directions_run

โครงการปลูกป่าชุมชนเพื่อคืนความสมบูรณ์ให้คลองโหล๊ะจันกระ

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรแลการดูแลทรัพยากรของชุมชน 2. เพื่อร่วมกันสร้างกติกาหรือข้อตกลงในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ลำคลองร่วมกันของคนในชุมชน 3. เพื่อร่วมกันปรับปรุงและสร้างสภาพแวดล้อมของลำคลองให้มีความอุดมสมบูรณ์ 4. เพื่อสร้างกลไกในการติดตามการเฝ้าระวังความเสียหารของสภาพแวดล้อมคลองและประเมินผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด : ตัวชีวัดผลลัพธ์ 1. สามารถออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรของลำคลองได้ 2. สามารถวิเคราะห์สาเหตุการเปลี่ยนไปของระบบนิเวศน์ของลำคลองได้ 3. มีแผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของลำคลอง 4. มีคณะทำงานร่วมหรือจิตอาสา อย่างน้อย 10คน 5. กติกาในการดูแลลำคลองเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 6. กติกาเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในชุมชน 7. มีแผนการติดตามการใช้กติกาและเฝ้าระวังความเสียหายที่เป็นรูปธรรม 8. มีการดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 9. มีชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูกเพิ่มอย่างน้อย 5 ชนิด 10. ปริมาณต้นไม้ริมคลองในรัศมี 10 เมตรเพิ่มขึ้นในระยะทางอย่างน้อย 5 กม.ของระยะทางลำคลอง 11. มีจำนวนต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1,000 ต้น
0.00

1.มีกลุ่มคนที่ร่วมเรียนรู้เรื่องทรัพยากรแบ่งได้3กลุ่มคือกลุ่มกลุ่มเจ้าของที่ดินริมคลอง กลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ กลุ่มคณะทำงานโครงการเรื่องที่เรียนรู้คือเรื่องพันธุ์ไม้ริมคลองพันธุ์สุตวืน้ำในพื้นที่ กระบวนการและวิธีการดูแลรักษาทรัพยากรของพื้นที่ 2.เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาทรัพยากรชุมชนคือ-ชุมชนจะร่วมกันดูแลสายน้ำ-การสร้างกติกาในการหาสัตว์น้ำในการเลี้ยงชีพแบบไม่ทำลายล้างผลาญ-ร่วมกันปลูกและดูแลรักาาต้นไม้ริมคลอง3.ได้ปรับสภาพแวดล้อมลำคลองคือการร้างฝายมีชีวิตจำนวน10จุดและสร้างเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ 4.เกิดกลไกการดูแลลำคลองโดยการใช้กลกไกลุ่มเยาวชนและกลุ่มกรรมการหมู่บ้านร่วมกับชุดชรบ.หมู่บ้านในการเฝ้าระวังความเสื่อมโทรมของทรัพยากรจำนวน15คนและมีการดูแลและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง 5.มีการปลูกต้นไม้เพิ่มริมคลองจำนวน1,200ต้นในระยะทางดำเนินโครงการ1,500เมตร ชนิดต้นไม้ที่ปลูกคือไม้ตะเคียนทอง ไม้ประดู่ ไม้กระดิ่งทอง จามจุรี ไผ่ พะยอม ตะแบก เลา 6.ปล่อยพันธ์ปลาน้ำจืดลงสู่ลำคลองจำนวน3,000ตัว

1.มีการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมลำคลองไปในทางที่ดีสามารถสังเกตุได้โดยสายตาคือการเพิ่มขึ้นของพืชอาหารริมคลองต่างๆให้คนในชุมชนได้หาเลี้ยงชีพเช่นการเพิ่มขึ้นของผักกูดในพื้นที่ดำเนินโครงการ และรวมถึงพืชอาหารตามธรรมชาติอื่นๆ 2.มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณสัตว์น้ำในพื้นที่ดำเนินโครงการเช่นการเพิ่มขึ้นของหอยโหล่ ปลาขนาดเล็กต่างๆโดยธรรมชาติเช่นปลาซิว ปลาลายเสือ ปลาขอ ปลาโสด สังเกตูได้โดยมีนากและนกกาน้ำเข้ามาหากินในพื้นที่ดำเนินโครงการ
3.ชุมชนสามารถรือฟื้นวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิมของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชุมชนกับการใช้ชีวิตกับธรรมชาติคือประเพณีการแก้ทวดทองแค ที่เป็นความเชื่อของชุมชนต่อความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของชุมชน อนึ่งเปรียบเหมือนอุบายให้ชุมชนได้เกิดความหวงแหนและช่วยกันดูแลรักษาทรัพากรของชุมชนและสร้างความสามามัคคีของคนในชุมชนนั้นเอง

การทำงานของคณะทำงานนั้นไม่มุ่งเน้นที่การใช้งบประมาณของโครงการแต่มีการใช้งบประมาณของโครงการที่สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกิจกรรมคณะทำงานร่วมกันทำงานโดยมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของกลุ่มคน3กลุ่มวัยให้เกิดการทำงานร่วมกันมีการระดมทรัพยากรของชุมชนมาทำงานให้เกิดผลสำเร็จของโครงการได้ดี คณะทำงานที่มีแกนนำสามารถประสานความร่วมมือกับชุมชนและภาคีต่างๆได้ดี การทำงานนั้นเน้นวิถีของชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานซึ่งสามารถลดแรงเสียดทานต่างๆได้ระดับหนึ่งจากกลุ่มคนที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญและมีความเห็นที่ต่างออกไปจากแนวคิดและรูปแบบการทำงานภายใต้โครงการของคณะทำงาน