แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง) ”

บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93150

หัวหน้าโครงการ
นาง ยุภา ธนนิมิตร

ชื่อโครงการ นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)

ที่อยู่ บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93150 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 58-03832 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1933

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง) จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93150

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)



บทคัดย่อ

โครงการ " นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93150 รหัสโครงการ 58-03832 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 207,820.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 148 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้คนในชุมชนผลิดข้าวอินทรีย์กินเอง
  2. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี/เรื่องต้นทุนการผลิต/เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์
  3. เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมสภาผู้นำชุมชนร่วมกับคนในชุมชน เพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ (เปิดตัวโครงการ)และรับสมัครครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวอินทรีย์

    วันที่ 18 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และวิทยากรให้ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชนมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ พร้อมกับเปิดตัวโครงการและรับสมัครครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานโครงการและคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ การผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชนเพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ ได้ครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวอินทรีย์ จำนวน 30 ครัวเรือน 30 คน

     

    138 112

    2. ปฐมนิเทศโครงการร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันแรกช่วงเช้า วิทยากรโดยทีม สจรส.ม.อ.กล่าวเปิดต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการโครงการ,การจัดทำรายงานการเงิน,หลักเกณฑ์ในการโอนเงินซึ่งจะแบ่งเป็น 3 งวด ช่วงบ่าย วิทยากรจาก สจรส.มอ ให้ความรู้เรื่องโปรแกรมแบบใหม่ในการลงปฎิทินรายละเอียดโครงการ
    • วันที่สอง แต่ละพื้นที่โครงการลงปฎิทินการดำเนินกิจกรรมโครงการ และวิทยากรให้ความรู้ต่อเรื่องการรายงานกิจกรรมโครงการลงในโปรแกรมเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการโครงการ,การจัดทำรายงานการเงิน,หลักเกณฑ์ในการโอนเงินซึ่งจะแบ่งเป็น 3 งวด สามารถลงโปรแกรมแบบใหม่และลงปฎิทินรายละเอียดโครงการรวมไปถึงการจัดรายงานกิจกรรมโครงการได้อย่างถูกต้อง

     

    2 3

    3. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำชุมชนทุกคนมีการเสนอแนวคิดใหม่ ๆ มีแผนในการทำงานร่วมกันกับตัวแทนครัวเรือนผู้ทำนา 30 คน 30 ไร่ มีตัวแทนครัวเรือนนำร่องในการทำนาอินทรีย์ จำนวน 3 ไร่

     

    33 27

    4. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 1

    วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม โดยสภาผู้นำชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการประชุมได้เห็นความร่วมมือของคนในชุมชน มีการนำเสนอปัญหา และแสดงความคิดเห็นในเรื่องการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนหันมาดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น มีแนวคิดในการบริโภคอาหารและข้าวที่ปลอดสารพิษไว้บริโภคเองในครัวเรือน หลายครัวเรือนสมัครใจที่เข้าร่วมโครงการในการผลิดข้าวอินทรีย์

     

    60 81

    5. เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชีโครงการนาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการเบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชีโครงการนาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม

     

    1 1

    6. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 2

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานโครงการและสภาผู้นำชุมชนประชุมปรึกษาหารือการดำเนินกิจกรรมของโครงการ นำปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมมาแก้ปัญหาร่วมในเวทีประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการและสภาผู้นำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม

     

    60 80

    7. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 15.00 น. มีการประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ในวันนี้ประชุมเตรียมงานการสำรวจข้อมูลนาข้าวในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมได้ มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมร่วมกัน มีการวางแผนงานการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จากการประชุมมีการกำหนดจะจัดกิจกรรมจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวชุมชนและประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลร่วมกับทีมสำรวจข้อมูลในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้สภาผู้นำชุมชนแต่ละคนรับผิดชอบร่วมกัน เนื่องจากแผนงานเดิมไม่สามารถจัดกิจกรรมได้เพราะเข้าช่วงฤดูฝน

     

    33 28

    8. อบรมการเขียนรายงาน เอกสารการเงินและการบริหารจัดการ

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อบรมการเขียนรายงาน เอกสารการเงินและการบริหารจัดการ โดยทีม สจรส.ม.อ. ได้บรรยายให้ความรู้เรื่องการเขียนรายงานกิจกรรม การจัดทำเอกสารการเงิน และการหักภาษี ณ ที่จ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงาน เอกสารการเงินและการบริหารจัดการ และการหักภาษี ณ ที่จ่ายมากขึ้น ว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ รายจ่ายหมวดค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำป้าย ค่าจ้างประกอบการทำอาหาร ค่าเช่าสถานที่ ค่าวัสดุในพื้นที่ เช่น ขี้วัว แกลบ ค่าเช่าเหมารถ ค่าจ้างทำหนังสือ/เอกสารซึ่งจะต้องหักภาษี 1 % หากมีการจ่ายเงินเกิน 1,000 บาท

     

    2 1

    9. เวทียกร่างข้อตกลงการทำนาอินทรีย์

    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรเวทีได้นำคุยในเรื่องประเด็นนาอินทรีย์โดยวิธีการสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่านาอินทรีย์เป็นอย่างไร ตัวแทนผู้ทำนาอินทรีย์ได้ช่วยกันระดมความคิดเห็นว่านาอินทรีย์คือการทำนาที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเลยแต่ใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพแทน หลังจากนั้นก็ได้มีการยกร่างข้อตกลงการทำนาอินทรย์ร่วมกัน ดังนี้

    1. ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี
    2. ไม่มีการใช้สารเคมี
    3. ผลผลิตที่ได้จากการทำนาไว้กินเองในครัวเรือน เหลือแบ่งปันและขายได้
    4. ผู้ทำนาต้องคืนพันธ์ข้าว ไร่ละ 25 กก. ( ตามผลผลิตที่ได้ )
    5. หากผลผลิตเสียหายให้ถือว่าข้อตกลงที่วางไว้ไม่เป็นผล
    6. สำหรับแปลงสาธิตจำนวน 3 ไร่ ให้เก็บพันธ์ และมีการลงแขกในการเก็บเกี่ยว
    7. ผู้ทำนาทุกคนจะต้องมีการเก็บข้อมูลด้านต้นทุนการผลิต การเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้จากการทำนาอินทรีย์ทุกแปลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนครัวเรือนผู้ทำนาอินทรีย์จำนวน 15 ราย 30 ไร่ได้ร่วมรับรู้ข้อตกลงร่วมกันและมีแนวทางที่จะถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีกฏระเบียบการผลิตข้าวอินทรีย์และประกาศใช้กฏระเบียบการทำนาอินทรีย์ร่วมกัน

     

    26 30

    10. จัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวชุมชน

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรเวทีร่วมกับคณะทำงานโครงการและตัวแทนสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้ร่วมกันออกแบบการเก็บข้อมูล ออกแบบเครื่องมือ ผลิตเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่

    1. จัดทำข้อมูลนา ข้อมูลเรื่องการผลิตข้าวชุมชน โดยวิธีการสอบถามว่ามีนาหรือไม่มีถ้ามีจำนวนกี่ไร่ ทำเองหรือให้เขาเช่า
    2. ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีหรือไม่
    3. ข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต จำนวนพันธ์ข้าวไร่ละกี่กิโล กิโล ละกี่บาท ค่าไถ ค่าตัดข้าว
    4. ข้อมูลชนิด ปริมาณการกินข้าว ใช้พันธ์อะไรในการปลูก คนในชุมชนกินข้าวพันธุ์อะไร ราคาข้างที่ซื้อกิโลละกี่บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการ / ตัวแทนสมาชิกผู้ทำนาอินทรีย์ เด็กเยาวชนร่วมกันออกแบบเครื่องมือที่ง่ายในการเก็บข้อมูลของคนในชุมชนและได้เครื่องมือที่มีรายละเอียดครอบคลุมข้อมูลในชุมชน สามารถลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลได้

     

    30 30

    11. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 3

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผนและรายงานผลการติดตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการพร้อมด้วยสภาผู้นำชุมชนมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้และสามารถดำเนินงานตามแผนงานรวมไปถึงการสรุปผลการดำเนินได้อย่างถูกต้อง

     

    60 80

    12. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน สภาผู้นำชุมชนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีการรายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ได้รับทราบร่วมกันเพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน

     

    33 33

    13. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 1

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม และชี้แจงขั้นตอนการทำนาอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มทำนำอินทรีย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ว่าเป็นการทำนาที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเลย แต่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนทั้งหมดและมีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากหลายคนเล็งเห็นและใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น

     

    30 33

    14. รู้ทำ รู้ใช้อินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 1

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เรียนรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพและการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ โดยมีวิทยากรช่วยแนะนำและสอนให้ทำ มีด้วยกันหลายสูตร
    1. สูตรผักสด ส่วนประกอบ มีหน่อกล้วย 6 ส่วน หน่อไม้ 6 ส่วน ผักบุ้ง 6 ส่วนรำข้าว 2 กก.กากน้ำตาล 6 ลิตร (หากไม่มีผักดังกล่าวให้ใช้ผักอื่น ๆ ที่อุ้มน้ำได้ตามอัตราส่วน) สูตรผักสดเหมาะกับบำรุง ราก ลำต้น ใบ
    2. สูตรผลไม้ส่วนประกอบ กล้วยสุก6 ส่วน มะละกออ 6 ส่วน ฟักทอง 6 ส่วนรำข้าว 2 กก.กากน้ำตาล 6 ลิตร วิธีการทำ 1) ให้แยกทำทีละสูตร นำส่วนผสมแต่ละอย่างสับให้ละเอียด ผสมกับรำข้าวคลุกเคล้าให้เข้ากันใส่ถังปิดฝา 2) ใส่กากน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาไว้ 7 วัน แล้วเปิดฝาใช้ไม้กวนให้ข้างล่างขึ้นข้างบนปิดฝาไว้อีก7 วัน 3) หมักได้ประมาณ2 สัปดาห์ กรองเอาแต่น้ำจะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่สามารถนำไปขยายต่อได้ หรือนำไปใช้กับพืชผักในอัตราที่เจือจาง สูตรผลไม้เหมาะกับการติดดอก บำรุงผล และรสชาติ ซึ่งทั้ง 2 สูตรสามารถใช้ร่วมกันได้
    3. น้ำหมักหอยเชอรี่ ส่วนประกอบ หอยเชอรี่ 60 กิโลกรัมใส่กระสอบทุกให้แตกหรือบด ใส่ถังหมัก 200 ลิตร ใส่น้ำสะอาดไม่ต้องเต็มถัง ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำ 5 ลิตร กากน้ำตาล 5 ลิตร คนให้เข้ากันปิดฝาหมักไว้ 1 เดือนก็ใช้ได้
    4. สมุนไพรป้องกันแมลง ศัตรูพืช ส่วนประกอบ บอระเพชร 1 ส่วน ยูคาลิปตัศ 1 ส่วน สะเดา 1 ส่วน วิธีการทำ นำส่วนผสมสับหรือตำให้ละเอียดใส่ถังหมักเติมน้ำสะอาดพอท่วมส่วนผสม ปิดฝาหมักไว้ 1 คืน กรองเอาน้ำไปใช้ 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันแมลงศัตรูพืช
    5. น้ำหมักหอยเชอรี่ผสมผลไม้ ส่วนประกอบ หอยเชอรี 60 กิโลกรัมใส่กระสอบทุบให้แตก หรือบด สัปปะรด 3 กิโลกรัม มะละกอ 3 กิโลกรัม สับละเอียดใส่ถังหมัก 200 ลิตร ใส่น้ำสะอาดพอท่วม กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม หมักไว้ 20 วันนำน้ำหมักไปใช้รดพืชผักผสมให้เจือจาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มทำนาและตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ สามารถทำน้ำหมักได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี และผลผลิตที่ได้ในวันนี้จะเอาไปใช้ที่บ้านเพื่อรดผักและต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือน

     

    73 75

    15. เรียนรู้พื้นที่"เพื่อนนาอินทรีย์ต้นแบบ"

    วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เรียนรู้การทำนาอินทรีย์ การบริหารจัดการกลุ่มองค์กรเรื่องนาอินทรีย์ ณ บ้านนาปะขอ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว และเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ครบวงจร ณ บ้านท่าช้าง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครัวเรือนนำร่องจำนวน 30 ครัวเรือนมีความรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยและสามารถนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของชุมชนเองได้ มีการแลกเปลี่ยนรู้ร่วมกัน รู้จักพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมากขึ้น เช่น ข้าวหัวนา ข้าวเบล์หอม ข้าวสังข์หยด

     

    40 42

    16. สร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ครั้งที่ 1

    วันที่ 2 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เกิดแปลงนาสาธิตจำนวน 1ไร่ แบบนาหว่าน โดยมีคนในชุมชนช่วยกันทำ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแปลง การไถ การเตรียมพันธ์ข้าว วิธีการทำนาหว่านจะแช่ข้าวปลูกไว้ 1 คืนและยกขึ้นไว้บนที่แห้งตั้งไว้อีก 2 คืนก็สามารถนำไปหว่านได้ นาข้าว 1 ไร่ใช้ข้าวปลูกประมาณ 25 กิโลกรัม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดแปลงนาสาธิตแบบนาหว่านจำนวน 1 ไร่ เพื่อการเรียนรู้ระบบการผลิตข้าวปลอดภัยที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ของพื้นที่ชุมชนโดยสมาชิกกลุ่มทำนาร่วมกับเด็กเยาวชนในหมู่บ้านช่วยกันทำช่วยกันดูแล เด็กเยาวชนสนุกกับการทำนาเพราะบางคนไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ไปช่วยผู้ปกครองทำเลย

     

    40 42

    17. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 4

    วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผนและรายงานผลการติดตาม ให้สภาผู้นำชุมชนได้เสนอแนะปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนที่วางไว้

     

    60 64

    18. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 4

    วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำเดือนมกราคม สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน เพื่อจะได้ช่วยกันคิดเสนอแนะแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่อไป และรวมถึงวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนและวิธีการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน สามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแก้ปัญหาร่วมกันได้

     

    33 33

    19. รู้ทำ รู้ใช้อินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 2

    วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพร่วมกับตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยมีวิทยากรแนะนำการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ คือสิ่งที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชซากสัตว์รวมถึงสิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์ที่ทับถมบนดิน หรือคลุกเคล้าอยู่ในดิน อินทรียวัตถุ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ เป็นแหล่งที่ให้อาหารพืช ทำให้ดินตรึงธาตุอาหารไว้ไม่ให้ถูกชะล้างลงในดินชั้นล่าง ช่วยให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำดีขึ้น และช่วยให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์สามารถทำได้ 2 แบบ คือ ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีส่วนผสมหลายอย่างและมีสูตรที่ไม่ตายตัวสามารถปรับสูตรให้เหมาะสมได้ตามชนิดของวัสดุที่ใช้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ถ้าหากนำจุลินทรีย์มาช่วยย่อยสลายก็จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมายา (AM) ส่วนผสมขนาด 2 ตัน 1. มูลสัตว์ (ขี้วัว) 1,000 กก. 2. แกลบดิบ 300 กก. 3. แกลบดำ 300 กก. 4. รำข้าว 300 กก. 5. น้ำหมัก 10 กก. กากน้ำตาล 6 กก. น้ำเปล่า 400 ลิตร
    • วิธีการผสมปุ่ยอินทรีย์ชีวภาพ 1. นำวัตถุดิบ มูลสัตว์ แกลบดิบ แกลบดำ รำข้าว ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน 2. ปรับกองปุ๋ยให้เรียบเสมอกัน ขนาดกองสูงประมาณ 15 เซนติเมตร 3. ผสมน้ำหมัก กากน้ำตาล น้ำเปล่า คนให้เข้ากัน นำมารดในกองปุ๋ยที่เตรียมไว้ ไม่ให้กองปุ๋ยเปียกหรือแห้งจนเกินไป 4. ผสมกองปุ๋ยอีกครั้งเพื่อให้น้ำหมักเข้ากับกองปุ๋ยได้ทั่วถึง หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน อุณหภูมิกองปุ๋ยเพิ่มขี้นให้กลับกองปุ๋ยวันละครั้งจนกว่าอุณหภูมิปกติก็นำไปใช้ได้ ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ นาข้าว ปรับปรุงบำรุงดิน ให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดีใช้ 50 กิโลกรัมต่อไร่ (ใส่ครั้งเดียวหรือ 2 ครั้ง) ผักสวนครัว ใช้รองก้นหลุม เพระต้นกล้า หรือใส่รอบทรงพุ่มประมาณ 3 กำมือ ไม้ยืนต้น ไม้ผล 1-3 กิโลกรัมต่อต้น ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดิน ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การระบายน้ำ ระบายอากาศ ช่วยให้รากพืชขยายกระจายในดินให้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มแร่ธาตุต่าง ๆ แก่ดินทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง แร่ธาตุอาหารทุกชนิดมีความสำคัญเท่าเทียมกันต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าขาดแร่ธาตุอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยลดต้นทุนการทำการเกษตร เช่น ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นการนำประโยชน์ของจุลินทรีย์มาใช้ให้เกิดความรวดเร็วในการหมักวัสดุอินทรีย์ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำการเกษตร ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและเกษตรกรยังปลอดภัยจากสารเคมีด้วย และเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์และตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ มีการช่วยกันทำปุ๋ยจำนวน 2 ตันเพื่อแบ่งปันนำปุ๋ยที่ได้ไปใช้ใส่นาข้าว จำนวน 50 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่

     

    73 73

    20. ติดตาม/ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ครั้งที่ 1

    วันที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแปลงนา การเตรียมพันธุ์ข้าว การแช่ข้าวปลูก การไถนา การหว่านข้าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนคณะทำงานโครงการมีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาโดยพร้อมเพรียงกัน มีการนัดหมายกันล่วงหน้าและสามารถลงไปเรียนรู้จริงในแปลงนาทั้ง 33 แปลง

     

    5 6

    21. นำภาษีหักณ. ที่่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

    วันที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสรรพากร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสรรพากรตามเวลาที่กำหนดไว้

     

    1 1

    22. สร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 2

    วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.สร้างแปลงรวมเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ 3 ระบบคือ หว่าน ดำ โยน จำนวน 3 ไร่ จำนวน 3 ครั้ง ตั้งแต่เตรียมแปลงแล้วลงมือทำ

    2.สร้างแปลงทำนาอินทรีย์รายย่อย จำนวน 30 ไร่ 30 ราย สมาชิกกลุ่มทำนาร่วมกับเด็กเยาวชนมีการนัดหมายกันที่จะร่วมเรียนรู้วิธีการทำนาโยนตั้งแต่การเตรียมแปลง การเตรียมพันธุ์ข้าว

    • วิธีการโยนข้าว ซึ่งมีขั้นตอนในการทำคือ เตรียมถาดในการเพาะต้นกล้า 1 แผง 2 กำกล้า ได้ 434 หลุม นา 1 ไร่ ใช้พันธุุ์ข้าวจำนวน 60 ถาด พันธุ์ข้าว 7 กิโลกรัม ใช้ดินร่วนดีกว่าดินเหนียวผสมแกลบดำปนกับดินร่่วน วิธีการเพาะกล้าปรับพื้นให้เรียบเรียงเพาะกล้าทีละถาด แถวเดียวกัน เอาดินมาโรยประมาณครึ่งหลุม หลังจากนั้นเอาพันธุ์ข้าวมาโรยเป็นแถวแล้วเอาดินมาโรยกลบอีกครั้งใช้ไม้ปาดให้เห็นปากหลุม เอาถาดเปล่ามาตั้งชนกันอีกแถวทำเหมือนเดิม (3 แถว) เอาผ้าแสลมมาปิดให้ตลอดแล้วรดน้ำให้ชุ่ม วันละ 2 ครั้ง หลังจากนั้น 3 วันกล้าจะแทงรากออกมาให้เห็น พันธุ์ข้าวแช่ข้าวปลูกเหมือนกับการทำนาหว่าน แช่ 1 คืน ยกตั้งไว้ 2 คืน เพาะไว้ประมาณ 10 วันก็นำไปโยนได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มทำนาและเด็กเยาวชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมนาโยนในแปลงสาธิตจำนวน 1 ไร่ มีการเรียนรู้วิธีการโยนข้าวและลงปฏิบัติจริงในแปลง ทำให้เด็กเยาวชนในหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าในในอาชีพทำนามากขึ้นเพราะบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอาชีพทำนาเขาทำกันอย่างไร เด็กเยาวชนมีความสุขกับการได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักความสามัคคีเห็นได้จากการร่วมกันโยนข้าวลงนาเป็นกลุ่มเป็นก้อน ไม่ต่างคนต่างทำ

     

    40 50

    23. นำภาษีหักณ.ที่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

     

    1 1

    24. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 5

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้ทำนำอินทรีย์ทั้งหมด พบว่าผู้ทำนาอินทรีย์บางครัวเรือนข้าวที่หว่านไว้เกิดความเสียทั้งหมดเนื่องจากได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันทำให้นาข้าวจมอยู่ใต้น้ำ ข้าวที่หว่านจมไปกับน้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการประชุมหมู่บ้านประจำเดือนสรุปได้ว่าเกษตรกรผู้ทำนาบางรายได้รับผลกระทบจากการที่ฝนตกหนักทำให้ไร่นาเสียหายหลายแปลง ทำให้ผู้ทำนาอินทรีย์ต้องจ้ดหาซื้อพันธ์ข้าวใหม่โดยงบประมาณของตนเอง

     

    60 66

    25. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 5

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ได้ร่วมกันประชุม เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของกิจกรรมในโครงการพบว่ากิจกรรมสร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มผู้ทำนาอินทรีย์บางรายได้ประสบปัญหาน้ำท่วมแปลงนาเสียหายทั้งแปลงเนื่องจากได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำชุมชนได้ร่วมกันพูดคุยปรึกษาหารือถึงวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันจนได้ข้อยุติว่าให้เกษตรกรผู้ทำนาอินทรีย์ซื้อพันธ์ข้าวปลูกมาหว่านใหม่ สำหรับค่าใช้จ่ายทางโครงการจะออกให้ครึ่งหนึ่งแต่คงไว้ซึ่งการทำนาอินทรีย์เหมือนเดิมและห้ามใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีเด็ดขาด

     

    33 30

    26. ประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลร่วมกับทีมสำรวจข้อมูล

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลร่วมกับทีมสำรวจข้อมูลโดยแกนนำ / คณะทำงานและเด็กเยาวชน มีวิทยากรในชุมชนเป็นผู้ให้ความรู้และให้คำแนะนำในการลงไปจัดเก็บ แบบสำรวจข้อมูลมีทั้งหมด 5 หมวด คือ

    • หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป มีชื่อผู้ให้ข้อมูล ที่อยู่ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก อาชีพรองและจำนวนสมาชิกที่อยู่ในครัวเรือน

    • หมวดที่ 2 ข้อมูลการอยู่อาศัย การถือครองที่ดิน
    • หมวดที่ 3 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ มีรายได้หลักของครัวเรือน รายจ่ายของครัวเรือน หนี้สิน และการเก็บออมเงิน
    • หมวดที่ 4 ข้อมูลสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ/อาชีพทำนา พื้นที่ทำนาทั้งหมด พื้นที่ตั้งนา ทำนาปีละกี่ครั้ง ประเภทการทำนา ชนิดพันธ์ข้าวที่ทำ ทำบริโภค หรือขาย ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตข้าว การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง วัชพืช เครื่องมืออุปกรณ์ในการทำนา ต้นทุนผลผลิตต่อไร่ ผลผลิตรวมต่อไร่
    • และหมวดที่5 ข้อมูลการบริโภค ข้าวสารที่นำมาบริโภค ชนิดข้าวที่นิยมบริโภค ปริมาณการบริโภคข้าวสารในครัวเรือนและจะเลือกินข้าวพื้นเมืองชนิดไหน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำ/คณะทำงานและเด็กเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลและสามารถลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยมีการแบ่งโซนออกเป็น 6 โซน คือ

    1. โซนใต้จันทร์ จำนวน 26 ครัวเรือน
    2. โซนบ้านออก จำนวน 25 ครัวเรือน
    3. โซนกลางบ้าน จำนวน 25 ครัวเรือน
    4. โซนบ้านตีน จำนวน 20 ครัวเรือน
    5. โซนบ้านหัวหรั่ง จำนวน 23 ครัวเรือน
    6. โซนบ้านเขานุ้ย จำนวน 6 ครัวเรือน

     

    20 27

    27. ติดตาม/ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ครั้งที่ 2

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ จำนวน 6 คน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ทั้งระบบ แบบนาหว่าน นาโยน นาดำ ซึ่งจากการลงพื้นที่ได้พบปัญหาว่าได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันจนทำให้น้ำท่วมแปลงนาของสมาชิกกลุ่มทำนา สมาชิกกลุ่มทำนาบางคนต้องทำการหว่านใหม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แปลงนาอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มทำนาทั้ง 33 ไร่ ต้นข้าวในแปลงนามีความเจริญเติบโตตามระยะเวลาในการทำอย่างเป็นระบบ แต่บางแปลงก็มีปัญหาเนื่องจากเกิดน้ำท่วมขังทำให้ต้องหว่านใหม่ในบางแปลง

     

    5 6

    28. ติดตามหนุนเสริมครั้งที่2

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำเอกสารการเงินงวดที่ 1 ให้เรียบร้อยเพื่อให้ทีมงานพี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการและการเงินมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสรุปผลการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง

     

    3 3

    29. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 2

    วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม และชี้แจงขั้นตอนการทำนาอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรียได้เห็นถึงความแตกต่างในต้นทุนการผลิตรที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้สารเคมีหรือปุุ๋ยเคมี แต่การดูแลรักษาในช่วงแรกๆอาจจะยากกว่าเพราะอยู่ในช่วงของการปรับสภาพด้วย

     

    30 30

    30. จัดทำรายงานการเงิน งวดที่ 1

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ/ตรวจเอกสารการเงินและจัดทำรายงานการเงิน งวดที่ 1ตามแผนงานที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนที่วางไว้และเอกสารการเงินเรียบร้อยถูกต้อง สามารถจัดส่งรายงานงวด 1 ได้

     

    2 2

    31. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 25 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 25 ครัวเรือนในโซนใต้จันทร์ ปรากฏว่ามีครัวเรือนทำนา จำนวน 4 ครัวเรือน พื้นที่ทำนาทั้งหมดจำนวน 62 ไร่ ต้นทุนการผลิต 2,800 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าว 700กก. ต่อไร่ ข้าวที่ได้จากการทำนาขายให้กับโรงสีทุกครัวเรือน ทั้ง 25 ครัวเรือนซื้อข้าวจากร้านค้าบริโภคทุกครัวเรือน ไม่มีครัวเรือนไหนที่บริโภคข้าวจากการทำนาเองเลย ข้าวส่วนใหญ่ที่นิยมกินคือข้าวหอมมะลิ จำนวน 14 ครัวเรือน ข้าวหอมเหลือง จำนวน7 ครัวเรือน ข้าวกข29 จำนวน 4 ครัวเรือน

     

    20 20

    32. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 24 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่ เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 24 ครัวเรือน โซนบ้านออก มีครัวเรือนทำนาจำนวน 3 ครัวเรือนพื้นที่ทำนาทั้งหมด 104 ไร่ พันธ์ข้าวที่ปลูกคือข้าวหอมใบเตย ต้นทุนการผลิต 3,800 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าว 700 กก.ต่อไร่ ข้าวที่ได้จากการทำนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือขายและบริโภคเองในครัวเรือน ส่วนครัวเรือนที่ไม่ได้ทำนาซื้อข้าวสารจากท้องตลาดมาบริโภคคือข้าวเล็บนก ข้าวหอมปทุมและข้าวหอมมะลิ

     

    20 20

    33. สร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 3

    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สมาชิกกลุ่มทำนาและเด็กเยาวชน จำนวน 40 คน ลงแปลงนาดำนาร่วมกัน จำนวน 1 ไร่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มทำนาและเด็กเยาวชนร่วมกันสร้างแปลงนาดำ จำนวน 1 ไร่ เด็กเยาวชนมีความกระตือรือร้นในการดำนา บางคนไม่เคยเห็นมาก่อนและไม่เคยดำนามาก่อนทำให้เด็กเยาวชนเรียนรู้วิธีการดำนาซึ่งได้ลงปฏิบัติจริงในพื้นที่

     

    40 40

    34. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 20 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 20 ครัวเรือนโซนบ้านตีนมีครัวเรือนทำนา จำนวน 8 ครัวเรือน พื้นที่ทำนาทั้งหมด 87 ไร่ พันธ์ข้าวที่ปลูกคือข้าวหอมปทุม ข้าวชัยนาท กข.29 กข.44 และข้าวกข.7ต้นทุนการผลิต 3,850 บาทต่อไร่ผลผลิต 700 กก. ต่อไร่ทุกครัวเรือนไม่ได้บริโภคข้าวสารที่ทำนาด้วยตนเอง ซื้อข้าวสารจากข้างนอกมาบริโภคส่วนใหญ่ข้าวที่นิยมบริโภคือข้าวหอมปทุมและข้าวหอมมะลิ

     

    20 20

    35. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่4

    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลโซนบ้านเขานุ้ยจำนวน 6 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่เด็กเยาวชนและแกนนำ ได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลโซนบ้านเขานุ้ย จำนวน 6 ครัวเรือนปรากฏว่ามีครัวเรือนทำนา จำนวน 3 ครัวเรือนพื้นที่ทำนาทั้งหมด 68 ไร่ พันธ์ข้าวที่ปลูกคือข้าวหอมปทุมและข้าวกข.29 ต้นทุนการผลิต 3,870 บาทต่่อไร่ ผลผลิตข้าว 700 กก. ต่อไร่ ข้าวที่ได้จากการทำนาไว้ขายและบริโภคเองในครัวเรือน ส่วนครัวเรือนที่ไม่ได้ทำนาซื้อข้าวสารจากท้องตลาดมาบริโภค ข้าวสารที่นิยมบริโภคจากท้องตลาดคือข้าวหอมมะลิ เล็บนกและ หอมใบเตย

     

    20 20

    36. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 5

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 25 ครัวเรือนในโซนบ้านออก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 25 ครัวเรือนในโซนบ้านออก มีครัวเรือนผู้ทำนา จำนวน 4 ครัวเรือนใช้วิธีการทำนาแบบนาหว่าน พื้นที่ทำนาทั้งหมดจำนวน 174 ไร่ เป็นนาของตนเอง จำนวน 147 ไร่ ให้เขาเช่า จำนวน 27 ไร่ พันธ์ข้าวที่ปลูกคือข้าวหอมปทุมและข้าวกข.41 ต้นทุนการผลิต 3,750 บาทต่อไร่ ผลผลิตที่ได้ 700 กก.ต่อไร่ มีครัวเรือนที่บริโภคข้าวจากการทำนาเอง จำนวน 2 ครัวเรือน และซื้อข้าวสารจากท้องตลาดมาบริโภค จำนวน 23 ครัวเรือน

     

    20 20

    37. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 6

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 21 ครัวเรือนในโซนบ้านหัวหรั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กเยาวชนและแกนนำ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวน 21 ครัวเรือนในโซนบ้านหัวหรั่ง มีครัวเรือนทำนา จำนวน 8 ครัวเรือน โดยวิธีการทำนาแบบนาหว่าน พื้นที่ทำนาทั้งหมด จำนวน 129 ไร่ เป็นนาของตนเองจำนวน 37 ไร่ นาเช่าจำนวน 92 ไร่ พันธ์ข้าวที่นิยมปลูกคือข้าวกข.29 และทำข้าวสังข์หยด 1 ครัวเรือน ต้นทุนการผลิต 3,800 บาทต่อไร่ ผลผลิต 700 กก. ต่อไร่ บริโภคข้าวที่ทำเอง 1 ครัวเรือน และซื้อข้าวสารจากท้องตลาดมาบริโภค จำนวน 20 ครัวเรือน ข้าวที่นิยมบริโภคคือข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุม และข้าวเล็บนก

     

    20 20

    38. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 6

    วันที่ 6 มีนาคม 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน ร่วมกันแสนอปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ ในด้านของเกษตรกรผู้ทำนาที่เข้าร่วมโครงการก็เอาใจใส่ดูแลข้าวปลูกที่ได้เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างได้ ไม่มีการใช้สารเคมีในแปลงนาเลย ใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพที่ทำขึ้นเอง

     

    33 31

    39. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 6

    วันที่ 6 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนครัวเรือนและตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชนพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านได้ร่วมประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตามโครงการ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนและตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชนพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านได้ร่วมประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตามโครงการ ผลจากการดำเนินงานปรากฏว่าเกษตรกรผู้ทำนาให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี ทำนาปลอดสารพิษจริงๆ ใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพในการทำนาทั้ง 30 ครัวเรือนผู้ใหญ่บ้านแจ้งเเพื่อทราบเรื่องการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การอยู่เวรบริการประชาชนของกำนันผู้ใหญ่บ้าน การดำเนินงานการควบคุมค่าเช่านาฤดูการผลิตปี2559/2560 การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2558 การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โรคปากเท้าเปื่อยในโค กระบือ สุกร การตรวจเลือกทหารกองเกิน วันที่ 2-3 เมษายน 2559 ณ หอประชุมโรงเรียนควนขนุน การป้องกันปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในช่วงหน้าแล้ง

     

    60 67

    40. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานร่วมกับทีมสำรวจรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ จำนวน 121 ครัวเรือน
    • วางแผน มอบหมายหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล
    • ลงพื้นที่จัดเก็บ สิ่งที่พบเห็นจากการลงไปเก็บข้อมูลคือเด็กเยาวชนมีการวิเคราะห์ข้อมูลไปแล้วบางส่วน บางครัวเรือนไม่ต้องถามหัวข้อที่ต้องจัดเก็บทุกครั้ง เด็กมีการวางแผนการเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าและมีการแบ่งเวลาในการจัดเก็บคือใช้ช่วงเวลาหลังเลิกเรียน มีการแบ่งหน้าที่กันเก็บข้อมูล ถามคน จดบันทึกคน มีการทำงานร่วมกันระหว่างเด็กและพี่เลี้ยง ร้กษาเวลาในการจัดเก็บและส่งข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนดสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ถึง 95 %

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สิ่งที่พบเห็นจากการลงไปเก็บข้อมูลคือเด็กเยาวชนมีการวิเคราะห์ข้อมูลไปแล้วบางส่วน บางครัวเรือนไม่ต้องถามหัวข้อที่ต้องจัดเก็บทุกครั้ง เด็กมีการวางแผนการเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าและมีการแบ่งเวลาในการจัดเก็บคือใช้ช่วงเวลาหลังเลิกเรียน มีการแบ่งหน้าที่กันเก็บข้อมูล ถามคน จดบันทึกคน มีการทำงานร่วมกันระหว่างเด็กและพี่เลี้ยง ร้กษาเวลาในการจัดเก็บและส่งข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนดสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ถึง 95 %
    • คณะทำงานร่วมกับทีมสำรวจรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ จำนวน 121 ครัวเรือน ดังนี้ ข้อมูลทั่วไป สมาชิกในชุมชน จำนวน 381 คน ชาย 177 คน หญิง 204 คน ข้อมูลที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองทั้ง 121 ครัวเรือน การถือครองที่ดิน นา เป็นของตนเอง 364 ไร่ เช่า 226.75 ไร่ ให้คนอื่นเช่า 59.75 ไร่ รับจำนำ 7 ไร่ สวนยาง 264.50 ไร่ สวนปาล์ม 31.75 ไร่ อื่น ๆ ข้อมูลเศรษฐกิจ อาชีพเกษตรกร 76 ครัวเรือน อุตสาหกรรมเย็บผ้า สานเสื่อกระจูด 30 ครัวเรือน ค้าขาย 15 ครัวเรือน รายจ่าย 1,531,900 บาท หนี้สิน 21,755,100 บาท เป็นหนี้สินในระบบ 21,500,100 บาท นอกระบบ 255,000 บาท ทุกครัวเรือนมีการออมเงินกับกลุ่มออมทรัพย์และธนาคาร ครัวเรือนที่ทำนาทั้งหมดในหมู่บ้าน จำนวน 30 ครัวเรือน มีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน และครั้งที่ 2 ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ประเภทการทำนาแบบนาหว่าน ชนิดพันธ์ข้าวที่ทำคือพันธ์ กข.29 / กข.41/ หอมปทุมและหอมใบเตย ทำขาย 22 ครัวเรือน ทั้งขายและกิน 8 ครัวเรือน ใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ 1 ครัวเรือน ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี 22 ครัวเรือน และใช้ทั้ง 2 ปุ๋ย 7 ครัวเรือน ใช้ทั้งรถไถ และรถไถเดินตามในการทำนา ต้นทุนการผลิตต่อไร่ 3,870 บาท มีค่าเตรียมแปลง สารเคมี พันธ์ข้าว แรงงาน ค่าตัด ค่าปุ๋ย ผลผลิต 700 กก. ต่อไร่ ข้อมูลการกินข้าว บริโภคข้าวที่ทำนาเอง จำนวน 8 ครัวเรือน ซื้อข้าวสารจากท้องตลาดบริโภค จำนวน 113 ครัวเรือน ชนิดข้าวสารที่บริโภคมีข้าวหอมปทุม หอมใบเตย หอมมะลิ เล็บนก และสังข์หยด ปริมาณการกินข้าวต่อเดือนของคนในชุมชน3,197 กก.ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 95,910 บาทต่อเดือน

     

    30 35

    41. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 7

    วันที่ 6 เมษายน 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนได้ประชุมกำหนดแผนการดำเนินงานกิจกรรมที่จะทำต่อหลังจากตัวแทนของโครงการได้ไปร่วมประชุมกับสสส.เพื่อปิดงวด 1 แต่ปัญหาที่พบทางคณะทำงานได้ดำเนินกิจกรรมล่วงหน้าไปหลายกิจกรรมแต่งบประมาณงวดที่ 2 ก็ยังไม่โอน

     

    33 31

    42. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 7

    วันที่ 6 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตามร่วมกัน จำนวน 65 คน มีการพูดคุยแสนอแนะปัญหาที่เกิดขึันในชุมชนเพื่อจะได้ช่วยกันกำหนดแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ผู้ใหญ่บ้านเแจ้งเพื่อทราบเรื่องสรุปผลการดำเนินงานโครงการมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้าน) และเร่งรัดตำบลที่ยังไม่แล้วเสร็จ การจัดงานสมโภชน์พระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศและกาชาดประจำปีของดีเมืองลุง ประจำปี 2559 ระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2559 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2559 ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดพัทลุง สถิติการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอควนขนุน โครงการความปรองดองสมานฉันท์โดยให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางท้องถนน การดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/2559 โครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้าน) หมู่ที่ 11 บ้านไคอลทรงาม ได้รับงบสนับสนุนจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการปรับปรุงฟื้นฟูคลองส่งน้ำสายกลาง และคลองส่งน้ำสายตก การจัดแข่งขันกีฬาของเยาวชน ประชาชนต้านยาเสพติด ครั้งที่ 18 ประจำปี 2559 เริ่มตั้งแต่ วันที่ 25 เมษายน ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2559 การจัดกิจกรรมรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ (วันกตัญญูู) วันที่ 12 เมษายน 2559 ณ ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้าน ม.11 บ้านไทรงาม และการใช้รถใช้ถนนในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลวันสงกรานต์

     

    60 65

    43. ติดตาม/ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ครั้งที่ 3

    วันที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ซึ่งข้าวกำลังแตกกอ และออกรวง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นข้าวอินทรีย์ในแปลงสาธิต เป็นข้าวที่สมาชิกกลุ่มทำนาได้รวมตัวกันแบบนาดำในเนื้อที่ จำนวน 1 ไร่ ผลจากการลงตรวจเยี่ยมแปลงปรากฏว่าข้าวแตกกอสวยงาม รวงข้าวก็ใหญ่เป็นชูช่อ บรรลุเป้าหมายครัวเรือนผลิตข้าวปลอดภัย

     

    5 5

    44. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 8

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

     

    33 29

    45. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 8

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตามร่วมกัน จำนวน 68 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวแรือน / สมาชิกกลุ่มทำนา / กลุ่มอาชีพและคณะทำงานโครงการมีการประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อจะนำเสนอปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นมาแก้ปัญหาร่วมกัน และร่วมกันวางแผนการดำเนินงานต่อไป โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดำเนินการประชุมตามวาระดังนี้ แจ้งเพื่อทราบเรื่องการเตรียมความพร้อมการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพโครงการตำรวจประสานงานโรงเรียน (1 ตำบล 1 โรงเรียน)โครงการอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/2559การประชาสัมพันธ์นโยบายการปราบปรามปุ๋ยปลอม โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อประกอบอาชีพเสริมรอบที่ 3 การขอกู้เงินกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจนและการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 200,000 บาท มติที่ประชุมเสนอโครงการปรับปรุงซ่อมแซมศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้าน

     

    60 68

    46. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 3

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ สรุปได้ว่าข้าวของสมาชิกบางคนได้ผลผลิตน้อยมากเนื่องจากไม่ใช้สารเคมีใช้แต่ปุ๋ยชีวภาพทำให้การเจริญเติบโตขอต้นข้าวไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร

     

    30 30

    47. เก็บข้าวนาวาน

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วงเช้าสมาชิกกลุ่มทำนา เด็กเยาวชนและสภาผู้นำชุมชนได้รวมตัวกันที่ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านเพื่อสร้างความเข้าใจการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการแจกแกะเก็บข้าวให้กับสมาชิกและได้เดินทางไปยังแปลงสาธิตนาอินทรีย์ เพื่อช่วยกันเก็บข้าวในนาและสาธิกการผูกเลียงข้าวให้กับเด็กเยาวชนได้เรียนรู้หลังจากนี้ได้นำเลียงข้าวไปเก็บรวมไว้ที่คันนา ตอนเที่ยงก็ได้กินข้าวร่วมกัน ซึ่งอาหารเที่ยงทั้งหมดสมาชิกกลุ่มทำนาและเด็กเยาวชนได้ช่วยกันจัดสำหรับเป็นปิ่นโตมาคนละ 1 สาย หลังจากการกินอาหารเที่ยงเสร็จแล้วก็ได้ร่วมกันเก็บข้าวต่อและนำเลียงข้าวขึ้นไว้ที่ฉางข้าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มทำนาและเด็กเยาวชนร่วมกับสภาผู้นำชุมชนมีความสนุกกับกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ทำให้มีความรู้สึกนึกถึงอดีตที่ผ่านมาเนื่องจากสมัยปัจจุบันนี้การลงแขกเก็บข้าวได้หายไปจากหมู่บ้าน เกษตรกรผู้ทำนาจะใช้รถเกี่ยวข้าวกันหมดแล้ว เด็กเยาวชนเองก็ได้เรียนรู้วิธีการเก็บข้าวสามารถเก็บข้าวเป็น ผูกเลียงข้าวเป็น

     

    40 30

    48. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 4

    วันที่ 28 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์จำนวน 30 คน ผลสรุปได้ว่าผู้ทำนาอินทรีย์ทุกรายมีการตัดข้าวครบทุกรายแล้วผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งไว้บริโภคเองในครัวเรือน ไว้ทำพันธุ์ในการทำนาครั้งต่อไป ผลผลิตที่ได้จากการทำนาอินทรีย์อยู่ที่ 400 กก.ต่อไร่

     

    30 30

    49. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 9

    วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการ สภาผู้นำชุมชนและตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชนร่วมกับตัวแทนครัวเรือนทุกครัวเรือนในหมู่บ้านได้ประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อรับฟังข้อมมูลข่าวสารที่ทางผู้ใหญ่บ้านได้ไปประชุมมาและร่วมเสนอแนะปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเพื่อนำสู่คณะกรรมการหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมหมู่บ้านดำเนินการประชุมไปตามระเบียบวาระของหมู่บ้านดังนี้ แจ้งเพื่อทราบเรื่องการเตรียมความพร้อมการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ การลาอุปสมบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนันการเปิดใช้สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า บ้านไทรงาม การแข่งขันกีฬาไตรภาคีของนักเรียน นักศึกษา ประปาหมู่บ้านมีการรณรงค์ให้ช่วยกันประหยัดน้ำอุปโภค บริโภคในช่วงหน้าแล้ง ความคืบหน้าการปรับปรุงซ่อมแซมถนนสายหน้าอนามัยตำบลพนางตุง และการกำหนดการส่งเงินกองทุน กข.คจ.คืนในวันที่ 22 กรกฏาคม 2559 และนัดทำสัญญาในวันที่ 24 กรกฏาคม 2559 ผลจากการประชุมที่ประชุมมีการนำเสนอปัญหาน้ำประปาไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค ซึ่งทางกรรมการประปาหมู่บ้านได้นำปัญหาดังกล่าวไปแก้ไขให้ต่อไป

     

    60 67

    50. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 9

    วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากผลการประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 9 ผู้รับผิดชอบโครงการมีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ที่ประชุมได้รับทราบและให้สภาผู้นำชุมชนได้นำเสนอปัญหาอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมของโครงการเพื่อนำสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งทางสภาผู้นำชุมชนยังคงมีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกัน

     

    33 30

    51. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 10

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนครัวเรือนทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน จำนวน 65 คนได้มีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกเดือน เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารผลการดำเนินงานของโครงการและข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่ทางคณะกรรมการหมู่บ้านไปรับฟังมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เริ่มประชุมเวลา 13.00 น. โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดำเนินการประชุมตามวาระดังนี้ แจ้งเพื่อทราบเรื่องการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอควนขนุนซึ่งอยู่ในช่วงกำลังก่อสร้าง สำหรับประชาชนที่มาใช้บริการอาจจะไม่สะดวกในเรื่องสถานที่จอดรถ โปรดใช้สถานที่ด้านนอกในการจอดรถของผู้ที่จะมาติดต่อราชการ การรับบริจากโลหิต สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดพัทลุงออกรับบริจาคโลหิตในวันที่ 14 กรกฏาคม 2559 เวลา 08.30 น. ณ ศาลาประชาคมอำเภอควนขนุน การตรวจสอบโครงการสนับสนุนตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลประจำปี 2559 ปัญหาการจูงวัวบนถนนกีดขวางการจราจร โดยให้เจ้าของวัวระมัดระวังในการจูงวัวบนท้องถนนและกำหนดช่วงเวลาในการจูงโดยไม่ควรจูงในช่วงเวลาเร่งด่วน การจัดกิจกรรมวันกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในวันที่ 10 สิงหาคม 2559 หักเงินคนละ 400 บาท และจะมีการมอบทุนให้กับบุตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ สารวัตรกำนัน ตำบลละ 2 ทุนๆ ละ 500 บาท การขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปีช่วยเหลือเกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ต่อครัวเรือน การกระทำความผิดกรณีใช้เครื่องมือหาปลาที่ผิดกฏหมาย ช๊อตปลา ปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท การทำซั้งกั้นคลอง ปรับตั้งแต่ 10,000 - 1,000,000 บาท วางยาปลา ปรับตั้งแต่ 300,000 - 500,000 บาท และการขึ้นทะเบียนนกปากห่างเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง หากผู้ใดทำร้ายมีโทษจำคุก 4 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท ผลจากการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านพบปัญหาหลายเรื่อง เช่น ปัญหายาเสพติด ลักเล็กขโมยน้อยในหมู่บ้าน ความล่าช้าของการดำเนินงานโครงการ ความร่วมมือของคนในชุมชน

     

    60 65

    52. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 10

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมสภาผู้นำชุมชนประจำเดือน ครั้งที่ 10 จำนวน 29 คน เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาให้ได้รับทราบร่วมกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการประชุมสภาผู้นำชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการมีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการและชี้แจงรายละเอียดของงบประมาณที่เกิดขึ้นของแต่ละกิจกรรมให้ที่ประชุมได้รับทราบ สำหรับกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการมีการปรึกษาหารือและจัดทำปฏิทินแผนงานไว้เพื่อดำเนินการต่อ

     

    33 29

    53. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 5

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ จำนวน 30 คนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการและสรุปผลการทำกิจกรรมร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

     

    30 30

    54. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 11

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม รับฟังข้อมูลข่าวสารที่ทางผู้ใหญ่บ้านได้ร่วมประชุมประจำเดือนของกำนันผู้ใหญ่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.ดำเนินการประชุมโดยผู้ใหญ่บ้านตามวาระดังนี้ แจ้งเพื่อทราบเรื่องการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ การรักษาความสงบเรียบร้อยโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ผู้ว่าฯ พาเข้าวัดจังหวัดพัทลุง ประจำเดือนสิงหาคม 2559 ในวันที่ 3 สิงหาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 07.30 น. ณ วัดท้ายวัง ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน การแต่งกายชุดผ้าไทยใส่ผ้าพื้นเมือง ติดตามการรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมหมู่บ้าน การปรับปรุงการขึ้นทะเบียนกษตรกร ปี 2559 แผนกำหนดจัดเก็บข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท มีการแสดงความขอบคุณต่อนายสมนึก แซ่แต้ ที่เสียสละเวลาไปร่วมบริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทย ขอบคุณพี่น้องประชาชนในหมู่ที่ 11 ที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนวัดไทรงาม การเตรียมการให้สมาชิกกองทุนส่งเงินกู้ยืมกองทุนหมู่บ้านในเดือนตุลาคม การยื่นหนังสือขออุทิศที่ดินก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสายไทรงาม - เขานุ้ย ขนาดความกว้าง 5 เมตร การกำหนดพัฒนาหมู่บ้านเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 13.00 น. โดยทางหมู่บ้านมีการเลี้ยงขนมจีนและการช่วยกันสอดส่องดูแลบุตร หลาน รวมถึงเด็กๆ เยาวชนในหมู่บ้านไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด ที่ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนมีการพูดคุยนำเสนอปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านและร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน พบว่าหมู่บ้านมีปัญหาการใช้รถใช้ถนนเนื่องจากถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้การสัญจรไปมาค่อนข้างลำบาก

     

    60 70

    55. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 11

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการประชุมสภาผู้นำชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการมีการสรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายละเอียดค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมให้ที่ประชุมทราบ และร่วมกันวางแผนงานการดำเนินกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการที

     

    33 28

    56. ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วงเช้า..

    • พี่เลี้ยงประจำจังหวัดทำความเข้าใจการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการในระบบการรายงานผล
    • พี่เลี้ยงประจำจังหวัดแจ้งกำหนดการ การเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 59

    ช่วงบ่าย...

    • ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
    • ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของรายงาน / เอกสารการเงิน และปรับแผนการดำเนินงานให้สามารถปิดโครงการได้ตามที่กำหนดไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจและได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วในระบบเว็ปไซต์ได้ทุกกิจกรรม พร้อมแนบภาพถ่ายกิจกรรม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการมีการวางแผน ปรับปฏิทินการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการได้เป็นปัจจุบัน
    • คณะทำงานโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินสามารถจ้ดทำรายงานเอกสารการเงินได้อย่างถูกต้อง มีการเก็บรวบรวมเอกสารเป็นรายกิจกรรมสามารถตรวจสอบได้

     

    2 3

    57. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 12

    วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดประชุมแจ้งเพื่อทราบเรื่องความคืบหน้าของการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ การพาและใช้อาวุธปืนของนักปกครอง โครงการเยี่ยมบ้านยามเย็น สานเสวนาประชารัฐโครงการสร้างปรองดองสมานฉันท์ผู้ว่าฯพาเข้าวัด การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรและการขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2559 การสรรหาปราชญ์ของแผ่นดินจำนวน 4 สาขา ได้แก่ สาขาปราชญ์ผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคเกษตรกรไทย ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปราชญ์เกษตรดีเด่น และปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน ปัญหาลักเล็กขโมยน้อย โดยได้กำชับให้ผรส. อปพร.ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านได้ช่วยกันสอดส่องดูแลเดินลาดตระเวนภายในหมู่บ้านทุกคืน

     

    60 67

    58. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 12

    วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการที่ทางสภาผู้นำชุมชนได้ดำเนินการไปแล้ว มีการสรุปค่าใช้จ่ายแต่ละกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สภาผู้นำชุมชนได้รับทราบร่วมกันและมีการนัดหมายการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ดังนี้ กิจกรรมถ่ายทอดข้อมูลสู่ชุมชน วันที่ 8 กันยายน 2559 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน วันที่ 12 กันยายน 2559 กิจกรรมประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 6 วันที่ 15 กันยายน 2559 และกิจกรรมจัดทำข้อตกลงการผลิตข้าวอินทรีย์ในวันที่ 17 กันยายน 2559

     

    33 31

    59. ถ่ายทอดข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีคืนข้อมูลจากการวิเคราะห์ร่วมกับคนในชุมชนแล้วนำมา ยกร่างจัดทำแผนปฏิบัติการของชุมชน เกิดแผนปฏิบัติการของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การบริโภคข้าวของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดแผนปฏิบัติการของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การบริโภคข้าวของคนในชุมชน หมู่ที่ 11 บ้านไทรงาม มีจำนวนครัวเรือน 148 ครัวเรือน ประชากร 530 คน แยกเป็นหญิง 275 คน ชาย 255 คน
    • จากการลงพื้นที่ไปจัดเก็บข้อมูล 121 ครัวเรือน แบ่งเป็น 6 โซน คือ โซนใต้จันทร์ โซนบ้านออก โซนกลางบ้าน โซนบ้านตีน โซนบ้านหัวหรั่ง และโซนบ้านเขานุ้ย
      ผลที่เกิดขิ้นจากการดำเนินกิจกรรม...พบว่า

    • คนไทรงามมีอาชีพหลักคือ ทำนา ทำสวน ค้าขาย รับจ้าง

    • มีรายรับรวม 5,188,500 บาท รายจ่าย 1,531,900 บาทหนี้สิน 21,755,100 บาท
    • มีการออมโดยวิธีการฝากเงินกับกลุ่มออมทรัพย์ในหมู่บ้าน
    • อาชีพหลักคือ " ทำนา" โดยมีเนื้อที่นา 574 ไร่ ของเอง 283 ไร่ นาเช่า 291 ไร่ ฤดูการทำนา ปีละ 2 ครั้ง ทำแบบนาหว่าน พันธุ์ข้าวที่ทำ พันธุ์ส่งเสริม กข. (ติดเบอร์) การทำนาใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี 100% เครื่องมือที่ใช้ รถไถ รถไถเดินตาม เครื่องสูบน้ำ ถังฉีดยาฉีดหญ้า ทำเพื่อขาย ต้นทุนการผลิตต่อไร่ต่อครั้ง ค่าไถ 700 บาท ค่าข้าวปลูก 450 บาท ค่าปุ๋ย 660 บาทค่ายาฉีดหญ้าฉีดแมลง 500 บาท ค่าจ้างแรงงาน 310 บาท ค่าเช่านา 800 บาท ค่าตัดข้าว 450 บาท รวม 3,870 บาท ผลผลิตที่ได้ 700 กก.ต่อไร่
    • การบริโภคข้าวสารที่คนไทรงามกินข้าวสังข์หยด เล็บนก หอมปทุม หอมมะลิ หอมใบเตย และข้าวกข.
    • ปริมาณการกินข้าวต่อเดือน 3,684 กก. ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 44,208 บาท ต่อปีคิดเป็นเงินรวม 1,326,240 บาท

     

    90 90

    60. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน

    วันที่ 12 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการชุมชน การวิเคราะห์ วางแผน ทำแผนงานโดยการพัฒนาคน เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนมีทักษะ มีความรู้สามารถบริหารจัดการชุมชนได้ โดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการค้นหาสาเหตุของการเกิดทุกข์ของคนในชุมชนเนื่องจากมีรายได้ไม่มีพอรายจ่าย ของแพง ต้นทุนการผลิตสูงราคาผลผลิตตกต่ำความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หนี้สิน ปัญหาด้านสุขภาพ น้ำประปาไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค โดยวิธีการแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ปัญหาหนี้สิน สาเหตุเกิดจาก จ่ายสุรุ่ยสุร่าย จ่ายเกินตัว ไม่ประมาณตัว ทำน้อยจ่ายมาก ราคาสินค้าแพง เศรษฐกิจตกต่ำ วิธีการแก้ปัญหา คือ ใช้จ่ายอย่างประหยัด จ่ายเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ หาอาชีพเสริม ปลูกผักกินเอง ทำเอง ใช้เอง จัดตั้งกลุ่มขายเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ออม โดยการฝากธนาคาร ฝากกลุ่มออมทรัพย์ ผลที่ได้ จะทำให้คนไม่เป็นหนี้ มีรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพเสริม มีผักปลอดภัย ปลอดสารพิษบริโภค ราคาผลผลิตดีขึ้น และมีเงินออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็นในอนาคต ปัญหาสุขภาพ สภาพร่างกายปวดเมื่อย ปวดศรีษะ มีโรคประจำตัว ความดัน ไขมัน เบาหวาน หอบหืด หน้ามืด นอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากการกิน กินอาหารรสจัด ผักเจือปนสารพิษ ชอบกินของมัน ๆ ของหมักดอง การทำงาน ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ คิดมาก ฉีดพ่นสารเคมีโดยไม่มีเครื่องป้องกัน วิธีปฏิบัติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปลูกผักกินเอง ลดอาหารหวาน มัน เค็ม รสจัด หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นสารเคมี พักผ่อนให้เพียงพอ ผลที่ได้รับ มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น ลดอัตราเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง ความดัน ไขมัน เบาหวานและต้องกินอาหารให้เป็นยา อย่ากินยาให้เป็นอาหาร ปัญหาน้ำประปาไม่พอใช้ในการอุปโภค-บริโภค สาเหตุ ภัยแล้ง ต้นไม้ตามธรรมชาติถูกทำลาย ฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ละเลยแหล่งน้ำตามครัวเรือน (บ่อน้ำตื้น) แหล่งน้ำไม่พอ วิธีการแก้ปัญหา ช่วยกันปลูกป่าและปกป้องป่าที่มีอยู่แล้ว ใช้น้ำอย่างประหยัด ให้มีที่รองรับน้ำ ให้มีหน่วยงานของรัฐขุดเจาะบ่อบาดาลให้ ประสานงานเทศบาลในการขอน้ำใช้ ขุดเจาะบ่อเพิ่มเพื่อทำประปาเพิ่ม

     

    34 38

    61. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 6

    วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มทำนามีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานผลสรุปจากการทำนาอินทรีย์ทั้ง 30 ไร่ ผลผลิตที่ได้ไม่ค่อยจะเต็มที่เนื่องจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี นาอินทรีย์บางรายเสียหายเกือบทั้งหมดเนื่องจากเกิดฝนตกหนักทำให้นาข้าวเสียหาย บางรายต้องหว่านถึง 2-3 ครั้ง แต่ทุกคนยังมีความต้องการจะทำนาอินทรีย์อีกเพื่อจะได้นำข้าวที่ได้ไว้บริโภคเองในครัวเรือน

     

    30 31

    62. จัดทำข้อตกลงการผลิตข้าวอินทรีย์

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดเวทีรับฟังข้อคิดเห็น เสนอแนะเพื่อจัดทำข้อตกลงร่วมกัน
    2. จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว
    3. แบ่งกลุ่มย่อยในการเสนอแนะความคิดเห็นร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการค้นหาสาเหตุที่นำสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ของคนในชุมชนเนื่องจากคนในชุมชนมีความเคยชินกับการทำนาที่ใช้สารเคมีไม่ใส่ใจในผลกระทบจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ขาดความรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยไว้บริโภคเอง คนไม่กินข้าวที่ตนเองปลูก ซื้อข้าวกิน ซึ่งการสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์ ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากการใช้สารเคมี ข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต ข้อมูลปริมาณการกินข้าวและเม็ดเงินที่ไหลออกจากการซื้อข้าวกิน จนทำให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ มีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนการผลิตข้าวโดยใช้สารเคมีสู่การผลิตข้าวอินทรีย์อย่างยั่งยืน ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้
    ช่วงบ่ายมีการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มเด็กเยาวชน กลุ่มคนทำนา และกลุ่มคนกินข้าว โดยให้โจทก์ 3 ข้อในการจัดทำข้อตกลงการทำนาอินทรีย์ นาอินทรีย์คืออะไรการทำนาอินทรีย์ต้องทำพรีอ และวิธีการขั้นตอนการทำ
    กลุ่มเด็กเยาวชน นาอินทรีย์คือ นาที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี / สารเคมี และยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ปลอดสารพิษไม่มีสารตกค้างต้องทำพรือ ทำปุ๋ยใช้เอง ทำยาฆ่าแมลงเอง เลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม ลดต้นทุนการผลิตให้น้อยลง วิธีการขั้นตอนการทำ เตรียมแปลงโดยใช้น้ำหมัก ปุ๋ยพืชสด ไม่เผาตอซัง เลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับแปลงนา วิธีทำที่เหมาะกับการทำ เช่น นาดำ นาโยน หรือนาหว่าน ใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักที่ทำขึ้นเองแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมี ดูแลระบบน้ำ จดเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต และสุดท้ายคนในชุมชนจะมีข้าวที่ปลอดภัยบริโภค กลุ่มคนทำนา นาอินทรีย์คือ นาปลอดสารเคมี ทำปุ๋ยใช้เอง ทำน้ำหมักเอง ทำพรือ รวมกลุ่ม จัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว วิธีการขั้นตอนการทำ เตรียมแปลง เตรียมพันธุ์ข้าว โดยใช้น้ำหมักที่หมักไว้เอง ไม่เผาตอซังไถกลบด้วยปุ๋ยพืชสด ผลผลิตที่ได้ไว้บริโภคเองในครัวเรือน ทำพันธุ์ เหลือก็ไว้ขาย กลุ่มคนกินข้าว นาอินทรีย์ คือ การทำนาปลอดสารเคมีปุ๋ยเคมี 100 %ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการผลิต และมีข้าวที่ปลอดภัยกิน ทำพรือ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง วิธีการขั้นตอนการทำ เตรียมแปลงโดยใช้น้ำหมัก และไถกลบด้วยปุ๋ยพืชสด เตรียมพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม ดูแลระบบน้ำและใส่ปุ๋ยตามขั้นตอน สรุปภาพรวมนาอินทรีย์ คือ นาที่ปลอดปุ๋ยเคมีและสารเคมี 100 % ทำแล้วสามารถลดต้นทุนในการผลิตลง ทำพรือ ทำปุ๋ยใช้เองทั้งแบบน้ำและแบบแห้ง ดูแลสภาพดิน เก็บพันธุ์ข้าวเอง วิธีทำ เตรียมแปลง เลือกพันธุ์ข้าว ทำปุ๋ยเอง ทำยาฆ่าแมลงเอง ดูแลระบบน้ำ ดูแลรักษา บำรุงดินและเก็บเกี่ยว คนได้บริโภคข้าวที่ปลอดภัย ปัญหา ผลผลิตได้น้อย ข้าวกินไม่ได้แข็ง ดูแลยาก ข้าวที่ได้ไม่สามารถนำมาเก็บไว้ทำพันธุ์เนื่องจากมีข้าวอื่นปนมา เสี่ยงไม่ได้รับผลผลิต สุดท้ายข้อตกลงการทำนาอินทรีย์คือการทำนาอินทรีย์ที่ไม่ปุ๋ยเคมีทำปุ๋ยหมักใช้เอง ข้าวที่ได้ต้องแบ่งไว้กิน ทำพันธุ์ และเหลือขาย ไม่เผาตอซัง อย่าหลอกตัวเอง มีความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง

     

    45 45

    63. จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน

    วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการจัดทำชุดนิทรรศการ ประมวลภาพของการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง 

     

    30 30

    64. สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานของโครงการ (สรุปผลการทำงาน-ปิดโครงการ)
    2. ประกาศใช้ข้อตกลงของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำนาของคนในหมู่บ้าน
    3. กำหนดจังหวะก้าวของการดำเนินงานโครงการระยะต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ภาคเช้า
    มีการเปิดประชุมโดยผู้รับผิดชอบโครงการผญ.ยุภา ธนนิมิตร มีการพูดคุยชี้แจงที่มาของโครงการและวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในวันนี้สำหรับที่มาของโครงการเริ่มจากผู้รับผิดชอบโครงการนำโดยผู้ใหญ่บ้านจัดประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานโครงการฯเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาและวางแผนเสนอโครงการในปีที่ 2 มีการสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพื่อจัดทำโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงสาเหตุที่ได้ดำเนินงานโครงการนี้เนื่องจากคนในชุมชนมีการใช้สารเคมีในนาข้าวร้อยเปอร์เซ็นต์ทำให้เกิดการปนเปื้อนทั้งในดินและในแหล่งน้ำทำให้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการนาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม เพื่อต้องการให้คนในชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์กินเอง มีกลุ่มครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวกินเอง จำนวน 30 ครัวเรือน มีกลุ่มผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ มีแปลงนาอินทรีย์ 30 ไร่ 30 ราย มีข้าวปลอดภัยให้คนในชุมชนไว้บริโภค มีธนาคารพันธุ์ข้าว มีกฏระเบียบในการผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน มีการประชุมประจำเดือนทุกเดือน พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชนให้มีทักษะ ความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชนมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ เรียนรู้ดูเพื่อนนาอินทรีย์ สร้างแปลงเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ หว่าน ดำ โยน สร้างแปลงปรับเปลี่ยนการทำนา เรียนรู้การทำและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ อบรมการทำนาอินทรีย์ อบรมการคัดพันธุ์ข้าว แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่น้องนาอินทรีย์ ประกาศวาระหมู่บ้านเรื่องการลดการซื้อข้าวกิน การทำข้าวกินเองอย่างปลอดภัย สร้างกฏกติกาของกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำนา ประกาศเป้าหมาย 5 ปีทุกครัวเรือนต้องมีข้าวปลอดภัยกิน หากโครงการนี้สำเร็จจะทำให้คนในชุมชนตระหนักและมีจิตสำนึกในการลดต้นทุนการผลิต และลด ละ เลิกการใช้สารเคมี ทำการเกษตรด้วยวิถีนาอินทรีย์แทน คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตที่ต้นทุนสูงมาเป็นการทำนาอินทรีย์ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้กับชาวนา มีชาวนาเป็นต้นแบบพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน และเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในเครือข่ายและกลไก มาตรการ ระเบียบ ส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนวิถีนาอินทรีย์ มีความเอื้อเฟื้อ จิตอาสา ชุมชนมีความรักความสามัคคี โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายในวงเงิน 207,820 บาท
    ภาคบ่าย

    มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ ทำให้เห็นว่าวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชนเรามีรายจ่ายมากกว่ารายได้ วิถีการทำนาแบบเดิมได้หายไป คนในชุมชนมีโรคประจำตัวมากขึ้นเนื่องจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารเคมีตกค้างในร่างกายจำนวนมาก
    มีการตั้งโจทก์ให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันคือ

    1. อะไรบ้างที่ได้ตามคาดหวัง
    2. อะไรบ้างที่ไม่ได้ตามคาดหวัง
    3. อะไรบ้างที่ได้เกินความคาดหวัง

    สิ่งที่ได้จากการทำโครงการนี้ คือ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้คนในครัวเรือนมีข้าวปลอดภัยกินคนในชุมชนมีสุขภาพดีอนุรักษ์ประเพณีการทำนาดำ และนาโยน ให้กลับมาอยู่คู่กับคนในชุมชน เนื่องจากปัจจุบันคนนิยมทำนาหว่านกันมาก ผลจากการจัดกิจกรรมสรุปบทเรียนคนในชุมชนยังมีความต้องการที่ดำเนินการในระยะที่ 3 ต่อไป คนในชุมชนมีความต้องการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ แปรรูปผลผลิตที่เกิดจากการทำเองในชุมชน

     

    148 111

    65. ติดตามผลการดำเนินงานโครงการภาพรวมประจำงวดที่ 2

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับเจ้าหน้าที่ไอทีและการเงินของโครงการทบทวนเอกสารการเงินพร้อมกับผลการดำเนินกิจกรรมที่ได้รายงานผ่านเว็บไซต์และได้ส่งต่อให้พี่เลี้ยงของพื้นที่ช่วยตรวจเอกสารให้อีกครั้งหนึ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากผลการดำเนินงานกิจกรรมทั้งหมดของโครงการทางเจ้าหน้าที่การเงินมีการจ้ดทำเอกสารการเงินค่อนข้างจะสมบูรณ์ รายงานผลการดำเนินกิจกรรมก็เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ทุกกกิจกรรม

     

    2 3

    66. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 พิธีเปิด การแสดงโขน โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับโดย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวเปิด โดย นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสิรมสุขภาพ ปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ในปีที่ผ่านมา บทบาทศูนย์วิชาการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ศวสต.) ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพคนใต้ โดย พศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ เวทีเสวนา มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต และลานปัญญาเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรม วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2559 ลานสร้างสุขแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ประชุมห้องย่อย 6 ห้อง ห้องประชุม 1 ประเด็นสมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ และการประเมินผลฯ ห้องประชุม 2 ประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน ห้องประชุม 3 ประเด็นระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ห้องประชุม 4,6 ประเด็นชุมชนน่าอยู่ ห้องประชุม 5 ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ การลดปัจจัยเสี่ยง ลานสื่อ นำเสนอผลงานเชิงวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2559 ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม กิจกรรมสรุปข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้เสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน โดย นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร.สุปรียา อตุลยานนท์ นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป และ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จุดประกายจากโครงการ ร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ สร้างความร่วมมือ สู่ความเป็นหุ้นส่วนของคนทำงานเพื่อพัฒนาสุขภาวะชุมชน แก้ปัญหาสถานการณ์ของพื้นที่  ด้วยภาคีเครือข่าย หน่วยงานในท้องถิ่น เป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้กับชุมชน จากจุดเล็ก ๆ ปลุกพลังเพื่อเดินไปพร้อมกัน สู่การพัฒนาความยั่งยืนในทุกมิติ ประเด็นการขับเคลื่อนในพื้นที่ ชุมชนน่าอยู่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ สิ่งแวดล้อม ขยะ ภัยพิบัติ ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ ความขัดแย้ง อุบัติเหตุ ยาเสพติด และเด็กเยาวชน นำสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน กลุ่มผู้นำ กลุ่มอาชีพ และการทำงานของเครือข่าย เป้าหมายสู่การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดหนี้สิน ลดความเสี่ยงในการบริโภค ลดความขัดแย้งในชุมชน ลดสารเคมีการเกษตร ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ สำนักงานสปสช. สนับสนุนงบประมาณและร่วมทำงานเป็นภาคึเครือข่าย สนับสนุนการพึ่งตนเอง สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ให้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านให้ทุกคนได้ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมประชุม กระทรวงสาธารณะสุข ให้หน่วยบริการสาธารณะสุขมารับทุนกับสสส.เพื่อให้ทำงานร่วมกับชุมชนได้ ให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น ไทยพีบีเอส ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงโครงการมากขึ้น นำเสนอบทเรียนพื้นที่สำเร็จเป็นตัวอย่าง นำเสนอรายการที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาโครงการและรายการที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดคนทำงานชุมชนน่าอยู่เพิ่มขึ้น สช. ให้ชุมชนได้แสนอแนวทางการพัฒนาและร่วมเป็นภาคึเครือข่ายได้มากขึ้น

     

    3 3

    67. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ปิดงวดโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ สจรส.เพื่อนำส่งเอกสารการเงิน และรายงานผลการดำเนินงานโครงการ เพื่อปิดงวดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานของโครงมีการจัดทำรายงานการเงินอย่างถูกต้องและสามารถนำส่งเอกสารตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามแผน และปิดงวดโครงการได้เสร็จสมบูรณ์

     

    2 3

    68. จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้จัดทำรายงานการเงินและรายงานผลการดำเนินงานได้เสร็จตามระยะเวลาที่สจรส.กำหนดไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานการเงินและรายงานผลการดำเนินงานโครงการเรียบร้อยสมบูรณ์

     

    2 3

    69. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรมโครงการทั้งหมด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ภาพถ่ายจากการจัดกิจกรรมของโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของคณะทำงานและคนในชุมชน

     

    1 1

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้คนในชุมชนผลิดข้าวอินทรีย์กินเอง
    ตัวชี้วัด : 1. มีกลุ่มครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวกินเอง จำนวน 30 ครัวเรือน จากครัวเรือนทำนาทั้งหมด 60 ครัวเรือน 2. มีกลุ่มผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 1 กลุ่ม 30 คน 3. มีแปลงนาอินทรีย์ 30 ไร่ 30 ราย 4. มีข้าวปลอดภัยให้คนในชุมชนไว้บริโภคไม่น้อยกว่า 12 ตัน 5. มีธนาคารเมล็ดพันธ์ุข้าว 6. มีกฎระเบียบในการผลิตข้าวอินทรีย์
    • มีครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวกินเอง จำนวน 15 ราย จำนวน 30 ไร่
    • ครัวเรือนนำร่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ใช้เองในนาข้าว
    • เกิดกลุ่มผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 1 กลุ่ม สมาชิก จำนวน 30 คน
    • มีแปลงนาอินทรีย์สาธิต จำนวน 3 ไร่ จำนวน 3 แบบคือ นาหว่าน นาดำและนาโยน
    2 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี/เรื่องต้นทุนการผลิต/เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์
    ตัวชี้วัด : 1. มีเวทีเรียนรู้ มีคนเข้าร่วมเวทีจำนวน 60 คน มีครัวเรือนตัวแทนของคน 3 วัย ตัวแทนครัวเรือน ที่ตัดสินเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องจำนวน 30 ครัวเรือน 2. มีชุดข้อมูลผลกระทบของการทำนาเคมีและการคืนข้อมูล 3. มีแผนปฏิบัติการหนุนเสริมการทำนาอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง 4. มีชาวนาและเยาวชนที่มีความรู้และสามารถในการจัดการแปลงนา/การทำและใช้ปุ๋ยชีวภาพ/วิธีการบำรุงรักษา/การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช/การคัดพันธ์ข้าว/การเก็บเกี่ยวข้าว/การทำนาต้นทุนสูงเปรียบเทียบกับการทำวิถีนาอินทรีย์ที่สามารถลดต้นทุน พึ่งตนเองในการทำนาและเอื้อต่อสุขภาวะของชุมชน
    • มีเวทีเรียนรู้ มีคนเข้าร่วมเวทีจำนวน 60 คน มีครัวเรือนตัวแทนของคน 3 วัย ตัวแทนครัวเรือน ที่ตัดสินเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่อง จำนวน 30 ครัวเรือน
    • มีชุดข้อมูลผลกระทบของการทำนาเคมี
    • มีชุดข้อมูลการผลิต บริโภค ข้าวของในชุมชนและมีการคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้รับรู้ร่วมกัน
    3 เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมประจำเดือนทุกเดือน 2. มีวาระการประชุม เรื่องโครงการและเรื่องของชุมชน 3. ในการประชุมทุกครั้ง มีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4. มีการพัฒนศักยภาพสภาผู้นำชุมชนให้มีทักษะ ความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน
    • มีการประชุมประจำเดือนทุกเดือน
    • ในการประชุมทุกครั้ง มีการสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ การรายงานการเงินของโครงการ และวางแผนการทำงานของโครงการด้วย
    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • มีคณะทำงานและผู้รับผิดชอบโครงการ เข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้งที่จัด
    • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่ประชุมและสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คนในชุมชนผลิดข้าวอินทรีย์กินเอง (2) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี/เรื่องต้นทุนการผลิต/เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ (3) เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)

    รหัสโครงการ 58-03832 รหัสสัญญา 58-00-1933 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องวิธีการทำ นาหว่าน นาดำ นาโยน

    รายงานการประชุม ภาพถ่ายกิจกรรม

    ร่วมสร้างเครือข่ายและให้ความรู้กับชุมชนให้คนหันมาทำนาอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    เกษตรกรได้บริโภคข้าวที่ปลอดจากสารพิษ

    ข้าวสาร ภาพถ่ายกิจกรรม

    จัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าอาทิเช่นสีเป็นข้าวกล้อง (ไม่ขัดขาว)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    มีการคิด วางแผนดำเนินการ อย่างเป็นขั้นตอนโดยจุดประสงค์หลักคือให้คนในชุมชนหันมาปลูกข้าวกินเอง(นาอินทรีย์)เพื่อลดต้นทุนการผลิต และได้กินข้าวที่ปลอดสารพิษ

    รายงานการประชุมและภาพถ่าย

    นำความรู้ที่ได้ไปขยายต่อให้ชุมชนใกล้เคียงหันมาทำนาอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีและความสมดุลทางธรรมชาติคืนกลับมา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ศึกษาดูงานเพื่อหาความรู้/สร้างกลุ่ม/สร้างข้อตกลงร่วมกัน/ลงมือปฎิบัติจริงตามขั้นตอนโดยมีทีมพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ

    ภาพถ่ายกิจกรรม รายงานการประชุม บันทึกการลงทะเบียน

    หาความรู้เพิ่มเติมและนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่กับชุมชนต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มเกษตรกรนาอินทรีย์ สร้างความสามัคคีการทำงานเป็นทีม การช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว

    ภาพถ่ายกิจกรรม บันทึกการลงทะเบียน

    ขยายกลุ่มนาอินทรีย์ให้เพิ่มมากขึ้นและให้ความรู้แก่ผู้สนใจ/ศึกษาดูงาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    กลุ่มคนที่เข้าร่วมโครงการเริ่มหันมาสนใจสุขภาพและตระหนักถึงเรื่องการบริโภคข้าวสารที่มีสารเจือปนทำให้มีแรงผลักดันที่จะทำนาอินทรีย์ไว้กินเองตลอดไป

    สุขภาพชาวนาที่ดีขึ้นที่ได้กินข้าวที่ปลอดสารพิษร้อยเปอร์เซ็นต์

    ส่งเสริมสนับสนุนและให้ความรู้แก่ชาวบ้านและเกษตกรให้หันมาทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    กลุ่มทำนาอินทรีย์ทุกครัวเรือนได้บริโภคข้าวที่ปลอดสารพิษ100%และได้แจกจ่ายแบ่งขายให้คนในชุมชนได้นำไปบริโภคด้วย

    ภาพถ่ายกิจกรรม ชาวนามีข้าวกิน และปลอดภัย

    มีการแบ่งข้าวสารให้คนในชุมชนได้บริโภคและมีการเก็บพันธ์ข้าวเปลือกไว้ขยายพันธ์ต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    กลุ่มทำนาอินทรีย์จะช่วยกันผลัดเปลี่ยนกันลงแขกช่วยทำทั้งตอนที่หว่าน ดำ โยน และเก็บเกี่ยวจะไม่จ้างแรงงานถือว่าเป็นการออกกำลังกายไปในตัว

    มีสุขภาพที่ดีขึ้นเห็นได้จากการดำรงชีวิตและปัญหาสุขภาพก็ลดน้อยลง

    รณรงค์ให้คนในชุมชนบริโภคพืชผักปลอดสารพิษและหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ลด ละ เลิก อบายมุขเพื่อปลูกฝังสิ่งที่ดีๆแก่เยาวชนรุ่นหลัง

    รายงานการประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน

    ให้ความรู้เด็กเยาวชนให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสนับสนุนให้เล่นกีฬาออกกำลังกาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    ให้ความรู้แก่เด็กเยาชนและได้นำเด็กเยาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการเพื่อปลูกฝังและนำไปประยุกต์ปฎิบัติใช้ต่อไป

    ภาพถ่ายกิจกรรม/บันทึกการลงทะเบียน

    สังเกตุพฤติกรรมหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้ทำหรือจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการนำกลุ่มสมาชิกและผู้ที่สนใจไปทรรศนะศึกษาดูงานในที่ต่างๆทุกคนที่ไปต่างชอบและสนุกกับการได้ไปศึกษาสิ่งแปลกใหม่ได้นำมาปฎิบัติใช้ในชุมชน

    ภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการทำน้ำหมักชีวภาพเองโดยหาเศษวัสดุจากธรรมชาติมาทำปุ๋ย และทำยาปราบศัตรูพืชแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

    ภาพถ่ายกิจกรรม รายงานการประชุม

    สนับสนุนส่งเสริมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้และเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการสร้างข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการไม่ใช้สารเคมี100%เพื่อให้สภาพดินปรับความสมดุลและคืนชีวิตธรรมชาติกลับมา

    ภาพถ่ายกิจกรรมการสร้างจิตสำนึก

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการทำงานแบบมีส่วนร่วมซึ่งประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนจากกลุ่มอาชีพในชุมชน เกษตรกร โรงเรียน เด็กเยาวชน และกลุ่มภาคีเครือข่ายภายนอกในการติดต่อประสานงานและดำเนินกิจกรรม

    บันทึกการลงทะเบียน ภาพถ่ายกิจกรรม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกษตกรลดต้นทุนในการผลิต สร้างอาชีพเสริมจากการแปรรูปผลผลิต

    ข้าวสารจากนาอินทรีย์

    เรียนรู้เรื่องการแปรรูปผลผลิตจากข้าวอินทรีย์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มนาอินทรีย์ต้องยึดกติการ่วมกันคือต้องไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีอย่างเด็ดขาด

    ภาพถ่ายการทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมัก/ยาปราบศัตรูพืชไว้ใช้เองถือเป็นสัญญาใจร่วมกัน

    ร่วมกันปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงกันจากกลุ่มต่างๆเช่นตัวแทนกลุ่มอาชีพ กรรมการหมู่บ้าน ประชาชนโรงเรียน เด็กเยาวน เครือข่ายภายนอกต่างๆ

    ภาพถ่ายจากกิจกรรมต่างๆ

    ติดต่อประสานงานจากแหล่งความรู้ข้างนอกเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ช่วยประสานงานด้านต่างๆเหิ่มเติม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีการจัดกิจกรรมให้ชาวบ้านเด็กเยาวชนทำงานร่วมกันมีการแบ่งงานวางแผนงานให้แต่ละคนช่วยกันคิดหรือแสดงความคิดเห็นร่วมกันพร้อมกับเสนอปัญหาอุปสรรคและช่วยกันหาทางออกและวิธีแก้ไขซึ่งทุกคนต่างก็มีส่วนร่วมในทุกๆกิจกรรม

    ภาพถ่ายกิจกรรม รายงานการประชุมและแบบบันทึกการลงทะเบียน

    ผู้เข้าร่วมโครงการเริ่มกล้าแสดงออกกล้าเสนอปัญหาและเริ่มมีความคิดที่แปลกใหม่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้แรงงานจากคนในชุมชนโดยวิธีการลงแขกช่วยกันไม่มีค่าแรงงานจ้างในขั้นตอนของการทำนาดำ นาโยนและขั้นตอนการเก็บเกี่ยว

    ภาพถ่ายกิจกรรม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ในปีถัดไปมีความคิดจะทำโครงการในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรเพื่อให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่และสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น

    -

    ศึกษาดูงานหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักเปียกและแห้ง/การทำน้ำหมักชีวภาพ/การกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ

    มีการนำไปทำต่อที่บ้านของแต่ละครัวเรือน

    สนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์โดยจะหาแหล่งเงินทุนจากข้างนอกมาช่วยสนับสนุนหรือสมทบทุน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    จากการจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมการกินข้าวของคนในชุมชนทำให้หลายๆคนมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินข้าวโดยจะหันมากินข้าวที่ปลูกเองเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

    รายงานการประชุม/ภาพถ่ายกิจกรรม

    รณรงค์การบริโภคข้าวพืชผักที่ปลอดภัยจากสารเคมี การลดต้นทุนการผลิต การประหยัดลดรายจ่ายในครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ภาคภูมิใจที่เห็นถึงความเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันของคนในชุมชนและจากกลุ่มต่างๆ

    ภาพจากกิจกรรมต่างๆ

    สร้างความกลมเกลียวโดยการทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ในระหว่างจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีความสามัคคีไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกัน ทุกคนสัมผัสถึงตรงนี้ได้

    ผลงานที่สำเร็จลุล่วงและจากรายงานกิจกรรม

    ทำกิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคีโดยเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายจากหลายๆกลุ่มคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    จากการดำเนินโครงการชาวบ้านรู้จักที่จะประหยัดเริ่มคิดที่จะทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยเริ่มจากการปลูกผักสวนครัวไว้กินเองทำนากินเองซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

    จากพื้นที่จริง:แต่ละบ้านมีผักสวนครัวไว้กินเกือบทุกบ้าน

    มีการวางโครงการจะให้เกษตรกรในหมู่บ้านหันมาทำเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    จากกิจกรรมต่างๆในมื้ออาหารกลางวันสมาชิกกลุ่มหรือผู้เข้าร่วมโครงการมีการยกปิ่นโตมารับประทานอาหารร่วมกันมีการล้อมวงกันกินข้าวเป็นบรรยากาศที่หาชมได้ยากและเห็นแล้วมีความสุข

    ภาพถ่ายกิจกรรม

    พัฒนาและปลูกฝังเด็กเยาวชนในชุมชนให้รู้จักการแบ่งปัน การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง) จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 58-03832

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง ยุภา ธนนิมิตร )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด