ศูนย์การเรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอินทรีชีวภาพครบวงจรเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ที่บ้านควนพัง (ต่อเนื่องปี2)

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอินทรีชีวภาพครบวงจรเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ที่บ้านควนพัง (ต่อเนื่องปี2)

ชุมชน บ้านควนพัง หมู่ที่ 2 ตำบลควนพัง อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03879 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2045

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2015 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2016

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 3 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทราบแนวทางการดำเนินโครงการ และวิธีการในการจัดทำรายงานต่าง ๆ ผ่านระบบเว็บไซด์ตนใต้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ และการจัดทำรายงานต่างๆ ผ่านระบบเว็บไซด์ คนใต้สร้างสุข ซึ่งสามารถนำไปขยายผลและนำไปใช้ในการดำเนินโครงการได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เข้าร่วมปฐมนิเทศเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินโครงการและการจัดบันทึกข้อมูลรายละเอียดผ่านระบบเวปไซด์ คนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการจาก ผศ.ดร.พงเทพษ์ และทีมงานของ สจรส.มอ ลงมือปฏิบัติการเกี่ยวกับการรายงานผลต่างๆ ผ่านเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

2 2

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 9 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มทำงานโดยปราศจากการสูบบุหรี่ ทำให้สุขภาพแข็งแรง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการติดตั้งป้ายเขตปลอดบุหรี่จำนวน 2 ป้าย ที่ รพ.สต.บ้านทำเนียบ และ โรงเรียนสุนทราภิบาล ซึ่งเป็นสถานที่ในการจัดประชุมกิจกรรมต่างๆ ของโครงการและประชุมหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อรณรงค์ภายในโรงเรียน และ รพ.สต. บ้านทำเนียบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 9.00-12.00 จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ และล้างอัดขยายภาพ
  • 12.00-13.00 ติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ ที่โรงเรียนสุนทราภิบาล และ รพ.สต. บ้านทำเนียบ
  • photo
  • photo

 

10 10

3. ประชุมคณะทำงานและแกนนำในชุมชนเดือนตุลาคม

วันที่ 10 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการและแผนการดำเนินงานให้กับประชาชนรับทราบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.พัฒนาแกนนำในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง รู้จักแก้ปัญหา จำนวน 20 คน 2.มีการกำกับติดตามให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามตารางกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านทำเนียบ และ อสม. รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินโครงการร่วมไปถึงได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับโครงการ ว่าเป็นโครงการที่ดี รักษาวัฒนธรรมและฟื้นฟูการทำนา ได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน และจะมีการประชุมเพื่อวางแผนการทำโครงการทุกเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพเป็นสภาผู้นำ จากกิจกรรม โดยมีการประชุม ทบทวน วางแผน ติดตาม การดำเนินงานตลอดปี มีการจัดทำข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 09.00-10.00น.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางมาพร้อมกัน ณ ศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอนทรีย์ครบวงจร
  • 10.00-11.00น.คณะทำงานได้ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
  • 11.00-11.30น.แกนนำในชุมชนชี้แจงขั้นตอนแนวทางการทำงานและการลงมือปฏิบัติให้กับกลุ่ม อสม. และประชาชนทั่วไปรับทราบ
  • 11.30-12.00น.ร่วมรับประทานอาหารว่าง
  • 12.00-12.30น.คณะทำงานเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังจากนั้นคณะทำงานได้สรุปข้อมูลที่ได้ในการประชุมครั้งนี้ และเสร็จสิ้นการประชุมในวันนี้
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

20 43

4. สำรวจข้อมูลเพื่อทำแผนที่นิเวศท้องนา

วันที่ 11 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการและปัญหาต่างๆ ในชุมชนในรูปแบบของสภาผู้นำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนที่ทำมือระบบนิเวศนาบ้านควนพัง เพื่อใช้ในการคืนข้อมูลให้ชุมชนได้ทราบสภาพปัจจุบันของการทำนาและระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้สำรวจข้อมูลเพื่อทำแผนที่นิเวศ

  1. ได้ทำแผนที่ด้วยมือเกี่ยวกับระบบนิเวศ
  2. สามารถทำให้ประชาชนรู้ถึงข้อมูลชุมชนเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบันในการทำนามากขึ้น
  3. ทำให้การทำนาได้ผลดีมากกว่าเดิม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กิจกรรมออกแบบกระบวนการสำรวจข้อมูล และข้อมูลจำเป็น เพื่อทำการสำรวจและจัดทำเป็นแผนที่ทำมือ แผนที่นาอินทรี นาเคมี และระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง โดยการให้เยาวชนจิตอาสาเป็นผู้ดำเนินการในการเก็บข้อมูล และนำกลับมาวิเคราะห์และวาดเป็นแผนที่เดินดินระบบนิเวศนาบ้านควนพัง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศในการทำนาและได้จัดทำแผนที่ด้วยมือ แผนที่นาอินทรีย์ นาเคมีโดยประชนชนในชุมชนและเยาวชนช่วยกันดำเนินการในการเก็บข้อมูล เพื่อพัฒนาการทำนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • photo
  • photo
  • photo

 

40 40

5. เวทีคืนข้อมูลระบบนิเวศนาให้ชุมชน

วันที่ 21 ตุลาคม 2015 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีเศรษฐกิจครัวเรือนดีขึ้นด้วยวิถึการผลิตข้าวสังหยดอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ประชาชนในพื้นที่เกิดการรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมและวิถีการผลิตของชุมชนบนฐานนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไป
  2. ได้แกนนำที่จะเข้าร่วมการเรียนรู้เพื่อปรับพฤติกรรมการผลิต

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกียวกับการผลิตข้าว ทั้งแบบเคมี คือ เสี่ยงต่อการเป็นโรค เนื่องจากในกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจะใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าหญ้า จนกระทั่งเก็บเกี่ยว ข้าวออกรวงสวย แต่มีค่าใช้จ่ายเยอะ และเมื่อทานมาก ๆ จะส่งผลให้ร่างกายได้รับสารเคมีสะสม และแบบอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถผลิตได้เองในหมู่บ้าน มีชาวบ้านมาร่วมมือร่วมแรงกันทำปุ๋ย ลงแขกทำนา จนได้ข้าวที่ออกรวงสวยและมีเงินเหลือเก็บเนื่องจากต้นทุนการผลิตไม่แพง ซึ่งสามรถนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการผลิตข้าวเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีคืนข้อมูลระบบนิเวศให้กับชุมชนโดยการจัดนิทรรศการ การแสดงบทบาทสมมุติผลที่เกิดขึ้นในการผลิตข้าวแบบใช้เคมี ใช้อาสาสมัครที่ได้รับผลกระทบเล่าเหตุการณ์การดำเนินชีวิตการใช้สารเคมี และตัวอย่างของกลุ่มที่ใช้สารอินทรย์ในการทำนา เพื่อให้คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกและความตระหนักเห็นถึงความสำคัญจะร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาและร่วมทำกิจกรรมไปด้วยกัน รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คณะทำงานและแกนนำในชุมชนได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม
  2. ให้ประชาชนแสดงบทบาทสมมุติผลที่ที่เกิดขึ้นในการผลิตข้าวแบบเคมี และเล่าเรื่องเกี่ยวกับการผลิตข้าวแบบเคมี
  3. ให้ประชาชนอีกกลุ่มเล่าเกี่ยวกับการผลิตข้าวแบบอินทรีย์ใช้สารอินทรีย์ในการทำนา
  4. ทั้งสองกลุ่มเปรียบเทียบผลที่ได้รับและเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาและร่วมมือการทำกิจกรรมด้วยกัน
  • photo
  • photo
  • photo

 

100 100

6. กิจกรรมชวนน้องลงนา พัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการผลิตข้าวชุมชน

วันที่ 26 ตุลาคม 2015 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเสริมสร้างให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำนา ขั้นตอนการทำนา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มเยาวชนต้นกล้าผลิตข้าวอินทรีย์
  2. เกิดกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมระหว่างเยาวชนและผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน
  3. เกิดแปลงนาอินทรีย์ชีวภาพต้นแบบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ชีวภาพ ขั้นตอนการทำนา การถอนต้นกล้า และการดำนาทำให้สร้างความสามัคคีกันในหมู่ชาวบ้านและเยาวชนได้เป็นอย่างดีเยี่ยม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กิจกรรมนำเยาวชนจากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มาเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ชีวภาพ ในพื้นที่ว่างเปล่าที่เป็นนาร้างในหมู่บ้าน เพื่อให้เยาวชนเป็นผู้ปลูกผู้ดูแลรักษาผู้เก็บเกี่ยว และนำผลผลิตที่ได้มาเป็นเมล็ดพันธุ์ตั้งต้นในธนาคารเมล็ดพันธุ์ อันจะทำให้เกิดความยั่งยืนทั้งในเชิงกระบวนการและในส่วนของวัตถุดิบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • กิจกรรมนำเยาวชนจากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มาเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ชีวภาพ ในพื้นที่ว่างเปล่าที่เป็นนาร้างในหมู่บ้าน เพื่อให้เยาวชนเป็นผู้ปลูกผู้ดูแลรักษาผู้เก็บเกี่ยว และนำผลผลิตที่ได้มาเป็นเมล็ดพันธุ์ตั้งต้นในธนาคารเมล็ดพันธุ์ อันจะทำให้เกิดความยั่งยืนทั้งในเชิงกระบวนการและในส่วนของวัตถุดิบ
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

54 15

7. ประชุมคณะทำงานและแกนนำในชุมชนเดือนพฤศจิกายน

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.พัฒนาแกนนำในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง รู้จักแก้ปัญหา จำนวน 20 คน 2.มีการกำกับติดตามให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามตารางกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการประชุมทำให้แกนในชุมชน สภาผู้นำ และคณะทำงาน มีความเข้มแข็ง รู้จักแก้ปัญหา ในการทำกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับโครงการเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพเป็นสภาผู้นำ จากกิจกรรม โดยมีการประชุม ทบทวน วางแผน ติดตาม การดำเนินงานตลอดปี มีการจัดทำข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานได้มีการประชุม ทบทวน วางแผน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ
  • photo
  • photo
  • photo

 

20 20

8. สร้างกระบวนการเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ ตั้งแต่ก่อยการปลูก การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2015 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวสังหยดอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตข้าวที่ใช้เคมีมาเป็นการทำนาอินทรีย์ครบวงจร ไม่น้อยกว่า 200 ไร่

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ ได้แก่ แกลบ และขีวัว ผสมกันก่อนนำไปหมักอีก 15 วัน เพื่อจัดทำเป็นปุ๋ยใส่ในนาข้าว ทำให้ได้หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อใช้ในศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เรื่อง หลักสูตรการเรียนรู้ก่อนการผลิต ซึ่งสอดคล้องกับความชาวบ้านในการเรียนรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานร่วมกับนักวิชาการตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ และกลุ่มเยาวชน ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนรู้วิถีการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ชีวภาพ ตั้งแต่กระบวนการก่อนการผลิต เช่น หลักสูตรการปรับปรุงดิน หลักสูตรการปรับปรุงน้ำ หลักสูตรการเตรียมเมล็ดพันธุ์ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษา หลักสูตรพืชร่วมนา หลักสูตรการกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยกระบวนการธรรมชาติและขั้นตอนการเก็บเกี่ยว หลักสูตรแกะเกี่ยวข้าว หลักสูตรการทำข้าวซ้อมมือ ซึ่งดำเนินการประชุมจำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการพัฒนาหลักสูตรก่อนผลิต ครั้งที่ 2 พัฒนาหลักสูตรการปลูกและการดูแล และครั้งที่ 3 หลักสูตรการเก็บเกี่ยว

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ได้ลงพื้นที่ในโครงการ มีคณะทำงานโครงการและตัวแทนชาวบ้านเขาร่วมให้ความรู้และร่วมคิดจัดทำหลักสูตร โดยในวันนี้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ก่อนการผลิต
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

60 60

9. สร้างกระบวนการเรียนรู้กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2015 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำนาแลกเปลี่ยนความรู้และยกระดับคุณภาพของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ได้รับความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์
  2. เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชนในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงาน ทีมสภาผู้นำ และตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ได้รู้วิธีการปลูกข้าวที่ถูกต้องและการกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และขั้นตอนการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้อง เช่น การเก็บเกี่ยวด้วยแกระข้าว เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานร่วมกับนักวิชาการตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ และกลุ่มเยาวชน ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนรู้วิถีการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ชีวภาพ ตั้งแต่กระบวนการก่อนการผลิต เช่น หลักสูตรการปรับปรุงดิน หลักสูตรการปรับปรุงน้ำ หลักสูตรการเตรียมเมล็ดพันธุ์ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษา หลักสูตรพืชร่วมนา หลักสูตรการกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยกระบวนการธรรมชาติและขั้นตอนการเก็บเกี่ยว หลักสูตรแกะเกี่ยวข้าว หลักสูตรการทำข้าวซ้อมมือ ซึ่งดำเนินการประชุมจำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการพัฒนาหลักสูตรก่อนผลิต ครั้งที่ 2 พัฒนาหลักสูตรการปลูกและการดูแล และครั้งที่ 3 หลักสูตรการเก็บเกี่ยว

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ได้ลงพื้นที่ในโครงการ มีคณะทำงานโครงการและตัวแทนชาวบ้านเขาร่วมให้ความรู้และร่วมคิดจัดทำหลักสูตรครั้งที่ 2 โดยจัดทำเรื่อง 1.เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปลูก 2.การกำจัดแมลงศัตรูพืช 3.การเก็บเกี่ยว
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 60

10. กิจกรรมลงแขกพัฒนาศูนย์เรียนรู้

วันที่ 5 ธันวาคม 2015 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อการส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปข้าวสังหยดอินทรีย์ชีวภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร 1 ศูนย์ที่สามารถใช้เป็นที่เรียนรู้ของคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต จากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนทำใหเเกิดศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอินทรีย์ครบวงจรขึ้น โดยศูนย์เรียนรู้มี 2 ส่วนหลัก คือส่วนที่เป็นแปลงนาสาธิต และอาคารศูนย์เรียนรู้การแปรรูปข้าวสังหยดและคนในชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้กระบวนการผลิตได้จากการลงมือปฏิบัติจริง
  • ผลลัพธ์ เกิดศูนย์เรียนรู้ที่เกิดขึ้นมีประชาชนมาร่วมกันพัฒนามากกว่า 40 คน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและมีหลักสูตรการเรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอินทรีย์ครบวงจร ประชาชนในพื้นที่ได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงในแปลงนาของตนเอง และเยาวชนสามารถเรียนรู้ได้จากแปลงนาสาธิตทำให้กระบวนการผลิตข้าวสังหยดอินทรีย์ได้รับการสืบทอด
  • ความเชื่อมโยงกับสุขภาวะ การดำเนินโครงการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของเยาวชนกับผู้ปกครองในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่ ทำให้สุขภาวะทางสังคมของชุมชนดีขึ้นนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดสุขภาวะทางจิตใจของคนในชุมชนที่ได้ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักษ์ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในระหว่างการจัดกิจกรรมนี้ด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กิจกรรมระดมผู้เข้าร่วมโครงการที่มีจิตอาสามาร่วมกันพัฒนาพื้นที่ภายในกลุ่มมั่งมีสังภัณฑ์ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่ง มีโรงเรือน และโรงสีเก่า ซึ่งทางกลุ่มยินดีให้ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้โดยการลงแขกเน้นการปรับพื้นที่ การจัดหาโต๊ะ เก้าอี้ และสื่อนิทรรศการที่ประกอบในศูนย์เรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 08.00-09.00 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางมาพร้อมกัน ณ ศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอนทรีย์ครบวงจร
  • 09.00-11.30 ร่วมกันลงแขกดำนำพัฒนาแปลงเรียนรู้การผลิตข้าวสังขหยดอินทรีย์
  • 11.30-13.00 รับประทานอาหารร่วมกัน
  • 13.00-17.00 ร่วมพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอินทรีย์ครบวงจร (ถางหญ้าและทำความสะอาดบริเวณ)
  • 17.00-18.30 รับประทานอาหารร่วมกันและแลกเปลี่ยนพูดคุยผลการจัดกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา
  • 18.30-20.00 ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
  • photo
  • photo
  • photo

 

50 50

11. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

วันที่ 7 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนด้านการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส.มอ. ครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการรายงานผลโครงการ เทคนิควิธีการในการจัดเวทีสรุปบทเรียนหรือถอดบทเรียนในชุมชน และได้จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการให้เป็นปัจจุบัน ณ วันที่อบรม
  • ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการคือสามารถนำไปขยายผลความรู้ให้กับคณะทำงานโครงการ และนำเทคนิคกระบวนการในการจัดเวทีถอดบทเรียนไปใช้ในการจัดเวทีแก้ปัญหาต่าง ๆในชุมชนได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • 09.00 - 11.00 การบรรยายแนวทางการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการผ่านเว็บไซด์ การเขียนรายงานและการถอดบทเรียน โดย อ.ไพฑูรย์ทองสม และเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.
  • 11.00 3 12.00 บรรยายแนวทางการดำเนินการด้านภาษีอากรตามแนวทางใหม่ที่ สสส. กำหนด โดย เจ้าหน้สที่ของ สจรส.มอ.
  • 13.00 - 15.00 ปฏิบัติการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการร่วมกับทีมพี่เลี้ยงสนับสนุนวิชาการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 09.00 - 11.00 ฟังการบรรยายเกี่ยวกับแนวทางขั้้นตอนการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการผ่านเว็บไซด์ และกระบวนการถอดบทเรียนโครงการโดย อ.ไพฑูรย์ทองสม และทีมเจ้าหน้าที่ สจรส. มอ.
  • 11.00 - 12.00 การบรรยายและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องภาษาอากร โดยเจ้าหน้าที่ของ สจรส.มอ.
  • 13.00 - 15.00 ฝึกปฏิบัติการจัดทำรายงานกิจกรรมการดำเนิโครงการผ่านเว็บไซด์ร่วมกับพี่เลี้ยงสนับสนุนวิชาการ เพื่อให้ได้รายงานที่ถูกต้องสมบูรณ์
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

2 2

12. ประชุมคณะทำงานและแกนนำในชุมชนเดือนธันวาคม

วันที่ 10 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินกิจกรรมในระยะต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.พัฒนาแกนนำในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง รู้จักแก้ปัญหา จำนวน 20 คน 2.มีการกำกับติดตามให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามตารางกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. จากการประชุมคือรายงานผลการดำเนินโครงการได้รับการเติมเต็มจากคณะทำงานและแกนนำที่เข้าร่วมโครงการจนได้เป็นรายงานที่สมบูรณ์ มีการปรับแผน แบ่งหน้าที่ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผน และสอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่
  2. ปัญหาอื่น ๆ ในชุมชนได้รับการนำเสนอในที่ประชุม และที่ประชุมได้ใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
  • ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นคือปัญหาอื่น ๆที่นอกเหนือจากการดำเนินโครงการได้รับการนำมาพูดคุยในกลุ่มแกนนำชุมชน และร่วมกันหาทางออก จนสามารถนำไปเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพเป็นสภาผู้นำจากกิจกรรมโดยมีการประชุม ทบทวน วางแผน ติดตาม การดำเนินงานตลอดปี มีการจัดทำข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 10.00 น. เริ่มประชุมโดยประธานคณะทำงานโครงการ
  • 10.00 - 10.30 น. คุณมะลิวัลย์ คณะทำงานโครงการได้ชี้แจงผลการดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านมา และรายงานทางการเงินของโครงการ โดยนำเสนอเป็นเอกสารและนำเสนอรายงานที่ผ่านทางเว็บไซด์
  • 10.30 - 11.30 ประธานคณะทำงานโครงการนำเสนอกิจกรรมที่จะจัดในระยะถัดไป และขอความคิดเห็นจากที่ประชุมเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จะจัดสถานที่จัดวิทยากร และผู้รับผิดชอบที่จะประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  • 11.30 - 12.00 สรุปผลการประชุม และซักถามปัญหาอื่น ๆในชุมชนเพื่อร่วมกันหาแนวางแก้ไข
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

20 39

13. จัดทำรายงานความก้าวหน้า งวด 1

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เอกสารการเงินถูกต้อง ได้รับคำแนะนำเรื่องการเขียนรายงานผลกิจกรรม ต้องเพิ่มข้อมูลและรูปภาพให้สอดคล้องกับเนื้อหา ก่อนส่งรายงานให้ทาง สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ ที่ สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า นำเอกสารการเงินมาให้ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้อง

 

2 1

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 31 13                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,100.00 139,818.00                  
คุณภาพกิจกรรม 52 50                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการทำนา กำหนดเวลาไว้ไม่เหมาะสมกับสภาพจริง ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ตามแผน

สาเหตุเกิดจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ต้องมีการเร่งการทำนาปีของชาวบ้านเพื่อให้ทันกับฝนที่ตกลงมา ทำให้ต้องขยับกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้การทำนาให้เร็วขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้รับทุนได้ปรึกษากับพี่เลี้ยงเพื่อปรับปฏิทินกิจกรรม ซึ่งพี่เลี้ยงได้ให้คำแนะนำว่ากระทำได้ ส่วนงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้ซึ่งอยู่ในงวดที่สองนั้น ทางคณะทำงานได้หารือร่วมกับกองทุนหมู่บ้านและเกษตรอำเภอเพื่อขอใช้งบของกองทุนหมู่บ้านสำรองไปก่อน ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดีจากกองทุนหมู่บ้านที่ให้ใช้เงินสำรองจ่ายโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยมีเกษตรอำเภอเป็นผู้ค้ำประกันให้

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. จัดทำรายงานความก้าวหน้า งวด 1 ( 21 ก.พ. 2016 )
  2. ประชุมคณะทำงานและแกนนำในชุมชนเดือนมีนาคม ( 10 มี.ค. 2016 )
  3. ประชุมคณะทำงานและแกนนำในชุมชนเดือนเมษายน ( 10 เม.ย. 2016 )
  4. กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ ( 2 พ.ค. 2016 )
  5. ประชุมคณะทำงานและแกนนำในชุมชนเดือนพฤษภาคม ( 10 พ.ค. 2016 )
  6. รวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์ มีธนาคารเมล็ดพันธุ์ ( 20 พ.ค. 2016 )
  7. สร้างกลไกการขับเคลื่อนข้าวสังข์หยดอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร ( 6 มิ.ย. 2016 )
  8. ประชุมคณะทำงานและแกนนำในชุมชนเดือนมิถุนายน ( 10 มิ.ย. 2016 )
  9. ประชุมคณะทำงานและแกนนำในชุมชนเดือนกรกฎาคม ( 10 ก.ค. 2016 )
  10. เวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ ( 15 ก.ค. 2016 )
  11. สรุปประเมินผลและจัดทำชุดความรู้ ( 10 ส.ค. 2016 )

(................................)
นาง วิมล ส้มนิ่ม
ผู้รับผิดชอบโครงการ