แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

ชุมชน บ้านดอนโรง หมู่ที่ 8 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03909 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2043

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปฐมนิเทศโครงการใหม่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2คน
ผลลัพธ์ วันนี้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
2.เรียนรู้วิธีการทำเอกสารของโครงการ เช่น การเขียนบิลการเขียนรายงานโครงการ
3.เรียนรู้วิธีการถ่ายรูปอย่างไร ให้เห็นถึงกิจกรรมที่เราได้ทำไปให้เห็นว่าทำอะไรในกิจกรรมนั้น 4.ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
5.ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สจรส.มอ.รวมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรึีธรรมราช จัดปฐมนิเทศโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงินในการเขียนบิลในการเขียนใบสำคัญรับเงินต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนด อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการถ่ายรูปในการทำกิจกรรม ว่าจะต้องถ่ายกิจกรรมให้เป็นกิจกรรมที่มีชีวิตและสามารถมองออกได้ว่าเป็นกิจกรรมอะไรกำลังทำกิจกรรมอะไรเพื่อเป็นการสื่อให้คนที่ดูภาพได้เห็นถึงกิจกรรมที่ได้ทำไปรวมถึงการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์ และการบันทุกรูปในภาพในเว็บไซต์

 

2 2

2. สภาชุมชนบ้านดอนโรงครั้งที่ 1

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมชี้แจงคณะกรรมการและวางแผนการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านดอนโรง 1 ชุด
2.รูปแบบการบริหารจัดการและแบ่งบาทหน้าที่การทำงานชัดเจน 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะทำงานมากขึ้น 4.สร้างความสามัคคีในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม30คน 2.มีสภาผู้นำและคณะทำงาน 1 ชุด ผลลัพธ์ 1.มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้คณะทำงานรับทราบถึงกิจกรรมที่จะทำเช่นการทำน้ำยาเอนกประสงค์การที่จะมีคณะทำงานลงไปสำรวจข้อมูลในชุมการเรียนรู้เกษตรผสมผสาน 2.มีการพบปะพูดคุยกันในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันในชุมชนมีการเสนอความคิดเห็นในการเลือกสภาผู้นำและการแบ่งโซนในการทำกิจกรรม 3.นัดประชุมครั้งต่อไป ในวันที่7 พฤศจิกายน 2558

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน และตัวแทนกลุ่มชุมชน 4 กลุ่ม คัดเลือกมา กลุ่มละ 2 คน รวมเป็น 8 คนตัวแทนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ 2 คนและจิตอาสา 5 คน เข้าร่วมประชุมทุกเดือน โดยนำวาระการดำเนินงานตามโครงการมาพูดคุยในวันประชุม และประเด็นการพัฒนาหมู่บ้าน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ มาพูดคุยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้สถานที่หอประชุมหมู่บ้าน 2.มีการจัดบันทึกวาระการประชุม และนำผลการประชุมมาพูดคุยให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
3.มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการทบทวน บทเรียนในการพัฒนา และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 1มีคณะทำงาน 30 คน เข้าร่วมประชุม โดยมีกิจกรรมดังนี้ นางหนูฟองหนูทองประธานโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และ ชี้แจงเกี่ยวกับ โครงการโดยในปีนี้ได้มีโครงการ คลังอาหารบ้านดอนโรงต่อยอดปีที่ 2ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการที่ได้ทำไปแล้วคือโครงการ ดอนโรงสร้างสุข ด้วยวิถีเกษตรพอเพียงซึ่งในโครงการที่ผ่านมาเป็นการส่งเสริมให้ลดการใช้สารเคมีจากการเกษตร และร่วมกันปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิตอาหารจากชุมชนโดยได้มีฐานเรียนรู้ มีฐานเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมีฐานทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ฐานปรับปรุงดินและน้ำฐานปลูกผักปลอดสารพิษ ฐานสมุนไพรเพื่อใช้ในการเกษตร และได้ชีร้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการในปีนี้ดังนี้ โดยโครงการมีวัตถุประสงค์2ข้อ ดังนี้ ข้อที่ 1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็งมีตัวชี้วัดคือ1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น มีการจัดบันทึกวาระการประชุม และนำผลการประชุมมาพูดคุยให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการทบทวน บทเรียนในการพัฒนา และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรม

ข้อที่ 2 เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้วยกระบวนการสร้างคลังอาหาร มีตัวชี้วัดคือ 1.ทุกครัวเรือนปลูกผักกินเอง ร้อยละ 1002.ทุกครัวเรือนปฏิบัติตามข้อบัญญัติชุมชน ร้อยละ 1003.มีฐานเรียนรู้คลังอาหารชุมชน 5 ฐาน - คณะทำงานได้ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการในเดือนถัดไป
โดยกิจกรรม 1.มีการประชุมทุกเดือน ของคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน 2. .ออกแบบและสำรวจข้อมูลในชุมชน ดดยจะมีกิจกรรมสำรวจข้อมูลทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ สรุปและคืนข้อมูลให้กับชุมชนต่อไป เพื่อเป็นฐานข้อมูลและใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้านต่อไป 3.คืนข้อมูลชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการโดยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาทำการวิเคราะห์และสรุป เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชน 4.สร้างแผนครัวเรือน แผนชีวิต พิชิตสารเคมีและเพิ่มราคาผลผลิตโดยเป็นการสร้สงแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน และวางแผนอย่างไรในการลดการใช้สารเคมี 5. .สร้างข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงโดยการประสานผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอจัดทำข้อบัญญัติชุมชน ซึ่งได้แนวทางปฏิบัติมาจากโครงการในปีที่ผ่านมา2.หัวหน้าโครงการและแกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมในปีที่ผ่านมา เล่าแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดีและการสร้างความสุขในครัวเรือน การลดใช้สารเคมี โดยให้ทุกคนร่วมกันเสนอข้อปฏิบัติในหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงโดยอิงแนวทางปฏิบัติจากโครงการในปีที่ผ่านมาและร่วมกันระดมคิดแนวทางปฏิบัติชุมชน ซึ่งปีที่ผ่านมาแนวทางปฏิบัติคือ (1)ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง 5 ชนิด (2)ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด (3)ลดใช้เครื่องปรุงรสในครัวเรือน (4)ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ (5)ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา (6)ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน็อค (7 )ร่วมกันออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวัน คนละ 30 นาทีต่อวัน (8)ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของหมู่บ้าน (9)ทุกครัวเรือนต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 กลุ่ม ในการเข้าร่วมพัฒนาชุมชนและจะเสนอความคิดเห็นและขอเสียงเพื่อรับรองมติจากที่ประชุม และถ่ายเอกสารข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงติดไว้ทุกหลังคาเรือน และคณะทำงานติดตามเยี่ยมและสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมทุกเดือน เพื่อจะได้นำข้อบกพร่องของข้อบัญญัติชุมชนมาปรับปรุง.เมื่อไม่มีข้อผิดพลาดจะประกาศใช้เป็นนโยบายหมู่บ้าน 6.สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพื้นบ้าน โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดใช้สารเคมีโดยคณะทำงาน จะเชิญกลุ่มเป้าหมายมาระดมความคิดเห็น เพื่อสร้างกลุ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครอบครัวกับในชุมชน ร่วมกันกำหนดกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกผักไว้กินเอง
7.สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสานจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน เพื่อต้องการสร้างอาหารไว้ให้กับชุมชน โดยเรียนรู้เกี่ยวกับ –การเลี้ยงปลาพื้นเมือง -การเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด การเลี้ยงปลา –การเพาะเห็ดฟาง –เรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร 8.ตลาดสีเขียว โดยการเปิดให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำกลุ่มและการเรียนรู้การสร้างคลังอาหารชุมชน เพื่อจัดทำตลาดสีเขียวชุมชน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดสารเคมี ได้แก่ -ผักปลอดสารพิษ -ไก่พื้นบ้านและไข่ไก่ -ปลาธรรมชาติ -สมุนไพรเพื่อสุขภาพ -ผักพื้นบ้านต้านโรค
โดยจะนัดประชุมครั้งต่อไป ในวันที่7 พฤศจิกายน 2558

 

30 30

3. การทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำป้ายโครงการและป้ายเขตปลอดบุหรี่ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต 1.คณะทำงาน 2 คน ไปจัดทำป้าย 2.มีป้ายชื่อโครงการ1ป้าย 3.ป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1ป้าย ผลลัพธ์ ผลผลิต

ผลลัพธ์ 1. มีป้ายสำหรับใช้ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อนำไปติดไว้ที่สถานที่ประชุม เพื่อเป็นการรณรงค์การงดสูบบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายโครงการและป้ายเขตปลอดบุหรี่ 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมด้วยนางจำปีเกิดแก้วได้ไปทำป้ายโครงคลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปีที่ 2 )และป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์การงดสูบบุหรี่

 

2 2

4. สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 2

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนการดำเนินงาและประเมินกิจกรรมตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านดอนโรง 1 ชุด
2.รูปแบบการบริหารจัดการและแบ่งบาทหน้าที่การทำงานชัดเจน 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะทำงานมากขึ้น 4.สร้างความสามัคคีในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม30คน ผลลัพธ์ 1.ได้มีการติดตามการทำกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา คือการประชุมสภาครั้งที่ 1กิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1กิจกรรมคืนข้อมูลและประชาสัมพันธ์โครงการโดยการนำข้อมูลจากการสำรวจ
2.ได้นัดประชุมสภาครั้งที่ 3ในวันที่7 มกราคม2559

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน และตัวแทนกลุ่มชุมชน 4 กลุ่ม คัดเลือกมา กลุ่มละ 2 คน รวมเป็น 8 คนตัวแทนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ 2 คนและจิตอาสา 5 คน เข้าร่วมประชุมทุกเดือน โดยนำวาระการดำเนินงานตามโครงการมาพูดคุยในวันประชุม และประเด็นการพัฒนาหมู่บ้าน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ มาพูดคุยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้สถานที่หอประชุมหมู่บ้าน 2.มีการจัดบันทึกวาระการประชุม และนำผลการประชุมมาพูดคุยให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
3.มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการทบทวน บทเรียนในการพัฒนา และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 2 โดยคณะกรรมการ เข้ามาร่วมกิจกรรม นั่งพูดคุย เกี่ยวกับกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมที่จะมีครั้งต่อไปโดยมีกิจกรรมดังนี้

1.กิจกรรมที่ผ่านมา คือ กิจกรรมประชุมสภา ครั้งที่ 1กิจกรรมในวันนั้นเป็นการเลือกสภาผู้นำและชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการ 2. กิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการสำรวจข้อมูล5 ครั้ง ครั้งที่ 1 จะเป็นการออกแบบสำรวจข้อมูลก่อนการลงสำรวจจริง และจะเป็นการลงสำรวจอีก 4ครั้งและจะมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจะได้ข้อมูลคืนชุมชนต่อไป และกิจกรรม คืนข้อมูลและประชาสัมพันธ์โครงการโดยการนำข้อมูลจากการสำรวจ ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์และสรุปแล้ว มาคืนให้กับชุมชน และนัดประชุมสภาครั้งที่ 3ในวันที่7 มกราคม2559

 

30 30

5. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อออกแบบและสำรวจข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนได้รับการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิต การใช้สารเคมี ร้อยละ 100 2.มีทีมทำงาน 10ทีมโดยเกิดกติกาการทำงานกลุ่มจะต้องมี อสม:เยาวชน:จิตอาสา ในสัดส่วน 1:2:1
3.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม 4.มีการกระตุ้นให้เกิดการรับรุู้ปัญหาของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีแบบสอบถามของบ้านดอนโรงที่ร่วมกันออกแบบ 1 ชุด 2.มีการแบ่งกลุ่มเพื่อทำการสำรวจข้อมูล 10 กลุ่ม 3.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม40คน ผลลัพธ์ 1.ทำให้มีแบบสำรวจข้อมูลเป็นของชุมชนบ้านดอนโรงเอง 2.มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันในการคิดแบบสอบถามโดยการเสนอความคิดในการออกแบบสอบถาม แล้วก็เลือกกัน เพื่อจะได้ใส่ไปในแบบสอบถาม
3.ทำให้คณะทำงานมีการยอมรับกันมากขึ้นคือการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกัน และก็เสนอกันเพื่อยอมรับความคิดเห็นที่แต่ละคนที่ได้เสนอออกมา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานร่วมกับ กลุ่ม อสม.และกลุ่มเยาวชน พร้อมทั้งปราชญ์ชุมชนและกลุ่มในบ้านดอนโรงมานั่งพูดคุย เกี่ยวกับปัญหาผลผลิตตกต่ำ โดยต้องสืบค้นหาขอ้มูลแต่ละครัวเรือนว่า ทำไมผลผลิตถึงตกต่ำ มีวิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างไร มีการใช้สารเคมีอะไรบ้าง และต้องการปรับแก้ปัญหาอย่างไร โดยร่วมกันคิดแบบสอบถาม ใช้เวลา 1 วัน
2.ในการสำรวจต้องสำรวจเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมี อสม.1 คน เยาวชน 2 คน และแกนนำอาสา 1 คน กลุ่มละ 4 คน จำนวน 10 กลุ่ม สำรวจกลุ่มละ 20 ครัวเรือน ใช้เวลา 3 วัน
3.นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและจัดหมวดหมู่ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการสำรวจ ใช้เวลา 1 วัน โดยแต่ละกลุ่มรับผิดชอบตนเอง และนำข้อมูลมารวมเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 1 ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกแบบสำรวจข้อมูลในชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ 1. เริ่มเปิดกิจกรรมโดยนางหนูฟองหนูทอง ประธานโครงการ เปิดกิจกรรมโดยการกล่าวต้อนรับ และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในวันนี้ คือ การมาออกแบบสำรวจข้อมูล โดยคณะทำงานจะร่วมกับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระบาทอสม.และกลุ่มเยาวชน ในการมาพูดคุยเพื่อคิดออกแบบสำรวจข้อมูลของชุมชน โดยคณะทำงานร่วมกันคิดขึ้นมา เพื่อเป็นแบบสอบถาม ในการสำรวจข้อมูลของชุมชน โดยให้สอดคล้องกับปัญหาและวิถีชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการดำเนินงาน ในวันนี้จะร่วมกันออกแบบแบบการสำรวจข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่จะร่วมกันออกแบบแบบสำรวจนั้นจะประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลด้านประชากรในครัวเรือนประกอบด้วย ข้อมูลเพศการศึกษา สถานภาพ
ส่วนที่ ๒ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ

เมื่อหลังจากการลงสำรวจข้อมูลในชุมชนเสร็จแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่มีในชุมชนและคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้รับทราบถึงข้อมูลปัญหาที่ได้สำรวจมาเมื่อประธานได้ชี้แจงเสร็จแล้วก็ให้คณะทำงานร่วมกันคิดแบบสำรวจซึ่งจะให้แต่ละคนร่วมเสนอกันมาว่าจะสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลอะไรรวบรวมแล้วก็มาออกความคิดเห็นกันอีกครั้งซึ่งในขณะกิจกรรมทุกคนก็ต่างเปิดโอกาสให้คณะทำงานได้ร่วมเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อให้ได้ข้อมูลแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์และสามารถสำรวจถึงข้อมูลของชุมชนอย่างครบถ้วน หลังจากนั้นได้แบ่งกลุ่ม เรียนรู้คำถามร่วมกัน ให้ทุกคนได้ทดลองอ่านข้อคำถาม และสอบถามว่าเข้าใจข้อคำถามหรือไม่ เพื่อจะได้มีความเข้าใจในเวลาสอบถามข้อมูล 2.หลังจากการร่วมกันออกแบบแบบสำรวจข้อมูลเสร็จแล้วนั้น เพื่อความง่ายและสะดวกรวดเร็ว ในการสำรวจข้อมูลครัวเรือนนั้น จะให้แบ่งเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 4 คน โดยมี อสม. แกนนำชุมชนและนักเรียนเข้าร่วมในกลุ่มด้วย ซึ่งจะแบ่งเป็น 10 กลุ่ม จะใช้เวลาสำรวจ 3 วันซึ่งมีทั้งหมด240ครัวเรือน แล้วหลังจากสำรวจเสร็จก็จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์อีกครั้งเพื่อนำข้อมูลไปคืนสู่ชุมชนและได้นัดหมายวันสำรวจข้อมูลครั้ังต่อไปคือ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558

 

40 40

6. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนได้รับการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิต การใช้สารเคมี ร้อยละ 100 2.มีทีมทำงาน 10ทีมโดยเกิดกติกาการทำงานกลุ่มจะต้องมี อสม:เยาวชน:จิตอาสา ในสัดส่วน 1:2:1
3.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม 4.มีการกระตุ้นให้เกิดการรับรุู้ปัญหาของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40คน 2.มีการทำงานเป็นทีมโดยการแบ่งกลุ่มในการสำรวจ เป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ4คน ผลลัพธ์ 1. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในการช่วยพัฒนาคือ การได้ช่าวยเก็บข้อเพื่อเอาไว้เป็นฐานข้อมูลชุมชน และช่วยเหลือชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ 2. คณะทำงานมีความยินดีกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้เห็นความสำคัญของตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน 3. ได้รู้จักคนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับคนในชุมมากขึ้นทำให้คนในชุมชนเห็นคณะทำงานมีความตั้งใจในการร่วมพัฒนนาชุมชน 4.ได้ใช้แบบสำรวจที่ีได้จากการออกแบบของคนในชุมชนสำรวจข้อมูลในชุมชน 5.ได้นัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานร่วมกับ กลุ่ม อสม.และกลุ่มเยาวชน พร้อมทั้งปราชญ์ชุมชนและกลุ่มในบ้านดอนโรงมานั่งพูดคุย เกี่ยวกับปัญหาผลผลิตตกต่ำ โดยต้องสืบค้นหาขอ้มูลแต่ละครัวเรือนว่า ทำไมผลผลิตถึงตกต่ำ มีวิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างไร มีการใช้สารเคมีอะไรบ้าง และต้องการปรับแก้ปัญหาอย่างไร โดยร่วมกันคิดแบบสอบถาม ใช้เวลา 1 วัน
2.ในการสำรวจต้องสำรวจเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมี อสม.1 คน เยาวชน 2 คน และแกนนำอาสา 1 คน กลุ่มละ 4 คน จำนวน 10 กลุ่ม สำรวจกลุ่มละ 20 ครัวเรือน ใช้เวลา 3 วัน
3.นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและจัดหมวดหมู่ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการสำรวจ ใช้เวลา 1 วัน โดยแต่ละกลุ่มรับผิดชอบตนเอง และนำข้อมูลมารวมเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 2ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกสำรวจข้อมูลในชุมชนโดยนัดพบชี้แจงและเตรียมความพร้อมก่อนลงสำรวจก่อนเวลา 09.00 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้ กอ่นลงสำรวจนางหนูฟองหนูทอง ประธานโครงการได้พูดคุย และชี้แจงก่อนลงสำรวจว่าวันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งทีี่ 2 ซึ่งครั้งที่ 1ของการลงสำรวจ ซึ่งเราได้ออกแบบสำรวจไปแล้วในครั้งที่ผ่านมาและในวันนี้เราก็ได้ออกสำรวจกันในการสำรวจข้อมูลครัวเรือนนั้น เราได้แบ่งกลุ่มการลงสำรวจกันแล้วเมื่อครั้งก่อนแล้วแบ่งทีมผู้สำรวจออกเป้น 10 ทีมๆละ 4คน

จะใช้เวลาสำรวจ วัน คือในวันนี้และกิจกรรมสำรวจครั้งที่ 3 คือวันที่ 20พฤศจิกายน2559 และกิจกรรมสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 4 ในวันที่25 พฤศจิกายน2559โดยให้ทุกคนรับแบบสอบถามไปเพื่อทำการสำรวจ และประธานก็ได้ให้กำลังใจคณะทำงานทุกคนให้มีความตั้งใจในการทำงานมีความอดทน และให้เก็บข้อมูลให้ได้ตามที่ต้องการเพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วจะได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนต่อไปหลังจากนั้นคณะทำงานก็ได้แบ่งกลุ่มตามที่ได้แบ่งกันไว้แล้วก็ลงสำรวจกันโดยแบ่งเป็นโซนไปตามที่ อสม.รับผิดชอบเมื่อสำรวจเสร็จในวันนี้ ก็จะนัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 20พฤศจิกายน2559

จากการสำรวจข้อมูลวันนี้สำรวจได้ 85ครัวเรือนคณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆ ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล วันที่1
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 72 เป็นชายร้อยละ28
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย57 ปี 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 70 4.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 89 5.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 72 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 70 7.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 80 8.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ70 9.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 69 10.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 65 กู้เงินดอก ร้อยละ 24
11.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 89 12.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ 90 13.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 85 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 75 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 40 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 75 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ65กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 50 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 75 14.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 75 15. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ ศรัทธาร้อยละ100 16.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 70 17.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ 22 18.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 19.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 2.2 20.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 97 21.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 20 22.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 95 23.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพสต.เขาพระบาท ร้อยละ 93 24.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 85 25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 17 26.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 20 27.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ 5 28.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ69
29.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 95 30.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 69 31.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 85
32.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 68 33.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 80
34.มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 70 35.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 69 36.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 86

 

40 40

7. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนได้รับการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิต การใช้สารเคมี ร้อยละ 100 2.มีทีมทำงาน 10ทีมโดยเกิดกติกาการทำงานกลุ่มจะต้องมี อสม:เยาวชน:จิตอาสา ในสัดส่วน 1:2:1
3.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม 4.มีการกระตุ้นให้เกิดการรับรุู้ปัญหาของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.ผุ้เข้าร่วมกิจกรรม 40คน 2.วันนี้สำรวจข้อมูลได้82ครัวเรือน ผลลัพธ์ 1.คณะทำงานมีความสามัคคีช่วยเหลือกันคือมีการทำงานเป็นกลุ่มและช่วยกันในการเก็บข้อมูล 2.ได้นัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานร่วมกับ กลุ่ม อสม.และกลุ่มเยาวชน พร้อมทั้งปราชญ์ชุมชนและกลุ่มในบ้านดอนโรงมานั่งพูดคุย เกี่ยวกับปัญหาผลผลิตตกต่ำ โดยต้องสืบค้นหาขอ้มูลแต่ละครัวเรือนว่า ทำไมผลผลิตถึงตกต่ำ มีวิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างไร มีการใช้สารเคมีอะไรบ้าง และต้องการปรับแก้ปัญหาอย่างไร โดยร่วมกันคิดแบบสอบถาม ใช้เวลา 1 วัน
2.ในการสำรวจต้องสำรวจเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมี อสม.1 คน เยาวชน 2 คน และแกนนำอาสา 1 คน กลุ่มละ 4 คน จำนวน 10 กลุ่ม สำรวจกลุ่มละ 20 ครัวเรือน ใช้เวลา 3 วัน
3.นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและจัดหมวดหมู่ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการสำรวจ ใช้เวลา 1 วัน โดยแต่ละกลุ่มรับผิดชอบตนเอง และนำข้อมูลมารวมเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 2 ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกสำรวจข้อมูลในชุมชนโดยนัดพบชี้แจงและเตรียมความพร้อมก่อนลงสำรวจก่อนเวลา 09.00 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้ กอ่นลงสำรวจนางหนูฟองหนูทองประธานโครงการได้พูดคุย และชี้แจงก่อนลงสำรวจว่าวันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3ซึ่งครั้งที่แล้วเราได้สำรวจไปแล้วและในวันนี้ก็ได้ลงสำรวจเป็นวันที่ 2 ซึ่งในการลงสำรวจในวันนี้เราก็แบ่งกลุ่มการลงสำรวจกันเหมือนเดิมและประธานก็ได้ให้กำลังใจคณะทำงานทุกคนให้มีความตั้งใจในการทำงานมีความอดทน และให้เก็บข้อมูลให้ได้ตามแบบสอบถามที่ได้ออกแบบไว้เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อไปหลังจากนั้นคณะทำงานก็ได้แบ่งกลุ่มตามที่ได้แบ่งกันไว้แล้วก็ลงสำรวจกันในโซนที่เหลือ เมื่อสำรวจเสร็จในวันนี้ ก็จะนัดสำรวจชุมชนครั้งต่อไปคือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558


จากการสำรวจข้อมูลวันนี้ ได้82ครัวเรือน คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆ ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล วันที่ 2
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65 เป็นชายร้อยละ25
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย55ปี 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 72 4.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 85 5.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 70 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 79 7.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 75 8.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ 76 9.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 65 10.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จากธกส.ร้อยละ 60กู้เงินดอก ร้อยละ 25 11.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ88 12.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ92 13.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ82 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 72 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 35 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 68 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ62กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 53 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 71 14.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 72 15. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ ศรัทธาร้อยละ100 16.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 69 17.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ23 18.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 19.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 2.5 20.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 96 21.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 18 22.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 93 23.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพ.สต.เขาพระบาท ร้อยละ 90 24.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 82 25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 14 26.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 18 27.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ4 28.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ63
29.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 92 30.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 71 31.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 88
32.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 65 33.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 80
34.การหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 65 35.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 70 36.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 89

 

40 40

8. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 4

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนได้รับการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิต การใช้สารเคมี ร้อยละ 100 2.มีทีมทำงาน 10ทีมโดยเกิดกติกาการทำงานกลุ่มจะต้องมี อสม:เยาวชน:จิตอาสา ในสัดส่วน 1:2:1
3.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม 4.มีการกระตุ้นให้เกิดการรับรุู้ปัญหาของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน
2.สำรวจข้อมูลชุมชนได้73ครัวเรือน ผลลัพธ์ 1.มีการยอมรับกันมากขึ้นในคณะทำงานคือการได้ช่วยกันในการสำรวจแบ่งหน้าที่ที่กันในการสำรวจมีคนจดบันทึกและคนที่เหลือก็ช่วยกันสอบถามและค่อยๆผลัดเปลี่ยนกันไป 2.ได้นัดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งที่ 5 ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานร่วมกับ กลุ่ม อสม.และกลุ่มเยาวชน พร้อมทั้งปราชญ์ชุมชนและกลุ่มในบ้านดอนโรงมานั่งพูดคุย เกี่ยวกับปัญหาผลผลิตตกต่ำ โดยต้องสืบค้นหาขอ้มูลแต่ละครัวเรือนว่า ทำไมผลผลิตถึงตกต่ำ มีวิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างไร มีการใช้สารเคมีอะไรบ้าง และต้องการปรับแก้ปัญหาอย่างไร โดยร่วมกันคิดแบบสอบถาม ใช้เวลา 1 วัน
2.ในการสำรวจต้องสำรวจเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมี อสม.1 คน เยาวชน 2 คน และแกนนำอาสา 1 คน กลุ่มละ 4 คน จำนวน 10 กลุ่ม สำรวจกลุ่มละ 20 ครัวเรือน ใช้เวลา 3 วัน
3.นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและจัดหมวดหมู่ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการสำรวจ ใช้เวลา 1 วัน โดยแต่ละกลุ่มรับผิดชอบตนเอง และนำข้อมูลมารวมเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมุลในชุมชนครั้งที่ 4ซึ่งวันนี้ได้นัดกันก่อนลงสำรวจเพื่อสอบถามความคืบหน้าในการลงสำรวจข้อมูล โดยมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟอง หนูทองผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวทักทายคณะทำงานทุกคนและก็ได้สอบถามความคืบหน้าในการลงสำรวจข้อมูล ว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้างไหมซึ่งวันนี้เป็นการสำรวจครั้งที่ 4 ก็ขอให้ทุกคนได้ทำการสำรวจให้เสร็จเรียบร้อย ด้วยความตั้งใจและอดทนกันทุกคน
2.หลังจากนั้นก็ได้แยกย้ายกันตามกลุ่มที่ได้แบ่งเอาไว้ให้ไปตามโซนที่ได้แบ่งไว้ถ้าโซนไหนเสร็จก่อนแล้วก็ให้ไปช่วยโซนอื่นที่เหลือด้วยและได้นัดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งที่ 5 ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558


จากการสำรวจข้อมูลวันนี้ ได้ 73ครัวเรือน คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆบางส่วน ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล วันที่ 3 1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ68เป็นชายร้อยละ22
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย52ปี 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 75 4.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 84 5.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 72 6.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 76 7.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 74 8.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ 75 9.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 66 10.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จากธกส.ร้อยละ 58กู้เงินดอก ร้อยละ 22 11.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ90 12.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ91 13.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ80กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 70 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 33 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 64 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ60กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 54 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 70 14.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 70 15. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ ศรัทธาร้อยละ100 16.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 65 17.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ25 18.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 19.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ2.3
20.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 95 21.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 19 22.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 92 23.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพ.สต.เขาพระบาท ร้อยละ 92 24.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 86 25.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ15 26.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 17 27.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ6 28.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ60 29.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 91 30.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 72 31.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 87
32.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 69 33.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 82
34.การหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 67 35.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 72 36.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 90

 

40 40

9. สำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งที่ 5

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนได้รับการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิต การใช้สารเคมี ร้อยละ 100 2.มีทีมทำงาน 10ทีมโดยเกิดกติกาการทำงานกลุ่มจะต้องมี อสม:เยาวชน:จิตอาสา ในสัดส่วน 1:2:1
3.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม 4.มีการกระตุ้นให้เกิดการรับรุู้ปัญหาของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรมม40คน
ผลลัพธ์ 1.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือ การได้ร่วมสำรวจข้อมูลร่วมกันการได้มาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน 2.มีการกระตุ้นให้เกิดการรับรุู้ปัญหาของชุมชน คือการที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปคืนให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ 3.มีข้อมูลจาการวิเคราะห์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานร่วมกับ กลุ่ม อสม.และกลุ่มเยาวชน พร้อมทั้งปราชญ์ชุมชนและกลุ่มในบ้านดอนโรงมานั่งพูดคุย เกี่ยวกับปัญหาผลผลิตตกต่ำ โดยต้องสืบค้นหาขอ้มูลแต่ละครัวเรือนว่า ทำไมผลผลิตถึงตกต่ำ มีวิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างไร มีการใช้สารเคมีอะไรบ้าง และต้องการปรับแก้ปัญหาอย่างไร โดยร่วมกันคิดแบบสอบถาม ใช้เวลา 1 วัน
2.ในการสำรวจต้องสำรวจเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมี อสม.1 คน เยาวชน 2 คน และแกนนำอาสา 1 คน กลุ่มละ 4 คน จำนวน 10 กลุ่ม สำรวจกลุ่มละ 20 ครัวเรือน ใช้เวลา 3 วัน
3.นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและจัดหมวดหมู่ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการสำรวจ ใช้เวลา 1 วัน โดยแต่ละกลุ่มรับผิดชอบตนเอง และนำข้อมูลมารวมเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เ้ป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยคณะทำงาน นั่งสรุปผลการสำรวจข้อมูล ดังนี้

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลด้านประชากรในครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูลด้านประชากร พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๗๖.๗๐ อยู่ในช่วงอายุ ๕๐- ๕๙ ปี ร้อยละ ๓๖.๑๑ สถานภาพในครอบครัว เป็นคู่สมรสหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ ๔๓.๓๓

ส่วนที่ ๒ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี จากการสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ ๘๗.๘๐ เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ ๘๕.๕๖ ไม่มีการประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ ร้อยละ ๘๐.๕๖ รายได้หลักส่วนใหญ่มาจากการทำสวน ร้อยละ๔๑.๑๑ รองลงมา คือ รับจ้าง ร้อยละ ๓๓.๘๙ รายได้อยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ ๔๐.๖๐ มีหนี้สิน ร้อยละ ๕๒.๒๐ มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ร้อยละ ๘๗.๘๐ ได้รับข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่จากโทรทัศน์ ร้อยละ ๗๙.๔๐ รองลงมา คือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ ๘.๓๓เข้าร่วมกลุ่มโครงการของชุมชน ร้อยละ ๗๕.๐๐ เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้านทุกครั้ง ร้อยละ ๔๓.๘๙ เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือ มีศรัทธา ร้อยละ ๓๘.๓๓ สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ร้อยละ ๓๒.๗๘ ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ ผู้นำ ร้อยละ ๕๗.๒๒ รองลงมา คือ การรวมกลุ่ม/มีส่วนร่วมของชุมชน ร้อยละ ๔๒.๗๗ ต้องการให้ชุมชนพัฒนาในด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ร้อยละ ๒๓.๘๘ รองลงมา คือ ความสามัคคี ร้อยละ ๒๑.๖๔ กิจกรรมในชุมชนที่สำคัญที่สุด คือ การทอดกฐิน ร้อยละ ๒๔.๔๔ รองลงมา คือ การแข่งขันกีฬาในหมู่บ้าน ร้อยละ ๒๒.๒๒

ส่วนที่ ๓ ข้อมูลสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กและผู้สูงอายุ จากการสำรวจ พบว่า ครอบครัวที่สำรวจมีการคุมกำเนิดร้อยละ ๕๗.๒๒ มีคนตั้งครรภ์ร้อยละ ๓.๓๓ มีหญิงคลอดร้อยละ ๐.๕๐ เลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่แรกเกิดถึง ๑ ปี ร้อยละ ๙๘.๓๓ รองลงมา คือ อาหารเสริมร้อยละ ๑.๖๗ กินนมแม่อย่างเดียวตลอด ๖ เดือน ร้อยละ ๙๕.๕๖รองลงมากินนมแม่และอาหารอื่นร้อยละ ๓.๓๓ จากการสำรวจมีเด็กอายุแรกเกิดถึง ๕ ปี ร้อยละ ๓๐.๐๐ มีผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปร้อยละ ๓๐.๐๐ ในระยะ ๕ ปี มีคนในครัวเรือนเสียชีวิตร้อยละ ๓.๓๓ เจ็บป่วยร้อยละ ๑๑.๖๗ ใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาทมากที่สุดร้อยละ ๘๘.๘๙ รองลงมา คือ โรงพยาบาลเชียรใหญ่ร้อยละ ๑๑.๑๑ เหตุผลที่เลือก คือ เดินทางสะดวกร้อยละ ๖๓.๓๓ รองลงมา คือ ไม่ต้องรอนานร้อยละ ๒๒.๗๘ รู้จักยาปฏิชีวนะร้อยละ ๘๔.๔๔ใน ๑ เดือนที่ผ่านมาเคยใช้ร้อยละ ๒๔.๔๔ ได้รับมาจากสถานีอนามัยร้อยละ ๘๖.๖๗ ในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาไม่มีการใช้ยาชุดร้อยละ ๑๐๐.๐๐ บ้านในครัวเรือนซื้อชุดบรรเทาปวดร้อยละ ๒.๒๒
ในรอบ ๑ เดือนผู้ให้ข้อมูลดื่มสุราร้อยละ ๘.๘๙ คนในครัวเรือนดื่มสุราร้อยละ ๓๕.๕๖ ส่วนใหญ่ดื่มสุราร้อยละ ๒๓.๘๙ รองลงมา คือ เบียร์ร้อยละ ๘.๓๓ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนร้อยละ ๕๕.๕๖ โดยจะดื่มกาแฟสำเร็จรูปแบบซองร้อยละ ๗๒.๐๐ดื่มเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานได้นานขึ้นมากที่สุดร้อยละ ๗๖.๐๐ ดื่มทุกวันร้อยละ ๖๖.๐๐ รองลงมาคือ ๕-๖ ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ ๒๐.๐๐ คนในครัวเรือนดื่มเครื่องชูกำลังร้อยละ ๑๓.๓๓ ส่วนใหญ่เป็นเอ็ม ๑๕๐ ร้อยละ ๘๓.๓๓ สูบบุหรี่ร้อยละ ๕๕.๕๕ ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมาผู้ให้ข้อมูลสูบบุหรี่ร้อยละ ๒๑.๑๑ ไม่ได้รับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ไม่ใช้ยานอนหลับร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ใช้สารเสพติดชนิดอื่นร้อยละ ๒.๒๒ มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้อยละ ๖๒.๒๒ ใช้แบบฉีดพ่นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ มีการป้องกันโดยสวมหน้ากากมากที่สุดร้อยละ ๕๐.๐๐ รองลงมาคือ อ่านฉลากก่อนใช้ร้อยละ ๒๑.๔๓ กำจัดโดยการฝังดินร้อยละ ๔๙.๑๑ รองลงมาคือ อื่นๆ คือ วางไว้ ขาย ร้อยละ ๒๘.๕๗ ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพร้อยละ ๙๘.๘๙ บุคคลที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพคือ เจ้าหน้าที่อนามัยร้อยละ ๘๕.๐๐ รองลงมาคือ อสม.ร้อยละ ๗.๗๘ ส่วนที่ ๔ ข้อมูลทางด้านสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจข้อมูล พบว่า ที่อยู่อาศัยมีความมั่นคง ถาวร ร้อยละ ๙๓.๓๓ มีการจัดของใช้เป็นระเบียบ สะอาด ร้อยละ ๙๓.๓๓ มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรค ร้อยละ ๙๒.๗๘ แมลงพาหะนำโรคส่วนใหญ่ เป็นยุง ร้อยละ ๕๑.๑๑ รองลงมา คือ แมลงวัน ร้อยละ ๑๕.๐๐ น้ำดื่มส่วนใหญ่มาจากน้ำฝน ร้อยละ ๔๐.๕๖ รองลงมา คือ น้ำประปา ร้อยละ ๒๓.๘๙ น้ำที่ใช้ดื่มเพียงพอ ร้อยละ ๙๓.๘๙ ปกติใช้น้ำเพื่อการอุปโภคจากแหล่งน้ำฝน ร้อยละ ๔๐.๕๖ รองลงมา คือ น้ำประปา ร้อยละ ๒๓.๘๙ น้ำใช้เพียงพอ ร้อยละ ๙๐.๐๐มีตู้เย็นเก็บอาหารสด ร้อยละ ๙๔.๔๔มีการเก็บอาหารปรุงเสร็จไว้บนโต๊ะสูงมีฝาชีครอบมิดชิดมากที่สุด ร้อยละ ๗๐.๕๖ รองลงมา คือ เก็บไว้ในตู้กับข้าว ร้อยละ ๒๙.๔๔ มีการกำจัดน้ำเสียโดยท่อระบายน้ำทิ้งห่างจากบ้าน ร้อยละ ๘๐.๐๐ ครัวเรือนมีถังขยะ แต่ไม่มีฝาปิด ร้อยละ ๘๐.๐๐ รองลงมา คือ มีฝาปิดมิดชิด ร้อยละ ๑๖.๖๗ กำจัดขยะเปียกโดยการเผามากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมา คือ หมักทำปุ๋ยชีวภาพ ร้อยละ ๒๗.๗๘ กำจัดขยะแห้งโดยการเผามากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมา คือ นำไปทิ้งที่ต่างๆไม่เป็นที่ ร้อยละ ๒๗.๗๘ กำจัดขยะอันตรายโดยการฝังมากที่สุด ร้อยละ ๓๓.๘๙ รองลงมาคือ ทิ้งไม่เป็นที่ ร้อยละ ๒๗.๗๘ อาหารที่บริโภคส่วนมากซื้อมาจาก สถานที่อื่นๆ เช่น รถเร่ ร้อยละ ๗๒.๒๒ รองลงมา คือ ตกปลา ร้อยละ ๒๗.๗๘
ส่วนที่ ๕ ข้อมูลครัวเรือนที่ประสบกับสภาพต่างๆ จากการสำรวจข้อมูล พบว่า ในภาพรวมสมาชิกในครัวเรือนได้รับประทานอาหารครบถ้วนทุกเดือน ร้อยละ ๙๓.๘๙ ได้รับประทานอาหารน้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม่เพียงพอ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ อดอาหารในบางมื้อ เนื่องจากมีเงินไม่พอ ไม่เคย ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ไม่เคยลดปริมาณการรับประทานอาหารให้น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากอาหารไม่พอ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ เด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ได้รับประทานอาหารครบถ้วนทุกมื้อ ทุกเดือน ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ในช่วงเดือนรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนมีความยากลำบากจนต้องกู้ยืม ร้อยละ ๓๑.๖๗

จากการสำรวจข้อมูลชุมชน พบปัญหา ดังนี้ ๑) ไม่มีการประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ ร้อยละ ๑๘.๙๐ ๒) รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๓๕.๐๐ ๓) ครอบครัวมีหนี้สินร้อยละ ๕๒.๐ ๔) ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของครอบครัว ร้อยละ ๑๒.๒๐ ๕) ครอบครัวไม่มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการในชุมชน ร้อยละ ๒๕.๐๐ ๖) คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนของท่านเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้านบางครั้ง ร้อยละ ๓๑.๖๗ บ่อยครั้ง ๒๔.๔๔ ๗) ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๗๐.๐๐ ๘) ไม่รู้จัก “ยาปฏิชีวนะ” ร้อยละ ๑๕.๕๖ ๙) ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุรา ร้อยละ ๘.๘๙ สมาชิกในครัวเรือนดื่มสุรา ร้อยละ ๓๕.๕๖ ๑๐) ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมา ท่านและคนในครัวเรือน ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาแฟอีน ร้อยละ ๕๕.๕๖ เป็นกาแฟสำเร็จรูปแบบซอง ร้อยละ ๗๒.๐๐ และแบบกระป๋อง ร้อยละ ๒๘.๐๐ ๑๑) ใน๑ เดือนที่ผ่านมามีผู้สูบบุหรี่ ร้อยละ ๕๕.๕๕ ๑๒) ในรอบปีที่ผ่านมามีการใช้สารกำจัดศัครูพืชหรือสัตว์ ร้อยละ ๖๒.๒๒ ๑๓) ในบ้านมีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงนำโรค ร้อยละ ๙๒.๗๘ เป็นยุง ร้อยละ ๕๑.๑๑ ๑๔) น้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคในครัวเรือนมีไม่เพียงพอ ร้อยละ ๑๐.๐๐ ๑๕) ครัวเรือนมีถังขยะ แต่ไม่มีฝาปิด ร้อยละ ๘๐ กำจัดขยะเปียกโดยการเผา ร้อยละ ๓๓.๘๙กำจัดขยะแห้ง โดยการเผา ร้อยละ ๓๓.๘๙ กำจัดขยะ อันตราย โดยการฝัง ร้อยละ ๓๓.๘๙ ๑๖) ในรอบปีที่ผ่านมา มีครัวเรือนที่ยากลำบาก จนต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย ร้อยละ ๓๑.๖๗

 

40 40

10. คืนข้อมูลชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ

วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชน และประชาสัมพันธ์โครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ทุกครัวเรือนได้รับการคืนข้อมูลจากการสำรวจ ร้อยละ 100 2.เกิดสัมพันธภาพที่ดีและเรียนรู้ร่วมกันในการนำข้อมูลมาใช้พัฒนาชุมชน 3.มีฐานข้อมูลระดับครัวเรือน และระดับชุมชน 4.มีการสอนงานระหว่างแกนนำกับเยาวชน ทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าและสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัย 5.มีเวทีคืนข้อมูลสู่ครัวเรือนและชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200คน ผลลัพธ์ 1.มีเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 2.ประชนได้ทราบถึงข้อมูลที่ได้จากการสำรวจข้อมูลในชุมชน 3.มีข้อมูลคืนให้กับชุมชนเพื่อเป็นฐานข้อมูล เพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.นำข้อมูลที่ได้ทั้้งหมดมารวบรวม เป็นจัดเป็นหมวดหมู่และระดับของข้อมูง ประกอบด้วย -ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของครัวเรือน -ข้อมูลการใช้สารเคมีทางการเกษตร -ข้อมูลรายได้ครัวเรือน -ข้อมูลรายจ่ายครัวเรือนที่เกี่ยวกับการเกษตร
-ข้อมุลวิธีการแก้ปัญหาผลผลิตตกต่ำ่

2.หัวหน้าทีมแต่ละชุด และตัวแทนเยาวชน นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ มาสรุปและคืนข้อมูลสู่ครัวเรือนและชุมชน โดยแกนนำต้นแบบร่วมกับเยาวชน จัดทำสรุปข้อมูลเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน และจัดทำเป็นแผ่นพับไวนิล เพื่อคืนข้อมูลสู่ครัวเรือนและชุมชน เป็นข้อมุลปัญหาชุมชน ข้อมูลรายได้ ข้อมูลสุขภาพ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เกิดความตระหนัก

3.การสื่อสารข้อมูลทั้งชุมชน โดยการจัดทำไวนิลข้อมูลชุมชน โดยสรุปสถานะสุขภาพ รายได้ รายจ่าย และสภาพปัญหาในหมู่บ้าน ติดไว้ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน โรงเรียนบ้านดอนโรง

4.ผู้ใหญ่บ้านเชิญประชุมชาวบ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และประชาสัมพันธ์ข้อมูล โดยจัดทำเอกสารข้อมุลที่ได้ทั้งหมด เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ที่หอกระจายข่าวหมู่บ้านโดยผ่านทางผุ้ใหญ่บ้านเป็นการกระตุ้นให้ประาชนได้รับรู้ เกิดความตระหนักร่วมกัน เป็นข้อมูลปัญหาเกี่ยวกับการใช้สารเคมี สถานะสุขภาพของประชาชน รายจ่ายที่ฟุ่มของหมู่บ้าน และปัญหาของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมคืนข้อมูลชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการว่าตอนนี้ได้ ประชุมสภาผู้นำไปแล้ว 2 ครั้งและได้ลงสำรวจข้อมูลไปแล้ว โดยได้นำข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจข้อมูลในชุมชนทั้งหมดมาสรุปวิเคราะห์รวบรวม จัดเป็นหมวดหมู่และระดับของข้อมูลประกอบด้วย
-ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน

-ข้อมูลการใช้สารเคมีทางด้านการเกษตร

-ข้อมูลรายได้ครัวเรือน

-ข้อมูลรายจ่ายของครัวเรือนที่เกี่ยวกับการเกษตร

-ข้อมูลวิธีแก้ปัญหาผลผลิตตกต่ำ

2.คณะทำงานได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาสรุปคืนข้อมูลสู่ชุมชนและได้จัดทำเป็นแผ่นพับแจกผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้และป้ายไวนิลติดไว้ที่หมู่บ้าน เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชนได้รับรู้ถึงข้อมูลและปัญหาที่ได้จากการสำรวจข้อมูลเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งไวนิลที่ได้จัดทำนั้นจะเป็นการสรุปสถานะสุขภาพรายรับ-รายจ่ายและสภาพปัญหาที่เกิดในหมู่บ้านติดไว้ที่ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้านโรงเรียนบ้านดอนโรง
3.คณธทำงานได้ชี้แจงกิจกรรมในโครงการ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบ 1)มีการประชุมทุกเดือน ของคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน 2)ออกแบบและสำรวจข้อมูลในชุมชน ดดยจะมีกิจกรรมสำรวจข้อมูลทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ สรุปและคืนข้อมูลให้กับชุมชนต่อไป เพื่อเป็นฐานข้อมูลและใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้านต่อไป 3)คืนข้อมูลชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการโดยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาทำการวิเคราะห์และสรุป เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชน 4)สร้างแผนครัวเรือน แผนชีวิต พิชิตสารเคมีและเพิ่มราคาผลผลิตโดยเป็นการสร้สงแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน และวางแผนอย่างไรในการลดการใช้สารเคมี 5)สร้างข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงโดยการประสานผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอจัดทำข้อบัญญัติชุมชน ซึ่งได้แนวทางปฏิบัติมาจากโครงการในปีที่ผ่านมา2.หัวหน้าโครงการและแกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมในปีที่ผ่านมา เล่าแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดีและการสร้างความสุขในครัวเรือน การลดใช้สารเคมี โดยให้ทุกคนร่วมกันเสนอข้อปฏิบัติในหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงโดยอิงแนวทางปฏิบัติจากโครงการในปีที่ผ่านมาและร่วมกันระดมคิดแนวทางปฏิบัติชุมชน ซึ่งปีที่ผ่านมาแนวทางปฏิบัติคือ (1)ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง 5 ชนิด (2)ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด (3)ลดใช้เครื่องปรุงรสในครัวเรือน (4)ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ (5)ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา (6)ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน็อค (7 )ร่วมกันออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวัน คนละ 30 นาทีต่อวัน (8)ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของหมู่บ้าน (9)ทุกครัวเรือนต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 กลุ่ม ในการเข้าร่วมพัฒนาชุมชนและจะเสนอความคิดเห็นและขอเสียงเพื่อรับรองมติจากที่ประชุม และถ่ายเอกสารข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรงติดไว้ทุกหลังคาเรือน และคณะทำงานติดตามเยี่ยมและสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมทุกเดือน เพื่อจะได้นำข้อบกพร่องของข้อบัญญัติชุมชนมาปรับปรุง.เมื่อไม่มีข้อผิดพลาดจะประกาศใช้เป็นนโยบายหมู่บ้าน 6)สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพื้นบ้าน โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดใช้สารเคมีโดยคณะทำงาน จะเชิญกลุ่มเป้าหมายมาระดมความคิดเห็น เพื่อสร้างกลุ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครอบครัวกับในชุมชน ร่วมกันกำหนดกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกผักไว้กินเอง
7)สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสานจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน เพื่อต้องการสร้างอาหารไว้ให้กับชุมชน โดยเรียนรู้เกี่ยวกับ –การเลี้ยงปลาพื้นเมือง -การเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด การเลี้ยงปลา –การเพาะเห็ดฟาง –เรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร 8)ตลาดสีเขียว โดยการเปิดให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำกลุ่มและการเรียนรู้การสร้างคลังอาหารชุมชน เพื่อจัดทำตลาดสีเขียวชุมชน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดสารเคมี ได้แก่ -ผักปลอดสารพิษ -ไก่พื้นบ้านและไข่ไก่ -ปลาธรรมชาติ -สมุนไพรเพื่อสุขภาพ -ผักพื้นบ้านต้านโรค
4.ประธานโครงการได้ฝากผู้ใหญ่บ้านได้ประชาสัมพันธ์โครงการ และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจผ่านกระจายข่าวของหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้เกิดการรับรู้และตระหนักร่วมกันในปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางด้านการเกษตรสถานะสุขภาพของประชาชนรายจ่ายฟุ่มเฟือยของหมู่บ้าน

 

200 200

11. ประชุมอบรมการเขียนรายงานและรายงานการเงิน

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเข้าประชุมการเขียนรายงานการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้ฝึกการบันทึกลงเวปไซด์ 1 กิจกรรม
3.ได้ฝึกทำบัญชีเงินสดและการจ่ายภาษีณ ที่จ่าย 1 ชุด ผลลัพธ์
1.มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเขียนผลลัพธ์ ผลผลิตจากการทำกิจกรรม
2.มึความรู้และเข้าใจเรื่องภาษีและสามารถบันทึกข้อมูลภาษีได้
3.มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน  2 คน  เข้าร่วมกิจกรรมประชุมการเขียนรายงานและรายงานการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องไปพบปะพี่เลี้ยง และ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรมที่เกิดขึ้น และได้พบ เจ้าหน้าที่ จากสจรส.มอ.โดยได้ชี้แจงเกี่ยวกับ 1.การเขียนรายงานและการเงินการบันทึก รายงานลงโปรแกรมโดยในการบันทึกข้อมูลนั้นในช่องกิจกรรม ผลดำเนินการ อาจจะเขียนในแบบกำหนดการเช่น 08.30 - 9.00 น. นัดประชุมที่ศาลาหมู่บ ้าน 9.00 – 10.00 น. คัดเลือกทีมงานสภาผ้นู ำ ชุมชน 10.00 – 12.00 น. วางแผนการดำเนินโครงการ เขียนในแบบเล่าเรื่อง พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน จากการชักชวนของผู้ใหญ่และเพื่อนบ้านมานนั่งคุยคัดเลือกทีมงานสภาผู้นำชุมชน วางแผนการทำงานโครงการในอนาคตส่วนการเขียนผลสรุปที่ได้จากกิจกรรมเช่น เขียนในแบบเป็นข้อๆ ผลผลิต 1. ผ้เูข้าร่วมกิจกรรมประชุมสภา จำนวน 100 คน 2. ได้คณะทำงานสภาผู้นำชุมชน 1 ชุด ซึ่งได้คัดเลือกร่วมกันและยอมรับในชุมชน 3. ได้แผนการดำเนินงาน 1 ฉบับ ผลลัพธ์ 1. ผ้เูข้าร่วมตัดสินใจร่วมกันคัดเลือกสภาผู้นำ มีความรู้ความเช้าใจเรื่องของโครงการ 2. รายชื่อสภาผู้นำมีดังนี้โดยแบ่งหน้าที่ไว้ดังนี้ 3. แผนการดำเนินงานมีดังนี้. .......เขียนในแบบเล่าเรื่อง........ ผลผลิต พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน 100 คน ได้ประชุมคัดเลือกสภาผู้นำจำนวน 20 คน และวางแผนการดำเนินร่วมกัน ผลลัพธ์ สภาผู้นำ มี นาย.... เป็นผู้ใหญ่บ้านนางสาว........เป็น อสม. นาง....../ แบ่งหน้าที่ประธานดูแลตัดสินใจทั้งหมด เลขาทำหน้าที่จดประชุม ประสานงาน....../ ได้วางแผนกันต่อไปว่าจะทำ.....ประชุมทุกวันที่ 10 ของเดือน........ และอย่าลืมคลิ๊กเลือกการประเมินกิจกรรมด้วยว่ามีผู้เข้าร่วมในเกณฑ์ระดับไหน และก็การบันทึกรายการการเงิน 4. สอนให้เรียนรู้เรื่องภาษีที่ ณ จ่าย และสอนให้มึการหักจ่ายภาษีด้วย
แนะนำการแยกประเภทของงบประมาณคือ 1)ค่าตอนแทนเช่นค่าวิทยากรค่าเจ้าหน้าที่ช่วยจัดการประชุมค่าการประสานงาน
2)ค่าจ้างเช่นค่าจ้างทำป้ายไวนิล
3)ค่าใช้สอยเช่นค่าที่พักค่าอาหารค่าห้องประชุมค่าถ่ายเอกสารค่าเดินทางค่าเช่ารถค่านำ้มันรถ
4)ค่าวัสดุเช่าค่ากระดาษปากกา
5)ค่าสาธารณูปโภคเช่นค่าส่งไปรษณีย์ค่าโทรศัพท์

 

2 2

12. สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 3

วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนการดำเนินงาและประเมินกิจกรรมตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านดอนโรง 1 ชุด
2.รูปแบบการบริหารจัดการและแบ่งบาทหน้าที่การทำงานชัดเจน 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะทำงานมากขึ้น 4.สร้างความสามัคคีในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30คน ผลลัพธ์ 1.มีการติดตามการดำเนินกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา คือการสำรวจข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ พร้อมทั้งคืนข้อมูลให้กับขุมชน และก็ได้ประชาสัมพันธ์โครงการด้วย 2.มีการวางแผนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการสร้างคลังอาหารชุมชนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์และการเลี้ยงปลานิล 3.ได้นัดหมายสมาขิกในการทำกิจกรรมสร้างคลังอาหารชุมชนครั้งที่ 1 ในวันที่ 31ม.ค.2559

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน และตัวแทนกลุ่มชุมชน 4 กลุ่ม คัดเลือกมา กลุ่มละ 2 คน รวมเป็น 8 คนตัวแทนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ 2 คนและจิตอาสา 5 คน เข้าร่วมประชุมทุกเดือน โดยนำวาระการดำเนินงานตามโครงการมาพูดคุยในวันประชุม และประเด็นการพัฒนาหมู่บ้าน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ มาพูดคุยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้สถานที่หอประชุมหมู่บ้าน 2.มีการจัดบันทึกวาระการประชุม และนำผลการประชุมมาพูดคุยให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
3.มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการทบทวน บทเรียนในการพัฒนา และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 3
โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.นางหนูฟอง หนูทองประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับสมาชิก และชี้แจงกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมาคือการสำรวจข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคาระห์และได้คืนข้อมูลให้กับชุมชนแล้วพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมอบรมการเขียนรายงานและรายงานการเงินที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และกิจกรรมในครั้งต่อไป จะไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการของคณะทำงานและกิจกรรมสร้างคลังอาหารชุมชน ครั้งที่ 1 และครั้ง ที่ 2 ในครั้งที่ 1 จะเป็นกทารเรียนรู้ดารทำนำ้ยาเอนกประสงค์ โดยไปเรียนรู้ในวันที่ 8 ม.ค. 2559 ที่บ้านผู้ใหญ่ บ้านโดยจะเป็นการเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลจะไปเรียนรู้กันที่รพ.สต.เขาพระบาทโดยจะมีผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงซึ่งเป็นคนที่เลี้ยงอยู่จริงมาสอนและแนะนำให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมและให้คณะทำงาน ได้ไปบอก สมาชิกและผุ้สนใจให้มาร่วมกิจกรรมในวันที่31ม.ค. 2559เวลา09.00 น.

 

30 30

13. สร้างคลังอาหารชุม ครั้งที่ 1

วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างคลังอาหารให้กับชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีการลดใช้สารเคมีในการ ทำเกษตรแบบผสมผสาน 2.มีการสร้างฐานการผลิตอาหารไว้สำหรับชุมชน 3..ลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย 4.เพิ่มรายได้กับ ครัวเรือนจากการผลิตอาหารในชุมชน 5.มีกลุ่มผลิตปุ่ยของชุมขน 6.มีคลังอาหารในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม100คน 2.มีน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้เองครัวเรือนละ 1 ขวด ผลลัพธ์ 1.มีการเรียนรู้ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ 2.มีการยอมรับในการทำกิจกรรมคือ การได้ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการหาวัสดุมาทำนำเ้ยาเอนกประสงค์คือ มะกรูดเพื่อมาเป็นส่วนผสมในการทำนำ้ยาเอนกประสงค์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ทีมงานจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน เพื่อต้องการสร้างอาหารไว้ให้กับชุมชน โดยเรียนรู้เกี่ยวกับปลูกผัก เรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร

2.เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพร โดยไปเรียนรู้ที่บ้านผู้ใหญ่ โดยกลุ่มเป้าหมายต้องนำมะกรูด อัญชัน กระเจี๊ยบ ลูกยอ มาเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับส่วนผสมของน้ำยาเอนกประสงค์ขอสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ และให้ทุกคนไปทำใช้เองที่บ้านสอน 1 ครั้ง

3.ได้ฝึกให้ทุกคนได้ทดลองปฏิบัติและนำไปใช้ที่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 1
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพอเพียง เพื่อต้องการสร้างคลังอาหารไว้ให้กับชุมชนโดยจะเรียนรู้เกี่ยวกับ

1)เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์สมุนไพรโดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำมะกรูด อัญชัน กระเจี๊ยบ ลูกยอ มาเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับส่วนผสมของน้ำยาเอนกประสงค์ และจะช่วยกันทำ หลังจากนั้นก็แบ่งกันไปใช้ที่บ้านและไปฝึกทำเองที่บ้านด้วย 2)การเลี้ยงปลาพื้นเมือง มีทีมงานช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงปลาไว้กินเอง โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำเศษอาหาร หยวกกล้วย รำ เพื่อทำเป็นอาหารสำหรับปลา จากนั้นส่งเสริมให้แต่ละคนไปทำต่อที่บ้านโดยเลือกที่ตนเองชอบและถนัด
3)การเลี้ยงไก่บ้าน จะมีคนที่ได้เลี้ยงไก่บ้านช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้กิน โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำเศษอาหาร หยวกกล้วย รำ เพื่อทำเป็นอาหารสำหรับสัตว์ โดยส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไว้กินไก่ กินไข่ จากนั้นส่งเสริมให้แต่ละคนไปทำต่อที่บ้านโดยเลือกที่ตนเองชอบและถนัด 4)สอนการทำเห็ดฟาง ไปเรียนรู้ที่บ้านนางสมมารถ ทองเอียด ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำเห็ด โดยกลุ่มเป้าหมายต้องวัสดุที่บ้านตนเองมีอยู่ ไปทดลองทำที่บ้านนางสมมารถ
5)ร่วมสร้างกลุ่มผลิตชาสมุนไพร เพื่อใช้ในชุมชน จัดเรียนรู้ที่บ้านคุณจำปี เกิดแก้วโดยการนำวัสดุจากชุมชนมาแปรรูปสมุนไพร เช่น ใบทุเรียนน้ำ ตะไคร้ ใบขลู่ กระเจี๊ยบ อัญชัน นำมาทำตากแห้ง เพื่อส่งเสริมการดื่มสมุนไพรแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อสรุปเป็นบทเรียนจากการทดลองปฏิบัติในพื้นที่ของตนเพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชน

ซึ่งในวันนี้จะเป็นการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์จากสมุนไพร โดยจะได้นำสมุนไพรที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำมา สมุนไพรมาจากบ้านคือมะกรูด

วันนี้เราจะมาลองใช้ภูมิปัญญาเพื่อพึ่งพาตนเอง มาทำผลิตภัณฑ์ดี ๆ ราคาถูกมาก ๆใช้เองดีกว่า ซึ่งจะใช้ซักล้างได้สารพัด ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ล้างคราบสกปรก ส่วนผสม1. N 70 หรือ EMAL 270 TH (หัวแชมพู)1 กก. 2. EMAL 10 P (ผงฟอง) 200 กรัม 3. Sodium chloride (เกลือ หรือ ผงข้น) 500 กรัม 4. น้ำสะอาด10-11 กก.
5. NEOPELEXF 50 (สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น)500-700กรัม (ถ้าเป็นสารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEXF 24 ใช้1กก.) 6.มะกรูด2กก.
7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้) วิธีทำ 1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆชนิดก้นเรียบในการผสม)
2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด(คนประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย 3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดลงในส่วนผสมทีละน้อยๆพร้อมกับคนไปเรื่อยๆ ให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน (ถ้าใส่น้ำครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะจับตัวเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)
4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน 5. นำมะกรูดมาต้ม ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูก ผสมกับน้ำสะอาดให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ 6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี 7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัวจึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้ หลังจา่กที่ใช้ได้แล้วก็ให้มาแบ่งกัน คนละ1ขวดนำไปใช้ที่บ้านและจะนัดกิจกรรมเรียยนรู็ครั้งต่อไปคือการเลี้ยงปลานิลในวันที่ 31 มกราคม 2559

 

100 100

14. พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ

วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อความเข้าใจและเรียนรู้ในการทำเอกสารในการปิดงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมโครงากร 2 คน ผลลัพธ์

1.ได้ตรวจความพร้อมของเอกสารได้ เข้าใจในการสรุปปิดงวดโครงการคือการได้ตรวจเช็ค เงินในการจ่ายแต่ละกิจกรรมและเอกสารด้านการเงินของแต่ละกิจกรรม 2.ได้เข้าใจการลงบันทึกบัญชี ได้เข้าใจวิธีการบันทึกข้อมูลออนไลน์การบันทึกรูปภาพในเว็บไซต์ 3.ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารด้านการเงิน และมีความเข้าใจในด้านการเงินมากขึ้น ในการเขียนบิลคือต้องเขียนรายละเอียดให้ครบตามกำหนด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พี่เลี้ยงตรวจสอบความสมบูรณ์ของรายงาน และความถูกต้องเรียบร้อยของเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงและการทำรายงานเพื่อปิดงวดที่ 1 09.30น. ได้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตาม ผลงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน
1.มีการบันทึกกิจกรรม แบบบันทึกผลกิจกรรม สิ่งที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ ผลกระทบ รายงานกิจกรรม เพื่อบันทึกข้อมูลในเอกสารเรียบร้อย ให้พิมพ์เข้าโปรแกรมออนไลน์ แต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพให้เรียบร้อย 2.หลักฐานการเงิน -ดำเนินตรวจสอบหลักฐานทางการเงิน -ตรวจสอบยอดเงินโครงการฯ และบันทึกออนไลน์ -ตรวตสอบการเขียนเงินสด -ตรวจสอบหลังฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60 3.หลักฐานประกอบการดำเนินงาน -ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม -หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน 4.บันทึกช่วยจำ -บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรมออนไลน์ให้เรียบร้อย -หลักฐานการเงินต้องถูกต้อง ครบถ้วน -ปิดงวดส่งเอกสาร

 

2 2

15. สร้างคลังอาหารชุมชน ครั้งที่ 2

วันที่ 31 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหาร ในการเลี้ยงปลานิล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีการลดใช้สารเคมีในการ ทำเกษตรแบบผสมผสาน 2.มีการสร้างฐานการผลิตอาหารไว้สำหรับชุมชน 3..ลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย 4.เพิ่มรายได้กับ ครัวเรือนจากการผลิตอาหารในชุมชน 5.มีกลุ่มผลิตปุ่ยของชุมขน 6.มีคลังอาหารในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน 2.มีบ่อปลาเพื่อเป็นบ่อขยายพันธ์ 1 บ่อ ผลลัพธ์ 1.ได้ความรู้ในการเลี้ยงปลานิล การเตรียมสถานที่เตรียมบ่อในการเลี้ยงปลานิลการเตรียมบ่อการปล่อยปลาเลี้ยง การให้อาหาร ประโยชน์ของปลานิล 2.ได้ไปดูบ่อที่จะทำการเลี้ยงปลานิลจริงๆเพื่อเป็นบ่อขยายพันธุ์ปลา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ทีมงานจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน เพื่อต้องการสร้างอาหารไว้ให้กับชุมชน โดยเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาพื้นเมือง การเลี้ยงปลานิล

2.การเลี้ยงปลาพื้นเมือง ไปเรียนรู้ที่บ้านนายลำดวน เกลี้ยงแป้น มีทีมงานช่วยกันสอนแนะวิธีการการเลี้ยงปลาไว้กินเอง โดยกลุ่มเป้าหมายจะต้องนำเศษอาหาร หยวกกล้วย รำ เพื่อทำเป็นอาหารสำหรับปลา จากนั้นส่งเสริมให้แต่ละคนไปทำต่อที่บ้านโดยเลือกที่ตนเองชอบและถนัดมีการสอนแนะ 1 ครั้ง

3.ให้ทุกครัวเรือนได้เรียนรู้ร่วมกันและนำไปปฏิบัติต่อที่บ้าน โดยการทำรวมกันเป็นกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที 2โดยมาพบปะกันที่รพ.สต.เขาพระบาทในเวลา 09.00 น.
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1.นางหนูฟองหนูทองผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในวันนี้คือการมาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลานิล โดยมีผู้เชียวชาญ มาสอนวิธีการเลี้ยงปลานิลโดยให้สอนการเลี้ยงปลานิลดังนี้

การเตรียมบ่อและวิธีเลี้ยง ถึงแม่ว่าปลานิลจะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายแต่ในการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้รับผลดีเป็นที่น่าพอใจจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิธีการเพาะเลี้ยงเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.บ่อ บ่อที่จะใช้เลี้ยงลูกปลานิลควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดตั้งแต่400ตารางเมตรขึ้นไประดับของน้ำในบ่อควรลึกประมาณ1เมตรตลอดปีทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโตและใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกันไปด้วยเพราะถ้าเป็นบ่อซึ่งมีขนาดเล็กแล้วลูกปลาที่เกิดขึ้นใหม่จะทวีจำนวนแน่นบ่ออย่างรวดเร็วทำให้ลูกปลาเหล่านี้มีขนาดไม่โตโดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อดังนั้นจึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆสำหรับให้แม่ปลาได้วางไข่ ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำเช่นคูคลองแม่น้ำก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออกเพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกมาอีกด้วยแต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลงและต้องมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย


2.การเตรียมบ่อ ถ้าเป็นบ่อที่ขุดใหม่ดินมักมีคุณภาพเป็นกรดควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อในอัตรา1กิโลกรัมต่อเนื้อที่10ตารางเมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าจำเป็นต้องปรับปรุงบ่อโดยกำจัดวัชพืชออกให้หมดเช่นผักตบชวาจอกบัวและหญ้าต่างๆเพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรค์ต่อการหมุนเวียนของอากาศซ้ำยังจะเป็นที่หลบซ่อนอยู่อาศัยของศัตรูที่เป็นอันตรายต่อปลาและเป็นการจำกัดเนื้อที่ซึ่งปลาต้องใช้อยู่อาศัยอีกด้วย ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงต้องกำจัดศัตรูของปลานิลให้หมดเสียก่อนได้แก่พวกปลากินเนื้อเช่นปลาช่อนปลาชะโดปลาบู่และปลาดุกถ้ามีสัตว์จำพวกเต่าพบเขียดงูก็ควรกำจัดให้พ้นบริเวณบ่อนั้นด้วยวิธีกำจัดอย่างง่ายๆคือโดยการระบายน้ำออกให้แห้งบ่อแล้วจับสัตว์ชนิดต่างๆขึ้นให้หมด การใส่ปุ๋ยโดยทั่วๆไปแล้วปลาจะกินอาหารซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและจากที่ให้สมทบเป็นจำนวนเกือบเท่าๆ กันดังนั้นในบ่อเลี้ยงปลาควรดูแลให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เสมอจึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติปุ๋ยที่ใช้ได้แก่มูลวัวมูลควายมูลหมูมูลเป็ดและมูลไก่นอกจากปุ๋ยมูลสัตว์ดังกล่าวแล้วปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดต่างๆก็ใช้ได้ อัตราการใส่ปุ๋ยในระยะแรกนั้นควรใส่ประมาณ250-300กิโลกรัมต่อไร่ในระยะหลังๆควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก วิธีการใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกควรตากให้แห้งเสียก่อนเพราะถ้าเป็นปุ๋ยที่ยังสดอยู่จะทำให้น้ำในบ่อมีแก๊สพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมากซึ่งจะเป็นอันตรายต่อปลาการใส่ปุ๋ยคอกควรใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อให้ละลายไปทั่วๆอย่าโยนให้ตกอยู่ในที่เดียวส่วนปุ๋ยพืชสดนั้นควรเทสุมเป็นกองไว้ตามมุมบ่อ1หรือ2แห่งโดยมีไม้ไผ่ปักล้อมไว้เป็นคอก รอบกองปุ๋ยพืชสดนั้นเพื่อป้องกันมิให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย อที่มีอาหารธรรมชาติมากหรือน้อยจะสังเกตได้โดยการดูสีของน้ำถ้าน้ำในบ่อมีสีเขียวแสดงว่ามีอาหารจำพวกพืชเล็กๆปนอยู่มากแต่ถ้าน้ำในบ่อมีสีค่อนข้างคล้ำมักจะมีอาหารจำพวกไรน้ำมากพวกพืชเล็กๆและไรน้ำมากพวกพืชเล็กๆและไรน้ำเหล่านั้นนับว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างดี


3.การปล่อยปลาลงเลี้ยง จำนวนปลาที่ปล่อย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็วดังนั้นจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มากนักสำหรับบ่อขนาดเนื้อที่1งาน(400ตารางเมตร)ควรใช้พ่อแม่ปลานิลเพียง50คู่หรือถ้าเป็นลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กก็ควรปล่อยเพียง400ตัวหรือ1ตัวต่อ1ตารางเมตร เวลาปล่อยปลาเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปล่อยปลาควรเป็นเวลาเช้าหรือเวลาเย็นเพราะระยะเวลาดังกล่าวนี้อุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนเกินไปก่อนที่จะปล่อยปลาควรเอาน้ำในบ่อใส่ปนลงไปในภาชนะที่บรรจุปลาแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ2-3นาทีเพื่อให้ปลาคุ้นกับน้ำใหม่เสียก่อนจากนั้นจึงค่อยๆจุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลานิลลงบนผิวน้ำพร้อมตะแคงภาชนะปล่อยให้ปลาแหวกว่ายออกไปอย่างช้าๆ



การให้อาหาร ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิดดังนั้นปลาชนิดนี้จึงเป็นปลาที่ให้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะพวกอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเช่นไรน้ำตะไคร่น้ำตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็กๆที่อยู่ในบ่อตลอดจนสาหร่ายและแหนถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหารสมทบเช่นรำปลายข้าวกากถั่วเหลืองกากถั่วลิสงกากมะพร้าวแหนเป็ดและปลาป่นเป็นต้นการให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไปควรกะให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของปลาเท่านั้นส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราว5%ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยงถ้าให้อาหารมากเกินไปปลาจะกินไม่หมดเสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์และยังทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายแก่ปลาได้

การเจริญเติบโต ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็วเลี้ยงในเวลา1ปีจะมีน้ำหนักถึง500กรัมและเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วพ่อแม่ปลาซึ่งมีขนาดโตเต็มที่เมื่อปล่อยลงเลี้ยงในบ่อจะเริ่มว่างไข่ภายใน2-3สัปดาห์ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ชุดนี้จะเริ่มวางไข่ได้ต่อไปอีกเมื่อมีอายุประมาณ3-4เดือน ด้วยเหตุที่ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วดังนั้นจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้จำนวนของปลาในบ่อมีปริมาณมากจนเกินไปหากพบว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากควรจะจับลูกปลาแบ่งออกไปเลี้ยงยังบ่ออื่นบ้างเพราะถ้าปล่อยให้อยู่กันอย่างหนาแน่นปลาก็จะไม่เจริญเติบโตและจะทำให้อัตราการแพร่พันธุ์ลดน้อยลงอีกด้วย

ประโยชน์ ปลานิลเป็นปลาซึ่งมีเนื้อมากและมีรสดีสามารถที่จะนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่างเช่นทอดต้มแกงตลอดจนทำน้ำยาได้ดีเท่ากับปลาช่อนนอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆโดยทำเป็นปลาเค็มตากแห้งแบบปลาสลิดปลากรอบปลาร้าปลาเจ่าปลาจ่อมหรือปลาส้มและยังนำมาประกอบเป็นอาหารแบบอื่นได้อีกหลายชนิดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วนั้นสามารถเก็บไว้ได้นานทั้งสามารถนำไปจำหน่ายนับเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง

และหลังจากนั้นก็ได้ไปดูสถานที่ที่จะเลี้ยงปลานิลซึ่งจะใช่บ่อปลาของ นางหนูฟอง หนูทอง ในการเป็นที่เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลานิลโดยจะได้พ่อพันธ์แม่พันธุ์มา 100ตัวมาเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์เมื่อหลังจากมีลูกปลานิลแล้วก็จะแบ่งให้กับสมาชิกในโครงการได้นำไปเลี้ยงที่บ้าน

 

100 100

16. สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 4

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนการดำเนินงานและประเมินกิจกรรมตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านดอนโรง 1 ชุด
2.รูปแบบการบริหารจัดการและแบ่งบาทหน้าที่การทำงานชัดเจน 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะทำงานมากขึ้น 4.สร้างความสามัคคีในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมการประชุม 30 คน ผลลัพธ์ 1.ได้สรุปและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา คือการสร้างคลังอาหารชุมชน ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
2.มีการวางแผนในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปคือ ทำงานเตรียมเอกสารสำหรับที่จะปิดงวดการเงินที่ 1และบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์และโหลดรูปเข้าเว็บไซต์เพื่อจะให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ 3.นัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 มีนาคม 2559

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน และตัวแทนกลุ่มชุมชน 4 กลุ่ม คัดเลือกมา กลุ่มละ 2 คน รวมเป็น 8 คนตัวแทนจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ 2 คนและจิตอาสา 5 คน เข้าร่วมประชุมทุกเดือน โดยนำวาระการดำเนินงานตามโครงการมาพูดคุยในวันประชุม และประเด็นการพัฒนาหมู่บ้าน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ มาพูดคุยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้สถานที่หอประชุมหมู่บ้าน

2.มีการจัดบันทึกวาระการประชุม และนำผลการประชุมมาพูดคุยให้ประชาชนได้รับฟัง เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

3.มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการทบทวน บทเรียนในการพัฒนา และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 4
โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.นางหนูฟอง หนูทองประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับสมาชิก และชี้แจงกิจกรรมในครั้ง ที่ผ่านมาคือสร้างคลังอาหารชุม ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2โดยครั้งที่ 1 จะเป็นการเรียนรุ้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ซึ่งเป็นการร่วมทำนำ้ยาเอนกประสงค์กันและก็ได้แบ่งกันไปใช้และครั้งที่ 2จะเป็นการเรียนรุ้การเลี้ยงปลานิลซึ่งทั้ง 2 กิจกรรมสมามาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็มีความสนใจในการร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี กิจกรรมพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการเพื่อสรุปและติดตามเอกสารในด้านการเงินและการบันทึกข้อมุลเข้าเว็บไซต์ ที่ สำนักสนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 นครศรีธรรมราชเป็นการติดตามความก้าวหน้าของโครงในด้านเอกสารทางด้านการเงินและการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ รวมทั้งการจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายด้วย มีการแนะนำบันทึกกิจกรรม บันทึกผลกิจกรรมให้มีรายละเอียดที่ตรบถ้วนให้เห็นว่าทำกิจกรรมอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมได้ทำอะไรบ้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมเป็นอย่างไรบ้างเช่นทุกคนช่วยกันทำกิจกรรมดันอย่างเต็มที่ การผลลัพธ์ ผลกระทบ ให้เห็นถึงการเปลี่ยนที่เกิดจากการทำกิจกรรม และก็ให้ไปบันทึกกิจกรรมเข้าโปรแกรมออนไลน์ แต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพให้เรียบร้อยหลักด้านฐานการเงิน ได้ดำเนินการตรวจสอบหลักฐานทางการเงินยังมีบิลเกี่ยวกับถ่ายเอกสารที่ต้องแก้ไขตรวจสอบหลังฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60

2.และกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมการปิดงวดรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง โดยให้คณะทำงานเตรียมเอกสารสำหรับที่จะปิดงวดการเงินที่ 1และบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์และโหลดรูปเข้าเว็บและให้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการที่รพ.สต.เขาพระบาทในวันที่ 11 ก.พ.2559และไปประชุมเพื่อปิดงวดที่ 1 ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในวันที่ 13-14 ก.พ.2559

 

30 30

17. ปิดรายงานงวดท่ี่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจเอกสารและปิดงวด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
ผลที่เกิดขึ้นจริง: ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 5คน ผลลัพธ์ที่เกิดจริง: ได้รู้ถึงการปิดงวดงบประมาณการทำกิจกรรมโดยได้ร่วมกันตรวจเช็คเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมร่วมกับพี่เลี้ยง เช่นเอกสารด้านการเงินเอกสารในด้านบันทึกกิจกรรมได้รู้ถึงน้ำใจของเพื่อนร่วมงานในการช่วยเหลือในการทำเอกสารและการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ สิ่งที่เกินความคาดหมาย: ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสามัคคีในทีมงานคือได้ช่วยกันทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ให้เสร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน 5 คน พบพี่เลี้ยงเพือปิดรายงานงวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ปิดรายงาน งวด 1 กับพี่เลี้ยงพื้นที่ในเวลา 08.30 น. เดินทางมาถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาพระบาท พี่เลี้ยงตรวจเอกสารเพื่อทำการปิดงวดแต่ผลปรากฏว่าการเรียงเอกสารไม่ถูกต้อง ข้อมูลยังไม่ได้ลงโปรแกรม ตัองเปลี่ยนแปลงแก้ไข 12.30น. ตรวจเอกสารทางการเงินเป็นใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จรับเงินผิดต้องแก้ไข เขียนรายงานการประชุมที่พบปะพี่เลี้ยงในแต่ละครั้งและให้บันทึกในเว็บไซต์โดยการเพิ่มกิจกรรมพบพี่เลี้ยงด้วย 22.30 น. เดินทางกลับบ้าน

 

5 5

18. การจัดทำเพื่อทำรายงาน งวดที่ 1

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า

ผลผลิต
1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
ผลลัพธ์
1.ได้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ในแต่ละกิจกรรม
2.เรียนรู้การเขียนใบเสร็จที่ถูกต้อง 3.ได้ปรับปรุงเอกสารให้ถูกต้อง
4.ได้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็บไซต์ให้ถูกต้องการเขียนผลการดำเนินกิจกรรมปละผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรม 5.ได้รับคำแนะนำการทำเอกสารการเงิน การปรับแก้ผลการรายงานกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำทำงานพบพี่เลี้ยงเพื่อปิดงวดรายงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการติดตามและพบพี่เลี้ยงพื้นที่และ สจรส.มอโดยตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปิดรายงานงวดที่ 1 ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้นำเอกสารให้ สจรส.มอ.ตรวจสอบเอกสาร และพี่เลี้ยงได้แนะนำมาให้ปรับปรุง ดังนี้ 1.ใบเสร็จค่าถ่ายเอกสารยังไม่ถูกต้องและไม่ครบบางกิจกรรม 2.ให้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็ปไซต์ทุกกิจกรรมรายละเอียดกิจกรรมยังไม่ครบถ้วน ปรับผลการดำเนินงานเพิ่มข้อมูลกิจกรรม และผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการยังไม่ครบถ้วน 3.ให้เริ่มจ่ายภาษี เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2559 4.ขาดใบเสร็จค่าเดินทางวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2559 5.ขาดเอกสารการเงินจำนวน 750 บาท ในวันที่ 7 ตุลาคม 2558 6.กิจกรรมคืนข้อมูลในวันที่ 6 ธันวาคม 2558 ค่าถ่ายเอกสารขอให้แก้ไขบิลร้านค้าหรือไม่ก็แนบทะเบียนร้านค้านั้นๆ 7.วันที่7 ธันวาคม 2558 เปลี่ยนค่าเดินทางเบิกได้ไม่เกิน 800 บาท ต่อโครงการ 8.ในวันที่ 30 มกราคม 2559สามารถเบิกค่าเดินทางได้ 400บาท 9.ในวันที่ 31 มกราคม 2559 เปลี่ยนใบสำคัญรับเงินค่าอาหารตำนวน 10000บาท โดยมีการหักค่าภาษี ณ ที่จ่าย 1% ด้วย 10.วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 กิจกรรมประขุมกับพี่ลเี้ยง เปลี่ยนใบเสร็จรับเงินเป็นค่าเดินทางภายในพื้นที่ 200บาท

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 40 18                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 191,900.00 84,400.00                  
คุณภาพกิจกรรม 72 55                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.ระยะนี้ฝนตกหนัก ทำให้เกิดความเสียหายด้่านเกษตร ทำให้กลุ่มเป้าหมายท้อใจ

ฝนตหนักตลอดเวลา ทำให้บางกิจกรรมที่ทำไปแล้ว สร้างความเสียหาย กลุ่มเป้าหมาย บางคนหมดกำลังใจ

เลื่อนกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพอากาส โดยเลื่อนไปทำหน้าแล้ง

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. สภาชุมชนบ้านดอนโรงครั้งที่ 5 ( 7 มี.ค. 2559 )
  2. สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรพื้นบ้าน ( 19 มี.ค. 2559 )
  3. สร้างข้อบัญญัติชุมชนบ้านดอนโรง ( 23 มี.ค. 2559 )
  4. พบพี่เลี้ยงจังหวัดเพื่อปรับปรุุงรายงาน งวด 1 ( 26 มี.ค. 2559 )
  5. สร้างแผนครัวเรือน แผนชีวิต ( 31 มี.ค. 2559 )
  6. สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 6 ( 7 เม.ย. 2559 )
  7. สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 7 ( 7 พ.ค. 2559 )
  8. สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 8 ( 7 มิ.ย. 2559 )
  9. สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 3 ( 26 ก.ค. 2559 )
  10. สร้างคลังอาหารด้วยเกษตรผสมผสาน ครั้งที่ 4 ( 2 ส.ค. 2559 )
  11. สภาชุมชนบ้านดอนโรง ครั้งที่ 9 ( 9 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาง หนูฟอง หนูทอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ