directions_run

โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ภาคใต้ พัฒนาศักยภาพ สนับสนุนวิชาการ ปี 58

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมสรุปภาพรวมการจัดทำโครงการฯ12 พฤศจิกายน 2559
12
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2559 ห้องประชุม สจรส.ม.อ.ชั้น 14 13.00 – 15.00 น. การปิดโครงการพัฒนาพัฒนาศักยภาพ สนับสนุนวิชาการ
โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้
o การจัดทำรายงานหรือปิดโครงการย่อย o การจัดทำรายงานพี่เลี้ยง o การสรุปผลการทำงานโครงการพัฒนาศักยภาพสนับสนุนวิชาการ
โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้  รูปธรรมผลสำเร็จของโครงการ  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข 15.00 – 16.00 น. แนวทางการจัดการเรื่องการจัดเก็บภาษีโครงการย่อย ปี 2553 - 2557 17.00 น. เป็นต้นไป รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน พบปะสรรสังค์พี่เลี้ยงร่วมกัน
ที่ห้องอาหารโรงแรมหาดใหญ่โกเด้นคราวน์

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2559 ห้องประชุม สจรส.ม.อ.ชั้น 14 09.00 – 12.00 น. การสรุปงานสร้างสุขภาคใต้ และแนวทางจัดงานสร้างสุขในปีถัดไป 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วาระที่ 1 แนวทางการจัดการเรื่องการจัดเก็บภาษีโครงการย่อย ปี 2553 – 2557 - จากกรณีที่ทางสรรพากร จ.พัทลุง และ จ.สงขลา เรียกเก็บภาษีย้อนหลังโครงการย่อยปี 2557 ทำให้ทางพี่เลี้ยง (คุณสมนึก นุ่นด้วง) ต้องเข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่สรรพากร และทางสรรพากรมีข้อเสนอให้ ทำหนังสือชี้แจงถึงสรรพากรแต่ละจังหวัด เพื่อจะได้รายงานและให้ความเห็นตามลำดับชั้นเหนือขึ้นไป และหาทางยุติการเก็บภาษี และสรรพากรจะลงพื้นที่ตรวจสอบ        จ.สงขลา จ.พัทลุง และ จ.สตูล ในวันที่ 14 – 16 พ.ย.59 - สิ่งที่ต้องทำเมื่อทางสรรพากรมีหนังสือถึงโครงการให้เข้าพบและเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ทางโครงการไม่ต้องทำอะไร ให้เฉย ๆ ยอมรับ และไม่ต้องจ่ายเงินค่าอากรแสตมตามที่สรรพากรเรียก หากมีปัญหาให้โทรปรึกษากับฝ่ายภาษี สสส. คุณปุ๋ย ที่เบอร์โทร 086-3755940 และทาง สจรส.ม.อ.รวบรวมโครงการที่โดนสรรพากรเรียก ส่งไปยัง สสส. ซึ่งก่อนหน้าที่ได้ส่งไปแล้วรอบนึง - ทั้งนี้ โครงการที่ดำเนินการอยู่ในปี 2558 – 2559 ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1 เปอร์เซ็นต์ ตามระเบียบการจ่ายภาษี วาระที่ 2 การจัดทำรายงานหรือปิดโครงการย่อย - โครงการพัฒนาศักยภาพฯ (โครงการ สจรส.ม.อ.) กำหนดส่งรายงานเพื่อปิดโครงการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 - โครงการย่อยจำนวน 198 โครงการ ซึ่งกำหนดส่ง สสส.เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 ตอนนี้อยู่ในช่วงที่ทาง สจรส.ม.อ.ตรวจสอบรายงานก่อนส่งให้ สสส. และยังมีโครงการอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่เรียบร้อย และเอกสารยังไม่ส่งมายัง สจรส.ม.อ. จึงมีข้อตกลงร่วมกัน ว่า o โครงการย่อยต้องส่งให้ สสส.ภายในวันที่ 25 พ.ย.59 หากเลยกำหนดทาง สสส.จะเป็นผู้ติดตามโครงการกับพี่เลี้ยงเอง o รายงานพี่เลี้ยง บันทึกติดตามครั้งที่ 2 และ 3 และแบบประเมินคุณค่า ต้องทำเสร็จภายในวันที่ 20 พ.ย.59 หากไม่เสร็จทาง สจรส.ม.อ. จะไม่จ่ายค่าตอบแทนพี่เลี้ยงในงวดที่ 3 วาระที่ 3  สรุปงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 - จุดเด่น ลักษณะการจัดงานสร้างสุขในปีนี้จัดได้เทียบเท่าระดับชาติ เห็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายตระกูล ส. (สสส./สช./สปสช.สธ.) มีจุดเด่นตรงข้อเสนอเชิงนโยบายในแต่ละห้องย่อย และมีเอกสารเชิงวิชาการหลายชิ้นงาน โดยเฉพาะงานชุมชนน่าอยู่ มีการผลิตหนังสือออกมาจำนวน 6 เล่ม - จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง คือ เวลาการนำเสนอของบางห้องย่อยมีเวลาน้อย คือให้เวลาแค่ครึ่งวัน ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมของคนที่มาร่วมฟังการเสวนาในห้องย่อย รวมทั้งบางห้องย่อยเช่น ห้องความมั่นคงทางอาหารมีวิทยากรมาคุยเยอะไป ทำให้ขาดการแลกเปลี่ยนของคนที่มาเข้าร่วมฟัง
- ห้องชุมชนน่าอยู่ มีข้อปรับปรุงหลายด้าน คือ การเตรียมการนำเสนอขาดการตรวจสอบความพร้อม โน้ตบุคที่ใช้แบตเตอรี่หมด ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์ไมล์ให้พิธีกร ไม่มีคนคุมเวที และไม่ได้ประสานกับคนที่คุมเครื่องเสียงของศูนย์ประชุม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์ประชุมไม่เต็มใจให้บริการ ทำให้งานออกมาแบบไม่พร้อม ข้อแก้ไข เรื่องเครื่องเสียงของศูนย์ประชุม คือ ทาง สจรส.ม.อ. จะทำหนังสือไปยังรองอธิการบดี เพื่อแจ้งจุดบกพร่องของเจ้าหน้าที่ที่ต้องปรับปรุงในงานครั้งต่อไป วาระที่ 4 อื่นๆ การจัดเวทีแลกเปลี่ยน Node ภาคใต้ มีการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง รับผิดชอบหลักโดย สสส. จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้ - เรื่องที่ 1 การพัฒนาศักยภาพชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ รับผิดชอบโดยทีม Node ภาคใต้ตอนบน (คุณกำไล สมรักษ์) มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน เป็นพี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่ พี่เลี้ยงโครงการเมนูอย่างง่าย และพี่เลี้ยงโครงการเปิดรับทั่วไป มีหลักสูตร 3 เรื่อง ดังนี้ o การขึ้นรูปโครงการ / การพัฒนาโครงการ ประกอบด้วย เรื่องการจัดการข้อมูล และการจัดทำแผนชุมชน เป็นต้น o การติดตามประเมินผล ประกอบด้วย เรื่องเทคนิคกลยุทธ์การเสริมพลังในพื้นที่ และ การเกิดนวัตกรรม o การจัดทำรายงานผลโครงการ - เรื่องที่ 2 การสังเคราะห์/การจัดการความรู้ รับผิดชอบโดย Node จังหวัดพัทลุง (คุณามนึก นุ่นด้วง) และทีมพี่เลี้ยง จ.ชุมพร (คุณสมใจ) ทำการสังเคราะห์โครงการชุมชนน่าอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ มี 3 ประเด็น คือ o เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพื้นที่ต่าง ๆ
o การผลิตสื่อ โดยมีทีมลงไปสังเคราะห์ เพื่อถอดเรื่องราวดี ๆ ออกมาเป็นหนังสือ และสื่อต่าง ๆ
o การพัฒนาพี่เลี้ยงในพื้นที่ให้สามารถสังเคราะห์เรื่องราวดี ๆ ในพื้นที่ออกมาได้ - เรื่องที่ 3 การประสานงานเรียนรู้แลกเปลี่ยนระดับภาค รับผิดชอบโดยทีมพี่เลี้ยง จ.สตูล (คุณนฤมล อุโหยบ) o เชื่อมประสานงานให้เกิดการประชุมแลกเปลี่ยนในจังหวัดภาคใต้ เชื่อมโยงเครือข่ายพี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่ พี่เลี้ยงโครงการเปิดรับทั่วไป และเชื่อมโยงกับคณะทำงาน พอช.สช.สปสช.และ สสส. โดยมีกำหนดนัดประชุมทีมคณะทำงานเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อติดตามผลการทำโครงการ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เดือนละ 2 ครั้ง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ทีม สจรส.ม.อ. และ สสส.

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.ภูเก็ต 10 พฤศจิกายน 2559
10
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นัดประชุมผู้รับทุนโครงการชุมชนน่าอยู่ จ.ภูเก็ต จำนวน 4 โครงการ เวลา 09.00 น. ณ อบต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
  • แบ่งกลุ่มตรวจเอกสารการเงิน และการรายงานกิจกรรมในเว็บไซต์ ออกเป็น 4 กลุ่ม
  • ทีม สจรส.ให้คำแนะนำต่อผู้รับทุน เมื่อพบเอกสารการเงินที่เขียนไม่ถูกต้อง และการเพิ่มเติมข้อมูลรายงานในเว็บไซต์
  • เวลา 14.00 น. ปิดประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการตรวจเอกสารการเงินและรายงานผลในเว็บไซต์ของโครงการชุมชนน่าอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบว่า โครงการบ้านไม้ขาว และโครงการบ้านท่าฉัตรไชย เอกสารการเงินถูกต้อง ทางคณะทำงานได้จัดทำเอกสารได้เรียบร้อย เป็นระเบียบ และมีเอกสารหลักฐานที่สำคัญครบถ้วน รวมทั้งได้รายงานผลกิจกรรมในเว็บไซต์ มีเนื้อหาครบถ้วน จึงสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ สจรส.ได้
  • ส่วนโครงการบ้านพรุสมภาร เอกสารการเงินเรียบร้อย แต่รายงานในเว็บไซต์ยังขาดรูปภาพในบางกิจกรรม และวันนี้มาเฉพาะเจ้าหน้าที่การเงิน ทางโครงการขอเวลาส่งเอกสารรายงานมาให้ สจรส.อีก 1 อาทิตย์
  • ส่วนโครงการบ้านยามู มีเงินคงเหลือต้องคืน สสส.จำนวน 16,000 กว่าบาท ทางโครงการขอดำเนินการคืนเงินให้เรียบร้อย และจะจัดส่งเอกสารรายงานมาให้ สจรส.ได้อีกประมาณ 1 อาทิตย์
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 11 คน จากที่ตั้งไว้ 14 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 4 โครงการ จำนวน 7 คน ทีม สจรส.ม.อ.จำนวน 4 คน

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.กระบี่ 9 พฤศจิกายน 2559
9
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

.

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.ตรัง8 พฤศจิกายน 2559
8
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เดินทางถึงมูลนิธิอันดามัน อ.กันตัน จ.ตรัง เวลา 14.30 น.
  • ชี้แจงการส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ การจัดทำรายงานพี่เลี้ยง และการโอนเงินงวด 3 จาก สสส.
  • แบ่งกลุ่มตรวจเอกสารการเงินโครงการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ โครงการบ้านบาตู และ โครงการบ้านบางค้างคาว ส่วนอีกโครงการบ้านหน้าเขา ได้จัดส่งรายงานให้ สจรส.แล้ว
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานผลกิจกรรมในเว็บไซต์ พบว่า ทั้ง 2 โครงการ หลักฐานการเงินเบิกจ่ายถูกต้อง และรายงานผลกิจกรรมในเว็บไซต์เสร็จทุกกิจกรรม มีเนื้อหาครบทุกกิจกรรม จึงสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ สจรส.ได้ในวันนี้ 
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 11 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการบ้านบาตู และบ้านบางค้างคาว จำนวน 6 คน

พี่เลี้ยง จ.ตรัง จำนวน 1 คน

ทีม สจรส.ม.อ. จำนวน 4 คน

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.ยะลา นราธิวาส สตูล5 พฤศจิกายน 2559
5
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

.

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.ชุมพร3 พฤศจิกายน 2559
3
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สถานที่จัดประชุม ณ เทศบาลตำบลวังไผ่ อ.เมือง จ.ชุมพร
  • โครงการได้รับการตรวจเอกสารทางการเงินและผลดำเนินงานจำนวน 11 โครงการ ฝากเอกสารให้ตรวจที่ สจรส.มอ. 1 โครงการและนัดตรวจอีกครั้งที่ สจรส.มอ. 1 โครงการ
  • ภาพรวมการตรวจการใช้จ่ายเป็นไปตามสัญญาโครงการ มีแนะนำปรับแก้ไขรายละเอียดการเขียนใบเสร็จที่ถูกต้อง และการเขียนผลดำเนินงานเพิ่มเติม
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.สตูล (ครั้งที่ 2)1 พฤศจิกายน 2559
1
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สถานที่ประชุมศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
  • โครงการได้รับการตรวจเอกสารจำนวน 10 โครงการ ยังมีอีก 5 โครงการนัดมาอีกครั้งวันที่ 6 พ.ย.2559
  • ภาพรวมการตรวจเอกสารมีความเรียบร้อยโดยส่วนใหญ่ มีการใช้จ่ายถูกต้องตามหลักการและดำเนินการได้ผลตามสัญญาโครงการ บางโครงการมีการปรับแก้รายละเอียดใบเสร็จให้ถูกต้อง
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.สตูล (ครั้งที่ 1)31 ตุลาคม 2559
31
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สถานที่จัดประชุม ณ ห้องประชุม อิงธารารีสอร์ท อ.ท่าแพ จ.สตูล
  • โครงการเข้ารับการตรวจสอบเอกสารของโครงการจำนวน 11 โครงการ อีก 1 โครงการจะนัดมาตรวจอกีครั้ง
  • ภาพรวมการตรวจเอกสารมีการจัดเรียงลำดับค่าใช้จ่ายตามกิจกรรมเรียบร้อย ค่าใช้จ่ายเป็นไปตามสัญญาโครงการ มีบางส่วนแนะนำการเขียนรายละเอียดในใบสำคัญรับเงินให้เรียบร้อย และผลการดำเนินงานเป็นไปตามสัญญาโครงการไม่มีโครงการใดขอขยายเวลา
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.พัทลุง (นครศรีธรรมราช ตรัง บางส่วน)29 ตุลาคม 2559
29
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การประชุมปิดงวด 2 จัด 2 วัน วันที่ 29-30 ตุลาคม 2559 สถานที่ ณ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • โครงการพัทลุงเข้าร่วมส่งเอกสารให้ทาง สจรส.ตรวจสอบจำนวน 20 โครงการ ขาด 1 โครงการ นัดส่งเอกสารตรวจสอบอีกครั้ง
  • โครงการนครศรีธรรมราช มีทีมพี่เลี้ยงจ.พัทลุง ติดตามสนับสนุน จำนวน 3 โครงการ เข้าร่วมตรวจเอกสาร มีจำนวน 1 โครงการที่นัดตรวจเอกสารอีกครั้ง
  • โครงการตรัง เข้าร่วมการตรวจเอกสารทางกาเงิน จำนวน 1 โครงการ อีก 3 โครงการนัดตรวจที่จังหวัดตรังอีกครั้ง

  • ภาพรวมการตรวจเอกสาร ค่าใช้จ่ายเป็นไปตามแผนสัญญาโครงการ บางส่วนมีการปรับแก้ไขรายละเอียดการเขียนใบสำคัญรับเงินให้ถูกต้อง ผลการดำเนินงานตามแผนไม่มีโครงการขอขยายเวลา

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.นครศรีธรรมราช (ครั้งที่ 3)27 ตุลาคม 2559
27
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การประชุมจัดที่อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
  • โครงการจำนวน 15 โครงการ เป็นโครงการที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังไม่ได้รับการตรวจ จึงนัดมาตรวจเอกสารอีกครั้ง ภาพรวมการตรวจค่าใช้จ่ายเป็นไปตามสัญญาโครงการ ดำเนินผลประสบความสำเร็จ ไม่มีการขอขยายเวลาโครงการ
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.ปัตตานี27 ตุลาคม 2559
27
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สถานที่จัดประชุม สจรส.มอ.ชั้น 14 ตึก LRC มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • โครงการจังหวัดปัตตานีได้รับการตรวจเอกสารทางการเงินและผลดำเนินงานครบ 7 โครงการ สามารถส่งปิดงวดได้ทั้งหมด
  • ภาพรวมการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามสัญญาโครงการ และแสดงผลดำเนินงานตามสัญญาโครงการ ไม่มีการขอขยายเวลาโครงการ
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.นครศรีธรรมราช (ครั้งที่ 2)14 ตุลาคม 2559
14
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จ.นครศรีธรรมราช มีโครงการเข้าร่วม 58 โครงการ โครงการที่ทำกิจกรรมครบ เอกสารส่งตรวจกับ สจรส.มอ.ได้ จำนวน 44 โครงการ
  • เอกสารโครงการ 15 โครงการ สจรส.มอ.ยังไม่ได้รับการตรวจ ซึ่งนัดตรวจอีกครั้งในอาทิตย์ถัดไป
จัดงานสร้างสุข และสรุปงานการถอดบทเรียน ตลอดจนจัดทำแบบประเมินผลการดำเนินงานและความพึงพอใจ3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันจันทร์ ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย

๑๓.๐๐ - ๑๓.๑๐ น. กล่าวต้อนรับ
โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

๑๓.๑๐ - ๑๓.๒๐ น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์
รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

๑๕.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ
ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.)

๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒ ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช

๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม


วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙

๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม

๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้
๒. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ๕. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ

๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข

๑๒.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย

๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การประชุมห้องย่อย
๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) ๒. ความมั่นคงทางอาหาร
๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) ๖.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ๗.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม

๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๒ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ)

๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม


วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๙

๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม
ลานศาลาเรือนไทย

๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ ๑๐.๓๐ - ๑๑.๔๕ น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)
ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยาแวววีรคุปต์

๑๑.๔๕ - ๑๒.๐๐ น. พิธีปิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้


1. ข้อเสนอจากห้องความมั่นคงทางมนุษย์: การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ

ข้อเสนอ
สสส.
- สร้าง สนับสนุน ให้เกิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้กับเครือข่ายด้านปัจจัยเสี่ยง เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถ รวมถึงการเชื่อมเครือข่ายในภาคใต้
- กระจายงบประมาณให้ครอบคลุมทั้งแบบพื้นที่และแบบประเด็น ขยายประเด็นการสนับสนุนงบประมาณให้กับบางประเด็นที่ไม่มีงบประมาณ เช่น เอดส์
- ให้มีหน่วยงานย่อยของ สสส. อาจจะเป็นในระดับ เขต โซน หรือจังหวัด เพื่อให้เครือข่ายขนาดเล็กสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้

สช.
- สนับสนุนกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพในทุกระดับ โดยใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพ สมัชชาสุขภาพ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยง เช่น แอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเสพติด เอดส์ และอุบัติเหตุ
- สนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงให้มีรูปธรรมที่ชัดเจน โดยความร่วมมือของเครือข่ายปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สปสช.
- เพิ่มงานด้านปัจจัยเสี่ยงเป็นเป้าหมายหนึ่งของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
- สร้างความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของกองทุน กลไกที่มี และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายด้านปัจจัยเสี่ยงกับกองทุน
- ขยายชุดสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงและการเข้าถึงยา เช่น การจัดให้ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบ C (DAA) เข้าสู่บัญชียาหลัก และจัดให้มีระบบคัดกรองให้รองรับการเข้าถึงการรักษา ตลอดจนการรักษาพยาบาล และจัดให้มีกองทุนโรคไวรัสตับอักเสบ C
- การจัดสรรงบประมาณรายหัวสาหรับการบาบัดผู้ติดสารเสพติด สุราและบุหรี่

กระทรวงสาธารณสุข
- เพิ่มภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัจจัยเสี่ยงโดยถือเป็นตัวชี้วัด (KPI) ที่สาคัญของกระทรวงสาธารณสุข
- จัดทายุทธศาสตร์และมาตรการ รวมทั้งการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในการจัดการปัจจัยเสี่ยงทุกระดับโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เช่น การควบคุมแอลกอฮอล์ สารเสพติด บุหรี่
- ส่งเสริมให้ชุมชนมีทักษะด้านการจัดการตนเองด้านสุขภาพ ในเรื่องการลดปัจจัยเสี่ยงโดยชุมชน โดยกระทรวงสาธารณสุขทาหน้าที่หนุนเสริมการดาเนินงานของชุมชน
- ให้สร้างองค์กรภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในด้านการรับเรื่องร้องเรียน เรื่องการได้รับบริการที่ไม่เป็นธรรม
- ผลักดันร่างกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ (ภาคประชาชน)

สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส
- เพิ่มการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการปัจจัยเสี่ยงของประชาชน
- ให้มีการสื่อสารผ่านสื่อหลักสู่สาธารณะ ในการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วย AIDS และกรณีอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน

องค์กรอื่น ๆ:
- ให้หน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องหาแนวทางร่วมกันในการทางานเพื่อเสริมพลัง และลดความซ้าซ้อนกิจกรรมที่ทาในพื้นที่ ทั้งในเรื่องการสนับสนุนงบประมาณ การสร้างเครือข่าย การรับรองสถานะองค์กรภาคประชาชน
- องค์กรด้านวิชาการ เช่น มหาวิทยาลัย สถาบัน มูลนิธิ สนับสนุน หนุนเสริมให้เกิดการจัดการความรู้เพื่อการขับเคลื่อนการดาเนินงานของภาคีเครือข่าย
- สร้างพื้นที่รูปธรรม ที่เห็นถึงการบูรณาการการทางานร่วมกันขององค์กรด้านสุขภาพ เพื่อเป็นโมเดลในการขยายผล


2. ข้อเสนอจากห้องการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ข้อเสนอ
สสส. ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อนาไปสู่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
สช. เสนอให้มีการพัฒนาประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นวาระหนึ่งพิจารณาในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเพื่อเป็นช่องทางสาคัญในงานผลักดันนโยบายท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) ให้เป็นวาระแห่งชาติ

สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้

สปสช. ส่งเสริมให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical tourism) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ให้สื่อสาธารณะมีนโยบาย ในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีรายการเฉพาะด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น การสนับสนุนให้มีรายการในท้องถิ่น นาเสนอ ผลิตรายการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น การนาเสนอรายการวิทยุในท้องถิ่น การผลิตรายการทีวีในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- เสนอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการการทางานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- สนับสนุนให้มีการเพิ่มบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวในระดับและกระทรวงและระดับจังหวัด
- ให้กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเชื่อมประสานกับสถาบันวิชาการในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการตลาดให้กับชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น
- ให้กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา มีการบรรจุแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งการสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของภาคใต้

องค์กรอื่น ๆ:
- ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดทาผังเมืองให้ชัดเจนในการจัดเขตการพัฒนาพื้นที่ด้านการท่องเที่ยว
- ให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระมีการเพิ่มสัดส่วนการประชุมสัมมนาในพื้นที่การท่องเที่ยวโดยชุมชน
-ให้หน่วยงานภาครัฐแก้ไขระเบียบที่เอื้อต่อการเบิกจ่ายงบประมาณในการจัดประชุมในพื้นที่การท่องเที่ยวโดยชุมชน
- ให้มีการพัฒนากลไกกองทุนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับชาติ

เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
- ให้มีแผนเรื่องการตลาดที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายกลุ่ม MICE เช่นการประชุมองค์กร การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
- ส่งเสริม และสนับสนุน เปิดโอกาสให้เด็กเยาวชน คนรุ่นใหม่ ในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการทาการตลาดโดยการใช้สื่อใหม่ เช่น สื่อออนไลน์ โซเชียลต่าง ๆ


3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ
ข้อเสนอ
สสส.
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง
- เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น
- สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง
- สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่

สช.
- เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
- นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน

สปสช.
- ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตาบล
- กาหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สาเร็จ
- กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น

กระทรวงสาธารณสุข
- กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกาหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล
- ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน

สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส
- สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น
- นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง
- สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ


4. ข้อเสนอจากห้องการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว
สสส.
- สนับสนุนให้มีการจัดการฐานข้อมูลเครือข่ายคนทางาน เรื่องเด็กและเยาวชน
- สนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของเครือข่ายคนทางาน ทั้งในเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ วิธีการ และความรู้ในการทางาน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน
- เพิ่มแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อใช้ศิลปวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือการพัฒนาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน
- สนับสนุนการศึกษาหรือการถอดบทเรียน วิธีการที่ได้ผลในการทางานพัฒนาเด็กเยาวชน เช่น Project Base, Case Study ,ฯลฯ (เปิดพื้นที่ให้เด็กทางานจริง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ให้โอกาส ปรับทัศนคติผู้ใหญ่/สังคม ที่มีต่อเด็ก)

สช. ให้มีมาตรการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็ก เยาวชน และครอบครัวอย่างจริงจัง และสนับสนุนให้เครือข่าย คณะทางานเรื่องเด็ก เยาวชน และครอบครัวมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนมติสมัชชาดังกล่าว

สปสช.
ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตาบลมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาวะของเด็ก เยาวชน และครอบครัว

กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มและขยายโรงเรียนหรือห้องเรียนพ่อแม่ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส
- ออกแบบการสื่อสารที่สร้างสรรค์ และเป็นไปเพื่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
- เพิ่มเวลาการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของเด็กและเยาวชน

องค์กรอื่นๆ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ เพิ่มกลไกการทางานของสภาเด็กและเยาวชน และสร้างเครือข่ายการทางานร่วมกันของสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์การจัดการปัญหาเด็กและเยาวชนระดับชุมชน เช่น มีการคัดกรองเด็กกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือตามระดับความเสี่ยง (เด็กเปราะบาง สาม จชต.ฯลฯ)


5. ข้อเสนอจากห้องความมั่นคงทางอาหาร ข้อเสนอ

สสส. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่ทางานด้านอาหาร เพื่อผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในทุกระดับ และผลักดันให้เกิดกองทุนความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัด เช่น ให้มีการจัดทาแผนการจัดการความเสี่ยงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

สช. กาหนดให้ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นวาระหลักในกระบวนการสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัดเพื่อสร้างนโยบายสาธารณะทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร

สปสช. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตาบลต้องมีการจัดทาโครงการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยควรมีการจัดสรรงบประมาณของกองทุนไม่น้อยกว่า ๑๐ % ในแต่ละปี

กระทรวงสาธารณสุข
ควรจะต้องบูรณาการเรื่องความมั่นคงทางอาหารกับเรื่องอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยโดยจัดทาเป็น

แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในทุกระดับ
สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส
- มีรายการหลักที่มีการสื่อสารเรื่องวัฒนธรรมอาหาร ภูมิปัญญาด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร มิติทางวัฒนธรรมเพื่อการแบ่งปันด้านอาหาร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมยั่งยืน
- ให้นักข่าวพลเมืองมีการนาเสนอเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นหลัก เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

องค์กรอื่น ๆ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ส่งเสริมให้มีการจัดทาแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ของภาคใต้ ตลอดจนมาตรการและการจัดการข้าวของภาคใต้ เนื่องจากข้าวของภาคใต้มีความเฉพาะในเรื่องฤดูกาล พันธุ์ข้าวพื้นเมือง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวให้เป็นอาหาร หรือ เวชสาอาง
- ส่งเสริมการสร้างแปลงนารวมของชุมชน เพื่อให้คนที่ไร้ที่ดินทากินได้มีส่วนร่วมในการผลิตอาหารด้วยตนเอง และสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย
- สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกองบุญข้าว (วันทาขวัญข้าว)ในระดับตาบล เพื่อกระจายอาหารให้กับผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
- สนับสนุนให้มีการสร้างกลไกการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดให้เป็นกลไกที่ยั่งยืน โดยมีสานักงานมาตรฐาน มกอช. เป็นหน่วยงานหลักในการทางาน และมีมาตรฐานรับรอง ๓ ระดับ ได้แก่

  • ระดับตนเอง (GPS) -ระดับประเทศ (ออร์แกนิคไทยแลนด์/Organic Thailand) -ระดับต่างประเทศ (Ifoam Standard)
  • สนับสนุนการจัดทากระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้า ( เมล็ดพันธุ์) กลางน้า (โรงสีข้าว) และปลายน้า (การแปรรูปและการส่งออก) ให้ได้มาตรฐาน GMP
  • กาหนดมาตรการส่งเสริมโครงการตลาดเกษตรอินทรีย์ในรูปองค์กร โดยเป็นโครงการนาร่องในระดับจังหวัด เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาล ให้รับซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ขององค์กรในชุมชน หรือเครือข่ายในระดับจังหวัด
  • สนับสนุนให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ (Matching) ระหว่างชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในภาคการผลิตและภาคการตลาด เช่น การสั่งซื้ออาหารล่วงหน้าระหว่างชุมชนกับชุมชนหรือองค์กรกับองค์กร เพื่อสร้างระบบ รับประกันการมีอาหารกินที่ยั่งยืน
  • สนับสนุนและผลักดันระบบ Co - farming ระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค เพื่อประกันความเสี่ยงของเกษตรกร


  1. ข้อเสนอจากห้องระบบการแพทย์พหุวัฒนธรรม

ข้อเสนอ
สสส.
- สนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการแพทย์พหุวัฒนธรรม และการสร้างเครือข่ายเพื่อยกระดับการขับเคลื่อนการแพทย์พหุวัฒนธรรม

สช.
- สนับสนุนและจัดกระบวนการให้มีการใช้การแพทย์พหุวัฒนธรรมเป็นแนวทางในการดาเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพภาคประชาชน เช่น มีสัดส่วนของผู้นาศาสนาต่าง ๆ ใน คณะกรรมการเขตสุขภาพภาคประชาชน
- สนับสนุนและจัดทากระบวนการนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์พหุวัฒนธรรม โดยใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพ สมัชชาสุขภาพ และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
สปสช.
- ให้จัดสรรงบประมาณเพื่อให้สถานบริการสุขภาพเพิ่มการดาเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์พหุวัฒนธรรม
- ให้จัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มการดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้แนวทางการแพทย์พหุวัฒนธรรม

กระทรวงสาธารณสุข
- กำหนดให้มีมาตรฐานของสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์พหุวัฒนธรรม ทั้งในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการบริการสุขภาพ
- กำหนดให้มีมาตรการใช้การแพทย์พหุวัฒนธรรมเป็นแนวทางในการจัดการปัญหาสุขภาพที่เป็นวิกฤติที่สำคัญของพื้นที่ เช่น การบาบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติด การจัดการโรคเรื้อรัง
- พัฒนาศักยภาพและจัดสรรบุคคลากรเพื่อรองรับการดาเนินงานการแพทย์พหุวัฒนธรรม เช่น มีนักวิชาการ

ศาสนาสุขภาพวิถีอิสลามประจาโรงพยาบาล การมีสูตินรีแพทย์ที่เป็นผู้หญิงประจา รพ.ชุมชนทุกแห่งในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้

สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ควรเพิ่มการสื่อสาร สร้างความเข้าใจในเรื่องการแพทย์พหุวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดสันติสุขภาวะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

องค์กรอื่น ๆ
- กระทรวงศึกษาธิการ กาหนดให้มีเนื้อหาการแพทย์พหุวัฒนธรรมในหลักสูตรทางการแพทย์และสาธารณสุข ของสถาบันการศึกษา - กระทรวงมหาดไทย กาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับต้องเพิ่มบทบาทและเพิ่มการดาเนินงานด้านสุขภาพทั้งเชิงโครงสร้างและ งบประมาณเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับงานอื่นๆ


7. ข้อเสนอจากห้องกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
ข้อเสนอ
สปสช.
- ให้เร่งทบทวนเกี่ยวกับประกาศ ระเบียบเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ พ.ศ.๒๕๕๗ โดยให้ทาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย สมาคมสันนิบาติเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตองค์การบริหารส่วนตาบลแห่งประเทศไทย กระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ สานักงานตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ให้แล้วเสร็จภายในปี ๖๐ ในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1)โครงสร้างของกรรมการกองทุนฯ โดยเพิ่มผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาคประชาชน และผู้อานวยการ รพ.สต.ทุกแห่ง เป็นต้น
1.1) เพิ่มสัดส่วนงบบริหารจัดการกองทุนฯ ข้อ ๗(๔) จากไม่เกินร้อยละ ๑๕ เป็นไม่เกินร้อยละ ๒๐ โดยงบประมาณที่เพิ่มขึ้นใช้ในการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนฯ
1.2) เพิ่มวงเงินสาหรับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตาม ๗(๒)ได้ในวงเงินอย่างน้อยไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท

  • พัฒนาหลักเกณฑ์ แนวทาง คู่มือในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่และคู่มือการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุให้ชัดขึ้น

  • สปสช. ร่วมกับ สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สานักงานสานับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น เด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ในการจัดทาแผนสุขภาพชุมชนหรือแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพของพื้นที่ผ่านเครื่องมือ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) ธรรมนูญสุขภาพชุมชน เป็นต้น ตลอดจนการจัดทา โดยให้ภาคประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

  • ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนดแนวทางเพื่อแนวทางแก้ไขปัญหาการมีเงินคงเหลือในกองทุนฯที่สอดคล้องกับบริบทกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่

  • ให้ สปสช. จัดสรรงบประมาณและพัฒนาช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในลักษณะวงกว้าง (Mass Media) โดยร่วมกับ ไทยพีบีเอส และสื่ออื่น ๆ เพื่อนาเสนอผลงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ เจตนารมณ์ของกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนและคณะกรรมการกองทุนฯเกิดความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานีและ เขต ๑๒ สงขลา
- ให้ สปสช. เขต ร่วมกับสานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หน่วยงานวิชาการในพื้นที่ เช่น สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกันพัฒนาศักยภาพแกนนากองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่จัดกระบวนการทานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพของพื้นที่ผ่านเครื่องมือ เช่น การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) เพื่อพัฒนาเป็นแผนสุขภาพชุมชนหรือแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ หรือธรรมนูญสุขภาพชุมชน โดยให้ภาคประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสามารถใช้งบประมาณประเภท ๗(๔) งบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่

  • ให้ สปสช. เขตจัดตั้งคณะทางานร่วมระหว่างผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เกี่ยวกับสถานการณ์เงินคงเหลือในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของแต่ละกองทุน

  • ให้ สปสช. เขตร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านการสื่อสารของพื้นที่พัฒนาช่องทางสื่อสารโดยปรับประยุกต์สื่อสารชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับ ผลงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ เจตนารมณ์ของกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้และร่วมเป็นเจ้าของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่

  • ให้ สปสช. เขต จัดตั้งคณะทางานระดับเขต ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านงานกองทุน และ อปสข.ที่เป็นผู้แทนจากภาคประชาชน คณะกรรมการภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดทาหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนและติดตามนิเทศงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ โดย สปสช. เขต ทาหน้าที่พัฒนาศักยภาพคณะทางานระดับเขต พร้อมสนับสนุนงบประมาณเพื่อการติดตามและนิเทศ

  • ให้ สปสช. เขต จัดทาหลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการกองทุนฯในการเขียนโครงการสุขภาวะชุมชนโดยมีผู้รับผิดชอบ เช่น มี ครู ก หรือหลักสูตรไปสู่ภาคปฏิบัติด้วย

  • สมรรถนะทั่วไป (General competency) เช่น ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จาเป็น ๕.๒ สมรรถนะหลัก (Core competency) ๕.๓ สมรรถนะเฉพาะตาแหน่ง (Functional competency)

  • ให้ สปสช. เขต สามารถจัดทาระบบโปรแกรมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ในลักษณะง่ายต่อการใช้งาน ลดความซ้าซ้อน สามารถติดตามการทางานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ตลอดจนให้คณะทางานระดับเขตทาหน้าที่ติดตามการสนับสนุนผ่านระบบโปรแกรม

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งดาเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ออกคาสั่งเพื่อมอบหมายงานให้กับกองงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- ให้ อปท. ทุกแห่งจัดตั้งศูนย์ดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้เกิดขึ้น ตามความพร้อมของท้องถิ่นของ อปท. เพื่อรองรับการดาเนินงานในส่วนของกองทุนดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง
- ให้ อปท. จัดทาแผนส่งเสริมสุขภาวะของเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือ ชื่ออื่น เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน
- ให้ อปท. สนับสนุนการจัดทานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของพื้นที่ผ่านเครื่องมือ เช่น การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) เป็นต้นเพื่อพัฒนาเป็นแผนสุขภาพชุมชนหรือแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ หรือ ธรรมนูญสุขภาพชุมชน โดยให้ภาคประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

ภาคประชาชน: ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนและหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้อง ตามมาตรา ๕๐ (๕)
- เพิ่มจานวนสัดส่วนการส่งผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระในพื้นที่เข้าไปเป็นคณะกรรมการกองทุนฯ

  • จัดพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุนฯในส่วนสัดส่วนผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระในพื้นที่เข้าไปเป็นคณะกรรมการกองทุนฯ ให้สามารถเข้าใจเรื่อง ประกาศและระเบียบเกี่ยวกับกองทุน การเขียนโครงการด้านสุขภาวะเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่


  1. ข้อเสนอจากห้องการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้
    ข้อเสนอ
    สสส.

- การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ทาให้เกิดการยอมรับในความหลากหลายจนตกผลึกเป็นประเด็นร่วมของสังคม ที่น่าจะได้รับการสนับสนุนเพื่อการขับเคลื่อนทั้งในระดับภูมิภาคหรือระดับพื้นที่ เช่น ประเด็นร่วมระดับจังหวัดหรือระดับภาคและมติสมัชชาติ เป็นต้นจึงมีข้อเสนอต่อ สสส. ให้เป็นผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพหรือประเด็นด้านสุขภาวะต่างๆ ที่เกิดจากข้อเสนอนโยบายแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดพลังในการปฏิบัตินาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
- กาหนดให้องค์กรที่มีภารกิจด้านสุขภาพทุกองค์กร เช่น สสส. สปสช. กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ทาให้เกิดการบูรณาการจัดกลไกการดาเนินงานระดับจังหวัดและสนับสนุนเชิงนโยบาย เพื่อให้เห็นทิศทางในการขับเคลื่อนที่ชัดเจนและหนุนเสริมการทางานของกลไกให้เกิดการบูรณาอย่างเข้มข้น
- องค์กรที่มีภารกิจด้านสุขภาพและสุขภาวะ ให้มีการสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่สนับสนุนและหนุนเสริมด้านสุขภาพ เพื่อให้มีศักยภาพในการทางานและร่วมกันสร้างนวัตกรรมใหม่แบบบูรณาการที่สอดคล้องตามบริบทของแต่ละพื้นที่

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.ชุมพร18 กันยายน 2559
18
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

  • วันที่ 18-19 กันยายน 2559 สถานที่ ห้องประชุมสาธารณสุข เทศบาลตำบลวังไผ่ อ.เมือง จ.ชุมพรเวลา 9.00-16.30 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการ จ.สงขลา (ุ11 โครงการ) จำนวน 20 คน ได้แก่
  1. คลองสวยน้ำใสใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2
  2. ชุมชนสูงวัย บ้านในซัง ต่อเนื่อง ปี 2
  3. ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่นปี 2
  4. บ้านตรังสร้างสุข
  5. ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ
  6. สภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุขที่บ้านนาโครงช้าง
  7. อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2
  8. ปลูกจิตสำนึกชุมชนบ้านในจูนน่าอยู่
  9. กลุ่มประมงบ้านบ่อเมา-แหลมแท่น รักษ์สิ่งแวดล้อม ปี3
  10. ชุมชนเขาเจดีย์-ตลาดใน ห่วงใยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีพอเพียง ปี2
  11. บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง
  • ภาพรวมการตรวจ จ.ชุมพร ทีมงานได้ทำการตรวจรายงานและตรวจเอกสารทางการเงิน ได้แนะนำแนวทางการแก้ไขเอกสารทางการเงิน และแนะนำการเขียนผลการดำเนินงาน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 37 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการ จ.ชุมพร (ุ11 โครงการ) จำนวน 20 คน
  • พี่เลี้ยง จ.ชุมพร จำนวน 2 คน
  • ผู้ช่วยพี่เลี้ยง จ.ชุมพร จำนวน 5 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. จำนวน 4 คน
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.สุราษฏร์์ธานี17 กันยายน 2559
17
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

  • สถานที่ ห้องประชุมปะการังรร.ร้อยเกาะ จ.สุราษฏร์ธานี เวลา 9.00-16.30 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการ จ.สงขลา (ุ8 โครงการ) จำนวน 22 คน ได้แก่
  1. ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง
  2. วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
  3. บ้านปากหานสร้างสุขด้วยสมุนไพร
  4. ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน
  5. ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง
  6. สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด
  7. ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่
  8. สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง

ภาพรวมการตรวจ จ.สุราษฏร์ธานี
- ได้แนะนำการส่งรายงาน ให้กรอกข้อมูลสำคัญใน ส.3 ส่วนที่ 2 การตอบตัวชี้วัด การทำรายงานการเงิน ง.1 งวด 2 และการรายงานผลลัพธ์ผลผลิตโครงการ

  • โครงการร้อยละ 90 สามารถดำเนินการเป็นไปตามแผน สามารถวางแผนส่งรายงานได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด ในส่วน 10 เปอร์เซ็น ทำเรื่องขอขยายเวลา 1 เดือน (เดือนพฤศจิกายน 2559)

  • ได้ชี้แจ้งการเตรียมงานสร้างสุขวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559กา่รเคลื่อนงานจังหวัดสุราษฯในอนาคต เรื่อง "สุราษฏร์ธานีเมืองสมุนไพร" โดยในงานสร้างสุขจะมีการนำเสนอออกนิทรรศการเรื่องสมุนไพร ได้แก่ ชุมชนเขาปูน (สมุนไพรเพื่อสุขภาพ) และชุมชนถ้ำผุด (สมุนไพรเพื่อความงาม)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยง จ.สุราษฏร์ธานี จำนวน 1 คน
  • โครงการ จ.สุราษฏร์ธานี (ุ8 โครงการ) จำนวน 22 คน
  • สจรส.มอ. จำนวน 4 คน
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.สงขลา 11 กันยายน 2559
11
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

  • สถานที่ ห้อง 1401 สจรส.ม.อ.ชั้น 14 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการ จ.สงขลา (ุ9 โครงการ) จำนวน 21 คน ได้แก่
  1. โครงการท่องเที่ยวเกษตรลดสารเคมีสร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแซง (ต่อเนื่องปี 2)
  2. โครงการสร้างสุขคนบ้านปะโอ ชุมชนต้นแบบวิถีเกษตรอินทรีย์
  3. โครงการสิ่งแวดล้อมดี ชีวีเป็นสุข ชุมชนบ้านจุ้มปะ
  4. โครงการอาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ
  5. โครงการชาวนาปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภคบ้านหนองถ้วย
  6. โครงการซอยปลักควายเกษตรอินทรย์วิถีพอเพียง
  7. ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา
  8. ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก
  9. ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นฟูบ้านคูขุด

ภาพรวมการตรวจ จ.สงขลา ชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมใกล้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่มีความเสี่ยงสามารถปิดโครงการได้ตามแผนที่วางไว้ ในส่วนบางโครงการดำเนินการกิจกรรมแล้ว แต่ไม่สามารถบันทึกทางเว็บไซต์ได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องอินเตอร์เน็ต ทางพี่เลี้ยงแก้ไขปัญหานัดโครงการมาบันทึกข้อมูลอีกครั้ง

  • โครงการ จ.สตูล (ุ1 โครงการ) จำนวน 2 คน คือ บ้านผังปาล์ม 7 จ.สตูล ซึ่งได้ดำเนินขั้นตอนปิดโครงการและกลับไปจัดการเอกสาร ส่งมาที่ สจรส.มอ.อีกครั้ง

  • โครงการได้รับการตรวจสอบใบเสร็จค่าใช้จ่ายโครงการ และผลการดำเนินงาน และได้รับการแก้ไขปรับปรุงต่อไป

  • กระบวนการทำให้เิกดการเรียนรู้การจัดการเอกสารและบริหารจัดการโครงการของชุมชน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 29 คน จากที่ตั้งไว้ 28 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยง จ.สงขลา จำนวน 3 คน
  • โครงการ จ.สงขลา (ุ9 โครงการ) จำนวน 21 คน
  • โครงการ จ.สตูล (ุ1 โครงการ) จำนวน 2 คน
  • สจรส.มอ. จำนวน 3 คน
การจัดประชุมเตรียมงานสร้างสุข6 กันยายน 2559
6
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สรุปผลการประชุมที่ผ่านมา
  • นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานของห้องย่อยแต่ละประเด็น ได้แก่ ห้องชุมชนน่าอยู่ ห้องการท่องเที่ยวชุมชน ห้องความมั่นคงทางอาหาร ห้องการพัฒนาเด็กเยาวชนและครอบครัว ห้องความมั่นคงทางมนุษย์ ห้องการแพทย์พหุวัฒนธรรม ห้องกองทุนสุขภาพตำบล ห้อง CHIA/สมัชชาสุขภาพ/ธรรมนูญสุขภาพ ลานปัญญา/ลานเสวนา / กิจกรรม world cafe
  • การบริหารจัดการทั่วไป ได้แก่ เอกสาร การจัดการข้อมูล การลงทะเบียน อาหาร
  • แลกเปลี่ยนและเพิ่มเติมสรุปภาพรวมของเวที 
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แนะนำภาพรวมของงานสร้างสุขที่จะจัดวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559
  • นำเสนองานห้องย่อย ดังนี้
  1. ห้องชุมชนน่าอยู่ ได้ออกแบบห้องย่อย เสวนา เรื่อง สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ บ้านทุ่งยาว ม.11 ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุงและนำเสนอกรณีศึกษาตามประเด็นสุขภาวะ ได้แก่

- กรณีศึกษาที่ 1 ประเด็นอาหารปลอดภัย ชื่อเรื่อง “คน ผึ้ง ผัก รักษ์สุขภาพ”
- กรณีศึกษาที่ 2 ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ชื่อเรื่อง “แหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง” - กรณีศึกษาที่ 3 ประเด็นการจัดการท่องเที่ยวชุมชนและการจัดการทรัพยากรชุมชน ชื่อเรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวตามวิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย”
- กรณีศึกษาที่ 4 ประเด็นการจัดการขยะ ชื่อเรื่อง “ธนาคารบุญ ธนาคารขยะ ชุมชนบ้านห้วยลึก”
- กรณีศึกษาที่ 5 ประเด็นพัฒนาศักยภาพเยาวชน ชื่อเรื่อง “ปันตงสร้างสุข”

นอกจากนี้มีปัญญาเสวนา การแสดงคอนเสริต์เยาวชนวงช็อกโกแล็ต สันทนาการลายเด็นซ์
และที่สำคัญประเด็นสรุป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

ภาคีเครือข่ายงานสร้างสุข 

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 2 จ.นครศรีธรรมราช3 กันยายน 2559
3
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำรายงานปิดโครงการเป็นการตรวจสอบการจัดทำรายงานปิดโครงการ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และการจัดทำรายงานการเงินปิดโครงการให้มีความถูกต้อง รวมถึงการสังเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ คุณค่าโครงการ โครงการเด่น นวัตกรรมโครงการ ชุดความรู้เชิงปฎิบัติงาน เป็นต้น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับทุนในการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จ.นครศรีธรรมราช มีโครงการเข้าร่วม 58 โครงการ สามารถแบ่งได้ 3 แบบ เพื่อนำไปสู่การจัดการต่อ ได้ดังนี้
  1. โครงการที่ทำกิจกรรมครบ เอกสารส่งตรวจกับ สจรส.มอ.ได้ จำนวน 22 โครงการ
  2. โครงการที่ทำตามแผนครบ แต่พี่เลี้ยงกำลังตรวจเอกสารก่อน จำนวน 33 โครงการ
  3. โครงการที่จัดกิจกรรมยังไม่ครบ จำนวน 3 โครงการ
  • โครงการที่ได้รับจากการตรวจ สจรส.มอ.แล้ว สามารถเตรียมส่ง สสส.ได้ และยังมีกิจกรรมที่เหลือประมาณ 2 ครั้ง คือ การเข้าร่วมงานสร้างสุขวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 หลังจากนั้นจะนัดตรวจอีกครั้งวันที่ 15-16 ตุลาคม 2559 และส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อไป

  • โครงการที่ยังไม่ได้การตรวจ พี่เลี้ยงจะตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง เพื่อตรวจเอกสารให้สมบูรณ์อีกครั้งวันที่ 15-16 ตุลาคม 2559

  • โครงการที่ยังจัดกิจกรรมไม่เสร็จ พี่เลี้ยงและโครงการวางแผนจัดกิจกรรมให้เสร็จภายในเดือนกันยายน 2559 และได้ทำรายงานทันพร้อมกัน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 133 คน จากที่ตั้งไว้ 133 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 13 คน
  • โครงการ จ.นครศรีธรรมราช (ุ58 โครงการ)จำนวน 116 คน
  • สจรส.มอ. จำนวน 4 คน
ประชุมเรื่อง สื่อสาธารณะกับ สสส.2 กันยายน 2559
2
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 3-4 กันยายน 2559 ณ ห้องโลตัส โรงแรมรามาการ์เด้น ถ.วิภาวดีรังสิต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางการ สนับสนุนวิชาการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการประชุมเชิงปฏิบัติการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมร่วมกับ สื่อ สสส. ผลการประชุม ดังนี้

  1. สสส.จัดเวทีเพื่อให้ทีมวิชาการและ node ต่างๆ ของ สสส. ช่วยกันกำหนดรูปแบบการคัดเลือกโครงการที่ดี/เด่น
  • เพื่อใช้ในการสื่อสารสาธารณะ การสังเคราะห์ความก้าวหน้ารายเดือน / รายสามเดือนส่งแผนยุทธศาสตร์
  • ในเวทีมีการกำหนดเกณฑ์และแบบฟอร์มการรายงานโครงการที่ดี/เด่น แต่ยังไม่สรุปสมบูรณ์ออกมา จะกำหนดกรอบอีกครั้ง
  1. ภาคใต้จะมีทีมสื่อมีชื่อว่า "ไอ แอม พีอาร์" ท่านใดมีโครงการจะจัดกิจกรรมเผยแพร่สื่อแจ้งว่าให้ประสานล่วงหน้า 2 อาทิตย์ จะมีเบอร์ทีมสื่อจาก สจรส.มอ.

  2. สสส.แจ้งว่าหากท่านใดมีกิจกรรมเด่นประจำเดือนให้เขียนสรุปพร้อมภาพถ่ายชัดๆ ส่งไปที่คุณเปิ้ล สสส.หรือคุณหนิง สสส. เพื่อลงวารสารสร้างสุขรายเดือน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  1. นายถาวร คงศรี
  2. นางนฤมล ฮะอุรา
  3. นางสาวกัญณภัส จันทร์ทอง
  4. นายสุวิทย์ หมาดอะดัม
  5. นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
การติดตามสนับสนุนของ สจรส.มอ.ลงพื้นที่ติดตามโครงการ จ.สงขลา 31 สิงหาคม 2559
31
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่จัดการความเสี่ยงโครงการ เพื่อดำเนินการตรวจเอกสาร รายงานการเงิน และกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สจรส.มอ.ได้แนะนำขั้นตอนการปิดรายงาน เนื่องจากชุมชนได้ขอยุติการดำเนินงานก่อน ได้ตรวจเอกสารทางการเงินเป็นที่เรียบร้อย
  • ได้ตรวจผลการดำเนินงาน และให้ข้อเสนอแนะการเพิ่มผลในเรื่องท่ารำมโนราห์ ข้อมูลสมุดบันทึกสุขภาพ และภาพรวมของการดำเนินงาน
  • คณะทำงานได้จัดการเอกสารส่งให้ สจรส.มอ.เพื่อนำส่ง สสส.ต่อไป เอกสารได้แก่
  1. ง.1 งวด 1
  2. ง. 2
  3. สำเนาสมุดบัญชี
  4. เอกสารจากธนาคาร ใบแจ้งชำระเงินในระบบ (Teller Payment) และใบชำระเงินของธนาคาร
  5. หน้าสุดท้าย ส.3 รายงานฉบับสมบูรณ์
  6. ส.4 แบบรายงานสรุปเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ
  7. หนังสือบันทึกข้อความโครงการจากชุมชน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานชุมชน 3 คน
  • พี่เลี้ยง 2 คน
  • สจรส.มอ. 1 คน 
ทีม สจรส.ม.อ.ทีมสนับสนุนวิชาการ และทีมสังเคราะห์ลงพื้นที่สังเคราะห์ จ.กระบี่ 29 สิงหาคม 2559
29
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง จ.กระบี่ได้ ลงพื้นที่ บ้านนาเกาะไทร หมู่ 9  ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เพื่อถอดบทเรียนชุมชนเป็นข้อมูลเพื่อแผยพร่ต่อไป 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บ้านนาเกาะไทร หมู่ 9ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่

ปี 56-57 โครงการเยาวชนคนสร้างสุข
สถานการณ์ : อดีตมีบ่อนยาเสพติด ชุมชนต้องการสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างพื้นที่สร้างสรรค์
เดิม: มีมัสยิด ศูนย์อบรมจริยธรรมคุณธรรมบ้านนาเกาะไทร
วิธีการ ชักชวนเด็กเยาวชน 15 คน เข้าเรียนอบรม 4 ชั่วโมง วันอาทิตย์ จะต้องทำให้กิจกรรมน่าสนใจ เช่น ค่ายเยาวชน เพื่อนชวนเพื่อน การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มลายู การฝึกปฏิบัติศาสนกิจอย่างมีส่วนร่วม และใช้กระบวนการกลุ่ม เวทีให้เด็กแสดงออก เข้าอบรมอาชีพ
ปี 56 กิจกรรมดังนี้
1. หลักสูตร เช้าทำกิจกรรม บ่ายเรียนศาสนา
2. เยาวชนเพิ่มขึ้นจาก 70 คน เป็น 90 คน มีตัวแทนเยาวชน เข้าประกวดทักษะวิชาการ ทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ , เด็กกล้าแสดงออก สามารถพูดภาษาอังกฤษกับนักท่องเทียว
3. ชุมชนเข้มแข็ง
4. เกิดกองทุนน้ำชา อสม.มาช่วยและมีเด็กประจำช่วยบริหารจัดการกองทุนน้ำชา 12 คน

สิ่งที่เกิดขึ้น
1. การปรับเปลี่ยนหลักสูตร และมีกิจกรรมเสริมหลักสูตร
เช้า: กิจกรรมตามความต้องการ
บ่าย: สอนศาสนา (แบบมีส่วนร่วม) ฝึกทักษะอาชีพ สอนภาษาอังกฤษมลายู กิจกรรมตามความต้องการ เกิดกองทุนร้านน้ำชา เครือข่ายเยาวชน (อสม.น้อย)

  1. กระบวนการชักชวน
  • พ่อแม่ชวนลูก ครูชวนนักเรียน เพื่อชวนเพื่อน
  • เด็ก 70 คน เพิ่มเป็น 90 คน
  1. ทักษะเด็ก
    • เครือข่ายเด็กเยาวชน (อสม.น้อย การเกษตร) /กลุ่มปั่นจักยาน / กลุ่มการจัดการขยะ
    • ตัวแทนประกวดความสามารถระดับจังหวัด ระดับประเทศ
    • กล้าแสดงออก พูดภาษาอังกฤษ
  2. เกิดกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง

    • เกิดเป็นกติกาชุมชน เช่น ไม่มีบ่อนการพนันในพื้นที่
    • เกิดการพูดคุยในร้านน้ำชา ทุกวันอาทิตย์ เป็นพื้นที่สาธารณะ
  3. กองทุนน้ำชา

    • เป็นทุนเพื่อการศึกษา / ศาสนา / ช่วยเหลือผู้ยากไร้
    • ร้านน้ำชา เป็นพื้นที่สาธารณะ มีการคุยกันเรื่องปัญหา / ทิศทางการพัฒนา
    • เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมของ อสม./ อสม.ชุมชน
  4. เกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชน วิถีอิสลาม 3 ฐาน ได้แก่ 1. การศึกษา 2. สังคมและสิ่งแวดล้อม 3. วัฒนธรรมประเพณี

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานชุมชนบ้านาเกาะไทร
  • สจรส.มอ.
  • พี่เลี้ยง 
ส่งโครงการตัวอย่าง กับ สสส.19 สิงหาคม 2559
19
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คัดเลือกโครงการตัวอย่าง ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง กระบี่ ภูเก็ต และสรุปบทคัดย่อ ส่ง สสส. 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการชุมชนน่าอยู่ที่เป็นตัวอย่างที่ดี - จ.สุราษฎร์ธานี โครงการบ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา - จ. นครศรีธรรมราช โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2) - จ.พัทลุง โครงการชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่การจัดการตนเอง (ต่อเนื่องปี 3) - จ.ตรัง โครงการพลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว
- จ.กระบี่ โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน
- จ.ภูเก็ต โครงการการจัดการท่องเที่ยวตามวิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย

รายละเอียดขออนุญาตแนบไฟล์มา 1 ไฟล์

ประชุมเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) พัฒนาการเขียนบทความชุมชนน่าอยู่ ครั้งที่ 213 สิงหาคม 2559
13
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

.

การติดตามสนับสนุนของ สจรส.มอ.ลงพื้นที่ติดตามโครงการ จ.นครศรีธรรมราช12 สิงหาคม 2559
12
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ติดตามโครงการ จ.นครศรีธรรมราช 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • อ.กำไล สมรักษ์ ได้ลงพื้นที่กับ สจรส.มอ.ไปยัง ตำบลกรุงชิง จ.นครศรีธรรมราช ได้คุยสรุปการทำงานที่ผ่านมา ดังนี้

  • ม. 6 ต.กรุงชิง ชุมชนได้ทำ "ร้านค้าคุณธรรม" คือ ตั้งของขายโดยให้หยอดเงินใส่กระปุกร้านกันเอง  โดยมีกระบวนการจำลองร้านค้าให้ชุมนได้เห็นก่อน/ มีประชุมทุกวันที่ 8 ของทุกเดือน /ชุมชนได้นำของที่ไม่ได้ใช้มาใช้ใหม่ / จุดเด่น มีวัตถุดิบในพื้นที่ไม้นำกลับมาใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่า “ไม้พังแหร่” จุดสำคัญของร้าน ได้แก่ 1. คน 3 วัยให้ความร่วมมือ (วัยรุ่น กลางคน ผู้สูงอายุ) 2. การสืบทอดภูมิปัญญา 3. คนมาเห็นประโยชน์มีกิจกรรม มีการปรับสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. ภาพรวมเด่นกระบวนการชุมชน เริ่มจากจุดเล็กๆ ขยายไปยังกลุ่มอื่นๆ 2. คนเริ่มเรียนรู้ตื่นตัว

  • ม. 2 ต.กรุงชิง ถอดสรุป ได้ว่า 1. เกิดกลุ่มผู้นำจิตอาสา 2. เรียนรู้สมุนไพรไม่ใช้น้ำยาฉีดยา สมุนไพรมีเยอะ จุดเด่นยาสมุนไพร ปีต่อไปห้องสมุดสมุนไพร

  • ม.3 ต.กรุงชิง ผลการดำเนินจุดเด่น ได้แก่

  1. มีกลุ่มผู้นำกระจายแบ่งตามโซน มีการทำหนังสือเชิญถือว่าให้เกียรติชาวบ้าน
  2. มีสโลแกน “ชมสวน ชวนคุย ลุยครัว”
  3. ปลูกกล้วยไข่ ไม่ใช้สารเคมี มีเกษตรอำเภอตรวจรับรองคุณภาพ
  4. มีการทำปุ๋ยใช้เอง ลดสารเคมี 
ลงพื้นที่ สนับสนุนการปืดงวดรายงาน จ.สตูล11 สิงหาคม 2559
11
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สร้างกำลังใจให้กับการทำงานของพื้นที่ รวมถึงการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ โดยลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทาง หรือช่วยสรุปผลการดำเนินงาน/ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แนะนำขั้นตอนการส่งเอกสารผิดโครงการ
  • สอบถามถึงปัญหา และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา
  • ตรวจรายละเอียดการเงิน ได้แนะนำกรทำเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
  • ตรวจรายละเอียดกิจกรรม ได้แนะนำการเขียนผลการดำเนินงาน
  • นัดหมายชุมชนมาตรวจรายงานอีกครั้งวันที่ 18 สิงหาคม 2559
ตรวจเอกสารการเงินงวดที่ 3 ชุมชนน่าอยู่งบปี 582 สิงหาคม 2559
2
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายงานผลดำเนินงานกับ สสส.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สจรส.มอ.ได้รับการตรวจเอกสารทางการเงินโครงการ และจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานงวดที่ 1(รายงานผลการดำเนินงานดังไฟล์แนบ)

ประชุมเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) พัฒนาการเขียนบทความชุมชนน่าอยู่30 กรกฎาคม 2559
30
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนบทความทางวิชาการ
ซึ่งเนื้อหา กรณีศึกษา (ห้องชุมชนน่าอยู่) ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง
2. เรื่องย่อ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรม และคุณค่าของโครงการ(สรุปสั้นๆให้ได้เนื้อหาทั้งเรื่อง ไม่เกิน 250 คำ โดยประมาณ) 3. ที่มา
4. วัตถุประสงค์
5. วิธีการเช่น ทำอย่างไร
6. ผลการดำเนินงานและคุณค่าของโครงการ เช่น บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ คุณค่าของโครงการที่เกิดขึ้น นวัตกรรม เป็นต้น

  1. การขยายผลสู่นโยบายสาธารณะ

  2. ข้อเสนอแนะ (สำหรับผู้สนใจการทำโครงการในครั้งต่อไป หรือ/และการต่อยอดโครงการ)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียน เรื่องเล่าเร้าพลัง โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้

  1. สถานการณ์ชุมชน

  2. ปัจจัยเอื้อ / ปัจจัยสาเหตุ

  3. หลักคิดในการดำเนินงาน

  4. วิธีการ / กระบวนการ

  5. ผล / คุณค่าจากการดำเนินงาน

  6. การขยายผล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้บทความทางวิชาการ 10 บทความ ดังนี้ กรณีศึกษา...............และบทความเรื่องเล่าเร้าพลัง ได้แก่..................

ผลลัพธ์

  • พี่เลี้ยงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาศักยภาพแนวทางการเขียนบทความเชิงวิชาการขึ้น เช่น..............
  • บทความนำไปสู่การเป็นต้นแบบโดยมีองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ เป็นรูปแบบการจัดการชุมชนพึ่งตนเอง ได้แก่..........
การลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนของ สจรส.มอ. จ.ภูเก็ต26 กรกฎาคม 2559
26
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการแสดงผลการดำเนินงาน และการบริหารเอกสารทางการเงิน และหนุนเสริมการบริหารจัดการโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการแสดงผลการดำเนินงาน และการบริหารเอกสารทางการเงิน และหนุนเสริมการบริหารจัดการโครงการ

1.การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย เป็นการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน ขณะนี้พื้นที่ได้ยกระดับเป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของจังหวัด มีเส้นทางการท่องเที่ยวเป็นฐานการท่องเที่ยว ได้แก่ ประตูเมืองภูเก็ต สะพานสารสิน วิถีชีวิตชาวมอเกล็น (บ้านแหลมหลา และบ้านหนลูกเดียว) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ป่าชายเลน) หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ การแปรรูปแมงกะพรุน

2.ชุมชนชายฝั่ง สร้างพลังเศรษฐกิจพอเพียง บ้านยามู ม.7 ตำบลป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กิจกรรมที่ดำเนินการมาแล้ว ได้แก่
- ลิเกฮูรู ไ้ด้เกิดกลุ่มเยาวชน ฝึกซ้อมการแสดงไปเปิดงานในเวทีต่างๆ เด็กได้ใช้เวลาไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และการละเล่นเพิ่มเป็นละครสะ้อนสังคมของหมู่บ้านด้วยนอกจากนี้มีกิจกรรมการจัดแข่งฟตบอล เด็กมีการฝึกซ้อมเป็นประจำและสอดแทรกหลักจริยธรรมให้เด็กได้เรียนรู้ และมีกลุ่มเยาวชนติดทีมชาติด้วย - เกิดกลไกประชุมคุยกันทุกเดือน และได้วางแผนกิจกรรมในอนาคต ได้แก่ การปลูกผักในครัวเรือน การออกกฏระเบียบการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน การพัฒนากลุ่มป่าชายเลน การอมทรัพย์ การเลี้ยงปลาในกระชัง

3.เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร ชุมชนเนินกิจกรรมได้ผล
- เกิดสภาผู้นำ 100 เปอร์เซ็นต์ ดำเนินการไปแล้ว 35 กิจกรรม ได้แก่ การอบรมการปลูกมะนาว การเลี้ยงปลาดุก การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน การทำสภาเกษตร
- การเกิดกุ่มอาชีพ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงแพะ กลุ่มเลี้ยงปลาดุก กลุ่มเลี้ยงไก่ กลุ่มปลูกมะนาว กลุ่มแม่บ้านแปรรูปนำยาล้างจาน สบู่เหลวนมแพะ
- เกิดร้านค้าชุมชน ตลาดนัดชุมชน เน้นผลผลิตจากชุมชนจากลุ่มต่างๆ ในชุมชน

4.สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง ผลการดำเนินงานเกิด - ประชุมสภาผู้นำ ชุมชนอบรมการจัดทำข้อมูล สำรวจครัวเรือน 230 ครัวเรือน วิเคราะห์ คืนข้อมูล เฝ้าระวัง/ควบคุมการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน กิจกรรมยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเกิดนวัตกรรมนำชา 5 ถ้วย เป็นการให้ชิมน้ำชาทีละถ้วยเพื่อวัดการกินหวานที่ของ

5.อนุรักษ์ เพิ่ม สร้าง ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเศรษฐกิจชุมชนอ่าวหลังแดง ได้จัดการเรื่องเอกสารในการยุติโครงการ

การลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนของ สจรส.มอ. จ.กระบี่25 กรกฎาคม 2559
25
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สร้างกำลังใจให้กับการทำงานของพื้นที่ รวมถึงการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ โดยลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทาง หรือช่วยสรุปผลการดำเนินงาน/ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แนะนำขั้นตอนการปิดรายงานกับโครงการเยาวชนร่วมใจอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านควนเกาะจันทร์

สจรส.มอ. ส่งผลลัพธ์ผลผลิตการดำเนินโครงการ ณ 25 กรกฏาคม 255924 กรกฎาคม 2559
24
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รวบรวมผลลัพธ์ ผลผลิตการดำเนินโครงการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบการบันทึกของพี่เลี้ยงและโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รวบรวมผลลัพธ์ ผลผลิตการดำเนินโครงการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบการบันทึกของพี่เลี้ยงและโครงการ ณ 25 กรกฎาคม 2559

  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • ผู้รับประโยชน์ทางตรง 14,290 คน
  • ผู้รับประโยชน์ทางอ้อม 26,198 คน การขับเคลื่อนโครงการใช้หลักการสภาผู้นำขับเคลื่อนทั้งหมด โดยมีประเด็นต่างๆ ที่ขับเคลื่อนเรื่องสุขภาวะและมีพฤติกรรมทางสุขภาพ ดังนี้
  • เศรษฐกิจชุมชน ร่วมสร้างอาชีพเสริมลดรายจ่ายสร้างรายได้ เพื่อสุขภาพของคนในครอบครัว 885คน
  • การจัดการขยะในชุมชน และลดการแพร่กระจายเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค 347 คน
  • ส่งเสริมสุขภาพทางกายส่งเสริมการออกกำลังกาย 878คน
  • การจัดการลดความเครียดจากการเกิดภัยพิบัติในชุมชน จัดสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดการเกิดภัยพิบัติในชุมชน 3,102คน
  • เยาวชนได้เรียนรู้การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด 555 คน
  • การปลูกผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ลดใช้สารเคมี และบริโภคพืชปลอดสารพิษ 883 คน
  • การจัดการทรัพยากรเพื่อสุขภาวะ เช่น ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ทะเลและชายฝั่ง 9,776 คน
  • การประมงพื้นบ้านเกิดการให้ความสำคัญกับการบริโภคสัตว์น้ำที่สะอาด ปลอดภัย ทำให้สุขภาพดี855 คน
  • การดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน 1,470 คน
  • การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในครัวเรือน 2,296 คน
  • ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้ายปลอดบุหรี่ 1,087 คน
  • กิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลงในครอบครัวอบอุ่น 912 คน
  • การใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 90 คน
  • การใช้วัฒนธรรมและการรื้อฟื้นความรู้ภูมิปัญญา เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านองค์รวม 400 คน
  • เลี้ยงผึ้งและเลี้ยงผึ้งในบ้าน ลดใช้สารเคมีเกษตร 2,412 คน
  • ลดอันตรายจากอุบัติเหตุ 1,050 คน

    1. การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กรและชุมชนในพื้นที่

2.1) เกิดกฎ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชน 88 พื้นที่ 2.2) เกิดกลไก ระบบ หรือโครงสร้างชุมชนที่พัฒนาขึ้นใหม่ 121 พื้นที่ 2.3) เกิดต้นแบบ พื้นที่เรียนรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชน 85 พื้นที่

  1. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนน้ำในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ และแกนน้ำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ

    1. เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 96 คน
    2. เกษตรอินทรีย์/ลดใช้สารเคมี จำนวน 66 คน
    3. การจัดการขยะ จำนวน 35 คน
    4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จำนวน 15 คน
    5. สร้างเสริมสุขภาพในชุมชน/ออกกำลังกาย/อาหารปลอดภัย/การจัดการภาวะน้ำหนักเกิน/บริโภคผัก ผลไม้ จำนวน 52 คน
    6. การดูแลระบบสุขภาพ/โรคเรื้อรัง จำนวน 13 คน
    7. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มสุรา/การสูบบุหรี่ จำนวน 22 คน
    8. การลดอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 3 คน
    9. สร้างเสริมครอบครัวอบอุ่น จำนวน 7 คน
    10. สร้างเสริมศักยภาพเยาวชน จำนวน 38 คน
    11. สร้างเสริมคุณค่าผู้สูงอายุเป็นสุข จำนวน 16 คน
    12. สร้างเสริมอาชีพ จำนวน 22 คน
    13. การจัดการหนี้สิน จำนวน 1 คน
    14. สร้างเสริมกลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 13 คน
    15. ชุมชนน่าอยู่/ สร้างความเข้มแข็งชุมชน/ จัดการข้อมูลชุมชน/ วางแผน/ ปฏิบัติ ระบบกลไกชุมชน สภาผู้น้ำชุมชน จำนวน 77 คน
    16. อื่นๆ จำนวน 3 คน


  2. โครงการตัวอย่างที่ปฏิบัติการที่ดี (Best practice)จำนวน 27 โครงการ

  3. นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 40 กรณี


    รายละเอียดแนบดังไฟล์สรุป

ทีม สจรส.ม.อ.ทีมสนับสนุนวิชาการ และทีมสังเคราะห์ลงพื้นที่สังเคราะห์ จ.ตรัง สงขลา นราธิวาส23 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอดบทเรียน ณ ห้อง 1405 ชั้น 14 ตึก LRC สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ กิจกรรมเด่นที่เป็นต้นแบบ เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดให้ชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอดบทเรียน ณ ห้อง 1405 ชั้น 14 ตึก LRC สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ กิจกรรมเด่นที่เป็นต้นแบบ เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดให้ชุมชน โดยมีพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยน ดังนี้

  1. ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง จ.สงขลา
  2. ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จ.นราธิวาส
  3. พลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว

*** กำลังอยู่ในช่วงการบันทึกรายละเอียดการถอดบทเรียน***

รายละเอียดการถอดบทเรียนจะรวบรวมเป็นหนังสือชุดความรู้เผยแพร่ในครั้งต่อไป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการชุมชนน่าอยู่ (3 โครงการ) จำนวน 31 คน
  • พี่เลี้ยง จ.ตรังจำนวน 1 คน
  • พี่เลี้ยง จ.สงขลาจำนวน 1 คน
  • พี่เลี้ยง จ.นราธิวาสจำนวน 1 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. และทีมสังเคาะห์ความรู้ จำนวน 3 คน
ทีมชุมชนน่าอยู่ ประชุมเชิงปฎิบัติการแนวทางการสนับสนุนโครงการชุมชนน่าอยู่ ปี 60-6223 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยน ซักถามเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดการดำเนินงาน - แลกเปลีย่นแนวคิด โครงการชุมชนน่าอยู่ และหน่วยจัดการพื้นที่ชุมชนน่าอยู่ (กลไกพี่เลี้ยง) - แนวทางการดำเนินงานโครงการพื้นที่ - แนวทางการจัดการหน่วยจัดการพื้นที่ชุมชนน่าอยู่ - กำหนดแผนดำเนินงาน ได้แก่ วันส่งข้อเสนอโครงการ วันพิจารณาโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการปี 60-62 การสนับสนุนพื้นที่ต่อเนื่อง 3 ปี เน้นสภาผู้นำชุมชน

  • เครื่องมือกระบวนการ ได้แก่ แผนชุมชนพึ่งตนเอง, การประเมินผลเน้นการเรียนรู้และพัฒนาความเข้มแข็งชุมชน 9 มิติ ได้แก่ 1.การมีส่วนร่วม 2.ผู้นำชุมชน 3.โครงสร้างองค์กร 4.ความสามารถในการประเมินปัญหา 5.การระดมทรัพยากร 6.การเชื่อมโยงกับองค์กรชุมชนอื่น 7.การตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้ (การถามว่าทำไม) 8.ความสัมพันธ์กับตัวแทนองค์กรภายนอก 9.การบริหารจัดการโครงการ  , การประเมินเพื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนา (ARE) , การขัเบคลื่อนงานเชิงประเด็น

กระบวนการทำงาน สามารถแบ่งช่วงหลัก ดังนี้
- กระบวนพัฒนาโครงการ 6 เดือน พี่เลี้ยงร่วมทำแผนชุมชนและพัฒนาข้อเสนอโครงการ ส่ง สสส.พิจารณา และอนุมัติดำเนินงาน
- ปี 1 เกิดกลไกสภาผู้นำ เกิดความสำเร็จเชิงประเด็น 1 ประเด็น
- ปี 2 เกิดกลไกสภาผู้นำ เกิดความสำเร็จเชิงประเด็นอย่างน้อย 2 ประเด็น
- ปี 3 ชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเองได้ เกิดความสำเร็จเชิงประเด็นอย่างน้อย 3 ประเด็น และยกระดับเป็นพื้นที่การเรียนรู้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย

ทีม สจรส.มอ. และทีมพี่เลี้ยงชุมชนน่าอยู่ 

ประชุมทีมจัดการงานสร้างสุข และห้องย่อย งานสร้างสุข15 กรกฎาคม 2559
15
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 15 กรกฏาคม 2559 ณ โรงแรมคริสตัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
- 13.30 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ531 คน - โครงการชุมชนน่าอยู่ปี 58 จำนวน 326 คน (183 โครงการ /2 คน) - โครงการชุมชนน่าอยู่ปี 53-57 จำนวน 40 คน (20 โครงการ /2 คน) - โครงการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องเล่ากรณีศึกษา 5 พื้นที่ ปี 56 – 58 จำนวน 25 คน พื้นที่ละ 5 คน
- นิทรรศการ 30 บูธ จำนวน 90 คน บูธละ 3 คน (คก.ปี 56-57 จำนวน 10 บูธ คก.ปี 58 จำนวน 20 บูธ) - พี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่ จำนวน 50 คน - ทีมนักแสดง / ผู้เข้าร่วมเสวนา / และวิทยากร

  • ส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมให้ทาง สจรส.ม.อ. ภายในวันที่ 15 กันยายน 2559
    โดยแจ้งชื่อมายัง ฮามีด๊ะ เอ็กซ์ นุช หากไม่ส่งรายชื่อมาในเวลาที่กำหนด
    จะไม่มีอาหารทานและไม่สามารถเบิกค่าเดินทาง ค่าที่พักได้

กรอบการนำเสนอห้องชุมชนน่าอยู่ มี 3 รูปแบบ คือ

  1. เสวนา สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ
    กรณีศึกษาบ้านทุ่งยาว โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ ที่บ้านทุ่งยาว ม.11 ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

  2. นำเสนอเรื่องเล่ากรณีศึกษา พื้นที่ต้นแบบชุมชนน่าอยู่
    ขยับสู่การขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ จำนวน 5 พื้นที่ ใน 5 ประเด็น
    คือ 1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) การจัดการขยะ 3) การจัดการทรัพยารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    4) เด็กและเยาวชนและ 5) ระบบสุขภาพและอาหารปลอดภัย

  3. จัดกิจกรรมบันเทิง สันทนาการภายในห้อง เพื่อสร้างความสนุกสนานและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน

4.กิจกรรมนิทรรศการ shopping พาชมบูธจำนวน 30 บูธ


การบริหารจัดการห้องย่อย

  1. ผู้จัดการห้องย่อย
    • อภิวัฒน์ ไชยเดช

  2. เอกสารการเงินห้องย่อย
    • สุดา ไพศาล และ กัลยา เอี่ยวสกุล (รับผิดชอบหลัก) • พี่เลี้ยงรับผิดชอบแต่ละจังหวัด o จ.กระบี่ ภูเก็ต : จารุวรรณ วงษ์เวช o จ.ตรัง พัทลุง : จุรีย์ หนูผุด และ เบญจวรรณ เพ็งหนู o จ.สตูล : อนัญญา แซะหลี o จ.นครศรีธรรมราช : มนูญ พลายชุมมติกา มาลารัตน์ และ ปาลีรัตน์ แก้วประดิษฐ์ o จ.สุราษฎร์ธานี ชุมพร : กัญณภัส จันทร์ทอง o จ.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส : นิมลต์ หะยีนิมะ และ เพียงกานต์ เด่นดารา o จ.สงขลา : ใบเฟิร์น สุวรรณมณี

  3. ดูแลวิทยากร นักแสดง และผู้เข้าร่วมเสวนา • สมใจ ด้วงพิบูลย์ • เบญจา รัตนมณี • นภาภรณ์ แก้วเหมือน

  4. จัดการดูแลอาหารผู้เข้าร่วมประชุม • สมใจ ด้วงพิบูลย์/ เบญจา รัตนมณี /นภาภรณ์ แก้วเหมือน/ ทีม สจรส.ม.อ.(นุ้ยและทราย)

  5. สรุปและบันทึกข้อมูลประเด็นห้องย่อย • ดร.วิสาขะ อนันธวัช / ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์ / สิทธิพรรณ เรือนจันทร์

  6. บันทึกภาพถ่าย • อภิวัฒน์ ไชยเดช

  7. ประสานผู้เข้าร่วมเสวนา และทีมนักแสดง • พี่เลี้ยงที่รับผิดชอบแต่ละประเด็นประสานและส่งรายชื่อมาให้ สจรส.ม.อ. • สจรส.ม.อ.ทำหนังสือเชิญผู้ร่วมเสวนา

ร่างกำหนดการห้องชุมชนน่าอยู่ดังไฟล์แนบ

ประชุมทีม สจรส.มอ.วางแผนการดำเนินงาน11 กรกฎาคม 2559
11
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมทีม สจรส.มอ.วางแผนการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • 15 กค. 59 อ.พงค์เทพ คุยแผนกับ สสส. สน. 6 ลักษณะงานอนาคต สนับสนุนพื้นที่ต่อเนื่อง 3 ปี

  • วางแผนงานชุมชนน่าอยู่ปี 58 ปรับแผนการลงพื้นที่ปิดงวดให้มากขึ้น ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช จ.ชุมพร

  • ทบทวนแผนงานที่จะดำเนินการต่อ หนังสือติดตามคู่มือวิชาการ / หนังสือเว็บไซต์ / หนังสือถอดบทเรียน (พี่ถนอม 3 เล่ม) CD ได้แก่ ซีดีชุมชนน่าอยู่ (พี่แดง) และ ซีดีการใช้งานเว็บไซต์หนังสือพี่ถนอม ควรเสร็จก่อน วันที่ 15 กันยายน 2559

    • เตรียมประชุมงานสร้างสุข ได้แก่
  1. ห้องชุมชนน่าอยู่ วันที่ 4 ตค. 59 เวลา 9.00-17.00 น.
  2. ลานปัญญา/ลานสร้างสุข วันที่ 3 , 4 , 5 ตค.59
  3. เรื่องเร้าพลัง พี่ถนอม ทั้งวันประมาณ 24 เรื่อง
  4. ระบบการลงทะเบียน การเงิน
  5. ระบบอาหาร
  6. เอกสาร
  • ห้องชุมชนน่าอยู่ ห้องชุมชนน่าอยู่ วันที่ 4 ตค. 59 เวลา 9.00-17.00 น. พี่เบิร์ดรับผิดชอบหลักโจทย์ยกระดับพื้นที่สู่การขยายผลในเชิงนโยบาย และเชิงพื้นที่
    กรณีศึกษาบ้านทุ่งยาว และอีก 5 เรื่อง รวมทั้งหมด 6 เรื่อง

  • ลานปัญญา/ลานสร้างสุข ลานปัญญา/ลานสร้างสุข
    วันที่ 3 , 4 , 5 ตค.59 พี่หนุ่ยรับผิดชอบหลัก ดีไซน์ พี่อานนท์ ฮาริสสจรส. มี เอ๋ เอ็กซ์ ไร

  • ห้องเรื่องเล่าเร้าพลังพี่กำไล พี่ธิดา พี่สมนึก รับผิดชอบหลัก(แต่มีงานรับผิดชอบในห้องชุมชนน่าอยู่ ) เรื่องเร้าพลัง มี พี่ถนอม พี่แมน เป็นพิธีกรกระบวนการเรื่องเล่าแลกเปลี่ยนประมาณ ทั้งวันประมาณ 24 เรื่อง
    อาจเล่าในเวทีพี่อานนท์

  • ระบบการลงทะเบียน การเงินพี่สุดา พี่จุรีย์ พี่ยงยุทธ์ รับผิดชอบหลัก
    ใช้ระบบการลงทะเบียน น้องไรท์
    รายชื่อส่งรวบรวมวันที่ 15 กันยายน 2559
    วันงาน ลงทะเบียนวันที่ 3 ตุลาคม 2559
    เอารายชื่อให้เครือข่ายวันที่ 3 ตุลาคม 2559
    การเบิกจ่ายเงิน ค่าโรงแรม ค่าเดินทาง วันที่ 3 ตค. 59 ให้ทุกคนเขียนใบรายงานการเดินทาง

  • อาหาร พี่แมว พี่สมใจ ป้าเบญ รับผิดชอบหลัก สจรส. มีพี่นุ้ย น้องทราย ไม่มีอาหารว่าง
    มื้อกลางวันเลี้ยงวันที่ 3,4,5
    มื้อเย็น เลี้ยงวันที่ 3,4 ติดต่อหอประชุม เปิดขายอาหาร

  • ระบบเอกสาร พี่จ้ะ สจรส.มอ.รับผิดชอบหลัก
    เอกสารมีดังนี้
    หนังสือถอดบทเรียน 3 เล่ม พี่ถนอม
    เอกสารเฉพาะประเด็น แต่ละห้อง ส่งต้นฉบับใน สจรส.มอ.ก่อน
    สูจิบัตรงาน / แผนผังงาน
    สสส. / สปสช./สช. มีเอกสารแจกหรือไม่สอบถามอีกครั้ง
    เอกสารการประเมิน

  • การประเมินผลอ.พงค์เทพ เป็นทีมประเมิน นักศึกษา จับประเด็นถอดบทเรียน ส่งข้อมูลให้ อ.พงค์เทพ
    พี่อานนท์ทำสื่อสรุปงาน และสรุปเป็นรูปแบบสื่อวีดิทัศน์

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ทีมงาน สจรส.มอ. 

ทีม สจรส.ม.อ.ทีมสนับสนุนวิชาการ และทีมสังเคราะห์ลงพื้นที่สังเคราะห์ จ.ปัตตานี10 กรกฎาคม 2559
10
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปภาพรวมชุดความรู้และนวัตกรรม และสกัดบทเรียน model การสร้างเสริมสุขภาพจากโครงการและกระบวนการปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายในโครงการ/คุณค่าโครงการ จำนวน 45 พื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการ คณะทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ กิจกรรมเด่นที่เป็นต้นแบบ เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดให้ชุมชนอื่นต่อไป รายชื่อโครงการร่วมแลกเปลี่ยน ดังนี้

  1. สร้างบ้านสร้างป่าบูโดให้น่าอยู่ ม.7 บ้านเจาะกะพ้อใน
  2. กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก

*** กำลังอยู่ในช่วงการบันทึกรายละเอียดการถอดบทเรียน***

รายละเอียดการถอดบทเรียนจะรวบรวมเป็นหนังสือชุดความรู้เผยแพร่ในครั้งต่อไป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการชุมชนน่าอยู่ (2 โครงการ) จำนวน 4 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. และทีมสังเคาะห์ความรู้ จำนวน 2 คน
การสังเคราะห์ความรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จ.สตูล30 มิถุนายน 2559
30
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ถอดบทเรียน ณ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค อ.ละงู จ.สตูล โดยผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ กิจกรรมเด่นที่เป็นต้นแบบ เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดให้ชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ลงพื้นที่ถอดบทเรียน ณ อิงธารารีสอร์ท อ.ท่าแพ จ.สตูล โดยผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ กิจกรรมเด่นที่เป็นต้นแบบ เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดให้ชุมชนอื่นต่อไป รายชื่อโครงการร่วมแลกเปลี่ยน ดังนี้

  1. โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)
  2. หมู่บ้านยุคใหม่ใส่ใจสุขภาวะ หมู่ 7 บ้านนาข่าใต้
  3. บ้านนาข่าเหนือ หมู่ที่ 4 ร่วมใจจัดการขยะเพื่อความยั่งยืน

*** กำลังอยู่ในช่วงการบันทึกรายละเอียดการถอดบทเรียน***

รายละเอียดการถอดบทเรียนจะรวบรวมเป็นหนังสือชุดความรู้เผยแพร่ในครั้งต่อไป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 11 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการชุมชนน่าอยู่ (3 โครงการ) จำนวน 6 คน
  • พี่เลี้ยง จ.สตูล จำนวน 1 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. และทีมสังเคาะห์ความรู้ จำนวน 3 คน
การลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนของ สจรส.มอ. จ.สตูล29 มิถุนายน 2559
29
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สร้างกำลังใจให้กับการทำงานของพื้นที่ รวมถึงการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ โดยลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทาง หรือช่วยสรุปผลการดำเนินงาน/ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เยี่ยมเยี่ยนโครงการผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน ณ บ้านผัง 16,17,19,20 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้รับผิดชอบโครงการ และเยาวขนได้แนะนำชุมชน เล่าถึงกิจกรรมที่ได้จัดไปแล้ว ทีม สจรส.มอ.ได้แนะนำการบันทึกข้อมูล และการจัดการเอกสารการเงินในพื้นที่ ซึ่งโครงการได้ผ่านการเรียนรู้อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนรายงานและการเงิน มีความเข้าใจมากขึ้น สามารถนำมาปฏิบัติได้ตนเอง จากนั้นโครงการได้นำชมโรงเพาะเห็ดชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สร้างการรวมกลุ่มเยาวชนมีอาชีพเสริม โดยการนำทะลายปาล์มที่ไม่ใช้แล้วมาทำการเพาะเห็นในโรงเรือน และได้เล่าเรื่องปัญหาปีนี้พื้นที่จะแห้งแล้งมาก น้ำใช้ในครัวเรือนแห้ง ทางชุมชนแก้ปัญหาโดยการทำประปาหมู่บ้าน จากนั้นทาง สจรส.มอ.ได้แนะนำวางแผนปฏิทินกิจกรรมในอนาคตต่อไป
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 8 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการ 6 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. 2 คน
การสังเคราะห์ความรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จ.สตูล29 มิถุนายน 2559
29
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ถอดบทเรียน ณ อิงธารารีสอร์ท อ.ท่าแพ จ.สตูล โดยผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ กิจกรรมเด่นที่เป็นต้นแบบ เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดให้ชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ลงพื้นที่ถอดบทเรียน ณ อิงธารารีสอร์ท อ.ท่าแพ จ.สตูล โดยผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ กิจกรรมเด่นที่เป็นต้นแบบ เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดให้ชุมชนอื่นต่อไป รายชื่อโครงการร่วมแลกเปลี่ยน ดังนี้

  1. บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง
  3. ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ
  4. เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน
  5. คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

*** กำลังอยู่ในช่วงการบันทึกรายละเอียดการถอดบทเรียน***

รายละเอียดการถอดบทเรียนจะรวบรวมเป็นหนังสือชุดความรู้เผยแพร่ในครั้งต่อไป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการชุมชนน่าอยู่ (5 โครงการ) จำนวน 10 คน
  • พี่เลี้ยง จ.สตูล จำนวน 2 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. และทีมสังเคาะห์ความรู้ จำนวน 3 คน
การประชุมคณะทำงาน (ทีมวิชาการ และทีมสนับสนุนวิชาการ)25 มิถุนายน 2559
25
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การคัดเลือกบทความวิชาการ (เรื่องเล่าเร้าพลังนำเสนอห้องย่อยชุมชนน่าอยู่)

  2. งานสร้างสุข

- สรุปการประชุมห้องย่อยชุมชนน่าอยู่ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2559 ณ หนานมดแดง จ.พัทลุง
- ภาพรวมสรุปรูปแบบงานสร้างสุข เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ณ โรงแรมคริสตรัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา - การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่
1. การลงทะเบียนเครือข่ายชุมชนน่าอยู่ (วันที่ 3 ตุลาคม 2559 จำนวน 530 คน)
2. การจัดการเอกสารการเงิน (โครงการเก่า) 3. ผู้จัดการห้องย่อย 4. นิทรรศการ 30 บู๊ท (งบประมาณเบิกตามจริงไม่เกิน 3,000 บาท)
5. การจัดการอาหาร (เช่น ระบบคูปองจะแยกในห้องย่อย หรือการจัดการอย่างไร) 6. การจดบันทึก สรุปข้อมูล การประเมินผล
- ผู้เข้าร่วมงานเครือข่ายชุมชนน่าอยู่


3. การหักภาษี ณ ที่จ่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ออกแบบงานสร้างสุขชุมชนน่าอยู่

  • พิธีเปิดห้องชุมชนน่าอยู่ โครงการจากชุมชน หนังคน โขนคน เชิดพระอินศวร

  • เรื่องเล่าเร้าพลัง ปีนี้ทำอย่างไรให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วย “การขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่การสร้างนโยบายระดับชุมชน” ได้แก่ บ้านทุ่งยาวทำห้วยการจัดการทรัพยากร นำ ธกส. ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน นายก อบต. เกษตรจังหวัด มาร่วมแลกเปลี่ยนงาน

  • เสนอการคัดเลือกโครงการที่จะนำมาเสนอในเชิงรูปแบบกึ่งวิชาการ ให้พี่เลี้ยงและโครงการเขียนโครงการส่ง มาที่ สจรส. เงื่อนไข ดังนี้

  1. เรื่องเล่าไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ
  2. เรื่องส่งทางเมลล์ ก่อนวันที่ 10 กรกฎาคม 2559
  3. การเล่าที่หลากหลายเปิดฟรี ดีเด่นอย่างไร มีหัวข้อการส่งบทความ ดังนี้ (1) ชื่อโครงการ(2) เรื่องย่อ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรม และคุณค่าของโครงการ (3) ที่มา (4) วัตถุประสงค์(5) วิธีการเช่น ทำอย่างไร(6) ผลการดำเนินงานและคุณค่าของโครงการ เช่น บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ คุณค่าของโครงการที่เกิดขึ้น นวัตกรรม เป็นต้น (7) การขยายผลสู่นโยบายสาธารณะ (8) ข้อเสนอแนะ (สำหรับผู้สนใจการทำโครงการในครั้งต่อไป หรือ/และการต่อยอดโครงการ)

  4. เชิญพื้นที่มาร่วมประชุมกับ สจรส.มอ.ด้วยเป็นวิชาการกลุ่มเล็ก

  • เบื้องต้น มีผู้สนใจเสนอบทความเรื่องเล่าเร้าพลัง ได้แก่
  1. การท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย จ.ภูเก็ต (พี่เจี๊ยบ)
  2. สร้างบ้านสร้างป่าเขาบูโด จ.ปัตตานี (พี่ยา)
  3. หุ่นกระบอกออกเดินที่บ้านสวนเทศ จ.สตูล (พี่หนุ่ย)
  4. ครอบครัวอบอุ่นด้วยบัญชีครัเรือน จ.กระบี่ (พี่ทวีชัย)
  5. แหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง จ.ชุมพร (ป้าเบญ)
  • นิทรรศการ ปีนี้ชุมชนน่าอยู่จัดนิทรรศการจำนวน 30 บูท คือ โครงการ ปี 58 จำนวน 20 บูท และ โครงการปี 56-57 จำนวน 10 บูท เกณฑ์การจัดบูทชุมชนน่าอยู่ บูทควรมีป้ายชื่อโครงการ ป้ายไวนิล รายละเอียดเอกสารแจก ขายของได้จากผลผลิตโครงการตกแต่งบูทให้เสร็จก่อนเปิดงาน

  • การลงทะเบียน (พี่ยา พี่สุดา รับลงทะเบียน) แลกเปลี่ยนประเด็นการพูดคุย ดังนี้ จะมีระบบเว็บไซต์มาช่วย ระบบอิเล็กโทรนิค
    / กระเป๋าควรมีเกรดเดียว / ลงทะเบียนภายใน 15 กันยายน 59 / แบ่งผู้รับผิดชอบแต่ละเครือข่าย / รายละเอียดการลงทะเบียนจะพิมพ์เป็นแบบฟอร์ม/ แต่ละพื้นที่แจกรายชื่อมาก่อน / ตัวอย่างการลงทะเบียน มีบัตรอิเล็กโทรนิคทั้งอาหารและลงทะเบียน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 41 คน จากที่ตั้งไว้ 55 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม)  36 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. 4 คน
  • ทีมวิขาการ  1 คน
การลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนของ สจรส.มอ. จ.พัทลุง23 มิถุนายน 2559
23
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สร้างกำลังใจให้กับการทำงานของพื้นที่ รวมถึงการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ โดยลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทาง หรือช่วยสรุปผลการดำเนินงาน/ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานได้เยี่ยมเยี่ยน บ้านปากหวะ หมู่ที่ 10 ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ ฟื้นป่า รักษ์เคย ที่บ้านปากหวะ หมู่.10 ต.ลำปำ โครงการได้ดำเนินการจัดการทรัยากรในพื้นที่ ทาง สจรส.มอ.ได้แนะนำการเขียนผลการดำเนินงาน และการจัดการเอกสารการเงิน และวางแผนการบริหารจัดการโครงการในงวดที่ 2 ต่อไป
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 11 คน จากที่ตั้งไว้ 11 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการ 7 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. 4 คน
การสังเคราะห์ความรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จ.พัทลุง23 มิถุนายน 2559
23
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ถอดบทเรียน ณ เทศบาลตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมี ชุมชนบ้านห้วยไม้ไผ่, บ้านหนองเพ็ง บ้านฝาละมี บ้านคลองลำหลิง ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ กิจกรรมเด่นที่เป็นต้นแบบ เพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ถ่ายทอดให้ชุมชนอื่นต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการสร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่ ที่อยู่ หมู่ 12 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง โครงการได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินอาหารที่ไม่ปลอดภัยและนำไปสู่การกินที่ปลอดภัย บ้านห้วยไม้ไผ่มีลักษณะหมู่บ้านล้อมรอบด้วยน้ำ ชุมชนสามารถเดินต่อด้วยตนเองโดยประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ สสส.เป็นฐานที่ให้เกิดการรวมกลุ่มกันในชุมชน ชุมชนมีคณะทำงานของ อสม.จิตอาสาเป็นหลัก

  • โครงการร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง ที่อยู่ หมู่ที่4 ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นโครงการที่มีการจัดการข้อมูลระบบอาหารปลอดภัยของชุมชน พัฒนาโรงเรียนบ้านท่าแคเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยเป็นอาหารกลางวันเด็กในโรงเรียน มีสื่อมโนราห์เด็กและเยาวชนเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอาหารปลอดภัยเป็นสื่อเฝ้าระวังขยายผล งานด้านสุขภาพของชุมชน
    เมื่อปี 2556 ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลทำเรื่องผักปลอดสารพิษ ลดความเสี่ยงจากสารเคมี และปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน จำนวน 25 ครัวเรือน ผักที่ปลูก ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง ผักกาด และมะเขือ ผลการตรวจเลือดก่อน-หลังกิจกรรมปัญหาเสี่ยงต่อโรคลดลง 10 เปอร์เซ็นต์
    ปี 2557 ทำปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ ทำบัญชีครัวเรือน กำหนดกติกา ออกกำลังกายและปลูกพืช อสม.เป็นการบริหารโครงการ ตั้งโรงปุ๋ยชีวภาพร่วมกับโรงเรียน มีระบบการเรียนการสอนทำหลักสูตรของโรงเรียน ได้แก่ หลักสูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์ หลักสูตรการปลูกผัก มีตลาดรองรับ ปลายทางจะเปิดตลาดทุกอาทิตย์ และมีเครือข่าย รพ.สต.มาหนุนเสริม

  • โครงการชุมชนฝาละมีเข้มแข้งครอบครัวอบอุ่นด้วยวิถีพอเพียง ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง เป็นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง ปฏิบัติการสร้างเกษตรตามเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน พัฒนาศักยภาพผู้นำ เกิดสภาผู้นำที่เข้มแข็งในชุมชน

  • โครงการเกษตรสีเขียวบ้านคลองลำหลิง ที่อยู่ บ้านป่าพ้อหมู่ที่ 13 ตำบลตำนานอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง เป็นโครงการทำเกษตรอินทรีย์ ที่ทำปุ๋ยอินทรีย์ และสารสกัดธรรมชาติไล่แมลงทดแทนได้เอง ไม่ใช้เคมี 100 % เก็บลูกเมล็ดพันธุ์ใช้เอง และปลูกผักกินเองในรอบบ้าน

ข้อค้นพบ
- ปัจจัยความสำเร็จ โครงการเกิดจาก
1. ผู้นำมีความกระตือรือร้น 2. การสนับสนุนทุน สสส.มลทำให้เกิดการรวมกลุ่มขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เกิดสภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ 3. คนรุ่นเก่าได้ทำเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ได้ปฏิบัติตามในสิ่งดีๆ
4. มีทุนทรัพยากรชุมชนหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรมในชุมชน เช่น มีคลองผ่านชุมชนซึ่งชุมชนได้จัดกิจกรรมล่องแก่งเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
5. ชุมชนมีภาคีเครือข่ายมาหนุนเสริม เช่น รพ.สต. เทศบาล
6. ชุมชนได้รับรู้สถานการณ์ข้อมูล เช่น รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อโรค ทำให้เกิดการกระตื้อรื้อร้นในการร่วมกิจกรรม

รายละเอียดการถอดบทเรียนจะรวบรวมเป็นหนังสือชุดความรู้เผยแพร่ในครั้งต่อไป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 18 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการชุมชนน่าอยู่ (4 โครงการ) จำนวน 10 คน
  • พี่เลี้ยง จ.พัทลุง จำนวน 5 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. และทีมสังเคาะห์ความรู้ จำนวน 5 คน
การลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนของ สจรส.มอ. จ.นครศรีธรรมราช18 มิถุนายน 2559
18
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สร้างกำลังใจให้กับการทำงานของพื้นที่ รวมถึงการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ โดยลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทาง หรือช่วยสรุปผลการดำเนินงาน/ตรวจสอบเอกสารทางการเงินของพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บ้านปลักจอก

  1. กิจกรรมตรวจหาสารพิษในเลือด
  2. กิจกรรมปลูกผัก
  3. กิจกรรมแบ่งกลุ่มปลูกผัก โดยสมาชิก 6 คน จำนวน 10 กลุ่ม คิดเป็นสมาชิก 60 คน แต่ละคนจะไปปลูกข้างบ้าน โดยมีหัวหน้ากลุ่มทำการตรวจ ผักที่ปลูกมีคะน้า ผักบุ้ง ถั่ว มีการส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ ตามชนิดที่ต้องการปลูก ไม่ได้มีการกำหนดว่าแต่ละบ้านจะปลูกกี่ชนิดก็ได้
  4. กิจกรรมจัดทำบัญชีครัวเรือน มีการทำแล้ว 1 คน เริ่มทำมาแล้ว 1 เดือน โดยได้แจกจ่ายให้ทีมนำไปทำ แต่ไม่ได้ติดตาม ซึ่งมีอาจารย์มาอบรมให้แล้ว โดย 1 คน ที่ทำนั้นจะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ยังไม่ได้นำมาสรุป
  5. กิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพ ทำผังรวมกันในหมู่บ้าน โดยปกติชาวบ้านจะใช้ปุ๋ยขี้วัว ขี้ไก่ แกลบเผา ในการนำมาทำปุ๋ยใส่ผัก การใส่ปุ๋ยแต่ละชนิดจะอยู่ที่ประเภทของผัก ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีการใส่ข้อมูลในเว็บไซต์

- ชี้วัวหากได้เผาไฟจะดีที่สุด จะช่วยทำลายวัชพืช ขี้วัวที่ดีต้องเป็นขี้วัวที่หมักกองอยู่ในคอก และขี้วัวที่เผายังช่วยทำลายหนอนและเชื้อราให้ตาย

บ้านในหัน
หลังปิดงวดที่ 1 ทำกิจกรรมไปแล้ว 2 กิจกรรม
1. ทำบัญชีครัวเรือน นัดตรวจทุก 3 เดือน แจกไป 80 ครัวเรือน ส่วนใหญ่กรรมการทุกคนจะทำแต่ชาวบ้านมักไม่ค่อยทำเพราะบอกว่าทำไม่ถูก 2. สำรวจปัจจัยเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมี ส่วนใหญ่ผู้สำรวจเป็นโรคเรื้อรัง อาหารส่วนใหญ่ปรุงเอง 3. ตรวจเลือดโดย รพ.สต. มีผู้ตรวจ 82 คน ขอตัวแทนครัวเรือน ผลการตรวจ ปกติ 2คน ปลอดภัย 8 คน เสี่ยง 43 คน ไม่ปลอดภัย 30 คน / เป็นเด็ก(อายุ 9-12 ปี) 21 คน (เสี่ยง 16 คน ปลอดภัย 4 คน ไม่ปลอดภัย 1 คน) กิจกรรมต่อไป
1. ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษตามบ้านเรือน
2. ส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรียน จากเด็กนักเรียน 90 กว่าคน ซึ่งครูในโรงเรียนจะจัดทำแปลงสนับสนุนปลูกผักในโรงเรียน และได้ปรับอาหารกลางวัน เป็นการซึ่งผักในหมู่บ้าน แต่ไม่เพียงพอจึงต้องซื้อจากตลาด
3. กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง
ส่งที่ สจรส.ม.อ. ต้องปรับปรุง
- การเขียนใบหักภาษี กรณีค่าใช้จ่ายที่ต้องหักภาษี
การตรวจสอบเอกสารการเงิน
- ฝ่ายการเงินสามารถทำเอกสารการเงินได้ถูกต้องดีขึ้นกว่าการทำการเงินงวด 1 ที่ผ่านมา

บ้านท่าขึ้น
กิจกรรมทำปุ๋ยชีวภาพ - สูตรในการทำปุ๋ยอยู่อายุและชนิดของพืช หากเป็นพืชหนักอายุมากต้องใช้มูลสัตว์เยอะ
- มีสมาชิกร่วมทำปุ๋ยจำนวน 60 คน แบ่งแจกจ่ายนำไปปลูกแต่ละบ้านและมีผู้สนใจอื่นเข้ามาขอในกลุ่มด้วย ทั้งปุ๋ยและเมล็ดพืช
- ผักที่ปลูกและเห็นผลมีพริก โหระพา ผักกาด
กิจกรรมต่อไป
- ส่งเสริมการเพาะพันธุ์พืชอายุสั้น
ข้อแนะนำ
- เพิ่มจำนวนคนที่มาขอปุ๋ยและผัก และจำนวนสมาชิกที่เพิ่มเข้ามาและมีรายชื่อของคนที่เข้ามา
- เมล็ดพันธุ์ที่มีการเก็บเพื่อทำเป็นพันธุกรรมต่อไป
การตรวจเอกสารการเงิน
- มีปรับแก้เอกสารเพิ่มเติม

บ้านในโคร๊ะ กิจกรรมทำปุ๋ยหมัก
- กลุ่มเป้าหมาย 80 คน แบ่งออกเป็น 4 โซน ปลูกผักปลอดสารพิษเป็นผักสวนครัว มีการถามว่าแต่ละโซนจะต้องการปลูกผักอะไร ผักที่ปลูกได้แก่ บวบ ดีปลี ถั่ว แตงกวา

กิจกรรมเจาะเลือดหาเคมี ครั้งที่ 2

กิจกรรมปลูกผัก
- มีบ้านต้นแบบ มีการกระตุ้นให้ปลูกผัก ทำให้เกิดความตระหนัก มีการลงแขกและทำแปลงสาธิต และเกิดแปลงสาธิต

พฤติกรรมที่เปลี่ยน
- มีการปลูกผักกันเอง คนที่ซื้อผักในตลาดมีการลดการซื้อ - มีการนำผักที่ปลูกในแปลงมาใช้ในวันกินผักโลก

ข้อเสนอแนะ
- เพิ่มเติมข้อมูลในรายงาน ประเภทของผักที่นำมาใช้จัดงาน

การตรวจเอกสารการเงิน
- ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2559 เริ่มหักภาษี 1 เปอร์เซ็นต์
การทำบัญชีครัวเรือน
- มีสมาชิกเข้าร่วมเรียนรู้ 80 คน ทางทีมจะติดตามผลการทำบัญชีในเดือนหน้า (กรกฎาคม 2559)


ข้อสังเกต ค้นพบ
- เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการโครงการ ระหว่าง ชุมชน พี่เลี้ยง และ สจรส.ม.อ. ได้แนะนำแนวทางการจัดทำโครงการให้ตอบผลลัพธ์และความสำเร็จของโครงการ และจุดเด่นที่มองเห็นในชุมชน เช่น ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการ ตัวอย่างเช่น ชุมชนปลักจอก พบว่าขี้วัวหากได้เผาไฟจะดีที่สุด จะช่วยทำลายวัชพืช ขี้วัวที่ดีต้องเป็นขี้วัวที่หมักกองอยู่ในคอก และขี้วัวที่เผายังช่วยทำลายหนอนและเชื้อราให้ตาย เป็นต้น - เกิดการกระตุ้นชุมชนมีพลังกำลังใจในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- เอกสารการเงินโครงการมีรู้ความเข้าใจเอกสารการเงินมากขึ้น สามารถแก้ไขตามคำแนะนำจากการตรวจงวดที่แล้ว - เกิดการวางระบบการเกณฑ์ตัดสินใจการทำกิจกรรมต่อในอนาคตของโครงการ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการชุมชนน่าอยู่ 4 โครงการ จำนวน 20 คน
  • พี่เลี้ยงโครงการ 1 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. 4 คน
การสังเคราะห์ความรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จ.นครศรีธรรมราช18 มิถุนายน 2559
18
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คุณถนอม ขุนเพ็ชร ได้สัมภาษณ์โครงการ กิจกรรมเด่น เรื่องเล่าเร้าพลังในชุมชน ชุดความรู้และนวัตกรรม และสกัดบทเรียน model การสร้างเสริมสุขภาพจากโครงการและกระบวนการปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การสังเคราะห์ความรู้และถอดบทเรียน
วันที่ 18-20 มิถุนายน 2559 ณ ร้าน The bell อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

  • มีโครงการเข้าร่วมสัมภาษณ์ถอดบทเรียนจำนวน 13 โครงการ ประเด็นเด่นที่สามารถสังเคราะห์ 3 ประเด็นได้แก่ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 โครงการ เรื่องศิลปวัฒนธรรม 2 โครงการ เรื่องภัยพิบัติ 1 โครงการ

  • วันที่ 18 มิถุนายน 2559 สัมภาษณ์โครงการจำนวน 5 โครงการ ได้แก่

  1. ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล ประเด็นประเพณีกวนข้าวยาโค และประเพณีกวนข้าวอาซูรอ
  2. คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2) ประเด็นสร้างคลังอาหารด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
  3. สองข้างทางสร้างรายได้ บ้านตีนคลอง ประเด็นการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
  4. นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร ประเด็นเกษตรทฤษฎีใหม่
  5. คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์ ประเด็นลดและเลิกการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
  • วันที่ 19 มิถุนายน 2559 สัมภาษณ์โครงการจำนวน 5 โครงการ ได้แก่
  1. ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ ประเด็นลดการใช้สารเคมีโดยใช้เกษตรอินทรีย์
  2. บ้านไทรทองชีวิตปลอดสารพิษวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นส่งเสริมเกษตรอินทรีย์โดยการปลูกผักปลอดสารพิษ
  3. ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง ) ประเด็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชน
  4. กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง ประเด็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย
  5. บ้านห้วยทรายขาว ชีวิตดี มีเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นการเพิ่มรายได้มีการออม และลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
  6. แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม ประเด็นการจัดการภัยพิบัติ
  • วันที่ 20 มิถุนายน 2559 สัมภาษณ์โครงการจำนวน 5 โครงการ ได้แก่
  1. บ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง ประเด็น การทำการเกษตรอินทรีย์ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค
  2. ปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2) ประเด็นวัฒนธรรมปันตง (คล้ายๆลิเก แต่ดำเนินตามวิถีภาคใต้)


    ข้อสังเกต ค้นพบ
  • การสัมภาษณ์โครงการทำให้ชุมชนมีความภาคภูมิใจในการทำงานชุมชนต่อไป
  • เกิดองค์ความรู้ ประสบการณ์ บทเรียน ปัจจัยความสำเร็จ ข้อพึงระวัง นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เผยแพร่ต่อไป
  • เกิดพื้นที่ต้นแบบ สามารถนำมาสังเคราะห์โมเดลการเรียนรู้ หลักสูตรการเรียนรู้ต่อไปได้ในอนาคต
  • สังเกตเห็นได้ว่าโครงการส่วนใหญ่เน้นเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นสังคมคนใต้ที่มีภาคการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ การดำรงวิถีพึงพิงอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินวิถีเรียบง่ายตามวิถีเกษตรกรรม ทุกคนสามารถทำได้ ซึ่งในการพัฒนาโครงการ หรือการพัฒนาอื่นๆ ในพื้นที่ในอนาคตควรให้ความสำคัญกับผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ นั่นคือ ชุมชนท้องถิ่น
  • สภาผู้นำที่มีการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในพื้นที่ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น พื้นที่บ้านสี่แยกวัดโหนด พัฒนาหลักสูตรปันตง (การละเล่นวิถีภาคใต้) ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมที่กำลังสูญหายไปยังชุมชน การนำเนินการได้สร้างการมีส่วนร่วมกับครูภูมิปัญญาชุมชน ครูในสถานศึกษาโรงเรียน และชุมชน ขับเคลื่อนหลักสูตรบรรจุในโรงเรียนเพื่อให้ลูกหลานในชุมชนได้สืบทอดอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนต่อไปอย่างยั่งยืนและ สร้างกลุ่มเยาวชนห่างไกลอบายมุข ทำเรื่องดีๆ ในชุมชนต่อไปได้
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 46 คน จากที่ตั้งไว้ 44 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการชุมชนน่าอยู่ (13 โครงการ) จำนวน 29 คน
  • พี่เลี้ยง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 12 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. และทีมสังเคาะห์ความรู้ จำนวน 5 คน
ประชุมเตรียมงานสร้างสุข ออกแบบห้องย่อย16 มิถุนายน 2559
16
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ - 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน ฝ่ายจัดการ - 09.30-10.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ สรุปผลการประชุมที่ผ่านมา สถานการณ์ขับเคลื่อนสานงาน เสริมพลังในแต่ละประเด็น  มั่นคงอาหาร  มั่นคงของมนุษย์  มั่นคงทางสุขภาพ  มั่นคงทางทรัพยากรฯ ผู้แทนประเด็น - 10.30-11.30 น. แลกเปลี่ยนเป้าหมายและแนวทางร่วมในการสานงานเสริมพลังเพื่อรับ-รุก และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมภาคใต้ และแนวทางวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายให้เป็นจริงได้อย่างไร
- 11.00-12.20 น. ภารกิจสนับสนุนของ ศูนย์สนับสนุนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) การสื่อสารสาธารณะในจังหวะหนุนเสริมพลเมืองใต้ โดย อ.พงเทพ สจรส.มอ. และคุณอานนท์ - 12.20 -13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
- 13.00-14.30 น. เวทีสร้างสุขภาคใต้ ที่เสริมหนุนขบวนพลเมืองใต้ สู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมสุขภาวะภาคใต้ โดย อ.พงเทพ สจรส.มอ. ผู้เข้าร่วมเวที - 14.30 – 15.00 น.จังหวะก้าวก่อนถึงเวทีสร้างสุขภาคใต้ ใครจะทำอะไรอย่างไร? ผู้เข้าร่วมเวที - 15.00 – 15.30 น.สรุปผลการประชุม/นัดหมายภารกิจครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เป้าหมายของการจัดงานสร้างสุข มี 3 อย่าง คือ 1) กลไกระบบการจัดการด้าน ข้อมูล ความรู้ และการพัฒนาศักยภาพ 2) งานประชุมวิชาการหรืองานสร้างสุขภาคใต้ 3) คณะทำงานเสริมพลัง
  • การนำเสนอความก้าวหน้าของแต่ละประเด็น

1.ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ใช้ฐานงานสำนัก 6 เรื่องการส่งเสริมบริโภคผักในโรงเรียนและการผลิตผักในชุมชน โดยประสานงานร่วมกับวิทยาลัยภูมิปัญญา หลัก ๆ คือ ต้องมีข้อมูลที่บอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลง

2.ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ เลือกพื้นที่ต้นแบบและใช้เครื่องมือของ สปสช.(กองทุนสุขภาพตำบล) เครื่องมือ HIA และเครื่องมือธรรมนูญชุมชน เพื่อขยับเข้าสู่งานวิชาการ

3.ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ ทำ Mapping เครือข่ายแต่ละประเด็น ได้แก่ปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ภัยพิบัติ การพนันและอุบัติเหตุ ของแต่ละจังหวัด โดยใช้กลไกงดเหล้า ความรุนแรงในเด็กและผู้หญิง และเอดส์ มีการเตรียมความพร้อมนักวิชาการเพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด สิ่งที่จะทำต่อไป คือ จัดเวทีวิชาการ 2 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็นและพัฒนาสู่ข้อเสนอในเวทีระดมความคิดเห็นในโซนภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง สิ่งที่ยังขาดและต้องการสนับสนุน คือ ผู้ประสานงานใต้ล่างและงบประมาณสนับสนุน ทั้งนี้ อ.จุฑารัตน์ จากคณะแพาย์จะเข้ามาร่วมสร้างกลไกในประเด็นเด็กและเยาวชนร่วมกัน โดยใช้กลไกเครื่องมือจาก ม.มหิดลเพื่อนำไปสู่การสร้างกลไกคุ้มครองเด็กและเยาวชน

4.งานสื่อ นำเสนอโดยพี่อานนท์ เน้นการสร้างบุคลากรในพื้นที่ "การสร้างคนผลิตสื่อ" อย่างง่ายด้วยมือถือ ข้อเสนอจากที่ประชุม ให้กำหนดคุณสมบัติของนักสื่อสาร เพื่อยกระดับการสื่อสาร และช่องทางที่จะเชื่อมไปยัง ThaiPBS

5.กลไกขับเคลื่อนภาคใต้ ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพ การสื่อสารสาธารณะ โดยจะใช้ระบบเวบไซต์ในการติดตามจัดทำชุดข้อมูล ให้แต่ละเครือข่ายไปหารือเพื่อใช้เวบไซต์ในการจัดทำข้อมูล

  • รูปแบบการจัดงานสร้างสุข

1.ยกระดับขับเคลื่อนในเชิงประเด็น มี 6 ห้องย่อย คือ ชุมชนน่าอยู่ ความมั่นคงทางอาหาร (ยุทธศาสตร์ข้าวและรูปแบบการจัดการอาหาร) ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางทรัพยากร (การท่องเที่ยว) กองทุนตำบลสุขภาพ และธรรมนูญสุขภาพ

2.งานยกระดับทางวิชาการ แบ่งออกเป็นบทความวิชาการ และการนำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลัง เป็นการนำเสนองานสังเคราะห์นวัตกรรมเชิงพื้นที่ ทำเป็นเอกสารออกมา

3.งานแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่าย งานเสวนา นิทรรศการ และการสาธิตทางบูธ

  • การบริหารจัดการ ให้แต่ละเครือข่ายส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมมายัง สจรส.ก่อนวันงาน เพื่อจัดทำใบลงทะเบียนและเบิกจ่ายเงิน "หากไม่มีชื่อจะไม่เบิกเงินให้" การบริหารจัดการภาพรวมรับผิดชอบโดยพี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่ ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 25 มิถุนายน 2559
  • จัดทำ timeline ตลอดเวลางานอีก 3 เดือน
  • นัดประชุมครั้งต่อไป วันที่ 16-17 กรกฎาคม 2559 ณ สจรส.ม.อ.
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • ทีม สจรส.ม.อ. เครือข่าย สช. เครือข่าย สปสช. เครือข่ายประเด็น 4 ประเด็น ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ ความมั่นคงทางมนุษย์ และความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ
ติดตามเรื่องร้องเรียนโครงการชุมชนน่าอยู่ จ.ชุมพร15 มิถุนายน 2559
15
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่รับฟังข้อร้องเรียน 2 ฝ่าย ภายในชุมชน เพื่อการจัดการปัญหาที่เกิดจากข้อร้องเรียนภายในชุมชน และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. รับฟังรับข้อเสนอการร้องเรียนในพื้นที่ และสอบถามข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ได้สรุปเอกสารการร้องเรียนและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไปยัง สสส.

ข้อค้นพบ ข้อสังเกต - ระบบเว็บไซต์ทำให้ทั้งคนภายในชุมขนและภายนอกชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกิจกรรมและการใช้เงินในพื้นที่

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 14 คน จากที่ตั้งไว้ 14 คน
ประกอบด้วย
  • คณะผู้ร้องเรียน 8 คน
  • คณะทำงานโครงการ 2 คน
  • พี่เลี้ยง จ.ชุมพร 1 คน
  • เจ้าหน้าที่ติดตามโครงการ สจรส.มอ. 3 คน
การประชุมระดมข้อมูลเพื่อคัดเลือกกรณีศึกษา โครงการนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ พื้นที่ภาคใต้ 2557-255912 มิถุนายน 2559
12
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 9.00 น. กล่าวต้อนรับโดย คุณอภิญญา ตันทวีวงศ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันว่าด้วยกรอบการพิจารณา "อะไรคือโครงการนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ" วิทยากร คุณโอภาส เชฎฐากุล และคุณยุทธดนัย สัีดาหล้า

  • 10.00 แบ่งกลุ่มย่อย ระดมข้อมูลเพื่อการคัดเลือกกรณีศึกษา (รอบที่ 1)

  • 13.00 แบ่งกลุ่มย่อย ระดมข้อมูลโครงการ (รอบที่ 2)

  • 16.00 ประมวลผลและสรุปที่ได้จากการระดมข้อมูลโครงการสังเคาะห์มุมมอง "อะไรคือโครงการนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ "

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กล่าวต้อนรับโดย คุณอภิญญา ตันทวีวงศ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันว่าด้วยกรอบการพิจารณา "อะไรคือโครงการนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ" วิทยากร คุณโอภาส เชฎฐากุล และคุณยุทธดนัย สัีดาหล้า โดยแลกเปลี่ยนเรื่อง นวัตกรรม จะมีลักษณะ 1. ความรู้ใหม่จากการวิจัยและพัฒนา 2. นำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนอื่นมาพัฒนาหรือปรับใช้ในชุมชนของตนเอง 3. ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ หรือทำใหม่ด้วยวิธีใหม่แล้วใช้ได้ผล 4. รื้อฟื้นสิ่งดีๆ ที่เคยมีในชุมชนมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งนวัตกรรมที่เกิดมีคุณลักษณะเป็น 1.ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ในกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 2. กลไกการทำงานใหม่ๆ ของชุมชน 3. กระบวนการทำงานหรือจัดการใหม่ในชุมชน 4.โครงสร้างสังคมใหม่ของชมชน


  • แบ่งกลุ่มย่อย ระดมข้อมูลเพื่อการคัดเลือกกรณีศึกษา ได้เแก่
  1. การพัมนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน จ.กระบี่ จัดกระบวนการเพื่อทำหลักสูตรการเรียนรู้ของชุมชน เช่น ผังเครือญาติ 4 ชั่วคน ร้านค้าปุ๋ยของชุมชน เป็นต้น

  2. เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด จ.นครศรีธรรมราช นวัตกรรมที่พบ การทำนาและปลูกผักเกษตรอินทรีย์บนเรือนแพ
    เป็นการจุดประก่ายเริ่มต้น เอาเนื้อหาในชุมชนมาทำกันก่อน สิ่งประดิษฐ์เรือนแพยังไม่ยังยืนมาก เอาเรือนแพและใช้พื้นทีรกร้างเปลี่ยนมุมมองนำคนมาใช้เกษตรอินทรีย์ แต่ยังไม่ชัดตัวกลไกยังไม่ถูกขยับขยาย

  3. บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา จ.สุราษฏร์ธานี นวัตกรรมที่พบ แกนนำรวมตัวเป็น คณะกรรมการจัดการขยะชุมชน จัดการขยะชุมชนด้วยการแบ่งบ้านออกเป็น 10 โซน กระบวนการเริ่มจากการวาดแผนที่ชุมชนก่อน 110 ครัวเรือน แบ่งเขต อบต. เทศบาล หาอาสาสมัครมาจัดการ แบ่งบ้านตามความพอใจที่ตามความชอบบ้านที่ถูกคอคุยกันได้ด้วยใช้สี 10 สี ด้วยปากกาบ้านละสี และหาสัญลักษณ์สีแขวนไว้หน้าบ้านโดยใช้ธงสีเลือกสีกันเองทำธงปักหน้าบ้าน หัวหน้าจะเป็นธงใหญ่ ลูกบ้านธงสีเล็ก และติดตามแยกสีลงพื้นที่ เกิดการแข่งขันการจัดการขยะ เกิดการกระตุ้น เช่น ทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น ธงสีเกิดจากคิดกันเอง
    ?? เกิดการแข่งขันเชิงบวกได้อย่างไร ?? กิจกรรมเป็นเรื่องสนุก บวกกับเทศบาลขยะแลกไข่ การเชิญนายกเชิญไปนั่งที่บ้าน บ้านนั้นต้องสะอาด เป็นการยกย่องให้กำลังใจคนที่ทำดี ชุมชนเมืองเป็นกลางคนจนสูงอายุมีกำลังใจ เพื่อนๆข้างบ้านมาช่วย ??? โครงการกับหัวหน้าโซน??? กระตุ้นลูกทีม ประสานแกนต่างๆกิจกรรมประชุมคณะทำงานหัวหน้าโซนรวมคนทั้งหมดในชุมชน ชุมชนต้องได้รู้ข้อมูลเรียนรู้ไปเหมือนๆกัน จัดเวทีแต่ละครั้งมีนำหมักมาแลกกลับบ้านด้วย ?? การประเมิน ทำให้เกิดการกระตุ้นจัดการขยะ เกิดถนนกินได้ ภูมิทัศน์ดีขึ้น ส่งเข้าระดับจังหวัด ทำให้เกิดการรวมช่วยกันทั้งชุมชน สรุปสุดท้ายเกิดจาก 1. คนทำงานจิตอาสาอยากช่วย สามารถเชื่อมร้อยต่างๆ ได้ 2. กลไกการทำงาน คณะกรรมการต่างๆ เช่น คณะกรรมการสวนมะพร้าวนำขยะเปียกมาทำปุ๋ย 3. สภาพแวดล้อม เปลี่ยนนโยบายเทศบาลจัดการขยะต้นทางให้มากขึ้นปัจจุบันทำอยู่ยกระดับเป็นวิทยากรเป็นพื้นที่ตัวอย่างมีเทศบาลหนุนจัดวิทยากร ??? อะไรคือนวัตกรรม??? คือ ธงสร้างสุขเชื่อมความสัมพันธ์ ได้กระบวนการจัดการใหม่ด้วยใช้สีธงกลไกใหม่

  4. โรงเรียนร้างสร้างชีวิต จ.นครศรีธรรมราช นวัตกรรมที่พบ ฟื้นฟูโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชน เกิดผลิตภัณฑ์เด่น คือ "เครื่องแกงชุมชน" แลกเปลี่ยน จุดเริ่มต้นจากพื้นที่โรงเรียนที่มีการยุบโรงเรียน 11 ปี เป็นที่มั่วสุ่มยาเสพติด ผู้นำได้คิดให้โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์ ป็นที่ศูนย์รวมของชมชน โดยร่วมโครงการ โดยเอาปัญหาของชุมชนเข้ามาคุย ทำกิจกรรมชุมชนชวยกันคิดช่วยกันทำ ทำกิจกรรมในโรงเรียน ปลูกผักแปลงสาธิตทำปุ๋ยน้ำหมักปลูกผัก กิจกรรมปี 57 - 58 อบต.มองเห็นทิศทางเห็นความสามัคคี นำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมาตั้งในโรงเรียน เกิดชีวิตขึ้นมาใหม่ ชุมชนได้พัฒนาคนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมได้เยอะมาก เกิดแผนพัฒนาชุมชน เอาปัญหาอุปสรรคมาคิดขยาย เริ่มจากศูนย์สาธิต ขยายไปตามครวัวเรือน ปลูกผักสวนครัว ชาวบ้านเริ่มได้รับประโยชน์จากปลูกผัก ได้กิน เหลือก็นำไปขา ย สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจตกต่ำ ชุมชนไม่เดือดร้อน สามารถขายผักได้ ตัวอย่าง ยายมีรายได้พันกว่าบาททอดกฐินเป็นหมื่นเอายายมาเป็นตัวอย่างทำแบบยายเศรษฐกิจพอเพียง / เกิดการคิดต่อว่าบ้านไม่มีนาไม่มีข้าวคิดต่อว่าข้าวสารมีเคมี เลยคิดปลุกข้าวสร้างโรงสีเพื่อสุขภาพ ทำให้คนคิดปลุกข้าวปลอดสารพิษดีกว่า โรงสีเมื่อสีแล้วได้รำจมูกข้าว นำไปเลี้ยงไก่ได้อีก จมูกข้าวมาทำกินกับน้ำร้อน / ทำปุ๋ย เขียนโครงการขอเครื่องจักรจากหน่วยงานรัฐก็ได้เครื่องมือ / หลังจากนั้นชุมชนให้ถนัดอะไรได้คิด ใหม่ๆนี้ได้เรียนรู้การทำหมอนยางพารา ทำให้ชุมชนได้มีงานทำสร้างโรงงานหมอนยางพารา เอาชุดความรู้ไปขยาย ลูกหลานได้งานทำ / ทดลองป,ุกข้าวในถุงพลาสติก เมื่อก่อนเลี้ยงปลาดุกน้ำสกปรกใส่ดิน ทำลองข้าวปลูกใส่ดินเพิ่มเอาปลามาเลี้ยงด้วย / งบ สสส.ได้พัฒนา คน แนวคิดในโรงเรียน / กระบวนการสร้างคน ทำอย่างไร เกิดจากผู้นำสภาขับเคลื่อน

  5. หนังตะลุงโขนลดสารเคมี จ.นครศรีธรรมราช นวัตกรรมที่พบ รื้อฟื้นการเล่นหนังตะลุงโขนมาเป็นสื่อชักชวนปลูกผักอินทรีย์ เมื่อก่อนสารเคมีเยอะ ได้ทำโครงการรณรงณ์เกี่ยวกับสุขภาพ บอกกล่าวจัดเวทีการเรียนรู้บอกกล่าวเวทีเรียนรู้ลดใช้สารเคมี ชุมชนได้ความรู้การปลูกผักที่ปลอดภย ความรู้เชิงเกษตรนอกระบบ ปี 1 ยังไม่ได้ทำตะลุงโขน ปี 2 ได้รื้อฟื้นสิ่งดีๆ มาทำโดยใช้คนแสดงเล่นรูปหนังตะลุง ได้พัฒนานวัตกรรมมาจากหนังตะลุงโขน ด้วยการเป็นสื่อลดสารเคมี น่าจะรื้อฟื้นเชื่อมโยงไปแสดงเทศกาลต่างๆ ในชุมชน ได้เชื่อมความสามัคคีได้ยิ้มหัวเราะ สร้างสุข / วิธีการหาตัวละคร เมื่อก่อนท้อแท้และพี่เลี้ยงช่วยหนุนเสริมให้กำลังใจ ก็ดำเนินการต่อเอาหนังตะลุงกลับมาเป็นตัวละครได้ / ผลที่ได้แปลงสารเคมีลดเป็นบางส่วน ลดลงเรื่อยๆ กระจายเป็นเป็นกลุ่ม / ต่อไปในอนาคตจะทำเคมีปลอด 100 เปอร์เซ็นต์ / ก่อนเริ่มโครงการเกษตรอินทรีย์ไม่มีเลย ตอนนี้เมื่อทำเกษตรอินทรีย์ ประมาณ 5-6 กลุ่มบ้าน กลุ่มหนึ่ง 10 กว่าครัวเรือนหรือ 60 ครัวเรือน ในหมู่บ้านมีทั้งหมด 300 ครัวเรือน หาตลาด / 5-6 กลุ่มแบ่งพื้นที่ทำ ในอนาคตจะลดได้ 100 เปอรเซ็นต์ และหาตลาดให้ชุมชนด้วยเพื่อนำไปขาย / เกษตรอินทรีย์มี พืชผักข้างบ้าน ข้าว บริโภคที่ปลอดภัย / เกิดการขยายไปยังหมู่อื่นๆ / เล่นหนังตะลุง เหมือนในที่ออกทีวีเผยแพร่รณรงค์ / การแสดงเป็นตัวละครมนต์รักลูกทุ่ง ให้เห็นผลร้ายยาฆ่าแมลง บรรยากาศในการไม่ใช้สารเคมี/ ตะลุงโขน เริ่มจากค้นหาคนรุ่นใหม่เยาวชนมาสืบทอดก่อน พอจบโครงการเกิดการจัดสันทนาการ กระบวนการหากระบวนการฝึกระหว่างทางได้เตรียมตะลุงโขน เล่นหลายเรื่องทั้งเรื่องยาเสพติด ผักอินทรีย์ ลดสารเคมี / ผูกโยงบริบทกับภาคใต้ เดือน 5 เดือน 10 ชักพระ และนายหนังเขียนกลอน เข้าไปในโรงเรียน เจอปัญหาหลายเรื่อง จึงนำมาแต่งตะลุงโขน / ในโรงเรียนเอาเด็กในโรงเรียนไปเล่น มาฝึกบ่อยๆ เครื่องดนตรีสด เด็กๆ มาช่วย ทำกิจกรรม มีปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยฝึก มีครูโรวเรียนมาช่วยฝึก ปราชญ์ชาวบ้านสอนให้คุณครู / เยาวชนมาฝึกมโนราห์เล่นที่ตลาดน้ำคลองแดน /เป็นนวัตกรรมทั้งสิ่งประดิษฐ์รื้อฟื้นที่หายไปแล้วผูกโยงเชิงกระบวนการให้รื้อฟื้นขึ้นมาด้วย/ การนำมาใช้กับไม่ใช้ตะลุงโขนต่างกันไหม เพราะปี 1 ไม่มีตะลุงโขน ปีที่ 2 หาจุดเด่นเพื่อการขับเคลื่อน คุ้มแบบชุมชนแบบภาพรวมคุ้มเยอะๆ ลงทุนลงแรงด้วยอาสาหนักแต่ผลที่ได้ ได้ทั้งหมู่บ้านข้างๆด้วย ขยายลดการสารเคมีกระจายไปทั่ว วิถีคนใต้ชอบดู / ตะลุงโขนสดทำให้เกิด การเล่นผูกเรื่องผูกกลอน /คนใต้มีความเชื่อและศรัทธาในตัวโบราณ เรียกความศรัทธา นวัตกรรมห่วงแหนฟื้นฟูของเก่า เรียกจิตวิญญาณ / เนื้อหาสื่อความบันเทิง และมีปัจจัยอื่นๆ เข้าไปด้วย / เกษตรอินทรีย์ทำยากต้องอาศัยเทคนิค

  6. บ้านป่าไม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข จ.นครศรีธรรมราช นวัตกรรมที่พบ อนุรักษ์ป่าสาคูด้วยการส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงด้วงสาคูร่วมกิจกรรมออมเงินกับ

  7. นาคารี คนสุขภาพดี จ.นครศรีธรรมราช นวัตกรรมที่พบ คือ คิดค้นวิธีการปลูกผักที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จนสามารถปลุกผักกินเองได้ในครอบครัวและชุมชนใกล้เคียง

  8. แหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง จ.ชุมพร นวัตกรรมที่ค้นพบ ธนาคารสุขภาวะ ที่รับฝากเฉพาะเงินออมจากขยะและเงินที่ขายผักอินทรีย์

  9. บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง และบ้านดอนโรงสร้างสุขด้วยวิถีเกษตรอเพียง จ.นครศรีธรรมราช นวัตกรรมคือ การรณรงค์ให้ชาวบ้านให้ชาวบ้านลดโรคเรื้อรัง ด้วยการชวนทำ "ตู้เย็นข้างครัว" คือ การทำสวนผักไว้บริโภคเอง

  10. เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม จ.พัทลุง นวัตกรรมคือ ใช้แปลงนาสาธิต 4 แปลงเป็นพืน้ที่ทำกิจกรรมโดยดึงคนสามวัยให้มาร่วมทำกิจกรรม

  11. ญาติใคร ใครก็รัก บ้านปากละงู (ต่อยอด) จ.สตูล นวัตกรรมคือ ใช้ผังเครือญาติบอกโรค และใช้เครือญาติเป็นเครื่องมือคนในชุมชน

  12. แนวทางร่วมสร้างชุมชนบ้านป้อมหกให้น่าอยู่ ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฏิบัติการชุมชนรักษ์โลก นวัตกรรมคือ การเลือกคนที่ไม่ได้รับการยอมรับในชุมชนมาทำงานจนสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนได้

  13. คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่ จ.สงขลา นวัตกรรมคือ กิจกรรม ภาพชีวิตลิขิตเรื่องราว เด็กเกิดความสร้างสรรค์ สร้างกระบวนการคิดเชื่อมโยง แก้ปัญหาในชุมชน

  14. ชุมชนนครธรรม ต้นแบบนักจัดการขยะ นักจัดการสุขภาพ จ.ยะลา นวัตกรรมคือ คูปองจากการขายขยะ นำไปแลกสินค้า เกิดการจัดการขยะ สร้างจิตสำนึกโดยไม่ต้องใช้เงินตอบแทน

  15. นากอฮูแตรวมพลังสร้างฝันสีขาว จ.นราธิวาส นวัตกรรมคือ ทีมไกล่เกลี่ย แก้ปัญหาในชุมชน


- โครงการอื่นๆ เพิ่มเติม
1. กองทุนน้ำชา เด็กๆ ร่วมกลุ่มกันทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ สร้างพื้นที่ให้เด็ก มีฝึกภาษาอังกฤษ ปั่นจักรยาน แต่เด่นกองทุนน้ำชา ชุมชนให้เด็กเริ่มลงทุนให้เด็กทำมีรายได้ เด็กๆ เอาเงินที่ได้ทำกองทุนจัดการบริหารตั้งกติกา ช่วยเด็กด้อยโอกาส ทุนการศึกษา ช่วยกลุ่มเสี่ยงเข้ามาร่วมกลุ่มเป็นแกนในการทำกิจกรรม ทุนสามารถส่งเสริมในชุมชน เช่น ประกวดอัลกุรอานเอาทุนส่วนหนึ่งสนับสนุนค่ารถ ชนะการประกวด เป็นนวัตกรรมกองทุนชุมชน

  1. บ้านปูบ้านปลา เจอปัญหาทรัพยากรทางทะเล คิดอนุรักษ์ชายฝั่ง มีกลุ่มประมงชายฝั่งนอกฝั่งมาจับมือร่วมกัน สิ่งประดิษฐ์ คือบ้านปูบ้านปลามีไม้ไผ่ จัมสใส่ในบ้านปูบ้านปลาฟักทรัพยากรเป็นเรื่องของสัตว์น้ำกั้น เพิ่มทรัพยากรชายฝั่ง/ นวัตกรรมคือ คิดสิ่งใหม่จากภูมิปัญญาเพื่อให้ประกอบอาชีพได้ บ้านปูบ้านปลา(แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ) โดยการตั้งกติกาช่วยกัน ตกลงกันในหมู่บ้าน ถ้าจับตัวเล็กตัวน้อยมาใส่บริเวณนี้ และห้ามจับบริเวณนี้ / บริหารโดย 3 ภาคี ประมงชายฝั่งอกฝั่งกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่ง ต่อยอดเป็นอ่าวทองคำ / ช่วยในการแก้ปัญหา เมื่อก่อนจับสัตว์น้ำไม่ถึง 100 ตัว และเมื่อทำบ้านปูบ้านปลา ทำให้ัสัตว์น้ำมาอยู่มากขึ้น มีพื้นที่ปลอดภัยในเขตอนุรักษ์ ทำได้ต้องมีข้อตกลง / ทำแผนที่ทำกิน จากรายได้้ไม่พอจ่ายจากอาชีพนี้ หาวิธีการแก้บ้านปูบ้านปลา ทำไปจุดหนึ่ง ปลามาอยู่มากขึ้น ตัวที่ื้ท้องมาวางไข่/ เด่นให้กู้โดยไม่มีดอก มีเรือประมงหาเช้ากินค่ำ กู้ไปซื้อน้ำมันแล้วออกเรือ เมื่อจับปลาได้มาจ่ายค่าหนี้ / การบริหารจัดการ ผู้ใหญ่บ้านมีทีม 3 หน่วย กลุ่มคนบริหาร ดูแลกันเอง คงไว้บริหารจัดการกลุ่มข้อตกลงสลับกันมาซ่อมแซม ทุกคนเห็นประโยชน์ไม่ต้องเฝ้า ทุกคนรู้ว่าคือแหล่งอนุรักษ์/

  • ประมวลผลและสรุปที่ได้จากการระดมข้อมูลโครงการสังเคราะห์มุมมอง "อะไรคือโครงการนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ "
  1. กลไก เกิดก่อน โครงสร้าง คือ กลไกเมื่อทำไปสักพักและเกิดเป็นโครงสร้าง กลไกเกิดจากกลุ่มคน โครงสร้างในเชิงกฏระเบียบกติกา

มีเพิ่มเติม

ประชุมทีม สจรส.มอ. วันที่ 10 มิถุนายน 255910 มิถุนายน 2559
10
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสรุปทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนกิจกรรม ในเดือน มิถุนายน - กรกฏาคม 2559 สรุปการประชุมดังนี้

  1. สรุปการติตดามปี 2558 ทั้งหมด 198 โครงการ

- ยุติแบคืนเงินทั้งหมด 3 โครงการ
- ยุคิงวด 1 จำนวน 12 โครงการ

  1. คู่มือติดตามประเมินผลและเว็บไซต์

  2. การตรวจรายงานปี 57

  3. การตรวจรายงานปี 58 งวด 3

  4. วางแผนลงพื้นที่เสี่ยง

  5. นัดพื้นเด่ยนพี่ถนอม

  6. สรุปการเตรียมงานสร้างสุข

  7. ประชุมพี่เลี้ยง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมทีมชุมชนน่าอยู่

วันศุกร์ที่10 มิถุนายน 2559 ห้องประชุมชั้น 10 สจรส.มอ. ระหว่างเวลา 14.30-17.35 น.

1.สรุปการติดตามโครงการย่อยปี 58

โครงการที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 198 โครงการ ยุติแบบไม่รับทุน/คืนเงินทั้งหมด 3 โครงการ คือลานไทรจ.สงขลา
ปริก จ.สงขลา
บ้านหินดาน จ.สุราษฏร์ธานี(ยังไม่ได้รับเงินงวด) ยุติงวดที่ 1 จำนวน 12โครงการ ดังต่อไปนี้ จังหวัดกระบี่ -บ้านหนองจิก พี่เลี้ยง จารุวรรณ (ปิดเรียบร้อย) -บ้านขุนสมุทร พี่เลี้ยง ทวีชัย(ปิดเรียบร้อย) จังหวัดภูเก็ต -อ่าวหลังแดง พี่เลี้ยง วารุณี (รอคืนเงิน) จังหวัดนครฯ -บ้านควนเงิน พี่เลี้ยง เสณี (ปิดเรียบร้อย) จังหวัดปัตตานี-บราแวพี่เลี้ยง กัลยา คืนเงิน สสส.แล้ว รอเอกสารส่ง สจรส. จังหวัดสตูล-ลานกำแพง พี่เลี้ยง นภาภรณ์ รอคืนเงิน -บ้านผังปาล์ม 7 กำลังอยู่ในช่วงคืนเงิน และรอเอกสาร จังหวัดสุราษฏร์ -บ้านควนสูง พี่เลี้ยงกัญนภัส (ส่งเอกสาร ไปที่ สสส.เรียบร้อย) จังหวัดสงขลา -คนเกาะขาม พี่เลี้ยงใบเฟิร์น
จังหวัดนครฯ -บ้านคลองตูก พี่เลี้ยง อภิวัฒน์(คืนเงินแล้ว รอตรวจเอกสาร) -สามร้อยกล้า พี่เลี้ยง อ.วิสาขะ (สจรส. ขอให้ยุติโครงการเพราะ ไม่ดำเนินการปรับแก้รายงานตามข้อเสนอแนะ) จังหวัดชุมพร -บ้านนาเหนือ พี่เลี้ยง สมใจ (คืนเงินแล้ว รอเอกสารแก้ไข) ผลสรุปเหลือโครงการที่ดำเนินการต่อในงวดที่ 2 จำนวน 183 โครงการ โครงการที่ยังไม่ส่งรายงาน 3 โครงการ คือ บ้านปากหาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี
พี่เลี้ยงกัญนภัส, บ้านวังทอง และ บ้านห้วยทรายขาว จ.ชุมพร พี่เลี้ยง สมใจ


2.คู่มือติดตามประเมินผล

วันศุกร์ ที่ 17 มิถุนายน 59 วางแผนการเขียนคู่มือ ห้องประชุม 1405 (ลงมือเขียนกันทั้ง 4 ประเด็น) วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 59 เวลา16.30 `เอ็กซ์ปริ้นท์ ให้ อ.จีรเนาว์ ตรวจสอบร่าง
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 59 ส่ง ให้ อ.พงค์เทพ ดูต่อเพื่อแก้ไข หากมีการแก้ไข ก็ส่งคืนเจ้าของประเด็น วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 59 ส่งคู่มือให้พี่ฝนทำ Art work
ปล. คู่มือชุมชนฉบับ 10 หน้า ต้องประกอบไปด้วยนิยาม หลักการ และตัวอย่างการดำเนินงาน

3.คู่มือเว็บไซต์ วันพุธที่ 15 มิถุนายน 59 จะให้ จนท. คือ นางสาวสิริมนต์ (แหม่ม)
ช่วยอ่านทบทวน เสนอแนะ และขอคืนในวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 59 และช่วยกันพิสูจน์อักษร โดยทีมชุมชนน่าอยู่ และคาดว่าน่าจะเข้าโรงพิมพ์ได้วันที่30 มิถุนายน 59

4.การตรวจรายงานการเงินปี 57 ตรวจบัญชีเรียบร้อยแล้ว นำส่งรายงานให้กับ สสส. รอทำการปิดบัญชี

5.การตรวจรายงานการเงินปี 58 งวดที่ 3 ตามสัญญา จะปิดงวด 31 พฤษภาคม 59 แต่เนื่องจากเงินงบประมาณ สสส.โอนเข้าบัญชีโครงการ เมื่อ 27 พฤษภาคม 59
จึงได้ทำการคุยกับผู้ประสานงาน สสส.และผู้ตรวจสอบบัญชี นัดตรวจบัญชีไว้เบื้องต้นปลายเดือน (30มิถุนายน 59)

6.การจัดทำวีดีทัศน์หนองกลางดงบริษัทจินตนาการเริ่มงานเดือน ประมาณกลางเดือนมิถุนายน
และรอใบเสนอราคาเพื่อทำการเบิกจ่ายงบประมาณต่อไป

7.การนัดพื้นที่เด่นเพื่อสังเคราะห์โครงและการการลงพื้นที่เสี่ยง วางแผนพื้นที่เสี่ยง
จะลงควบคู่กับการ ถอดบทเรียนเพื่อการสังเคราะห์ ซึ่งวางแผนเบื้องต้นไว้ดังนี้
- จ.ชุมพร วันที่ 15-16 มิถุนายน 59 ลงพื้นที่โครงการเสี่ยง - จ.นครศรีธรรมราช วันที่18-19 มิถุนายน 59 `(ถอดบทเรียนพร้อมลงพื้นที่โครงการเสี่ยง) - จ.สตูล วันที่ 21-22มิถุนายน 59 (ถอดบทเรียนพร้อมลงพื้นที่โครงการเสี่ยง) งานสร้างสุขภาคใต้ ปี 58 การจัดการห้องย่อยชุมชนน่าอยู่
กรอบการนำเสนอห้องชุมชนน่าอยู่ มี 3 รูปแบบ คือ 1. นำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลัง เพื่อสร้างการเรียนรู้และเกิดกำลังใจในการทำโครงการ จำนวน 5 พื้นที่ ใน 5 ประเด็น คือ
1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) การจัดการขยะ 3) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) เด็กและเยาวชนและ 5) ระบบสุขภาพและอาหารปลอดภัย 2. จัดกิจกรรมบันเทิง สันทนาการภายในห้อง เพื่อสร้างความสนุกสนานและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน 3. กิจกรรมนิทรรศการในห้องย่อย จำนวน 10 พื้นที่ (shopping โครงการ) มีการนำเสนอผลงาน บอกเล่าเรื่องที่ดีผ่านการนำเสนอด้วยนิทรรศการและผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ - โครงการชุมชนน่าอยู่ปี 58 จำนวน 400 คน (195 โครงการ โครงการละ 2 คน) - โครงการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าเร้าพลัง 5 พื้นที่ ปี 56 – 57 จำนวน 50 คน - พี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่ จำนวน 40 คน การบริหารจัดการห้องย่อย - ลงทะเบียน และการเงินห้องย่อย มีผู้รับผิดชอบ คือ ทีมจังหวัดนครศรีฯ
- ดูแลวิทยากรห้องย่อย อำนวยความสะดวก อาหาร มีผู้รับผิดชอบ คือ พี่อ้อย (นคร) และพี่จิ้ม - บันทึกภาพ ผู้รับผิดชอบ คือ พี่เบิร์ด พี่แหม่ม (นคร) - บันทึกข้อมูลตลอดการจัดประชุม ผู้รับผิดชอบ คือ พี่วิสุทธิ (ตรัง) - เอกสารประกอบในห้องย่อย
ข้อสรุปที่ยังไม่ชัดเจน - รูปแบบลานนิทรรศการนอกห้องช่วงเวลา 18.00 – 20.00 น. การคัดเลือกโครงการมานำเสนอและจัดนิทรรศการ - การคัดเลือกเรื่องเล่าเร้าพลังที่มานำเสนอ ให้พี่เลี้ยงแต่ละคนคัดเลือกมาประเด็นละ 1 เรื่อง (โดยเป็นโครงการตั้งแต่ปี 56 – 58 ที่เกิดผลลัพธ์ที่สามารถนำมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนสร้างการเรียนรู้ในเวทีได้)และส่งรายชื่อให้ สจรส.ม.อ.ภายในวันที่ 25 มิถุนายน 59 ทาง สจรส.ม.อ.จะทำการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมจำนวน 5 พื้นที่ และแจ้งผลให้พี่เลี้ยงทราบในวันที่ 1 กรกฎาคม 59
- การคัดเลือกเรื่องที่มาจัดนิทรรศการ ให้พี่เลี้ยงส่งรายชื่อโครงการปี 56 – 58 พื้นที่ละ 1 นิทรรศการ พร้อมระบุสิ่งที่จะมานำเสนอ จุดเด่น ให้ทาง สจรส.ม.อ.ภายในวันที่ 25 มิถุนายน 58 ทาง สจรส.ม.อ.จะทำการคัดเลือกโครงการ จำนวน 10 พื้นที่ ที่มานำเสนอด้วยนิทรรศการและแจ้งผลให้พี่เลี้ยงทราบในวันที่ 1 กรกฎาคม 59) เสนอแนะ : พี่เลี้ยงคัดเลือกโครงการเด่นมา ให้ สจรส. เพื่อให้ สจรส.มอ.คัดเลือกอีกครั้ง โดยมีเกณฑ์ให้พี่เลี้ยง (อ.จีรเนาว์ จะช่วยกำหนดเกณฑ์เพื่อการคัดกรองให้) และทาง สจรส.จะสนับสนุนงบประมาณบางส่วนให้เพื่อ สจรส.มาทำเป็นเอกสารนำเข้าห้องย่อยชุมชนน่าอยู่ต่อไป
มีการจัดนิทรรศการในห้องย่อย 10 นิทรรศการ ชอปปิ้งความรู้ เล่นเกม เพื่อให้บรรยากาศห้องไม่น่าเบื่อ

8.การถอดบทเรียนและสังเคราะห์โครงการ ของ สสส.วันที่ 12 มิถุนายน 2559 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สสส. ทีมชุมชนน่าอยู่ไปเข้าร่วมสังเกตการณ์

9.การประชุมคณะทำงานชุมชนน่าอยู่ นัดประชุมครั้งต่อไปวันที่ 25-26 มิถุนายน 2559 ณ สจรส.มอ.ชั้น 14

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • อ.จีรเนาว์
  • จนท. สจรส.มอ. 4 คน 
ประชุมพี่เลี้ยงเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ ประเด็น “ออกแบบห้องย่อยชุมชนน่าอยู่” (จ.นครฯ และ พัทลุง)5 มิถุนายน 2559
5
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ (ชุมชนน่าอยู่)

  1. รูปแบบงานสร้างสุข แบ่ง 3 รูปแบบ
  2. การจัดการงาน ทบทวนปัญหาที่ผ่านมา ปัจจัยสาเหตุ ความสำเร็จ และเสนอแนวทางแก้ไข

- การเดินทาง
- ที่พัก - การลงทะเบียน - อาหาร - การออกบู๊ทนิทรรศการ - ชุมชนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เวทีห้องต่างๆ / ประโยชน์ที่ชุมชนนำกลับไปใช้ต่อ - กิจกรรมที่ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายระดับตำบลหรือระดับจังหวัด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กรอบการนำเสนอห้องชุมชนน่าอยู่ มี 3 รูปแบบ คือ
1. นำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลัง เพื่อสร้างการเรียนรู้และเกิดกำลังใจในการทำโครงการ จำนวน 5 พื้นที่ ใน 5 ประเด็น คือ 1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) การจัดการขยะ 3) การจัดการทรัพยารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) เด็กและเยาวชนและ 5) ระบบสุขภาพและอาหารปลอดภัย 2. จัดกิจกรรมบันเทิง สันทนาการภายในห้อง เพื่อสร้างความสนุกสนานและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน 3. กิจกรรมนิทรรศการในห้องย่อย จำนวน 10 พื้นที่ (shopping โครงการ) มีการนำเสนอผลงาน บอกเล่าเรื่องที่ดีผ่านการนำเสนอด้วยนิทรรศการและผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

  • โครงการชุมชนน่าอยู่ปี 58 จำนวน 400 คน (195 โครงการ โครงการละ 2 คน)
  • โครงการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าเร้าพลัง 5 พื้นที่ ปี 56 – 57 จำนวน 50 คน
  • พี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่ จำนวน 40 คน

การบริหารจัดการห้องย่อย

  • ลงทะเบียน และการเงินห้องย่อย มีผู้รับผิดชอบ คือ ทีมจังหวัดนครศรีฯ
  • ดูแลวิทยากรห้องย่อย อำนวยความสะดวก อาหาร มีผู้รับผิดชอบ คือ พี่อ้อย (นคร) และพี่จิ้ม
  • บันทึกภาพ ผู้รับผิดชอบ คือ พี่เบิร์ด พี่แหม่ม (นคร)
  • บันทึกข้อมูลตลอดการจัดประชุม ผู้รับผิดชอบ คือ พี่วิสุทธิ (ตรัง)
  • เอกสารประกอบในห้องย่อย

ข้อสรุปที่ยังไม่ชัดเจน - รูปแบบลานนิทรรศการนอกห้องช่วงเวลา 18.00 – 20.00 น.

การคัดเลือกโครงการมานำเสนอและจัดนิทรรศการ

  • การคัดเลือกเรื่องเล่าเร้าพลังที่มานำเสนอ ให้พี่เลี้ยงแต่ละคนคัดเลือกมาประเด็นละ 1 เรื่อง (โดยเป็นโครงการตั้งแต่ปี 56 – 58 ที่เกิดผลลัพธ์ที่สามารถนำมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนสร้างการเรียนรู้ในเวทีได้)และส่งรายชื่อให้ สจรส.ม.อ.ภายในวันที่ 25 มิถุนายน 59 ทาง สจรส.ม.อ.จะทำการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมจำนวน 5 พื้นที่ และแจ้งผลให้พี่เลี้ยงทราบในวันที่ 1 กรกฎาคม 59
  • การคัดเลือกเรื่องที่มาจัดนิทรรศการ ให้พี่เลี้ยงส่งรายชื่อโครงการปี 56 – 58 พื้นที่ละ 1 นิทรรศการ พร้อมระบุสิ่งที่จะมานำเสนอ จุดเด่น ให้ทาง สจรส.ม.อ.ภายในวันที่ 25 มิถุนายน 58 ทาง สจรส.ม.อ.จะทำการคัดเลือกโครงการ จำนวน 10 พื้นที่ ที่มานำเสนอด้วยนิทรรศการและแจ้งผลให้พี่เลี้ยงทราบในวันที่ 1 กรกฎาคม 59)

ร่างกำหนดการ ห้องย่อยชุมชนน่าอยู่ วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 – 17.00 น. 09.00 – 09.30 น.ลงทะเบียน แจกคูปองอาหาร แจกเอกสารสุดา ไพศาล จุรีย์ หนูผุด อารีย์ สุวรรณชาตรี นิมลต์ หะยีนิมะ เพียงกานต์ เด่นดารา 09.30 – 09.50 น. นำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลังเรื่องที่ 1
09.50 – 10.20 น. กิจกรรมนันทนาการ ช่วงที่ 1 ทีมพี่เลี้ยง จ.ปัตตานี และ สตูล 10.20 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่างเช้า
10.45 – 11.05 น. นำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลังเรื่องที่ 2
11.05 – 12.00 น. Shopping โครงการ ช่วงที่ 1 ทีมพี่เลี้ยง จ.ยะลา และ
นราธิวาส 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 – 13.20 น. กิจกรรมนันทนาการ ช่วงที่ 2 ทีมพี่เลี้ยง จ.ชุมพร และ
สุราษฎร์ธานี 13.20 – 13.50 น. นำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลังเรื่องที่ 3
13.50 – 14.30 น.Shopping โครงการ ช่วงที่ 2 ทีมพี่เลี้ยง จ.ปัตตานี ตรัง และสตูล 14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่างบ่าย
14.45 – 15.05 น. นำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลังเรื่องที่ 4
15.05 – 15.35 น. กิจกรรมนันทนาการ ช่วงที่ 3 ทีมพี่เลี้ยง จ.กระบี่ ภูเก็ต และ
นครศรีฯ 15.35 – 15.55 น. นำเสนอเรื่องเล่าเร้าพลังเรื่องที่ 5
15.55 – 16.30 น. Shopping โครงการ ช่วงที่ 3 ทีมพี่เลี้ยง จ.สงขลา และ
พัทลุง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • สจรส.มอ.
  • พี่เลี้ยงชุมชนน่าอยู่
การประชุมเตรียมงานสร้างสุข (ทีมวิชาการ ทีมสนับสนุนวิชาการ และทีมสังเคราะห์)20 พฤษภาคม 2559
20
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ ประเด็นห้องย่อยชุมชนน่าอยู่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ ได้แลกเปลี่ยนออกแบบงาน ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมหลากหลายเครือข่าย ได้แก่
- โครงการชุมชนน่าอยู่ 500 คน
- สช. 200 คน
- นนส. 120 คน - สปสช. 200 คน - กระทรวงสาธารณสุข 50-100 คน - นักวิชาการ 50 คน

งานสร้างสุขได้แบ่งกิจกรรมงาน 3 ประเภท ได้แก่
1) เวทีนำเสนอผลงานวิชาการ
2) ห้องย่อยแต่ละประเด็น
3) ลานเสวนา รายละเอียดดังนี้


1) เวทีนำเสนอผลงานวิชาการ ได้แบ่งเป็น 2 ห้องนำเสนอ
คือ 1.ห้องวิชาการ งานวิจัย 2. ห้อง KM เป็นเรื่องเล่าเสริมพลัง เล่าเรื่องดีๆในห้องประชุม
2) ลานเสวนา ในประเด็นที่นำของมาแลกเปลี่ยนการแสดงสาธิตนวัตกรรมต่างๆ 3) ห้องย่อยแต่ละประเด็น สามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. ห้องกองทุนหลักประกันสุขภาพ ความมั่นคงของมนุษย์ (สปสช.ดูแลรับผิดชอบ)

    1. ห้องสมัชชา ธรรมนูญชุมชน HIA (สช.ดูแลรับผิดชอบ)
    2. ห้องอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
      4.ห้องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
    3. การแพทย์วิถีพหุวิถีวัฒนธรรม (กระทรวงสาธารณสุข)
      6.ห้องเด็ก เยาวชน และครอบครัว
      7.ห้องสุขภาพ
      8.ห้องชุมชนน่าอยู่

    การออกแบบห้องย่อย ได้กำหนดรูปแบบนิทรรศการ เสนอรูปแบบลานเสวนาการเรียนรู้ทั้งหมด ลานเสริมพลังลานปัญญา ให้แต่ละประเด็นมีภาคีมีโหนดภาคี
    เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นต่างๆระหว่างนักวิชาการ ชุมชน ผู้สนใจที่ร่วมงาน
    ซึ่งได้มอบหมายให้ทีมพี่เลี้ยงออกแบบนำมาเสนออีกครั้ง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมวิชาการและทีมสังเคราะห์ 5 คน
  • ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม) 34 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. 8 คน
  • นักศีกษาปริญญาโท วิจัยชุมชนน่าอยู่3 คน
  • ทีมสื่อมวลชน 1 คน

รวมทั้งหมด 51 คน

การประชุมคณะทำงานวิขาการ ทีมสนับสนุนวิขาการ และทีมสังเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจกรอบการสังเคราะห์ความรู้20 พฤษภาคม 2559
20
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นำเสนองานวิจัยชุมชนน่าอยู่ โดย นักศึกษา สจรส.และ อ.กำไล สมรัก • โครงการศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพทีมประสานงานวิชาการในโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ กรณีศึกษา จ.นครศรีธรรมราช • การประเมินนวัตกรรมชุมชนของโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่โดยใช้ซิปโมเดล กรณีศึกษา จังหวัดยะลา • ความยั่งยืนที่คงอยู่ในโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ กรณีศึกษา 3 อำเภอ จังหวัดพัทลุง • โครงการชุมชนน่าอยู่พื้นที่ศึกษา อ.ปากพนัง และ อ.หัวไทรจ.นครศรีธรรมราช

การสนับสนุนติดตามโครงการชุมชนน่าอยู่ ถอดบทเรียนการสังเคราะห์โครงการชุมชนน่าอยู่ ปี 2558

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การสนับสนุนติดตามโครงการชุมชนน่าอยู่

ทบทวนการติดตามโครงการชุมชนน่าอยู่ การลงพื้นที่ของพี่เลี้ยง อย่างน้อยลงพื้นที่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ลงพื้นที่ชี้แจงโครงการ
ครั้งที่ 2 ก่อนปิดงวดที่ 1 ติดตามสนับสนุนการจัดทำรายงานผลดำเนินงานและเอกสารการเงิน
ครั้งที่ 3 ก่อนปิดงวดสุดท้ายโครงการ ติดตามสนับสนุนการจัดทำรายงานผลดำเนินงานและเอกสารการเงิน

ข้อพึงระวัง ปัญหาที่ค้นพบ การลงพื้นที่ติดตามและการแนะนำสนับสนุนโครงการ ตามที่ประชุมได้ติดตามโครงการรายโครงการให้พี่เลี้ยงลงบันทึกการติดตาม ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า พี่เลี้ยงได้ลงพื้นที่แต่ไม่บันทึกในกิจกรรมพี่เลี้ยง ซึ่งมีความเข้าใจว่าผู้รับผิดชอบโครงการได้บันทึกในกิจกรรมของโครงการแล้ว แต่เว็บไซต์ได้ออกแบบระบบรายงาน 2 ส่วน คือ รายงานของโครงการ และรายงานของผู้เลี้ยง และเว็บไซต์ทุกคนสามารถเข้ามาเปิดดูได้ อาจทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันในเรื่องรายงานพี่เลี้ยง การรายงานผลดำเนินงานโครงการ พบปัญหารายงานจากพื้นที่ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร และรายงานพี่เลี้ยงยังรายงานไม่ละเอียด และการนัดประชุมโครงการครั้งเดียวทั้งหมด จะทำให้การช่วยติดตามสนับสนุนรายโครงการไม่เต็มที่เท่าที่ควร และการส่งรายงานมีความล่าช้า และเมื่อ สจรส.ม.อ.มีการตรวจอีกครั้งยังพบความไม่เรียบร้อยของรายงาน

แนวทางแก้ไข
การรายงานผลดำเนินงานโครงการและพี่เลี้ยง - ไม่ควรนัดโครงการทั้งหมดการมาพบปรึกษาหารือพร้อมกัน ควรนัดแนะนำทีละรายโครงการ เพื่อประสิทธิภาพให้การปรึกษาและช่วยสนับสนุนโครงการได้อย่างเต็มที่ และได้ตามผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
- รายงานโครงการควรมีความเรียบร้อยตั้งแต่ผู้รับผิดชอบโครงการ พี่เลี้ยงควรตรวจและแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนถึงเวลาปิดงวด และ สจรส.ม.อ.ลงพื้นที่ตามโซนจังหวัดตรวจอีกครั้ง จะทำให้เอกสารมีผลลัพธ์และเอกสารการเงินมีความถูกต้อง สามารถส่งต่อไปยัง สสส.ได้อย่างทันตามเป้าหมาย - พี่เลี้ยงควรบันทึกรายงานของพี่เลี้ยงทุกครั้งที่มีการลงพื้นที่และแนะนำโครงการว่าได้ติดตามสนับสนุนเรื่องอะไรบ้าง ผลดำเนินการลงพื้นที่เกิดข้อสังเกต ผลการติดตามเป็นอย่างไรบ้าง


ถอดบทเรียนการสังเคราะห์โครงการชุมชนน่าอยู่ ปี 2558 คุณถนอม ขุนเพ็ชร์ ถอดบทเรียนปีนี้ ได้มีรูปแบบการนำเสนอ ดังนี้ 1) นิยายสำหรับเยาวชน 2) บุคคลต้นแบบ 14 กรณี 3) ชุมชน 45 กรณีศึกษา 4) การประชุมคุณค่าโครงการ การถอดบทเรียนควรสื่อสารถึงกลไกการทำงาน การสร้างนวัตกรรม หลักฐานการทำงานเชิงประจักษ์ชัดเจน
ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุมชนน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเองได้ คือ 1) ชุมชนสามารถจัดการข้อมูลจัดการความรู้ได้ 2) ชุมชนสามารถทำแผนชุมชนได้ 3) ชุมชนสามารถบริหารจัดการโครงการ เกิดการเรียนรู้เรื่อง คน สภาพแวดล้อม กลไก รวมถึงสามารถทำรายงานผลและเอกสารการเงินได้ 4) เกิดกลไกชุมชน การทำแผนชุมชนสามารถทำด้วย 4 คำถาม “อยู่ไหน จะไปไหน ไปอย่างไร ไปถึงแล้วยัง” คือ 1) อยู่ไหน สถานการณ์เป็นอย่างไร 2) จะไปไหน จุดหมายเป็นอย่างไร 3) ไปอย่างไร ยุทธศาสตร์นโยบาย ดูกระบวนการหลักคิดโครงการ ปัญหา ปัจจัยอะไรที่เกี่ยวข้อง 4) ไปถึงแล้วยัง ประเมินผล โดยมี“การนำทุนของชุมชนมาใช้” ซึ่งทุนได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เศรษฐกิจคน กลุ่ม เครือข่าย
การประเมินผลจากการทำแผน “ปัจจัยนำเข้า” ได้แก่ ข้อมูล ทุนชุมชน คน ทรัพยากร“กระบวนการ” ได้แก่ แตกต่างจากกิจกรรมอย่างไร กระบวนการให้ความรู้คนอย่างไร “ผลการประเมิน” ได้แก่ ทำแล้วเกิดอะไรบ้าง Output Outcome Impact เช่น เกิดเครือข่ายคนทำงาน ผลกระทบอะไรบ้าง เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม องค์กรเครือข่าย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์อะไรบ้าง

จากนั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความเข้าใจการประเมินคุณค่า ได้แก่ 1.นวัตกรรมใหม่ 2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.การสร้างสภาพแวดล้อม 4.ผลกระทบเชิงบวก เกิดนโยบาย ธรรมนูญชุมชน 5. กระบวนการชุมชน 6. สุขภาวะทางปัญญา ความรู้ภูมิปัญญา 7.การสรุปบทคัดย่อ ได้แลกเปลี่ยนประเด็นว่า ทำอย่างไรเมื่อถอดบทเรียนเอาไปใช้ต่อได้จริง เกิดจุดเรียนรู้ที่มีการนำไปใช้ จะต่อยอดโครงการทำอย่างไร การยกระดับพื้นที่ทำอย่างไร

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมวิชาการและทีมสังเคราะห์ 5 คน
  • ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม) 35 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. 8 คน
  • นักศีกษาปริญญาโท วิจัยชุมชนน่าอยู่3 คน
  • ทีมสื่อมวลชน 1 คน

รวมทั้งหมด 52 คน

การประชุมเรื่องการบริหารจัดการโครงการ สร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล (สรรพกร สตง. และสสส.)29 มีนาคม 2559
29
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเรื่องการบริหารจัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล
วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 1402 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


09.00 – 10.00 น. แนวคิดการบริหารจัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ด้วยหลักธรรมาภิบาลใน พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)

10.00 – 10.30 น. การวางระบบภาษีและระบบธรรมาภิบาลร่วมกันระหว่าง สสส. กรมสรรพากร และ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน โดย อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่ปรึกษาด้านภาษีอากรของ สสส. นายอธิปัตย์ อุทัยรัตน์ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ สสส.

10.30 – 11.15 น. แนวทางการปฏิบัติ การติดตามและการตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐเพื่อธรรมาภิบาล โดย นายเสริมพันธ์ นิลละออง ผู้อำนวยการสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดปัตตานี

11.15– 12.00 น. ระบบภาษีที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างเสริมสุขภาพ โดย คุณปิยนันทน์ คุ้มเมฆ นักตรวจสอบภาษีชำนาญการ สรรพากรภาค 12

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 – 16.00 น. การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบ
สุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อสรุปในช่วงบ่าย การหารือ เรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายในโครงการสร้างเสริมสุขภาพ

  • การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) เป็นอัตราก้าวหน้า หรือ 50 (4) หัก 1 เปอร์เซ็นต์ถ้าผู้เสียภาษีนั้นมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเป็นลักษณะโครงการที่มีการจัดซื้อจัดจ้างอย่างชัดเจนแต่ถ้าหากว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างไม่ต้องหัก ณ ที่จ่ายโดยหลักของสรรพากร

  • ข้อสรุปของโครงการชุมชนน่าอยู่ ไม่ใช่การจ้างทำของซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง สสส.กับภาคีเครือข่ายไม่มีค่าตอบแทนคนทำงาน ไม่ได้มีการจัดซื้อจัดจ้าง และไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีกับสรรพากร จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยหลักโดยมีผลตั้งแต่วันที่จัดประชุมในวันนี้

  • การจัดทำโครงการที่โปร่งใสต้องมีบัญชีทำการ คือ มีหลักฐานใบเสร็จรับเงินที่สามารพิสูจน์ผู้รับเงินเบื้องต้นได้ หากเป็นร้านค้าไม่มีใบเสร็จให้ใช้ใบสำคัญรับเงินและแนบสำเนาบัตรประชาชนมา ใบเสร็จต้องออกทุกครั้งที่มีการจ่าย จะสะสมออกครั้งเดียวไม่ได้ ต้องทำให้ครบถ้วยตามหลักเกณฑ์ 105 ทวิ ในมาตรา 105 บอกว่า ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้รับเงิน ต้องออกใบรับให้แก่ผู้จ่ายเงิน ดังนี้การจ่ายเงินต้องมีหลักฐานในทันทีทุกคราวที่รับเงิน ไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกไปรับหรือไม่ก็ตาม หลักฐานใบรับต้องปรากฏข้อความต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย 1)เลขประจำตัวผู้เสียภาษีที่ออกใบรับ หากเป็นประชาชนต้องใช้เลขบัตรประชาชน 2)ชื่อยี่ห้อของผู้ออกใบรับ คือ ชื่อร้าน 3)เลขลำดับของเล่มใบรับ(ก็ไม่จำเป็นก็ไม่มีเลข) 4)วันที่ที่ออกและรับเงิน 5)รายละเอียดรับเป็นค่าอะไร และ6)แนบสำเนาบัตรประชาชนที่ออกให้

  • กรณีโครงการชุมชนน่าอยู่ปี 2554 – 2557 ถูกสรรพากรเรียกให้ไปพบและทำการจ่ายค่าปรับเสียภาษีช้า จำนวน 200 บาท กรณีจังหวัดกระบี่ และจ่ายค่าอากรแสตมจำนวน 500 บาท เนื่องจากทางสรรพากรตีความว่าเป็นสัญญาจ้างซึ่งจากการประชุมที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า “สัญญาที่ภาคีเครือข่ายทำไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ” ดังนั้นอากรแสตมที่ภาคีเครือข่ายจ่ายไปก็เสียโดยไม่มีหน้าที่เสีย และขอคืนได้ตามมาตรา 122 การขอคืนให้ขอคืนภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้เสียอากรหรือค่าเพิ่ม

  • ข้อตกลงการให้ทุนของ สสส. ไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้น ไม่ต้องหักภาษี ณ จ่าย และที่จ่ายไปแล้วสามารถขอคืนได้ในมาตรา 122 และกรณีจังหวัดกระบี่ก็ไปขอคืนได้ ส่วนค่าปรับยื่นช้าต้องมีใบเสร็จ และที่ต้องยื่นในวันที่ 31 มี.ค.59 คือ ไม่ต้องไปยื่น ส่วนโครงการที่โดนสรรพากรเรียกไปคุย ก็ไม่ต้องไปยื่นให้ทำเฉย และทาง สสส.จะทำหนังสือแจ้งไปยังสรรพากรอีกครั้ง

แนวทางปฏิบัติของ สสส.และ ศูนย์ภาษี

  • ประเด็นหารือ ในสัญญา สสส.ข้อที่ 7 ที่เขียนว่า “ตัวภาคีไม่ใช่ผู้ทำการแทน สสส.” หรือที่ระบุว่า “ภาคีไม่ใช่ตัวแทน” ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่าง สตง.และสรรพากร ซึ่งทางศูนย์ภาษีกำลังปรับสัญญาใหม่หมดเอาข้อที่ทำให้ผิดออกไป ซึ่งทุกอย่างต่อไปจะเป็นตัวเดียวกัน สัญญาจะเป็นตัวแทนไม่มีคำนี้ แต่จะอาจจะเอาไปไว้ข้างท้ายว่าห้ามกระทำการดังนี้แทน เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคีนำเอาชื่อ สสส.ไปเรียกรับผลประโยชน์ที่ส่งผลเสียกับ สสส.และทาง สสส.อยู่ในระหว่างการหารือกับกรมสรรพากรส่วนกลาง เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องภาษี และทาง สสส.จะออกหนังสือแนวปฏิบัติการเสียภาษีอากรส่งให้กับภาคีเครือข่ายผู้รับทุน

ข้อเสนอแนะ

  • จากที่ สตง.ส่วนกลางมีหนังสือถึงสรรพากรที่เห็นว่าข้อตกลงดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพมีลักษณะเป็นค่าจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายเพ่งและพานิชย์ และเงินที่ สสส.จ่ายเป็นเงินได้ของผู้รับเงินตามมาตรา 40(2) และ 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อ สสส.จ่ายเงินแล้วจึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งตามประมวลรัษฎากร และต้องจ่ายค่าอากรแสตมตามประมวลรัษฎากร จึงทำให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ดังนั้นเมื่อชุมชนที่ได้รับทุนไปติดต่ออยากให้ทางสรรพากรเข้าใจ
  • หากว่า การหารือระหว่าง สสส.กับกรมสรรพากรส่วนกลาง ต้องจ่ายภาษี ทาง สตง.ที่มาร่วมประชุมได้ให้คำแนะนำว่า ให้ทาง สสส.ตกลงกับสรรพากรให้ใช้วิธีหักภาษีแบบเหมาจ่ายจาก สสส.ซึ่งจะทำให้ภาคีเครือข่ายที่รับทุนในพื้นที่เกิดความสะดวกในการทำโครงการ และได้จ่ายภาษีให้กับสรรพากรได้อย่างถูกต้อง


    รายละเอียดการสรุปผลดำเนินงานตามไฟล์แนบ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน ประกอบด้วย 1. ทีม สสส. จำนวน 4 คน 2. ทีม สจรส.ม.อ. จำนวน 20 คน 3. ทีมสนับสนุนวิชาการภาคใต้ (พี่เลี้ยง) จำนวน 40 คน 4. สรรพากรภาค 11 และภาค 12 และสรรพากรพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 18 คน
5. สำนักตรวจเงินแผ่นดิน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 14 คน 6. วิทยากร 4 คน

ประชุมทีม สจรส.มอ. 14 มีนาคม 2559
14
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วางแผนงานกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการปี 2557

  • อบรมภาษี วางแผนการจัดกิจกรรมได้เชิญ สสส. สตง. และสรรพกร ตอนนี้กำลังกำหนดการ ช่วงต้นเมษายน /ฝากอาจารย์พงค์เทพ เร่งตามกำหนดการอีกครั้ง / ตอนนี้กำหนดวันอีกครั้งและเร่งทำหนังสือเชิญ
  • ปี 2557 ปิดโครงการใหญ่ 30 เมษายน 2559


    โครงการปี 2558
  • รายงานความก้าวหน้างาน ได้ทำเอกสารการเงินจากการจัดทำกิจกรรมในช่วงระหว่างปิดงวดที่ 1 ของโครงการ
  • โครงการเสี่ยงที่แจ้งพี่เลี้ยง รอการปรับแก้ไขชี้แจ้งอีกครั้ง โดยยึดตามเกณฑ์มาตราฐานโครงการเสี่ยง / และรอแจ้งเอกสาร
  • รวบรวมโครงการเสี่ยงส่งรวบรวมเร่งแก้ปัญหาอีกครั้ง
  • คู่มือเว็บไซต์ อาจารย์จีรเนาว์ได้ช่วยในการปรับดูภาพรวมอีกครั้ง แบบวิชาการมากขึ้น
  • คู่มือติดตามประเมินผล นัดวันอีกครั้งมารวมกัน โดยปริ้นมาให้อาจารย์ดูภาพรวมก่อน และประชุมอาจารย์จะนำเสนอ
  • คุยเรื่องกำหนดการประชุม "รวมพลังการสังเคราะห์ความรู้ และการสื่อสาร เพื่องานสร้างสุข "
  • รายงานงวด 1-2 ปี 58 รอการเงินที่มาตรวจส่งกลับมาอีกครั้ง


    วางแผนการ ปี 59- 60 เสนอกำหนด ทีมถอด KM ติดตามในพื้นที่ช่วยสนับสนุนพี่เลี้ยงและโครงการอีกครั้ง

อาจารย์จีรเนาว์ได้แนะนำการเรียนรู้ร่วมกัน การส่งงานควรเสร็จก่อนกำหนดส่ง และแลกเปลี่ยนให้กำลังใจการทำงาน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

อาจารย์จีรเนาว์ และเจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ.

workshop คู่มือติดตามโครงการ ชช.น่าอยู่ ครั้งที่ 37 มีนาคม 2559
7
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายงานความก้าวหน้าคู่มือการติดตามสนับสนุนและประเมินผล 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำคู่มือได้นำเสนอความก้าวหน้าของคู่มือฉบับวิชาการ
1. ชุดองค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
3. การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมต่อการมีสุขภาวะ
4. ผลกระทบเชิงบวก เชิงลบ และนโยบายสาธารณะ
5. กระบวนการชุมชน

สรุป ได้เร่งจัดทำคู่มือฉบับชุมชนก่อน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับการติดตามของพี่เลี้ยงและชุมชน ซึ่งได้กำหนดกรอบเนื้อหาหลักประกอบด้วย 1. ภาพรวมหัวข้อ นิยามศัพท์ หลักการ แนวคิด 2. วิธีการ กระบวนการ เครื่องมือ 3. ตัวอย่าง
โดยกำหนดจำนวนหน้าหัวข้อละไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ และวางแผนกำหนดส่งวันที่ 31มีนาคม 2559 และคู่มือฉบับชุมชนนี้จะแล้วเสร็จฉบับสมบูรณ์วันที่ 5 เมษายน 2559

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 9 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานวิชาการ และเจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. 

ประชุมทีม สจรส.มอ. 2 มีนาคม 2559
2
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อ.จีรเนาว์ ทัศน์ศรี ประชุมร่วมวางแผนงานชุมชนน่าอยู่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • อ.จีรเนาว์ ทัศน์ศรี ประชุมทบทวนงานชุมชนน่าอยู่ สร้างความเข้าใจร่วมกันในโครงการ โดยมีการประชุมในหัวข้อดังนี้
  1. คู่มือติดตามชุมชน ได้วางแผน วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2559 จะนัดประชุมทีมงานติดตามความก้าวหน้าอีกครั้งหนึ่ง
  2. คู่มือเว็บไซต์ ความก้าวหน้า 90 เปอร์เซ็นต์ วางแผนงานดูความเรียบร้อยอีกครั้งวันพุธที่ 9 มีนาคม 2559 และเสร็จสมบูรณ์วันที่ 11 มีนาคม 2559
  3. เรื่องแผนงานพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงโครงการวิจัยจังหวัดนครศรีธรรมราช นำสู่การพิจาณาอีกครั้ง
  4. เรื่องการถอดบทเรียน ของพี่ถนอม ได้แลกเปลี่ยนคู่มือเนื้อหา 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) ถอดบทเรียนโครงการ 45 โครงการ (2)หนังสือสำหรับอ่านง่ายฉบับการ์ตูน (3) หนังสือบุคคลต้นแบบ
  5. เรื่องการประชุมภาษี กำหนดการเบื้องต้นจัดประชุม วันที่ 25 มีนาคม 2559
  6. แลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา ตั้งเป้าหมายให้งานเสร็จทันเวลา และมีความสุขในการทำงาน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ทีม สจรส.ม.อ.

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ. นราธิวาส ยะลา สตูล (บางส่วน)27 กุมภาพันธ์ 2559
27
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
และจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 ตรวจเอกสารโครงการ ผลการดำเนินงานและเอกสารทางการเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

.

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 54 คน จากที่ตั้งไว้ 54 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการจังหวัดนราธิวาส 7 โครงการ จำนวน 14 คน
  • โครงการจังหวัดยะลา 3 โครงการ จำนวน 5 คน
  • โครงการจังหวัดสตูล 10 โครงการ จำนวน 22 คน

  • พี่เลี้ยง จำนวน 6 คน

  • สจรส.ม.อ. จำนวน 6 คน

รวมจำนวน 53 คน

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ. ภูเก็ต25 กุมภาพันธ์ 2559
25
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
และจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 ตรวจเอกสารโครงการ ผลการดำเนินงานและเอกสารทางการเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถปิดงวด 1 ส่งรายงาน 4 โครงการ ยุติ 1 โครงการ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 14 คน จากที่ตั้งไว้ 14 คน
ประกอบด้วย

โครงการ จ.ภูเก็ต 5 โครงการ 10 คน สจรส. 4 คน

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.กระบี่24 กุมภาพันธ์ 2559
24
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
และจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 ตรวจเอกสารโครงการ ผลการดำเนินงานและเอกสารทางการเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

.

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.พัทลุง ตรัง (สงขลาและนครฯบางส่วน)20 กุมภาพันธ์ 2559
20
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
และจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 ตรวจเอกสารโครงการ ผลการดำเนินงานและเอกสารทางการเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

.

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 84 คน จากที่ตั้งไว้ 84 คน
ประกอบด้วย
  • โครงการ จ.พัทลุง 45 คน (21 โครงการ )
  • โครงการ จ.สงขลา 7 คน (3โครงการ )
  • โครงการ จ.นครศรีธรรมราช 8 คน (5 โครงการ )
  • โครงการ จ.ตรัง 6 คน ( 3 โครงการ ) รวมจำนวน 66 คน (โครงการ)

  • พี่เลี้ยง 13 คน

  • สจรส.มอ. 5 คน รวม 18 คน (พี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.)

รวมทั้งหมด 84 คน

ประชุมทีม สจรส.มอ. สรุปการติดตามงวดที่ 1 ปี 2558 ช่วงระหว่างวันที่ 5 - 15 กุมภาพันธ์ 2559 18 กุมภาพันธ์ 2559
18
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมทีม สจรส.มอ. สรุปการติดตามงวดที่ 1 ปี 2558 ช่วงระหว่างวันที่ 5 - 15 กุมภาพันธ์ 2559 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการปี 58 จากการลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบเอกสารรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 ของโครงการปี 58 ระหว่างวันที่ 5-15 กุมภาพันธ์ 2559 (จ.สุราษฏร์ธานี จ.ชุมพร จ.สงขลา จ.สตูล จ.นครศรีธรรมราช จ.ปัตตานี ) สรุปผลดังต่อไปนี้

1.การเขียนบันทึกกิจกรรมของโครงการในเว็บไซต์
ข้อค้นพบ สังเกต
-อธิบายกิจกรรมที่ทำ ยังไม่ชัดเจน ไม่เห็นกระบวนการทำงาน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและส่วนใหญ่มักจะคัดลอกผลกการดำเนินงานที่ได้
จากผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ในโครงการ โดยเฉพาะกิจกรรมประชุมสภาผู้นำประจำเดือน จะมีแผนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานเหมือนกันทุกครั้ง
- ไม่มีภาพถ่ายในการทำกิจกรรม ภาพถ่ายไม่สอดคล้องกับกิจกกรม ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้เข้าร่วมที่รายงาน

สาเหตุ / ปัจจัย - ไม่ได้ทบทวน ตรวจสอบ รายงานของโครงการมาก่อน - ไม่มีประสบการณ์ และทักษะการเขียนการเรียบเรียงเรื่องราวของผู้รับผิดชอบโครงการ - ขาดความใส่ใจในการเขียนรายงาน ทั้งที่ทาง สจรส. ม.อ. ได้จัดทำตัวอย่างเอกสารการเขียนรายงานที่ชัดเจนให้กับทุกโครงการไปแล้ว
- การทำบันทึกเขียนรายงานไม่เป็นปัจจุบัน ขาดการบันทึกรายงานการประชุมในแต่ละครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ทำให้เสียเวลาในการมานั่งทบทวนกิจกรรมทำอะไรบ้างเมื่อมานั่งทำรายงานในช่วงที่มีการส่งรายงานกับทีม สจรส.มอ. จึงทำให้เขียนรายงานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ - โครงการที่มีปัญหาส่วนใหญ่ เป็นโครงการภายใต้ความดูแลของพี่เลี้ยงที่มีโครงการในความรับผิดชอบจำนวนมาก (มากกว่า 5 โครงการ)

แนวทาง 1. ติดตั้งระบบตรวจสอบการทำรายงานล่าช้า เกินกว่า 45 วันโครงการจะถูกล็อคเพื่อระงับโครงการชั่วคราว จนกว่าทางโครงการหรือพี่เลี้ยง จะทำหนังสือหรือชี้แจงมายัง สจรส.ม.อ. พร้อมบันทึกความคิดเห็นในหน้ารายละเอียด ดำเนินการให้ทางพื้นที่และพี่เลี้ยงดำเนินการจัดทำบันทึก ให้เรียบร้อย ภายใน 15 วัน (ล่าช้าไม่เกิน 60 วัน) หากไม่ดำเนินการแก้ไข ภายในระยะเวลาดังกล่าว ทาง สจรส.ม.อ.จะขอยุติโครงการ
2.ทีม สจรส.มอ. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลเบื้องต้นก่อนจะมีการประชุมเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าแต่ละงวด เพื่อแจ้งให้พี่เลี้ยงติดตามข้อมูล และดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนตรวจสอบ 3. เมื่อถึงการตรวจสอบอีกครั้ง ถ้ายังไม่เรียบร้อยสจรส.ม.อ. ดำเนินการตรวจสอบว่าปัญหาเกิดจากพี่เลี้ยงหรือผู้รับผิดชอบโครงการ
เพื่อดำเนินการมาตรการในการจัดการต่อไป(ยุติโครงการ/ทบทวนการจ่ายค่าตอบแทนของพี่เลี้ยง /ยุติบทบาทพี่เลี้ยง / ฯลฯ)


2.การจัดทำเอกสารการเงินโครงการ

ข้อค้นพบ สังเกต 1.ใบสำคัญรับเงิน :
- การเขียนไม่แจกแจงรายละเอียดไม่ชัดเจน เช่นค่าอาหารไม่ระบุจำนวนคน จำนวนเงินค่าวิทยากรไม่ลงรายละเอียด อัตราค่าเดินทางไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เป็นต้น - การเขียนภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง - ค่าใช้จ่ายบางประเภทไม่เหมาะสมที่จะใช้ใบสำคัญรับเงิน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าวัสดุ ค่าทำไวนิล

2.ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :
- จำนวนผู้ลงทะเบียนมีน้อยกว่า 90% ของจำนวนคนที่เบิกค่าอาหารในใบสำคัญรับเงิน
- ใบลงทะเบียนไม่เรียบร้อย
- ใช้สำเนาใบลงทะเบียนถ่ายเอกสารสีมาแนบการเบิกจ่าย - ไม่มีใบลงทะเบียนแนบการเบิกจ่าย

  1. มีการใช้บิลเงินสดที่ไม่ถูกต้อง โดยการเขียนชื่อร้านด้วยปากกา ทั้งที่มีการชี้แจงตั้งแต่วันปฐมนิเทศ การอบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารให้กับโครงการและพี่เลี้ยง

สาเหตุ / ปัจจัย - คณะทำงานโครงการ ฝ่ายข้อมูลและทีมผู้ช่วยการเงินโครงการ มีการปรับเปลี่ยนคน ไม่มีการส่งต่องานหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับคนใหม่
- เรื่องภาษีเป็นเรื่องใหม่ ต้องอาศัยประสบการณ์และต้องอาศัยดูตัวอย่างประกอบการเขียน
- ไม่ได้แจกเอกสารอัตราการเบิกจ่ายค่าเดินทาง แต่ละจังหวัด - ผู้มาเข้าร่วมลงทะเบียนไม่ครบตามจำนวน - ไม่จัดกิจกรรมจริงตามที่รายงาน - มีความต้องการและประสงค์ซื้อของในชุมชน ไม่ได้สนใจเรื่องความถูกต้องของเอกสาร
- ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการใช้เอกสารการเงินที่ถูกต้อง

แนวทาง

  • เรียนรู้จากพี่เลี้ยง และ สจรส.มอ. และควรให้มีการฝึกปฏิบัติ ให้มีความเข้าใจให้ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มต้น
  • หากกิจกกรมใดใบสำคัญรับเงินไม่เรียบร้อยจะไม่อนุญาตให้เบิกจ่ายในกิจกรรมนั้น
  • ทาง สจรส.ม.อ. ดำเนินการตรวจสอบว่าปัญหาเกิดจากพี่เลี้ยงหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อดำเนินการมาตรการในการจัดการต่อไป (ยุติโครงการ/ทบทวนการจ่ายค่าตอบแทนของพี่เลี้ยง /ยุติบทบาทพี่เลี้ยง / ฯลฯ)
  • จัดทำคู่มือการบริหารแผนงาน/โครงการ และการบริการเงินการบัญชี เพื่อแจกให้กับโครงการไว้ใช้ประกอบการทำเอกสารการเงิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการเขียนรายงาน (มีตัวอย่างเอกสารการเงินทุกประเภท หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท การเขียนรายงานเพื่อให้ทุกโครงการมีมาตรฐานในการบริหารโครงการ บริหารการเงินการบัญชีเหมือนกัน)


    3.ความเข้าใจในการจัดการโครงการ

ข้อค้นพบ สังเกต - ขาดความเข้าใจเรื่องแผนงานและกระบวนการในการทำงาน การจัดการเอกสารการเงิน การเขียนรายงาน

สาเหตุ / ปัจจัย
- ไม่มีการวางแผนงานและการทำความเข้าใจแผนงานที่ชัดเจน

แนวทาง -เปลี่ยนผู้รับผิดชอบโครงการหรือหาผู้ช่วยในการรับผิดชอบดูงานภาพรวมของโครงการ
- พี่เลี้ยงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด


4.ปัญหาการบริหารจัดการโครงการ

ข้อค้นพบ สังเกต - โครงการมักมองแต่การทำกิจกรรมให้เสร็จตามแผนงาน แต่ไม่มองถึงผลสำเร็จของกิจกรรม

สาเหตุ / ปัจจัย - ขาดความแม่นยำในการตีโจทย์ของกิจกรรมในแผนงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันของคนในชุมชน

แนวทาง -การใช้หลักประเมินคุณค่าตั้งแต่เริ่มต้นทาง กลางทาง ปลายทาง


5.ปัญหา/อุปสรรคในการจัดประชุมของ สจรส.มอ.

ข้อค้นพบ สังเกต -ขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจสำหรับโครงการที่มีความเสี่ยงสูงในการบริหารโครงการและการบริหารการเงิน
- การตรวจเอกสารและรายงาน ทำได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถตรวจได้ครบทุกโครงการ และให้คำแนะนำกับโครงการได้น้อย
- ใช้ระยะเวลาในการตรวจเอกสาร รายงานต่อโครงการมาก (บางโครงการใช้เวลาถึงครึ่งวัน)

สาเหตุ / ปัจจัย - มีความเกรงใจในตัวพี่เลี้ยง และไม่อยากให้โครงการต้องยุติหากว่ายังพอจะกลับไปแก้ไขปรับปรุงได้
- จำนวนวัน/จำนวนผู้ช่วยตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมเอกสารการเงินและรายงานของโครงการ ไม่สมดุลกับจำนวนโครงการที่เข้าร่วม

แนวทาง - มีการกำหนดหลักการและหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการที่ชัดเจน -เพิ่มจำนวนวัน หรือ เพิ่มจำนวนผู้ตรวจสอบให้สมดุลกับจำนวนโครงการ (ประมาณ 4-5 โครงการ/คน/วัน)


ประเด็นสิ่งดีๆ

1.ความเข้าใจในการจัดการโครงการ มีความเข้าใจ ดำเนินงานตามแผนงาน มีการดึงภาคีอื่นๆ ส่วนราชการเข้าหนุนเสริม
มีการปรึกษาพี่เลี้ยงในพื้นที่หากมีข้อสงสัย ทำให้การดำเนินงานโครงการ สามารถดำเนินงานได้


2.สิ่งดีๆ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการตรวจโครงการ - ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงมีความตั้งใจในการทำงาน รับฟังแนะนำ ข้อเสนอแนะ ผู้ตรวจสอบ และยอมรับในความผิดพลาดจากการทำงาน และมีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น -เกิดความไว้วางใจระหว่างผู้ตรวจสอบ พี่เลี้ยง และผู้รับผิดชอบโครงการ ทำให้กล้าที่จะพูดคุย และขอคำแนะนำคำปรึกษาในการทำงาน
-ผู้รับผิดชอบโครงการมีความภาคภูมิใจที่คนในชุมชนมีการพูดคุย มีความใกล้ชิด สัมพันธ์กันมากขึ้น จากเดิมที่ต่างคนต่างอยู่มีส่วนร่วมในการทำงานกันมากขึ้น


  1. โครงการขอขยายเวลา จำนวน 13 โครงการ ซึ่งขยายส่งรายงานงวดภายใน 15 มีนาคม 2559 โครงการได้แก่
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 4 คน
ประกอบด้วย

ทีม สจรส.ม.อ. 

ปรับปรุงคู่มือเว็บไซต์16 กุมภาพันธ์ 2559
16
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปรับปรุงคู่มือเว็บไซต์ เพื่อให้ทันสมัยตรงกับการใช้งานหน้าเว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมได้ทบทวนคู่มือตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสดท้าย โดย คู่มือนี้ชุมชนและพี่เลี้ยง สามารถนำไปใช้ได้อย่างง่าย ซึ่งแบ่งเป็น 5 ส่วนประกอบที่สำคัญ  ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 การพัฒนาโครงการ ส่วนที่ 3 การติดตามโครงการ ส่วนที่ 4 การจัดทำรายงาน ส่วนที่ 5 รายงานพี่เลี้ยง และได้แบ่งกันนำไปตรวจสอบเพื่อความสมบูรณ์ครั้งสุดท้าย 

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานพัฒนาระบบสื่อสารสนเทศ 1 คน และ สจรส.มอ. 4 คน 

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส15 กุมภาพันธ์ 2559
15
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
และจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรุ้การจัดทำโครงการ คุยปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา ได้ช่วยกันเสนอแนะแนวทางแก้ไข ซึ่งโครงการได้ส่งเพื่อเบิกงวด 2 จำนวน 14 โครงการ

รายละเอียดเพิ่มแนบไฟล์รายงานความก้าวหน้า

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยง 2 คน
  • สจรส.มอ. 18 คน
  • โครงการชุมชน 14 คน (โครงการ 8 โครงการ)
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช13 กุมภาพันธ์ 2559
13
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
และจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 13 - 14 กุมภาพันธ์ 2559 ได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปิดงวดที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช สถานที่จัด อาคารนวัตกรรม ม.วลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ดำเนินการส่งเอกสารส่งงวดรายงาน 65 โครงการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับปรุงผลการดำเนินงานให้เรียบร้อย

รายละเอียดเพิ่มแนบไฟล์รายงานความก้าวหน้า

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 134 คน จากที่ตั้งไว้ 130 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมพี่เลี้ยง / สจรส.มอ. 16 คน
  • คณะทำงานโครงการชุมชน 118 คน
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.สตูล สงขลา11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
และจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการส่งงวดที่ 1
- สงขลา ยุติ 3 โครงการ , ส่งรายงานเพื่อดำเนินกิจกรรมต่อ 11 โครงการ

รายละเอียดเพิ่มแนบไฟล์รายงานความก้าวหน้า

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 85 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยง 7 คน
  • สจรส.มอ. 5 คน
  • ชุมชน 73 คน (สงขลา 9 โครงการ, สตูล 28 โครงการ)

รวม 85 คน

ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.ชุมพร7 กุมภาพันธ์ 2559
7
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ
และจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.ชุมพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ


1. กลุ่มประมงบ้านบ่อเมา-แหลมแท่น รักษ์สิ่งแวดล้อม ปี
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ ชุมชนมีความรักและหวงแหนทรัพยากร รักทะเลหน้าบ้าน ดูแลรักษา และเฝ้าระวังร่วมกัน
เช่น เมื่อเห็นมีเรือแปลกปลอมเข้ามาทำประมงในรัศมีชายฝั่งทางชุมชนจะช่วยกันไปพูดคุยอย่างสันติ
เพื่อให้เขาออกนอกชายฝั่งไป เพราะทะเลในระยะชายฝั่งของชุมชน ขอเป็นที่ทำมาหากินในชุมชนเท่านั้น
- วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ ปัญหาชุมชน ขัดแย้งกันเอง ในกรณีที่มีโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐลงชุมชน ซึ่งบางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย ทำให้เกิดการแตกแยกชุมชนเป็น 2 ฝ่าย ทำให้เกิดผลกระทบต่อโครงการ
ซึ่งต้องเชื่อมประสานชุมชนและผู้นำ เพื่อให้ชุมชนได้หันหน้าเข้าหากัน สามัคคี เพื่อสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่


2. ชุมชนสูงวัย บ้านในซัง ต่อเนื่องปี 2 - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลช่วยเหลือจากกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน, ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังได้รับความเอาใจใส่ดูแลจากจิอาสาที่รับผิดชอบ, ผู้ที่ติดเหล้าบุหรี่ลดอัตราลง, มีการรวมกลุ่มมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้, ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการ (เห็ดนางฟ้า, พวงหรีด, ดอกไม้จัน, พิมเสนน้ำ, กำพรึก) , สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มผู้สูงอายุ เครือข่ายใกล้เคียง
- วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ, ผู้สูงอายุมีอายุมาก บางกิจกรรมไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้
, คณะทำงานขาดทักษะ และความสามารถในการลงข้อมูลในระบบออนไลน์
ต้องอาศัยหาคนช่วยจัดการให้ ทำให้รายงานกิจกรรมล่าช้าไปบ้าง


3. ร่วมสร้างชุมชนบ้านดอนตาบ่าวให้น่าอยู่ คลองสวยน้ำใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2 - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ ทำให้สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักในกิจกรรมี่ทำร่วมกัน มีความกระตือรือร้นมีความรับผิดชอบ มีความรัก ความสามัคคี เช่น การคัดเลือกทีมสภาผู้นำ, ทำให้เกิดภูมิทัศน์ที่สวยงาม น่าดู น่ามอง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน และบุคลลากรในโรงเรียน เช่น โครงการปลูกต้นโกศล , ทำให้สมาชิกในชุมชน มีรายได้เสริม มีความมานะอดทน มีความคิดสร้างสรรค์เช่น โครงการลดภาวะโลกร้อน (การสานตะกร้าด้วยเส้นพลาสติก , ทำให้สมาชิกในชุมชนมีจิตใจเยือกเย็น มีการนำธรรมมะที่พระท่านสอน คือการไม่ยึดมั่นถือมั่น สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น โครงการธรรมะปฏิบัติ - วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ จากกิจกรรมที่ผ่านมาพบว่า ในบางครั้งสมาชิกในชุมชนมีภารกิจที่ต้องทำตรงกับกิจกรรมที่ สสส.จัด
ทำให้สมาชิกไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้ ทางทีมงาน สสส.ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเวลาให้เหมาะสม ในการทำกิจกรรมแล้ว และมีสมาชิกบางคนลืม วัน เวลา นัดหมายในการทำกิจกรรม ทีมงานได้ปรับ
โดยมีการประชาสัมพันธ์ใกล้ถึงวันประชุม เช่น เสียงตามสาย และโดยการพูดคุย


4. บ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค ปี2 - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ - วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ


5. บ้านดอนรักษ์ร่วมใจสร้างความปลอดภัยในชุมชน ปี2 - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ เกิดความเปลี่ยนแปลงของคนในชุมชน ในการออกมามีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรม
และมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้นผู้นำชุมชนมีความสนใจในการทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน
เกิดการกระจายความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านประเภทกลองยาว
- วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ ปัญหาที่พบในกิจกรรมเป็นเรื่องเวลาที่ตั้งไว้ไม่ตรงกับเวลาว่างของคนในชุมชน
แก้ไขโดยการพูดคุย เพื่อจัดสรรเวลาให้ตรงกัน


6. ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ, เกิดกลุ่มสภาผู้นำในหมู่บ้านนาเหนือ ม.3 ต.หาดพันไกร จำนวน 20 คน นอกหมู่บ้าน 10 คน มีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหากันทุกเดือน , เกิดกลุ่มอาชีพเสริมทำพวงหรีดจากดอกไม้จันที่ได้รับความรู้จากการทำกิจกรรมโครงการซึ่งถ้ามีการเสียชีวิต ก็จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นของกลุ่มในชุมชน
- วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ ปัญหาที่มีคือความไม่เข้าใจของคนบางคนในชุมชน ในการร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง ทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งไม่ปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการโดยพูดคุยใน ที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน ชี้แจ้งให้ชาวบ้านเข้าใจ และขอคำแนะนำจากพี่เลี้ยง
ให้พี่เลี้ยงลงพื้นที่เวลาทำกิจกรรมโครงการ


7. อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี 2 - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ โครงการมีประสบการณ์ที่ดีจากความร่วมมือของชาวบ้านที่จะอนุรักษ์ผืนป่าของชุมชน, ความสำเร็จที่ได้ คือ แก้ปัญหาการบุกรุกป่าชุมชนทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของผืนป่า ที่จะต้องเป็นของส่วนรวมในการทำกิจกรรมต่างๆ , มีการดูแลป่าและปลุกป่าเพิ่มเติม,มีสมุนไพรหายากที่ควรดูแลรักษาและได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน - วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ ปัญหาที่เกิดขึ้น ในชั้นตอนแรกที่เข้าไปทำกิกจรรมคือ ผู้ที่เคยบุกรุกป่าและมีผลประโยชน์ได้ตอนต้น , ได้แก้ปัญหาโดยใช้ที่ประชุมเน้นเวทีในการหาข้อสรุป และใช้มติประชาคมเสียงส่วนใหญ่ ในการตัดสินทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอน , ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่ทำเพื่อการอนุรักษ์ผืนป่า


8. ชุมชนเขาเจดีย์-ตลาดใน ห่วงใยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีพอเพียง ปี 2 - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ ชุมชนได้นำวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มาเป็นโอกาสในการปรับปรุงวิถี ความเป็นอยู่ของตนเอง โดยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ลดรายจ่ายโดยการปลูกผักข้างบ้านไว้กินเอง ,มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาคำตอบร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชนร่วมกัน - วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ ชุมชนไม่ค่อยมีการรวมตัวกัน เนื่องจากเป็นชุมชนเมือง ต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองลูกต้องเรียนหนังสือ ซึ่งบางครั้งต้องคุยกันในเวทีแบบไม่เป็นทางการและนัดวันล่วงหน้าหลายๆ วัน เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัว


9. สภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุขที่บ้านนาโครงช้าง - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ - วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ


10. บ้านนาเหนือเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ - วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ


11. บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ - วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ


12. ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ เกิดการร่วมกุ่มของคนในชุมชนบ้านปะติมะ , การตั้งกฎกติกาในการพัฒนาหมู่บ้าน ทุกๆ 3 เดือน , การจัดงานประเพณี มวยแพ ร่วมกันกับหมู่บ้านใกล้เคียง (ม.1) มีชาวบ้านเข้าร่วม 3 วัย คือ ผู้สูงอายุ วัยทำงาน เด็กเยาวชน , ประชาชน ชาวบ้าน มีการรวมกลุ่ม ปลุกผักในฤดูแล้ง โครงการได้แจกเมล็ดพันธุ์ไปในแต่ครัวเรือน , ชุมชนมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ป่าไม้) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และ อบต. , เกิดกองทุนบ้านปะติมะ หมู่ที่ 14 (ภัยพิบัติ) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน เกิดจากการระดมปัญหาและแนวทางในการแก้ไข
- วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ การลงข้อมูลในพื้นที่ ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีสัญญาณ ,การปลูกผักในฤดูเมล็ดพันธุ์ไม่งอก


13. บ้านตรังสร้างสุข - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ ได้ไปดูโครงการของผู้ใหญ่คมตะวัน สร้างแก้ว ม.2 บ้านบังเหา ต.บังหวาน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร โดยทำเป็นศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้เยาวชนดำเนินการจัดทำประสบความสำเร็จ
ได้นำมาชี้แนะชาวบ้านในหมู่บ้านของตนเองในการทำให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ โดยการปลูกพืชสวนครัวไว้ทานเอง และแจกจ่ายเพื่อบ้าน แต่ละบ้านได้ทำปุ๋ยอินทรีย์
จากเศษพืชไว้ใส่ต้นไม้
- วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการไม่มีสัญญาณในการเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ยากในกรอกข้อมูล ต้องเดินทางมาพบพี่เลี้ยงเพื่อปรับปรุงข้อมูลเป็นครั้งคราว และบางครั้งพี่เลี้ยงต้องลงพื้นที่เพื่อชี้แนะในการป้อนข้อมูล
, ความไม่เข้าใจในการลงระบบข้อมูลผิดพลาด แก้ไขโดยการขอคำปรึกษาจากพี่เลี้ยง


14. ปลูกจิตสำนึกชุมชนบ้านในจูนน่าอยู่ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ ประสบการณ์ที่ได้จากการทำโครงการ คือ ผู้นำและชาวบ้านมีความรู้หลังจากได้ลงมือปฏิบัติจริง
ทำให้ผู้นำและคณะกรรมการที่ได้รับเลือกมาทำงานมีการปฏิบัติงานที่ชัดเจนขึ้น มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันทุกเดือน เพื่อให้ได้รู้ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน
ชาวบ้านมีความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือนและดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง สรุปได้ว่าสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากทำโครงการ คือ ชุมชนได้รับความรู้และมีความสามัคคี มีความเข้าใจในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
- วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ ปัญหาของชุมชน คือ ชาวบ้านขาดความเข้าใจ และไม่ตระหนักในการให้ความร่วมมือเป็นบางส่วน การดำเนินการแก้ปัญหาโดยประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ ให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ในการทำกิจกรรมทุกๆ กิจกรรม จนชาวบ้านเกิดความรู้ ความเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


- การจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.ชุมพร

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 39 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 14 โครงการมี 27 คน
  • ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) 3 คน
  • ผู้ช่วยพี่เลี้ยง 6 คน
  • เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. 3 คน
ประชุมจัดทำรายงานโครงการปิดงวดที่ 1 จ.สุราษฏร์ธานี5 กุมภาพันธ์ 2559
5
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ

  • พี่เลี้ยงแนะนำจัดทำรายงานปิดรายงานงวดที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่มีประสบการณ์ที่ดีและมีรูปธรรมความสำเร็จ วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการ

- โครงการดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง โครงการได้ปลูกดอกดาวเรืองเป็นเครื่องมือสร้างคน ผ่านกระบวนการเวทีในชุมชน จากเดิมประชุม 7 คน หลังๆ เริ่มประชุมเป็น 30-40 คน

  • โครงการวัฒนธรรมนำสุขคนกงตากวัฒนธรรมรำมโนราห์ สิ่งดีๆ กิจกรรมได้ฝึกหัดเยาวชนในพื้นที่ รำมโนราห์ และมีผู้สูงอายุ เข้ามาร่วมเข้าร่วมด้วย ทำให้เยาวชนเกิดยืดเส้นยืดสาย
  • โครงการบ้านปากหานสร้างสุขด้วยสมุนไพร เริ่มต้นโครงการทำเรื่องสมุนไพรรูปแบบ เกิดจากสภาชุมชนในหมู่บ้าน เสนอเรื่องสมุนไพรเริ่มจากหมอครูภูมิปัญญา และขยายไปชุมชน

  • โครงการผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน....

  • โครงการลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง เชื่อมประสานซื้อถังขยะระหว่างเทศบาลกับชุมชน มีการนำขยะไปทำปุ๋ยหมัก / เกิดโครงการขยะแลกไข่ของเทศบาลมีการนำขยะมาแลกเป็นไข่ / เกิดธนาคารขยะ

  • โครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด เน้นกิจกรรมที่หารายได้เพิ่มขยะชุมชน มีปัญหาในพื้นที่เรื่องการส่งรายงานทางเว็บไซต์ เนื่องจากการสื่อสารติดขัด ทำให้โครงการดำเนินไปล่าช้า

  • โครงการสวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง ใช้ผักเข้าไปปลูกในศูนย์ของโกงเหรงด้วย จัดทำเป็นสวนป่า / ใช้ผักสมุนไพรในประเพณี 5 ธันวาคมจัดกิจกรรมให้คนเข้ามาปลูก / นำเด็กในโรงเรียนเข้ามาทำกิจกรรมและขยายไปสู่กลุ่มเด็กอื่นๆ ต่อไป

  • โครงการร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่ เป็นชุมชนติดทะเล กิจกรรมดำเนินการใช้งบประมาณไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเจอปัญหาน้ำทะเลช่วงมรสุม นำหนุนสูงทำให้จัดกิจกรรมปลูกป่าไม่ได้ ประกอบกับต้นกล้าที่เพาะไว้ปลูกเติบโตไม่ทัน และกิจกรรมวางทุนปะการังไม่สามารถจัดได้เนื่องฝนฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย ชุมชนแก้ปัญหาโดยจัดกิจกรรมอื่นก่อน และทำเรื่องขอขยายเวลา

  • โครงการสร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง ดำเนินการเด่นในเรื่องประสานงานเครือข่ายบูรณาการสุขภาพ สาธารณสุข เทศบาล ทำกิกจรรมร่วมกัน โดยลงพืนที่พูดคุยเรื่องสุขภาพ ดำเนินการสร้างลานกิจกรรม โดยมองเห็นทุนเรื่องเครือข่าย /ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การมองโครงการในง่ลบเรื่องการเบิกจ่ายเงิน และมีการแก้ไขโดยการเข้าไปชี้แจ้งรายละเอียดการใช้จ่ายการเงิน

  • โครงการควนสูงน่าอยู่ ครอบครัวสดใส ห่างไกลอบายมุข ตอนนี้ได้เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ได้ประชุมสภาชุมชนเดือนละครั้ง มีโรงเรียนเป็นต้นแบบจัดการขยะ
  1. จัดทำรายงานปิดรายงานงวดที่ 1
  • ชุมชนเข้าร่วม 10 โครงการ ได้รับการแนะนำการเขียนใบเสร็จโครงการ และการเขียนผลดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้อง

  • ชุมชนบางส่วนทำกิจกรรมการใช้เงินไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ทำหนังสือขอขยายเวลาการส่งงวด เร่งกิจกรรมในพื้นที่ และจัดส่งรานงานภายใน 1 เดือน

  • โครงการที่สามารถเป็นต้นแบบการทำรายงานและการเงิน คือ โครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด

  • โครงการที่ได้รับทุนช้า 1 โครงการ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการส่งเอกสารการทำสัญญา ทำให้ปิดงวดขอขยายเวลา

  • โครงการขอขยายเวลา ภายใน 15 มีนาคม 2559 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่............เนื่องจาก.........


    ข้อสังเกต/ค้นพบ

  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้ฝึกทักษะการเล่าเรื่องโครงการ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ การปฺฎิบัติจริง ผ่านการวิเคราะห์ด้วยตนเอง รู้จักสถานการณ์ของชุมชน วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขโครงการได้ ซึ่งในอนาคตการเรียนรู้แก้ปัญหานี้จะเกิดขึ้นฝังตัวในบุคคลโดยธรรมชาติ นำไปสู่ภาวะผู้นำในการแก้ปัญหาในชุมชนได้
  • คณะทำงานได้เรียนรู้หลักการจัดทำเอกสารทางการเงินอย่างถูกต้อง และมีการบริหารจัดการโครงการนำไปสู่การวางแผนแก้ปัญหาในชุมชนต่อไป
  • พี่เลี้ยงมีศักยภาพในเวทีนำกระบวนการพูดคุย รู้จักวิเคราะห์ สรุปประเด็นในเวทีได้
  • ชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เกิดเครือข่ายชุมชนในจังหวัดสุราษฏร์ธานี
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยง 3 คน
  • ผู้ช่วยพี่เลี้ยง 1 คน
  • สจรส.มอ. 3 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 10 โครงการ จำนวน 27 คน
ติดตามสนับสนุนเยี่ยมเยียนโครงการกุนุงจนอง จ.ยะลา29 มกราคม 2559
29
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เดินทางออกจากที่พักเพื่อเยี่ยมโครงการมัสยิดกุนุงจนอง สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา
  • เวลา 09.00 น. ถึงพื้นที่บ้านกุนุงจนอง ประธานชุมชน บัณฑิตอาสา และแกนนำเยาวชนจิตอาสา ออกมาต้อนรับ และกล่าวทักทาย
  • เริ่มการประชุม โดยโต๊ะอีม่ามบ้านกุนุงจนองกล่าวดุอาร์เปิดการประชุม ชี้แจงวัตถุประสงค์การเยี่ยมโครงการ โดย อ.พงค์เทพ และทีม สจรส.ม.อ. ทางบัณฑิตอาสา ม.อ.และแกนนำเยาวชนได้นำเสนอผลการทำโครงการ โดยใช้แผนที่เดินดินที่ทำไว้นำเสนอสภาพทั่วไปของชุมชน จากนั้นทางทีม สจรส.ม.อ.ได้ให้คำแนะนำต่อการทำแผนที่เดินดินให้มีความสมบูรณ์และนำไปใช้ต่อไปได้ โดยเน้นบ้านผู้สูงอายุในชุมชน บ้าน อสม. บ้านเยาวชน และการสานต่อโครงการ เนื่องจากโครงการนี้ได้ปิดเรียบร้อยแล้ว จากนั้นทางเยาวชนได้นำเสนอข้อมูลการทำกิจกรรม และซักถามข้อสงสัย ในขณะเดียวกันประธานชุมชนช่วยเสริมและเพิ่มเติมข้อมูลจากทีมเยาวชน
  • เสร็จประชุมเวลา 11.00 น. โดยโต๊ะอีม่ามกล่าวดุอาร์ปิดประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมแกนนำที่ทำโครงการและกลุ่มเยาวชนรู้สึกดีใจที่ทางทีม สจรส.ม.อ.ได้ลงมาเยี่ยมพื้นที่ ซึ่งโครงการได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ทำให้ได้รับคำแนะนำต่อการทำโครงการในครั้งต่อไป
  • ทีม สจรส.ม.อ.รู้สึกดีที่ได้กลับไปเยี่ยมโครงการ เกิดสัมพันธ์ต่อกัน และให้คำปรึกษาต่อการทำโครงการ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 26 คน
ประกอบด้วย
  • ทีม สจรส.ม.อ. 5 คน
  • ทีมแกนนำทำโครงการ และเยาวชนในพื้นที่ จำนวน 10 คน
การประชุมคณะทำงานวิชาการ ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม) และทีมสังเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจกรอบการสังเคราะห์ความรู้24 มกราคม 2559
24
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น. การติดตามโครงการ และการทำรายงานงวด โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ และ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)

10.30 – 11.00 น. การส่งรายงานงวด และการเบิกจ่ายเงิน
โดย คุณสุธาสินีเสลานนท์ สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

11.00 – 12.00 น. การสังเคราะห์คุณค่าโครงการ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.00 น. การถอดบทเรียน โดย คุณถนอมขุนเพ็ชร์ นักเขียนอิสระ

14.00 – 16.30 น. การจัดการภาษี
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)
และคุณสุธาสินีเสลานนท์ สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปประเด็นการติดตาม

ปี 2556 จำนวน136 โครงการ

  • ปิดโครงการ 134 โครงการ
  • รอยกเลิกโครงการ 2 โครงการ
    *สถานะรอยกเลิกโครงการ (สิ้นสุดโครงการ 30 กันยายน 2556) 55-01813 สมุนไทยทางเลือกใหม่ของชุมชน (ตรัง)
    55-01809 ป่ายางต้นแบบตามรอยปู่-ตา (นครศรีธรรมราช)


    ปี 2557 (ต่อเนื่อง) 49 โครงการ
  • ปิดโครงการ 37 โครงการ
  • ยุติโครงการ 1 โครงการ
  • รอปิดโครงการ1 โครงการ
  • สสส.ได้รับรายงานแล้วรอเบิกเงิน 1 โครงการ
  • ยังไม่ส่งงานล่าช้า 6 โครงการ


    ปี 2557 จำนวน 142 โครงการ
  • ปิดโครงการ 87 โครงการ
  • ยุติโครงการ 1 โครงการ
  • รอยกเลิกโครงการ 1 โครงการ
  • รอปิดโครงการ 12 โครงการ
  • สสส.ได้รับรายงานแล้วรอเบิกเงิน25 โครงการ
  • ยังไม่ถึงกำหนดส่งงาน 2 โครงการ
  • ยังไม่ส่งงานล่าช้า 14 โครงการ


    ปี 2558จำนวน193 โครงการ กำหนดส่งรายงานงวดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558
  • โครงการใหม่ 163 โครงการ
  • โครงการต่อเนื่อง 30 โครงการ
    โครงการส่วนใหญ่ดำเนินงานและใช้จ่ายเงินไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

แนวทางการดำเนินงาน ปี 58
- ถ้าส่งงานตามระยะเวลางวดเดิม จัดส่งแผนปฏิบัติการ และแผนการใช้จ่ายเงิน (ตั้งแต่ มีค. - สิ้นสุดโครงการ) - ขยายเวลาส่งผลงานงวด (ไม่เกิน 2 เดือน) จัดส่งเอกสารขยายเวลา นำส่งผลงานพร้อมระบุเหตุผลประกอบ
(ส่งจดหมายก่อนเวลาที่ต้องการขยาย)


ประเด็นข้อค้นพบ
1. โครงการที่มีความเสี่ยงให้รีบทำหนังสือแจ้ง สสส. เพื่อยุติโครงการ โดยระบุเหตุผลประกอบการยุติโครงการให้ชัดเจนเพื่อการบริหารจัดการขั้นต่อไป 2. รายงานความก้าวหน้า / สรุปปิดโครงการ 2.1เน้นการเขียนผลลัพธ์ที่ชัดเจนระบุผลเชิงปริมาณเป็น ตัวเลขไม่ควรบอกเพียงร้อยละ 2.2เขียนรายงานเป็นกลุ่มกิจกรรม (ปัจจุบันเขียนรายงาน
ตามวันที่จัดกิจกรรม) 2.3ปรับการแสดงรูปภาพกิจกรรมในรายงานให้ใหญ่ขึ้น 3. รายงานการติดตามโครงการ
- การประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินงาน - ร้อยละของผลผลิตที่เกิดขึ้นกับผลผลิตทั้งโครงการ - การประเมินความน่าสนใจสำหรับการสื่อสาร


สรุปประเด็นปัญหาในการติดตามและตรวจสอบรายงาน

  1. ความล่าช้าในการส่งรายงานให้สจรส.ม.อ.
    • ได้รับเงินงวดล่าช้า ( ได้เงินโอนช้า/ ไม่ได้ไปปรับสมุดบัญชี/ ปรับกับเครื่องฯ)

- ไม่ทำรายงานกิจกรรม/ เขียนรายงานไม่สมบูรณ์ ( รายงานไม่ครบ/ภาพประกอบไม่มี /อินเทอร์เน็ตหรือคนทำรายงานไม่พร้อม) - ทำกิจกรรมทำไม่ครบถ้วน แต่ไม่ทำหนังสือขอขยายเวลา

2.ความล่าช้าในการส่งรายงานให้ สสส. - ได้รับเอกสารไม่ครบถ้วน/ เอกสารไม่สมบูรณ์ (ข้อมูลไม่ครบ, ไม่มีภาพประกอบ, ไม่ลงนามในเอกสารการเงิน) - รายงานการเงินไม่ถูกต้อง
: ลง วันที่ไม่ต่อเนื่องจากรายงานงวดแรก/ลงวันทับซ้อนกัน : ลงยอดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง (ลงซ้ำซ้อน , ลงไม่ครบ, ไม่ปรับดอกเบี้ยเมื่อถึงเวลาต้องไปปรับ, ความเข้าใจผิดเรื่องการปรับดอกเบี้ย) :ลงตัวเลขเงินรับอื่นๆ , เงินคงเหลือในบัญชี, เงินสดในมือไม่ถูกต้อง - แจ้งแล้วไม่ดำเนินการแก้ไขในทันที - รอรายงานบันทึกกิจกรรม และบันทึกการติดตามของพี่เลี้ยง / ขาดความสมบูรณ์เชิงคุณภาพ/ ทำรายงานไม่ครบตามกิจกรรมหลักที่พื้นที่ทำกิจกรรมในงวดนั้นๆ
หรือ ไม่รายงาน / ควรประเมินความเสี่ยงตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น /
ไม่เขียนข้อสรุปที่ 4 สรุปความเห็นของผู้ติดตาม และส่วนที่ 5 สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)
- เอกสารรายงานสูญหายระหว่างการจัดส่ง

  1. การส่งรายงานตรงไป สสส. ไม่ผ่านมาที่ สจรส.มอ.
    • ส่วนใหญ่ส่งเอกสารไม่ครบ

- ส่งครบแต่ก็ผิด แล้ว สสส.ส่งเอกสารกลับมาให้ สจรส.แก้ และตามกันใหม่ เสียเวลาไปอีกหลายอาทิตย์


การหักภาษี ณ ที่จ่าย กระทำการแทน สสส. ในหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
รายการที่ต้องหักภาษี - รายจ่ายตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไปที่ต้องหัก มีดังนี้ 1) ค่าตอบแทน
2) ค่าจ้าง
3) ค่าเช่ารถตู้รถบัส
- การจัดซื้อครุภัณฑ์ตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป

การหักและนำส่งภาษี

  • ออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ผู้รับเงินในนาม สสส. หมาย เลข 0-9940-00005-37-7
  • โครงการส่งเงินภาษีที่หักส่งสรรพากรภายในวันที่7 ของเดือนถัดไป
  • ส่งเอกสารการหักภาษีให้ สสส.
    1 ชุด พร้อมกับรายงานเบิกเงินงวด

เมื่อโครงการได้รับหนังสือเชิญพบจาก กรมสรรพากร ฉบับที่ 2 ขอให้โครงการติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับศูนย์ปรึกษาภาษีเป็นรายกรณี

ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านภาษี โทรศัพท์02-8729175-6
099-0493991 , 081-8035931 อีเมล์sook_concept@hotmail.com

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ประสานงาน สสส. 1 คน
  • คณะทำงานวิชาการ ทีมสังเคราะห์ 3 คน
  • สจรส.มอ. 5 คน
  • ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม) 33 คน
  • นักศึกษา 3 คน
workshop คู่มือติดตามโครงการ ชช.น่าอยู่ ครั้งที่ 220 มกราคม 2559
20
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นำเสนอผลที่ได้เตรียมไว้ 5 ประเด็น ได้แก่

  1. ชุดองค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ (อ.กุลทัต/อ.พงค์เทพ)
  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (อ.ซอฟียะ)
  3. การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมต่อการมีสุขภาวะ (อ.เพ็ญ)
  4. ผลกระทบเชิงบวก เชิงลบ และนโยบายสาธารณะ (อ.เพ็ญ)
  5. กระบวนการชุมชนมีกระบวนการอะไร (อ.จีรเนาว์/อ.พงค์เทพ)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ที่ประชุมได้นำเสนอหัวข้อและเนื้อหาของแต่ละคนที่ได้เตรียมมาและร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาคู่มือการติดตามให้สมบูรณ์ขึ้น ผลดังนี้

  1. ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน (อ.กุลทัต/อ.พงค์เทพ) ได้นำเสนอหัวข้อกรอบการพัฒนาคู่มือ ประกอบด้วย ความหมาย แนวคิด การประเมินผล ความรู้ด้านการสร้างเสริมนวัตกรรม วัถตุประสงค์การประเมิน

  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ (อ.ซอฟียะ) บทนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพและปัจจัยกำหนดสุขภาพ แนวคิดและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ความหมายการประเิมนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน รูปแบบกรอบแนวคิดในการประเมิน ตัวชี้วัดเกณฑ์ กรณีศึกษา และตัวอย่างเครื่องมือ

  3. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ (อ.เพ็ญ) ใช้หลักการ คน สภาพแวดล้อม และกลไก

  4. ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน (อ.เพ็ญ) ได้นำเสนอเรื่องบทนำ สุขภาวะ ปัจจัยสุขภาพ ผลกระทบ นโยบายสาธารณะ การประเมินผลกระทบสุขภาพและเครื่องมือ ตัวอย่างกรณีศึกษา

  5. กระบวนการชุมชน (อ.จีรเนาว์/อ.พงค์เทพ) ได้นำเสนอ วัตถุประสงค์ ความหมาย ความสำคัญ ของการประเมินคุณค่าของโครงการในประเด็นของกระบวนการชุมชน,การเสริมสร้างพลังอำนาจ, เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม, การวางแผน, การดำเนินงาน, การติดตามและประเมินผล, กรณีศึกษาที่ 1: การประเมินคุณค่าของโครงการ: กระบวนการชุมชน ประเด็นได้แลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาคู่มือการใช้หลักการ P D C A และ Input Process Product

การประชุมวันนี้ได้แลกเปลี่ยนปรับปรุงแนวทางหัวข้อการเขียนตำราให้ชัดเจนขึ้น และนัดหมายครั้งหน้าเป็นร่างตำราวิชาการฉบับสมบูรณ์อีกครั้ง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน ได้แก่ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ, รศ.ดร.จีรเนาว์ ทัศศรี, ดร.ซอฟียะห์ นิมะ, ดร.เพ็ญ สุขมาก, น.ส.เยาวลักษณ์ ศรีสุกใส, น.ส.นงลักษณ์ รักเล่ง, น.ส.ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์, นายญัตติพงศ์ แก้วทอง , นายสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน, น.ส.จินดาวรรณ รามทอง, นางหทัยทิพย์ เอ้งฉ้วน, น.ส.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์, นางดรุณี สุวรรณชวลิต, น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี, น.ส.พีรยา จินดามณี, น.ส.ซูวารี มอซู, น.ส.ทิวา เหง้าละคร, น.ส.สิริมนต์ ชีวะอิสระกุล

workshop คู่มือติดตามโครงการ ชช.น่าอยู่11 มกราคม 2559
11
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมทีมอาจารย์ประจำ สจรส.ม.อ.คุยเรื่อง การเขียนคู่มือติดตามประเมินผลโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ โดยมีหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้
  1. ชุดองค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ (อ.กุลทัต/อ.พงค์เทพ)
  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (อ.ซอฟียะ)
  3. การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมต่อการมีสุขภาวะ (อ.เพ็ญ)
  4. ผลกระทบเชิงบวก เชิงลบ และนโยบายสาธารณะ (อ.เพ็ญ)
  5. กระบวนการชุมชนมีกระบวนการอะไร (อ.จีรเนาว์/อ.พงค์เทพ)
  6. สุขภาวะทางปัญญา/จิตวิญญาณ (อ.สุกัญญา)
  • โดยมีเนื้อหาในการเขียน ประกอบด้วย define วิธีการประเมิน/เครื่องมือ และยกตัวอย่างประกอบ
  • ทีมอาจารย์แต่ละท่านได้นำเสนอกรอบเนื้อหาในการเขียนคู่มือ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อสรุปจากการประชุมจัดทำคู่มือ

  1. การจัดทำคู่มือติดตามประเมินผลของชุมชน สำหรับใช้เป็นตำราสอนนักศึกษาหลักสูตรการจัดการระบบสุขภาะ และให้กับคนที่ทำงานชุมชนน่าอยู่รวมทั้งพี่เลี้ยงที่ติดตามโครงการ และผู้ที่สนใจทั่วไป ในส่วนของตำรา ต้องมีทฤษฎีและหลักฐานที่อ้างอิงได้ มีตัวอย่างประกอบ แต่สำหรับคู่มือใช้ในโครงการจะสรุปเนื้อหาจากตำราทำเป็นเล่มเล็กอีกที เพื่อให้ง่ายในการนำไปใช้ มีความเข้าใจต่อการทำโครงการ
  2. การจัดทำคู่มือแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ 2.1 เนื้อหา เรื่อง การติดตาม (Monitor) ประกอบด้วย input process output โดยมีเวบไซต์ happynetwork ในการติดตามโครงการ 2.2 การประเมินผล (Evaluation) ประเมินคุณค่าที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการใน 6 ด้าน คือ ความรู้หรือนวัตกรรมชุมชน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาวะ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน เกิดกระบวนการชุมชน และมิติทางสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณ
  3. การเขียนคู่มือจะแบ่งเขียนเป็นเรื่องและจัดทำเป็นเล่ม ได้กำหนดชื่อเรื่องหนังสือร่วมกัน ชื่อ "การประเมินกระบวนการชุมชน...สุขภาวะชุมชน" มีเนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย
  • 1.ความหมาย
  • 2.วัตถุประสงค์
  • 3.กรอบแนวคิด
  • 4.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
  • 5.กระบวนการประเมินและการจัดการเพื่อให้แต่ละองค์ประกอบที่ดี มี องค์ประกอบการประเมิน  คนประเมิน ผู้ถูกประเมิน งบประมาณ ....และอื่น ๆ
  • 6.ตัวชี้วัด เกณฑ์มาตรฐาน/เกณฑ์เพื่อการเปรียบเทียบ
  • 7.เครื่องมือและการประยุกต์ใช้
  • 8.case study

4.นัดทีมอาจารย์นำเสนอความก้าวหน้าอีกครั้งในวันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 10.00 น.

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
  • อาจารย์ประจำ สจรส.ม.อ.
  • ทีมงานแผนโครงการชุมชนน่าอยู่
ประชุมทีม สจรส.มอ. 30 ธันวาคม 2558
30
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วางแผนติดตามโครงการและบริหารจัดการโครงการชุมชนน่าอยู่ 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานสถานการณ์โครงการปี 2557 มีจำนวนประมาณ 20 โครงการที่กำลังปิดโครงการภายในวัน 15 มกราคม 2558
  • วางแผนการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการโครงการระบบพี่เลี้ยงกับภาคอีสาน ประมาณกลางเดือนมกราคม 2558
  • วางแผนการจัดประชุมทำความเข้าใจเรื่องสรรพกรร่วมกันกับ สรรพกร สตง. สสส.และทีมโครงการชุมชนน่าอยู่
  • การวางระบบเว็บไซต์ติดตามของ สจรส.มอ. โดยเพิ่มช่องการติดตาม จำแนกประเภทของ สจรส.มอ.ได้แก่ การติดตามจาก สสส.
    การติดตามจากพี่เลี้ยง การติดตามจากโครงการ เพื่อทราบจำนวนวันเวลารายละเอียดการติดตาม เพื่อนำมาจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่เกิดความล่าช้า และมีเหตุผลอ้างอิงได้ เมื่อเกิดปัญหาในระหว่างการติดตาม ซึ่งจะนำปัญหามาสู่การวางแผนแนวทางการจัดการโครงการต่อไป
  • แจ้งทำหนังสือขยายเวลาโครงการชุมชนน่าอยู่ปี 2557 กับ สสส.
  • วางแผนการบริหารจัดการโครงการ สจรส.มอ. ได้แก่ เรื่องการบันทึกต้องบันทึกกิจกรรมหลังเสร็จกิจกรรมทุกครั้ง และเรื่องการเงินต้องเคลียเอกสารการเงินหลังวันจัดกิจกรรมให้เสร็จภายในเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการส่งรายงานล่าช้าในอนาคตต่อไป
  • วางแผนวันที่ 11 มกราคม 2558 ประชุมทีมวิชาการ สจรส.มอ.เรื่องการทำคู่มือติดตามโครงการ แลกเปลี่ยนเรื่องการติดตามและประเมินผลโครงการ
  • วางแผนการปิดงวดที่ 1 ของโครงการปี 2558 จะมีการปิดงวดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ควรแจ้งพี่เลี้ยงและโครงการดำเนินกิจกรรมเกิน 50 เปอร์เซ็น เพื่อทำการเบิกงวดที่ 2 ให้เร็วที่สุด เพื่อได้รับทุนงวด 2 ได้ทำงานต่อเนื่อง ไม่เกิดความล่าช้าจากการรอเงินงวด และดำเนินกิจกรรมได้ทันตามแผนที่ได้วางไว้
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 4 คน
ประกอบด้วย

ทีม สจรส.มอ. 

อบรมการเขียนรายงานและการเงินโครงการชุมชนน่าอยู่ จ.ชุมพร สุราษฏรฺ์ธานี 12 ธันวาคม 2558
12
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กล่าวต้อนรับ ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม อธิบายให้ความรู้ คำแนะนำการรายงานกิจกรรม โดยคุณกัญณภัส จันทร์ทอง
  • อธิบาย ทำความเข้าใจ การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการบริหารจัดการการเงิน โดยคุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
  • แบ่งกลุ่มตรวจเอกสารการเงินและให้คำแนะนำการเขียนรายงานกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ให้คำแนะนำการเขียนเอกสารการเงิน การจัดเก็บเอกสารให้เรียบร้อยและสะดวกในการเรียกตรวจ และต้องเพิ่มข้อมูลรายงานกิจกรรมให้ชัดเจนตอบวัตถุประสงค์กิจกรรม
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 63 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.ชุมพร 14 โครงการ จำนวน 28 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.สุราษฎร์ธานี 11 โครงการ จำนวน 22 คน
  • พี่เลี้ยง จ.ชุมพร จำนวน 5 คน
  • พี่เลี้ยง จ.สุราษ จำนวน 3 คน
  • ทีม สจรส.จำนวน 3 คน
อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน จ.นครศรีธรรมราช6 ธันวาคม 2558
6
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมทีมพี่เลี้ยง เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการอบรม และทำความเข้าใจเรื่องการหักภาษี ของโครงการปี 57 ที่ดำเนินการเสร็จสิ้น ต้องจ่ายภาษีย้อนหลัง และโครงการปี 58 ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • อธิบาย ให้ความรู้ คำแนะนำ การเขียนรายงานกิจกรรม การจัดทำเอกสารการเงิน และการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคุณสุธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
  • แบ่งกลุ่มทำการตรวจเอกสารการเงิน การรายงานกิจกรรมผ่านเวบไซต์ และสอนการหักภาษีให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทุกโครงการได้ดำเนินกิจกรรมไปแล้ว มีการรายงานทางเวบไซต์ แต่การรายงานกิจกรรมยังไม่สมบูรณ์ ต้องเพิ่มข้อมูลให้มีความชัดเจนและตอบวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรม ด้านเอกสารการเงิน ทุกโครงการยังไม่เรียบร้อย ได้ให้คำแนะนำการเขียนรายละเอียดค่าใช้จ่าย การจัดการเอกสารการเงิน และสอนการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • ได้หารือกับพี่เลี้ยง เรื่องภาษี มี 2 ประเด็น คือ 1. โครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นและถูกทางสรรพากรเรียกภาษีคืนย้อนหลัง ซึ่งโครงการใน จ.นครศรีฯ ยังไม่ถูกสรรพากรเรียกคืนภาษี จึงยังไม่มีปัญหา ทั้งนี้จะหารือกับทาง สสส.โดยทีม สจรส.เรื่องแนวทางการหักภาษี ซึ่งตอนนี้ยังได้คำตอบที่ไม่ชัดเจนจาก สสส. 2. โครงการปี 58 ต้องดำเนินการจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย 1 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือน โดยเริ่มจากเดือนธันวาคม 58 จนกว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนจากทาง สสส.
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 146 คน จากที่ตั้งไว้ 146 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.นครศรีธรรมราช 65 โครงการ จำนวน 130 คน
  • พี่เลี้ยง จ.นครศรีฯ จำนวน 11 คน
  • ทีม สจรส.ม.อ. จำนวน 5 คน
อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน จ.สตูล4 ธันวาคม 2558
4
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อธิบายให้คำแนะนำการเขียนรายงานกิจกรรม โดยคุณญํตติพงศ์ แก้วทอง
  • อธิบายการบริหารการเงิน การจัดการเอกสารการเงิน การจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
  • แบ่งกลุ่มทำการครวจสอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน การรายงานกิจกรรม และให้ทดลองทำการหักภาษี โดยทีม สจรส.ม.อ.
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทำการตรวจหลักฐานการเบิกจ่ายเงินตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีการรายงานข้อมูลการทำกิจกรรมในเวบไซต์ พบว่า ยังต้องเพิ่มข้อมูลวิธีการดำเนินงานและผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งจำนวนผู้เข้าร่วมให้ตรงกับใบลงทะเบียน การตรวจเอกสารการเงิน มีความเรียบร้อย บางโครงการเขียนค่าเดินทางไม่ถูกต้อง ได้ให้คำแนะนำและ ฝึกสอนการเขียนค่าหักภาษี อธิบายค่าใช้จ่ายที่ต้องทำการหักภาษี ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้่าใจเรื่องการบริหารจัดการมากขึ้น และเริ่มดำเนินการหักภาษีเดือนมกราคม 59
  • บางโครงการไม่ได้พาใบสำคัญรับเงินมา ทำให้ไม่สามารถให้คำแนะนำในการจัดทำใบเสร็จได้
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 81 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.สตูล จำนวน 42 คน
  • พี่เลี้ยง จ.สตูล จำนวน 3 คน
  • ทีม สจรส.ม.อ.จำนวน 5 คน
อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน จ.พัทลุง ตรัง22 พฤศจิกายน 2558
22
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวทีในวันนี้ โดย คุณฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
  • อธิบาย ให้ความรู้ แนะนำ การเขียนรายงานกิจกรรมให้กับผู้รับทุน โดย อ.ไพฑูรย์ ทองสม
  • อธิบายหลักการจัดทำเอกสารการเงิน การทำรายงานการเงิน และการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับพี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบโครงการ โดย คุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
  • แบ่งกลุ่มทำการตรวจสอบเอกสารการเงิน การรายงานกิจกรรมในเวบไซต์ โดยทีม สจรส. พร้อมกับให้คำแนะนำการจัดทำรายงานที่ถูกต้อง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผุ้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยง มีความกังวลเรื่องการจ่ายภาษี ไม่รู้ว่าจะจะดำเนินการอย่างไร และค่าใช้จ่ายหมวดอะไรบ้างที่ต้องจ่ายภาษี เมื่อได้พูดคุยและให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำรายงานกิจกรรม พร้อมกับให้ฝึกทดลองเขียนใบหักภาษี และอธิบายหมวดค่าใช้จ่ายที่ต้องทำการหักภาษี ทำให้ผู้รับทุนเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการโครงการ ให้คำแนะนำเรื่องการเขียนใบเสร็จ แก่ผู้รับผิดชอบโครงการ และเริมหักภาษีเดือนธันวาคม เป็นต้นไป
  • ใน จ.พัทลุง และ ตรัง มีหลายโครงการที่ยังไม่ได้รับเงินงวดที่ 1 จาก สสส.ทำให้มีกิจกรรมที่ทำไปแล้วน้อย แต่ให้คำแนะนำในการจัดทำรายงานและเอกสารที่ถูกต้อง
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.พัทลุง 21 โครงการ จำนวน 42 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.ตรัง 3 โครงการ จำนวน 6 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงก าร จ.สงขลา 3 โครงการ จำนวน 6 คน
  • พี่เลี้ยง จ.พัทลุง ตรัง และสงขลา จำนวน 8 คน
  • ทีม สจรส.ม.อ. จำนวน 8 คน
อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส21 พฤศจิกายน 2558
21
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อธิบาย ให้ความรู้และคำแนะนำกับผู้รับผิดชอบโครงการ เรื่อง การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ โดยคุณญัตติพงศ์ แก้วทอง
  • ให้คำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงินที่ถูกต้อง พร้อมยกตัวอย่างการเขียนเอกสารการเงิน โดยคุณฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
  • อธิบาย ให้ความรู้ เรื่องภาษี การจ่ายภาษี โดยคุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
  • แบ่งกลุ่มตามจังหวัดทำการตรวจสอบเอกสารการเงิน ให้คำแนะนำการทำรายงานกิจกรรม และทดลองทำการหักภาษี โดยแต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ. พร้อมพูดคุยซักถามแลกเปลี่ยนการทำโครงการร่วมกัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการแบ่งกลุ่มตรวจสอบเอกสาร ให้คำแนะนำการเขียนรายงานกิจกรรม และการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียภาษี ได้ฝึกทำการเสียภาษี และพูดคุยซักถามในเรื่องที่สงสัย ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องการหักภาษีและดำเนินการเริ่มหักภาษีในเดือนถัดไป คือ เดือนธันวาคม 2558
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 75 คน จากที่ตั้งไว้ 75 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.นราธิวาส 9 โครงการ จำนวน 18 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.ยะลา 3 โครงการ จำนวน 6 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.ปัตตานี 8 โครงการ จำนวน 16 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.สงขลา 10 โครงการ จำนวน 20
  • ทีมพี่เลี้ยง จ.นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และ จ.สงขลา จำนวน 8 คน
  • ทีม สจรส.มอ.จำนวน 7 คน
อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน จ.กระบี่ ภูเก็ต17 พฤศจิกายน 2558
17
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมในครั้งนี้ โดย คุณฮามีดะ หวันนุรัตน์ เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.
  2. อธิบายการเขียนรายงานกิจกรรม โดยคุณญัติพงศ์ แก้วทอง เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.
  3. อธิบายการทำการเงินโครงการ โดยคุณเยาวลักษณ์ ศรีสุกใส เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.
  4. อธิบายแนวปฏิบัติการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1 เปอร์เซ็นต์ โดยคุณฮามีดะ หวันนุรัตน์ และคุณเยาวลักษณ์ ศรีสุกใส
  5. ผู้รับทุนและพี่เลี้ยงซักถามแลกเปลี่ยนการบันทึกรายงานกิจกรรม และ การทำการหักภาษี โดยทีม สจรส.จะตอบคำถามข้อมสงสัย และอธิบายกระบวนการทำโครงการ
  6. ในช่วงบ่ายแบ่งกลุ่มผู้รับทุน ทำการตรวจบันทึกรายงานกิจกรรม และการจัดทำเอกสารการเงินโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับทุนและพี่เลี้ยงมีความกังวลต่อการหักภาษี มองว่าเป็นภาระ และเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก แต่ทางผู้รับทุนยินดีร่วมเรียนรู้และถือปฏิบัติ เนื่องจากเป็นข้อบังคับของกรมสรรพากร
  • โครงการที่มาร่วมในวันนี้ ทุกโครงการดำเนินการไปแล้ว และบันทึกรายงานกิจกรรมมาแล้ว แต่ต้องเพิ่มข้อมูลกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนมากขึ้น ส่วนการทำเอกสารหลักฐานการเงิน ส่วนใหญ่โครงการได้เข้าพบพี่เลี้ยงมาก่อน เอกสารส่วนใหญ่จึงเรียบร้อย แต่ลงหมวดในเวบไซต์ยังไม่ถูก
  • ทุกโครงการได้เรียนรู้การหักภาษี ส่วนใหญ่จะมีคำถาม และเข้าใจถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องหักภาษี จากการได้ฝึกทำ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้รับทุนโครงการ จ.กระบี่ 11 โครงการ โครงการละ 2 คน จำนวน 22 คน
  2. ผู้รับทุนโครงการ จ.ภูเก็ต 5 โครงการ โครงการละ 2 คน จำนวน 10 คน
  3. พี่เลี้ยง จ.กระบี่ และภูเก็ต 3 คน
  4. ทีม สจรส.มอ.10 คน
ปฐมนิเทศผู้รับทุน จ.นราธิวาส17 ตุลาคม 2558
17
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

09.00 น. ประชุมทีมพี่เลี้ยง จ.นราธิวาส อธิบายการปรับปรุงเวบไซต์และการกรอกข้อมูลที่สำคัญ โดยคุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน

09.30 น. ชี้แจงภาพรวมโครงการชุมชนน่าอยู่ ระบบการติดตามโครงการ และกระบวนการติดตามตรวจสอบความโปร่งใสการทำโครงการร่วมกับ สจรส.มอ. สรุปข้อมูลได้ดังนี้ - หลังจากได้รับทุนทางโครงการต้องจัดเวทีชี้แจงโครงการให้กับชุมชนได้รับทราบ - พี่เลี้ยงจะลงติดตามโครงการอย่างน้อย 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เวทีปเิดโครงการ ครั้งที่ 2 ก่อนจัดทำรายงานปิดงวด 1 ครั้งที่ 3 เวทีสังเคราะห์โครงการและปิดงวด 2 - ก่อนปิดงวด ทางโครงการจะต้องนำผลการทำโครงการเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และมีสรุปการประชุมแนบมาพร้อมกับการส่งรายงานปิดงวด - กำหนดวันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ สจรส.มอ.

10.30 น. อธิบายขั้นตอนการกรอกข้อมูลลงในเวบไซต์ โดยคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ และ คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน ได้พูดคุยการกรอกข้อมูลที่สำคัญ ในหน้ารายละเอียด การลงงวดการเงิน วิธีการลงปฏิทินกำหนดแผนงานในเวบไซต์ และการรายงานกิจกรรม

11.30 น. อธิบายการจัดทำเอกสารการเงิน โดยคุณนิมลต์ หะยีนิมะ ชี้แจงการเบิกค่าเดินทาง และหลักการเบิกจ่ายเงินโครงการ

13.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลลงในเวบไซต์ โดยมีพี่เลี้ยง และทีม สจรส.มอ. คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 10 โครงการ สามารถกรอกข้อมูลลงในเวบไซต์ได้ถูกต้อง และได้วางแผนปฏิทินกิจกรรมร่วมกับทีม สจรส.มอ. จำนวน 4 กิจกรรม คือ
  1. อบรมการเขียนรายงานและจัดทำเอกสารการเงิน วันที่ 21 พ.ย.58
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปิดงวด 1 วันที่ 10 - 11 ก.พ.58
  3. เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 5 มิ.ย.59
  4. สังเคราะห์โครงการและปิดงวด 2 วันที่ 12 ต.ค.58
ปฐมนิเทศผู้รับทุน จ.สตูล7 ตุลาคม 2558
7
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

7 ตุลาคม 2558 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 10.00 น. ประชุมทีมพี่เลี้ยง จ.สตูล

10.00 - 10.30 น. กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. พี่เลี้ยง และผู้รับผิดชอบโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10.30 - 11.30 น การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเวบไซต์ การบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ

การจัดรายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน เอกสารการเงิน)


11.30 - 12.00 น. การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน


13.00 – 14.00 น. การเข้าใช้งานระบบเวบไซต์คนใต้สร้าง www.happynetwork.org


14.00 – 17.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเวบไซต์
• รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ) • กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี


8 ตุลาคม 2558 09.00 – 10.00 น. การบันทึกข้อมูลรายงานกิจกรรม การจัดทำรายงานโครงการ


11.00 – 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอีดยโครงการ ลงในเวบไซต์(ต่อ) • รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ) • กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี • รายงานผู้รับผิดชอบ “กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการปี 2558”

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 – 14.00 น.ประชุมพี่เลี้ยงติดตามโครงการวางแผนการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับทีม สจรส.มอ.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปฐมนิเทศผู้รับทุน จ.สตูล ประชุมที่ บารารีสอร์ท อ.ละงู จ.สตูล  มีผู้เข้าร่วม  ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.สตูล19 โครงการจำนวน38 คน พี่เลี้ยง จ.สตูล 2 คน ทีม สจรส.มอ.5 คน
รวม 45 คน ทำให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สามารถวางแผนงานประชุมได้ และเรียนรู้เอกสารทางการเงิน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.สตูล19 โครงการจำนวน38 คน
  • พี่เลี้ยง จ.สตูล 2 คน
  • ทีม สจรส.มอ.5 คน
    รวม 45 คน
ปฐมนิเทศผู้รับทุน จ.สตูล สงขลา ปัตตานี และ ยะลา5 ตุลาคม 2558
5
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมทีมพี่เลี้ยง จ.สตูล สงขลา ปัตตานี และ ยะลา อธิบายระบบการติดตามโครงการ ข้อมูลสำคัญที่ต้องลงในเวบไซต์ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และอธิบายขั้นตอนการใช้เวบไซต์ โดยคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ และ คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
  2. เข้าสู่กระบวนการจัดเวทีปฐมนิเทศ พูดคุยเรื่องระบบการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ การลงรายละเอียดข้อมูลที่สำคัญในเวบไซต์ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สรุปข้อมูลที่สำคัญที่ต้องลงในเวบไซต์โครงการ ดังนี้
  • ปรับตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
  • ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด
  • กิจกรรมที่ต้องลงข้อมูลในวันนี้ คือ กิจกรรมปฐมนิเทศ การประชุมชี้แจงโครงการในชุมชน
  • ต้องมีการดำเนินงานผลรายงานกับที่ประชุม คณะกรรมการหมู่บ้าน ในการปิดงวดแต่ละครั้งต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน
  • ปฏิทินพี่เลี้ยงลงติดตามโครงการอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เวทีชี้แจงโครงการในชุมชน ครั้งที่ 2 ก่อนปิดงวด 1 ครั้งที่ 3 สังเคราะห์โครงการปิดงวดที่ 2
  • ลงปฏิทินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ สจรส.มอ.

3.อธิบายขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการ การจัดการความเสี่ยงของโครงการ โดย คุณนฤมล ฮะอุรา ข้อมูลที่เน้นย้ำ คือ เรื่องการแบ่งบทบาททีมงานในโครงการ การวางแผนทำกิจกรรม การจัดการงานการเงิน ที่สำคัญทาง สจรส.มอ.จะตรวจสอบการรายงานกิจรรมทางเวบไซต์หากไม่มีมีการรายงานกิจกรรมเกิน 2 เดือน จะทำการบุติโครงการ 4.อธิบายการจัดทำเอกสารการเงิน การเบิกเงินจากธนาคารมาทำกิจกรรม ซึ่งจะไม่สามารถถือเงินสดในมือเกิน 5,000 บาท วิธีการเขียนใบสำคัญรับเงิน โดย คุณธิดา เหมือนพะวงศ์ 5.อธิบายขั้นตอนการลงข้อมูลในเวบไซต์ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องลงในวันนี้ คือ ปฏิทินแผนการทำกิจกรรมตลอด 1 ปี โดยคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ และ คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน 6.ซักถามข้อสงสัยจากผู้รับทุน และชี้แจงเรื่องการบริหารจัดการโดยทีมพี่เลี้ยง และ ทีม สจรส.มอ. และฝึกปฏิบัติเขียนใบสำคัญรับเงิน และการรายงานกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับทุนจำนวนโครงการ 37 โครงการ ลงข้อมูลแผนปฏิทินการทำโครงการได้เรียบร้อย และได้เรียนรู้การทำรายงานกิจกรรม และการจัดทำหลักฐานการเงิน จากการฝึกทำบันทึกกิจกรรม ปฐมนิเทศโครงการ
  • ผู้รับทุนและพี่เลี้ยงได้วางแผนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ สจรส.มอ. จำนวน 4 กิจกรรม คือ 1) อบรมการเขียนรายงานและการเงิน จ.สตูล และ สงขลา วันที่ 4 ธันวาคม 2558 จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส วันที่ 23-24 พ.ย.58 2) ปิดงวด 1 จ.สตูล สงขลา วันที่ 12 ก.พ.59 จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส วันที่9-10 ก.พ.59 3) งานสร้างสุขภาคใต้ จัดในเดือน มิ.ย.59 4) สังเคราะห์โครงการปิดงวด 2 จ.สตูล สงขลา วันที่ 26-27 ส.ค.59 จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส วันที่ 10 ต.ค.59
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 142 คน จากที่ตั้งไว้ 142 คน
ประกอบด้วย

จัด 2 โซน โซนที่ 1 วันที่ 5-6 ต.ค.58 โครงการที่ได้รับทุนปี 58 จ.ปัตตานี ยะลา สงขลา และ สตูล 37 โครงการ จำนวน 74 คน ประกอบด้วย

  • ผู้รับผิดชอบ จ.ปัตตานี 8 โครงการ จำนวน 16 คน
  • ผู้รับผิดชอบ จ.ยะลา 3 โครงการ จำนวน 6 คน
  • ผู้รับผิดชอบ จ.สงขลา 11 โครงการ จำนวน 22 คน
  • ผู้รับผิดชอบ จ.สตูล 15 โครงการ จำนวน 30 คน

พี่เลี้ยง จำนวน 9 คน ได้แก่ จ.สตูล 6 คน จ.สงขลา 3 คน จ.ปัตตานี 2 คน และยะลา 1 คน

ทีม สจรส.ชุมชนน่าอยู่ จำนวน 8 คน

รวม 91 คน

โซนที่ 2 วันที่ 7 - 8 ต.ค.58

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.สตูล19 โครงการจำนวน38 คน
  • พี่เลี้ยง จ.สตูล 2 คน
  • ทีม สจรส.มอ.5 คน

รวม 45 คน

ปฐมนิเทศผู้รับทุน จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมทีมพี่เลี้ยงก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดเวทีปฐมนิเทศ ได้ชีแจงองค์กร สสส. และโครงการสนับสนุนวิชาการภาคใต้ของ สจรส.มอ. ที่เชื่อมโยงกับโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ ข้อมูลสำคัญที่ต้องลงเวบไซต์ในเวทีปฐมนิเทศ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ จากนั้นได้อธิบายขั้นตอนการใช้เวบไซต์โดยคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ และ คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
  2. กล่าวชี้แจงกำหนดการปฐมนิเทศให้กับผู้รับทุน โดยคุณอภิวัฒน์ ชัยเดช
  3. พูดคุยเรื่องการบริหารจัดการโครงการ การให้ทุน สสส.การทำงานติดตามโครงการของ สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง การลงข้อมูลในเวบไซต์ที่สำคัญ คือ ปฏิทินแผนงานโครงการ การตรวจสอบข้อมูลในโครงการและในเวบไซต์ให้ตรงกัน โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
  4. อธิบายหลักการทำโครงการ การแบ่งบทบาททีมงานในโครงการ การวางแผนทำกิจกรรม การรายงานกิจกรรมเมื่อทำเสร็จ ข้อตกลงร่วมกันหากไม่มีการรายงานกิจกรรมเกิน 2 เดือน ทาง สจรส.มอ.ขอยุติโครงการ โดย คุณกำไล สมรักษ์ และอธิบายการทำหลักฐานการเงินให้ถูกต้อง โดย คุณสุดา ไพศาล
  5. พูดคุยเรื่อง การบันทึกรูปภาพในรายงานกิจกรรม เพื่อนำภาพเหล่านั้นไปใส่ในเรื่องเล่าสังเคราะห์งานโครงการเมื่อผ่านไป 1 ปี โดยพี่ถนอม ขุนเพ็ชร
  6. อธิบายขั้นตอนการลงข้อมูลในเวบไซต์ โดยคุณภาณุมาศ นนทพันท์ ข้อมูลสำคัญที่ต้องลงคือ ลงปฏิทินทำกิจกรรม ปรับวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมให้สอดคล้องกัน
  7. ผู้รับทุนปฏิบัติการทำปฏิทินในเวบไซต์ เมื่อมีปัญหาจะปรึกษากับทีม สจรส. และทีมพี่เลี้ยง
  8. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง สรุปการทำเวทีและร่วมกันเขียนงานวิจัยทีมพี่เลี้ยง จ.นครศรี เพื่อต่อยอดเป็นงานวิจัยของ ม.วลัยลักษณ์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 202 คน จากที่ตั้งไว้ 202 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับทุน 86 โครงการ จำนวน 172 คน
  • พี่เลี้ยงติดตามโครงการ จ.นครศรีฯ 13 คน จ.สุราษฎร์ 3 คน และ จ.ชุมพร 6 คน
  • ทีม สจรส.มอ. 8 คน
ปฐมนิเทศผู้รับทุน จ.ตรัง พัทลุง กระบี่ และ ภูเก็ต29 กันยายน 2558
29
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ชี้แจงกำหนดการ แนะนำทีม สจรส.มอ.และทีมพี่เลี้ยง โดยคุณทวีชัย อ่อนนวน
  2. พูดคุยเรื่อง การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเวบไซต์ การบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ โดย คุณเสณี จ่าวิสูตร มีเนื้อหาสรุปดังนี้
  • การบริหารจัดการโครงการต้องมีทีมที่ชัดเจน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่การเงิน ฝ่ายข้อมูล เพื่อแบ่งบทบาทการทำงานให้ชัดเจน
  • วางแผนการทำกิจกรรม โดยลงในปฏิทินให้ชัดเจน
  • เมื่อทำกิจกรรมต้องแจ้งพี่เลี้ยง โดยพี่เลี้ยงจะลงติดตามโครงการอย่างน้อย 3 ครั้ง
  • ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมต้องรายงานกิจกรรมบนเวบไซต์ และลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในเวบไซต์ ทาง สจรส.จะตรวจสอบรายงานกิจกรรมบนเวบไซต์ หากไม่มีการรายงานกิจกรรมเกิน 2 เดือน ทาง สจรส.ขอแจ้งยุติโครงการ

3.อธิบายการจัดทำรายงานการเงิน การเคลียร์เอกสารการเงิน โดยคุณจุรี หนูผุด เน้นการเขียนใบสำคัญรับเงินที่ถูกต้อง การเก็บเอกสาร และการสรุปการใช้เงินแต่ละกิจกรรม

4.อธิบายขั้นตอนการลงข้อมูลโครงการในเวบไซต์ โดยคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ และ คุณสุทธิพงษ์ อุตสาหะพงษ์สิน โดยเน้นการลงข้อมูลที่สำคัญ คือ การลงปฏิทินกิจกรรม การตรวจสอบวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และงบประมาณในเวบไซต์ให้ตรงกับเอกสารสัญญาโครงการ

5.ชี้แจงโครงการชุมชนน่าอยู่ การบริหารจัดการโดย สสส. สจรส. และ พี่เลี้ยง โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

6.สรุปกระบวนการจัดปฐมนิเทศ และแนวทางบริหารจัดการโครงการ โดยคุณนงลักษณ์ รักเล่ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีโครงการปี 58 ที่เข้าร่วมจำนวน 47 โครงการ ได้ลงข้อมูลวางแผนการทำกิจกรรมใน 1 ปี และได้เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติการทำรายงานกิจกรรมในเวบไซต์ การจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง โดยฝึกให้รายงานกิจกรรม ปฐมนิเทศที่จัดขึ้นในวันนี้
  • พี่เลี้ยง และผู้รับทุนโครงการได้วางแผนการพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ สสส.จำนวน 3 ครั้ง คือ
  1. อบรมการเขียนรายงานและการเงิน จ.พัทลุง และ ตรัง จัดขึ้นในวันที่ 21-22 พ.ย.58 จ.กระบี่ ภูเก็ต วันที่ 17-18 พ.ย.58
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำรายงานงวดที่ 1 จ.พัทลุง และ ตรัง จัดขึ้นในวันที่ 20-21 ก.พ.58 จ.กระบี่ ภูเก็ต วันที่ 18-19 พ.ย.58
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้สังเคราะห์โครงการ จัดทำรายงานปิดโครงการ จ.พัทลุง และ ตรัง จัดขึ้นในวันที่ 24-25 ก.ย.58 จ.กระบี่ ภูเก็ต วันที่ 21-22 ก.ย.59
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 110 คน จากที่ตั้งไว้ 112 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ 47 โครงการ จำนวน 94 คน ประกอบด้วย
  • จ.พัทลุง 21 โครงการ 42 คน
  • จ.นครศรีฯ 4 โครงการ 8 คน
  • จ.สงขลา 3 โครงการ 6 คน
  • จ.ตรัง 3 โครงการ 6 คน
  • จ.กระบี่ 11 โครงการ 22 คน
  • จ.ภูเก็ต 5 โครงการ 10 คน
  1. พี่เลี้ยง 11 คน ประกอบด้วย จ.พัทลุง 7 คน จ.สงขลา 1 คน จ.ตรัง 1 คน จ.กระบี่ 2 คน จ.ภูเก็ต 1 คน

  2. ทีม สจรส.มอ.7 คน

รวม 112 คน

ประชุมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงทีมสนับสนุนวิชาการ19 กันยายน 2558
19
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ ประชุมคณะทำงานโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ วันที่ 19 – 20 กันยายน 2558 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา อ.เมือง จ.ตรัง


09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.30 – 10.30 น. พัฒนาระบบเวบไซต์คนใต้สร้างสุข การติดตามโครงการปี 2558 โดย ทีม สจรส.ม.อ. 10.30 – 11.30 น. งานสังเคราะห์โครงการชุมชนน่าอยู่ ปี 2558
โดย คุณถนอม ขุนเพชร
11.30 – 12.00 น. แลกเปลี่ยนงานสื่อ งานสังเคราะห์ และออกแบบเสื้อทีมติดตามภาคใต้ 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 17.00 น. ทิศทางการสนับสนุนติดตามโครงการปี 2558
โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล และทีม สจรส.ม.อ.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผนการทำงานในปี 2559 ได้แก่ เรื่องหลักการภาษี การปฐมนิเทศ แนะนำเอกสารการเงิน การวางแผนปฏิทินร่วมกัน แนวทางการทำงาน แนวทางการติดตามการปรับกิจกรรม ขยายเวลา

  • ได้คุยเรื่องการทำอย่างไรไม่ให้โครงการยุติระหว่างทาง

  1. กิจกรรมทุกกิจกรรม มีการใช้เงินต้องลงเว็บ มากกว่า 20 กิจกรรม
  2. ติดตามระบบรายงาน ส.1, ส.3, ง.1, ง.2
  3. การจัดการความเสี่ยง
  4. การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง
  • ได้วางแผนพัฒนาโครงการ ติดตาม และสนับสนุนช่วยชุมชน

  • คุยเรื่อง การพัฒนาโครงการ ปรับวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนขึ้น สภาผู้นำเป็นกลไกขับเคลื่อนประเด็นหมู่บ้าน ใช้ลักษณะไม่เป็นทางการ หรือคณะกรรมการแกนนำกลุ่มต่างๆ ถูกคัดเลือกจากหมู่บ้าน หรือชาวบ้านเป็นกลไกขับเคลื่อน เกิดสภาผู้นำในลักษณะในลักษณะทำหน้าที่ขับเคลื่อนชุมชน คิดวิเคราะห์ทำกิจกรรมตอบวัตถุประสงค์อะไร

  • การจัดการความเสี่ยง 1. ทีมเสี่ยง ควรเปลี่ยนทีมเสี่ยง 2.ล่าช้า 3. ไม่มีรายงาน 4. รายงานการเงินไม่โปร่งใส

  • มาตราการการจัดการ

  1. พี่เลี้ยงลงชี้แจ้งกับชุมชน (พี่เลี้ยงครั้งที่ 1)
  2. โครงการรายงานและการเงิน ต่อคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการชุมชน (พี่เลี้ยงจะลงไปเข้าร่วมประชุม)
  3. กรณีปิดงวดที่ 1 ต้องพิจารณาความเสี่ยงอย่างจริงจัง (พี่เลี้ยงลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ดูรายงานการดำเนินงาน ดูรายงานการเงิน)
  • พี่ถนอม งานสังเคราะห์ปี 59 เป็น ผลงานเป็นนวนิยาย เยาวยชน และบุคคลเด่นตัวอย่าง
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 46 คน จากที่ตั้งไว้ 46 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงทีมสนับสนุนวิชาการภาคใต้ จำนวน 40 คน
  • ทีม สจรส.ม.อ. 6 คน
พิจารณาโครงการชุมชนน่าอยู่ ปี 25587 สิงหาคม 2558
7
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2558

  • 14.00 น. - 15.00 น. ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.ร่วมแลกเปลี่ยนกับพี่เลี้ยง ต่อการเขียนข้อเสนอโครงการ ดำเนินการประชุมโดย นพ.อำนาจ เรื่องที่แลกเปลี่ยนซักถามเน้นเรื่อง สภาผู้นำ จากการอ่านโครงการที่เสนอเข้ามา สิ่งที่ขาด คือ 1) ขาดความเป็นสภาผู้นำ 2) โครงการต่อเนื่องปีที่ 2 ก็ไม่เห็นเรื่องสภาผู้นำ 3) หลายโครงการไม่มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ 4) ใน 202 โครงการ สาเหตุอะไรที่ผู้ใหญ่บ้านไม่เข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน 5) ความแตกต่างเรื่องสภาผู้นำ คือ คณะกรรมการหมู่บ้านแต่ถ้าการตั้งสภาหมู่บ้านขึ้นมาต่างหากจะไม่เกี่ยวกัน 6) ไม่เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้านความเข้มแข็งของสภาผู้นำ 7) ตัวชี้วัด 3 ข้อ ที่ชี้เรื่องความเข้มแข็งของสภาผู้นำ คือ มีการประชุมทุกเดือน มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีการประชุมทุกครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน 8) การประชุมคณะกรรมการทุกคนจาก 15 คนให้ปรับเป็น 20 - 50 คน 15.00 น. กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย อาจารย์กำไล สมรักษ์ คณะทำงานวิชาการโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคใต้
    ทบทวนหลักเกณฑ์การประเมินชุมชนเข้มแข็งตามตัวชี้วัด 9 ข้อ โดย รศ.นพ.อำนาจ ศรีรัตนบัลล์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

16.00 น. ชี้แจงหลักเกณฑ์การสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ ปี 2558 โดย ทพ.ศิริเกียรติเหลียงกอบกิจรักษาการผู้อำนวยการ สำนัก 6 สสส.

16.30 น. พิจารณาโครงการ แบ่งกลุ่มโดยมีรายละเอียดดังนี้
- กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ นายณรงค์ เทียมเมฆ พิจารณาโครงการ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง (พี่เลี้ยง นายศุภกิจ กลับช่วย, นายเสณี จ่าวิสูตร, นายวิสุทธิ์ ทองย้อย) จำนวน 11โครงการ
- กลุ่มที่ 5 ผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.จิรณี ตันติรัตนวงศ์ พิจารณาโครงการ จ.พัทลุง ตรัง (พี่เลี้ยง นายสมนึก นุ่นด้วง,นายถาวร คงศรี, น.ส.จุรีย์ หนูผุด) จำนวน 12 โครงการ - กลุ่มที่ 7 ผู้ทรงคุณวุฒิรศ.นพ.อำนาจ ศรีรัตนบัลล์ พิจารณาโครงการ จ.นครศรีธรรมราช (พี่เลี้ยง นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์, นายมนูญ พลายชุม, นายไพฑูรย์ ทองสม) จำนวน 14 โครงการ - กลุ่มที่ 9 ผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวรุจินาถ อรรถสิษฐ์ พิจารณาโครงการ จ.นครศรีธรรมราช (พี่เลี้ยง อ.กำไล สมรักษ์, อ.รัชฎาภรณ์ จันทสุวรรณ์, อ.วิสาขะ อนันธวัช) จำนวน 14 โครงการ - กลุ่มที่ 11 ผู้ทรงคุณวุฒิ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ พิจารณาโครงการ จ.นครศรีธรรมราช (พี่เลี้ยง นางปาลีรัตน์ แก้วประดิษฐ์ , นายสุธรรม แก้วประดิษฐ์, นางสิทธิพรรณ เรือนจันทร์) จำนวน 14 โครงการ - กลุ่มที่ 12 ผู้ทรงคุณวุฒิ นายวีระพงษ์ เกรียงสินยศ พิจารณาโครงการ จ. พัทลุง สตูล (พี่เลี้ยง นายประเทือง อมรวิริยะชัย, น.ส.จุฑาธิป ชูสง,นายตรา เหมโคกน้อย, นายรุ่งศักดิ์ จอสกุล) จำนวน 15 โครงการ - กลุ่มที่ 13 ผู้ทรงคุณวุฒิ นางพนิดา ฐปนางกูร พิจารณาโครงการ จ.นครศรีธรรมราช (พี่ นายอภิวัฒน์ ไชยเดช, นางสุดา ไพศาล) จำนวน 15 โครงการ - กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ นายประยูร อองกุลนะ พิจารณาโครงการ จ.กระบี่ (พี่เลี้ยง นางสาวจารุวรรณ วงษ์เวช, นายทวีชัย อ่อนนวน) จำนวน 11โครงการ
- กลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวดารณี เวณุจันทร์ พิจารณาโครงการ จ.สตูล (พี่เลี้ยง นางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง, นางสาวอนัญญาแสะหลี) จำนวน 12 โครงการ - กลุ่มที่ 4 ผู้ทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.เพิ่มศิริ นิติมานพ พิจารณาโครงการ จ.สุราษฏร์ธานี (พี่เลี้ยง นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง , นางสาวอารีย์ คงแจ่ม) จำนวน 12 โครงการ - กลุ่มที่ 6 ผู้ทรงคุณวุฒิ นางพรทิพย์ สุประดิษฐ์ พิจารณาโครงการ จ.ภูเก็ต (พี่เลี้ยง นางวารุณี ธารารัตนากุล) จ.สตูล (พี่เลี้ยง นางนภาภรณ์ แก้วเหมือน) จ.ยะลา (พี่เลี้ยง นายสุวิทย์ หมาดอะดำ) จำนวน 12 โครงการ - กลุ่มที่ 8 ผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.รุ่งเรือง สุขาภิรมย์ พิจารณาโครงการ จ.ชุมพร(พี่เลี้ยง นางสมใจ ด้วงพิบูลย์,นางเบญจา รัตนมณี ) จำนวน 14 โครงการ - กลุ่มที่ 10 ผู้ทรงคุณวุฒิ นายโชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ พิจารณาโครงการ จ.สงขลา (พี่เลี้ยง น.ส.อารีย์ สุวรรณชาตรี, ว่าที่ ร.ต.หญิง ใบเฟริ์น สุวรรณมณี,นายอะหมัด หลีขาหรี,นางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนู, นายจำรัส หวังมณีย์) จำนวน 14โครงการ - กลุ่มที่ 14 ผู้ทรงคุณวุฒิ นายสุจิตต์ ไตรพิทักษ์ พิจารณาโครงการ จ.สตูล (พี่เลี้ยง นางนฤมล ฮะอุรา และนางธิดา เหมือนพะวงศ์) จำนวน 15โครงการ - กลุ่มที่ 15 ผู้ทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.กิติชัย รัตนะ พิจารณาโครงการ จ.ปัตตานี (พี่เลี้ยง นางกัลยา เอี่ยวสกุล ) จ.นราธิวาส (พี่เลี้ยง นายอาหามะ เจ๊ะโซ๊ะ, นางเพียงกานต์ เด่นดารา, นางนิมลต์ หะยีนิมะ) จำนวน 17 โครงการ โดย แกนนำชุมชนและทีมสนับสนุนวิชาการ แต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการให้ผู้ทรงคุณวุฒิซักถามและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการ

20.00 น.แกนนำชุมชนและทีมสนับสนุนวิชาการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ(ต่อ) และพักผ่อนตามอัธยาศัย


วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2558 08.30 – 18.00 น. แกนนำชุมชนและทีมสนับสนุนวิชาการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ (ต่อ) 18.00 น. รับประทานอาหารเย็น 20.00 น.แกนนำชุมชนและทีมสนับสนุนวิชาการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ (ต่อ) และพักผ่อนตามอัธยาศัย

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม 2558 08.30 - 12.00 น. แกนนำชุมชนและทีมสนับสนุนวิชาการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ (ต่อ)
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.00น.

14.00 น. แกนนำชุมชนและทีมสนับสนุนวิชาการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ (ต่อ) พร้อมจัดส่งดิจิตอลไฟล์ข้อเสนอโครงการและเอกสารประกอบการจัดทำสัญญา เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

15.00 น. ประชุมพี่เลี้ยงเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีโครงการผ่านและปรับโครงการสมบูรณ์ ได้รับการสนับสนุนทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ปี 2558 จำนวน 198 โครงการ สำหรับ 4 โครงการที่ไม่ผ่าน เนื่องจาก ผู้เสนอโครงการจากชุมชนขอสละสิทธิ์
  • โครงการที่ผ่านเข้ารับทุนในปีนี้ ข้อมูลที่ปรับจะเน้นเรื่อง สภาผู้นำ และทุกโครงการจะมีกระบวนการสภาผู้นำอยู่แล้ว
  • โครงการที่ผ่านทุกโครงการเป็นโครงการชุมชนน่าอยู่ ได้รับงบประมาณ ภายใต้งบ 200,000 บาท ทุกโครงการ ไม่มีโครงการชุมชนน่าอยู่ขนาดเล็ก

ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้

  • พิธีกร ผู้รับผิดชอบ พี่นะ และพี่ทวีชัย
  • พิธีเปิด ผู้รับผิดชอบ พี่หนุ่ย
  • ลานเสวนา การจัดนิทรรศการให้แต่ละจังหวัดเลือกชุมชนดี ๆ มา จำนวน 40 พื้นที่ โดยมีงบประมาณให้พื้นที่ละ 3,000 บาท ผู้รับผิดชอบคือ พี่เอียด
  • ห้องย่อยชุมชนน่าอยู่ ได้รับงบประมาณไม่เกิน 10,000 บาท ผุ้รับผิดชอบ คือ พี่กำไล

ประชุมวางแผนวันปฐมนิเทศโครงการปี 58

  • วันที่ 26 - 27 ก.ย.58 สถานที่ มอ.ตรัง จ.พัทลุง ตรัง และภูเก็ต
  • วันที่ 3 - 4 ต.ค.58 สถานที่ ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีฯ กระบี่ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
  • วันที่ 8 - 9 ต.ค. 58 สถานที่ โรงพยาบาลสตูล จ.สตูล
  • วันที่ 10 - 11 ต.ค. 58 สถานที่ สจรส.ม.อ. จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 467 คน จากที่ตั้งไว้ 474 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้เสนอโครงการ 198 โครงการ โครงการละ 2 คน จำนวน 396 คน
  • พี่เลี้ยง 41 คน
  • ทีม สจรส.ม.อ. 10 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงาน สสส. 20 คน
พัฒนาโครงการ ครั้งที่ 3 ปรับแก้โครงการก่อนส่งผู้ทรงฯ14 กรกฎาคม 2558
14
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2558 - แบ่งกลุ่มปรับข้อเสนอโครงการร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่ม 1 จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และ ชุมพร
ผู้ทรงคุณวุฒิ : ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ รศ.ดร.จีรเนาว์ ทัศศรี
พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม : คุณสมใจ ด้วงพิบูลย์ กลุ่ม 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้ทรงคุณวุฒิ : อาจารย์ไพฑูรย์ ทองสม พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม : คุณกำไล สมรักษ์
กลุ่ม 3 จังหวัดพัทลุง ตรัง และ สุราษฎร์ธานี ผู้ทรงคุณวุฒิ : ผศ.ดร.นัยนา หนูนิล พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม : คุณกัญณภัส จันทร์ทอง กลุ่ม 4 จังหวัดสตูล สงขลา และ กระบี่
ผู้ทรงคุณวุฒิ : ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม : ญัตติพงศ์ แก้วทอง

วันที่ 15 กรกฎาคม 2558
เวลา 09.00 – 10.00 น.- หลักคิดการทำงาน การพัฒนาโครงการภาคใต้ - ระบบเวบไซต์คนใต้สร้างสุข - หลักเกณฑ์การประเมินชุมชนเข้มแข็งตามตัวชี้วัด 9 ข้อ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ คุณภาณุมาศ นนทพันธ์ เวลา 10.00 – 11.00 น. ตัวอย่างโครงการกรณีศึกษาในแต่ละประเด็น - เศรษฐกิจพอเพียง - ขยะ - สิ่งแวดล้อม - อื่น ๆ เวลา 11.00 – 12.30 น. แลกเปลี่ยนหารือเวทีพิจารณาโครงการปี 2558 โดย ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสส. และทีมสนับสนุนวิชาการภาคใต้ ช่วงบ่าย ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้โครงการที่ผ่านเข้าเวทีพิจารณาโครงการ จำนวน 202 โครงการ ใน 12 จังหวัดของภาคใต้ ในปีนี้ไม่มีโครงการของ จ.ระนอง และ จ.พังงา
  • โครงการที่เข้าร่วมพิจารณาโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โครงการชุมชนน่าอยู่ภายใต้งบประมาณ 200,000 และโครงการชุมชนน่าอยู่ขนาดเล็ก ภายใต้งบประมาณ 50,000 บาท ทั้งนี้หากพี่เลี้ยงได้ปรับเนื้อหาและกระบวนการเพิ่มเติม โครงการชุมชนน่าอยู่ขนาดเล็กก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นโครงการชุมชนน่าอยู่ภายใต้งบประมาณ 200000 บาทได้
  • การประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ มีการแบ่งงานกันดังนี้ 1) ทีม จ.นครศรีฯ รับผิดชอบห้องย่อยชุมชนน่าอยู่ 2) ทีม จ.สตูล รับผิดชอบลานเสวนา ทั้งสองทีมไปออกแบบมา และมานำเสนอในเวทีประชุมเตรียมงานสร้างสุข
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 56 คน จากที่ตั้งไว้ 56 คน
ประกอบด้วย
  • ทีม สจรสม.อ. 5 คน
  • ทีม สสส.1 คน
  • ทีมพี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่ 50 คน
พัฒนาโครงการครั้งที่ 2 จ.ภูเก็ต ปรับเนื้อหาก่อนส่งผู้ทรง10 กรกฎาคม 2558
10
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 9 ก.ค.58

  • ช่วงเย็น ประชุมทีมผู้เสนอโครงการ 5 พื้นที่ เพื่อเตรียมข้อมูลและเขียนโครงการให้สมบูรณ์ โดยกรอกข้อมูลลงในโปรแกรม word ให้เรียบร้อย และให้การบ้านกับผู้เสนอโครงการไปเพิ่มเติมข้อมูลให้เสร็จ โดยเฉพาะข้อมูลคณะทำงาน และกิจกรรม

วันที่ 10 ก.ค.58

  • เริ่มประชุมช่วงเช้า แบ่งพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่ สจรส.รับผิดชอบพื้นที่ละ 1 คน นำข้อมูลจาก word มาใส่ในเวบไซต์ให้เรียบร้อย และเพิ่มเติมข้อมูลให้สมบูรณ์ หลังจากเขียนโครงการเสร็จ จะตรวจสอบเนื้อหาโดย อ.พงค์เทพ หากเนื้อหายังไม่เรียบร้อยก็จะเพิ่มเติมข้อมูล และให้ อ.พงค์เทพตรวจดู จนกว่าจะได้เนื้อหาที่สมบูรณ์และชัดเจน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เสนอโครงการ 5 พื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต สามารถเขียนข้อเสนอโครงการลงในเวบไซต์ได้เสร็จ และเป็นข้อมูลที่ชัดเจนในระดับหนึ่ง โดยผู้เสนอโครงการสามารถเพิ่มเติมข้อมูลให้ชัดขึ้นได้อีกหลังจากนี้
  • ได้พี่เลี้ยงที่สามารถติดตามโครงการในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 1 คน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 17 คน
ประกอบด้วย
  • ทีม สจรส.ม.อ. 5 คน
  • ผู้เสนอโครงการ 5 พื้นที่ 12 คน
  • พี่เลี้ยงใหม่ จ.พังงา และภูเก็ต 3 คน
พัฒนาโครงการครั้งที่ 2 ปรับข้อเสนอโครงการ จ.นครศรีฯ4 กรกฎาคม 2558
4
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พี่เลี้ยงนำเสนอโครงการที่ทีประเด็นปัญหาข้อสงสัย
  • อ.ไพฑูรย์ และ พี่เสณี ให้คำแนะนำต่อการปรับแก้โครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีโครงการพัฒนาจำนวน 68 โครงการ ของจังหวัดนครศรี ที่มีเนื้อหาค่อนข้างสมบูรณ์ แต่มีการปรับแก้วัตถุประสงค์ และกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงเกิดความเข้าใจชัดขึ้น ในการเขียนที่มาของการทำโครงการ การเขียนวัตถุประสงค์ และการเขียนกิจกรรม ได้ชัดเจนมากขึ้น โดยพี่เลี้ยงได้ซักถามกับวิทยากรในโครงการที่ไม่มีความชัดเจนในการทำกิจกรรม และกรณีโครงการต่อเนื่อง จะเขียนอย่างไร ซึ่ง อ.ไพฑูรย์ ได้ยกตัวอย่างโครงการที่เขียนดีมาเล่าให้ฟัง ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาของปี 58 ทำให้พี่เลี้ยงเกิดความชัดเจนมากขึ้น
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 21 คน
ประกอบด้วย
  1. พี่เลี้ยง จ.นครศรี 9 คน
  2. ผู้ช่วยพี่เลี้ยง 3 คน
  3. ทีม สจรส.ม.อ. 4 คน
  4. ทีมวิทยากร 3 คน
  5. พี่เลี้ยง จ.พัทลุง 1 คน
พัฒนาโครงการครั้งที่ 2 ปรับข้อเสนอโครงการ27 มิถุนายน 2558
27
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แบ่งการจัดเวทีออกเป็น 2 โซน คือ วันที่ 27 มิ.ย.58 โซนภาคใต้ตอนล่าง และวันที่ 2 มิ.ย.58 โซนภาคใต้ตอนบน
  • ชี้แจงการจัดประชุมโดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และเริ่มกระบวนการปรับข้อเสนอโครงการ โดยเน้นการปรับวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกิจกรรม ซึ่งในวันนั้นมีการทำเอกสารกรอบการเขียนวัตถุประสงค์ และงบประมาณ ให้กับพี่เลี้ยง เพื่อนำไปปรับกับพื้นที่ต่อไป
  • อ.ไพฑูรย์ ทองสม อ.กุลทัต หงส์ชยากูร และ อ.จีรเนาว์ ทัศศรี ช่วยให้คำแนะนำต่อการเขียนโครงการเพิ่มเติม โดยยกตัวอย่างโครงการใน 4 ประเด็น คือ ประเด็นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ประเด็นสุขภาพ ประเด็นขยะ และประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีพี่เลี้ยงแต่ละจังหวัดนำเสนอโครงการและปัญหาในการเขียนโครงการ
  • สรุปและนัดหมายการจัดประชุมพิจารณาโครงการในครั้งที่ 3 ต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทุกโครงการในวันนี้มีการปรับในเรื่องของการเขียนกรอบแนวคิด วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ
  • ได้นัดหมายการจัดเวทีปรับข้อเสนอโครงการในครั้งที่ 3 คือวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2557
  • ได้แนวทางการจัดประชุมในครั้งที่ 3 คือ การหาข้อสรุปร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสส.ถึงการเขียนข้อเสนอโครงการโดยชุมชน และสร้างความเข้าใจของผู้ทรง สสส.ให้ตรงกับพี่เลี้ยง คือ เน้นชุมชนเขียนโครงการ ซึ่งโครงการที่เขียนอาจจะไม่ดีเหมือนกับโครงการทั่วไป แต่ที่ผ่านมามีการพัฒนาโครงการขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถขอรับทุนจาก สสส.ได้
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ภาคใต้ 50 คน
  • ทีม สจรส.ม.อ. และอาจารย์ จำนวน 10 คน
พัฒนาโครงการครั้งที่ 2 จ.ภูเก็ต วิเคราะห์และปรับโครงการ24 มิถุนายน 2558
24
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ อธิบายกรอบแนวคิดการเขียนโครงการตามประเด็น และการใช้เวบไซต์คนใต้สร้างสุข
  • ฝึกปฏิบัติการเขียนโครงการ โดยมีพี่เลี้ยงและทีม สจรส.คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และกรอกให้เสร็จในวันนี้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เริ่มการประชุม 9.25 น. เนื่องด้วย จ.ภูเก็ตไม่มีพี่เลี้ยง ทางคณะทีม สจรส.มอ.ได้ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการ ในช่วงเช้ามีพื้นที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยน 5 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนพรุสมภาร ชุมชนไม้ขาว ชุมชนแหลมทราย บ้านยามู และบ้านท่าฉัตรไชยการคุยเบื้องต้น ชุมชนพรุสมภารจะเสนอประเด็นเกษตรพอเพียง ชุมชนไม้ขาว เสนอเรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง จะออกแบบการประกวดคนสุขภาพดี คนเป็นโรค 6 เดือนจะดีขึ้น

  • อ.พงค์เทพ ทบทวนแนวคิดชุมชนน่าอยู่ 1) ชุมชนทำข้อมูลเป็น 2) ชุมชนสามารถวางแผนชุมชนได้ 3) ชุมชนสามารถบริหารจัดการโครงการ แก้ปัญหาได้ 4) ชุมชนมีโครงสร้างการทำงานในชุมชน โดยหยิบประเด็นมาเป็นตัวเดินเรื่องกระบวนการชุมชน ใช้ข้อมูลศึกษาสถานการณ์ของชุมชน ใช้ทุนในการเดินเรื่อง ดูว่าชุมชนมีอะไรบ้าง ใช้วิเคราะห์สถานการณ์อะไรบ้าง โดยวิเคราะห์จากตารางปัญหาว่ามีปัญหาประเด็นอะไร

ยกตัวอย่าง ชุมชนพรุสมภาร ได้วิเคราะห์ปัญหาเรื่องยาเสพติด เกษตรราคาตก / ชุมชนไม้ขาว ได้วิเคราะห์ประเด็นสุขภาพ น้ำสิ่งแวดล้อม หนี้สินเศรษฐกิจ / คำถามคือ ทำเรื่องอะไรชุมชนน่าอยู่ที่สุด ทำให้รู้โจทย์ว่าควรทำเรื่องอะไรมีที่มาที่ไปอย่างไร / ถ้าทำประเด็นสุขภาพ ชักชวนเด็กรวมกลุ่มเก็บข้อมูลกับชุมชน คือ การใช้โจทย์เป็นการเดินเรื่องทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

ชุมชนพรุสมภาร ทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คนในหมู่บ้านประกอบอาชีพเกษตรเยอะ เจอปัญหาราคาตกต่ำ รายได้ไม่เพียงพอ ทำให้คนออกไปทำงานนอกชุมชนเยอะ ทำให้ทิ้งลูกหลานในหมู่บ้านไม่ได้รับการดูแล จึงทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องไปทำงานนอกชุมชน ได้มีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้น พ่อแม่มีเวลา / ชุมชนได้ออกแบบกิจกรรมเน้นอาชีพเสริม ปลูกมะนาว เลี้ยงปลาดุก จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์โครงการร่วมกัน ได้แนวทางกระบวนการชุมชน ได้แก่ 1.กระบวนการจัดการข้อมูล 2. กระบวนการร่วมกันคิดวางแผน 3. การทำกิจกรรมดำเนินงาน 4. มีการติดตามประเมินผล มีรายละเอียดดังนี้
1. กระบวนการจัดการข้อมูล - คัดเลือกเด็กกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มติดยา มาเรียนรู้ 2 เรื่อง ได้แก่ 1. การเป็นนักวิจัยน้อย 2.เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
- เก็บข้อมูลชุมชน ได้แก่ รายรับ รายจ่าย หนี้สิน อาชีพ เพื่อดูสถานะเศรษฐกิจของชุมชน
- ออกแบบเครื่องมือที่จะเก็บ เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การบันทึกบัญชีครัวเรือน
- เยาวชนออกไปเก็บข้อมูล ไปด้วยกันเอง กับไปพร้อมกับผู้ใหญ่ ผลที่ได้คือ ได้ข้อมูล เกิดความตระหนัก ความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ - วิเคราะห์ข้อมูลเด็กร่วมกับผู้ใหญ่ ผู้มีประสบการณ์การวิเคราะห์ข้อมูล
- คืนข้อมูลให้ชุมชนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ละคร เพลง นิทาน เป็นต้น
2. กระบวนการร่วมกันคิดวางแผน - การเพิ่มรายได้ เช่น การปลูกมะนาวขาย
- การลดรายจ่าย เช่น การปลูกผักกินเอง
- การเพิ่มการออม เช่น การทำกองทุนธนาคาร
- เพิ่มการใช้ประโยชน์คุณค่าทรัพยากร เช่น ธนาคารปู ปลูกต้นไม้
- การปรับใช้ชีวิต เช่น ศาสนา การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
- การเพิ่มการเอื้ออาทร เช่น การมีกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
3. ทำกิจกรรมตามแผนงานที่ออกแบบไว้
4. การติดตามประเมินผล เรียนรู้ยกระดับ - เป็นกลุ่มอาชีพ เด็ก เยาวชน มีอาชีพ
- ศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ยกระดับ
- พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
“เน้นกระบวนการเป็นหลัก ไม่เน้นกิจกรรม”

ยกตัวอย่างชุมชนศรีษะเกษ ในหมู่บ้านจะมีการแบ่งคุ้มต่างๆ แต่ละคุ้มจะถนัดในเรื่องนั้นๆ เช่น คุ้มการเลี้ยงวัว คุ้มปลูกผัก คุ้มผลไม้ คุ้มการทำปุ๋ยหมัก คุ้มเลี้ยงไก่ คุ้มอาหาร คุ้มเลี้ยงกบ จากนั้นแต่ละคุ้มจะมีศูนย์เรียนรู้เปิดการเรียนรู้กับบุคคลทั่วไป เด็กๆ เยาวชนก็จะอยู่ตามกลุ่มอาชีพต่างๆ และ ทุกๆ เช้าจะมีตลาดชุมชนจะนำของมาซื้อขาย จากนั้นจะปั่นจักรยานไปหมู่บ้านอื่น กลางคืนจะสรุปบทเรียน เข้าวัดคุยกัน
ยกตัวอย่าง เทศบาลนครยะลา ทำเรื่องแก้ปัญหาความรุนแรง โดยจัดกิจกรรมกับเยาวชน ให้เยาวชนเลือกว่าอยากเล่นกีฬาอะไร ส่วนใหญ่จะเป็นฟุตบอล จากนั้นชวนเด็กๆ มาเรียนรู้กีฬาฟุตบอล ก่อนเล่นกีฬาให้เด็กรู้จักน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยให้เกิดการเรียนรู้ และจัดกีฬา สำคัญคือ “การเคลื่อนด้วยข้อมูลความรู้” เอาข้อมูลมาวิเคราะห์คืนข้อมูลให้ชุมชน สุดท้ายจะเกิดข้อมูล แผน แก้ปัญหาได้ มีการทำงานร่วมกันเกิดกลุ่มอาชีพสภาผู้นำเด็กเยาวชน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ กระบวนการดังนี้
1. เด็กและเยาวชนสำรวจขยะ กระบวนการเรียนรู้ออกแบบ วิธีการจัดการขยะ
2. เก็บข้อมูล ชนิดปริมาณ/แหล่งขยะ สาเหตุ ปัจจัยอะไรบ้าง
3. วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
4. คืนข้อมูลให้กับชุมชน
5. วางแผน การจัดการขยะ ลดการสร้างขยะ จัดเก็บคัดแยก ใช้ใหม่ ทำลาย รีไซเคิล , ตลาดมีข้อตกลงร่วมกัน โรงเรียน มัสยิด ทำข้อตกลง, การใช้ตะกร้า ถุงผ้า การไม่ขายขนมถุง ให้ครอบครัวคัดแยกธนาคารขยะ , กองทุนขยะ ปุ๋ยหมักแก๊ส เรื่องอาชีพ , ใช้ใหม่ ทำลาย
6. ทำตามแผนที่วางไว้ ขั้นดำเนินการ 7. การติดตามประเมินผล ยกระดับการเรียนรู้

ประเด็นแลกเปลี่ยน ชุมชนมีการแลกเปลี่ยนว่าการร่วมกลุ่มคนมีความยาก สร้างความร่วมมือได้ยาก, สุมมติโครงการผ่าน ความสำเร็จโครงการถึงขั้นไหน กี่เปอร์เซ็นต์ ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความสำเร็จ ยกตัวอย่างโดยดูจากพัฒนาการการทำโครงการ จากคะแนนเต็ม 10การเริ่มจากศูนย์เข้ามาเรียนรู้ไปสู่ความสำเร็จ 2 ก็ถือว่าสำเร็จ แต่ถ้าพื้นฐานเริ่มต้นจาก 5 ควรทำสำเร็จระดับนวัตกรรมใหม่ๆ


จากนั้นเวลา 10. 25 น. – 14.00 น. ชุมชนแบ่งกลุ่มกันวิเคราะห์ข้อมูล และบักทึกข้อเสนอพัฒนาโครงการผ่านเว็บไซต์


จากนั้นเวลา 14.00 น. อาจารย์ได้ทบทวนเกณฑ์การสนับสนุนโครงการอีกครั้ง ดังนี้
1. ความเป็นชุมชน ต้องไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ควรเป็นคณะทำงานทั้งชุมชน มีแกนนำชุมชนจริงๆ ถ้ามีผู้ใหญ่บ้านร่วมด้วยยิ่งดี หรือจะไม่มีก็ได้เป็นประธานชุมชนโดยธรรมชาติ ให้มีการทำงานชุมชนจริงๆ
2. ข้อมูลภาค ผนวก 1 ข้อมูลชุมชน และข้อ 3 ทุนของชุมชน (จากแบบข้อเสนอโครงการ) ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วน
3. มีแผนชุมชน (ภาคผนวก 2) ไม่ใช่แผนโครงการที่ขอ สสส. เป็นแผนของ อบต.แผนของท้องถิ่น 4. มีการวิเคราะห์ชุมชน และเหตุผลที่เลือก
5. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด เขียนง่ายๆ จาก 1) มีการจัดการข้อมูล 2) มีการทำแผน คืนข้อมูล มีฐานข้อมูล 3) มีกิจกรรมดำเนินงาน 4) มีการติดตามประเมินผลเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์โครงการ เช่น มีการอนุรักษ์ทรัพยากร ธนาคารปู มีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดกระบวนการชุมชน สภาเด็กเยาวชน สภาผู้นำ
6. กิจกรรม การบันทึกวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา ผลลัพธ์ ผลผลิต ฯลฯ


สสส.ไม่สนับสนุนงบประมาณดังนี้ 1. ไม่สนับสนุนงบซื้อของชิ้นใหญ่ๆ เช่น มอเตอร์ไซต์ โน้ตบุ๊ก ควรซื้อที่จำเป็นสำหรับโครงการ การซื้อของไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ของโครงการ
2. ไม่สนับสนุนงบดูงาน ไกลๆ แต่ดูใกล้ๆ ควรพิจารณาความเหมาะสมเหตุผลอีกครั้ง
3. ไม่สนับสนุนงบการซื้อของแจก
4. ไม่สนับสนุนงบไปลงทุน แต่เพื่อการสาธิตกิจกรรมได้
5. ไม่สนับสนุนงบก่อสร้างต่อเติมอาคาร
6. ไม่รับสนับสนุนร่วมโครงการจากบริษัท เหล้า บุหรี่

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • พื้นที่ จ.ภูเก็ตที่เสนอโครงการและมีการปรับแก้เพิ่มเติม 5 พื้นที่
  • ทีม สจรส. 5 คน
ประชุมทีมวิชาการ วิเคราะห์เนื้อหาข้อเสนอโครงการปี 255815 มิถุนายน 2558
15
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อ.พงค์เทพ ชี้แจงขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหาข้อเสนอโครงการ เพื่อแยกโครงการออกเป็น 2 ประเภท คือ โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ สนับสนุนทุนไม่เกิน 200,000 บาท และ โครงการชุมชนน่าอยู่ขนาดเล็ก สนับสนุนทุน 50,000 บาท หรือมากกว่า เป็นโครงการที่มีลักษณะการทำข้อมูล การทำแผน และเป็นกิจกรรมขนาดเล็ก ซึ่งเนื้อหาข้อเสนอโครงการที่วิเคราะห์ในวันนี้ เป็นการทำโครงการให้ชัดเจนขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนเข้าสู่เวทีพิจารณาโครงการในเดือนสิ่งหาคมนี้
  • สำหรับขั้นตอนการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จะเน้นตัวชี้วัด 9 ข้อ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกความเข้มแข็งของชุมชน ตัวชี้วัดนี้ จะอยู่ในแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการอยู่แล้ว
  • กรอบแนวคิดในการเขียนโครงการ จะมี 6 ประเด็น คือ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การคืนข้อมูล การร่วมทำแผน การปฏิบัติการ และการขยายผล แต่สิ่งสำคัญคือ การเน้นชุมชนเข้มแข็ง โดยใช้ปัญหาเป็นตัสเดินเรื่อง
  • ในกรณีโครงการที่คัดออก จะเน้นโครงการที่ไม่มีความเคลื่อนไหวทางเวบไซต์ ตั้งแต่วันที่เริ่มจัดเวทีพัฒนาโครงการครั้งที่ 1 และโครงการที่มีข้อมูลไม่ชัดเจน ไม่สามารถมองเห็นว่าจะทำอะไร
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีโครงการที่เข้าร่วมพิจารณา จำนวน 258 โครงการ แยกเป็น 4 กลุ่ม
  1. กลุ่ม จ.นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ชุมพร พังงา และภูเก็ต มีโครงการทั้งหมด 56 โครงการ เหลือโครงการ ตัดออก 4 โครงการใน จ.พังงา และภูเก็ต เนื่องจากข้อมูลไม่ครบ และไม่มีความเคลื่อนไหวทางเวบไซต์ ประเด็นที่ทำส่วนใหญ่ เป็นเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ขยะ สุขภาพ กลไกสร้างมีส่วนร่วม และ การแก้ปัญหาความแตกแยกในชุมชน
  2. กลุ่ม จ.นครศรีธรรมราช เหลือ 61 โครงการ
  3. กลุ่ม จ.พัทลุง ตรัง และ สุราษฎร์ธานี ในส่วนพัทลุงและตัดโครงการออกในโครงการที่เขียนข้อมูลน้อย ไม่มีข้อมูล ส่วน จ.สุราษฎร์ตัดโครงการออกเกือบหมด หากไม่มีการแก้ไขก็คงไม่ผ่าน
  4. กลุ่ม จ.สตูล กระบี่ สงขลา มีการปรับแก้ตามผู้ทรง โดยเอาประเด็นมาคุยกัน เช่น ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง มีกรอบ 6 เรื่อง ที่นำไปสู่วัตถุประสงค์และกิจกรรม โดยเอาโครงการที่มีประเด็นเหมือนกันมาดูพร้อมกัน

ทั้งนี้ โครงการที่ถูกตัดออก หากมีการปรับแก้หลังจากนี้ก็จะเข้าพิจารณาอีกครั้ง


ข้อสังเกต/ข้อค้นพบการเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการครั้งที่ 2 (รอบ 1) - โครงการได้ข้อแนะนำ ปรับแก้ไขโครงการจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในแนวทางหลักการชุมชนน่าอยู่ การวิเคราะห์ปัญหาที่นำเป็นประเด็นทำโครงการ การวิเคราะห์ปัญหาที่นำเป็นประเด็นทำโครงการ การมองปัจจัยคน สภาพแวดล้อม กลไก ที่นำมากำหนดกิจกรรมเพื่อให้เกิดข้อเสนอโครงการชุมชนน่าอยู่ที่ฉบับสมบูรณ์ต่อไป - เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม) เป็นการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงในการวิเคราะห์โครงการ เพื่อใช้ในการแนะนำชุมชนต่อไป
- เกิดการคัดกรองโครงการที่สมบูรณ์ต่อไป ในอนาคตจะง่ายในการติดตาม ลดจำนวนโครงการเสี่ยงต่อการยุติโครงการในอนาคต
- เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันคิดวิเคราะห์แนวทางจากชุมชนและเสนอแนะแนวทางที่ส่งเสริมกิจกรรมของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 29 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน
  • พี่เลี้ยงรายจังหวัด 18 คน
  • สจรส.ม.อ.4 คน
พัฒนาโครงการครั้งที่ 1 จัดทำกรอบแนวคิดโครงการ จ.สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส1 มิถุนายน 2558
1
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมห้องประชุม 1402 ชั้น 14 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่
จ.สงขลา

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 09.30 น. แนะนำหลักการและกรอบแนวคิดโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)

09.30 – 10.00 น. แนะนำการใช้งานเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขเพื่อการพัฒนาโครงการครั้งที่ 1 โดย สจรส.ม.อ. และทีมสนับสนุนวิชาการภาคใต้ (พี่เลี้ยง)

10.00 – 10.15 น. รับประทานอาหารว่าง

10.15 – 12.00 น. ปฏิบัติการใช้งานเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขเพื่อการพัฒนาโครงการครั้งที่ 1  ชื่อโครงการ คณะทำงาน ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด  แผนการดำเนินงานโครงการ   โดย ทีมสนับสนุนวิชาการภาคใต้ (พี่เลี้ยง)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. ปฏิบัติการใช้งานเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขเพื่อการพัฒนาโครงการครั้งที่ 1 (ต่อ) 15.00 – 15.15 น. รับประทานอาหารว่าง 15.15 – 16.30 น. วิเคราะห์การวางแผนดำเนินงานของโครงการ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จังหวัดสตูล มีชุมชนเข้าร่วมทั้งหมด37 ชุมชน

  • จังหวัดสงขลา มีชุมชนเข้าร่วมทั้งหมด 16 ชุมชน

  • จังหวัดปัตตานี มีชุมชนเข้าร่วมทั้งหมด 11 ชุมชน

  • จังหวัดยะลา มีชุมชนเข้าร่วมทั้งหมด 11ชุมชน

  • จังหวัดนราธิวาส มีชุมชนเข้าร่วมทั้งหมด 10ชุมชน

ข้อสังเกต/ข้อค้นพบการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ครั้งที่ 1 - ผู้รับผิดชอบโครงการได้เรียนรู้กับเว็บไซต์ ในการกรอกข้อมูลเป็นครั้งแรก เรียนรู้การใช้เว็บไซต์เป็นผลดีในการกรอกข้อมูลบันทึกกิจกรรมในครั้งต่อไป - เกิดกระบวนการกลั่นกรองชุมชนที่มีความตั้งใจจะดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ จำนวนโครงการถูกกลั่นกรองลดจำนวนลงด้วยเงื่อนไขที่ทำให้ชุมชนไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เช่น ชุมชนขาดการมีส่วนร่วมขาดทีมคณะทำงานในชุมชน การดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่แตกต่างจากโครงการทั่วไปเนื่องจากชุมชนน่าอยู่ใช้หลักการมีส่วนร่วมเป็นหลักและแนวทางโครงการเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพชุมชน เป็นต้น

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 184 คน จากที่ตั้งไว้ 184 คน
ประกอบด้วย
  • สงขลา  14 โครงการ /32  คน
  • ปัตตานี 11 โครงการ / 24 คน
  • ยะลา 11 โครงการ /24  คน
  • นราธิวาส 10โครงการ / 20 คน
  • สตูล 37 โครงการ / 84 คน
พัฒนาโครงการครั้งที่ 1 จัดทำกรอบแนวคิดโครงการ จ.นครศรีธรรมราช และ กระบี่31 พฤษภาคม 2558
31
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.30 น. แนะนำหลักการและกรอบแนวคิดโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
09.30 – 10.00 น. แนะนำการใช้งานเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขเพื่อการพัฒนาโครงการครั้งที่ 1
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) 10.00 – 10.15 น. รับประทานอาหารว่าง 10.15 – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติการใช้งานเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขเพื่อการพัฒนาโครงการครั้งที่ 1  ข้อมูลชุมชน  ชื่อโครงการ คณะทำงาน ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด  ขั้นตอนการดำเนินโครงการ โดย ทีมสนับสนุนวิชาการภาคใต้ (พี่เลี้ยง) 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. ฝึกปฏิบัติการใช้งานเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขเพื่อการพัฒนาโครงการครั้งที่ 1 (ต่อ) 15.00 – 15.15 น. รับประทานอาหารว่าง 15.15 – 16.30 น. วิเคราะห์แผนดำเนินงานของโครงการ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จังหวัดกระบี่ เข้าร่วม 8 ชุมชน ได้แก่ บ้านท่าพรุ,บ้านหนองจิก, บ้านหัวหิน, บ้านปลายทับใหม่, บ้านขุนสมุทร, บ้านควนเกาะจันทร์, บ้านเขาขาว, บ้านโคกยูง

  • จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 66 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนท่าม่วง, ชุมชนชาเอียน,ชุมชนบ้านนาผา,บ้านทุงกระจูด, บ้านบางคุรา, บ้านท่าแห้ง,บ้านเนินอินทร์แก้ว อ.ชะอวด, บ้านไร่เหนือ อ.ทุ่งสง, บ้านคลองปีกเหนือ อ.ช้างกลาง, บ้านยวนแหล อ.เมือง, บ้านห้วยแหยง อ.ชะอวด, บ้านกาโห่ อ.ชะอวด , ชุมชนวัดโหนด อ.ท่าศาลา , บ้านทรายขาว อ.ทุ่งสง,บ้านสหกรณ์ อ.ทุ่งสง,บ้านควนหนองหงส์ อ.ชะอวด ,บ้านนาสร้าง อ.พรหมคีรี ,บ้านโปน อ.พรหมคีรี ,บ้านตีนคลอง อ.พรหมคีรี ,บ้านไทรขาม อ.ท่าศาลา ,บ้านมะยิง อ.ท่าศาลา ,บ้านในโคระ อ.ท่าศาลา ,บ้านแขก อ.ท่าศาลา,บ้านในหัน อ.ท่าศาลา ,บ้านปลักจอก อ.ท่าศาลา ,บ้านบางคุระ อ.ปากพนัง,บ้านเกาะรุ้ง อ.ปากพนัง,บ้านขุนเขาพนม อ.พรหมคีรี ,บ้านไสโคกเกาะ อ.ฉวาง ,บ้านทุ่งกระจูด อ.ฉวาง ,บ้านไสใหญ่ อ.ฉวาง,บ้านทรายขาว อ.ฉวาง,บ้านทุ่งหล่อ อ.ร่อนพิบูลย์,ชีวิตปลดสารพิษตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง อ.ร่อนพิบูล ,บ้านท่าม่วง อ.เมือง,บ้านกลาง อ.ท่าศาลา ,บ้านหลาแขก อ.ร่อนพิบูลย์ ,บ้านชุมโลง อ.ท่าศาลา,บ้านคลองเล อ.ถ้ำพรรณรา,บ้านห้วยพานฟื้นวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ,กล้วยไข่บานลดสารเคมีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านพิตำ อ.นบพิตำ,บ้านปากลงเศรษฐกิจพอเพียงเลี่ยงสารเคมี อ.นบพิตำ,ชุมชนบางฉนาก เทศบาลเมืองปากพนัง,ชุมชนเสาธงทอง เทศบาลเมืองปากพนัง,บ้านบางศาลา อ.ปากพนัง,บ้านบางตะพง อ.ปากพนัง ,บ้านปากท่าซอง อ.ถ้ำพรรณรา,บ้านทรายเพชร อ.ถ้ำพรรณรา,บ้านทุ่งกางิ้ว อ.ถ้ำพรรณรา,บ้านนาพา อ.ถ้ำพรรณรา, บ้านไสเลียบ อ.พระพรหม ,บ้านทุ่งจูด อ.ถ้ำพรรณรา,บ้านท่าแห้ง อ.ฉวาง ,คนปากเมียดสุขภาพ อ.ฉวาง ,บ้านควนสวรรค์ อ.ฉวาง ,บ้านคันเบ็ด อ.ลานสกา ,บ้านคลองตูก อ.ทุ่งสง,บ้านเขาพระทอง อ.ชะอวด ,บ้านชะเอีอน,บ้านท่าใหญ่ อ.เชียรใหญ่ ,บ้านดอนจิก อ.เชียรใหญ่ ,บ้านบางคู อ.เชียรใหญ่ ,บ้านท้องลาน อ.เชียรใหญ่ ,บ้านศรีรักษา อ.เชียรใหญ่ ,บ้านตูล ม.1 ,บ้านชายควน,บ้านควนเงิน

ข้อสังเกต/ข้อค้นพบการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ครั้งที่ 1 - ผู้รับผิดชอบโครงการได้เรียนรู้กับเว็บไซต์ ในการกรอกข้อมูลเป็นครั้งแรก เรียนรู้การใช้เว็บไซต์เป็นผลดีในการกรอกข้อมูลบันทึกกิจกรรมในครั้งต่อไป - เกิดกระบวนการกลั่นกรองชุมชนที่มีความตั้งใจจะดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ จำนวนโครงการถูกกลั่นกรองลดจำนวนลงด้วยเงื่อนไขที่ทำให้ชุมชนไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เช่น ชุมชนขาดการมีส่วนร่วมขาดทีมคณะทำงานในชุมชน การดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่แตกต่างจากโครงการทั่วไปเนื่องจากชุมชนน่าอยู่ใช้หลักการมีส่วนร่วมเป็นหลักและแนวทางโครงการเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพชุมชน เป็นต้น

พัฒนาข้อเสนอโครงการครั้งที่ 1 จัดทำกรอบแนวคิดโครงการ จ.ชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี30 พฤษภาคม 2558
30
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ อ.ไพฑูรย์ ทองสม ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวที อธิบายการให้ทุน สสส. และกรอบแนวคิดการเขียนโครงการ
  • คุณกัญณภัส จันทร์ทอง แนะนำการใช้เวบไซต์คนใต้สร้างสุข การสมัครสมาชิก และการกรอกข้อมูลโครงการพัฒนา
  • อ.พงค์เทพ อธิบายการเขียนโครงการในวันนี้ที่ต้องเสร็จ มี 5 เรื่อง คือ ชื่อโครงการ ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ ตารางวิเคราะห์ปัญหาในชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาที่เลือกทำโครงการด้านคน สภาพแวดล้อม กลไก และแผนกิจกรรม
  • แบ่งกลุ่มตามจังหวัดและพี่เลี้ยง แนะนำพื้นที่ต่อการเขียนโครงการ
  • อ.พงค์เทพ และ อ.ไพฑูรย์ แนะนำการเขียนโครงการตามกลุ่มต่าง ๆ และยกตัวอย่างโครงการที่เขียน พร้อมกับให้คำแนะนำต่อกรอบการเขียนโครงการในแต่ละประเด็น
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พื้นที่เรียนรู้การกรอกข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์ในช่วงนี้พื้นที่ยังใหม่กับเรื่องคอมพิวเตอร์ แนวทางแก้ไขปัญหาเขียนในกระดาษแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ
  • จังหวัดชุมพร มีโครงการเข้าร่วม 14 โครงการ จำนวน 38 คน ชุมชนที่เข้าร่วมเรียนรู้ได้แก่ บ้านเขาตะเภาทอง, บ้านในจูน, บ้านตรัง, บ้านปะติมะ ,บ้านในไร่ ,บ้านวังทอง, บ้านนาเหนือ, บ้านนาโครงช้าง , บ้านควนเสาธง, บ้านดอนเมา, บ้านทับช้าง , บ้านท่า , บ้านอ่าวมะม่วง, บ้านเขาเหรง

  • จังหวัดระนอง มีโครงการเข้าร่วม 9 โครงการ จำนวน 17 คน ชุมชนที่เข้าร่วมเรียนรู้ได้แก่ บ้านขจัดภัยร่วมใจพัฒนา,บ้านหาดส้มแป้น, บ้านทุ่งคา , บ้านบางสังตี , ชุมชนร่วมจิตร, ชุมชนบ้านในไร่ , บ้านน้ำตก อ.เมือง , ระนองพัฒนา , ทองหลางสาง

  • จ.สุราษฎร์ธานี มีโครงการเข้าร่วม 16 โครงการ จำนวน 46 คน ชุมชนที่เข้าร่วมเรียนรู้ได้แก่ - เสม็ดเรียง , ปากกะแดะ , บ้านบางกล้วย , บ้านกลาง, เวียงสระปากหาน , บ้านเขาปูน,บ้านกงตอ , บ้านควนสูง , บ้านถ้ำผุด, บ้านกงตาก , บ้านคลองฮาย, ปากกะแดะ , บ้านหนองสวย , บ้านหินดาน , บ้านคีรีรอบ , บ้านโกงเหลง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 74 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • พื้นที่เสนอโครงการ จ.ชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 โครงการ
  • พี่เลี้ยง จ.ชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวน 14 คน
พัฒนาข้อเสนอโครงการครั้งที่ 1 จัดทำกรอบแนวคิด จ.พัทลุง ตรัง พังงา และ ภูเก็ต28 พฤษภาคม 2558
28
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวที อธิบายภาพรวมงานโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ โดยอธิบายตามเวบไซต์ และแนะนำกรอบแนวคิดการจัดทำโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้
  • คุณภานุมาศ นนทพันธ์ อธิบายการใช้เวบไซต์คนใต้สร้างสุข เริ่มจากการสมัครเป็นสมาชิก การเข้าไปเพิ่มโครงการพัฒนา และกรอกข้อมูลโครงการตามคำแนะนำของ อ.พงค์เทพ
  • ปฏิบัติการลงข้อมูลรายละเอียดการทำโครงการ โดยในวันนี้มีหัวข้อสำคัญที่ต้องกรอกให้ครบ 5 ประเด็น คือ ชื่อโครงการ ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ ตารางวิเคราะห์ปัญหาในชุมชน การวิเคราะหืปัญหาที่เลือก และสาเหตุการเกิดปัญหาด้าน คน สภาพแวดล้อม และกลไก และตารางแผนกิจกรรม โดยจัดแบ่งกลุ่มรายจังหวัดตามพี่เลี้ยง และมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
  • อ.พงค์เทพ ให้คำแนะนำการเขียนโครงการ โดยยกตัวอย่างโครงการที่มาวันนี้ และให้คำแนะนำต่อการเขียนอีกครั้ง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีโครงการที่กรอกข้อมูลเสร็จแบ่งเป็น จ.พัทลุง 28 โครงการ จ.สงขลา 0 โครงการ จ.ตรัง 5 โครงการ จ.นครศรี 2 โครงการ จ.พังงา กับภูเก็ตกรอกไม่ครบ สาเหตุส่วนหนึ่ง พื้นที่ยังไม่ชัดเรื่องที่จะทำ จึงทำให้วิเคราะห์ข้อมูลไม่ออก โดยเฉพาะตารางระบุปัญหาในชุมชน และไม่ได้เตรียมข้อมูลมาจากพื้นที่
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 122 คน จากที่ตั้งไว้ 148 คน
ประกอบด้วย
  • พื้นที่เสนอโครงการ จ.พัทลุง 42 พื้นที่
  • พื้นที่ จ.สงขลา 3 พื้นที่
  • พื้นที่ จ.นครศรี 2 พื้นที่
  • พื้นที่ จ.ตรัง 6 พื้นที่
  • พื้นที่ จ.ภูเก็ต 8 พื้นที่
  • พื้นที่ จ.พังงา 1 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 100 คน
  • ทีม สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยง จ.พัทลุง ตรัง และ พังงา 22 คน
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ จ.นราธิวาส17 พฤษภาคม 2558
17
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียนโดยพี่เลี้ยง จ.นราธิวาส
  • คุณอาหะมะ เจ๊ะโซ๊ะ พี่เลี้ยง จ.นราธิวาส อธิบายหลักการทำโครงการชุมชนน่าอยู่
  • พื้นที่ตัวอย่างร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • พี่เลี้ยง จ.นราธิวาส แนะนำการเขียนโครงการให้กับพื้นที่
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้พื้นที่ที่มีความสนใจร่วมทำโครงการ จำนวน 15 พื้นที่ ซึ่งทางพี่เลี้ยงจะนัดมาพัฒนาเริ่มเขียนโครงการอีกครั้ง
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 33 คน
ประกอบด้วย
  • พื้นที่ใหม่ที่สนใจร่วมทำโครงการ 15 พื้นที่
  • พี่เลี้ยง จ.นราธิวาส 3 คน
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.สตูล16 พฤษภาคม 2558
16
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียนโดยทีมพี่เลี้ยง และ สจรส.ม.อ.
  • อ.พงค์เทพ อธิบายหลักการทำโครงการชุมชนน่าอยู่
  • พื้นที่ตัวอย่างร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  • แนะนำการเขียนโครงการ โดย อ.พงค์เทพ
  • แบ่งกลุ่มตามกลุ่มพี่เลี้ยง ร่วมกันเขียนโครงการคร่าว ๆ และนำเสนอ
  • อ.พงค์เทพ แนะนำหลักการเขียนโครงการอีกครั้ง
  • สรุป ซักถามและนัดหมายเวทีพัฒนาโครงการครั้งที่ 1
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีพื้นที่ใหม่ที่สนใจร่วมทำโครงการ จำนวน 40 พื้นที่
  • ผู้เข้าร่วมเวทีเข้าใจหลักการขอทุนทำโครงการ ว่า ต้องเป็นโครงการที่สร้างกระบวนการจัดการในการแก้ไขปัญหา หรือจัดการกลุ่มองค์กร โดยจากการแบ่งกลุ่มเสวนาสถานการณ์ปัญหาในชุมชน และออกมานำเสนอ ทำให้ อ.พงค์เทพ ได้ช่วยวิเคราะห์กรอบแนวคิดในการจัดทำโครงการ และเป็นแนวทางในการเขียนโครงการต่อไป
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 94 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย
  • พื้นที่ใหม่ที่สนใจร่วมทำโครงการ 40 พื้นที่ 80 คน
  • พี่เลี้ยง ทีม สจรส. และพื้นที่เก่าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 14 คน
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.สุราษฎร์ธานี14 พฤษภาคม 2558
14
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เรียนรู้หลักการชุมชนน่าอยู่ ชุมชนได้ชมวีดีทัศน์เรื่อง บทเรียนจากไม้เรียง และแผนชุมชนพึ่งตนเองบ้านหนองกลางดง 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

14 พฤษภาคม 2558 จังหวัดสุราษฏร์ธานี  การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้แนวคิดและหลักการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ปี 2558 สถานที่มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี คุณกัญนภัส จันทร์ทอง พี่เลี้ยงได้แนะนำหลักการชุมชนน่าอยู่ ชุมชนได้ชมวีดีทัศน์เรื่อง บทเรียนจากไม้เรียง และแผนชุมชนพึ่งตนเองบ้านหนองกลางดง บรรยาย เรื่อง ความสำคัญของชุมชนเข้มแข็งชุมชนน่าอยู่เป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรให้ชุมชนน่าอยู่ และแนวทางการเขียนโครงการในพื้นที่ มีโครงการเข้าร่วมเบื้องต้น 25 พื้นที่ จำนวน 60 คน  เข้าสู่กระบวนการพัฒนาโครงการต่อไป 

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงจังหวัด และโครงการเข้าร่วมเบื้องต้น 25 พื้นที่ จำนวน 60 คน 

เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ จ.ชุมพร14 พฤษภาคม 2558
14
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน โดยทีม สจรส.ม.อ. และผู้ช่วยพี่เลี้ยง จ.ชุมพร
  • ชมวีซีดีการทำแผนชุมชน พื้นที่บ้านหนองกลางดง และบ้านไม้เรียง
  • นายกเทศบาลตำบลวังไผ่กล่าวเปิดเวที
  • ผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ บรรยายให้ความรู้หลักการทำแผนชุชนและชุมชนน่าอยู่ทำอย่างไร มีการชี้แจงที่มาของงบ สสส. และเล่ากระบวนการทำแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผู้ใหญ่โชคชัย เน้น "หมู่บ้านต้องไม่มียาบ้าต้องไม่มีการพนัน" ดังนี้
  1. การทำข้อมูลเป็นฐานของแผน ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จากแผนต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน แบ่งกันเก็บข้อมูล นำข้อมูลมาสรุป แยกเป็นประเด็นต่าง ๆ แต่ทั้งนี้เราทำเองทั้งหมดไม่ได้ ต้องเอานักวิชาการเข้ามาร่วม แล้วสรุปออกมาเป็นแผน ได้แผนแล้วจึงนำไปปฏิบัติการณ์
  2. มีระบบการจัดการปัญหาในชุมชนของตนเอง เกิดเป็นกฏเกณฑ์กติกาของชุมชนที่กำหนดขึ้นร่วมกัน หรือเรียกว่า กฎหมายหมู่บ้าน
  3. ผู้นำชุมชนต้องมีความเสียสละ กล้าหาญ มีความอดทนไม่สนคำดูถูกจากคนรอบข้าง และมีความเป็นธรรม มีคุณธรรมในใจ
  4. ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ การร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่
  • คุณเบญจา รัตนมณี พี่เลี้ยง จ.ชุมพร อธิบายหลักการทำโครงการชุมชนน่าอยู่
  • พื้นที่เก่าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำโครงการที่ผ่านมา
  • คุณสมใจ ด้วงพิบูลย์ แนะนำการเขียนโครงการ
  • แลกเปลี่ยน ซักถาม และนัดหมายเวทีพัฒนาโครงการครั้งที่ 1 ในปลายเดือนนี้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีพื้นที่ใหม่สนใจร่วมทำโครงการ 16 พื้นที่
  • กระบวนการเวทีจังหวัดชุมพร มีวิทยากรอย่างผู้ใหญ่โชคชัย เข้ามาร่วมให้ความรู้เรื่องการทำแผนชุมชน ทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความสนใจต่อการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนของพื้นที่เก่า ที่พูดถึงการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นหลังการทำโครงการ ว่า สามารถเป็นผู้นำชุมชนทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ และได้เรียนรู้จากการเข้ามาทำโครงการชุมชนน่าอยู่
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • พื้นที่ใหม่ที่สนใจร่วมทำโครงการ 16 พื้นที่ 33 คน
  • พี่เลี้ยง จ.ชุมพร ผู้ช่วยพี่เลี้ยง และทีม สจรส. 17 คน
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.ระนอง13 พฤษภาคม 2558
13
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แนะนำพื้นที่เข้าร่วมเวที แนะนำพี่เลี้ยง ทีม สจรส.ม.อ. และวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำโครงการ ดำเนินเวทีโดยโกแบค พร้อมกับชมวิดีทัศน์การทำแผนชุมชนจากพื้นที่บ้านหนองกลางดง และบ้านไม้เรียง
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวทีสร้างการเรียนรู้การทำโครงการ อธิบายหลักการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และการเขียนโครงการ โดย อ.ไพฑูรย์ ทองสม
  • ตัวแทนโครงการเยาวชนบ้านบางกล้วยนอกจัดการทรัพยากร โดยคุณดลก้อเส็ม ผดุงชาติ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในช่วงทำโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่
  • แลกเปลี่ยนซักถาม
  • แบ่งกลุ่มระดมสถานการณ์ปัญหาในชุมชน การทำกิจกรรมและโครงสร้างการทำงาน โดยแบ่งตามกลุ่มพี่เลี้ยงออกเป็น 2 กลุ่ม
  • สรุปและนัดหมายการจัดเวทีพัฒนาโครงการครั้งที่ 1 ช่วงปลายเดือน พ.ค.58
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้พื้นที่ใหม่ที่สนใจร่วมทำโครงการชุมชนน่าอยู่ใน จ.ระนอง จำนวน 16 พื้นที่
  • เกิดพี่เลี้ยงใหม่ใน จ.ระนอง จำนวน 3 คน มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาโครงการ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • พื้นที่ใหม่ที่สนใจร่วมเรียนรู้การทำโครงการ 16 พื้นที่ 24 คน
  • พี่เลี้ยงใหม่ จ.ระนอง ทีม สจรส.ม.อ. และพื้นที่เก่ามาร่วมแลกเปลี่ยนการทำโครงการ 12 คน
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.ยะลา และ ปัตตานี12 พฤษภาคม 2558
12
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เรียนรู้หลักการชุมชนน่าอยู่
ชุมชนได้ชมวีดีทัศน์เรื่อง บทเรียนจากไม้เรียง และแผนชุมชนพึ่งตนเองบ้านหนองกลางดง บรรยาย
เรื่อง ความสำคัญของชุมชนเข้มแข็งชุมชนน่าอยู่เป็นอย่างไร
และจะทำอย่างไรให้ชุมชนน่าอยู่ และแนวทางการเขียนโครงการในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พื้นที่ จ.ยะลา เข้าร่วมเสวนา จำนวน 36  ชุมชน (46 คน)
  • พื้นที่ จ.ปัตตานี เข้าร่วมเสวนา จำนวน 36  ชุมชน (46 คน)
  • จังหวัดยะลา และปัตตานี การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้แนวคิดและหลักการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ปี 2558 ผู้เข้าร่วม 115 คน ได้แก่ พี่เลี้ยง 2 คน พื้นที่ใหม่ที่สนใจจำนวน 74 พื้นที่ 113 คน คุณสุวิทย์ หมาดอะดำ และคุณกัลยา เอี่ยวสกุล พี่เลี้ยงประจำจังหวัด ได้แนะนำหลักการชุมชนน่าอยู่
    ชุมชนได้ชมวีดีทัศน์เรื่อง บทเรียนจากไม้เรียง และแผนชุมชนพึ่งตนเองบ้านหนองกลางดง บรรยาย เรื่อง ความสำคัญของชุมชนเข้มแข็งชุมชนน่าอยู่เป็นอย่างไร
    และจะทำอย่างไรให้ชุมชนน่าอยู่ และแนวทางการเขียนโครงการในพื้นที่ เข้าสู่กระบวนการพัฒนาโครงการต่อไป 
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 115 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • พื้นที่ จ.ยะลา เข้าร่วมเสวนา จำนวน 36  ชุมชน (46 คน)
  • พื้นที่ จ.ปัตตานี เข้าร่วมเสวนา จำนวน 38  ชุมชน (67 คน)
  • ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) 2 คน 
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.กระบี่12 พฤษภาคม 2558
12
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พี่ทวีชัย ดำเนินเวทีจัดประชุมแนะนำตัว กล่าวที่มาของการจัดประชุม
  • พื้นที่เก่าจากพื้นที่ อ.คลองท่อม โดย ผอ.สุเมธ และ อ.เหนือคลอง โดย นายสวาสดิ์ ขนานแก้ว เล่าการทำโครงการ สสส. และ สิ่งที่ได้จากการทำโครงการ
  • พัฒนาชุมชนกล่าวถึงการหนุนเสริมงานในชุมชน
  • ชมวิดีทัศน์สุขซินโดมบ้านคลองหมาก อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ และวิดีทัศน์การทำแผนชุมชนจากพื้นที่บ้านหนองกลางดง และบ้านไม้เรียง
  • รองผู้ว่าราชการ จ.กระบี่ กล่าวเปิดการประชุม แสดงความยินดีที่มาร่วมจัดประชุมที่ศาลากลาง และทำความรู้จักแนะนำตัวผู้เข้าร่วมประชุม
  • วิทยากรปราชญ์ชุมชน และตัวแทนภาคประชาชน จ.พัทลุง นายแก้ว สังข์ชู บรรยายชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนน่าอยู่เป็นอย่างไร
  • พื้นที่เก่าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากโครงการสร้างสุขบ้านนาเกาะไทร อ.คลองท่อม จ.กระบี่ โดยนายสมชาย เนียมหวาน
  • อ.ไพฑูรย์ ทองสม บรรยายหลักการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ และแนะนำการเขียนโครงการที่ดี
  • สรุปและนัดหมายจัดเวทีพัฒนาโครงการครั้งที่ 1
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมทำโครงการ จำนวน 18 พื้นที่ จาก จ.กระบี่ และ ตรัง ซึ่งพื้นที่ที่มาร่วมมาจากการเชิญชวนของ รพ.สต.ในพื้นที่ พัฒนาชุมชน และจากพี่เลี้ยงในพื้นที่ที่ชวนมาร่วมเวที
  • รองผู้ว่าราชการเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี และสามารถร่วมกับแผนงานของ จ.กระบี่ได้ จึงได้ขอรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน เนื่องจากเป็นคนที่มาจากพื้นที่ ซึ่งจะได้หนุนเสริมงานให้ตรงกับปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยผ่านตัวแทนจากพื้นที่ในวันนี้
  • นัดหมายจัดเวทีพัฒนาโครงการครั้งที่ 1 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 58 ที่ จ.นครศรีฯ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 43 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • ทีม สจรส.ม.อ. วิทยากรปราชญ์ชุมชน และทีมโครงการได้รับทุนปี 2556 จำนวน 16 คน
  • พื้นที่ใหม่ที่สนใจเข้าร่วมทำโครงการ 17 พื้นที่ 26 คน และ จ.ตรัง 1 พื้นที่ 1 คน
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.ภูเก็ต11 พฤษภาคม 2558
11
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แนะนำตัวทีม สจรส.มอ. และชี้แจงเป้าหมายการจัดประชุมในวันนี้ โดย อ.ไพฑูรย์ ทองสม
  • ชมวิดีทัศน์ กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง และการทำแผนชุมชน จากพื้นที่บ้านหนองกลางดง และบ้านไม้เรียง
  • อธิบายหลักการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ โดย อ.ไพฑูรย์ ทองสม พร้อมกับยกตัวอย่างการเขียนโครงการจากปีที่ผ่านมาก
  • แบ่งกลุ่มตามหมู่บ้าน ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในหมู่บ้าน การดำเนินกิจกรรม และโครงสร้างหรือทีมดำเนินงาน
  • สรุปเวทีในวันนี้ และนัดหมายการพัฒนาโครงการครั้งที่ 1 ร่วมกันในปลายเดือน พ.ค. 58 นี้ พร้อมกับให้เบอร์โทรพี่เลี้ยงในพื้นที่ และ เบอร์ สจรส.ม.อ.
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วันนี้มีพื้นที่ที่สนใจร่วมทำโครงการหลายพื้นที่ มากกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้คือ 2-3 พื้นที่ แต่มีพื้นที่มาเข้าร่วมเวทีถึง 10 พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในอำเภอถลาง เพราะมีผู้ใหญ่มาโนช เป็นคนติดต่อเข้าร่วมเวที และมีพื้นที่มาจาก อำเภอเมืองจำนวน 1 พื้นที่
  • ในช่วงแรกทางพื้นที่ ที่มาร่วมเวทียังมีความเข้าใจว่า การสนับสนุนโครงการจะให้ในลักษณะการศึกษาดูงาน หรือการทำกิจกรรมให้เสร็จ แต่เมื่อ อ.ไพฑูรย์ ได้อธิบาย หลักการทำโครงการ การเขียนโครงการ และแบ่งกลุ่มร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ ทำให้เริ่มเข้าใจหลักการทำโครงการในเบื้องต้น แต่ยังต้องให้พี่เลี้ยงช่วยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดในพื้นที่อีกครั้ง
  • เนื่องจาก จ.ภูเก็ต ไม่มีพี่เลี้ยง จึงติดต่อ พี่อ๋อย อุไรวรรณ พี่เลี้ยง จ.พังงา ให้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงใน จ.ภูเก็ต และให้เบอร์โทรกับทางพื้นที่ เพื่อติดต่อกับพี่อ๋อยได้สะดวก
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 29 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมวิทยากร และ สจรส.ม.อ. 7 คน
  • พื้นที่ จ.ภูเก็ต ที่ร่วมเรียนรู้และสนใจการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ 10 พื้นที่ จำนวน 22 คน
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.สงขลา10 พฤษภาคม 2558
10
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชมวิดีทัศน์ การทำแผนชุมชน พื้นที่บ้านหนองกลางดง และ บ้านไม้เรียง
  • นายแก้ว สังข์ชู ภาคประชาสังคม จ.พัทลุง บรรยายให้ความรู้เรื่อง ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนน่าอยู่ทำอย่างไร
  • อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ บรรยายหลักการทำโครงการชุมชนน่าอยู่
  • พื้นที่ตัวอย่าง 2 พื้นที่ จากวิทยาลัยทุ่งโพ และชุมชนป้อมหก ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำโครงการชุมชนน่าอยู่
  • แบ่งกลุ่มตามพื้นที่ พูดคุย 3 ประเด็น คือ สถานการณ์ปัญหาในชุมชน กิจกรรมที่จะแก้ไข และโครงสร้างทำงาน
  • สรุปโดย สจรส.และนัดหมายครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีพื้นที่สนใจเข้าร่วมในวันที่ จำนวน 11 พื้นที่ และได้ร่วมแลกเปลี่ยนโครงการที่อยากทำในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งที่อยากทำ และได้นัดหมายกับพี่เลี้ยง เพื่อลงพื้นที่พัฒนาโครงการร่วมกันในต่อไป
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมพี่เลี้ยง และ สจรส.
  • วิทยากรบรรยาย นายแก้ว สังข์ชู
  • พื้นที่ใหม่ที่สนใจร่วมทำโครงการ 25 คน 11 ชุมชน
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.พัทลุง9 พฤษภาคม 2558
9
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน แนะนำตัวพี่เลี้ยง จ.พัทลุง และ เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. ดำเนินเวทีโดยคุณเสณี จ่าวิสูตร
  • ชมวิดีทัศน์ การทำแผนชุมชน จากพื้นที่กรณีตัวอย่าง บ้านหนองกลางดง และบ้านไม้เรียง
  • วิทยากรปราชญ์ชุมชน นายปวันพรหมพิทักษ์ บรรยายเรื่อง ชุมชนเข้มแข็งทำอย่างไร เป็นอย่างไร
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จากพื้นที่บ้านทุ่งยาว อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
  • ซักถามแลกเปลี่ยนการทำโครงการ โดยพี่เลี้ยง จ.พัทลุง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดจุดเด่นในการจัดเวที คือ

  • การเปิดเวทีสร้างการเรียนรู้ของ จ.พัทลุง มีพื้นที่สนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก และยังมีพื้นที่จาก จ.ตรัง นครศรีฯ และ สงขลา เข้ามาร่วมฟังด้วย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับ จ.พัทลุง
  • การบรรยายเรื่องชุมชนเข้มแข็ง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วม เนื้อหาที่บรรยายเน้นเรื่องหลักคิดของชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถจัดการตนเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชนน่าอยู่ ซึ่งก็คือ ชุมชนสามารถสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ มีความสุขที่ดีขึ้น เหมือนชุมชนไม้เรียง ต้องพยายามสร้างสิงให้มีขึ้น หรือมีอยู่แล้วต่อยอดให้ดีขึ้น มีกระบวนการเรียนรู้ต้องรู้ว่าทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน มีความคิดเท่ากัน แต่ต้องมาเลือกตัดสินใจวิเคราะห์ว่าจะเอาความคิดไหนมาที่เหมาะสม การศึกษาข้อมูลชุมชนก็เช่นเดียวกัน ต้องค้นหาความจริงของชุมชน ค้นหาข้อมูลจริงของชุมชน เก็บข้อมูลเรื่องที่จำเป็น เอาสิ่งที่เก็บข้อมูลมาทำเป็นกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลสู่การสรุปถอดบทเรียน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน และเป็นส่วนที่สำคัญในการทำโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
  • การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำโครงการ จัดเป็นวงเสวนา โดยมีพี่เลี้ยง พี่สมนึก พี่จฑาทิป และผู้รับผิดชอบโครงการบ้านทุ่งยาว มาเล่าประสบการณ์ ปัญหา ความสุข และความสำเร็จจากการทำโครงการ ดำเนินการตั้งคถาม โดย อ.ไพฑูรย์ จาก ม.ทักษิณ เป็นวงสนทนาที่ทำให้พื้นที่เข้าใจการทำโครงการมากขึ้น
  • ซักถามแลกเปลี่ยน ส่วนใหญ่จะตั้งคำถามว่า "ถ้าจะทำโครงการนี้ขอทุนได้ไม่"

หลังเสร็จการจัดเวที

  • พี่เลี้ยง จ.พัทลุง และ ตรัง ได้ประชุมร่วมกัน เพื่อสรุปจำนวนพื้นที่เข้าร่วมในวันที่ มีจำนวน ถึง 82 พื้นที่ ใน 4 จังหวัดที่เข้าร่วมในวันนี้ และแบ่งพื้นที่รับผิดชอบให้พี่เลี้ยงไปพัฒนาในพื้นที่ต่อหลังจากวันนี้
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 205 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมพี่เลี้ยง จ.พัทลุง 8 คน จ.ตรัง 1 คน
  • คณะทำงานในพื้นที่ 16 คน
  • ทีมวิทยากร 2 คน
  • สจรส.ม.อ. 5 คน
  • พื้นที่ใหม่ จำนวน 87 พื้นที่ 173 คน (แบ่งเป็น จ.พัทลุง 77 พื้นที่ 157 คน จ.นครศรีฯ 4 พื้นที่ 7 คน จ.ตรัง 3 พื้นที่ 3 คน และ จ.สงขลา 3 พื้นที่ 6 คน)
เวทีเสวนาเพื่อการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ จ.นครศรีธรรมราช26 เมษายน 2558
26
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน และชมวิดีทัศน์ เรื่อง กระบวนการสร้างชุมชนและให้เข้มแข็งและการทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วม จากกรณีพื้นที่ตัวอย่าง บ้านหนองกลางดง และชุมชนไม้เรียง
  • ลุงประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชุมชนจากบ้านไม้เรียง บรรยายแนวคิดการทำชุมชนให้น่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง ได้อย่างไร
  • อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม และอธิบายหลักการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคใต้
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำโครงการชุมชนน่าอยู่ จากพื้นที่ต้นแบบ บ้านหัวลำพู และชุมชนหลักกิโลสาม
  • ซักถามแลกเปลี่ยนการทำโครงการ โดยมี อ.พงค์เทพ และ อ.กำไล รวมทั้งพี่เลี้ยงในจังหวัด คอยให้คำแนะนำและอธิบายเพิ่มเติม
  • แบ่งกลุ่มพื้นที่ตามกลุ่มพี่เลี้ยง ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน 3 ประเด็น คือ 1. ชุมชนของท่านมีสถานการณ์อย่างไร 2. ชุมชนของท่านต้องดำเนินกิจกรรมอะไร เพื่อแก้ปัญหาข้อที่ 1 และ 3. โครงสร้างการดำเนินงานประกอบด้วยใครบ้าง และแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ
  • สรุปเวทีและนัดหมายครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การเล่าประสบการณ์สร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยลุงประยงค์ เล่าได้เข้าใจและเห็นภาพในวิซีดี ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจต่อหลักคิดการทำโครงการ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในช่วงแลกเปลี่ยนซักถาม มีการซักถามเกี่ยวกับโครงการที่สนับสนุน กิจกรรมที่จะทำ
  • เวทีประชุมในวันนี้ได้รับความสนใจจากพื้นที่ใหม่เป็นจำนวนมาก สังเกตได้จากห้องประชุมที่ล้น ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มาจากจากประชาสัมพันธ์จากพี่เลี้ยง และการบอกปากต่อปาากของชุมชน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 210 คน จากที่ตั้งไว้ 180 คน
ประกอบด้วย
  • ทีม สจรส.ม.อ. 5 คน
  • ทีมวิทยากรและโครงการปี่เก่าร่วมแลกเปลี่ยน 4 คน
  • ทีมพี่เลี้ยง จ.นครศรีฯ 10 คน
  • พื้นที่ใหม่ที่สนใจจำนวน 110 พื้นที่ 191 คน
ประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอโครงการใน 14 จังหวัดภาคใต้1 เมษายน 2558
1
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชาสัมพันธ์ผ่านหนังสือเชิญ
  • ประชาสัมพันธ์ทางหนังสือเชิญส่งไปตามหน่วยงาน ได้แก่ ที่ว่าการอำเภอของแต่ละอำเภอในจังหวัดภาคใต้ วิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยชุมชน
  • ประชาสัมพันธ์ทางอีเมล ผ่านเครือข่ายองค์กรชุมชน ได้แก่ สกว.ท้องถิ่น กศน.จ.ปัตตานี
  • ประชาสัมพันธ์ผ่านพี่เลี้ยงที่ติดตามในพื้นที่
  1. ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ
  • โดยทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ฝากประชาสัมพันธ์ โดยกรมประชาสัมพันธ์ทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การประชาสัมพันธ์ด้วยหนังสือเชิญไปยังที่ว่าการอำเภอ มีการตอบรับและส่งต่อไปยังพื้นที่น้อยมาก
  • เครือข่ายองค์กรชุมชนมีความสนใจและส่งใบสมัครทางอีเมล และทางเอกสารมายัง สจรส. แต่ไม่ถึง 50 พื้นที่

ข้อสังเกต/ข้อค้นพบการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร - การประชาสัมพันธ์แบบทั่วไป โดยประชาสัมพันธ์ผ่าเว็บไซต์ เครือข่ายวิทยุชุมชน และส่งจดหมายไปยังหน่วยงานราชการ ได้ผลตอบรับมีชุมชนสนใจ 25 พื้นที่ ซึ่งจำนวนชุมชนน้อยกว่าแบบเฉพาะเจาะจง คือ ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม) ได้ลงพื้นที่ค้นหาชุมชนที่สนใจซึ่งมีมากถึง 414 ชุมชนในภาคใต้ 14 จังหวัด เนื่องด้วยพี่เลี้ยงมีเครือข่ายการทำงานในจังหวัดนั้นๆ ประกอบกับทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง/ผู้ติดตาม) มีความหลากหลายเครือข่ายการทำงาน เช่น เครือข่ายสถาบันการศึกษา เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายสาธารณสุข เป็นต้น
- ผลตอบรับใบสมัครเบื้องต้น ประเด็นความสนใจจะมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก ได้แก่ ประเด็นการแก้ปัญหาสุขภาพ (โรคเรื้อรัง, อาหารปลอดสารพิษ) ประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อม (ขยะ, น้ำไม่พอใช้, ป่าเสื่อมโทรม, คลองเสื่อมโทรม, การท่องเที่ยว) ประเด็นเศรษฐกิจ (หนี้สิน, ราคายางพาราตกต่ำ, การว่างงาน) ประเด็นยาเสพติด ประเด็นสังคม (ความแตกแยกในชุมชน, ครอบครัวไม่อบอุ่น) ความเข้าใจเบื้องต้นก่อนเข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ตั้งใจแก้ปัญหาโดยตรงเป็นหลัก แต่ยังขาดการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและหลักการพึ่งตนเอง โดยยังไม่ได้มองเรื่องการใช้ข้อมูลนำมาแก้ไขปัญหา ยังไม่ได้ใช้การมีส่วนร่วมหรือสภาผู้นำมาแก้ไขปัญหา ยังขาดการวิเคราะห์สาเหตุปัจจัย (คน สภาพแวดล้อม กลไก) ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสดีในการที่ชุมชนเข้ามาสนใจร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการชุมชนน่าอยู่ต่อไป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1,000 คน จากที่ตั้งไว้ 1,000 คน
ประกอบด้วย
  • นายอำเภอ และ พัฒนากรอำเภอ ของแต่ละอำเภอใน 14 จังหวัดภาคใต้
  • เครือข่ายองค์กรชุมชน สถาบันการศึกษา วิทยาลัยพยาบาล ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมทำโครงการ
  • พื้นที่ใหม่ที่สนใจร่วมทำโครงการ