แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2 ”

ชุมชนดอนเทพมูล ม.9 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นาย ธนเดช ยอดยิ่ง

ชื่อโครงการ อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2

ที่อยู่ ชุมชนดอนเทพมูล ม.9 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 58-03842 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2072

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2 จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนดอนเทพมูล ม.9 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2



บทคัดย่อ

โครงการ " อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2 " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนดอนเทพมูล ม.9 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร รหัสโครงการ 58-03842 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 186,950.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 440 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสนับสนุนให้สภาผู้นำชุมชนมีการบริหารจัดการป่าไม้ชุมชนอย่างเข้มแข็ง
  2. เพื่่อรณงค์สร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  3. เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีกระบวนการในการจัดการป่าไม้ชุมชนและพืชสมุนไพรอย่างมีส่วนร่วม
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมงานสจรส.มอ. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ วิธีการจัดทำรายงาน และการลงรายงานทางเว๊ปไซด์

    และคืนเงินเปิดบัญชี 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้จาก อ.พงษ์เทพ และทีมงาน กล่าวถึง
    1) ที่มาของโครงการและการบริหารจัดการของสสส.สำนัก 6 ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
    2) การจัดทำรายงานการเงินและบัญชีพร้อมทั้งแนะนำแบบฟอร์มการลงทะเบียน วิธีการเขียนใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จและเอกสารทางการเงินต่าง ๆ
    3) การลงข้อมูลรายกิจกรรมและการจัดทำรายงานทางเว๊ปไซด์คนใต้สร้างสุข ในการวางแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการและการเงิน

     

    2 1

    2. 1.จัดตั้งสภาผู้นำชุมชน ที่เป็นการรวมกลุ่มของ คณะกรรมการหมู่บ้านผู้รับผิดชอบโครงการ และองค์กรอื่นๆ

    วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่แจ้งเรื่องจากที่ประชุมหัวหน้าส่วนอำเภอท่าแซะ เรื่อง โครงการตำบลละ 5 ล้าน , ภัยแล้ง งบที่ได้ให้ทำส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ ,เลี้ยงหมู และผู้รับผิดชอบโครงการชีแจงรายละเอียดโครงการและพี่เลี้ยงแนะวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งสภาชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนรับทราบเรื่องข้อมูลโครงการต่อเติมศาลาและส่งเสริมอาชีพและสมัครเข้าร่วมโครงการ พร้อมกับ
    1. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงงบประมาณโครงการ สสส. 186,950 บาทใช้ในกิจกรรมทั้งหมด 11 กิจกรรม ประกอบด้วย
      จัดตั้งสภาผู้นำชุมชน ,สภาผู้นำร่วมกับประชาชนสำรวจต้นไม้,จัดทำแผนปฏิบัติการและปฏิบัติตามแผน,การเรียนรู้การอนุรักษ์และมัคคุเทศก์น้อย,ทบทวนกติกาชุมชน,รณรงค์ทำความสอาดป่า,ทำแผนที่ป่า,จัดทำฐานข้อมูลต้นไม่และสมุนไพร,เวทีสรุปผลการดำเนินงาน

    2. ได้ดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งสภาชุมชน จำนวนทั้งหมด 30 คน พร้อมทั้งแต่งตั้งตำแหน่ง นางสาวอุทัยวรรณกาญจนปัทม์ประธาน ,นางสุจีเหมือนพิมพ์เลขา, นางสาวลภัสรดาวารีเขตประชาสัมพันธ์ และ นางสาวดวงเดือนเหมือนพิมพ์ เหรัญญิกที่เหลือเป็นคณะกรรมการร่วมพัฒนาหมู่บ้านและพัฒนาโครงการ

     

    250 150

    3. ทีมลาดตระเวณเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่1

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้เดินสำรวจผืนป่าดอนเทพมูลโดยแบ่งกันคนละทางเพื่อสำรวจต้นไม้และพืชสมุนไพรและเฝ้าระวังต้นไม้และผืนป่าไม่ให้ใครบุกรุก พร้อมทั้งมีผู้ใหญ่บ้านเข้าร่วมตรวจสอบการเดินป่าและเป็นช่างภาพให้กับทีมลาดตระเวณ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการสำรวจป่ามีความเรียบร้อย ส่วนพืชสมุนไพรมีชาวบ้านมาหาไปใช้ เช่น ต้นไหลเผือกและเถาวัลย์ยอ และได้พบว่ามีชาวบ้านนำสัตว์เข้าไปเลี้ยงทำให้สัตว์เดินเหยียบต้นไม้เสียหาย ทีมเก็บรวบรรวมข้อมูลร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน เพื่อที่จะนำปัญหาและอุปสรรคของการเดินสำรวจป่าแจ้งในที่ประชุมสภาหมู่บ้านทราบและหาแนวทางแก้ไข ต่อไป

     

    2 2

    4. 2.สภาผู้นำชี้แจงและสำรวจจำนวนต้นไม้

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 9 -11 พฤศจิกายน 2559 เป็นเวลา 3 วัน ทีมงานที่ประกอบด้วยแกนนำสภาชุมชน และตัวแทนเยาวชนจำนวน 30 คนร่วมกันออกเดินสำรวจต้นไม้ในเขตป่าอนุรักษ์และจดรายชื่อต้นไม้ทุกชนิดและพืชสมุนไพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสำรวจรายชื่อต้นไม่ในเขตป่าอนุรักษ์พบว่ามีต้นไม้ที่สำคัญและมีจำนวนมาก ประมาณ2,000ต้น และสมุนไพร 40ชนิดประกอบด้วย ต้นยางนา,สะเดา,ประดู่,ตะแบก,ไม้แดง ฯลฯ และพืชสมุนไพรได้แก่ ต้นกระดูกไก่,ไหลเผือก,มะขามป้อม,พร้าวพระ,รางจืดฯลฯ โดยขณะที่สำรวจมีการแผ้วถางต้นวัชพืช และเก็บกิ่งไม้ที่ตายแล้วนำไปกองสุมไว้ให้เป็นปุ๋ย

     

    30 30

    5. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่ 2

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกเดินสำรวจไปทางเดียวกันเพื่อตรวจความเรียบร้อยในเขตพื้นที่ป่าโดยรอบผืนป่าที่มีรั้วทั้ง 3 ด้าน และติดถนนหมู่บ้าน 1 ด้าน เช้า-เย็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการออกลาดตระเวนครั้งที่2พบว่า ได้มีทางปาล์มมาพาดรั้วอยู่ ทำให้รั้วเสียหายเล็กน้อย ส่วนพื้นที่อื่นเรียบร้อยดี เสนอผู้ใหญ่บ้านเพื่อการซ่อมแซมต่อไป

     

    2 2

    6. 3.จัดทำแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการป่าดอนเทพมูล

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญเจ้าหน้าที่ป่าไม้พูดคุยเกี่ยวกับการบริหารจัดการ จัดทำแผนจัดการป่าร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน จัดทำแผนการจัดการมีรายละเอียดดังนี้ - จัดทีมลาดตระเวน เฝ้าระวังป่า -จัดทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟป่า -ปลูกต้นไม้ในทุกวันสำคัญ เช่น วันพ่อ,วันแม่ -ทำถนนกลางป่าเพื่อสะดวกในการลาดตระเวณและป้องกันไฟป่า -เฝ้าระวังรั่วลวดหนามรอบๆป่า เจ้าหน้าที่สาธรณะสุขแนะนำเกี่ยวกับพืชสมุนไพร วิธีการใช้ พร้อมสรรพคุณ -เถาวัลย์ยอใช้ล้างพิษในร่างกาย -มะขามป้อมเป็นยาแก้ไอ -ไหลเผือกใช้บำรุงเลือดและบำรุงร่างกาย -ขี้เหล็กเป็นยาระบาย -บอระเพ็ดช่วยล่างไขมันในลำไส้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านให้การตอบรับและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ สมาชิกอสม. สาธารณะสุข ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อบต. ประชาชน จำนวน 50 คน
    • แผนปฏิบัติ คือ
    1. จัดทีมเฝ้าระวังป่าด้วยการลาดตระเวนในพื้นที่ป่าครั้งละ 2 คน
    2. มีการจัดประชุมทีมผู้รับผิดชอบและแกนนำชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคและแก้ไขปัญหาและประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.จัดรณรงค์ทำความสะอาดใหญ่เป็นครั้งคราวตามความพร้อมของชุมชนในช่วงก่อนวันสำคัญ ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนม์พรรษา วันต้นไม้แ่งชาติ เป็นต้น

     

    50 50

    7. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 1

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนเพื่อทราบปัญหาอุปสรรค และแก้ไขปัญหาและประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบริหารจัดการโครงการและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของป่า/ชุมชน สรุปผลข้อมูลและรายงาน โดยทีมผู้รับผิดชอบดำเนินการทบทวนการปฏิบัติงานของ ทีมลาดตระเวน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีประชาชนสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในแต่ละครั้งและร่วมกันเสนอแนวคิดเพื่อมาแก้ไขและปรับปรุงต่อไป ปัญหาในการดำเนินงานพบว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนจึงทำให้มีอุปสรรค์ในการเข้าไปทำงานในป่า ซึ่งให้ออกลาดตระเวนเดือนละ2ครั้ง ครั้งละ2คน โดยเดินสำรวจแนวเขตป่าโดยรอบ ฯ

     

    30 30

    8. ทบทวนกติกาชุมชนครั้งที่ 1

    วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทบทวนกติกาชุมชน ระเบียบปฏิบัติ บทลงโทษของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทบทวนกฎกติกาของชุมชนที่ตั้งไว้จากเดิม

    • เพิ่มเติมกฎกติกาและบทลงโทษของชุมชน เช่น

    1. ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปเลี้ยงในเขตป่า
    2. พืชสมุนไพรและต้นไม้ในเขตป่าก่อนเก็บหรือตัดจะต้องแจ้งให้กรรมการให้รับทราบเพื่อตรวจดูความเรียบร้อยของป่า
    3. บทลงโทษ หากใครฝ่าฝืนและจับได้จะต้องเสียค่าปรับ 500 บาทและปลูกพืชทดแทน
    • กรรมการและผู้เข้าประชุมเห็นด้วยและทุกคนจะนำไปปฏิบัติ

     

    30 31

    9. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่ 3

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกเดินสำรวจแนวรั้วเพื่อความเรียบร้อยของป่า และเดินสำรวจหาแนวทางทำแนวกันไฟ พร้อมที่จะให้กรรมการสภาผู้นำชุมชนทราบและหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แนวเขตป่าเรียบร้อยดีและต้นไม้อุดมสมบูรณ์ดี ไม่มีการนำสัตว์ไปเลี้ยงในป่า และเตรียมแต่งตั้งผู้สำรวจรังวัดพื้นที่เพื่อนำเสนอในที่ประชุมต่อไป

     

    2 2

    10. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่4

    วันที่ 3 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินสำรวจพื้นที่เขตป่าเพื่อจัดเตรียมในการปลูกป่าด้วยการจัดถางทางเดินริมรั้ว 2 กิโลเมตร ทำที่หมายด้วยการปักเรียวไม้ไว้เป็นระยะๆของการปลูกต้นไม้ในวันที่ 5 ธ.ค.2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการสำรวจเรียบร้อยดีและได้จัดเตรียมพื้นที่ในการปลูกต้นไม้ในแนวเขตป่าในวันที่ 5 ธันวาคม 58

     

    2 2

    11. จัดกิจกรรมทำความสะอาดป่าและปลูกต้นไม้

    วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้นำชุมชน ทีมงานเยาวชนและประชาชนในชุมชนช่วยกันปลูกต้นไม้ในเขตป่าและปลูกต้นโกสนที่แนวเขตป่าริมถนนตลอดแนว พื้นที่มีระยะทาง 4 กิโลเมตร โดยได้รับการสนับสนุนจากสวนป่าสลุย และกิ่งโกศลจากชาวบ้านในชุมชน ส่วนผู้ชายช่วยตัดหญ้าที่ริมถนนในการปลูกต้นโกสนง่ายขึ้น และได้รับการสนับสนุนรถไถขนาดกลางจากนายสุพจน์พรหมเทพ ตัดหญ้าริมถนนของหมู่บ้านทั้งสองข้างทางระยะทาง10กิโลเมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ที่มาร่วมกันทำความสะอาดป่ามาเยอะถึงแม้ว่าฝนจะตกแต่ทุกคนก็มาช่วยกันด้วยความเต็มใจ สามารถปลูกต้นไม้และต้นโกศลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

     

    150 103

    12. ประชุมติดตามโครงการร่วมกับสจรส.มอ.

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วมกับเครือข่ายโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ในเรื่องการลงรายงาน การทำบัญชีและการเสียภาษีรายได้บุคคลตามภงด.3 และเรียนรู้ร่วมกันกันพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่อื่น ๆของจังหวัดชุมพรและสุราษฏร์ธานี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำรายงาน และการทำบัญชีพร้อมทั้งวิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

     

    2 1

    13. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่5

    วันที่ 13 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมงานเดินสำรวจต้นไม้และพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านมาช่วยกันปลูกไว้ ในพื้นที่กลางของป่าและริมถนนหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ลาดตระเวณสำรวจต้นไม้ที่เพิ่งปลูก ในระยะเวลาเวลา 9 วัน มีต้นไม้ตายบริเวณริมถนน 17 ต้นเนื่องความร้อนและวิธีการปลูกที่ไม่ถูกวิธี แต่ต้นที่อยู่ในป่าไม่ตาย ทีมงานจะนำต้นไม้มาปลูกเสริมภายหลัง

     

    2 2

    14. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 2

    วันที่ 13 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำผู้รับผิดชอบพูดคุยซักถามถึงปัญหาของป่าจากทีมลาดตระเวน และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เช่นการนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปผูกให้กินหญ้าในป่า ขุดต้นสมุนไพรไปใช้ เป็นต้น จึงเสนอให้แจ้งเจ้าของสัตว์เลี้ยงและผู้ขุดต้นไม้/สมุนไพรให้เลิกปฏิบัติ พร้อมทั้งการเสนอแนะจากเวทีประชุมให้ลงความเห็นให้ทีมลาดตระเวนช่วยตัดเถาวัลย์ที่ขึ้นพันต้นไม้และถางหญ้ารอบบริเวณต้นไม้ที่ปลูกใหม่ การจัดทำประกาศโทษผู้บุกรุกในเวทีประชุมประจำเดือน และแกนนำเสนอว่า อยากให้มีเยาวชนเข้าร่วมในการออกลาดตระเวรด้วยทุกครั้งเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนหันมาสนใจป่าของชมชนให้มากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้สำรวจและผู้ใหญ่บ้านได้กำหนดแนวทางในการสำรวจป่าใหม่ ที่ให้เยาวชนเข้าร่วมเดินสำรวจป่าได้ทุกครั้งถ้าว่างจากการเรียน/ไม่มีภาระกิจอื่น และจัดทำข้อเสนอ ในการเฝ้าระวังรักษาป่าไม้และสมุนไพรเพื่อเสนอในที่ประชุมหมู่บ้านต่อไป

     

    30 30

    15. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 3

    วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมพูดคุยและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำกิจกรรมต่อไปและการมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบเตรียมจัดทำรายงานให้ครบถ้วน ประกอบด้วย การแนะนำทีมลาดตระเวณให้เข้มงวดต่อการทำความสะอาดป่าไม่ให้มีกิ่งไม้แห้งมากนักเพื่อป้องกันไฟไหม้ และการเก็บขยะอื่น ๆในบริเวณรอบๆป่าและในป่าดอนเทพมูล พร้อมทั้งกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทุกคนและผู้ที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้ป่าช่วยกันเฝ้าระวังไฟป่าให้มากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมกันเสนอทำแนวกันไฟเนื่องจากเริ่มเข้าสู้หน้าแล้ง,แจ้งให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณของแนวป่าช่วยกันดูแลและคอยสังเกตุเรื่องไฟป่าที่เกิดจากภัยแล้ง

     

    30 30

    16. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่6

    วันที่ 27 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนเดินสำรวจต้นไม้และแนะนำให้เยาวชนได้รู้จักชนิดของต้นไม้ในป่าของชุมชน,พาเยาวชนเดินดูแนวเขตของป่าเพื่อจะได้ทำแนวกันไฟต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนให้ความสนใจในการออกสำรวจป่าของชุมชนในครั้งนี้ และได้ความรู้เรื่องพรรณไม้ในป่าชุมชนเพิ่มขึ้น ได้รู้จักแนวเขตของป่า และเรียนรู้เรื่องของการทำแนวกันไฟ

     

    2 4

    17. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 4

    วันที่ 9 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พูดคุยกับแกนนำในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปและคุยในเรื่องการส่งรายงานปิดงบงวดครั้งที่1 ในเดือนกุมภาพันธ์ แจ้งทีมลาดตระเวนให้ช่วยถากถางต้นไม้เพื่อเป็นทางเดินกลางป่าเพื่อสะดวกในการเดินลาดตระเวนและเฝ้าระวังไฟป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมลาดตระเวนรับทราบและแกนนำเสนอขอแรงชาวบ้านให้มาช่วยกันทำทางเดินกลางป่าเพื่อสะดวกในการเดินลาดตระเวนและระวังไฟจากภัยแล้ง

     

    30 30

    18. ประชุมร่วมกับ พี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 15:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการ  แกนนำเยาวชน ตัวแทนสภาชุมชน และประชาชนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน รายงานทางอินเตอร์เน็ต รายงานการเงิน และบัญชี และมีการร่างแผนที่ป่าชุมชนจากการเฝ้าระวังป่าและการตรวจสอบจำนวนประมาณ 2500ต้น  140 ชนิด สมุนไพรไทย 40 ชนิด เช่น บอระเพ็ด ถอบแถม ไหลเผือก กระดูก พิกุล เถาวัลย์ยอ เมล็ดหนู  เป็นต้น ไม้มงคล เช่นยมหอม  สีสุก ทองหลาง ราชพฤษช์ กฤษณา เป็นต้น  สมุนไพรบางชนิดสามารถขายได้และชุมชนมีการปลูกทดแทน เช่น กระดูกไก่ ไหลเผือก ย่านาง เพื่อเป็นยา ไม่มีปัญหาการบุกรุกป่าหลังจากมีรั้วลวดหนามที่ได้งบประมาณจากอบต.ท่าแซะ และชุมชนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     

    30 12

    19. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่ 7

    วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ที่ลาดตระเวนได้เริ่มถากถางต้นไม้ตรงกลางป่า เพื่อเตรียมเป็นถนนกลางป่า กว้าง 5เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร จัดทำเป็นการถางป่าเป็นแนวกันไฟในแต่ละครั้งของการลาดตระเวณ และเดินรอบแนวเขตรั้วของป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการลาดตระเวณได้พบว่า ด้านที่มีรั้วลวดหนามมีคนมาแอบตัดไม้ไผ่ทำให้รั้วลวดหนามเสียหายและไม่ไผ่กองอยู่เต็มพื้นที่ระเกะระกะซึ่งตอนนี้ไม่ไผ่เริ่มแห้งแล้วกลัวว่าไม้ไผ่เสียดสีกันทำให้เกิดไฟไหม้ได้

     

    2 2

    20. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่8

    วันที่ 24 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวณและเยาวชนเดินสำรวจเส้นทางและช่วยกันถางต้นไม้เล็กๆและเถาวัลย์เพื่อทำทางกลางป่าเป็นระยะต่อไปจากของเดิมที่ทำไว้เดิมอีกยาว 150 เมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนสนุกกับการได้เข้าร่วมกิจกรรมและทีมลาดตระเวณได้แนะนำให้เยาวชนได้รู้จักต้นไม้ที่อยู่ในป่าของชุมชน แต่เนื่องจากมีฝนตกทำให้การเดินสำรวจป่ามีความลำบาก

     

    2 6

    21. จัดทำป้ายฐานข้อมูลต้นไม้และพืชสมุนไพร

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเตรียมป้ายชื่อต้นไม้และพืชสมุนไพร,ชักชวนเยาวชนและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกันติดป้ายชื่อต้นไม้และพืชสมุนไพรให้ทั่วทุกต้น/ชนิดของต้นไม้ที่มีอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้เข้าร่วมกันติดป้ายชื่อต้นไม้ ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องการสร้างแหล่งเรียนรู้ป่าชุมชน

     

    200 200

    22. พบพี่เลี้ยง

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ซักถามและตรวจสอบความเรียบร้อยของงานทั้งเอกสารหลักฐานสำคัญทางการเงิน และการทำบัญชีโครงการอนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลปี2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พูดคุยและสรุปงานกิจกรรมที่ได้จัดทำมาทั้งหมดของโครงการ รวมทั้งการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินทั้งหมดของโครงการ

     

    2 2

    23. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดป้ายเขตปลอดบุหรี่ ชักชวนเยาวชนและประชาชนมาร่วมกันติดป้ายปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนให้ความสนใจมาร่วมกันติดป้ายปลอดบุหรี่

     

    2 50

    24. ส่งรายงานปิดงวดครั้งที่ 1

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00น.- 15:00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบผลงานที่ปฏิบัติการจริงตรงตามโครงการที่วางไว้หรือไม่ และตรวจสอบรายละเอียดข้อมุลที่ถูกต้อง รวมทั้งเเก้ไขข้อมูลในส่วนที่ผิดพลาดให้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ุ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลงานที่ตรวจสอบถูกต้องตามเป้าหมายของโครงการเเละมีจุดที่ต้องเเก้ไขได้นำไปเเก้ไขให้ถูกต้องเเล้ว

     

    3 1

    25. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่9

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถางทางกลางป่าเพื่อความสะดวกในการลาดตระเวนและป้องกันไฟป่าเป็นแนวทางต่อเนื่องเป็นระยะทางยาวอีก 200เมตร และทำแนวทางเป็นแผนภูมิก้างปลา เพื่อป้องกันไฟต่อไปได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถางป่าเพื่อทำทางเดินจนตลอดแนวป่า

     

    2 5

    26. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 5

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณในการทำกิจกรรมในรอบแรก โดยการส่งรายงานงวดประกอบด้วย รายงาน ง.1 และส1 การตรวจสอบรายงานการเงินและบัญชีพร้อมหลักฐาน ประชุมวางแผนในการทำกิจกรรมในงวดต่อไป ประกอบด้วย การทัวร์ต้นนำ้พะโต๊ะ การทำลูกประคบ การรณรงค์ทำความสะอาดป่าในวันสำคัญ ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนสนใจในการประชุมและปราชญ์ชาวบ้านเสนอแนะให้มีการจัดทำแนวกันไฟหลายช่องทาง แต่ละช่องทางให้รถวิ่งผ่านได้

     

    30 30

    27. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่10

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวน 2 คน นายถนอมและนายวัฒนา แก้วมณี เดินออกสำรวจต้นไม้ซึ่งพบว่าต้นไม้ที่ปลูกไว้ เช่น มะกอกกานี ยางนา ตะเคียนทอง ฯลฯ มีการเจริญเติบโตขึ้น และถางทางสายรอง(แนวก้างปลาสายที่ 4)ระยะทาง 150 เมตร และติดป้ายชื่อต้นไม้เพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่ได้ลาดตระเวนทุกครั้งมีการเปลี่ยนแปลงของต้นไม้โตขึ้นและในพื้นที่ป่าดูโล่งขึ้นเพราะเราได้กำจัดวัชพืชที่ไม่มีประโยชน์ซึ้งมีแต่ต้นไม้และพืชสมุนไพร และมีสัตว์เข้ามาอาศัยอยู่เช่น ไก่ป่าและกระรอก

    ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ณ ปัจจุบันความร้อนจะทำให้เกิดไฟป่าได้ ซึ้งกลัวปัญหาไฟป่าที่เคยมีเกิดขึ้นมาแล้ว แนวทางแก้ไข ได้ทำแนวกันไฟไว้บ้างแล้วในช่วงที่ออกเดินลาดตระเวน

     

    2 2

    28. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่11

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกเดินสำรวจป่าดอนเทพมูล ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน 117 ไร่ โดยทีมงานได้เดินสำรวจพื้นที่โดยรอบ มีการสังเกตุต้นไม้ ถางป่า ตัดแต่งกิ่งไม้ และจัดทำแนวกันไฟ 1 จุด ระยะทาง 300 เมตร ในพื้นที่ป่าเพิ่มเติม พร้อมทั้งติดป้ายชื่อต้นไม้ 20 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.จากการออกสำรวจแนวกันไฟของป่ามีความเรียบร้อยและต้นไม้ไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควรเนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูแล้ง รวมแล้วติดป้ายจำนวน 180ป้าย

    2.เกิดทีมอาสาสมัครในการดูแลป่าดอนเทพมูล

    3.ลดการบุกรุกพื้นที่ป่าดอนเทพมูล

    4.ลดไฟป่าที่จะเกิดขึ้นสร้างความเสียหายในพื้นที่ชุมชน

     

    2 2

    29. อบรมการจัดทำแผนพร้อมลงพื้นที่จริง

    วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นายบรรชา ขาวศิริ เจ้าหน้าที่ป่าไม้เขตสามปาก ได้พูดคุยกับผู้นำชุมชนเพื่อจะเริ่มทำแผนที่ป่า

    2.แกนนำ สมาชิกชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ป่าไม้เริ่มเดินออกสำรวจต้นไม้และพื้นที่ทั้งหมดของป่า,เจ้าหน้าที่ป่าไม้แนะนำการเขียนแผนที่ป่าและการทำแนวกันไฟ พร้อมทั้งแผนที่ฉบับร่าง รอการตรวจสอบจากปราชญ์ชาวบ้านและป่าไม้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะทำเป็นฉบับจริง ประกาศให้สมาชิกชุมชนทราบต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และแกนนำ สมาชิกชุมชน ได้ร่วมกันทำแผนที่แบบรัดกุมเจาะจงผืนป่าไม่เน้นเขตรอบนอก,เจ้าหน้าป่าไม้จะเข้ามาจับGPSต้นไม้ที่สำคัญ เช่น ต้นยางนา มะกอกกานี ไม้แดง ไหลเผือก มะขามป้อม ประดู ต้นสน ต้นมะงัน ต้นตาลดำ แดง ฯ

    2.แกนนำชุมชนมีความรู้ในการทำแผนที่ทำมือ ในการกำหนดพื้นที่เขตอนุรักษ์ของชุมชน

     

    30 30

    30. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 6

    วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นางสาวอุทัยวรรณ กาญจนปัทม์ สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องการทำแนวกันไฟในพื้นที่ป่าดอนเทพมูล ในแต่ละจุดประมาณ 250 เมตร ซึ่งมีการทำต่อเนื่องเป็นระยะ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ และการทำแผนที่ป่า พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานที่หน่วยอนุรักษ์ต้นน้ำพะโต๊ะเพื่อให้สมาชิกได้เตรียมพร้อม,ให้สมาชิกได้ร่วมกันตรวจสอบเอกสารและพื้นที่จริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกทุกคนได้รับทราบผลการดำเนินงานโครงการ และการทำกิจกรรมสำรวจป่า การทำแนวกันไฟ จากการดำเนินกิจกรรมโครงการประชาชนในพื้นที่ให้ความสนใจ ซึ่งแกนนำชุมชนมีหน้าที่ที่จะร่วมกันกระจายข่าวแก่เยาวชนและประชาชนผู้สนใจ แจ้งรายชื่อและจำนวนให้ผู้รับผิดชอบโครงการทราบ

    2.เกิดการมีส่วนร่วมของทีมสภาผู้นำในการดำเนินโครงการ

     

    30 30

    31. ติดป้ายฐานข้อมูลต้นไม้และพืชสมุนไพร

    วันที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมปราชญ์ชาวบ้านและประชาชนร่วมกันติดป้ายเหล็ก จำนวน 2 ป้าย ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร บริเวณทางเข้าป่าหน้าศาลาชุมชนดอนเทพมูล โดยเนื้อหาของป้ายบอกรายชื่อต้นไม้และพืชสมุนไพร เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ข้อมูลพันธุ์ไม้ในพื้นที่ป่าดอนเทพมูล ซึ่งมีความสำคัญต่อวิถีคนในชุมชนในด้านอาหารและสมุนไพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดฐานข้อมูลรายชื่อพันธุ์ไม้ป่าดอนเทพมูล ซึ่งป้ายบอกชนิดของต้นไม้จำนวนมากกว่า 100 ชนิด และพืชสมุนไพรมากกว่า 40 ชนิด เพื่อให้ทุกคนที่ผ่านไปมารับทราบและช่วยกันดูแลป่าดอนเทพมูลต่อไป

    2.เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนในการทำงานร่วมกัน

    3.เกิดทีมในการทำงานร่วมกัน

    4.ประชาชนเกิดความรู้พันธ์เกี่ยวกับพันธุืไม้ในพื้นที่ป่าดอนเทพมูล

     

    10 20

    32. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่12

    วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนออกเดินจัดทำแนวกันไฟป่าแบบกางปลาเพิ่มเติมสายที่ 5 ระยะทางประมาณ 300 เมตรเพื่อให้สะดวกในการเดินสำรวจป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการให้ทีมลาดตระเวนออกเดินเพื่อจัดทำแนวกันไฟป่าแบบก้างปลานั้นได้ทำเป็นระยะเพื่อให้ทีมลาดตระเวนทำทุกครั้งในการออกเดินลาดตระเวนจนกว่าจะเสร็จตลอดทั้งเส้นทาง

     

    2 2

    33. จัดกิจกรรมทำความสะอาดป่าและปลูกต้นไม้

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้ประชาชนช่วยกันถางป่าและทำแนวกันไฟสายที่ 5และ6 เพิ่มเติม เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าในช่วงหน้าแล้งและเดินตรวจดูพืชสมุนไพรและต้นไม้ที่ปลูกไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการมีถนนสายที่5และ6 เพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนและแกนนำชุมชนได้เข้าเดินสำรวจพื้นที่ได้ง่ายขึ้น และพบว่าป่าไม้ยังคงรักษาสภาพของต้นไม้และพืชสมุนไพรยังอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นที่พักผ่อนให้แก่ทุกคนที่เข้ามาในป่า

     

    150 150

    34. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่13

    วันที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินถางทำแนวกันไฟต่อจากครั้งที่ผ่านมาให้มีความเรียบร้อยและเก็บตกจากการรณรงค์ของเยาวชน (สายที่5-6)เนื่องจากพื้นที่ของป่ามีความกว้างต้องใช้เวลาในการทำแนวกันไฟ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ทำแนวกันไฟต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วได้2ช่องทางเพื่อสะดวกในการเดินในครั้งต่อไป รวมได้ระยะทาง 500 เมตร ปัญหาที่พบ คือ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนทำให้เดินสำรวจและทำแนวกันไฟช้า

     

    2 3

    35. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่14

    วันที่ 27 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินสำรวจเส้นทางที่ทำแนวกันไฟไว้แล้วและจัดให้มีแนวเส้นทางของทางเดินที่สมบูรณ์มากขึ้นจากการถางทำแนวกันไฟต่อจากครั้งที่แล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมลาดตระเวนได้เดินสำรวจความเรียบร้อยของป่าและได้จัดทำแนวกันไฟต่อจากครั้งที่แล้วโดยการถางเป็นทางยาว 400เมตร

     

    2 2

    36. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนป่าต้นน้ำ อำเภอพะโต๊ะ

    วันที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชาชนและเยาวชนได้ฟังการแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยอนุรักษ์ต้นน้ำพะโต๊ะ,เจ้าหน้าที่ได้พาเยาวชนและชาวบ้านเดินออกสำรวจระบบนิเวศของป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์และได้แนะนำให้ทุกคนได้รู้จักต้นไม้ที่หายากและให้ดูดอกบัวผุดที่หาดูได้ยาก,ทีมเจ้าหน้าที่ได้พาไปศึกษาดูโครงการเศรฐกิจพอเพียงของชาวบ้านใกล้เคียงดูการทำบ่อก๊าสชีวภาพของคุณราตรี หนูนุ้ย การปลูกสวนครัว ระบบน้ำที่เครื่องกรองน้ำใหญ่ของชุมชนถือว่าเป็นโอท็อป การจัดการขยะสามารถเป็นต้นแบบของการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ได้เป็นอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้เยาวชนได้เห็นการดูแลรักษาป่าและต้นน้ำของหน่วยงานราชการที่มีการจัดการระบบดูแลอย่างถูกต้อง, ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลในการดูแลรักษาป่านำมาปรับใช้กับการอนุรักษ์ป่าของชุมชน จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานทำให้เยาวชนมีการตื่นตัวและมีใจที่จะมามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าของตนเอง

     

    50 50

    37. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 7

    วันที่ 2 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานเปิดการประชุมแจ้งเรื่องจากการประชุมผู้ใหญ่บ้าน/กำนันที่อำเภอท่าแซะเน้นเรื่องการเฝ้าระวังยาเสตติดและภาวะสุขภาพที่ทุกคนจะต้องใส่ใจสุขภาพตนเองก่อนแล้วจึงมีกำลังแข็งแรงพอที่จะช่วยผู้อื่นได้ และผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงการทำกิจกรรมในเดือนเมษายนมี 9 กิจกรรม 1 กิจกรรมลาดตระเวน 3ครั้ง ,2.กิจกรรมเดินสำรวจป่า 3 ครั้ง,3.กิจกรรมแผนที่ป่า ,4. กิจกรรมเรียนรู้และอบรมการแปรรู้สมุนไพรในป่าชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการทุกคนรับทราบถึงกิจกรรมที่จะต้องทำในเดือนเมษายนและเตรียมความพร้อมที่จะต้องปฏิบัติในแต่ละกิจกรรม

     

    30 30

    38. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่15

    วันที่ 3 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนได้นำทางพาชาวบ้านเข้าไปทำแนวกันไฟต่อจากครั้งที่แล้ว และช่วยกันทำความสะอาดป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านช่วยกันถางแนวกันไฟเสร็จตลอดเส้นทางประมาณ500เมตร และใช้เรียวไม้กวาดใบไม้ในบริเวณเส้นทางเพื่อความสะดวกในการเดิน

     

    10 10

    39. จัดทัวร์ป่าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมชุมชน

    วันที่ 4 เมษายน 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายวัฒนา แก้วมณี และนายถนอม ส่งถึง ปราชญ์ชุมชนได้ให้ความรู้กับชาวบ้าน แกนนำเยาวชนและผู้สูงอายุเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ในพื้นที่ป่าดอนเทพมูลว่ามีอะไรบ้าง ตลอดจนได้พาเดินดูพื้นที่ในป่าชุมชนใกล้ ๆ หมู่บ้านและได้แนะนำให้เยาวชนได้รู้จักต้นไม้และพืชสมุนไพรต่างๆในพื้นที่ป่า ซึ่งสามารถสร้างความรู้ให้กับสมาชิกที่เข้าร่วม ซึ่งสมาชิกบางคนยังไม้รู้จักพันธุ์ไม้และประโยชน์ของพันธุ์ไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำชุมชน เด็กเยาวชน ร่วม 50 คน มีความรู้เกี่ยวพันธุ์ไม้ พันธุ์พืชสมุนไพรในพื้นที่ป่าดอนเทพมูล ซึ่งสมาชิกที่เข้าร่วมได้ให้ความสนใจกับกรรมทัวร์ป่าของชุมชน,และได้จดชื่อต้นไม้และพืชที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ป่า เช่น ต้นหิ่งหาย,ต้นไหลเผือก,เถาว์ย่านาง,ต้นส้มกุ้ง ,ต้นมะหัน,ต้นกะเฟาะ ฯลฯ

     

    50 50

    40. จัดเวทีสรุปผลการทัวร์ป่าและจากการศึกษาดูงาน

    วันที่ 7 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายธนเดช ยอดยิ่ง ผู้จัดทำโครงการได้พูดคุยกับเยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งที่1ที่หน่วยอนุรักษ์ต้นน้ำพะโต๊ะและครั้งที่2ในการจัดทัวร์ป่าของชุมชน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่าชอบกิจกรรมในครั้งใดมากว่ากัน ซึ่งเด็ก เยาวชนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าชอบทุกกิจกรรมที่มีการดำเนินงานเนื่องจากสามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้เสนอถึงความแตกต่างของกิจกรรมการไปต้นน้ำพะโต๊ะว่า เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และเป็นพื้นที่เขาซึ้งมีต้นไม้ใหญ่อยู่หลายชนิดและมีต้นไม้ที่หาดูได้ยาก คือดอกบัวผุด ต้นกระโดนฤษี, ต้นมะดีคำควาย ,ต้นดีปลาช่อน,ต้นกระพังโหม,ต้นครอบจักรวาล และแมลงที่หายาก คือ ตัวจั๊กจั้นงวง มีการทำฝายกั้นน้ำและปะปาภูเขาซึ้งมีน้ำไหลลงมาจากภูเขาตลอดเวลาทำให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ในพื่้นป่าดอนเทพมูลเป็นป่าโปรงและเป็นพื้นที่ราบเดินสะดวกกว่าที่ต้นน้ำพะโต๊ะ มีพืชสมุนไพรและต้นไม้หลายชิดที่ให้เยาวชนได้เรียนรู้เช่น ต้นยางนา,ต้นตะแบก,ต้นประดู่,ต้นกระถินเทพา,ต้นมะฮอกกานี,ตินจิก,ต้นซาง,ต้นตาลดำ,ต้นไม้แดง,ต้นขี้เหล็ก,ต้นมะขามป้อม ฯลฯ ซึ้งเยาวชนชอบที่จะเดินสำรวจในป่าของชุมชนตัวเองเพราะเป็นทางเรียบและเดินง่ายกว่าที่เป็นเขา

     

    50 50

    41. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่16

    วันที่ 17 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินบริเวณรอบรั้วเพื่อตัดเถาวัลย์ที่อยู่บริเวณรั้ว และซ้อมแซมรั้วลวดหนามในบางช่วงที่หลุดจากเสาเพื่อให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมลาดตระเวนเดินออกสำรวจบริเวณรั้วลวดหนามทั้ง 3ด้านมีระยะทางประมาณ 1500เมตร ปัญหาที่พบ คือ มีเส้นลวดหนามหลุดออกจากเสาในบางช่วงเนื่องจากแนวรั้วติดกับสวนปาล์มของชาวบ้าน ทำให้ทางหล่นลงมาทับแนวลวดหนามหลุดจากเสา

     

    2 2

    42. เข้าตรวจลาดตระเวณพื้นที่ป่าประจำทุกเดือน

    วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนเดินสำรวจต้นไม้ที่ปลูกไว้ในวันสำคัญคือ ต้นโกสน และไม้ยืนต้น ในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูแล้งทำให้ต้นไม้แห้งตายประมาณ 60 ต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการออกลาดตระเวนพบว่ามีต้นไม้ที่ตายประมาณ60ต้น ส่วนมากเป็นต้นโกสนที่ปลูกไว้บริเวณริมถนน ปัญหาที่พบ คือ เป็นช่วงหน้าแล้งซึ้งมีความแห้งแล้งกันทำให้ต้นไม้ตายเป็นจำนวนมาก

     

    2 2

    43. อบรมการแปรรูปพืชสมุนไพรและสนับสนุนการปลูกสมุนไพรในชุมชน

    วันที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นางมนัญชยา พิสิฐเศรณี ทีมวิทยากรจากรพ.ท่าแซะ 2 ท่าน มาให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องการทำลูกประคบจากสมุนไพรสดซึ่งหาได้ในท้องถิ่น สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมได้ความรู้เรื่องการทำลูกประคบและได้รู้จักสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด มี หัวไพล,ขมิ้นชัน,ผิวและใบมะกรูด,ใบส้มป่อย,ในมะขาม,ตะไคร้,พิมเสน,การบูรณ์และเกลือเม็ด

    วิธีการทำ

    1.หั้นตะไคร้,ขมิ้นชัน,หัวไพล

    2.ตะไคร้,ขมิ้นชัน,หัวไพล,ผิวมะกรูด,ใบส้มป่อย,ใบมะขาม,เกลือเม็ด มาตำรวมกัน

    3.นำส่วนผสมมาเคล้ารวมกัน,ใส่พิมเสน,การบูรณ์,ใบมะกรูดและคลุกเคล้าให้เข้ากัน

    4.นำไปห่อด้วยผ้าขาวและมัดด้วยเชือกให้แน่น

    วิธีการใช้

    • นำลูกประคบไปนึ่งให้ร้อนแล้วใช้ประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย เป็นต้นเช่น ขมิ้น หัวไพล
      ชาวบ้านช่วยกันหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำลูกประคบ

    2.สมาชิกได้ร่วมกันทำลูกประคบ จนแล้วเสร็จ ซึ่งได้ลูกประคบ จำนวน 50 ลูก เพื่อแจกจ่ายให้สมาชิกได้นำกลับไปใช้ที่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ชาวบ้านได้ความรู้เรื่องการทำลูกประคบและได้รู้จักสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด มี หัวไพล,ขมิ้นชัน,ผิวและใบมะกรูด,ใบส้มป่อย,ในมะขาม,ตะไคร้,พิมเสน,การบูรณ์และเกลือเม็ด

    2.เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

    3.เกิดการใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรลูกประคบ เพื่อใช้ในการบำบัดรักษาโรค

     

    30 30

    44. ทบทวนการจัดทำแผนที่ครั้งที่2

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายสนั่น ธารสุวรรณ เจ้าหน้าที่จาก อบต.ท่าแซะและทีมทำงานได้จัดทำแผนที่ โดยจับ GPS รอบรั้วของป่าชุมชนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเหนือ ใต้ ตะวันออกและตะวันตกเพื่อจะได้ข้อมูลพื้นที่ป่าที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการเดินจับGPSได้พื้นที่ทั้งหมด 117 ไร่ 3 งาน 73ตารางวา

     

    30 30

    45. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 8

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงให้สมาชิกทราบถึงกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในเดือนพฤษภาคม -ทบทวนกติกาครั้งที่2 -ลาดตระเวน 3 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกรับทราบและให้ความร่วมมือในกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    30 30

    46. ทบทวนกติกาชุมชนครั้งที่ 2

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานสภาผู้นำผู้ใหญ่ กล่าวเปิดประชุม1) ชี้แจงผลการประชุมในเวทีกำนันผู้ใหญ่บ้านเน้นเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การเฝ้าระวังเรื่องยาเสพติด เศรษฐกิจพอเพียงในการออมและการปลดหนี้ของครัวเรือน 2) การติดตามผลการจัดกิจกรรมโครงการ ในการลาดตระเวณพื้นที่ป่า การร่วมกันในการฟื้นฟูสภาพป่าจะจัดในวันสำคัญๆ ของชาติ เช่นการรณรงค์วันแม่แห่งชาติ3) ผู้ใหญ่เสนอให้มีการออกความคิดเห็นในเรื่องการทำกติกาในการใช้ป่า ซึ่งเดิมมีเรื่องการห้ามตัดไม้ -ห้ามทิ้งขยะในบริเวรป่า -ห้ามบุกรุกป่า-ห้ามทำลายแนวรั้วทั้ง 4ด้าน ครั้งนี้ให้มีการจัดทำเพิ่มเติมในเรื่องห้ามนำสัตว์ไปเลี้ยงในป่า -ผู้ที่ลักลอบตัดไม้ถ้าจับได้ปรับ 500บาทแล้วปลูกต้นไม้ทดแทน - ห้ามล่าสัตว์ป่าที่มี เช่น ไก่ป่า กระรอก ลิง ตะกวด เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบดครงการและทีมงานร่วมกันบันทึกรายงานและกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น จนได้กติกา ฉบับร่าง ที่จะนำไปเสนอในเวทีการประชุมหมู่บ้านต่อไป

     

    30 30

    47. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่17

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนเดินสำรวจต้นไม้และถางหญ้าเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกต้นไม้ในวันสำคัญ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินถางป่าเพื่อเตรียมพื้นที่บริเวณสระน้ำได้ 100ตารางวา

     

    2 2

    48. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่18

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถางป่าบริเวณรอบรั้วข้างสระน้ำต่อจากครั้งที่แล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถางรอบรั้วได้พื้นที่150เมตรและบริเวณรอบสระได้พื้นที่ประมาณ 250ตารางวา

     

    2 2

    49. ทีมลาดตระเวณเข้าตรวจพื้นที่ป่า ครั้งที่19

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถางป่าข้างสระได้ประมาณ 200ตารางวาและออกเดินลาดตระเวนบริเวณรั้วได้ระยะทาง800เมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินลาดตระเวนรอบรั้วมีต้นไผ่หักพาดรั้วและต้นกระถินเทพาปกคลุมด้วยเถาชงโคหักโค้นทับรั้วลวดหนามทำให้รั้วลวดหนามหักไป1ต้นแต่ยังไม่ได้ทำรื้อออก

     

    2 2

    50. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 9

    วันที่ 4 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงให้สมาชิกทราบถึงกิจกรรมที่ต้องทำในเดือนมิถุนายน -ทำความสะอาดป่า -ลาดตระเวน 4 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกรับทราบและปฏิบัติตามเตรียมตัวเพื่อช่วยกันทำความสะอาดป่า เนื่องจากที่ผ่านมามีการช่วยกันดูแลส่วนหนึ่งในเรื่องป้องกันไฟป่า ซึ่งในปีนี้ไม่พบว่าเกิดไฟใหม้ป่า และไม่มีการบุกรุกเพิ่ม

     

    30 30

    51. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่20

    วันที่ 5 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถางหญ้ารอบพื้นที่และดายหญ้ารอบโคนต้นไม้พร้อมใส่ปุ๋ยต้นไม้ ได้พื้นที่ประมาณ1200ตารางวา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่ได้เข้าทำความสะอาดพบว่ามีต้นไม้แห้งตายในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา ประมาณ70ต้น ทีมงานช่วยกันจัดเก็บและเตรียมเคลียร์พื้นที่เพื่อการปลูกทดแทน ปัญหาที่พบ เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นช่วงหน้าแล้งทำให้มีต้นไม้ตายเป็นจำนวนมาก ทีมงานได้ช่วยกันขนมาไว้เป็นกองๆในที่ว่างเพื่อให้ผุเป็นปุ๋ยและไม่ขวางทางในการทำความสะอาดป่า

     

    20 20

    52. จัดกิจกรรมทำความสะอาดป่าและปลูกต้นไม้

    วันที่ 17 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงในเรื่องความสำคัญของการมีป่าไม้ เพราะเป็นปอดของคนในชุมชน  เป็นต้นน้ำ เป็นแหล่งอาหารที่มีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด รวมทั้งให้ทุกคนต้องรักป่า เฝ้าระวังการทำลายและบุกรุกป่า รวมทั้งไม่ให้ไฟไหม้ป่า และต้องปลุกป่าเพิ่มในส่วนที่โดยทำลายไปบ้างแล้วและปลูกตนไม้สวยงาม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการทำความสะอาดป่าในส่วนของพื้นที่รอบนอก ริมรั้วเพื่อมองเห็นชัดเจนขึ้นเป้นการป้องกันการบุกรุกและลักลอบตัดไม้ในป่า มีการปลูกต้นไม้ทดแทนต้นที่ตาย ในเนื้อที่ 1,200 ตารางวา และต้นไม้ จำนวน 3 ชนิด ประกอบด้วยต้นตะเคียนทอง มะฮอกกานี และต้นหลุมพอ 

     

    150 150

    53. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่21

    วันที่ 22 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวณที่มี 2 ปู่เป็นผู้ตรวจสอบความเรียบร้อยด้วยการลาดตระเวรรอบ ๆรั้วประมาณ 700 เมตร และตัดต้นไม้ที่ล้มข้ามลวดหนาม 2 จุด ทำให้เสารั้วหัก 1 ต้น ช่วยกันซ่อมรั้ว และถางรอบ ๆต้นไม้ที่ปลูกไว้ก่อนประมาณ 3 ปี ที่แล้ว 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รั้วได้รับการซ่อมแซม ต้นไม้มีพื้นที่รอบ ๆสะอาดขึ้นและทำให้ป่าไม่รก รวมพื้นที่ที่ทำความสะอาด 150ตารางวา

     

    2 2

    54. ทีมลาดตระเวณเข้าตรวจพื้นที่ป่า ครั้งที่22

    วันที่ 27 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวณเข้าไปตรวจสอบรอบ ๆรั้วสวนป่า รวมทั้งได้นำเลื่อยไปเลื่อนต้นไม้ที่ล้มทับลวดหนามออก ซ่อมรั้วและนำต้นไม้ที่ขึ้นง่ายๆ (ขุดจากป่าที่เป็นต้นกล้า)มาปลูกทดแทน และใส่ปุ๋ยบำรุง ในแนวรั้ว และถางทำความสะอาดได้พื้นที่ประมาณ 100 ตารางวา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีต้นไม้ทดแทนต้นที่ล้ม และได้รับปุ๋ยบำรุงต้น รวมทั้งพื้นที่ป่ามีความสะอาดขึ้น  รวมทั้งรั้วได้รับการซ่อมแซมกันการบุกรุกพื้นที่ป่า

     

    2 2

    55. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 10

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่อุทัยวรรณ ประธานในที่ประชุมแจ้งเรื่องจากข้อราชการจากอำเภอท่าแซะที่แจ้งในเรื่องการเตรียมการในการร่วมพิธีวันแม่แห่งชาติในวันที่ 12 สิงหาคม59  และการเตรียมการลงมติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม59  2) ประชุมชี้แจงการจัดกิจกรรมของเดือนกรกฎาคม 59ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง ที่จะต้องจัดประกอบด้วย การลาดตระเวนจำนวน 3 ครั้งในวันที่ 3,17,31กรกฎาคม 59 และการจัดทำแผนที่ป่าไม้ครั้งที่ 3ในวันที่ 30กรกฎาคม59 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมทุกคนมีการแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมสำคัญโดยเฉพาะในการประชาสัมพันธ์การลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ การจัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ และการร่วมรับผิดชอบการจัดกิจกรรมตามรายละเอียดโครงการ

     

    30 30

    56. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่23

    วันที่ 3 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนที่มีปู่ถนอมและปู่เงาะเข้าดำเนินการในการจัดทำความสะอาดป่า จากการตรวจตราเมื่อคราวที่แล้วด้วยกัน 3 จุด ประกอบด้วยจุดที่ 1ทำการกวาดขยะที่ข้างทางถนนคอนกรีต ด้านข้างป่าทิศเหนือ จุดที่ 2 รื้อกิ่งไม้ต้นกระทิงล้มทับต้นไม้ที่ปลูกเมื่อปีที่แล้วจุดที่ 3 โค้นต้นไม้ที่ยืนต้นตายแห้งข้างถนนคอนกรีต 2 ด้าน เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกหนัก ลมพัดแรงเกรงว่าต้นไม้จะโค่นลง ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ที่สัญจรไปมาบนถนนคอนกรีต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้ดูแลป่าและต้นไม้ ทำให้ป่าไม้ต้นไม้ สัตว์ป่าและพืชสมุนไพรต่างๆ คงเหลือ ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ และเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป

     

    2 2

    57. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่24

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนออกจากจุดศาลาหมู่บ้าน เพื่อดูแลความเรียบร้อยของรั้ว ว่าอยู่ในลักษณะปกติหรือมีการบุกรุกป่า/การทำลายต้นไม้ และพบว่ามีต้นเถาวัลย์ขึ้นข้างรั้ว มีต้นไผ่ล้มทับรั้วบางช่วง มีคนมาขโมยต้นไผ่ 3กอและทิ้งกิ่งก้านไว้ระเกะระกะ 2 ปู่จึงช่วยกันเก็บแต่ยังไม่แล้วเสร็จต้องทำในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมสามารถทำการลาดตระเวณได้ระยะทางประมาณ 1,500 เมตรและจัดเก็บกิ่งไม้และทำให้พื้นที่สะอาด เป็นระเบียบมากขึ้น

     

    2 2

    58. จัดทำแผนที่ชุมชนฉบับจริง

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำแผนป่าไม้ฉบับจริง โดยป่าไม้อำเภอท่าแซะให้คำแนะนำ มีการวาดแผนที่ป่าไม้และพิมพ์ชื่อต้นไม้ติดที่รูปแผนที่ พร้อมทั้งเขียนชื่อต้นไม้ที่เหลืออีกประมาณ 200 ชื่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีแผนที่ฉบับจริง ที่ทำให้ประชาชนทราบว่าต้นไม้มีชื่อและขึ้นอยู่ส่วนไหนของป่า เพื่อให้ประชาชนทราบและช่วยกันเฝ้าระวังต้นไม้ในผืนป่าดอนเทพมูล

     

    30 30

    59. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่25

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนและเยาวชน เข้าถางป่า ใส่ปุ๋ยต้นไม้และปลูกต้นไม้แซมต้นที่ตาย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการปลูกต้นไม้ได้ 200ต้นและถางป่าได้พื้นที่ ประมาณ 600ตารางวา

     

    2 4

    60. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 11

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่อุทัยวรรณ ประธานในที่ประชุมแจ้งเรื่อง1)การทำกิจกรรมในเดือนสิงหาคมที่ประชาชนทุกคนต้องไปลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 7ส.ค.59ในพื้นที่ โดยให้ทุกคนไปตรวจสอบรายชื่อของตนเองที่หน้าหน่วยลงมติ และทบทวนขั้นตอนการลงมติที่ถูกต้องให้ทีมแกนนำรับทราบและนำไปถ่ายทอดให้ผู้ใกล้ชิดและครอบครัวปฏิบัติให้ถูกต้อง รวมทั้งให้เตรียมตัวที่จะเข้าร่วมพิธีถวายความจงรักภักดีต่อพระราชินีในวันที่ 12ส.ค.59โดยให้ทุกคนใส่เสื้อสีฟ้าและให้พร้อมกันที่หน้าโรงเรียนอนุบาลท่าแซะในช่วงเวลาตั้งแต่ 6โมงเย็น และ2) แจ้งเรื่องการจัดกิจกรรมในเดือนสิงหาคมตั้งแต่ การลาดตระเวนวันที่ 7,22ส.ค.59และการทบทวนกติกาชุมชนครั้งที่ 3ในวันที่20ส.ค.59

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการร่วมกันมอบหมายหน้าที่ของคณะกรรมการสภาชุมชนในการประชาสัมพันธ์และจัดคนเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งดูแลการทำประโยชน์ของคนในชุมชน

     

    30 30

    61. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่26

    วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวนและเยาวชน เข้าถางป่า และเก็บกิ่งไม้ที่แห้งและขนย้ายต้นไม้ที่ตายแล้วไปเก็บกองไว้ให้พ้นช่องช่องทางเดิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีพื้นที่ป่าที่สะอาด โล่ง และเป็นระเบียบมากขึ้น ได้เนื้อที่ 1,200ตารางวา และทำให้เกิดการเรียนรู้ของเยาวชนร่วมกับผู้สูงอายุที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน

     

    10 10

    62. ทำความสะอาดต้นไม้และสองฝั่งถนน

    วันที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำความสะอาดป่าด้วยการถางป่า ปลูกต้นไม้ และตรวจสอบความสมบูรณ์ของต้นไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำชุมชน เยาวชน และประชาชนในชุมชนได้ร่วมกันทำความสะอาดบริเวณสองข้างทางถนนคอนกรีตรอบป่าจำนวน 2ด้าน และตัดหญ้าในป่าที่มีการปลูกต้นไม้ เสริมจากต้นที่ตาย ได้พื้นที่ประมาณ 3 ไร่เศษปลูกต้นไม้ได้ 400ต้นได้แก่ต้นหลุมพอ ตะเคียนทอง ราชพฤษก ขี้เหล็ก เป็นต้น

     

    50 50

    63. ทบทวนกติกาชุมชนครั้งที่ 3

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่อุทัยวรรณ แนะนำพี่เลี้ยง และหน่วยงานตำรวจที่เข้าร่วมประชุมในการทบทวนกติกาชุมชนที่มีร่างไว้แล้วเพื่อขอมติในที่ประชุมจัดทำเป็นกติกาฉบับจริงใหม่ และพร้อมที่จะประกาศใช้หลังจากทุกคนเสนอแนะเพิ่มเติมและลงความเห็นเรียบร้อยแล้ว และได้เพิ่มเติมในเรื่องของการทำอย่างไรให้สุขภาพดี เน้น 3อ.คืออาหารดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อารมณ์ดี และไม่2ส.คือไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและสุรา รวมทั้งเรื่องกฏจราจรและโทษของการกระทำที่ผิดกฏหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีกติกาที่ประกาศใช้ประกอบด้วย 1)ห้ามตัดไม้ก่อนได้รับอนุญาต 2)ห้ามนำขยะมาทิ้งในเขตป่า3)ห้ามบุกรุกป่าไม้4)ห้ามทำลายแนวรั้วทั้ง 4 ด้าน 5)ห้ามนำสัตว์เข้าไปเลี้ยงในบริเวณป่า 6)ห้ามตัดต้นไม้ ถ้าจับได้ปรับคนละ500บาท และต้องปลูกต้นไม้ทดแทน

     

    30 30

    64. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่27

    วันที่ 22 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินสำรวจและถางหญ้าใส่ปุ๋ยบริเวณต้นไม้ที่ปลูกไว้เมื่อวันที่11สค.58และเดินลาดตระเวนรอบรั้วได้ระยะทางประมาณ1500เมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินลาดตระเวนพบว่ามีไม่ไผ่หักทับรั้ว1จุดจึงช่วยกันเอาต้นไผ่ออกจากรั้วซึ้งรั้วไม่ได้เสียหาย

     

    2 2

    65. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่28

    วันที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถางป่าและบริเวณต้นไม้ต่อจากครั้งที่แล้วได้เนื้อที่ประมาณ 400 ตารางวาพร้อมใส่ปุ๋ยต้นไม้ทั้งต้นไม้ที่ปลูกก่อนและต้นไม้ที่เพิ่งปลูกและเดินดูความเรียบร้อยของป่าบริเวณรอบรั้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเดินสำรวจป่าได้พบลูกเต่าคราด 2 ตัวและพบว่าหญ้าขึ้นเร็วทำให้ต้องเข้าถางป่าอยู่บ่อยครั้งเพราะเป็นของฤดูฝน

     

    2 2

    66. ประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชนประจำเดือนที่ 12

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องจัดทำในเดือนกันยายน ชี้แจงให้ทราบว่าวันที่18กย.59จะนำเอกสารโครงการที่ได้ทำมาแล้วทั้งหมดไปให้เจ้าหน้าที่ สสส.ตรวจดูที่เทศบาลวังไผ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกทุกคนให้ความสนใจและรับทราบถึงกิจกรรมที่ต้องจัดทำในเดือนกันยายน

     

    30 30

    67. ทีมลาดตระเวนเข้าตรวจพื้นที่ป่าครั้งที่29

    วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวณเข้าไปถางทางเพื่อเป็นแนวให้รถไถเข้าได้โดยไม่ถูกต้นและกิ่งไม้ พร้อมทั้งเก็บกิ่งไม้แห้งเอาไว้สองข้างทาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เก็บกิ่งไม้แห้ง 3 จุด ได้ระยะทางการถาง 700 เมตร บริเวณแนวกลางป่า

     

    2 3

    68. ทีมลาดตระเวณเข้าตรวจพื้นที่ป่า ครั้งที่30

    วันที่ 16 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมลาดตระเวณนำทางให้รถไถเล็กตัดหญ้า กวาดเศษไม้เพื่อถางทางเป็นแนวถนนเพื่อการเดินป่าและป้องกันไฟป่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ระยะทาง3เมตรX1000เมตร และได้พื้นที่ราบสำหรับไว้ปลูกไม้ยืนต้นและพืชสมุนไพรในวันต่อไป

     

    2 5

    69. ปิดงวดโครงการ

    วันที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบรายงานและเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารมีการจัดทำครบถ้วน แต่ยังมีกิจกรรมที่ลงรายงานน้อยไปและให้เพิ่มเติมรูปภาพบางกิจกรรม

     

    2 2

    70. จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานและนำเสนอข้อนโยบายสาธารณะ

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวรายงานผลการดำเนินงานและรายละเอียดกิจกรรมที่ผ่านมา พี้เลี้ยงโครงการกล่าวถึงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ของสสส.ที่ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และเชิญท่านนายอำเภอท่าแซะ นาย นักรบ ณ ถลางนายอำเภอท่าแซะได้เป็นประธานกล่าวปิดโครงการและมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ดูแลป่าจำนวน 12 คนมีรายชื้อดังต่อไปนี้1. นาย วัฒนา แก้วมณี 2. นาย ถนอม ส่งถึง3. นางสาวลภัสรดา วารีเขต4. นาย ณัฐพงษ์ พรหมเทพ5. นาย นัทชัย เกาะเกตุ6. นาง ยมนา สอนสุภา7. นาง ชมเดือน มณีน้อย8. นาง วนิดา ขาวชำนาญ9. นาย เลี่ยน รัตนพร10. นาย บุญเผียน ขอจุลซ้วน11. นาย ปิยะพงษ์ รัตนพร12. นาง เหี้ยง แตงกรดนายสุมโณจิณาทิตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแก่งเพกาได้มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนจำนวน 10 ทุนมีรายชื้อดังต่อไปนี้1. นาย ณัฐพงษ์ พรหมเทพ2.นาย นัทชัย เกาะเกตุ3. นาย ภัทรพงษ์ วรรณเครือ4. ด.ญ.เอราวัณ ส่งถึง5. ด.ญ. ฟ้าใส โภคากร6. ภูธเนต สุวรรณโด 7. ด.ช. นัฐวุฒิ นุ่นแก้ว8. ด.ญ. สุรัตน์ อินทรสุวรร9. ด.ช. อุดมศักดิ์ ล่วงพ้น 10. ด.ช.ศิริศักดิ์ รัตนพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ทำการนำเสนอการดำเนินการทำกิจกรรมที่มีเป็นปีที่ 2 ในการอนุรักษ์ป่าดอนเทพมูลด้วยการชวนชาวบ้านออกมาร่วมพัฒนาป่า มีเยาวชนเป็นมักคุเทศก์น้อยร่วมกิจกรรม มีทีมลาดตระเวณเฝ้าระวังป่าและร่วมกันพัฒนาป่าอย่างต่อเนื่อง มีข้อมูลต้นไม้และแผนที่ต้นไม้พร้อมฐานข้อมูลต้นไม้และสมุนไพร เป็นต้นให้ชาวบ้านและสาธารณะชนให้รับทราบเพื้อต่อยอดการดำเนินงานต่อไป

     

    250 250

    71. งานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมงานโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และเครือข่ายสุขภาวะอื่นๆประกอบด้วย วันจันทร์ ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙

    ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย ๑๓.๐๐ - ๑๓.๑๐ น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ๑๓.๑๐ - ๑๓.๒๐ น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ๑๕.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) ๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒ ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม

    วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙

    ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ๒. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ๕. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข ๑๒.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) ๒. ความมั่นคงทางอาหาร ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) ๖.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ๗.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๒ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม

    วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๙

    ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย ๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ ๑๐.๓๐ - ๑๑.๔๕ น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS) ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยาแวววีรคุปต์ ๑๑.๔๕ - ๑๒.๐๐ น. พิธีปิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายสุขภาพต่างๆเช่นสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้รู้เรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพ และการดูแลประชาชน 5 กลุ่มวันรวมทั้งชุดสิทธิประโยชน์การเล่าเรื่องต่าง ๆจากการจัดบอร์ดของโครงการ เช่นการแปรรูปกาแฟของโครงการบ้านหินเภา/ บ้านชุมโค -แหลมแท่น -บ่อเมาของจังหวัดชุมพร โครงการของจังหวัดกระบี่ในการจัดทำป่าชายเลนและการอนุรักษ์วัฒนธรรม การทำน้ำสมุนไพรและการแปรรุปเป็นสบู่ของจังหวัดตรังการปลูกข้าวและแปรรูปกระจูดของจังหวัดพัทลุงการทำชุดรับแขกของจังหวัดภูเก็ต และหมอนยางพารา เป็นต้น และร่วมเรียนรู้ในเรื่องห้องสมุดเคลื่อนที่ และการแนะนำสสส.รวมทั้งการให้ทำพวงกุญแจหัวใจ
    • ได้แลกเปลี่ยนกับเครือข่ายโครงการชุมชนน่าอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ เรียนรู้บทเรียนพื้นที่ดี ๆ ที่ประสบความสำเร็จจากการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ เรียนรุ้พูดคุยกับโครงการที่นำผลงานมาจัดบูธ เกิดแนวทางในการนำเรื่องราวดี ๆ เข้ามาเผยแพร่บอกต่อในชุมชน

     

    2 2

    72. จัดทำรายงานสรุปโครงการและภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานและกำหนดรูปภาพที่จะจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงานให้พี่เลี้ยง โครงการทราบประกอบด้วย การประชุมประจำเดือนของแกนนำ12 ครั้ง ลาดตระวณในป่า 30ครั้ง ร่วมพัฒนาพื้นที่ป่าและบริเวณโดยรอบได้เนื้อที่ 117 ไร่ ปลุกต้นไม้ จำนวน 1200 ต้น พืชสมุนไพ 50ชนิด จัดทำกติกาชุมชนในการห้ามบุกรุกป่า-ห้ามตัดต้นไม้ก่อนได้รับอนุญาต -ห้ามนำขยะไปทิ้งในบริเวณป่าและห้ามนำสัตว์ไปเลี้ยง และห้ามทำลายแนวเขต โทษถ้าจับจับได้ปรับ 500บาทและปลูกต้นไม้ทดแทน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ป่าต้นน้ำพะโต๊ะ ทำฐานข้อมูลต้นไม-รายชื่อต้นไม้-จัดทัวร์ป่าโดยเยาวชน แปรรูปสมุนไพรและสนับสนุนการปลุก และทำแผนที่ป่าไม้ และการร่วมงานสานพลังเครอข่ายสร้างสุขภาคใต้

     

    30 10

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสนับสนุนให้สภาผู้นำชุมชนมีการบริหารจัดการป่าไม้ชุมชนอย่างเข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1.1 มีการประชุมทุกเดือน 1.2 ร้อยละ 80 ของสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม 1.3 มีเรื่องกิจกรรมโครงการและเรื่องอื่น ๆในการประชุมทุกครั้ง

     

    2 เพื่่อรณงค์สร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ตัวชี้วัด : 2.1 มีกติกาชุมชน เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.2 เพิ่มกลุ่มอนุรักษ์ป่าและมัคคุเทศก์น้อยที่เฝ้าระวังป่าต้นน้ำ

     

    3 เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีกระบวนการในการจัดการป่าไม้ชุมชนและพืชสมุนไพรอย่างมีส่วนร่วม
    ตัวชี้วัด : 3.1 มีฐานข้อมูลต้นไม้และพืชสมุนไพร 3.2 มีแผนปฏิบัติการในการจัดการป่าไม้และสมุนไพร 3.3 มีการปลูกป่าเพิ่มเติม จำนวน 1000 ต้น 3.4 ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า 3.5 มีการสร้างรั้วล้อมผืนป่า 3.6 พื้นที่รอบสระน้ำมีความสวยงามและพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้ของคนในและนอกชุมชน

     

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสนับสนุนให้สภาผู้นำชุมชนมีการบริหารจัดการป่าไม้ชุมชนอย่างเข้มแข็ง (2) เพื่่อรณงค์สร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีกระบวนการในการจัดการป่าไม้ชุมชนและพืชสมุนไพรอย่างมีส่วนร่วม (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2

    รหัสโครงการ 58-03842 รหัสสัญญา 58-00-2072 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในอำเภอท่าแซะ ประกอบด้วยนายอำเภอท่าแซะ ป่าไม้อำเภอ ปลัดอำเภอ นายกอบต.ท่าแซะ กำนันตำบลท่าแซะ ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแก่งเพกา ผู้กำกับการสถานีตำรวจอำเภอท่าแซะ โรงพยาบาลท่าแซะ รพสต.ท่าแซะ เป็นต้น

    รายงานการประชุมและภาพถ่ายกิจกรรม

    มีการจัดทำให้เป็นศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนเพื่อการศึกษาเรียนรู้ของเยาวชนและผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งฝึกเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีความรักผืนป่า เห็นความสำคัญและถ่ายทอดภูมิปัญญาได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เรียนรู้เรื่องป่าชุมชนในการอนุรักษ์ป่าที่มีแหล่งต้นน้ำที่ชุมชื้น มีต้นไม้หายาก พืชสมุนไพร และสัตว์ป่าตามธรรมชาติ เช่นนก กระรอก ลิงและเต่า เป็นต้น

    ข้อมูลชุมชน ภาพถ่ายและการลงพื้นที่จริง

    พัฒนาต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเมือง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การบริโภคพืชผักปลอดสารพิษที่ปลุกเองของครัวเรือน และเหลือมีการจำหน่ายในชุมชน

    ช้อมูลชุมชนการปลุกผักกินเอง 15 ครัวเรือนประกอบด้วยน.ส.ลภัสดา นางเทียน ขาวชู น.ส.ยินดี ขอจุลซ้วน นายวัฒนาแก้วมณี นางวนิดา ขาวชำนาญ นางวิมลฑากาญจนปัทม์ นางหนูนุ้ยแก้ว นางสุจี เหมือนพิมพ์ นางจำเริญ ศรีสังข์ นางรุ่งรังสีส่งถึง และนางเลี่ยนรัตนพร

    ส่งเสริมให้มีจุดรวมขายผลผลิตชุมชนที่สถานที่ที่จัดให้ตามความเหมาะสมและเชื่อมกับเครือข่ายทรัพย์อนันต์ที่มีจุดจำหน่ายอยู่แล้ว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ไม่มีแหล่งมั่วสุมของเยาวชนในพื้นที่ ทั้งยาเสพติด (กระท่อม)และร้านเกม เยาวชนรายใหม่ไม่สูบบุหรี่

    ข้อมูลชุมชน

    ส่งเสริมบุคคลต้นแบบทั้งผู้สูงอายุ แม่บ้านให้เยาวชนได้เรียนรู้และเอาเป็นแบบอย่าง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการใช้ชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 50 มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง เหลือแจกและขายบ้างในชุมชน มีการใช้สมุนไพรไทยในชีวิตประจำวัน เช่นการใช้ ข่า ขมิ้น ไพร มะกรูด ย่านาง เป็นต้นในการดูแลสุขภาพ

    ทะเบียนรายงานประโยชน์ของพืชและสมุนไพรของชุมชน

    ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้านในบ้านของตนเองให้มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ครอบครัวมีการดูแลสุขภาพ ลดหนี้สินครัวเรือน ไม่กู้เอกชนแต่ใช้กองทุนหมู่บ้าน ไม่มีหนี้สูญมีแต่ประนอมหนี้ เป็นต้น

    ข้อมูลชุมชน

    กองทุนหมู่บ้านจะจัดประชุมใหญ่เพื่อปัญผลและเฉลี่ยคืน และมอบทุนการศึกษาให้เยาวชนในชุมชนปีละครั้ง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการจัดการขยะด้วยการคัดแยกขยะในครัวเรือนส่วนหนึ่งนำมาทำปุ๋ยหมัก ขยะขายได้และเหลือทิ้งที่ถังขยะอบต. มีการลดการใช้สารเคมีในการเกษตรหันมาใช้ปุ๋ยคอกและชีวภาพ สมุนไพรฆ่าแมลง

    ข้อมูลชุมชน

    มีการส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวโดยใช้สารอินทรีย์ ด้วยการขอสนับสนุนทรัพยากรต่างๆจากเกษตรและอบต.

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่มีโจรกรรมในพื้นที่และไม่มีแหล่งมั่วสุมของเยาวชน ครอบครัวอบอุ่น เยาวชนมีการศึกษา มีการช่วยเหลือลงแขกเมื่อมีงานในชุมชน และมีการไปวัดทำบุญเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาร่วมกับชุมชนอื่น ๆ

    ข้อมูลชุมชนที่มีการสำรวจจปฐ.และข้อมูลเชิงประจักษ์

    ส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้นำวัฒนธรรมท้องถิ่นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยปราชญ์ชาวบ้านและบุคคลต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกติกาในการดูแลป่าชุมชนประกอบด้วยการห้ามตัดไม้ -ห้ามทิ้งขยะในบริเวรป่า -ห้ามบุกรุกป่า-ห้ามทำลายแนวรั้วทั้ง 4ด้าน ครั้งนี้ให้มีการจัดทำเพิ่มเติมในเรื่องห้ามนำสัตว์ไปเลี้ยงในป่า -ผู้ที่ลักลอบตัดไม้ถ้าจับได้ปรับ 500บาทแล้วปลูกต้นไม้ทดแทน - ห้ามล่าสัตว์ป่าที่มี เช่น ไก่ป่า กระรอก ลิง ตะกวด เป็นต้น

    แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์และแผ่นพับ

    จัดทำเป็นมาตรการทางสังคมและผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ ระดับอำเภอ จังหวัดต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการให้ปราชญ์ชาวบ้านประกอบด้วยนายวัฒนาแก้วมณี และนายถนอม ส่งถึง เป็นบุคคลต้นแบบในการอนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูล ซึ่งมีความรู้ในเรื่องต้นไม้และสมุนไพรเป็นอย่างดี

    รายงานการประชุมและข้อมูลชุมชน

    ส่งเสริมและพัฒนาให้เป้นต้นแบบที่มีศักยภาพให้ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนและชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ชุมชนมีผู้นำที่เป็นผู้หญิงเก่งที่สามารถประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดีในการขอความช่วยเหลือและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

    ผลการดำเนินงานและการสัมภาษณ์

    นำเสนอเป็นบุคคลต้นแบบด้านการบริหารจัดการชุมชนต่อหน่วยงานมหาดไทย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานมีความภาคภูมิใจที่สามารถนำข้อมูลลเรื่องป่าให้ชุมชนและบุคคลภายนอกทราบและร่วมกันอนุรักษ์ป่าไว้เป็นของชุมชนและไม่บุกรุก

    รายงานเรื่องเล่าเสริมพลังของเวทีคนใต้สร้างสุข

    ชุมชนร่วมกันพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ของป่ามากขึ้นและประชาชนเป็นผู้รู้ในเรื่องป่าและสมุนไพรทุกคนและสามารถเล่าถึงคุณสมบัติของป่า -ต้นไม้และสมุนไพรได้เป็นอย่างดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ไม่มีการตัดไม้ในป่าชุมชนและไม่มีไฟป่าหลังจากมีกิจกรรมโครงการ

    รายงานการประชุม

    ส่งเสริมให้ชุมชนดอนเทพมูลและชุมชนใกล้เคียงให้มีความรับผิดชอบต่อผืนป่าและสมุนไพรต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2 จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 58-03842

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย ธนเดช ยอดยิ่ง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด