directions_run

โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2) ”

บ้านทุ่งหนองควาย หมู่ที่ 4ตำบลดุสิตอำเภอถ้ำพรรณราจังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาย สันติ รัฐนิยม

ชื่อโครงการ โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)

ที่อยู่ บ้านทุ่งหนองควาย หมู่ที่ 4ตำบลดุสิตอำเภอถ้ำพรรณราจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03864 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2114

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2) จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านทุ่งหนองควาย หมู่ที่ 4ตำบลดุสิตอำเภอถ้ำพรรณราจังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านทุ่งหนองควาย หมู่ที่ 4ตำบลดุสิตอำเภอถ้ำพรรณราจังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03864 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,700.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 300 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดห้องเรียนจำลองประสานงานการเรียนรู้ตามฐานในครัวเรือน
  2. เพื่อให้ประชาชนกับปราชญ์ร่วมสร้างความรู้ของหมู่บ้าน ใช้เป็นหลักสูตรฐานครัวเรือนโดยร่วมกันเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่ว่างเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบนำมาแปรรูปสร้างรายได้ปลดหนี้
  3. เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งร่วมพัฒนาให้ประชาชนจัดการตนเองได้
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามครั้งที่ 1

    วันที่ 3 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00-19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับฟังการปฐมนิเทศเรื่องการวางแผนการทำกิจกรรม การจัดกิจกรรม การบริหารจัดการโครงการ การจัดทำรายงานการเงิน และลงบันทึกรายในในเวป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กำหนดปฏิทินรายกิจกรรมครบ เพื่อนำไปชี้แจงต่อกลุ่มเป้าหมายได้ ได้ฝึกการบันทึกข้อมููลในเวปได้ พี่เลี้ยงตรวจสอบแล้วถูกต้อง

     

    2 2

    2. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 1

    วันที่ 16 ตุลาคม 2015 เวลา 13:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประขุมคณะกรรมการ คณะทำงาน ผู้นำ แกนนำ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้ที่ประชุม เรื่องการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ แจ้งปฏิทินการทำกิจกรรม แจ้งการจัดทำหรือการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม การเก็บข้อมูล การรายงานงบประมาณ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแต่ละกิจกรรมของแต่ละงวด การเก็บภาพกิจกรรม รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้รับผิดชอบให้เป็นไปตามข้อตกลงของโครงการ
    • ได้เชิญเจ้าหน้าที่ ธกส. เข้าร่วมประชุมและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการจัดตั้งและออกแบบศูนย์เรียนรู้- ประขุมคณะกรรมการ คณะทำงาน ผู้นำ แกนนำ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้ที่ประชุม เรื่องการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ แจ้งปฏิทินการทำกิจกรรม แจ้งการจัดทำหรือการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม การเก็บข้อมูล การรายงานงบประมาณ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแต่ละกิจกรรมของแต่ละงวด การเก็บภาพกิจกรรม รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้รับผิดชอบให้เป็นไปตามข้อตกลงของโครงการ
    • ได้เชิญเจ้าหน้าที่ ธกส. เข้าร่วมประชุมและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการจัดตั้งและออกแบบศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
    • คณะกรรมการและผู้ที่เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยน ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ในการออกแบบศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และแบ่งหน้าที่กันตามความถนัดเพื่อช่วยกันจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชนมาปรับปรุงให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้
    • มีการนัดหมายในการประชุมสมาชิกในวันที่ 24 ตุลาคม 2558 และได้เชิญ อาจารย์กำไล สมรักษ์ พี่เลี้ยงโครงการเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจง ทำข้อตกลงในการดำเนินโครงการ และมีการกำหนดการคัดเลือกสภาผู้นำชุมชนด้วย เจ้าหน้าที่ ธกส. ได้ชี้แจงเรื่องที่รัฐบาลปล่อยเงินกู้ให้หมู่บ้านๆละหนึ่งล้านบาท โดยผ่านกองทุนหมู่บ้านที่อยู่ในระดับ A,B และให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเป็นผู็ลงนามในสัญญาเงินกู้ โดยปลอดดอกเบี้ย 2 ปี
    • คณะกรรมการและผู้ที่เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยน ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ในการออกแบบศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และแบ่งหน้าที่กันตามความถนัดเพื่อช่วยกันจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชนมาปรับปรุงให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้
    • มีการนัดหมายในการประชุมสมาชิกในวันที่ 24 ตุลาคม 2558 และได้เชิญ อาจารย์กำไล สมรักษ์ พี่เลี้ยงโครงการเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจง ทำข้อตกลงในการดำเนินโครงการ และมีการกำหนดการคัดเลือกสภาผู้นำชุมชนด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการ คณะทำงานเข้าใจ และร่วมกันออกแบบในการจัดกิจกรรมและออกแบบในการจัดศูนย์เรียนรู้
    • เจ้าหน้าที่ ธกส. ตกลงที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านวิชาการ ด้านบุคลากร และอื่นๆตามความเหมาะสม
    • มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน ได้คนร่วมทำงานตามความสามารถของแต่ละคน
    • ได้ร่าวกันยกร่างกติกาเพื่อจะนำไปพิจารณาในวันประชุมใหญ่ครั้งต่อไป

     

    30 32

    3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 16 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ติดแผนป้ายในที่ประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมได้เข้าใจ และได้ปฏิบัติตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในชุมชนมีป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ติดตั้งที่ศูนย์ประชุมหมู่บ้าน คนที่ประชุมเข้าใจ และปฏิบัตตามข้อกำหนดการงดสูบหรี่ในสถานที่ทำกิจกรรม

     

    2 2

    4. ชี้แจงโครงการและกำหนดกติกา

    วันที่ 24 ตุลาคม 2015 เวลา 09.00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีผู้นำ สมาชิกในหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
    • ดาบตำรวจอาคม สมนึก ได้บรรยายเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลชุมชน การจัดทำบัญชีครัวเรือน การออมเงิน รวมถึงการออกแบบกฎ กติกาของชุมชน โดยยึดหลักธรรมมาภิบาลในการบริหารจัดการ คือ 1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักการมีส่วนร่วม 4. หลักของความโปร่มใส 5. หลักความรับผิดชอม และ 6. หลักของความคุ้มค่า
    • อาจารย์กำไล สมรักษ์ เข้าร่วมชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมโครงการต่อยอดปีที่ 2
    • นายเกษม นามะหึงษ์ คณะกาามการโครงการได้อธิบายแนวความคิดต่อที่ประชุม การจัดฐานเรียนรู้ในห้องเรียนของโรงเรียนร้าง
    • นายสันติ รัฐนิยม ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าของโครงการ และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาท ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้คุยถึงการจัดห้องเรียนรู้ และ กฎระเบียบ ในการปฏิบัติ
      -ทุกกลุ่มมีกฎะรเบียบอยู่แล้ว แต่จะต้องประชุมคณะกรรมการเพื่อยกร่างระเบียบของศูนย์เรียนรู้ และนำเสนอต่อสมาชิกเพื่อพิจารณา ลงมติในการประชุมครั้งต่อไป และให้ที่ประชุมเตรียม พิจารณาคัดเลือกคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเหมาะสม เพื่อคัดเลือกเป็นสภาผู้นำชุมชนในการประชุมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
    • มีอาจารย์กำไล สมรักษ์ มาชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ กิจกรรม การต่อยอดปี 2 โดยละเอียด ที่ประชุมเข้าใจ และมีการกำหนดแผนงาน กิจกรรม กติกา ในการปฏิบัติลงพื้นที่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
    • มีผู้นำ สมาชิกในหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ทางคณะกรรมการโครงการได้เชิญ อาจารย์กำไล สมรักษ์ พี่เลี้ยงโครงการ และดาบตำรวจอาคม สมนึก ประธานสถาบันการเงินบ้านวังไทร ตำบลเขาโร อำเภอทุ่งสง มาบรรยายในเรื่องการจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน
    • ดาบตำรวจอาคม สมนึก ได้บรรยายเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลชุมชน การจัดทำบัญชีครัวเรือน การออมเงิน รวมถึงการออกแบบกฎ กติกาของชุมชน โดยยึดหลักธรรมมาภิบาลในการบริหารจัดการ คือ 1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักการมีส่วนร่วม 4. หลักของความโปร่มใส 5. หลักความรับผิดชอม และ 6. หลักของความคุ้มค่า
    • อาจารย์กำไล สมรักษ์ เข้าร่วมชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมโครงการต่อยอดปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการ ร่วมกันระดมความรู้ ประสบการณ์ และใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน หรือจากบุคคลภายนอก รวมทั้งภาคีเครือข่าย เพื่อจัดกระบวนการและกิจกรรมโครงการให้บรรลุเป้าประสงค์ และยังให้แนวคิดในการจัดหาวัตถุดิบในชุมชนที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการจัดฐานเรียนรู้ก็ต้องให้คนที่พอจะมีความรู้ หรือมีความชอบของแต่ละคนมาถอด หรือถ่ายทอดลงในฐานเรียนรู้ให้มากที่สุด ไม่จำเป็นต้องสวยงาม หรือให้เหมือนของที่อื่นเขา แต่ที่สำคัญให้สื่อถึงความหมายหรือเจตนารมณ์ของชุมชนเราให้มากที่สุด ถ้าใครมาดูสามารถเข้าใจได้
    • นายเกษม นามะหึงษ์ คณะกาามการโครงการได้อธิบายแนวความคิดต่อที่ประชุม ว่าจะจัดฐานเรียนรู้ในห้องเรียนของโรงเรียนร้าง โดยทางคณะกรรมการได้ทำหนังสือขอใช้พื้นที่จากคณะกรรมการโรงเรียนบ้านพรุวง ผู้ใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบในการส่งหนังสือ เพื่อจะขอใช้พื้นที่และปรับปรุงอาคารที่ร้าง ซำรุด จำนวน 2 ห้อง จะแบ่งเป็นห้องละ 3 ฐานเรียนรู้ ใช้วัสดุหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาทำ เช่น ไม้ไผ่ หรือไม้อื่นๆที่เหมาะสมสวยงามตามความจำเป็น จะให้ทุกคนมาช่วยกันแสดงความคิด และช่วยกันทำ เด็กบ้าง คนใหญ่บ้าง ผู้สูงอายุบ้างตามความถนัด
    • นายสันติ รัฐนิยม ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าของโครงการ และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ในปีที่ผ่านมาสมาชิกพึงพอใจที่ได้ร่วมโครงการ หลายครอบครัวได้ร่วมทำ และปฏิบัติตามรอยพ่อหลวง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่ได้ในทามกลางเศรษฐกิจตกต่ำ ยกตัวอย่างเช่น นางละอาย ทองเกื้อ อายุ 80 กว่าปี นางรัตนา นามะหึงษ์ และอีกหลายๆคน ได้ปลูกผัก ชะอม ส้มป่อย มะม่วงหิมพานข่า ขมิ้น ขายมีรายได้อาทิตย์ละหนึ่งพันกว่าบาท นางกุศล นังแก้ว และนางรอบ ปรีชา ได้รวบรวมผลผลิตนำไปขายต่อในตลาดมีรายได้เดือนละหลายๆพันบาท ครอบครัวมีรายได้ไม่เดือดร้อน นายประเวศ หอมแก้ว และ นายศุภชัย รักษาวงค์ ขายของในร้านค้าชุมชนมีกำไร มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ไม่ต้องไปทำงานนอกบ้านครอบครัวอยู่ พ่อ แม่ ลูก อย่างมีความอบอุ่น นี้คือตัวอย่างที่ชุมชนเอาเป็นแบบอย่างได้
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาท ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้คุยถึงการจัดห้องเรียนรู้ และ กฎระเบียบ ในการปฏิบัติ ทุกกลุ่มมีกฎะรเบียบอยู่แล้ว แต่จะต้องประชุมคณะกรรมการเพื่อยกร่างระเบียบของศูนย์เรียนรู้ และนำเสนอต่อสมาชิกเพื่อพิจารณา ลงมติในการประชุมครั้งต่อไป และให้ที่ประชุมเตรียม พิจารณาคัดเลือกคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเหมาะสม เพื่อคัดเลือกเป็นสภาผู้นำชุมชนในการประชุมครั้งต่อไป

     

    100 103

    5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวัตถุดิบครั้งที่ 1

    วันที่ 30 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ให้แต่ละกลุ่มได้ชี้แจงผลการดำเนินงาน และข้อมูลแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน และหาจากพื้นที่นอกชุมชน
    • ได้คัดเลือกผู้รับผิดชอบของแต่ละกลุ่มย่อย
    • จัดตารางการดำเนินกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม
    • จัดให้มีการแลกเปลี่ยน และนำเสนอปัญหาที่กระทบในภาวะเศรฐษกิจตกต่ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน และหาจากพื้นที่นอกชุมชน เช่น ขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว เศษหญ้า นำมาทำปุ๋ยหมัก มี ขมิ้น ข่า ตะไคร้ พริกไทยดำ พริกขี้หนู นำมาทำเครื่องแกง
    • ผู้ที่ร่วมปฏิบัติได้พูดคุยกันว่าการทำปุ๋ยหมักไม่ได้ยากอย่างที่คิด ในหมู่บ้านเรามีวัตถุดิบมากมายแต่เมื่อก่อนไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้คุ้มค่า
    • ได้ผู้รับผิดชอบของแต่ละกลุ่มย่อยชักชวนผู้ที่สนใจมาทำกันอย่างสนุกสนาน เด็กๆช่วยกันอย่างสนุก ยังถามว่าทำไม่คุณแม่ไม่ทำเองที่บ้านเดียวคราวหน้าหนูทำเป็นแล้วหนูไปทำให้แม่กินด้วย เป็นความประทับใจของคนทุกคน
    • ได้สูตรในการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ, ได้สูตรเครื่องแกงแบบพื้นบ้านจากการถ่ายทอดภูมิปัญญา และจะทำบันทึกไว้ในห้องเรียนรู้ เพื่อให้เด็ก เยาวชนรุ่นต่อไปได้ศึกษาและได้สืบทอดไม่สูญหาย

     

    60 84

    6. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 2

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ได้มีการทบทวนการประชุมครั้งที่ผ่านมา
    • ได้มีการเสนอและกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม
    • มีการรับมอบหมายงาน จัดเตรียมบุคคลที่เหมาะสมกับภาระหน้าที่
    • มีการเสนอวัตถุอุปกรณ์ที่มีอยู่นำมาจัดปรับปรุงซ่อมแซมอาคารโรงเรียนที่ผุพัง เพื่อจัดเป็นห้องเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกคนได้รับหน้าที่ไปประสานงาน จัดหาวัสดุที่จะมาปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนให้เป็นห้องเรียนรู้
    • ได้แสดงความคิดเห็นและออกแบบห้องเรียนรู้ โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแนวทางที่พี่เลี้ยง (อาจารย์กำไล สมรักษ์) แนะนำ
    • ในที่ประชุมได้มีการวางแผน และการกำหนดแผนงานในการประชุมสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการกำหนดประเด็นต่างๆที่มีอยู่ในโครงการ

     

    30 30

    7. ผู้นำกลุ่มปฏิบัติการทำห้องจำลองการเรียนรู้ครั้งที่ 1

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00-1700 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้นำกลุ่มปฏิบัติการทำห้องจำลองการเรียนรู้จากความรู้ปีที่แล้ว ทบทวนความรู้ที่ได้จากสมาชิก แลกเปลี่ยนของกลุ่มผู้นำ ได้แก่กลุ่มปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ กลุ่มปลูกผัก พืชสวนครัว กลุ่มผลิตเครื่องแกง กลุ่มเพาะชำต้นกล้าไม้ผลไม้ประดับ เพื่อสร้างความรู้ของหมู่บ้าน เป็นฐานของหลักสูตรฐานครัวเรือน ทำฐานเป็นสองห้อง ห้องแรกเรื่องการทำวัตถุดิบและผลผลิตเกษตรปลอดสารเคมี ห้องที่สองเป็นการแปรรูป ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้มีคุณภาพ มีชื่อ ถูกต้องตามการตลาด ได้รับการยอมรับ จาก อย. มผช. ใช้คนหมุนเวียนมาทำห้องจำลอง ออกแบบ มาสรุปโดยใช้วัสดุในพื้นที่มาทำ เช่น ป้ายทำด้วยแผ่นไม้ ร่วมปฏิบัติ มีกลุ่มผู้นำร่วมปฏิบัติห้องละ 15 คน รวม 30 คน โดยมีการวางแผนในการทำงานเป็นขั้นตอนได้แก่ ครั้งที่ 1 สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติในปีที่ 1 ที่ผ่านมาทำเป็นภาพวาดและข้อมูลผังชุมชน ครั้งที่ 2 นำข้อมูลครัวเรือนตัวอย่างมาร่วมเพิ่มเติมให้มีความสมบูรณ์มายิ่งขึ้น ครั้งที่ 3 ผู้นำกลุ่มร่วมกันเพิ่มเติม จัดตกแต่งให้สวยงามโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ครั้งที่ 4 ผู้นำกลุ่มเชิญปราชญ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เติมฐานความรู้ให้มีข้อมูลด้านวิชาการควบคู่กับการปฏิบัติ ครั้งที่ 5 เพิ่มเติมข้อมูลและตกแต่งความสวยงามให้พร้อมต่อการฝึกของวิทยากรหมู่บ้านที่ทำงานต่อเป็นการทำผงครัวเรือน
    • ในที่ประชุมมี นายสุรินทร์ พูลแก้ว ได้เสนอให้จัดตั้งโรงสีข้าวชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้กินข้าวที่ปลอดสารพิษที่ป่นเปื่อนในข้าวสารที่ซื้อมาจากท้องตลาด และยังเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ปลูกข้าวกินเองโดยการปลูกแซมในสวนยางพาราที่โค้นปลูกใหม่ ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ ยางพารากิโลละ 25 บาท พวกเราต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ใหมากที่สุดและพึ่งตัวเองให้ได้ (ในท้ามกลางวิกฤติทุกครั้ง มักจะมีโอกาสอยู่ด้วยเสมอ)
    • คณะทำงานโครงการ และผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วย โดยมีคณะกรรมการ 7 คน จัดตั้งวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชนบ้านทุ่งหนองควาย และที่ประชุมมีมติให้กู้เงินจากธนาคาร ธกส. จำนวน 300,000 บาท ในการลงทุน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือนร่วมจัดทำผังครัวเรือนมีการวางแผนในการลงจัดเก็บข้อมูล
    • คณะกรรมการและผู้ร่วมในการปฏิบัติงาน ได้ออกแบบห้องจำลองการเรียนรู้ในกระดาษ ทุกคนจะสะท้อนหรือแสดงความคิดเห็นไปคนละอย่าง แก่ก็สรุปว่าในวันลงมือปฏิบัติออกมาเป็นชิ้นงานเราก็ต้องปรับปรุงให้งานออกมาสมบูรณ์มากที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 2 ห้องๆที่หนึ่งจะจัดเป็นห้องจำพวกประเภทอาหาร เช่น กลุ่มผลิตเครื่องแกง, กลุ่มปลูกพืช-ผักสวนครัว หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่เกิดจากผลผลิตของกลุ่ม ส่วนห้องที่ 2 จะเป็นจำพวกกลุ่มปุ๋ยหมัก, น้ำ้หมักชีวภาพ, กลุ่มเพาะชำกล้าไม้
    • ตัวแทนของแต่ละกลุ่มได้แบ่งงานรับผิดชอบตาวความถนัด และใครมีวัสดุก็นำมาใช้โดยไม่ไม่ต้องไปซื้อ
    • ได้มีการเสนอให้เปลี่ยนไม้ และกระเบื้องหลังคาอาคารโรงเรียนที่ผุ หรือที่ปลวกกินไม้ที่ชำรุด มีการนัดหมายให้มาช่วยกันทำ และนำเครื่องมือมากันเอง เช่นเลื่อยไฟฟ้า ค้อน
    • ได้จัดตั้งวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชน เป็นการเพิ่มกิจกรรมใหม่ให้กับชุมชน โดยการลงหุ้น มีการคัดเลือกคณะกรรมการและให้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน

     

    30 32

    8. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 3

    วันที่ 5 ธันวาคม 2015 เวลา 13:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการนำพูดคุยเรื่องการดำเนินงาน การปันผลกลุ่ม และการวางแผนลงพื้นที่ติดตาม และเก็บข้อมูลการทำผังในครัวเรือน การกระตุ้นกลุ่มในการพัมนาผลิตภัณฑ์ การแปรรูป มีการจัดทำบุญปีใหม่ การตักบาตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ลงมติร่วมการกำหนดวัน ทำงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ คณะกรรมการไปจัดหาอุปกรณ์ นัดแนะให้กลุ่มย่อยไปเตรียมงาน และมาพูดคุยเตรียมกันอีกครั้ง
    • มีการกำหนดแผนที่จะลงสำรวจครัวเรือน กำหนดการจัดกิจกรรมในวันปีใหม่ พร้อมมอบหมายหน้าที่ในการทำงาน เช่น มีนายสมนึกหอมแก้ว ผู้ใหญ่บ้านรับนิมนต์พระ นายเพิ่ม รำเพย นายสุรินทร์ พูลแก้ว และทีมงานรับผิดชอบเรื่องโต๊ะ เต้นท์ เก้าอี้
    • หลังจากการประชุมทุกคนก็ได้ร่วมกันพัฒนาถนนเพื่อเทิดพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวามหาราช

     

    30 31

    9. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามครั้งที่2

    วันที่ 6 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00-17:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยง สสส. ชี้แจงทำความเข้าใจการรายงานงบการเงิน
    • ชี้แจงรายละเอียดการบันทึกหน้าเว็ป
    • ชี้แจงรายละเอียดการหักภาษี ณ.ที่จ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการแลกเปลี่ยน ถาม-ตอบ ทดลองเขียนการรายงานงบการเงิน และการกรอกแบบฟอร์มการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกโครงการ

     

    2 2

    10. ออกแบบห้องจำลองฐานเรียนรู้

    วันที่ 10 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน, ครู กศน., และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ได้อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการ และขั้นตอนในการออกแบบฐานเรียนรู้ให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจ รวมถึงการนำวัสดุที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ที่สำคัญทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการออกแบบโดยการจินตนาการจากที่เคยทำมา
    • นายเสถียร หอมแก้ว บอกว่าพวกเราหลายคนที่มีประสบการณ์ที่สามารถทำได้ ผมสายตาไม่ค่อยดีแต่จะช่วยคิดและช่วยทำ และบ่นเสียดายถ้าสายตาดีดีเหมือนเมื่อก่อนจะทำให้ลูกหลานดูเป็นตัวอย่าง
    • นายวิษณุ บอกว่าผมและสมาชิกอีก 5 คนจะออกแบบในเรื่องการเพาะชำกล้าไม้
    • นางพันทิภา รำเพย การวาดภาพลงที่ฝาพนังจะให้ลูกสาวมาช่วยด้วย ลูกสาวเก่งในการวาดภาพ ทุกคนตอบว่าดีมากเราจะชวนลูกหลานมาช่วยกันทำ ให้ลูกหลานมาฝึกการเรียนรู้และออกแบบจะได้เกิดการพัฒนาทักษะไปด้วย
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาท ในการออกแบบ และจัดห้องให้เป็นฐานเรียนรู้อาจจะต้องใช้เวลา ข้อมูลที่ได้ต้องครบถ้วน เพื่อให้ผลงานออกมาจะได้สมบูรณ์ ใครมาเรียนรู้จะได้เข้าใจได้ง่าย
    • น.ส.อั๋น (ชื่อเล่น) ได้คุยถึงการจัดทำผลิตภัณฑ์น้ำยาเอนกประสงค์ และการผลิตเครื่องแกง เราจะต้องพัฒนาคุณภาพและออกแบบฉลากให้เป็นแบบของเราเอง
    • นายเกษม นามะหึงษ์ เราจะต้องมาช่วยกันทำ บ้างครั้งไม่จำเป็นต้องนัดเป็นทางการ ใครมีเวลาว่างก็มาช่วยกันทำเพราะการออกแบบ หรือการจัดเป็นฐานแต่ละฐานต้องให้เหมือนของจริงมากที่สุด และยังคุยถึงการจัดตั้งโรงสีข้าวชุมชนตอนนี้มีความคืบหน้าไปมาก ได้ติดต่อราคาและตกลงซื้อเครื่องสีข้าวแบบสองระบบ คือ สีข้าวกล้อง และขัดข้าวขาวได้ เขาจะมาติดตั้งให้ในวันที่ 29 ธ.ค. 2558 นี้ ชุมชนเราจะได้กินข้าวปลอดสารพิษ จะได้ส่งเสริมให้พวกเราได้เลี้ยง เป็ด ไก่ หมู ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวกินเองมากขึ้น แกลบ รำ จะได้นำมาเป็นส่วนผสมทำปุ๋ยหมัก ต่อไปเราจะมีวัตถุดินในการทำปุ๋ยหมักมากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกคนได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก มีความคิดต่อยอด และนำความรู้ที่ได้จากการจัดเวทีไปปฏิบัติที่บ้าน เช่น มีการปลูกผัก เลี้ยงไก่ เพิ่มในครัวเรือนมากขึ้น
    • มีกิจกรรมเพิ่ม คือ วิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชน โดยสมาชิกในชุมชนลงหุ้นกันเอง รวมทุน 300,000 บาท ในการวื้อวัสดุก่อสร้างโรงเรือน และจัดซื้อเครื่องสีช้าว จัดทำกันเองไม่มีค่าจ้าง
    • เห็นรูปแบบในการจัดห้องเรียนรู้ และฐานเรียนรู้ สามารถขยายไปยังพื้นที่ครัวเรือนที่นำไปปฏิบัติได้จริงๆ
    • มีตัวแทนในการรับผิดชอบงานแต่ละฝ่าย มีการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือหน่วยงานภายนอก
    • ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับการพัฒนาห้องเรียนเป็นห้องจำลองฐานเรียนรู้ และมีมติเห็นชอบกติการ่วมกัน

     

    70 73

    11. สภาผู้นำฝึกปฏิบัติการจัดทำข้อมูลตัวอย่างผังครัวเรือนครั้งที่ 1

    วันที่ 20 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00-17.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แบ่งกลุ่มออกสำรวจข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย โดยลงพื้นที่ครัวเรือนเพื่อสอบถามข้อมูลในการปฏิบัติ การปลูกผักสวนครัวหลังการการเรียนรู้จากเวทีแล้ว
    • จัดสำรวจ บันทึกข้อมูลของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ และครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยแบ่งกลุ่มออกสำรวจผังข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลที่สามชิกได้ทำจริง ปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง มีขี้พร้า (ฟักเขียว) พริกไทยดำ แตก ขมิ้น ตะไคร้ ข่า ชะอม ผักเขลียง ฯลฯ
    • ได้ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการปลูกพริกไทยดำโดยใช้ท่อพีวีซี วิธีคัดเลือกกิ่งพันธ์ปลูกโดยไม่ต้องเพาะชำ วิธีปลูกโดยขุดหลุมลึกประมาณ 10 ซม. ยาวประมาณ 30 ซม. ใช้กิ่งให้ทอดเป็นแนวนอนแล้วใช้ดินกลบ รดน้ำวันละ 1 ครั้ง
    • ได้เห็นการดำเนินงานของสมาชิกแต่ละครัวเรือนมีการช่วยเหลือแบ่งบัน
    • ได้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิก เช่น สมาชิกบางคนยังไม่เข้าใจถึงวิธีการจัดบันทึกข้อมูล จึงมีแนวทางแก้ไขโดยการให้คณะทำงานชี้แจงรายละเอียดและฝึกการปฏิบัติใหม่จนกว่าจะเข้าใจ

     

    30 30

    12. ติดตามผลการปฏิบัติครั้งที่ 1

    วันที่ 25 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทบทวนเรียนรู้ทุก 3 เดือน จัดสำรวจข้อมูลของสมาชิกกลุ่มปลูกผัก และติดตามลงสู่แปลงปลูกของแต่ละครัวเรือน มีการแยกแต่ละประเภทพืชผักที่ปลูก จัดทำข้อมูล บันทึกข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ข้อมูลครัวเรือนที่ปลูก ชนิดพืช-ผักที่ปลูก จำนวนพื้นที่ปลูก
    2. ได้ศึกษาชนิดพันธ์พืช-ผักพื้นบ้าน ปลูกแล้วทนต่อสภาพพื้นที่
    3. ได้รู้ถึงปัญหา อุปสรรค วิทีการปลูก ช่วงระยะเวลาในการปลูกที่เหมาะสมดูจากธรรมชาติ ช่วงระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต
    4. ได้ความรู้ในการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และที่สำคัญทุกคนบอกว่าจะไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง
    5. ได้ช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน ทำป้ายบอกเขตพื้อที่หมู่บ้าน

     

    60 64

    13. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 4

    วันที่ 5 มกราคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้
    • จัดเก็บข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงปัญหา อุปสรรค
    • ติดตามความคืบหน้าของกลุ่มเป้าหมายในการรับผิดชอบ
    • สรุปข้อมูลในรอบเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในที่ประชุมได้พูดถึงการทำปุ๋ยหมัก สมาชิกหลายคนบ่นว่าหลังจากเอาปุ๋ยหมักไปใส่ผักที่ปลูกประมาณ 5-10 วันผักดูสวยขึ้นทันตา
    • สมาชิกมีการปลูกผักมากขึ้น เช่น ผักกาด ผักบุ้ง ผักหวาน ชะอม ส้มป่อย กล้วย มะละกอ ข้าว ฯลฯ
    • มีสมาชิกหลายครัวเรือนหันมาเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่ เป็ด วัว
    • มีสมาชิกพูดว่าถ้าหากเราไม่ปลูกผักไว้กินบ้าง พวกเราคงลำบากมากในช่วงยางพาราราคาตกต่ำแบบนี้
    • ตอนนี้ในชุมชนมีการปลูก กล้วย มะละกอ ข้าว เพิ่มมากขึ้น บางคนปลูกเป็น 10-20 ไร่เลยทีเดียว ซึ่งได้ความคิดและการร่วมมือที่เป็นกระบวนการจากโครงการ และช่วยแก้ปัญหาให้ชาวบ้านได้ในระดับหนึ่ง
    • จากการสรุปในเวที ตอนนี้ชาวบ้านส่วนมากมานั่งคุยที่สภากาแฟ คุยเรื่องการปลูกพืชของแต่ละคน (มาโม้ผลงานของตัวเอง) และนำปัญหาของแต่ละคนมาคุยแล้วช่วยกันแนะนำวิธีการแก้ปัญหา และไปช่วยกันดูปัญหาถึงแปลงปลูก เช่น มีโครพืช ศัตรูพืช ช่วยกันกำจัดตามวีถีชาวบ้าน 

     

    30 30

    14. ผู้นำกลุ่มปฏิบัติการทำห้องจำลองการเรียนรู้ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 มกราคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แต่ละกลุ่มมาออกแบบร่วมกันทำ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ใครมีเวลาว่างก็มาทำ เพราะงานวันเดียวทำไม่สำเร็จ
    • มีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอมาเป็นพี่เลี้ยง ช่วยให้คำปรึกษา
    • จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ไม้ไผ่ แก่นไม้ หรือเครื่องมือ มีด พร้า จอบ เครื่องเลื่อยยนต์ นำมาจากบ้าน มีนายจรูญ เลื่อยไม้มาทำแผ่นป้าย
    • มีการเสนอให้ทุกคนที่มีเวลาว่างก็เข้ามาจัดการจัดทำต้องทำเรื่อยๆ ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันเดียวได้
    • ใช้ข้อมูลที่ได้จัดเก็บมาเป็นเครื่องมือในการออกแบบ และวางแผนต่อในการปฏิบัติงานครั้งต่อๆไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกคนได้นำความรู้ความสามารถ และใช้ภูมิปัญญามาใช้ บางอย่างเด็กรุ่นหลังๆไม่เคยเห็น เช่น การผ่าไม้ไผ่ ผูกเชือก เป็นต้น
    • ทุกคนได้สนุกกับการทำงาน ทำครั้งแรกหลายคนยังขาดประสบการณ์ และต้องทำกันหลายวันจึงจะได้เป็นห้องเรียนรู้

     

    30 30

    15. พัฒนาพื้นที่และเรียนรู้การผลิตครั้งที่ 1

    วันที่ 15 มกราคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีการลงทะเบียนเข้าร่วมเวทีพัฒนาพื้อที่และการเรียนรู้ผลิต
    • ร่วมรับฟังการบรรยายขั้นตอนผลิตเครื่องแกง ทำแหนม ทำลูกชิ้น รวมถึงการดูแลความสะอาดตามมาตรฐานสาธารณสุข
    • ลงมือปฏิบัติจริง- รับฟังการบรรยายจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาเครื่องแกงสูตรพื้นบ้าน มีสูตรแกงส้ม สูตรแกงป่า แกงคั่วกลิ้ง แกงไตปลา (แกงพุงปลา)
    • มีการแบ่งกลุ่มย่อยตามความถนัด และสลับกันเรียนรู้ มีกลุ่มแกงส้ม แกงป่า แกงคั่วกลิ้ง แกงไตปลา (แกงพุงปลา) กลุ่มทำแหนม กลุ่มทำลูกชิ้น กลุ่มทำขนมพื้นบ้าน ทำกล้วย,มัน,เผือกฉาบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
    • มีการซักถามกันไปตามช่วงการปฏิบัติฝึกลงมือทำจริง บรรยากาศแบบกันเอง
    • หลายคนอยากทำอีกในวันต่อไปเพื่อให้เกิดความชำนาญ
    • เกิดการเรียนรุู้เพิ่มเรื่องการพัฒนางานต่อเนื่องโดยให้กลุ่มได้เรียนรู้การทำแหนม เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านในอนาคต เนื่องจากการทำแหนมหาได้ในหมู่บ้าน ได้แก่ ไก่ หมู ที่เลี้ยง พืชผัก พริก ที่ปลุกขึ้นเอง นำมาปั่นกันเอง ฝึกปฏิบัติแล้วนำไปหมักที่บ้าน
    • วางแผนกันต่อเนื่องเรื่องการทำอาชีพ ทำลูกชิ้น ทำแหนม เพื่อให้เป็นวัตถุดิบในการทำเพื่อสร้างรายได้ เพราะในอนาคตมีการรวมตัวของกลุ่มคนกันบ่อยๆ ที่โรงเรียน
    • ได้ขยับกลุ่มของหมู่บ้านเป็นกลุ่มของอำเภอ เพื่อเป็นฐานเรียนรู้ให้กับหมู่บ้านอื่น โดยได้วางแผนการจัดลงหุ้นกันเอง ทำเป็นของชุมชนเอง
    • ได้สรุปผลการเรียนรู้เป็นชุดความรู้เรื่อง "การนำผลผลิตชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพ" ได้แก่ ปุ๋ยหมัก เครื่องแกง กล้วยฉาบ หัวมันฉาบ พืชผักปลอดสาพิษ แหนม ลูกชิ้น ข้าวกล้อง เลี้ยงสัตว์ กล้วย มะละกอ เป็นต้น
    • มีการบริหารจัดการกลุ่มโดยให้กลุ่มปุ๋ยหมักเป็ยกลุ่มหลักในการจัดการ และมีกลุ่มอื่นๆ มาร่วมเป็นกลุ่มกิจกรรมย่อย ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ระดับอำเภอ

     

    100 100

    16. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวัตถุดิบครั้งที่ 2

    วันที่ 25 มกราคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ช่วงเช้าจัดเวทีเรียนรู้ ปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมเวที พูดคุยถึงเรื่องการจัดหาวัตถุดิบที่นำมาใช้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผลิต และสูตรในการผสมที่จะผลิต
    • ช่วงบ่ายจัดแบ่งกลุ่มลงมือปฏิบัติจริง มีกลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก, กลุ่มผลิตเครื่องแกง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มทำปุ๋ยหมักได้เรียนรู้ในการคัดเลือกวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนในการผลิต เข้าใจถึงขั้นตอนในการผลิตและนำไปใช้ตามปริมาณให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด
    • สมาชิกกลุ่มผลิตเครื่องแกง มีการพัฒนาการเรียนรู้วิธีคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ รู้จักป้องกันและรักษาความสะอาด มีเคล็ดลับในการผสมที่มีสูตรเป็นของตนเอง รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาหรือการถนอมอาหาร

     

    60 61

    17. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 5

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แลกเปลี่ยนสรุปผลการดำเนินงานของสมาชิกประเด็นต่างๆ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน 2559 ที่จะถึงนี้
    • มีการวางแผนจัดเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้ง
    • เสนอพิจารณาระเบียบข้อคับกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ เตรียมรับงบประมาณและได้รับเครื่องจักรในการผลิตปุ๋ยหมัก
    • วางแผนและกำหนดการจัดทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพในครั้งต่อไป
    • กำหนดการรับสมาชิกกลุ่มปุ๋ยหมักเพิ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ข้อมูลครอบครัวที่ประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
    • มีการแก้ไขระเบียบข้อบังคับของกลุ่มปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ
    • นายสันติรัฐนิยม ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงโครงการที่ขอสนับสนุนเครื่องจักร และวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก งบประมาณ 1 ล้านบาทเศษ คือ 1) รถแทรกเตอร์ 1 คัน 2) เครื่องบด 1 เครื่อง 3) เครื่องผสมปุ๋ย 1 เครื่อง 4) เครื่องอัดเม็ด 1 เครื่อง 5) เครื่องบรรจุกระสอบแบบสายพานลำเลียง 1 เครื่อง 6) จักรเย็บกระสอบแบบไฟฟ้า 1 เครื่อง และวุตถุดิบในการทำปุ๋ยอีกหลายรายการ
    • มีสมาชิกสมัครเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น

     

    30 30

    18. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามครั้งที่ 3

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้ารับฟังการชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องการรายงานค่าใช้จ่ายงบประมาณ ง.1 และ ส.1 จากพี่เลี้ยงโครงการและเจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ความรู้และเข้าใจในการบันทึกการจัดกิจกรรม การเก็บภาพตอนจัดกิจกรรม มีความมั่นใจในการชี้แจงตอนปฏิบัติงานในชุมชนมากขึ้น สามารถเป็นผู้ที่กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมในชุมชนและเวทีอื่นๆที่เข้าร่วมได้อย่างมั่นใจ
    • พี่เลี้ยงได้แนะนำการรายงานการเงินให้รู้และเข้าใจในหมวดต่างๆได้อย่างถูกต้อง และแนะนำการบันทึกลงในหน้าเว็ปว่าให้เป็นเรื่องเล่าให้เป็นขั้นเป็นตอน มีใครทำอะไร ใครเสนออะไร หรือที่ประชุมได้สรุปอย่างไร เป็นต้น พี่เลี้ยงและผู้ที่อ่านจะได้เข้าใจ
    • พี่เลี้ยงให้แก้ไขการบันทึกรายงาน และให้เพิ่มการรายงานให้มากขึ้น และให้แก้ไขภาพกิจกรรมที่พี่เลี้ยงนัดพบครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 ซ้ำกัน ก็ได้แก้ไขและเพิ่มภาพที่จัดกิจกรรม และบันทึกรายงานเพิ่มตามที่พี่เลี้ยงได้แนะนำ

     

    2 2

    19. สภาผู้นำฝึกปฏิบัติการจัดทำข้อมูลตัวอย่างผังครัวเรือนครั้งที่ 2

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายสันติ รัฐนิยม ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอนในการจัดทำข้อมูลผังครัวเรือนตัวอย่าง
    • ให้คณะทำงาน และตัวแทนครัวเรือนแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะในการกำหนดแบบฟอร์มในการจัดทำข้อมูล
    • แบ่งผู้รับผิดชอบเป็นกลุ่ม แบ่งงานเป็นโซนพื้นที่และครัวเรือน
    • ซักซ้อมการสัมภาษณ์ การบันทึกข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานและตัวแทนทุกคนได้ระดมความคิด ได้กำหนดตารางแบบฟอร์มการจัดทำข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง สมาชิกมีความเข้าใจในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล และการสัมภาษณ์ครัวเรือนตัวอย่าง
    • นายสุรินทร์ พูลแก้วได้เสนอการก่อสร้างโรงงานแปรรูปยางพารา ผลิตหมอนยางพารา เพื่อให้สมาชิกได้มีรายได้ เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรชาวสวนยาง และต่อไปเราจะเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายมากขึ้น เช่น ตุ๊กตา หมอนข้าง ที่นอน ฯลฯ
    • ที่ประชุมเห็นชอบ และร่วมกันวางแผนงาน ดำเนินการ

     

    30 35

    20. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 6

    วันที่ 5 มีนาคม 2016 เวลา 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีพูดคุย รายงานการเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม
    • สรุปปัญหา และคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายสันติ รัฐนิยม ผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานถึงการที่ไปส่งรายงานงวดที่ 1 ต่อพี่เลี้ยงในวันที่ 12 ก.พ. 2558 เป็นกรณีพิเศษ เพราะวันที่ 13-14 ก.พ. 2558 ทางรัฐสภาเชิญเข้าร่วมเวธีรับฟังความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาจารย์กำไล สมรักษ์ (พี่เลี้ยงโครงการ) ได้แนะนำเรื่องการบันทึกรายงานว่ายังไม่ค่อยละเอียด ภาพมีการซ้ำของวันที่ไปพบพี่เลี้ยง สจ.รส. ก็ได้แก้ไขแล้ว
    • นายสุรินทร์พูลแก้ว ได้รายงานถึงการไปหาและคัดเลือกเมล็ดพันข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวสังหยด ข้าวหอมนิล มาทดลองปลูกในแผ่นผ้ายางพราสติก ใช้ดินผสมปุ๋ยหมักที่ทำกันในกลุ่ม ได้ทดลองปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ไปหนึ่งร่องปลูกได้ 2 อาทิตย์ข้าวงอกสวยมาก ต่อไปจะแนะนำให้สมาชิกปลูก
    • นายเกษมนามะหึงษ์ ได้รายงานถึงกลุ่มปลูกผ้ก ตอนนี้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทำให้พืชผักสมาชิกเหี่ยวเฉาเสียหายบางส่วน บอกสมาชิกคนที่ขาดน้ำให้ชลอการปลูกในระยะนี้ไปก่อน
    • นายสันติรัฐนิยม ได้เสนอในที่ประชุมเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา (ผลิตหมอนยางธรรมชาติ) เพื่อแก้ปัญหายางราคาถูก รัฐบาลส่งเสริม และธนาคาร ธกส. สนับสนุนให้เกิดกลุ่มอาชีพเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร ในที่ประชุมเห็นด้วยและนัดกันไปดูงานที่ อำเภอทุ่งใหญ่ โดยพารถยนต์ไปเองค่าใช้จ่ายก็ออกกันเองมีตัวแทนสมัครไป 9 คน
    • นายวิษณุ บริรักษ์ ได้เล่าถึงการที่เปิดโรงสีข้าวชุมชน ตอนนี้มีสมาชิกทั้งในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียงมาใช้บริการสีข้าวมากกว่าที่คาดหมาย สมาชิกในหมู่บ้านก็มาชื้อข้าวสารไปกินมาก สมาชิกบอกว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆที่มีโรงสีข้าวเองในชุมชน จะได้มีข้าวสารที่ปลอดสารพิษกินสักทีเขาจะได้ปลอดภัย ต่อไปสุขภาพจะได้ดีขึ้น มีสามชิกบอกต่อไปว่าเขาไปตรวจสุขภาพหมอบอกว่ามีสารเคมีตกค้างในร่างกายมาก ต่อไปนี้เขาจะไม่ซื้อข้าวสารจากตลาดเขาจะมาอุดหนุนพวกเราดีกว่า
    • นายมโนหนูเสน ได้รายงานเรื่องการผลิตเครื่องแกง ตอนนี้มีสมาชิกซื้อมาก วัตถุดิบบางอย่างขาดเพราะเกิดปัญหาภัยแล้ง ราคาในท้องตลาดเริ่มสูงขึ้น
    • นายจรูญถิ่นพระบาท ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและประธานกลุ่มทำปุ๋ยหมัก รายงานว่าตอนนี้ทางกลุ๋มได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรจากรัฐบาล มีรถแทรกเตอร์ 1 คัน เครื่องผสมปุ๋ย เครื่องบดละเอียด เครื่องอัดเมล็ดปุ๋ย เครื่องบรรจุกระสอบ เครื่องเย็บกระสอบ อย่างละ 1 เครื่อง ตอนนี้ที่พวกเราผลิตเองไม่พอจำหน่าย ลูกค้าสั่งเยอะมาก ส่วนปุ๋ยที่เราผลิตสมาชิกบอกว่าปุ๋ยมีคุณภาพใช้ได้ผลดีมาก

     

    30 35

    21. ผู้นำกลุ่มปฏิบัติการทำห้องจำลองการเรียนรู้ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ระดมความคิดออกแบบในการวาดภาพผังครัวเรือน และภาพกิจกรรมที่ทำในชุมชนมาสรุปไว้ในห้องเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในที่ประชุมของคณะทำงานโครงการได้เสนอแนวคิดในการออกแบบภาพวาดในฝาพนังห้อง นายเกษม นามะหึงษ์ เสนอว่าให้ครัวเรือน 30 ครัวเรือนต้นแบบลองมาจินตนาการวาดตามกิจกรรมของแต่ละครัวเรือนที่ทำและคิดว่าจะทำในอนาคต
    • นางพันทิภา รำเพย เห็นด้วยแต่ละครัวเรือนให้ชวนสมาชิกของแต่ละครัวเรือนได้มาช่วยกันวาดแล้วให้ติดต่อกันครบทุกครัวเรือนแล้วจะได้เห็นภาพของหมู่บ้าน จะไม่เน้นความสวยงามแต่จะเน้นการมีส่วนร่วมและกิจกรรมที่ทำ อันนี้เราจะประกวดให้รางวัลด้วยเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและความสามัคคี
    • นายมโน หนูเสน ทางคณะกรรมการจะจัดเตรียมวัสดุให้บ้าง เช่นสี แต่อุปกรณ์อื่นๆ ให้สมาชิกจัดหามาเอง ที่ประชุมเห็นด้วย
    • นายจิตรณรงค์ รำเพย ผมไปอบรมเกี่ยวกับการเลื้ยงผึ้งโพรง พวกเรามารวมกลุ่มแล้วมาเรียนรู้ผมเป็นวิทยากร ช่วยแนะนำเองทำลังเลี้ยงผึ้งทำไม่อยาก เรานำเศษไม้เก่าๆมาประกอบเป็นลังเลี้ยงผึ้ง รายได้ดีลงทุนน้อย ไม่ต้องให้อาหารผึ้งจะหากินตามธรรมชาติ ในที่ประชุมทุกคนเห็นด้วย

     

    30 35

    22. ติดตามผลการปฏิบัติครั้งที่ 2

    วันที่ 25 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ช่วงเช้ามีการลงทะเบียน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งกลุ่มลงพื้นที่ติดตาม สำรวจข้อมูลตามครัวเรือนสมาชิก
    • ช่วงบ่ายคณะทำงานพร้อมผู้นำลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลครัวเรือนสมาชิก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผัก นายสุรินทร์ พูลแก้ว ได้เล่าเรื่องที่ตนเองปลูกมะละกอ เริ่มการการคัดเมล็ดพันธ์ไปคัดเลือกลูกมะละกอในสวนของนายสุวีระศักดิ์ กาญจนะ คัดเลือกเอาลูกที่สมบูรณ์ เอาเมล็ดไปตากแห้งประมาณ 1-2 แดด ก่อนจะเพาะต้องเอาเมล็ดไปแช่น้ำไว้ 1 คืนจึงจะนำเมล็ดไปใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ ช่วงนี้ต้องขยันรดน้ำเพราะอากาศร้อน ในที่ประชุมสนใจจะปลูกมะละกอกันหลายคน ราคาสูง อายุการเก็บเกี่ยวยาว
    • นายอุดร ช่วยวัง เล่าในที่ประชุมเรื่องการปลูกกล้วยหอม กล้วยหอมปลูกง่าย การดูแลรักษาก็ไม่ยาก เราควรตัดแต่งใบให้เหลือ 7-8 ใบต่อต้น และเว้นหน่อก่อละไม่เกิน 3 หน่อ ลูกจะได้โตสมบูรณ์เป็นที่ต้องการของตลาด นายอุดร บอกว่าตอนนี้ประสบปัญหาฝนแล้งกล้วยที่ปลูกเหี่ยวเฉา ไม่มีน้ำรดและไม่รู้จะรอดสักกี่ต้น
    • ในการลงพื้นที่ของคณะทำงานในการจัดเก็บข้อมูล สรุปว่าช่วงนี้ทุกคนบอกว่าประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงนานทำให้พืชผักที่ปลูกเหี่ยวตายจำนวนมาก และสมาชิกบอกว่าจะปลูกต่อในช่วงต้นฤดูฝน
    • นายเกษม นามะหึงษ์ แนะนำการปลูกข้าวในถุงยางพราสติกและเลี้ยงปลาหมอ นายเกษม บอกว่าเรานึกถึงสมัยก่อนที่พวกเราทำนา ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ผมทดลองปลูกข้าวใช้น้ำน้อย ปลาก็ใหญ่เร็ว ประมาณเดือนกว่าๆปลาเอามาแกงได้แล้ง
    • นายมโน หนูเสน ประธานกลุ่มเครื่องแกงบอกว่าตอนนี้การทำเครื่องแกงมีปัญหาต้นทุงการผลิตสูง ราคาพริกชี้ฟ้าแพงมาก และวัตถุดิบบางอย่างขาด เช่น พริก ขมิ้น ตะใคร้ เพราะฝนแล้งมากปีนี้
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาท ประธานกลุ่มปุ๋ยหมัก ตอนนี้สมาชิกได้ร่วมกันทำปุ๋ยหมักคาดว่าน่าจะได้ประมาณสัก 30 ตัน หรือ 30,000 กก. พร้อมจะจำหน่ายได้ในต้นฤดูฝน 

     

    60 61

    23. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 7

    วันที่ 5 เมษายน 2016 เวลา 13:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานความก้าวหน้ากิจกรรมที่รับผิดชอบ
    • รายงานผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง
    • สรุปกิจกรรมในรอบเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นงสงสายชล  ช่วยวัง เลขานุการ สรุปรายงานจากข้อมูลในรอบเดือนให้ที่ประชุมทราบ สมาชิกได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง มีจำนวน 63 ครัวเรือน มีพืชผลเสียหายจำนวนมาก มีสวนกล้วยหอมของ นายเดชา  ศรีอ่อน, นายสวัสดิ์  รัฐนิยม, นายอดร  ช่วยวัง, และนางประดับ  ทองนุ่น เสียหายรวมประมาณ 30 ไร่ สวนมะละกอของ นายประจัด  แก้วช่วย, นายจำนงค์  มูณี, นายสุรินทร์  พูลแก้ว, น.ส.สายชล  ช่วยวัง, นางประดับ  ทองนุ่น, และนายสุวีระศักดิ์  กาญจนะ เสียหายประมาณ 45 ไร่ ผลไม้มี มังคุด, ลองกอง, เงาะ, ทุเรียน, ตายจำนวนมาก
    • แจ้งงบประมาณงวดที่ 2 ยังไม่ได้รับ กิจกรรมต่างๆ ต้องชะลอไปก่อน

     

    30 35

    24. สภาผู้นำฝึกปฏิบัติการจัดทำข้อมูลตัวอย่างผังครัวเรือนครั้งที่ 3

    วันที่ 20 เมษายน 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ดำเนินกิจกรรม โดยมีการแบ่งโซนตามกลุ่มบ้านและแบ่งคณะทำงานออกเป็น 5 ชุดๆละ 6 คน
    • ชุดที่ 1  น.ส. ชนม์นิภา ยี่สุ่น เป็นหัวหน้าชุด เก็บข้อมูลกลุ่มบ้านหนองจิก
    • ชุดที่ 2  นายมโน หนูเสน หัวหน้าชุดเป็น เก็บข้อมูลกลุ่มบ้านควนเขาค้าง
    • ชุดที่ 3  น.ส. สุกานดา นามะหึงษ์ หัวหน้าชุดเป็น เก็บข้อมูลกลุ่มบ้านทุ่งหนองควาย
    • ชุดที่ 4  น.ส. สายชล ช่วยวัง หัวหน้าชุดเป็น เก็บข้อมูลกลุ่มบ้านบนควน
    • ชุดที่ 5  นายสุรินทร์ พูลแก้ว หัวหน้าชุดเป็น เก็บข้อมูลกลุ่มบ้านหัวนอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกคนเข้าใจในการลงเก็บข้อมูล มีการแบ่งหน้าที่และงานตามความถนัด แต่ละคนไปชวนชาวบ้านพูดคุยถามข่าวคราวตามประสาชาวบ้าน พูดคุยกันสนุกส่วนใหญ่คุยกันในเรื่องการทำอาชีพ ชาวบ้านบอกเป็นเสียงเดียวกันว่ารายได้น้อยไม่ค่อยพอค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน คณะทำงานได้แนะนำให้ทุกครัวเรือนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ ให้เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ปลูกผักกินเอง เพื่อลดปัญหาค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และแนะนำให้ทำบัญชีครัวเรือนถ้าทุกครัวเรือนมีข้อมูลรายรับรายจ่ายจะได้มีการวางแผนในการบริหารครอบครัว

     

    30 35

    25. พัฒนาคุณภาพผลผลิตครั้งที่ 1

    วันที่ 29 เมษายน 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ปราชญ์ชาวบ้านอธิบายแนะนำวิธีการจัดเตรียววัตถุดิบ และแนะนำสูตรการทำเครื่องแกง การเก็บถนอมอาหารให้สมาชิกทราบ
    • มีการจัดเตรียมวัตถุดิบ เครื่องมือ มีด กะละมัง หม้อ เครื่องบด
    • แบ่งหน้าที่ในการทำความสะอาดวัตถุดิบ และสาธิตการผสมเครื่องแกง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้ในการคัดสรรวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำเครื่องแกง การทำความสะอาดสถานที่ ภาชนะใส่ การเก็บถนอมอาหาร
    • ได้สูตรในการทำเครื่องแกง เช่น เครื่องแกงป่า เครื่องแกงคั่ว เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงสมั่น แกงเขียวหวาน ความแตกต่างระหว่างเครื่องแกงคั่วกับเครื่องแกงส้ม คือ เครื่องแกงส้มจะไม่ใส่ตะใคร้และพริกไทยดำ

     

    40 44

    26. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 8

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนผู้มาประชุม
    • ให้ทุกคนเล่าเรื่องที่ปฏิบัติและเสนอแนะการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายสันติ รัฐนิยม ได้บอกเล่าให้ผู้เข้าร่วมประชุมถึงปัญหาภัยแล้ง ตอนนี้ให้สมาชิกทุกคนที่ปลูกผักหรือปลูกผลไม้ให้ช่วยกันหาวัสดุกันแดดนำมามุงพืชผักเพื่อป้องกันแดดและจะได้ประหยัดน้ำ สำหรับกิจกรรมที่จะทำต้องรองบประมาณจาก สสส. งวดที่ 2 ยังไม่โอนให้ที ในส่วนการทำปุ๋ยหมักตอนนี้ต้องทำไปเรื่อยๆ พอฝนตกพวกเราก็จะได้นำไปใช้ใส่ผัก ผลไม้ เพื่อฟื้นฟูสภาพ ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน ภัยธรรมชาติไม่มีใครห้ามได้แต่เราสามารถป้องกันได้ถ้าพวกเรามีการวางแผนที่ดี
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาท ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ให้พี่น้องสำรวจความเสียหายพืชผัก ผลไม้ ที่กระทบจากภัยแล้งจะส่งให้เกษตรพิจารณาช่วยเหลือ ผู้ใหญ่บอกว่า ทุเรียน ลองกอง มังคุด ของผมก็ตายหลายต้นเหมือนกัน
    • นายสุรินทร์ พูลแก้ว ผมได้ทดลองปลูกข้าวในถุงยางพลาสติก ได้ผลดีข้าวสวยมากใช้น้ำน้อย เราต้องปรับวิธีคิดถ้าพึ่งธรรมชาติทั้งหมดคงไม่ได้ครับ ถ้าเราปลูกข้าวแบบนี้ข้างบริเวณบ้านสามารถปลูกได้เกือบทุกบ้าน ปลูกให้หลายๆรอบเราก็พอกินในครัวเรือนแล้ว
    • นายเพิ่ม รำเพย บอกว่าพวกเราได้เรียนรู้มากก็หลายครั้งแล้ว ไปดูงานมาก็หลายพื้นที่แล้ว ปีนี้มีปัญหาผลผลิตตกต่ำโดยเฉพาะยางพาราราคาถูกมาก พวกเรามาปลูกข้าวกินเอง ผมปีนี้เตรียมที่สำหรับปลูกข้าวประมาณ 10 ไร่ ที่ปลูกเมื่อปีที่ผ่านมายังกินไม่หมดเลย โรงสีชุมชนเราก็มีสะดวกมากๆ
    • สรุป ทุกคนมีการพัฒนาความคิด และมีการปรับเปลี่ยนความคิด ช่วยกันแก้ปัญหากันเองได้เกือบทุกเรื่อง ยังต่อยอดให้หมู่บ้านข้างเคียงได้อีกต่างหาก

     

    30 30

    27. ผู้นำกลุ่มปฏิบัติการทำห้องจำลองการเรียนรู้ครั้งที่ 4

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดระดมความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกครัวเรือนตัวอย่าง ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำ เพื่อนำเสนอการออกแบบในการจัดฐานเรียนรู้ การจัดทำข้อมูล การจำลองแบบฐานเรียนรู้ พร้องออกแบบแปรสาธิตและภูมิทัศน์บริเวณรอบพื้นที่ศูนย์เรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายจิตรณรงค์ รำเพย เสนอการออกแบบศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง ประเด็นที่ 1 เราต้องจัดการปรับปรุงอาคารที่ผุพัง เช่น กระเบื้องหลังคาและฝ้าเพดานที่มีปลวกกินลายออกให้หมด เสร็จแล้วเรามาช่วยกันซ่อมแซมเพื่อให้ให้เกิดอันตรายกับผู้ที่เข้ามาทำกิจกรรมในห้องเรียน
    • นายประเวศ หอมแก้ว บริเวณพื้นที่รอบๆ เรามาจัดเป็นแปลงสาธิต โดยนำพืชผักที่มีอยู่ในพื้นที่มาปลูก โดยเฉพาะผักพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติที่ถูกทำลายด้วยการที่พวกเรารู้เท่าไม่ถึงการ พืชผักเหล่านี้เกือบจะสูญพันธ์ุ เราควรนำมาปลูกในแปลงสาธิตเพื่อขยายพันธุ์
    • นายสุรินทร์ พูลแก้ว เล่าว่าบ้านผมทดลองปลูกข้าวไรเบอรี่ในถุงยางพลาสติกเพื่อขยายพันธุ์ โดยใช้ผ้ายางพลาสติกปูพื้น กว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร ใช้ดินผสมกับปุ๋ยที่เราหมักเอง 3 กระสอบ (กระสอบละ 3 กิโลกรัม) รองพื้นดินสูงประมาณ 10 ซม. ข้าวสวยมากถ้าใครสนใจสามารถนำไปทดลองทำได้ครับ
    • นายเกษม นามะหึงษ์ เล่าในที่ประชุมว่าของผมทำแบบเดียวกับนายสุรินทร์ พูลแก้ว แต่ที่ผมทำ ทำเป็นนาข้าวในนาพลาสติกสามารถเลี้ยงปลาได้ด้วย ผมเลี้ยงปลาหมอในนาข้าวผมทดลองทำโดยนึกถึงตอนที่ผมเด็กๆตอนที่อยู่ที่อำเภอชะอวด พ่อแม่ผมทำนาตอนเด็กๆผมทงเป็ดในนาข้าวผมเลยทำลองแลปรากฎว่าข้าวก็สวยปลาก็โตเร็ว เหมือนคำสุภาษิตโบราณว่า "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว" ผมไปดูงานโครงการชั่งหัวมันโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมประทับใจมากๆ ผมจะจัดทำบริเวณรอบๆพื้นที่ศูนย์เรียนรู้และบริเวณข้างๆบ้านทำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วพวกเราจะอยู่ได้โดยการพึ่งตนเอง

     

    30 35

    28. พัฒนาพื้นที่และเรียนรู้การผลิตครั้งที่ 2

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากภาคีเครือข่าย
    • ปราชญืชาวบ้านถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิปัญญา
    • พิธีเปิดวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายมงคล ภักดีสุวรรณ ปลัดอำเภอ ตัวแทนเครือข่ายได้ร่วมกันออกแบบในการบริหารจัดการทุนในชุมชน โดยใช้คน ปราชญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาในชุมชนเป็นหลัก และใหทุกคนนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้วอยู่หัวมาใช้ ซึ่งผู้นำ และชาวบ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลดุสิต ได้น้อมนำมาได้ผมเห็นแล้วดีมากๆ เห็นชาวบ้านมีส่วนร่วมช่วยกันทำงานพัฒนาครอบครัว อยู่อย่างพอเพียงมีผักปลาอาหารที่ปลอดสารพิษ ชาวบ้านมีสุขภาพดี มีความสุข ผมที่เป็นข้าราชการก็มีความสุขด้วย
    • นางละอาย ทองเกื้อ ซึ่งมีอายุ 80 กว่าปีแล้ว ได้เล่าว่าที่บ้านปลูกผักชะอม ส้มป่อย ข่า มะม่วงหิมพาน และเลี้ยงปลาปลูกข้าวในนาที่ทำบ่อด้วยถุงยางพราสติก เก็บยอดผักขายมีรายได้อาทิตย์ละ 1,000 กว่าบาท มีรายได้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ต้องรบกวนและไม่เป็นภาระต่อลูกหลาย ทุกคนหัวเรนาะชอบใจคุณยายมาก
    • น.ส.น้ำอ้อย รักษายศ เป็นวิทยากรสาธิตการแปรรูปการทำขนมโดยใช้วัตถุดิบที่ปลูกในหมู่บ้าน มันทอดอบน้ำผึ้ง กล้วยฉาบเค็ม/หวาน และขนมดอกจอก หลายคนมีความสนใจและบอกว่าจะนำผลผลิตที่ปลูกมาแปรรูปไปฝากขายที่ร้านค้าชุมชนและร้านค้าที่อยู่ในชุมชน
    • นายเกษม นามะหึงษ์ ได้คุยเรื่องกลุ่มวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชน การสร้างโรงข้าวเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนหันมาปลูกข้าวกินเอง เป็นการลดสารพิษทำให้สุขภาพดีขึ้น และรำข้าว ปลายข้าวนำไปเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่เป็นอาหารได้อีก ทางกลุ่มได้ผลิตข้าวกล้องขายให้สมาชิกในราคาถูกเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสได้กินเพื่อสุขภาพของคนในชุมชน

     

    100 100

    29. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวัตถุดิบครั้งที่ 3

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ภาคเช้า จัดเวทีแลกเปรียนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก
    • ภาคบ่ายลงมือปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ภาคเช้า จัดเวทีแลกเปรียนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ท่านปลัดมงคล ภักดีสุวรรณ ได้ชี้แจงเรื่องโครงการที่สนับสนุนกลุ่มปุ๋ยหมัก ระเบียบการใช้เครื่องจักรของอำเภอ และเรื่องการบริหารจัดการทุนของกลุ่มในหมู่บ้าน
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาทได้ชี้แจงการจัดซื้อวัตถุดิบในการทำปุ๋ย มีขี้วัว ขี้ไก่ ขี้หมู ขุ๋ยมะพร้าว ขี้เค็กปาล์ม รำข้าว กากน้ำตาล ส่วนน้ำหมักชีวภาพพวกเราได้ทำกันเอง และ พด.1 ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช
    • นายเพิ่ม รำเพย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ด้านการทำปุ๋ยหมักได้คุยให้ที่ประชุมว่า การทำปุ๋ยหมักครั้งที่ผ่านมาขุ๋ยมะพร้าวที่ซื้อมามีใยมะพร้าวติดมามากเกินไปทำให้อัดเม็ดไม่ได้ เพราะใยมะพร้าวไปอุดรู้ไม่สามารถอัดเม็ดได้ ครั้งต่อไปเราควรจัดหาขุ๋ยมะพร้าวที่ไม่มีใยติดมาและควรลดขุ๋ยมะพร้าว เพิ่มขี้ไก่ที่มีแกลบดีกว่า
    • นางสาวสุกานดา นามะหึงษ์ ได้คุยถึงเรื่องการทำฉลากข้างกระสอบว่าถ้าเราผลิตขายในสมาชิก หรือลูกค้าในอำเภอเรายังไม่จำเป็นต้องทำฉลากเพาะต้องเพิ่มต้นทุน โดยเฉพาะเศรษฐกิจยังอยู่แบบนี้ ถ้าไม่จำเป็นเราควรลดต้นทุนเพื่อให้สมาชิกและพวกเราอยู่ได้
    • นายสิทธิชัย เพ็งแก้ว ได้คุยเรื่องการผลิตหมอนยางพารา ตอนนี้ผมกับนายวิษณุ บริรักษ์ (ขี้นก) ได้อมรมเรียนรู้เรื่องการแปรรูปหมอนยางพารา เรื่องนี้น่าสนใจมากเรามีน้ำยางซึ่งเป็นวัตถุดิบในการใช้ผลิต สามารถเพิ่มมูลค้าให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งมีประชากรพันกว่าล้าน และน้ำยางยังสามารถผลิตอย่างอื่นได้มากมาย เช่นถุงมือ ผ้าปูโต๊ะ พื้นรองเท้า แผ่นพื้นปูสนามฟุตบอล และอื่นๆอีกมากมาย
    • ช่วงบ่ายทุกคนได้ร่วมกันทำปุ๋ยหมักกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งในกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักได้รับงบประมาณจากอำเภอ เป็นงบบูรณาการจังหวัดจำนวนหนึ่งล้านกว่าบาทในการจัดซื้อรถแทรกเตอร์ เครื่องผสมปุ๋ย เครื่องอัดเม็ด เครื่องบรรจุกระสอบ เครื่องเย็บกระสอบ และอุปกรณ์สำหรับทำปุ๋ยหมัก

     

    60 61

    30. พัฒนาคุณภาพผลผลิตครั้งที่ 2

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พัฒนากรชุมชนให้ความรู้เรื่องการดูแลความสะอาด ขั้นตอนและระเบียบในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์
    • ผู้นำกลุ่มสตรีให้ความรู้วิธีการออกแบบ เลือกแบบแพ็คกิ้งให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
    • มีการซักถามและเสนอความคิดแบบบรรจุภัณฑ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาความสะอาด มีความเข้าใจระเบียบขั้นตอนในการผลิตให้มีคุณภาพให้ได้มาตรฐาน อย.
    • มีความรู้มีความเข้าใจในการจัดสินค้าที่จะวางขายให้เป็นที่จูงใจ ให้ลูกค้าเห็นแล้วอยากจะซื้อ
    • รู้จักการออกแบบ การเลือกอุปกรณ์หรือวัสดุหีบห่อให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์

     

    40 42

    31. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 9

    วันที่ 5 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทบทวนแผนการดำเนินงานโครงการ
    • ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการคุยวางแผนในการจัดทำปุ๋ยหมัก การจัดหาลูกค้า การออกแบบโลโก้ ตราข้างกระสอบ และเรื่องการสร้างโรงงานผลิตหมอนยางพารา
    • นายวิษณุ บริรักษ์ และนายสิทธิชัย เพ็งแก้ว ได้เล่าถึงการที่ไปฝึกอบรมเรียนรู้การแปรรูปยางพารา ผลิตหมอนยางพารา ไปเรียนรู้ 3 วันสามารถผลิตได้
    • นางสมจิตร จินพล เสนอในที่ประชุม การจัดกลุ่มไก่พื้นเมือง ในหมู่บ้านเรามีโรงสีข้าว มีรำข้าว มีปลายข้าว ต้องการให้ทางหมู่บ้านเสนอโครงการของบประมาณเพื่อจัดซื้อพ่อแม่พันธ์ และก่อสร้างโรงเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประชุมเห็นชอบและมอบให้นายสันติ รัฐนิยม รับผิดชอบในการเขียนโครงการ

     

    30 30

    32. สภาผู้นำฝึกปฏิบัติการจัดทำข้อมูลตัวอย่างผังครัวเรือนครั้งที่ 4

    วันที่ 20 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แบ่งกลุ่มลงเยี่ยมบ้านสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ
    • จดบันทึกข้อมูล พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงของครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้พูดคุยกับสมาชิกครัวเรือนเรื่องการประกอบอาชีพ รายได้ก่อนหลังที่ประกอบอาชีพเสริม ความอบอุ่นในครอบครัว ทุกบ้านได้เล่าให้คณะกรรมการฟังว่าถ้าอยู่ตามทุนนิยมหรือกระแสนิยมเราลำบาก หลังจากได้ทำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพวกเราอยู่ได้ไม่เดือดร้อน ได้เดินดูบริเวณรอบๆบ้านทุกครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการปลูกผัก เลี้ยงไก่ จัดเก็บขยะ ทำความสะอาดบ้านจัดบ้านมีระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ปลูกไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งริมถนนดูสวยงามทำให้ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น คนในชุมชนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีการช่วยเหลือเอื้ออาทรมากขึ้น ช่วยกันลงแขกในการตัดหญ้าในสวนยาง เกิดการแบ่งบันพันธ์พืช พันธ์ผัก แนะนำการแก้ไขปัญหาโรคพืช เช่นปัญหาโรคมะละกอ มีการรวมผลผลิต มีตัวแทนรับซื้อผลผลิต มะละกอ กล้วยหอม และผักอื่นๆ

     

    30 35

    33. ติดตามผลการปฏิบัติครั้งที่ 3

    วันที่ 25 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีทบทวนแลกเปลรียนเรียนรู้
    • ตัวแทนกลุ่มย่อยนำเสนอผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขณะดำเนินกิจกรรม
    • ทบทวนข้อมูลครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการนำเสนอของตัวแทนแต่ละกลุ่ม ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทุกครัวเรือนมีการเตรียมดินปลูกข้าวไร่ จำนวน 8 ครัวเรือน มี นางประยงค์ สืบพงษ์ นายเพิ่ม รำเพย นางเรียง รำเพย นายสมนึก หอมแก้ว (ผู้ใหญ่บ้าน) นายสุรินทร์ พูลแก้ว น.ส.สุกานดา นามะหึงษ์ นางปราณี ถิ่นพระบาท นางยุภาพร นาคขาว
    • มีสมาชิกปลูกมะละกอ จำนวน 11 ครัวเรือน น.ส.น้ำอ้อย รักษายศ นายจำนงค์ มูณี นายสมนึก หอมแก้ว นายสมยศ นังแก้ว น.ส.สายชล  ช่วยวัง นายสุวีระศักดิ์ กาญจนะ นายวรวิทย์ แก้วช่วย นายประจัด แก้วช่วย นางประดับ ทองนุ่น นายเดชา ศรีอ่อน นายสินชัย เจริญรูป มีรายได้จากขายกล้วยหอม 5,000-10,000 บาท/เดือน
    • ทำนาข้าวในถุงยางพราสติกและเลี้ยงปลาหมอ จำนวน 12 ครัวเรือน นายเกษม นามะหึงษ์ นายสุรินทร์ พูลแก้ว นายสันติ รัฐนิยม นางละอาย ทองเกื้อ นายมโน หนูเสน นายพล หมอแก้ง นายสุจิน สุขคง นายสมหมาย เพ็งแก้ว นายพรสิน นามะหึงษ์ นายวิษณุ บริรักษ์ นายศุภัตชัย รักษาวงศ์ นายจิตณรงค์ รำเพย
    • ปลูกกล้วยหอม 5 ครัวเรือน นายอุดร ช่วยวัง นางประดับ ทองนุ่น นายเดชา ศรีอ่อน นายสินชัย เจริญรูป นายสวัสดิ์ รัฐนิยม มีรายได้จากขายกล้วยหอม 3,000-5,000 บาท/เดือน
    • เลี้ยงไก่บ้าน 42 ครัวเรือน เลี้ยงไก่พันธ์ไข่ 30 ครัวเรือน จากการสรุปทุกครัวเรือนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่ม

     

    60 61

    34. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 10

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พูดคุยปรึกษาหารือ และวางแผนในการดำเนินกิจกรรมโครงการ
    • ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงโครงการประชารัฐ หมู่บ้านละ 200,000 บาท
    • ประธานกองทุนหมู่บ้านชี้แจงเรื่องโครงการประชารัฐ กองทุนละ 500,000 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายสันติ รัฐนิยม ชี้แจงทำความเข้าใจให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวการที่ทางเจ้าหน้าที่ สสส. ได้มาติดตามประเมิน อาจารย์กำไร สมรักษ์ พี่เลี้ยงโครงการได้ให้เกียรติคัดเลือกโครงการของหมู่บ้านของเราเป็นตัวแทนและนำเสนอต่อตัวแทนของ สสส. ที่โรงแรมทวินโลตัส เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 59 ได้เล่าถึงการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของคนที่มีการพัฒนาความคิดในการอยู่ในสังคม การพัฒนาอาชีพ และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนหลังจากได้รับงบประมาณ สสส. "โครงการโรงเรียนร้างสร้างชีวิต" เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การปลูกข้าวเลี้ยงปลาในถุงยางพราสติก เกิดโรงสีข้าวชุมชน โรงงานผลิตหมอนยางพารา "หมอนเพื่อสุขภาพ" เกิดกลุ่มใหม่ๆ และสร้างโรงผลิตน้ำดื่มชุมชน ที่ได้รับมาตราฐาน อย. รับรอง และยังมีอีกหลายๆ กิจกรรมที่ชุมชนได้ร่วมกันคิดและร่วมกันพัฒนาเป็นแบบอย่างที่ดีสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างอาชีพให้กับสมาชิกในชุมชน
    • นายสมนึก หอมแก้ว ผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงโครงการประชารัฐ หมู่บ้านละ 200,000 บาท ได้ปรับปรุงซ่อมแซมศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน มีความคืบหน้าโครงการใกล้จะเสร็จแล้ว และประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกของหมู่บ้านที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ไปใช้เสียงลงประชามติรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค. 59 ด้วย สำหรับโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ กองทุนหมู่บ้านละ 500,000 บาท ตอนนี้งบประมาณได้โอนเข้าบัญชีเรียบร้อยแล้ว ให้ทางคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการที่ประชุมสมาชิกได้มีมติ
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาท ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ เรื่องการปรับปรุงอาคารโรงเรียนร้าง ทางอำเภอถ้ำพรรณราได้มาร่วมประชุมและได้เห็นแนวคิดในการพัฒนาของสมาชิกในหมู่บ้านเราในการจัดปรับปรุงห้องเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทางอำเภอได้ประชุมหัวหน้าส่วนราชการและมีมติสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุให้
    • ที่ประชุมพึงพอใจกับการที่ได้ร่วมโครงการกับ สสส. มาก

     

    30 32

    35. พัฒนาพื้นที่และเรียนรู้การผลิตครั้งที่ 3

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ปลัดอำเภอชี้แจงโครงการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับอำเภอ
    • พัฒนาการอำเภอ ชี้แจงความก้าวหน้าการพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
    • จัดเวทีประชุม ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลการบริหารจัดการ สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
    • ร่วมกันพัฒนาบริเวณศูนย์เรียนรู้ และห้องเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้มีการปรับปรุงโรงเรียนร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ มีห้องเรียนรู้ของหมู่บ้าน โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทุกคนให้คำสัญญาและตกลงร่วมกับอำเภอว่าจะดูแลและพัฒนาพื้นที่โรงเรียนร้าง
    • พัฒนาอำเภอได้เห็นชาวบ้านมีความร่วมมือในการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้น มีกลุ่มวิสาหกิจโรงสีชุมชน กลุ่มวิสากิจแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำยางพารา (ผลิตหมอนยางพารา) กลุ่มวิสาหกิจผลิตปุ๋ยหมักอินทรีชีวภาพ และกลุ่มอาชีพอื่นๆอีกหลายกลุ่ม
    • ตัวแทนแต่ละกลุ่มได้ขี้แจงความก้าวหน้าของแต่ละกลุ่ม มีสมาชิกเพิ่มขึ้น ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้น
    • มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำให้โรงเรียนร้างเกิดมีชีวิตใหม่ ประชาชนทุกคนมีความภาคภูมิใจที่เกิดโรงเรียนถึงแม้จะเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แต่สามารถตอบโจทย์โครงการโรงเรียนร้างสร้างชีวิต ตอนนี้เริ่มเกิดชีวิตใหม่ และทุกคนภูมิใจในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นชนชุมชน

     

    100 100

    36. สภาผู้นำฝึกปฏิบัติการจัดทำข้อมูลตัวอย่างผังครัวเรือนครั้งที่ 5

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00-17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาผู้นำทบทวนข้อมูลหลังลงพื้นที่
    • ปรับกลยุทธ์แผนการตลาดรองรับผลผลิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายสุรินทร์ พูลแก้ว ประธานสภาผู้นำได้กล่าวในที่ประชุมว่าจากการลงพื้นที่ครัวเรือนสมาชิกพบว่าตอนนี้พืชผลของสมาชิกที่ได้ปลูกกำลังสวยงามเพราะฝนตกพวกเราต้องเตรียมจัดหาตลาดรองรับ
    • นายเกษม นามะหึงษ์ ข้าวที่ปลูกทดลองในนาพลาสติกก็เริ่มจะสุกแล้ว ส่วนปลาหมอที่เลี้ยงในนาข้าวพลาสติกตอนนี้จับขายได้แล้ว มีคนมาขอซื้อไปแกงไม่พอขายต้องขยายบ่อเพิ่มอีก เป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง
    • นายประเวศ หอมแก้ว ข้าวสารที่โรงสีก็ขายดีมาก ข้าวเปลือกที่ซื้อมาใกล้จะหมดแล้วฤดูกาลหน้าต้องซื้อข้าวเปลือกเพิ่ม และรณรงค์ชักชวนให้ชาวบ้านหันมาปลูกข้าวกินเองให้มากขึ้น
    • นายมโน หนูเสน ประธานกลุ่มเครื่องแกงชี้แจงในที่ประชุม สำหรับกลุ่มเครื่องแกง ผลิตไม่ค่อยคุ้มทุนเพราะพริกสดมีราคาแพงมาก ส่วนที่สมาชิกปลูกก็แห้งตายหมดเมื่อช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา พอฝนเริ่มตกสมาชิกก็เร่ิมปลูกยังประมาณ 2-3 เดือนจ฿งจะได้รับผลผลิต สรุปข้อมูลที่ชาวบ้านมีความร่วมมือ โดยเพาระบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยมีความสะอาด พื้นที่ว่างบริเวณบ้านก็มีการปลูกผัก ทำบ่อเลี้ยงปลา มีอาหารกินมีรายได้เพิ่มทุกครัวเรือน

     

    30 35

    37. นำเสนอชุดความรู้

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน
    • ทำข้อตกลงในการบูรณาการร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายสมนึก หอมแก้ว ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับสมาชิกเข้าร่วมประชุมและชื่นชมผลสำเร็จที่เกิดขึ้นของทุกกลุ่ม
    • นายสันติ รัฐนิยม ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้พูดคุยให้ที่ประชุมโดยรวมตั้งแต่เริ่มโครงการที่ สสส.ได้สนับสนุบงบประมาณชุมชนของเรามีการพัฒนาสิ่งใหม่ๆมากมาย ที่สำคัญคนมีการเปลี่ยนแปลงมีทัศนคติดีขึ้น มีวินัยในการอยู่ร่วม ใช้ทรัพยากรร่วม เกิดความไว้ว่างใจในกลุ่ม เคารพกติกา มีการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูล มีความคิดสร้างสรรค์ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆในชุมชน เกิดความคิดการแปรรูปหมอนยางพารา มีการปลูกข้านกินเพิ่มขึ้น ทำปุ๋ยหมักใช้เอง สร้างโรงสีข้าวชุมชน มีการรักห่วงสุขภาพตนเองคนรอบข้าง ยังอนุรักสิ่งแวดล้อม และกำลังก่อสร้างโรงน้ำดื่มชุมชน สิ่งเหล่านี้ทุกท่านได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ จนเป็นที่ยอมรับของหมู่บ้านข้างเคียง รวมไปถึงหน่วยงานราชการในอำเภอ และบางหน่วยงานในระดับจังหวัด ตอนนี้มีหน่วยงานต่างๆติดต่อมาศึกษาดูงาน เขามาดูงานเราก็ได้ขายผลิตภัณฑ์ของเราเช่นหมอนยางพารา ขนม ข้าวกล่อง และอื่นๆ เมื่อวันที่ 7 เดือนกรกฎาคม 59 มีคณะอาจารย์ กศน. โซน 4 จังหวัดนคร จำนวน 60 คน โดยเฉพราะในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ มีหลายหน่วยงานติดต่อมาดูงาน วันที่ 10 ส.ค.59 มีคณะอาจารย์ กศน. จากอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จำนวน 40 คน วันที่ 13 ส.ค.59 คณะเด็กนักเรียน ร.ร.ขางขันวิทยา อ.บางขัน จ.นครศรีฯ จำนวน 95 คน วันที่ 1 ก.ย.59 คณะนักเรียนชั้นมัธยม 6 จาก ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีฯ จำนวน 151 คน เรามีวิยากรประจำฐาน มีรายได้จากการทำอาหาร นำผักที่ปลูกมาประกอบอาหารสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชุมชน
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาท ประธานกลุ่มวิสาหกิจ บอกว่าปีนี้เราผลิตปุ๋ยหมักประมาณ 35,000 กก. คาดว่ามีรายได้จากการขายปุ๋ยหมักประมาณ 175,000 บาท 

     

    100 100

    38. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 11

    วันที่ 5 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมติดตามกิจกรรมและประเมินผลการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการประชุมวางแผนงานการจัดสรุปข้อมูล แบ่งหน้าที่ของวิทยากร ซักซ่อมเตรียมต้อนรับคณะผู้ที่จะมาศึกษาดูงาน ซึ่งเป็นงานใหม่ที่ทุกคนต้องช่วยกันรับผิดชอบภาระหน้าที่ ใช้วิทยากรประจำฐานเรียนรู้ 1) นายสันติ รัฐนิยม เป็นวิทยากรหลักของศูนย์เรียนรู็ชุมชนบ้านทุ่งหนองควาย 2) นายเกษม นามะหึงษ์ เป็นวิทยากรฐานเรียนรู้การปลูกข้าวเลี้ยงปลาหมอในถุงยางพลาสติก 3) นายวิษณุ บริรักษ์ และนายสิทธิชัย เพ็งแก้ว เป็นวิทยากรประจำฐานเรียนรู้เรื่องการแปรรูปยางพารา 4) นายจรูญ ถิ่นพระบาท และนายสุรินทร์ พูลแก้ว เป็นวิทยากรประจำฐานเรียนรู้ผลิตปุ๋ยหมักอินทร์ชีวภาพ 5) นายมโน หนูเสน เเละนางสาวชนม์นิภา ยี่สุ่น เป็นวิทยากรประจำฐานเรียนรู้เรื่องผลิตเครื่องเเกง 6) นางกุศล นังเเก้ว และนางบำเพ็ญ เสรีพงษ์ เป็นวิทยากรปรพจำฐานเรียนรู้การปลูกผักสวนครัว 7) นายเดชา ศรีอ่อน เป็นวิทยากรประจำฐานเรียนรู้เรื่องการเพาะชำกล้าไม้ดอกไม้ประดับ

     

    30 34

    39. ติดตามผลการปฏิบัติครั้งที่ 4

    วันที่ 25 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเสนอข้อมูล วิเคราะห์ความแตกต่างหลังจากการดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันสามานำไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน
    • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข บอกว่าจากการเปรียบเทียบข้อมูลเมื่อปี 2557 กับปี 2558 ปรากฏว่าไม่มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน เพิ่มขึ้นแสดงว่าเรารักษาระดับคงที่ และผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น
    • ชุมชนได้จัดห้องเรียนรู้มีครอบครัวต้นแบบและสามารถเป็นวิทยากรถ่ายถอดให้คณะที่มาศึกษาดูงานได้เป็นอย่างดี มีครัวเรือนเข้าร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน สังเกตุได้จากการจัดเก็บขยะ ปรับปรุงบริเวณบ้าน ถนน และสถานที่สาธารณะ

     

    60 61

    40. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 3 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานผลการดำเนินโครงการ พี่เลี้ยงตรวจรายงานหน้าเว็ป ตรวจเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงซักถามเรื่องการร่วมดำเนินโครงการ ให้คำชี้แนะในการดำเนินโครงการหลังจากการปิดงบโครงการ ให้กำลังใจและจะให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
    • เจ้าหน้าที่ สจ.รส. ชี้แจงขั้นตอนการทำรายงานงบการเงิน

     

    2 2

    41. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ สสส.

    วันที่ 4 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานงบการเงิน เอกสารประกอบการทำกิจกรรมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เองสารครบถ้วน การเงินถูกต้อง และพร้อมถอดบทเรียนสรุปปิดโครงการ

     

    2 2

    42. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำครั้งที่ 12

    วันที่ 5 กันยายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีการทบทวนสรุปปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินโครงการ
    • คัดเลือกตัวแทนของแต่ละกลุ่มที่ทำกิจกรรมมาถอดบทเรียน พร้อมส่งไปอบรมวิทยากรเพื่มเติมและมาถ่ายทอดประจำฐานการเรียนรู้ เพื่อต้อนรับบุคคลที่ประสงค์มาดูงาน
    • มีการเตรียมคนที่จะเป็นตัวแทนไปร่วมงานคนใต้สร้างสุขที่หอประชุมนานาชาติ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในที่ประชุมได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันหลายประเด็น มีการวางแผนในการดำเนินงานต่อหลังจากปิดโครงการ มีการแบ่งงานรับผิดชอบต่อเพื่อพัฒนาห้องเรียนรู้รองรับแขกผู้มาเยือน จัดให้แต่ละครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการไปช่วยเหลือปรับปรุงและขยายให้ครอบคลุมครบทุกครัวเรือน จัดทำผังข้อมูลเชิงลึกในการค้นหาความต้องการการบริโภคของคนในชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้และปรับความสมดุลของสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีสุขภาพดี และเพิ่มมูลค่าความอบอุ่นให้กับครอบครับ
    • มีสภาผู้นำที่มีความสามารถกล้าคิดกล้าเปลี่ยนแปลงชุมชนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีแผนงานที่เป็นระบบมากขึ้น
    • เกิดวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้มากกว่า 10 คน

     

    30 33

    43. ถอดบทเรียน

    วันที่ 10 กันยายน 2016 เวลา 09:00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ปลัดอำเภอเปิดการประชุมให้แนวนโยบายเรื่องศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    • ตัวแทนแต่ละกลุ่มเล่าผลการดำเนินงานและแผนการปฏิบัติหลังจากปิดโครงการ
    • ตัวแทนสภาผู้นำ ผู้เข้าร่วมเวทีถาม-ตอบ และเสนอความต้องการในการพัฒนาต่อเนื่อง
    • ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปและปิดเวที

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีเครือข่ายให้การส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนร้างเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    • ครู กศน. สบับสนุนให้ความรู้ และให้นักศึกษามาเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
    • พัฒนาชุมชนช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์
    • สาธารณสุขช่วยพัฒนาด้านการผลิตเครื่องแกง และอื่นๆ ให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
    • สภาผู้นำ ตัวแทนของแต่ละกลุ่มนำเสนอผลสำเร็จของแต่ละกลุ่ม และสาธิตการทำปุ๋ยหมัก, ผลิตเครื่องแกง, การชำ/ตอนกิ่ง, การปลูกผัก, การทำนาเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก, การสีข้าวกินเอง, การแปรรูปหมอนจากน้ำยางพารา โดยมีนักข่าวช่อง 3 มาทำข่าว
    • ประชาชน เด็ก เยาวชน รวมทั้งผู้สูงอายุ พึงพอใจกับโครงการนี้มากทุกคนบอกว่าถึงแม้นว่าจะสิ้นสุดโครงการไปแล้ว แต่พวกเราจะไม่หยุดในการทำกิจกรรม เพราะพวกเราทำผลประโยชน์ที่ได้ก็ได้พวกเรา เราจะพัฒนาให้หมู่บ้านเราเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มีภูมิคุ้มกัน ต่อให้เศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรพวกเราก็อยู่ได้ เรามีพ่อหลวงของแผ่นดินที่เป็นแบบอย่างสร้างฝันและพลังให้สู้ และพวกเราขอสัญญาว่าพวกเราจะพัมนาตามรอยพ่อของแผ่นดินทุกครัวเรือน พวกเราร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ตลอดไป

     

    100 105

    44. สรุปผลโครงการ

    วันที่ 26 กันยายน 2016 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนของแต่ละกลุ่มย่อยรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
    • เสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในทุกประเด็น
    • ทำข้อตกลงความร่ามมือในการบริหารศูนย์เรียนรู้
    • จัดทำรายงานปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายมโน หนูเสน ประธานกลุ่มเครื่องแกงรายงานสรุป การผลิตเครื่องแกงมีสมาชิกเพิ่มขึ้น ประชาชนมีความมั่นใจในขั้นตอนการผลิต แน้นความสะอาดและคุณภาพ การบรรจุก็เป็นที่ยอมรับ ส่วนวัตถุดิบมีปัญหาบ้างในช่วงฤดูแล้งเราต้องเตรียมพื้นที่ที่มีน้ำเพื่อปลูกในช่วงนั้น
    • นายจรูญ ถิ่นพระบาท ประธานกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ รายงานในที่ประชุม ปีนี้ปุ๋ยขายดีมากนอกจากสมาชิกกลุ่มซื้อไปใช้แล้วยังมีคนนอกพื้นที่มาใช้บริการ ตอนนี้มีเงินฝากในบัญชีหนึ่งแสนกว่าบาท เตรียมจัดผลิตรองรับในช่วงปลายฤดูฝน สมาชิกจะได้ปลูกผัก และใส่ผลไม้
    • นายเกษม นามะหึงษ์ ประธานกลุ่มเพาะชำกล้าไม้ ในการเพาะชำกล้าไม้นี้ประโยชมากช่วยให้เชาบ้านได้เรียนรู้แลกเปลียนความคิดเห็นได้หาผักพื้นบ้านมา แลกเปลียนกันและช่วยกันอนุรักษ์และสอนให้กับเด็กรุ่นหลังได้รู้ถึงประโยดของผักชนิดที่หาได้ในพื่นที่และผักที่ไม่มีอยู่ในพื้นที่และนำผักที่หามาได้มาแลกกันปลูก
    • นายสุรินทร์ พูลแก้ว ประธานกลุ่มปลูกพืช ผักสวนครัว และประธานสภาผู้นำชุมชน เล่าให้ที่ประชุมว่าการที่พวกเราได้ทำและดำเนินโครงการนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ สมาชิกได้ขยายการปลูกผัก มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่องๆ มีญาติพี่น้องหลายครัวเรือน มีคนต่างหมู่บ้าน ต่างอำเภอมาศึกษาดูงานแล้วกลับไปทำที่ในหมู่บ้านของเขา อันนี้ถือว่าเราได้ขยายให้พี่น้องได้นำตัวอย่างแล้วไปปฏิบัติได้ประโยชน์มากๆ
    • นายจิตณรงค์ รำเพย คณะทำงานโครงการเล่าว่าเมื่อก่อนทำโครงการนี้ผมเองเป็นคนที่ไม่กล้าพูดในที่ประชุม แต่พอพวกเรานั่งคุยกันบ่อยๆ ตอนนี้กล้านำเสนอความคิดในที่ประชุม และหลายคนกล้าพูด กล้าเสนอความคิด กล้านำความรู้มาถ่ายทอดให้คนอื่นได้รู้ เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้านและชุมชนมาก
    • นายสันติ รัฐนิยม ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่าการที่พวกเราได้มาร่วมกันทำกิจกรรมโครงการ ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ ในการพัฒนาครอบครัว หมู่บ้าน จนเป็นที่ยอมรับ และมีหน่วยงานต่างๆ เช่น กศน., พัฒนาชุมชน, อบต, สาธารณสุข, โดยเฉพาะอำเภอถ้ำพรรณรา ได้ให้งบประมาณสนับสนุนและให้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อันนี้ทำให้พวกเรามีพลังที่จะพัฒนาตามรอยพ่อ การที่ทุกคนเข้ามาร่วมทำกิจกรรมโครงการทำให้พวกเราเกิดความรัก ความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นในวงพูดคุยเสมอ เมื่อพวกเราได้ทำกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ แต่ละคนได้ถ่ายทอดโดยไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังถ่ายทอดวิชาให้กับคนอื่น ผมได้เก็บองค์ความรู้นี้มาปรับใช้มาคุยในที่ประชุมตลอดเป็นความรู้ที่เป็นธรรมชาติมากๆ มันเป็นคลังความรู้ที่มีคุณภาพ และบริสุทธิ์ (ได้ความรู้ที่ไม่ต้องลงทุน) โดยเฉพาะคณะที่มาศึกษาดูงาน มีหลากหลายกลุ่มวัย และหลากหลายอาชีพ ได้สะท้อนหรือติชมทำให้ได้ความรู้ ได้ประโยชน์ และได้กำลังใจในการพัฒนาต่อไป

     

    30 33

    45. นัดเตรียมงานคนใต้สร้างสุขกะพี่เลี้ยง

    วันที่ 4 ตุลาคม 2016 เวลา 0ึ700-18.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดบู๊สผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการ
    • เรื่องเล่าร้าวพลัง โรงเรียนร้างสร้างชีวิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ร่วมจัดบู๊ทผลผลิต ผลิตภัณฑ์ จากการทำโครงการร่วมกับกลุ่มในอำเภอถ้ำพรรณรา
    • ร่วมเป็นวิทยากรเวทีเรื่องเล่าร้าวพลัง "โรงเรียนร้างสร้างชีวิต"
    • ร่วมเข้าประชุมห้องต่างๆ และชมนิทัศการณ์ของกลุ่มจังหวัดต่างๆ ได้เพิ่มพูลองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมงาน

     

    2 2

    46. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 14 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานผลการดำเนินงาน ให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เล่าเรื่องการดำเนินโครงการ ส่งเอกสารให้พี่เลี้ยงตรวจ
    • รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
    • ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ทบทวนการบันทึกหน้าเว็ป ทำรายงาน ง.2, รายงาน ส.3, รายงาน ส.4 และสรุปกิจกรรม

     

    2 2

    47. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00-19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานผลการดำเนินงานโครงการ
    • ส่งเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายงบประงาณ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • ให้คำแนะนำ และให้กำลังใจในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องหลังปิดโครงการ
    • พี่เลี้ยงโครงการ และเจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารการเงิน ตรวจหน้าเว็ป

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกิดห้องเรียนจำลองประสานงานการเรียนรู้ตามฐานในครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1. ห้องเรียนจำลอง 2 ห้อง 2. มีวิทยากรประจำฐานจำลอง 10 คน 3. โรงเรียนร้างเปลี่ยนเป็นห้องเรียนจำลองจุดรวมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามฐานในครัวเรือน

    เกิดห้องเรียนรู้การบูรณการของปราชญ์ชาวบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำ แกนนำกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่ร่วมระดมความคิดและถ่ายทอดออกมาเป็นชิ้นงานเป็นห้องเรียนรู้ในโรงเรียนร้าง

    2 เพื่อให้ประชาชนกับปราชญ์ร่วมสร้างความรู้ของหมู่บ้าน ใช้เป็นหลักสูตรฐานครัวเรือนโดยร่วมกันเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่ว่างเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบนำมาแปรรูปสร้างรายได้ปลดหนี้
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนและปราชญ์ จำนวน 100 คน ร่วมเรียนรู้และร่วมสร้างผังฟาร์มพืชผักในครัวเรือนนำมาแปรรูปเป็นเครื่องแกง 2. มีชุดข้อมูลผังฟาร์มการผลิต 1 ชุด 3. เกิดชุดข้อมูลผังชุมชนเรียนรู้ ผังในครัวเรือน

    มีชุดผังฟาร์มการผลิตในเรือน 1 ผัง เป็นผังเศรษฐกิจของชุมชน

    3 เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งร่วมพัฒนาให้ประชาชนจัดการตนเองได้
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดผู้นำกลุ่มร่วมกับประชาชนพัฒนาพื้นที่ว่าง สร้างชุดความรู้และสร้างรายได้ จำนวน 30 คน 2. มีการประชุมทบทวนข้อมูล พัฒนาข้อมูล ออกแบบงาน วางแผน ปฏิบัติ และติดตามผลการปฏิบัติต่อเนื่อง ทุกเดือน 3. การประชุมทุกเดือนมีผู้นำกลุ่มเข้าร่วม ร้อยละ 80 4. ประชาชนและปราชญ์ชาวบ้านร้อยละ 50 มีรายได้จากการปลูกพืชผักเพิ่มขึ้น จำนวนไม่น้อยกว่า 1,200 บาทต่อเดือน/ครัว

    เกิดสภาผู้นำที่จัดทำเวทีแลกเปลี่ยน 1 กลุ่ม มีการประชุมทุกเดือน แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมร้อยละ 100

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงทุกครั้ง ร้อยละ 100
    • มีป้ายปลอดบุหรี่ในชุมชน 1 ป้าย
    • มีรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม พร้อมภาพประกอบ และสามารถส่งรายงานได้ในเวลา

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดห้องเรียนจำลองประสานงานการเรียนรู้ตามฐานในครัวเรือน (2) เพื่อให้ประชาชนกับปราชญ์ร่วมสร้างความรู้ของหมู่บ้าน ใช้เป็นหลักสูตรฐานครัวเรือนโดยร่วมกันเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่ว่างเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบนำมาแปรรูปสร้างรายได้ปลดหนี้ (3) เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งร่วมพัฒนาให้ประชาชนจัดการตนเองได้ (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)

    รหัสโครงการ 58-03864 รหัสสัญญา 58-00-2114 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การปลูกข้าวในบ่อจำลอง

    แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนร้าง

    ขยายผลในครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    หมอนยางพารา

    กลุ่มหมอนยางพารา

    พัฒนาคุณภาพการผลิตและการตลาด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    สร้างทีมวิทยากร

    ผู้นำกลุ่มอาชีพที่เป็นวิทยากรต้อนรับการศึกษาดูงาน

    พัฒนาศักยภาพผู้นำกลุ่มด้านอื่นๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    นำทรัพยากรที่อยู่มาปรับปรุงให้เกิดประโยชน์

    พื้นที่โรงเรียนร้างเปลี่ยนเป็นศูนย์เรียนรู้

    พัฒนาศักยภาพทีมผู้นำชุมชนให้สามารถสอนเพื่อนได้ในครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มหมอนยางพารา กลุ่มปลูกข้าวเลี้ยงปลาในแปลงผ้ายาง

    โรงเรียนร้าง และบ้านนายเกษม

    พัฒนารูปแบบเพื่อเป็นแนวทางสอนเพื่อนต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ครัวเรือนตัวอย่าง แบบเศรษฐกิจพอเพียง

    บ้านผู้นำกลุ่มอาชีพ จำนวน 10 บ้าน

    ขยายผลแหล่งเรียนรู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    บริโภคผักปลอดสารพิษ ข้าว และอาหารที่ผลิตขึ้นเอง

    บัานตัวอย่าง

    ถ่ยทอดให้สมาชิกในหมู่บ้านใกล้เคียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    เลิกการพนัน

    บ้านตัวอย่าง

    เป็นแบบอย่าง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาที่ดินข้างบ้านให้สร้างรายได้

    บ้านตัวอย่าง 10 บ้าน

    ขยายผลไปหมู่บ้านใกล้เคียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาที่ดินข้างบ้านให้สร้างรายได้ ลดการใช้สารเคมี

    บ้านตัวอย่าง

    ขยายผลไปในระดับครัววเรือนทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    พื้นที่โรงเรียนร้างเปลี่ยนเป็นศูนย์เด็กเล็กและแปลงสาธิตการประกอบอาชีพ

    โรงเรียนร้าง

    พัฒนาแปลงสาธิตให้เป็นแหล่งเรียนรู้ไดยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาที่ดินข้างบ้านให้สร้างรายได้

    บ้านต้นแบบ

    ขยายผลไปในระดับครัววเรือนทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กติกาหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

    บันทึกประชุมกลุ่มอาชีพ

    ติดตามการปฏิบัติตามกติกากลุ่มอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    ประสานงานภาคีมาร่วมดำเนินงานทั้งในและนอกชุมชน

    รายงานผลการดำเนินงานและรายงานการรับศึกษาดูงานจากหน่วยงนต่างๆ

    พัฒนาเป็นข้อตกลงการทำงานร่วม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

    ผลที่เกิดขึ้นของโครงการ

    พัฒนาให้ยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ภาคีมีหลากหลาย ทั้งเอกชน รัฐ และสถาบันการศึกษา

    รายงานการดำเนินโครงการ

    จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของอำเภอ

    รายงานการมาศึกษาดูงาน จำนวนมาก

    พัฒนาองค์ความรู้เพื่อนนำมาใช้พัฒนาชุมชนต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการพูดคุยและพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง จนเกิดชิ้นงนและนวัตกรรมของหมู่บ้าน เช่น แปลงสาธิตในน้ำมีปลาในนามีข้าว

    โรงเรียนร้างและบ้านตัวอย่าง

    ขยายผลองค์ความรู้ไปให้ครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    มีแผนปฏิบัติการรายเดือนและมีการประชุมเพื่อพิจารณาดำเนินงานโดยคณะกรรมการ

    รายงานการประชุม

    ทบทวนและถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนือง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ภูมิใจที่ปรับเปลี่ยนโรงเรียนร้างให้เป็นศูนย์เรียนรู็ได้

    ศูนย์เรียนรู้และบ้านตัวอย่าง

    พัฒนาศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    รวมกลุ่มดำเนินงานตามกิจกรรมได้ต่อเนื่อง

    รายงานโครงากร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ครัวเรือนปรับพื้นที่ว่างมาปลูกพืชผักสร้างรายได้

    บ้านตัวอย่าง

    ขยายผลไปในระดับครัววเรือนทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาพื้นที่ว่างในโรงเรียนร้างจนกลายเป็ฯแหล่งเรียนรู้ที่มีพื้นที่อื่นๆ มาเรียนรู้ได้

    โรงเรียนร้าง

    ขยายผลไปในระดับครัววเรือนทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ใช้ความรู้เดิมมาเพิ่มความรู้ใหม่มาคิดนวัตกรรมเพื่อสรา้งรายได้ เช่น แปลงในน้ำมีปลาในนามีข้าว หมอนยางพารา เป็นต้น

    บ้านตัวอย่าง

    ขยายผลไปในระดับครัววเรือนทั้งหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2) จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03864

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สันติ รัฐนิยม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด