directions_run

วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)

assignment
บันทึกกิจกรรม
พบพี่เลี้ยงเพื่อทำรายงานฉบับสมบูรณ์13 ตุลาคม 2559
13
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำรายงานปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้คณะทำงาน  ได้เดินทางมา ที่ รพ.สต.เขาพระบาท เพื่อมาทำรายงานกิจกรรม  เอกสารด้านการเงิน และตรวจสอบเอกสารด้านการเงิน  พร้อมทั้งตรวจสอบการบันทึกการข้อมูลในเวปไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรม  บันทึกข้อมูลในเวปไซต์ 3. คืนเงินเปิดบัญชี 500 บาท 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 7 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลและปิดรายงานโครงการ12 ตุลาคม 2559
12
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมโครงการและปิดเอกสารโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ 7 คน พบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารมาตรวจสอบ และสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1.ตรวจเอกสารตามกิจกรรม พบว่าต้องมีการแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดการดำเนินงาน 2.ตรวจภาพถ่ายในการดำเนินงาน แนะนำให้ไปโหลดภาพถ่ายเพิ่ม และการทำกิจกรมแต่ละครั้ง สามารถทำเป็นกลุ่มย่อยๆได้
3.เอกสารทางการเงิน หลักฐานยังไม่ถูกต้องให้เขียน รายจ่ายแต่ละครั้งให้ละเอียด 4.ตรวจสอบสมุดบัญชี พบว่า ได้ถอนเงินออกจากบัญชีแล้ว
5.ดำเนินการปรับข้อมูล ในแผนภาพ รายละเอียดโครงการ และเคลียร์กิจกรรมการใช้เงินให้ถูกต้อง 6.ปิดรายงาน ง.1 และ ง.2 7.สรุปบทคัดย่อเพื่อจัดทำรายงาน ส.3

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนคณะทำงานพบพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบเอกสาร 7 คน 2.มีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารและบันทึกออนไลน์

ผลลัพธ์ 1.จัดทำสรุปรายงานตามกิจกรรมและบทคัดย่อ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 2.หลักฐานการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามกิจกรรมตามที่กำหนด 3.สามารถปิดงวดรายงาน ง.1ง.2 และ ส.3 ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 7 คน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้นำหลักฐานไปพบพี่เลี้ยงสจรส. รอบสุดท้ายเพื่อส่งเอกสาร ที่ ม.วลัยลักษณ์ ในวันที่ 14 - 15 ต.ค.2559 เพื่อตรวจเอกสารปิดโครงการ

งานสร้างสุขภาคใต้3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. และ สจรส.ม.อ.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง


          วันจันทร์ ที่ 3  ตุลาคม ๒๕๕๙ 12.00 - 13.00  น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย 13.00 - 13.10  น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 13.10- 13.30  น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 13.30 - 15.00  น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 15.00 - 15.30  น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) 15.30-17.00  น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 12  ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช 18.00 - 20.00  น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ 08.00 - 09.00  น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม 09.00 - 12.00  น.การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • 09.00 -12.00  น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1  ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข 12.00 -14.00  น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 14.00-17.00  น. การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) 2. ความมั่นคงทางอาหาร 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) 6.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว 7.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม 14.00-17.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 2 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) 18.00 -20.00  น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันพุธที่ 5  ตุลาคม 2559    08.00 - 09.00  น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 09.00-10.30  น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 10.30 11.45  น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ 11.45 -12.00  น. พิธีปิด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่  สู่นโยบายสาธารณะ 1.การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส. 2.สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำ  สสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใคร  ทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียน  และทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด 3.การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กร  เชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการ  วันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์  เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็ม  โครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอที  หลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอที  อาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ      ข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สรุปผลการดำเนินงาน30 กันยายน 2559
30
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยจะมาพูดคุยถึงกิจกรรมต่างที่ผ่านมา และสรุปผลจาการถอดบทเรียนการทำกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการใหม่ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงินในการเขียนบิลในการเขียนใบสำคัญรับเงินต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนด อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการถ่ายรูปในการทำกิจกรรม ว่าจะต้องถ่ายกิจกรรมให้เป็นกิจกรรมที่มีชีวิตและสามารถมองออกได้ว่าเป็นกิจกรรมอะไรกำลังทำกิจกรรมอะไรเพื่อเป็นการสื่อให้คนที่ดูภาพได้เห็นถึงกิจกรรมที่ได้ทำไปรวมถึงการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์ และการบันทุกรูปในภาพในเว็บไซต์

2.กิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านทองพูน โดยมีคุณหมอยงยุทย์ สุขพิทักษ์ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยง ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมพูดคุยแนวทางการพัฒนาโครงการด้วยที่วัดทองพูน ซึ่งมีพระเกียรติศักดิ์ สายพือ รองเจ้าอาวาสวัดทองพูนได้มาเข้าร่วมประชุมด้วยในวันนี้โดยโครงการนี้คือโครงการวัดชุมชนร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูนซึ่ง เป็นโครงการต่อยอดปีที่ 2 จากโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ซึ่งโครงการปี 1ก็เน้นประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านทองพูนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสร้างกระบวนการมีสวนร่วม ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชนซึ่งในโครงการในปีนี้ก็วัตถุประสงค์ มี 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็งข้อที่ 2เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายด้วยทุนชุมชน และกิจกรรมหลังจากนั้นก็จะมีการสำรวจข้อมูลในชุมชน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อคืนข้อมูลในชุมชน การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักโดยให้ทุกคนมาเรียนรู้ และนำวัสดุที่มีอยู่ในบ้านมาทำปุ๋ยหมัก

3.กิจกรรมเวทีเปิดโครงการ ที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านทองพูน โดยมีคณะกรรมการและ คุณหมอมนูญ พลายชุม พี่เลี้ยงโครงการ เข้าร่วมประชุมโครงการด้วย เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาโครงการ ดังนี้ คุณหมอมนูญพลายชุมจะมาชี้แจงเกี่ยวกับการทำโครงการ ของสสส. ต่อยอดปีที่ 2 และก็ได้เชิญพี่เลี้ยงพูดคุยและชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการซึ่งโครงการต่อยอดปีที่ 2 คือ โครงการวัดชุมชนร่วมจัดทุนที่บ้านทองพูน ซึ่งต่อยอด จากโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ที่ทำมาในปีที่แล้วนั้นซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนทองพูน ปีนี้ยังมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย กระทบต่อทุกครัวเรือน 185 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) พบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงมีผลกระทบต่อครัวเรือนโดยตรงและส่วนหนึ่งครัวเรือนพบปัญหาว่างงาน 30ครัวเรือนเมื่อตกงานทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น รายได้ลดน้อย ต้องไปหางานทำในเมือง จากการทำโครงการในปีที่ผ่านมา โดยจัดทำโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ สิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการคือ ประชาชนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชน มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานทำปุ๋ยหมักฐานน้ำหมักชีวภาพฐานเกษตรวิถีการพัฒนาโดยใช้ครัวเรือนต้นแบบ เน้นให้กลุ่มเป้าหมายปลูกผักกินเอง

4.มีศูนย์เรียนรู้เรื่องปุ๋ยหมักที่วัดทองพูน :ซึ่งจะนำปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักในศูนย์การเรียนรู้นั้นที่วัดทองพูน มาบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่ายโดยให้ชื่อว่า สังฆทานดินคือให้แนวคิดสำหรับคนที่ชอบทำบุญโดยการทำบุญด้วยดินเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้เช่าบูชา แล้วนำไปใช้ปลูกพืชภายในวัดซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งก็จะเข้าไปยังร้านค้าชุมชนส่วนหนึ่งมอบให้วัดและอีกส่วนจัดเป็นสวัสดิการชุมชนด้วยการจัดทำสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูน เพราะเนื่องจากบ้านทองพูน ประชาชนให้ความสนใจต่อการไปวัด การเข้าร่วมพัฒนา และมีผู้สูงอายุบางคนในหมู่บ้านป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันฯ เมื่อบุตรทิ้งให้อยู่กับหลาน ย่อมเป็นภาระในการเดินทางไปรับบริการ ที่ รพ.สต.เขาพระบาท และทางวัดทองพูนมีรถยนต์ประจำวัดจึงได้มีการพูดคุยและท่านเจ้าอาวาสอนุญาตให้ใช้รถบริการรับส่งประชาชนในการทำกิจกรรมได้จึงได้คิดแนวทางการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนดังนี้ (1) จัดสวัสดิการรถรับส่งผู้ป่วยไปรับบริการตรวจรักษาเบาหวาน ที่ รพ.สต.เขาพระบาท ช่วงเวลา 07.00 น. และรับกลับเวลา 10.00 น. (2) จัดสวัสดิการรับผู้ป่วยสูงอายุไปทำกายภาพ ที่รพ.สต.เขาพระบาท วันพุธ เวลา 07.00 น. รับกลับเวลา 11.00 น. (3)จัดสวัสดิการรับส่งผู้ป่วยความดันโลหิตสูง วันพฤหัสบดี เวลา 07.00น. รับกลับเวลา 10.00 น. ส่วนสำหรับค่าน้ำมัน เป็นเงินที่ได้จากการบริจาคของประชาชนที่รับบริการตามศรัทธา และส่วนหนึ่งมาจากพระสงฆ์ในวัด ผอ.รพ.สต.เขาพระบาทและส่วนหนึ่งก็มาจากสังฆทานดินที่ได้จากผู้ศรัทธาได้เช่าได้มาเสียค่าน้ำมัน 2.นายสมศักดิ์ปิติสุกผู้รับผิดชอบโครงการได้เสนอความเห็นให้ร่วมกันเตรียมสถานที่ที่วัดทองพูนในการทำปุ๋ยหมักและเตรียมอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักใ

5.การเรียนรู้ประโยชน์และการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้ อัตราส่วน 1: 20 (ผสมน้ำ 20 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน อัตราส่วน 1: 50 (ผสมน้ำ 50 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้ รากพืชอาจได้รับอันตรายได้ อัตราส่วน 1: 100 (ผสมน้ำ 100 เท่า) ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่ อัตราส่วน 1: 200 (ผสมน้ำ 200 เท่า) พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆ ต้นพืชทุกๆ 7-15 วัน เพื่อขับไล่แมลงและ ป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต อัตราส่วน 1: 500 (ผสมน้ำ 500 เท่า) พ่นผลอ่อน หลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้ อัตราส่วน 1: 1,000 (ผสมน้ำ 1,000 เท่า) เป็นสารจับใบ เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลาย ที่เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารเคมีทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งด้วย ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้ 1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน 2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ 3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้ 4. การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน 5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ 6. การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้ -ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง -น้ำส้มไม้เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช -น้ำส้มไม้ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว

6.การเรียนรู้การทำเตาชีวมวลมีนายสมศักดิ์ปิติสุขผู้มีความรู้และได้ศึกษา และทำเตาชีวมวลมาร่วมกันแลกเปลี่ยนรู้เกี่ยวกับเตาชีวมวล ซึ่งการทำเตาชีวมวล เป็นเตาที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ครัวเรือนได้นำวัสดุเหลือใช้ เช่นปิ๊บ ถังสี มาทำเตาชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เอง ได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื่อเพลิง มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับระบบผลิตแก๊สเชื่อเพลิงจากชิวมวลแบบ อากาศไหลขึ้น ซึ่งเป็นการเผาไหม้ในที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อนบางส่วนโดยความร้อน ทำให้เปลี่ยนเชื่อเพลิงเช้น ไม้ฟืน กลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง อุปกรณ์ในการทำเตาชีวมวล วิธีการทำ 1. นำถังสี 6 นิ้ว มาเจาะรูรอบๆถังสี ทั้งด้านข้าง และด้านล่าง 2. นำปิ๊บมาเจาะและเปิดฝาด้านบนนำ เจาะ ช่องลมปิ๊บด้านล่างให้เจาะเว้นฐานไว้ 3. นำถังสีที่เจาะรูแล้ว นำมาใส่ในถังปิ๊ป ยึดติดให้แน่น โดยเวลาลาการใส่เชื้อเพลิงก็ให้ก่อไฟเหมือนเตาเผาทั่วไปซึ่งไฟที่ได้จากเตาชีวมวลนั้ เป็นไฟที่รอ้นดีสม่ำเสมอประโยขน์ของเตาชีวมวล 1.ประหยัด เพราะวัสดุอุปกรณ์ก็หาได้จากในชุมชน ซึ่งหาได้ง่ายในชุมชน 2.ไฟที่ได้ร้อนมากเทียบกับเตาแก๊สทั่วไป 3.ไม่ทำให้หม้อหรือภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มเป็นสีดำ 4.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานจากเตาแก๊ส 5.ช่วยลดมลภาวะในอากาศเพราะไม่มีควันและไม่มีกลิ่นรบกวน

7.กิจกรรมถอดบทเรียน1.การทำกิจกรรมที่ผ่านมาได้ทำอะไรไปบ้างการทำปุ๋ยหมัก การเผาถ่านน้ำส้มควันไม้น้ำยาเอนกประสงค์การทำสังฆทานดินเตาเผาถ่านเตาแก๊สชีวมวล 2.ปัจจัยที่ทำให้เกิดกิจกรรม คือการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อเรียนรู้ถึงกิจกรรมต่างๆซึ่งมีวัดเป็นศุนย์รวมในการทำกิจกรรมมีฐานเรียนรู้ในวัดคือการทำปุ๋ยหมักชวีภาพ การเผาถ่านศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้านซึ่งวัดก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอยู่แล้ว เป็นศูนย์กลางของชุมชน ก็เลยใช้วัดในการทำกิจกรรม 3.ปัญหา และอุปสรรค ชาวบ้านมีการยอมรับบางส่วน บางส่วนก็ยังไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 4.การเปลี่ยนแปลง มีรายได้จากการผาถ่าน ประมาณ 500ต่อเดือนซึ่งจะขายกระสอบละ 100 บาทลดต้นทุนปุ๋ยเพราะหันมาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและผักที่ปลูกก็ออกมาสวยงาม ดินร่วยซุยทำให้สภาพแวดล้อมดี ซึ่งเริ่มจากการใช้ในครัวเรือนก่อนในส่วนของวัดทองพูนก็เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเงินที่ได้จากการขาย ส่วนหนึ่งก็เอาไปเป็นส่วนของสวัสดิการภายในชุมชน 4.ข้อดีของการทำโครงการ คนในชุมชนจากที่ไม่มีรายได้เสริม นอกจากการทำนา ทำการเกษษรแล้วก็ได้รายได้จากการเผาถ่าน ประมาณเดือนละ 400-500 บาทประชาชนมีการร่วมตัวกันทำกิจกรรมมากขึ้นคนในชุมชนหันมาให้ความร่วมมือมากขึ้นสนใจ ให้ความสำคัญ ในการทำโครงการมากขึ้น สิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีหันมาใช้ปุ๋ยหมักน้ำหมักแทนคุณภาพของดินดีขึ้นดินร่วนซุยขึ้นทำให้รู้สึกว่าปลอดภัยในการบริโภค

8.ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ 3-4 ตุลาคม 2559ที่ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มอ.หาดใหญ่ 9.และกิจกรรมต่อไปคือทำรายงานปิดงวดรายงาน เพื่อเตรียมปิดโครงการ ที่ ม.วลัยลักษณ์ ในวันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 322 กันยายน 2559
22
กันยายน 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมและสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นการติดตามงวดโครงการครั้งที่ 3ซึ่งได้มีการพูดคุยกับโครงการดังนี้ 1.จากโครงการที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้าง ได้ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักเผาถ่านน้ำส้มควันไม้น้ำยาเอนกประสงค์ได้มีศูนย์เรียนรู้ซึ่งศูนย์เรียนรู้ก็ได้ตั้งอยู่ที่วัดทองพูน คือ 1)ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพร2)ศูนย์เรียนรู้การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักซึ่งได้ให้ชื่อเป็นสังฆทานดิน3) การเผาถ่านและน้ำส้มควันไม้ 2.สิ่งที่เป็นปัจจัยที่ให้โครงการสำเร็จคนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกัน ซึ่งจะไปทำกิจกรรมที่วัดทองพูนซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนชุมชนและก็จะได้เห็นความสำคัญของวัด ทำให้คนในชุมชนได้เข้าวัดมากขึ้นวันพระก็จะรวมกลุ่มกันเรียนรู้ทำกิจกรรมกัน 3.ปัญหาและอุปสรรคในการทำโครงการ ยังมีชาวบ้านบางส่วนไม่ยอมรับ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ 4.การเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ได้ทำโครงการทำให้มีรายได้จาการเผาถ่านเริ่มจากเผาใช้ในครัวเรือน หลังจากเหลือก็ได้ขายให้กับคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงในส่วนของวัด เงินที่ได้จากการขายก็นำไปเป็นสวัสดิการของกลุ่มลดต้นทุนการทำเกษตรหันมาใช้ปุ๋ยหมักส่วนที่บ้านก็สามารถเพิ่ม คุณวันทนา ไดบอกว่า การเผาถ่านสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวก็ประมาณ 300-400 บาท 5.ข้อดีจากการทำโครงการ ทำให้คนที่ไม่มีรายได้เสริม นอกจากการทำนาแล้ว ก็ได้จากการเผาถ่านคนในชุมชนก็มีการรวมตัวกันมากขึ้นเพื่อทำกลุ่ม ทำกิจกรรมสนใจให้ความสำคัญ เห็นประโยชน์จากการทำโครงการมากขึ้น อีกทั้งทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นจากการลดการใช้สารเคมีหันมาใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ สังเกตุได้จากคุณภาพดิน ดีขึ้นร่วนซุยขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน 2.ได้พูดคุยถึงกิจกรรมที่ผ่านมาในโครงการได้ทำอะไรบ้างทำแล้วมีผลดีอย่างไร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน และคณะทำงาน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

กิจกรรมดังกล่าว ทำให้เกิดการรวมต่อของประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น และเกิดกลุ่ม มีการร่วมกันจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ที่วัดทองพูน  เป็นการรวมตัวเพื่อให้คนในชุมชนได้รู้จักเขา้วัด เสนอแนะให้นำกิจกรรมไปบอกกลุ่าวหน่วยงานต่างๆ เพื่อต่อยอดการพัฒนาในหมู่บ้าน

ถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรม22 กันยายน 2559
22
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมถอดบทเรียนจาการทำกิจกรรมการทำโครงการซึ่งวันนี้ได้มาทำกิจกรรมที่ศาลาเอนกประสงค์หมู่บ้าน บ้านทองพูนโดยผู็ใหญ๋วาสนาทองส่งเสริม ผู็ใหญ่บ้าน กล่าวต้อนรับ และบอกถึงกิจกรรมในวันว่าเป็นการ สรุปผลการดำเนินการที่ผ่านมาของโครงการซึ่งก็ได้สอบถามจาก(เข้าร่วมกิจกรรม

1.การทำกิจกรรมที่ผ่านมาได้ทำอะไรไปบ้างการทำปุ๋ยหมัก การเผาถ่านน้ำส้มควันไม้น้ำยาเอนกประสงค์การทำสังฆทานดินเตาเผาถ่านเตาแก๊สชีวมวล

2.ปัจจัยที่ทำให้เกิดกิจกรรม คือการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อเรียนรู้ถึงกิจกรรมต่างๆซึ่งมีวัดเป็นศุนย์รวมในการทำกิจกรรมมีฐานเรียนรู้ในวัดคือการทำปุ๋ยหมักชวีภาพ การเผาถ่านศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้านซึ่งวัดก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอยู่แล้ว เป็นศูนย์กลางของชุมชน ก็เลยใช้วัดในการทำกิจกรรม

3.ปัญหา และอุปสรรค ชาวบ้านมีการยอมรับบางส่วน บางส่วนก็ยังไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

4.การเปลี่ยนแปลง มีรายได้จากการผาถ่าน ประมาณ 500ต่อเดือนซึ่งจะขายกระสอบละ 100 บาทลดต้นทุนปุ๋ยเพราะหันมาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและผักที่ปลูกก็ออกมาสวยงาม ดินร่วยซุยทำให้สภาพแวดล้อมดี ซึ่งเริ่มจากการใช้ในครัวเรือนก่อนในส่วนของวัดทองพูนก็เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเงินที่ได้จากการขาย ส่วนหนึ่งก็เอาไปเป็ฯส่วนของสวัสดิการภายในชุมชน

5.ข้อดีของการทำโครงการ คนในชุมชนจากที่ไม่มีรายได้เสริม นอกจากการทำนา ทำการเกษ๖รแล้วก็ได้รายได้จากการเผาถ่าน ประมาณเดือนละ 400-500 บาทประชาชนมีการร่วมตัวกันทำกิจกรรมมากขึ้นคนในชุมชนหันมาให้ความร่วมมือมากขึ้นสนใจ ให้ความสำคัญ ในการทำโครงการมากขึ้น สิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีหันมาใช้ปุ๋ยหมักน้ำหมักแทนคุณภาพของดินดีขึ้นดินร่วนซุยขึ้นทำให้รู้สึกว่าปลอดภัยในการบริโภค

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน
  2. ได้มีการถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการ
  3. ทำให้มีรายได้้เสริมจากการเผาถ่านประมาณ เดือนละ 300 - 400 บาท
  4. มีฐานเรียนรู้ในวัดคือการทำปุ๋ยหมักชวีภาพ การเผาถ่านศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน
  5. ลดต้นทุนปุ๋ยเพราะหันมาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและผักที่ปลูกก็ออกมาสวยงาม ดินร่วยซุยทำให้สภาพแวดล้อมดี
  6. เงินที่ได้จากการขายถ่านและปุ๋ย จะเอาไปเป็นส่วนของสวัสดิการภายในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การจัดหาถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน20 กันยายน 2559
20
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม การจัดทำรายงานโดยกิจกรรมในวันนี้ก็เป็นการเตรียมเอกสารเพื่อจะทำรายงานปิดโครงการ โดยตรวจเช็คเอกสารแต่ละกิจกรรมและตรวจสอบการบันทึกข้อมูลในเวปไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้จัดทำรายงานเพือปิดโครงการ สามารถส่งรายงานให้ สสส.ได้ทันในเวลา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทุนชุมชนลดรายจ่าย ครั้งที่ 313 กันยายน 2559
13
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การลดรายจ่ายในครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ลดต้นทุนรายจ่ายซึ่งในวันจะเป็นการมาพูดคุยถึงกิจกรรมต่างๆที่เป็นการลดต้นทุน รายจ่ายซึ่งจะเป็นการมาแลกเปลี่ยนรู็ในกิจกรรมต่างที่เป็นการนำทุนในชุมชนมาลดต้นทุนรายจ่าย
1. จากการเรียนรู้ในเรื่องของการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ส่วนผสม 1. N 70 หรือ EMAL 270 TH (หัวแชมพู)1 กก. 2. EMAL 10 P (ผงฟอง) 200 กรัม 3. Sodium chloride (เกลือ หรือ ผงข้น) 500 กรัม 4. น้ำสะอาด10-11 กก. 5. NEOPELEXF 50 (สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น)500-700กรัม (ถ้าเป็นสารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEXF 24 ใช้1กก.) 6.มะกรูด2กก. 7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้) วิธีทำ 1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆชนิดก้นเรียบในการผสม)

2.ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด 4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน 5. นำมะกรูดมาต้ม ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูก ผสมกับน้ำสะอาดให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ 6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี 7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัวจึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้ หลังจา่กที่ใช้ได้

3.โดยจะเป็นการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแบบแห้ง โดยมาเรียนรู้วีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบใส่กระสอบ ซึ่งเป็นการทำที่ง่าย ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการหมักทิ้งไว้ โดยแต่ละคนก็ได้นำสูตรที่ตนเองเรียนรู้มานั่งพูดคุย แลกกเปลี่ยนกัน ซึ่งอุปกรณ์และวัสดุ ก็หาได้ง่ายจากในชุมชนโดยก็จะยกตัวอย่างสูตร
1.ขี้วัว จำนวน 20 กระสอบ 2.ฟางข้าว จำนวน20 กระสอบ 3.แกลบ จำนวน 20 กระสอบ 4.พด.1 จำนวน 1 ซอง 5.น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 1 ขวด 6.กระสอบสำหรับใส่ปุ๋ยหมัก
7.จอบ มีด ถังน้ำ

โดยวิธีการการทำ

  1. จัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้พื้นที่ข้างๆบ้าน หรือพื้นที่รอบบริเวณบ้าน
  2. เตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำฟางข้าวมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก เพื่อจะได้ย่อยสลายเร็วขึ้น
  3. นำฟางข้าว ขี้วัว แกลบ มาผสมรวมกัน โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากัน
  4. นำ พด.1ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ น้ำหมักชีวภาพ 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน
  5. เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้มารดในกองปุ๋ยให้ทั่วคลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้
  6. เมื่อผสมปุ๋ยเสร็จ ก็นำกระสอบมาใส่ปุ๋ยโดยใส่ประมาณ2 ส่วน 4 ของกระสอบ เพื่อเหลือพื้นที่ไว้ในการที่จะพลิกกระสอบและนำเชือกมารัดปากกระสอบปุ๋ยไว้ 5.นำกระสอบปุ๋ยที่ใส่ปุ๋ยไว้เสร็จแล้วมาตั้งซ้อนกัน สลับหัว นำกระสอบที่เย็บไว้มาปิดไว้ เพื่อป้องกันแสงแดดและคอยพลิกปุ๋ย ทุกๆ 2-3 วัน ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็สามารถนำปุ๋ยมาใช้ได้

ซึ่งในการเรียนรู้ในวันนี้ก็เป็นการทำปุ๋ยหมักแบบง่ายเพ่อสะดวกในการขนย้ายและไม่ต้องเสียเวลาในการกลับกองทุกๆสามารถทำได้เองที่บ้านบ้านไหนที่ไม่มีพื้นที่ในการกองปุ๋ยหมักก็สามารถใช้การทำแบบนี้ได้

3.เตาเผาถ่าน  ขั้นตอนการเผาถ่าน

ช่วงที่ 1 ไล่ความชื้น หรือคายความร้อน

เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและ ความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็น กลิ่นของกรดประเภทเมธาทอลที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70 - 75 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น
อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ
200-250 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน

ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือ ปฏิกิริยาคลายความร้อน

เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน
ประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตา จะคายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อน เชื้อเพลิงหน้าเตาจนหยุดการป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ หลังจากการหยุดการป้อนเชื้อเพลิง หน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตาหรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด
และยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุด โดยช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิ
บริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 85-120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา
จากนั้นควันก็เปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน
ประมาณ 100-200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 400-450 องศาเซลเซียส

ช่วงที่ 3 ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์

ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดหน้าเตา
ประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อควันสีน้ำเงิน เป็นเสีฟ้า แสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด จากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทน เมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิดหน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่ว และรอยต่อ จากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้งหมด ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าไปได้

ช่วงที่ 4 ช่วงทำการให้ถ่านในเตาเย็นลง

เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตา เพื่อระบายความร้อนในเตา จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน
หรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ถ่านดับสนิท แล้วจึงเริ่มการเปิดเตาเพื่อนำถ่านออกจากเตา และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

4.การทำน้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจาก
การผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่านถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ
รอบปล่องดักควันความชื้นในควัน จะควบแน่นเป็นหยดน้ำ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ) น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป ประโยชน์น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ
เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์ของการทำน้ำส้มควันไม้ -เพื่อเป็นการจัดการเศษไม้ให้เกิดประโยชน์ -ส่งเสริมให้ใช้ถ่านแทนก๊าซหุงต้ม -แนะนำส่งเสริมน้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลพลอยได้จากการตัดกิ่งไม้ ด้านครัวเรือน น้ำส้มควันไม้ 100% ใช้รักษาแผลสด น้ำส้มควันไม้ 20 เท่า ทำลายปลวกและมด น้ำส้มควันไม้ 50 เท่า ป้องกับปลวก มด และแมลงต่างๆ น้ำส้มควันไม้100 เท่า และ 200 เท่า และลดกลิ่นและแมลงผสมผงถ่านใช้ย่อยและป้องกันโรคท้องเสียปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัตว์ให้ใหญ่และแดงเพิ่มปริมาณวิตามิน ด้านการเกษตร -ผสมน้ำ20 เท่า พ่นลงดินทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ -ผสมน้ำ 50 เท่าฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช
-ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้ขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา ด้านอุตสาหกรรมครัวเรือน - ใช้ผลิตสารดับกลิ่น, สารปรับผิวนุ่ม, ทำให้เนื้อนิ่ม - ใช้ย้อมผ้า - ป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง - เป็นยารักษาโรคผิวหนังเชื้อไทฟอยด์ - เสริมภูมิต้านทานฮอร์โมนทางเพศ - น้ำส้มควันไม้ที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วนำไปใช้กระบวนการอาหาร เช่น หยด รม เคลือบหรือเติมแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนรวก บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ


5. การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเตาชีวมวล เป็นเตาที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ชุมชนได้นำวัสดุเหลือใช้ เช่นปิ๊บ ท่อสูบน้ำเก่า(นำส่วนที่ดีมาใช้)มาทำเตาชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เอง ได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เองได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื่อเพลิง มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับระบบผลิตแก๊สเชื่อเพลิงจากชิวมวลแบบ อากาศไหลขึ้น ซึ่งเป็นการเผาไหม้ในที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อนบางส่วนโดยความร้อน เหล่านี้จะไปเร่งให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องอื่นๆ ให้เปลี่ยนเชื่อเพลิงแข็งกลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง
หลักการทำงาน อากาศภายนอกส่วนแรก ไหลผ่านแผ่นปรับอากาศ และตะแกรงเข้าสู่ในส่วนของห้องเผาไหม้ ส่ วนที่ 1 ปฏิกิริยา ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซต์กับน้ำ

แก๊ส ที่อุณหภูมิสูงจะไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ส่วนที่ 2 จะเกิดปฏิกิริยากับคาร์บอนได้แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์(CO)แก๊สไฮโดรเจน(H2)และ แก๊สมีเธน(CH4)อากาศส่วนที่ไหลเข้าผสมกับแก๊สที่เกิดขึ้น และลุกไหม้เป็นเปลวไฟให้ความร้อนออกมา ส่วนประกอบและวิธีการทำ วิธีการทำ วิธีการทำ 1. นำถังสี 6 นิ้ว มาเจาะรูรอบๆถังสี ทั้งด้านข้าง และด้านล่าง 2. นำปิ๊บมาเจาะและเปิดฝาด้านบนนำ เจาะ ช่องลมปิ๊บด้านล่างให้เจาะเว้นฐานไว้
3. นำถังสีที่เจาะรูแล้ว นำมาใส่ในถังปิ๊ป ยึดติดให้แน่น ประโยขน์ของเตาชีวมวล 1.ประหยัด เพราะวัสดุอุปกรณ์ก็หาได้จากในชุมชน ซึ่งหาได้ง่ายในชุมชน 2.ไฟที่ได้ร้อนมากเทียบกับเตาแก๊สทั่วไป 3.ไม่ทำให้หม้อหรือภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มเป็นสีดำ 4.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานจากเตาแก๊ส 5.ช่วยลดมลภาวะในอากาศเพราะไม่มีควันและไม่มีกลิ่นรบกวน

ซึ่งกิจกรรมต่างๆนั้นทุกคนก็สามารถนำไปเรียนรู็ และทเองได้ที่บ้าน เพื่อเป็นการลดต้นทุนลดรายจ่ายในครัวเรือนเช่นการทำน้ำยาเอนกประสงค์ นำ้ยาล้างจาน เพื่อใช้ในครัวเรือนเพราะสิ่งนี้ทุกครัวเรือนก็ต้องใช้อยู๋แล้วและต้องซื้อเป็นประจำ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพก็สามารถลดต้นทุนท่างการเกษตรได้ อีกทั้งลดสารเคมีทำให้รู็สึกปลลอดภัยในการบริโภคการทำเตาเผ่าถ่านก็สามรถลดค่าใช้จ่ายในการทำอาหารอีกทั้งสามารถนำถ่านที่ได้เผานี้ไปสร้างเป็นรายได้ได้อีกด้วย ส่วนเตาชีวมวล ก็ลดค่าใช้จ่ายแก๊สในการหุงต้ม ซึ่งทั้งหมดที่ได้คุยมา ก็เป็นส่วนหนึ่งในการลดต้นทุนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
  2. ได้มีการเรียนรู้พูดคุยในเรื่องของการใช้ทุนในชุมชนมาลดค่าใช่จ่าย คือการทำน้ำยาเอนกประสงค์น้ำยาล้างจาน เตาแก๊สชีวมวล เตาเผาถ่านการทำปุ๋ยหมัก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชนตัวแทนครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตาชีวมวล ลดรายจ่าย11 กันยายน 2559
11
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็ฯการเรียนรู้เกี่ยวกับเตาชีวมวล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับเตาชีวมวล ซึ่งวันนี้นายสมศักดิ์ปิติสุขผู้มีความรู้และได้ศึกษา และทำเตาชีวมวลมาร่วมกันแลกเปลี่ยนรู้เกี่ยวกับเตาชีวมวล ซึ่งการทำเตาชีวมวล

1.วันนี้เป็นกิจกรรม การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเตาชีวมวล เป็นเตาที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ครัวเรือนได้นำวัสดุเหลือใช้ เช่นปิ๊บ ถังสี มาทำเตาชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เอง ได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื่อเพลิง มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับระบบผลิตแก๊สเชื่อเพลิงจากชิวมวลแบบ อากาศไหลขึ้น ซึ่งเป็นการเผาไหม้ในที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อนบางส่วนโดยความร้อน ทำให้เปลี่ยนเชื่อเพลิงเช้น ไม้ฟืน กลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง
อุปกรณ์ในการทำเตาชีวมวล

วิธีการทำ

  1. นำถังสี 6 นิ้ว มาเจาะรูรอบๆถังสี ทั้งด้านข้าง และด้านล่าง
  2. นำปิ๊บมาเจาะและเปิดฝาด้านบนนำ เจาะ ช่องลมปิ๊บด้านล่างให้เจาะเว้นฐานไว้
  3. นำถังสีที่เจาะรูแล้ว นำมาใส่ในถังปิ๊ป ยึดติดให้แน่น

โดยเวลาลาการใส่เชื้อเพลิงก็ให้ก่อไฟเหมือนเตาเผาทั่วไปซึ่งไฟที่ได้จากเตาชีวมวลนั้ เป็นไฟที่รอ้นดีสม่ำเสมอ
ซึ่งหลังจากสาธิตเสร็จก็ได้ร่วมกันทำอาหาร เพื่อเป็นการสาธิตให้เห็ฯถึงการใช้เตาชีวมวลซ฿งเมนูที่ทำคือแกงเลียงผักสดต้มไข่ไก่ซึ่งคนที่เข้าร่วมกิจกรรม ก็ได้ร่วมกันทำอาหารซึ่งจะได้เห็ฯถึงวิธีการใช้เตาชีวมวลไปด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วม 100 คน
  2. ได้รู้ถึงวิธีการทำเตาชีวมวล ซึ่งทำได้จากอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย คือ ปิ๊ป กับถังสี
  3. ได้มีการร่วมกันทำอาหาร ซึ่งใช้เตาชีวมวลในการประกอบอาหาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมชนประชาชนผู้สนใจ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตาชีวมวล ลดรายจ่าย7 กันยายน 2559
7
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำเตาแก๊สชีวมวล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเตาชีวมวล เป็นเตาที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ชุมชนได้นำวัสดุเหลือใช้ เช่น ปิ๊บ ท่อสูบน้ำเก่า(นำส่วนที่ดีมาใช้)มาทำเตาชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เอง ได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลที่มีต้นทุนถูกสามารถทำใช้เองได้ เพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื่อเพลิง มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับระบบผลิตแก๊สเชื่อเพลิงจากชิวมวลแบบ อากาศไหลขึ้น ซึ่งเป็นการเผาไหม้ในที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อนบางส่วนโดยความร้อน เหล่านี้จะไปเร่งให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องอื่นๆ ให้เปลี่ยนเชื่อเพลิงแข็งกลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง
หลักการทำงาน อากาศภายนอกส่วนแรก ไหลผ่านแผ่นปรับอากาศ และตะแกรงเข้าสู่ในส่วนของห้องเผาไหม้ ส่ วนที่ 1 ปฏิกิริยา ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซต์กับน้ำ

แก๊ส ที่อุณหภูมิสูงจะไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ส่วนที่ 2 จะเกิดปฏิกิริยากับคาร์บอนได้แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์(CO)แก๊สไฮโดรเจน(H2)และ แก๊สมีเธน(CH4)อากาศส่วนที่ไหลเข้าผสมกับแก๊สที่เกิดขึ้น และลุกไหม้เป็นเปลวไฟให้ความร้อนออกมา ส่วนประกอบและวิธีการทำ วิธีการทำ วิธีการทำ 1. นำถังสี 6 นิ้ว มาเจาะรูรอบๆถังสี ทั้งด้านข้าง และด้านล่าง 2. นำปิ๊บมาเจาะและเปิดฝาด้านบนนำ เจาะ ช่องลมปิ๊บด้านล่างให้เจาะเว้นฐานไว้
3. นำถังสีที่เจาะรูแล้ว นำมาใส่ในถังปิ๊ป ยึดติดให้แน่น หมายเหตุ ช่องลมของปิ๊บควรเจาะหลังจากที่อัดฉนวนภายในเสร็จแล้ว และอุดด้วยซีเมนต์ผสมทราย ถ้าหาปิ๊บแบบมีฝาได้ให้ตัดท่อทั้งสองขนาดสูงเท่าปากปิ๊บเลยครับแล้วใช้ฝาปิดบังคับไอร้อนเข้าห้องเผาไหม้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
  2. ได้เรียนรู้การทำเตาแก๊สชีวมวล ประโยขน์ของเตาชีวมวล
  • ประหยัด เพราะวัสดุอุปกรณ์ก็หาได้จากในชุมชน ซึ่งหาได้ง่ายในชุมชน
  • ไฟที่ได้ร้อนมากเทียบกับเตาแก๊สทั่วไป
  • ไม่ทำให้หม้อหรือภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มเป็นสีดำ
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานจากเตาแก๊ส
  • ช่วยลดมลภาวะในอากาศเพราะไม่มีควันและไม่มีกลิ่นรบกวน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมชนประชาชนผู้สนใจ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามความคืบหน้าของโครงการ3 กันยายน 2559
3
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม มาตรวจเอกสาร และติดตามความคืบหน้าของโครงการโดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินและการบันทึกในเว็บไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของใบเสร็จและให้ไปบันทึกข้อมูลในเวปไซต์ให้เรียบร้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน ครั้งที่ 326 สิงหาคม 2559
26
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน วันนี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับฐานการเรียนรู้ทั้งสอง คือการทำปุ๋ยหมัก และการเผ่าถ่าน 1.ฐานเรียนรู้การเผาถ่านโดยมีนายสมศักดิ์ปิติสุกมาพูดคุยเกี่ยวกับผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่าน ซึ่งก็ได้ลองผิดลองถูกกันมาเรื่อยจนมีความเข้าใจในการเผาถ่านซึ่งถ่านที่ได้ก็ออกมาสวยไม้ที่นำมาเผาถ่านก็ใช้ได้ทั้งไม้สด และไม้แห้งซึ่งเมื่อเราใส่ไม้ไปแแบไหน ก็ออกมาแบบนั้นไม่เป็นผงถ่านส่วนน้ำส้มควันไม้ทีัได้จากการเผาถ่านมีประโยชน์มากมาย ใช้ในครัวเรือน น้ำส้มควันไม้จัดได้ว่าเป็นน้ำส้มสารพัดประโยชน์ ที่เหมาะสมจะมีไว้ติดบ้านสามารถทดแทนการใช้สารเคมีได้ โดยถ้า - ความเข้มข้น 100% ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนและไฟลวก รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง
- ผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวกและมด
- ผสมน้ำ 50 เท่า ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่าง ๆ เช่น ตะขาม ตะเข็บ แมงป่อง กิ้งกือ
- ผสมน้ำ 100 เท่า ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงไม่ให้วางไข่ ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ครัว และบริเวณชื้นแฉะใช้ดับกลิ่นกรงสัตว์เลี้ยง ใช้หมักขยะสดและเศษอาหารเป็นปุ๋ยสำหรับไม้ประดับรอบบ้าน โดยต้องผสมน้ำอีก 5 เท่า หลังจากหมักแล้ว 1 เดือน
- ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้เพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นเพื่อเร่งการเจริญเติบโต

ประโยชน์ในการเกษตร ใช้ได้กับพืช ป้องกันกำจักศัตรูพืช / ช่วยติดดอกผลดก ช่วยเพิ่มผลผลิต ผลโตสีสดใส รสหวาน ลดโรคพืช เชื้อรา แผลเน่า ดินจะมีสุขภาพดี เอกสารน้ำส้มควันไม้ ขึ้น ฟื้นฟูดินเสื่อม ใช้ร่วมกับสารเคมีได้ เช่น ยาคุมฆ่าหญ้า ฮอร์โมน ยาฆ่าแมลง ฯลฯ สามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีลงครึ่ง หนึ่ง ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีช่วยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ฉีดระยะต้นเล็กและก่อนเก็บเกี่ยว ช่วยให้คุณภาพและรสสชาติดีขึ้น รวมทั้งชะลอการเหี่ยวเฉา

ฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักซึ่งนางไพฑูรหวานทองได้พูดคุยเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักซึ่งปุ๋ยหมักในศูนย์เรียนรู้นี้ก็คือ ปุ๋ยหมักที่เราได้ร่วมกันทำในครั้งที่ผ่านซึ่งตอนนี้ปุ่ยหมัก็ใกล้จะใช้ได้แล้วก็แค่มาพลิกกลับกลอง สัก 1-2ครั้งก็สามารถนำไปใช้ได้แล้วซึ่งตังดิฉันเอง ก็ใช้ปุ๋ยหมักอยู่ในการปลูกผัก ใส่ปาล์มซึ่งใส่แล้วทำให้ผักอออกมาสวยงามใบสวยที่ทำคัญคือทำให้ดินดีรวยซุยอยากให้ทุกๆคนได้นำปุ๋ยไปใช้ ทีสำคัญ คือปลอดสารพิาไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม60คน
  2. ได้เรียนรู้เกี่ยวถ่านไม้และประโชน์ของน้ำส้มควันสามารถนำไปใช้ได้โดยผสมในอัตรส่วนที่ถูกต้อง สามรถใช้ไล่แมลงได้ ลดโรคพืช เชื้อรา แผลเน่า ดินจะมีสุขภาพดีใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนและไฟลวก รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง
  3. ได้รู้จากประโยชน์จากการได้ใช้จริง จากพี่ไพฑูรหวานทองซึ่งจากการก็ทำให้ดินดีรวยซุยอยากให้ทุกๆคนได้นำปุ๋ยไปใช้ ทีสำคัญ คือปลอดสารพิาไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน  ตัวแทนครัวเรือน ประชาชนที่สนใจ 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 1020 สิงหาคม 2559
20
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรมและติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนบ้านทองพูนครั้งที 10 โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1. เริ่มโดยนางพิไลวรรณพรายชุมประธานโครงการ เปิดกิจกรรมได้กล่าวต้อนรับ และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในที่ได้ทำที่ผ่านมา คือทุนชุมชนลดรายจ่าย และสร้างศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน และได้ชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือ ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน ครั้งที่ 3การทำเตาชีวมวล ลดรายจ่าย ทุนชุมชนลดรายจ่าย และในวันที่ 3-4 กันยายน 2559 จะมีการติดตามความคืบหน้าของการทำโครงการ ที่ ม.วลัยลักษรื ร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส. โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบ ให้เตรียมเอกสารต่างให้เรียบร้อย และลงบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมลงภาพกิจกรรมให้เรียบร้อยด้วย

วาระที่1.ผู้ใหญ่บ้านแจ้งให้ทราบในที่ประชุม

1) ปัญหาในเรื่องของยาเสพติดในหมู่บ้าน ขอให้ผู้ปกครองช่วยกันช่วยดู๔แลลูกหลานของท่านด้วยอย่าให้เกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดหรือน้พกระท่อมถ้าลูกหลานท่านใดมีปัญหาให้แจ้งกับผู้นำในหมู่บ้านหรือเจ้าหน้าที่ได้
2) การปรับปรุงขึ้นทะเบียนเกษตร ปี 59 ทั้งรายเก่าและรายใหม่เกษตรที่ปลูกข้าวตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.ขึ้นไป ให้ไปลงทะเบียนได้ เกษตรกรที่ปลูกปาล์มปลุกมะพร้าวพวกไม้ยืนต้น ทั้งรายเก่าและรายใหม่ ให้ไปขึ้นทะเบียนได้เพื่อปรับปรุงข้อมูลใหม่
3) เรื่องประกันปลูกข้าวกับ ธกส. ให้ไร่ละ 40 บาทเช่นว่าภัยน้ำท่วภัยแล้งฝนิ้งช่วง ถ้าเป็นลูกค้าธกส.ไม่ต้องจ่ายถ้าไม่เป็นให้จ่าย .
4) ขอขอบคุณพี่น้องทุกคนที่ได้ไปร่วมลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ไปใช้สิทธิ์290 คน จากผู้ที่มีสิทธฺ์ทั้งหมด567คน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

้่1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน 2. ได้ชี้แจงกิจกรรมที่ผ่านมาคือ ทุนชุมชนลดรายจ่าย และสร้างศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน 3. กิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน ครั้งที่ 3การทำเตาชีวมวล ลดรายจ่าย ทุนชุมชนลดรายจ่าย และในวันที่ 3-4 กันยายน 2559 จะมีการติดตามความคืบหน้าของการทำโครงการ ที่ ม.วลัยลักษรื ร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส. โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบ ให้เตรียมเอกสารต่างให้เรียบร้อย และลงบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมลงภาพกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน ครั้งที่ 218 สิงหาคม 2559
18
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน ในเรื่องของการเผ่าถ่านด้วยเต่าเผ่าถ่านและน้ำส้มควันไม้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน ในเรื่องของการเผ่าถ่านด้วยเต่าเผ่าถ่านและน้ำส้มควันไม้โดยจะมาเรียนรู้ในเรื่องการการเผ่าถ่านด้วยเต่าเผาถ่าน เริ่มกิจกรรมโดย โดยมีกิจกรรมดังนี้ นางพิไลวรรณ พรายชุมประธานโครงการได้ เชิญ นายสมศักดิ์ปิติสุกซึ่งเป็นที่ได้ศึกษาและทำจริงในเรื่องของการทำเตาเผาถ่านโดยนายสมศักดิ์ปิติสุก ได้เล่าให้ฟังว่า ได้ศึกษาการทำด้วยตนเองโดยการดูในอินเตอร์เน็๖และไปดูจากที่แื่นที่เค้าได้ทำมาก่อนและได้มาเริ่มทำเอง และผลิตเองโดยไปหาซื้อถัง เองซึี่งตนเองก็เป็นช่างเชื้อมเหล็กอยู่ซึ่งก็ไม่ยากเกินไปและก็ได้ลองผิดลองถูก และนำไปเผาจริง ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจมากถ่านออกมาสวย

ซึ่งขั้นตอนในการเผาถ่าน

ช่วงที่ 1 เริ่มด้วยการ ไล่ความชื้น หรือคายความร้อน ซึ่ง เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิง คือ ไม้เพื่อ ให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อเป็นการไล่อากาศเย็นและ ความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นกลิ่นของกรดที่อยู่ในเนื้อไม้และค่อยใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีขาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น และเมืออุณภูมิสูงขึ้น ควันจะมีกลิ่นเหม็นฉุน

ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่านเมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทาไม้ที่อยู่ในเตา จะคายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อน เชื้อเพลิงหน้าเตาจนหยุดการป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ หลังจากการหยุดการป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตาหรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุดและยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุดเนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมาจากนั้นควันก็เปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน

ช่วงที่ 3 ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดหน้าเตา ประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อควันสีน้ำเงิน เป็นเสีฟ้า แสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด จากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทน เมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิดหน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่ว และรอยต่อ จากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้งหมด ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าไปได้

ช่วงที่ 4 ช่วงทำการให้ถ่านในเตาเย็นลงเกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตา เพื่อระบายความร้อนในเตา จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืนหรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ถ่านดับสนิท แล้วจึงเริ่มการเปิดเตาเพื่อนำถ่านออกจากเตา และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม60 คน
  2. ได้เรียนรู้การเผาถ่านซึ่งเตาเผาถ่านที่ได้ก็ผิตขึ้เนเองจากคนในชุใชนคือ นายสมศักดิ์ปิติสุก
  3. ได้ถ่านจากการเผาที่สวย ไม่เป็นผง
  4. ได้น้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน  ประชาชนผู้สนใจ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 210 สิงหาคม 2559
10
สิงหาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมและสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ทำไปแล้ว
วันนี้พี่เลี้ยงได้มานั่งพูดคุย เพื่อติดตามผลการดำเนินงานพบว่าว 1.การทำปุ๋ยหมัก มีคนมาร่วมทำ 50 คน ได้เรียนรู้ ได้เห็นความสำคัญ ได้ผล คือ ลดรายจ่าย พาปลูกผัก โตเร็ว ลดค่าใช้จ่ายมีการทำเป็นสูนย์เรียนรู้ เห็นผลชัดเจนการยอมรับเพิ่มขึ้นและเข้ามาร่วมกิจกรรม
ทำเกิดประโยชน์ ปลูกผัก เพาะผัก ลดค่าใช้จ่ายผักใบเขียว ปลอดสารพิษ ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณครึ่งหนึ่ง ตอนนี้ใส่ปุ่ยนี้ ไม่ต้องซื้อปุ่ยลดได้ถึง ร้อยละ แปดสิบ
2.การทำน้ำหมัก ที่ทำมาใช้ คือ ตะลิงปิง ทำเป็นน้ำยาล้างจาน
ตอนนี้ที่วัด เอาปุ๋ยมาใช้ปลูกสมุนไพร โดยใช้ทั้งปุยและน้ำหมักทำให้การขยายพันธสมุนไพร ได้เร็วขึ้น และประชาชนสนใจ มากขึ้นตอนนี้สามารถเอาสมุนไพรมาทำเป็นเครื่องยาได้แล้ว 3.เตาเผาถ่านเป็นการนำเอาไม้ที่เหลือในชุมชน เศษไม้ มาเผา เป็นการลดใช้เชื้อเพลิง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อแก๊สเดิมแก้ส 2 เดือนต่อถังตอนนี้เปลี่ยนแกส 4 เดือนก้นหม้อไม่ดำ เพราะถ่านไม้เป็นถ่านที่เผาไหม้สมบูรณ์ขัดหม้อได้ง่าย คุณภาพถ่านดีมาก ให้ความร้อนนาน ความร้อนสูงตอนนี้นำมาย่างปลา ย่างอาหาร ไม่ต้องซื้อถ่านคนข้างบ้าน ก็ได้ผลพลอยได้ ไม่ต้องซื้อถ่าน เป็นการแจกจ่ายกันในชุมชน ทุกวันนี้ คนสามารถขอถ่านไปใช้ที่บ้านได้ที่สำคัญ ถ่านทุกก้อนที่เผาได้ สามารถนำมาใช้การได้ ไม่เหมือนกับถ่านแบบเดิมๆทำอาหารจุดถ่านเพียงครั้งเดียว ก็ทำอาหารได้เสร็จเลย ไม่ต้องเติม
4.สิ่งที่ทุกครัวเรือน ในบ้านทองพูนคือ การปลูกผักการดินหรือปุ๋ยทิ่ผลิตการยอมรับ ร้อยละ แปดสิบตอนนี้ประชาชนให้การยอมรับมาก เพราะทุกครั้งที่มีการประชุม ก็จะมีการกวนน้ำยาอเนกประสงค์ให้ไปใช้บ้าน
5.สิ่งที่ได้คือ มีการเรียนรู้ 6.เกิดฐานเรียนรู้คือ การทำปุ๋ยหมักและการทำเตาน้ำส้มควันไม้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเปลี่ยนในตัวคน 1.มีการสอนแนะในการทำงานร่วมกันและเรียนรู้ร่วมกัน
2.เรียนรู้การทำน้ำหมัก เตาเผาถ่าน 3.ประหยัดรายจ่ายครัวเรือน
4.มีการเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 5.แต่ละครัวเรือนมีการทำนา ทำสวนสวนแบบผสมผสาน

การเปลี่ยนแปลงชุมชน 1.มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลาง 2.คนเปลี่ยนวิธีคิด มาทำบุญแล้ว มาเรียนรู้กิจกรรม 3.สร้างศรัทธาให้เกิดในกลุ่ม โดยมีพระเป็นแกนนำหลัก 4.คนเข้ามาร่วมพัฒนามากขึ้น

บทสรุป ที่ได้รับ
1.การทำงานต้องให้ตรงกับความต้องการของชุมชน
2.คนในชุมชน ไม่ค่อยสนใจ เมื่อทีมงาน ทดลองได้ผลจริง ก็มีการสนใจเพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน และพี่เลี้ยงรวม 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การบันทึกกิจกรรมการดำเนินงานยังไม่ครอบคลุม ให้เพิ่มความครอบคลุม และการจัดทำหลักฐานทางการเขียน ต้องเขียนให้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้

ทุนชุมชนลดรายจ่าย ครั้งที่ 230 กรกฎาคม 2559
30
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแบบแห้ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมทุนชุมชนลดรายได้ โดยจะเป็นการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแบบแห้ง โดยมาเรียนรู้วีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบใส่กระสอบ ซึ่งเป็นการทำที่ง่าย ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการหมักทิ้งไว้ โดยแต่ละคนก็ได้นำสูตรที่ตนเองเรียนรู้มานั่งพูดคุย แลกกเปลี่ยนกัน ซึ่งอุปกรณ์และวัสดุ ก็หาได้ง่ายจากในชุมชนโดยก็จะยกตัวอย่างสูตร
1. ขี้วัว จำนวน 20 กระสอบ
2. ฟางข้าว จำนวน20 กระสอบ
3. แกลบ จำนวน 20 กระสอบ 4. พด.1 จำนวน 1 ซอง 5. น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 1 ขวด 6. กระสอบสำหรับใส่ปุ๋ยหมัก
7. จอบ มีด ถังน้ำ

โดยวิธีการการทำ

  1. จัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้พื้นที่ข้างๆบ้าน หรือพื้นที่รอบบริเวณบ้าน
  2. เตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำฟางข้าวมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก เพื่อจะได้ย่อยสลายเร็วขึ้น
  3. นำฟางข้าว ขี้วัว แกลบ มาผสมรวมกัน โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากัน
  4. นำ พด.1ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ น้ำหมักชีวภาพ 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน
  5. เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้มารดในกองปุ๋ยให้ทั่วคลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้
  6. เมื่อผสมปุ๋ยเสร็จ ก็นำกระสอบมาใส่ปุ๋ยโดยใส่ประมาณ2 ส่วน 4 ของกระสอบ เพื่อเหลือพื้นที่ไว้ในการที่จะพลิกกระสอบและนำเชือกมารัดปากกระสอบปุ๋ยไว้ 5.นำกระสอบปุ๋ยที่ใส่ปุ๋ยไว้เสร็จแล้วมาตั้งซ้อนกัน สลับหัว นำกระสอบที่เย็บไว้มาปิดไว้ เพื่อป้องกันแสงแดดและคอยพลิกปุ๋ย ทุกๆ 2-3 วัน ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็สามารถนำปุ๋ยมาใช้ได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วม 100คน
  2. ได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแบบแห้ง โดยการหมักปุ๋ยใส่ในกระสอบ ซึ่งในการเรียนรู้ในวันนี้ก็เป็นการทำปุ๋ยหมักแบบง่ายเพื่อสะดวกในการขนย้ายและไม่ต้องเสียเวลาในการพลิกปุ๋ย สามารถทำได้เองที่บ้าน บ้านไหนที่ไม่มีพื้นที่ในการกองปุ๋ยหมักก็สามารถใช้การทำแบบนี้ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ตัวแทนครัวเรือน ผู้นำชุมชน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 923 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุม ติดตามและวางแผนการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 9 เริ่มด้วยนางพิไลวรรณ พรายชุม ประธานโครงการ ชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมา ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูนทุนชุมชนลดรายจ่าย และชี้แจงกิจกรรมอื่นๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้่าร่วมกิจกรรม30คน
  2. ผลการประชุม ดังนี้
  • ให้เฝ้าระวังโรคระบาดในช่วงนี้คือโรคมือเท้าปาก ขอความร่วมมือในการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรค มือ เท้า ปากถ้าพบเด็กที่สงสัยให้หยุดพักการเรียนนอนพักอยู่ที่บ้านงดคลุกคลีกับคนอื่นรับประทานอาหารอ่อนๆพร้อมสังเกตอาการระวังเกิดโรคแทรกซ้อนได้แก่ไข้สูงไม่ลดลงเด็กซึมลงอาเจียนบ่อยหายใจหอบ และแขนขาอ่อนแรงให้รีบนำส่งรพ.ทันที
  • ธกส.ประชาสัมพันธ์ให้ขึ้นทะเบียนเกตรกรปี 2559-2560เพื่อรับเงินไร่ละ 1000 บาทไม่เกิน 10 ไร่
  • ให้ลงทะเบียนคนจนวันที่ 15 ก.ค.-15 ส.ค.2559 ที่ ธนาคารธกส.ออมสินโดยมีอายุมากกว่า18ปีมีรายได้ต่ำกว่า 100บาทต่อปีให้สำรวจทะเบียนทรัพย์สินและหนี้สินแล้วให้ไปขึ้นทะเบียนเพื่อรัฐจะได้ช่วยเหลือ
  • วันที่ 7 สิงหาคม2559 การสนันบสนุนการออกเสียงประชามติฝากประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่มีสิทธิ ไปใช้สิทธิด้วย
  • ช่วงนี้มีโรคที่เกิดจากน้ำและอาหารที่เป็นสื่อเราต้องไปดู ในเรื่องของความสะอาดหรือสุขลักษณะ กินร้อนช้อนกลางล้างมือ

กิจกรรมต่อไปคือทุนชุมชนลดรายจ่าย เตาชีวมวลลดรายจ่าย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทุนชุมชนลดรายจ่าย ครั้งที่ 118 กรกฎาคม 2559
18
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำทุนในชุมชนมาลดรายจ่าย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ทุนชุมชน ลดรายจ่ายซึ่งในวันนี้ก็เป็นกิจกรรมที่จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของถ่านไม้ ผลผลิตถ่านไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายที่หลายท่านเข้าใจกันเพียงแต่นำไปใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่นซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตถ่านไม้อย่างล้ำหน้าจะสามารถผลิตถ่านขาวเพื่อใช้ถ่านขาวในเชิงเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ เช่น ใช้ถ่านขาวใส่ลงในกาต้มน้ำร้อนเพื่อทำน้ำแร่ เพราะถ่านชนิดนี้จะละลายแร่ธาตุต่าง ๆ ออกมาเพิ่มคุณภาพและรสชาติของน้ำร้อน ใช้ชงกาแฟหรือจะใช้ผสมเหล้าวิสกี้ก็จะได้รสชาติที่นุ่มละมุน นี่เป็นตัวอย่างการใช้ถ่านแบบพิเศษในต่างประเทศ ในบ้านเราผลผลิตถ่านส่วนใหญ่จะเป็นถ่านดำทีผลิตภายใต้อุณหภูมิต่ำซึ่งไม่เหมาะจะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ปิ้ง – ย่างอาหารแต่ถ่านดำได้เปรียบกว่าถ่านบริสุทธิ์ตรงที่ผลิตได้จำนวนมากกว่า ซึ่งเหมาะแก่การนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงอื่น ๆ ที่ไม่เป็นการประกอบอาหารโดยตรง เช่นใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงถ่านหินชนิดต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีค่ามลพิษที่สูงมาก แต่อย่างไรก็ดีถ่านดำที่ผลิตด้วยอุณหภูมิสูงที่เราเรียกว่าถ่านบริสุทธิ์นั้นหากมีปริมาณผลผลิตที่มากพอและคงที่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมได้ซึ่งได้ศึกษามาตามรายงาน ของชมรมสวนป่าผลิตภัณฑ์และพลังงานจากไม้ ดังนี้

  1. การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ถ่านบริสุทธิ์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีต่าง ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอีกหลากหลายอาทิใช้ในระบบกรองและบำบัดอุตสาหกรรมน้ำดื่ม ระบบผลิตน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสียเป็นต้นนอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์จากคาร์บอนในอุตสาหกรรมโลหะหรือใช้ขี้เถ้าเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ ให้แข็งตัวช้า และมีความแข็งแกร่งขึ้น ฯลฯ
  2. การใช้ประโยชน์ในครัวเรือน คุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นและความชื้นของถ่าน แต่ในต่างประเทศอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับจากถ่านเพื่อใช้ประโยชน์ในบ้านเรือนได้รับความนิยมมาก คนญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างของผู้ที่มองเห็นคุณประโยชน์ของถ่านอย่างชัดเจน การใช้ถ่านเพื่อทำหน้าที่ลดกลิ่นในห้องปรับอากาศ มีประสิทธิภาพที่ดีมาก ในห้องแอร์ ที่ทำงานหรือในรถ โดยเฉพาะที่ที่มีผู้สูบบุหรี่ควรนำถ่านไม้ไปวางดักไว้ที่ช่องดูดอากาศกลับของเครื่องดูดอากาศรูพรุนและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในถ่านไม้จะดูดซับกลิ่นและเชื้อโรคต่าง ๆ เอาไว้ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อย่างดีหรือจะใช้ถ่านเพื่อการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือนก่อนปล่อยสู่ท่อระบายสาธารณะก็ยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
  3. การใช้ประโยชน์ในการเกษตร ในภาคการผลิตเชิงเกษตรการนำถ่านไม้มาใช้ประโยชน์นับว่ามีคุณค่าที่น่าสนใจไม่น้อยเนื่องว่าถ่านมีคุณสมบัติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อพืชและสัตว์จึงสามารถใช้ทดแทนสารเคมรราคาแพงได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กันทีเดียว
  • ใช้เป็นสารปรับปรุงดินถ่านไม้จะมีรูพรุนมากมาย เมื่อใส่ถ่านป่นลงในดินจะช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุยอุ้มน้ำได้ดีขึ้นส่งผลให้รากพืชขยายตัวอย่างรวดเร็วช่วยลดการใช้ปุ๋ยเพราะสมบัติต่าง ๆ ของจุลธาตุที่มีอยู่หลายชนิดในแท่งถ่านจะเป็นประโยชน์ให้แก่พืชที่ปลูก
  • ถ่านไม้ที่นำมาใช้ปรับปรุงดินควรเป็นเศษถ่านขนาดไม่เกิน 5 มม. โดยอาจจะเป็นถ่านแกลบหรือถ่านชานอ้อยแต่ควรระวังขี้เถ้าซึงมีฤทธิ์เป็นด่างสูงเพราะพืชก็ไม่ชอบดินที่มีค่าเป็นด่างสูงควรรักษาค่าเป็นกรดด่างของดินไว้ที่pH 6.0 – 6.8
  • ช่วยรักษาผลผลิตให้สดนานขึ้นผักและผลไม้จะมีกลไกผลิตก๊าชเอธิลีนเพื่อทำให้ตัวเองสุกเราสามารถรักษาผลผลิตให้สดนานขึ้นโดยใส่ผงถ่านลงในกล่องบรรจุเพื่อดูดซับก๊าชดังกล่าวไว้ไม่ให้ออกฤทธิ์ผักผลไม้จะยังคงสดอยู่ได้นานถึง17วันโดยไม่เสียหายหรือสุกงอมปัจจุบันได้มีการนำผงถ่านกัมมันต์ผสมลงในกระดาษที่ใช้ทำกล่องบรรจุผลผลิตเพื่อการนี้แล้ว
  • ถ่านแกลบหรือถ่านชานอ้อยใช้ทดแทนแกลบรองพื้นคอกสัตว์ซึ่งราคาถูกและหาง่ายพอ ๆ กัน เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนและก๊าซต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเครียดในสัตว์ส่งผลให้สุขภาพและผลผลิตจากปศุสัตว์มีคุณภาพดีขึ้น
  • ใช้ผสมอาหารสัตว์นำผงถ่านผสมในอาหารสัตว์ด้วยอัตราส่วนเพียง 1 % ถ่านจะช่วยดูดซับก๊าซในกระเพาะและลำไส้ช่วยลดอาการท้องอืดเนื่งอจากปริมาณน้ำในอาหารสูงเกินได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
  • ปรับปรุงคุณภาพแหล่งน้ำนำถ่านไม้ใส่กระสอบ (ในปริมาณที่สอดคล้องกับประมาณแหล่งน้ำ) ไว้ที่ก้นบ่อ และจัดให้มีการไหลเวียนน้ำบริเวณกระสอบถ่านนั้น เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ในน้ำจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ทีอยู่ในรูพรุนของถ่าน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำในบ่อเลี้ยงปลาหรือกุ้งได้ เช่นกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100คน
  2. ได้เรียนการทำน้ำยาเอนกประสงค์ โดยการนำมะกรูด ซึ่งเป็นสมุนไพร มาทำน้ำยาเอนกประสงค์
  3. มีน้ำยาเอนกประสงค์
  4. จากข้อมูลที่ได้พูดคุยมาซึ่งได้ไปศึกษาหาความรู้ทำให้เราได้เห็นถึงประโยชน์อันมากมายของถ่านไม้แท่งดำดำที่เคยดูเหมือนจะมีค่าแค่เพียงเป็นฟืนหุงข้าวของคนโบราณ แต่หากเรารู้จักการนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ และเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของมัน ถ่านไม้ที่ได้จากวัตถุดิบไม้ฟืนที่มีอยู่ตามในชุมชนก็จะเป็นประโยชน์ต่อรตัวเราต่อครัวรือนและลดต้นทุนค่าใช่จ่ายในครัวเอนได้ และหลังจากได้เรียนรู้ถึงประโยชน์ เสร็จก็ได้ร่วมกันนำถ่านที่เผาแล้ว บรรจุใส่ในกระสอบไว้เพื่อสะดวกในการใช้หรือสามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ตัวแทนครัวเรือน คณะทำงาน  ประชาชนผู้สนใจ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน ครั้งที่ 117 กรกฎาคม 2559
17
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน โดยนัดมาทำกิจกรรมที่วัดทองพูนกัน ในเวลา 09.00 น.ซึ่งเป็นกิจกรรมจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาที่วัดทองพูน เริ่มกิจกรรมโดย โดยมีกิจกรรมดังนี้ นางพิไลวรรณ พรายชุม ประธานโครงการได้พูดคุยถึงการได้ทำกิจกรรมต่างๆไปแล้วการสำรวจข้อมูลในชุมขนการได้ทำปุ๋ยหมักการทำสังฆทานดินร่วมกันซึ่งทุกคนได้มาช่วยกันในการทำเมื่อมีการเรียนรู้กันแล้วภายในกลุ่มบ้าน ซึ่งนื่องจากแต่ละกลุ่มบ้านห่างไกลกัน แต่จุดศูนย์รวมที่ทุกครัวเรือนต้องมาเจอกันคือ วัดทองพูนดังนั้น จึงนำกิจกรรมต่างๆ มารวบรวมไว้ที่วัดทองพูน ซึ่งทางวัดก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีโดนมีพระเกียรติศักดิ์สายพือรองเจ้าอาวาสวัดทองพูนให้การสนันสนุนเป็นอย่างดีทั้งในเรื่องการสนับสนุนเกี่ยวกับสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆซึ่งในวันนี้ก็ได้มาร่วมกันจัดทำศูนย์การเรียนรู้ในเรื่องของการทำปุ๋ยหมักซึ่งที่วัด ก็ได้มีโีรงปุ๋ยหมัก ซึ่งคนในชุมชน ก็ได้มาช่วยกันสร้างโรงปุ๋ยหมัก กันที่วัดทองพูนซึ่งจะใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ในเรื่องของการทำปุ๋ยหมักเป็นศูนย์รวมของชุมชน ซึ่งในสร้างโรงปุ๋ยหมักก็มีนายสมศักดิ์ปิติสุกเป็นแกนนำในการสร้างโรงปุ๋ยหมัก ซึ่งก็ได้เริ่มสร้างกันมาแล้ว ซึ่งในวันนี้ก็ให้ทุกคนมาช่วยกันทำปุ๋ยหมักกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 คน
  2. ได้มีศูนย์การเรียนรูัเรื่องการทำปุ๋ยหมัก ที่วัดทองพูน 1 แห่ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชน  คณะทำงาน ตัวแทนครัวเรือน และผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 88 มิถุนายน 2559
8
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสภาผู้นำบ้านทองพูน ติดตามประเมินผลโครงการและหารือวาระของชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีคนเข้าประชุม 30 คน เกิดข้อมูล ดังนี้

  1. แนวทางการดำเนินงานรณรงค์ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กโดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ (เมื่อ 2 เมษายน 2559) จัดให้มีการคัดกรองพัฒนาการเด็ก ช่วง 4 – 8 กรกฎาคม 59
  2. กิจกรรม 1. ตรวจพัฒนาการเด็ก2.ปั่นหาความเข้มข้นเลือด 3.นำสมุดปกขาวพัฒนาการ 4.สมุดสีชมพู นัดหมาย วันที่ 6- 7 กรกฎาคม เวลา 13.00 -16.00 น.ห้องประชุม รพสต.เขาพระบาท สำหรับเด็กที่ไม่ได้ในอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย จะนัด ช่วง 12 – 15 กรกฎาคม 59 วันนี้ให้ทุกคน ส่งรายชื่อเด็กในเขตรับผิดชอบให้ด้วย เพื่อจะได้ทำหนังสือเชิญต่อไป
  3. การรับร่างรัฐธรรมนูญ จะมีการรับร่างในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และจัดให้มีการจัดอบรม ครู ค หมู่บ้านละ 4 คน ในวันที่ 14 มิย.59 ที่ศาลาประชาคม
  4. การจัดงานกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ที่ศาลากลาง วันที่ 9 – 17 มิถุนายน 59
  5. ให้ค้นหาผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ของทุกพระองค์ (สำรวจและขึ้นทะเบียน) ให้ทุกหมู่บ้านช่วยกันสำรวจ
  6. สาเหตุการป่วยด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของอำเภอเชียรใหญ่
  • อันดับ 1 ปอดบวมพบ 137.45 ต่อแสนประชากร
  • อันดับ 2 อุจจาระร่วง พบ 114.53 ต่อแสนประชากร
  • อันดับ 3 สุกใส พบ 57.26 ต่อแสนประชากร
  • อันดับ 4 อาหารเป็นพิษ พบ 47.23 ต่อแสนประชากร
  • อันดับ 5 ไข้เลือดออก พบ 30.65 ต่อแสนประชากร

สถานการณ์ไข้เลือดออก ทั้งจังหวัด พบ 595 รายเชียรใหญ่ พบในเดือนพฤษภาคม จำนวน 16 ราย ฉี่หนูทั้งจังหวัด 71 ราย ตาย 3 รายเชียรใหญ่ พบป่วยสูงสุด มือเท้าปาก เดือนนี้ 4 ราย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำบ้านทองพูน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตาเผาถ่านชุมชนและน้ำส้มควันไม้28 พฤษภาคม 2559
28
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายด้วยทุนชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนการเผาถ่าน ช่วงที่ 1 ไล่ความชื้น หรือคายความร้อน

เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและ ความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็น กลิ่นของกรดประเภทเมธาทอลที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70 - 75 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น
อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ
200-250 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน

ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือ ปฏิกิริยาคลายความร้อน

เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน
ประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตา จะคายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อน เชื้อเพลิงหน้าเตาจนหยุดการป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ หลังจากการหยุดการป้อนเชื้อเพลิง หน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตาหรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด
และยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุด โดยช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิ
บริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 85-120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา
จากนั้นควันก็เปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน
ประมาณ 100-200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 400-450 องศาเซลเซียส

ช่วงที่ 3 ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์

ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดหน้าเตา
ประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อควันสีน้ำเงิน เป็นเสีฟ้า แสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด จากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทน เมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิดหน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่ว และรอยต่อ จากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้งหมด ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าไปได้

ช่วงที่ 4 ช่วงทำการให้ถ่านในเตาเย็นลง

เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตา เพื่อระบายความร้อนในเตา จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน
หรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ถ่านดับสนิท แล้วจึงเริ่มการเปิดเตาเพื่อนำถ่านออกจากเตา และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คนเข้าประชุม 55 คน
  2. เรียนรู้ขั้นตอนการเผาถ่าน
  3. ได้รู้ถึงผลของการเผาถ่านเพราะถ่านที่เผามาแล้วนั้น ไม่แตกเป็นผงยังคงรูปของวัสดุที่เผา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำ เด็กและเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตาเผาถ่านชุมชนและน้ำส้มควันไม้14 พฤษภาคม 2559
14
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายด้วยทุนชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

น้ำส้มควันไม้ ควันที่เกิดจากการเผาถ่านในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่านเมื่อทำให้เย็นลงจนควบแน่น แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ของเหลวที่ได้นี้เรียกว่า น้ำส้มควันไม้ มีกลิ่นไหม้ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ) น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป

ประโยชน์และการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์

    น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น     เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้

    อัตราส่วน 1: 20 (ผสมน้ำ 20 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน     อัตราส่วน 1: 50 (ผสมน้ำ 50 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้ รากพืชอาจได้รับอันตรายได้     อัตราส่วน 1: 100 (ผสมน้ำ 100 เท่า) ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่     อัตราส่วน 1: 200 (ผสมน้ำ 200 เท่า) พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆ ต้นพืชทุกๆ 7-15 วัน เพื่อขับไล่แมลงและ ป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต     อัตราส่วน 1: 500 (ผสมน้ำ 500 เท่า) พ่นผลอ่อน หลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้     อัตราส่วน 1: 1,000 (ผสมน้ำ 1,000 เท่า) เป็นสารจับใบ เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลาย ที่เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารเคมีทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งด้วย ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้ 1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน 2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ 3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้ 4. การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน 5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ 6. การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้ -  ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง -  น้ำส้มไม้เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช -  น้ำส้มไม้ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม     ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว  

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คนเข้าร่วมประชุม 55 คน
  2. ได้ทราบถึงประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ เช่น สามารถมใช่ฆ่าแมลงศัตรูพืชได้ ปรับปรุงดิน สารเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมชนตัวแทนครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 77 พฤษภาคม 2559
7
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสภาผู้นำบ้านทองพูน ติดตามผลโครงการ และหารือวาระชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าประชุม 30 คน มีผลประชุมดังนี้

  1. การควบคุมโรคไข้เลือดออก ช่วงเดือนเมษายน ทั้งเดือนเป็นเดือนรณรงค์ควบคุมไข้เลือดออก และกำหนดให้ อสม.ส่งรายงาน(ตอนนี้มีการรวบรวมรายงานแล้ว ไม่ครบทุกคน ใครยังไม่ส่งให้ส่งด้วย) รายงานสถานการณ์ โรคไข้เลือดออก
  2. ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับเขตภัยแล้ง ตำบลเขาพระบาท หมู่ที่ 1 – 9 ประกาศเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559
  3. มาตราการช่วยเหลือด้านการแพทย สำหรับผู้ประสบภาวะภัยแล้ง
  4. มะเร็งปากมดลูกให้ทุกหมู่บ้านสำรวจรายชื่อ หญิงอายุ 30–60 ปีเพื่อทำการรณรงค์มะเร็งปากมดลูก ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 ให้สำรวจโดยไปสอบถาม และส่งรายชื่อภายใน 30 พฤษภาคม 2559
  5. วันที่รณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก วันพุธที่ 15,21, 29 มิถุนายน จำนวน 150 คน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตาเผาถ่านชุมชนและน้ำส้มควันไม้23 เมษายน 2559
23
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายด้วยทุนชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การทำน้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจาก
การผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่านถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ
รอบปล่องดักควันความชื้นในควัน จะควบแน่นเป็นหยดน้ำ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ) น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป

วัสดุอุปกรณ์

อิฐ 50 ก้อน ถังน้ำมัน200ลิตร1ถัง ไม้ไผ่ยาว8เมตร พร้อมเจาะรู จำนวน1 ลำ ความกว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.15เมตร สูง 60 ซม.

ประโยชน์น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ
เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์ของการทำน้ำส้มควันไม้

-เพื่อเป็นการจัดการเศษไม้ให้เกิดประโยชน์ -ส่งเสริมให้ใช้ถ่านแทนก๊าซหุงต้ม -แนะนำส่งเสริมน้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลพลอยได้จากการตัดกิ่งไม้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่ม 50 คน
  2. ได้เรียนรู้ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้

ด้านครัวเรือน

  • น้ำส้มควันไม้ 100% ใช้รักษาแผลสด
  • น้ำส้มควันไม้ 20 เท่า ทำลายปลวกและมด
  • น้ำส้มควันไม้ 50 เท่า ป้องกับปลวก มด และแมลงต่างๆ
  • น้ำส้มควันไม้100 เท่า และ 200 เท่า และลดกลิ่นและแมลงผสมผงถ่านใช้ย่อยและป้องกันโรคท้องเสียปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัตว์ให้ใหญ่และแดงเพิ่มปริมาณวิตามิน

ด้านการเกษตร

  • ผสมน้ำ20 เท่า พ่นลงดินทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
  • ผสมน้ำ 50 เท่าฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช
  • ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้ขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา

ด้านอุตสาหกรรมครัวเรือน

  • ใช้ผลิตสารดับกลิ่น, สารปรับผิวนุ่ม, ทำให้เนื้อนิ่ม
  • ใช้ย้อมผ้า
  • ป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง
  • เป็นยารักษาโรคผิวหนังเชื้อไทฟอยด์
  • เสริมภูมิต้านทานฮอร์โมนทางเพศ
  • น้ำส้มควันไม้ที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วนำไปใช้กระบวนการอาหาร เช่น หยด รม เคลือบหรือเติมแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนรวก บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมจำนวน 55 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 69 เมษายน 2559
9
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสภาผู้นำบ้านทองพูน มี 2 เรื่อง คือ การควบคุมโรคไข้เลือกออก และ รายงานอุบัติเหตุของจังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงาน 30 คน
  2. ผลการประชุม ดังนี้

1.การควบคุมโรคไข้เลือดออก ช่วงเดือนเมษายน ทั้งเดือนเป็นเดือนรณรงค์ควบคุมไข้เลือดออก

  • สถานการณ์ ช่วงนี้ยุงเยอะ และกำหนดให้ทุกวันพฤหัส เป็นวันกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • ให้ทุกคนส่งรายงาน คนละ 4 ชุด ตั้งแต่วันที่ 1, 7, 12, 21 และ 28 เมษายน 59
  • ให้ทุกหมู่บ้าน ตัวแทน 1 คน รายงานสถานการณ์ ควบคุมโรคไข้เลือดออก
  • จะมีวิธีการควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างไร

2.รายงานอุบัติเหตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วง 7 วัน อันตรายรวม 702 คน ตาย 9 คน ภาพรวมทั้งประเทศ สรุป 7 วันสงกรานต์ ตายพุ่ง 442 เจ็บ 3,656 คนสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับเร็วเกินกำหนดร้อยละ 35.57 ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.14 เรียกตรวจยานพาหนะ 617,870 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี 95,483 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช และ จ.เชียงใหม่ 14 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ จ. เชียงใหม่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เพื่อติดตามการทำโครงการของพี่เลี้ยง26 มีนาคม 2559
26
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ อ.กำไลได้ให้ความรู้เรื่องการจัดทำโครงการ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธิก่อนเริ่มการประชุม ให้หลับตานึกถึงโครงการที่ได้ทำมาในระยะเวลา 6 เดือน ว่าจากที่ทำไปแล้ว มีใครที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง เกิดการรวมกลุ่มอย่างไรบ้าง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในชุมชนมีอะไรบ้าง แล้วระยะเวลาที่เหลือเราจะทำอะไรต่อไปบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษส่งพี่เลี้ยง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
  2. ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง
  3. ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างเพราะรายละเอียดกิจกรรมในเวปไซต์ และรูป ยังไม่เรียบร้อย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 58 มีนาคม 2559
8
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน และตัวแทนกลุ่มชุมชน 5 กลุ่ม คัดเลือกมา กลุ่มละ 2 คน รวมเป็น 10 คนพระ 1 รูป

ตัวแทนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ 3 คนและจิตอาสา 2 คน เข้าร่วมประชุมทุกเดือน โดยนำวาระการดำเนินงานตามโครงการมาพูดคุยในวันประชุม และประเด็นการพัฒนาหมู่บ้าน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
มาพูดคุยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้สถานที่คือวัดทองพูน
2.มีการจัดบันทึกวาระการประชุม และนำผลการประชุมมาพูดคุยให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
3.มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม
เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการทบทวน บทเรียนในการพัฒนา และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ปีนี้ทาง สสอ.จะลงประเมินการควบคุมโรคทุกตำบล ให้จัดทีมทำงานควบคุมโรคให้เข้มแข็ง

2.แห่ผ้าขึ้นธาตุ แต่งกายชุดขาวให้ทุกคนไปร่วมงานได้

3.สถานการณ์โรคไข้เลือดออกเชียรใหญ่อยู่ลำดับที่ 19 (ปัญหาที่พบคือยุงเยอะ)
ขอความกรุณาให้ทุกครัวเรือนใช้ยาฉีดพ่นกำจัดยุง และยากันยุง

4.ฉี่หนู เชียรใหญ่ อันดับ 2ล่าสุดเดือนมกราคม 59 พบ 1 ราย ที่ หมู่ 8 (ลงสอบสวนโรค)
5.ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบตำบลเขาพระบาท นายจิตติวัชน์ คีรีพันธ์ 6.หญิงที่คลอดบุตร และรับเงินอุดหนุน จำนวน 19 ราย
7.โรคที่พบการระบาดในขณะนี้คือ โรคซิกา มีผลต่อหญิงตั้งครรภ์ทำให้เด็กสมองพิการ 8.จากการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร พบสารกันรา ในน้ำผลไม้ดอง
9.มีเด็กในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ป่วยเป็นโรคบาดทะยัก มีอาการชัก เกร็ง
(ถ้าใครมีบาดแผล ลุยโคลนสกปรก หรือแช่น้ำ แล้วมีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว ควรมาปรึกษาเพื่อฉีดวัคซีนป้องกัน) 10.ให้ อสม.สำรวจประชาชน ที่ย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ เกิด ตายส่งทุกเดือน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูย พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การจัดทำรายงานเพื่อปิดงวด 113 กุมภาพันธ์ 2559
13
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการติดตามและพบพี่เลี้ยงพื้นที่และ สจรส.มอโดยตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปิดรายงานงวดที่ 1 ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้นำเอกสารให้ สจรส.มอ.ตรวจสอบเอกสาร และพี่เลี้ยงได้แนะนำมาให้ปรับปรุง ดังนี้ 1.ใบเสร็จค่าถ่ายเอกสารยังไม่ถูกต้องและไม่ครบบางกิจกรรม 2.ให้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็ปไซต์ทุกกิจกรรมรายละเอียดกิจกรรมยังไม่ครบถ้วน ปรับผลการดำเนินงานเพิ่มข้อมูลกิจกรรม และผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการยังไม่ครบถ้วน 3.ให้เริ่มจ่ายภาษี เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2559 4.ขาดใบเสร็จค่าเดินทางวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
  2. ได้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ในแต่ละกิจกรรม
  3. เรียนรู้การเขียนใบเสร็จที่ถูกต้อง
  4. ได้ปรับปรุงเอกสารให้ถูกต้อง
  5. ได้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็บไซต์ให้ถูกต้องการเขียนผลการดำเนินกิจกรรมปละผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรม
  6. ได้รับคำแนะนำการทำเอกสารการเงิน การปรับแก้ผลการรายงานกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. ใบเสร็จค่าถ่ายเอกสารและใบเสร็จ ยังไม่ถูกต้องและไม่ครบบางกิจกรรมให้ไปดำเนินการมาใหม่การเรียบร้อย
  2. ให้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็ปไซต์ทุกกิจกรรมรายละเอียดกิจกรรมยังไม่ครบถ้วน ปรับผลการดำเนินงานเพิ่มข้อมูลกิจกรรม และผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการยังไม่ครบถ้วนแก้ไขโดยการบันทึกกิจกรรมเพิ่มเติมในเว็ปไซต์
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อปิดรายงานงวดที่ 111 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ เข้าพบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารการดำเนินงานมาส่งให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบ พบว่า
1.การบันทึกรายงานกิจกรรม ย้งไม่ครอบคลุม ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไปแล้ว แต่ยังไม่ครบทุกฉบับ ให้ปรับปรุงต่อไป
2.รายงานการเงิน การตรวจสอบหลักฐานพบว่า ยังต้องปรับปรุง บางฉบับ และโครงการได้นำไปแก้ไขแล้ว เพื่อรอให้ สจรส.ตรวจสอบต่อไป ในวันที่ 13 - 14 กพ.59

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานกิจกรรม 2.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานการเงิน
3.โครงการได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาการแก้ไขข้อมูลออนไลน์ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ยังไม่ครบ และภาพกิจกรรมยังไม่ครบทุกกิจกรรม  ปก้ไขโดยการไปบันทึกรายละเอียดกิจกรรมให้ครบ และโหลดรูปให้ครบทุกกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปิดรายงานงวดร่วมกับ สจรส.มอ.11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจเอกสารและปิดงวด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามของพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อปิดงวดครั้ง ที่ 1 โดยเดินทางมาพบพี่เลี้ยง รพ.สต. เขาพระบาท
ได้เรียนรู้ในเรื่อง: -การตรวจหลักฐานการทำงายงาน -การลงบันทึกโปรแกรมออนไลน์ -การลงรูปภาพ -การลงบันทึกรายรับรายจ่าย การทำบัญชีการเงินและการเตรียมเอกสารเพื่อการตรวจของ สจรส.มอ.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีตัวแทนเข้าร่วม 2 คน เรียนรู้การปิดงวดงบประมาณ การจัดเรียงเอกสารสำคัญทางเงิน การจัดเก็บเอกสาร ผลลัพธ์ที่เกิดจริง: ได้รู้ถึงการปิดงวดงบประมาณการทำกิจกรรม ได้รู้ถึงความสำคัญทางการเงินได้รู้ถึงน้ำใจของเพื่อนร่วมงาน ในการช่วยเหลือกันในการทำเอกสาร และบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์เรียนรู้การทำบัญชทางการเงิน สิ่งที่เกินความคาดหมาย: ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสามัคคีในทีมงานคือได้ช่วยกันทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ให้เสร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

หัวหน้าโครงการและเจ้าหน้าที่การเงิน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.บิลยังไม่ครบ แก้ไขโดยไปขอทางร้านมาให้ครบ 2.กิจกรรมบางกิจกรรมยังไม่ครบถ้วนให้ไปบันทึกเพิ่มเติมแล้ว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 48 กุมภาพันธ์ 2559
8
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนบ้านทองพูนครั้งที 4 โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1. เริ่มโดยนางพิไลวรรณพรายชุมประธานโครงการ เปิดกิจกรรมได้กล่าวต้อนรับ และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในที่ได้ทำที่ผ่านมาคือ 1)การสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3ซึ่งครั้งที่ 3 นี้สำรวจได้75ครัวเรือน รวมการสำรวจ 2 ครั้ง160ครัวเรือนครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 160 ครัวเรือนตามที่อยู่จริงซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของการเก็บข้อมูลก็ผ่านไปด้วยดีและหลังจากนั้นก็จะนำเอาข้อมูลนี้นมาวิเคาระห์เพื่อคืนข้อมูลให้ชุมชนต่อไป
2)กิจกรรมติดตามการดำเนินโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงที่ สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพที่ 11 นครศรีธรรมราชซึ่งมีคณะทำงาน 2 คนเข้าร่วมคือนางพิไลวรรณ พรายชุมและนางจารีย์สมบูรณ์เข้าร่วมกิจกรรม เป็นการติดตามความก้าวหน้าของโครงในด้านเอกสารทางด้านการเงินและการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ รวมทั้งการจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายด้วย มีการแนะนำบันทึกกิจกรรม บันทึกผลกิจกรรมให้มีรายละเอียดที่ตรบถ้วนให้เห็นว่าทำกิจกรรมอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมได้ทพอะไรบ้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมเป็นอย่างไรบ้างเช่นทุกคนช่วยกันทำกิจกรรมดันอย่างเต็มที่ การผลลัพธ์ ผลกระทบ ให้เห็นถึงการเปลี่ยนที่เกิดจากการทำกิจกรรม และก็ให้ไปบันทึกกิจกรรมเข้าโปรแกรมออนไลน์ แต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพให้เรียบร้อยหลักด้านฐานการเงิน ได้ดำเนินการตรวจสอบหลักฐานทางการเงินยังมีบิลเกี่ยวกับถ่ายเอกสารที่ต้องแก้ไขตรวจสอบหลังฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60 หลักฐานประกอบการดำเนินงานลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุมหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน ให้บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรมออนไลน์ให้เรียบร้อยและโหลดรูปภาพให้ครบทุกกิจกรรมด้วย 3)กิจกรรมสังฆทานดิน ร่วมสร้างสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูน ก็ผ่านไปได้ด้วยดีสมาชิกก็ได้เข้าใจถึงสังฆทานดินและก็ได้มาร่วมทำปุ๋ยหมักไว้ คณะทำงานก็ทำกันด้วยความตั้งใจ
2.และกิจกรรมในครั้งต่อไปคือ กิจกรรมปิดรายงานงวดร่วมกับพี่เลี้ยง ที่ รพ.สต.เขาพระบาทเพื่อเตรียมเอกสารตรวจเอกสาร และตรวจกิจกรรมในเว็บไซต์เพื่อที่จะปิดงวดการเงินที่ 1 และไปพบพี่เลี้ยง จากสจรส.ม.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันที่ 13- 14 กุมภาพันธ์ 2559เพื่อให้ สจรส.มอ.ตรวจเอกสารเพ่อที่จะปิดงวดรายงานที่ 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 30 คน ดังนี้ 1.มีการติดตามและรายงานผลของกิจกรรมคือการได้รายงานผลการไปทำกิจกรรมพบพี่เลี้ยง และยังมีบางกิจกรรมที่ต้องแก้ไขเอกสารและต้องบันทึกเว็ปไซต็เพิ่มเติม 2.มีการวางแผนการทำกิจกรรมครั้งต่อไปคือ การเตรียมเอกสารที่จะปิดวงดที่ 1 3.มีการได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในหมู่คณะ ในเรื่องของการที่จะต้องเตรียมเอกสารใหม่ที่ต้องแก้ไขและการบันทึกกิจกรรมขึ้นเว็บไซต์เพิ่มเติม 4.จะได้มีการเตรียมข้อมูลและเอกสารในการปิดงวดรายงาน ง1

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ยังไม่เรียบร้อยแก้ไขโดยการบันทึกเพิ่มเติม และบิลถ่ายอกสารที่ไม่เรียบร้อยแก้ไขโดยการไปขอทางร้านมาใหม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สังฆทานดิน ร่วมสร้างสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูน5 กุมภาพันธ์ 2559
5
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำสังฆทานดินให้เป็นสวัสดิการของบ้านทองพูน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสังฆทานดินร่วมสร้างสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูนครั้งที่ 2ซึ่งวันนี้จะเป็นการมาทำปุ๋ยหมักกันโดยนัดกันที่วัดทองพูนเวลา 09.00 น. ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ 1.นางพิไลวรรณพรายชุมประธานโครงการได้กล่าวตอนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านซึ่งในวันนี้จะเป็นการมาทำปุ๋ยหมักกัน ซึ่งวัสดุบางส่วนทางวัดก็ได้จัดเตรียมไว้แล้วส่วนที่เหลือ ก็ได้มอบหมายให้สมาชิกได้นำมาเพื่อจะได้ทำปุ๋ยหมักด้วยหลักจากนั้นก็ได้แยกย้ายกันไปทำปุ๋ยหมักโดยท่านรองเจ้าอาวาสก็ได้เตรียมเศษใบไม้ที่ได้กวาดไว้ที่วัด ส่วนหนึ่งมาทำปุ๋ยหมักด้วย ทุกคนก็ได้เอาวัสดุคือ ผักตบชวาแกลบฟางข้าว ขี้วัว มาร่วมในการทำปุ๋ยหมักโดยการให้สมาชิกได้สับวัสดุให้เป็นชิ้นเล็กก่อนเพื่อจะได้ย่อยได้รวดเร็วและหลังจากนั้นก็นำมากองกันไว้ที่โรงปุ๋ยหมัก นำมากองให้เป็นชั้นๆ แล้วก็ราดด้วยกากน้ำตาล แล้วก็คลุกให้เข้ากัน แล้วใส่พด.1ผสมกับน้ำแล้วก็ไปรดให้ทั่วแล้วก็พลิกกลับกองอีกครั้งแล้วก็ดูว่าความชื่นได้หรือไม่เมื่อได้เราก็เกลี่ยปุ๋ยให้เสมอกันแล้วก็แบ่งหน้าที่ให้สมาชิกได้มาดูได้มากลับกองปุ๋ยหมักและมาคอยดูแลปุ๋ยหมัก 2.หลังจากทำปุ๋ยหมักเสร็จ พระเกียรติศักดิ์สายพือรองเจ้าอาวาสวัดทองพูนกะพูดคุยกับสมาชิดซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกคนให้ความสนใจในการลดการใช้สารเคมีลดการใช้ปุ๋ยเคมีหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพและถือเป็นสิ่งที่ดีเหมือนกันที่ได้มาทำกิจกรรมที่วัดเพราะวัดก็ถือว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนอยู่แล้วบวรบ้าน วัดโรงเรียนต้องมีส่วนร่วมกัน แถมยังเป็นการสร้างอานิสงค์เพื่อให้ได้สังฆทานดินเมื่อมีคนมาเช่าบูชาก็ได้นำเงินนั้นไปเป็นสวัสดิการในชุมชนเป็นค่าน้ำมันรถในการรับส่งผู้ป่วยถือว่าเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลยกล่าวคือทำแค่อย่างเดียวแต่ผลลัพธ์ที่กลับมาหลายอย่างยังไงก็ให้สมาชิกมีความตั้งใจในการทำดีต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า 1.สมาชิกจำนวน 100 คน ได้ร่วมมือร่วมใจกันทำปุ๋ยหมัก โดยใช้สถานที่ของวัดทองพูน 2.เกิดกลุ่มจิตอาสาในการทำงานเพื่อส่วนรวม 3.ทำให้คณะทำงานมีการยอมรับกันมากขึ้น คณะทำงานมีความสามัคคีกันมากขึ้นคือการได้ช้วยเหลือในการทำปุ๋ยหมักร่วมกัน 4.สมาชิกได้นำเอาวัสดุมาที่บ้านถือเป็นการทำบุญให้กับทางวัดด้วย 5.เกิดนวัตกรรม คือสังฆทานดิน เป็นการทำบุญและรายได้ให้กับทางวัด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สังฆทานดิน ร่วมสร้างสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูน2 กุมภาพันธ์ 2559
2
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำสังฆทานดินให้เป็นสวัสดิการของบ้านทองพูน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสังฆทานดินร่วมสร้างสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูนครั้งที่ 1ซึ่งวันนี้จะเป็นการมาพูดคุยและเตรียมอุปกรณ์กันเพื่อจะทำปุ๋ยหมัก
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ 1.นางพิไลวรรณพรายชุมประธานโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับสังฆทานดินว่ามันคืออะไร แล้วทำอย่างไรสืบเนื่องจากโครงการในปีที่ 1 นั้นได้มีกลุ่มปุ๋ยหมักจากการได้ทำโครงการนั้น และได้ทำการขยายเพิ่มโดยจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องปุ๋ยหมักที่วัดทองพูน :ซึ่งจะนำปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักในศูนย์การเรียนรู้นั้นที่วัดทองพูน มาบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่ายโดยให้ชื่อว่า สังฆทานดินคือให้แนวคิดสำหรับคนที่ชอบทำบุญโดยการทำบุญด้วยดินเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้เช่าบูชา แล้วนำไปใช้ปลูกพืชภายในวัดซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งก็จะเข้าไปยังร้านค้าชุมชนส่วนหนึ่งมอบให้วัดและอีกส่วนจัดเป็นสวัสดิการชุมชนด้วยการจัดทำสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูน เพราะเนื่องจากบ้านทองพูน ประชาชนให้ความสนใจต่อการไปวัด การเข้าร่วมพัฒนา และมีผู้สูงอายุบางคนในหมู่บ้านป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันฯ เมื่อบุตรทิ้งให้อยู่กับหลาน ย่อมเป็นภาระในการเดินทางไปรับบริการ ที่ รพ.สต.เขาพระบาท และทางวัดทองพูนมีรถยนต์ประจำวัดจึงได้มีการพูดคุยและท่านเจ้าอาวาสอนุญาตให้ใช้รถบริการรับส่งประชาชนในการทำกิจกรรมได้จึงได้คิดแนวทางการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนดังนี้ (1) จัดสวัสดิการรถรับส่งผู้ป่วยไปรับบริการตรวจรักษาเบาหวาน ที่ รพ.สต.เขาพระบาท ช่วงเวลา 07.00 น. และรับกลับเวลา 10.00 น. (2) จัดสวัสดิการรับผู้ป่วยสูงอายุไปทำกายภาพ ที่รพ.สต.เขาพระบาท วันพุธ เวลา 07.00 น. รับกลับเวลา 11.00 น. (3)จัดสวัสดิการรับส่งผู้ป่วยความดันโลหิตสูง วันพฤหัสบดี เวลา 07.00น. รับกลับเวลา 10.00 น. ส่วนสำหรับค่าน้ำมัน เป็นเงินที่ได้จากการบริจาคของประชาชนที่รับบริการตามศรัทธา และส่วนหนึ่งมาจากพระสงฆ์ในวัด ผอ.รพ.สต.เขาพระบาทและส่วนหนึ่งก็มาจากสังฆทานดินที่ได้จากผู้ศรัทธาได้เช่าได้มาเสียค่าน้ำมัน 2.นายสมศักดิ์ปิติสุกผู้รับผิดชอบโครงการได้เสนอความเห็นให้ร่วมกันเตรียมสถานที่ที่วัดทองพูนในการทำปุ๋ยหมักและเตรียมอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักในกิจกรรมต่อไป โดยวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักส่วนหนึ่งก็เอาสิ่งที่มีอยู่ในวัดและอีกส่วนหนึ่งก็ให้เตรียมมากจากบ้าน และหลังจากนั้นก็ได้ร่วมกันทำปุ๋ยหมักกันโดยให้คนที่นำวัสดุมาก็นำมากองรวมกัน และตนอื่นๆก็ช่วยกันสับผักตบชวาเพื่อให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อง่ายในการย่อยสลายที่รวดเร็ว และก็ได้นพผักตบชวาที่สับเสร็จแล้วนำมากอง รวมกับแกลบและฟางข้าว ขี้วัว ที่ได้เตรียมไว้ มารวมเป็นกองในการทำปุ๋ยหมักหลังจากนั้นก็นำมากองกันไว้ นำมากองให้เป็นชั้นๆ แล้วก็ราดด้วยกากน้ำตาล แล้วก็คลุกให้เข้ากัน แล้วใส่พด.1ผสมกับน้ำแล้วก็ไปรดให้ทั่วแล้วก็พลิกกลับกองอีกครั้งแล้วก็ดูว่าความชื่นได้หรือไม่เมื่อได้เราก็เกลี่ยปุ๋ยให้เสมอกันแล้วก็แบ่งหน้าที่ให้สมาชิกได้มาดูได้มากลับกองปุ๋ยหมักและมาคอยดูแลปุ๋ยหมักกัน 3.หลังจากทำปุ๋ยหมักเสร็จและก็ได้นัดหมายกิจกรรมครั้งต่อไป คือ วันที่ 5 ก.พ. 2559เพื่อมาทำปุ๋ยหมักกันครั้งที่ 2

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 100 คน ดังนี้

  1. ทำให้ทราบที่มาและวัตถุประสงค์ของสังฆทานดิน คือ การทำปุ๋ยหมักที่จะได้ให้คนที่ศรัทธาเช่า เพื่อจะได้นำเงินมาเป็นสวัสดิการให้กับชุมชน
  2. มีสวัสดิการสำหรับคนในชุมชน ในการให้เช่าสังฆทานดิน
  3. มีจิตอาสาในการทำงานเพื่อส่วนรวม
  4. ทำให้คณะทำงานมีการยอมรับกันมากขึ้นมีความสามัคคีกันมากขึ้น คือ การได้มาทำกิจกรรมร่วมกันการช่วยเหลือกันในการทำปุ๋ยหมัก
  5. คณะทำงานมีการช่วยเหลือกันในการเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์โดยการให้คนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกันหาวัสดุปอุปกรณ์ต่างๆมาร่วมในการทำปุ๋ยหมัก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามผลการดำเนินงานงวดที่ 130 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงโครงการนัดพื้นที่ เพื่อมาเรียนรู้การเขียนรายงานเอกสารและรายงานการปิดงวดที่ 1 ดังนี้
1.ติดตามการรายงานผลการดำเนินงานตามเอกสารและปฏิทินของโครงการ สำหรับโครงการ ได้ทำครบตามกิจกรรม แต่ยังขาดความสมบูรณ์ในการบันทึกข้อมูล 2.ติดตามตรวจสอบรายงานการเงิน พบว่า ยังมีหลายกิจกรรม ที่ยังเขียนใบเสร็จไม่ถุูกต้อง ให้ปรับแก้ไขใหม่ เช่น ไม่มีทะเบียนผู้เสียภาษีลายมือชื่อไม่ครบในกิจกรรม การขาดไปเพียง 1 - 2 คน ถือว่าไม่ครบ
3.การบันทึกภาพถ่ายยังไม่ได้บันทึก และเข้าใจว่าช่วงนี้ สัญญาณอินเตอร์เนต มีปัญหา โดยเฉพาะบริเวณช่องเขา พื้นที่ตั้งของชุมชน มีปัญหาอินเตอร์เนตจากมือถือ ได้แนะนำให้มาใช้บริการที่ รพสต.เขาพระบาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้ามาเรียนรู้การเขียนรายงานและการสรุปรายงานงวดที่ 1 2.ได้รับทราบปัญหาของโครงการ 3.โครงการได้ทำกิจกรรม มีความก้าวหน้าประมาณ ร้อยละ 60

ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจสอบความถูกต้องรายงานการเงิน มีความถูกต้องเพียงร้อยละ 60 ต้องปรับปรุงอีก ร้อยละ 40
2.ได้ตรวจสอบการเขียนรายงานบันทึกกิจกรรม พบว่า ยังเขียนไม่ละเอียด ให้ไปปรับปรุงเพิ่มเติม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน30 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อความเข้าใจและเรียนรู้ในการทำเอกสารในการปิดงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงและการทำรายงานเพื่อปิดงวดที่ 1 09.30น. ได้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตาม ผลงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน
1.มีการบันทึกกิจกรรม แบบบันทึกผลกิจกรรม สิ่งที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ ผลกระทบ รายงานกิจกรรม เพื่อบันทึกข้อมูลในเอกสารเรียบร้อย ให้พิมพ์เข้าโปรแกรมออนไลน์ แต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพให้เรียบร้อย 2.หลักฐานการเงิน -ดำเนินตรวจสอบหลักฐานทางการเงิน -ตรวจสอบยอดเงินโครงการฯ และบันทึกออนไลน์ -ตรวตสอบการเขียนเงินสด -ตรวจสอบหลังฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60 3.หลักฐานประกอบการดำเนินงาน -ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม -หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน 4.บันทึกช่วยจำ -บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรมออนไลน์ให้เรียบร้อย -หลักฐานการเงินต้องถูกต้อง ครบถ้วน -ปิดงวดส่งเอกสาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมโครงากร 2 คน ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจความพร้อมของเอกสารได้ เข้าใจในการสรุปปิดงวดโครงการคือการได้ตรวจเช็ค เงินในการจ่ายแต่ละกิจกรรมและเอกสารด้านการเงินของแต่ละกิจกรรม
3.ได้เข้าใจการลงบันทึกบัญชี ได้เข้าใจวิธีการบันทึกข้อมูลออนไลน์ 4.ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารด้านการเงิน และมีความเข้าใจในด้านการเงินมากขึ้น ในการเขียนบิลคือต้องเขียนรายละเอียดให้ครบตามกำหนด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และแกนนำ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บิลค่าถ่ายเอกสารยังไม่ถูกต้องแก้ไขโดยการไปขอมาใหม่ให้เรีบยร้อย และกิจกรรมยังบันทึกในเว็บไซต์ไม่เรียบร้อยทุกกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 320 มกราคม 2559
20
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลงสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 3ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกสำรวจข้อมูลในชุมชนในครั้งสุดท้ายโดยนัดพบชี้แจงและเตรียมความพร้อมก่อนลงสำรวจก่อนเวลา 09.00 น. ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ 1. เริ่มโดยนางพิไลวรรณพรายชุมประธานโครงการ กล่าวทักทายและชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในวันนี้คือ วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลชุม ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายในการสำรวจในการสำรวจครั้งที่ผ่านมาสำรวจได้85ครัวเรือนหลังจากนั้นก็ให้กำลังใจทีมงานทุกคนๆ ให้อดทนและ ขยันและหลังจากได้สำรวจข้อมูลมาเรียบร้อยแล้วนั้นก็จะได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและคืนข้อมูลให้กับชุมชนต่อไป 2.ชี้แจงให้สมาชิกได้แบ่งกลุ่มกันเหมือนเดิมแล้วก็ให้ไปเก็บข้อมูลในโซนที่ได้แบ่งกันให้ครบส่วนกลุ่มไหนที่เสร็จก่อนก็ให้ได้ไปช่วยกลุ่มอื่นด้วยเพื่อจะได้เสร็จให้พร้อมๆๆกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 30 คน ดังนี้

  1. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในการช่วยพัฒนาและช่วยเหลือชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่
  2. คณะทำงานมีความยินดีกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้เห็นความสำคัญของตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน
  3. ได้รู้จักคนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับคนในชุมมากขึ้นทำให้คนในชุมชนเห็นคณะทำงานมีความตั้งใจในการร่วมพัฒนนาชุมชน
  4. มีการทำงานเป็นทีมโดยการแบ่งกลุ่มในการสำรวจ เป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 คน
  5. ได้ใช้แบบสำรวจที่ได้จากการออกแบบของคนในชุมชนสำรวจข้อมูลในชุมชน
  6. มีข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลชุมชนเพื่อทำการวิเคราะห์และจะได้คืนข้อมูลให้ชุมชนต่อไป

จากการสำรวจข้อมูลวันนี้ คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆ ได้ทำการสำรวจครัวเรือน 75ครัวเรือน และทำการสรุปข้อมูลย่อยๆ ดังนี้

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 70เป็นชายร้อยละ30
  2. อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย 58
  3. สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ70
  4. ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 90
  5. รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 75
  6. รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 75
  7. ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 80
  8. รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ 79
  9. ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 75
  10. หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 62กู้เงินดอก ร้อยละ 25
  11. ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 75
  12. สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ 89
  13. สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 90 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 70กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 30 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 68 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ 65กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 65 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 75
  14. รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 80
  15. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ ศรัทธาร้อยละ100
  16. ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 72
  17. ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ 25
  18. สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 1
  19. ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 2.5
  20. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 98
  21. ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 20
  22. ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 95
  23. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพสต.เขาพระบาท ร้อยละ 90
  24. เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 85
  25. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 10
  26. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 20
  27. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ 6
  28. ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 60
  29. นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ30
  30. สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 65
  31. นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 85
  32. มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 75
  33. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 75
  34. มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 65
  35. การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ70
  36. การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 92
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 38 มกราคม 2559
8
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรมและติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนบ้านทองพูนครั้งที โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1. เริ่มโดยนางพิไลวรรณ พรายชุมประธานโครงการ เปิดกิจกรรมได้กล่าวต้อนรับ และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในที่ได้ทำที่ผ่านมาคือการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2 โดยสำรวจได้ 85 ครัวเรือนยังเหลืออีก 75 ครัวเรือนจากทั้งหมด 160 ครัวมรามีอยู่จริง กิจกรรมก็ผ่านไปได้ด้วยดีคณะทำงานก็ทำกันด้วยความตั้งใจ และมุ่งมั่นในการที่จะเก็บข้อมูลให้สมบูรณ์ 2.และกิจกรรมในครั้งต่อไปคือ สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของการเก็บข้อมูลและหลังจากนั้นก็จะได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปข้อมูลเพื่อจะไ้ดคืนข้อมูลให้กับชุมชนต่อไป กิจกรรมติดตามผลงานร่วมกับพี่เลี้ยงโดยจะไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามการทำโครงการการตรวบสอบเอกสารและการบันทึกข้อมูลลงในเว็บไซต์พเื่อที่จะเตรียมในการปิดงวดรายงานที่ 1 โดยจะให้คณะทำงาน 2 คน คือนางพิไลวรรณ พรายชุม และนางจารีย์ สมบูรณ์ร่วมในกิจกรรมที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่ 11 นครศรีธรรมราช กิจกรรมสังฆทานดิน ร่วมสร้างสวัสดิการกลุ่มบ้านทองพูนซึ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องให้แบ่งหน้าที่ดำเนินการด้วย โดยการนายสมศักดิ์ปิติสุกได้ช่วยประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้มาร่วมกิจกรรม และหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักโดยให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมนำวัสดุจากบ้านมาร่วมกิจกรรมในกิจกรรมการทำสังฆทานดินด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 30 คน ดังนี้ 1.มีการติดตามและรายงานผลของกิจกรรมโดย การชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมา คือการได้สำรวจข้อมูลไปแล้ว 85 ครัวเรือน 2.มีการวางแผนการทำกิจกรรมครั้งต่อไปคือ การได้ชี้แจงว่าจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง และได้มอบหมายหน้าที่ให้ในการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมพบพี่เลี้ยง และให้นายสมศักดิ์ ปิติสุกประชาสัมพันธ์กิจกรรมและหาวัสดุการทำปุ๋ยหมัก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่19 ธันวาคม 2558
19
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางวาสนาทองส่งโสมผู้ใหญ่บ้าน ได้เปิดการประชุมโครงการ ของ สสส.และชี้แจงให้คนในชุมชนนทราบ หมู่บ้านทองพูน ได้ทำโครงการวัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2) จึงได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและปลอดบุหรี่และป้ายปลอดสุรา เพื่อรณรงค์การปลอดบุหรี่และปลอดสุรา พร้อมความเป็นมาของโครงการให้ทราบ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มีป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นการรณรงค์การงดสูบบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 215 ธันวาคม 2558
15
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลงสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 2ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกสำรวจข้อมูลในชุมชนโดยนัดพบชี้แจงและเตรียมความพร้อมก่อนลงสำรวจก่อนเวลา 09.00 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้ กอ่นลงสำรวจนางพิไลวรรณ พรายชุมประธานโครงการได้พูดคุย และชี้แจงก่อนลงสำรวจว่าวันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งทีี่ 2ซึ่งครั้งที่ 1 เราได้ออกแบบสำรวจไปแล้วและในวันนี้เราก็ได้ออกสำรวจกันในการสำรวจข้อมูลครัวเรือนนั้น เราได้แบ่งกลุ่มการลงสำรวจกันแล้วเมื่อครั้งก่อนแล้ว คือแบ่งเป็นกลุ่มๆ10กลุ่มกลุ่มละ 30 คนรวม30คนจะใช้เวลาสำรวจ 2 วัน คือในวันนี้และกิจกรรมสำรวจครั้งที่ 3คือวันที่ 20 มกราคม 2559 โดยให้ทุกคนรับแบบสอบถามไปเพื่อทำการสำรวจ และประธานก็ได้ให้กำลังใจคณะทำงานทุกคนให้มีความตั้งใจในการทำงานมีความอดทน และให้เก็บข้อมูลให้ได้ตามที่ต้องการเพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วจะได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนต่อไปหลังจากนั้นคณะทำงานก็ได้แบ่งกลุ่มตามที่ได้แบ่งกันไว้แล้วก็ลงสำรวจกันโดยแบ่งเป็นโซนไปตามที่ อสม.รับผิดชอบเมื่อสำรวจเสร็จในวันนี้ ก็จะนัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 20 มกราคม 2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 30 คน

  1. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในการช่วยพัฒนาและช่วยเหลือชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่
  2. คณะทำงานมีความยินดีกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้เห็นความสำคัญของตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน
  3. ได้รู้จักคนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับคนในชุมมากขึ้นทำให้คนในชุมชนเห็นคณะทำงานมีความตั้งใจในการร่วมพัฒนนาชุมชน
  4. มีการทำงานเป็นทีมโดยการแบ่งกลุ่มในการสำรวจ เป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3คน
  5. ได้ใช้แบบสำรวจที่ีได้จากการออกแบบของคนในชุมชนสำรวจข้อมูลในชุมชน

จากการสำรวจข้อมูลวันนี้ คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆ โดยทำการสำรวจครัวเรือน 85ครัวเรือน และทำการสรุปข้อมูลย่อยๆ ดังนี้

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 69เป็นชายร้อยละ 31
  2. อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย65 ปี
  3. สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 68
  4. ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 92
  5. รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 70
  6. รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 72
  7. ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 85
  8. รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ75
  9. ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 80
  10. หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 60 กู้เงินดอก ร้อยละ 30
  11. ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 92
  12. สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ 90
  13. สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 90 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 73 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 35 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 70 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ 60กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 50 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 80
  14. รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 73
  15. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ ศรัทธาร้อยละ100
  16. ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 69
  17. ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ 20
  18. สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 2
  19. ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 3.2
  20. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 96
  21. ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 19
  22. ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 96
  23. ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพสต.เขาพระบาท ร้อยละ 92
  24. เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 82
  25. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 15
  26. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 15
  27. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ 5
  28. ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 75
  29. นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ92
  30. สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 69
  31. นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 80
  32. มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 75
  33. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 80
  34. มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 75
  35. การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 65
  36. การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 90
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 28 ธันวาคม 2558
8
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและวางแผนการพัฒนางาน ตามโครงการ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 2 โดยคณะกรรมการ เข้ามาร่วมกิจกรรม นั่งพูดคุย เกี่ยวกับกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมที่จะมีครั้งต่อไปโดยมีกิจกรรมดังนี้

  1. สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา คือ กิจกรรมสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1 โดยกิจกรรมในวันนั้นเป็นการออกแบบแบบสอบถามเพื่อใช้ในการสำรวจข้อมูลของชุมชนซึ่งได้ร่วมออกแบบกับกิจกรรมวิเคราะห์เส้นทางสร้างสุขบ้านทองพูน และกิจกรรมการอบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน ซึ่งได้ไปอบรมที่มหาวิทยาลัยวลักษณ์
  2. กำหนดให้คณะทำงานมีเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามที่ได้ออกแบบกันไว้แล้วมาทำการสำรวจ
  3. กิจกรรม รอบนี้ ยังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่เพราะ งบประมาณที่ได้รับจัดสรร ยังไม่ได้โอนเข้าบัญชี
  4. กิจกรรมของโครงการในครั้งต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 30 คน ดังนี้

  1. มีการวางแผนในการเก็บข้อมูล ครัวเรือนโดยให้แบ่งกลุ่มในการสำรวจ และทราบจำนวนครัวเรือนที่ต้องสำรวจ โดยเก็บข้อมูลทุกครัวเรือน 185 ครัวเรือนแต่ปัญหาที่พบคือ ครัวเรือนจะไม่ครบ เพราะครัวเรือนที่อยู่จริงมีเพียง 160 ครัว โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ตามกลุ่มโซน อสม. คือแบ่งเป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 คนรับผิดชอบกลุ่มละ 15 ครัวเรือน โดยจะลงสำรวจกัน 2 วันคือวันที่ 15 ธันวาคม 2558และวันที่ 20 มกราคม 2559
  2. มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้คณะทำงานรับทราบถึงกิจกรรมที่จะทำ โดยกิจกรรมต่อไป คือ การสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2ในวันที่ 15 ธันวาคม 2559และนัดประชุมสภาชุมชนครั้งต่อไปในวันที่ 8 มกราคม 2559
  3. มีการยอมรับมากขึ้นกันในกลุ่มคือการได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน และมาประชุมร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กิจกรรม ต้องดำเนินการไปก่อน เพราะเงินยังไม่ได้โอนมาตอนนี้ ยืมสำรองจ่ายผู้รับผิดชอบโครงการ เมื่อเงินโอนคืนมา จึงจะจ่ายคืน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกเวปไซด์และทำรายงาน สังเคราะห์ข้อมูล7 ธันวาคม 2558
7
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยง สจรส.มอ. ร่วมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มาสอนการเขียนรายงานและการจัดทำรายงานการเงิน 1.การเขียนรายงานต้องมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียน การเขียนรายงานมีทั้งการบันทึก การทำ mind map สอนให้เขียนผลลัพธ์ ผลผลิต วิธีการจะได้มาซึ่งผลงาน ต้องทำการสนทนากลุ่ม มีการวิเคราะห์ผล การรวบรวมและต้องมีการบันทึกข้อมูลการเขียนรายงานเพื่อป้องกันความผิดพลาด วิธีการที่ที่สุดในการเขียนผลลัพธ์คือการถอดบทเรียนในการดำเนินงาน 2.การเขียนรายงานเวปไซด์ ให้ทุกโครงการเข้าไปทำการ log in เข้าโปรแกรม ไปโครงการในความรับผิดชอบ และไปเมนู รายงานผู้รับผิดชอบ ให้ไปคลิกบันทึกซึ่งมีการจัดทำปฏิทินโครงการไว้แล้วให้บันทึกชื่อกิจกรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและขั้นตอนการทำงานให้บรรยายให้ละเอียด เล่าถึงกระบวนการทำงานผลลิตที่ได้ หรือสิ่งทีเกิดจากการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ และงบประมาณในการดำเนินงาน
3.การโหลดภาพกิจกรรม ให้โหลดภาพประมาณ 5 ภาพในการทำกิจกรรม การถ่ายภาพให้สื่อถึงกิจกรรมที่ดำเนินงาน 4.ผลผลิต เป็นผลทีเกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรมครั้งนั้น เช่น ผู้เข้าร่วมประชุมกี่คน ผู้ผ่านการอบรมกี่ครั้ง ครัวเรือนปลูกผักไว้กินเองกี่ครัวเรือน
5.ผลลัพธ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังการอบรมมีประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมกี่คน
6.การเขียนให้เชื่อมโยงสุขภาวะ เป็นการเชื่อมโยงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต ปัญญาและสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล โดยครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะบุคคล แต่ครอบคลุมไปยังครอบครัว ชุมชนและสาธารณะ การจัดทำรายงานการเงิน ให้คำนึงดังนี้
1.ถ้ามีการจ้างทำอาหาร เอกสารที่ควรมีประกอบด้วยรายชื่อคนเข้าร่วมกิจกรรม ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ สำเนาบัตรประชาชน เอกสารหักภาษีภาพถ่ายและรายงานกิจกรรม 2.ค่าตอบแทนวิทยากร ถ้าเกิน 1000 บาทให้หักภาษีด้วย 3.ค่าจ้างทำป้าย ให้ใช้ใบเสร็จจากทางร้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมาย 2 คน ได้เรียนรู้การเขียนรายงาน การทำรายงานการเงิน 2.กลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีการเขียนผลลัพธ์และผลผลิต 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเขียนหลักฐานทางการเงิน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกการจัดเอกสารและมีการปรับแก้ให้ถูกต้อง
2.กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและสามารถสอนทีมงานได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน7 ธันวาคม 2558
7
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อความเข้าใจในรายงานที่ถูกต้องในการเขียนรายงานและทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องไปพบปะพี่เลี้ยง และ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรมที่เกิดขึ้น และได้พบ เจ้าหน้าที่ จากสจรส.มอ.โดยได้ชี้แจงเกี่ยวกับ 1.การเขียนรายงานและการเงินการบันทึก รายงานลงโปรแกรมโดยในการบันทึกข้อมูลนั้นในช่องกิจกรรม ผลดำเนินการ อาจจะเขียนในแบบกำหนดการเช่น 08.30 - 9.00 น. นัดประชุมที่ศาลาหมู่บ ้าน 9.00 – 10.00 น. คัดเลือกทีมงานสภาผ้นู ำ ชุมชน 10.00 – 12.00 น. วางแผนการดำเนินโครงการ เขียนในแบบเล่าเรื่อง พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน จากการชักชวนของผู้ใหญ่และเพื่อนบ้านมานนั่งคุยคัดเลือกทีมงานสภาผู้นำชุมชน วางแผนการทำงานโครงการในอนาคตส่วนการเขียนผลสรุปที่ได้จากกิจกรรมเช่น เขียนในแบบเป็นข้อๆ ผลผลิต 1. ผ้เูข้าร่วมกิจกรรมประชุมสภา จำนวน 100 คน 2. ได้คณะทำงานสภาผู้นำชุมชน 1 ชุด ซึ่งได้คัดเลือกร่วมกันและยอมรับในชุมชน 3. ได้แผนการดำเนินงาน 1 ฉบับ ผลลัพธ์ 1. ผ้เูข้าร่วมตัดสินใจร่วมกันคัดเลือกสภาผู้นำ มีความรู้ความเช้าใจเรื่องของโครงการ 2. รายชื่อสภาผู้นำมีดังนี้โดยแบ่งหน้าที่ไว้ดังนี้ 3. แผนการดำเนินงานมีดังนี้. .......เขียนในแบบเล่าเรื่อง........ ผลผลิต พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน 100 คน ได้ประชุมคัดเลือกสภาผู้นำจำนวน 20 คน และวางแผนการดำเนินร่วมกัน ผลลัพธ์ สภาผู้นำ มี นาย.... เป็นผู้ใหญ่บ้านนางสาว........เป็น อสม. นาง....../ แบ่งหน้าที่ประธานดูแลตัดสินใจทั้งหมด เลขาทำหน้าที่จดประชุม ประสานงาน....../ ได้วางแผนกันต่อไปว่าจะทำ.....ประชุมทุกวันที่ 10 ของเดือน........ และอย่าลืมคลิ๊กเลือกการประเมินกิจกรรมด้วยว่ามีผู้เข้าร่วมในเกณฑ์ระดับไหน และก็การบันทึกรายการการเงิน 4. สอนให้เรียนรู้เรื่องภาษีที่ ณ จ่าย และสอนให้มึการหักจ่ายภาษีด้วย
แนะนำการแยกประเภทของงบประมาณคือ 1)ค่าตอนแทนเช่นค่าวิทยากรค่าเจ้าหน้าที่ช่วยจัดการประชุมค่าการประสานงาน
2)ค่าจ้างเช่นค่าจ้างทำป้ายไวนิล
3)ค่าใช้สอยเช่นค่าที่พักค่าอาหารค่าห้องประชุมค่าถ่ายเอกสารค่าเดินทางค่าเช่ารถค่านำ้มันรถ
4)ค่าวัสดุเช่าค่ากระดาษปากกา
5)ค่าสาธารณูปโภคเช่นค่าส่งไปรษณีย์ค่าโทรศัพท์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้ฝึกการบันทึกลงเวปไซด์ 1 กิจกรรม
3.ได้ฝึกทำบัญชีเงินสดและการจ่ายภาษีณ ที่จ่าย 1 ชุด

ผลลัพธ์
1.มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเขียนผลลัพธ์ ผลผลิตจากการทำกิจกรรม
2.มึความรู้และเข้าใจเรื่องภาษีและสามารถบันทึกข้อมูลภาษีได้
3.มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่ค่อยเข้าใจในการบันทึกผลลัพธ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมแก้ไขโดย การไปดูตามคูมือการเขียนรายงานที่ทางสจรส.มอ.ได้แจกไป

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

วิเคราะห์เส้นทางสร้างสุขบ้านทองพูน27 พฤศจิกายน 2558
27
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมกันสำรวจแนวทางการสร้างสุขชุมชนบ้านทองพูน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมวิเคราะห์เส้นทางสร้างสุขบ้านทองพูนในเวลา 09.00น. - วันนี้ตัวแทนครัวเรือนคณะทำงานผู้นำชุมชนของชุมชนบ้านทองพุูนเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการสร้างสุขที่ชุมชนบ้านทองพูน โดยการร่วมกันคิดวิเคราะห์เส้นทางสร้างสุข โดยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และลดการว่างงาน ลดปัญหารายได้ไม่พอว่าเกิดจากอะไร และอะไรคือปัญหาสำคัญสุดและมีแนวทางอย่างไรทีจะทำให้คนในชุมชนอยู่ดีกินดี ความสุขบ้านทองพูน สร้างได้อย่างไร

ปัญหาสำคัญสุดคือปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งจากข้อมูลวิเคราะห์จากการของบของสสส.เพื่อมาสร้างกระบวนกการการมีส่วนร่วมของชุมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งปัญหาได้ได้ไม่เพียงพอ กระทบต่อทุกครัวเรือน 185 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) เพราะประชาชนทำอาชีพการเกษตร เมื่อพบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงมีผลกระทบต่อครัวเรือนโดยตรงและส่วนหนึ่งครัวเรือนพบปัญหาว่างงาน 30 ครัวเรือน เนื่องจากในปีที่ผ่านมา รัฐบาลประสบปัญหาและมีภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง ทำให้หลายบริษัทที่เปิดอยู่ในพื้นที่ ต้องปิดตัวลง ประชาชนที่มีอาชีพซึ่งต้องไปรับจ้างที่บริษัท ก็ต้องตกงาน เมื่อตกงานทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น รายได้ลดน้อยต่ำลง หลายคนเมื่อบริษัทปิดตัวลง จากเดิมไปทำงานเช้าไปเย็นกลับตอนนี้ต้องทิ้งพ่อแม่ให้อยู่กับบุตร ตนเองต้องไปหางานทำให้ในเมือง ภาระที่เพิ่มขึ้นคือ ผู้สูงอายุต้องเลี้ยงดูบุตรหลาน ทำให้เกิดความว้าเหว่ สุขภาพจิตเสื่อมลงจากกรณีที่โรงงานปิดส่งผลกับชุมชนมากทำให้เกิดปัญหาสังคมคือการขโมย พบว่าร้อยละ 70 ของครัวเรือน มีการลักขโมยเกิดขึ้น จากการทำโครงการในปีที่ผ่านมา ทางชุมชนจึงได้ของบประมาณ จาก สสส.เพื่อจัดทำโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ สิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการคือ ประชาชนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชน มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานทำปุ๋ยหมักฐานน้ำหมักชีวภาพฐานเกษตรวิถีการพัฒนาโดยใช้ครัวเรือนต้นแบบ เน้นให้กลุ่มเป้าหมายปลูกผักกินเองมีการออกกำลังกายจากวิถีประจำวันมีวิธีการลดน้ำหนักสอดคล้องกับวิถีชุมชน
นอกจากนั้นคนในชุมชนมีการนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงไปผลิตยาสีฟัน สบู่จากสมุนไพรใช้เองในครัวเรือนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ
1.มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญา
2.มีฐานเรียนรู้ในชุมชน 3.มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน 4..มีกระบวนการลดรายจ่าย โดยการผลิตสบู่ยาสีฟัน น้ำยาซักผ้าไว้ใช้เอง 5. มีการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง
6.ลดการใช้สารเคมีโดยการทำน้ำส้มควันไม้
ซึ่งจากกิจกรรมในครงการสมารถลดค่าใช้ใช้ในครัวเรือนได้อย่างเช่น การทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เองลดค่าใช้จ่ายในการซื้อ น้ำยาล้างจานการซื้อผงซักฟอง การทำปุ๋ยหมักใช้เอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีการทำการเกษตรใช้น้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลงลดการใช้สารเคมี
ชุมชนได้เสนอและอยากจะทำ คือ 1.อยากให้ประชาชนสุขภาพดีกินดี อยู่ดี 2.มีสาธารณูปโภคดี 3.การศึกษาดี 4.หมู่บ้านปลอดยาเสพติด (เป็นผลพลอยได้จากการทำครอบครัวเข้มแข็ง) 5.พัฒนาครอบครัวต้นแบบ ครอบครัวเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดครัวเรือนตันแบบ หมู่บ้านต้นแบบ
6.เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 7.มีศูนย์ศิลปาชีพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนาอาชีพ 8.มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการพัฒนางาน 9.ปลอดสารเคมี (เป็นตัวชี้วัดหมู่บ้านต้นแบบ) 10.ครอบครัวเข็มแข็ง 11.กิจกรรมผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุ 12.การจัดการสิ่งแวดล้อม
13.การดูแลผู้พิการ 14.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 15.ครัวเรือนปลอดหนี้
16.จัดทำโครงการประเมินผลลัพธ์

ซึ่งคณะทำงานจะประสานกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อรวบรวมประเด็นทั้งหมด แล้วนำไปพูดคุยในวันประชุมประจำเดือน เพื่อคนในชุมชนจะได้ร่วมกันหาแนวทางและแก้ไขปัญหาในชุมชนต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 100 คน ดังนี้ 1.ได้วิเคราะห์ปัญหาในชุมชน คือปัญหาได้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 2.มีแนวทางในการพัฒนาชุมชน เพื่อลดรายจ่ายคือการได้มาร่วมในโครงการและได้ทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เองทำปุ๋ยหมักและเรียนรู้กิจกรรมต่างๆในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนครัวเรือน 100  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1 กิจกรรม ต้องดำเนินการไปก่อน เพราะเงินยังไม่ได้โอนมา  ตอนนี้ ยืมสำรองจ่ายผู้รับผิดชอบโครงการ เมื่อเงินโอนคืนมา จึงจะจ่ายคืน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 120 พฤศจิกายน 2558
20
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อคิดออกแบบแบบสำรวจข้อมูลชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 1 ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกแบบสำรวจข้อมูลในชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ 1. เริ่มเปิดกิจกรรมโดยนางพิไลวรรณพรายชุมประธานโครงการ เปิดกิจกรรมโดยการกล่าวต้อนรับ และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในวันนี้ คือ การมาออกแบบสำรวจข้อมูล โดยคณะทำงานจะร่วมกับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระบาทอสม.และกลุ่มเยาวชน ในการมาพูดคุยเพื่อคิดออกแบบสำรวจข้อมูลของชุมชน โดยคณะทำงานร่วมกันคิดขึ้นมา เพื่อเป็นแบบสอบถาม ในการสำรวจข้อมูลของชุมชน โดยให้สอดคล้องกับปัญหาและวิถีชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบก่อนการดำเนินงาน ในวันนี้จะวางแผนการสำรวจข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่จะร่วมกันออกแบบแบบสำรวจนั้นจะประกอบด้วย -ข้อมูลทั่วไปของชุมชนและครัวเรือน -ข้อมูลวิกฤตหนี้สินครัวเรือน -ข้อมูลปัญหาการว่างงาน -ข้อมูลความสุขในครัวเรือน –ความต้องการพัฒนาตนเอง
เพื่อหลังจากการลงสำรวจข้อมูลในชุมชนเสร็จแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่มีในชุมชนและคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้รับทราบถึงข้อมูลปัญหาที่ได้สำรวจมาเมื่อประธานได้ชี้แจงเสร็จแล้วก็ให้คณะทำงานร่วมกันคิดแบบสำรวจซึ่งจะให้แต่ละคนร่วมเสนอกันมาว่าจะสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลอะไรรวบรวมแล้วก็มาออกความคิดเห็นกันอีกครั้งซึ่งในขณะกิจกรรมทุกคนก็ต่างเปิดโอกาสให้คณะทำงานได้ร่วมเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อให้ได้ข้อมูลแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์และสามารถสำรวจถึงข้อมูลของชุมชนอย่างครบถ้วน 2.หลังจากการร่วมกันออกแบบแบบสำรวจข้อมูลเสร็จแล้วนั้น เพื่อความง่ายและสะดวกรวดเร็ว ในการสำรวจข้อมูลครัวเรือนนั้น จะให้แบ่งเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 3 คน โดยมี อสม. แกนนำชุชนและนักเรียนเข้าร่วมในกลุ่มด้วย ซึ่งจะแบ่งเป็น 10 กลุ่ม จะใช้เวลาสำรวจ 3 วันแล้วหลังจากสำรวจเสร็จก็จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์อีกครั้งเพื่อนำข้อมูลไปคืนสู่ชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน ผลผลิต 1.มีแบบสอบถามของบ้านทองพูนที่ร่วมกันออกแบบ 1 ชุด 2.มีการแบ่งกลุ่มเพื่อทำการสำรวจข้อมูล 10 กลุ่ม ผลลัพธ์ 1.ทำให้มีแบบสำรวจข้อมูลเป็นของชุมชนบ้านทองพูดเอง 2.มีการทำงานเป็นทีมโดยการแบ่งกลุ่มในการสำรวจเป็น 10กลุ่ม 3.มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันในการคิดแบบสอบถามโดยการเสนอความคิดฝนการออกแบบสอบถาม แล้วก็เลือกกัน เพื่อจะได้ใส่ไปในแบบสอบถาม
4.ทำให้คณะทำงานมีการยอมรับกันมากขึ้นคือการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกัน และก็เสนอกันเพื่อยอมรับความคิดเห็นที่แต่ละคนได้เสนอออกมา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เปิดโครงการ8 พฤศจิกายน 2558
8
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเปิดเวทีโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมเปิดโครงการ วัด  ชุมชน  ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน  เข้าร่วมประชุมโครงการ ณ ศาลาเอนกประสงค์  บ้านทองพูน ดังนี้
-จากการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนทองพูน ปีนี้ยังมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย กระทบต่อทุกครัวเรือน 185 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) พบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงมีผลกระทบต่อครัวเรือนโดยตรงและส่วนหนึ่งครัวเรือนพบปัญหาว่างงาน 30ครัวเรือนเมื่อตกงานทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น รายได้ลดน้อย ต้องไปหางานทำให้ในเมือง จากการทำโครงการในปีที่ผ่านมา โดยจัดทำโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ สิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการคือ ประชาชนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชน มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานทำปุ๋ยหมักฐานน้ำหมักชีวภาพฐานเกษตรวิถีการพัฒนาโดยใช้ครัวเรือนต้นแบบ เน้นให้กลุ่มเป้าหมายปลูกผักกินเอง มีการออกกำลังกายจากวิถีประจำวันมีวิธีการลดน้ำหนักสอดคล้องกับวิถีชุมชน
นอกจากนั้นคนในชุมชนมีการนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงไปผลิตยาสีฟัน สบู่จากสมุนไพรใช้เองในครัวเรือนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ 1.มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญา 2.มีฐานเรียนรู้ในชุมชน
3.มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
5.มีกระบวนการลดรายจ่าย โดยการผลิตสบู่ ยาสีฟัน น้ำยาซักผ้าไว้ใช้เอง 6.มีการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง
7.ลดการใช้สารเคมีโดยการทำน้ำส้มควันไม้ 8.คนมีความสุขมากขึ้น 9.คนคิดบวกมาขึ้นและเปลี่ยนทัศนคติ
จากประเด็นผลลัพธ์ทีเกิดขึ้น ประชาชนเห็นด้วยที่จะพัฒนาตามโครงการเหมือนเดิม เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีชีวิตที่พอเพียง อยุ่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข โครงการนี้ วัตถุประสงค์ มี 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง มี 2 ตัวชี้วัด คือ 1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85    3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น ข้อที่ 2เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายด้วยทุนชุมชนตัวชี้วัดคือ1.มีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 100 ครัวเรือน (จากทั้งหมด 180 ครัว)  4.เกิดศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรชีวภาพ 1 แห่ง


หลังจาก รับสมัครกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการ มีประชาชน เห็นด้วย และยินดี เข้าร่วมโครงการ

วันนี้ ได้ให้ความรุ้กับประชาชน ให้มีการออกกำลังกาย ทุกวัน วันละ30 นาที และเน้นให้กินผักทุกวัน เพื่อสร้างสุขภาพดี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ครบตามที่กำหนด 2.ประชาชนได้รับทราบวัตถุประสงค์โครงการ 3.ประชาชนได้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 150 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน และประชาชนบ้านทองพูน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เวทีเปิดโครงการ8 พฤศจิกายน 2558
8
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนได้ทราบ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมเวทีเปิดโครงการ ที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านทองพูน โดยมีคณะกรรมการและ คุณหมอมนูญ พลายชุม พี่เลี้ยงโครงการ เข้าร่วมประชุมโครงการด้วย เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาโครงการ ดังนี้
เริ่มกิจกรรมโดยนางวาสนา ทองส่งโสมผู้ใหญ่บ้าน กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม และชี้แจงว่าวันนี้คุณหมอมนูญพลายชุมจะมาชี้แจงเกี่ยวกับการทำโครงการ ของสสส. ต่อยอดปีที่ 2 และก็ได้เชิญพี่เลี้ยงพูดคุยและชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการซึ่งโครงการต่อยอดปีที่ 2 คือ โครงการวัดชุมชนร่วมจัดทุนที่บ้านทองพูน ซึ่งต่อยอด จากโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ที่ทำมาในปีที่แล้วนั้นซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนทองพูน ปีนี้ยังมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย กระทบต่อทุกครัวเรือน 185 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) พบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงมีผลกระทบต่อครัวเรือนโดยตรงและส่วนหนึ่งครัวเรือนพบปัญหาว่างงาน 30ครัวเรือนเมื่อตกงานทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น รายได้ลดน้อย ต้องไปหางานทำในเมือง จากการทำโครงการในปีที่ผ่านมา โดยจัดทำโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ สิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการคือ ประชาชนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชน มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานทำปุ๋ยหมักฐานน้ำหมักชีวภาพฐานเกษตรวิถีการพัฒนาโดยใช้ครัวเรือนต้นแบบ เน้นให้กลุ่มเป้าหมายปลูกผักกินเอง มีการออกกำลังกายจากวิถีประจำวันมีวิธีการลดน้ำหนักสอดคล้องกับวิถีชุมชน
นอกจากนั้นคนในชุมชนมีการนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงไปผลิตยาสีฟัน สบู่จากสมุนไพรใช้เองในครัวเรือนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ 1.มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญา 2.มีฐานเรียนรู้ในชุมชน 3.มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน 5.มีกระบวนการลดรายจ่าย โดยการผลิตสบู่ ยาสีฟัน น้ำยาซักผ้าไว้ใช้เอง 6.มีการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง 7.ลดการใช้สารเคมีโดยการทำน้ำส้มควันไม้8.คนมีความสุขมากขึ้น 9.คนคิดบวกมาขึ้นและเปลี่ยนทัศนคติ จากประเด็นผลลัพธ์ทีเกิดขึ้น ประชาชนเห็นด้วยที่จะพัฒนาตามโครงการเหมือนเดิม เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีชีวิตที่พอเพียง อยุ่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข โดยโครงการต่อยอดปี 2 นี้ วัตถุประสงค์ มี 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง มี 2 ตัวชี้วัด คือ 1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 853.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น ข้อที่ 2เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายด้วยทุนชุมชนตัวชี้วัดคือ1.มีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 100 ครัวเรือน (จากทั้งหมด 180 ครัว) 2.ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 80 3.ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายในครัวเรือน200บาทต่อเดือน ปีละ 2,400 บาท(ทั้งหมด100 ครัวเรือนx 200 บาท =20,000 บาทต่อเดือน ปีละ 240,000 บาท) 4.เกิดศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรชีวภาพ 1 แห่ง

ซึ่งกิจกรรมก็ได้ดำเนินการมาแล้วก็คือการปฐมนิเทศโครงการใหม่เมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม ที่ผ่านมาที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ผ่านมาและก็ได้มีการประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 1 แล้ว ที่วัดทองพูน และวันนี้เป็นกิจกรรมเปิดโครงเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในหมู่บ้านให้รับทราบ
และกิจกรรมหลังจากนั้นก็จะมีการสำรวจข้อมูลในชุมชน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อคืนข้อมูลในชุมชน การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักโดยให้ทุกคนมาเรียนรู้ และนำวัสดุที่มีอยู่ในบ้านมาทำปุ๋ยหมัก แล้วให้ทุกคนไปทำต่อที่บ้าน
การเรียนรู้การทำสมุนไพร สบู่ และยาสระผม กำหนดให้ทุกคนนำ สมุนไพรมาเองจากบ้าน และเรียนรู้วิธีการผสม ฝึกทดลองปฏิบัติเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์และน้ำยาปรับผ้านุ่ม โดยการผสมสมุนไพร โดยการให้ทุกคนนำสมุนไพรมาจากบ้าน เพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาเอนกประสงค์ เช่น มะนาว ตะลิงปิง อัญชัน
ซึ่งให้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนเองชอบ ถนัดโดยแต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้ากลุ่มและให้ทุกคนเวียนฐานเรียนรู้กันไป
4.ประสานโรงเรียนให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักและสามารถนำไปใช้เองได้ที่บ้าน ซึ่งกิจกรรมในโครงการก็มีประมาณตามที่กล่าวมา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 170 คน
  2. ประชาชนได้รับทราบกิจกรรมตามโครงการ กิจกรรมต่างๆที่จะมีในโครงการ
  3. มีกลุ่มเป้าหมายสม้ครเข้าร่วมโครงการและแบ่งออกเป็นกลุ่ม เขตรับผิดชอบ 10 กลุ่ม
  4. ได้แนะนำให้คนในชุมชนออกกำลังกายที่บ้านวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ 3-5 วัน ต่อสัปดาห์และเน้นให้กินผักทุกวัน เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีแก่ตัวเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 170 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

ประชนชนในชุมชน 170 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านทองพูน ครั้งที่ 17 พฤศจิกายน 2558
7
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อมีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านทองพูนครั้งที่ 1 โดยคุณหมอยงยุทย์ สุขพิทักษ์ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยง ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมพูดคุยแนวทางการพัฒนาโครงการด้วยที่วัดทองพูน โดยกิจกรรมมีดังนี้
ซึ่งในกิจกรรมในวันนี้มีพระเกียรติศักดิ์ สายพือ รองเจ้าอาวาสวัดทองพูนได้มาเข้าร่วมประชุมด้วยในวันนี้ ซึ่งก่อนร่วมประชุมก็ได้สวดมนต์ไหว้พระกันก่อนหลังสวดมนต์เสร็จนางพิไลวรรณพรายชุม ผุ้รับโครงการได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พระเกียรติศักดิ์ สายพือและพี่เลี้ยงได้เข้า ร่วมกิจกรรมในวันนี้ด้วยโดยโครงการนี้คือโครงการวัดชุมชนร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูนซึ่ง เป็นโครงการต่อยอดปีที่ 2 จากโครงการสร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ ซึ่งโครงการปี 1ก็เน้นประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านทองพูนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสร้างกระบวนการมีสวนร่วม ลดปริมาณการใช้สารเคมีในภาคเกษตรของชุมชนซึ่งในโครงการในปีนี้ก็วัตถุประสงค์ มี 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง มี 2 ตัวชี้วัด คือ 1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือนโดยของบ้านทองพูนจะนัดประชุมในวันที่ 7 ของทุกเดือน2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 853.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านและประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น ข้อที่ 2เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายด้วยทุนชุมชนตัวชี้วัดคือ1.มีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 100 ครัวเรือน (จากทั้งหมด 180 ครัว) 2.ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 80 3.ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่ายในครัวเรือน200บาทต่อเดือน ปีละ 2,400 บาท(ทั้งหมด100 ครัวเรือนx 200 บาท =20,000 บาทต่อเดือน ปีละ 240,000 บาท) 4.เกิดศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรชีวภาพ 1 แห่ง ซึ่งกิจกรรมในโครงการก็จะมีการเปิดโครงเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในหมู่บ้านให้รับทราบ โดยจะเปิดโครงการในวันที่ 8 พฤศจิกายน2559นี้โดยจะนัดประชนที่บ้านผู้ใหญ๋บ้าน ม.2
และกิจกรรมหลังจากนั้นก็จะมีการสำรวจข้อมูลในชุมชน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อคืนข้อมูลในชุมชน การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักโดยให้ทุกคนมาเรียนรู้ และนำวัสดุที่มีอยู่ในบ้านมาทำปุ๋ยหมัก แล้วให้ทุกคนไปทำต่อที่บ้าน
การเรียนรู้การทำสมุนไพร สบู่ และยาสระผม กำหนดให้ทุกคนนำ สมุนไพรมาเองจากบ้าน และเรียนรู้วิธีการผสม ฝึกทดลองปฏิบัติเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์และน้ำยาปรับผ้านุ่ม โดยการผสมสมุนไพร โดยการให้ทุกคนนำสมุนไพรมาจากบ้าน เพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาเอนกประสงค์ เช่น มะนาว ตะลิงปิง อัญชัน
ซึ่งให้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนเองชอบ ถนัดโดยแต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้ากลุ่มและให้ทุกคนเวียนฐานเรียนรู้กันไป
4.ประสานโรงเรียนให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักและสามารถนำไปใช้เองได้ที่บ้าน ซึ่งกิจกรรมในโครงการก็มีประมาณตามที่กล่าวมา หลังจากนั้น มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้กิจกรรมได้ร่วมกันพัฒนา และในที่ประชุมได้เสนอ ในเดือนหน้าเป็นวันพ่อ ฝากให้ทุกคนประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนา โดยร่วมกันทำบุญ ตักบาตร ร่วมกัน พัฒนาบ้านทองพูน โดยกำหนดให้พัฒนาพร้อมกันในวันที่ 4 ธันวาคม 58 และทำบุญตักบาตรวันที่ 5 ธันวาคม 58

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 30 คนดังนี้ ผลผลิต 1.มีสภาผู้นำและคณะทำงาน 1 ชุด
ผลลัพธ์

  1. มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้คณะทำงานรับทราบถึงกิจกรรมที่จะทำ
  2. มีการพบปะพูดคุยกันในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันในชุมชนมีการเสนอความคิดเห็นในการเลือกสภาผู้นำ
  3. มีการยอมรับมากขึ้นกันในกลุ่มคือการได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งในการทำกิจกรรมก็จะมีการพุดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทำให้ยอมรับกันมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและคณะกรรมการ จำนวน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพือปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ ทาง สจรส.มอ. ได้รวมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ปฐมนิเทศโครงการใหม่ วันที่ 3 -4 ตุลาคม 2558 โดยในวันแรก ไ้ดพบกับ ผศ.ดร.พงศ์เทพ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ
วันที่สอง พี่เลี้ยงได้แนะนะวิธีการเขียนรายงานตามเอกสาร และการเขียนเอกสารทางการเงินพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้ฝึกบัน่ทึกเวปไซด์โครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมประชุมตามที่กำหนด 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การบันทึกเอกสาร การจัดเตรียมเอกสาร 3.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติบันทึกในเวปไซด์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทน โครงการ 2 คน เข้าร่วมประุชมปฐมนิเทศโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย jaree257
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงินในการเขียนบิลในการเขียนใบสำคัญรับเงินต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนด อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการถ่ายรูปในการทำกิจกรรม ว่าจะต้องถ่ายกิจกรรมให้เป็นกิจกรรมที่มีชีวิตและสามารถมองออกได้ว่าเป็นกิจกรรมอะไรกำลังทำกิจกรรมอะไรเพื่อเป็นการสื่อให้คนที่ดูภาพได้เห็นถึงกิจกรรมที่ได้ทำไปรวมถึงการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์ และการบันทุกรูปในภาพในเว็บไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า ตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม2 คน
ผลลัพธ์ วันนี้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
  2. เรียนรู้วิธีการทำเอกสารของโครงการเช่นการเขียนบิลการเขียนรายงานโครงการ
  3. เรียนรู้วิธีการถ่ายรูปอย่างไร ให้เห็นถึงกิจกรรมที่เราได้ทำไป
  4. ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
  5. ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน อย่างเช่นการเบิกจ่ายเงินต้อง 2 ใน 3 คน ให้เบิกจ่ายตามรายกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังไม่เข้าใจในการบันทึกข้อมูลขึ้นในเว็บไซต์ แก้ไขโดยจะสอบถามจากพี่เลี้ยงเลี้ยง และฝึกหัดในการบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี