directions_run

ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2 ”

บ้านเนินทอง ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นาย บุญสิน ผุดโรย

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2

ที่อยู่ บ้านเนินทอง ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 58-03834 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2073

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 26 เมษายน 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2 จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านเนินทอง ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2



บทคัดย่อ

โครงการ " ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2 " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านเนินทอง ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร รหัสโครงการ 58-03834 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 26 เมษายน 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 143,150.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 300 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมสภาผู้นำชุมชนในการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น
  2. เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนร่วมถึงกลุ่มคนชายขอบ
  3. เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมครัวเรือนและทรัพยากรธรรมชาติ
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม(ครั้งที่1)

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมรับฟังการบรรยายการปฐมนิเทศโครงการจาก สจรส.มอ. พร้อมฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลการติดตามโครงการผ่านระบบออนไลน์ที่ ม.วลัยลักษณ์ เรียนรู้ในเรื่อง การลงรายงานทางเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข ประกอบด้วย รายละเอียดกิจกรรม การลงรายงานการเงินและบัญชี การตรวจสอบรายงาน -ส.1 ,ส.2 ,ง.1,ง2 เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้และความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ และวิธีการลงรายงานที่ถูกต้อง

     

    2 2

    2. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนตุลาคม 2558

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 11:00-15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการประชุมชี้แจงโครงการปีที่2 ให้คณะกรรมการสภาฯทราบในเรื่องที่จะต้องปฏิบัติในปีนี้ประกอบ1.จัดทำแผนการดำเนินงาน 2.ร่างกติกาชุมชน เพื่อนำเสนอเป็นนโยบายสาธารณะให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุน 3.จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอให้กับสสส. พร้อมทั้งหมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับคณะสภาผู้นำชุมชนทุกคน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการสภาฯได้ทราบถึงการดำเนินงานโครงการในเรื่องจัดทำแผนการดำเนินงาน/ร่างกติกาชุมชน /จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอให้กับสสส.และรับทราบหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะสภาผู้นำชุมชนทุกคน

     

    15 15

    3. จัดประชุมชี้แจงโครงการในเวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านโดยสภาผู้นำชุมชนพร้อมจัดทำแผนการดำเนินการ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 10.00:15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมชี้แจงโครงการในเวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านโดยสภาชุมชนพร้อมชี้แจงการจัดทำแผนการดำเนินงาน
    2. ทบทวนความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
    3. รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะผู้จัดทำโครงการได้ข้อตกลงและทำแบบแผนการดำเนินงาน
    2. จากการประชุมทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้/การพืชสมุนไพรทำลูกประคบส่งขายให้กับรพ.สต. การผูกผ้าในงานพิธีต่าง ๆ โดยชุมชน เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ครัวเรือน เป็นต้น
    3. มีผู้สนใจในการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดีและสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆของโครงการพร้อมยังมีการนำกลับไปบอกแนะนำและปฏิบัติกับสมาชิกในครอบครัวของตัวเองอีกด้วยจำนวน 74 คน

     

    100 74

    4. จัดทำฐานข้อมูลคนชายขอบและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจข้อมูลทั่วไป ด้านจำนวนกลุ่มอายุ สัญชาติ อาชีพ การศึกษา
    2. ตรวจสอบหมายเลข 13 หลัก
    3. สำราจสิทธิประโยชน์ รายรับ-รายจ่ายและการช่วยเหลือเบื้องต้น
    4. จัดทำแผนพัฒนาคนชายขอบเข้าสู่แผนพัฒนาหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะผู้ออกทำการสำรวจได้ทำการลงพื้นที่สำรวจถึงบ้านเรือนของชาวบ้านจริงๆ/ชาวบ้านได้ให้ข้อมูลและจำนวนที่แท้จริงของคนชายขอบซึ่งไม่มีเลข 13 หลัก จำนวน 3 คน และเป็นผู้มีรายได้น้อยและด้อยโอกาสจำนวน 25 ครัวเรือน/นำผลการสำรวจข้อมูลทั้งหมดเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนในวันประชุมประจำเดือนเพื่อจัดทำแผนการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือต่อไป/ได้ข้อมูลที่แท้จริงจากชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายถึงเรื่องการได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ ด้านการมีรายได้ ด้านการมีอาชีพ ด้านการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับหมู่บ้าน

     

    100 15

    5. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 ถึง 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมสภาผู้นำชุมชน 2.ปรึกษาหารือ ร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่ร่วมดำเนินกิจกรรมทุกครั้ง 3.จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอให้กับสสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการและสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมการประชุมตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้/ได้ข้อสรุปแผนการดำเนินการลงพื้นที่ในการสำรวจจัดทำฐานข้อมูลชาวบ้านในหมู่บ้าน/คณะผู้จัดทำการสำรวจได้นำเอาข้อสรุปวิธีแก้ไขปัญหาที่เจอไปใช้ในการดำเนินงานการสำรวจจัดทำฐานข้อมูลชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายต่อไป

     

    22 22

    6. คณะกรรมการและประชาชนร่วมกันทำกิจกรรมถนนปลอดขยะถวายแด่วันพ่อแห่งชาติ

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 ถึง 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ช่วงเช้าทำการตัดหญ้า ตัดแต่งต้นไม้ริมทางตลอดสายในหมู่บ้าน 2.ช่วงบายทำการเก็บขยะริมทางตลอดสายภายในหมู่บ้านระยะทาง 3 กิโลเมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการทำกิกรรมร่วมกันในครั้งนี้มีผู้นำชุมชนและคณะผู้จัดทำโครงการร่วมกับประชาชนและบุคคลชายขอบได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน/จากการทำกิจกรรมทำให้หมู่บ้านมีความน่าอยู่สะอาดปลอดภัยต่อประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในหมู่บ้านของตนเอง/คณะผู้จัดทำโครงการผู้นำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้านได้มีส่วนช่วยให้สังคมมีความน่าอยู่และสร้างความอบอุ่นคุ้นเคยให้แก่กันและกัน

     

    50 30

    7. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนธันวาคม 2558

    วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 ถึง 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะผู้จัดทำโครงการเข้าประชุมร่วมกับคณะผู้นำชุมชนไปพร้อมจัดทำรายงานส่งให้กับ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนจำนวน 15 คนเข้าร่วมประชุมถึงจุดประสงค์ของกิจกรรมและได้สรุปแผนการจัดกิจกรรมในเดือนธันวาคมนี้/คณะกรรมการโครงการได้ผลสรุปของแผนการดำเนินกิจกรรมของโครงการ/1.ในวันที่ 18 ธค.จะจัดกิจกรรมรณรงค์หน้าบ้านน่ามองด้วยการเก็บขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้หน้าบ้านและริมทางสาธารณะ 2.จัดกิกรรมเรียนรู้เรื่องการใช้ชีวิตประจำวันที่ถูกต้องในเรื่องโภชนาการอาหารปลอดภัยและเข้าร่วมกลุ่มอาชีพ/คณะผู้จัดทำโครงการและผู้นำชุมชนได้ทำการประชุมร่วมกันถึงเรื่องแผนการจัดกิจกรรมในเดือนธันวาคมและได้ทำการแจ้งข่าวถึงประชาชนชาวบ้านในหมู่บ้านได้รับทราบโดยทั่วกัน

     

    15 22

    8. การติดตามจาก สจรส. มอ (ครั้งที่2)

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 04:30 น.ออกเดินทางจาก บ้านเนินทอง ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ไปยังโรงแรมร้อยเกาะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมรับฟังการอบรมการทำบัญชีสรุปงบประมาณ และรับฟังคำชี้แจงจากคณะพี้เลี้ยง สสส. เวลา 15:30 ได้เดินทางกลับมายังจุดหมาย คือ บ้านเนินทอง ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับการชี้แนะเรื่องการสรุปบัญชีงบประมาณของแต่ละกิจกรรม จากคณะทำงาน สสส./คณะทำงานที่ไปรวม 3 คน ได้เข้าใจการทำบัญชีปิดงบประมานของแต่ล่ะกิจกรรมได้/ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันกับการทำบัญชีปิดงบประมาณของแต่ล่ะกิจกรรมและได้นำมาปฎิบัติได้จริง/ผู้จัดทำโครงการได้รับทราบถึงการทำบัญชีรายจ่ายงบประมาณของในแต่ละกิจกรรม

     

    2 3

    9. กิจกรรมการรณรงค์หน้าบ้านน่ามองด้วยการเก็บขยะตัดแต่งกิ่งไม้หน้าบ้านและริมทางสาธารณะ

    วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.มีการอบรมให้ความรูจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เกี่ยวกับเชื่อโรคและภาหะนำโรคที่จะเกฺิดมาจากขยะ 2.อบรมให้ความรู้เก๊่ยวกับขยะและการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง 3.ออกเดินเก็บขยะและตัดแต่งกิ่งไม้ริมทางสาธารณะในหมู่บ้านพร้อมกับมีการเดินถือป้ายรณรงค์ 4.มีการจัดเลี้ยงน้ำดื่มพร้อมกับอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะผู้นำชุมชนพร้อมผู้จัดทำโครงการประชาชนและเยาวชนให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    • ทุกคนในหมู่บ้านมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการทิ้งขยะและการคัดแยกขยะ
    • ชาวบ้านในหมู่บ้านได้มีวินัยในการทิ้งขยะที่ถูกต้องซึ่งทำให้ชุมชนของตยเองสะอาดและปลอดภัยน่าอยู่ขึ้น
    • ชาวบ้านได้ร่วมทำกิจกรรมกับผู้นำชุมชนและผู้จัดทำโครงการเพื่อประโยชน์แก่หมู่บ้านของตัวเองรวมถึงการมีส่วนร่วมทำให้หมู่บ้านและชุมชนของตนเองสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรคซึ่งเกิดได้จากขยะที่ถูกหมักหมบมานาน

     

    50 50

    10. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการใช้ชีวิตประจำวันที่ถูกต้องในเรื่องโภชนาการและอาหารปลอดภัยและการเข้าร่วมกลุ่มอาชีพชุมชน ครั้งที่1

    วันที่ 22 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนให้ความรู้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในเรื่อง1) อาหารปลอดภัยด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีอย.รับรองไม่ซื้ออาหารที่มีสีสดที่คาดว่าเป็นสีย้อมผ้าต้องเป็นสีผสมอาหาร ควรเป็นอาหารพื้นบ้านที่ปลูกเองและไม่ใช้สารเคมีการปลูกพืช และใช้น้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยคอกแทน พร้อมทั้งใช้ยาฆ่าแมลงที่ทำจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น เช่น สะเดา+ข่า+ตะไคร้หอม+น้ำยาเส้น เป็นต้น 2) การเลี้ยงไก่ที่ถูกต้อง ถูกวิธี และปลอดภัยด้วยการลงแขกทำโรงเรือนกันเอง เป็นการเลี้ยงบนพื้นราบ ใช้น้ำหมักชีวภาพราดฆ่าเชื้อดับกลิ่นในคอกไก่(โรงเรือน) ต่อไปจะนำไก่ที่แจกให้ไปเลี้ยง ให้อาหารธรรมชาติตามภูมิปัญญาท้องถิ่น 3)ให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ แต่ละชนิดตามความต้องการบริโภคของชุมชนและผักพื้นบ้าน เช่นผักกาดขาว คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง มะเขือ และผักหวาน เป็นต้น 4)ลงมือปฏิบัติจริงในด้านการหารายได้จากอาชีพเสริมด้วยการทำดอกไม้จากผ้าใยบัวเพิ่มเติมตามที่ชุมชนภายในและภายสั่งซื้อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมทั้ง50 คน มีความรู้ในด้านการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและยังช่วยต่อต้านโรคภัยได้อีกด้วย
    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องอาหาร การปลูกพืช และการเลี้ยงไก่ที่ถูกต้อง ถูกวิธี และปลอดภัยพร้อมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และยังมีรายได้จากอาชีพเสริมจากความรู้ที่ได้อบรมและลงมือทำเอง

     

    100 50

    11. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนมกราคม 2559

    วันที่ 5 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อให้กิจกรรมโครงการเดินหน้าต่อไปได้ วางแผนการดำเนินแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไปและจัดทำรายงานเพื่อเสนอให้กับ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานโครงการได้มีการประชุมถึงจุดประสงค์ของกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการใช้ชีวิตประจำวันที่ถูกต้องในเรื่องโภชนาการอาหารปลอดภัยและการรวมกลุ่มอาชีพ/คณะผู้จัดทำโครงการได้ข้อสรุปแผนและได้ทำตามแผนที่วางไว้/จากการจัดประชุมทุกเดือนทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งถัดมาดำเนินงานไปได้ดีและมผลตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับโครงการ

     

    15 15

    12. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการใช้ชีวิตประจำวันที่ถูกต้องในเรื่องโภชนาการและอาหารปลอดภัยและการเข้าร่วมกลุ่มอาชีพชุมชน ครั้งที่2

    วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในช่วงเช้าการตรวจสอบแปลงปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อใว้บริโภคในครัวเรือนสาธิตมีพื้นที่จำนวน 12ร่อง และพืชผักอื่น ๆในพื้นที่ 2 งาน ของนายเกษตรสินนวลสะอาด ช่วงบ่ายออกไปดูงานการเลี้ยงไก่ไข่ที่บ้านตัวแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จำนวน 20 ครัวเรือน และการรวมกลุ่มอาชีพเสริมจากการทำดอกไม้จากผ้าใยบัวโดยมีน.ส.ปิ่นนาคบัน เป็นประธานกลุ่มพร้อมทั้งจัดทีมบริหารจัดการกลุ่มจัดทำเป็นร่างระเบียบกลุ่มเพื่อจัดทำเป็นฉบับจริงต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้จัดทำโครงการและประชาชนชาวบ้านผู้สนใจร่วมกันไปศึกษาดูงานแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ/ยาฆ่าแมลงและชาวบ้านนำความรู้ที่ได้นำกลับไปลงมือทำและปฎิบัติได้จริงทำให้เกิดการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้เข้าสู่ครัวเรือนรวมไปถึงการที่มีสุขภาพที่ดีขึ้นลดความเสี่ยงการเกิดโรคภัยไข้เจ็บจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

     

    50 50

    13. เพื่อตรวจสอบรายงาน

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำรายละเอียดการทำรายงานและรายงานการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งให้สจรส.มอ. และสสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ปรับปรุงการจัดการเอกสารการเงินบางรายการให้ถูกต้องสมบูรณ์
    • การจัดทำรายงานการเงินและการลงรายงานทางเว็บไซด์ต้องสอดคล้องกัน
    • การเขียนรายงานยังไม่สมบูรณ์

     

    2 2

    14. การประชุมจัดทำรายงาน งวดที่1(ครั้งที่3)

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.สรุปการใช้งบประมาณที่ใช่จัดกิจกรรมที่ผ่านมา 2.จัดเก็บหลักฐานการใช้เงินในการจัดกิกรรมที่ผ่านมา 3. จัดเอกสารทำเป็นรายงานเพื่อรอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับการตรวจสอบการใช้งบประมาณและหลักฐานการจ่ายเงินในการจัดกิจกรรมของแต่ละโครงการ
    • ผู้รับผิดชอบบโครงการและผู้จัดทำบัญชีการจ่ายเงินได้จัดทำเอกสารเป็นรายงานการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของ สสส.ทำการตรวจสอบ โดยรายงานหลักฐานการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมและการใช้งบประมาณผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของ สสส. ถูกต้องและมีหลักฐานการเบิกจ่ายงบประมาณที่ตรงตามความเป็นจริง

     

    2 2

    15. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนเรื่องสรุปผลกิจกรรมและการตรวจสอบรายงานของพี่เลี้ยงโครงการและสจรส.มอ.ที่จะต้องจัดทำให้ถูกต้องต่อไปทุกกิจกรรมจะต้องสัมพันธ์กันกับงบประมาณรายจ่ายซึ่งเกิดจากการจัดกิจกรรมจริงๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการและผู้รับผิดชอบโครงการประชุมร่วมกันถึงจุดประสงค์ของกิจกรรมในเดือนกุมภาพันธ์และรายงานนำข้อมูลความรู้ที่ได้รับจากการประชุมชี้แจงให้ประชาชนชาวบ้านรับรู้ทั่วทุกคน/ได้ผลสรุปข้อตกลงในการจะจัดกิจกรรมในเดือนกุมภาพันธ์/ผู้จัดทำโครงการได้นำเอาข้อสรุปแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมจากที่ประชุมไปปฎิบัติพร้อมการให้ความร่วมมือจากชาวบ้าน/1.ได้แผนการจัดกิจกรรม2.ประชาชนชาวบ้านผู้สนใจเข้าร่วมโครงการได้รับรู้ถึงจุดประสงค์ของกิจกรรมและสนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดเป็นความรู้สร้างอาชีพให้แก่ครัวเรือนของตนเอง

     

    15 18

    16. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการใช้ชีวิตประจำวันที่ถูกต้องในเรื่องโภชนาการและอาหารปลอดภัยและการเข้าร่วมกลุ่มอาชีพชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 4 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในช่วงเช้า ตั้งแต่ 9.00น.-10.00น.ทำการเปิดอบรมถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมแผนการทำกิจกรรม

    10.20น.-11.30น. ทำการชี้แจงงบประมาณในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้พร้อมชี้แจงงบประมาณและกิจกรรมที่เหลือจนสิ้นสุดโครงการให้กับทางผูัเข้าร่วมทำกิจกรรมได้รู้ถึงตัวเลขของงบประมาณที่แท้จริง

    11.30-12.30น.ทำการพักเบรคและเลี้ยงอาหารกลางวัน

    12.30น.-14.00น.ทำการเดินทางออกไปดูงานและการให้ความรู้จากอดีตข้าราชการการเกษตรปลดเกษียรอายุในเรื่องของการปลูกผักการดูแลผักปลอดสารไว้บริโภคในครัวเรือนและได้ลองปลูกผักลงในแปลงผักจริงๆ

    14.00น.เดินทางไปดูงานการเลี้ยงไก่ไข่และการเก็บไข่ไปไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายแก่ประชาชนชาวบ้านในชุมชนเพื่อเกิดเป็นรายได้เข้าสู่ครัวเรือนต่อไป

    15.00 ทำการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการทำดอกไม้จากผ้าใยบัว

    15.30น.ทำการสรุปความรู้และความเข้าใจของผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมและทำการปิดกิจกรรมในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตคือ มีผู้สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมจริงเกินเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

    ผลลัพธ์คือ ผเข้าร่วมทำกิจกรรมได้มีความรู้ในด้านการปลูกผักปลอดสารการเลี้ยงไก่ปลอดสารเอาไว้บริโภคเองและยังทำให้เกิดรายได้จากการขายผักขายไข่เข้าสู่ครัวเรือนและยังมีความรู้ในเรื่องรายได้เสริมจากการทำดอกไม้ผ้าใยบัว ซึ่งผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้รู้และเข้าใจได้ด้วยตัวเองจริงๆพร้อมที่จะสามารถนำกลับไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเองและยังสร้างให้เกิดเป็นรายได้กลับเข้าสู่ครัวเรือนได้อีกทางหนึ่งด้วย

    ปัญหาคือ ด้วยระยะเวลาและฦดูการทำให้การลงพื้นที่ดูงานในแต่ละที่ มีอากาศที่ร้อนสูงและรถยนต์ในการเดินทางมีจำนวนเพียงคันเดียว จึงไม่สะดวกในการนำผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมเดินทางมากนัก/แนวทางแก้ไขคือ จะเลือกกำหนดวันและเวลาในการทำกิจกรรมในพื้นที่จริงๆให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสม ส่วนเรื่องของรถยนต์ในการนำผู้เข้าร่วมการเดินทางทำกิจกรรมในครั้งต่อไปจะใช้วิธีเหมาเช่ารถจากผู้ขับรถรับจ้างต่อไปแต่ต้องดูในเรื่องของเงินงบประมาณด้วย

     

    50 52

    17. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนมีนาคม2559

    วันที่ 8 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะผู้จัดทำโครงการได้กล่าวในที่ประชุมให้ทราบถึงผลงานการทำกิจกรรมที่ผ่านมาซึ่งเป็นที่น่าพอใจและกล่าวขอบคุณคณะกรรมการของหมู่บ้านและประชาชนในหมู่บ้าน และกล่าวถึงอุปสรรคต่างๆในการทำกิจกรรมของแต่ละครั้งให้ในที่ประชุมรับทราบพร้อมกับชี้แจงการปิดงบประมาณของโครงการในงาดที่1ต่อที่ประชุม

    2. ชี้แจงในที่ประชุมให้ทราบถึงการพัฒนากลุ่มอาชีพให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมทำกิจกรรม เช่นได้จัดซื้อเมล็ดพันธ์ผักมาแจกจ่ายให้แก่สมาชิกกลุ่มได้นำไปปลูกเป็นผักปลอดสารไว้บริโภคในครัวเรือนพร้อมจัดมอบอุปกรณ์กีฬาให้แก่เยาวชนได้นำไปใช้เล่นออกกำลังกายเผื่อผ่อนคลายหลังจากการทำงาน

    3. ผู้ใหญ่บ้านได้พูดถึงเรื่องของปัญหาภัยแล้งที่จะมาถึงเพื่อปรึกษากับสมาชิกและชาวบ้านหันมาช่วยกันร่วมมือทำการพัฒนาแหล่งน้ำโดยมีการวางแผนร่วมกันทำการขุดรื้อวัชพืชในแหล่งน้ำคูคลองในหมู่บ้านเพื่อที่จะทำให้เกิดแหล่งน้ำที่สะอาดและสามารถนำมาทำการผลิตเป็นน้ำประปาในหมู่บ้านได้

    4. ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวชี้แจงในที่ประชุมให้ทราบว่า ทางคณะผู้จัดทำโครงการได้มีการจัดเตรียมพื้นที่ว่างเปล่าของหมู่บ้านเอาไว้เพื่อเป็นแปลงปลูกผักปลอดสารพิษและปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ไว้จำหน่ายเพื่อสร้างให้เกิดรายได้ต่อสมาชิกกลุ่ม ผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่ไร้ที่ดินทำกิน ผู้มีรายได้น้อย และบุคคลชายขอบในหมู่บ้านต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะผู้รับผิดชอบโครงการผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการของหมู่บ้าน รวมถึง สอบต.ชาวบ้านในหมู่บ้านได้มีการเข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี
    • ผ้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้เข้าใจถึงการจัดทำกิจกรรมที่ผ่านมา รวมถึงยังได้รับทราบถึงปัญหาอุปสรรคของการดำเนินการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ได้รับทราบถึงงบประมาณที่คณะผู้จัดทำโครงการได้รับจากหน่วยงานสสส.และรับทราบว่าสมาชิกกลุ่มทุกคนจะได้มีพื้นที่ในการทำเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเพื่อให้เกิดเป็นรายได้เข้าสู่ครัวเรือนและรับฟังปัญหาและผลกระทบจากภัยแล้ง จึงได้วางแผนร่วมกันในการขุดลอกคูคลองแหล่งน้ำในกมู่บ้านเพื่อที่จะได้มีน้ำกินน้ำใช้ในฤดูแล้งที่กำลังมาถึง

     

    15 35

    18. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนเมษายน2559

    วันที่ 8 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้จัดทำโครงการพร้อมคณะได้ชี้แจงถึงจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานการทำเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านบ้านยายไท และผลดีหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับกลับมาจากการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้
    2. หาข้อกำหนดการวันเวลานัดหมายและสถานที่ การเดินทางและค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะผู้รับผิดชอบโครงการและคณะผู้นำหมู่บ้านพร้อมกับสมาชิกชาวบ้านในหมู่บ้านให้ความสนใจและอยากที่จะเข้าร่วมกับการทำกิจกรรม
    • มีผู้เข้าร่วมการประชุมและรับฟังแผนการดำเนินงานของคณะผู้จัดทำโครงการ จำนวนมากพอสมควร
    • มีคณะผู้นำชุมชนพร้อมคณะผู้รับผิดชอบโครงการและชาวบ้านให้ความสำคัญต่อกิจกรรมของโครงการและได้ให้ความร่วมมือเข้ามาร่วมประชุมตรงตามวันเวลาที่นัดหมายเป็นอย่างดี
    • คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ข้อสรุปถึงวันเวลาที่จะจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานการทำเศรษฐกิจพอเพียงและตัวผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ก็ได้รับฟังถึงผลประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานและเป็นองความรู้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

     

    15 38

    19. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนพฤษภาคม 2559

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้นำชุมชนคือผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาการเป็นอยู่ของชาวบ้านในหมู่บ้าน เช่นเรื่องผลกระทบต่างๆจากปัญหาภัยแล้งเป็นต้น และบอกกล่าวกับพี่น้องประชาชนถึงงบประมาณการสนับสนุนจากหน่าวยงานภาครัฐต่างๆที่ได้เข้ามาช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 2.คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงถึงการจัดกิจกรรมของเดือนพฤษภาคม 2559 ว่ามีกิจกรรมใดบ้างและกำหนดวันเวลาของการจัดกิจกรรมนั้นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นคณะผู้นำหมู่บ้าน จำนวน19คน เป็นคณะผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน และรวมถึงประชาชนชาวบ้านในหมู่บ้านอีก เป็นชาย 25คน เป็นหญิง7คน/มีคณะผู้นำหมู่บ้านและผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุมครบตามจำนวนทุกคนพร้อมทั้งประชาชนในหมู่บ้านที่ให้ความร่วมมือและให้ความสำคัญของการจัดกิจกรรมการประชุมประจำเดือนของทุกเดือน

     

    15 54

    20. แกนนำคนรักษ์บ้านเนินทองร่วมจัดทำกติกาชุมชน ครั้งที่1

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00-13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ในช่วงที่ 1.จะให้ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงรายละเอียดของกฎกติกาของหมู่บ้านที่มีอยู่เดิมแล้วเพื่อเป็นการทำความเข้าใจให้กับชาวบ้านได้รับทราบถึงข้อตกลงร่วมกันและได้รับสิทธิประโยชน์ร่วมกัน

    • ช่วงที่ 2.ผู้ใหญ่บ้านพร้อมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้เสนอกติกาเพิ่มเติมจากที่ที่มีอยู่อยู่เดิม แล้วปล่อยให้ชาวบ้านเองมีส่วนช่วยออกความเห็นและพิจารณาโดยจะได้ขอสรุปและบังคับใช้แบบชั่วคราวก่อนเป็นระยะเวลา 1 เดือน แล้วจะกลับมาปรับปรุงแก้ไขหาข้อตกลงและบังคับใช้กฎกติกานั้นๆแบบถาวรต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตที่ได้จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้คือชาวบ้านในหมู่บ้านสนใจเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงเกี่ยวกับข้อตกลงกติกาของหมู่บ้านที่มีอยู่ และได้มีส่วนร่วมในการร่างกติกาหมู่บ้านเพิ่มเติมได้กติกาแบบร่าง ดังนี้
    1. ชาวบ้านที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านต้องมีการจ่ายค่าบำรุงสถานที่ให้แกหมู่บ้าน
    2. ชาวบ้านต้องมีการเปิดสมุดบัญชีออมทรัพย์หมู่บ้านและต้องมีการฝากออมทรัพย์ในวันที่ 8 ของทุกเดือน ณ ที่ทำการหมู่บ้าน อย่างน้อยเดือนละ 100 บาท
    3. ชาวบ้านต้องมีการจัดการขยะในครัวเรือนที่สะอาดและปลอดภัยไม่เป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์ของสัตว์ภาหะนำโรค
    4. ชาวบ้านต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหมู่บ้านในระหว่างปฎิบัติงาน 5. ชาวบ้านต้องมีการเข้าร่วมรับฟังการประชุมอย่างน้อย 1คนต่อ1ครอบครัวทุกเดือน
    5. ชาวบ้านทุกครัวเรือนต้องมีการเวียนกันทำข้าวกับข้าวไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในวัดตลอดทุกวันในช่วงเข้าพรรษาสามเดือนโดยจะแบ่งกันเวียนวันละสามครัวเรือน
    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ชาวบ้านในชุมชนได้รับรู้ถึงข้อตกลงกฎระเบียบของหมู่บ้านและรับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีกฎระเบียบข้อบังคับของชุมชน รวมถึงชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการออกความคิดตั้งกฎกติกาของชุมชนเพิ่มเติมเพื่อความสงบสุขของชาวบ้านและชุมชนของตนเองในเรื่อง

    ปัญหา

    • ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำสวนและมีอาชีพออกรับจ้างจึงยังมีชาวบ้านบางส่วนที่ไม่สามารถเข้ามารับฟังการชี้แจงถึงเรื่องกฎกติกาของหมู่บ้านที่ร่างขึ้นมาใหม่ในครั้งนี้/เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและผู้รับผิดชอบโครงการจะทำการชี้แจงแจ้งให้ชาวบ้านได้รับรู้และเข้าใจถึงกฎกติกาชุมชนต่อไปในเวธีการประชุมของหมู่บ้านทุกเดือน

     

    70 84

    21. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนมิถุนายน2559

    วันที่ 8 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00-15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการประชุมในเวธีประชุมของหมู่บ้านของแต่ละเดือนจะแบ่งทำการประชุมเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าและบ่าย ซึ่งในช่วงที่ 1 คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ประชุมร่วมกับผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการพร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้านโดยชี้แจงถึงแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม งบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆและได้ชี้แจงบอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ชาวบ้านหรือชุมชนจะได้รับจากการที่ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือเข้าร่วมทำกิจกรรมกับโครงการ ช่วงที่ 2 จะเป็นการประชุมเกี่ยวกับเหตุการสถานการที่เกิดขึ้นในรอบเดือนภายในหมู่บ้านรวมถึงข่าวสารต่างๆที่ได้รับมาจากหน่วยงานราชการต่างๆเช่นอำเภอหรือจังหวัดเป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ประชุมร่วมกับผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการพร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้านโดยชี้แจงถึงแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม งบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆและได้ชี้แจงบอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ชาวบ้านหรือชุมชนจะได้รับจากการที่ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือเข้าร่วมทำกิจกรรมกับโครงการ/มีผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกรรมการของหมู่บ้านพร้อมคณะผู้รับผิดชอบโครงการเข้ามาร่วมประชุมพร้อมกันในเวธีที่ประชุมหมู่บ้านครบตามเป้าหมายรวมถึงประชาชนชาวบ้านที่เข้ามาประชุมรับฟังร่วมกับคณะทำงานโครงการด้วย
    • คณะผู้นำชุมชนและชาวบ้านในหมู่บ้านได้รับฟังแผนการดำเนินการจัดกิจกรรม งบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆและได้ชี้แจงบอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ชาวบ้านหรือชุมชนจะได้รับจากการที่ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือเข้าร่วมทำกิจกรรมกับโครงการ
    • ได้ข้อตกลงได้ผลสรุปในการวางแผนการดำเนินจัดกิจกรรมในครั้งต่อไปในแต่ละเดือนรวมถึงการจัดงบประมาณที่ใช้ในการจัดทำกิจกรรมนั้นๆและผู้รับผิดชอบโครงการได้ทำการบันทึกการประชุมพร้อมได้จัดทำเป็นรายงานส่งต่อทางหน่วยงานที่สนับสนุน (สสส.) ต่อไป

    ปัญหา

    • ปัญของการทำกิจกรรมในครั้งนี้ คือ สภาพอากาศฝนฟ้าไม่เอื่ออำนวยเพราะเกิดลมกันโชคและฝนมีฝนตกหนักจึงเกิดปัญหาเรื่องของการเดินทางของทุกคนที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงการเดินทางมารับังการประชุมของชาวบ้านในหมู่บ้าน

     

    15 36

    22. แกนนำคนรักษ์บ้านเนินทองร่วมจัดทำกติกาชุมชน

    วันที่ 8 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00-13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในช่วงเวลา 09:30 น.ผู้ใหญ่บ้านได้ทำการอ่านรายงานถึงกฎกติกาของหมู่บ้านที่มีอยู่เดิมแล้วและอ่านระเบียบข้อบังคับแบบร่างที่ได้จากการสรุปร่างกฎกติกาชุมชนในครั้งที่หนึ่งของเดือนที่ผ่านมาและทำการกล่าวถึงการทดลองใช้กฎกติกาของแต่ละข้อต่างๆที่ผ่านมาเป็นระยะหนึ่งเดือน ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันแล้วเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเองได้เสนอแนะหาวิธีแก้ไขร่วมกันแล้วจะทำการพิจารณาหารือร่วมกับทางสารวัตกำนันผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและกรรมการของหมู่บ้านต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต คือผู้ใหญ่บ้านได้ทำการอ่านรายงานถึงกฎกติกาของหมู่บ้านที่มีอยู่เดิมแล้วและอ่านระเบียบข้อบังคับแบบร่างที่ได้จากการสรุปร่างกฎกติกาชุมชนในครั้งที่หนึ่งของเดือนที่ผ่านมาและทำการกล่าวถึงการทดลองใช้กฎกติกาของแต่ละข้อต่างๆที่ผ่านมาเป็นระยะหนึ่งเดือนให้แก่ชาวบ้านที่เข้ามาร่วมรับฟังการหารือร่วมหาข้อตกลงได้รับฟัง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันแล้วเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเองได้เสนอแนะหาวิธีแก้ไขร่วมกัน

    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง แกนนำชาวบ้านทั้ง 5 คนทำการพิจารณาหารือร่วมกับทางสารวัตกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและกรรมการของหมู่บ้านต่อไปสรุปได้มติกติกาชุมชนใหม่ประกอบด้วย

    1) กรรมการหมู่บ้านแต่ละฝ่ายต้องมีการประชุมชี้แจงประชาชนในทุกเดือน

    2) ประชาชนต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุนออมทรัพย์หมู่บ้านจะมีสิทธิกู้เงินกองทุนได้และจะต้องมีการออมทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 100 บาทและผ่านการออมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

    3) ทุกกลุ่มกองทุนต้องหักเงินจำนวนร้อยละ 20 ของผลกำไรเพื่อใช้เป็นกองทุนสวัสดิการสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน

    4) จัดให้มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาหมู่บ้านตามแขวงในวันสำคัญครบทั้ง 8 แขวง

    5) ชาวบ้านทุกครัวเรือนต้องมีการเวียนกันทำข้าวกับข้าวไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในวัดตลอดทุกวันในช่วงเข้าพรรษาสามเดือนโดยจะแบ่งกันเวียนวันละสามครัวเรือน

     

    70 72

    23. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนกรกฎาคม25559

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ในช่วงที่1 มีการเปิดการลงทะเบียนลงรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ต่อด้วยการเปิดการประชุมชี้แจงถึงเรื่องงบประมาณที่ได้มาและใช้จ่ายออกไปโดยการชี้แจงต่อที่ประชุมด้วยหลักทางการเงินเช่นใบเสร็จการรับเงินและใบเสร็จการจ่ายเงิน
    • ช่วงที่2 ประชุมชี้แจงถึงแผนการจัดกิจกรรมต่างที่ทางกลุ่มและสามาชิกของกลุ่มทุกคนต้องทำรวมไปถถึงขอความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้านที่ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด ช่วงที่3 ผู้ใหญ่บ้านประชุมชี้แจงข่าวสารเรื่องต่างๆที่ทางหน่วยงานอำเภอได้มอบหมายให้มา เช่น 1เรื่องการจัดสันงบประมาณเรื่องการขุดบ่อบาดานเพื่อบรรเทาปัญหาแหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาภายในหมู่บ้าน 2เรื่องข่าวสารทางการเมืองเรื่องการออกไปใช้สิทธิ์ออกเสียงรับหรือไม่รับร่าง3เรื่องราวเหตุการต่างๆของคนในหมู่บ้านที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกผู้นำชุมชนได้เข้ามาร่วมประชุมชี้แจงการใช้จ่ายเรื่องงบประมาณในการจัดกิจกรรมต่างๆๆ ครบตรงตามจำนวน 15 คน และมีผู้เข้าร่วมรับฟังการประชุมเป็นชาวบ้านในหมู่บ้านจำนวน 20 คน
    • สมาชิกผู้นำชุมชนได้รับฟังและรับทราบการใช้จ่ายงบประมาณที่ทางคณะผู้จัดทำโครงการได้ใช้จ่ายออกไปรวมไปถึงเป็นการชี้แจงและแสดงหลักฐานการใช้จ่ายต่อเวทีที่ประชุมหมู่บ้านให้ได้รับทราบโดยทั่วกันซึ่งส่งผลคือการได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างที่แล้วมาเป็นอย่างดี

     

    15 35

    24. จัดกิจกรรมครัวเรือนอุ่นรัก ครั้งที่1

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:00-17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 18 กค2559 ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมกับกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมสมัครทำกิจกรรมครัวเรือนอุ่นรักได้ลงพื้นที่ที่ทางหมู่บ้านได้ลงมติเห็นชอบยกพื้นที่ว่างเปล่าของหมู่บ้านจำนวน 3 ไร่ให้กับทางผู้รับผิดชอบโครงการเอาไว้ทำกิจกรรมในโครงการร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2 เพื่อทำการจัดแบ่งให้แต่ละครอบครัวได้ดูแลและทำการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เช่นการปลูกข้าวไร่ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกผักปลอดภัยไร้สารผิด เป็นต้น โดยในครั้งแรกผู้รับผิดชอบโครงการและชาวบ้านในหมู่บ้านได้คิดและตกลงร่วมกันว่า ในพื้นที่ 3 ไร่ ทั้งหมดนี้จะทำการปลูกข้าวไร่กันก่อนเพราะถ้าเป็นการแบ่งเนื้อที่ทั้งหมดนี้ออกเป็นส่วนๆแล้วแต่ละคนต่างคนต่างปลูกมันจะทำให้ผลผลิตของข้าวไม่เพียงพอต่อการแจกจ่ายให้แก่ครอบครัวที่เข้าร่วมทำกิจกรรมนี้ เลยลงมติเห็นชอบว่าต้องปลูกข้าวไร่กันก่อนโดยทำการปลูกให้เต็มพื้นที่ 3 ไร่ไปเลย จึงทำการปลูกข้าวไร่กัน ตั้งแต่เวลา 09:30 น.-16:45 น.จนเสร็จสิ้นขั้นตอนการปลูก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต วันที่ 18 กค2559 ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมกับกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมสมัครทำกิจกรรมครัวเรือนอุ่นรักได้ทำการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เช่นการปลูกข้าวไร่ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกผักปลอดภัยไร้สารผิด เป็นต้น/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาสทุกๆครัวเรือนที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมครอบครัวอุ่นรักในครั้งนี้จะได้รับผลผลิตจากการทำเกษตรปลูกข้าวไร่ ไว้บริโภคในครัวเรือนเพื่อเป็นการลดรายจ่ายที่เสียไปกับการซื้อข้าวจากร้านค้า และยังจะมีการปลูกผักปลอดภัยไร้สารพิษเอาไว้บริโภคเองในครัวเรือนและจำหนายขายให้กับแม่ค้าผู้มารับซื้อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวของตนเองอีกด้วย
    • ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เนื่องจากวันเวลาทำกิจกรรมไม่ตรงกับวันหยุดจึงทำให้ครอบครัวชาวบ้านเป้าหมายดังกล่าวมาร่วมกิจกรรมได้เพียงแค่พ่อกับแม่เท่านั้นส่วนลูกของครอบครัวชาวของชาวบ้านนั้นต้องไปเรียนหนังสือจึงไม่สามารถเดินทางมาร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้
    • แนวทางแก้ไข คือ ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัวอุ่นรักในครั้งหน้าทางคณะผู้รับผิดชอบโครงการจะทำการพิจารณาวันเวลาให้ตรงกับวันหยุดเพื่อที่ต้องการจะให้กิจกรรมนี้ดำเนินงานได้ตรงกับจุดประสงค์ของกิจกรรมที่ว่า (ครอบครัวอุ่นรัก)

     

    30 30

    25. จัดกิจกรรมครัวเรือนอุ่นรัก ครั้งที่2

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ในช่วงเวลา 08:00 น.ผู้นำชุมชนและคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมกับครอบครัวของชาวบ้านผู้ด้อยโอกาสและครอบครัวผู้ที่มีรายได้น้อยได้มารวมกันที่วัดบ้านเนินทองพร้อมช่วยกันเตรียมพร้อมทำความสะอาดพื้นที่ของบริเวณวัดเพื่อรองรับการเดินทางมาร่วมงานทำบุญตักบาตข้าวสารอาหารแห้งเนื่องจากเป็นวันอาสารหบูชา
    • เวลา 09:00น.เชิญวิทยากรเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับวันอาสารหบูชาซึ่งอธิบายความเป็นไปเป็นมาและเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างไรและเป็นวันสำคัญต่อชาวพุทธอย่างไร และกล่าวให้ความรู้ถึงจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ทำขึ้นทำไม ทำเพื่ออะไร และจะได้อะไรจากการที่ได้ทำกิจกรรมในครั้งนี้

    • เวลา 10:30 น. ทางคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมกับครอบครัวของชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยและผู้ด่อยโอกาสพร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้านอีกมากร่วมกันทำบุญใส่บาตข้าวสารอาหารแห้ง โดยทางผู้รับผิดชอบโครงการได้ทำการเตรียมชุดสังฆทานไว้เพื่อรองรับครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ด่อยโอกาสได้ร่วมทำบุญกันเป็นครอบครัวโดยทางคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดทำเป็นชุดๆเอาไว้แต่ต้องมีการร่วมทำบุญถวายปัจจัยใส่ตู้บริจาคแล้วแต่จิตศรัทฑาซึ่งต้องการให้ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและครอบครัวผู้ด่อยโอกาสได้ร่วมทำบุญและการได้ทำกิจกรรมร่วมกับสังคม หลังจากทำพิธีการจัดกิจกรรมทำบุญเสร็จแล้ว

    • ในเวลา 13:30-16:30 น. ทางครอบครัวผู้เข้าร่วมโครงการและคณะทำงานพร้อมกับผู้นำชุมชนช่วยกันเก็บกวาดและจัดเก็บคัดแยกข้าวของเครื่องใช้ต่างๆที่ทางชาวบ้านในหมู่บ้านได้ร่วมทำบุญมาเพื่อที่จะให้ทางพระภิกษุสงฆ์ได้นำออกมาใช้สอยได้อย่างสะดวกได้ตลอดในระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตที่ได้ คือ ผู้นำชุมชนและคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมกับครอบครัวของชาวบ้านผู้ด้อยโอกาสและครอบครัวผู้ที่มีรายได้น้อยได้มารวมกันที่วัดบ้านเนินทองพร้อมช่วยกันเตรียมพร้อมทำความสะอาดพื้นที่ของบริเวณวัดเพื่อรองรับการเดินทางมาร่วมงานทำบุญตักบาตข้าวสารอาหารแห้งเนื่องจากเป็นวันอาสารหบูชา ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและครอบครัวผู้ด่อยโอกาสได้ร่วมทำบุญและการได้ทำกิจกรรมร่วมกับสังคม

    • ผลลัพธ์ คือ ผู้นำชุมชนและคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมกับครอบครัวของชาวบ้านผู้ด้อยโอกาสและครอบครัวผู้ที่มีรายได้น้อยได้เกิดการรู้รักสามัคคีขึ้นระหว่างผู้ด่อยโอกาสบุคคคลชายขอบกับชาวบ้านในชุมชนขึ้น รวมถึงการสร้างความรักความอบอุ่นขึ้นในครัอบครัวเนื่องจากได้มีโอกาสทำกิจกรรมทำบุญร่วมกันของคนในครอบครัว เพื่อสร้างเป็นเกราะป้องกันการเพิ่มประชากรผู้เสพยาเสพติดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชนและคนในวัยทำงาน

     

    30 30

    26. จัดกิจกรรมครัวเรือนอุ่นรักครั้งที่3

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 20กค.2559 เวลา 08:00 น. ผู้นำชุมพร้อมกับคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการและครอบครัวชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยและครอบครัวบุคคลชายขอบผู้ด่อยโอกาสที่ได้สมัครใจเข้าร่วมทำกิจกรรมได้เดินทางมาที่วัดเนินทองและเริ่มช่วยกันเตรียมพื้นที่จัดสถานที่ดังกล่าวเอาไว้เพื่อที่จะต้องรองรับประชาชนชาวบ้านทั้งหมู่บ้านและคณะผู้เดินทางมาถวายเทียนพรรษาจากต่างจังหวัดอีกมากที่จะเดินทางมาร่วมทำบุญถวายเทียนพรรษาและทำบุญตักบาตรหมู่ซึ่งเป็นประเพณีทางศาสนาที่สืบต่อกันมา
      • เวลา 09:00น. ผู้นำชุมพร้อมกับคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการและครอบครัวชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยและครอบครัวบุคคลชายขอบผู้ด่อยโอกาสรวมกับประชาชนชาวบ้านที่เดินทางมา ร่วมกันตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์และได้ร่วมกันนำเอาต้นเทียนพรรษามาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ด้วย
    • 10:00น. ทางผู้นำชุมพร้อมกับคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการและครอบครัวชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยและครอบครัวบุคคลชายขอบผู้ด่อยโอกาสร่วมกันแห่เทียนที่จัดซื้อมาถวายพร้อมกับต้นเทียนพรรษาจากประชาชนที่เดินทางมาร่วมถวายแด่พระภิกษุสงฆ์พร้อมกับอันเชิญต้นเทียนพรรษาไปไว้ที่ธรรมศาลาวัดและช่วยกันจัดตั้งจัดเตรียมต้นเทียนพรรษาและพื้นที่เตรียมทำพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป
      • เวล13:00 น.หลังจากทำพิธีกรรมทางศาสนาเสร็จและรับประทานอาหารกลางวันกันเสร็จแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการและครอบครัวชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยและครอบครัวบุคคลชายขอบผู้ด่อยโอกาสที่ได้สมัครใจเข้าร่วมทำกิจกรรมได้ช่วยกันทำการเก็บกวาดพื้นสถานที่ที่ใช้ในการทำกิจกรรมและช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ไว้เพื่อจัดงานฉลองต้นเทียนพรรษาในช่วงค่ำของคืนวันเดียวกันจนแล้วเสร็จในเวลา 16:00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตของกิจกรรมในครั้งนี้ คือ ผู้นำชุมพร้อมกับคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการและครอบครัวชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยและครอบครัวบุคคลชายขอบผู้ด่อยโอกาสที่ได้สมัครใจเข้าร่วมทำกิจกรรมทางศาสนาและเป็นกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกันกับชาวบ้านในหมู่บ้านและเป็นที่กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ด่อยโอกาสและครอบครัวผู้มีรายได้น้อยได้มีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมร่วมกันกับชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน
    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง คือ สมาชิกครอบครัวผู้ด่อยโอกาสและบุคลชายขอบได้มีโอกาสเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับทางเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นำชุมชนและมีบทบาทร่วมกันกับชาวบ้านแสดงออกถึงการรักความเข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกัน และยังได้รับโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเพื่อนำไปใช้ในการจัดทำกิจกรรมครั้งต่อๆไป/ผลของการเข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้ครอบครัวของแต่ละครอบครัวมีความรักความอบอุ่นและเกิดความรู้สึกมีความสุขที่ได้ทำบุญร่วมกันกับบุคคลในครอบครัว และยังรู้สึกอบอุ่นต่อเพื่อนบ้านในหมู่บ้านที่ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน

     

    30 30

    27. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนสิงหาคม2559

    วันที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการประชุมสภาผู้นำชุมชนในครั้งนี้แบ่งวาระการประชุมออกเป็น 2 ช่วง คือ

    • ช่วงที่ 1 ในช่วงเช้าจะทำการประชุมชี้แจงเรื่องของการจัดกิจกรรมในโครงการ เรื่องที่1.การจัดการสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้เป็นระเบียบและสะอาดมีกำหนดการให้วันที่ 11 สิงหาคมเป็นวันจัดกิจกรรมตั้งแต่ 9:00-13:30 น.เป็นการพัฒนาทำความสะอาดรอบๆบริเวณครัวเรือนของตนเองให้มีความสะอาดเรียบร้อยถูกสุขลักษณะและมีอานามัยที่ดีไม่ให้เป็นแหล่งที่เพาะพันธ์โรคหรือสัตว์ภาหะนำโรคต่างๆที่เกิดจากขยะสิ่งของต้นไม้ที่รกทึบ และออกมาช่วยกันพัฒนาจัดการเก็บขยะตัดแต่งกิ่งไม้ตัดหญ้าริม2ฝั่งถนนของหมู่บ้านตลอดจนถึงการนำขยะมาคัดแยกเป็นอย่างๆเพื่อนำไปทำการกำจัดอย่างถูกต้อง
    • ช่วงที่ 2 ประชุมหารือเรื่องการกำหนดวันเวลาและสถานที่ที่จะเดินทางไปศึกษาดูงานในกิจกรรมการดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำความรู้ที่ได้กลับมาประยุคใช่กับชีวิตประจำวันและเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสร้างให้เกิดรายได้เข้าสู่ครัวเรือน เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะผู้รับผิดชอบโครงการทำการประชุมชี้แจงเรื่องของการจัดกิจกรรมในโครงการ 1. การจัดการสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้เป็นระเบียบและสะอาด 2. ประชุมหารือเรื่องการกำหนดวันเวลาและสถานที่ที่จะเดินทางไปศึกษาดูงาน
    • คณะผู้รับผิดชอบโครงการกับผู้ที่มีสวนเกี่ยวข้องและชาวบ้านในหมู่บ้านได้ข้อตกลงถึงวันกำหนดการให้วันที่ 11 สิงหาคมเป็นวันจัดกิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้เป็นระเบียบและสะอาด และ ได้ข้อกำหนดวันเวลาและสถานที่ที่จะเดินทางไปศึกษาดูงานในกิจกรรมการดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในวันที่ 25 สิงหาคม โดยมีข้อสรุปและแจ้งให้รับทราบพร้อมโดยทั่วกัน

     

    15 48

    28. ปฏิบัติการจัดการจัดทำสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้เป็นระเบียบและสะอาด

    วันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-15:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในตอนเช้าเราจะให้ชาวบ้านทุกครัวเรือนทำการตัดแต่งกิ่งต้นไม้เก็บกวาดขยะในบริเวณรอบๆบ้านของตัวเองก่อน และในช่วงเวลาตั้งแต่ 10:00-11:30 น.เราจะทำการตัดแต่งต้นไม้ตัดหญ้าและเก็บขยะริมสองฝั่งทางของถนนในหมู่บ้านพร้อมกับทำการคัดแยกขยะไปด้วยกันโดยที่การนำเอาขยะที่ไม่มีประโยชน์ใส่ถุงดำแล้วตั้งเอาไว้เป็นจุดๆเพื่อรอให้รถเก็บขยะจากทางหน่วยงานของ สอบต. ทำการเก็บเอาไปกำจัดในพื้นที่ที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้ส่วนขยะที่สามารถนำไปขายได้จะทำการคัดแยกเก็บเอาไว้แล้วติดต่อพ่อค้ารับซื้อของเก่ามารับซื้อไปแล้วเงินส่วนได้จากการขายขยะเราจะส่งมอบให้กับทางผู้ใหญ่บ้านเพื่อเข้าบัญชีกองทุนการศึกษาของเด็กๆในโรงเรียนต่อไป 11:50-12:30 น.เราจะทำการจัดเลี้ยงอาหารกลางวันเป็นข้าวแกงขนมจ๊นน้ำยาพร้อมกับของหวานให้แก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือจัดทำกิจกรรมรวมถึงประชาชนชาวบ้านในหมู่บ้านที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในโครงการครั้งนี้ด้วย 12:40 น.เราจะเริ่มทำกิจกรรมเดิมต่อจากในช่วงเช้าเพราะระยะทางที่เราดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้มีระยะทาง 5 กิโลเมตร จนเสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนดเอาไว้ก็คือเวลา 15:30 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เพื่อต้องการให้ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง คนชายขอบ จำนวน 100คน ร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้เป็นระเบียบและสะอาดและยังได้ตระหนักถึงความสำคัญของขยะที่สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง มีวินัยในการทิ้งขยะ ทำให้ชุมชนสะอาดและปลอดภัย/ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง คนชายขอบ รวมถึงคณะผู้รับผิดชอบโครงการและชาวบ้านในหมู่บ้านได้ร่วมมือกันพัฒนาจัดการกับขยะรอบครัวเรือนของตนเองและชุมชนเพื่อต้องการให้ชุมชนของตนเองมีความสะอาดน่าอยู่ห่างไกลจากโรคภัยที่มาพร้อมกับขยะซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
    • ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงก็คือเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื่ออำนวยเพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูการหน้าฝนซึ่งในวันที่ทำการจัดกิจกรรมได้มีฝนตกลงมาในช่วงเช้าทำให้เกิดอุปสรรคในการลงพื้นที่จัดการเก็บขยะและตัดแต่งหญ้าและกิ่งไม้ริมทางสาธารณะในหมู่บ้าน/ต้องขยับเวลาเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมคือ 09:00-14:30 น. เป็น 10:00-15:30 น.

     

    100 100

    29. สรุปผลการพัฒนาผลการช่วยเหลือคนชายขอบ(สำรวจข้อมูลครั้งที่ 2)

    วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 09:00 - 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมสภาผู้ชุมชนได้ออกสำรวจข้อมูลรอบที่2 พบว่า 1.ประชาชนคนชายขอบจำนวน 25 ครัวเรือนได้รับการช่วยเหลือโดยการส่งยื่นรายชื่อเข้าสู่หน่วยงานของรัฐเพื่อทำการพิสูตญ์หลักฐานต่างๆและออกสิทธิบัตรประชาชนต่อไป จำนวน 2 คน และรับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล การศึกษาและด้านส่งเสริมอาชีพด้วยการเข้าร่วมกลุ่มอาชีพการปลูกผักปลอดสารพิษและปลูกกล้วยเล็บมือนาง มีการแจกถุงยังชีพในวันสำคํญเช่น วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ ให้แก่ทั้ง 25 ครัวเรือน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือทั้งภาครัฐในเรื่องการออกเลข 13หลักในฐานคนไทยคนหนึ่ง ได้เข้ากลุ่มอาชีพและร่วมกิจกรรมกับประชาชนทั่วไปของหมู่บ้านทำให้กลุ่มนี้มีความสุขมากขึ้นและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
    • ปัญหาที่พบ จากการสำรวจพบว่าตัวตนของชาวบ้านแต่ละครัวเรือนไม่ค่อยได้อยู่บ้านในวันสำรวจ เพราะว่าในวันที่ชี้แจงต่อที่ประชุมประจำเดือนชาวบ้านไม่ได้มารับฟังการประชุมกันครบทุกครัวเรือนจึงยังมีชาวบ้านที่ไม่รู้อีกว่าจะมีการสำรวจข้อมูลอีก การแก้ไข คือ ต้องมีการชี้แจงในวันที่ประชุมประจำเดือนและต้องทำหนังสือแจ้งเตือนต่อชาวบ้านที่จะมีการสำรวจหรือการออกตรวจเยี่ยมในครั้งต่อไป

     

    15 15

    30. ประชุมสมาชิกสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการประจำเดือนกันยายน2559

    วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00-13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09:00-11:40 น.ผู้นำชุมชนพร้อมคณะผู้รับผิดชอบโครงการทำการประชุมสภาผู้นำชุมชนเพื่อจัดทำแผนการดำเนินงาน ปรึกษาหารือ ร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคและการชี้แจงสรุปผลของการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาพร้อมกับบันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นรายงานนำเสนอต่อให้กับทางหหน่วยงานกองทุนสนับสนุนการ เวลา 12:00 น.จัดทำรายงานไว้เพื่อนำเสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุน และจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอให้กับทางหน่วยงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิตที่ได้จาการทำกิจกรรมในครั้งนี้ คือ ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้านและคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้านรวมถึงเยาวชนบุคคลชายขอบ ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วและที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกพร้อมกับรับฟังการเสนอแนะข้อมูลต่างๆจากชาวบ้านและรับเอาไว้พิจารณาเพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป
    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง คือ การที่ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้านและคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้านรวมถึงเยาวชนบุคคลชายขอบ ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม ทั้งตัวชาวบ้านเองและผู้นำชุมชนรวมถึงคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือน พร้อมจัดทำเป็นรายงานประจำเดือนกันยายน 2559 ซึ่งเป็นรายงานฉบับที่ 12 ที่ทางผู้รับผิดชอบโครงการต้องทำและนำเสนอส่งต่อให้กับหน่วยงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป

     

    20 50

    31. ศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 08:30-15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 07:00น.ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางมาพร้อมกันขึ้นรถบัส ณ ที่ทำการของหมู่บ้าน
    • เวลา 07:30น.เริ่มออกเดินทางจากที่ทำการหมู่บ้านไปยังศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดชุมพร ใช้ระยะเวลาการเดินทาง 50 นาที
    • เวลา 08:30น.ทำการเข้าร่วมรับฟังการอบรมและชี้แนะจากทางเจ้าหน้าทีของศูนย์ฝึกอาชีพฯ
    • เวลา10:45น.ทำการพักเบรคเพื่อรับประทานอาหารว่างของทางคณะผู้รับผิดชอบที่ทำการจัดเตรียมเอาไว้
    • เวลา 11:00น.เจ้าหน้าที่ของหน่วยฝึกอาชีพฯได้นำผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมคณะเข้าห้องหนังสือและแหล่งเรียนรู้ของโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อได้ศึกษาและนำไปเป็นแนวทางสร้างอาชีพให้แก่ครัวเรือนและชุมชน เวลา - 11:50 น.ทางกลุ่มผู้รับผิดชอบและคณะได้ทำกาiเดินทางไปรับประทานอาหาร ณ ร้านอาหารที่ทางคณะผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดเตรียมเอาไว้เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน
    • เวลา12:40 น.ผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมคณะเดินทางกลับมายังศูนย์ฝึกอาชีพฯ
    • 13:00น.เจ้าหน้าที่จากหน่วยฝึกอาชีพฯได้นำพาผู้รับผิดชอบโครงพร้อมคณะออกศึกษาดูงานในแปลงเกษตรการปลูกข้าวการปลูกผักผลไม้และการปลูกการขยายพันธุ์หน่อไม้ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ด้วย
    • เวลา15:00น.ทางคณะศึกษาดูงานพร้อมเจ้าหน้าที่ของหน่วยฝึกอาชีพฯได้ทำการถ่ายรูปร่วมกัน และทำการเดินทางกลับมายังที่ทำการหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ/คณะทำงานโครงการ/ผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน/กรรมการของหมู่บ้านและชาวบ้านในหมู่บ้านที่สนใจและเข้าร่วมทำกิจกรรมการศึกษาดูงานด้านอาชีพ ณ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดชุมพร กับโครงการร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่นปีที่ 2 จากทางหน่วยงาน สสส.
    • ผลผลิตจากกิจกรรมครั้งนี้ก็คือทางคณะผู้รับผิดชอบโครงการและชาวบ้านในหมู่บ้านได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานด้านการทำเกษตรปลอดภัยไร้สารเคมีและได้เรียนรู้เรื่องของอาชีพ
    • ผลลัพธ์ก็คือ ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้นำชุมชนและชาวบ้านได้รับข้อมูลความรู้เรื่องของการทำการเกษตรแบบปลอดภัยโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีและความรู้ด้านอาชีพต่างๆ เช่น การเลี้ยงปลาสวยงามไว้เพื่อจำหน่าย การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเพาะเห็ดฟางเห็ดนางฟ้า การปลูกหน่อไม้กินหน่อ การปลูกแก้วมังกร เป็นต้น และสมารถนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติทำตามได้แล้วสร้างให้เกิดเป็นรายได้เข้าสู่ครัวเรือนและชุมชน
    • ผลสรุปก็คือ ผู้นำชุมชน ประชาชนชาวบ้าน และผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานและได้เรียนรู้เรื่องการทำการเกษตรปลอดภัยไร้สารเคมี ความรู้ด้านอาชีพที่ทำให้เกิดเป็นรายได้เข้าสู่ครอบครัว และที่สำคัญชาวบ้านผู้ด้อยโอกาส บุคคลชายขอบ ซึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยอยู่แล้วได้มีโอกาสร่วมทำกิจกรรมร่วมกับผู้นำหมู่บ้านและได้รับโอกาสในการที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้ด้านอาชีพและสามารถนำความรู้ที่ได้กลับมาทำเพื่อสร้างให้เกิดเป็นรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนต่อไป
    • ปัญหา คือ ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่อยากจะเข้าร่วมกิจกรรมเดินทางไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดชุมพรแต่ด้วยทางงบประมาณที่เรามีจำกัดจึงต้องมีการกำหนดจำนวนคนเอาไว้ การแก้ไขปัญหาทางผู้รับผิดชอบจะนำปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ไปบอกกล่าวในที่ประชุมหมู่บ้านและจะทำการเสนอจัดหางบประมาณไปยังหน่วยงานท้องถิ่น เช่น อบต.เป็นต้น เพื่อทำการพิจารณาจัดหางบประมาณเข้ามาส่งเสริมกิจกรรมนี้ต่อไป

     

    50 50

    32. จัดทำฐานข้อมูลคนชายขอบและผู้ด่อยโอกาสในชุมชน

    วันที่ 16 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันที่ 16/09/2016 เวลา 09:00 น.คณะผู้จัดทำโครงการได้ทำการรวบรวมเอกสารการสำรวจจากทางผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและกรรมการหมู่บ้านที่ได้รับหน้าที่ออกทำการสำรวจ ใช้ระยะเวลาการสำรวจ 10 วัน ทำการเก็บข้อมูลแลได้ผลว่า 1.ชาวบ้านร้อยละเจ็บสิบมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 2.ชาวบ้านร้อยละแปดสิบมีงานและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 3.ชาวบ้านร้อยละห้าสิบมีการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆเพิ่มมากขึ้น 4.บุตหลานของชาวบ้านร้อยละหกสิบห้ามีความรู้และการศึกษาที่ดีขึ้น 5.ชาวบ้านร้อยละเก้าสิบให้ความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในชุมชนและเคารพกฎกติกาชุมชนที่มีร่วมกันเป็นอย่างดี ทำการสรุปเป็นรายงานส่งให้กับทาง สจรส.เป็นการเสร็จสิ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลผลิต จากการทำงานในครั้งนี้ คือ ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เอกสารข้อมูลที่ครบถ้วนตามแบบแผนที่วางไว้
    • ผลลัพธ์ คือ ได้ข้อมูลที่แท้จริงและสมารถนำมาเป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มบุคคลชายขอบและผู้ด่อยโอกาสก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น ผู้ที่เป็นบุคคลชายขอบที่ยังไม่มีเลข 13 หลัก ก็ได้รับการช่วยเหลือเสนอรายชื่อให้กับทางหน่วยงานที่รับผิดชอบทำการดำเนินการช่วยเหลือต่อไปและได้รับสิทธิประโยชน์จากด้านสาธารณะสุขด้านการศึกษาด้านการช่วยเหลือในด้านต่าง ผู้ที่เป็นผู้ด่อยโกาสก็ได้รับการช่วยเหลือในด้านการทำอาช๊พเพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ครัวเรือนมีสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียบกันกับทุกครัวเรือนในชุมชน รวมถึงการได้รับและเข้าถึงการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นอีกด้วย

     

    15 42

    33. จัดทำรายงานงวดที่2 และรายงานปิดโครงการ(ครั้งที่4)

    วันที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 07:00 ออกเดินทางไปยังที่ทำการเทศบาลตำบลวังไผ่ เพื่อพบปะกับทางเจ้าหน้าที่ของ สจรส. เพื่อตรวจสอบราายงานและตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
    • 09:00 เข้าร่วมในห้องประชุมจัดเตรียมรายงานเอกสารหลักฐานต่างๆรอการตรวจสอบ
    • 10:00 ได้นำเอกสารหลักฐานต่างๆพร้อมรายงานเข้ารับการตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของ สจรส.
    • 11:30 รับฟังการชี้แนะการผิดพลาดของรายงานและเอกสารพร้อมกับรับฟังการชี้แจงการแก้ไขรายงานและคำแนะนำเพิ่มเติมของเอกสารสำคัญ
    • 12:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
    • 13:00เดินทางกลับมาบ้านและจัดทำการคัดแยกชุดเอกสารเพื่อรอทำการแก้ไขต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คือผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ดูแลการเงินของโครงการได้นำรายงานพร้อมเอกสารการเงินเดินทางไปพบกับเจ้าหน้าที่ สจรส. เพื่อได้ทำการตรวจสอบรายงานและเอกสาร/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือได้รับฟังถึงปัญหาของรายงาการผิดพลาดของรายงานและเอกสารการเงินเอกสารต่างที่ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และผู้รับผิดชอบโครงการได้นำกลับมาทำการแก้ไขร่วมกับคณะทำงานโครงการได้ต่อไป

     

    2 2

    34. เวทีสรุปผลการดำเนินงาน คืนข้อมูลชุมชน และมอบเกียรติบัตร

    วันที่ 27 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      - เวลา 09:00น.นายวีระชัย นวลผ่อง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลสลุย ขึ้นกล่าวต้อนรับกล่าวแนะนำถึงวัติถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการให้ผู้ที่เชิญมาร่วมเป็นเกียรติและกล่าวเปิดงานในกิจกรรมครั้งนี้ - เวลา 10:00น.นายบุยสิน ผุดโรย ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่นปี2 ได้กล่าวรายงานถึงการเป็นมาของโครงการและขั้นตอนการดำเนินงานตลอดเป็นเวลา1ปีเต็มมาจนถึงวันที่เสร็จสิ้นโครงการว่ามีผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดมีปัญหาอุปสักอย่างไรและเห็นผลการเปลี่ยนแปลงของชาวบ้านในหมู่บ้านอย่างไร เช่น ชาวบ้านได้มีอาชีพหารายได้เพิ่มขึ้น ชาวบ้านมีการนำความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ได้จริง ชาวบ้านมีการหันมาดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวมากขึ้น และชุมชนมีความสะอาดน่าอยู่มากขึ้น - เวลา 10:45น.ปล่อยพักเบรคเพื่อรับประทานอาหารว่าง - เวลา 11:00น.ประธานให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อที่จะให้ชาวบ้านในกลุ่มนี้ได้ปฏิบัติตนและนำความรู้ด้านอาชีพที่ได้ไปทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อให้เกิดเป็นรายได้เข้าสู่ครัวเรือนต่อไป และกล่าวไว้ว่าชาวบ้านและชุมชนจะมีความสุขความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยต่อไป - เวลา 11:30น.คุณสมใจ ด้วงพิบูลย์ พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ ได้กล่าวข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องการใช้ชีวิตการเป็นอยู่ของครอบครัวชายบ้านที่เป็นต้นแบบว่าต้องเป็นครอบครัวที่เป็นต้นแบบอย่างนี้ตลอดไปและรักษาความดีความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้ต่อไป - เวลา 12:00น.ทำการพักรับประทานอาหารมื้อกลางวัน - เวลา 13:00น.นายมาโนชน์ บัวสุวรรณ เจ้าหน้าที่จากอนามัยในท้องถิ่นได้เดินทางมาร่วมให้คำชี้แนะพบปะกับสมาชิกและกล่าวชื่นชมชาวบ้านในหมู่บ้านที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและกล่าวขอบคุณคณะทำงานโครงการที่จัดหาโครงการดีอย่างนี้เข้ามาให้ชาวบ้านในชุมชนได้มีความเป็นอยู่ที่ดี - เวลา 13:30น.นายชัยยุธทร์ ชัยโย ผู้อำนวยการ รพ.ส.ต.สลุย ได้กล่าวให้ความรู้และประโยชน์ด้านสาธารณะสุขและการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหลังจากชาวบ้านได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับโครงการเพราะกิจกรรมต่างที่ทางคณะผู้จัดทำโครงการจัดทำขึ้นมานี้มีประโยชน์อย่างมากต่อตัวชาวบ้านเองและชุมชน -14:00น.นายบุญสิน ผุดโรย ผู้รับผิดชอบโครงการได้เรียนเชิญ กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสลุย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเนินทอง พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ เจ้าหน้าที่หมอของอนามัยในพื้นที่ ทำพิธีมอบเกีตรติบัตให้แก่ชาวบ้านที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นครอบครัวอย่าง มีรายชื่อดังนี้ 1.นาย พันธ์เรือง คงน้อย 2.นาย สุพิน ทารการ 3.นาง สุมาลี เอี่ยมจัด 4.นาย วัชระ ผุดโรย 5.นาง จรีรัตน์ วัดนครใหญ่ และทำการกล่าวขอบคุณผู้มีเกีรติที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมและชาวบ้านในครั้งนี้ -14:30น.ทำการปิดโครงการเป็นที่เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการ กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเนินทอง พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ เจ้าหน้าที่หมอของอนามัยในพื้นที่ ประชาชนชาวบ้านได้เดินทางมาร่วมทำกิจกรรมกับโครงการในครั้งนี้เป็นจำนวน 200 คน ตรงตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือชาวบ้านได้รับรู้ถึงการทำงานของคณะทำงานโครงการผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้อง ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากผลของการเข้าร่วมทำกิจกรรมที่ผ่านมา ชาวบ้านได้รับรู้และเรียนรู้วิธีแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนเอง ชาวบ้านได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างมาก และชาวบ้านที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นครอบครัวตัวอย่างได้รับรับเกีตรติบัตทำให้เกิดการมุ่งมั่นและตั้งใจทำดีเพื่อประโยชน์ของครอบครัวและชุมชนต่อไป

     

    200 200

    35. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 08.10 น. วันที่2 ตุลาคม 2559 ได้ออกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ทะเบียน บบ 3123 ชุมพร จากบ้านผู้รับผิดชอบโครงการ หมู่ที่6 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร มุ่งหน้าสู่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเดินทางถึงจุดหมายในเวลา 17:30 น.ของวันเดียวกัน และเข้าทำการพักที่โรงแรมไดอิชิโฮเต็ล หาดใหญ่ เช้าในวันที่ 3 เวลา 09:00 น.ได้เดินทางไปยังหอประชุมนานาชาติ ของ มอ.หาดใหญ่ เข้าร่วมทำการลงทะเบียนทำกิจกรรมต่างๆที่ทาง สจรส.ได้กำหนดการเอาไว้ เช่น การพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของ สจรส. และพูดคุยกับผู้รับผิดชอบโครงการอื่นๆเื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ้งกันและกัน เข้าประชุมสัมนาร่วมกับผู้นำและผู้รับผิดชอบโครงการอื่นๆ และรับฟังปัญหาและการแก้ไขปัญหาต่างๆของแต่ละพื้นที่ เวลา17:00 น.เดินทางกลับมายังโรงแรมที่พัก ในเช้าวันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.เดินทางออกจากที่พักไปร่วมกิจกรรมกับทาง สจรส. ณ หอประชุมนานาชาติ ของ มอ.หาดใหญ่ เวลา 17:00 น.เดินทางกลับมายังโรงแรมที่พัก เช้าวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.เดินทางออกจากที่พักไปร่วมกิจกรรมกับทาง สจรส. ณ หอประชุมนานาชาติ ของ มอ.หาดใหญ่ และเวลา17:00น.ทำการเดินทางกลับมายังบ้านเลขที่ 160 หมู่ที่6 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้จัดทำโครงการได้เดินทางไปร่วมทำกิจกรรมร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการอื่นๆที่ทาง สจรส.ได้กำหนดวันเวลาและกิจกรรมต่างๆเอาไว้
    • มีผู้รับผิดชอบและคณะทำงานจากโครงการอื่นๆเดินทางมาทำกิจกรรมและพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้กันและได้แลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้รับฟังการชี้แนะและความรู้เพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ของ สจรส.ด้วย
    • ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานแต่ละโครงการได้มีประสบการณ์ความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติมมาจากเจ้าหน้าที่ สจรส. หรือกับพี่เลี้ยงผู้ติดตาม และยังได้รู้เพิ่มเติมจากเพื่อนๆผู้รับผิดชอบและคณะทำงานโครงการอื่นๆด้วย
    • ได้นำความรู้ที่ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป นำปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกลับมาเพื่อที่จะใช่ในการทำงานส่วนตัวหรืองานสาธารณะได้ต่อไป ได้รับฟังการชี้แนะแนวทางการทำงานจากเจ้าหน้าที่ สจรส. จากพี่เลี้ยง เพื่อนำกลับไปปฏิบัติจริงในการทำงานกิจกรรมดำเนินโครงการและสามารถถ่ายทอดบอกต่อเป็นความรู้ให้กับผู้ที่จะทำงานโครงการสืบไป

     

    2 2

    36. จัดทำรายงานและถ่ายภาพกิจกรรมร่วมกัน

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 09:30 น. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหย่บ้าน พร้อมกับคณะทำงานโครงการและชาวบ้านบางส่วนที่ว้างเว้นจากการทำงานเดินทางมารวมกันที่ทำการของหมู่บ้านเพื่อถ่ายรูปร่วมกันเพื่อต้องการประกาสว่าพื้นที่ส่วนนี้เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่และเวลา 10:00 น. ร่วมกันพิจจารณาข้อสรุปผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาและผลงานที่ประสบเป็นผลสำเร็จของแต่ละกิจกรรมที่ทางโครงการได้เข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมดีๆให้แก่ชุมชน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อสรุปและจัดทำเป็นรายงานส่งให้กับหน่ายงาน สสส.พร้อมกับถ่ายภาพร่วมกันเป็นการประกาสว่าพื้นที่ส่วนนี้เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100% /ผลลัพธ์คือต้องการสร้างจิตสำนึกให้แก่ชาวบ้านในชุมชนได้ตระหนักไว้ว่าพื้นที่ที่ทำการของหมู่บ้านหมู่ที่ 6 นี้เป็นพื้นที่รณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนต่อไป/ผู้นำหมู่บ้านพร้อมคณะทำงานโครงวการและชาวบ้านที่ว้างเว้นจากการทำงานได้ถ่ายรูปกับป้ายสัญลักเขตปลอดบุหรี่ในพื้นที่ทำการของหมู่บ้าน

     

    30 22

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมสภาผู้นำชุมชนในการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมสมาชิกสภาชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน 2. มีกรรมการสภาผุ้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยร้อยละ 80 3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการนี้และเรื่องอื่นๆของชุมชน
    1. มีการประชุมสมาชิกสภาชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน จำนวน 11 ครั้ง
    2. มีกรรมการสภาผุ้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมมากกว่าร้อยละ 80ของคณะกรรมการ 15 คน
    3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการทุกครั้งและเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องความมั่นคง ยาเสพติด งบประมาณอื่น ๆจากอบต. และทหาร รพสต.ให้ความรู้ด้านสุขภาพ กรมประมงให้พันธ์ุปลาดุก-ปลานิล -ปลาหมอชุมพร ครัวเรือนละ 3000ตัว โรงงานปาล์มจัดให้มีการจัดตั้งกลุ่มพันธ์ุปาล์มให้กับสมาชิก
    2 เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนร่วมถึงกลุ่มคนชายขอบ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของประชาชนและกลุ่มคนชายขอบมีสวัสดิการ(ทุนการศึกษาของเด็กๆ) และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข
    1. ร้อยละ 80 ของประชาชนและกลุ่มคนชายขอบมีสวัสดิการ(ทุนการศึกษาของเด็กๆ)โดยการนำเงินจากกลุ่มต่างๆในชุมชนเป็นทุนการศึกษาปีละ 10 ทุน ๆ 500 บาท และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข เห็นได้จากการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น
    3 เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมครัวเรือนและทรัพยากรธรรมชาติ
    ตัวชี้วัด : 1. ขยะในชุมชนร้อยล่ะ 80 ของครัวเรือนที่มีอยู่ลดลง 2. ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร
    1. ครัวเรือนที่มีการจัดการขยะในชุมชนทำให้ลดลงร้อยล่ะ 80 จาก150 ครัวเรือน
    2. ลดการใช้สารเคมีในการเกษตรและไปใช้ปุ๋ยหมัก 20 ครัวเรือน
    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้งที่มีการจัดร้อยละ100ของจำนวนครั้งที่จัด
    2. มีการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรมทุกครั้งและมีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
    3. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนดทุกครั้ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมสภาผู้นำชุมชนในการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น (2) เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนร่วมถึงกลุ่มคนชายขอบ (3) เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมครัวเรือนและทรัพยากรธรรมชาติ (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2

    รหัสโครงการ 58-03834 รหัสสัญญา 58-00-2073 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 26 เมษายน 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    แปลงสาธิตพืชผักปลอดสารพิษจำพวกสมุนไพรไทย และข้าวไร่

    ภาพถ่าย และข้อมูลชุมชน

    แปลงสาธิตนี้สามารถให้ชุมชนเช่าเป็นที่สาธารณะมากกว่า 50 ไร่ โดยจะใช้พื้นที่ จำนวน 3ไร่เศษปลูกพืชผักหมุนเวียนต่อไปตามฤดูกาล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ชุมชนมีนโยบายในเรื่องปลูกเองกินเอง ซึ่งชาวชุมชนเห็นความสำคัญต้องปฏิบัติในกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    ภาพถ่าย และข้อมูลชุมชน

    จะบริโภคทุกอย่างที่ปลูกตลอดไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการลด -ละเรื่องอบายมุขในเรื่องเหล้า การพนันและหวย 20รายจาก150ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

    รายงานข้อมูลชุมชน

    รณรงค์ให้ประชาชนลด-ละ-เลิกการพนัน -เหล้า-บุหรี่มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการใช้สมุนไพรในการบริโภคแลละส่งเสริมให้มีรายได้จากการปลุกพืชสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น กระชาย เป็นต้น

    ภาพถ่ายและรายงาย

    มีกลุ่มเครื่องแกงที่สนับสนุนให้ผู้ปลูกนำมาขายและค่าตอบแทนปันผลเมื่อสิ้นปี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชน โดยมีการร่วมกันระหว่างบ้าน-วัดและโรงเรียน

    ข้อมูลชุมชนและภาพกิจกรรม

    มีความตั้งใจที่จะต่อยอดกิจกรรมในเรื่องการจัดการขยะครัวเรือนโดยให้ชุมชนปลอดถังขยะต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการจัดการขยะและความเป็นระเบียบเรียบร้อย การใช้สารอินทรีย์มากขึ้น และลดการใช้สารพิษในการเกษตร และมีครัวเรือนต้นแบบ 5ครัวเรือน

    เกียรติบัตรและภาพถ่าย

    มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการใช้เกษตรอินทรีย์ในแปลงพืชเศรษฐกิจ เช่นยางพาราและปาล์ม เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ40 จาก150 ครัวเรือน

    ข้อมูลชุมชน

    มีการพัฒนาต่อยอดโดยส่วนหนึ่งได้รับคำแนะนำจากธกส.

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดกติกาชุมชนประกอบด้วย1) กรรมการหมู่บ้านแต่ละฝ่ายต้องมีการประชุมชี้แจงประชาชนในทุกเดือน

    2) ประชาชนต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุนออมทรัพย์หมู่บ้านจะมีสิทธิกู้เงินกองทุนได้และจะต้องมีการออมทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 100 บาทและผ่านการออมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

    3) ทุกกลุ่มกองทุนต้องหักเงินจำนวนร้อยละ 20 ของผลกำไรเพื่อใช้เป็นกองทุนสวัสดิการสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน

    4) จัดให้มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาหมู่บ้านตามแขวงในวันสำคัญครบทั้ง 8 แขวง

    5) ชาวบ้านทุกครัวเรือนต้องมีการเวียนกันทำข้าวกับข้าวไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในวัดตลอดทุกวันในช่วงเข้าพรรษาสามเดือนโดยจะแบ่งกันเวียนวันละสามครัวเรือน

    ข้อมูลชุมชน

    พัฒนาต่อไปให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำตามความเหมาะสมแต่ละกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การดำเนินงานในชุมชนต้องได้รับการตัดสินใจร่วมกันของคณะกรรมการสภาชุมชนจำนวน 15 คนก่อนแล้วนำไปประชาคมในเวทีประชุมประจำเดือน

    รายงานการประชุม

    ต้องทำต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีกลุ่มเครื่องแกงและกลุ่มแปรรูปสมุนไพรที่มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องต่อไป

    ข้อมูลชุมชน

    มีการพัฒนากลุ่มอย่างต่อเนื่องโดยมีกรรมการและสมาชิกกลุ่ม ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มมีเงินทุนบริหารจัดการด้วยกลุ่มเป็นอย่างดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ทีมผู้รับผิดชอบโครงการมีความภาคภูมิใจในการได้จัดทำกิจกรรมร่วมกัน

    การสัมภาษณ์ผุ้รับผิดชอบโครงการ

    อยากให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ในการจัดการขยะชุมมชนโดยความร่วมมือของบ้าน-วัด-โรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้านการมีงานต่างๆของชุมชนและครัวเรือนเพิ่มขึ้น มีระบบตามแรงกัน

    ข้อมุลชุมชน

    จัดให้มีทีมจิตอาสาช่วยงานกันมากขึ้น มีสมาชิกกลุ่มเพิ่มมากขึ้น มีเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2 จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 58-03834

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย บุญสิน ผุดโรย )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด