directions_run

ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2) ”

บ้านยางในลุ่ม หมู่ที่ 3 ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาง สุภาพร ศรีเพิ่ม

ชื่อโครงการ ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

ที่อยู่ บ้านยางในลุ่ม หมู่ที่ 3 ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03889 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2026

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2) จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านยางในลุ่ม หมู่ที่ 3 ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)



บทคัดย่อ

โครงการ " ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านยางในลุ่ม หมู่ที่ 3 ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03889 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 210,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 750 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้จากการเลี้ยงผึ้งด้วยภูมิปัญญา
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการใหม่

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
    อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงิน
    อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์ และการเรียนรู้วันนี้เป็นการเรียนรู้วิธีดำเนินงานตามโครงการ คือต้องทำไปตามกิจกรรมที่วางไว้มีการเรียงกิจกรรมไว้แล้วหนึ่งสองสามจนถึงกิจกรรมสุดท้าย เพื่อความถูกต้องของกิจกรรมจะวางไว้อย่างดีแล้ว และมีการเรียนรู้การตรวจสอบเอกสารของโครงการ คือกิจกรรมหนึ่ง๐ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ให้นำมาประกอบให้ครบถ้วนและเก็บไว้ให้เรียบร้อย เรียนรู้การวางแผนการดำเนินงานตามโครงการให้ถูกต้อง และความเสี่ยงต่างๆในการดำเนินงานของโครงการ และการเก็บเอกสารต่างๆที่นำมาใช้ทำกิจกรรมของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ พบว่า คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

    1. เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
    2. เรียนรู้วิธีการทำเอกสารของโครงการเช่นการเขียนบิลการเขียนรายงานโครงการ
    3. เรียนรู้วิธีการถ่ายรูปอย่างไร ให้เห็นถึงกิจกรรมที่เราได้ทำไป
    4. ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการในการกำหนดวันกำหนดปฏิทินในการทำกิจกรรม
    5. ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน

     

    2 2

    2. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 1

    วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 13.00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มประชุมเวลา 13.00น.นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์ พี่เลี้ยงโครงการภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม ได้เปิดประชุม ขอสวัสดีทุกท่านที่เข้าประชุม กระผมขอชี้แจงโครงการภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม ประเด็นของโครงการ 1.ประชุมคณะทำงาน 10 ครั้ง(สภาผู้นำ)2.ออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน 3.สำรวจข้อมูล 4.วิเคราะห์ข้อมูล5.คืนข้อมูลให้ชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ6.เรียนรู้บัญชีครัวเรือน7.สร้างภูมิปัญญาปลดหนี้8.เรียนรู้เรื่องการทำผึ้งโพรง9.เรียนรู้เกษตรผสมผสานและทำศูนย์เรียนรู้10.พัฒนากลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง11.แลกเปลี่ยนเรียนรู้12. ถอดบทเรียน13.สรุปโครงการและเผยแพร่ วาระที่ 2. ภาระกิจที่ต้องทำหลักฐาน 4 อย่าง 1.ประชุมสภาผู้นำ 2.บัญชีครัวเรือน 3.ทำน้ำหมักชีวภาพและพืชผักสมุนไพร 4.ทำรังผึ้ง วาระที่ 3. เรื่องอื่น ไม่มี ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ พบว่า
    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม30 คน
    2.ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการประชุมมีความตั้งใจการฟังในการเข้าร่วมประชุม 3.ได้ชี้แจงโครงการภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่มให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบ


     

    30 30

    3. ครั้งที่ 1ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.ออกแบบป้ายสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ตามแบบให้ถูกต้องจำนวน 2 แผ่น และป้ายชื่อของโครงการจำนวน 1 แผ่นตามแบบให้ถูกต้อง แล้วไปจัดทำนำมาติดไว้ที่ทำกิจกรรมในพื้นที่ ด้วยวัตถุประสงค์ในสถานที่ทำกิจกรรมนั้นให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ลดละเลิกการสูบบุหรี่ ต้องการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องไม่สูบบุหรี่ เป็นการรณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่ในชุมชน ทำให้ผู้ที่พบเห็นก็มีความคิดในการลดละเลิกสูบบุหรี่ไปด้วย เพราะการสูบบุหรี่เป็นการสร้างมลพิษให้กับผู้คนรอบข้าง ทำให้คนใกล้เคียงรังเกียจ มีกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่เดียวกัน บางรายเดินออกห่างคล้ายรังเกียจ และบางรายแพ้ควันบุหรี่ เกิดอาการจามและไอเมื่ออยู่ใกล้คนที่สูบบุหรี่ทางโครงการจึงให้ทำป้ายห้ามสูบบุหรี่ไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ พบว่า
    ผลผลิต 1.ได้ป้ายสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่จำนวน 2 แผ่น 2.ป้ายโครงการจำนวน 1 แผ่น ผลลัพธ์ 1.มีป้ายโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ 2.มีป้ายงดสูบบุหรี่ เพื่อเป็ฯการรณรงค์งดสูบบุหรี่และติดไว้ที่ประชุมเพื่อเป็นเขตปลอดบุหรี่

     

    2 2

    4. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่มครั้งที่ 2

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.ประธานโครงการผู้รับผิดชอบ ชี้แจงเรื่องการทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในครั้งต่อไปให้คณะทำงาน มาชี้แนะหรือหาแนวทำแบบสำรวจครัวเรือน การทำบัญชีครัวเรือน รายรับ-รายจ่าย ตลอดถึง การเรียนรู้ และวิธีลงบัญชีครัวเรือน เพื่อให้รู้ถึง รายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน หนี้สินของครัวเรือนด้วย เมื่อได้ออกแบบสำรวจ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้สำรวจข้อมูลต่อไป การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อจะหาวิธืการออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน โดยจะทำกิจกรรมออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนครั้งแรกในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ใช้กลุ่มเป้าหมาย 60 คน ขอให้คณะทำงานไปหากลุ่มเป้าหมายเพื่อมาร่วมกิจกรรมออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือนในครั้งนี้ด้วยโดยชักชวนกันมาช่วยกันออกแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ พบว่า
    1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน และกลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    2. ประชาชนสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมในการออกแบบสอบถาม 3. กลุ่มเป้าหมายมีแนวทางการพัฒนาเป็นทิศทางเดียวกัน

     

    30 30

    5. ออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน ครั้งที่ 1

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มประชุมประธานได้ชี้แจงว่าการออกแบบสำรวจนั้นเพี่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนและแบบสำรวจก็ต้องเข้าใจง่ายด้วยให้เสนอแบบสำรวจหนี้ครัวเรือนเป็นแบบสอบถามว่าจะถามเรื่องอะไรบ้างให้เสนอมาเพื่อจะได้นำมารวบรวมไว้และคัดเลือกข้อมูลที่ทางโครงการต้องการเช่นข้อมูลรายรับ-รายจ่ายและหนี้สินของครัวเรือนนั้นต้องมีอยู่ด้วยแต่ไม่ต้องลงรายละเอียดมากเพราะชาวบ้านอาจไม่พอใจเอาได้ การสำรวจนี้เป็นพื้นฐานก็พอแล้วครั้งนี้เป็นครั้งแรก และในครั้งต่อไปก็ให้มาช่วยกันออกแบบในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความถูกต้อง และเข้าใจง่าย

    ทีมงานได้นำแบบสำรวจจากหลายๆที่ มาเสนอ ดังนี้
    ข้อคำถามประกอบด้วย 1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตรกี่ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตรหรือไม่
    3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายหรือไม่ 4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพไหน 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 6.ครัวเรือนมีหนี้สินหรือไม่ 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจากไหน 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนหรือไม่ 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิดหรือไม่ 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอดกี่คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปีกี่คน 12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิตหรือไม่ 13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วยหรือมไ 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด
    15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่ 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือไม่ 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลังหรือไม่ 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่หรือไม่ 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่ 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน
    23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอหรือไม่ 24.ครัวเรือนมีถังขยะหรือไม่ 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะหรือไม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ พบว่า

    1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 60 คน และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
    2. ได้แบบสอบถามที่ชุมชนร่วมกันคิด
    3. ทุกคนเต็มใจที่จะคิดแบบสอบถามและให้การบ้านไปคิดเพิ่มเติมมาอีกครั้งหนึ่ง
    4. ได้เรียนรู้ความพยายามของชุมชนและจิตอาสามีความตั้งใจจริง

     

    60 60

    6. ออกแบบสำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน ครั้งที่ 2

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มประชุมประธานได้แจ้งที่ประชุมว่า การออกแบบสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง เพื่อเป็นการเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง จะได้แบบสำรวจที่สมบูรณ์ขึ้นเพื่อจะได้นำไปใช้ในการสำรวจ โดยให้ได้รายละเอียดของโครงการครบถ้วนที่สำคัญ ต้องมีข้อมูลพื้นฐาน ต้องมีรายรับ-รายจ่ายและหนี้สินของครัวเรือนนั้นขาดไม่ได้และให้มีการนำเสนอเพิ่มเติมแบบสอบถามและหนี้สินของครัวเรือนได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้องเพื่อจะได้เรียบเรียงแล้วนำไปจัดทำเป็นแบบสอบถาม

    สรุปว่าทุกคนเห็นด้วยกับแบบสอบถาม ในครั้งที่ 1 แต่ให้เพิ่มเติมข้อมูลแต่ละมิิติไปด้วย ดังนี้
    แบบสอบถามทั่่วไป

    ข้อคำถามประกอบด้วย 1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตรกี่ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตรหรือไม่
    3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายหรือไม่ 4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพไหน 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 6.ครัวเรือนมีหนี้สินหรือไม่ 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจากไหน 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนหรือไม่ 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิดหรือไม่ 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอดกี่คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปีกี่คน 12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิตหรือไม่ 13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วยหรือมไ 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด
    15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่ 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือไม่ 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลังหรือไม่ 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่หรือไม่ 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่ 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน
    23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอหรือไม่ 24.ครัวเรือนมีถังขยะหรือไม่ 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะหรือไม่

    แบบสอบถามเพื่อสังเคราะห์ปัญหา มิติที่1ด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นสอบถามเกี่ยวกับ 1. ครัวเรือนมีหนี้สินกี่ครัวเรือน 2. รายได้ต่ำ / รายจ่ายสูงกี่ครัวเรือน
    3. ว่างงาน กี่ ครัวเรือน
    4. ไม่มีที่ดินประกอบอาชีพ กี่ครัวเรือน
    5.ไม่มีที่ดินเป้นของตนเอง กี่ครัวเรือน
    6. ผลผลิตตกต่ำ /ไม่ได้ผล กี่ครัวเรือน
    7. ค่าครองชีพสูง กี่ ครัวเรือน

    มิติที่ 2 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบปัญหาเกี่ยวกับ 1.ดินเสื่อมคุณภาพ กี่ ครัวเรือน 2.ดินเปรี้ยวดินเค็ม กี่ ครัวเรือน 3.น้ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชชีวิตและประกอบอาชีพ กี่ ครัวเรือน 4. ขยะเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น กี่ ครัวเรือน 5. ที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ กี่ ครัวเรือน 6.มีการขยะไปทำประโยชน์ ปุ๋ยชีวภาพและพลังงานอื่นๆ กี่ ครัวเรือน 7.มอเตอร์ไซต์ซิ่งส่งเสียงดังรบกวน กี่ ครัวเรือน 8.ข้างบ้านส่งเสียงดังรบกวน กี่ ครัวเรือน

    มิติที่ 3 ด้านศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี / สังคม / ครอบครัว / สวัสดิการ / ศาสนาพบปัญหาเกี่ยวกับ 1. เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจวัฒนธรรม กี่ ครัวเรือน 2. ประชาชนในหมู่บ้าน ไม่ช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างอยู่กี่ ครัวเรือน 3.ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเกิดการแตกแยกกี่ ครัวเรือน 4.เด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในหมู่บ้าน/ชุมชนกี่ ครัวเรือน 5. เด็กถูกทอดทิ้งกี่ ครัวเรือน 6.ปัญหายาเสพติด กี่ ครัวเรือน 7.เยาวชนก่อเหตุทะเลาะวิวาทกี่ ครัวเรือน 8.ครอบครัวแตกแยก กี่ ครัวเรือน 9.ผู้ด้อยโอกาส(ผู้สูงอายุ/ คนพิการ/ผู้ติดเชื้อเอด ไม่มีสวัสดิการช่วยเหลือ) กี่ ครัวเรือน 10.ศาสนสถานชำรุด ทรุดโทรม ขาดการทะนุบำรุง กี่ ครัวเรือน 11.ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าวัดไม่ค่อยปฏิบัติธรรมทำผิดศีล 5 กี่ ครัวเรือน

    มิติที่ 4 ด้านการศึกษา สอบถามเกี่ยวกับ 1.เด็ก/เยาวชนขาดโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ กี่ ครัวเรือน 2.สถานศึกษาอยู่ห่างไกล กี่ ครัวเรือน 3.มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน กี่ ครัวเรือน

    มิติที่5ด้านประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม / ธรรมาภิบาล สอบถามเกี่ยวกับ 1.การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกี่ ครัวเรือน
    2.การแสดงความคิดเห็นของชาวบ้าน ชุมชน ในที่ประชุมประชาคม มีน้อยกี่ ครัวเรือน 3.การนำมติในที่ประชุมสู่การปฏิบัติ กี่ ครัวเรือน

    มิติที่ 6ด้านสุขภาพ สอบถามเกี่ยวกับ 1.เจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีกี่ ครัวเรือน 2. เจ็บป่วยจากการ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดกี่ ครัวเรือน 3.เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว กี่ ครัวเรือน 4.เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพกี่ ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า
    1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 60 คน และทุกคนเต็าใจในการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    2.ได้แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ ที่คิดด้วยคนในชุมชน 3.มีการแบ่งหน้าที่ในการเก็บข้อมูล 4.การทำงานมีภาคีเข้ามาร่วมทำงาน ด้วยความสมัครใจ

     

    60 60

    7. ครั้งที่ 2 การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มอบรมเวลา 9.00 น.อาจารย์ได้สอนวิธีการจัดประชุมในพื้นที่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และสอนการรายงานบันทึกผลลงคอมพิวเตอร์ และศึกษาเอกสารการเงินและภาษี เพราะการจัดประชุมในพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง และผู้เดือดร้อนคือชาวบ้านในชุมชน ที่ต้องการแก้ไขปัญหาของตนเอง และจัดในชุมชนการเดินทางไปมาก็ไม่ลำบาก และเรียนรู้การเข้าโปรแกรมการรายงานผลการดำเนินงานผ่านทางคอมพิวเตอร์ เพราะต้องบันทึกรายงานการประชุมลงในคอมพิวเตอร์ด้วย ต้องฝึกต้องหัดพิมพ์ให้ได้ และแนะนำการทำเอกสารการเงินที่นำมาแนบ ในกิจกรรมว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง โดยมีแบบฟอร์มมาให้เรียบร้อยแล้ว ให้กรอกให้ถูกต้องและสมบูรณ์ และค่าใช้จ่ายบางอย่างต้องใช้บิลทางร้านมาประกอบด้วย และต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเงินด้วย และมีการเรียนรู้การจ่ายภาษีด้วย กรอกข้อความในใบเสียภาษีให้ครบถ้วน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะทำงานได้เข้าใจและสามารถบันทึกการทำกิจกรรมได้อย่างถูกต้องและได้ปรึกษาหาวิธีดำเนินกิจกรรมที่ถูกต้อง
    2. มีความเข้าใจในเรื่องการจัดการเอกสารการเงินมากขึ้น

     

    2 2

    8. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1

    วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. เราได้แบบสำรวจข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำการสำรวจกันตามแบบฟอร์ม ที่ได้ออกแบบมา เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนบ้านยางในลุ่ม เพี่อได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนได้รู้รายรับ-รายจ่ายและหนี้สินครัวเรือน ตลอดถึงของชุมชน เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไข ในกิจกรรมต่อไป หวังว่าการสำรวจข้อมูลครั้งนี้จะเป็นผลดี ต่อสมาชิกและชุมชนบ้านยางในลุ่ม ครั้งนี้เป็นครั้งที่1 สำรวจ 100 บ้านครั้งที่ 2 อีก70 คน ครั้งที่ 3 สำรวจสถานการณ์ปัญหาอีก170 บ้าน จนครบ 3 ครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นภาพรวมของหมู่บ้านและชุมชน และจะได้หา แนวทางแก้ปัญหาหนี้สินต่อไป การสำรวจข้อมูลจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงและได้ข้อมูลที่ถูกต้องก็ต่อเมื่อผู้ตอบไม่ปิดบัง คือตอบความจริงทั้งหมด ก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดและสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์และแก้ไขได้ ดังนั้นข้อมูลที่เป็นความจริงและไม่ปิดบังเป็นข้อมูลที่ทางโครงการนั้นต้องการมาก เพื่อจะได้นำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน

    ผลการสำรวจครั้งที่ 1 พบว่า
    การสำรวจครัวเรือน ครั้งที่ 1พบว่า สำรวจ จำนวน 100 ครัวเรือน พบว่า
    1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 100 ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร85ครัว 3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย15ครัวเรือน
    4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพเกษตร 100ครัว 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 7,000 บาท ต่อเดือน
    6.ครัวเรือนมีหนี้สิน100ครัว 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด จำนวน 100 ครัว 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนจำนวน 100 ครัว 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิด60 ครัว 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด 3คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน60 คน
    12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต มี2 คน
    13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 20คน 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด ไป รพสต. 100 ครัว 15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่ม25คน 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ดื่ม 21คน 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่ม 5คน 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ สูบ 27 คน 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่กิน 100 ครัว 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มี100 ครัว 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด จาก อสม. 100 ครัว 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้านมี30 ครัว 23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอ 100 ครัว
    24.ครัวเรือนมีถังขยะ 62 ถัง 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ62 ครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน
    1.มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 60 คน
    2.ได้สำรวจข้อมูลพื้นฐานตามแบบสอบถามจำนวน 100 ราย
    3.ประชาชนให้ความร่วมมือดีมาก 4.คณะทำงานได้เรียนรู้ปัญหา และความต้องการของประชาชน 5.เริ่มมองเห็นแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านที่ทุกคนสามารถทำได้

     

    60 60

    9. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มประชุมเวลา 9.00 น.การสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่แล้วได้สำรวจไปแล้ว100 หลัง ครั้งนี้อีก 70 ราย เป็น 170 ราย เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐาน ของชุมชนบ้านยางในลุ่ม ได้รู้รายรับ-รายจ่ายและหนี้สินของครัวเรือน และจะได้นำข้อมูลนี้มาวิเคราะห์ข้อมูล และจะได้นำไปคืนให้กับชุมนุม เพื่อจะได้รู้ว่า ชุมชนบ้านยางในลุ่มมีหนี้สินเท่าใด เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขในกิจกรรมต่อไป เช่น ได้เรียนรู้บัญชีครัวเรือน การสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ การทำผิดโพรง เรียนรู้เกษตรผสมผสาน เช่นอาชีพเสริมและมีรายได้เสริม นำมาปลดหนี้ได้ การสำรวจข้อมูลจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงก็ต่อเมื่อผู้ตอบต้องไม่ปิดบัง ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับกิจกรรม ก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดสามารถนำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน ดั้งนั้นทางโครงการมีความต้องการมากกับข้อมูลที่เป็นความจริง เพราะจะได้นำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์และแก้ไขได้

    ผลการสำรวจครั้งที่ 2 พบว่า
    การสำรวจครัวเรือน ครั้งที่2พบว่า สำรวจ จำนวน 70 ครัวเรือน พบว่า
    1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 70 ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร65ครัว 3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย10ครัวเรือน
    4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพเกษตร 65ครัว 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 7,000 บาท ต่อเดือน
    6.ครัวเรือนมีหนี้สิน70ครัว 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด จำนวน70ครัว 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนจำนวน 70 ครัว 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิด32 ครัว 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด 1คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน21 คน
    12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต มี1 คน
    13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 12คน 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด ไป รพสต. 65 ครัว 15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่ม12คน 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ดื่ม12คน 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่ม 3คน 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ สูบ 17 คน 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่กิน 70 ครัว 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มี70 ครัว 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด จาก อสม. 70 ครัว 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้านมี10 ครัว 23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอ 70 ครัว
    24.ครัวเรือนมีถังขยะ 35 ถัง 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ 35 ครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานพบว่า
    1.กลุ่มเป้าหมายเข้ารว่มกิจกรรม 60 คน และทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 2.ได้ทำการสำรวจข้อมูลตามแบบสอบถามเป็น 70 ราย รวมทั้ง 2 วัน ทั้งหมด 170 หลังคาเรือน
    3.คณะทำงานได้รับทราบข้อมุลความต้องการของประชาชน 4.ประชาชนลดทิฐิ ลดความเห็นแก่ตัว อยากพัฒนาหมู่บ้าน
    5.เป็นกระบวนการสร้างจิตอาสาให้เกิดในชุมชน

     

    60 60

    10. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.ประธานโครงการชี้แจงเริ่มเวลา 9.00 น.วันนี้เป็นการสำรวจข้อมูลครั้งที่ 3เป็นการสำรวจสถานะการณ์ปัญหาของครัวเรือน ซึ่งสำรวจมาแล้ว 2 ครั้ง เป็นข้อมุลทั่วไป จำนวน 170 คน ครั้งนี้มาสำรวจทุกบ้าน 170 คน ในการสำรวจข้อมูล มีประชาชนให้ความสนใจดี ในเรื่องหนี้สินจะได้ข้อมูลเป็นอย่างดี และจะขอทำอาชีพเสริมในบางรายด้วยและหาแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน และจะทำการวิเคราะห์ข้อมูล คืนให้ชุมชนในภายหน้านี้ เพื่อจะได้สร้างภูมิปัญญาแก้ไขปัญหาหนี้สินในชุมชน และได้สร้างอาชีพเสริม เรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานให้ต่อไป และในวันนี้เป็นการสำรวจข้อมูลครั้งที่สามเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว เมื่อได้ข้อมูลครบแล้วก็นำมาวิเคราะห์ในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 โดยใช้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน เมื่อวิเคราะห์เสร็จก็ทำการคืนข้อมูลให้ชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการต่อไป การสำรวจข้อมูลจะได้รับผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ตอบข้อมูลต้องไม่ปิดบัง ให้ข้อมูลที่เป็นจริง และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม จึงจะได้ข้อมูลที่เป็นจริง และได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสมบูรณ์และสามารถนำไปแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน

    ผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ปัญหาชุมชน เพื่อนำไปวิเคราะห์

    มิติที่1ด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นพบปัญหาเกี่ยวกับ 1. ครัวเรือนมีหนี้สิน 170 ครัวเรือน
    2. รายได้ต่ำ / รายจ่ายสูง 170 ครัวเรือน
    3. ว่างงาน56 ครัวเรือน
    4. ไม่มีที่ดินประกอบอาชีพ 15 ครัวเรือน
    5.ไม่มีที่ดินเป้นของตนเอง10 ครัวเรือน
    6. ผลผลิตตกต่ำ /ไม่ได้ผล170ครัวเรือน
    7. ค่าครองชีพสูง 170 ครัวเรือน

    มิติที่ 2 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบปัญหาเกี่ยวกับ 1.ดินเสื่อมคุณภาพ พบร้อยละ 25 2.ดินเปรี้ยวดินเค็ม พบร้อยละ5 3.น้ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชชีวิตและประกอบอาชีพ พบร้อยละ 55 4. ขยะเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นพบร้อยละ 5 5. ที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ พบร้อยละ 24 6.มีการขยะไปทำประโยชน์ ปุ๋ยชีวภาพและพลังงานอื่นๆ พบร้อยละ 66 7.มอเตอร์ไซต์ซิ่งส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ3 8.ข้างบ้านส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ2

    มิติที่ 3 ด้านศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี / สังคม / ครอบครัว / สวัสดิการ / ศาสนาพบปัญหาเกี่ยวกับ 1. เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจวัฒนธรรม พบร้อยละ12 2. ประชาชนในหมู่บ้าน ไม่ช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างอยู่ พบร้อยละ11 3.ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเกิดการแตกแยก พบร้อยละ11 4.เด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในหมู่บ้าน/ชุมชน พบร้อยละ 6 5. เด็กถูกทอดทิ้ง พบร้อยละ2 6.ปัญหายาเสพติด พบร้อยละ 4 7.เยาวชนก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบร้อยละ9 8.ครอบครัวแตกแยก พบร้อยละ 4 9.ผู้ด้อยโอกาส(ผู้สูงอายุ/ คนพิการ/ผู้ติดเชื้อเอด ไม่มีสวัสดิการช่วยเหลือ) พบร้อยละ 3 10.ศาสนสถานชำรุด ทรุดโทรม ขาดการทะนุบำรุง พบร้อยละ 5 11.ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าวัดไม่ค่อยปฏิบัติธรรมทำผิดศีล 5 พบร้อยละ21

    มิติที่ 4 ด้านการศึกษา สอบถามเกี่ยวกับ 1.เด็ก/เยาวชนขาดโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ พบร้อยละ2 2.สถานศึกษาอยู่ห่างไกลไม่มี 3.มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน พบร้อยละ 8

    มิติที่5ด้านประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม / ธรรมาภิบาล สอบถามเกี่ยวกับ 1.การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 82 2.การแสดงความคิดเห็นของชาวบ้าน ชุมชน ในที่ประชุมประชาคม มีน้อย ร้อยละ 81 3.การนำมติในที่ประชุมสู่การปฏิบัติร้อยละ 65

    มิติที่ 6ด้านสุขภาพ สอบถามเกี่ยวกับ 1.เจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีพบร้อยละ23 2. เจ็บป่วยจากการ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดพบร้อยละ 4 3.เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว พบร้อยละ21 4.เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ พบร้อยละ 17

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน
    1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมสำรวจสถานการณ์ชุมชน 60 คน
    2.สำรวจสถานการณ์ปัญหาได้ 170 ชุด
    3.มีการสรุปสรุปข้อมุลสถานการณ์ชุมชน 1 ชุด 4.คณะทำงานนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป 5.เป็นกระบวนการสร้างความร่วมมือและความสามัคคีได้ดีมาก

     

    60 60

    11. วิเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.ประธานโครงการได้ชี้แจงหลังจากการออกสำรวจข้อมูล ในชุมชนแล้วจะมีข้อมูลชุมชน แล้วนำเอามาวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้1.ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน2.ข้อมูลหนี้ของชุมชน3.ข้อมูลการบริโภคของชุมชน4.ข้อมูลการทำน้ำหมักชีวภาพที่นำไปใช้ในชุมชน5.การทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชแซมในสวนยางพารา6.การเข้าร่วมโครงการผึ้งโพรง7.อาหารปลอดสารพิษ(ผัก-สมุนไพร) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ เห็นว่าปัญหาของชุมชนคือปัญหาหนี้สินของครัวเรือนจะเห็นว่าเกือบทุกครัวเรือนมีหนี้สิน จากปัญหาของราคาผลผลิตถูกลงมากจากราคายางกิโลกรัมละ 180 บาทได้ลดลงเหลือกิโลกรัมละ 30 บาท ทำให้ชาวบ้านเกิดมีรายได้น้อย ทำให้รายรับไม่พอกับรายจ่าย และเพื่อความอยู่รอดของครอบครัวก็จำเป็นต้องกู้เงินยืมเงินมาใช้จ่าย ทำให้เกิดมีหนี้สินกันเยอะมีหนี้สินกันเกือบทุกครัวเรือน ดังนั้นจำเป็นต้องหาอาชีพเสริม เพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นนำมาใช้จ่ายหนี้สินในครัวเรือนให้เร็วที่สุด ซึ่งทางโครงการก็ได้ร่างกิจกรรมไว้ให้แล้ว และจะมีการคืนข้อมูลให้กับชุมชนและทำการประชาสัมพันธ์โครงการให้กับชาวบ้านทราบในวันที่ 6 มกราคม 2559 โดยแจ้งให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 200 คน ใครสนใจก็เข้าร่วมกิจกรรมได้ เพราะในวันนั้นก็มีการรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย เช่นการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน การเรียนรู้การสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ การเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง การเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำหมัก การเรียนรู้การปลูกพืชผสมผสาน ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้เป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินในครัวเรือนเบื้องต้นจากข้อมูลที่ชุมชนมีปัญหาเรื่องหนี้สินกันเยอะและหวังว่าชาวบ้านสามารถลดหนี้สินครัวเรือนได้จากโครงการนี้อย่างแน่นอน

    สรุปข้อมูลการวิเคราะห์(ทั่วไปและสถานการณ์ปัญหา) พบข้อมูลดังนี้
    การสำรวจครัวเรือนพบว่า สำรวจ จำนวน 170 ครัวเรือน พบว่า
    1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 170 ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร 150ครัว 3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย25ครัวเรือน
    4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพเกษตร 165ครัว 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 7,000 บาท ต่อเดือน
    6.ครัวเรือนมีหนี้สิน170ครัว 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด จำนวน 170 ครัว 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนจำนวน 170 ครัว 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิด92ครัว 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด 4คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน46 คน
    12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต มี3 คน
    13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 32คน 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด ไป รพสต. 165 ครัว 15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่ม37คน 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ดื่ม 33คน 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่ม 8คน 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ สูบ 34 คน 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่กิน 170 ครัว 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มี170 ครัว 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด จาก อสม. 170 ครัว 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้านมี40 ครัว 23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอ 170 ครัว
    24.ครัวเรือนมีถังขยะ 97 ถัง 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ97 ครัว

    ข้อมูลสถานกาณ์ชุมชน มิติที่1ด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นพบปัญหาเกี่ยวกับ 1. ครัวเรือนมีหนี้สิน 170 ครัวเรือน
    2. รายได้ต่ำ / รายจ่ายสูง 170 ครัวเรือน
    3. ว่างงาน56 ครัวเรือน
    4. ไม่มีที่ดินประกอบอาชีพ 15 ครัวเรือน
    5.ไม่มีที่ดินเป้นของตนเอง10 ครัวเรือน
    6. ผลผลิตตกต่ำ /ไม่ได้ผล170ครัวเรือน
    7. ค่าครองชีพสูง 170 ครัวเรือน

    มิติที่ 2 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบปัญหาเกี่ยวกับ 1.ดินเสื่อมคุณภาพ พบร้อยละ 25 2.ดินเปรี้ยวดินเค็ม พบร้อยละ5 3.น้ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชชีวิตและประกอบอาชีพ พบร้อยละ 55 4. ขยะเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นพบร้อยละ 5 5. ที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ พบร้อยละ 24 6.มีการขยะไปทำประโยชน์ ปุ๋ยชีวภาพและพลังงานอื่นๆ พบร้อยละ 66 7.มอเตอร์ไซต์ซิ่งส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ3 8.ข้างบ้านส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ2

    มิติที่ 3 ด้านศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี / สังคม / ครอบครัว / สวัสดิการ / ศาสนาพบปัญหาเกี่ยวกับ 1. เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจวัฒนธรรม พบร้อยละ12 2. ประชาชนในหมู่บ้าน ไม่ช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างอยู่ พบร้อยละ11 3.ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเกิดการแตกแยก พบร้อยละ11 4.เด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในหมู่บ้าน/ชุมชน พบร้อยละ 6 5. เด็กถูกทอดทิ้ง พบร้อยละ2 6.ปัญหายาเสพติด พบร้อยละ 4 7.เยาวชนก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบร้อยละ9 8.ครอบครัวแตกแยก พบร้อยละ 4 9.ผู้ด้อยโอกาส(ผู้สูงอายุ/ คนพิการ/ผู้ติดเชื้อเอด ไม่มีสวัสดิการช่วยเหลือ) พบร้อยละ 3 10.ศาสนสถานชำรุด ทรุดโทรม ขาดการทะนุบำรุง พบร้อยละ 5 11.ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าวัดไม่ค่อยปฏิบัติธรรมทำผิดศีล 5 พบร้อยละ21

    มิติที่ 4 ด้านการศึกษา สอบถามเกี่ยวกับ 1.เด็ก/เยาวชนขาดโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ พบร้อยละ2 2.สถานศึกษาอยู่ห่างไกลไม่มี 3.มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน พบร้อยละ 8

    มิติที่5ด้านประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม / ธรรมาภิบาล สอบถามเกี่ยวกับ 1.การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 82 2.การแสดงความคิดเห็นของชาวบ้าน ชุมชน ในที่ประชุมประชาคม มีน้อย ร้อยละ 81 3.การนำมติในที่ประชุมสู่การปฏิบัติร้อยละ 65

    มิติที่ 6ด้านสุขภาพ สอบถามเกี่ยวกับ 1.เจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีพบร้อยละ23 2. เจ็บป่วยจากการ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดพบร้อยละ 4 3.เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว พบร้อยละ21 4.เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ พบร้อยละ 17

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน
    1.มีผู้เข้าร่วมประชุม 100 คน และได้เกิดฐานข้อมูลชุมชน 1 ชุด
    2.มีสถานการณ์ข้อมุลปัญหาชุมชนที่สอดคล้อง 6 มิติ จำนวน 1 ชุด 3.คณะทำงานมีข้อมูลชุมชนและทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นแนวทางการแก้ปัญหาระดับครัวเรือน ระดับชุมชน
    4.ได้รับทราบข้อมูลหนี้สินของครัวเรือนและช่วยกันหาแนวทางแก้ไข 5.ได้นำข้อมูลดังกล่าวส่งมอบให้ภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน

     

    100 100

    12. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 3

    วันที่ 21 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มประชุมประธานได้ชี้แจง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว และต่อไปก็จะเป็นการคืนข้อมูลให้กับชุมชน ในวันที่ 6 มกราคม 2559 โดยวางเป้าหมายไว้ 200 คน ถ้าคณะกรรมการท่านใดมีกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้วก็ให้เชิญชวนมา เพื่อทางโครงการจะได้คืนข้อมูลให้กับชุมชนและจะได้ประชาสัมพันธ์โครงการด้วย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล เห็นว่าชุมชนบ้านยางในลุ่มมีหนี้สินเกือบทุกครัวเรือน และให้คณะทำงานช่วยเสนอแนวทางแก้ไข เพื่อสร้างอาชีพเพิ่มและจะได้มีรายได้เพิ่ม และให้ที่ประชุมได้เสนออาชีพเสริมเพื่อได้ให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาเรียนรู้การทำอาชีพเสริมต่อไป และที่ประชุมได้มีแนวคิดเสนออาชีพเสริมดังนี้ การทำปุ๋ยหมักใช้เองโดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ทั้งราคาแพงและมีสารเคมีตกค้างด้วยและทำปุ๋ยน้ำหมักใช้เอง ซึ่งปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำหมักก็ได้ประโยชน์เหมือนกับปุ๋ยเคมี เสนอการปลูกพืชผสมผสาน โดยไม่ต้องซื้อพืชผักได้ปลูกพืชผักกินเองเป็นการลดรายจ่ายเหลือกินก็สามารถแบ่งปันให้เครือญาติได้และถ้าเหลืออีกก็นำไปขายได้มีรายได้เพิ่ม มีการเสนอการเลี้ยงผึ้งโพรงเพื่อเพิ่มรายได้ให้ กับครัวเรือนด้วยเพราะพื้นที่ชุมชนบ้านยางในลุ่มเหมาะแก่การเลี้ยงผึ้งโพรง เพราะชุมชนบ้านยางในลุ่มเป็นพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษมาก่อน ทำให้มีแมลงและตัวผึ้งมาอาศัยอยู่มากและเกสรดอกไม้ก็มีมากที่เป็นอาหารของผึ้ง และมีการเสนอการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนได้รู้รายรับรู้รายจ่ายของครัวเรือน รายจ่ายที่ไม่สมควรจ่ายก็จะได้ลดรายจ่ายลงได้ และกิจกรรมต่อไปเป็นการคืนข้อมูลให้ชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ และให้มีการรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม เช่น เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน เรียนรู้การปลูกพืชผสมผสาน เรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง ในกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน

    1. มีผู้เข้ารว่มประชุม 30 คน
    2. คณะทำงานมีฐานข้อมูลชุมชนและได้รับการคืนข้อมูล
    3. เกิดความร่วมมือในการทำงานชุมชนเป็นอย่างดี
    4. มีภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมทำงาน
    5. จากข้อมุลทำให้ทุกคนมองเห็นปัญหาชุมชนร่วมกัน

     

    30 30

    13. คีนข้อมูลให้ชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ

    วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มประชุมลงทะเบียนและแจกเอกสารที่ได้วิเคราะห์จากข้อมูลสำรวจ ชี้แจงหนี้สินของครัวเรือนและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการสร้างอาชีพเสริม 1.การเรียนรู้บัญชีครัวเรือน จะได้รู้รายรับ-รายจ่ายครัวเรือน2.การเรียนรู้ผึ้งโพรง เพื่อสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน3.การทำเกษตรผสมผสาน แบบเศรษฐกิจพอเพียงให้ปลูกพืชผักสมุนไพร ปลอดสารพิษ4.ทำน้ำหมักจากเศษขยะในครัวเรือน ทำเป็นปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพ ใช้แทนปุ๋ยเคมี ซึ่งมีการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ขยะในชุมชนลดลงด้วย5.การทำยาหม่องสมุนไพร จากสมุนไพรในชุมชนเพื่อนำมาใช้เองในครัวเรือน และโอกาสต่อไปจะแปรรูปเป็นวิสาหกิจของชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมและครอบครัว เพื่อจะได้ลดหนี้สินของครัวเรือน โดยการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ การลดรายจ่ายในเบื้องต้นเป็นการเรียนรู้บัญชีครัวเรือน เพื่อจะได้รู้รายรับรู้รายจ่ายของครัวเรือน เมื่อรู้รายจ่ายอะไรสมควรจ่ายอะไรไม่สมควรจ่าย ก็เกิดการประหยัดรายจ่าย เกิดการออม มีเงินเก็บ เป็นการลดรายจ่ายอีกวิธีหนึ่ง และการเพิ่มรายได้ให้มีการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย มีการปลูกพืชผสมผสาน และสร้างภมิปัญญาปลดหนี้ ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และในวันนี้เป็นการคืนข้อมูลให้ชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ และครั้งต่อไปเป็นการเรียนรู้บัญชีครัวเรือนในวันที่ 27 มกราคม 2559 ขอให้ท่านได้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย เพื่อเป็นกิจกรรมลดรายจ่ายในเบื้องต้น และสามารถลดหนี้สินให้กับครัวเรือนได้ด้วย หว้งว่าคงได้รับความร่วมมือจากท่านอีกครั้งหนึ่ง เพราะกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200 คน

    สรุปผลการสำรวจข้อมุล สรุปข้อมูลการวิเคราะห์(ทั่วไปและสถานการณ์ปัญหา) พบข้อมูลดังนี้
    การสำรวจครัวเรือนพบว่า สำรวจ จำนวน 170 ครัวเรือน พบว่า
    1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 170 ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร 150ครัว 3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย25ครัวเรือน
    4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพเกษตร 165ครัว 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 7,000 บาท ต่อเดือน
    6.ครัวเรือนมีหนี้สิน170ครัว 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด จำนวน 170 ครัว 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนจำนวน 170 ครัว 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิด92ครัว 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด 4คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน46 คน
    12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต มี3 คน
    13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 32คน 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด ไป รพสต. 165 ครัว 15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่ม37คน 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ดื่ม 33คน 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่ม 8คน 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ สูบ 34 คน 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่กิน 170 ครัว 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มี170 ครัว 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด จาก อสม. 170 ครัว 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้านมี40 ครัว 23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอ 170 ครัว
    24.ครัวเรือนมีถังขยะ 97 ถัง 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ97 ครัว


    ข้อมูลสถานกาณ์ชุมชน มิติที่1ด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นพบปัญหาเกี่ยวกับ 1. ครัวเรือนมีหนี้สิน 170 ครัวเรือน
    2. รายได้ต่ำ / รายจ่ายสูง 170 ครัวเรือน
    3. ว่างงาน56 ครัวเรือน
    4. ไม่มีที่ดินประกอบอาชีพ 15 ครัวเรือน
    5.ไม่มีที่ดินเป้นของตนเอง10 ครัวเรือน
    6. ผลผลิตตกต่ำ /ไม่ได้ผล170ครัวเรือน
    7. ค่าครองชีพสูง 170 ครัวเรือน

    มิติที่ 2 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบปัญหาเกี่ยวกับ 1.ดินเสื่อมคุณภาพ พบร้อยละ 25 2.ดินเปรี้ยวดินเค็ม พบร้อยละ5 3.น้ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชชีวิตและประกอบอาชีพ พบร้อยละ 55 4. ขยะเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นพบร้อยละ 5 5. ที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ พบร้อยละ 24 6.มีการขยะไปทำประโยชน์ ปุ๋ยชีวภาพและพลังงานอื่นๆ พบร้อยละ 66 7.มอเตอร์ไซต์ซิ่งส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ3 8.ข้างบ้านส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ2

    มิติที่ 3 ด้านศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี / สังคม / ครอบครัว / สวัสดิการ / ศาสนาพบปัญหาเกี่ยวกับ 1. เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจวัฒนธรรม พบร้อยละ12 2. ประชาชนในหมู่บ้าน ไม่ช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างอยู่ พบร้อยละ11 3.ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเกิดการแตกแยก พบร้อยละ11 4.เด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในหมู่บ้าน/ชุมชน พบร้อยละ 6 5. เด็กถูกทอดทิ้ง พบร้อยละ2 6.ปัญหายาเสพติด พบร้อยละ 4 7.เยาวชนก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบร้อยละ9 8.ครอบครัวแตกแยก พบร้อยละ 4 9.ผู้ด้อยโอกาส(ผู้สูงอายุ/ คนพิการ/ผู้ติดเชื้อเอด ไม่มีสวัสดิการช่วยเหลือ) พบร้อยละ 3 10.ศาสนสถานชำรุด ทรุดโทรม ขาดการทะนุบำรุง พบร้อยละ 5 11.ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าวัดไม่ค่อยปฏิบัติธรรมทำผิดศีล 5 พบร้อยละ21

    มิติที่ 4 ด้านการศึกษา สอบถามเกี่ยวกับ 1.เด็ก/เยาวชนขาดโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ พบร้อยละ2 2.สถานศึกษาอยู่ห่างไกลไม่มี 3.มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน พบร้อยละ 8

    มิติที่5ด้านประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม / ธรรมาภิบาล สอบถามเกี่ยวกับ 1.การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 82 2.การแสดงความคิดเห็นของชาวบ้าน ชุมชน ในที่ประชุมประชาคม มีน้อย ร้อยละ 81 3.การนำมติในที่ประชุมสู่การปฏิบัติร้อยละ 65

    มิติที่ 6ด้านสุขภาพ สอบถามเกี่ยวกับ 1.เจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีพบร้อยละ23 2. เจ็บป่วยจากการ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดพบร้อยละ 4 3.เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว พบร้อยละ21 4.เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ พบร้อยละ 17

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน
    2. ประชาชนได้มีการคืนข้อมูลทั้งข้อมุลทั่วไป ข้อมูลหนี้สินให้กับชุมชนและสถานการณ์ปัญหาชุมชน
    3. ประชาชนให้ความสนใจข้อมูลเป็นอย่างดีเพราะเป็นข้อมูลที่ได้จากชุมชน
    4. ข้อมูลดังกล่าว ใช้ในการขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์โครงการด้วย

     

    200 200

    14. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 4

    วันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เริ่มประชุมประธานโครงการขอสวัสดีคณะทำงาน และขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาช่วยหากลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรมและต่อไปชี้แจงเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน มีการสอนการทำบัญชีครัวเรือน ให้คณะทำงาน เพือทำความเข้าใจในการลงบัญชีครัวเรือน รายรับ-รายจ่าย และกิจกรรมต่อไปคือการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนแล้วต่อไปใช้กลุ่มเป้าหมาย 200 คน ถ้าใครมีกลุ่มเป้าหมายก็ขอเชิญร่วมการเรียนรู้ บัญชีในครัวเรือนได้ ในครั้งต่อไป จะมีการสอน เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน ในวันที่ 27 มกราคม 2559 ขอให้คณะกรรมการ เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกันเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนด้วย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาหนี้สินของครัวเรือนและเป็นการลดรายจ่ายในเบื้องต้น เพราะการทำบัญชีครัวเรือน เป็นการรู้ถึงรายรับและรายจ่ายของแต่ละวัน และสามารถ ลดละเลิกในรายจ่ายที่ไม่จำเป็นไม่สมควรได้ด้วย และสามารถเก็บเงินไว้นำไปจ่ายหนี้สินของครัวเรือนได้ ดั้งนั้นขอให้คณะทำงานไปหากลุ่มเป้าหมาย เพื่อมาร่วมกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือน และอธิบายถึงประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือนให้เขาฟังและชวนเขามาร่วมกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือนด้วย ชึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินในครัวเรือนเบื้องต้น จากการประหยัดรายจ่าย เพราะเมื่อรู้รายจ่าย อะไรสมควรจ่ายอะไรไม่สมควรจ่าย เกิดการประหยัดเกิดการออมในครัวเรือนได้อีกวิธีหนึ่งเช่นกัน และหวังว่าคงได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานเป็นอย่างดี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน อยากเห็นชุมชนปลอดหนี้สิน ขอให้คณะทำงานช่วยหากลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรมให้ด้วยขอขอบคุณมาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะกรรมการ 30 คน เข้าร่วมประชุมและให้ความร่วมมือดีมาก
    2. คณะกรรมการมีการเสนอแนวคิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับปัญหา
    3. กำหนดให้ทำกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือนในวันที่27 มกราคม 2559
    4. ได้เห็นภาพวิธีคิดและวิธีการทำงานแบบใหม่ จากเดิม ไม่ค่อยสนใจ แต่ตอนนี้พอมีข้อมูลทุกคนให้ความสนใจมากขึ้น

     

    30 30

    15. เรียนรู้บัญชีครัวเรีอน

    วันที่ 27 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนที่ ศาลาหมู่บ้านบ้านยางในลุ่ม โดยนัดพบสมาชิกกันในเวลา 08.30 น. โดยนางสุภาพรศรีเพิ่ม ประธานโครงการและวิทยากรในเรื่องของการทำบัญชีครัวเรือน ได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือน โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อจะได้รู้รายรับได้รู้รายจ่ายของแต่ละวัน ว่าวันนี้เรามีรายได้เท่าไหร่ และมีรายจ่ายเท่าไหร่ และได้รู้ว่ารายจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นไม่สมควรจ่ายก็ครั้งต่อไปก็ไม่ต้องจ่าย ทำความเข้าใจเรื่องการทำบัญชีรายรับรายจ่ายการจดบันทึกข้อมูลรายรับรายจ่ายประจำวันด้านอาหารของใช้ในบ้านแต่ละครัวเรือนข้าวสารพืชผักโดยออกแบบอย่างภูปัญญาทางบัญชีสร้างวิถีสู่อนาคต 8 ขั้นตอน 1. สมัครใจเข้าร่วมโครงการเพื่อฝึกอบรมการทำบัญชี 2. ตั้งใจเรียนรู้การทำบัญชี 3. ต้องลงมือทำบัญชีทุกวันที่มีการรับ-การจ่ายเงิน 4. รู้รายรับได้เงินมาจากไหน เท่าไร 5. รู้รายจ่าย ใช้จ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง เท่าไร ลดรายจ่าย ลดค่าจ่ายฟุ่มเฟือย 6. รู้ต้นทุน กำไร(ขาดทุน) ลงทุนเท่าไร ขายได้เท่าไร มีกำไรหรือไม่ 7. รู้หนี้สิน วางแผนชำระหนี้ให้ทันตามกำหนด 8. รู้จักการออม รู้จักประหยัด ทำให้เกิดการออม ดังนั้นการทำบัญชีครัวเรือนก็มีประโยชน์มากเลยให้ทุกคนได้ทำบัญชีครัวเรือน เพื่อจะได้รู้รายจ่ายว่าแต่ละวันนั้นจ่ายอะไรไปบ้าง ว่าสมควรจ่ายไม่ถ้าไม่สมควรจ่ายต่อไปก็ไม่ต้องจ่าย จะได้เก็บเงินไว้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายอะไรมากก็ได้รู้แล้วเราจะลดให้น้อยลงได้หรือไม่ หรือจ่ายให้น้อยลง คือลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่นค่าหวย ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ ตัวไหนลดได้ก็ลด ตัวไหนเลิกได้ก็เลิก ดังนั้นการทำบัญชีครัวเรือนก็เป็นเครื่องมือในการลดค่าใช้จ่ายตัวหนึ่เหมือนกัน และหวังว่าคงมีเงินออมมากขึ้นในครัวเรือนแน่นอน และใครเป็นหนี้ก็สามารถนำเงินออมไปใช้หนี้ได้ ก็สามารถลดปัญหาหนี้สินในครัวเรือนได้ด้วย จึงเห็นว่าการทำบัญชีครัวเรือนมีประโยชน์มากกับครอบครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สมาชิกกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจครบ 200 คน
    2. ได้เรียนรู้การทำบัญชีได้รู้รายรับรายจ่ายรู้จักการจดบันทึกในแต่ละวัน -เดือน-ปีผู้จดบันทึกก็จะสามารถรู้ความเป็นไปในครัวเรือนเป็นรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน
    3. ชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก
    4. ชาวบ้านเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    5. ชาวบ้านดีใจที่แก้ไขรายจ่ายฟุ่มเฟือยได้

     

    200 200

    16. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วาระที่ 1.เมื่อถึงเวลาพี่เลี้ยงของโครงการได้เริ่มประชุม โดยนายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์พี่เลี้ยงโครงการ ให้แต่ละโครงการได้นำเอกสารการทำโครงการมาตรวจสอบ ความถูกต้อง และแก้ไขให้ถูกต้องตามคำแนะนำของพี่เลี้ยงโครงการ และได้มีการพิมพ์รายงานลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องครบถ้วน ของใครที่ไม่สมบูรณ์ก็ทำให้เสร็จ และทำการตรวจการเงินให้เอกสารครบถ้วน เพื่อให้ถูกต้องทั้งแบบการเงินและภาษีที่ต้องชำระด้วย เพราะเป็นเอกสารที่ต้องจัดทำเพิ่มขึ้นมาอีก เพราะยังไม่ได้ชำระภาษี โดยพี่เลี้ยงทำการตรวจเอกสารในรอบแรก ของโครงการที่ยังไม่ถูกต้องก็ให้แก้ไขทำให้ถูก เพื่อความรวดเร็วและไม่เสียเวลาในวันปิดงวดแรก และโครงการไหนที่ยังขาดเอกสารในการทำกิจกรรม ก็ให้จัดทำให้ครบ แล้วนำมาในวันปิดงวดแรกด้วย โดยเอกสารที่ใช้ประกอบส่วนใหญ่เป็นแบบฟอร์มที่จัดเตรียมให้แล้วในวันปฐมนิเทศโครงการ ให้ใช้แบบฟอร์มเป็นหลักในการทำเอกสารของกิจกรรมต่างๆ ทุกกิจกรรมต้องมีเอกสารประกอบ เพื่อความถูกต้องในการตรวจเอกสาร ของการปิดงวดแรก และแบบฟอร์มที่ประกอบกิจกรรมก็ต้องกรอกให้ข้อมูลครบถ้วนด้วย ถ้าไม่มีข้อมูลก็เขียนคำว่าไม่มีลงไปในช่องด้วย ไม่เว้นว่างไว้คือต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อความถูกต้องของแต่ละกิจกรรม และทุกโครงการต้องผ่านการตรวจของพี่ก่อนในวันนี้ ถ้าโครงการไหนถูกต้องหมดแล้วก็กลับบ้านได้ แต่ถ้ายังไม่ถูกต้องก็แก้ไขให้ถูกต้องแล้วนำมาตรวจอีกครั้งเมื่อเสร็จแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีผู้เข้าร่วมโครงากร 2 คน
    • ได้ตรวจความพร้อมของเอกสารได้เข้าใจในการสรุปปิดงวดโครงการฯ
    • ได้เข้าใจการลงบันทึกบัญชี ได้วิธีการบันทึกข้อมูลออนไลน์
    • ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารด้านการเงิน และมีความเข้าใจในด้านการเงินมากขึ้น

     

    2 2

    17. ปิดงวดรายงานกับพี่เลี้ยงพื้นที่

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ตัวแทนโครงการ 2 คน เดินทางไปพบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อเรียนรู้วิธีการปิดโครงการ งวดที่ 1 โดยนำเอกสารไปให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง พบว่า

    1. เอกสารทางการเงิน ยังไม่ถูกต้อง รายชื่อยังไม่ครบ ลายมือชื่อไม่ครบ
    2. ยังขาดเอกสารการเบิกจ่ายในกิจกรรมที่พบพี่เลี้ยง 3 ครั้ง
    3. การบันทึกกิจกรรม ให้ปรับแต่งรูปภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมาย 2 คน ได้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องเอกสารทางการเงิน
    2. เรียนรู้การเขียนเอกสารให้มึความสัมพันธ์
    3. เรียนรู้วิธีการปิดรายงานให้เร็วและถูกต้อง
    4. เบิกเงินค่าเปิดบัญชีคืนให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ

     

    2 2

    18. ครั้งที่ 3 การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม วิทยากรบรรยายชี้แจ้งรายละเอียดของการปิดงวดที่ 1 โดยใช้เอกสารตามแบบฟอร์มที่พี่เลี้ยงจัดให้นำมาตรวจสอบความถูกต้อง โดย สจรส.ม.อ. เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมด และเอกสารการปิดงวดที่ 1 ของโครงการภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม ตามแบบฟอร์ม ของ สสส.และทางโครงการภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม ได้ส่งเอกสารให้กับผู้ที่ทำการตรวจเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้องและเอกสารของโครงการนี้ได้ตรวจผ่านเป็นที่เรียบร้อยถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • คณะทำงานได้เข้าร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงและ สรส.มอ. จำนวน 2 คน

    ผลลัพธ์

    • เอกสารของโครงการภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่มได้ผ่านการตรวจและถูกต้องเป็นที่เรียบร้อย

    • ปิดงวดรายงาน งวดแรกเป็นที่เรียบร้อย

     

    2 2

    19. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครังที่ 5

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมประธานโครงการได้ชี้แจงว่าเราได้ส่งงานงวดแรกเป็นที่เรียนร้อยแล้ว และต่อไปก็เป็นการสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ ครั้งที่ 1 ใช้กลุ่มเป้าหมาย 50 คน โดยให้คณะกรรมการช่วยกันประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกัน ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 นี้ เพื่อจะได้รู้ว่าชุมชนบ้านยางในลุ่มได้สร้างภูมิปัญญาปลดหนี้เรื่องอะไรบ้าง โดยให้แต่ละคนได้เสนอมาว่าตนเอง อยากได้ภูมิปัญญาปลดหนี้อย่างไร และเปิดกว้างให้กับทุกคนทำการเสนอมา แล้วค่อยเลือกกันว่าจะเอาเรื่องอะไรกัน และจะได้หาวิธีการเรียนรู้กัน หาวิทยากรมาสอนและแนะนำได้ถูก หรือจะส่งคณะกรรมการไปเรียนรู้แล้วกลับมาสอนหรือแนะนำ แล้วแต่วิธีการจากที่ประชุมจะเสนอมา เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดกับชุมชนบ้านยางในลุ่ม นั้นเป็นวิธีการที่จะประชุมสัมมนากันในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ซึงเป็นกิจกรรมการสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ ครั้งที่ 1 ขอให้คณะกรรมการช่วยกันแจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมให้ครบด้วยจำนวน 50 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำ จำนวน 30 คน มีการประชุม ปรึกษาหารือและวางแผนการปฎิบัติร่วมกัน

    • ทีมสภาผุ้นำมีความเข้มแข็ง และมีความสามัคคี

    • เกิดทีมทำงานในการขับเคลื่อนโครงการ โดยมีกลไกสภาผู้นำ

     

    30 30

    20. สร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ ครั้งที่ 1

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครั้งนี้ก็เป็นเรื่องการสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ ครั้งที่ 1 เมื่อพูดถึงการสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ ก็คือ การหาอาชีพเสริมที่เหมาะสมเพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถนำไปแก้ไขปัญหาหนี้สินในครัวเรือนได้และในครั้งนี้ให้สมาชิกช่วยกันเสนออาชีพที่ตนเองต้องการทำกันมาเรียงลำดับไว้และถ้าต้องการใช้วิทยากรในการสอนก็ให้ประสานงานให้ด้วยหรือถ้าไม่ต้องการใช้วิทยากรก็เสนออาชีพเสริมมาได้เลย ใครต้องการอาชีพอะไรบ้างลองเสนอมา เพื่อจะได้เรียบเรียงไว้ นายสมนึก นิลกาญจน์ เสนอการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย เพราะบ้านเรามีตัวผึ้งมาอาศัยอยู่มาก เพราะชาวบ้านเขาได้ปลูกพืชผักกินเองปลอดภัยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและไม่ฉีดหญ้า ปุ๋ยก็ทำใช้เองมีทั้งหมักและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้เอง ทำให้มีแมลงและตัวผึ้งมาอาศัยอยู่มากในชุมชน และผมคิดว่าน่าจะมีวิทยากรมาบรรยายให้ฟังและสอนการทำรังผึ้งโพรงไทยให้ แล้วนำไปไว้บ้านใครบ้านมันและดูแลกันเอง ถึงฤดูกาลที่ดอกไม้บานผึ้งก็ไปเก็บน้ำหวานดอกไม้มาไว้ที่รังเมื่อได้เวลาที่เหมาะสมเราก็ไปเก็บน้ำผึ้งมาขายได้ ราคาขวดละ 500 บาท นี้ก็เป็นอีกอาชีพเสริมหนึ่งที่ทำให้เรามีรายได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีผู้ร่วมประชุมครบ 50 คน

    2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้

    3.ได้รู้แนวทางการสร้างภูมิปัญญา

    ผลลัพธ์

    1.กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

    2.ครัวเรือนเข้าใจวิธีการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

    3.ได้เกิดกลุ่มนำไปสู่การจัดทำแผนชุมชน

     

    50 50

    21. สร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครั้งนี้เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันเรื่องการสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ ครั้งที่ 2 เพื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากครั้งที่แล้ว ครั้งแรกได้ข้อสรุปว่าทำรังผึ้ง หรือการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และครั้งนี้ก็เช่นกันให้เสนอกันมาในกรณีที่มีผู้รู้หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน หรือวิทยากรผู้บรรยายที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เสนอมา นายสมนึก นิลกาญจน์ ได้เสนอการปลูกมะนาวให้กับสมาชิกเพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน และได้บริโภคด้วย และมะนาวดอกของมันตัวผึ้งก็ชอบมาเอาเกสรเพื่อนำไปสร้างสารสำหรับป้องกันตัวผึ้ง เมื่อมีอะไรมารบกวนที่รังผึ้ง ตัวผึ้งจะปล่อยสารตัวนี้ออกมาพร้อมกัน โดยกระพือปีก และปล่อยกลิ่นขับไล่สิ่งที่มารบกวนให้หนีห่างออกไป และการปลูกมะนาวสมาชิกก็เห็นด้วย เริ่มแรกปลูกบ้านละต้นและอีก 6 -7 เดือน ก็สามารถตอนกิ่งขยายพันธุ์ได้ ไม่ต้องมากบ้านละ 10 ต้น ก็เหลือกินสามารถนำไปขายมีรายได้เสริม สามารถนำไปแก้ไขปัญหาหนี้สินในครัวเรือนเบื้องต้นได้ การปลูกมะนาวก็เป็นการสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ได้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกของชุมชนเข้าร่วมปรึกษาหารือ เพื่อปลดหนี้ในครั้งที่ 2 จำนวน 50 คน โดยมีการเสนอในการสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายครัวเรือน โดยการปลูกมะนาวครัวเรือนละ 1 ต้นและมีแนวโน้มให้ครัวเรือนขยายเพิ่มเป็น 10 ต้นต่อหนึ่งครัวเรือน จากการขยายกิ่งพันธ์ุ และปลูกเพิ่มในครัวเรือนโดยไม่ต้องซื้อตลอดจนดอกของมะนาวสามารถทำให้ผึ่งโพรงที่สมาชิกเลี้ยงไว้ มีการผสมเกษร และมีประโยชน์ในการเลี้ยงผึ้ง

     

    50 50

    22. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 6

    วันที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-11.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุม ครั้งนี้เป็นการประชุมผู้นำที่เป็นคณะกรรมการของโครงการภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม ชื่อกิจกรรมสภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 6 เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ ในวันที่ 28 มีนาคม 2559 ชื่อกิจกรรมเรียนรู้การทำผึ้งโพรงครั้งที่ 1 ขอให้คณะกรรมการหาบุคคลเป้าหมายการร่วมกิจกรรมด้วยและให้หาสถานที่ในการฝึกอบรมให้ด้วย เพราะครั้งนี้เป็นการฝึกอบรมการทำรังผึ้งด้วย ต้องใช้ที่กว้างและที่ร่มด้วยเพราะต้องใช้เวลาทำทั้งวันและต้องใช้ไฟฟ้าด้วย การทำก็เกิดเสียงรบกวนด้วย เพราะต้องใช้ฆ้อนตีตาปูเพื่อทำรังผึ้งและอาจใช้เลื่อยไฟฟ้าในการตัดไม้ที่ทำรังผึ้งด้วย นายสมนึก นิลกาญจน์ เสนอว่าให้ทำที่บ้านนายสมชาย ศรีเพิ่ม บ้านนายคมศิลป์ แก้วมณี และบ้านนายเฉลิม ศรีเฉล้ม ที่ประชุมเห็นชอบ แล้วค่อยโทรศัพท์แจ้งภายหลังว่าจะทำบ้านใครในแต่ละครั้งตามที่เห็นสมควรต่อไป ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมสภาผู้นำ 30 คน มีการประชุม วางแผนในการทำงานร่วมกัน โดยได้ข้อสรุปในการจัดกิจกรรมอบรมการทำรังผึ้ง โดยใช้สถานที่ในการอบรม 3 แห่ง คือบ้านนายสมชาย ศรีเพิ่ม, บ้านนายคมศิลป์ แก้วมณี,และบ้านนายเฉลิม ศรีแฉล้ม ซึ่งมีความเหมาะสมทั้งในเรื่องของสถานที่กว้างขวาง เสียงรบกวน

    • ทีมสภาผู้นำมีความเข้มแข็ง มีความสามัคคี

     

    30 30

    23. เรียนรู้การรายงานโครงการจากพี่เลี้ยงเพิ่มเติม

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : พี่เลี้ยงโครงการได้เปิดประชุมแจ้งว่าการรายงานของเกือบทุกโครงการนั้นยังไม่สมบูรณ์ ให้เพิ่มเติมและให้ใส่รูปภาพประกอบว่าได้ทำกิจกรรม จำนวนคนในรูปภาพต้องสัมพันธ์กับโครงการ ถ้าจำนวนคนไม่พอให้จัดครั้งที่สองครั้งที่สามเพื่อให้ได้ตามโครงการที่เขียนรายงานมา หลังจากนั้นก็ให้แต่ละโครงการออกมาเล่าให้เพื่อนฟังประมาณสามโครงการว่าทำอะไรไปบ้างแล้วและได้ผลอย่างไรมีนวัตกรรมเกิดอะไรบ้าง และพี่เลี้ยงได้สอนการบันทึก ส.3 ด้วย และให้ทุกโครงนั้นทำการบันทึกเลย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางตรง,ทางอ้อม,การเชิญ,วิธีการ,เกิดฐานเรียนรู้อย่างไรและเกิดนวัฒกรรมอย่างไร เช่นบางโครงการก็เกิดนวัฒกรรมตั้ง 5 ชนิด ให้เขียนใส่กระดาษแล้วให้พี่เลี้ยงดู แล้วหลังจากนั้นถ้าถูกต้องสมบูรณ์ก็ให้บันทึกลงใน ส.3 ได้เลย และให้พี่เลี้ยงตรวจถ้าถูกต้องให้กลับบ้านได้ เลิกประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการ 2 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำรายงานโครงการโดยทีมพี่เลี้ยง ผู้ติดตาม และได้ร่วมเรียนรู้การทำโครงการโดยการใช้ด้ภูมิปัญญาและนวัฒกรรม เช่น คุย-คิด-แก้ ของบ้านห้วยทรายขาว ตลอดจนได้เรียนรู้การบันทึกรายงาน ส.3 และการวิเคราะห์นวัตกรรมที่เกิดจาการดำเนินโครงการ

     

    2 2

    24. เรียนรุู้การทำผึ่งโพรง ครั้งที่ 1

    วันที่ 28 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการชี้แจงว่าวันนี้เป็นการเรียนรู้การทำผึ้งโพรงครั้งที่ 1โดยมีครูภูมิปัญญามาให้ความรู้แก่ผู้ร่วมกิจกรรมในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ดังนี้

    1. การเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

    2.ขั้นตอนวิธีการทำรังผึ้ง

    3.การวางรังผึ้ง

    4.วิธีการดูแล เรียนรู้ศัตรูของผึ้งและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

    5.ประโยชน์ของการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยเราก็จะได้น้ำผึ้งมาไว้กินโดยไม่ต้องซื้อและเหลือกินก็นำไปขายได้ มีรายได้เพิ่มขึ้นมาการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยเราไม่ต้องให้อาหารมันจะหากินเองแล้วเมื่อเวลาดอกไม้ออกดอกมากๆผึ้งจะรวบรวมน้ำหวานของดอกไม้แล้วนำมาเก็บไว้ที่รังเมื่อได้เวลาอันสมควรเราก็ไปเก็บน้ำผึ้งที่รังผึ้งจะได้ปริมาณน้ำผึ้งประมาณรังละ 5 ถึง 10 ลิตรต่อรัง ถ้าเรามี 10 รังก็สามารถเก็บรวบรวมน้ำผึ้งได้ประมาณ 100 ลิตรแล้วขายลิตรละ 500 บาท เราก็มีรายได้เสริมจากการเลี้ยงปีละ 50,000 บาท ซึ้งการลงทุนนั้นไม่ต้องหาหรือซื้ออาหารอะไรเลย จากนั้นเราก็สามารถขายตัวอ่อนของผึ่งหรือลูกผึ้งได้อีก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 170 คน

    2.ผู้เรียนรู้ให้ความสนใจดีมากและเข้าใจวิธีการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

    ผลผลัพธ์

    1.ได้เรียนรู้วิธีการทำรังผึ้งโพรงไทย

    2.ได้เรียนรู้รายได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

    3.เกิดกลุ่มคนสามารถนำไปสู่การจัดทำแผนชุมชนต่อไปได้

     

    170 170

    25. เรียนรุู้การทำผึ่งโพรง ครั้งที่ 2

    วันที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้แนะนำวิทยากรให้ชาวบ้านรู้จักและให้วิทยากรบรรยายวิธีการทำรังผึ้งโดยมีครูภูมิปัญญาหรือครูผึ้งเพื่อทำการสอนแนะนำวิธีการทำรังผึ้งและบอกเทคนิคการตอกตาปูด้านบนต่อไม้อย่างไรไม่ให้มีหรือเห็นไม้ยึดแผ่นกระดานและด้านข้างต่ออย่างไรให้แข็งแรงทำการเจาะรูเพื่อเป็นทางเข้าทางออกของผึ้งอาจจะทำการเจาะรูหรือบากไม้ด้านข้างให้เป็นรูหรือง่ายๆก็ทำการเว้นระยะห่างของไม้ที่ต่อให้ตัวผึ้งลอดผ่านได้เมื่อทำการตอกตาปูยึดแน่นแล้วก็สามารถนำรังผึ้งไปวางได้ และการทำเสาเพื่อจะวางรังผึ้งให้ใช้เป็นฐานเช่นยางนอกของวงล้อจักรยานยนต์หรือกระถางต้นไม้หรือกระป๋องต่างๆที่เราหล่อคอนกรีตแล้วสามารถรับน้ำหนักรังผึ้งได้และเราใช้ท่อพีวีซีทำเป็นเสาตัดท่อยาวประมาณ 1 เมตรแล้วนำไปวางไว้ตรงกลางฐานที่เตรียมไว้จากนั้นก็ทำการเทคอนกรีตและใช้น็อตเกลียวที่ยึดหัวเสาใส่ไว้ให้เกลียวโผล่ขึ้นมาจากปากท่อพีวีซีเพื่อยึดรังผึ้ง เมื่อคอนกรีตแข็งตัวและรับน้ำหนักได้ก็นำไปใช้ได้พร้อมติดตั้งตามบริเวณที่ต้องการได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 170 คน

    2.ได้เรียนรู้การทำรังผึ้งโพรงไทย

    3.ได้เรียนรู้การทำขารังผึ้ง

    ผลลัพธ์

    1.ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจดีมาก

    2.ผู้เข้าร่วมสามารถกลับไปทำเองได้

     

    170 170

    26. เรียนรุู้การทำผึ่งโพรง ครั้งที่ 3

    วันที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมประธานโครงการได้แนะนำให้รู้จักกับวิทยากรผู้บรรยายวันนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการดูแลรังผึ้งและเรียนรู้การเก็บน้ำผึ้งด้วย ถ้านำรังผึ้งไปวางแล้วผึ้งไม่มาอยู่ก็ให้ทำการหมุนรังผึ้งไปเรื่อยๆหมุนไปจนรอบถ้าไม่มาลงอีกก็ต้องย้ายรังผึ้งไปตำแหน่งใหม่แล้วหมุนไปรอบๆสังดูประมาณ 10 วันถ้าไม่มาอยู่อีกก็ต้องหมุนไปอีก เมื่อผึ้งโพรงไทยมาอยู่แล้วก็ดูแลรักษาไม่ให้มดมาขึ้นรังผึ้งป้องกันหรือกำจัดเสียและสังเกตดูยักใยแมงมุมแมงไหมด้วยคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และการเก็บน้ำผึ้งก็เก็บตอนดอกไม้บานจะได้น้ำผึ้งมากที่สุด และรังผึ้งที่ผึ้งชอบหรือเข้ามาอยู่เร็วนั้นต้องเป็นไม้จากต้นทุเรียนเพราะต้นทุเรียนนั้นเมื่อเนื้อไม้แห้งแล้วจะมีกลิ่นหอม ตัวผึ้งก็ชอบกลิ่นหอมของเนื้อไม้ทุเรียนนั้นเอง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่จากการร่วมทำกิจกรรมเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และขนาดของไม้กระดานขนาดหกนิ้วหรือแปดนิ้วความหนาประมาณหนึ่งเช็นติเมตรก็พอแล้วเพราะจะทำให้มีน้ำหนักเบาไม่หนักมากจนเกินไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.ชาวบ้านให้ความสนใจดีมากครบ 170 คน

    2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การวางรังผึ้ง

    3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การเก็บน้ำผึ้ง

    ผลลัพธ์

    1.กลุ่มเป้าหมายมีความมั่นใจที่จะเลี้ยงผึ้งได้เป็นอย่างดี

    2.สามารถเก็บน้ำผึ้งได้ด้วยตนเอง

    3.เกิดการรวมกลุ่มนำไปสู่การจัดทำแผนชุมชนต่อไป

     

    170 170

    27. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 7

    วันที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงว่าที่ผ่านมาได้ทำกิจกรรมสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้มา 2 ครั้งและกิจกรรมเรียนรู้การทำผึ่งโพรงมา 3 ครั้งคือครั้งที่ 1 ได้ให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยและการวางรังผึ้ง และครั้งที่ 2 ก็เป็นการทำรังผึ้งโพรงไทยมีการสอนเรื่องการทำรังผึ้งและฝึกทำส่วนครั้งที่ 3 ก็เป็นการดูแลรังผึ้งและเรียนรู้การเก็บน้ำผึ้ง และในกิจกรรมต่อไปคือการเรียนรู้เกษตรผสมผสานและทำศูนย์เรียนรู้มีอยู่ 2 ครั้ง ขอให้คณะกรรมการช่วยกันประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ตามความต้องการด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทีมสภาผู้นำ จำนวน 30 คน มีการประชุม ปรึกษาหารือและร่วมวางแผนการทำงาน โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ผู้ที่สนใจในการทำกิจกรรม เรียนรู้เกษตรผสมผสาร

    2.สร้างมีส่วนร่วมของทีมสภาผู้นำและคณะทำงาน นำไปสู่การจัดทำกิจกรรมและแผนชุมชนได้

     

    30 30

    28. เรียนรู้เกษตรผสมผสานและทำศูนย์เรียนรุู้ ครั้งที่ 1

    วันที่ 26 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมประธานโครงการได้อธิบายถึงเกษตรผสมผสานว่ามีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตอย่างไรคือมีการปลูกพืชผสมผสานโดยมีการทำการปลูกพืชหลายชนิดคือปลูกทุกอย่างที่กินเช่นผักสวนครัวผักสมุนไพรและก็กินทุกอย่างที่ปลูกและเลี้ยงสัตว์ทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่เลี้ยงเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนและขายได้จากการเหลือกินมีรายได้เสริมด้วย และพืชผักสมุนไพรสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้นำไปขายได้ ขอให้ทุกคนมาศึกษาเรียนรู้วิธีการทำวิธีการปลูกเพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้จากการที่เราศึกษาเรียนรู้ไปทำที่บ้านเพื่อเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและเราก็สามารถบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ปลอดสารพิษทำให้สุขภาพแข็งแรงและสมบูรณ์ไม่เจ็บป่วยเป็นการลดรายจ่ายให้กับครัวเรือนได้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกผู้เข้าร่วมอบรม 130 คน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน เช่น การปลุกผักปลอดสารพิษ ,การปลูกพืชสมุนไพร ซึ่งสมาชิกสามารถนำไปปรับใช้ในครัวเรือนตนเอง ทำให้เกิดการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

    2.สร้างการมีส่วนร่วม ความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน

    3.เกิดการรวมกลุ่มทำงานในกลุ่มสมาชิกของชุมชน

     

    130 130

    29. เรียนรู้เกษตรผสมผสานและทำศูนย์เรียนรุู้ ครั้งที่ 2

    วันที่ 27 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้อธิบายถึงการทำเกษตรผสมผสานปลูกพืชกินเองเป็นอาหารปลอดสารพิษและปลอดภัยและมีการทำปุ๋ยหมักใช้เองโดยไม่ต้องซื้อโดยมาเรียนรู้วิธีทำกันที่ศูนย์เรียนรู้และอบรมการปลูกพืชผสมผสานเป็นการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่แห่งเดียวกันเป็นการช่วยเหลือตนเองได้ประโยชน์หลายอย่างมีกินมีใช้ไม่ต้องซื้อและถ้าเหลือกินเหลือใช้ก็ขายได้มีรายได้เสริมขึ้นมาอีก การทำของใช้ไว้ใช้เองเช่นน้ำยาทำความสะอาดน้ำยาล้างจานน้ำยาซักผ้าน้ำยาปรับผ้านุ่มน้ำยาสระผมและน้ำยานวดผม ก็เป็นการลดรายจ่ายและเหลือใช่ก็ขายได้มีรายได้เสริมและมีอาชีพเสริมต่อไปอีกการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้เองก็เป็นการลดต้นทุนการผลิตหรือลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนด้วย และการปลูกพืชสมุนไพรไว้รักษาโรคภัยไข้เจ็บก็เป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนและขายได้ด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิก 130 คน ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาร และการทำน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน

    • เกิดกลุ่มในการทำงานร่วมกันของสมาชิกในการจัดทำแผนชุมชน และการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป

    • สร้างการมีส่วนร่วม และความสามัคคีของคนในชุมชน

     

    130 130

    30. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 8

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุมและขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกันเป็นอย่างดีและการทำกิจกรรมครั้งต่อไปจะเป็นการทำกิจกรรมการพัฒนาเลี้ยงผึ้งโพรงไทยครั้งที่ 1 โดยต้องใช้คนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 90 คนเพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมที่ให้ได้จำนวนคนตามความต้องการก็ขอให้ทุกคนช่วยกันหาเพื่อนๆหรือกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมและถ้ามีใครสนใจการเลี้ยงผึ้งก็ขอเชิญร่วมกิจกรรมได้เพราะเป็นการอบรมให้ความรู้และแนะนำการทำเท่านั้นทางโครงการไม่ได้แจกอะไรให้แต่ความรู้แล้วกลับไปทำที่บ้านตนเอง และการพัฒนาเป็นการทำสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นและสามารถแนะนำผู้อื่นที่ทำกิจกรรมเหมือนกันให้ได้ดีขึ้นเป็นการแนะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม และกิจกรรมครั้งต่อไปต้องใช้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 90คนให้ทุกคนช่วยกันแจ้งสมาชิกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกันด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทีมสภาผู้นำ จำนวน 30 คน ได้มีการประชุม ปรึกษาหารือ มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน มีการกำหนดแผนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

    2.สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการวางรังผึ้ง การดูแลรักษา หลังจากที่มีการอบรมไปแล้ว และสมาชิกมีการเลี้ยงแล้วในครัวเรือน

     

    30 30

    31. พัฒนากลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง ครั้งที่ 1

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้การทำอาชีพเสริมเลี้ยงผึ้งโพรงไทยครั้งนี้เป็นกิจกรรมการพัฒนาการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการนำปัญหาของกิจกรรมการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยมาแก้ไขจากการนำเทคนิคและประสบการณ์ของแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนกันเช่นการวางรังผึ้ง วางอย่างไร วางแล้วผึ้งลงหรือไม่ถ้าผึ้งไม่มาอยู่ก็ให้หมุนรังผึ้งไปเรื่อยๆหมุนครั้งหนึ่งก็รอดูแลสัก 10 วันคอยสังเกตถ้าผึ้งยังไม่มาอยู่อีกก็ทำการหมุนอีก ถ้ายังไม่มาอยู่อีกหมุนจนรอบแล้วยังไม่มาอยู่ก็ให้ทำการเลื่อนที่ตั้งใหม่แล้วหมุนปากรูหรือหมุนรังผึ้งไปเรื่อยๆทำอย่างนี้จนผึ้งเข้ามาอยู่อาศัย และการพัฒนาเลี้ยงผึ้งโพรงไทยครั้งนี้เป็นการนำปัญหาเรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยมาแก้ไขใครมีปัญญาอะไรบ้างก็นำมาเสนอเพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน ได้เรียนรู้เทคนิคการวางรังผึ้งเพิ่มเติม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาได้ต่อยอดได้ เช่น การวางรังผึ้ง รู้การวางรังผึ้ง

    • เกิดการรวมกลุ่มกันในการทำงานร่วมกัน

    • เกิดแนวคิดในการจัดทำกิจกรรมและแผนชุมชนในระยะต่อไป

     

    90 90

    32. ถอดบทเรียน

    วันที่ 10 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการถอดบทเรียนเพื่อเป็นการพัฒนาประเด็นต่างๆเช่นการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย การปลูกสมุนไพร การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ จะได้องค์ความรู้ใหม่และจุดดีจุดเด่นและสิ่งที่ควรปรับปรุงที่เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากชุมชน เช่นการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยเราสมควรใช้ไม้กระดานกั้นดีกว่าใช้ไม้กระดานปูพื้นบ้านเพราะมันหนักและราคาแพงกว่า และถ้าได้ไม้จากต้นทุเรียนมาทำผึ้งก็จะมาอยู่เร็วเพราะมันชอบกลิ่นของต้นทุเรียนและการปลูกพืชสมุนไพรก็สามารถนำสมุนไพรมาใช้ในครัวเรือนมารักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ไม่เจ็บป่วยเป็นการลดรายจ่ายของครัวเรือนด้วยและการทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองสามารถลดต้นทุนใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีเป็นการประหยัดลดต้นทุนการผลิตได้และเราก็ได้อาหารปลอดสารพิษจากการที่เราปลูกผักกินเองและทำปุ๋ยใช้เอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 70 คน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีการสะท้อนจุดเด่น จุดด้อยในการทำกิจกรรมโดยเฉพาะการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ดังนี้ 1.) ได้รู้ว่าใช้ไม้กระดานกั้นชนิดบางดีกว่า 2.) ได้รู้ว่าใช้ไม้ทุเรียนทำรังผึ้งดีกว่าไม้ชนิดอื่น

    2.เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ในการทำกิจกรรมร่วมกัน นำไปสู่การกำหนดแผนการทำงานในระยะต่อไป

     

    70 70

    33. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 9

    วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุมและขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ช่วยทำให้กิจกรรมที่ผ่านมาได้ประสบความสำเร็จและกิจกรรมต่อไปก็เป็นกิจกรรมพัฒนากลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทยครั้งที่ 2 โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย 90 คน ก็ให้ทุกท่านได้ช่วยกันหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมกันด้วยและกลุ่มเป้าหมายก็คนที่เลี้ยงผึ้งโพรงไทยหรือคนที่มีความสนใจที่จะเลี้ยงผึ้งโพรงไทยเพื่อจะได้กลุ่มบุคคลเป้าหมายไปทิศทางเดียวกันและจะได้เทคนิคต่างๆและประสบการณ์ต่างๆเพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดต่อไป และการพัฒนากลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทยเป็นการทำให้ดีขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ทำมาจนประสบความสำเร็จและสามารถแนะนำแบ่งปันให้คนอื่นได้นำไปใช้ได้จริง จากการแลกเปลี่ยนความรู้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้มาใหม่ คือทุกคนต้องพร้อมที่จะถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ศึกษาเรียนรู้ไม่หวงวิชาความรู้เอาใว้ต่างคนต่างแลกเปลี่ยนกันเพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุดกับกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทีมสภาผู้นำ จำนวน 30 คน มีการประชุม ปรึกษาหารือและร่วมวางแผนการทำงาน

    2.สร้างมีส่วนร่วมของทีมสภาผู้นำและคณะทำงาน นำไปสู่การจัดทำกิจกรรมและแผนชุมชนได้

     

    30 30

    34. พัฒนากลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง ครั้งที่ 2

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสมาชิกกลุ่มและครูภูมิปัญญาหรือครูผึ้ง การพัฒนาคือการทำให้ดีขึ้นจากประสบการณ์ของแต่ละคนที่ได้ไปทำมาได้เกิดเทคนิคหรือเกิดประสบการณ์รวมทั้งเกิดปัญหาขึ้นมาก็สามารถนำมาปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาได้ เช่นการตั้งรังผึ้งจะต้องตั้งลักษณะอย่างไรปากรูหันไปทางไหน รวมถึงการปลูกต้นไม้ต่างๆที่ให้น้ำหวานและการวางกฏกติกาต่างๆเช่นเราต้องไม่ฉีดหญ้าไม่ฆ่าหญ้าด้วยสารเคมีเพราะจะทำให้ตัวผึ้งตายและส่วนที่เหลือก็จะหนีไปอยู่ที่อื่น และนำประสบการณ์ของแต่ละคนที่ประสบผลสำเร็จที่เป็นองค์ความรู้ใหม่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและสามารถไปแนะนำผู้อื่นได้ประสบผลสำเร็จเหมือนกันจากการทำกิจกรรมจะได้ประโยชน์เป็นอย่างดี จากการที่แต่ละคนได้ไปทำกิจกรรมมาแล้วก็เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน มีการจัดทำข้อตกลงกฏกติกา ห้ามฉีดยาฆ่าหญ้าและห้ามใช้สารเคมี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเลี้ยงผึ้ง ทำให้ผลผลิตของน้ำผึ้งมีความปลอดภัยทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค และเชื่อมโยงในเรื่องของความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่บ้านยางในลุ่ม

    2.เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดการแบ่งปัน เอื้ออาทร

    3.เกิดกระบวนการกลุ่มและสามารถนำไปสู่การจัดทำแผนต่อไป

     

    90 90

    35. สรุปโครงการและเผยแพร่

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรมสรุปโครงการและเผยแพร่ เพื่อจะได้สรุปผลของการดำเนินงาน และได้บทเรียนและองค์ความรู้ใหม่ๆได้เผยแพร่ให้ชุมชนและประชาชนได้รับทราบเช่นจากการทำกิจกรรมการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยก็ไดัเกิดเทคนิคหรือภูมิปัญญาจากประสบการณ์ที่ได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยนำมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับทราบและนำไปใช้ได้กับของตนเอง จากการทำกิจกรรมปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือนโดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีเราก็ไดัลดรายจ่ายและปลอดภัยจากการที่เราทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้เองและจากกิจกรรมของการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองผลประโยชน์ที่ได้รับคือการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและได้อาหารที่ปลอดภัยปลอดสารพิษไว้กินเองถ้าเหลือเราก็นำไปขายมีรายได้เสริมก็เป็นการสร้างภูมิปัญญาสร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 170 คน ได้สะท้อนความคิดเห็น จากการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่สมาชิกได้เรียนรู้ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตและครัวเรือน ทำให้เกิดความมั่นคงในด้านอาชีพ รายได้ และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เช่น การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย , การลดใช้สารเคมี

    2.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การสร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้

    3.เกิดแกนนำ ต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ แนะนำผู้อื่นจากประสบการณ์ของตัวเอง เช่น การเลี้ยงผึ้ง ,การทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อลดใช้สารเคมี ,การทำน้ำยาล้างจานใช้เอง ทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

     

    170 170

    36. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1

    วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของคนในชุมชนและครูภูมิปัญญาของชุมชนเพื่อจะได้นำความรู้และประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกันเช่นนายสมนึก ศิริมาศ ซึ่งเป็นครูสอนหรือครูภูมิปัญญาของการเลี้ยงผึ้งได้บอกว่า การวางรังผึ้งถ้าเราวางแล้วผึ้งไม่มาอย่ให้เราหมุนรอบผึ้ง ให้ปากรังผึ้งเปลี่ยนทิศทางไปเรื่อยๆเพื่อให้มาอยู่ ถ้าเราหมุนจนรอบแล้วผึ้งยังไม่มาอยู่ก็ให้เลื่อนที่ตั้งรังใหม่ และการหมุนและการย้ายรังนั้นครั้งหนึ่งใช้เวลาสัก 7 วัน เราต้องคอยดูคอยสังเกต ประธานโครงการได้สรุปให้เห็นว่าการกระทำของแต่ละคนไม่เหมือนกันเช่นการวางรังผึ้งประสบการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกันเราสามารถนำความรู้นำประสบการณ์ของคนอื่นไปใช้ได้หรือเทคนิคของคนอื่นไปใช้ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วม 50 คน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกัน จากการประชุมทำให้เห็นภูมิปัญญาชาวบ้านและได้ครูภูมิปัญญาของชุมชนแนะเทคนิคการวางรังผึ้ง เช่นการวางรังผึ้งแล้วตัวผึ้งไม่มาอยู่ให้ทำการหมุนรังผึ้งไปรอบ หรืือกรณีหมุนรอบแล้วยังไม่มาอยู่ก็ให้ทำการเลื่อนที่ตั้งใหม่

    2.เกิดกระบวนการรวมกลุ่มและนำไปสู่การทำแผนชุมชนต่อไป

     

    50 50

    37. ครั้งที่ 4 การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงโครงการได้ทำการตรวจความถูกต้องของรายงานในระบบเว้ปไวต์ คนใต้สร้างสุข

    • โครงการภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่มได้มีการตรวจสอบและผ่านการตรวจสอบเป็นที่ถูกต้องเรียบร้อย โดยทีม สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 2 คน

    • ทีม สจรส.มอ. มีการตรวจรายงานโครงการในระบบเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข เอกสารการเงิน ภาพถ่ายกิจกรรมในการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

     

    2 2

    38. สภาผู้นำบ้านยางในลุ่ม ครั้งที่ 10

    วันที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุมและขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ร่วมทำกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมครั้งต่อไปจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 และขอให้ทุกคนช่วยกันหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมกันด้วยนะ คือเราจะต้องหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องทำกิจกรรมการปลูกพืชผสมผสานและกลุ่มผู้ที่เลี้ยงผึ้งโพรงไทยมาร่วมกิจกรรมในครั้งต่อไปเพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้ไปทำมาแล้วนำความสำเร็จจากการทำกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จมาบอกให้คนอื่นๆได้รู้ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้เกิดประโยชน์ต่อไป คือการทำอย่างไรให้ประหยัดและได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้นำความรู้และองค์ความรู้มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อจะได้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทีมสภาผู้นำ จำนวน 30 คน มีการประชุม ปรึกษาหารือและร่วมวางแผนการทำงาน โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ผู้ที่สนใจในการทำกิจกรรม เรียนรู้เกษตรผสมผสาร

    2.สร้างมีส่วนร่วมของทีมสภาผู้นำและคณะทำงาน นำไปสู่การจัดทำกิจกรรมและแผนชุมชนได้

    3.ทีมสภาผู้นำที่เข้มแข็ง

     

    30 30

    39. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ก็เช่นกันเราจะได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันอย่างเต็มที่เลยนะจากประสบการณ์ของแต่ละคนที่ได้ไปทำกิจกรรมการปลูกพืชผสมผสานและปลอดภัยหรือปลอดสารพิษและสารเคมีจะเห็นว่าการปลูกพืชผสมผสานไว้กินเองครั้งนี้ได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น 1.ไม่ต้องซื้อ 2.ปลอดภัย 3.สุขภาพดี 4.ประหยัด 5.มีรายได้เพิ่มขึ้น 6.มีความสุข 7.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 8.การมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว 9.ลดปัญหายาเสพติดได้ ส่วนกิจกรรมของการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยแน่นอนเราจะได้น้ำผึ้งมาไว้กินเองและได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายน้ำผึ้ง เป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนและเป็นการเพิ่มรายได้และสามารถนำเงินไปปลดหนี้ได้ ทั้งนี้ก็จะเป็นการสร้างภูมิปัญญาเพิ่มรายได้สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่มต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปลูกพืชผสมผสาน

    2.เกิดการมีส่วนร่วมของคนในสังคมจะได้นำไปสู่การจัดทำแผนชุมชนต่อไป

     

    50 50

    40. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3

    วันที่ 26 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม : ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมโครงการ ครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 แล้วทำให้เข้าใจถึงการสร้างภูมิปัญญาปลดหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างร้งผึ้งโพรงไทยการสร้างรังผึ้งต้องใช้ไม้จากต้นทุเรียนเพราะเวลาเนื้อไม้แห้งแล้วทำให้มีกลิ่นหอม ตัวผึ้งชอบมากเลยดังนั้นจึงต้องให้ทุกคนช่วยกันหาไม้กระดานจากต้นทุเรียนมาทำรังผึ้ง เพื่อประโยชน์สูงสุดกับการทำรังผึ้ง เพราะตัวผึ้งจะได้เข้ามาอยู่ในรังผึ้งที่พวกท่านทำ นี้เป็นความรู้ใหม่ที่หลายคนยังไม่รู้ ส่วนการทำขารังผึ้งแล้วแต่ใครจะถนัดใช้กระถางต้นไม้หรือกระป๋องสีหรือถังพลาสติกหรือใช้โอ่งหรืออ่าง สิ่งสำคัญคือต้องให้น้ำขังอยู่ให้ได้เพื่อป้องกันมด ที่จะไปทำลายรังผึ้งและกินน้ำผึ้งแล้วแต่ว่าแต่ละคนจะใช้อะไรในการทำซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้ทำกันมา และต่อไปเราจะทำอย่างไรที่ประหยัดที่สุดและมีประโยชน์ที่สุด และการปลูกพืชผสมผสานเราจะเห็นว่าการปลูกมะนาวช่วยให้ตัวผึ้งได้มีกลิ่นฉุนไว้ป้องกันตัวในขณะที่มีศัตรูเข้ามาใกล้รังผึ้งม้นจะกระพือปีกและขับกลิ่นฉุนออกมาไล่ศัตรูออกไป และการปลูกพืชผสมผสานก็ปราศจากสารเคมีทุกอย่าง เพราะผึ้งจะไม่หนีไปไหน มันจะอยู่กับเราชุมชนเราตลอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วม 50 คน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกัน ในการทำเกษตรผสมผสาร ,การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

    2.เกิดกระบวนการรวมกลุ่มและนำไปสู่การทำแผนชุมชนต่อไป

     

    50 50

    41. ครั้งที่ 2 ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 2 คน ได้จัดทำรายงานปิดโครงการ การจัดภาพถ่ายกิจกรรม เพื่อดำเนินการให้เสร็จและนำส่ง สสส.ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดรายงานผลการดำเนินงานของโครงการในระบบเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข มีการบันทึกข้อมูล ภาพถ่ายกิจกรรม และการจัดทำรายงานปิด ง.1 งวด 2 ง.2 ส.3 ส.4 และสามารถนำส่ง สสส. ได้

     

    2 2

    42. เข้าร่วมงานคนใต้สร้างสุข ที่ สจรส.มอ.ภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันจันทร์ ที่ 3ตุลาคม ๒๕๕๙ 12.00 - 13.00น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย 13.00 - 13.10น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 13.10- 13.30น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 13.30 - 15.00น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 15.00 - 15.30น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) 15.30-17.00น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 12ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช 18.00 - 20.00น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ 08.00 - 09.00น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม 09.00 - 12.00น.การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • 09.00 -12.00น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข 12.00 -14.00น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 14.00-17.00น. การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) 2. ความมั่นคงทางอาหาร 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) 6.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว 7.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม 14.00-17.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 2 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) 18.00 -20.00น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันพุธที่ 5ตุลาคม 255908.00 - 09.00น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 09.00-10.30น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 10.30 11.45น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ 11.45 -12.00น. พิธีปิด


    ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ 1.การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส. 2.สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำสสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใครทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียนและทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด 3.การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กรเชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการวันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็มโครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอทีหลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีอาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้การทำงานสุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีกลุ่มภาคีเครื่อข่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยน เช่น หัวข้อกองทุนตำบล,ชุมชนน่าอยู่ ,การท่องเที่ยว ,ปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น ตลอดจนได้เยี่ยมชมลานนิทรรศการที่เครื่อข่ายต่าง ๆ ได้แสดงและจำหน่ายผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน 2. การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น

    1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน จำนวน 10 ครั้ง

    2.ประชุมสภาผู้นำทุกครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมร้อยละ 95

    3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านร่วมด้วย

    2 เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้จากการเลี้ยงผึ้งด้วยภูมิปัญญา
    ตัวชี้วัด : 1. มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม 100 ครัวเรือน(จากทั้งหมด 170 ครัวเรือน) 2. ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 85 3. ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้จากน้ำผึ้งที่เลี้ยงด้วยภูมิปัญญา ครัวเรือนละ 30,000 บาท(เป้าหมาย 100 ครัวx 30,000 บาท รวมเป็นเงิน3,000,000 บาท) 4. มีแหล่งเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงจากภูมิปัญญา 1 แห่ง

    1.ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมเป้าหมาย 100 ครัวเรือน แต่เข้าร่วมกิจกรรมจริง 170 ครัวเรือน

    2.ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 100

    3.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้จากน้ำผึ้งที่เลี้ยงด้วยภูมิปัญญาเฉลี่ย 25,000 บาท (ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ ครัวเรือนละ 30,000 บาท)

    4.มีแหล่งเรียนรู้ 3 แหล่ง คือ การเลี้ยงผึ้งโพรงจากภูมิปัญญาเกษตรผสมผสานและการแปรรูปสมุนไพร

    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.คณะทำงานเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด)

    2.จัดทำป้ายโครงการและป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม ทุกครั้ง

    3.มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ร้อยละ 100

    4.จัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง (2) เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้จากการเลี้ยงผึ้งด้วยภูมิปัญญา (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    รหัสโครงการ 58-03889 รหัสสัญญา 58-00-2026 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ความรู้ ทำให้มีความรู้ใหม่คือ -การปลูกผักหวาน ปลูกกล้วย การปลูกผักทุกชนิดต้องมีการเรียนรู้ ไม่ใช่ปลูกอย่างไรก็ได้
    -มีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก และการทำชีวภาพ
    -การปลูกผักไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี
    -ได้เรียนรู้เรื่องสิ่งเหลือใช้ มาใช้ทำชีวภาพ เช่น น้ำหมักผสมน้ำเยี่ยว -มีการพูดคุยกับผู้สูงอายุ

    บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ผลผลิตที่เกิดจากโครงการ 1.ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ 2.การทำบัญชีครัวเรือน
    3.ยาหม่องสมุนไพร

    บันทึกถอดบทเรียน และภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เดิมมีการทำงานเฉพาะบางกลุ่ม ตอนนี้มีการทำงานร่วมกันทังผู้สูงอายุ เยาวชน และทีมงาน ทำให้เกิดคุณค่าการทำงาน

    เอกสารถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มในพื้นทีมีการทำกลุ่มในพื้นที่ ทำให้เกิดผลดีคือ
    -มีผู้สูงอายุเข้ามารทำกิจกรรมในกลุ่ม และการทำกลุ่มต้องมีเยาวชนมาช่วยกันทำน้ำยา สบู่

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    1.ได้ความรู้ เพราะเกิดผลิตภัณฑ์แล้ว น้ำผึ้ง เกิดความสงสัย เช่น คนที่เป็นเบาหวานกินน้ำผึ้งได้มั้ย ผู้รู้บอกว่า น้ำผึ้งเป็นกรด ความหวาน มาจากดอกไม้ชนิด พี่ได้เลยแก้ปัญหาให้กับประชานชน 2.เกิดความร่วมมือ ความสามัคคี ช่วงแรกไม่ค่อยเท่าไร ปีแรกไม่ค่อยเท่าไรปีต่อมา คนเข้ามาเพิ่มขึ้นการเป็นผู้นำไม่ต้องมีตำแหน่งก็ได้

    เอกสารถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    กิจกรรมตามโครงการเน้นให้มีการปลูกผัก เช่น ผักหวาน ดีปลี มะเขือผักเหรียงปลูกไว้กิน เหลือขาย อาทิตย์ละ 200 บาท ทำกิจกรรมแล้วสิงที่ได้คือได้กินผักที่ปลูก ใครมาขอก็ให้ เพิ่มรายได้มีความสุข การเปลี่ยนแปลงตนเอง คือ สุขภาพดี ไม่เข็ดเมื่อย ได้ออกแรง ได้ออกกำลังกายคนในครอบครัว เปลี่ยนแปลง มีการเห็นด้วยเพื่อนบ้าน มีการเปลี่ยนแปลง บางคนก็ทำ บางคนไม่ทำ บางคนปลูกพอกินบางคนปลูกพออยู่ได้
    กิจกรรมมีการประชุม มีการพูด แต่ทำเป็นกลุ่มเล็กๆ จากกลุ่มเล็กก็พาไปพูดคุยกัน

    บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    มีการออกกำลังกายและออกแรงจากการปลูก

    บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    สถานที่ประชุมติดป้ายรณรงค์เรื่องเหล่าบุหรี่

    ภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    กิจกรรมของโครงการ ได้มีการเรียนรู้เรื่องผึ้ง ผึ้งมาอยู่เอง ได้น้ำผึ้ง ได้ประมาณ 20 ขวด มีรังผึ้ง 34 รัง ตั้งรังไว้ข้างบ้าน ปลูกผักข้างบ้าน ปลูกไว้กิน ปลูกไว้ขาย เหลือแจกขายได้เดือนละ 3000 บาท

    กิจกรรมถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    โครงการนี้ได้ปลูกผัก ปลูกกล้วย ได้ออกแรง สิ่งที่เหลือจากในบ้าน ในครัว เราก็นำมาทำปุ๋ยหมัก น้หมักชีวภาพ ของที่ทำในครัว ไม่ได้ซื้อเลย

    บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ปลูกกล้วย ได้ขาย ได้กิน ปลูกขมิ้น ปลูกมะนาว นอกจากกินแล้ว ขาย ขายได้เดือนละ 3000 บาท

    ถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    การทำงาน ทุกคนต้องสมัครเป็นสมาชิก และเข้าร่วมกิจกรรมถึงจะได้สิทธิ

    การประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    สิ่งที่ภูมิใจ ผอ.ศูนย์ผึ้ง จ.ชุมพร จะจัดสรรงบประมาณให้ทำให้ชุมชนมีโอกาส ทุนต่างๆ ก็จะเข้ามาสมทบ ผู้สูงอายุมีงานทำ โดยการหยอดสบู่ กวนน้ำยา ทำให้มีอาชีพเสริม

    ถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    เกิดกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเอง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2) จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03889

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง สุภาพร ศรีเพิ่ม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด