของพี่เลี้ยงในการจัดทำเอกสารและการรายงานกิจกรรมลงในเวบไซค์

     

    2 2

    16. เพื่อตรวจเอกสารการเงินและกิจกรรม

    วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการโครงการก่อนปิดงวด
    • ปรับปรุงแก้ไขในระบบและเพิ่มเติมเนี้อหาในระบบให้มมากขึ้น
    • ฟังคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เอกสารที่ได้รับการตรวจความถูกต้องพร้อมที่รายงานการปิดงวด

     

    2 2

    17. กิจกรรมปิดงวด 1

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเอกสารการเงินที่ได้รวบรวมไว้จากการทำกิจกรรมที่ผ่านมาให้เจ้าหน้าที่ ของ สจรส. ตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำการตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ โดยมีเจ้าหน้าที่ สจรส.ทำการตรวจเอกสารการเงินและรายงานในเวปไซด์ ตามกิจกรรมที่พื้นที่ได้จัดดำเนินการในแต่ละกิจกรรม พร้อมทั้งตรวจรายงานและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะและเขียนรายงานเพิ่มเติม

     

    2 2

    18. เพื่อปิดโครงการ งวดที่ 1

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ส่งรายงานสรุปแบบรายงานการเงิน งวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงาน และการเงินปิดงวด 1 ได้ดียิ่งขึ้น

     

    2 2

    19. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 4

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสรุปการดำเนินกิจกรรมสังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่20กุมภาพันธ์2559เวลา13.00 น นางกิ่งดาวเอ็กหลีประธานชุมชนได้กล่าวพูดถึงการดำเนินกิจกรรมสังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นทีมงานที่มีความสามัคคีในหมู่คณะภายใต้กิจกรรมของโครงการบ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10 เน้นความเจริญด้านอาหาร ในที่ประชุมประธานได้เน้นย้ำถึงการทำงานเป็นทีม ซึ่งให้ข้อมูลที่ได้มานั้นตรงกับเป้าหมายและให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ุ

     

    30 30

    20. พบพี่เลี้ยงในการจัดทำเอกสารการเงินโครงการ

    วันที่ 7 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เพื่อสรุปงานกิจกรรมโครงการที่ได้ดำเนินงานและแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลและความถูกต้องของสถานะทางการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เพื่อสรุปงานกิจกรรมโครงการที่ได้ดำเนินงานและแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

     

    1 2

    21. สรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สิน

    วันที่ 8 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา09.00น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยไทรหมู่10ต.ละงูอ.ละงูจ.สตูลโดยมีนายสุไลหมาน สายเส็นผู้รับผิดชอบโครงและคณะทำงานโครงการรวมทั้งสิ้นจำนวน๒๐คนเพื่อสรุปวิเคราะห์สังเคราะหฺฺ์ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินโดยมีนางสมปองบุญฤิทธิ์ พัฒนากรประจำตำบลละงูเข้ามาให้ความรู้ในการนำแบบสำรวจหนี้สินที่ได้สำรวจข้อมูลนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้รับทราบรายรับและหนี้สินของคนในชุมชนข้อมูลประชากรข้อมูลการศึกษาอาชีพหลักของคนในชุมชนอาชีพรองของคนในชุมชนรายได้รวมของคนในชุมชนและรายจ่ายรวมของคนในชุมชนภาระหนี้สินของคนในครัวเรือนหนี้ในระบบคือหนี้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์หนี้จากธนาคารออมสินหนี้จากสหกรณ์หนี้จากกองทุนหมู่บ้านภาระหนี้สินของครัวเรือนนอกระบบคือหนี้จากนายทุนเงินกู้หนี้จากญาติหรือเพื่อนร่วมงานโดยให้คณะทำงานแต่ละคนแบ่งหน้าที่กันเพื่อสรุปข้อมูลดังกล่าวข้องต้นเพื่อใช้ในการประเมินและนำไปสู่เวทีคืนข้อมูลชุมชนจำนวน100คนต่อไปโดยใช้เวลาในการสรุปจำนวน1วันปิดประชุมเวลา16.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลหนี้สิน และครอบครัวที่ผ่านการวิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น
    • ได้ข้อมูลหนี้สินครอบครัวจำนวน 1 ชุด
    • คณะทำงานมีความร่วมมือกันในการวิเคราะหฺ์สรุปหนี้สินโดยแบ้งหน้าที่กันในการสรุปแบบสอบถามหนี้สินแต่ละหัวข้อของแต่ละครัวเรือนซึ่งครัวเรือนทั้งหมดมี200ครัวเรือน
    • ได้ผลสรุปเป็นตัวเลขเพื่อนำไปคืนเวที100คน

     

    20 30

    22. เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 100 คน

    วันที่ 17 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนทราบวันที่เพื่อมาประชุม
    • เตรีมข้อมูลในการนำเสนอในการจัดเวทีคืนข้อมูลชุมชน
    • เตรียมความพร้อมในเรื่องสถานที่อาหารและอุปกรณ์ในการจัดการประชุม
    • วันที่ 17 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 น. - 16.00 น  ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยไทร หมู่ 10  ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ประธานกล่าวเปิดประชุมโดยนายสุไลหมาน  สายเส็น ได้รายงานการจัดทำเวทีคืนข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูลหนี้สินในชุมชนในการจัดกิจกรรมครั้งนี้นางสาวสมปอง  บุญฤิทธิ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ ชี้แจงทางในการดำเนินกิจกรรมในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายและการขยายโอกาสของครัวเรื่อนโดยผู้ให้ข้อมูลทั้หมด 435 ครัวเรือน อาชีพหลักของคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกร รายได้หลักต่อเดือนของคนในชุมชน อยู่ระหว่าง 0-5000 บาท จำนวน 100 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง5001-15000 บาท จำนวน 155 ครัวเรือน อยุ่ระหว่าง 15001-30000 บาท จำนวน 65 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง30001-50000บาท จำนวน  85 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไปจำนวน 30 ครัวเรือน นายสุชาติ  หมาดง๊ะ รายงานภาระหนี้สินของครัวเรือนในระบบ - ผู้มีหนี้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่าง 0-5000บาท จำนวน 15 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 5000-15000 จำนวน 9 ครัวเรือน 15000-30000 จำนวน 13 ครัวเรือน 30000-50000 จำนวน 30 ครัวเรือน อยู่ระหว่าง 50000 ขึ้นไป จำนวน 20 ครัวเรือน -หนี้สินจากธนาคารออมสินอยู่ระหว่าง 0-5000 บาท จำนวน  -  ครัวเรือน 5000-15000 บาท จำนวน 5 ครัวเรือน 15000-30000 บาท จำนวน 3 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไป จำนวน 23 ครัวเรือน หนี้จากสหกรณ์ อยู่ระหว่าง 5000-15000 บาท จำนวน - ครัวเรือน 15000-30000 บาท จำนวน 4 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไป จำนวน 0 ครัวเรือน หนี้จากกองทุนหมู่บ้าน 0-5000 บาท จำนวน 15 ครัวเรือน 5000-15000 จำนวน 3 ครัวเรือน 15000-30000 จำนวน 12 ครัวเรือน 30000-50000 จำนวน -  ครัวเรือน ภาระหนี้สินนอกระบบของครัวเรือน หนี้จากนายทุนเงินกู้ 0-5000 จำนวน 5 ครัวเรือน 15000-30000 จำนวน 25 ครัวเรือน 50000 ขึ้นไป จำนวน8 ครัวเรือน หนี้สินจากญาติหรือเพื่อนบ้าน อยู่ระหว่าง 0-5000 จำนวน - ครัวเรือน 5000-15000 จำนวน -  ครัวเรือน 15000-30000 จำนวน 4 ครัวเรือน 30000-50000 จำนวน 3 ครัวเรืือน 50000 ขึ้นไป จำนวน 2 ครัวเรือน พักรับประทานอาหารว่าง จับของรางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม นายเชษฐา  หลำย๊ะ  ได้รับสมัครครัวเรือนนำร่องจำนวน 30  ครัวเรือน ในการอบรมทำบัญชีครัวเรือน นางกิ่งดาว  เอ็กหลี  ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดประชุม ปิดประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้สถานการณ์หนี้สินแต่ละครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด -  เกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถดำเนินไปพร้อมกับแผนชุมชนได้ -  จะทำให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงค์ชีวิตให้ดีขึ้นเมื่อการกระบวนการและความสามารถในการใช้จ่ายของแต่ละครัวเรือน
    • คนในชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากแบบวิเคราะที่ครัวเรือนได้ตอบคำถามจากการสำรวจจริง

     

    100 93

    23. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 5

    วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เพื่อเป็นกลไกในการทำงานของชุมชน
    2. มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องจำนวน10 ครั้งต่อปี
    3. มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้ชุมชนดำเนินไปแนวทางเดียวกัน
    4. สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 14. 00 น ณ อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านหว้ยไทร จัดประชุมทีมสภาผู้นำหมู่บ้านเพื่อติเตามดำเนินกิจกรรมของงานทีผ่านมาโดยมีนายสุไลหมานสายเส็น และ นายสุชาติหมาดง๊ะผู้ช่วยในการจัดกิจกรรมประชุมสภาผู้นำชุมชนเพื่อให้งานที่ผ่านมานั้นกลับมาทบทวนรายละเอียดและพูดคุยเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกินขึ้นในอนาคตเพื่อวางแผนกำหนดกลไกลหารือพร้อมกัน และพร้อมที่จะเสนอแนวทางพร้อมกันและที่ประชุมได้เสนอว่าจะมีการเปลี่ยนสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากตำบลย่านซื่ออำเภอควนโดนจังหวัดสตูลเป็นบ้านลำธุ์สินเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยได้ติดต่อนายอุทัยบุญดำ วิทยากรเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนไปศึกษาดูงานส่วนค่าใช้จ่ายหากเป็นส่วนเกินทางผู้ใหญ่บ้านสมทบจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่ประชุมได้มีการเห็นชอบที่จะไปศึกษาดูงานที่จังหวัดพัทลุง ปิดประชุมเวลา15.00 น

     

    30 30

    24. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่

    วันที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานและผู้นำครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 30 คน ได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอครัวเรือนต้นแบบ บ้านลำสินธุ์  ตำบลลำสินธุ์ อำเภศรีนครินทร์  จังหวัดพัทลุง เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านลำสินธุ์  ต.ลำสินธุ์อ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ในพื้นที่ จำนวน 30 ไร่ ในการใช้พื้นที่ปลูกพืชผสมผสานตามแนวเศรฐกิจพอเพียง คณะศึกษาดูงานได้ความรู้ ต้นแบบการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่และครัวเรือนของตนเองได้และเป็นแนวทางเพื่อให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์มากที่สุด ได้แนวความคิดการจัดการศูนย์เรียนรู้ เพื่อนำมาจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -  เวลา 08.00 น. คณะทำงานและผู้นำครัวเรือนต้นแบบ จำนวน30 คน เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอต้นแบบ บ้านลำสินธุ์  ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนคริน  จังหวัดพัทลุง เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นครัวเรือนต้นแบบ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและใกล้เคียง โดยมีนายนายอุทัย  บุญดำ เป็นวิทยากรและผู้จัดการเรียนรู้ประจำศูนย์ฯ ให้ความรู้การดำเนินวีถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรแบบผสมผสานและมีการจัดทำให้เห็นผลประโยชน์ของหมู่บ้านที่ได้จัดทำขึ้นมา เวลา 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง -  เวลา 10.30 น.  นายอุทัย  บุญดำ ได้แนะนำไปตามศูนย์เรียนรู้ต่าง ผ่านเครือข่ายสินธุ์แพรทอง  มีการบอกแหล่งที่มาและรายละเอียดก่อนที่จะมีการรวมกลุ่มที่มาของศูนย์เรียนรู้ - เวลา ๑๑.๐๐ น . เยี่มชมฐานเรียนรู้ต่าง ๆ  เพื่อศึกษารายละเอียดเพื่อให้ได้ความรู้กับสมาชิกในกลุ่มให้ได้มากที่สุด  เช่น การปลูกผักพื้นบ้านกินยอด  การปลูกผักตามฤดูกาล  ฯลฯ -  เวลา ๑๒.๐๐ น. รับประธานอาหารเที่ยง ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายแพรสินธุ์ทอง
    -  เวลา ๑๓.๐๐น  เยี่ยมชมตลาดเครือข่ายแพรสินธุ์  ของหมู่บ้านชาวบ้านในหมู่บ้านได้ร่วมมือกันสร้างตลาดขึ้นมาโดบมีการนำผักของหมู่บ้านมาขายเพื่อให้เกิดรายได้ในชุมชน - เวลา  ๑๕.๐๐ น  รับประธานอาหารว่าง และเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

     

    20 30

    25. ประชุมและลงมือปฏิบัติครัวเรือนนำร่องในการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 30 ครอบครัว

    วันที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่30มีนาคม2559เวลา10.00น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยไทรนายสุไลหมาน สายเส็นผู้รับผิดชอบโครงการได้เปิดการประชุมโครงบ้านห้วยไทรหมู่ที่10น่าอยุ่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหารต.ละงูอ.ละงูจ.สตูลการประชุมชี้แจงกิจกรรมทำความเข้าใจครัวเรือนนำร่องจำนวน 30 ครัวเรือนเพื่อดำเนินกติการ่วมของกลุ่มในการทำงาน เช่นทุกครัวเรือนต้องมีการปลูกพืชผักสมุนไพร ไว้กินอย่างน้อย10 ชนิด เช่น

    • 1 ผักบุ้ง
    • 2 แตงกวา
    • 3 ถัวฝักยาว
    • 4 ตะใค้ร
    • 5 ฝักเขียว
    • 6 บวบ
    • 7 พริก
    • 8 มะเขือ
    • 9 ข้าวโพด
    • 10 มะละกอ
      และในการประชุมครั้งนี้ได้เสนอการปลูกผักหลากหลายชนิดมากเพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการมองเห็นอนาคตและเป็นการให้ความสำคัญในการทำงานกลุ่มซึ่งอาจจะก่อให้เกิดรายได้เสริมในอนาคตข้างหน้าและจะต้องทำบัญชีครัวเรือนการเข้าร่วมการจัดตั้งพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและวิธีแก้ไขเพื่อจะได้รู้แนวทางในการปฏิบัติตามหลักและมีการดำเนินกิจกรรมไปพร้อมกับผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ปิดประชุม เวลา15.00 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดกติการ่วมกันของผู้ทำบัญชีครัวเรือน30ครัวเรือน
    • มีการว่างแผนในการทำงานร่วมกัน
    • มีการเอาใจใสกับสิ่งที่เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

     

    30 30

    26. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 6

    วันที่ 8 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -วันที่ 8เมษายน2559 เริ่มประชุมเวลา09.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทร ต.ละงู อ.ละงู จังหวัดสตูล เพื่ออบรมใสแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในการประชุมครั้งนี้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้พูดคุยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เข้ากับสภาวะของปัจจุบันและได้ฝากถึงพี่น้องในชุมชนของการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและรณรงค์ให้ระวังเกี่้ยวกับการแพร่ระบาดของไข้เลือกออกการแนะนำ การเทน้ำที่ขังในภาชนะ - กำหนดหน้าทีความรับผิดชอบในการจัดเพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบมีหลักคิดในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง - ชี้แจงการวางแผนการจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน - การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆภายในพื้นที่หมู่บ้านและข่าวสารทางราชการให้ที่ประชุมรับทราบ -นายสุไลหมานสายเส็น ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวพูดคุยกับพี่น้องในการทำกิจกรรมคั้งต่อไปเพื่อขับเคลื่อนให้งานที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้พี่น้องได้ปฏิบัติต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ณ อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทร จำนวน  30 คนมีการชี้แจงการทำกิจกรรมต่างๆ
    • โดยได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี
    • ทีมสภาได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการเตรียมจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
    • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่

     

    30 30

    27. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 7

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ระเบียบวาระที่ 1.เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ 1.1โครงการต่อยอดของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รอบที่ 2 ตอนนี้ทางกลุ่มก็ได้ลงมือปรับพื้นที่เพื่อจะได้ลงพันธ์ผักต่างๆๆที่พี่น้องได้เสนอขึ้นมากในโครงการนี้และขอให้พี่น้องทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ทั้ง 30 ท่านปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุดเพราะงบประมาณแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยคะ 1.2โครงการยกระดับศักยภาพของหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โครงการปรับปรุงและต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านขณะนี้กำลังดำเนินการประกาศเชิญชวนยื่นข้อเสนอ สอบราคาจัดซื้อ/จัดจ้างแล้วและกำลังเริ่มดำเนินงาน 1.3 การออกเสียงประชามติ พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 กำหนดวันออกเสียงประชามติฯ ในวันอาทิตย์ที่ 7สิงหาคม2559ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันออกเสียงประชามติตามวันเวลาดังกล่าวด้วย มติที่ประชุม รับทราบ

    ระเบียบวาระที่ 2เรื่องรับรองรายงานการประชุม เมื่อวันที่ 20มิถุนายน พ.ศ.2559 มติที่ประชุม ไม่มี

    ระเบียบวาระที่ 3เรื่องติดตามผลการประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2559 มติที่ประชุมไม่มี

    ระเบียบวาระที่ 4เรื่องเพื่อทราบ / พิจารณา / ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน 4.1 นางกิ่งดาวเอ็กหลี :เรื่องการขอรับสนับสนุนการเพิ่มทุน 1 ล้าน ขณะนี้เงินยังไม่มีการโอนเข้าบัญชี และแจ้งเรื่องการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฌาปนกิจ ผู้ใดมีความประสงค์เข้าร่วมกองทุนฌาปนกิจ เป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกและบุคคลในครอบครัวในกรณีเสียชีวิต เพื่อช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพแก่ผู้เสียชีวิต ใครประสงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกให้มาสมัครได้ ทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน และให้สมาชิกที่กู้เงินกองทุนหมู่บ้านให้ติดต่อชำระอย่างต่อเนื่อง 4.2 เรื่องปัญหายาเสพติดและการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ให้ทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านด้วย เพราะที่ผ่านมามีกรณีโรงเรียนถูกงัดเข้าขโมยของบ่อยครั้ง มติที่ประชุม รับทราบ

    ระเบียบวาระที่5เรื่องอื่นๆ 5.1ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานว่างของเดือนมิถุนายน 2559 ให้กับประชาชนและผู้ว่างงานในหมู่บ้านทราบ เพื่อมาขึ้นทะเบียนคนว่างงานและแจ้งตำแหน่งงานว่างในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยสามารถมาขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานจัดหางานที่ว่าการอำเภอละงู 5.2ประชาสัมพันธ์ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน จังหวัดสตูล ณ ที่ว่าการอำเภอละงู มติที่ประชุมรับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีสภาผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 1 สภา ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน
    • ที่ประชุมลงมติจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกผัก เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้โดยใช้พื้นโรงเรียนบ้านห้วยไทรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำล และพื้นที่ในหมู่บ้านห้วยไทร

     

    30 30

    28. พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามรายละเอียดโครงการ

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานโครงการ 2 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พบพี่เลี้ยงในการดำเนินการปรับปฏิทินโครงการสำหรับกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ ให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรมให้ละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ผลการดำเนินกิจกรรมไปตามแผนที่วางไว้

     

    2 2

    29. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 8

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 13.00 น. นางกิ่งดาวเอ็กหลีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10บ้านห้วยไทรเป็นประธานในที่ประชุม ระเบียบที่ 1เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
    1.1 การประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านประจำเดือน กรกฎาคม2559 ครั้งที่ 6 /2559 1.2ประธานแจ้งในที่ประชุมให้ทุกคนรับทราบเรื่อง การรับสมัครสมาชิกสภากาชาดไทย หมู่บ้านละ 50คน ให้รับสมัครได้ที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ภายในวันที่25กรกฎาคม2559 1.3แจ้งพี่น้องทราบสำหรับกิจกรรม สสส. ครั้งก็ไปจะเป็นการอบรมและลงมือปฏิบัตัเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริงวันนี้ที่ประชุมสภาได้แจ้งให้พี่น้องที่เข้าร่วมกิจกรรมให้พี่น้องเข้าร่วมกินกรรมในวันที่18กรกฎาคม2559 นี้ด้วยคะ มติที่ประชุมรับทราบ ระเบียบวาระที่ 2เรื่อง รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 5 / 2559เมื่อวันที่20 พฤษภาคม 2559
    นายก อบต.ละงู เมื่อวันที่16พฤษภาคม2559โครงการเวทีประชาคมสู่แผนพัฒนารับฟังปัญหาข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 – 2561) ระหว่างวันที่ 11 – 20 พฤษภาคม2559ณ อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทรโดยองค์การบริหารส่วนตำบลละงูโดยมีผู้นำชุมชน นางกิ่งดาวเอ็กหลี ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านประธานสภาสมาชิก อบตอสม. บัณฑิตอาสา ฯ ชาวบ้านร่วมประชุมและพูดคุยแสดงความคิดเห็นถุงสภาพชุมชนปัจจุบันเพื่อให้คนในชุมชนแสดงความคิดเห็นความต้องการเพื่อนำไปพัฒนาชุมชนต่อไป ในการประชุมประชาชนร่วมกันเสนอความต้องการในด้านต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ด้วยกันดังนี้ 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ 2.ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 3.ด้านสังคม 4.ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 5.ด้านการเมืองและการบริหารจัดการองค์กรที่ดี 6.ด้านการศึกษา 7.ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 8.ด้านการท่องเที่ยว

    ซึ่งในการจัดทำแผนครั้งนี้ช่วยให้ชาวบ้านในชุมชนได้มีโอกาสในการเสนอความต้องการของชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไปและบัณฑิตอาสา ฯ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในการประชุมครั้งนี้
    ระเบียบวาระที่ 3เรื่อง ติดตามผลการประชุม ครั้งที่5/ 2559 เมื่อวันที่20พฤาภาคม2559 -รับรอง ระเบียบวาระที่ 4เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน 4.1 การรับสมัครผู้มีจิตอาสาร่วมเป็นอาสาสภากาชาดไทย 4.2 การประชุมเพื่อรับทราบเรื่องศูนย์ดำรงธรรมคนที่รับหนังสือร้องทุกข์/ร้องเรียนในกรณีต่าง จากศูนย์ดำรงธรรม โดยเน้นย้ำให้เข้าร่วมประชุม ตามวันเวลา ดังกล่าวที่กำหนดให้เพื่อหาข้อสรุปแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 4.3การบริจาคเงินช่วยเหลือเงินหรือสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหนที่ประเทศเนปาล มติที่ประชุมรับทราบ
    ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ
    อยากให้ทุกคนในหมู่บ้านช่วยกันดูแลสอดส่องพฤติกรรมของวัยรุ่นในหมู่บ้านเพื่อไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และการนำตัวผู้เสพติดเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองฝ่ายปกครองประจำปี2559 ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนมีคว่ามเข้มแข็งมีความรักสมัคคีของคนในชุมชนและได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพ

     

    30 30

    30. อบรมและลงมือปฏิบัตัเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริง

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่18กรกฎาคม2559เวลา09.00 น ณอาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ได้มีอบรมลงมือปฏิบัติเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายที่สามารถใช้ได้จริงโดยมีวิทยากรสองท่านคือนางหนึ่งฤทัยจินตสกุลปลัดอำเภอและนางสาวสมปงบุญฤิทธิ์ทั้งสองท่านได้มาให้ข้อมูลดังต่อไปนี้ การทำ บญัชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนา ข้อมูลมา วางแผนการใชจ้่ายเงินในอนาคตไดอ้ยา่ งเหมาะสม ทา ใหเ้กิดการออม การใชจ้่ายเงินอยา่ งประหยดัคุ้มค่าไม่ ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีครัวเรือนมีความสำคัญดังนี้ 1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน รายรับ หรือ รายได้คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าได้ที่ไดร้ับจากการประกอบอาชีพ หรือ ผลตอบแทนที่ไดร้ับจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์หรือผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น รายได้ จากค่าจ้างแรงงาน เงินเดือน ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร หรือจากเงินใหก้ยู้มื รายไดจ้ากการขายสินค้าหรือ บริการ เป็นต้น รายจ่าย หรือค่าใชจ้่ายคือคือเงิน หรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าได้ที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สิ่งตอบแทน กลับมา สิ่งตอบแทนอาจเป็นสินคา้หรือบริการเช่น ค่าอาหารค่าน้า ค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมันค่า หนังสือดารา เป็นต้นหรือรายจ่ายอาจไม่ไดร้ับสิ่งตอบแทนคือสินคา้หรือบริการก็ได้เช่น เงินบริจาคเพื่อการ กุศล เงินทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น หนี้สิน คือ ภาระผกูพัน ที่ต้องงชดใช้คืนในอนาคต การชดใช้อาจจ่ายเป็นเงินหรือของมีค่าที่ครอบครัว หรือตนเองมีอยู่ หน้ีสินเป็น เงินหรือสิ่งของที่มีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองไดร้ับมาจากบุคคลหรือแหล่งเงิน ภายนอกเช่น การกยู้มืเงินจากเพื่อนบ้าน การกยู้มืเงินจากกองทุนต่างๆ การซื้อสินคา้หรือบริการเป็นเงินเชื่อ การซ้ื้อสินทรัพยเ์ป็นเงินผอ่นชำระ หรือการเช่าซื้อเป็นต้น เงินคงเหลือ คือเงิน หรือ ทรัพยสินที่วัดมูลค่าได้หลังจาก รายรับลบด้วยยรายจ่ายแลว้ปรากฏรายรับ มากกวา่ รายจ่ายจะทา ใหม้ีเงินคงเหลือ หรือในทางบญัชีเรียกวา่ กำไรแต่หากหลังจาก รายรับลบดว้ย รายจ่ายแล้วปรากฏวา่ รายจ่ายมากกว่า รายรับจะทา ใหเ้งินคงเหลือติดลบหรือทางบญัชีเรียกวา่ ขาดทุน นั่น เอง 2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการ ใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวนั มีรายจ่ายใดที่มีความสำคญั มากและรายจ่ายใดไม่จำ เป็นให้ตัด ออกเพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ้ายสิ่งที่จำ เป็ นใน อนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคญั ในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การ พอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่ายก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่มีเหตุผลรู้วา่ รายจ่ายใดจำ เป็นไม่จำ เป็น และเมื่อ เหลือจากใชจ้่ายก็เก็บออม นนั่ คือภูมิคุ้มกนั ที่เอาไว้คุ้มกัน ตัวเราและครอบครัว บญั ชีครัวเรือนสามารถจดได้ หมดจึงนับว่า มีประโยชน์มาก

    ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบันทึก และ ส่งผลให้ไม่อยากบันทึก ผู้จัดทำ เข้าใจผิดในรายการบญัชีไม่เข้าใจรายการที่เป็นรายรับ จึงไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ลูกส่งเงินมาใหพ่อ แม่สำหรับใช้จ่ายทุกวัน สิ้นเดือน แต่พ่อ แม่ไม่ไดบ้น ทึกบัญชีรายรับเนื่องจากเขา้ใจวา่ เงิน ที่ได้รับมานั้น มิไดเ้กิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือเข้าใจผิดรายการหน้ีสินแต่บันทึกวา่ เป็นรายรับ ทา ใหม่ได้เก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำ ระหน้ีในอนาคต เช่นยืมเงินจากเพื่อนบ้านนมาใช้จ่ายภายในครอบครัวถึงแม้จะ ได้รับเงินมาแต่รายการดงักล่าวไม่ถือวา่ เป็นรายรับเนื่องจากตนเองมีภาระผกูพัน ที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซ่ึงอาจ ต้องชดใช้เงินต้น พร้อมด้วยดอกเบี้ยด้วยยจากสาเหตุดังกล่าวอาจทำให้ ครอบครัววางแผนการใช้จ่ายเงินผิดพลาด การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวตอ้งมีรายรับมากกวา่ รายจ่าย หากพบว่า รายรับน้อยกวา่ รายจ่าย ต้องหาแนวทางนำ เงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอโดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้ จ่ายแต่การกู้ยื่มเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกยู้มืเงิน เป็นปัญหาที่แกไ้ขได้ยาก สำหรับการแกไ้ขปัญหาการขาดสภาพคล่อง ในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้น มีแนวทางดงัน้ี 1.การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกเพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัวเช่น รายจ่ายเกี่ยวกับการ พนัน สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือยเป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 2.การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอยา่งคุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไ้ว้ร้บประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหารและค่าเดินทางไปตลาดอีกท้ั้งยังทำให้ สุขภาพดีอีกด้วยยลดการใชน้ำ มัน เชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจกัรยาน หรือการเดิน การวิ่ง แทน การขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็ นต้น 3.การเพิ่มรายรับ หารายได้เ้สริมนอกเวลาทา งานปกติเช่น การใชเ้วลาว่างรับจา้งตัดเย็บเสื้อผ้าการขาย อาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเล้ี้ยงสัตวไว้ข้ายเป็นต้น 4.การทำ ความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อ ให้ทุกคนร่วมมือกัน ประหยดั รู้จักอดออม การใช้ ทรัพยากรต่างๆ ลดละเลิกรายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จา เป็น และช่วยกนั สร้างรายรับใหเ้พียงพอเหมาะสมกบั เศรษฐกิจปัจจุบนั เพื่อให้ สมาชิกในครัวเรือน มีความระมัดระวังรอบคอบในการใช้จ่ายเงินอยา่งมีสติใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและไม่ฟุ่มเฟือย มีเงินเหลือสำหรับการเก็บออม เพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็น ซ่ึงจะช่วยลดรายจ่ายของครัวเรือน คำอธิบายในการใช้แบบบันทึกรายรับ -รายจ่าย 1. ใชสมุดบญัชีนี้ 1 เล่ม ต่อ1 ครัวเรือน (เก็บไว้ใช้เป็นการส่วนตัว) 2. ควรกรอกข้อมูลด้วยดินสอ (เพราะจะทำให้สามารถใช้ได้หลายปี) 3. กรอกข้อมูลรายรับ –รายจ่ายในแต่ละวนั แลว้รวมเป็นรายเดือนเพื่อจะไดท้ ราบวา่ ในแต่ละเดือนมีเงิน เหลือจ่าย หรือมีรายได้ติดลบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนต้นแบบสามารถใช้ความรู้จากการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย
    • คนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพ

     

    30 30

    31. อบรมใส่แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 ครัวเรือน

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00น. – 15.00 น.นางสาวสมปองบุญฤิทธิ์ ได้กล่าวในที่ประชุมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการดำเนินให้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามที่พ่อหลวงได้ทรงดำเนินไว้ และที่ประชุมโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงูอ.ละงู จ.สตูล โดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลละงู สมาชิก อบต. และเจ้าหน้าที่จากพัฒนากรชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตอาสา และประชาชนในพื้นที่ โดยร่วมกันเสนอปัญหาและเสนอความต้องการในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน โดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลละงูเป็นผู้จัดทำโครงการ ทั้งหมด ๕ ด้าน ได้แก่
    -ด้านโครงสร้างพื้นฐาน -ด้านสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม -ด้านเศรษฐกิจ -ด้านสาธารณสุข -ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจัดทำแผนชุมชนครั้งนี้ ได้รับความมือจากผู้ร่วมทำโครงการกันเป็นอย่างดีโดยมีการจัดลำดับการแก้ไขปัญหากันเป็นอย่างดี นายสุไลหมานสายเส็นได้กล่าวให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับโครงการการปลูกผักในชุมชนเพื่อให้การปฏิบัติไปตามกลุ่มของโครงการซึ่งที่ประชุมได้เสนอตามโครงการบ้านห้วยไทรหมู่ที่ 10น่าอยู่ฟื้นฟูเศราษฐกินเน้นความเจริญซด้านอาหารสำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึง คนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
    แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตก สลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่ม สูญหายไป
    สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนด ชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้อง การต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่ เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

    ที่ประชุมกล่าวขอบคุณวิทยากรนางสาวสมปองบุญฤิทธ์ที่เป็นวิทยากรในครั้งนี้ปิดประชุมเวลา15.00 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

     

    30 30

    32. พัฒนาทีมเพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน 3 ศูนย์

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเริ่มกระบวนการของการทำงานเป็นกลุ่มโดยการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มและการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์กับกลุ่มตังเองมากที่สุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
    • คนในชุมชนมีความสมัคคีกันเกิดกลุ่มที่มีความเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบ
    • ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
    • ลดปัญหาการว่างงานของคนในชุมชน

     

    30 30

    33. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ที่ประชุมได้เชิญวิทยากรมาบรรยาเกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้  โดยวิทยากรได้ยกตัวอย่างของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบไปด้วยอะไรบ้างนั้น เราได้สรุปรวบยอดมาให้เข้าใจได้ง่ายๆ พร้อมทั้งนำภาพประกอบความเข้าใจ มาให้ดูด้วยเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นั้น แท้จริงแล้ว เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้
    ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้

    ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

    2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

    เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

    เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

    นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น   ซึ่งได้ยกตัวอย่างให้ที่ประชุมทราบว่าการเริ่มทำจากตัวเราเองโดยไม่ได้หวังสิ่งอื่นตอบแทนโดยการพอประมาณ  ก็จะอยู่ได้ด้วยตัวเราเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากที่ประชุมได้ให้ความรู้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถมองเห็นถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นจริงเพราะทุกบ้านจะมีกาทรปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้เพราะเป็นพืชระยะสั้น  เช่นตำลึง  ผักบุ้ง  ตะไคล้  พริก ฯ และผักอื่นๆอีกมากมาย  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม

     

    30 30

    34. ทบทวนกติกาหมู่บ้านเพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น

    วันที่ 1 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ระเบียบวาระที่1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ วันที่1สิงหาคม2559เวลา 09.00 น.ณอาคารเอนกประสงค์บ้านห้วยไทร หมู่๑๐ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูลโดยคณะทำงานโครงการบ้านห้วยไทรหมู่ที่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหารนายสุไลหมานสายเส็นผู้รับผิดชอบโครงการ นางกิ่งดาวเอ็กหลีผู้ใหญ่บ้านนายสุชาติหมาดง๊ะบัณฑิตอาสาฯนางวิภาสงแก้วอสม.คณะทำงานและ นายบดินทรไชพงค์ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบตำบลละงูเปิดการประชุมโดยนางกิ่งดาวเอ็กหลีผู้ใหญ่บ้านประธานที่ประชุมได้ ร่วมประชุมเพื่อเสนอความคิดเห็นและกำหนดกติการ่วมกันของกลุ่มครัวเรือนต้นแบบของโครงการและได้พูดถึงงบที่ลงมาในหมู่บ้านเป็นจำนวนเงินสองแสนบาท เพื่อให้เป็นการบริหารเงินที่เข้ามาในหมู่บ้านมีประโยชน์จากการดำเนินงานซึ่งจากการอบรมครั้งก่อนได้มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนรายรับรายจ่ายเพื่อให้ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์จากการลงรายรับรายจ่ายว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ครัวเรือนติดลบจากค่าใช้จ่ายของครัวเรือนทางด้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้แจ้งในที่ประชุมห้ามมิให้ลูกหลานของตนเองยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในสถานที่ราชการและบริเวณสวนของชาวบ้านที่ประชุมมีมติเห็นชอบ


    ระเบียบวาระที่ 2เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 7/2559เมื่อวันที่10 กรกฎาคม2559
    มติที่ประชุมรับรอง

    ระเบียบวาระที่ 3เรื่องติดตามผลการประชุม ครั้งที่7/2559เมื่อวันที่10 กรกฎาคม2559 -ไม่มี

    ระเบียบวาระที่ 4เรื่องเพื่อทราบ / พิจารณา / ปัญหาและความต้องการ ของหมู่บ้าน การคัดเลือกคณะกรรมการหมู่บ้านอพป.และคณะการการฝ่ายต่าง ๆ นั้นจะมีการจัดประชาคมเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านรับทราบโดยทั่วกันโดยมีนายบดิทรไชยพงค์ปลัดอำเภอประจำตำบลละงูเข้าร่วมชี้แจงในการดำเนินโครงการยกระยกดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามรากฐานตามแนวประชาชารัฐโดยสนับสนุนงบประมาณหมู่บ้านละ200000บาท ที่ประชุมได้เสนอมา 3 โครงการ 1.1 โครงการขุดลอกสระน้ำประปาบ้านพยอมงามพร้อมรั้วกันปรับปรุงภูมิทัศน์ 1.2 โครงการปรับปรุงระบบน้ำประปาบ้านหนำคอก 1.3 โครงการขุดคูระบายน้ำ ในที่ประชุมได้มีการเสนอและมีการยกมือโหวตเพื่อให้ความสำคัญกับโครงการที่ชาวบ้านเสนอมา
    มติที่ประชุม - รับทราบการโครงการที่1โครงการขุดลอกสระน้ำประปาบ้านพยอมงามพร้อมรั้วกันปรับปรุงภูมิทัศน์ชาวบ้านเห็นด้วยเพราะว่าถ้าไม่มีการปรับปรุงขุดลอกอาจจะทำให้สิงปฏิกูลลงไปในสระน้ำที่ประชาชนอุปโภคบริโภคจะไม่มีประสิทธิภาพ ระเบียบวาระที่๕ เรื่องอื่นๆ 5.1ติดตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ โดยมีผู้ที่เข้าร่วมในการจัดทำแผน ดังนี้ มีเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลละงู สมาชิก อบต. และเจ้าหน้าที่จากพัฒนากรชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตอาสา โดยให้ชาวบ้านร่วมกันเสนอปัญหาและเสนอความต้องการในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน โดยให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลละงูเป็นผู้จัดทำโครงการ ทั้งหมด ๕ ด้าน ได้แก่
    -ด้านโครงสร้างพื้นฐาน -ด้านสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม -ด้านเศรษฐกิจ -ด้านสาธารณสุข -ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.2 โครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกิจกรรมให้การศึกษาชุมชน ชี้แจงและวางแผนการจัดเก็บข้อมูล โดยมีหัวข้อ ดังนี้ 5.2.1 แผนปฏิบัติการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท 5.2.2 การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน 52.3. แบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานแหล่งน้ำ 5.5.4 แบบสำรวจปราชญ์ชาวบ้านหรืผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพตามแผนพัฒนาอาชีพของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5.2.5. แบบสำรวจผู้มีความสนใจและประสงค์ต้องการฝึกอาชีพ
    ปิดประชุมเวลา16.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านรู้จักบันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง
    • ห้ามลูกหลานของตนเองยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
    • ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบริเวณสถานที่ราชการและสวนของชาวบ้าน

     

    30 30

    35. ปฏิบัติการลงพื้นที่พัฒนาศูนย์เรียนรู้จำนวน 3 วัน

    วันที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดของการกำเนิดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนจะแบ่งออกเป็นสามศูนย์ 1.บริเวณสระน้ำหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร 2.บริเวณลานสวนผักเอนกประสงค์โรงเรียนบ้านห้วยไทร 3.บริเวณสวนภายในหมู่บ้านของสมาชิกแต่ละคนโดยทำหน้าที่รับผิดชอบชองแต่ละคน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีศูนย์เรียนรู้ทั้งหมดสามศูนย์เพื่อให้ประชาชนมีพืนฐานในการเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการพัฒนาได้มากที่สุุด

     

    30 30

    36. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 9

    วันที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. นางกิ่งดาวเอ็กหลีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10บ้านห้วย ไทรเป็นประธานในที่ประชุม ระเบียบที่ 1เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
    1.1 การประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านประจำเดือน กันยาน2559ครั้งที่ 9 /25589
    ในวันที่ 20กันยายน2558ณ อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทรหมู่ที่ 10ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล แจ้งให้คณะกรรมการกลางหมู่บ้านและประชาชนที่เข้าร่วมประชุมทราบเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมระดับอำเภอประจำเดือนสิงหาคม 2559 1.2 ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องชาวห้วยไทรที่ได้รับโฉนดที่ดินในการออกเอกสารสิทธิ์ 1.3 ประธานแจ้งในที่ประชุมให้ทุกคนได้รับทราบ เรื่องรับสมัครสมาชิก ทู บี นัมเบอร์วัน โดยเน้นกลุ่มตั้งแต่ 6-24 ปี ที่เป็นเยาวชนเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนแสดงความสามรถ กล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออก และช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจและเข้าร่วมโครงการ ทู บี นัมเบอร์วันรวม 30คน 1.4ประธานแจ้งในที่ประชุมให้ทุกคนรับทราบเรื่อง การรับสมัครสมาชิกสภากาชาดไทย หมู่บ้านละ 50คน ให้รับสมัครได้ที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ภายในวันที่25สิงหาคม 2559 มติที่ประชุมรับทราบ ระเบียบวาระที่2เรื่อง รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 7 / 2559เมื่อวันที่ 20กรกฎาคม2559
    นายก อบต.ละงู เมื่อวันที่16กรกฎาคม2559โครงการเวทีประชาคมสู่แผนพัฒนารับฟังปัญหาข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 – 2561) ระหว่างวันที่ 11 – 20 กรกฎาคม2559ณ อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทรโดยองค์การบริหารส่วนตำบลละงูโดยมีผู้นำชุมชน นางกิ่งดาวเอ็กหลี ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านประธานสภาสมาชิก อบตอสม. บัณฑิตอาสา ฯ ชาวบ้านร่วมประชุมและพูดคุยแสดงความคิดเห็นถุงสภาพชุมชนปัจจุบันเพื่อให้คนในชุมชนแสดงความคิดเห็นความต้องการเพื่อนำไปพัฒนาชุมชนต่อไป ในการประชุมประชาชนร่วมกันเสนอความต้องการในด้านต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ด้วยกันดังนี้ 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ 2.ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 3.ด้านสังคม 4.ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 5.ด้านการเมืองและการบริหารจัดการองค์กรที่ดี 6.ด้านการศึกษา 7.ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 8.ด้านการท่องเที่ยว

    ซึ่งในการจัดทำแผนครั้งนี้ช่วยให้ชาวบ้านในชุมชนได้มีโอกาสในการเสนอความต้องการของชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไปและบัณฑิตอาสา ฯ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในการประชุมครั้งนี้
    ระเบียบวาระที่ 3เรื่อง ติดตามผลการประชุม ครั้งที่ 7 / 2559 เมื่อวันที่20กรกฎาคม2559 -รับรอง ระเบียบวาระที่ 4เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน 4.1 การรับสมัครผู้มีจิตอาสาร่วมเป็นอาสาสภากาชาดไทย 4.2 การประชุมเพื่อรับทราบเรื่องศูนย์ดำรงธรรมคนที่รับหนังสือร้องทุกข์/ร้องเรียนในกรณีต่าง จากศูนย์ดำรงธรรม โดยเน้นย้ำให้เข้าร่วมประชุม ตามวันเวลา ดังกล่าวที่กำหนดให้เพื่อหาข้อสรุปแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 4.3การบริจาคเงินช่วยเหลือเงินหรือสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหนที่ประเทศเนปาล มติที่ประชุมรับทราบ
    ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ
    แจ้งกิจกรรมของ สสส.นายสุไลหมานสายเส็นผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าวันที่ 12สิงหาคม 2559จะมีการประชุมคณะกรรมการประเมินโครงการเพราะตอนนี้โครงการของเราในหมู่บ้านพี่น้องก็ได้ปลูกผักสวนครัวที่ปลูกไว้แล้วมีรายได้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ชาวบ้านมีความพร้อมที่จะให้คณะกรรมการในการลงประเมินครับ ขอให้พี่น้องในที่ประชุมรับทราบด้วยนะครับว่าวันที่12สิงหาคม2559ผมได้แจ้งคณะกรรมการไปแล้วครับ มติที่ประชุมรับทราบ

    อยากให้ทุกคนในหมู่บ้านช่วยกันดูแลสอดส่องพฤติกรรมของวัยรุ่นในหมู่บ้านเพื่อไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และการนำตัวผู้เสพติดเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองฝ่ายปกครองประจำปี2559
    ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีสภาหมู่บ้าน จำนวน 1 สภาประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน จำนวน 30 คน
    • ที่ประชุมรับทราบของการทำงานกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ สสส.

     

    30 30

    37. ประชุมคณะกรรมการประเมิน 10 คน

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ที่ประชุมได้กำหนดเกณฑ์การประเมินครัวเรือนนำร่องโดยประเมินจากเกณฑ์ที่วางไว้แล้วนำมาสรุปร่วมกันเพื่อให้ได้ครัวเรือนต้นแบบดังนี้ 1.ด้านรายจ่าย 1.1ครัวเรือนทำสวนครัว 1.2ครัวเรือนปลอดอบายมุข 2.ด้านการเพิ่มรายได้ 2.1 ครัวเรือนมีอาชีพเสริม 2.2ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 3.ด้านการประหยัด 3.1ครัวเรือนมีการออมทรัพย์ 4ด้านการเรียนรู้ 4.1ชุมชนมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.2ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5.ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 5.1ชุมชนใช้วัตถุดิบอย่างยืนในการประกอบอาชีพ 5.2ชุมชนปลูกต้นไม้ให้ร่มรืนน่าอยู่ 6.มีความสามัคคีในหมู่คณะ 7. มีความเอาใจใส่ของงาน 8. มีความต่อเนื่องอย่างยังยืน 9. ผักที่ปลูกปลอดสารพิษ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการทั้ง10คน ได้ลงพื้นที่เพื่อที่จะปนะเมินครัวเรือนต้นแบบเพื่อให้ได้ครัวเรือนำร่องในการเข้าร่วมโครงการสู่ครัวเรือนต้นแบบและมีการจัดลำดับความสำคัญของครัวเรือนที่ที่ปฏิบัติครัวเรือนต้นแบบและคณะกรรมการประเมินครัวเรือนประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการประเมินครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องและวางแผนในการลงพื้นที่เพื่อประเมินครัวเรือนนำร่องที่ผ่านเกณฑ์ตามกติกาที่เคยได้วางเอาไว้ มีการวางระเบียบกฎเกณฑ์ครัวเรือนต้นแบบ จนได้รูปแบบการประเมินครัวเรือนนำร่องเพื่อนำไปเป็นเกณฑ์ในการประเมินครัวเรือนต้นแบบดีเด่นต่อไป

     

    25 10

    38. ลงพื้นที่ประเมินโดยคณะกรรมการ แบ่งประเมินจำนวน 2 วัน

    วันที่ 24 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เพื่อวางแผนในการลงพื้นที่ประเมินครัวเรือนนำร่อง
    • ตัวแทนคณะกรรมการประเมินด้วยตัวแทนชุมชนท้องที่ท้องถิ่นท้องที่ครูและตัวแทน รพ.สต.ลงพื้นประเมินร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการลงพื้นที่จะมีตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆเข้ามาร่วมประเมินครัวเรือนำร่อง จะมีแบบประเมินให้กับคณะกรรมการทุกท่านเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินครั้งนี้และสามารถนำครังเรือนนำร่องมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้

     

    30 30

    39. ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 10

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -วันที่10 กันยาน2559เวลา09.00 นนายสุไหลหมานสายเส็นผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงรายละเอียดในที่ประชุมเกี่ยวกับการวางแผนในกิจกรรมต่อไปเพื่อเป็นแนวทางกิจกรรมต่อไปจะเป็นการลงพื้นที่ประเมินโดยคณะกรรมการเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน - 1.1การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ทางเกษตรอำเภอละงูแจ้งให้พี่น้องไปลงทะเบียนเกษตรกรได้ ณ ที่กำการเกษตรอำเภอละงูเพื่อประโยชน์กับพี่น้องเองเมื่อเกิดภัยทางเกษตรหน่วยงานราชการมีการช่วยเหลือเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ - 1.2 การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุคนพิการ ด้วยทาง อบต.ละงูแจ้งให้ญาติพี่น้องที่เกิดใน พ.ศ.2498ให้ไปลงทะเบียนเพื่อรับเงินยังชีพในการดำรงชีวิตประจำวัน ร่วมไปถึงคนพิการ ตั้งแต่วันที่1พฤศจิกายน 2559- 30 พฤศจิกายน2559 ณ ที่ทำการองค์การบริการส่วนตำบลละงูในวันและเวลาราชการ - 1.3การขอใช้พื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน ตอนนี้พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านประมาณ80ไร่ปลูกผักต่าง ๆตอนนี้พี่น้องที่เข้าไปทำล่วงหน้าแล้วแต่บางคนเกิดความไม่พอใจเพราะบางคนปลูกผักแต่เอาสัตว์เข้าไปเลี้ยงแล้วทำให้เกิดเสียหายต่อทรัพย์สินของพี่น้องต้องขอความร่วมมือด้วยเพราะทุกอย่างมีการลงทุนไม่อยากให้เสียหายทั้งสองฝ่ายต้องร่วมด้วยช่วยกันคะ - 1.4ขุดลอกทางผ่านของน้ำในที่ดินสาธารณะประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเข้าสระที่ทำประปาในบ้านพยอมงาม นายประสิทธิ์ทิพย์รักได้เสนอในมี่ประชุมคือให้ขุดลอกทางเดินของน้ำ เพราะว่าบางทีพี่น้องเลี้ยงสัตว์ในดินสาธารณะประโยชน์แล้วมีมูลของสัตว์บ้างครั้งพอมีฝนตกอาจจะทำให้น้ำไหลลงสระน้ำอาดส่งผลเสียการทำระบบประปาเพราะน้ำมีสิ่งเจอปนไม่สะอาดอีกอย่างผมก็เสนอว่าให้ทำรั้วกันสัตว์เลี้ยง โดยของบกับหน่วยงานที่เกี่ยว พี่น้องในที่ประชุมเห็นด้วยกับผมมัยครับ มติในที่ประชุมที่ประชุมเห็นด้วยกับการเสนอไปในครั้งนี้ - 1.5การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด -ขอความร่วมมือพี่น้องของเราช่วยดูแลลูกหลานของเราไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด แต่ถ้าพี่น้องทราบว่าคนไหนที่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดช่วยบอกให้ทราบด้วยจะได้แก้ปัญหาถูกจุด เพราะว่าจะต้องเอาไปบำบัดรักษาเพื่อไม่ให้สายจนเกินแก้ ถ้าหากว่าใครไม่สามารถแจ้งได้ทางนี้ ก็ขอให้บอกผู้ใหญ่เป็นการส่วนตัวได้นะคะเพื่อปัญหาจะไม่เกิดในหมู่บ้านของเราเพราะปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่เราควรช่วยกันดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดในหมู่บ้านของเรา - 1.6การเข้าเวรยาม ชุด ชรบ. ประจำเดือนกันยายน - ในสภาวะปัจจุบันปัญหาเศรษฐกิจตำต่ำทำให้มีการลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ภัยเกิดขึ้นภายในหมู่บ้านของเราควรจัดแบ่งเวรยามของชุด ชรบ.ของหมู่บ้าน ๓๐ คน เพื่อป้องกันรักษาความสงบภายในหมู่บ้าน โดยจะมีการจัดตั้งจุดตรวจบริเวณศาลาเอนกประสงค์ ข้างโรงเรียนบ้านห้วยไทร โดยจะตั้งเวรยามและออกตรวจรักษาความสงบเรียนร้อยในช่วงกลางคืน ขอความร่วมมือทุกท่านช่วยเป็นหูเป็นตาทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีหมู่บ้านของเราก็จะสงบสุขอยู่กันอย่างปลอดภัยแต่ตอนนี้จุดตรวจชรบ.ยังปรับปรุงไม่เสร็จจะเสนอเอาเงินจากการขายดินที่ขุดสระน้ำในหมู่บ้านมาปรับปรุงป้อม ชรบ. และจัดซื้อวิทยุเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารพี่น้องในหมู่บ้านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร มติในที่ประชุม เห็นด้วย ในการนำเงินจากการขายดินของหมู่บ้านมาใช้ปรับปรุงป้อม ชรบ.ให้เสร็จและจัดซื้อวิทยุในการสื่อสารให้กับชุด ชรบ.หมู่บ้าน - 1.7ประปาหมู่บ้าน ส่วนเรื่องประปาหมู่บ้านจะให้พี่น้องแถวพะยอมงามได้ใช้ประปากันทุกครัวเรือนตอนนี้มีดินอยู่ในซอยพยอมงามอยู่สองซอยที่จะเอาจากกองดินส่วนนี้ขายเพื่อเอามาวางระบบประปาให้พี่น้องพยอมงานได้ใช้ประปากัน และความสะดวกรวดเร็วให้พี่น้องเดินทอหน้าบ้านของท่านเพื่อความรวดเร็วใจการต่อระบบประปา มติที่ประชุม เห็นด้วยกับการเสนอในครั้งนี้
    ระเบียบวาระที่ 2เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 9/2559 มติที่ประชุม รับรอง ระเบียบวาระที่ 3เรื่องเพื่อทราบและพิจารณา(นายสุไลหมานสายเส็น) บ้านห้วยไทรของเราได้รับการอนุมัติโครงการ บ้านห้วยไทรน่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหารตอนนี้ทางคณะกรรมการก็ได้ดำเนินการทางโครงการจำดำเนินไปตามปฏิทินโครงการไปแล้วนั้นกิจกรมต่อไปเจ้าหน้าที่สองท่านจะไปร่วมงานสร้างสุขที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และให้พี่น้องเตรียมกิจกรรมครั้งต่อิไปคือการจัดประกวดครัวเรือนดีเด่นในใันที่6 ตุลาคม2559หลังจากที่เราได้ลงพื้นที่ตรวจสอบครัวเรือนดีเด่นไปอล้วจะมาแจ้งให้ทราบอีกที่ในการจัดกิจกรรมครับ ระเบียบวาระที่ 4เรื่องอื่น(นางสาวสมปองบุญฤทธิ์) 41โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. (งบ 280,000บาท) ดิฉันนางสาวสมปองบุญฤทธิ์พัฒนากรอำเภอละงูรับผิดชอบตำบลละงูวันนี้ก็มีเรื่องประมาณ4เรื่องที่จะมาแจ้งให้พี่น้องทราบ คือหมู่ที่ 10ของเราได้ยืมเงินของกองทุนหมู่บ้าน แต่ยังมี 40 รายที่ไม่มีการคืนหรือยังงัยช่วยแจ้งหรือติดต่อมายังหน่วยงานด้วยคะ เพราะเงินนี้ถ้าเกิดพี่น้องไม่จ่ายคืน จะต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย เพราะเงินนี้รัฐบาลจะให้มาหมุนเวียนในหมู่บ้าน 42 ติดตามเงินกองทุนบทบาทสตรี 4.3 สินค้า OTOP 44จปฐ.

    การจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนหมู่บ้านเพื่อเป็นการจัดทำแผนอบต. อำเภอ จังหวัดจะได้เก็บ ข้อมูลไปตามแนวทางเดียวกันและข้อมูลทุกอย่างเป็นจริง ประธานขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ขอปิดการประชุม - ปิดประชุม เวลา ๑๕.๓๐ น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้วันเวลาในการลงพื้นที่ประเมินโครงการ
    • ได้รับแนวคิดของทีมสภาในการนำเสนอกวัตถุดิบในการจัดกิจกรรม
    • ได้มีการเสนอเพื่อให้กลุ่มมีการต่อยอดโครงการต่อไป
    • มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
    • มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องจำนวน 10 ครั้งต่อปี
    • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
    • สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

     

    30 30

    40. พบพี่เีลี้ยงในการปรับปรุงข้อมูล

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่1ตุลาคม2559เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค นางสาวอณัญญาแสะหลีพี่เลี้ยงได้เข้ามาตรวสอบเอกสารทางการเงินและการรายงานผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ผลลัพธ์จากการรวบรวมเอกสารทางการเงินและการนำรายงานเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

     

    2 2

    41. งานสร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 3 ตุลาคม เวลา 12.00-13.00 น.มีการแสดงโขน และพิธีเปิด โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และกล่าวพิธีเปิด โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เวลา 13.30-15.00 มีการปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการเสวนาเรื่องมุมมองใหม่ในการพััฒนาระบบสุขภาพในอนาคตการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยเฉพาะการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง4ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมากเมื่อปี2543ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่ององค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงเรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายนปี2558ถึงเดือนสิงหาคม2573 ครอบคลุมระยะเวลา15ปีโดยประกอบไปด้วย17เป้าหมายคือองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน17เป้าหมายหลักเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมิติสุขภาวะของโลกและประเทศไทย วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00-17.00 น.ประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ชมวิดีทัศน์การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นมีการเสวนา เรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่สาธารณะโครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชันสน จังหวัดพัทลุง โดยผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จากนั้นมีการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร และต่อมาได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการจัดการจัดการขยะ ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นเด็กและเยาวชน ประเด็น การจัดการทรัพยากรและการท่องเทียว และประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย วันที่5ตุลาคม2559เวลา10.30-11.45น.หัวข้อเสวนาการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียนภาคใต้มีกระบวนการขับเคลื่อนงานสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยในทุกๆปีจะมีการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ปีละครั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อที่หลากหลายโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับประเทศมาเป็นวิทยากรนอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐอาจารย์นักวิจัยนักศึกษาระดับบัณฑิตอาสาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปการประชุมห้องย่อยตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ซึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นวิกฤตสุขภาพได้แก่1. ความมั่นคงทางมนุษย์2.ความมั่นคงทางอาหาร3.ความมั่นคงทางทรัพยากร4.ความมั่นคงทางสุขภาพ

     

    2 2

    42. เวทีประกวดครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 6 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    บ้านห้วยไทรหมู่ที่ 10 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล วันที่ 6เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559 ครั้งที่ 10/2559 ณ อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทร ผู้เข้าร่วมประชุม (ตามเอกสารที่แนบ) เริ่มประชุม เวลา 13.00 น. ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ 1.1.เรื่องการตรวจสอบทะเบียนราษฎรให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าในหมู่บ้านของท่านที่มีคนตายแล้วยังไม่มีการแจ้งตายหรือแจ้งเกิดหรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือว่ามีรายการในทะเบียนบ้านซ้ำซ้อนและปรากฏชื่อบุคคลในทะเบียนบ้านแต่ไม่ทราบว่าเป็นใครให้ดำเนินการแจ้งนายทะเบียนอำเภอตามวันเวลาราชการ 1.2เรื่อง ขอให้ทหารกองเกินไปรับหมายเรียกในเดือนตุลาคมของทุกปีนายอำเภอจัดการ ประกาศให้ทหารกองเกินที่มีอายุอย่างเข้ายี่สิบเอ็ดปีในพุทธศักราชนั้นไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอกำหนดไว้ในมาตรา25ประกาศเช่นว่านี้ให้นายอำเภอปิดประกาศณ ที่ว่าการอำเภอ และ ณ ที่เปิดเผยชุมชนในท้องที่นั้นกับให้นายอำเภอส่งประกาศให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำไปแจ้งราษฎรในพื้นที่ทราบจึงประกาศให้ไปรับหมายเรียกตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31ธันวาคม2559 1.3เรื่องการคัดเลือกอาสาสมัครผู้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับหมู่บ้าน นางสาวสมปองบุญฤทธิ์พัฒนากรประจำตำบลละงูเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดในการคัดเลือกผู้ซึ่งเป็นนโยบายตั้งแต่ปี 55 ซึ่งปัจจุบันนี้พัฒนาชุมชนเป็นคนรับผิดชอบหลัก ตอนนี้เขาจะมีการคัดเลือกอาสาสมัครกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีหมู่บ้านละ 1 คน วันนี้เราควรคัดเลือกกันเนื่องจากมากันหลายกลุ่มหลายคนแล้ว ซึ่งคัดเลือกจนได้ตำบลละ 7 คน แล้วสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มองค์กรสามารถขอโครงการได้ซึ่งอาจจะมาพัฒนาต่อยอดโครงการที่เราดำเนินการอยู่ในขณะนี้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับหมู่บ้านโดยที่ประชุมได้เสนอนางวิภาสงแก้ว เป็นตัวแทนผู้ประสานงานพัฒนาบทบาทสตรีระดับหมู่บ้าน มติที่ประชุมเห็นชอบ 1.4เรื่องขอรับบริจาคเลือดในวันที่28ตุลาคม2559ผู้ใดมีความประสงค์จะบริจาคให้มาลงรายชื่อให้กับทางผู้ใหญ่บ้านพร้อมจะได้จัดส่งทางอำเภอ 1.5เรื่องพิษสุนัขบ้าตอนนี้มีการพบว่ามีสุนัขเป็นพิษบ้าของหมู่ที่4บ้านควนโพธิ์สำหรับชุมชนเราหากพบว่าบ้านใครมีสุนัขให้สังเกตอาการให้ดีหากใครที่ต้องการฉีดวัคซีนให้ติดต่อปศุสัตว์อำเภอหรือแจ้งความประสงค์ที่บ้านผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโดยจะรับวัคซีนกับคนฉีดให้ ระเบียบวาระที่ประชุมวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุม
    มติที่ประชุม รับรอง ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน 3.1 เรื่องขอใช้สถานที่ในการสร้างสำนักงานแขวงทางหลวงชนบท
    ประธานจากที่ประชุมครั้งก่อนที่แขวงทางหลวงชนบทได้แจ้งมาขอใช้สถานที่จากความคิดเห็นส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ดีสำหรับหมู่บ้านที่มีส่วนราชการเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านและวันนี้ก็อยากให้พี่น้องรับทราบและรับรู้คิดไปว่าดีมัยที่แขวงทางหลวงชนบทจะมาสร้างสำนำงานในหมู่บ้านของเราวันนี้ก็ขอความคิดเห็นของพี่น้องในที่ประชุมด้วยคะ ต่อไปก็ขอชฺญท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงูคะ จำรัส ฮ่องสาย : นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ได้แจ้งเรื่องการขึ้นทะเบียนคนพิการซึ่งคนพิการที่ต้องการจะได้รับเงินช่วยเหลือต้องขึ้นทะเบียน ถ้าไม่ขึ้นทะเบียนก็จะไม่ได้รับการช่วยเหลือดังนั้นพวกเราในฐานะเป็นแกนนำก็ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาเมื่อมีคนพิการอยู่ในหมู่บ้านก็สามารถแจ้งไปยัง อบต.ละงูได้เพื่อขึ้นทะเบียนคนพิการและการดำเนินกิจกรรมตามแผนพัฒนา อบต.ซึ่งในส่วนของ ม. 10 ก็ได้ของบไปทาง อบต.ก็ได้ตั้งงบประมาณมาให้ในเรื่องการคุดลอกสระน้ำสาธารณะ ส่วนเรื่องที่ทางแขวงทางหวงชนบทจะเข้ามาสร้างสำนักงานให้พื้นที่หมูที่ 10บ้านห้วยไทรก็ให้พี่น้องในหมู่บ้านคิดพิจารณาให้ดีว่าดีหรือไม่ที่ทางส่วนราชการมีในหมู่บ้าน ถ้าพี่น้องเห็นชอบวันนี้ก็พี่น้องลองคุยกันหรือสอบถามความคิดเห็นว่าดีหรือไม่ทางผมก็ได้ประสานทางหน่วยงานเพื่อที่จะพัฒนาหมู่บ้านของเราต่อไป นายสุธรรมเมื่อประชุมครั้งที่แล้วผมไม่เห็นด้วยโดยส่วนตัวแต่เมื่อมาถึงวันนี้ผมได้ไปคิดแล้วว่าถ้าหน่วยงานราชการเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านของเราคงจะทำให้บ้านของเรามีการพัฒนาและมีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งวันนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่แขวงทางหลวงชนบทเข้ามาสร้างสำนักงานในหมู่บ้านของเรา แล้วพี่น้องของเราคิดเหมือนกับผมบ้างมัยที่ทางหมู่บ้านของเราจะมีความเจริญเข้ามาในหมู่บ้านผมขอให้พี่น้องคิดด้วยครับ นายสุทินวันนี้ก็ได้มาพบพี่น้องอีกครั้งของการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านก่อนอื่นก็อยากจะบอกให้พี่น้องทราบว่า แขวงทางหลวงชนบทจะเข้ามาสร้างสำงานงานที่หมู่บ้านของเรานั้น ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่หน่วยงานของทางราชการจะเข้ามาอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้านเราพี่น้องลองคิดให้ดีนะครับว่าถ้าหน่วยงานเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านของเราจะมีส่วนดีหรือว่าส่วนเสียอยากจะขอให้พี่น้องว่าวันนี้พี่น้องเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรนะครับ มติที่ประชุมเห็นชอบโดยการยกมือให้แขวงทางหลวงชนบทสร้างสำนักงานภายในหมู่บ้านห้วยไทร 3.2เรื่องเปลี่ยนแปลงวันที่ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านจากเดิมจะเป็นวันที่20ของทุกเดือน และได้เปลี่ยนเป็นทุกวันที่10ของเดือน
    มติที่ประชุมรับทราบ

    ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ 4.1 การประกวดครัวเรือนดีเด่น ตารมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของโครงการสสส. นางกิ่งดาวเอ็กหลีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 บ้านห้วยไทร กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินกิจกรรมครัวเรือนดีเด่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งที่ผ่านมาทางคณะทำงานก็ได้ลงพื้นที่ในการประเมินครัวเรือนต้นแบบโดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายบัญชีครัวเรือน การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้และมีการเข้าร่วมกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ ที่ผ่านมาเรามีครัวเรือนต้นแบบจำนวน 30 ครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการทางคณะทำงานก็ได้ประเมินแล้วเห็นว่าครัวเรือนดังต่อไปนี้ที่สามารถดำเนินการเข้าเกณฑ์คือครอบครัวของ... 1. นายดลเลาะห์วิบูลพันธ์
    2. นายอำนวยขาวผ่อง 3. นางวิไลจูดมาก
    รางวัลที่ทางคณะทำงานได้มาแจกกับพี่น้องในวันนี้จะเป็นของรางวัลที่สามารถใช้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งตอนแรกที่อยู่ในแผนงานได้วางแผนว่าจะซื้อพัดลมให้แต่ทางคณะทำงานมองว่ามันไม่เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพให้กับชาวบ้านมติที่ประชุมจึงได้ลงความเห็นว่าควรจะเป็นบัวรถน้ำ จอบ พันธ์พืช เป็นต้น นางหนึ่งฤทัยจินตสกุล : ปลัดอำเภอ จากการโยกย้ายพื้นที่รับผิดชอบตอนนี้ก็ได้ย้ายไปรับผิดชอบโซนทะเลแต่วันนี้น้องบัณฑิตได้เชิญมาร่วมกิจกรรมกับพวกเราในการประกวดครัวเรือนดีเด่นซึ่งจะเห็นว่าพวกเรามีแนวคิดที่จะใช้พื้นที่หน่วยงานในการขอมาทำประโยชน์ให้หมู่บ้านโดยการรวมกลุ่มของพี่น้องบ้านห้วยไทรจะเห็นว่าตอนนี้มีการรวมกลุ่มเพื่อใช้ประโยชน์ในที่ดินไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน รพ.สต.และพื้นที่รกร้าง และชี้แจ้งกิจกรรมของอำเภอละงูในเรื่องของการประเมินผู้ใหญ่บ้านจะมีการประเมินในเดือนธันวาคม2559นี้โดยมีเกณฑ์ของการประเมิน3ส่วนดังนี้ 1. การปฏิบัติหน้าที่ 2.ภาวะผู้นำ 3.ด้านความพึงพอใจ ทางอำเภอจะแต่งตั้งคณะกรรมการในการกำหนดวันประเมินโดยจะประเมินด้านความพึงพอใจมากที่สุดจะมาจากชาวบ้านผู้ให้ความสำคัญในการประเมินครั้งนี้ 4.2 เรื่องปัญหายาเสพติด ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองทุกท่านช่วยสอดส่องดูแลบุตร หลานของตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ไปมั่วสุมหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกชนิด


    ปิดประชุม 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีรูปแบบครัวเรือนดีเด่นสามารถให้คนในชุมชนดูเป็นแบบอย่างได้
    • เป็นกำลังใจให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น คนในชุมชนมีความสามัครคีมากยิ่งขึ้น
    • ทำให้ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สุขภาพคนในชุมชนแข็งแรง
    • สมาชิกในชุมชนเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความกระตือรือร้น

     

    120 120

    43. ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีการแบ่งกลุ่มย่อยในการถอดบทเรียนจากโครงการที่ได้ปฏิบัติและสามารถให้ข้อมูลจากกิจกรรมที่ได้ทำมาทั้งหมดเพื่อให้เกิดกลไกลในการขับเคลื่อนกองทุนและการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนได้อย่างยังยื่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่7ตุลาคม2559เวลา 09.00 น ณอาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านห้วยไทรได้มีการถอดบทเรียน โดยมีวิทยากรให้ความรู้และมีการให้ชาวบ้านสรุปผลการทำงานในกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อให้เห็นว่าโครงการที่ได้ปฏิบัตินี้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ว่างไว้หรือไม่อย่างไรโดยมีรายละเอียดตามหัวข้อย่อยจากการถอดบทเรียนดังนี้

    1. ความคาดหวังของโครงการ จากเริ่มต้นสิ้นสุดโครงการ 1.1 จะได้มีอาชีพเสริมในครอบครัว 1.2 จะได้มีการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้าน 1.3 อยากมีรายได้เสริม 1.4 อยากให้มีโครงการต่อเนื่องเพื่อลดรายยจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 1.5 อยากให้พี่น้องในชุมชนได้รับเงินสนับสนุนโครงการมากกว่านี้ 1.6 ลดการใช้สิ่งที่ไม่จำเป็นของโครงการให้มาเพิ่มเป็นทุนในภาคการเกษตรให้มากที่สุด

    2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ 2.1 มีสภาของหมู่บ้าน๑สภา 2.2 เกิดการทำงานเป็นกลุ่ม 2.3 ชาวบ้านเกิดการตื่นตัวในการอยากปลูกผักสวนครัวมากขึ้น 2.4 ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักสวนครัีวมากยิ่งขึ้น 2.5 ช่วยลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 2.6 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2.7 รู้จักใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ 2.8 ผู้บริโภคสามารถรับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษ 2.9 รายได้จากการปลูกผักสามราถใช้ต่อยอดในการปลูกผักครั้งต่อไป 2.10 ช่วยให้เกิดความสามัคคีภายในหมู่บ้าน

    3. สิ่งที่เกิดขึ้นจากความคาดหวัง (ปัญหา- อุปสรรค) 3.1 ได้เม็ดพันธ์น้อยเกินไป 3.2 ขาดความรู้ในการเพาะปลูก 3.3 ขาดอุกปรณ์ในการปลูก ไม่เพียงพอ 3.4 มีพื้นที่ในการทำเกษตรน้อย 3.5 ให้ความรู้ในการกำจัดแมลงสัตว์ตรูพืช 3.6 อยากให้มีการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพหน้าดิน 3.7 อยากได้ปุ๋ยอินทีร์ชีวภาพ 3.8 อยากได้ปุ๋ยหรือน้ำหมักชีวภาพในการเพิ่มผลผลิต 3.9 การตลาดยังไม่มี 3.10 อยากไปศึกษาดูงานเพื่อกลับมาพัฒนาในหมู่บ้าน

    4 ข้อเสนอแนะ 4.1 พันธ์ผักมีคนสนใจเยอะแต่พันธุ์ผักไม่เพียงพอ 4.2 ขอให้มีวิทยากรแนะนำในการปลูกผักให้ทั่วถึง 4.3 ควรจะมีเครื่องมือในการปลูกผักให้มากกว่านี้ 4.4 ควรจัดหาพื้นที่รองรับสมาชิกกลุ่ม สสส.ที่เหมาะสมทางการเกษตร 4.5 อยากให้เพิ่มงบประมาณ เพราะงบไม่เพียงพอ 4.6 อยากให้ฟื้นฟูสภาพดิน 4.7 อยากให้ไปศึกษาดูงานภายในจังหวัดเดีวกัน 4.8 อยากให้มีการตลาดรองรับผลผลิต

     

    30 30

    44. พบพี่เลี่ยงโครงการเพื่อตรวจสอบการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและตรวจสอบเอกสารการเงิน

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พบพี่เลี่ยงโครงการเพื่อตรวจสอบการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและตรวจสอบเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ
    • ได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงในการรายงานการบันทึกกิจกรรม

     

    2 2

    45. พบพี่เลียงเพื่อตรวเอกสารโครงการ

    วันที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 15ตุลาคม2559เวลา13.00 น.คณะทำงานโครงการเข้าพบพี่เลียงเข้าตรวจสอบเอกสารโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

     

    2 2

    46. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารทางการเงิน

    วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 1ุุุ6ตุลาคม2559เวลา13.00 น.คณะทำงานโครงการเข้าพบพี่เลียงเข้าตรวจสอบเอกสารโครงการและรายละเอียดการเขียนรายงานว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลียงได้ตรวจเอกสารโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

     

    1 1

    47. พบพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำรายงานเอกสารการเงิน

    วันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พบพี่เลี่ยงโครงการเพื่อตรวจสอบการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและตรวจสอบเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ

     

    2 2

    48. การจัดทำเอกสารการเงินโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่14ตุลาคม2559เวลา09.00น. ณสำนักงานเครือยข่ายผู้บริโภคได้พบพี่เลียงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารโครงการและฐานะทางการเงินของโครงการเพื่อให้เป้นไปตามทิศทางเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงสามารถตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ

     

    2 2

    49. จัดทำภาพถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การจัดทำรายงานข้อมูลเพื่อให้สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานที่สมบูรณ์

     

    2 2

    50. จัดทำรายงาน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สรุปจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ร่วมกับพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รายงานที่สมบูรณ์

     

    2 2

    51. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเกตุโครงการปิดงวด 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่15ตุลาคม2559เวลา09.00น. ณสำนักงานเครือยข่ายผู้บริโภคได้พบพี่เลียงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารโครงการและฐานะทางการเงินของโครงการเพื่อให้เป็นไปตามทิศทางเดียวกันและจัดทำสรุปรายงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการงวด 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สรุปจัดทำรายงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปิดงวดโครงการงวดที่ 2

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและสามารถจัดการข้อมูลชุมชนได้
    ตัวชี้วัด : - มีฐานข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนจำนวน 1 ชุด - มีแกนนำชุมชนและเด็กเยาวชนที่มีทักษะในการเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน - มีแผนปฏิบัติงานของพื้นที่
    • ได้ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์หนี้สินจำนวน 1 ชุด ที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจจริงทุกครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล
    • ครัวเรือนต้นแบบจำนวน 30 ครัวเรือนได้รับความรู้ในการทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำหลักความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้
    • กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือนสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปสร้างเป็นอาชีพเสริมโดยการปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ว่าง สามารถนำผลผลิตที่เหลือจากการรับประทานในครัวเรือนนำไปจำหน่ายได้รายได้เสริม ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพหลักในครัวเรือน
    2 เพื่อให้เกิดกระบวนการการจัดการปัญหาหนี้สินในชุมชน
    ตัวชี้วัด : - มีครัวเรือนต้นแบบการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือน - มีกติการ่วมของชุมชน
    • เกิดกติการ่วมของชุมชน เป็นธรรมนูญหมู่บ้านในการอยู่ร่วมเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน
    • ครัวเรือนนำร่องมีการทำบัญชีครัวเรือนเกือบทุกครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
    • เกิดกลุ่มการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้อย่างน้อย 30 ครัวเรือน และเกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 3 ศูนย์สำหรับปลูกพืชสมุนไพรและพืชผักสวนครัวในระดับชุมชน
    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่
    ตัวชี้วัด : - มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน 1 ชุด - เกิดสภาหมู่บ้าน1 สภา - สมาชิกสภาประกอบด้วย กรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชนจำนวน30 คน - มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 - มีแผนปฏิบัติการอย่างน้อย 5 แผน - ประชุมกรรมการสภา 10 ครั้ง
    • มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์
    • เกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 สภา จำนวน 30 คน จากภาคีเครือข่ายต่างๆในหมู่บ้านร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้าน
    • คณะกรรมการหมู่บ้านมีบทบาทในการร่วมปรึกษาหารือร่วมกันกับตัวแทนกลุ่มต่างๆ สามารถเสนอแนะและแก้ไขปัญหาต่างที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านได้ มีการประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งโดยมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่า80%ในแต่ละครั้งเพราะคนในชุมชนเข้าใจและร่วมรับฟังในการประชุมหรือจัดกิจกรรมต่างๆ
    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด เช่น การปฐมนิเทศโครงการ การปิดงวดโครงการ 2 ครั้ง มาพบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสาร และจัดทำรารายงาน
    • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรมเป็นประจำ
    • มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ซึ่งได้บันทึกในรายงานทุกครั้ง
    • มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและสามารถจัดการข้อมูลชุมชนได้ (2) เพื่อให้เกิดกระบวนการการจัดการปัญหาหนี้สินในชุมชน (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

    รหัสโครงการ 58-03948 รหัสสัญญา 58-00-1917 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
    • เกิดฐานข้อมูลในการปลูกผักเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
    • บ้านห้วยไทรหมู่ที่10 ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    งาน ช่วยให้การทำสภาผู้นำชุมชนจำนวน 30 คนซึ่งเป็นกรรมการชุดใหญ่ ขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆร่วมกับกรรมชุดย่อยในแต่ละภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ เช่นกลุ่มปลูกผักเพื่อเป็นการให้บทบาทแก่คนทำงานมีความรวดเร็ว

    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • กลุ่มเกษตรกร บ้านห้วยไทรหมู่ที่10ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การรวมกลุ่มกันทำงานเป็นกลุ่มย่อยตามอาชีพที่ตนมีในชุมชน โดยให้แต่ละกลุ่มสามารถดำเนินงานได้เอง เน้นการสร้างกองทุนในเรื่องของอาชีพและรายได้ เพือลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • กลุ่มเกษตรกร บ้านห้วยไทรหมู่ที่10ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

    พัฒนาต่อในด้านวิสาหกิจชุมชน และการตลาด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    สภาผู้นำชุมชน 30 คน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนร่วมกับกลุ่มย่อยในชุมชน

    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • กลุ่มเกษตรกร บ้านห้วยไทรหมู่ที่10ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
    • ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
    • การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • กลุ่มเกษตรกร บ้านห้วยไทรหมู่ที่10ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

    จัดเป็นฐานการเรียนรู้ให้กับบุคคล นักเรียนที่สนใจเข้ามาเรียนรู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    มีเครือข่าย อสม.อยู่ในคณะทำงานให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขอนามัย เพื่อให้คนในชุมชนมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ เช่น การล้างผักที่ถูกวิธี หากเป็นผักที่ซื้อจากตลาดและการเลือกซื้อผักที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

    บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    เกิดกระแสการหันมาบริโภคเพื่อสุขภาพมากขึ้น จากการปลูกเองกินเอง สามารถมั่นใจในอาหารว่าปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างและมีความเชื่อมั่นในผักที่เราปลูกเอง

    บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการรณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่โดยจะมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุดในชุมชน

    บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการปลูกพืชผักสมุนไพรที่ปลูกง่ายในครัวเรือนไว้กินเอง และหันมาบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพื่อสุขภาพ

    บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    เกิดการบริหารจัดการเรื่องเวลา ใช้เวลาว่าให้เกิดประโยชน์ หาอาชีพเสริมให้ในครัวเรือนและเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชุมชนมากขึ้นหลังจากการเสร็จภารกิจงานหลัก

    บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีประเพณีวัฒนธรรมตามแบบอย่างวัฒนธรรมไทยซึ่งก่อให้เกิดการยึดเหนี่ยวให้เกิดการพบปะเยี่ยมเยือนกัน สร้างความร่วมมือสามัคคีกันในชุมชน

    บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดกลุ่มอาชีพในชุมชนสร้างร้ายได้ให้ับคนในชุมชน

    บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดกติการ่วมของชุมชน เป็นธรรมนูญหมู่บ้านในการอยู่ร่วมเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน

    • เว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข
    • บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    มีการรวมกลุ่มกันทำงาน มีการทำตามกติกาของกลุ่มนั้น ๆ เช่น กลุ่มที่ปลูกผัก ทำนา ให้มีการลดการใช้สารเคมี และใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยอินทรีย์

    • บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    สภาผู้นำชุมชน 30 คน มีการประชุมประจำเดือน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน

    • บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการประชุมหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันนำเสนอความคิดเห็น ปัญหา ข้อเสนอแนะมาร่วมพูดคุยกัน

    • บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรในชุมชน โดยการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สนง.เกษตร สนง.ปศุสัตว์ และพัฒนาชุมชนอำเภอละงู

    • บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    มีการพบปะพูดคุยสะท้อนสถานการณ์จากสมาชิกในชุมชน ผ่านการประชุม และนำไปสู่การวางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การลดรายจ่าย การ การลดใช้สารเคมี

    • บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ชุมชนเป็นพื้นที่ชนบทมีการเป็นอยู่แบบช่วยเลือซึ่ฝกันและกัน

    • บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น งานบุญประเพณีตามหลักศาสนางานแต่ง เป็นต้น

    • บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10ต.ละงู อ.ละงูจ.สตูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    มีการทำเกษตร เช่นปลูกผัก ทั้งบริโภคเอง และเหลือจำหน่าย

    คนในชุมชนมีวิถีชีวิตแบบชนบท ยังมีการพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในชุมชน เช่น งานบุญประเพณีตามศาสนา งานแต่งงาน เป็นต้น

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    คนในชุมชนมีวิถีชีวิตแบบชนบท ยังมีการพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในชุมชน เช่น งานบุญประเพณีตามศาสนา งานแต่งงาน เป็นต้น

    คนในชุมชนมีวิถีชีวิตแบบชนบท ยังมีการพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในชุมชน เช่น งานบุญประเพณีตามศาสนา งานแต่งงาน เป็นต้น

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03948

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สุไหลหมาน สายเส็น )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด