directions_run

เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2) ”

บ้านคลองสองปาก หมู่ที่ 8 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย เกียรติ อุมารี

ชื่อโครงการ เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)

ที่อยู่ บ้านคลองสองปาก หมู่ที่ 8 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03848 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2207

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2) จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านคลองสองปาก หมู่ที่ 8 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)



บทคัดย่อ

โครงการ " เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านคลองสองปาก หมู่ที่ 8 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03848 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 209,750.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 382 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. หนุนเสริมกลไกสภาผู้นำชุมชนเดิมและสร้างเกิดกลไลเยาวชนใหม่มาขับเคลื่อนกิจกรรมของเยาวชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
  2. เพื่อสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านเยาวชนให้เป็นปัจจุบัน มีรายละเอียดเพียงพอใช้เป็นฐานข้อมลในการทำแผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชนได้
  3. เพื่อทำแผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชน โดยเยาวชนและครอบครัวมีส่วนร่วม
  4. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและคนในชุมชนในการปฏิบัติการกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีคุณค่า ในอันที่จะนำไปสู่การป้องกันแก้ไขปัญหาเยาวชน
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับโครงการที่ได้จัดทำสัญญาข้อตกลงกับสสส วิทยากรบรรยายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับรูปภาพที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ วิทยากรแนะนำการใช้งานเว็บไซต์ http://happynetwork.org/ ลงรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ โดยมีวิทยากรแนะนำการใช้งาน จัดทำแผนการดำเนินงาน ,ปฎิทินโครงการบนเว็บไซต์ http://happynetwork.org/ เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารสำคัญทางการเงิน วิทยากรแนะนำการบันทึกรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการทำโครงการ ให้แต่ละโครงทำแบบสรุปรายงานการใช้เงินในกิจกรรมปฐมนิเทศ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รู้จักระเบียบงาน สสส. ได้รู้วิธีการรายงานทางเวปไซด์ และการทำเอกสารต่างๆ ได้จัดทำแผนการดำเนินงานและปฎิทินโครงการบนเว็บไซต์

     

    2 2

    2. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 1/10

    วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชน 50คนทำกิจกรรมแนะนำตัว มีนักเรียนตั้งแต่ ป.1-ม.6 และรุ่นพี่ที่จบแล้ว บางคนไม่เรียน บางคนเรียนกศน.
    • ครูฮัมเสาะ ช่วยอธิบายกิจกรรมโครงการให้เยาวชนรับทราบว่าที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนได้แก่ การทำเพจเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ การจัดกีฬาสีครอบครัว การสำรวจข้อมูลเยาวชน การศึกษาอาชีพของพ่อแม่
    • มีการคัดเลือกประธานสภาเยาวชน ได้แก่นาย รองประธานคนที่1ได้แก่รองประธานคนที่2 ได้แก่ประชาสัมพันธ์ ได้แก่เลขานุการ ได้แก่
    • ต่อไปสภาเยาวชนนัดประชุมเดือนละครั้ง ทุกวันอาทิตย์ที่สองของเดือน ณ โรงอาหาร โรงเรียนบ้านคลองสองปาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน50 คนมาร่วมกันเป็นสภาเยาวชนบ้านคลองสองปาก
    • เยาวชนได้ทำความรู้จักกัน และสร้างสภาเพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่อไป

     

    50 50

    3. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 1/10

    วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายเกียรติ อุมารี ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงโครงการ สสส.ปีที่2ว่าดำเนินการเรื่องเยาวชนเป็นหลักต่อเนื่องมาจากปีแรก สภาผู้นำชุมชนทำงานต่ออีก 1 ปี มีการสลับคนเข้าออกเนื่องจากบางคนไม่สะดวกแต่ได้หาตัวแทนมาดำเนินการแล้ว รายชื่อสภาให้ครูฮัมเศาะทำใหม่ให้เรียนร้อย และทำเป็นคำสั่งหมู่บ้านต่อไป
    • ครูฮัมเศาะ ได้ชี้แจงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการในปีที่2นี้ ได้แก่ การอบรมสภาเยาวชน การปลูกป่า แข่งกีฬาสีครอบครัว การสำรวจข้อมูลเยาวชน การทำแผนด้านเยาวชน การจัดกลุ่มมัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยว พร้อมทั้งขอให้กรรมการช่วยประชาสัมพันธ์โครงการไปยังกลุ่มต่างๆเงินจาก สสส. โอนมาล่าช้าจึงยังไม่จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ก่อน
    • ตัวแทนเยาวชน มีคำถามว่าให้เยาวชนหมู่อื่นมาร่วมกิจกรรมได้หรือไม่เนื่องจากอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ผู้ใหญ่บ้านตอบว่าได้ แต่กรรมการหลักๆของสภาเยาวชนให้เป็นเยาวชนของหมู่ที่ 5
    • กิจกรรมต่อไปให้รองบประมาณก่อน โดยจะทำการเปิดตัวประชาสัมพันธ์โครงการ ส่วนการประชุมสภาผู้นำทำต่อเนื่องจากมีการประชุมหมู่บ้านอยู่แล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กรรมการสภาได้มาพบปะ รับรู้กิจกรรมโครงการปีที่ 2 ว่าทำอะไรบ้าง
    • มีการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการบ้างในบางกลุ่ม แต่สมาชิกยังครบเท่าเดิม40คน

     

    40 45

    4. ทำป้ายปลอดบุหรี่

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำป้ายตามขนาดที่ สสส  กำหนด และดำเนินการติดที่โรงน้ำปลา มัสยิด โรงเรียน บ้านผู้ใหญ่ และใช้ติดเวลาทำกิจกรรมนอกสถานที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ช่วยรณรงค์ให้หยุดสูบบุหรี่ มีพื้นที่เขตปลอดบุหรี่เพิ่มมากขึ้น และคนในชุมชนปฏิบัติตามไม่สูบบุหรี่

     

    500 500

    5. เปิดตัวโครงการและจัดตั้งสภาเยาวชน

    วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • หลังการละหมาดวันศุกร์ นายเกียรติ อุมารี ผู้ใหญ่บ้านคลองสองปากได้ขึ้นชี้แจงรายละเอียดโครงการ
    • จากนั้นมีการจัดการประชาสัมพันธ์กลุ่มแม่บ้าน ผู้สูงอายุและเด็กที่โรงอาหาร โรงเรียนบ้านคลองสองปาก โดยครูฮัมเศาะ ได้ขึ้นชี้แจงถึงโครงการสสส. อีกครั้งหนึ่ง ตามที่ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวที่มัสยิด โดยครูฮัมเศาะได้เพิ่มเติมว่า ปีนี้จะมีการจัดตั้งสภาเยาวชน เพื่อให้เยาวชนได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน วันนี้ขอเชิญเยาวชนมาสมัครเป็นสมาชิก ไม่จำกัดอายุ
    • ผู้เข้าร่วมประชุม ได้สอบถามว่าสามารถสมัครให้บุตรหลานแทนได้หรือไม่ ครูฮัมเศาะตอบว่าสมัครได้และยินดีต้อนรับ
    • ได้รายชื่อมาสมัคร 42 คน แล้วค่อยประชาสัมพันธ์รับสมัครต่อที่หน้าแถวโรงเรียนในวันจันทร์

    • จากนั้นมีการรับประทานอาหารร่วมกัน และแยกย้ายกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ แม่บ้าน อสม. เยาวชน 120 คน ได้รับรู้เรื่องโครงการสสส. ปีที่สอง เพื่อได้มาร่วมโครงการในครั้งต่อๆไป โครงการปีที่สองที่ได้รับทุนจาก สสส. ต้องทำความเข้าใจว่ากิจกรรมจะเข้มข้นขึ้น เน้นเชิงวิชาการ เช่นจะมีการเก็บข้อมูลด้านเยาวชน และนำข้อมูลมาทำแผน นอกจากนี้จะนำพาเด็กให้เรียนรู้การทำอาชีพของพ่อแม่ สอนให้เด็กเป็นคนนำเที่ยวป่าชายเลนของหมู่บ้าน เพื่อเตรียมเปิดเป็นแหล่งดูนกที่ป่าชายเลนต่อไป มีกิจกรรมระหว่างเด็ก พ่อแม่ โดยจัดกีฬาสีครอบครัวในช่วงปิดเทอม ก็ขอให้พี่น้องทุกคนมาร่วมแรงร่วมใจ ร่วมกิจกรรม เพื่อสร้างอนาคตให้เยาวชนลูกหลานคนสองปากให้ดี ห่างไกลยาเสพติด
    • ชาวบ้าน 120 คนได้ออกมาพบปะ แลกเปลี่ยนสาระทุกข์สุกดิบกัน ทำให้ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน
    • ได้สมาชิกสภาเยาวชนในการรับสมัครครั้งแรก 42 คน

     

    120 120

    6. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 2/10

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การประชุมช่วงแรกมีเจ้าหน้าที่จากอำเภอท่าแพมาให้ความรู้เรื่องการขับเคลื่อนการทำงานตามแนวทางประชารัฐ เมื่อวิทยากรบรรยายจบจึงเริ่มการประชุมสภาคลองสองปาก
    • นายเกียรติ อุมารี ผู้ใหญ่บ้านมอบหมายให้ครูฮัมเศาะ ผู้ประสานงานโครงการ สรุปผลการทำกิจกรรมเปิดตัวโครงการให้สมาชิกสภาผู้นำชุมชนรับฟัง
    • ครูฮัมเศาะ ชี้แจงว่า การทำเปิดตัวประชาสัมพันธ์โครงการในครั้งนี้จัดทำ2แห่ง คือ ในมัสยิดหลังละหมาดวันศุกร์ เพื่อกลุ่มเป้าหมายผู็ชาย และจัดที่โรงอาหาร โรงเรียนบ้านคลองสองปากในกลุ่มเป้าหมาย เด็ก สตรี และคนชรา
    • มีคนเข้าร่วมทั้งหมด120คนตามเป้าหมาย ใช้เงินไป 12,300 บาท
    • กิจกรรมครั้งต่อไปจะจัดอบรมบทบาทการเป็นสภาเยาวชน โดยพี่เลี้ยงหนุ่ยจะเชิญวิทยากรให้มาจาก พมจ.สตูล และให้ทีมแกนนำโครงการมาเตรียมอาหาร
    • อิหม่ามเสนอว่าขอมาร่วมด้วยเพื่อสอดแทรกจริยธรรมเล็กๆน้อยให้เยาวชน สมาชิกเห็นด้วย
    • ครูฮัมเศาะเสนออาหารจานเดียว เช่นข้าวผัด ข้าวหมก ขนมจีน สมาชิกมีมติให้ทำข้าวหมกไก่ ครูฮัมเศาะย้ำทีมอาหารว่าห้ามใช้กล่องโฟม ให้ใช้จานโรงเรียนเพราะเราทำโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังนั้นต้องทำเป็นตัวอย่างให้กับชาวบ้านในชุมชน
    • จากนั้นมีการชี้แจงข่าวสารจากอำเภอที่ผู้ใหญ่บ้านไปประชุมมา ได้แก่ การจัดอบรมอาชีพจากพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด การลงทะเบียนเกษตรกรอสม.แจ้งให้ทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลาย ปีนี้มีเด็กในหมู่บ้านเป็นไข้เลือดออก12คนแล้ว แต่อาการไม่รุนแรง ให้คว่ำกะลา ทุก7วันหรือทุกวันศุกร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาผู้นำชุมชน40คน ได้ร่วมรับรู้ผลการจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ และการใช้จ่ายเงิน
    • ได้เตรียมการจัดกิจกรรมอบรมบทบาทสภาเยาวชน

     

    40 25

    7. ทำความเข้าใจเยาวชนในการศึกษาตนเองและรากชุมชน

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายเกียรติอุมารี ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับทีมสภาเยาวชนบ้านนาโต๊ะขุน และให้โอวาทแก่เยาวชน หลีกห่างจากยาเสพติด ทำกิจกรรมสภาให้สำเร็จลุล่วง โดยมาให้ความร่วมมือทำกิจกรรมทุกครั้ง
    • ท่านอิหม่าม นำการอ่านฟาตีฮ๊ะ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณธรรม จริยธรรมทางศาสนา และเป็นสิริมงคลแก่การจัดกิจกรรม
    • คุณนฤมล ฮะอุรา พี่เลี้ยงแนะนำตัวและแนะนำวิทยากรคุณซีและคุณโบ้ จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสตูล
    • คุณซี และคุณโบ้ ชวนเยาวชนทำกิจกรรมสันทนาการเพื่อละลายพฤติกรรม เยาวชนบ้านคลองสองปากและบ้านนาโต๊ะขุนสนุกสนานกันมาก ให้ความสนใจร่วมมือเป็นอย่างดี วิทยากรสอดแทรกความรู้สลับกับการจัดกิจกรรม ได้แก่เรื่อง ความหมายของคำว่าเด็ก และเยาวชน สภาเยาวชนทำอะไรได้บ้าง การจดทะเบียนสภาเยาวชน
    • พี่เลี้ยงหนุ่ยสอนวิธีการลงเก็บข้อมูลแก่เยาวชน ได้แก่ การแนะนำตัว ชวนคุยเพื่อทำให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลาย แล้วค่อยแจ้งวัตถุประสงค์การเก็บข้อมูล จากนั้นได้อธิบายคำถามแต่ละข้อว่าควรซักถามอย่างไร อธิบายแก่คนที่ไปถามอย่างไรมีการให้ฝึกถามโดยการแสดงบทบาทสมมติ เยาวชนทำได้บ้า ไม่ได้บ้าง พี่เลี้ยงหนุ่ยบอกว่าไม่เป็นไรเพราะเราจะไปสัมภาษณ์แบบเป็นคู่ๆให้ช่วยกันตั้งคำถาม
    • ครูฮัมเศาะชี้แจงการลงเก็บข้อมูล ได้แก่ เก็บข้อมูลทั้งหมด200ครัวเรือน จะลงไปเก็บทั้งหมด4วัน วันละ50ครัวเรือน การลงแต่ละครั้งมีคนลงทั้งหมด60คนเป็นผู้ใหญ่ 10 คน ผู้ใหญ่จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้เยาวชนเป็นคนสอบถาม
    • ให้จับคู่กันสองคน รับผิดชอบถามครั้งละ2บ้าน ออกทั้งหมด4ครั้ง ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ของเดือนนี้
    • เยาวชนทุกคนเข้าใจมนแบบสอบถาม การถาม และการแบ่งหน้าที่ บ้านที่รับผิดชอบไปถาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 60 คน ได้รับความสนุกสนานจากการจัดกิจกรรมสันทนาการ
    • เยาวชน 60 คน ได้รับความรู้เรื่องบทบาท ขีดความสามารถของสภาเยาวชน
    • เยาวชน 60 คน ได้รับความรู้และฝึกทักษะการสอบถามเก็บข้อมูล
    • ได้แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูล

     

    60 63

    8. ลงภาคสนามเก็บข้อมูลสถานการณ์เยาวชนและทำแผนที่ศักยภาพคน 1/4

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เเบ่งกลุ่มสภาเยาวชนเป็น 2 กลุ่ม กลุมละ 25 คนโดยมีสภาผู้นำชุมชน กลุ่มละ 5 คน รวม60 คน
    • อิหม่ามประจำมัสยิดคลองสองปาก นายเชบ ดานเด็น เล่าข้อมูลประวัติ ในชุมชน
    • วันนี้เป็นการสำรวจโซนที่1 ครูเสาะมอบหมายให้เยาวชนทั้งสองกลุ่มลงสำรวจจำนวน50ครัวเรือน(กลุ่มละ25ครัวเรือน) โดยพูดคุยซักถามว่าในบ้านมีใครบ้าง ทำอาชีพอะไร ใครเก่งเรื่องอะไร จากนั้นจึงถามคำถามตามแบบสอบถาม
    • กลุ่มที่1นำโดยอิหม่ามเชบ และกลุ่มที่2นำโดยครูเสาะ
    • เยาวชนเก็บข้อมูลช่วงเช้าได้ประมาณกลุ่มละ 1-2หลังเนื่องจากเริ่มสาย จากนั้นกลับมารับประทานอาหารร่วมกันที่โรงเรียนบ้านคลองสองปาก ช่วงบ่ายจึงกระจายการออกสำรวจเนื่องจากมีประสบการณ์จากบ้านแรกแล้ว เพื่อให้ได้แบบสอบถามครบตามกลุ่มเป้าหมาย50ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เก็บข้อมูลได้ประมาณ 40 ครัวเรือน
    • เยาวชน 50 คน ได้เรียนรู้การลงศึกษาพื้นที่เพื่อค้นหาบุคคลที่ศักยภาพด้านต่างๆ
    • เยาวชน 50 คน ได้เรียนรู้การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามสถานการณ์เยาวชน
    • เยาวชน50คน และผู้ใหญ่10คน ได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น
    • สินสุดวันแรกปรากฎว่าเก็บข้อมูลได้ 35 ครัวเรือน ต่ำกว่าเป้าหมาย15ครัวเรือน จึงวางแผนอออกสำรวจให้เช้ากว่าเดิมในครั้งต่อไป

     

    60 64

    9. ลงภาคสนามเก็บข้อมูลสถานการณ์เยาวชนและทำแผนที่ศักยภาพคน 2/4

    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เเบ่งกลุ่มสภาเยาวชนเป็น 2 กลุ่ม กลุมละ 25 คนโดยมีสภาผู้นำชุมชน กลุ่มละ 5 คน รวม60 คน
    • วันนี้เป็นการสำรวจโซนที่2 ครูเสาะมอบหมายให้เยาวชนทั้งสองกลุ่มลงสำรวจจำนวน50ครัวเรือน(กลุ่มละ25ครัวเรือน) โดยพูดคุยซักถามว่าในบ้านมีใครบ้าง ทำอาชีพอะไร ใครเก่งเรื่องอะไร จากนั้นจึงถามคำถามตามแบบสอบถาม
    • กลุ่มที่1นำโดยอารี ตีกาสม กรรมการมัสยิด และกลุ่มที่2นำโดยครูเสาะ
    • ครั้งนี้เยาวชนเก็บข้อมูลช่วงเช้าตั้งแต่08.30 น.เมื่อเที่ยงกลับมารับประทานอาหารร่วมกันที่โรงเรียนบ้านคลองสองปาก ช่วงบ่ายจึงออกสำรวจอีกครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เก็บข้อมูลครัวเรือนในวันนี้ได้ 40 ครัวเรือน
    • เยาวชน 50 คน ได้เรียนรู้การลงศึกษาพื้นที่เพื่อค้นหาบุคคลที่ศักยภาพด้านต่างๆ
    • เยาวชน 50 คน ได้เรียนรู้การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามสถานการณ์เยาวชน
    • เยาวชน 50 คน และผู้ใหญ่ 10 คน ได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น
    • สิ้นสุดการสำรวจโซนที่ 2 ปรากฎว่าเก็บข้อมูลได้ 50 ครัวเรือน ต่ำกว่าเป้าหมาย15ครัวเรือน ซึ่งค้างมาจากครั้งที่ 1 นายดนุพล ประธานสภาเยาวชน จึงรับไปสำรวจที่ตกหล่นกับทีม 5 คน

     

    60 62

    10. ลงภาคสนามเก็บข้อมูลสถานการณ์เยาวชนและทำแผนที่ศักยภาพคน 3/4

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เเบ่งกลุ่มสภาเยาวชนเป็น 2 กลุ่ม กลุมละ 25 คนโดยมีสภาผู้นำชุมชน กลุ่มละ 5 คน รวม60 คน
    • วันนี้เป็นการสำรวจโซนที่3 ครูเสาะมอบหมายให้เยาวชนทั้งสองกลุ่มลงสำรวจจำนวน 25 ครัวเรือน(กลุ่มละ 13 ครัวเรือน) โดยพูดคุยซักถามว่าในบ้านมีใครบ้าง ทำอาชีพอะไร ใครเก่งเรื่องอะไร จากนั้นจึงถามคำถามตามแบบสอบถาม
    • กลุ่มที่1นำโดยนายเกียรติ อุมารี ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มที่2นำโดยครูเสาะ
    • ครั้งนี้เยาวชนนัดกันมากินมื้อเที่ยงแล้วออกสำรวจช่วงบ่ายจึงออกสำรวจ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายไม่มาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เก้บข้อมูลในครั้งที่ 3 ได้ 40 ครัวเรือน
    • เยาวชน 50 คน ได้เรียนรู้การลงศึกษาพื้นที่เพื่อค้นหาบุคคลที่ศักยภาพด้านต่างๆ
    • เยาวชน 50 คน ได้เรียนรู้การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามสถานการณ์เยาวชน
    • เยาวชน 50 คน และผู้ใหญ่ 10 คน ได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น
    • สิ้นสุดการสำรวจโซนที่ 3 ปรากฎว่าเก็บข้อมูลได้ 25 ครัวเรือน ครบเป้าหมาย

     

    60 60

    11. ลงภาคสนามเก็บข้อมูลสถานการณ์เยาวชนและทำแผนที่ศักยภาพคน 4/4

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เเบ่งกลุ่มสภาเยาวชนเป็น 2 กลุ่ม กลุมละ 25 คนโดยมีสภาผู้นำชุมชน กลุ่มละ 5 คน รวม60 คน
    • วันนี้เป็นการสำรวจโซนที่ 4 ครูเสาะมอบหมายให้เยาวชนทั้งสองกลุ่มลงสำรวจจำนวน 25 ครัวเรือน(กลุ่มละ 13 ครัวเรือน) โดยพูดคุยซักถามว่าในบ้านมีใครบ้าง ทำอาชีพอะไร ใครเก่งเรื่องอะไร จากนั้นจึงถามคำถามตามแบบสอบถาม
    • กลุ่มที่1นำโดยนายเกียรติ อุมารี ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มที่2นำโดยครูเสาะ
    • ครั้งนี้เป็นการสำรวจครั้งงสุดท้าย เยาวชนนัดกันมากินมื้อเที่ยงแล้วออกสำรวจช่วงบ่าย
    • สิ้นสุดการสำรวจโซนที่ 4 ปรากฎว่าเก็บข้อมูลได้ 25 ครัวเรือน ครบเป้าหมาย
    • เมื่อนำแบบสอบถามมานับ พบว่าได้ครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้150ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เก็บข้อมูลครั้งที่ 4 ได้ 30 ครัวเรือน
    • เยาวชน 50 คน ได้เรียนรู้การลงศึกษาพื้นที่เพื่อค้นหาบุคคลที่ศักยภาพด้านต่างๆ
    • เยาวชน 50 คน ได้เรียนรู้การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามสถานการณ์เยาวชน
    • เยาวชน50คน และผู้ใหญ่10คน ได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น
    • เยาวชนและทีมแกนนำสภาคลองสองปากรู้สึกมีความสุขที่งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี รู้สึกหายเหนื่อยกับการลงสำรวจมาตลอด4สัปดาห์
    • รวมจำนวนครัวเรือนที่เก็บสำรวจทั้ง 4 วัน 150 ครัวเรือน ได้ครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

     

    60 60

    12. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 2/10

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชน 45 คนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้สึก ประสบการณ์กิจกรรมศึกษาพื้นที่ เพื่อทำแผนที่ศักยภาพคน และการสำรวจข้อมูลสถานการณ์เยาวชนดังนี้
    • รู้สึกสนุกและมีสาระ ได้ฝึกการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม
    • รู้สึกดีใจที่ได้ไปเยียมบ้านผู้สูงอายุ
    • ได้เจอบ้านญาติผู้ใหญ่
    • ได้ทำกิจกรรมแปลกใหม่ร่วมกับเพื่อนๆ และผู้ใหญ่
    • ได้รู้จักกับคนในหมู่บ้านที่มีศักยภาพ ความสามารถด้านต่างๆ
    • ส่วนผู้ใหญ่ที่ได้ลงสำรวจร่วมกับเด็กรู้สึกดีใจที่เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้รู้จักหมู่บ้านของตนเองมากขึ้น
    • นัดหมายการทำแผนที่ศักยภาพคน และการรวบรวมข้อมูลในเดือนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 45คน ได้เรียนรู้การถอดบทเรียนกิจกรรมที่ได้ทำผ่านไป
    • เกิดการสรุปผลการทำงาน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในมิติการร่วมประเมินผลและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
    • ได้ข้อมูลสำหรับนำไปทำแผนที่ศักยภาพคนในชุมชนบ้านคลองสองปาก และจะนัดทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

     

    50 53

    13. อบรมการเขียนรายงานและการเงิน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ฟังวิทยากรบรรยายเรื่องการเขียนรายงานกิจกรรม การทำบัญชี การบันทึกกิจกรรมในเวปไซต์ และการเสียภาษี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เรียนรู้การทำรายงาน การทำบัญชี การบันทึกกิจกรรมในเวปไซต์ และการเสียภาษี

     

    2 2

    14. ประชุมสรุปข้อมูลศักยภาพคนและทำแผนที่ให้สมบูรณ์

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูเสาะทำการชี้แจงให้เยาวชนจับกลุ่มเป็น7กลุ่ม แล้วช่วยกันวาดแผนที่บ้าน จากนั้นลงช่วยกันลงข้อมูลว่าใคร ชื่ออะไรมีความสามารถด้านใด
    • เยาวชนแบ่งกลุ่ม วางแผนการวาดแผนที่กันเสียงดัง จนเมื่อได้ข้อสรุปแต่ละกลุ่มจึงลงมือวาดแผนที่และลงข้อมูล
    • ศักยภาพคนที่ค้นพบได้แก่ นางโบน เป็นหมอตำแย นายอนันต์เป็นนักฟุตบอลทีมจังหวัด นายศักรียาเป็นเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ มีปราชญ์เกษตรหลายท่าน นางอุ่นเป็นหมอบีบนวด นางบุหลันทำขนมเจาะรู นางตีอ๊ะ ทำขนมกะหรี่พัฟ นางฝาตีม๊ะทำน้ำปลา นางผ่องศรีทำปลาหวาน นางคอเดี้ยะทำแพหาและขายหอย นายอารีสอนอัลกรุอ่านแบบกีรออาตี เป็นต้น
    • ครูเสาะวางแผนจะนำแผนที่มาต่อกันทำให้เป็นแผนที่รวมของหมู่บ้านต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 50 คนได้เรียนรู้การทำแผนที่ศักยภาพคน
    • เกิดความหวงแหนรักบ้านเกิดจากการที่ได้เรียนรู้รากเหง้า อัตลักษณ์ของชุมชนของตนเอง
    • ได้แผนที่ัศักยภาพคน ประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ เรื่อง การรักษาโรค (หมอพื้นบ้าน) การรักษาสัตว์เลี้ยง เช่น วัว แพะ แกะ การทำขนมพื้นบ้าน การทำประงพื้นบ้าน การทำสวนเศรษฐกิจพอเพียง กีฬา เป็น จำนวน 7 ชุด และจะทำเป็นแผนที่ชุดใหญ่ที่รวมทั้งหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่ง

     

    60 60

    15. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 3/10

    วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทำกิจกรรมเล่นเกมส์เล็กน้อยก่อนเริ่มกิจกรรม โดยนายดนุพลให้รุ่นน้องร่วมเล่นเกมส์เก้าอี้ดนตรี ทุกคนสนุกสนานกันมาก จนต้องขอให้หยุดแล้วเข้าเรื่องวิชาการ
    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู็สึกจากการทำแผนที่ศักยภาพคน โดยทุกคนเสนอความเห็นดังนี้ การลงสำรวจสนุกแต่การมาทำแผนที่จริงรู้สึกแกร็งเพราะกลัวพลาด ได้ประสบการณ์รู้จักบ้านเรามากขึ้นแบบลึกซึ้ง ได้ฟังคนแก่เล่าเรื่องสนุกแต่ก่อน ได้ฟังความรู้สึกพ่อแม่ที่ให้สัมภาษณ์ ได้เห็นสีหน้าแววตามีความสุขของผู้สูงอายุ
    • จากนั้นครูเสาะมอบหมายให้ทำทะเบียนสมาชิกใหม่ โดยแบ่งเป็นสามกลุ่มอายุ คือ ตำกว่า10ปี กลุ่ม10 - 15 ปี และกลุาม 16 - 25ปี
    • นายดุพลนำเพื่อนและน้องทำงานจนเสร็จ มอบหมายให้นส.ศิระประภานำไปพิมพ์เพื่อส่งครูเสาะต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 50 คนได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน จะเห็นความสนิทสนมกลมเกลียวเยาวชนมากขึ้นทุกครั้งที่นัดมารวมกัน
    • เยาวชน 50 คน ได้ช่วยกันทำงานทำทะเบียนสมาชิก ทำให้เกิดทักษะการทำงาน มีน้ำใจรอให้งานเสร็จจึงแยกย้ายกลับ
    • เยาวชน 50 คนได้รวมตัวกันใช้เวลาว่างให้เกิดปนะโยชน์ไม่ไปมั่วสุม

     

    50 50

    16. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 3/10

    วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เดือนนี้มีทีมจากเกษตรอำเภอและพัฒนาชุมชนมาให้ความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงและการทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันและหนุนเสริมกิจกรรมของโครงการสสส.
    • จากนั้นครูเสาะได้ชี้แจงกิจกรรมโครงการสสส.ว่าขณะนี้เยาวชนได้ลงสำรวจข้อมูลที่บ้าน ขอความร่วมมือตอบคำถามให้เยาวชนด้วย
    • การประชุมสภาจะมีทุกเดือนแต่บางเดือนอาจมีกิจกรรมของทางราชการมาร่วมด้วย
    • ครั้งต่อไปหากอาคารอเนกประสงค์ที่มัสยิดเสร็จก็จะย้ายการประชุมนี้ไปประชุมี่โรงน้ำปลา
    • หากเยาวชนเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว จะทำการรวบรวมแล้วจะให้ตัวแทนเยาวชนมานำเสนอแก่ที่ประชุมคลองสองปากต่อไป
    • นายเกียรติอุมารี แจ้งเรื่องจากอำเภอ ได้แก่ การออกอำเภอเคลื่อนที่ มีบริการทำบัตร ทำทะเบียนบ้าน ขึ้นทะเบียนปืน ให้ทุกคนมาพร้อมกันที่โณงเรียนคลองสองปากใน วันที่ 12 เดือนหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาคลองสองปาก40คน ได้ร่วมเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จากวิทยากรอำเภอท่าแพ
    • สภาคลองสองปาก 40 คน ได้ร่วมคิดหาแนวทางเสริมความรู้ให้เยาวชน สภาผู้นำชุมชนเห็นด้วยกันว่า ควรจะเพิ่มความรู้เรื่องบัญชีครัวเรือนให้เยาวชนด้วยเพื่อเยาวชนจะได้ช่วยพ่อแม่ทำบัญชีครัวเรือนต่อไป

     

    40 40

    17. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 4/10

    วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูเสาะชี้แจงให้ทุกคนเข้าใจการทำงานในวันนี้โดยเราจะทำการรวบรวม7แผนที่จาก7กลุ่มเมื่อครั้งที่แล้วมาเป็นแผนที่เดียว
    • นายดนุพล ประธานเสนอว่าให้มีการวาดแผนที่โดยคนเดียวก่อน แล้วค่อยให้ทุกคนมาช่วยลงข้อมูลบ้านเป้าหมาย
    • จากนั้นนายกอซอรีจึงลงมือวาด และให้เพื่อนๆมาลงข้อมูลต่อไป
    • เมื่อทำแผนที่เสร็จทุกคนรู้สึกภูมิใจกับผลงาน และรับประทานอาหารว่างร่วมกัน
    • ครูเสาะแจ้งว่าจะนำไปทำไวนิล เพื่อโชว์ผลงานของเด็กๆต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 50 คนได้เรียนรู้การรวบรวมทำแผนที่ศักยภาพคนของหมู่บ้าน
    • เยาวชน 50 คนได้รู้จักการวางแผนก่อนการทำงาน มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน
    • เยาวชน 50 คน เกิดความสัมพันธ์แน่นแฟ้น พึ่งพาอาศัย ตักเตือนกันได้มากขึ้น
    • เกิดแผนที่ศักยภาพคนที่มีความรู้ในชุมชนบ้านสองปาก แต่ยังไม่สมบรณ์ รอการตรวจสอบข้อมูลจากทีมสภาผู้นำ

     

    50 50

    18. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 4/10

    วันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูฮัมเศาะนำการประชุม โดยอ่านรายงานประชุมครั้งที่แล้วให้ที่ประชุมรับทราบ
    • มีการชี้แจงเรื่องการเสียภาษี ซึ่งเป็นเรื่องใหม่โดยมีระเบียบว่าให้เสียภาษีกับสรรพากรในค่าตอบแทน ค่าจ้างและค่าอาหาร ร้อยละ1 โดยค่าตอบแทนและค่าจ้างท่ีเกิน 1,000 บาท และค่าอาหารที่เกิน5,000 บาท ต้องมีการเขียนใบหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย
    • อิหม่ามเชบ เสนอว่าควรมีการสอดแทรกสอนคุณธรรม จริยธรรมให้เยาวชนด้วยเวลาที่เยาวชนมาทำงานร่วมกัน ร
    • ครูเสาะให้ที่ประชุมเสนอว่าจะสอนเยาวชนเรื่องอะไรบ้าง จะได้สอดแทรกในกจกรรมต่อไป
    • ที่ประชุมเสนอดังนี้ การห่างไกลยาเสพติด การกลับบ้านตรงเวลา ออกจากบ้านให้บอกพ่อแม่ทุกครั้ง การประหยัดและออม และการช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน
    • ครูเสาะรับปากจะนำไปพูดคุยกับเยาวชน แต่ไม่จัดเชิงการอบรม จะเป็นการพูดคุยทั่วไป หรือมอบหมายให้เยาวชนแลกเปลี่ยนความคิดกันเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาคลองสองปาก 40 คน ได้ร่วมรับรู้เรื่องการเสียภาษี
    • สภาคลองสองปาก 40 คน ได้ร่วมรับรู้กิจกรรมสภาเยาวชนและแลกเปลี่ยนออกแบบกิจกรรมให้เยาวชน
    • สภาคลองสองปาก 40 คน ได้รับรู้และติดตามความก้าวหน้าตัวชี้วัดโครงการ
    • มีการทบทวนตัวชี้วัดโครงการ 4 กลุ่มหลัก กลุ่มแรก คือ ได้สภาเยาวชนขึ้น1สภา ซึ่งตอนนี้สภาเยาวชนบ้านคลองสองปากรวมตัวเป็นกลุ่มดีมาก ให้ความร่วมมือทำงานอย่างมุ่งมั่น โดยเฉพาะกิจกรรมการลงสำรวจข้อมูลและแผนที่ศักยภาพคน ยังทำไม่เสร็จ มีการนัดมาทำทุกเดือน พร้อมกับทำกิจกรรมอย่างอื่น การเล่นเกมส์ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู็สึก
    • ตัวชี้วัดกลุ่มที่ 2 เรื่อง การได้ข้อมูลสถานการณ์เยาวชน ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูล คิดว่าไม่มีปัญหาแต่ข้อมูลมาก 150 ครัวเรือนต้องใช้เวลาในการรวบรวม ตอนนี้เด็กทำอยู่ทุกเดือน
    • ตัวชี้วัดกลุ่มที่ 3 เรื่อง ได้แผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชน 1 แผน เรื่องนี้เราต้องนัดชาวบ้านมาฟังการชี้แจงสถานการณ์เยาวชน แล้วมาร่วมคิดกันว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้างแล้ววางแผนเป็นวาระของหมู่บ้านต่อไป
    • ตัวชี้วัดกลุ่มที่ 4 เรื่องเยาวชนกลุ่มเป้าหมายต้องมาทำกิจกรรม ตอนนี้เยาวชนกลุ่มอายุที่เสี่ยงต่อยาเสพติดมาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ก็นับว่าตัวชี้วัดนี้ผ่าน เรื่องต้องมีแกนนำเยาวชนที่โตแล้ว15คน ตอนนี้ที่มองมีอยู่5คน ให้สภาผู้ใหญ่นี้มองหาอีก10คนและติดตามดูว่า มีความสามารถเป็นผู้นำได้หรือไม่ อย่างไร และเรื่องพ่อแม่กลุ่มเสี่ยงตอบแบบสอบถามเมื่อสิ้นสุดโครงการว่าบุตรหลานมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น เรื่องนี้ค่อยวัดและประเมินผลเมื่อใกล้เดือนกันยายน

     

    40 40

    19. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 5/10

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายดนุพล ยาง๊ะ ประธานสภาเยาวชนคลองสองปากชักชวนเพื่อนๆและรุ่นน้องมาช่วยกันสรุปข้อมูลสถานการณ์
    • โดยให้แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ1หน้า แล้วจับคู่สองคน คนหนึ่งอ่านข้อมูล อีกคนขีดความถี่ลงในแบบฟอร์ม เมื่อทำหน้าของตัวเองครบแล้วให้ลงชื่อกำกับ นำชุดเอกสารไปสลับกับกลุ่มที่ทำหน้าอื่น
    • เมื่อทุกคนเข้าใจตรงกัน จึงเริ่มการทำงาน สมาชิกบางคนไปเปิดเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศให้ครึกครื้น ทำให้ทุกคนผ่อนคลายแม้ว่าการทำงานจะเครียด
    • ทีมแม่บ้านและสภาคลองสองปากมาช่วยเตรียมต้มถ่วเขียวและทำน้ำหวานแจกจ่ายแก่เยาวชน
    • เมื่อทำเอกสารครบทุกกลุ่มทุกแผ่นเสร็จเวลา17.00 น. นายดนุพล กล่าวขอบคุณเพื่อนน้องๆ ทุกคนที่มาช่วยกัน ครั้งต่อไปมีกิจกรรมดีๆมาให้ทำอย่างต่อเนื่อง
    • ครูเสาะและศิรประภารับหน้าที่รวบรวมพิมพ์เป็นไฟน์ให้เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมเยาวชน 50 คน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างสรรค์
    • เยาวชน 30 คน ได้ทักษะการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม
    • ได้ข้อมูลสถานการณ์เยาวชน 1 ชุดข้อมูล (ยังไม่สมบูรณ์)

     

    50 50

    20. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 5/10

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูเสาะกล่าวเปิดการประชุม วันนี้จะให้ทีมสภาเยาวชนมานำเสนอผลการทำแผนที่ศักยภาพคนให้สภาคลองสองปากรับฟัง เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมให้ผลงานมีความชัดเจน สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
    • นายดนุพล ยาง๊ะ ประธานสภาเยาวชนนำเสนอให้ที่ประชุมรับทราบ

    • ครูเสาะรับปากว่าหากสภาเยาวชนรุ่นนี้ทำผลงานให้ดี มั่งคง ทีมผู้ใหญ่ก็จะสนับสนุน หาทุนมาทำกิจกรรมให้เยาวชนอย่างต่อเนื่อง

    • ครูเสาะขอปรึกษาที่ประชุมว่า เราต้องมีการจัดเวทีชาวบ้านเพื่อนำเสนอผลงานนี้แก่ชาวบ้านทั่วไปด้วย แต่การทำข้อมูลสถานการณ์เยาวชนยังไม่เรียบร้อย
    • ที่ประชุมมีมติให้ข้อมูลสถานการณ์เยาวชนเสร็จเรียบร้อยก่อน ค่อยจัดเวทีนำเสนอคร้ังเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตัวแทนสภาเยาวชน 5 คน ได้นำเสนอผลงานการทำแผนที่ศักยภาพคนให้สภาคลองสองปากได้รับทราบ ซึ่งขณะนี้ทีมเยาวชนได้ออกศึกษาพื้นที่บ้านคลองสองปากและทำแผนที่ศักยภาพคน กล่าวคือ ทำแผนที่หมู่บ้านโดยระบุว่ามีใครชื่ออะไรที่มีความสามารถพิเศษด้านใด อยู่บ้านหลังไหนบ้าง เช่น หมอตำแย หมอบีบนวด เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ปราญช์เกษตรพอเพียง ทำน้ำปลา ทำปลาหวาน ทำขนมพื้นบ้าน
    • ทีมเด็กและผู้ใหญ่ได้ทำงานประสานกัน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นำไปสู่ทางออกการจัดการปัญหาเยาวชนที่สร้างสรรค์
    • ในการออกศึกษาพื้นที่ครั้งนี้เยาวชนรู้สึกว่าสนุกและได้ประโยชน์มากมาย เช่น ได้รู้จักคนที่มีความสามารถพิเศษต่างๆ ได้เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ได้รู้จักบ้านญาติพี่น้อง และได้สนิทสนมกับเพื่อนคนอื่นๆมากยิ่งขึ้น อยากให้มีกิจกรรมดีๆมีสาระอย่างนี้ทุกปี เพื่อให้น้องรุ่นต่อไปได้ทำกิจกรรมอย่างนี้ทุกรุ่นไป

     

    40 30

    21. พบพี่เลี้ยงตรวจเอกสารปิดงวด

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการเงิน ความสมบูรร์ของรายงานหน้าเวป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ขาดใบเสร็จรับเงิน
    • รายงานหน้าเวปยังไม่เสร็จเรียบร้อย
    • ให้ทำรายงานวันปิดงวดไปก่อนเลย

     

    2 2

    22. พบพี่เลี้ยงตรวจเอกสารก่อนปิดงวด

    วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • พี่เลี้ยงตรวจเอกสารการเงิน และความสมบูรณ์หน้าเวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เข้าใจการเก็บรวบรวมเอกสารการเงิน การเขียนรายงานกิจกรรมหน้าเวปไซด์

     

    200 2

    23. รายงานการปิดงวด 1

    วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สจรส. ตรวจความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารการเงิน ตรวจความสมบูรณ์ของรายงานกิจกรรมหน้าเวปไซด์ ทำเอกสารเบิกเงินงวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ประสบการณ์ทำเอกสารปิดงวด
    • ได้วิธีการเขียนรายงานที่สมบูรณ์

     

    2 2

    24. ประชุมสภาเยาวชน 6/10

    วันที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คัดเลือกแต่งตั้งประธานสภาเยาวชนคนใหม่ เนื่องจากนายดนุพล ยาง๊ะ ประธานสภาเยาวชนคลองสองปากคนเดิมต้องไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ประธานคนใหม่ชื่อนายอาซาร  เส็นสามารถ
    • ประธานสภาเยาวชนบ้านคลองสองปากคนใหม่ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานกิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาเกษตรยั่งยืนในครั้งต่อไป
    • ประธานเสนอให้เรียนรู้สภาพจริงจากครัวเครือนในชุมชน
    • เยาวชนเสนอให้คัดเลือกบ้านที่สามารถเป็นแบบอย่างเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจยั่งยืนในชุมชนเพื่อไปศึกษาสภาพจริง
    • สรุปบ้านที่เยาวชนคัดเลือก คือ บ้านนางขอดีย๊ะ  เทศอาเส็น  และบ้านของนางจิน๊ะ  จิแอ
    • เพื่อความสะดวกและรวดเร็วควรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มในการศึกษาข้อมูล
    • ทีมแม่บ้านและสภาคลองสองปากมาช่วยเตรียมขนมน้ำหวานแจกจ่ายแก่เยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทีมเยาวชน  ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างสรรค์
    • เยาวชน ได้รู้จักการวางแผนก่อนการทำงาน มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน
    • เยาวชน  เกิดความสัมพันธ์แน่นแฟ้น พึ่งพาอาศัย ตักเตือนกันได้มากขึ้น

     

    50 51

    25. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 6/ 10

    วันที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูเสาะกล่าวเปิดการประชุม ชี้แจงรายละเอียดและข้อสรุปปต่างๆแก่สภาชุมชนในการประชุมสภาเยาวชนครั้งที่แล้ว เกี่่ยวกับการเลือกประธานสภาเยาวชนคนใหม่และกรดำเนินกิจกรรมต่างตามแผนงานโครงการ
    • คัดเลือกแต่งตั้งประธานสภาเยาวชนคนใหม่ เนื่องจากนายดนุพล ยาง๊ะ ประธานสภาเยาวชนคลองสองปากคนเดิมต้องไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา มติที่ประชุมเสนอและเห็นชอบให้แต่งตั้งประธานคนใหม่ชื่อนายอาซาร  เส็นสามารถ
    • นายอาซาร  เส็นสามารถ ประธานสภาเยาวชนคนใหม่แนะนำตัวกับสภาชุมชน
    • นายอาซาร เส็นสามารถ ประธานสภาเยาวชนบ้านคลองสองปากคนใหม่ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานกิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาเกษตรยั่งยืนในครั้งต่อไป
    • ครูประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเข้าร่วมแข่งขันกีฬามหกรรมกีฬาสาครเกมส์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสาคร อยากให้ชุนชนไปเข้าร่วมกิจกรรมกันให้เยอะๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การคัดเลือกแต่งตั้งประธานสภาเยาวชนคนใหม่ เนื่องจากนายดนุพล ยาง๊ะ ประธานสภาเยาวชนคลองสองปากคนเดิมต้องไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา มติที่ประชุมเสนอและเห็นชอบให้แต่งตั้งประธานคนใหม่ชื่อนายอาซาร  เส็นสามารถ
    • นายอาซาร เส็นสามารถ ประธานสภาเยาวชนบ้านคลองสองปากคนใหม่ชี้แจงการออกพื้นที่กิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาเกษตรยั่งยืนในครั้งต่อไป คือจะออกพื้นที่บ้านของนางจิน๊ะ  จิแอ  และบ้านของนางขอดีย๊ะ  เทศอาเส็น
    • ทีมเด็กและผู้ใหญ่และตัวแทนสภาแต่ละกลุ่มได้ทำงานประสานกัน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นำไปสู่ทางออกการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนและชุมชนที่ยั่งยืน
    • ตัวแทนเยาวชนและผู้ใหญ่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสิ่งที่เยาวชนยากจะทำและสิ่งที่ผู้อยากให้เกิด ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ทุกฝ่ายต้องร่วมแรงร่วมใจกัน

     

    40 25

    26. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 7/10

    วันที่ 16 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เยาวชนแบ่งกลุ่มในการเรียนรู้ภูมิปัญญาทำน้ำปลาในกิจกรรมครั้งต่อไป
    • เยาวชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากที่ที่ได้ไปลงพื้นที่ศึกษาเกษตรยั่งยืน
    • รู้สึกสนุกและมีสาระ ที่ได้ลงพื้นที่ศึกษาเกษตรยังยืน
    • ได้ทำกิจกรรมแปลกใหม่ร่วมกับเพื่อนและวิทยากรที่มาให้ความรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเยาวชน 30 คน  กลุ่มผู้ใหญ่  20 คน ได้เรียนรู้การถอดบทเรียนกิจกรรมที่ได้ทำผ่านไป
    • เกิดการสรุปผลการทำงาน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในมิติการร่วมประเมินผลและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

     

    50 50

    27. เรียนรู้ภูมิปัญญาเกษตรยั่งยืน 1/1

    วันที่ 23 เมษายน 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดกิจกรรมรับสมัครผู้สนใจโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มเด็กเยาวชน 30 คนและกลุ่มผู้ใหญ่ 20 คน
    • ครูเสาะแนะนำวิทยากรนางขอดีย๊ะเทศอาเส็น ให้ความรู้ด้านการทำเกษตรทฤษฏีใหม่เเบบยั่งยืน
    • ปราชชุมชนนางจิน๊ะจิแอ ร่วมให้ความรู้การเกษตรเเบบโบราณแก่กลุ่มเยาวชนและชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อขยายเครือข่ายทำการเกษตรในชุมชน
    • จัดซื้อพันธ์และเมล็ดพันธุ์ผักแจกชาวบ้านในชุมชนเพื่อนำไปปลูกที่ครัวเรือน
    • ครูเสาะ และวิทยากรนำกลุ่มเยาวชนลงพื้นที่ศึกษาเกียวกับภูมิปัญญาเกษตรยั่งยืนที่บ้านของนางจินะ๊จิแอและบ้านของนางขอดีย๊ะเทศอาเส็น เพื่อให้เยาวชนศึกษาเรียนรู้จากสภาพจริง
    • ที่บ้านนางขอดีย๊ะ เทศอาเส็น อายุ 30 ปี อาศัยอยู่กับสามีและบุตร 1 คน เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงมีเนื้อที่ทำการเกษตรประมาณ1 ห้อง ผักที่ปลูกได้แก่ ไผ่หวาน มะละกอ พริก เพาะเห็ดนางฟ้าในท่อ เลี้ยงปลาดุกในท่อซีเมนต์ เลี้ยงไก่พื้นเมือง การทำเกษตรนี้เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักของครอบครัวคือการกรีดยาง และช่วงบ่ายขายกล้วยแขก น้ำแข็งใส นางขอดีย๊ะ เล่าว่าชอบการเพาะปลูก และที่บ้านทำมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย รายได้จากการเก็บผลิตผลขายมากกว่ารายได้จากการกรีดยาง คือได้ประมาณวันละ300-500บาท ถึงแม้ฝนตกก็มีรายได้ และยังลดค่าใช้ในครัวเรือนค่าอาหารไปได้เดือนละหลายพันบาท
    • นอกจากนี้นางขอดีย๊ะ ยังไปช่วยปลูกผักที่โรงเรียนบ้านคลองสองปาก เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้เด็กๆด้วย
    • ที่บ้านนางจิน๊ะ จิแอ อายุ 44 ปี อาศัยอยู่กับแม่ มีบุตร3คน บ้านเป็นลักษณะไม้สองชั้น พื้นที่เพาะปลูกประมาณ ไร่เศษๆ โดยปลูกในพื้นที่นาที่ว่างอยู่ มีบ่อปลาดุก ปลานิล ใช้น้ำในบ่อปลารดน้ำผัก ผักที่ปลูกได้แก้ พลู มัน บัวบก พริก มะเขือ บวบ แตงกวา เก็บผักขายทุกวัน รายได้ต่อวันประมาณ500-1,000บาทต่อวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเยาวชน 30 คน ได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาเกียวกับภูมิปัญญาเกษตรยั่งยืนโดยเยาวชนได้เรียนรู้จากสภาพจริง มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้
    • กลุ่มเด็กเยาวชน 30 คนและคนในชุมชนมีความรุ้ด้านการทำเกษตรยั่งยืน
    • ครัวเรือนในชุมชนทำเกษตรปลูกพิชผักไว้ใช้เองในครัวเรือน
    • เยาวชน 30 คน และคนในชุมชน ได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น

     

    50 50

    28. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 7/10

    วันที่ 27 เมษายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูเสาะกล่าวเปิดการประชุม ชี้แจงรายละเอียดและข้อสรุปปต่างๆแก่สภาชุมชนในการประชุมสภาเยาวชนครั้งที่แล้ว และการดำเนินกิจกรรมต่างๆตามแผนงานโครงการ
    • ครูเสาะได้ชี้แจงกิจกรรมโครงการสสส.ว่าขณะนี้เยาวชนได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาเกษตรยั่งยืนเรียบร้อยแล้ว
    • ตอนนี้เยาวชนแต่ละกลุ่มได้ทำแผนที่ศักยภาพคนเรียบร้อยแล้ว และค่อยหลอมรวมชิ้นเดียวเพื่อนำไปทำไวนิลและนำเสนอในที่ประชุมครั้งต่อไป
    • ขอขอบคุณสภาชุมชนและชาวบ้านทุกคนที่ไปเข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมกีฬาสาครเกมส์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาคลองสองปาก40คน ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากที่เยาวชนได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเกษตรยั่งยืน และคิดว่าครัวเรือนอื่นควรเอาเป็นแบบอย่างและสามารถนำไปปรับใช้ได้ใครัวเรือน
    • หมู่บ้านคลองสองปากได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลระดับเยาวชน  และรองชนะเลิศอันดับ 1  การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล จากการเข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมกีฬาสาครเกมส์

     

    40 24

    29. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 8/10

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายอารีตีกาสม ผู้นำศาสนามัสยิดบ้านคลองสองปากอบรมเกี่ยวกับคุณค่าของการถือศิลอดในเดือนรอมาฏอรว่าท่านศาสดา(ศ.) กล่าวไว้ว่า "การถือศีลอดคือเพื่อสุขภาพ" ในทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญค้นพบแล้วว่า การงดอาหารและน้ำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรค กระเพาะและระบบย่อยอาหารของมนุษย์เป็นอภัยวะที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา หน้าที่หลักคือย่อยอาหารที่มนุษย์รับประทาน มันไม่เคยได้พักผ่อน แต่ด้วยการถือศีลอด อวัยวะเหล่านี้จะได้พักผ่อน และไขมันที่เป็นอันตรายต่อร่างกายก็จะได้ลดน้อยลงไป รวมถึง การถือศีลอดยังเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกของความเมตตากรุณา ทำให้จิตใจอ่อนโยนอยากบริจาคช่วยเหลือคนยากจนและขัดสน มันช่วยเตือนใจผู้ศรัทธาให้คำนึงถึงความต้องการของผู้ศรัทธาคนอื่นๆ มุสลิมจะแบ่งปันความโปรดปรานของอัลลอฮ์ที่เขาได้รับกับพี่น้องมุสลิมของเขา เป็นการผูกความสัมพันธ์ระหว่างผุ้ศรัทธากับอัลลอฮ์ให้แน่นหนายิ่งขึ้น เพราะการถือศีลอดเป็นการแสดงออกถึงความปรารถนาที่จะปฏิบัติตามพระประสงค์และพระบัญชาของอัลลอฮ์
    • นายอารีตีกาสม ผู้นำศาสนามัสยิดบ้านคลองสองปากอบรมเกี่ยวกับการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ และเป็นคนดีของสังคม
    • เยาวชนและชุมชนร่วมกันละศิลอดที่มัสยิด
    • เยาวชนและชุมชนร่วมกันละหมาดตารอเวี๊ยะที่มัสยิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกสภาเยาวชน 45 คน สภาคลองสองปาก 15 คน ได้รับความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของการถือศิลอดในเดือนรอมาฎอร
    • สมาชิกสภาเยาวชน และชุมชน ร่วมกันละศิลอดที่มัสยิดพร้อมกันทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
    • เยาวชนและชุมชนร่วมกันละหมาดตารอเวี๊ยะที่มัสยิด
    • เยาวชนรู้สึกภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้ใหญ่ในชุมชน

     

    50 60

    30. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 8/10

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายอารีตีกาสม ผู้นำศาสนามัสยิดบ้านคลองสองปากชี้แจงที่ประชุมจากการจัดกิจกรรมอบรมเกี่ยวกับคุณค่าของการถือศิลอดในเดือนรอมาฏอร และร่วมการละศิลอดที่มัสยิดให้กับเยาวชน ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมากๆเพราะทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และได้นำหลักคำสอนทางศาสนามากล่อมเกลาจิตใจของเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาชุมชน  และสภาเยาวชน รู้สึกภาคภูมิใจ  ที่คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆจนสำเร็จ
    • สภาชุมชนแต่ละกลุ่มได้ทำงานประสานกัน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นำไปสู่ทางออกการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนและชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

     

    40 49

    31. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 9/10

    วันที่ 18 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูเสาะชี้แจงถึงรายละเอียดกิจกรรมต่อไปที่เราต้องดำเนินการคือ กีฬาสีครอบครัว ให้เยาวชนปรึกษาหารือถึงรูปแบบมีแนวทางในการจัดกิจกรรม
    • เยาวชนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าควรแบ่งครัวเรือนออกเป็น3สีและใช้วิธีการจับฉลาก
    • เสนอกีฬาที่ทำการแข่งขัน มีฟุตบอลวอลเลย์บอลตะกร้อเปตองกีฬามหาสนุก
    • สภาชุมชนเสนอให้กลุ่มแอโรบิค เต้นแอโรบิค เปิดงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน 45 คน รู้สึกภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่่งกันและกัน
    • เยาวชน 45 คน เกิดความความสามัคคีกัน จะเห็นความสนิทสนมกลมเกลียวเยาวชนมากขึ้นทุกครั้งที่นัดมารวมกัน
    • เยาวชน 45 คน ได้รวมตัวกันใช้เวลาว่างให้เกิดปนะโยชน์ไม่ไปมั่วสุม

     

    50 50

    32. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 9/10

    วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายเกียรติอุมารีผู้ใหญ่บ้าน ม. 8 ชี้แจงถึงรายละเอียดกิจกรรมต่อไปที่เราต้องดำเนินการคือ กีฬาสีครอบครัว ซึ่งเยาวชนได้เสนอถึงรูปแบบมีแนวทางในการจัดกิจกรรม คือ แบ่งครัวเรือนออกเป็น3สีและใช้วิธีการจับฉลาก และจัดหลังรายอ สภาชุมชนเห็นชอบและเสนอว่าใน ครัวเรือนให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมทั้ง พ่อแม่ลูก
    • กีฬาที่ทำการแข่งขัน มีฟุตบอลวอลเลย์บอลตะกร้อเปตองกีฬามหาสนุก
    • สภาชุมชนเสนอให้กลุ่มแอโรบิค เต้นแอโรบิค เปิดงานและเชิญนายกอบต.มากล่าวเปิดงาน เพื่อให้ผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องได้เล็งเห็นความสำคัญในการสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัวและในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาชุมชน40 คน รู้สึกภาคภูมิใจที่คนในชุมชนทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่เกิดความรักความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆจนสำเร็จ
    • สภาชุมชนแต่ละกลุ่มร่วมกับตัวแทนเยาวชนได้ทำงานประสานกัน เสนอความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นำไปสู่นิมิตรหมายที่ในการดำเนินกิจกรรมและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน

     

    40 40

    33. เรียนรู้ภูมิปัญญาทำน้ำปลา 1 /1

    วันที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูเสาะแนะนำวิทยากรที่มาให้ความรู้เรื่องกระบวนการทำน้ำปลาให้เยาวชนไดทำความรู้จัก ซึ่งเป็นวิทยากรในชุมชนบ้านคลองสองปากที่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำน้ำปลา คือนางขอดีย๊ะเทศอาเส็น
    • วิทยากรอบรมให้ความรู้เยาวชนและผู้ปกครองเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการผลิตน้ำปลา
    • วิทยากรอธิบายกระบวนการวิธีการทำน้ำปลา1 โอ่ง จะใช้ปลา150กก.และเกลือ 55 กก.
    1. นำปลากะตักมาสับให้ละเอียด แล้วไปคลุกเคล้ากับเกลือขยำจนเนื้อปลาเละ
    2. หลังจากนัันก็นำไปหมักในโอ่งปิดฝาให้สนิท
    3. นำกระชุมใส่ไว้ตรงกลางโอ่ง
    4. หมักได้ 8 เดือนก็เปิดฝาแล้วตักน้ำปลาในกระชุมวนรอบๆเนื้อในโอ่ง (เรียกว่าตักวน) ถึงตอนนี้น้ำปลาก็เริ่มมีกลิ่นหอมและใส
    5. ใช้ระยะเวลาหมัก 1 ปีเมือครบ 1 ปี ก็ตักน้ำปลาในกระชุมออกมาต้มและกรอง บรรจุลงขวด

    - แบ่งกลุ่มเยาวชนและผู้ปกครองออกเป็น4กลุ่ม ในการฝึกทำน้ำปลา - วิทยากรแนะนำและสาธิตกระบวนการผลิตน้ำปลา
    - แต่ละกลุ่มลงมือผลิตน้ำปลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กลุ่มเยาวชนและ กลุ่มผู้ใหญ่  มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตน้ำปลา
    • กลุ่มเยาวชนและ กลุ่มผู้ใหญ่  สามารถผลิตน้ำไว้ใช้กินเองในครัวเรือนได้
    • กลุ่มเยาวชนและ กลุ่มผู้ใหญ่ ได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น

     

    50 50

    34. ประชุมสภาเยาวชนในชุมชน 10/10

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครูเสาะชี้แจงเยาวชนเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลที่ออกสำรวจข้อมูลเพื่อนำมาสรุปสถานการณ์เยาวชน
    • ครูเสาะชี้แจงถึงรายละเอียดกิจกรรมต่อไปที่เราต้องดำเนินการคือ กีฬาสีครอบครัว ให้เยาวชนปรึกษาหารือถึงรูปแบบมีแนวทางในการจัดกิจกรรม
    • เยาวชนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าควรแบ่งครัวเรือนออกเป็น  3  สี  และใช้วิธีการจับฉลาก
    • เสนอกีฬาที่ทำการแข่งขัน มีฟุตบอล  วอลเลย์บอล  ตะกร้อ  เปตอง  กีฬามหาสนุก
    • สภาชุมชนเสนอให้กลุ่มแอโรบิค เต้นแอโรบิค เปิดงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชน รู้สึกภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่่งกันและกัน
    • เยาวชน เกิดความความสามัคคีกัน จะเห็นความสนิทสนมกลมเกลียวเยาวชนมากขึ้นทุกครั้งที่นัดมารวมกัน
    • เยาวชนได้รวมตัวกันใช้เวลาว่างให้เกิดปนะโยชน์ไม่ไปมั่วสุม
    • เยาวชนรู้สึกภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อส่วนรวมและชุมชน

     

    50 50

    35. สรุปข้อมูลสถานการณ์เยาวชน

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. วิทยากรนำทำการรวบรวมข้อมูลจากที่เยาวชนได้ออกสำรวจเพื่อนำมารวบรวมและสรุปผล
    2. เยาวชนร่วมออกเเบบเเผนที่ศักยภาพชุมชนเพื่อนำเสนอในเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน
    3. เยาวชนร่วมสร้างfanpage facebook เพื่อเผยเเพร่ศักยภาพเเละกิจกรรมโครงการ
    4. ตัวเเทนสภาเยาวชนนำเสนอข้อมูลให้สภาเยาวชนเเละสภาผู้นำชุมชนทราบ

    ได้ข้อมูลสถานการณ์เยาชน ในด้านต่างๆจากการสำรวจข้อมูลชุมชน ของสภาเยาวชน

    1. สถานการณ์ครอบครัวปัญหาความคิดเห็นของคนในครอบครัวไม่ตรงกัน ครอบครัวแตกแยก
    2. สถานการณ์ชุมชนปัญหายาเสพติด
    3. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในชุมชน ปัญหาการว่างงาน
    4. สถานการณ์ด้านการศึกษา ปัญหา เด็กเยาวชนไม่มีโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ
    5. สถานการณ์เด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์)ปัญหามีพฤติกรรมทางเพศ(มีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร) ปํญหายาเสพติด
    6. สถานการณ์เยาวชน (อายุ18 – 25ปี)ปัญหามีพฤติกรรมทางเพศ(มีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร) ปํญหายาเสพติด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เเผนที่ศักยภาพคนในชุมชนบ้านคลองสองปาก
    • fanpage facebook ของสภาเยาวชน ใช้ประชาสัมพันธ์ทุกกิจกรรมของโครงการ
    • ผู้เข้าร่วมประชุมรู้สึกภาคภูมิใจ  ที่คนในชุมชนทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่เกิดความรักความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆจนสำเร็จ
    • สภาเยาวชนได้ทำงานประสานกัน เสนอความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นำไปสู่นิมิตรหมายที่ในการดำเนินกิจกรรมและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน

     

    60 60

    36. เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 1/1

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายอารีตีกาสม สภาชุมชนตัวแทนองค์กรศาสนา กล่าวต้อนรับชาวที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
    2. ชี้แจงถึงรายละเอียดกิจกรรมในครั้งนี้เกี่ยวกับแผนที่ศักยภาพชุมชนบ้านคลองสองปากจากที่สภาเยาวชนได้ออกสำรวจและร่วมกันออกแบบแผนที่ศักยภาพชุมชน
    3. นายอารีตีกาสม สภาชุมชนตัวแทนองค์กรศาสนาได้อธิบายรายละเอียดแผนที่ศักยภาพชุมชนให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบว่าในชุมชนบ้านคลองสองปากมีผู้รู้หรือปราชน์ในเรื่องใดบ้าง ซึ่งจากเยาวชนได้ออกสำรวจข้อมูลและทำแผนที่ในครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งดีกับชุมชนเป็นอย่างมากทำให้ชุมชนได้รู้ในศักยภาพ จุดเด่นและจุดด้อยของชุมชน 4.นายอารีตีกาสม สภาชุมชนตัวแทนองค์กรศาสนา ได้ยกตัวอย่างบุคคลที่มีความรู้และความสามารถในด้านต่าง ที่สภาเยาวชนได้สำรวจและออกแบบมา เช่น นายอนันต์ยาง๊ะ เป็นผู้มีความรู้และชำนาญในด้านกีฬาฟุตบอลนางเจ๊ะน๊ะจิแอ และนางขอดีย๊ะเทศอาเส็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐกิจพอเพียงนางฝาตีม๊ะบริกันกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความรู้ความสามารถในด้านการผลิตน้ำปลานางตีอาอุมารีวิทยากรขนมพื้นบ้าน ฯลฯ
    4. ครูเศาะ ได้นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านเยาวชน จากความคิดเห็นเยาวชนเยาวชนเห็นว่าปัญหาของเยาวชน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความคิดเห็นของคนในครอบครัวไม่ตรงกัน ครอบครัวแตกแยก การระบาดของยาเสพติด ปัญหาการว่างงาน เด็กเยาวชนไม่มีโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ มีพฤติกรรมทางเพศ(มีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร)
    5. ชาวบ้านซักถามแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เพื่อช่วยกันนำไปแก้ปัญหาในครั้งต่อไป โดยเห็นร่วมกันว่า ให้ทำเวทีเพื่อช่สยกันคิดแผนการทำงานร่วมกับเยาวชนในปีต่อไป เพื่อลดปัญหาที่เยาวชนเสนอมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนสภาชุมชนและชาวบ้าน ได้ศึกษาข้อมูลจากที่เยาวชนได้สรุปจากการสำรวจข้อมูล
    2. เยาวชนสภาชุมชนและชาวบ้านได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น
    3. เยาวชนสภาชุมชนและชาวบ้าน คลองสองปากรู้สึกมีความสุขที่ที่ได้พบปะกันและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
    4. แผนที่ศักยภาพชุมชนบ้านคลองสองปาก จากการสำรวจและออกแบบของสภาเยาวชน

     

    100 100

    37. ประชุมสภาผู้นำคลองสองปาก 10/10

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายอารีตีกาสม สภาชุมชนตัวแทนองค์กรศาสนา กล่าวต้อนรับชาวที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
    2. นายอารี  ตีกาสมสภาชุมชนตัวแทนองค์กรศาสนา  ชี้แจงกับที่ประชุมว่าตอนนี้สภาชุมชนได้จัดทำแผนที่ศักยภาพคนในชุมชนบ้านคลองสองปากเรียบร้อยแล้ว
    3. นายอารีตีกาสม สภาชุมชนตัวแทนองค์กรศาสนาได้อธิบายรายละเอียดแผนที่ศักยภาพชุมชนให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบว่าในชุมชนบ้านคลองสองปากมีผู้รู้หรือปราชน์ในเรื่องใดบ้าง ซึ่งจากเยาวชนได้ออกสำรวจข้อมูลและทำแผนที่ในครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งดีกับชุมชนเป็นอย่างมากทำให้ชุมชนได้รู้ในศักยภาพ จุดเด่นและจุดด้อยของชุมชน 4.ชี้งแจงกับสภาผู้นำที่เข้าร่วมประชุมว่ากิจกรรมต่อไปที่จะดำเนินการก็คือการจัดทำแผนชุมชนด้านเยาวชน ซึ่งทางสภาผู้นำชุมชนและสภาเยาวชนต้องร่วมกันจัดทำแผนขึ้นมา  ซึ่งแผนที่จะจัดทำขึ้นก็มาจากปัญหาหลักของชุมชนด้านเยาชนที่ทางสภาเยาวชนได้ออกสำรวจข้อมูลในครั้งก่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สภาชุมชน  24 คน รู้สึกภาคภูมิใจ  ที่คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆจนสำเร็จ
    • สภาชุมชนแต่ละกลุ่มได้ทำงานประสานกัน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นำไปสู่ทางออกการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนและชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

     

    40 24

    38. สองสภาทำแผนด้านเยาวชน 1/1

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นายอารี  ตีกาสม สภาชุมชนคลองสองปากตัวแทนผู้นำชุมชนกล่าวต้อนรับชาวที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ 2.นายอารี ตีกาสม ชี้แจงถึงรายละเอียดกิจกรรมในครั้งนี้เกี่ยวกับการทำแผนด้านเยาวชน บ้านคลองสองปาก จากการสำรวจข้อมูลชุมชนแต่ละครัวเรือนของเยาวชน 3.สรุปสถานการณ์จากการสำรวจข้อมูลครัวเรือนชุมชนบ้านคลองสองปากที่เป็นปัญหา ได้ข้อมูลสถานการณ์เยาชน ในด้านต่างๆจากการสำรวจข้อมูลชุมชน ของสภาเยาวชน   3.1 สถานการณ์ครอบครัวคือปัญหาความคิดเห็นของคนในครอบครัวไม่ตรงกัน ครอบครัวแตกแยก   3.2 สถานการณ์ชุมชนคือปัญหายาเสพติด   3.3 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในชุมชน คือ ปัญหาการว่างงาน   3.4 สถานการณ์ด้านการศึกษาคือ ปัญหา เด็กเยาวชนไม่มีโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ   3.5 สถานการณ์เด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์) คือปัญหามีพฤติกรรมทางเพศ(มีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร) ปํญหายาเสพติด   3.6 สถานการณ์เยาวชน (อายุ18 – 25ปี) คือปัญหามีพฤติกรรมทางเพศ(มีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร) ปํญหายาเสพติด

    สภาผู้นำชุมชนและสภาเยาวชนได้ร่วมกันจัดทำแผนชุมชนด้านเยาวชน เพื่อดำเนินการในปี 2560 1.กิจกรรมชุมชนคลองสองปากปลอดอบายมุข ผู้รับผิดชอบ นายเชบดานด็น ผู้นำศาสนา /สภาเยาวชน 2.กิจกรรมค่ายวัยใสห่างไกลยาเสพติดผู้รับผิดชอบ นางสาวฮัมเศาะ อุมารี ครูโรงเรียนบ้านคลองสองปาก /สภาเยาวชน 3.กิจกรรมสายใยรัก สัมพันธ์ครอบครัว ผู้รับผิดชอบ นายอารีตีกาสม ผู้นำศาสนา/สภาเยาวชน 4.กิจกรรมส่งเสริมอาชีพในชุมชนผู้รับผิดชอบ นายเกียรติผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่8 บ้านคลองสองปาก /สภาเยาวชน 5.กิจกรรมลานกีฬาต้านยาเสพติด ผู้รับผิดชอบ นายยมอาดเตาวโต สมาชิก อบต. หมู่ที่8 /สภาเยาวชน 6.กิจกรรมต้นกล้าความดี ผู้รับผิดชอบ นางสาวฮัมเศาะ อุมารี ครูโรงเรียนบ้านคลองสองปาก /สภาเยาวชน 7.กิจกรรมชุมชนพอเพียง นางขอดีย๊ะ  เทศอาเส็น  นางสาวเจ๊ะน๊ะ จิแอ  แกนนำเศรษฐกิจพอเพียง /สภาเยาวชน    

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สภาเยาวชนและ สภาชุมชน ได้ศึกษาข้อมูลจากที่เยาวชนได้สรุปจากการสำรวจข้อมูล
    2. สภาเยาวชนและ สภาชุมชนได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นภายในชุมชน
    3. สภาเยาวชนและ สภาชุมชนรู้สึกมีความสุขที่ที่ได้พบปะกันและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในจัดทำแผนชุมชนด้านเยาวชน
    4. แผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชน ชื่อแผนเยาวชนวัยใส ห่างไกลยาเสพติด

     

    60 60

    39. กีฬาสีครอบครัว 1/4

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครัวเรือนแต่ละสีมาพร้อมกันที่สนามกีฬาบ้านคลองสองปาก
    • พิธีเปิดการแข่งขันโดยชมรมแอโรบิค ม.8บ้านคลองสองปาก
    • เริ่มแข่งขันกีฬาแรก คือ เปตองหญิงและเปตองชาย โดยแบ่งออกเป็น 2 สนาม เปตองหญิง 1สนามและเปตองชาย 1 สนาม พบกันระหว่งสีส้มกับสีชมพู โดยใช้กรรมการที่มีความรู้ด้านกีฬาเปตองในพื้นที่เป็นผู้ตัดสิน
    • นัดแนะกิจกรรมและกีฬาที่ดำเนินการครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนและ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้แข่งกีฬาร่วมกัน
    2. เยาวชนพ่อเเม่ ผู้ปกครอง ได้ทำกิจกรรมร่วมเกิดความสัมพันธ์ที่ดีเเละลดช่องว่างระหว่างวัย
    3. คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันของคนในชุมชน
    4. คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการเล่นกีฬา
    5. คนในชุมชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     

    60 75

    40. กีฬาสีครอบครัว 2/4

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครัวเรือนแต่ละสีมาพร้อมกันที่สนามกีฬาบ้านคลองสองปาก
    • พิธีเปิดการแข่งขันโดยชมรมแอโรบิค ม.8บ้านคลองสองปาก
    • แข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลทีมผสมชาย หญิงระว่างสีฟ้ากับสีชมพู โดยใช้กรรมการที่มีความรู้ด้านกีฬาวอลเลย์บอลในพื้นที่เป็นผู้ตัดสิน
    • แข่งขันกีฬาตะกร้อ ระหว่างสีฟ้ากับ สีส้ม
    • กีฬาทุกประเภทจะจัดแข่งขันให้เสร็จในรอบรองชนะเลิศ และชิงชนะเลิศกีฬาทุกประเภทในวันสุดท้ายของกิจกรรมกีฬาสีครอบครัว
    • นัดแนะกิจกรรมและกีฬาที่ดำเนินการครั้งต่อไปคือการแข่งวขันกีฬาฟุตบอล เน้นย้ำทุกคนให้รักษาเวลาเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปได้ด้วยดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนและ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้แข่งกีฬาร่วมกันสร้างความสัมพันธุ์ที่ดีภายในครอบครัว และชุมชน
    2. เยาวชนพ่อเเม่ ผู้ปกครอง ได้ทำกิจกรรมร่วมเกิดความสัมพันธ์ที่ดีเเละลดช่องว่างระหว่างวัย
    3. คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันของคนในชุมชน
    4. คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการเล่นกีฬา
    5. คนในชุมชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     

    60 60

    41. กีฬาสีครอบครัว 3/4

    วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครัวเรือนแต่ละสีมาพร้อมกันที่สนามกีฬาบ้านคลองสองปาก
    • แข่งขันกีฬาฟุตบอลบอลทีมชาย ระว่างสีฟ้ากับสีชมพู โดยใช้กรรมการที่มีความรู้ด้านกีฬาฟุตบอลในพื้นที่เป็นผู้ตัดสิน
    • กีฬาทุกประเภทจะจัดแข่งขันให้เสร็จในรอบรองชนะเลิศ และชิงชนะเลิศกีฬาทุกประเภทในวันสุดท้ายของกิจกรรมกีฬาสีครอบครัว
    • นัดแนะกิจกรรมและกีฬาที่ดำเนินการครั้งต่อไปคือการชิงชนะเลิศกีฬาทุกประเภท และกีฬามหาสนุก เน้นย้ำทุกคนให้รักษาเวลาเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปได้ด้วยดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนและ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้แข่งกีฬาร่วมกันสร้างความสัมพันธุ์ที่ดีภายในครอบครัว และชุมชน
    2. เยาวชนพ่อเเม่ ผู้ปกครอง ได้ทำกิจกรรมร่วมเกิดความสัมพันธ์ที่ดีเเละลดช่องว่างระหว่างวัย
    3. คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันของคนในชุมชน
    4. คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการเล่นกีฬา
    5. คนในชุมชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     

    60 60

    42. ให้ความรู้พ่อแม่เรื่องเยาวชน 1/1

    วันที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นายอารี ตีกาสมสภาชุมชนคลองสองปากตัวแทนผู้นำศาสนา กล่าวต้อนรับวิทยาและผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้และชี้แจงถึงรายละเอียดในการอบรม
    2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่องการเปลี่ยนแปลงในตัววัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม อารมณ์สังคมและด้านร่างกาย โดยวิทยกรพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลควนโดน นางซอฟีเย๊าะสองเมือง
    3. วิทยากรให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองเรื่องการเปลี่ยนแปลงในตัววัยรุ่น เช่นการเลี้ยงดูเอาใจใส่ด้านคุณธรรมจริยธรรมเรื่องยาเสพติด ให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจในการเปลี่ยงด้านต่างๆของวัยรุ่น เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองอะไรใหม่ๆ ซึ่งเราในฐานพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเข้าใจและเป็นที่ปรึกษาที่ดีสำหรับเยาวชนว่าสิ่งใหนเป็นสิ่งที่ดีและสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ไม่ดีเพราะถ้าเยาวชนไม่มีที่ปรึกษาที่ดีเขาก็จะเดินไปในหนทางที่ไม่ถูกต้องได้
    4. วิทยากรร่วมกันสนทนากับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นเพื่อแนวคิดหรือแนวทางที่ดีมาปรับใช้กับการเลี้ยงดูลูก
    5. พ่อแม่ผู้ปกครองรวมกลุ่มกันร่างกติกาครอบครัวและแต่กลุ่มออกมานำเสนอ เช่น

    - ออกไปเที่ยวได้แต่ห้ามกลับบ้านเกิน 1 ทุ่ม
    - ควรมีกิจกรรมทำร่วมกันเดือนละครั้ง เช่นไปเที่ยวต่างจังหวัด - รับประทานอาหารพร้อมกัน - พูกจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพ ไม่พูดคำหยาบ - พ่อ แม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกๆ - ไม่มัวสุ่มกับสิ่งเสพติด และอบายมุขต่างๆ 6. พ่อแม่ผู้ปกครองนำกติกาครอบครัวของแต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนอหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเป็นกติกาครอบครัวของหมู่บ้านคลองสองปาก
    กติกาครอบครัวด้านเด็กและเยาวชนที่ได้หลังจากหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว

    6.1 ให้ลูกได้ร่วมกำหนดกฎระเบียบกฎหนดกฎเกณฑ์การปฏิบัติร่วมกับลูก กฎระเบียบต้องชัดเจน ปฏิบัติได้และเข้าใจง่าย
    6.2 พ่อ แม่ผู้ปกครองอนุญาตให้ออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ แต่ต้องกลับบ้านไม่เกิน 1 ทุ่ม
    6.3 ชื่นชมเมื่อลูกปฏิบัติได้ตามกฎ เช่น อาจยกย่องชมเชยหรือจัดหารางวัลให้เหมาะสมกับโอกาส และสถานการณ์

    6.4 ทำกิจวัตรในครอบครัวร่วมกันเช่นการรับประทานอาหารร่วมกันละหมาดพร้อมกัน

    6.5ห้ามคนในครอบครัวพูดด้วยวาจาไม่สุภาพ ด่าทอ หยาบคาย และรุนแรง

    6.6ไม่มีเวลาให้กันภายในครอบครัว เช่น ไปเที่ยวด้วยกัน เดือนละครั้ง

    6.7 พ่อ แม่ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูกๆ

    6.8 คนในครอบครัวต้องไม่มั่วสุมกับสิ่งเสพติดและอบายมุขต่างๆ

    6.9 คนในครอบครัวประพฤติตนตามหลักศาสนาอิสลาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. พ่อแม่ผู้ปกครอง ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี่้ยงดูและเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆของวัยรุ่น
    2. พ่อแม่ผู้ปกครองได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
    3. พ่อแม่ผู้ปกครองรู้สึกมีความสุขที่ที่ได้พบปะกันและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
    4. พ่อแม่ผู้ปกครองรู้สึกมีคงามสุขที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการเลี่ยงดูลูกที่เป็นวัยรุ่น
    5. ได้กติกาครอบครัวที่ออกแบบโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง

     

    40 43

    43. กีฬาสีครอบครัว 4/4

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ครัวเรือนแต่ละสีมาพร้อมกันที่สนามกีฬาบ้านคลองสองปาก
    • วันนี้เป็นการแข่งขันครั้งสุดท้ายรอบชิงชนะเลิศกีฬาวอลเลย์บอลทีมผสมชาย หญิง /กีฬาฟุตบอล / กีฬาเปตอง/ กีฬาตะกร้อ / กีฬามหาสนุก
      ผลการแข่งขัน

      • ชนะเลิศกีฬาเปตอง ได้แก่สีชมพู
      • ชนะเลิศกีฬาฟุตบอล ได้แก่ สีฟ้า
      • ชนะเลิศกีฬาตะกร้อได้แก่ สีส้ม
      • ชนะเลิศกีฬาวอลเลย์บอลทีมผสม ได้แก่สีชมพู
        รางวัลครอบครัวตัวอย่าง
      1. ครอบครัวนายอารีตีกาสม
      2. ครอบครัวนางเจ๊ะนะจิแอ
      3. ครอบครัวนายศักการียากอลาบันหลง
      4. ครอบครัวนายอาเสดเส็นสามารถ
      5. ครอบครัวนางวิลัดดาเส็นสามารถ
      6. ครอบครัวนายอะหมาดอุมารี
      7. ครอบครัวนางดีร๊ะยันติง
      8. ครอบครัวอับดุลล๊ะนาปาเลน
      9. ครอบครัวนางรอหยันสุวาหลำ
      10. ครอบครัวนางนุชนาฏใจดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนและ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้แข่งกีฬาร่วมกันสร้างความสัมพันธุ์ที่ดีภายในครอบครัว และชุมชน
    2. เยาวชนพ่อเเม่ ผู้ปกครอง ได้ทำกิจกรรมร่วมเกิดความสัมพันธ์ที่ดีเเละลดช่องว่างระหว่างวัย
    3. คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันของคนในชุมชน
    4. คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการเล่นกีฬา
    5. คนในชุมชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเล่นกีฬาและห่างไกลจายาเสพติด

    6.ทำให้เยาวชนมีทักษะในการเล่นกีฬาแต่ละประเภทสามารถสร้างนักกีฬาในชุมชนที่สามารถในกีฬาประเภทต่างๆได้

    7.ทำให้เยาวชนและคนในชุมชนเป้นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้ รู้ชนะรู้อภัย

    8.ส่งเสริมเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษด้านกีฬาแต่ละประเภท

     

    60 60

    44. จัดตั้งทีมมัคคุเทศก์นำเที่ยวศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลน 1/1

    วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูเสาะ แนะนำวิทยาที่มาให้ความรู้เยาวชนเกียวกับป่าชายเลน และอบรมให้ความรู้การเป็นมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นวิทยากรจากอุทยานหมู่เกาะเภตรา (วงกัวลาปารา)
    2. วิทยากรจากอุทยานหมู่เกาะเภตรา (วงกัวลาปารา)แนะนำตัวให้กับเยาวชน
    3. วิทยากรฝึกความเป็นนำและความกล้าแสดงโดยให้เยาวชน ออกมาแนะนำตัวเองและประชาสัมพันธ์เกี่ยวป่าชายเลนในหมู่บ้านคลองสองปาก
    4. วิทยากรจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมให้กับเยาวชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนและคนในชุมชนชุมชนเพราะกิจกรรมวันนี้ผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ทีทั้งนักเรียนเยาวชน และผู้ใหญ่
    5. วิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องป่าชายเลนในชุมชนพูดถึงประโยชน์และความสำคัญของป่าชายเลนเพราะชาวบ้านในชุมชนบ้านคลองสองปากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ถ้าป่าชายเลนถูกทำลายหรือขาดความอุดมสมบูรณ์ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศด้านสัตน์น้ำซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลกระทบมายังชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงด้วย เราทุกคนในฐานะเยาวชนและคนในชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนให้อุดมสมบูรณ์ตลอดไปเพื่อลูกหลานของเราในภายภาคหน้า
    6. วิทยากรอบรมให้ความรู้เยาวชนการเป็นมัคคุเทศก์ การประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนในชุมชนประชาสัมพันธ์เกี่ยวป่าชายเลนในหมู่บ้านคลองสองปากและในหมู่บ้านคลองสองปากมีของดีอะไรบ้าง เช่นมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ได้ชมนกตกปลาและมีของฝากติดมือกลับบ้านคือน้ำปลาบ้านคลองสองปาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนได้รับความรู้เรื่องป่าชายเลนและความสำคัญของป่าชายเลน
    2. เยาวชนได้ทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นในชุมชน
    3. เยาวชนบ้านคลองสองปากรู้สึกมีความสุขที่ที่ได้พบปะกันและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
    4. เยาวชน ได้รวมตัวกันเข้าร่วมกิจกรรมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่ไปมั่วสุม
    5. เยาวชนเกิดจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรป่าชายเลนในชุมชน
    6. รู้สึกสนุกและได้สาระ จากการฝึกอบรมของวิทยากร
    7. เยาวชนมีภาวะผู้นำ กล้าพูดกล้าคิด กล้าทำ ได้ทีมมัคคุเทศก์น้อยในชุมชน

     

    30 61

    45. เสริมทักษะชีวิตพิชิตคนใจง่าย

    วันที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นายอารี ตีกาสมสภาชุมชนคลองสองปากตัวแทนผู้นำศาสนา กล่าวต้อนรับวิทยาและผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้และชี้แจงถึงรายละเอียดในการอบรม
    • จัดอบรมเยาชนเรื่องยาเสพติด โดยวิทยกรพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลควนโดน นางซอฟีเย๊าะสองเมือง
    • วิทยากรจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมเยาวชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำของเยาวชน
    • ให้เยาวชนจับกลุ่มในการจัดกิจกรรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวันของเยาวชนให้แต่ละกลุ่มเขียนข้อดีและข้อเสียของสมาชิกภายในกลุ่มลงในกระดาษชาร์ด ว่าสมาชิกในกลุ่มแต่ละคนมีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง
    • วิทยากรให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอจากการระดมความคิดเห็นข้อดีและข้อเสียของสมาชิกทุกคน
    • เยาวชนร่วมกันโวตเยาวชนช่างพูด ช่างกล้า นำพาตนลอดพ้นยาเสพติด เป็นผู้ชาย 2 คน ผู้หญิง 2 คน รวม4 คน

    1.ผู้ชายนายมาลิคเส็นสามารถ นายสราวุธเส็นสามารถ 2.ผู้หญิง นางสาวนุสรีอุมารี นางสาวศศิประภาหมันนาเกลือ

    • เยาวชนร่วมกันโหวต hero เสริมทักษะชีวิตพิชิตยาเสพติด 1.ผู้ชาย นายอับดุลคอลิกตีกาสม นายอาซารเส็นสามารถ 2.นางสาวฟาลีตาหูเขียว นางสาวมาซีต๊ะ อุมารี

    • สภาเยาวชนร่วมกันคัดเลือกhero เด็กเล็กอายุไม่เกิน 13 ปี 1.เด็กชายฟาร์ดีเส็นสามารถ 2.เด็กหญิงซาฝีย๊ะทิ้งเอ็ม

    • วิทยากรสรุปเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันของเยาวชนเพื่อให้หลีกเลี่ยงและให้ห่างไกลจากยาเสพติด ให้เยาวชนรูุ้จักปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดเมื่อมีการชักชวนจากเพื่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนได้รับความรู้และวิธีป้องกันตนจากยาเสพติด โทษของยาเสพติด และวิธีการหลีกเลี่ยงตัวเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด เช่นถ้าเกิดเพื่อนมาชวนให้เสพยาก็ให้รู้จักวิธีการปฏิเสธจากเพื่อนๆ
    2. เยาวชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความรักความสามัคคีกัน
    3. เสริมสร้างความกล้าแสดงออกให้กับเยาวชน
    4. ที่ได้พบปะกันและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในจัดทำแผนชุมชนด้านเยาวชน
    5. เยาวชนรู้สึกมีความสุขที่ที่ได้พบปะกันและร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวันของตน

     

    60 60

    46. งานสร้างสุข

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ในวันที่ 3-5 ตค.59 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 2.ร่วมฟังปาฐกถา เรื่อง " บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้าเสริมสุขภาพในภูมิภาคเอเชีย โดยนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 3.เยี่ยมชมผลงานของโครงการต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงผลงาน 4.เข้าห้องประชุมย่อย ประเด็นชุมชนน่าอยู่ 5.เรียนรู้นวัตกรรมที่น่าสนใจจากโครงการต่างๆที่นำมาจัดแสดง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้เห็นผลงานของโครงการแต่ละโครงการที่นำมาจัดบูตเสนอผลงานซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการสามารถมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
    2. ได้ข้อคิดและแรงบันดาลใจจากการฟังเสวนาจากโครงการที่ได้นำเสนอเป็นตัวอย่างบนเวทีเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโครงการของตนเองต่อไป
    3. ได้รับข้อมูลและความรู้ใหม่ๆ มากมายจากจัดกิจกรรมครั้งนี้ เช่นจากหนังสือ จากห้องเสวนาย่อย จากการถามตามบูตต่างๆ เป็นต้น

     

    2 2

    47. จัดทำรูปถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 7 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เลือกรูปถ่ายที่ต้องการ
    2. พาไปที่ร้านเพือล้างรูป ให้ทำรูปในกระดาษโฟโต้และทำลงซีดี
    3. จ่ายเงินค่ามัดจำ
    4. นัดวันรับรูปถ่าย
    5. ไปรับรูปถ่านตามวันที่ตกลงกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปถ่ายและ ซีดีบันทึกภาพ 

     

    2 2

    48. จัดทำรายงาน

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆ ก่อนที่จะส่งงาน สจรส. งวดที่ 2
    2. พี่เลี้ยงดูการเขียนรายงานบนเว็บไซต์เบื้องต้นรูปแบบการเขียนและเนื้อหา
    3. จัดเรียงเอกสารในแต่ละกิจกรรมเก็บไว้เป็นชุดๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ทำให้ได้เตรียมความพร้อมก่อนส่งงาน สจรส. งวดที่ 2
    2. ได้แนวทางในการต่อยอดโครงการของปีต่อไป

     

    2 3

    49. พบพี่เลี้ยงก่อนปิดงวด 2

    วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆ ก่อนที่จะส่งงาน สจรส. งวดที่ 2
    2. พี่เลี้ยงดูการเขียนรายงานบนเว็บไซต์เบื้องต้นรูปแบบการเขียนและเนื้อหา
    3. จัดเรียงเอกสารในแต่ละกิจกรรมเก็บไว้เป็นชุดๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้ได้เตรียมความพร้อมก่อนส่งงาน สจรส. งวดที่ 2

     

    2 2

    50. คืนเงิน เงินเปิดบัญชี

    วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงิน เงินเปิดบัญชี 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ คืนเงินเปิดบัญชี 500 บาท

     

    2 2

    51. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเกตโครงการปิดงวด 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ให้พี่เลี้ยงตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆ ก่อนที่จะส่งงาน สจรส. งวดที่ 2
    2. พี่เลี้ยงดูการเขียนรายงานบนเว็บไซต์เบื้องต้นรูปแบบการเขียนและเนื้อหา
    3. จัดเรียงเอกสารในแต่ละกิจกรรมเก็บไว้เป็นชุดๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้ได้เตรียมความพร้อมก่อนส่งงานเอกสารโครงการ สจรส. งวดที่ 2

     

    2 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 หนุนเสริมกลไกสภาผู้นำชุมชนเดิมและสร้างเกิดกลไลเยาวชนใหม่มาขับเคลื่อนกิจกรรมของเยาวชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : เกิดสภาเยาวชน 1 สภา มีการประชุมและจัดกิจกรรมต่อเนื่องทั้งโครงการ มีการประชุมสภาเยาวชน เดือนละ 1 ครั้ง

    1.เกิดสภาเยาวชนที่เข็มแข็ง 1 สภา มีการประชุมและจัดกิจกรรมต่อเนื่องทั้งโครงการ มีการประชุมสภาเยาวชน เดือนละ 1 ครั้ง และแต่งตั้งคณะทำงาน ดังนี้ - ประธานสภาเยาวชนนายอาซารเส็นสามารถ - รองประธานสภาเยาวชนนายมาลิคเส็นสามารถ - รองประธานสภาเยาวชนนายกอรอซีอุสมา - ประชาสัมพันธ์สภาเยาวชนนายสราวุธเส็นสามารถ - กรรมการและเลขานุการนางสาวศิรประภาหมันนาเกลือ มีการเปลี่ยนแปลงประธานสภาเยาวชนจากนายดนุพลยาง๊ะเป็นนายอาซารเส็นสามารถเนื่องจากนายดนุพลยาง๊ะ ไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจึงไม่สามารถทำหน้าที่ส่วนนี้ได้ 2.สถาเยาวชนสามารถเป็นแกนให้กับเยาวชนรุ่นในการดำเนินการกิจกรรมต่างได้

    2 เพื่อสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านเยาวชนให้เป็นปัจจุบัน มีรายละเอียดเพียงพอใช้เป็นฐานข้อมลในการทำแผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชนได้
    ตัวชี้วัด : ได้ข้อมูลสถานการณ์เยาวชน 1 ชุมข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมีการสำรวจในปี 2558

    ได้ข้อมูลสถานการณ์เยาชน ในด้านต่างๆจากการสำรวจข้อมูลชุมชน ของสภาเยาวชน 1. สถานการณ์ครอบครัวปัญหาความคิดเห็นของคนในครอบครัวไม่ตรงกัน ครอบครัวแตกแยก 2. สถานการณ์ชุมชนปัญหายาเสพติด 3. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในชุมชน ปัญหาการว่างงาน 4. สถานการณ์ด้านการศึกษา ปัญหา เด็กเยาวชนไม่มีโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ 5. สถานการณ์เด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์)ปัญหามีพฤติกรรมทางเพศ(มีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร) ปํญหายาเสพติด 6. สถานการณ์เยาวชน (อายุ18 – 25ปี)ปัญหามีพฤติกรรมทางเพศ(มีเพศสัมพันธ์และท้องก่อนวัยอันควร) ปํญหายาเสพติด

    3 เพื่อทำแผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชน โดยเยาวชนและครอบครัวมีส่วนร่วม
    ตัวชี้วัด : ได้แผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชน 1 แผน

    นำปัญหาแต่ละด้านของผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์เยาวชน มาจัดทำแผนด้านเยาวชน1 แผน
    ในปี 2560 โดยความร่วมมือจากสภาผู้นำชุมชนและสภาเยาวชน 1.กิจกรรมชุมชนคลองสองปากปลอดอบายมุข ผู้รับผิดชอบ นายเชบดานด็น ผู้นำศาสนา /สภาเยาวชน 2.กิจกรรมค่ายวัยใสห่างไกลยาเสพติดผู้รับผิดชอบ นางสาวฮัมเศาะ อุมารี ครูโรงเรียนบ้านคลองสองปาก /สภาเยาวชน 3.กิจกรรมสายใยรัก สัมพันธ์ครอบครัว ผู้รับผิดชอบ นายอารีตีกาสม ผู้นำศาสนา/สภาเยาวชน 4.กิจกรรมส่งเสริมอาชีพในชุมชนผู้รับผิดชอบ นายเกียรติผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่8 บ้านคลองสองปาก /สภาเยาวชน 5.กิจกรรมลานกีฬาต้านยาเสพติด ผู้รับผิดชอบ นายยมอาดเตาวโต สมาชิก อบต. หมู่ที่8 /สภาเยาวชน 6.กิจกรรมต้นกล้าความดี ผู้รับผิดชอบ นางสาวฮัมเศาะ อุมารี ครูโรงเรียนบ้านคลองสองปาก /สภาเยาวชน 7.กิจกรรมชุมชนพอเพียง นางขอดีย๊ะเทศอาเส็นนางสาวเจ๊ะน๊ะ จิแอแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง /สภาเยาวชน

    4 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและคนในชุมชนในการปฏิบัติการกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีคุณค่า ในอันที่จะนำไปสู่การป้องกันแก้ไขปัญหาเยาวชน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของเยาวชนและครอบครัวกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมทำกิจกรรมตามที่กำหนดทุกกิจกรรม 2. เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มตัวโต)สามารถเป็นผู้นำทำกิจกรรมให้กับกลุ่มเยาวชนรุ่นน้อง(กลุ่มตัวเล็ก) อย่างน้อย15 คน จากกลุ่มสภาเยาวชน 3. พ่อแม่กลุ่มตัวโตที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อยาเสพติด ตอบแบบสอบถามเมื่อสิ้นสุดโครงการว่าเห็นบุตรหลานมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 50
    1. เยาวชนและครอบครัวกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนดทุกกิจกรรม ร้อยละ 80
    2. เยาวชนอายุ18-25ปี จำนวน 20 คน เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมต่างๆให้กับเยาวชนรุ่นน้อง
    3. ร้อยละ 50 ของเยาวชนที่เข้าร่วมครงการมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
    4. ร้อยละ 90 ของสภาเยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.คณะทำงานเข้าร่วมประชุมกับสสส. สจรส.มอ. 2.ป้ายปลอดบุหรี่ "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดที่มัสยิดโรงเรียนชุมชนโรงน้ำปลา 3.ภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรม และบันทึกลงแผน CD 4.จัดทำรายงานการดำเนินโครงการส่ง สสส.

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หนุนเสริมกลไกสภาผู้นำชุมชนเดิมและสร้างเกิดกลไลเยาวชนใหม่มาขับเคลื่อนกิจกรรมของเยาวชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง (2) เพื่อสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านเยาวชนให้เป็นปัจจุบัน มีรายละเอียดเพียงพอใช้เป็นฐานข้อมลในการทำแผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชนได้ (3) เพื่อทำแผนพัฒนาชุมชนด้านเยาวชน โดยเยาวชนและครอบครัวมีส่วนร่วม (4) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและคนในชุมชนในการปฏิบัติการกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีคุณค่า ในอันที่จะนำไปสู่การป้องกันแก้ไขปัญหาเยาวชน (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)

    รหัสโครงการ 58-03848 รหัสสัญญา 58-00-2207 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

    ควรหากิจกรรมให้สภาเยาวชนได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบต้องมีและไม่มีงบประมาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้แก่ ให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับลูกวัยรุ่น กีฬาสีครอบครัว เยาวชนเรียนรู้การทำอาชีพเสริมของพ่อแม่ การจัดค่ายทักษะชีวิต

    รายงาน/ภาพกิจกรรม

    ควรทำการให้ความรู้แก่พ่อแม่อย่างต่อเนื่อง และมีการขยายผลสู่ครอบครัวอื่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดกติกาครอบครัว 9 ข้อ

    รายงานกิจกรรม

    ให้มีการติดตามว่ากติกาที่วางไว้สามารถทำได้/ไม่ได้อย่างไร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    การเก็บข้อมูลสถานการณ์เยาวชนเพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำแผนพัฒนาชุมชนด้านเด็กและเยาวชน

    ภาพ/รายงานกิจกรรม

    ให้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น การออกแบบกิจกรรมในชุมชนเมื่อได้รับทุนสนับสนุนลงมา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2) จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03848

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย เกียรติ อุมารี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด