assignment
บันทึกกิจกรรม
พบพี่เลี้ยงเพื่อทำรายงานปิดโครงการ13 ตุลาคม 2559
13
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำรายงานปิดโครงการฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตัวแทนโครงการ จำนวน 5 คน พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน โดยมีการดำเนินการดังนี้ 1.ตรวจสอบเอกสารด้านการเงิน พบว่า ต้องปรับปรุงเรื่องการเขียนใบเสร็จ ยังไม่ได้ระบุในรายละเอียดบางกิจกรรม ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม 2.ใบเสร็จบางชุด ยังไม่ได้แนบสำเนาบัตรประชาชน อาจจะเป็นเพราะว่าลืม 3.ค่าใช้จ่ายบางกิจกรรมในโครงการ กับใบเสร็จสรุปไม่ตรงกัน 4.การบันทึกข้อมูลในเวปไซด์ยังไม่สมบูรณ์ ให้ปรับแก้ในส่วนของผลผลิต ผลลัพธ์ให้ชัดเจนขึ้น 5.ให้นำผลการดำเนินงานทั้งหมดมาเขียนเป็นบทคัดย่อ เพื่อสรุปภาพการทำงานให้ชัดเจน 6. คืนเงินเปิดบัญชี 500 บาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.เอกสารได้รับการตรวจสอบจากพี่เลี้ยงทุกชุด ทุกกิจกรรม 2.เอกสารมีการปรัปปรุงในเร่ื่องหลักฐานทางการเงิน

ผลลัพธ์ 1.ได้รับทราบวิธีการปิดเอกสารตามโครงการ และคุณภาพของกิจกรรม 2.ได้รู้จักและเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ การสังเคราะห์บทเรียนการทำงาน 3.สามารถเขียนบทคัดย่อได้
4.นำผลงานที่ได้ไปเผยแพร่ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

วันี้ตัวแทน 5 คน พบพี่เลี้ยงที่ รพสต.เขาพระบาท เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามเอกสารดังนี้ 1.ตรวจสอบเอกสารด้านการเงิน 2.ตรวจเอกสารในเวปไซด์
3.ตรวจสอบความครอบคลุมของกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลและปิดรายงานโครงการ12 ตุลาคม 2559
12
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมโครงการและปิดเอกสารโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ 3 คน พบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารมาตรวจสอบ และสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1.ตรวจเอกสารตามกิจกรรม พบว่าต้องมีการแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดการดำเนินงาน 2.ตรวจภาพถ่ายในการดำเนินงาน แนะนำให้ไปโหลดภาพถ่ายเพิ่ม และการทำกิจกรมแต่ละครั้ง สามารถทำเป็นกลุ่มย่อยๆได้
3.เอกสารทางการเงิน หลักฐานยังไม่ถูกต้องให้เขียน รายจ่ายแต่ละครั้งให้ละเอียด 4.ตรวจสอบสมุดบัญชี พบว่า ได้ถอนเงินออกจากบัญชีแล้ว
5.ดำเนินการปรับข้อมูล ในแผนภาพ รายละเอียดโครงการ และเคลียร์กิจกรรมการใช้เงินให้ถูกต้อง 6.ปิดรายงาน ง.1 และ ง.2 7.สรุปบทคัดย่อเพื่อจัดทำรายงาน ส.3

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนคณะทำงานพบพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบเอกสาร  3  คน 2.มีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารและบันทึกออนไลน์

ผลลัพธ์ 1.จัดทำสรุปรายงานตามกิจกรรมและบทคัดย่อ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 2.หลักฐานการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามกิจกรรมตามที่กำหนด 3.สามารถปิดงวดรายงาน ง.1ง.2 และ ส.3 ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  3  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้นำหลักฐานไปพบพี่เลี้ยงสจรส. รอบสุดท้ายเพื่อส่งเอกสาร ที่ ม.วลัยลักษณ์ ในวันที่ 14 - 15 ต.ค.2559 เพื่อตรวจเอกสารปิดโครงการ

ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ 3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมงานสร้างสุขภาคใต้กับพี่เลีี้ยง สจรส.มอ.ภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันจันทร์ ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย ๑๓.๐๐ - ๑๓.๑๐ น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ๑๓.๑๐ - ๑๓.๒๐ น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ๑๕.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) ๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒ ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม

วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ๒. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ๕. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข ๑๒.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) ๒. ความมั่นคงทางอาหาร ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) ๖.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ๗.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๒ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม
ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์
เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน

วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย ๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ ๑๐.๓๐ - ๑๑.๔๕ น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ ๑๑.๔๕ - ๑๒.๐๐ น. พิธีปิด

ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ 1.การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส. 2.สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำสสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใครทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียนและทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด
3.การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กรเชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการวันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็มโครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอทีหลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีอาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล

สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้
3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ ข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน ระหว่าง 3-5 ตุลาคม 2559
2.ได้เยี่ยมชมนิทรรศการและแนวคิดการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ

ผลลัพธ์ 1.ทีมงานได้เข้าใจกระบวนการพัฒนาและการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพ 2.ทีมงานได้เห็นผลผลิตที่เกิดจากการะบวนการทำงานคนใต้สร้างสุข 3.ได้เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการ และการจัดงานที่มีภาคคีร่วมหลากหลาย 4.ได้เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีและใช้โขนมาเปิดการแสดง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน เข้าร่วมมหกรรมวิชาการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การทำรายงานโครงการ24 กันยายน 2559
24
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานร่วมกับพี่เลี้ยงพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้คณะทำงานได้เข้าพบพี่เลี้ยงพื้นที่ เพื่อจัดทำเอกสารรายงาน ดังนี้ 1.เรียนรู้วิธีการบันทึกข้อมุลและการสังเคราะห์ข้อมูล 2.การจัดทำหลักฐานทางการเงินและการตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น ก่อนปิดงวดรายงาน 3.ภาพถ่ายกิจกรรมและการดำเนินงานสอดคล้องกันหรือไม่

พี่เลี้ยงได้ตรวจและให้คำแนะนำ ในการปรับปรุงวิธีการบันทึกข้อมูล และการปรับปรุงเอกสารทางการเงินให้เรียบร้อย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.คณะทงำาน 5 คน พบพี่เลี้ยง

ผลลัพธ์ 1.พี่เลี้ยงได้สอนแนะให้การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร โดยแนะวิธีการเช็คความสอดคล้อง

2.พี่เลี้ยงได้แนะนำวิธีการเขียนงานเพื่อสังเคราะห์และนำไปใช้ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ทีมงาน 5 คน พบพี่เลี้ยงพื้นที่ เพื่อปิดเอกสารรายงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 317 กันยายน 2559
17
กันยายน 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ได้มาเยี่ยมติดตามโครงการงวดที่ 3
วันนี้ตัวแทนโครงการและตัวแทนกลุ่มในชุมชน พบกับพี่เลี้ยง เพื่อติดตามโครงการซึ่งจากการพูดคุยพบว่า
"กิจกรรมที่ทำในบ้านดอนโรง ได้แก่

1.เลี้ยงปลาโดยการทำบ่อปลานิลเลี้ยง เพาะแล้วแจกให้กับลูกบ้าน ตั้งแต่การสร้างบ่อปลาเอง ผสมพันธ์เอง เลี้ยงปลาไว้กินเอง น้ำหนักเฉลี่ย 3 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 70 บาท เฉลี่ยอัตราการเลี้ยงประมาณ 2,000 ตัว ใช้เวลาในการเลี้ยงปลา 6 เดือน แต่สำหรับคลังอาหารบ้านดอนโรง เลี้ยงแบบธรรมชาติ ให้มีการผสมพันธ์ตามธรรมชาติ และเลือกตัวที่โตมาทำเป็นอาหารไว้บริโภค อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาเป็นอาหารประเภทรำ และพืชน้ำ ได้แก่จอก แหน ที่เลี้ยงไว้ในบ่อปลา ทำให้เป็นปลาที่ปลอดสารเคมี การเลี้ยงปลาในรอบนี้ต้องการมุ่งการขยายกลุ่ม มากกว่าการจำหน่าย หรือสร้างรายได้ แต่ต้องการสร้างความมั่นคงในด้านอาหารของหมู่บ้าน

2.เลี้ยงไก่ ส่งเสริมการเลี้ยงไก่บ้านละ 40 ตัว เป็นไก่พื้นเมือง ตอนนี้มีอายุ 6 เดือน ผลผลิตที่ได้จากไก่คือ ไข่ไก่ ทำให้มีไก่ไว้กิน ไม่ต้องซื้อไข่ ไข่วันละ 10 ฟองโดยเฉลี่ยการเลี้ยงไก่รอบนี้มุ่งเน้นให้มีไข่ไว้กินในครัวเรือน และจะเก็บแม่พันธไว้ให้ฟักเป็นลูกไก่ เพื่อให้เป็นคลังอาหารที่บ้านดอนโรงของผลิตผลที่มาจากไก่พื้นเมือง อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ประกอบด้วยหยวกกล้วย รำ กากปาล์ม เป็นเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน สำหรับขี้ไก่ สามารถนำมาทำปุ๋ย ประมาณ 3 เดือน ได้ 7 กระสอบ พาไปขาย หรือเป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมัก การเลี้ยงไก่นอกจากจะมีรายได้แล้ว ก็ยังมีขี้ไก่ ไว้ทำปุ๋ยอีกด้วย นอกจากมีอาหารแล้ว ยังเกิดปุ๋ยด้วย

3.การเพาะเห็ด มีการเรียนรู้การทำก้อนเห็ดฟางเอง โดยการเขี่ยเชื้อเองที่บ้านดอนโรง มีครูมาสอนให้ทำก้อนเห็ด และใช้ส่วนผสมที่มีอยู่ในชุมชนและส่วนผสมบางอย่างก็ไปซื้อหาจากเพื่อนบ้าน การทำก้อนเห็ดเอง ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ด การทำก้อนเห็ดและมีเห็ดไว้กินในครัวเรือนจากการเรียนรู้และทำก้อนเห็ด ได้มีการแบ่งปันให้กับครัวเรือนละ 20 ก้อน จากการทดลองพบว่า ทุกครัวเรือน สามารถเพาะเห็ดไว้กินเอง ปลอดภัยจากสารเคมีการเรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้ทุกคนทดลอง ทั้งลองผิด ลองถูก การทำเรือนเห็ดแต่ละครอบครัว เก็บไว้ในโอ่ง เก็บไว้ในห้องน้ำ แขวนไว้ที่ข้างบ้าน จากการสอบถามพบว่า บริเวณที่ชื้นทำให้ได้ผลผลิตเยอะที่สุด

4.การปลูกพริกไทย มีการเรียนรู้ 30 ครัวเรือน แต่สามารถเป็นต้นแบบได้ 3 ครัวเรือน ซึ่งทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน กำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง เกษตรพื้นบ้าน ส่งเสริมให้ครัวเรือน มีการปลูกผักแบบผสมผสาน โดยช่วงนี้ไม่สามารถส่งเสริมการปลูกได้เต็มที่เพราะอยู่ในช่วงให้ผ่านหน้าฝน น้ำกำลังจะท่วม

5.การทำคลังอาหารดอนโรง ทำให้คนไม่ต้องซื้ออาหาร ลดรายจ่าย และเหลือก็ขาย
6.ทำให้เป็นอาหารชีพ มีรายได้เสริมเช่น หลังจากปลูกปาล์ม ก็สามารถปลูกผักได้ ทำให้คนบ้านดอนโรงมีอาชีพมากกว่า 1 อย่าง
7.มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้องค์ความรู้เพิ่ม

และได้ร่วมกันจัดทำบทสรุปของโครงการพบว่า

กิจกรรมการพัฒนาทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในชุมชน ดังนี้
1.มีฐานการเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่
1.1 ฐาน เลี้ยงปลานิล ทำบ่อปลานิลเลี้ยง เพาะฟักเอง สร้างบ่อปลาในหมู่บ้านเอง เลี้ยงปลาไว้กินเอง น้ำหนักเฉลี่ย 3 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 70 บาท เฉลี่ยอัตราการเลี้ยงประมาณ 2,000 ตัว ใช้เวลาในการเลี้ยงปลา 6 เดือน เป็นคลังอาหารบ้านดอนโรง เลี้ยงแบบธรรมชาติ 1.2 เลี้ยงไก่ บ้านละ 40 ตัว เป็นไก่พื้นเมือง ผลผลิตที่ได้คือ ไข่ไก่ ทำให้มีไก่ไว้กิน ไม่ต้องซื้อไข่ ได้ไข่วันละ 10 ฟอง การเลี้ยงไก่มุ่งเน้นให้มีไข่ไว้กินในครัวเรือน อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ประกอบด้วยหยวกกล้วย รำ กากปาล์ม เป็นเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน สำหรับขี้ไก่ สามารถนำมาทำปุ๋ย ประมาณ 3 เดือน ได้ 7 กระสอบ
1.3 การเพาะเห็ด เรียนรู้การทำก้อนเห็ดเอง เพาะเลี้ยงเอง มีเห็ดไว้กินในครัวเรือน แบ่งปันให้ครัวเรือนละ 20 ก้อน พบว่าทุกครัวเรือนเพาะเห็ดไว้กินเอง ปลอดภัยจากสารเคมี 1.4 เกษตรผสมผสาน เป็นการส่งเสริมให้ครัวเรือน มีการปลูกผักแบบผสมผสาน ทำให้ลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ย ลดสารเคมี

2.ลดความขัดแย้ง ทำให้คนในชุมชนมีความรัก สามัคคี ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพ 3.การเปลี่ยนความคิด จากเดิมไม่ค่อยรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตอนนี้คนเริ่มสนใจกิจกรรม โดยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในการทำกิจกรรมหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน 4.มีการเรียนรู้และได้รับความรู้เพิ่มได้แก่ การเลี้ยงเป็ด ไก่ การทำก้อนเห็ด การเลี้ยงปลานิล การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพและการทำน้ำยาล้างจานสมุนไพร 5.มีการเรียนรู้ระบบกลไกตลาดมากขึ้น เพื่อนำสินค้าออกไปจำหน่ายในชุมชนเอง จากเดิมเหลือขายในชุมชน ตอนนี้มีการขยายออกสู่ตลาดข้างนอก 6.การเปลี่ยนแปลงคนในหมู่บ้าน คนในชุมชนมีอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำสวน ทำนา 7.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบริโภค จากเดิมต้องซื้อจากตลาดทุกอย่าง ตอนนี้ผักปลูกกินเอง สมุนไพรปลูกใช้เอง คนหันมาบริโภคผักที่ปลูกเอง ผลิตเองในชุมชน ซึ่งปลูกกันทุกครัวเรือน ลดการใช้สารเคมี 8.การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชน จากเดิมหลังจากตัดยางเสร็จ ตัดปาล์มเสร็จ ก็จะไม่ทำอะไร นอนอย่างเดียวหรือไปเที่ยว ตอนนี้มีการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เพาะเห็ดมานั่งพูดคุย ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อเสริมรายได้ มีความสุข 9.การบริหารโครงการโปร่งใส ตรวจสอบได้ 10.นวัตกรรม ที่เกิดขึ้นและเห็นชัดคือ1.มีฐานคลังอาหารชุมชน6 ฐาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10คน 2.มีฐานเรียนรู้ในชุมชน 3ฐาน 3.ได้มองเห็นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม 4.ได้เห็นความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือและความตั้งใจทำงานของคณะทำงานและคนในชุมชน 5.มองเห็นแนวทางการต่อยอดของกิจกรรม 6.มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวคน การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและกลไก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงโครงการ และคณะทำงาน  10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

กิจกรรมดังกล่าว ทำให้เกิดการรวมต่อของประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น และเกิดกลุ่ม เสนอแนะให้นำกิจกรรมไปบอกกลุ่าวหน่วยงานต่างๆ เพื่อต่อยอดการพัฒนาในหมู่บ้าน

ประเมินผลและถอดบทเรียน17 กันยายน 2559
17
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการและตัวแทนกลุ่มในชุมชน พบกับพี่เลี้ยง เพื่อทำการถอดบทเรียน ซึ่งจากการพูดคุยพบว่า
"กิจกรรมที่ทำในบ้านดอนโรง ได้แก่

1.เลี้ยงปลาโดยการทำบ่อปลานิลเลี้ยง เพาะแล้วแจกให้กับลูกบ้าน ตั้งแต่การสร้างบ่อปลาเอง ผสมพันธ์เอง เลี้ยงปลาไว้กินเอง น้ำหนักเฉลี่ย 3 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 70 บาท เฉลี่ยอัตราการเลี้ยงประมาณ 2,000 ตัว ใช้เวลาในการเลี้ยงปลา 6 เดือน แต่สำหรับคลังอาหารบ้านดอนโรง เลี้ยงแบบธรรมชาติ ให้มีการผสมพันธ์ตามธรรมชาติ และเลือกตัวที่โตมาทำเป็นอาหารไว้บริโภค อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาเป็นอาหารประเภทรำ และพืชน้ำ ได้แก่จอก แหน ที่เลี้ยงไว้ในบ่อปลา ทำให้เป็นปลาที่ปลอดสารเคมี การเลี้ยงปลาในรอบนี้ต้องการมุ่งการขยายกลุ่ม มากกว่าการจำหน่าย หรือสร้างรายได้ แต่ต้องการสร้างความมั่นคงในด้านอาหารของหมู่บ้าน

2.เลี้ยงไก่ ส่งเสริมการเลี้ยงไก่บ้านละ 40 ตัว เป็นไก่พื้นเมือง ตอนนี้มีอายุ 6 เดือน ผลผลิตที่ได้จากไก่คือ ไข่ไก่ ทำให้มีไก่ไว้กิน ไม่ต้องซื้อไข่ ไข่วันละ 10 ฟองโดยเฉลี่ยการเลี้ยงไก่รอบนี้มุ่งเน้นให้มีไข่ไว้กินในครัวเรือน และจะเก็บแม่พันธไว้ให้ฟักเป็นลูกไก่ เพื่อให้เป็นคลังอาหารที่บ้านดอนโรงของผลิตผลที่มาจากไก่พื้นเมือง อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ประกอบด้วยหยวกกล้วย รำ กากปาล์ม เป็นเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน สำหรับขี้ไก่ สามารถนำมาทำปุ๋ย ประมาณ 3 เดือน ได้ 7 กระสอบ พาไปขาย หรือเป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมัก การเลี้ยงไก่นอกจากจะมีรายได้แล้ว ก็ยังมีขี้ไก่ ไว้ทำปุ๋ยอีกด้วย นอกจากมีอาหารแล้ว ยังเกิดปุ๋ยด้วย

3.การเพาะเห็ด มีการเรียนรู้การทำก้อนเห็ดฟางเอง โดยการเขี่ยเชื้อเองที่บ้านดอนโรง มีครูมาสอนให้ทำก้อนเห็ด และใช้ส่วนผสมที่มีอยู่ในชุมชนและส่วนผสมบางอย่างก็ไปซื้อหาจากเพื่อนบ้าน การทำก้อนเห็ดเอง ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ด การทำก้อนเห็ดและมีเห็ดไว้กินในครัวเรือนจากการเรียนรู้และทำก้อนเห็ด ได้มีการแบ่งปันให้กับครัวเรือนละ 20 ก้อน จากการทดลองพบว่า ทุกครัวเรือน สามารถเพาะเห็ดไว้กินเอง ปลอดภัยจากสารเคมีการเรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้ทุกคนทดลอง ทั้งลองผิด ลองถูก การทำเรือนเห็ดแต่ละครอบครัว เก็บไว้ในโอ่ง เก็บไว้ในห้องน้ำ แขวนไว้ที่ข้างบ้าน จากการสอบถามพบว่า บริเวณที่ชื้นทำให้ได้ผลผลิตเยอะที่สุด

4.การปลูกพริกไทย มีการเรียนรู้ 30 ครัวเรือน แต่สามารถเป็นต้นแบบได้ 3 ครัวเรือน ซึ่งทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน กำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง เกษตรพื้นบ้าน ส่งเสริมให้ครัวเรือน มีการปลูกผักแบบผสมผสาน โดยช่วงนี้ไม่สามารถส่งเสริมการปลูกได้เต็มที่เพราะอยู่ในช่วงให้ผ่านหน้าฝน น้ำกำลังจะท่วม

5.การทำคลังอาหารดอนโรง ทำให้คนไม่ต้องซื้ออาหาร ลดรายจ่าย และเหลือก็ขาย
6.ทำให้เป็นอาหารชีพ มีรายได้เสริมเช่น หลังจากปลูกปาล์ม ก็สามารถปลูกผักได้ ทำให้คนบ้านดอนโรงมีอาชีพมากกว่า 1 อย่าง
7.มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้องค์ความรู้เพิ่ม

และได้ร่วมกันจัดทำบทสรุปของโครงการพบว่า

กิจกรรมการพัฒนาทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในชุมชน ดังนี้
1.มีฐานการเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่
1.1 ฐาน เลี้ยงปลานิล ทำบ่อปลานิลเลี้ยง เพาะฟักเอง สร้างบ่อปลาในหมู่บ้านเอง เลี้ยงปลาไว้กินเอง น้ำหนักเฉลี่ย 3 ตัวต่อกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 70 บาท เฉลี่ยอัตราการเลี้ยงประมาณ 2,000 ตัว ใช้เวลาในการเลี้ยงปลา 6 เดือน เป็นคลังอาหารบ้านดอนโรง เลี้ยงแบบธรรมชาติ 1.2 เลี้ยงไก่ บ้านละ 40 ตัว เป็นไก่พื้นเมือง ผลผลิตที่ได้คือ ไข่ไก่ ทำให้มีไก่ไว้กิน ไม่ต้องซื้อไข่ ได้ไข่วันละ 10 ฟอง การเลี้ยงไก่มุ่งเน้นให้มีไข่ไว้กินในครัวเรือน อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ประกอบด้วยหยวกกล้วย รำ กากปาล์ม เป็นเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน สำหรับขี้ไก่ สามารถนำมาทำปุ๋ย ประมาณ 3 เดือน ได้ 7 กระสอบ
1.3 การเพาะเห็ด เรียนรู้การทำก้อนเห็ดเอง เพาะเลี้ยงเอง มีเห็ดไว้กินในครัวเรือน แบ่งปันให้ครัวเรือนละ 20 ก้อน พบว่าทุกครัวเรือนเพาะเห็ดไว้กินเอง ปลอดภัยจากสารเคมี 1.4 เกษตรผสมผสาน เป็นการส่งเสริมให้ครัวเรือน มีการปลูกผักแบบผสมผสาน ทำให้ลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ย ลดสารเคมี

2.ลดความขัดแย้ง ทำให้คนในชุมชนมีความรัก สามัคคี ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพ 3.การเปลี่ยนความคิด จากเดิมไม่ค่อยรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตอนนี้คนเริ่มสนใจกิจกรรม โดยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในการทำกิจกรรมหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน 4.มีการเรียนรู้และได้รับความรู้เพิ่มได้แก่ การเลี้ยงเป็ด ไก่ การทำก้อนเห็ด การเลี้ยงปลานิล การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพและการทำน้ำยาล้างจานสมุนไพร 5.มีการเรียนรู้ระบบกลไกตลาดมากขึ้น เพื่อนำสินค้าออกไปจำหน่ายในชุมชนเอง จากเดิมเหลือขายในชุมชน ตอนนี้มีการขยายออกสู่ตลาดข้างนอก 6.การเปลี่ยนแปลงคนในหมู่บ้าน คนในชุมชนมีอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำสวน ทำนา 7.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบริโภค จากเดิมต้องซื้อจากตลาดทุกอย่าง ตอนนี้ผักปลูกกินเอง สมุนไพรปลูกใช้เอง คนหันมาบริโภคผักที่ปลูกเอง ผลิตเองในชุมชน ซึ่งปลูกกันทุกครัวเรือน ลดการใช้สารเคมี 8.การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชน จากเดิมหลังจากตัดยางเสร็จ ตัดปาล์มเสร็จ ก็จะไม่ทำอะไร นอนอย่างเดียวหรือไปเที่ยว ตอนนี้มีการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เพาะเห็ดมานั่งพูดคุย ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อเสริมรายได้ มีความสุข 9.การบริหารโครงการโปร่งใส ตรวจสอบได้ 10.นวัตกรรม ที่เกิดขึ้นและเห็นชัดคือ1.มีฐานคลังอาหารชุมชน6 ฐาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ 1.ได้ถอดบทเรียนการดำเนินงาน 1 ครั้ง 2.เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับคลังอาหารชุมชน

ผลลัพธ์ 1.ได้มองเห็นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม 2.ได้เห็นความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือและความตั้งใจทำงาน 3.มองเห็นแนวทางการต่อยอดของกิจกรรม 4.มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวคน การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและกลไก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

วันนี้คณะทำงาน และตัวแทน 60 คน มาพบพี่เลี้ยง และร่วมพูดคุย เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานในพื้นที่ และสรุปผลการดำเินนงานตามโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เพิ่มพื้นที่สาธารณะของชุมชน14 กันยายน 2559
14
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะสีเขียวให้แก่ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ คณะทำงาน และผู้ปกครอง รวมทั้งนักเรียน ได้ร่วมกันจัดทำพื้นที่สีเขียวโดยร่วมกันถอนหญ้าร่วมกันการปลูกต้นไม้ ซึ่งถือเป็นวิธีการง่ายๆ ที่ช่วยลดมลพิษและสร้างอากาศบริสุทธิ์
เพียงแค่หาต้นไม้ที่สามารถดูดสารพิษมาปลูกไว้รอบๆ บ้าน โดยเฉพาะต้นไม้ที่อยู่ในตระกูลไม้ประดับ เป็นพืชที่มีการปรับตัวและเติบโตได้ดีในที่มีแสงน้อย และสามารถดูดสารพิษด้วยกรรมวิธีการคายน้ำ
โดยจะทำการดูดก๊าซพิษที่อยู่รอบๆ ลงสู่ดินและจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆ รากจะเป็นตัวเปลี่ยนให้สารพิษเหล่านั้นกลายไปเป็นอาหารของพืช

ตัวแทนผู้ปกครองกล่าวว่า "การปลูกผัก กินเองตามมีตามเกิด กับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้แบบพอเพียง ไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่ก็ไม่ได้หนีห่างกันไปมากนัก เพราะความพอเพียง อยู่ที่ตัวเรากำหนดเองว่า แค่ไหน ระดับใด ขนาดไหนถึงจะไหว และขนาดไหนถึงจะเรียกว่า เกินตัว เพราะคำว่า พอเพียง ที่เป็นหลักเศรษฐกิจพอเพียงหลายๆ คนก็ทราบกันดีอยู่แล้วไม่ต้องอธิบายซ้ำไปมา แต่การอยู่รอดในแบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการปลูกผักสวนครัวกินเองนั้น ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเสมอไป ทุกวันนี้หลายๆ ครั้งหากมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดในแห่งหนตำบลใด ก็มีผลกระทบมาถึงตัวเราเสียหมด แม้ว่าแหล่งที่เกิดจะไกลออกไปอยู่คนละซีกโลก แต่กระนั้นผลกระทบมันก็ยังตามมาหลอกมาหลอนให้เราได้ลำบากได้เจ็บช้ำกันอยู่ดี ไม่ว่าจะด้วยพิษเศษรฐกิจ หรือผู้บริหารประเทศที่ผิดพลาดในการบริหาร และปัญหาอื่นๆ ยังไงแล้ว ประชาชนอย่างเราๆ ก็ยังต้องแบกรับภาระไม่มากก็น้อยอยู่ดี ดังนั้น การไม่มีปัญหา หรือมีปัญหาเดือดร้อนให้น้อยที่สุดอาจเป็นทางรอดสุดท้ายที่เราจะพอกระทำได้ ด้วยการพึ่งพาตนเองแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ผักหลายๆ ชนิดไม่จำเป็นต้องหาซื้อมาจากท้องตลาด แต่สามารถปลูกเองที่บ้านได้โดยกรรมวิธีการปลูกที่ไม่ยุ่งยาก เรียกว่า ผักสวนครัว ปลูกง่าย โตเร็ว ได้ผลผลิตไว้กินในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี ลดภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่เหมาะจะปลูกเป็นการค้า เพราะครั้งนี้เราเน้น พอเพียงอย่างจริงจัง การรับประทานเหลือแล้วนำไปขายคงไม่เหมาะ เพราะแทบจะทุกครัวเรือน มีผักชนิดนี้อยู่ คงไม่ดีหากจะหอบหิ้วเอาผักที่ปลูกที่กินเหลือไปขายอย่างละนิดละหน่อย เพราะในความเป็นจริง ตลาดสดใกล้บ้านก็มีผู้ขายมากรายอยู่แล้ว มีความเป็นไปได้อย่างดีที่สุดคือการเดินเร่ขายตามบ้าน ในชุมชนที่ห่างไกลตลาดสดที่อาจพอจะหาได้ราย ได้บ้าง วันละ 100-200 บาท"

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.คณะทำงานร่วมกันพื้นที่สีเขียว 60 คน

ผลผลิต 1.มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น โดยปลูกคนละ 1 ต้น 2.มีการจัดทำแปลงผักไว้ที่โรงเรียน 3.หญ้าที่ถอนขึ้นมานำไปทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ

ผลลัพธ์ 1.ได้สอนแนะเยาวชนให้เรียนรู้ และรู้ค่าของการปรับสภาพแวดล้อม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและตัวแทนผู้ปกครอง นักเรียน 50 คน ร่วมกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ตลาดสีเขียวชุมชน ครั้งที่ 210 กันยายน 2559
10
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดกิจกรรมตลาดสีเขียวของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนชุมชน ได้นำผักที่มาปลูกในชุมชนมานำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรุ้กัน โดยพูดคุยถึงสรรพคุณของผักที่ปลูกกันในชุมชน และผักที่นำมาปรุงอาหารมีประโยชน์อย่างไร ได้แก่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เขา้ร่วมกิจกรรม 50 คน 2.ได้ทราบถึงประโยชน์ของผักพื้นบ้าน 3.ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของผักพื้นบ้าน ในด้านของประโยชน์ของผักต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและตัวแทนโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 107 กันยายน 2559
7
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 8 โดยคณะทำงานเข้าร่วมประชุมกันในเวลา 09.00น. วาระที่ 1 โดยนางหนูฟอง หนูทอง ผู้รับผิดชอบโครงการ ประชุมชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมาคือการจัดคลังอาหารชุมชนและการสร้างฐานเรียนรู้ในชุมชน ทุกครัวเรือนและหน่วยงานโรงเรียนวัดแดง ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและต่อไปคือการจัดกิจกรรมถอดบทเรียนในการพัฒนา
วาระที่ 2 ชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการประเเมินผลและการถอดบทเรียนในการพัฒนา ขอให้เชิญตัวแทนมาสักประมาณ 50 คน เพื่อมานั่งพูดคุยเกี่ยวกับการบวนการพัฒนางานที่ผ่านมาทั้งหมด และการสรุปผลเพื่อการเผยแพร่ เพราะคลังอาหารที่บ้านดอนโรง รวมทั้งการจัดทำรายงาน ติดตามสรุปผลการดำเนินงานถอดบทเรียน โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบ ให้เตรียมเอกสารต่างให้เรียบร้อย และลงบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมลงภาพกิจกรรมให้เรียบร้อยด้วย เพื่อที่จะได้เตรียมตัวเพื่อทึ่ปิดโรงการ วาระที่ 3 ชี้แจงกิจกรรมอื่นๆ
1)พบไข้ฉี่หนูในอำเภอเชียรใหญ่ 3 รายแต่ไม่มีในเขตตำบลเขาพระบาทแต่ก็ยังให้ช่วยกันดูแลและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องด้วยและฝากให้ประชาชนทุกคนเวลาสัมผัสน้ำก็ให้ใส่รองเท้าให้เรียบร้อยด้วย 2)โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งระบาดอยู่ในหลายประเทศและในประเทศไทยได้แก่ จันทบุรี เพชรบูรณ์บึงกาฬและเชียงใหม่ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ตั้งแต่ ม.ค. 2559 - มิ.ย.2559 หรือ 6 เดือนแรกของปีนี้ พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาสะสม 97 ราย ใน 10 จังหวัด 16 อำเภอ 26 ตำบล 42 หมู่บ้าน โดยควบคุมสถานการณ์ได้หมดแล้ว แต่ก็ยังพบอยู่ใน 4 จังหวัดดังกล่าวจึงอยากให้ประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันเฝ้าระวังด้วยจะเห็นได้จากข่าวแล้วว่า ช่วงนี้ไวรัสซิก้ากลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งไวรัสซิกาจะสามารถติดต่อจากผู้ป่วย สู่ผู้ป่วยด้วย ยุงลาย ที่เป็นพาหะ อย่างนั้นเราช่วยกันป้องกันโรคนี้กันดีกว่าว่ามีวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้ไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเรา

  1. ระวังอย่าให้ตัวเองโดนยุงกัด หากจำเป็นต้องไปในที่ยุงชุม เช่น ป่าดิบชื้น ใกล้แหล่งน้ำนิ่ง แหล่งชุมชนแออัดให้ทายากันยุง เวลาที่นอนควรนอนในมุ้ง หรือพักในห้องที่มีมุ้งลวด

  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบที่อยู่อาศัย รวมถึงที่ทำงาน และโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเทน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ เปลี่ยนน้ำในแจกัน คว่ำกะละมัง อ่างต่างๆ นอกบ้าน ใส่ทรายอะเบทลงในจานรองกระถางต้นไม้ต่างๆ และฉีดยาป้องกันยุงลายตามสถานที่ทำงาน และโรงเรียน

  3. ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์กับสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล เพื่อตรวจร่างกายตามเวลาที่แพทย์กำหนด ป้องกันการเกิดความผิดปกติกับลูกน้อย ไวรัสซิกาไม่น่ากลัว หากมีการป้องกันยุงลายที่ดี เพราะฉะนั้นในช่วงหน้าฝนแบบนี้ หมั่นดูแลสุขภาพให้ดี และอย่าให้ตัวคุณเอง และคนที่คุณรักโดนยุงกัด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1.คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 50คน

ผลลัพธ์ 1.คณะทำงานได้ร่วมกันวางแผนในการสรุปบทเรี่ยนการทำงาน 2.คณะทำงานไ้ด้ทราบความเคลื่อนไหวกิจกรรมในหมู่บ้าน 3.คณะทำงานได้สรุปเพื่อต่อยอดกระบวนการพัฒนาครั้งต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 63 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน เข้าร่วมประชุมและนำเสนอแผนการพัฒนาตามโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 66 กันยายน 2559
6
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ เป็นการสรุปการทำงานครั้งที่ผ่านมาและ วางแผนการพัฒนางานในครั้งต่อไป
และได้เชิญให้ตัวแทนกลุ่มได้พูดคุยเกี่ยวกับการทำงาน ดังนี้

1.นางอภัย ชุมทอง ตัวแทนกลุ่มการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ที่ได้เรียนรู้คือ การทำน้ำยาสระผม น้ำยาล้างจานส่วนผสม ได้แก่ นำมะกรูด อัญชัญ กระเจี๋ยบ ลูกยอในการทำกิจกรรม ได้ขอความร่วมมือจากทุกคน ให้นำวัสดุเหล่านี้มาจากบ้าน โดยขอสนับสนุนค่าวัสดุจากโครงการและบางส่วนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาพระบาท และทุกครั้งที่มีการประชุมหมู่บ้าน ก็จะทำกิจกรรมดังกล่าว พบว่า ร้อยละ 85 ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและพึงพอใจ

2.เลี้ยงปลาปลา โดยมีแหล่งเรียนรู้ที่บ้านนางหนูฟอง หนูทอง ซึ่งเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และแหล่งเพาะพันธ์ปลานิลในหมู่บ้าน ตอนนี้มีการแจกพันธ์ปลาไปหลายครัวเรือนแล้ว ทุกครัวเรือนที่เป็นแกนนำเลี้ยงปลา ก็จะช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงปลาไว้กินเอง กลุ่มเป้าหมายใช้เศษอาหาร หยวกกล้วย รำ มาทำเป็นอาหารปลา ตอนนี้ขนาดปลา 3 ตัวต่อกิโลกร้ม ปลานิลที่เลี้ยงจะไม่ขาย แต่จะเก็บไว้เพาะพันธ์ปลาต่อไป สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ มีปลาไว้สำหรับชุมชนและเก็บไว้ปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ

3.เลี้ยงไก่บ้าน ผุ้รับผิดชอบ คือนาง จำปี เกิดแก้ว ตอนนี้ทุกบ้านมีการเลี้ยงไก่บ้าน สิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน คือ ทุกบ้านเลี้ยงไก่ ไก่จะไข่วันละ 10ฟองทุกบ้านมีไ่ก่และไข่ไว้กิน ทีมงานช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้กิน ทุกบ้านเลี้ยงไก่ ร้อยละ 100 ผลผลิตที่เหลือคือ การขายไข่ไก่ มีรายได้เฉลี่ย 1000 บาท จากการขายไก่ แต่ส่วนใหญ่จะเก็บไว้กิน เป็นอาหารสำหรับครัวเรือน

4.การทำเห็ดฟางผู้รับผิดชอบคือนางสมมารถ ทองเอียด ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำเห็ด ตอนนี้ทุกบ้านได้เรียนรู้การปลูกเห็ดฟาง ไว้กินเอง ครัวเรือนละ 20 ก้อน โดยเพาะเห็ดฟางในโอ่ง ห้องน้ำ ทำให้มีผักไว้กินทุกวัน ลดรายจายการซื้อผักได้

5.ร่วมปลูกสมุนไพร เพื่อผลิตชาสมุนไพรไว้ใช้ในชุมชน จัดเรียนรู้ที่บ้าน นางจำปี เกิดแก้ว โดยนำวัสดุจากชุมขนมาแปรรูปสมุนไพร เช่น ใบทุเรียนน้ำ ตะไคร้ ใบขลู่ กระเจี๊ยบ อัญชัน นำมาทำตากแห้ง และส่งเสริมการดื่มสมุนไพรแทนน้ำดื่มลม การดื่มน้ำสมุนไพรช่วยในเรื่องการฟื้นฟูสุขภาพ และเป็นการสร้างการทำงานเป็นกลุ่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม100คน 2.มีแหล่งคลังอาหารในชุมชน

ผลลัพธ 1.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม ลดรายจ่ายในการซื้ออาหาร 2.มีรายได้จากการขายไข่ไก่ เดือนละ 1000 บาทต่อครัวโดยเฉลี่ย 3.ลดการซื้อผักในครัวเรือน วันละ 150 บาท
4.มีสุขภาพดีขึ้นจากการบริโภคอาหาร ผัก ปลอดสารพิษ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน  ผู้เข้าสนใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ3 กันยายน 2559
3
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม มาตรวจเอกสาร และติดตามความคืบหน้าของโครงการโดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินและการบันทึกในเวปไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของใบเสร็จและให้ไปบันทึกข้อมูลในเวปไซต์ให้เรียบร้อย

ผลลัพธ์ 1.ได้เรียนรู้วิธีการจัดทำเอกสารและการตรวจสอบความสมบูรณ์ฺ 2.ได้เรียนรู้วิธีการจัดการเอกสารและเตรียมปิดรายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 529 สิงหาคม 2559
29
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างคลังอาหารเรื่องการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสร้างคลังอาหารชุมชน ครั้งที่ 3 ซึ่งวันนี้เป็นการเรียนรู้้เรื่องการเลี้ยงไก่พื้นบ้า่น

เรื่องที่ 1 วัตถุดิบอาหารที่ใช้เลี้ยงและสูตรอาหารไก่พื้นเมือง

  • อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ข้าวเปลือก ปลายข้าว และรำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีอยู่ในท้องถาน นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอาจใช้ข้าวโพด ใบกระถินบดให้ละเอียด กากถั่วเหลือง และปลาป่น ฯลฯ
  • โดยหลักการแล้ว ไก่พื้นเมืองต้องการอา หารที่ดีมีคุณภาพที่มีพร้องทั้งไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งมีพร้อมในอาหารสำเร็จรูป แต่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนบท จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรับประทานในครัวเรือน โดยปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ จะมีการให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกโปรยให้กินก่อนไก่พื้นเมืองเข้าโรงเรือน แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ต้องการให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตเร็ว ขายได้ราคาดี ควรให้อาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามที่ไก่พื้นเมืองต้องการ อาจใช้หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 2 (หัวอาหาร 1 ส่วน ปลายข้าว 2 ส่วน รำ 2 ส่วน) หรืออาจใช้สูตรอาหารต่อไปนี้

สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่พื้นเมือง แรกเกิด จนถึงอายุ 2 เดือน สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 2 เดือนขึ้นไป
1. หัวอาหารอัดเม็ดสำหรับไก่ระยะแรก 8 กิโลกรัม 2. รำรวม 8 กิโลกรัม 3. ปลายข้าว 10 กิโลกรัม 1. รำรวม 38 กิโลกรัม 4. ปลายข้าว 60 กิโลกรัม 5. เปลือกหอยป่น 2 กิโลกรัม


เรื่องที่ 2 การฟักไข่ไก่พื้นเมือง

  • ปกติแล้วแม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มให้ไข่ เมืออายุประมาณ 6-8 เดือน จะไข่เป็นชุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ ปีละ 4 ชุด ชุดละ 8-12 ฟอง แม่ไก่พื้นเมืองเมื่อไข่หมดชุดแล้วจะเริ่มฟักไข่ ก่อนที่แม่ไก่พื้นเมืองจะฟักไข่ ควรฆ่าไรและเหาเสียก่อน โดยจับแม่ไก่พื้นเมืองจุ่มน้ำยาฆ่าไรและเหา เพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนในยามฟักไข่การฟักไข่นั้นแม่ไก่พื้นเมืองจะกกไข่ตลอดคือ และออกหาอาหารกินในตอนเช้า ตอนกลางวันแม่ไก่พื้นเมืองจะขึ้นกกไข่วันละ 2 ชั่วโมง แล้วออกจากรังไปหากินอาหารสลับกันอยู่อย่างนี้ เมื่อแม่ไก่พื้นเมืองกกไข่ได้ประมาณ 5-7 วัน ควรเอาไข่มาส่องดูเชื้อ โดยใช้กระดาษแข็งม้วนเป็นรูปกระบอก เอาไข่ไก่พื้นเมืองมาชิดที่ปลายท่อด้านหนึ่ง แล้วยกขึ้นส่องดูกับแสงแดดหรือส่องกับหลอดไฟนีออนก็ได้ ไข่ที่มีเชื้อจะเห็นเป็นจุดสีดำอยู่ข้างในและมีเส้นเลือดสีแดงกระจายออกไป ส่วนไข่ที่ไม่มีเชื้อจะใสมองไม่เห็นเส้นเลือด ต้องคัดออกและนำไปเป็นอาหารได้ (โดยการต้ม) การคัดไข่ที่ไม่มีเชื้อออกจะเป็นการช่วยให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ที่มีเชื้อได้ดีขึ้นและได้ลูกไก่พื้นเมืองมากขึ้น การส่องไข่เมื่อแม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ได้ 5-7 วันแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรส่องเมื่อฟักไข่ได้ 14 และ 18 วันอีกครั้ง เพื่อคัดไข่เชื้อตายหลังจากฟักการส่องครั้งแรกออกมา ในการฟักไข่นั้น แม่ไก่พื้นเมืองจะใช้เวลาฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 21 วัน เมื่อลูกไก่พื้นเมืองฟักออกหมดแล้ว ควรเอาวัสดุที่รองรังไข่รวมทั้งเปลือกไข่เผาทิ้งเสีย และทำความสะอาดรังไข่ไว้สำหรับให้แม่ไก่พื้นเมืองไข่อีกต่อไป

เรื่องที่ 3 การเลี้ยงและการดูแลลูกไก่พื้นเมือง

  • เมื่อลูกไก่พื้นเมืองออกจากไข่หมดแล้ว ควรให้แม่ไก่พื้นเมืองเลี้ยงลูกเอง โดยย้ายแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองลงมาขังในสุ่มหรือในกรงในระยะนี้ควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าว หรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่พื้นเมืองกินและมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
  • เมื่อลูกไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกไก่พื้นเมืองแข็งแรงดีแล้ว จึงเปิดสุ่มหรือกรงให้ลูกไก่พื้นเมืองไปหากินกับแม่ไก่พื้นเมืองได้โดยธรรมชาติแม่ไก่พื้นเมืองจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แยกลูกไก่พื้นเมืองออกจากแม่ไก่พื้นเมือง โดยนำไปเลี้ยงในกรงหรือแยกเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักตัวเตรียมไข่ในรุ่งต่อไป ลูกไก่พื้นเมืองอายุ 2 สัปดาห์ที่แยกออกจากแม่ไก่พื้นเมืองใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยังป้องกันตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงต่างหากในกรงเพื่อให้แข็งแรงปราดเปรียว และเมื่อมีอายุได้ 1 ? -2 เดือนจึงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระยะนี้ลูกไก่พื้นเมืองจะมีการตายมากที่สุดผู้ที่เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องน้ำ อาหาร และการป้องกันโรค

เรื่องที่ 4 การเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่

  • การเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่ มีการจัดการง่าย ๆ แต่ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องเอาใจใส่พอสมควร เริ่มจากแม่ไก่พื้นเมืองเริ่มไข่ ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องเอาใจใส่พอสมควร เริ่มจากแม่ไก่พื้นเมืองเริ่มไข่ ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองสังเกตว่าถ้าแม่ไก่พื้นเมืองไข่ดก แม่ไก่พื้นเมืองจะชอบไข่ในตอนเช้า พอรุ่งเช้าขึ้นก็จะไข่อีก 1 ฟอง ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองเก็บไข่ฟองเก่าออก และให้เก็บทุก ๆ วันที่แม่ไก่พื้นเมืองไข่ โดยให้เหลืออยู่ในรังเพียงฟองเดียว แม่ไก่พื้นเมืองก็จะไข่ไปเรื่อย ๆ
  • ถ้าผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองสังเกตเห็นว่า แม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มฟักไข่กล่าวคือจะกิจอาหารน้อยลงเพื่อบังคับตัวเองไม่ให้ไข่ต่อไป จะต้องรีบแยกแม่ไก่พื้นเมืองมาขังไว้ต่างหาก ซึ่งผู้ที่เลี้ยงไก่ควรมีที่ไว้สำหรับขังแม่ไก่พื้นเมืองไม่ให้ฟักไข่ได้ หลังจากนั้น หาอาหารที่มีโปรตีน เช่น รำ ปลายข้าว และปลายป่น หรือถ้าหาอาหารไก่ไข่ให้กินได้จะดีมาก แล้วเอาไก่พื้นเมืองตัวผู้เข้าไปขังรวมไว้ด้วยประมาณ 4-5 วัน แม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มให้ไข่อีก ซึ่งผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบนี้จะได้ไข่ไก่พื้นเมืองตลอดเวลาและเป็นวิธีการเลี้ยงเพื่อกินไข่โดยเฉพาะ แต่ถ้าเลี้ยงไก่พื้นเมืองโดยที่ผู้เลี้ยงลืมปล่อยให้แม่ไก่พื้นเมืองเริ่มฟักไข่ไปได้ประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงแยกแม่ไก่พื้นเมืองออก จะต้องเสียเวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ แม่ไก่พื้นเมืองจึงจะเริ่มไข่ใหม่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
  2. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พื้นบ้านวัตถุดิบอาหารที่ใช้เลี้ยงและสูตรอาหารไก่พื้นเมือง การฟักไข่ไก่พื้นเมืองการเลี้ยงและการดูแลลูกไก่พื้นเมืองการเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่

ผลลัพธ์

  1. ได้เรียนรู้การสร้างคลังอาหารในครัวเรือนและคลังอาหารในชุมชน
  2. ได้เรียนกระบวนการสร้างรายไ้ด้ให้กับครัวเรือน
  3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน ผู้สนใจ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ตลาดสีเขียวชุมชน ครั้งที่ 126 สิงหาคม 2559
26
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการนำสิ้นค้าชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ เป็นการจัดตลาดสีเขียว ทั้งชุมชน โดยการออกแบบให้ทุกชุมชนที่มีการดำเนินงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้นำผักที่ตนเองปลูกโดยปุ่ญชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งแต่ละชุมชนมีผลผลิตต่างๆ กันได้แก่
1.ข้าวสังหยด เป็นข้าวที่ปลูกในพื้นที่บ้านดอนโรง และหมู่บ้านใกล้เคียง สิ่งที่ดีคือ ปลูกเอง สีเอง ได้ข้าวที่ปลอดสารเคมี รสชาตอร่อย
2.ข้าวโพดข้าวโพดที่ปลูกด้วยชีวภาพ น้ำหนักดี กินอร่อย 2 ผักต่อกิโล ทุกคนให้ความสนใจ และปลูกได้ตลอด
3.ฝรั่งและมะละกอซึ่งปลูกด้วยชีวภาพ มีรสชาดอร่อย สดกรอบ ทุกคนให้ความสนใจ และราคาดี
4.ถั่วฝักยาว สด กรอบ กินอร่อย ทุกคนต่างซื้อกลับไปบ้าน 5.แตงโมสดเนื้อหวาน กรอบ ลูกละ 3-5 กิโลกรัม เนื้อสด หวานกรอบ แดง 6.มะนาวเมลอน มีน้ำมะนาวเยอะ ขนาด 3 ผลต่อกิโลกรัม ปลูกโดยใช้ชีวภาพ
7.หน่อไม้ มีขนาดโต เพราะใช้ปุ๋ยชีวภาพ สด กรอบหวาน 8.บัวบก บัวบกใบโต สีเขียวสด กรอบ และปลูกในพื้นที่
9.ผักกาดนกเขา มีรสชาดกรอบ สีเขียว สด ปลูกใช้ชีวภาพ 10.ถั้่วพู มีขนาดใหญ่ สด กรอบ ปลูกใช้ปุ๋ยชีวภาพ 11.มะเขือม่วง ทุกผลที่นำมาสด กรอบ สีม่วงสวย ปลูกใช้ปุ่ยชีวภาพ 12.มะกอก 13.ฟักเขียว14.มะเขือพวง15.ยอดมะม่วงหิมพานต์ 15.ทุเรียนเทศ 16.มะกรูด 17.ใบยอ18.โหรพา 19.ตะไคร้20.ขมิ้น21.แก้วมังกร 22.เงาะ 23.ใบรา 24.มะเฟือง
กิจกรรมครั้งนี้ทุกครัวเรือนให้ความสนใจ และทุกหน่วยงานให้ความสนใจ สิ่นค้าที่นำมาวางจัดจำหน่าย หมดภายในเวลารวดเร็ว เพราะต่างคนต่างมันใจและความสด กรอบและปลอดภัย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม50คน 2.มีการนำสินค้าที่ผลิตเองมาจำหน่าย

ผลลัพธ์

1.มีสินค้าปลอดภัย ปลอดสารเคมีในชุมชน
2.ชุมชนได้แลกเปลี่ยนอาหารที่มีคุณภาพ 3.ชุมชนได้ผลิตอาหารไว้กินเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้เข้าสนใจร่วมกิจกรรม  ผู็นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 29 สิงหาคม 2559
9
สิงหาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยง ตัวแทนโครงการและกลุ่มเป้าหมาย 30 คน มานั่งพูดคุย ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการให้ฟัง ดังนี้

พี่หนูฟอง เล่าว่า “ที่บ้านตั้งแต่เข้าร่วมทำกิจกรรมทำเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน มีการปลูกพืชผักสวนครัว ไว้ข้างบ้าน มะนาว มะเฟือง กล้วย ผักกินใบ ผักสวนครัว ทำน้ำหมัก ทำปุ๋ยหมัก มีการเลี้ยงไก่ ได้กินไข่และเลี้ยงปลานิล โดยเลี้ยงแบบธรรมชาติ ทำให้ประหยัดรายจ่ายในครัวเรือนได้มากเลย คิดว่าแต่ละครัวเรือนน่าจะมีการประหยัดและมีรายได้ 3,000 บาท ต่อเดือนการทำกิจกรรมโครงการนี้ ทำให้ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองทุกวัน และมีคนในหมู่บ้านเข้ามาเรียนรู้โดยเรามีต้นทุนอยู่แล้วถ้าเราขยายผล ก็จะมีผลผลิตเกิดขึ้นมากมาย กิจกรรมนี้ทำให้ตัวเราเอง เกิดความภูมิใจ เต็มใจเต็มที่ มีรายได้ได้ขึ้น ประหยัดรายจ่ายครัวเรือน เป็นการส่งเสริมและเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นกิจกรรมโครงการนี้ทำแล้วดีมากๆ คนในหมู่บ้าน เกิดความยอมรับ มีการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ดี เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อยากให้มีการต่อยอดโครงการต่อคะ”

พี่เพ็ญศรี เล่าว่า“โครงการนี้ตนเองเป็นแม่บ้าน ได้ปลูกผัก ปลูกดีปลี ปลูกกล้วยได้ขายกล้วย มะละกอ มะม่วง ก็เอาผลผลิตไปขายได้ทำให้มีรายได้เสริม เป็นรายได้รายวันหรือรายเดือนก็ได้กิจกรรมที่ทำในโครงการนี้ไม่ใช้สารเคมีเมื่อทำโครงการนี้มีความสุข มีรายได้เพิ่มขึ้นปลูกของที่กิน กินของที่ปลูก เมื่อไรเหลือกินก็พาไปขาย มีรายได้เพิ่มเฉลี่ย ประมาณ 2,000 บาททำโครงการรู้สึกนี้ดีมาก บางอย่างเราไม่รู้เราก็เข้ามาเรียนรู้ในโครงการก็มีการแลกเปลี่ยนกัน ทำให้พวกเรารักเรียน มีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เอง เมื่อก่อนต้องซื้อปุ๋ย ตอนนี้ไม่ซื้อลดค่าปุ๋ยได้กว่าครึ่ง ”

นายจันทร์ เล่าว่า “ผมเข้าร่วมโครงการโดยการเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปลูกผักโดยปลูกสารพัดผัก สิ่งที่ได้คือ เกิดมีรายได้ เป็นอาชีพเสริม รายได้เพิ่ม 5,000 บาทตอนนี้ใช้ปุ๋ยที่ทำเองเป็นปุ๋ยชีวภาพ ทำให้ผักที่ปลูกปลอดสารพิษและใช้ขี้ไก่แกลบ ทำให้ลดต้นทุนในการปลูกผักได้มากตัวเราเปลี่ยนแปลงคือ ไม่เครียด ได้ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมา มีความสุข ผู้คนในหมู่บ้านก็เปลี่ยน เมื่อก่อนต้องมานั่งคุยกันเพื่อนๆ มีเยอะตอนนี้พวกเราไม่ได้มานั่งคุยเพราะต้องทำงานเดิมใช้เวลาไม่เป็นประโยชน์และใช้เวลาไม่คุ้มค่า แต่ตอนนี้ไม่มีเวลา วันนี้ได้วิธีคิดใหม่ คิดบวก ”

พี่ชาย เล่าว่า “สิ่งที่ได้ทำตามกิจกรรมคือ ปลูกผัก ถั่ว แตง ผักหวาน ทำให้มีรายได้เสริมเดือนละ 3,000 บาทตัวเราเองได้รู้จักทำปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยที่ไม่ใช้สารเคมี สามารถขายได้ในชุมชนทำให้ทุกคนได้กินของดี ไม่มีสารเคมี ลดต้นทุนการผลิตกิจกรรมนี้ทำให้ ตัวเราเปลี่ยนแปลงคือ คือ ไม่ต้องทำเยอะ ทำแต่พอเพียง และขายได้ ปลูกพอดี ขายหมด ราคาดี คนในครอบครัวเปลี่ยนแปลงเดิมมีเวลาว่าง ไม่มีอาชีพเสริมตอนนี้ทุกคนมาเรียนรู้และทำงานช่วยกัน เป็นการส่งเสริมให้ลูกหารายได้ ช่วงปิดภาคเรียน มีการให้คำแนะนำ เพื่อนๆ ข้างบ้าน เปลี่ยนคนในหมู่บ้านได้ มีการเปลี่ยนแปลง เพราะเศรษฐกิจช่วงนี้ไม่ดี ทุกคนได้ปลูก ไว้กินเอง เหลือไว้ขาย”

จำปี คุยให้ฟังว่า “ได้ปลูกมะเขือ เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ ปลูกผักเหตุผลที่ทำเพราะเราต้องดิ้นรน เศรษฐกิจไม่ดี เหลือกินไว้ขาย มีรายได้ ประมาณ 3,000 บาท เห็นผักสวยสดชื่นดี ครอบครัวเปลี่ยน จากเดิมต่างคน ต่างทำงาน ตอนนี้ก็มาช่วยกันมากขึ้น ลูกก็ไม่ต้องไปเที่ยวไหน กิจกรรมที่ทำในหมู่บ้าน คิดว่าเป็น คนในหมู่บ้านมีการแนะนำให้ จากเมื่อก่อนไม่คุย จากเมื่อก่อนมีการเล่นการพนันกันบ้าง ตอนนี้ก็ไม่มี
คนในหมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลง คือ การรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนกัน วิธีการ เปลี่ยนคน เปลี่ยนความคิด”

ป้าแดง เล่าว่า “มีการปลูกกล้วย ปลูกพริก เสริมสวน ปลูกของที่กินได้ ปลูกของที่ขายได้ มีการแจกผัก แจกของให้คนกิน มีความสุข ตอนนี้ทำทุกอย่าง เหนื่อยแค่ไหนก็ทำ เพราะมีเวลาน้อยกิจกรรมนี้ทำแล้วสนุก สบายใจมีผักก็เอาไปให้เขาแกงเวลามีงานไม่ขาย เป็นการแจกแล้ว เป็นการทำบุญ และสุขที่แท้จริง ”

พี่ถนอม เล่าว่า “มีการเลี้ยงปลานิลปลูกกล้วย มะนาว และผักหลายชนิด เมื่อทำไปแล้ว มีความสุข ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตัวเองเปลี่ยนแปลง โดยใช้ทำกิจกรรมแล้วเกิดความสุข เดิมเครียด งานจำเจพอได้ลงมือทำ สบายใจ ลูกได้มีกิจกรรม สามีมีกิจกรรมและมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 บาท
สังคมเปลี่ยน คือ ทำกิจกรรม เพื่อนได้เข้าไปแล้ว เพื่อนเห็น ทำจริง แนะนำเพื่อนได้ เกิดกลุ่มในหมู่บ้านตอนทำมีการสอนเพื่อนไปด้วย ตอนแรกทำ เพื่อนว่าสงสัยบ้าไปแล้วมีคนต่อต้าน ตอนนี้เขายอมรับแล้วมีคนทำตามแล้ว ทำโครงการนี้แล้ว มีความสุข ถ้ามีโครงการต่อยอดอยากต่อยอด”


โครงการนี้ทำให้หมู่บ้านเปลี่ยน 1.คนในหมู่บ้านเกิดความรัก มีความรัก สามัคคี ช่วยเหลือกันและกันมากกว่าเดิม มีการแลกเปลี่ยนความคิด
2.เกิดกลุ่มคลังอาหารในชุมชน และร่วมกันปลูก ผลิต ไม่ใช้สารเคมี 3.เดิมคนในหมู่บ้าน เมื่อก่อนต่างคนต่างทำตอนนี้มาร่วมกันทำกิจกรรม มีหน่วยงานรัฐมาช่วยเป็นพี่เลี้ยง

ความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้ 1.เรื่องปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมนไล่แมลง 2.มีการทำคลังอาหารชุมชนและผลิตอาหารไว้เองในชุมชน 3.มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยการปรับปรุงสภาพดินพรุให้สามารถปลูกพืชได้

คนในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลง 1.จากต่างคนต่างอยู่เริ่มพูดคุยเราสามารถเอาปัญหามาแลกเปลี่ยนกันได้ คุยเชิงลึกกันมากขึ้น 2.คนหันมาบริโภคผักที่เราปลูกเพราะเป็นผักปลอดสารพิษ 3.เป็นการลดปริมาณขยะ ทุกอย่างที่ย่อยสลายได้ นำมาทำปุ๋ย 4.สนับสนุนและส่งเสริมให้คนที่มีการปรับพฤติกรรม คิดดี คิดบวก
5.เป็นการลดความขัดแย้งในหมู่บ้าน
6.จากศัตรูกลายเป็นมิตร แนวคิดเป็นแนวเดียวกัน
7.จากไม่คุย ก็เริ่มหันมาคุย จับมือร่วมกันทำกิจกรรม

สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง 1.จากเดิมหลายคนที่อยู่บ้าน ไม่ทำอะไร ตอนนี้ลุกขึ้นมาปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ จนมีรายได้ 2.มีการใช้สารชีวภาพและผลิตเองในชุมชน เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3.ขยะครัวเรือน กลายเป็นปุ๋ยชีวภาพ 4.ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักและทำคลังอาหารในชุมชน ไม่มีพื้นที่ว่างเปล่า 5.อนุรักษ์สภาพดิน และน้ำให้คืนสู่ธรรมชาติเหมือนเดิม

กลไกเปลี่ยนแปลง 1.สมัยก่อนต้องแจกของจึงมาประชุมตอนนี้ไม่ต้องมีแจก เพราะทุกคนอยากได้ความรู้
2.จากเดิม ผู้ใหญ่ประชุม แล้วกลับบ้าน ตอนนี้มีการแลกเปลี่ยน มีกลุ่มองค์กรต่างๆมาเล่า
3.มีการเกิดวงเสวนา คุย เดิมไม่ค่อยรับตอนนี้ผู้รับผิดชอบคุย ทุกคนคุย

สรุป โครงการนี้ ทำให้ชุมชน เปลี่ยนจริง คือ การมาประชุม การลงมือทำจริงหนี้สินลดลงมีการแลกเปลี่ยนทัศนคติและเพิ่มความรู้ให้คนได้พัฒนา

นวัตกรรม 1.คลังอาหารที่บ้านดอนโรง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการนี้ทำให้หมู่บ้านเปลี่ยน 1.คนในหมู่บ้านเกิดความรัก มีความรัก สามัคคี ช่วยเหลือกันและกันมากกว่าเดิม มีการแลกเปลี่ยนความคิด
2.เกิดกลุ่มคลังอาหารในชุมชน และร่วมกันปลูก ผลิต ไม่ใช้สารเคมี 3.เดิมคนในหมู่บ้าน เมื่อก่อนต่างคนต่างทำตอนนี้มาร่วมกันทำกิจกรรม มีหน่วยงานรัฐมาช่วยเป็นพี่เลี้ยง

ความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้ 1.เรื่องปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมนไล่แมลง 2.มีการทำคลังอาหารชุมชนและผลิตอาหารไว้เองในชุมชน 3.มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยการปรับปรุงสภาพดินพรุให้สามารถปลูกพืชได้

คนในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลง 1.จากต่างคนต่างอยู่เริ่มพูดคุยเราสามารถเอาปัญหามาแลกเปลี่ยนกันได้ คุยเชิงลึกกันมากขึ้น 2.คนหันมาบริโภคผักที่เราปลูกเพราะเป็นผักปลอดสารพิษ 3.เป็นการลดปริมาณขยะ ทุกอย่างที่ย่อยสลายได้ นำมาทำปุ๋ย 4.สนับสนุนและส่งเสริมให้คนที่มีการปรับพฤติกรรม คิดดี คิดบวก
5.เป็นการลดความขัดแย้งในหมู่บ้าน
6.จากศัตรูกลายเป็นมิตร แนวคิดเป็นแนวเดียวกัน
7.จากไม่คุย ก็เริ่มหันมาคุย จับมือร่วมกันทำกิจกรรม

สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง 1.จากเดิมหลายคนที่อยู่บ้าน ไม่ทำอะไร ตอนนี้ลุกขึ้นมาปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ จนมีรายได้ 2.มีการใช้สารชีวภาพและผลิตเองในชุมชน เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3.ขยะครัวเรือน กลายเป็นปุ๋ยชีวภาพ 4.ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักและทำคลังอาหารในชุมชน ไม่มีพื้นที่ว่างเปล่า 5.อนุรักษ์สภาพดิน และน้ำให้คืนสู่ธรรมชาติเหมือนเดิม

กลไกเปลี่ยนแปลง 1.สมัยก่อนต้องแจกของจึงมาประชุมตอนนี้ไม่ต้องมีแจก เพราะทุกคนอยากได้ความรู้
2.จากเดิม ผู้ใหญ่ประชุม แล้วกลับบ้าน ตอนนี้มีการแลกเปลี่ยน มีกลุ่มองค์กรต่างๆมาเล่า
3.มีการเกิดวงเสวนา คุย เดิมไม่ค่อยรับตอนนี้ผู้รับผิดชอบคุย ทุกคนคุย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงโครงการ และคณะำงาน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การบันทึกกิจกรรมการดำเนินงานยังไม่ครอบคลุม ให้เพิ่มความครอบคลุม และการจัดทำหลักฐานทางการเขียน ต้องเขียนให้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้

สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 99 สิงหาคม 2559
9
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านดอนยโรง ครั้งที่ 9 โดยคณะทำงานเข้าร่วมประชุม กันที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านดอนโรง
ในเวลา 09.00น. วาระที่ 1 โดยนางหนูฟอง  หนูทอง  ผู้รับผิดชอบโครงการ ประชุมชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมา    คือสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิล สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่  2  เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า  และกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ  ตลาดสีเขียวชุมชน ครั้งที่ 1 สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 3  ในวันที่ 3-4 กันยายน 2559 จะมีการติดตามความคืบหน้าของการทำโครงการ ที่ ม.วลัยลักษ์ ร่วมกับพี่เลี้ยงและ  สจรส. โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบ ให้เตรียมเอกสารต่างให้เรียบร้อย และลงบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมลงภาพกิจกรรมให้เรียบร้อยด้วย วาระที่ 3 ชี้แจงกิจกรรมอื่นๆ           1) เมื่อวันที่ 7 สิงหาที่ผ่านมา ที่ผ่านมา ขอขอบคุณทุกท่านที่ไปลงคะแนนการออกเสียงประชามติ  ผลการลงประชามติ ตือ ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นชอบรับร้่างรัฐธรรมนูญ  เห็นชอบ  16,820,420 คน คิดเป็น ร้อยละ 61.35 ไม่เห็นชอบ 10,598,037 คิดเป็นร้อยละ 38.65 จากผู้ใช้สิทธิทั้งหมด  ส่วนประเด็นพ่วง(เพิ่มเติมของ  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.) เห็นชอบ  15,132,050 คน คิดเป็นร้อยละ  58.07 ไม่เห็นชอบ  10,926,648 คิดเป็นร้อยละ  41.93  บัตรเสียร้อยละ 3.15 จังหวัดที่ผู้มาใช้สิทธิ์ มากที่สุด คือ  จังหวัดลำพูน           2)พบไข้เลือดออกในอำเภอเชียรใหญ่ 3 ราย  แต่ไม่มีในเขตตำบลเขาพระบาท  แต่ก็ยังให้ช่วนกันดูแลและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง            3) พบผู้โรคคอตีบ  เสียชีวิต 1 ราย ที่อำเภอทุ่งสง ซึ่งเรียนอยู่ที่ โรงเรียนปัญญานุกูล ว฿่งรักษาที่โรงพยาบาลตรัง  ยังก็ฝากให้ช่วยดูแลลูกหลานถ้ามีอาการที่เสียงก็ให้ไปพบแพทย์            4)ในวันศุกร์ ที่ 26 จะมีการรณรงค์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยจะมีการรณรงค์ ทุกหมู่บ้าน  โดยจะมีการสำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์  โดยจะนัดพบ  อสม.พร้อมกันที่ รพ.สต. 08.30 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม30คน
  2. ได้มีการชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมาคือสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิล สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่2เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า และกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ ตลาดสีเขียวชุมชน ครั้งที่ 1 สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 3 ในวันที่ 3-4 กันยายน 2559 จะมีการติดตามความคืบหน้าของการทำโครงการ ที่ ม.วลัยลักษ์ ร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส. โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบ ให้เตรียมเอกสารต่างให้เรียบร้อย และลงบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมลงภาพกิจกรรมให้เรียบร้อยด้วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มีั

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มีั

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มีั

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 42 สิงหาคม 2559
2
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างคลังอาหารในการเพาะเห็ด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เห็ดนางฟ้า จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่นิยมรับประทานมากไม่แพ้กว่าเห็ดนางรม และเห็ดฟาง เนื่องจาก เห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ง่าย มีเวลาในการเพาะสั้น ดอกเห็ดออกจำนวนมาก ดอกเห็ดให้เนื้อนุ่ม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ แกงเลียง และต้มยำ เป็นต้น ลักษณะของเห็ดนางฟ้า ดอกเห็ดนางฟ้าจะมีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม และคล้ายกับเห็ดนางรมมากจนเกือบแยกไม่ออก แต่สีของขอบดอกของเห็ดนางฟ้าจะอ่อนกว่าเห็ดนางรม ในขณะที่เห็ดนางรมขอบดอกจะมีสีคล้ำมากกว่า ส่วนตัวดอกเห็ดนางฟ้าจะบางกว่าเห็ดนางรม และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า และเมื่อเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ พบว่า ก้านดอกของเห็ดนางฟ้าจะค่อนอยู่ตรงกลางดอกมากกว่าดอกของเห็ดเป๋าฮื้อที่เยื้องไปอยู่ริมขอบดอกด้านใดด้านหนึ่ง และก้านดอกของเห็ดนางฟ้าจะเล็กกว่าก้านดอกของเห็ดเป๋าฮื้ออย่างชัดเจน ส่วนเห็ดนางฟ้าอีกชนิด คือ เห็ดนางฟ้าภูฐาน เป็นเห็ดที่นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมเช่นกัน โดยดอกเห็ดนางฟ้าอาจออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกแน่น มีก้านดอกสั้น สีขาว ไม่มีวงแหวน ดอกเห็ดอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่มากสีมีสีขาวอมสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นใยค่อนข้างละเอียด ขั้นตอน และวิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า โรงเรือน และวัสดุเพาะ 1. โรงเรือน สำหรับเห็ดนางฟ้าจะใช้โรงเรือนที่วางเป็นรูปตัวเอ และควรมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควร มีแสงตามความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้คือ เมื่อเดินทางเข้าในโรงเห็ดแล้วควรจะหายใจสะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อนเกินไปโครงสร้างของโรงเรือนทำ ได้ 2 แบบ แบบแรกเป็น โรงเรือนชั่วคราว ใช้วัสดุไม่ถาวร ลงทุนไม่มาก เสาทำ ด้วยไม้ไผ่ หรือเสาเข็ม หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้าคา อายุการใช้งานประมาณ 3 – 4 ปี โรงเรือนถาวร เป็นโรงเรือนสังกะสีหรือกระเบื้องลอน แต่อาจมีปัญหาเรื่องความร้อน จึงควรทำ หลังคาให้สูงขึ้น และควรมีท่อน้ำพาดบนหลังคาเพื่อปล่อยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมิสูงมาก อายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป 2. การจัดวางก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน โรงเรือนนี้ภายในทำเป็นแผงสำหรับวางก้อนเชื้อ ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นรูปแบบตายตัว สามารถวางเห็ดได้มาก นิยมใช้ไม้ไผ่ประกอบกันเป็นรูปตัวเอ (A) หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง แล้ววางก้อนเชื้อซ้อนทับกันไป หันปากถุงออกทางด้านข้างชั้นทั้งสองด้าน ทำช่องระบายอากาศขนาด 40 x 60 เซนติเมตร จำนวน 1– 2 ช่อง สำหรับระบายอากาศด้วยการวางถุงก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจะวางในแนวนอน เช่น การวางในแนวนอนโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ ประมาณ 3 – 5 ก้อน หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน ดอกเห็ดจะโผล่ออกมาทางปากถุง 3. วัสดุเพาะ และสารอาหาร วัสดุที่นิยมใช้เป็นวัสดุหลักในการเพาะเห็ดนางฟ้า คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารำ เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องหมัก เก็บรักษาง่าย สามารถเก็บไว้ในสภาพแห้งๆ ก็ได้ หรือทิ้งอยู่กลางแจ้งเปียกน้ำ เปียกฝนก็ได้ การใส่อาหารเสริม ในการทำก้อนเชื้อ มักนิยมเติมแร่ธาตุอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารเสริมที่เห็ดสามารถนำไปใช้ได้โดยตรงในกองขี้เลื่อยหมักหรือขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เพื่อให้เส้นใยเดินเร็ว และให้ผลผลิตสูงขึ้น อาหารเสริมที่ใช้ได้แก่ 1. รำละเอียด อุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามินบี ซึ่งเป็นที่ต้องการของเห็ดมาก 2. ปูนขาว และยิบซั่ม ปูนขาวช่วยลดความเป็นกรด และยิปซั่มช่วยลดความเป็นด่าง เพื่อ ให้วัสดุเพาะมีสภาพเป็นกลาง หรือค่าของกรดด่างอยู่ในระดับ 6.5 – 7.2 3. ดีเกลือ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใย และเร่งการเกิดดอกเห็ด สูตรส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า – ขี้เลื่อยไม้ยางพารำแห้ง 100 กิโลกรัม – รำละเอียด 5 กิโลกรัม – ปูนขาว 1 กิโลกรัม – ยิบซั่ม 2 กิโลกรัม – ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม – ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ส่วนผสมนี้บางฟาร์มอาจแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมหรืออาจมีส่วนผสมอื่นเพิ่มเติมก็ได้ ขั้นตอนการเพาะนางฟ้าในถุงพลาสติก 1. การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์ 2. การผลิตหัวเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่าง 3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า 4. การบ่มเส้นใยเห็ดนางฟ้า 5. การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา 1. การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์ คือ การนำเอาดอกเห็ดหรือสปอร์มาเพาะให้เห็ดเจริญขึ้น เป็นเส้นใย เพื่อใช้ขยายพันธุ์ไปทำ หัวเชื้อต่อไป โดยจะเลี้ยงเส้นใยเห็ดบนวุ้นPDA – อุปกรณ์ที่จะใช้ในการแยกเชื้อเห็ด ประกอบด้วย เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียงแอลกอฮอล์ และตู้เขี่ยเชื้อ เวลาใช้ก็ยกสิ่งของต่างๆ ที่ต้องการเข้าไปไว้ภายในแล้วปิดช่องเสียไม่ให้ลมพัดเข้าไป แต่ด้านบนของตู้ควรมีช่องให้อากาศหรือลมร้อนระบายออกได้เล็กน้อย ก่อนใช้งานจะต้องเช็ดตู้ฆ่าเชื้อภายในให้ทั่วด้วยแอลกอฮอล์ – การคัดเลือกดอกเห็ดมาทำพันธุ์ เลือกดอกเห็ดที่มีลักษณะสมบูรณ์ เป็นดอกที่โตแข็งแรง ดอกใหญ่ น้ำหนักดอกมาก เนื้อแน่น ก้านดอกมีลักษณะแข็งแรงหรือโคนต้นหนา อายุประมาณ 3 วัน หรือก่อนปล่อยสปอร์ 1 วัน ดอกเห็ดที่จะนำ มาแยกเชื้อนี้อย่าให้เปียกน้ำเป็นอันขาด ซึ่งถ้าเป็นดอกที่เพิ่งเก็บเอามาจากแปลงใหม่ๆ ยิ่งดี 2. การทำหัวเชื้อเห็ดนางฟ้าบนเมล็ดข้าวฟ่าง การทำเมล็ดข้าวฟ่าง – นำ เมล็ดข้าวฟ่างมาต้มจนสุกนิ่มพอดีอย่าให้ถึงกับเละ – นำ ไปใส่ตะแกรงกรองเอาน้ำ ออกให้หมด ผึ่งแดดพอแห้ง – กรอกเมล็ดข้าวฟ่างที่แห้งแล้วใส่ขวด เพียงครึ่งขวดหรือประมาณ 2 ใน 3 ของขวด เพื่อช่วยให้เส้นใยเจริญได้รวดเร็ว การกรอกเมล็ดข้าวฟ่างใส่ขวด ควรใช้กรวย สวมปากขวดจะช่วยให้กรอกได้ง่ายขึ้น และเพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดข้าวฟ่างเปื้อนปากขวด ถ้าหากเปื้อนปากขวดก็ควรเช็ดปากขวดให้สะอาดและแห้ง – ใช้สำลีอุดปากขวดให้แน่นพอดี ใช้กระดาษหุ้มทับสำลีอีกชั้นหนึ่งแล้วรัดด้วยยาง เพื่อ ป้องกันสำลีเปียกเวลานึ่ง – นำขวดเชื้อไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งความดัน ให้มีความดันไอน้ำ จำนวน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว นาน 25 นาที แล้วทิ้งให้เย็น การถ่ายเชื้อเห็ดจากอาหารวุ้นลงในขวดเมล็ดข้าวฟ่าง ขวดเมล็ดข้าวฟ่างที่นึ่งเรียบร้อยแล้ว จะยังเป็นเพียงเมล็ดพืชที่ต้มแล้วเท่านั้นถ้าหากยังไม่ใส่เชื้อเห็ดลงไป เราจึงต้องนำเอาเชื้อเห็ดนางฟ้าจากขวดอาหารวุ้นที่ได้คัดเลือก และเตรียมไว้แล้ว นำมาถ่ายเชื้อหรือต่อเชื้อในเมล็ดข้าวฟ่างเสียก่อน จึงนำ ไปใช้ได้ 3. การทำถุงเชื้อเห็ดนางฟ้า อุปกรณ์ที่จะต้องใช้มี ถุงร้อนขนาด 7×11 นิ้ว หรือ 9×12 นิ้ว หรือใหญ่กว่านี้ คอขวดพลาสติกทำจากพลาสติกทนร้อน สำลี ยางรัด กระดาษหุ้มสำลี และช้อนตัก การทำถุงเชื้อ – นำขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนหรือขี้เลื่อยไม้ยางพารำ ผสมด้วยปูนขาวประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียดประมาณ 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามส่วนผสมนี้บางฟาร์มอาจแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมหรืออาจมีส่วนผสมอื่นๆ เพิ่มเติมก็ได้ – การหมักปุ๋ยเมื่อครบกำหนด 1 คืนแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงเติมรำละเอียดตามอัตราส่วน หรืออาจเติมดีเกลือลงไปด้วย การผสมน้ำ สำหรับเห็ดนางฟ้า อาจต้องผสมน้ำ ให้ชื้นปกติไม่ให้แห้งหรือแฉะเกินไป – บรรจุในถุงพลาสติก เกือบเต็มถุง หรือประมาณ 1 – 1.2 กิโลกรัม เว้นปากถุงไว้สำหรับสวมคอขวดพลาสติก เพื่อการเขี่ยเชื้อ เมื่อใส่ปุ๋ยหมักลงในถุงแล้วให้ยกถุงกระทุ้งเบาๆเพื่อให้ขี้เลื่อยแน่นหรืออาจใช้มือกดลงไป บางฟาร์มเห็ดมีเครื่องบรรจุถุง ก็นำ มาใช้ได้ เมื่อปุ๋ยแน่นแล้วก็รวบปากถุงและใช้คอขวดสวมลงไป ใช้มือดึงถุงให้ตึงแล้วรวบปากถุงลงมา ด้านนอกใช้ยางรัดให้แน่น ก็จะทำ ให้ปากถุงก้อนเชื้อแคบลงมีขนาดเท่ากับคอขวด มันจะคงรูปร่างเช่นนี้เรื่อยไป เพื่อใช้สำหรับให้มีที่ว่างของอากาศสำหรับเขี่ยเชื้อเห็ดลงไป – ใช้ไม้ปลายแหลมเจาะรูปุ๋ยจากคอขวดให้ลึกลงเกือบกึ่งกลางถุง เพื่อ ให้ เชื้อเห็ดที่ใส่ลงไปเจริญได้จากบริเวณกลางถุงหรืออาจไม่เจาะก็ได้ หากไม่เจาะเส้นใยเห็ดก็จะเจริญ จากด้านบนลงมา เช่นเดียวกับการทำ หัวเชื้อในเมล็ดข้าวฟ่าง ทั้งนี้ก็แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละฟาร์ม – ใช้สำลีอุด แล้วหุ้มด้วยกระดาษและรัดด้วยยาง หรืออาจใช้ฝาครอบสำลี แทนกระดาษก็ได้ เพื่อ ไม่ให้สำลีเปียกในเวลานึ่ง สำลีที่เปียกอาจนำ เชื้อราต่างๆ เข้ามาในถุงได้ง่าย 4. ขั้นตอนการบ่มเส้นใยเห็ดนางฟ้า ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า หลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว จะนำก้อนเชื้อนี้ไปบ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือในโรงบ่มที่ทำ ไว้โดยเฉพาะ ไม่มีลมโกรกและโรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย เพื่อ รอให้เส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 2–3 สัปดาห์ ระยะบ่มที่มาตรฐานคือ ประมาณ 22–28 วัน ยกเว้นฤดูหนาวใช้เวลาเพียง 15–20 วันเท่านั้น ก้อนเชื้อที่ดีเส้นใยเห็ด จะเจริญอย่างสม่ำเสมอเป็นสีขาวทั่วทั้งก้อน หากเส้นใยเดินชะงักหรือไม่เดินลงมา ซึ่งอาจจะเกิดจากมีเชื้อราขึ้นปะปนจากการนึ่งไม่ทั่วถึงหรือในระหว่างการเขี่ยเชื้อ ซึ่งแสดงว่าเชื้อเสีย ลักษณะก้อนเชื้อที่แฉะบริเวณก้นถุง ก็เป็นก้อนเชื้อที่เสียแล้วเช่นกัน ควรคัดออกทิ้งไป การบ่มเชื้อ จะลำเลียงก้อนเชื้อจากห้องเขี่ยเชื้อเข้ามายังโรงบ่มนี้ นำก้อนเชื้อไปวางเรียงบนชั้นจนเต็ม จะวางทางตั้งสำหรับชั้นวางที่ถาวร หรือวางแนวนอนสำหรับชั้นแบบเสาคู่ซึ่งไม่ควรเกิน 3 ก้อน เพราะจะทำ ให้ก้อนเชื้อที่อยู่ตรงกลางมีความร้อนสูงเกินไป จนเป็นผลเสียภายหลังได้ 5. ขั้นตอนการเปิดดอกเห็ด สำหรับลักษณะของวิธีการเปิดถุงเพื่อให้เห็ดออกดอก และลักษณะของการวางถุงก้อนเชื้อในโรงเรือน สามารถทำได้หลายวิธี คือ – เปิดจากสำลีให้ออกดอกเห็ดที่ปากถุง ดึงจุกสำลีออกวางถุงในแนวนอนกับพื้นโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน พ่นละอองน้ำเป็นฝอยละเอียดเห็ดจะเกิดแล้วโผล่ออกมาทางปากถุงได้เอง วิธีนี้นิยมทำ กันมากกว่าวิธีอื่น สามารถให้ผลผลิตเห็ดได้หลายรุ่น การวางก้อนเชื้อซ้อนกันในลักษณะนี้ เมื่อเก็บผลผลิตได้ 2-3 รุ่น ก้อนเชื้อจะยุบตัวลงมาทำ ให้ถุงเชื้อแน่นอยู่ตลอดเวลา เส้นใยเห็ดสามารถส่งอาหาร เพื่อทำ ให้เกิดดอกเห็ดใหม่ได้อีกหลายครั้ง แต่การวางก้อนเชื้อแบบนี้มีข้อเสียคือ ก้อนเชื้อชั้นล่างๆ มักจะถูกทำลายด้วยรำเมือกหรือเน่าเปื่อยก่อน เพราะถูกทับมากเกินไป ดังนั้นการวางก้อนเชื้อซ้อนกันจึงไม่ควรวางเกิน 12 ถุง – พับปากถุง หลังจากที่เอาคอขวดออกแล้ว เปิดปากถุงพับลงมา ม้วนปากถุงให้อยู่ในระดับเดียวกับวัสดุเพาะหรือก้อนเชื้อ อาจวางก้อนเชื้อเห็ดได้ทั้งในแนวนอนหรือแนวตั้งบนชั้นวางติดๆ กัน วิธีนี้จะเกิดดอกเห็ดครั้งละหลายดอก แต่ดอกเล็กลง เพราะแย่งอาหารกัน การวางบนชั้นลักษณะเช่นนี้ อาจทำให้จำนวนถุงเชื้อมีน้อย จึงเก็บความชื้นได้น้อย แต่อากาศหมุนเวียนได้ดีจึงต้องคอยรักษาความชื้นในโรงเรือนไม่ให้แห้งเร็วเกินไป – ตัดปากถุง เป็นการเปิดปากถุงโดยใช้มีดโกนปาดปากถุงออก ตรงส่วนของคอขวด เมื่อตัดออกไปแล้วจะเหลือถุงพลาสติกหุ้มก้อนเชื้อส่วนบนอยู่บางส่วน การเปิดวิธีนี้ จะได้ดอกเห็ดน้อยกว่าวิธีแรก แต่น้ำ หนักดอกเห็ดจะดีกว่า – กรีดข้างถุง นำก้อนเชื้อมาถอดเอาคอขวด และจุกสำลีออก รวบปากถุงรัดยางให้แน่น ใช้มีดคมๆ กรีดข้างถุงให้เป็นแนวยาวประมาณ 5 – 10 แถว หรือกรีดแบบเฉียงเล็กน้อยยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร หรือกรีดเป็นกากบาทเป็นจุดเล็กๆ ก็ได้ อาจวางถุงบนชั้นทางแนวนอน แล้วกรีดด้านก้นถุงอีกด้านหนึ่งหรือจะไม่วางบนชั้น แต่ใช้เชือกรัดปากถุงให้แน่น แขวนไว้ในแนวตั้งสลับสูงบ้างต่ำบ้าง ระยะห่างของถุงประมาณ 5-7 เซนติเมตร – การเปลือยถุง แกะเอาถุงพลาสติกออกหมดทั้งก้อน แล้วเอาก้อนเชื้อวางลงใส่ในแบบไม้หรือในตะกร้า รดน้ำ ให้เปียกทั่วทั้งก้อน เวลาเกิดดอกเห็ดจะได้เกิดทุกส่วน คือ ด้านบน และด้านข้างแต่ต้องรักษาความชื้นในโรงเรือนให้สูงมาก เพราะก้อนเชื้อจะสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็ว แบบนี้เกิดดอกเห็ดได้เร็ว เกิดขึ้นรอบก้อนแต่หมดไปเร็ว และดอกเห็ดเล็กมาก เพราะแย่งอาหารกัน

ารเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อเอาถุงก้อนเชื้อมาเปิดรดน้ำ และมีการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะเกิดดอกเห็ดเล็กๆ ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ขณะที่กำลังเกิดเป็นดอกเห็ดเล็กๆ นี้ หากดูแลในเรื่องของความชื้นได้ดี ดอกเห็ดก็จะโตเต็มที่ภายใน 4–5 วัน ส่วนมากจะเก็บได้ ในวันที่ 4 ถ้าทิ้งไว้นานกว่านั้น ดอกเห็ดจะสร้างสปอร์ออกมาเป็นผงสีขาวละเอียด หลุดร่วงหล่นลงด้านล่าง ดอกเห็ดที่สร้างสปอร์ไปแล้วคุณภาพจะด้อยลง คือ เหนียวขึ้นและรสชาดก็จะขม ลักษณะของดอกเห็ดที่แก่พอจะเก็บเกี่ยวได้ สังเกตจากก้านของดอกเห็ดจะหยุดการเจริญเติบโตทางด้านความยาว หมวกดอกเริ่มคลี่ออกมาประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วเริ่มสร้างสปอร์บ้าง ขอบดอกจะหนา และรวมตัวเข้าหากัน การเก็บดอกเห็ดควรเก็บในตอนเช้ามืด ให้ใช้มือดึงที่โคนออกมาเบาๆ ไม่ควรใช้มีดตัด เพราะเศษเห็ดที่ติดอยู่กับก้อนเชื้อจะเน่า เกิดเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เมื่อเก็บดอกเห็ดมาแล้ว จึงใช้มีดหรือกรรไกรตัดเอาส่วนโคนที่มีเศษขี้เลื่อยติดมาวางเห็ดคว่ำไว้ในตะกร้าที่สะอาดแต่ละตะกร้าไม่ควรใส่ดอกเห็ดลงไปมากเกินไป หรือไม่ควรใส่เกิน 5 กิโลกรัม/ตะกร้า เพื่อไม่ให้น้ำ หนัก ของดอกเห็ดกดทับกันจนเสียหาย

เพาะแทน รวมทั้ง ก้อนเชื้อบางก้อนที่เน่าเสียไปอย่างรวดเร็วกว่าก้อนอื่นๆให้แยกออกไปแล้วนำ รุ่นใหม่เข้ามาแทนเช่นกัน ก้อนเชื้อที่หมดสภาพหรือหมดอายุแล้ว จะมีน้ำหนักเบา บางก้อนจะเละมีสีดำคล้ำ ถึงระยะนี้อาจนำออกมาทั้งหมด จากนั้นจึงล้างโรงเรือนให้สะอาดก่อนนำ ก้อนเชื้อรุ่นใหม่เข้าไปเพาะต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม100 คน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ในการเพาะเห็ดนางฟ้าการเตรียมโรงการทำก้อนเชื้อการเปิดดอกการเก็บเกี่ยวการดูแลรักษา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน  ตัวแทนครัวเรือน  ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 326 กรกฎาคม 2559
26
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสานโดยการเลี้ยงปลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 1 เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิล

1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในวันนี้คือการมาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นสามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง ซึ่งในครั้งก่อนได้ผู้เชียวชาญ มาสอนวิธีการเลี้ยงปลานิลและไปดูบ่อปลานิล ที่สวนของ พี่หนูฟองเพื่อใช้เป็นบ่อเพาะเลี้ยง พ่อพันธ์แม่พันธุ์ปลานิล และในวันนี้เราก็จะมาเรียนรู้ดารเลี้ยงปลานิลกันและก็จะไปดูปลาที่บ่อปลานิลกัน หลังจากได้ลงพันธุ์ปลานิลไปแล้ว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม100 คน

ได้เรียนรู้เกี่ยวการเพาะพันธู์ปลานิลตั้งแต่การเตรียมบ่อการปล่อยปลาลงเลี้ยง การให้อาหาร โดยขั้นตอนการเตรียมเลี้ยงปลานิล

การเตรียมบ่อและวิธีเลี้ยงหลักวิธีการเพาะเลี้ยงเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.บ่อ บ่อที่จะใช้เลี้ยงลูกปลานิลควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดตั้งแต่ 400ตารางเมตรขึ้นไประดับของน้ำในบ่อควรลึกประมาณ1เมตรตลอดปีทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโตและใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกันไปด้วยเพราะถ้าเป็นบ่อซึ่งมีขนาดเล็กแล้วลูกปลาที่เกิดขึ้นใหม่จะทวีจำนวนแน่นบ่ออย่างรวดเร็วทำให้ลูกปลาเหล่านี้มีขนาดไม่โตโดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อดังนั้นจึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆสำหรับให้แม่ปลาได้วางไข่ ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำเช่นคูคลองแม่น้ำก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออกเพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกมาอีกด้วยแต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลงและต้องมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย

2.การเตรียมบ่อ ถ้าเป็นบ่อที่ขุดใหม่ดินมักมีคุณภาพเป็นกรดควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อในอัตรา1กิโลกรัมต่อเนื้อที่10ตารางเมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าจำเป็นต้องปรับปรุงบ่อโดยกำจัดวัชพืชออกให้หมดเช่นผักตบชวาจอกบัวและหญ้าต่างๆเพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรค์ต่อการหมุนเวียนของอากาศซ้ำยังจะเป็นที่หลบซ่อนอยู่อาศัยของศัตรูที่เป็นอันตรายต่อปลาและเป็นการจำกัดเนื้อที่ซึ่งปลาต้องใช้อยู่อาศัยอีกด้วย ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงต้องกำจัดศัตรูของปลานิลให้หมดเสียก่อนได้แก่พวกปลากินเนื้อเช่นปลาช่อนปลาชะโดปลาบู่และปลาดุกถ้ามีสัตว์จำพวกเต่าพบเขียดงูก็ควรกำจัดให้พ้นบริเวณบ่อนั้นด้วยวิธีกำจัดอย่างง่ายๆคือโดยการระบายน้ำออกให้แห้งบ่อแล้วจับสัตว์ชนิดต่างๆขึ้นให้หมด การใส่ปุ๋ยโดยทั่วๆไปแล้วปลาจะกินอาหารซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและจากที่ให้สมทบเป็นจำนวนเกือบเท่าๆ กันดังนั้นในบ่อเลี้ยงปลาควรดูแลให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เสมอจึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติปุ๋ยที่ใช้ได้แก่มูลวัวมูลควายมูลหมูมูลเป็ดและมูลไก่นอกจากปุ๋ยมูลสัตว์ดังกล่าวแล้วปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดต่างๆก็ใช้ได้ อัตราการใส่ปุ๋ยในระยะแรกนั้นควรใส่ประมาณ250-300กิโลกรัมต่อไร่ในระยะหลังๆควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก วิธีการใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกควรตากให้แห้งเสียก่อนเพราะถ้าเป็นปุ๋ยที่ยังสดอยู่จะทำให้น้ำในบ่อมีแก๊สพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมากซึ่งจะเป็นอันตรายต่อปลาการใส่ปุ๋ยคอกควรใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อให้ละลายไปทั่วๆอย่าโยนให้ตกอยู่ในที่เดียวส่วนปุ๋ยพืชสดนั้นควรเทสุมเป็นกองไว้ตามมุมบ่อ1หรือ2แห่งโดยมีไม้ไผ่ปักล้อมไว้เป็นคอก รอบกองปุ๋ยพืชสดนั้นเพื่อป้องกันมิให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย อที่มีอาหารธรรมชาติมากหรือน้อยจะสังเกตได้โดยการดูสีของน้ำถ้าน้ำในบ่อมีสีเขียวแสดงว่ามีอาหารจำพวกพืชเล็กๆปนอยู่มากแต่ถ้าน้ำในบ่อมีสีค่อนข้างคล้ำมักจะมีอาหารจำพวกไรน้ำมากพวกพืชเล็กๆและไรน้ำมากพวกพืชเล็กๆและไรน้ำเหล่านั้นนับว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างดี

3.การปล่อยปลาลงเลี้ยง จำนวนปลาที่ปล่อย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็วดังนั้นจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มากนักสำหรับบ่อขนาดเนื้อที่1งาน(400ตารางเมตร)ควรใช้พ่อแม่ปลานิลเพียง50คู่หรือถ้าเป็นลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กก็ควรปล่อยเพียง400ตัวหรือ1ตัวต่อ1ตารางเมตร เวลาปล่อยปลาเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปล่อยปลาควรเป็นเวลาเช้าหรือเวลาเย็นเพราะระยะเวลาดังกล่าวนี้อุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนเกินไปก่อนที่จะปล่อยปลาควรเอาน้ำในบ่อใส่ปนลงไปในภาชนะที่บรรจุปลาแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ2-3นาทีเพื่อให้ปลาคุ้นกับน้ำใหม่เสียก่อนจากนั้นจึงค่อยๆจุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลานิลลงบนผิวน้ำพร้อมตะแคงภาชนะปล่อยให้ปลาแหวกว่ายออกไปอย่างช้าๆ

4.การให้อาหาร ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิดดังนั้นปลาชนิดนี้จึงเป็นปลาที่ให้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะพวกอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเช่นไรน้ำตะไคร่น้ำตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็กๆที่อยู่ในบ่อตลอดจนสาหร่ายและแหนถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหารสมทบเช่นรำปลายข้าวกากถั่วเหลืองกากถั่วลิสงกากมะพร้าวแหนเป็ดและปลาป่นเป็นต้นการให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไปควรกะให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของปลาเท่านั้นส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราว5%ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยงถ้าให้อาหารมากเกินไปปลาจะกินไม่หมดเสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์และยังทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายแก่ปลาได้
การเจริญเติบโต ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็วเลี้ยงในเวลา1ปีจะมีน้ำหนักถึง500กรัมและเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วพ่อแม่ปลาซึ่งมีขนาดโตเต็มที่เมื่อปล่อยลงเลี้ยงในบ่อจะเริ่มว่างไข่ภายใน2-3สัปดาห์ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ชุดนี้จะเริ่มวางไข่ได้ต่อไปอีกเมื่อมีอายุประมาณ3-4เดือน ด้วยเหตุที่ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วดังนั้นจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้จำนวนของปลาในบ่อมีปริมาณมากจนเกินไปหากพบว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากควรจะจับลูกปลาแบ่งออกไปเลี้ยงยังบ่ออื่นบ้างเพราะถ้าปล่อยให้อยู่กันอย่างหนาแน่นปลาก็จะไม่เจริญเติบโตและจะทำให้อัตราการแพร่พันธุ์ลดน้อยลงอีกด้วย
ประโยชน์ ปลานิลเป็นปลาซึ่งมีเนื้อมากและมีรสดีสามารถที่จะนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่างเช่นทอดต้มแกงตลอดจนทำน้ำยาได้ดีเท่ากับปลาช่อนนอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆโดยทำเป็นปลาเค็มตากแห้งแบบปลาสลิดปลากรอบปลาร้าปลาเจ่าปลาจ่อมหรือปลาส้มและยังนำมาประกอบเป็นอาหารแบบอื่นได้อีกหลายชนิดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วนั้นสามารถเก็บไว้ได้นานทั้งสามารถนำไปจำหน่ายนับเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง

5.การจัดการระหว่างการเลี้ยง ควรมีการตรวจสอบกระชังเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทุกๆ สัปดาห์ รวมทั้งสุ่มปลามาตรวจสอบน้ำหนักเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ได้อย่างเหมาะสม
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นข้อควรคำนึงอีกประการหนึ่งสำหรับการจัดการการเก็บเกี่ยวผลผลิต จากการเลี้ยงในกระชังควรคำนึงถึงขนาดของปลาและปริมาณที่ตลาดต้องการ - กระชังที่ใช้เลี้ยงปลานิลมีรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปกลม เป็นต้น รูปร่างของกระชังจะมีผลต่อการไหลผ่านของกระแสน้ำที่ถ่ายเทเข้าไปในกระชัง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเท่ากันๆ กระชังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะมีพื้นที่ผิวที่ให้กระแสน้ำไหลผ่านได้มากกว่ากระชังรูปแบบอื่นๆ - ขนาดกระชัง ที่ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ขนาดพื้นที่ที่แขวนกระชัง ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ขนาดกระชังที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ กระชังสี่เหลี่ยม ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.5 หรือ 2 x 2 x 2.5 เมตร กระชังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4 x 2 x 2.5 เมตร

6.สำหรับต้นทุนค่าสร้างกระชัง ต้นทุนต่อปริมาตรจะลดลงเมื่อขนาดของกระชังใหญ่ขึ้นแต่ผลผลิตต่อปริมาตรก็จะลดลงด้วย เนื่องจากกระชังใหญ่กระแสน้ำไม่สามารถหมุนเวียนได้ทั่วถึง ความลึกของกระชังส่วนใหญ่ที่ใช้จะมีความลึก 2.5 เมตร เมื่อลอยกระชังจะให้กระชังจมอยู่ในน้ำเพียง 2.2 เมตร โดยมีส่วนที่โผล่พ้นน้ำประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร ความลึกของกระชังมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาเช่นกัน ปกติระดับออกซิเจนทีละลายในน้ำจะสูงบริเวณผิวน้ำ ที่ระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ปริมาณออกศิเจนที่ละลายในน้ำเพียง 50 - 70 % ของปริมาณออกซิเจนที่ผิวน้ำเท่านั้น ดังนั้น การสร้างกระชังไม่ควรให้ลึกเกินไป เนื่องจากปลาจะหนีลงไปอยู่ในส่วนที่ลึกซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำ และจะส่งผลให้ปลากินอาหารน้อยมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ดังนั้นขนาดกระชังขึ้นอยู่กับปัจจัยเป็นองค์ประกอบของการเลี้ยงซึ่งผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจโดยพิจารณาถึงจำนวนปลาที่ปล่อย กระชังขนาดเล็กที่ปล่อยหนาแน่น ให้ผลผลิตต่อปริมาตรสูง ดูแลจัดการง่าย แต่ผลผลิตรวมอาจต่ำกว่ากระชังขนาดใหญ่ดังกล่าวข้างต้น

นอกจากนี้บริเวณผนังกระชังด้านบน ควรใช้มุ้งเขียวขนาดความกว้างประมาณ 90 เซนติเมตร ขึงทับไว้เพื่อป้องกันมิให้อาหารหลุดออกนอกกระชังในระหว่างการให้อาหาร
การแขวนกระชัง ควรแขวนให้กระชังห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมุมอับระหว่างกระชังเป็นการลดสภาวะการขาดออกซิเจน หากจำเป็นควรใช้เครื่องตีน้ำหรือเครื่องสูบน้ำช่วยให้เกิดการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำภายในกระชังและเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำอีกด้วย
ขนาดตาอวนที่ใช้ทำกระชัง จะต้องเหมาะสมกับขนาดปลาที่เลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหนีลอดไปได้ อีกทั้งจะต้องให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวกและป้องกันไม่ให้ปลาขนาดเล็กภายนอกเข้ามารบกวนและแย่งอาหารปลาในกระชัง ขนาดตาอวนที่ใช้ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 1.5 x 1.5 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ขัดขวางการหมุนเวียนของน้ำผ่านกระชัง กระชังควรมีฝาปิดซึ่งอาจทำจากเนื้ออวนชนิดเดียวกับที่ใช้กระชังหรือวัสดุที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันปลาที่เลี้ยงหนีออกและปลาจากภายนอกกระโดดเข้ากระชัง รวมทั้งป้องกันไม่ให้นกมากินปลาที่เลี้ยง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน  ตัวแทนครัวเรือน  ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 87 มิถุนายน 2559
7
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสภาผู้นำบ้านดอนโรงครั้งที่ 8 หารือวาระหมู่บ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมประชุม 50 คน
  2. แนวทางการดำเนินงานรณรงค์ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กโดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ (เมื่อ 2 เมษายน 2559) จัดให้มีการคัดกรองพัฒนาการเด็ก ช่วง 4 – 8 กรกฎาคม 59
  3. กิจกรรม 1. ตรวจพัฒนาการเด็ก2.ปั่นหาความเข้มข้นเลือด 3.นำสมุดปกขาวพัฒนาการ 4.สมุดสีชมพู นัดหมาย วันที่ 6- 7 กรกฎาคม เวลา 13.00 -16.00 น.ห้องประชุม รพสต.เขาพระบาท • สำหรับเด็กที่ไม่ได้ในอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย จะนัด ช่วง 12 – 15 กรกฎาคม 59 • วันนี้ให้ทุกคน ส่งรายชื่อเด็กในเขตรับผิดชอบให้ด้วย เพื่อจะได้ทำหนังสือเชิญต่อไป
  4. การรับร่างรัฐธรรมนูญ จะมีการรับร่างในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และจัดให้มีการจัดอบรม ครู ค หมู่บ้าน ละ 4 คน ในวันที่ 14 มิย.59 ที่ศาลาประชาคม
  5. การจัดงานกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ที่ศาลากลาง
  6. ให้ค้นหาผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ของทุกพระองค์ (สำรวจและขึ้นทะเบียน) ให้ทุกหมู่บ้านช่วยกันสำรวจ
  7. สาเหตุการป่วยด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของอำเภอเชียรใหญ่

อันดับ 1 ปอดบวมพบ 137.45 ต่อแสนประชากร
อันดับ 2 อุจจาระร่วง พบ 114.53 ต่อแสนประชากร อันดับ 3 สุกใส พบ 57.26 ต่อแสนประชากร อันดับ 4 อาหารเป็นพิษ พบ 47.23 ต่อแสนประชากร อันดับ 5 ไข้เลือดออก พบ 30.65 ต่อแสนประชากร

สถานการณ์ไข้เลือดออก ทั้งจังหวัด พบ 595 รายเชียรใหญ่ พบในเดือนพฤษภาคม จำนวน 16 ราย
ฉี่หนูทั้งจังหวัด 71 ราย ตาย 3 รายเชียรใหญ่ พบป่วยสูงสุด มือเท้าปาก เดือนนี้ 4 ราย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและประชาชน 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 77 พฤษภาคม 2559
7
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสภาผู้นำ รายงานผลโรคเรื้อรัง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การควบคุมโรคไข้เลือดออก ช่วงเดือนเมษายน ทั้งเดือนเป็นเดือนรณรงค์ควบคุมไข้เลือดออก และกำหนดให้ อสม.ส่งรายงาน(ตอนนี้มีการรวบรวมรายงานแล้ว ไม่ครบทุกคน ใครยังไม่ส่งให้ส่งด้วย)
  2. ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับเขตภัยแล้ง ตำบลเขาพระบาท หมู่ที่ 1 – 9 ประกาศเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559
  3. มาตราการช่วยเหลือด้านการแพทย สำหรับผู้ประสบภาวะภัยแล้ง
  4. มะเร็งปากมดลูกให้ทุกหมู่บ้านสำรวจรายชื่อ หญิงอายุ 30–60 ปีเพื่อทำการรณรงค์มะเร็งปากมดลูก ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 ให้สำรวจโดยไปสอบถาม และส่งรายชื่อภายใน 30 พฤษภาคม 2559
  5. วันที่รณณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก วันพุธที่ 15,21, 29 มิถุนายน จำนวน 150 คน
  6. งานที่จะดำเนินการเดือนนี้ คือ

1.การเจาะเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี100 คน

2.การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในกลุ่ม ผู้ป่วยเบาหวาน 100 คนหอบหืด 64 คนไต 1 คนหัวใจ 4 คน หลอดเลือดสมอง 4 คน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 70 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 67 เมษายน 2559
7
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้มีการประชุมคณะทำงานและประชาชน เวลา 09.00 น. นายสุนันต์ ชุมทอง ผุ้ใหญ่บ้านได้เปิดเวทีการประชุม พูดคุยเรื่องยาเาพติด เรื่องเงินกู้ และเรื่องอื่น ๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้ใหญ๋บ้านได้แจ้งให้ลูกบ้านทราบเรื่องยาเสพติด โดยเฉพาะน้ำท่อม ขอความร่วมมือทุกครัวเรือนช่วยดูแลบุตรหลานของตนเองด้วย
    เนื่องจากตอนนี้ทางอำเภอได้ลงปฏิบัติการจริง และได้มอบหมายให้ทุกหมู่บ้านช่วยกันสอดส่องดุแล
  2. ขอความรว่มมือลูกบ้านทุกคน เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬาหมู่บ้าน ในวันที่ 8 - 12 เมษายน 2559 และขอให้ทุกคนได้ลงเล่นกีฬาของหมู่บ้านด้วย
  3. เดือนนี้เป็นวันสงกรานต์และวันสูงอายุ ขอเชิญทุ่กคนเข้าร่วมกิจกรรม รดนำ้ผู้สูงอายุที่วัดแดง เวลา 13 เมษายน 59

วาระที่ 2 ผู้ใหญ่สุนันต์ ได้บอกให้ประชาชนว่า เงินที่ได้ขอกู้ ตอนนี้มาแล้ว ขอให้ดำเนินการให้เรียบร้อยด้วย

วาระที่ 3 นางหนูฟอง หนูทอง ได้แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข

1.การควบคุมโรคไข้เลือดออก ช่วงเดือนเมษายน ทั้งเดือนเป็นเดือนรณรงค์ควบคุมไข้เลือดออก

  • สถานการณ์ ช่วงนี้ยุงเยอะ และกำหนดให้ทุกวันพฤหัส เป็นวันกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • ให้ทุกคนส่งรายงาน คนละ 4 ชุด ตั้งแต่วันที่ 1, 7, 12, 21 และ 28 เมษายน 59
  • ให้ทุกหมู่บ้าน ตัวแทน 1 คน รายงานสถานการณ์ ควบคุมโรคไข้เลือดออก
  • จะมีวิธีการควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างไร

2.รายงานอุบัติเหตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วง 7 วัน อันตรายรวม 702 คน ตาย 9 คน ภาพรวมทั้งประเทศ สรุป 7 วันสงกรานต์ ตายพุ่ง 442 เจ็บ 3,656 คนสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ขับเร็วเกินกำหนดร้อยละ 35.57ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ79.14เรียกตรวจยานพาหนะ617,870 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี 95,483รายโดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่
จ.นครศรีธรรมราช และ จ.เชียงใหม่ 14จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่จ. เชียงใหม่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่จ.นครศรีธรรมราช

3.ช่วงหน้าร้อน ปีนี้อากาศร้อนมาก และคาดว่าน่าจะถึง 45 องศา และต้องระวังโรคอาหารเป็นพิษ บิด พิษสุนัขบ้า ไทฟอยด์ เป็นลม โรคผิวหนังและสิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษคือ เรื่องไฟสิ่งที่ก่อเชื้อเพลิงการใช้ไฟฟ้าและการถอดปลั๊กเสียบไฟฟ้า

4.มะเร็งปากมดลูก ทุกหมู่ช่วยสำรวจ หญิงอายุ 30–60 ปี และรณรงค์มะเร็งปากมดลูก ปลายพฤษภาคม 59

5.ปัญหาที่พบช่วงนี้ เรื่องจดหมายเชิญ กลุ่มเป้าหมาย มักจะไม่ถึงมือกลุ่มเป้าหมาย เพราะอะไร
และสิ่งที่ตามมือ คือ อสม.ช่วย ไปแนะนำตัวให้ชาวบ้านรู้จักด้วยว่า ตนเอง รับผิดชอบ ครัวเรือนนี้

  1. กิจกรรมพัฒนาเดือน พฤษภาคม 59 คือการวัดสายตาผู้สูงอายุ ด้วยการอ่านตัวเลขและการทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้ทุกหมู่บ้านนัดหมายผู้สูงอายุให้ด้วย

วาระโครงการคลังอาหารบ้านดอนโรง
ตอนนี้เงินยังไม่โอนเข้ามา แต่ส่ิงที่พวกเราต้องช่วยกัน การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ให้ทุกคนช่วยกันปลูกผัก ตอนนี้หน้าแล้ง แต่ทุกคนต้องช่วยกันประหยัดน้ำ และช่วยกันสร้างคลังอาหารให้ได้
ส่ิงที่ทุกคนทำได้ คือ การปลูกผักไว้กินเองข้างบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและประชาชน 65 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างแผนครัวเรือน แผนชีวิต31 มีนาคม 2559
31
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้วยกระบวนการสร้างคลังอาหาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้คณะทำงานได้เชิญกลุ่มแกนนำมาพูดคุยและ ร่วมกันวางแผนการดำเนินชีวิต แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า พลังที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาความยากจนคือพลังของคนในครัวเรือนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของปัญหานั่นเอง โดยหัวใจสำคัญคือครัวเรือนต้องรู้จักตนเอง รู้ที่จะปรับความคิดในการพิชิตความจนเนื่องจากความคิด คือ จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ครัวเรือนต้องคิดเป็น และต้องตั้งเป้าหมายในชีวิต ด้วยตัวของครัวเรือนเอง ต้องตั้งสติของตนเองว่าชีวิตนี้เป็นของเรา เราจะทำอย่างไรกับชีวิตของเรา เป้าหมายในชีวิตของเราคืออะไรบ้าง เช่นต้องการมีเศรษฐกิจแบบพอเพียง มีความสุขแบบพอเพียง มีครอบครัวอบอุ่นแบบพอเพียง สิ่งที่จะนำพาครัวเรือนไปสู่เป้าหมายชีวิตอย่างยั่งยืนบนลำแข้งของตนเอง ดังพุทธสุภาษิต ที่ว่า “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ : ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” คือ การจัดทำแผนชีวิตครัวเรือน

วิธีการจัดทำแผนชีวิตครัวเรือนบนความพอเพียง5 ขั้นตอน

  1. จับเข่าคุยกัน คนในครัวเรือนต้องหันหน้ามาจับเข่าคุยกัน ถึงปัญหา และสาเหตุของปัญหาความยากจนของครัวเรือน ตนเองว่าบ้านเรามีปัญหาอะไรบ้าง เช่น บ้านเรา มีคนว่างงานมีเงินไม่พอใช้มีหนี้สินรุงรัง ฯลฯแล้วอะไร คือ สาเหตุของปัญหาเหล่านั้น เช่น คนในบ้านไม่สามัคคีกัน ชอบทะเลาะเบาะแว้งกันเอง พ่อกินเหล้า สูบบุหรี่ แม่ชอบเล่นหวยลูกเรียนจบแล้วไม่หางานทำไม่ช่วยงานในบ้าน เป็นต้น แต่ทั้งนี้คนในครัวเรือน ผู้เป็นสาเหตุของปัญหาต้องใจกว้างยอมรับความจริง ไม่ชี้หน้ากล่าวโทษกันจนถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้ง ทำให้วงแตก และแยกย้ายไปอยู่กันคนละมุมบ้าน ครัวเรือนต้องผ่านขั้นตอนนี้ให้ได้
  2. ค้นหาของดีในบ้านเรา และใกล้ตัวเรา เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 1 แล้ว มาช่วยกันคิดว่า ในบ้านเรามีดีอะไรบ้าง คนในบ้านมีความรู้ความสามารถในเรื่องอะไรบ้าง เช่น พ่อมีความสามารถในการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า แม่ทำอาหารอร่อย เย็บปักถักร้อยได้ ลูกมีความสามารถในการวาดรูป ยายทำขนมโบราณได้ บ้านเราทำเลดีพอค้าขายได้ บ้านเรามีที่ดินพอเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ได้ ในชุมชนบ้านเราส่วนใหญ่เขาทำมาหากินอะไรกัน มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้ ในชุมชนของเรามีแหล่งทุนอะไรบ้างที่พอจะใช้บริการได้เราเป็นสมาชิกแล้วหรือยัง มีผู้เชี่ยวชาญอาชีพอะไรบ้างที่เราพอจะไปขอคำปรึกษาแนะนำฯลฯ
  3. หาทางออก ผ่าทางตัน เมื่อครัวเรือนตกผลึก ยอมรับสภาพปัญหาในครัวเรือนว่ามีสาเหตุจากอะไร มีความตั้งใจที่แน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาโดยการผนึกกำลังกันเองของคนในครัวเรือนก่อนเป็นสำคัญก่อนที่จะหันไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ยั่งยืน โดยค้นพบแล้วว่า ของดีในบ้าน นอกบ้านมีอะไรบ้าง เราจะนำของดีอะไรมาใช้ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความสุขความอบอุ่นในครัวเรือนเรา ในขั้นตอนนี้คนในครัวเรือนต้องร่วมกำหนดเป้าหมายและวิธีการ/กิจกรรมที่เป็นหนทางออกในการแก้จนของครัวเรือน ซึ่งมีได้หลากหลาย เช่น

3.1 วางแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน ให้สมดุลกับรายได้ โดยมีกิจกรรมพื้นฐาน คือ การทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน ควบคุมรายจ่าย โดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอยู่อย่างพอเพียง ช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ ประหยัดการใช้ไฟฟ้าปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคและทุกสิ้นเดือนควรมีการสรุปบัญชีรับจ่ายกันในครัวเรือนเพื่อประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลว เบื้องต้น ถ้ามีเหลือก็เก็บออมไว้บ้าง ถ้ายังไม่สำเร็จต้องหาทางปรับปรุงว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ยังลดไม่ได้แล้วเริ่มต้นใหม่

3.2 คิดหาอาชีพหลัก/อาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ไม่รองานวิ่งมาหา ต้องสอดส่องหางานหาอาชีพ คนว่างงานต้องไม่รังเกียจงานที่ให้ค่าตอบแทนน้อย หมั่นศึกษาหาความรู้ในการสร้างงานสร้างอาชีพที่จะนำมาซึ่งรายได้

3.3 หลีกเลี่ยงอบายมุขลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ การพนัน นำเงินที่เคยต้องเสียไปกับค่าเหล่า บุหรี่ การพนัน ไปหยอดกระปุก แล้วมานับดูเมื่อสิ้นเดือนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้น

3.4 สร้างสุขในครัวเรือน ตั้งสติเวลามีเรื่องขัดแย้งกัน หลบไปคนละมุมก่อน อารมณ์ดีแล้วค่อยหันกลับมาคุยกันใหม่หากิจกรรมทำร่วมกัน เช่นช่วยกันทำงานบ้าน ไปทำบุญด้วยกันมีปัญหาต้องช่วยกันคิดหาทางออก ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ที่สำคัญยิ้มแย้มแจ่มใสไม่หน้าบึ้งหน้างอใส่กัน

3.5 หากัลยาณมิตร ไม่ปิดกั้นตนเองอยู่แต่ในบ้าน แสวงหาเพื่อนดี ๆ แสวงหาโอกาสในการเรียนรู้สิ่งดีๆที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตจากกัลยาณมิตร มีน้ำจิตน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้จักเสียสละเวลาเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน

4.ร่วมแรงแข็งขันลงมือทำอย่างจริงจัง ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดที่จะให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการบรรลุทางออก ผ่าทางตันได้สำเร็จ คนในครัวเรือนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง หัวหน้าครัวเรือนต้องหนักแน่น ทำหน้าที่เป็นเสมือนกัปตันทีม คอยควบคุม ดูแล และให้กำลังใจสมาชิกในครัวเรือน ให้ผ่าทางตันให้ได้แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ควบคุมแบบเคร่งเครียด ยึดทางสายกลาง ถือคติค่อยเป็นค่อยไป อะไรทำไม่ดี ไม่เป็นไรตั้งต้นใหม่ได้เสมอ

5.ทบทวน ประเมินตนเองกิจกรรมอะไรที่ทำแล้วได้ผลดี ให้ทำต่อเนื่อง เช่นการทำบัญชีรับจ่าย การประหยัดค่าน้ำค่าไฟฟ้า พฤติกรรมที่ดีทำแล้วคนในครัวเรือนมีความสุข เช่น การกอดกันระหว่างพ่อแม่ลูก เดินจูงมือกัน ร้องเพลง/เล่นกีฬา /อ่านหนังสือ /ดูทีวีร่วมกัน เป็นต้น

ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือให้ทุกคนได้เขียนแผนครัวเรือนตนเอง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เข้าร่วมประชุม 50 คน
  2. มีแผนชีวิตครัวเรือน แผนชีวิตครัวเรือนบนความพอเพียง5 ขั้นตอน 1) จับเข่าคุยกัน คนในครัวเรือนต้องหันหน้ามาจับเข่าคุยกัน ถึงปัญหา และสาเหตุของปัญหาความยากจนของครัวเรือน
    2) ค้นหาของดีในบ้านเรา และใกล้ตัวเรา เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 1 แล้ว มาช่วยกันคิดว่า ในบ้านเรามีดีอะไรบ้าง คนในบ้านมีความรู้ความสามารถในเรื่อง 3) หาทางออก ผ่าทางตัน เมื่อครัวเรือนตกผลึก ยอมรับสภาพปัญหาในครัวเรือนว่ามีสาเหตุจากอะไร มีความตั้งใจที่แน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหา 4) ร่วมแรงแข็งขันลงมือทำอย่างจริงจัง
    5) ทบทวน ประเมินตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและประชาชน 55 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงจังหวัดเพื่อปรับปรุุงรายงาน งวด 126 มีนาคม 2559
26
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงานของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ อ.กำไลได้ให้ความรู้เรื่องการจัดทำโครงการ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธิก่อนเริ่มการประชุม ให้หลับตานึกถึงโครงการที่ได้ทำมาในระยะเวลา 6 เดือน ว่าจากที่ทำไปแล้ว มีใครที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง เกิดการรวมกลุ่มอย่างไรบ้าง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในชุมชนมีอะไรบ้าง แล้วระยะเวลาที่เหลือเราจะทำอะไรต่อไปบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษส่งพี่เลี้ยง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง 3.ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างเพราะรายละเอียดกิจกรรมในเวปไซต์ และรูป ให้ครบถ้วน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรง26 มีนาคม 2559
26
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้วยกระบวนการสร้างคลังอาหาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมกันระดมคิดแนวทางปฏิบัติชุมชน ซึ่งปีที่ผ่านมาแนวทางปฏิบัติคือ (1)ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง 5 ชนิด (2)ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด (3)ลดใช้เครื่องปรุงรสในครัวเรือน (4)ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ (5)ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา (6)ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน็อค (7 )ร่วมกันออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวัน คนละ 30 นาทีต่อวัน (8)ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของหมู่บ้าน (9)ทุกครัวเรือนต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 กลุ่ม ในการเข้าร่วมพัฒนาชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เข้าร่วมประชุม 100 คน
2.มีข้อบัญญํติชุมชน คือ (1)ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง 5 ชนิด (2)ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด (3)ลดใช้เครื่องปรุงรสในครัวเรือน (4)ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ (5)ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา (6)ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน็อค (7 )ร่วมกันออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวัน คนละ 30 นาทีต่อวัน (8)ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของหมู่บ้าน (9)ทุกครัวเรือนต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 กลุ่ม ในการเข้าร่วมพัฒนาชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมาย 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพื้นบ้าน 19 มีนาคม 2559
19
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้วยกระบวนการสร้างคลังอาหาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติดังนี้
กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบด้วย 1.รณรงค์และขอความคิดเห็นในการสร้างกลุ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครอบครัวกับในชุมชน
2.กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มออกเป็น 10 กลุ่ม มีกิจกรรมคือ -การเพาะพันธุ์แปลงผักรวม โดยเพาะที่บ้านแกนนำแต่ละกลุ่ม เมื่อผักโตแล้วให้นำไปปลูกที่บ้าน -การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักจากครัวเรือน -การปลูกผักไว้กินรอบครัวเรือน -รั้วบ้านสีเขียว หรือรั้วมีชีวิต 3.การทำกลุ่ม แบ่งเป้าหมาย 10 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน กำหนดให้แต่ละกลุ่มต้องอยู่ในละแวกเดียวกัน แต่ละกลุ่มต้องมีทั้งสมาชิกเก่าซึ่งเป็นพี่เลี้ยงกลุ่มและสมาชิกใหม่ และกลุ่มเยาวชน 4.เพาะพันธุ์ผัก : ให้สมาชิกกลุ่ม ร่วมกันเพาะพันธุ์ผัก ทั้งผักที่ต้องซื้อเมล็ดและพันธุ์ผักในชุมชน โดยเพาะพันธุ์ผักในพื้นที่รวมของแต่ละกลุ่ม
5.น้ำหมักชีวภาพ : พี่เลี้ยงกลุ่ม ให้คำแนะนำการทำน้ำหมักชีวภาพแก่สมาชิกกลุ่ม และให้ทุกครัวเรือน แยกเศษขยะที่ย่อยสลายได้มาทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยชีวภาพ
6.นำผักที่เพาะไว้แล้ว ลงไปปลูกรอบบ้านหรือบริเวณที่เป็นรั้ว
7.รณรงค์การกินผักสีเขียวเพิ่มทุกมื้อ โดยกินผักที่ปลูกเอง วันละ 1 กิโลกรัม เป็นผักที่สด ปลอดสารเคมี
8.รณรงค์ออกแรง โดยให้ทุกบ้านที่ปลูกผัก มีการหิ้วน้ำไปรดน้ำผัก มีการดายหญ้า และมีกิจกรรมออกแรงในการดูผักรอบบ้าน 30 นาทีต่อวัน หรือจนมีเหงื่อ ไหลซึม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มเข้าร่วมประชุม 130 คน
  2. มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว มีการแบ่งกลุ่ม เพื่อมีกิจกรรมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว คือ การเพาะพันธุ์แปลงผักรวม โดยเพาะที่บ้านแกนนำแต่ละกลุ่ม เมื่อผักโตแล้วให้นำไปปลูกที่บ้าน การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักจากครัวเรือน การปลูกผักไว้กินรอบครัวเรือน การทำรั้วบ้านสีเขียว หรือรั้วมีชีวิต
  3. ในทุกครัวเรือนให้แยกเศษขยะที่ย่อยสลายได้มาทำน้ำหมัก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 130 คน จากที่ตั้งไว้ 130 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมาย 130 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรงครั้งที่ 57 มีนาคม 2559
7
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้คณะทำงานเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยประชาชนที่เข้าร่วม ไม่น้อยกว่า 60 คน หารือวาระของหมู่บ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 60 คน
  2. มีวาระแจ้ง ดังนี้

เวลา 09.00 น. นายสุนันต์ ชุมทอง ผู้ใหญ่บ้าน ได้แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน ตอนนี้เรามีคณะกรรมการ 11 คน ที่ทำหน้าที่เป็นการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ม่ีสมาชิก 150 คน
มาตราการส่งเสริมในระดับหมู่บ้านที่ทุกคนควรทราบ ประกอบด้วยมติของคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ส่งเสริมความเป็นอยู่ในหมู่บ้าน มีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องคือ

1.โครงการให้สินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ผ่านการประเมินมีว้ตถุประสงค์เพื่อนำเงิน ไปแก้ไขปัญหาในหมู่บ้าน ให้เป็นทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน โดยเป็นวงเงินสินเชื่อของธนาคารออมสิน3 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนต้องนำหลักฐานไปขอสินเชื่อจากสมาชิกกองทุนฯ

2.อัตราดอกเบี้ยระยะเวลากำหนด ร้้อยละ 2.2 ต่อปี ระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี

วาระที่ 2 เนื่องจากนโยบายรัฐบาล ได้ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน ทำการสำรวจความต้องการของเงินทุนในการประกอบอาชีพของสมาชิก พบว่า มีสมาชิกที่ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ จำนวนมาก จึงเห็นควรที่จะขออนุมัติ ต่อคณะกรรมการดังนี้

1.ขอรับเงินสนุนับสนุนสินเชื่อ ระดับหมู่บ้านกับธนาคารออมสิน สาขาเขียรใหญ่ เป็นเงิน 1 ล้านบาท มีสมาชิกกู้ยืมทำการเกษตร 10ราย เป็นเงิน 500,000 บาท ทำค้าขาย 5 ราย เป็นเงิน250,000 บาท และนำไปเลี้ยงสัตว์ 5 ราย เป็นเงิน 250,000 บาท

2.กองทุนมอบหมายให้ นายไสว หมอกแก้วนางเพ็ญศรีชุมทอง และนางจำปี เกิดแก้ว เป็นคณะกรรมการ
ปิดประชุม

วาระเพื่อการพัฒนางาน ตามโครงการ คลังอาหารบ้านดอนโรง นางหนูฟอง หนูทอง หัวหน้าโครงการ ได้สรุปให้ฟังว่า ได้ปิดรายงานรอบที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี
สำหรับการพัฒนาในรอบถัดไป มีกิจกรรมประกอบด้วย สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพื้นบ้าน โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดใช้สารเคมี กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบด้วย

1.รณรงค์และขอความคิดเห็นในการสร้างกลุ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครอบครัวกับในชุมชน

2.กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มออกเป็น 10 กลุ่ม มีกิจกรรมคือ -การเพาะพันธุ์แปลงผักรวม โดยเพาะที่บ้านแกนนำแต่ละกลุ่ม เมื่อผักโตแล้วให้นำไปปลูกที่บ้าน -การทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักจากครัวเรือน -การปลูกผักไว้กินรอบครัวเรือน -รั้วบ้านสีเขียว หรือรั้วมีชีวิต

3.การทำกลุ่ม แบ่งเป้าหมาย 10 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน กำหนดให้แต่ละกลุ่มต้องอยู่ในละแวกเดียวกัน แต่ละกลุ่มต้องมีทั้งสมาชิกเก่าซึ่งเป็นพี่เลี้ยงกลุ่มและสมาชิกใหม่ และกลุ่มเยาวชน

4.เพาะพันธุ์ผัก : ให้สมาชิกกลุ่ม ร่วมกันเพาะพันธุ์ผัก ทั้งผักที่ต้องซื้อเมล็ดและพันธุ์ผักในชุมชน โดยเพาะพันธุ์ผักในพื้นที่รวมของแต่ละกลุ่ม

5.น้ำหมักชีวภาพ : พี่เลี้ยงกลุ่ม ให้คำแนะนำการทำน้ำหมักชีวภาพแก่สมาชิกกลุ่ม และให้ทุกครัวเรือน แยกเศษขยะที่ย่อยสลายได้มาทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยชีวภาพ

6.นำผักที่เพาะไว้แล้ว ลงไปปลูกรอบบ้านหรือบริเวณที่เป็นรั้ว

7.รณรงค์การกินผักสีเขียวเพิ่มทุกมื้อ โดยกินผักที่ปลูกเอง วันละ 1 กิโลกรัม เป็นผักที่สด ปลอดสารเคมี

8.รณรงค์ออกแรง โดยให้ทุกบ้านที่ปลูกผัก มีการหิ้วน้ำไปรดน้ำผัก มีการดายหญ้า และมีกิจกรรมออกแรงในการดูผักรอบบ้าน 30 นาทีต่อวัน หรือจนมีเหงื่อ ไหลซึม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและประชาชน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การจัดทำเพื่อทำรายงาน งวดที่ 113 กุมภาพันธ์ 2559
13
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการติดตามและพบพี่เลี้ยงพื้นที่และ สจรส.มอโดยตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปิดรายงานงวดที่ 1 ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้นำเอกสารให้ สจรส.มอ.ตรวจสอบเอกสาร และพี่เลี้ยงได้แนะนำมาให้ปรับปรุง ดังนี้ 1.ใบเสร็จค่าถ่ายเอกสารยังไม่ถูกต้องและไม่ครบบางกิจกรรม 2.ให้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็ปไซต์ทุกกิจกรรมรายละเอียดกิจกรรมยังไม่ครบถ้วน ปรับผลการดำเนินงานเพิ่มข้อมูลกิจกรรม และผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการยังไม่ครบถ้วน 3.ให้เริ่มจ่ายภาษี เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2559 4.ขาดใบเสร็จค่าเดินทางวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2559 5.ขาดเอกสารการเงินจำนวน 750 บาท ในวันที่ 7 ตุลาคม 2558 6.กิจกรรมคืนข้อมูลในวันที่ 6 ธันวาคม 2558 ค่าถ่ายเอกสารขอให้แก้ไขบิลร้านค้าหรือไม่ก็แนบทะเบียนร้านค้านั้นๆ 7.วันที่7 ธันวาคม 2558 เปลี่ยนค่าเดินทางเบิกได้ไม่เกิน 800 บาท ต่อโครงการ 8.ในวันที่ 30 มกราคม 2559สามารถเบิกค่าเดินทางได้ 400บาท 9.ในวันที่ 31 มกราคม 2559 เปลี่ยนใบสำคัญรับเงินค่าอาหารตำนวน 10000บาท โดยมีการหักค่าภาษี ณ ที่จ่าย 1% ด้วย 10.วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 กิจกรรมประขุมกับพี่ลเี้ยง เปลี่ยนใบเสร็จรับเงินเป็นค่าเดินทางภายในพื้นที่ 200บาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า

ผลผลิต
1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
ผลลัพธ์
1.ได้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ในแต่ละกิจกรรม
2.เรียนรู้การเขียนใบเสร็จที่ถูกต้อง 3.ได้ปรับปรุงเอกสารให้ถูกต้อง
4.ได้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็บไซต์ให้ถูกต้องการเขียนผลการดำเนินกิจกรรมปละผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรม 5.ได้รับคำแนะนำการทำเอกสารการเงิน การปรับแก้ผลการรายงานกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.ใบเสร็จค่าถ่ายเอกสารยังไม่ถูกต้องและไม่ครบบางกิจกรรม 2.ให้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็ปไซต์ทุกกิจกรรมรายละเอียดกิจกรรมยังไม่ครบถ้วน ปรับผลการดำเนินงานเพิ่มข้อมูลกิจกรรม และผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการยังไม่ครบถ้วน 3.ให้เริ่มจ่ายภาษี เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2559 4.ขาดใบเสร็จค่าเดินทางวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2559 5.ขาดเอกสารการเงินจำนวน 750 บาท ในวันที่ 7 ตุลาคม 2558 6.กิจกรรมคืนข้อมูลในวันที่ 6 ธันวาคม 2558 ค่าถ่ายเอกสารขอให้แก้ไขบิลร้านค้าหรือไม่ก็แนบทะเบียนร้านค้านั้นๆ 7.วันที่7 ธันวาคม 2558 เปลี่ยนค่าเดินทางเบิกได้ไม่เกิน 800 บาท ต่อโครงการ 8.ในวันที่ 30 มกราคม 2559สามารถเบิกค่าเดินทางได้ 400บาท 9.ในวันที่ 31 มกราคม 2559 เปลี่ยนใบสำคัญรับเงินค่าอาหารตำนวน 10000บาท โดยมีการหักค่าภาษี ณ ที่จ่าย 1% ด้วย 10.วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 กิจกรรมประขุมกับพี่ลเี้ยง เปลี่ยนใบเสร็จรับเงินเป็นค่าเดินทางภายในพื้นที่ 200บาท แก้ไข 1.ในส่วนของบิลที่ยังผิดอยู่ดำเนินการโดยไปขอทางร้านมาใหม๋ 2.ในส่วนที่ต้องไปแก้ไขในเว็บไซต์ก็กลับไปแก้ไขรายการทางการเงินให้ถูกต้อง 3.ในส่วนของการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ที่ยังไม่ครบถ้วยก็ได้บันทึกใหม่ให้ครบถ้วน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อปิดรายงานงวดที่ 111 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ เข้าพบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารการดำเนินงานมาส่งให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบ พบว่า
1.การบันทึกรายงานกิจกรรม ย้งไม่ครอบคลุม ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไปแล้ว แต่ยังไม่ครบทุกฉบับ ให้ปรับปรุงต่อไป
2.รายงานการเงิน การตรวจสอบหลักฐานพบว่า ยังต้องปรับปรุง บางฉบับ และโครงการได้นำไปแก้ไขแล้ว เพื่อรอให้ สจรส.ตรวจสอบต่อไป ในวันที่ 13 - 14 กพ.59

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานกิจกรรม 2.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานการเงิน
3.โครงการได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาการแก้ไขข้อมูลออนไลน์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ในการบันทึกกิจกรรมขึ้นเว็บไซต์ ยังไม่สมบูรณ์ และรูปยังไม่ครบทุกกิจกรรม  แก้ไขโดยการอัฟโหลดรูปของแต่ละกิจกรรมให้ครบ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปิดรายงานงวดท่ี่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจเอกสารและปิดงวด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ปิดรายงาน งวด 1 กับพี่เลี้ยงพื้นที่ในเวลา 08.30 น. เดินทางมาถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาพระบาท พี่เลี้ยงตรวจเอกสารเพื่อทำการปิดงวดแต่ผลปรากฏว่าการเรียงเอกสารไม่ถูกต้อง ข้อมูลยังไม่ได้ลงโปรแกรม ตัองเปลี่ยนแปลงแก้ไข 12.30น. ตรวจเอกสารทางการเงินเป็นใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จรับเงินผิดต้องแก้ไข เขียนรายงานการประชุมที่พบปะพี่เลี้ยงในแต่ละครั้งและให้บันทึกในเว็บไซต์โดยการเพิ่มกิจกรรมพบพี่เลี้ยงด้วย 22.30 น. เดินทางกลับบ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
ผลที่เกิดขึ้นจริง: ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 5คน ผลลัพธ์ที่เกิดจริง: ได้รู้ถึงการปิดงวดงบประมาณการทำกิจกรรมโดยได้ร่วมกันตรวจเช็คเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมร่วมกับพี่เลี้ยง เช่นเอกสารด้านการเงินเอกสารในด้านบันทึกกิจกรรมได้รู้ถึงน้ำใจของเพื่อนร่วมงานในการช่วยเหลือในการทำเอกสารและการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ สิ่งที่เกินความคาดหมาย: ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสามัคคีในทีมงานคือได้ช่วยกันทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ให้เสร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.บิลยังไม่ครบ แก้ไขโดยไปขอทางร้านมาให้ครบ 2.กิจกรรมบางกิจกรรมยังไม่ครบถ้วนให้ไปบันทึกเพิ่มเติมแล้ว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 47 กุมภาพันธ์ 2559
7
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการดำเนินงานและประเมินกิจกรรมตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 4
โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.นางหนูฟอง หนูทองประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับสมาชิก และชี้แจงกิจกรรมในครั้ง ที่ผ่านมาคือสร้างคลังอาหารชุม ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2โดยครั้งที่ 1 จะเป็นการเรียนรุ้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ซึ่งเป็นการร่วมทำนำ้ยาเอนกประสงค์กันและก็ได้แบ่งกันไปใช้และครั้งที่ 2จะเป็นการเรียนรุ้การเลี้ยงปลานิลซึ่งทั้ง 2 กิจกรรมสมามาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็มีความสนใจในการร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี กิจกรรมพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการเพื่อสรุปและติดตามเอกสารในด้านการเงินและการบันทึกข้อมุลเข้าเว็บไซต์ ที่ สำนักสนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 นครศรีธรรมราชเป็นการติดตามความก้าวหน้าของโครงในด้านเอกสารทางด้านการเงินและการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ รวมทั้งการจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายด้วย มีการแนะนำบันทึกกิจกรรม บันทึกผลกิจกรรมให้มีรายละเอียดที่ตรบถ้วนให้เห็นว่าทำกิจกรรมอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมได้ทำอะไรบ้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมเป็นอย่างไรบ้างเช่นทุกคนช่วยกันทำกิจกรรมดันอย่างเต็มที่ การผลลัพธ์ ผลกระทบ ให้เห็นถึงการเปลี่ยนที่เกิดจากการทำกิจกรรม และก็ให้ไปบันทึกกิจกรรมเข้าโปรแกรมออนไลน์ แต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพให้เรียบร้อยหลักด้านฐานการเงิน ได้ดำเนินการตรวจสอบหลักฐานทางการเงินยังมีบิลเกี่ยวกับถ่ายเอกสารที่ต้องแก้ไขตรวจสอบหลังฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60

2.และกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการปิดงวดรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง โดยให้คณะทำงานเตรียมเอกสารสำหรับที่จะปิดงวดการเงินที่ 1และบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์และโหลดรูปเข้าเว็บและให้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการที่รพ.สต.เขาพระบาทในวันที่ 11 ก.พ.2559และไปประชุมเพื่อปิดงวดที่ 1 ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในวันที่ 13-14 ก.พ.2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมการประชุม 30 คน ผลลัพธ์ 1.ได้สรุปและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา คือการสร้างคลังอาหารชุมชน ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
2.มีการวางแผนในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปคือ ทำงานเตรียมเอกสารสำหรับที่จะปิดงวดการเงินที่ 1และบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์และโหลดรูปเข้าเว็บไซต์เพื่อจะให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ 3.นัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 มีนาคม 2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ตัวแทนภาคประชาชน ผู้นำชุมชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างคลังอาหารชุมชน ครั้งที่ 231 มกราคม 2559
31
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหาร ในการเลี้ยงปลานิล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที 2โดยมาพบปะกันที่รพ.สต.เขาพระบาทในเวลา 09.00 น.
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในวันนี้คือการมาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลานิล โดยมีผู้เชียวชาญ มาสอนวิธีการเลี้ยงปลานิลโดยให้สอนการเลี้ยงปลานิลดังนี้

การเตรียมบ่อและวิธีเลี้ยง ถึงแม่ว่าปลานิลจะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายแต่ในการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้รับผลดีเป็นที่น่าพอใจจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิธีการเพาะเลี้ยงเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.บ่อ บ่อที่จะใช้เลี้ยงลูกปลานิลควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดตั้งแต่400ตารางเมตรขึ้นไประดับของน้ำในบ่อควรลึกประมาณ1เมตรตลอดปีทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโตและใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกันไปด้วยเพราะถ้าเป็นบ่อซึ่งมีขนาดเล็กแล้วลูกปลาที่เกิดขึ้นใหม่จะทวีจำนวนแน่นบ่ออย่างรวดเร็วทำให้ลูกปลาเหล่านี้มีขนาดไม่โตโดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อดังนั้นจึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆสำหรับให้แม่ปลาได้วางไข่ ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำเช่นคูคลองแม่น้ำก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออกเพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกมาอีกด้วยแต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลงและต้องมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย


2.การเตรียมบ่อ ถ้าเป็นบ่อที่ขุดใหม่ดินมักมีคุณภาพเป็นกรดควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อในอัตรา1กิโลกรัมต่อเนื้อที่10ตารางเมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าจำเป็นต้องปรับปรุงบ่อโดยกำจัดวัชพืชออกให้หมดเช่นผักตบชวาจอกบัวและหญ้าต่างๆเพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรค์ต่อการหมุนเวียนของอากาศซ้ำยังจะเป็นที่หลบซ่อนอยู่อาศัยของศัตรูที่เป็นอันตรายต่อปลาและเป็นการจำกัดเนื้อที่ซึ่งปลาต้องใช้อยู่อาศัยอีกด้วย ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงต้องกำจัดศัตรูของปลานิลให้หมดเสียก่อนได้แก่พวกปลากินเนื้อเช่นปลาช่อนปลาชะโดปลาบู่และปลาดุกถ้ามีสัตว์จำพวกเต่าพบเขียดงูก็ควรกำจัดให้พ้นบริเวณบ่อนั้นด้วยวิธีกำจัดอย่างง่ายๆคือโดยการระบายน้ำออกให้แห้งบ่อแล้วจับสัตว์ชนิดต่างๆขึ้นให้หมด การใส่ปุ๋ยโดยทั่วๆไปแล้วปลาจะกินอาหารซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและจากที่ให้สมทบเป็นจำนวนเกือบเท่าๆ กันดังนั้นในบ่อเลี้ยงปลาควรดูแลให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เสมอจึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติปุ๋ยที่ใช้ได้แก่มูลวัวมูลควายมูลหมูมูลเป็ดและมูลไก่นอกจากปุ๋ยมูลสัตว์ดังกล่าวแล้วปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดต่างๆก็ใช้ได้ อัตราการใส่ปุ๋ยในระยะแรกนั้นควรใส่ประมาณ250-300กิโลกรัมต่อไร่ในระยะหลังๆควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก วิธีการใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกควรตากให้แห้งเสียก่อนเพราะถ้าเป็นปุ๋ยที่ยังสดอยู่จะทำให้น้ำในบ่อมีแก๊สพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมากซึ่งจะเป็นอันตรายต่อปลาการใส่ปุ๋ยคอกควรใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อให้ละลายไปทั่วๆอย่าโยนให้ตกอยู่ในที่เดียวส่วนปุ๋ยพืชสดนั้นควรเทสุมเป็นกองไว้ตามมุมบ่อ1หรือ2แห่งโดยมีไม้ไผ่ปักล้อมไว้เป็นคอก รอบกองปุ๋ยพืชสดนั้นเพื่อป้องกันมิให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย อที่มีอาหารธรรมชาติมากหรือน้อยจะสังเกตได้โดยการดูสีของน้ำถ้าน้ำในบ่อมีสีเขียวแสดงว่ามีอาหารจำพวกพืชเล็กๆปนอยู่มากแต่ถ้าน้ำในบ่อมีสีค่อนข้างคล้ำมักจะมีอาหารจำพวกไรน้ำมากพวกพืชเล็กๆและไรน้ำมากพวกพืชเล็กๆและไรน้ำเหล่านั้นนับว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างดี


3.การปล่อยปลาลงเลี้ยง จำนวนปลาที่ปล่อย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็วดังนั้นจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มากนักสำหรับบ่อขนาดเนื้อที่1งาน(400ตารางเมตร)ควรใช้พ่อแม่ปลานิลเพียง50คู่หรือถ้าเป็นลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กก็ควรปล่อยเพียง400ตัวหรือ1ตัวต่อ1ตารางเมตร เวลาปล่อยปลาเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปล่อยปลาควรเป็นเวลาเช้าหรือเวลาเย็นเพราะระยะเวลาดังกล่าวนี้อุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนเกินไปก่อนที่จะปล่อยปลาควรเอาน้ำในบ่อใส่ปนลงไปในภาชนะที่บรรจุปลาแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ2-3นาทีเพื่อให้ปลาคุ้นกับน้ำใหม่เสียก่อนจากนั้นจึงค่อยๆจุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลานิลลงบนผิวน้ำพร้อมตะแคงภาชนะปล่อยให้ปลาแหวกว่ายออกไปอย่างช้าๆ



การให้อาหาร ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิดดังนั้นปลาชนิดนี้จึงเป็นปลาที่ให้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะพวกอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเช่นไรน้ำตะไคร่น้ำตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็กๆที่อยู่ในบ่อตลอดจนสาหร่ายและแหนถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหารสมทบเช่นรำปลายข้าวกากถั่วเหลืองกากถั่วลิสงกากมะพร้าวแหนเป็ดและปลาป่นเป็นต้นการให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไปควรกะให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของปลาเท่านั้นส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราว5%ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยงถ้าให้อาหารมากเกินไปปลาจะกินไม่หมดเสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์และยังทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายแก่ปลาได้

การเจริญเติบโต ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็วเลี้ยงในเวลา1ปีจะมีน้ำหนักถึง500กรัมและเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วพ่อแม่ปลาซึ่งมีขนาดโตเต็มที่เมื่อปล่อยลงเลี้ยงในบ่อจะเริ่มว่างไข่ภายใน2-3สัปดาห์ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ชุดนี้จะเริ่มวางไข่ได้ต่อไปอีกเมื่อมีอายุประมาณ3-4เดือน ด้วยเหตุที่ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วดังนั้นจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้จำนวนของปลาในบ่อมีปริมาณมากจนเกินไปหากพบว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากควรจะจับลูกปลาแบ่งออกไปเลี้ยงยังบ่ออื่นบ้างเพราะถ้าปล่อยให้อยู่กันอย่างหนาแน่นปลาก็จะไม่เจริญเติบโตและจะทำให้อัตราการแพร่พันธุ์ลดน้อยลงอีกด้วย

ประโยชน์ ปลานิลเป็นปลาซึ่งมีเนื้อมากและมีรสดีสามารถที่จะนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่างเช่นทอดต้มแกงตลอดจนทำน้ำยาได้ดีเท่ากับปลาช่อนนอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆโดยทำเป็นปลาเค็มตากแห้งแบบปลาสลิดปลากรอบปลาร้าปลาเจ่าปลาจ่อมหรือปลาส้มและยังนำมาประกอบเป็นอาหารแบบอื่นได้อีกหลายชนิดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วนั้นสามารถเก็บไว้ได้นานทั้งสามารถนำไปจำหน่ายนับเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง

และหลังจากนั้นก็ได้ไปดูสถานที่ที่จะเลี้ยงปลานิลซึ่งจะใช่บ่อปลาของ นางหนูฟอง หนูทอง ในการเป็นที่เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลานิลโดยจะได้พ่อพันธ์แม่พันธุ์มา 100ตัวมาเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์เมื่อหลังจากมีลูกปลานิลแล้วก็จะแบ่งให้กับสมาชิกในโครงการได้นำไปเลี้ยงที่บ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน 2.มีบ่อปลาเพื่อเป็นบ่อขยายพันธ์ 1 บ่อ ผลลัพธ์ 1.ได้ความรู้ในการเลี้ยงปลานิล การเตรียมสถานที่เตรียมบ่อในการเลี้ยงปลานิลการเตรียมบ่อการปล่อยปลาเลี้ยง การให้อาหาร ประโยชน์ของปลานิล 2.ได้ไปดูบ่อที่จะทำการเลี้ยงปลานิลจริงๆเพื่อเป็นบ่อขยายพันธุ์ปลา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ตัวแทนภาคประชาชน ผู้นำชุมชน 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามผลการดำเนินงานงวดที่ 130 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงโครงการนัดพื้นที่ เพื่อมาเรียนรู้การเขียนรายงานเอกสารและรายงานการปิดงวดที่ 1 ดังนี้
1.ติดตามการรายงานผลการดำเนินงานตามเอกสารและปฏิทินของโครงการ สำหรับโครงการ ได้ทำครบตามกิจกรรม แต่ยังขาดความสมบูรณ์ในการบันทึกข้อมูล และกลุ่มเป้าหมายยังขาดความร่วมมือจากเยาวชน พบว่าช่วงนี้เยาวชนไปเรียนหนังสือ ทำกิจกรรมที่โรงเรียนมากเกิน ทำให้ไม่ได้มีโอกาสมาทำกิจกรรมร่วมกับโครงการ และขอให้ถึงเวลาปิดเทอม กลุ่มเยาวชน จะลงมาช่วยทำกิจกรรม ซึ่งประเด็นนี้พี่เลี้ยงรับทราบ
2.ติดตามตรวจสอบรายงานการเงิน พบว่า ยังมีหลายกิจกรรม ที่ยังเขียนใบเสร็จไม่ถุูกต้อง ให้ปรับแก้ไขใหม่ เช่น ไม่มีทะเบียนผู้เสียภาษีลายมือชื่อไม่ครบในกิจกรรม การขาดไปเพียง 1 - 2 คน ถือว่าไม่ครบ
3.การบันทึกภาพถ่ายยังไม่ได้บันทึก และเข้าใจว่าช่วงนี้ สัญญาณอินเตอร์เนต มีปัญหา โดยเฉพาะบริเวณช่องเขา พื้นที่ตั้งของชุมชน มีปัญหาอินเตอร์เนตจากมือถือ ได้แนะนำให้มาใช้บริการที่ รพสต.เขาพระบาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้ามาเรียนรู้การเขียนรายงานและการสรุปรายงานงวดที่ 1 2.ได้รับทราบปัญหาของโครงการ 3.โครงการได้ทำกิจกรรม มีความก้าวหน้าประมาณ ร้อยละ 60 ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจสอบความถูกต้องรายงานการเงิน มีความถูกต้องเพียงร้อยละ 60 ต้องปรับปรุงอีก ร้อยละ 40
2.ได้ตรวจสอบการเขียนรายงานบันทึกกิจกรรม พบว่า ยังเขียนไม่ละเอียด ให้ไปปรับปรุงเพิ่มเติม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เอกสารในด้านการเงินยังไม่ครบ  แก้ไขให้ไปทำมาให้เรียบร้อย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ30 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อความเข้าใจและเรียนรู้ในการทำเอกสารในการปิดงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงและการทำรายงานเพื่อปิดงวดที่ 1 09.30น. ได้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตาม ผลงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน
1.มีการบันทึกกิจกรรม แบบบันทึกผลกิจกรรม สิ่งที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ ผลกระทบ รายงานกิจกรรม เพื่อบันทึกข้อมูลในเอกสารเรียบร้อย ให้พิมพ์เข้าโปรแกรมออนไลน์ แต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพให้เรียบร้อย 2.หลักฐานการเงิน -ดำเนินตรวจสอบหลักฐานทางการเงิน -ตรวจสอบยอดเงินโครงการฯ และบันทึกออนไลน์ -ตรวตสอบการเขียนเงินสด -ตรวจสอบหลังฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60 3.หลักฐานประกอบการดำเนินงาน -ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม -หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน 4.บันทึกช่วยจำ -บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรมออนไลน์ให้เรียบร้อย -หลักฐานการเงินต้องถูกต้อง ครบถ้วน -ปิดงวดส่งเอกสาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมโครงากร 2 คน ผลลัพธ์

1.ได้ตรวจความพร้อมของเอกสารได้ เข้าใจในการสรุปปิดงวดโครงการคือการได้ตรวจเช็ค เงินในการจ่ายแต่ละกิจกรรมและเอกสารด้านการเงินของแต่ละกิจกรรม 2.ได้เข้าใจการลงบันทึกบัญชี ได้เข้าใจวิธีการบันทึกข้อมูลออนไลน์การบันทึกรูปภาพในเว็บไซต์ 3.ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารด้านการเงิน และมีความเข้าใจในด้านการเงินมากขึ้น ในการเขียนบิลคือต้องเขียนรายละเอียดให้ครบตามกำหนด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงิน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บิลต่าถ่ายเอกสารยังไม่ถูกต้องแก้ไขโดยการไปขอมาใหม่ให้เรีบยร้อย และกิจกรรมยังบันทึกในเว็บไซต์ไม่เรียบร้อยทุกกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างคลังอาหารชุม ครั้งที่ 18 มกราคม 2559
8
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างคลังอาหารให้กับชุมชน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 1
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพอเพียง เพื่อต้องการสร้างคลังอาหารไว้ให้กับชุมชนโดยจะเรียนรู้เกี่ยวกับ

1)เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพรโดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำมะกรูด อัญชัน กระเจี๊ยบ ลูกยอ มาเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับส่วนผสมของน้ำยาเอนกประสงค์ และจะช่วยกันทำ หลังจากนั้นก็แบ่งกันไปใช้ที่บ้านและไปฝึกทำเองที่บ้านด้วย 2)การเลี้ยงปลาพื้นเมือง มีทีมงานช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงปลาไว้กินเอง โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำเศษอาหาร หยวกกล้วย รำ เพื่อทำเป็นอาหารสำหรับปลา จากนั้นส่งเสริมให้แต่ละคนไปทำต่อที่บ้านโดยเลือกที่ตนเองชอบและถนัด
3)การเลี้ยงไก่บ้าน จะมีคนที่ได้เลี้ยงไก่บ้านช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้กิน โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำเศษอาหาร หยวกกล้วย รำ เพื่อทำเป็นอาหารสำหรับสัตว์ โดยส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไว้กินไก่ กินไข่ จากนั้นส่งเสริมให้แต่ละคนไปทำต่อที่บ้านโดยเลือกที่ตนเองชอบและถนัด 4)สอนการทำเห็ดฟาง ไปเรียนรู้ที่บ้านนางสมมารถ ทองเอียด ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำเห็ด โดยกลุ่มเป้าหมายต้องวัสดุที่บ้านตนเองมีอยู่ ไปทดลองทำที่บ้านนางสมมารถ
5)ร่วมสร้างกลุ่มผลิตชาสมุนไพร เพื่อใช้ในชุมชน จัดเรียนรู้ที่บ้านคุณจำปี เกิดแก้วโดยการนำวัสดุจากชุมชนมาแปรรูปสมุนไพร เช่น ใบทุเรียนน้ำ ตะไคร้ ใบขลู่ กระเจี๊ยบ อัญชัน นำมาทำตากแห้ง เพื่อส่งเสริมการดื่มสมุนไพรแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อสรุปเป็นบทเรียนจากการทดลองปฏิบัติในพื้นที่ของตนเพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชน

ซึ่งในวันนี้จะเป็นการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์จากสมุนไพร โดยจะได้นำสมุนไพรที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำมา สมุนไพรมาจากบ้านคือมะกรูด

วันนี้เราจะมาลองใช้ภูมิปัญญาเพื่อพึ่งพาตนเอง มาทำผลิตภัณฑ์ดี ๆ ราคาถูกมาก ๆใช้เองดีกว่า ซึ่งจะใช้ซักล้างได้สารพัด ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ล้างคราบสกปรก ส่วนผสม1. N 70 หรือ EMAL 270 TH (หัวแชมพู)1 กก. 2. EMAL 10 P (ผงฟอง) 200 กรัม 3. Sodium chloride (เกลือ หรือ ผงข้น) 500 กรัม 4. น้ำสะอาด10-11 กก.
5. NEOPELEXF 50 (สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น)500-700กรัม (ถ้าเป็นสารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEXF 24 ใช้1กก.) 6.มะกรูด2กก.
7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้) วิธีทำ 1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆชนิดก้นเรียบในการผสม)
2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด(คนประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย 3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดลงในส่วนผสมทีละน้อยๆพร้อมกับคนไปเรื่อยๆ ให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน (ถ้าใส่น้ำครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะจับตัวเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)
4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน 5. นำมะกรูดมาต้ม ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูก ผสมกับน้ำสะอาดให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ 6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี 7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัวจึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้ หลังจา่กที่ใช้ได้แล้วก็ให้มาแบ่งกัน คนละ1ขวดนำไปใช้ที่บ้านและจะนัดกิจกรรมเรียยนรู็ครั้งต่อไปคือการเลี้ยงปลานิลในวันที่ 31 มกราคม 2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม100คน 2.มีน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้เองครัวเรือนละ 1 ขวด ผลลัพธ์ 1.มีการเรียนรู้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ 2.มีการยอมรับในการทำกิจกรรมคือ การได้ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการหาวัสดุมาทำนำเ้ยาเอนกประสงค์คือ มะกรูดเพื่อมาเป็นส่วนผสมในการทำนำ้ยาเอนกประสงค์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ตัวแทนภาคประชาชน ผู้นำชุมชน 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 37 มกราคม 2559
7
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการดำเนินงาและประเมินกิจกรรมตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 3
โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.นางหนูฟอง หนูทองประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับสมาชิก และชี้แจงกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมาคือการสำรวจข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคาระห์และได้คืนข้อมูลให้กับชุมชนแล้วพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมอบรมการเขียนรายงานและรายงานการเงินที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และกิจกรรมในครั้งต่อไป จะไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการของคณะทำงานและกิจกรรมสร้างคลังอาหารชุมชน ครั้งที่ 1 และครั้ง ที่ 2 ในครั้งที่ 1 จะเป็นกทารเรียนรู้ดารทำนำ้ยาเอนกประสงค์ โดยไปเรียนรู้ในวันที่ 8 ม.ค. 2559 ที่บ้านผู้ใหญ่ บ้านโดยจะเป็นการเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลจะไปเรียนรู้กันที่รพ.สต.เขาพระบาทโดยจะมีผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงซึ่งเป็นคนที่เลี้ยงอยู่จริงมาสอนและแนะนำให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมและให้คณะทำงาน ได้ไปบอก สมาชิกและผุ้สนใจให้มาร่วมกิจกรรมในวันที่31ม.ค. 2559เวลา09.00 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30คน ผลลัพธ์ 1.มีการติดตามการดำเนินกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา คือการสำรวจข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ พร้อมทั้งคืนข้อมูลให้กับขุมชน และก็ได้ประชาสัมพันธ์โครงการด้วย 2.มีการวางแผนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการสร้างคลังอาหารชุมชนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์และการเลี้ยงปลานิล 3.ได้นัดหมายสมาขิกในการทำกิจกรรมสร้างคลังอาหารชุมชนครั้งที่ 1 ในวันที่ 31ม.ค.2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ตัวแทนภาคประชาชน ผู้นำชุมชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การติดตามโครงการจาก สจรส.มอ7 ธันวาคม 2558
7
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยง สจรส.มอ. ร่วมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มาสอนการเขียนรายงานและการจัดทำรายงานการเงิน 1.การเขียนรายงานต้องมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียน การเขียนรายงานมีทั้งการบันทึก การทำ mind map สอนให้เขียนผลลัพธ์ ผลผลิต วิธีการจะได้มาซึ่งผลงาน ต้องทำการสนทนากลุ่ม มีการวิเคราะห์ผล การรวบรวมและต้องมีการบันทึกข้อมูลการเขียนรายงานเพื่อป้องกันความผิดพลาด วิธีการที่ที่สุดในการเขียนผลลัพธ์คือการถอดบทเรียนในการดำเนินงาน 2.การเขียนรายงานเวปไซด์ ให้ทุกโครงการเข้าไปทำการ log in เข้าโปรแกรม ไปโครงการในความรับผิดชอบ และไปเมนู รายงานผู้รับผิดชอบ ให้ไปคลิกบันทึกซึ่งมีการจัดทำปฏิทินโครงการไว้แล้วให้บันทึกชื่อกิจกรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและขั้นตอนการทำงานให้บรรยายให้ละเอียด เล่าถึงกระบวนการทำงานผลลิตที่ได้ หรือสิ่งทีเกิดจากการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ และงบประมาณในการดำเนินงาน
3.การโหลดภาพกิจกรรม ให้โหลดภาพประมาณ 5 ภาพในการทำกิจกรรม การถ่ายภาพให้สื่อถึงกิจกรรมที่ดำเนินงาน 4.ผลผลิต เป็นผลทีเกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรมครั้งนั้น เช่น ผู้เข้าร่วมประชุมกี่คน ผู้ผ่านการอบรมกี่ครั้ง ครัวเรือนปลูกผักไว้กินเองกี่ครัวเรือน
5.ผลลัพธ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังการอบรมมีประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมกี่คน
6.การเขียนให้เชื่อมโยงสุขภาวะ เป็นการเชื่อมโยงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต ปัญญาและสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล โดยครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะบุคคล แต่ครอบคลุมไปยังครอบครัว ชุมชนและสาธารณะ การจัดทำรายงานการเงิน ให้คำนึงดังนี้
1.ถ้ามีการจ้างทำอาหาร เอกสารที่ควรมีประกอบด้วยรายชื่อคนเข้าร่วมกิจกรรม ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ สำเนาบัตรประชาชน เอกสารหักภาษีภาพถ่ายและรายงานกิจกรรม 2.ค่าตอบแทนวิทยากร ถ้าเกิน 1000 บาทให้หักภาษีด้วย 3.ค่าจ้างทำป้าย ให้ใช้ใบเสร็จจากทางร้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมาย 2 คน ได้เรียนรู้การเขียนรายงาน การทำรายงานการเงิน 2.กลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีการเขียนผลลัพธ์และผลผลิต 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเขียนหลักฐานทางการเงิน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกการจัดเอกสารและมีการปรับแก้ให้ถูกต้อง
2.กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและสามารถสอนทีมงานได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมอบรมการเขียนรายงานและรายงานการเงิน7 ธันวาคม 2558
7
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าประชุมการเขียนรายงานการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องไปพบปะพี่เลี้ยง และ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรมที่เกิดขึ้น และได้พบ เจ้าหน้าที่ จากสจรส.มอ.โดยได้ชี้แจงเกี่ยวกับ 1.การเขียนรายงานและการเงินการบันทึก รายงานลงโปรแกรมโดยในการบันทึกข้อมูลนั้นในช่องกิจกรรม ผลดำเนินการ อาจจะเขียนในแบบกำหนดการเช่น 08.30 - 9.00 น. นัดประชุมที่ศาลาหมู่บ ้าน 9.00 – 10.00 น. คัดเลือกทีมงานสภาผ้นู ำ ชุมชน 10.00 – 12.00 น. วางแผนการดำเนินโครงการ เขียนในแบบเล่าเรื่อง พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน จากการชักชวนของผู้ใหญ่และเพื่อนบ้านมานนั่งคุยคัดเลือกทีมงานสภาผู้นำชุมชน วางแผนการทำงานโครงการในอนาคตส่วนการเขียนผลสรุปที่ได้จากกิจกรรมเช่น เขียนในแบบเป็นข้อๆ ผลผลิต 1. ผ้เูข้าร่วมกิจกรรมประชุมสภา จำนวน 100 คน 2. ได้คณะทำงานสภาผู้นำชุมชน 1 ชุด ซึ่งได้คัดเลือกร่วมกันและยอมรับในชุมชน 3. ได้แผนการดำเนินงาน 1 ฉบับ ผลลัพธ์ 1. ผ้เูข้าร่วมตัดสินใจร่วมกันคัดเลือกสภาผู้นำ มีความรู้ความเช้าใจเรื่องของโครงการ 2. รายชื่อสภาผู้นำมีดังนี้โดยแบ่งหน้าที่ไว้ดังนี้ 3. แผนการดำเนินงานมีดังนี้. .......เขียนในแบบเล่าเรื่อง........ ผลผลิต พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน 100 คน ได้ประชุมคัดเลือกสภาผู้นำจำนวน 20 คน และวางแผนการดำเนินร่วมกัน ผลลัพธ์ สภาผู้นำ มี นาย.... เป็นผู้ใหญ่บ้านนางสาว........เป็น อสม. นาง....../ แบ่งหน้าที่ประธานดูแลตัดสินใจทั้งหมด เลขาทำหน้าที่จดประชุม ประสานงาน....../ ได้วางแผนกันต่อไปว่าจะทำ.....ประชุมทุกวันที่ 10 ของเดือน........ และอย่าลืมคลิ๊กเลือกการประเมินกิจกรรมด้วยว่ามีผู้เข้าร่วมในเกณฑ์ระดับไหน และก็การบันทึกรายการการเงิน 4. สอนให้เรียนรู้เรื่องภาษีที่ ณ จ่าย และสอนให้มึการหักจ่ายภาษีด้วย
แนะนำการแยกประเภทของงบประมาณคือ 1)ค่าตอนแทนเช่นค่าวิทยากรค่าเจ้าหน้าที่ช่วยจัดการประชุมค่าการประสานงาน
2)ค่าจ้างเช่นค่าจ้างทำป้ายไวนิล
3)ค่าใช้สอยเช่นค่าที่พักค่าอาหารค่าห้องประชุมค่าถ่ายเอกสารค่าเดินทางค่าเช่ารถค่านำ้มันรถ
4)ค่าวัสดุเช่าค่ากระดาษปากกา
5)ค่าสาธารณูปโภคเช่นค่าส่งไปรษณีย์ค่าโทรศัพท์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้ฝึกการบันทึกลงเวปไซด์ 1 กิจกรรม
3.ได้ฝึกทำบัญชีเงินสดและการจ่ายภาษีณ ที่จ่าย 1 ชุด ผลลัพธ์
1.มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเขียนผลลัพธ์ ผลผลิตจากการทำกิจกรรม
2.มึความรู้และเข้าใจเรื่องภาษีและสามารถบันทึกข้อมูลภาษีได้
3.มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน เข้าร่วมประชุม 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังไม่ค่อยเข้าใจในการบันทึกข้อมูลในเว็บไซ๖์ แก้ไขโดยการฝึกเพิ่มเติมและสอบถามจากพี่เลี้ยง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เปิดโครงการ6 ธันวาคม 2558
6
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเปิดเวทีโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมเปิดโครงการ คลังอาหารบ้านดอนโรง โดยพี่เลี้ยงได้มาร่วมกิจกรรมณ ศาลาเอนกประสงค์ บ้านดอนโรง พี่เลี้ยงได้พบปะพูดคัย และได้บอกรายละเอียดกิจกรรมที่มีในโครงการ -โครงการว่าตอนนี้ได้ ประชุมสภาผู้นำไปแล้ว 2 ครั้งและได้ลงสำรวจข้อมูลไปแล้ว โดยได้นำข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจข้อมูลในชุมชนทั้งหมดมาสรุปวิเคราะห์รวบรวม จัดเป็นหมวดหมู่และระดับของข้อมูลประกอบด้วย
-ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน
-ข้อมูลการใช้สารเคมีทางด้านการเกษตร -ข้อมูลรายได้ครัวเรือน -ข้อมูลรายจ่ายของครัวเรือนที่เกี่ยวกับการเกษตร -ข้อมูลวิธีแก้ปัญหาผลผลิตตกต่ำ -คณะทำงานได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาสรุปคืนข้อมูลสู่ชุมชนและได้จัดทำเป็นแผ่นพับแจกผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้และป้ายไวนิลติดไว้ที่หมู่บ้าน เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชนได้รับรู้ถึงข้อมูลและปัญหาที่ได้จากการสำรวจข้อมูล -.ทีมงานจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน เพื่อต้องการสร้างอาหารไว้ให้กับชุมชน โดยเรียนรู้เกี่ยวกับ -การเลี้ยงปลาพื้นเมือง -การเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด การเลี้ยงปลา -การเพาะเห็ดฟาง -เรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร คณะทำงาน0tร่วมกับสมาชิกแต่ละกลุ่ม เปิดให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำกลุ่มและการเรียนรู้การสร้างคลังอาหารชุมชน เพื่อจัดทำตลาดสีเขียวชุมชน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดสารเคมี ได้แก่ -ผักปลอดสารพิษ -ไก่พื้นบ้านและไข่ไก่ -ปลาธรรมชาติ -สมุนไพรเพื่อสุขภาพ -ผักพื้นบ้านต้านโรค โดยมีข้อกำหนดหรือกติกาว่า สมาชิกที่ขายสินค้าได้จะต้องหักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 5 ให้กับกลุ่ม เพื่อกลุ่มจะได้นำเงินดังกล่าวไปพัฒนาองค์ความรู้หรือสร้างอาชีพต่อ -บริเวณตลาดสีเขียว ติดป้ายให้ความรู้เรื่องออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักเรื่องออกำลังกาย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ครบตามที่กำหนด 2.ประชาชนได้รับทราบวัตถุประสงค์โครงการ 3.ประชาชนได้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและประชาชนบ้านดอนโรง 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

คืนข้อมูลชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ6 ธันวาคม 2558
6
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชน และประชาสัมพันธ์โครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมคืนข้อมูลชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการว่าตอนนี้ได้ ประชุมสภาผู้นำไปแล้ว 2 ครั้งและได้ลงสำรวจข้อมูลไปแล้ว โดยได้นำข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจข้อมูลในชุมชนทั้งหมดมาสรุปวิเคราะห์รวบรวม จัดเป็นหมวดหมู่และระดับของข้อมูลประกอบด้วย
-ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน

-ข้อมูลการใช้สารเคมีทางด้านการเกษตร

-ข้อมูลรายได้ครัวเรือน

-ข้อมูลรายจ่ายของครัวเรือนที่เกี่ยวกับการเกษตร

-ข้อมูลวิธีแก้ปัญหาผลผลิตตกต่ำ

2.คณะทำงานได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาสรุปคืนข้อมูลสู่ชุมชนและได้จัดทำเป็นแผ่นพับแจกผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้และป้ายไวนิลติดไว้ที่หมู่บ้าน เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชนได้รับรู้ถึงข้อมูลและปัญหาที่ได้จากการสำรวจข้อมูลเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งไวนิลที่ได้จัดทำนั้นจะเป็นการสรุปสถานะสุขภาพรายรับ-รายจ่ายและสภาพปัญหาที่เกิดในหมู่บ้านติดไว้ที่ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้านโรงเรียนบ้านดอนโรง
3.คณธทำงานได้ชี้แจงกิจกรรมในโครงการ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบ 1)มีการประชุมทุกเดือน ของคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน 2)ออกแบบและสำรวจข้อมูลในชุมชน ดดยจะมีกิจกรรมสำรวจข้อมูลทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ สรุปและคืนข้อมูลให้กับชุมชนต่อไป เพื่อเป็นฐานข้อมูลและใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้านต่อไป 3)คืนข้อมูลชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการโดยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาทำการวิเคราะห์และสรุป เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชน 4)สร้างแผนครัวเรือน แผนชีวิต พิชิตสารเคมีและเพิ่มราคาผลผลิตโดยเป็นการสร้สงแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน และวางแผนอย่างไรในการลดการใช้สารเคมี 5)สร้างข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงโดยการประสานผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอจัดทำข้อบัญญัติชุมชน ซึ่งได้แนวทางปฏิบัติมาจากโครงการในปีที่ผ่านมา2.หัวหน้าโครงการและแกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมในปีที่ผ่านมา เล่าแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดีและการสร้างความสุขในครัวเรือน การลดใช้สารเคมี โดยให้ทุกคนร่วมกันเสนอข้อปฏิบัติในหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงโดยอิงแนวทางปฏิบัติจากโครงการในปีที่ผ่านมาและร่วมกันระดมคิดแนวทางปฏิบัติชุมชน ซึ่งปีที่ผ่านมาแนวทางปฏิบัติคือ (1)ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง 5 ชนิด (2)ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด (3)ลดใช้เครื่องปรุงรสในครัวเรือน (4)ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ (5)ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา (6)ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน็อค (7 )ร่วมกันออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวัน คนละ 30 นาทีต่อวัน (8)ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของหมู่บ้าน (9)ทุกครัวเรือนต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 กลุ่ม ในการเข้าร่วมพัฒนาชุมชนและจะเสนอความคิดเห็นและขอเสียงเพื่อรับรองมติจากที่ประชุม และถ่ายเอกสารข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงติดไว้ทุกหลังคาเรือน และคณะทำงานติดตามเยี่ยมและสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมทุกเดือน เพื่อจะได้นำข้อบกพร่องของข้อบัญญัติชุมชนมาปรับปรุง.เมื่อไม่มีข้อผิดพลาดจะประกาศใช้เป็นนโยบายหมู่บ้าน 6)สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพื้นบ้าน โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดใช้สารเคมีโดยคณะทำงาน จะเชิญกลุ่มเป้าหมายมาระดมความคิดเห็น เพื่อสร้างกลุ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครอบครัวกับในชุมชน ร่วมกันกำหนดกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกผักไว้กินเอง
7)สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสานจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน เพื่อต้องการสร้างอาหารไว้ให้กับชุมชน โดยเรียนรู้เกี่ยวกับ –การเลี้ยงปลาพื้นเมือง -การเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด การเลี้ยงปลา –การเพาะเห็ดฟาง –เรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร 8)ตลาดสีเขียว โดยการเปิดให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำกลุ่มและการเรียนรู้การสร้างคลังอาหารชุมชน เพื่อจัดทำตลาดสีเขียวชุมชน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดสารเคมี ได้แก่ -ผักปลอดสารพิษ -ไก่พื้นบ้านและไข่ไก่ -ปลาธรรมชาติ -สมุนไพรเพื่อสุขภาพ -ผักพื้นบ้านต้านโรค
4.ประธานโครงการได้ฝากผู้ใหญ่บ้านได้ประชาสัมพันธ์โครงการ และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจผ่านกระจายข่าวของหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้เกิดการรับรู้และตระหนักร่วมกันในปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางด้านการเกษตรสถานะสุขภาพของประชาชนรายจ่ายฟุ่มเฟือยของหมู่บ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200คน ผลลัพธ์ 1.มีเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 2.ประชนได้ทราบถึงข้อมูลที่ได้จากการสำรวจข้อมูลในชุมชน 3.มีข้อมูลคืนให้กับชุมชนเพื่อเป็นฐานข้อมูล เพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาชุมชนต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ตัวแทนภาคประชาชน ผู้นำชุมชน 200 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งที่ 530 พฤศจิกายน 2558
30
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เ้ป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยคณะทำงาน นั่งสรุปผลการสำรวจข้อมูล ดังนี้

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลด้านประชากรในครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูลด้านประชากร พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๗๖.๗๐ อยู่ในช่วงอายุ ๕๐- ๕๙ ปี ร้อยละ ๓๖.๑๑ สถานภาพในครอบครัว เป็นคู่สมรสหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ ๔๓.๓๓

ส่วนที่ ๒ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี จากการสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ ๘๗.๘๐ เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ ๘๕.๕๖ ไม่มีการประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ ร้อยละ ๘๐.๕๖ รายได้หลักส่วนใหญ่มาจากการทำสวน ร้อยละ๔๑.๑๑ รองลงมา คือ รับจ้าง ร้อยละ ๓๓.๘๙ รายได้อยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ ๔๐.๖๐ มีหนี้สิน ร้อยละ ๕๒.๒๐ มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ร้อยละ ๘๗.๘๐ ได้รับข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่จากโทรทัศน์ ร้อยละ ๗๙.๔๐ รองลงมา คือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ ๘.๓๓เข้าร่วมกลุ่มโครงการของชุมชน ร้อยละ ๗๕.๐๐ เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้านทุกครั้ง ร้อยละ ๔๓.๘๙ เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ มีศรัทธา ร้อยละ ๓๘.๓๓ สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ร้อยละ ๓๒.๗๘ ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ ผู้นำ ร้อยละ ๕๗.๒๒ รองลงมา คือ การรวมกลุ่ม/มีส่วนร่วมของชุมชน ร้อยละ ๔๒.๗๗ ต้องการให้ชุมชนพัฒนาในด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ร้อยละ ๒๓.๘๘ รองลงมา คือ ความสามัคคี ร้อยละ ๒๑.๖๔ กิจกรรมในชุมชนที่สำคัญที่สุด คือ การทอดกฐิน ร้อยละ ๒๔.๔๔ รองลงมา คือ การแข่งขันกีฬาในหมู่บ้าน ร้อยละ ๒๒.๒๒

ส่วนที่ ๓ ข้อมูลสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กและผู้สูงอายุ จากการสำรวจ พบว่า ครอบครัวที่สำรวจมีการคุมกำเนิดร้อยละ ๕๗.๒๒ มีคนตั้งครรภ์ร้อยละ ๓.๓๓ มีหญิงคลอดร้อยละ ๐.๕๐ เลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่แรกเกิดถึง ๑ ปี ร้อยละ ๙๘.๓๓ รองลงมา คือ อาหารเสริมร้อยละ ๑.๖๗ กินนมแม่อย่างเดียวตลอด ๖ เดือน ร้อยละ ๙๕.๕๖รองลงมากินนมแม่และอาหารอื่นร้อยละ ๓.๓๓ จากการสำรวจมีเด็กอายุแรกเกิดถึง ๕ ปี ร้อยละ ๓๐.๐๐ มีผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปร้อยละ ๓๐.๐๐ ในระยะ ๕ ปี มีคนในครัวเรือนเสียชีวิตร้อยละ ๓.๓๓ เจ็บป่วยร้อยละ ๑๑.๖๗ ใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาทมากที่สุดร้อยละ ๘๘.๘๙ รองลงมา คือ โรงพยาบาลเชียรใหญ่ร้อยละ ๑๑.๑๑ เหตุผลที่เลือก คือ เดินทางสะดวกร้อยละ ๖๓.๓๓ รองลงมา คือ ไม่ต้องรอนานร้อยละ ๒๒.๗๘ รู้จักยาปฏิชีวนะร้อยละ ๘๔.๔๔ใน ๑ เดือนที่ผ่านมาเคยใช้ร้อยละ ๒๔.๔๔ ได้รับมาจากสถานีอนามัยร้อยละ ๘๖.๖๗ ในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาไม่มีการใช้ยาชุดร้อยละ ๑๐๐.๐๐ บ้านในครัวเรือนซื้อชุดบรรเทาปวดร้อยละ ๒.๒๒
ในรอบ ๑ เดือนผู้ให้ข้อมูลดื่มสุราร้อยละ ๘.๘๙ คนในครัวเรือนดื่มสุราร้อยละ ๓๕.๕๖ ส่วนใหญ่ดื่มสุราร้อยละ ๒๓.๘๙ รองลงมา คือ เบียร์ร้อยละ ๘.๓๓ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนร้อยละ ๕๕.๕๖ โดยจะดื่มกาแฟสำเร็จรูปแบบซองร้อยละ ๗๒.๐๐ดื่มเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานได้นานขึ้นมากที่สุดร้อยละ ๗๖.๐๐ ดื่มทุกวันร้อยละ ๖๖.๐๐ รองลงมาคือ ๕-๖ ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ ๒๐.๐๐ คนในครัวเรือนดื่มเครื่องชูกำลังร้อยละ ๑๓.๓๓ ส่วนใหญ่เป็นเอ็ม ๑๕๐ ร้อยละ ๘๓.๓๓ สูบบุหรี่ร้อยละ ๕๕.๕๕ ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมาผู้ให้ข้อมูลสูบบุหรี่ร้อยละ ๒๑.๑๑ ไม่ได้รับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ไม่ใช้ยานอนหลับร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ใช้สารเสพติดชนิดอื่นร้อยละ ๒.๒๒ มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้อยละ ๖๒.๒๒ ใช้แบบฉีดพ่นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ มีการป้องกันโดยสวมหน้ากากมากที่สุดร้อยละ ๕๐.๐๐ รองลงมาคือ อ่านฉลากก่อนใช้ร้อยละ ๒๑.๔๓ กำจัดโดยการฝังดินร้อยละ ๔๙.๑๑ รองลงมาคือ อื่นๆ คือ วางไว้ ขาย ร้อยละ ๒๘.๕๗ ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพร้อยละ ๙๘.๘๙ บุคคลที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพคือ เจ้าหน้าที่อนามัยร้อยละ ๘๕.๐๐ รองลงมาคือ อสม.ร้อยละ ๗.๗๘ ส่วนที่ ๔ ข้อมูลทางด้านสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจข้อมูล พบว่า ที่อยู่อาศัยมีความมั่นคง ถาวร ร้อยละ ๙๓.๓๓ มีการจัดของใช้เป็นระเบียบ สะอาด ร้อยละ ๙๓.๓๓ มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรค ร้อยละ ๙๒.๗๘ แมลงพาหะนำโรคส่วนใหญ่ เป็นยุง ร้อยละ ๕๑.๑๑ รองลงมา คือ แมลงวัน ร้อยละ ๑๕.๐๐ น้ำดื่มส่วนใหญ่มาจากน้ำฝน ร้อยละ ๔๐.๕๖ รองลงมา คือ น้ำประปา ร้อยละ ๒๓.๘๙ น้ำที่ใช้ดื่มเพียงพอ ร้อยละ ๙๓.๘๙ ปกติใช้น้ำเพื่อการอุปโภคจากแหล่งน้ำฝน ร้อยละ ๔๐.๕๖ รองลงมา คือ น้ำประปา ร้อยละ ๒๓.๘๙ น้ำใช้เพียงพอ ร้อยละ ๙๐.๐๐มีตู้เย็นเก็บอาหารสด ร้อยละ ๙๔.๔๔มีการเก็บอาหารปรุงเสร็จไว้บนโต๊ะสูงมีฝาชีครอบมิดชิดมากที่สุด ร้อยละ ๗๐.๕๖ รองลงมา คือ เก็บไว้ในตู้กับข้าว ร้อยละ ๒๙.๔๔ มีการกำจัดน้ำเสียโดยท่อระบายน้ำทิ้งห่างจากบ้าน ร้อยละ ๘๐.๐๐ ครัวเรือนมีถังขยะ แต่ไม่มีฝาปิด ร้อยละ ๘๐.๐๐ รองลงมา คือ มีฝาปิดมิดชิด ร้อยละ ๑๖.๖๗ กำจัดขยะเปียกโดยการเผามากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมา คือ หมักทำปุ๋ยชีวภาพ ร้อยละ ๒๗.๗๘ กำจัดขยะแห้งโดยการเผามากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมา คือ นำไปทิ้งที่ต่างๆไม่เป็นที่ ร้อยละ ๒๗.๗๘ กำจัดขยะอันตรายโดยการฝังมากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมาคือ ทิ้งไม่เป็นที่ ร้อยละ ๒๗.๗๘ อาหารที่บริโภคส่วนมากซื้อมาจาก สถานที่อื่นๆ เช่น รถเร่ ร้อยละ ๗๒.๒๒ รองลงมา คือ ตกปลา ร้อยละ ๒๗.๗๘
ส่วนที่ ๕ ข้อมูลครัวเรือนที่ประสบกับสภาพต่างๆ จากการสำรวจข้อมูล พบว่า ในภาพรวมสมาชิกในครัวเรือนได้รับประทานอาหารครบถ้วนทุกเดือน ร้อยละ ๙๓.๘๙ ได้รับประทานอาหารน้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม่เพียงพอ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ อดอาหารในบางมื้อ เนื่องจากมีเงินไม่พอ ไม่เคย ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ไม่เคยลดปริมาณการรับประทานอาหารให้น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากอาหารไม่พอ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ เด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ได้รับประทานอาหารครบถ้วนทุกมื้อ ทุกเดือน ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ในช่วงเดือนรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนมีความยากลำบากจนต้องกู้ยืม ร้อยละ ๓๑.๖๗

จากการสำรวจข้อมูลชุมชน พบปัญหา ดังนี้ ๑) ไม่มีการประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ ร้อยละ ๑๘.๙๐ ๒) รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๓๕.๐๐ ๓) ครอบครัวมีหนี้สินร้อยละ ๕๒.๐ ๔) ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของครอบครัว ร้อยละ ๑๒.๒๐ ๕) ครอบครัวไม่มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการในชุมชน ร้อยละ ๒๕.๐๐ ๖) คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนของท่านเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้านบางครั้ง ร้อยละ ๓๑.๖๗ บ่อยครั้ง ๒๔.๔๔ ๗) ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๗๐.๐๐ ๘) ไม่รู้จัก “ยาปฏิชีวนะ” ร้อยละ ๑๕.๕๖ ๙) ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุรา ร้อยละ ๘.๘๙ สมาชิกในครัวเรือนดื่มสุรา ร้อยละ ๓๕.๕๖ ๑๐) ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมา ท่านและคนในครัวเรือน ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาแฟอีน ร้อยละ ๕๕.๕๖ เป็นกาแฟสำเร็จรูปแบบซอง ร้อยละ ๗๒.๐๐ และแบบกระป๋อง ร้อยละ ๒๘.๐๐ ๑๑) ใน๑ เดือนที่ผ่านมามีผู้สูบบุหรี่ ร้อยละ ๕๕.๕๕ ๑๒) ในรอบปีที่ผ่านมามีการใช้สารกำจัดศัครูพืชหรือสัตว์ ร้อยละ ๖๒.๒๒ ๑๓) ในบ้านมีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงนำโรค ร้อยละ ๙๒.๗๘ เป็นยุง ร้อยละ ๕๑.๑๑ ๑๔) น้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคในครัวเรือนมีไม่เพียงพอ ร้อยละ ๑๐.๐๐ ๑๕) ครัวเรือนมีถังขยะ แต่ไม่มีฝาปิด ร้อยละ ๘๐ กำจัดขยะเปียกโดยการเผา ร้อยละ ๓๓.๘๙กำจัดขยะแห้ง โดยการเผา ร้อยละ ๓๓.๘๙ กำจัดขยะ อันตราย โดยการฝัง ร้อยละ ๓๓.๘๙ ๑๖) ในรอบปีที่ผ่านมา มีครัวเรือนที่ยากลำบาก จนต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย ร้อยละ ๓๑.๖๗

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรมม40คน
ผลลัพธ์ 1.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือ การได้ร่วมสำรวจข้อมูลร่วมกันการได้มาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน 2.มีการกระตุ้นให้เกิดการรับรุู้ปัญหาของชุมชน คือการที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปคืนให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ 3.มีข้อมูลจาการวิเคราะห์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 40 คน ประกอบด้วยคณะทำงาน แกนนำ ปราชญ์ชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 425 พฤศจิกายน 2558
25
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมุลในชุมชนครั้งที่ 4ซึ่งวันนี้ได้นัดกันก่อนลงสำรวจเพื่อสอบถามความคืบหน้าในการลงสำรวจข้อมูล โดยมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟอง หนูทองผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวทักทายคณะทำงานทุกคนและก็ได้สอบถามความคืบหน้าในการลงสำรวจข้อมูล ว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้างไหมซึ่งวันนี้เป็นการสำรวจครั้งที่ 4 ก็ขอให้ทุกคนได้ทำการสำรวจให้เสร็จเรียบร้อย ด้วยความตั้งใจและอดทนกันทุกคน
2.หลังจากนั้นก็ได้แยกย้ายกันตามกลุ่มที่ได้แบ่งเอาไว้ให้ไปตามโซนที่ได้แบ่งไว้ถ้าโซนไหนเสร็จก่อนแล้วก็ให้ไปช่วยโซนอื่นที่เหลือด้วยและได้นัดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งที่ 5 ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558


จากการสำรวจข้อมูลวันนี้ ได้ 73ครัวเรือน คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆบางส่วน ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล วันที่ 3 1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ68เป็นชายร้อยละ22
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย52ปี 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 75 4.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 84 5.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 72 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 76 7.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 74 8.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ 75 9.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 66 10.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จากธกส.ร้อยละ 58กู้เงินดอก ร้อยละ 22 11.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ90 12.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ91 13.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ80กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 70 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 33 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 64 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ60กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 54 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 70 14.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 70 15. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ ศรัทธาร้อยละ100 16.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 65 17.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ25 18.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 19.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ2.3
20.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 95 21.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 19 22.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 92 23.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพ.สต.เขาพระบาท ร้อยละ 92 24.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 86 25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ15 26.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 17 27.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ6 28.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ60 29.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 91 30.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 72 31.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 87
32.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 69 33.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 82
34.การหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 67 35.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 72 36.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 90

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน
2.สำรวจข้อมูลชุมชนได้73ครัวเรือน ผลลัพธ์ 1.มีการยอมรับกันมากขึ้นในคณะทำงานคือการได้ช่วยกันในการสำรวจแบ่งหน้าที่ที่กันในการสำรวจมีคนจดบันทึกและคนที่เหลือก็ช่วยกันสอบถามและค่อยๆผลัดเปลี่ยนกันไป 2.ได้นัดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งที่ 5 ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ตัวแทนภาคประชาชน ผู้นำชุมชน 40 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 320 พฤศจิกายน 2558
20
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 2 ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกสำรวจข้อมูลในชุมชนโดยนัดพบชี้แจงและเตรียมความพร้อมก่อนลงสำรวจก่อนเวลา 09.00 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้ กอ่นลงสำรวจนางหนูฟองหนูทองประธานโครงการได้พูดคุย และชี้แจงก่อนลงสำรวจว่าวันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3ซึ่งครั้งที่แล้วเราได้สำรวจไปแล้วและในวันนี้ก็ได้ลงสำรวจเป็นวันที่ 2 ซึ่งในการลงสำรวจในวันนี้เราก็แบ่งกลุ่มการลงสำรวจกันเหมือนเดิมและประธานก็ได้ให้กำลังใจคณะทำงานทุกคนให้มีความตั้งใจในการทำงานมีความอดทน และให้เก็บข้อมูลให้ได้ตามแบบสอบถามที่ได้ออกแบบไว้เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อไปหลังจากนั้นคณะทำงานก็ได้แบ่งกลุ่มตามที่ได้แบ่งกันไว้แล้วก็ลงสำรวจกันในโซนที่เหลือ เมื่อสำรวจเสร็จในวันนี้ ก็จะนัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558


จากการสำรวจข้อมูลวันนี้ ได้82ครัวเรือน คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆ ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล วันที่ 2
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65 เป็นชายร้อยละ25
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย55ปี 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 72 4.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 85 5.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 70 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 79 7.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 75 8.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ 76 9.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 65 10.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จากธกส.ร้อยละ 60กู้เงินดอก ร้อยละ 25 11.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ88 12.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ92 13.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ82 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 72 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 35 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 68 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ62กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 53 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 71 14.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 72 15. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ ศรัทธาร้อยละ100 16.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 69 17.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ23 18.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 19.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 2.5 20.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 96 21.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 18 22.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 93 23.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพ.สต.เขาพระบาท ร้อยละ 90 24.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 82 25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 14 26.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 18 27.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ4 28.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ63
29.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 92 30.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 71 31.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 88
32.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 65 33.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 80
34.การหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 65 35.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 70 36.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 89

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.ผุ้เข้าร่วมกิจกรรม 40คน 2.วันนี้สำรวจข้อมูลได้82ครัวเรือน ผลลัพธ์ 1.คณะทำงานมีความสามัคคีช่วยเหลือกันคือมีการทำงานเป็นกลุ่มและช่วยกันในการเก็บข้อมูล 2.ได้นัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

อสมแกนนำอาสาและเยาวชน 40 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 215 พฤศจิกายน 2558
15
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 2ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกสำรวจข้อมูลในชุมชนโดยนัดพบชี้แจงและเตรียมความพร้อมก่อนลงสำรวจก่อนเวลา 09.00 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้ กอ่นลงสำรวจนางหนูฟองหนูทอง ประธานโครงการได้พูดคุย และชี้แจงก่อนลงสำรวจว่าวันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งทีี่ 2 ซึ่งครั้งที่ 1ของการลงสำรวจ ซึ่งเราได้ออกแบบสำรวจไปแล้วในครั้งที่ผ่านมาและในวันนี้เราก็ได้ออกสำรวจกันในการสำรวจข้อมูลครัวเรือนนั้น เราได้แบ่งกลุ่มการลงสำรวจกันแล้วเมื่อครั้งก่อนแล้วแบ่งทีมผู้สำรวจออกเป้น 10 ทีมๆละ 4คน

จะใช้เวลาสำรวจ วัน คือในวันนี้และกิจกรรมสำรวจครั้งที่ 3 คือวันที่ 20พฤศจิกายน2559 และกิจกรรมสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 4 ในวันที่25 พฤศจิกายน2559โดยให้ทุกคนรับแบบสอบถามไปเพื่อทำการสำรวจ และประธานก็ได้ให้กำลังใจคณะทำงานทุกคนให้มีความตั้งใจในการทำงานมีความอดทน และให้เก็บข้อมูลให้ได้ตามที่ต้องการเพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วจะได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนต่อไปหลังจากนั้นคณะทำงานก็ได้แบ่งกลุ่มตามที่ได้แบ่งกันไว้แล้วก็ลงสำรวจกันโดยแบ่งเป็นโซนไปตามที่ อสม.รับผิดชอบเมื่อสำรวจเสร็จในวันนี้ ก็จะนัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 20พฤศจิกายน2559

จากการสำรวจข้อมูลวันนี้สำรวจได้ 85ครัวเรือนคณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆ ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล วันที่1
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 72 เป็นชายร้อยละ28
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย57 ปี 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 70 4.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 89 5.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 72 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 70 7.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 80 8.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ70 9.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 69 10.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 65 กู้เงินดอก ร้อยละ 24
11.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 89 12.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ 90 13.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 85 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 75 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 40 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 75 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ65กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 50 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 75 14.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 75 15. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ ศรัทธาร้อยละ100 16.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 70 17.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ 22 18.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 19.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 2.2 20.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 97 21.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 20 22.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 95 23.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพสต.เขาพระบาท ร้อยละ 93 24.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 85 25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 17 26.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 20 27.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ 5 28.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ69
29.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 95 30.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 69 31.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 85
32.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 68 33.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 80
34.มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 70 35.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 69 36.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 86

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40คน 2.มีการทำงานเป็นทีมโดยการแบ่งกลุ่มในการสำรวจ เป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ4คน ผลลัพธ์ 1. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในการช่วยพัฒนาคือ การได้ช่าวยเก็บข้อเพื่อเอาไว้เป็นฐานข้อมูลชุมชน และช่วยเหลือชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ 2. คณะทำงานมีความยินดีกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้เห็นความสำคัญของตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน 3. ได้รู้จักคนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับคนในชุมมากขึ้นทำให้คนในชุมชนเห็นคณะทำงานมีความตั้งใจในการร่วมพัฒนนาชุมชน 4.ได้ใช้แบบสำรวจที่ีได้จากการออกแบบของคนในชุมชนสำรวจข้อมูลในชุมชน 5.ได้นัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

อสม 13 คน แกนนำอาสาสมัครและเยาวชน 27คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 110 พฤศจิกายน 2558
10
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบและสำรวจข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 1 ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกแบบสำรวจข้อมูลในชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ 1. เริ่มเปิดกิจกรรมโดยนางหนูฟองหนูทอง ประธานโครงการ เปิดกิจกรรมโดยการกล่าวต้อนรับ และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในวันนี้ คือ การมาออกแบบสำรวจข้อมูล โดยคณะทำงานจะร่วมกับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระบาทอสม.และกลุ่มเยาวชน ในการมาพูดคุยเพื่อคิดออกแบบสำรวจข้อมูลของชุมชน โดยคณะทำงานร่วมกันคิดขึ้นมา เพื่อเป็นแบบสอบถาม ในการสำรวจข้อมูลของชุมชน โดยให้สอดคล้องกับปัญหาและวิถีชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการดำเนินงาน ในวันนี้จะร่วมกันออกแบบแบบการสำรวจข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่จะร่วมกันออกแบบแบบสำรวจนั้นจะประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลด้านประชากรในครัวเรือนประกอบด้วย ข้อมูลเพศการศึกษา สถานภาพ
ส่วนที่ ๒ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ

เมื่อหลังจากการลงสำรวจข้อมูลในชุมชนเสร็จแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่มีในชุมชนและคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้รับทราบถึงข้อมูลปัญหาที่ได้สำรวจมาเมื่อประธานได้ชี้แจงเสร็จแล้วก็ให้คณะทำงานร่วมกันคิดแบบสำรวจซึ่งจะให้แต่ละคนร่วมเสนอกันมาว่าจะสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลอะไรรวบรวมแล้วก็มาออกความคิดเห็นกันอีกครั้งซึ่งในขณะกิจกรรมทุกคนก็ต่างเปิดโอกาสให้คณะทำงานได้ร่วมเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อให้ได้ข้อมูลแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์และสามารถสำรวจถึงข้อมูลของชุมชนอย่างครบถ้วน หลังจากนั้นได้แบ่งกลุ่ม เรียนรู้คำถามร่วมกัน ให้ทุกคนได้ทดลองอ่านข้อคำถาม และสอบถามว่าเข้าใจข้อคำถามหรือไม่ เพื่อจะได้มีความเข้าใจในเวลาสอบถามข้อมูล 2.หลังจากการร่วมกันออกแบบแบบสำรวจข้อมูลเสร็จแล้วนั้น เพื่อความง่ายและสะดวกรวดเร็ว ในการสำรวจข้อมูลครัวเรือนนั้น จะให้แบ่งเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 4 คน โดยมี อสม. แกนนำชุมชนและนักเรียนเข้าร่วมในกลุ่มด้วย ซึ่งจะแบ่งเป็น 10 กลุ่ม จะใช้เวลาสำรวจ 3 วันซึ่งมีทั้งหมด240ครัวเรือน แล้วหลังจากสำรวจเสร็จก็จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์อีกครั้งเพื่อนำข้อมูลไปคืนสู่ชุมชนและได้นัดหมายวันสำรวจข้อมูลครั้ังต่อไปคือ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีแบบสอบถามของบ้านดอนโรงที่ร่วมกันออกแบบ 1 ชุด 2.มีการแบ่งกลุ่มเพื่อทำการสำรวจข้อมูล 10 กลุ่ม 3.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม40คน ผลลัพธ์ 1.ทำให้มีแบบสำรวจข้อมูลเป็นของชุมชนบ้านดอนโรงเอง 2.มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันในการคิดแบบสอบถามโดยการเสนอความคิดในการออกแบบสอบถาม แล้วก็เลือกกัน เพื่อจะได้ใส่ไปในแบบสอบถาม
3.ทำให้คณะทำงานมีการยอมรับกันมากขึ้นคือการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกัน และก็เสนอกันเพื่อยอมรับความคิดเห็นที่แต่ละคนที่ได้เสนอออกมา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 40 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 27 พฤศจิกายน 2558
7
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการดำเนินงาและประเมินกิจกรรมตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 2 โดยคณะกรรมการ เข้ามาร่วมกิจกรรม นั่งพูดคุย เกี่ยวกับกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมที่จะมีครั้งต่อไปโดยมีกิจกรรมดังนี้

1.กิจกรรมที่ผ่านมา คือ กิจกรรมประชุมสภา ครั้งที่ 1กิจกรรมในวันนั้นเป็นการเลือกสภาผู้นำและชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการ 2. กิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการสำรวจข้อมูล5 ครั้ง ครั้งที่ 1 จะเป็นการออกแบบสำรวจข้อมูลก่อนการลงสำรวจจริง และจะเป็นการลงสำรวจอีก 4ครั้งและจะมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจะได้ข้อมูลคืนชุมชนต่อไป และกิจกรรม คืนข้อมูลและประชาสัมพันธ์โครงการโดยการนำข้อมูลจากการสำรวจ ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์และสรุปแล้ว มาคืนให้กับชุมชน และนัดประชุมสภาครั้งที่ 3ในวันที่7 มกราคม2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม30คน ผลลัพธ์ 1.ได้มีการติดตามการทำกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา คือการประชุมสภาครั้งที่ 1กิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1กิจกรรมคืนข้อมูลและประชาสัมพันธ์โครงการโดยการนำข้อมูลจากการสำรวจ
2.ได้นัดประชุมสภาครั้งที่ 3ในวันที่7 มกราคม2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ 17 ตุลาคม 2558
17
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำป้ายโครงการและป้ายเขตปลอดบุหรี่ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมด้วยนางจำปีเกิดแก้วได้ไปทำป้ายโครงคลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปีที่ 2 )และป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์การงดสูบบุหรี่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.คณะทำงาน 2 คน ไปจัดทำป้าย 2.มีป้ายชื่อโครงการ1ป้าย 3.ป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1ป้าย ผลลัพธ์ ผลผลิต

ผลลัพธ์ 1. มีป้ายสำหรับใช้ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อนำไปติดไว้ที่สถานที่ประชุม เพื่อเป็นการรณรงค์การงดสูบบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านดอนโรงครั้งที่ 17 ตุลาคม 2558
7
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมชี้แจงคณะกรรมการและวางแผนการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 1มีคณะทำงาน 30 คน เข้าร่วมประชุม โดยมีกิจกรรมดังนี้ นางหนูฟองหนูทองประธานโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และ ชี้แจงเกี่ยวกับ โครงการโดยในปีนี้ได้มีโครงการ คลังอาหารบ้านดอนโรงต่อยอดปีที่ 2ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการที่ได้ทำไปแล้วคือโครงการ ดอนโรงสร้างสุข ด้วยวิถีเกษตรพอเพียงซึ่งในโครงการที่ผ่านมาเป็นการส่งเสริมให้ลดการใช้สารเคมีจากการเกษตร และร่วมกันปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิตอาหารจากชุมชนโดยได้มีฐานเรียนรู้ มีฐานเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมีฐานทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ฐานปรับปรุงดินและน้ำฐานปลูกผักปลอดสารพิษ ฐานสมุนไพรเพื่อใช้ในการเกษตร และได้ชีร้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการในปีนี้ดังนี้ โดยโครงการมีวัตถุประสงค์2ข้อ ดังนี้ ข้อที่ 1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็งมีตัวชี้วัดคือ1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น มีการจัดบันทึกวาระการประชุม และนำผลการประชุมมาพูดคุยให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการทบทวน บทเรียนในการพัฒนา และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรม

ข้อที่ 2 เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้วยกระบวนการสร้างคลังอาหาร มีตัวชี้วัดคือ 1.ทุกครัวเรือนปลูกผักกินเอง ร้อยละ 1002.ทุกครัวเรือนปฏิบัติตามข้อบัญญัติชุมชน ร้อยละ 1003.มีฐานเรียนรู้คลังอาหารชุมชน 5 ฐาน - คณะทำงานได้ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการในเดือนถัดไป
โดยกิจกรรม 1.มีการประชุมทุกเดือน ของคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน 2. .ออกแบบและสำรวจข้อมูลในชุมชน ดดยจะมีกิจกรรมสำรวจข้อมูลทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ สรุปและคืนข้อมูลให้กับชุมชนต่อไป เพื่อเป็นฐานข้อมูลและใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้านต่อไป 3.คืนข้อมูลชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการโดยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาทำการวิเคราะห์และสรุป เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชน 4.สร้างแผนครัวเรือน แผนชีวิต พิชิตสารเคมีและเพิ่มราคาผลผลิตโดยเป็นการสร้สงแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน และวางแผนอย่างไรในการลดการใช้สารเคมี 5. .สร้างข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงโดยการประสานผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอจัดทำข้อบัญญัติชุมชน ซึ่งได้แนวทางปฏิบัติมาจากโครงการในปีที่ผ่านมา2.หัวหน้าโครงการและแกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมในปีที่ผ่านมา เล่าแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดีและการสร้างความสุขในครัวเรือน การลดใช้สารเคมี โดยให้ทุกคนร่วมกันเสนอข้อปฏิบัติในหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงโดยอิงแนวทางปฏิบัติจากโครงการในปีที่ผ่านมาและร่วมกันระดมคิดแนวทางปฏิบัติชุมชน ซึ่งปีที่ผ่านมาแนวทางปฏิบัติคือ (1)ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง 5 ชนิด (2)ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด (3)ลดใช้เครื่องปรุงรสในครัวเรือน (4)ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ (5)ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา (6)ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน็อค (7 )ร่วมกันออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวัน คนละ 30 นาทีต่อวัน (8)ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของหมู่บ้าน (9)ทุกครัวเรือนต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 กลุ่ม ในการเข้าร่วมพัฒนาชุมชนและจะเสนอความคิดเห็นและขอเสียงเพื่อรับรองมติจากที่ประชุม และถ่ายเอกสารข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงติดไว้ทุกหลังคาเรือน และคณะทำงานติดตามเยี่ยมและสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมทุกเดือน เพื่อจะได้นำข้อบกพร่องของข้อบัญญัติชุมชนมาปรับปรุง.เมื่อไม่มีข้อผิดพลาดจะประกาศใช้เป็นนโยบายหมู่บ้าน 6.สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพื้นบ้าน โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดใช้สารเคมีโดยคณะทำงาน จะเชิญกลุ่มเป้าหมายมาระดมความคิดเห็น เพื่อสร้างกลุ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครอบครัวกับในชุมชน ร่วมกันกำหนดกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกผักไว้กินเอง
7.สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสานจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน เพื่อต้องการสร้างอาหารไว้ให้กับชุมชน โดยเรียนรู้เกี่ยวกับ –การเลี้ยงปลาพื้นเมือง -การเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด การเลี้ยงปลา –การเพาะเห็ดฟาง –เรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร 8.ตลาดสีเขียว โดยการเปิดให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำกลุ่มและการเรียนรู้การสร้างคลังอาหารชุมชน เพื่อจัดทำตลาดสีเขียวชุมชน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดสารเคมี ได้แก่ -ผักปลอดสารพิษ -ไก่พื้นบ้านและไข่ไก่ -ปลาธรรมชาติ -สมุนไพรเพื่อสุขภาพ -ผักพื้นบ้านต้านโรค
โดยจะนัดประชุมครั้งต่อไป ในวันที่7 พฤศจิกายน 2558

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม30คน 2.มีสภาผู้นำและคณะทำงาน 1 ชุด ผลลัพธ์ 1.มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้คณะทำงานรับทราบถึงกิจกรรมที่จะทำเช่นการทำน้ำยาเอนกประสงค์การที่จะมีคณะทำงานลงไปสำรวจข้อมูลในชุมการเรียนรู้เกษตรผสมผสาน 2.มีการพบปะพูดคุยกันในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันในชุมชนมีการเสนอความคิดเห็นในการเลือกสภาผู้นำและการแบ่งโซนในการทำกิจกรรม 3.นัดประชุมครั้งต่อไป ในวันที่7 พฤศจิกายน 2558

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน เข้าร่วมประชุม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพือปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ ทาง สจรส.มอ. ได้รวมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ปฐมนิเทศโครงการใหม่ วันที่ 3 -4 ตุลาคม 2558 โดยในวันแรก ไ้ดพบกับ ผศ.ดร.พงศ์เทพ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ
วันที่สอง พี่เลี้ยงได้แนะนะวิธีการเขียนรายงานตามเอกสาร และการเขียนเอกสารทางการเงินพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้ฝึกบัน่ทึกเวปไซด์โครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมประชุมตามที่กำหนด 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การบันทึกเอกสาร การจัดเตรียมเอกสาร 3.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติบันทึกในเวปไซด์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย noothong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงินในการเขียนบิลในการเขียนใบสำคัญรับเงินต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนด อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการถ่ายรูปในการทำกิจกรรม ว่าจะต้องถ่ายกิจกรรมให้เป็นกิจกรรมที่มีชีวิตและสามารถมองออกได้ว่าเป็นกิจกรรมอะไรกำลังทำกิจกรรมอะไรเพื่อเป็นการสื่อให้คนที่ดูภาพได้เห็นถึงกิจกรรมที่ได้ทำไปรวมถึงการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์ และการบันทุกรูปในภาพในเว็บไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2คน
ผลลัพธ์ วันนี้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
2.เรียนรู้วิธีการทำเอกสารของโครงการ เช่น การเขียนบิลการเขียนรายงานโครงการ
3.เรียนรู้วิธีการถ่ายรูปอย่างไร ให้เห็นถึงกิจกรรมที่เราได้ทำไปให้เห็นว่าทำอะไรในกิจกรรมนั้น 4.ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
5.ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่ม่ี