directions_run

โครงการปลูกป่าชุมชนเพื่อคืนความสมบูรณ์ให้คลองโหล๊ะจันกระ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกป่าชุมชนเพื่อคืนความสมบูรณ์ให้คลองโหล๊ะจันกระ
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 15 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 99,940.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มลำเนาไพร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาริชาติ ช่วยราชการ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่บ้านโหล๊ะจันกระ ม.6 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 12 มิ.ย. 2562 49,970.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 13 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 39,976.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 9,994.00
รวมงบประมาณ 99,940.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านโหล๊ะจันกระ หมู่ที่ 6 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับสันเนิน มีสายน้ำคลองโหล๊ะจันกระไหลผ่านกลางหมู่บ้าน สายน้ำดังกล่าวเกิดจากการรวมตัวของสายห้วยเล็กๆแนวเทือกเขาบรรทัดซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน สายห้วยที่สำคัญได้แก่ ห้วยกัว ห้วยไข่เขียว ห้วยไม้ไผ่ ห้วยหาร ห้วยน้ำชุบ ห้วยยาง ไหลมารวมตัวกันเป็นสายคลองโหล๊ะจันกระ ไหลผ่านใจกลางของหมู่บ้านไปรวมกับสายคลองหัวช้าง คลองอินนอโม รวมตัวกันเป็นลุ่มน้ำคลองท่าเชียด มีบ้านเรือนตั้งรกรากอยู่สองฝั่งคลองบ้านโหล๊ะจันกระ หมู่ที่ 6 มีทั้งหมด 189 หลังคาเรือน มีประชาชนทั้งหมดจำนวน493คน เป็นชายจำนวน228คน เป็นหญิงจำนวน265คน มีช่วงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปจำนวน105คน ช่วงอายุวัยแรกเกิดถึง 12 ปีจำนวน37คน ช่วงอายุวัย 12 ปีถึง20ปีจำนวน85คน สภาพพื้นที่ทั่วไปของหมู่บ้านเป็นพื้นที่การเกษตร พื้นที่สวนใหญ่เป็นสวนยางพารา สวนผลไม้ อาชีพสวนใหญ่ของคนในหมู่บ้านจึงเป็นอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ สภาพในอดีต คลองโหล๊ะจันกระ เป็นสภาพคลองที่มีเส้นทางไหลของสายน้ำคดเคี้ยว มีต้นไม่เล็กใหญ่จำนวนมากอยู่สองริมฝั่งคลอง มีแอ่งน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า วัง อยู่มากมายซึ่งเรียกตามชื่อคนในอดีตและมีชื่อเล่ามากมายของวังต่างๆ เช่น วังตาสัก วังยายจม วังพายหิ้น วังทวดขรีด มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมายในสายน้ำ พันธ์ปลามากมายหลายชนิด เช่น ปลาหวด ปลาหลวน ปลาแก้มช้ำ ปลาขี้ขม ปลาขะหยา ปลาขอ ปลาหมู ปลาข้าว ผู้คนได้อาศัยเป็นอาหารในการเลี้ยงชีวิตของคนในหมู่บ้านและใช้สายน้ำ เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกับหมู่บ้านอื่น ใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าการเกษตรไปขายที่ตลาดแม่ขรี ตลาดบางแก้ว โดยอาศัยแพ เป็นพาหนะหลักในการเดินทาง ซึ่งแพก็ประกอบขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการทำ สินค้าการเกษตรที่สำคัญในอดีตได้แก่ กล้วย ของป่า น้ำมันยาง สัตว์ป่า เป็นต้น สภาพปัญหาปัจจุบัน ปัจจุบันสภาพสายคลองโหล๊ะจันกระได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก จากสายคลองที่คดเคี้ยวมีต้นไม้ใหญ่อยู่สองฝั่งคลองได้หายไป สภาพน้ำลึกที่เคยเป็นวังต่างๆก็หายไป สัตว์น้ำต่างๆที่เคยอาศัยอยู่มากมายก็หายไป ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ล้วนแล้วเกิดจากพฤติกรรมของคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภาคเกษตรกรรมของคนในชุมชนที่ปลูกยางพาราและสวนผลไม้ตลอดแนวสองฝั่งคลองมีการใช้สารเคมีในการเกษตรกรรมทั้งยาฆ่าหญ้า และปุ๋ยเคมี ปัญหาการลุกล้ำพื้นที่ฝั่งคลองตามแนวตลิ่งเพื่อการเพาะปลูก มีคนแอบขุดต้นไม้สวยงามที่งอกอยู่ตามริมคลองเพ่อเอาไปเป็นไม้ประดับและขายให้นักธุรกิจ มีการล่าและจับสัตว์น้ำมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปรวมถึงการใช้เครื่องมือ และวิธีการที่ไม่เหมาะสมคือการใช้ตาข่ายดักปลาที่ตาถี่เล็กเกินไป หายปลาโดยการใช้วิธีไฟฟ้าช็อตและใช้สารเคมี เช่นยาเบื่อหรือแอมโมเนียในการหาปลา รวมถึงการหาปลาในฤดูกาลวางไข่ ปัญหาที่เกิดจากธุรกิจดูดทรายในตอนล่างของคลองในขณะที่ชุมชนเองก็ยังขาดวิธีการและกลไกต่างๆที่ชัดเจนในการช่วยดูแลลำคลอง ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของฤดูกาล คือน้ำป่าไหลหลากในช่างฤดูฝน จึงเกิดการเปลี่ยนการไหลของสายน้ำ ในขณะที่คนเองก็เห็นแก่ตัวขึ้น ขาดจิตสำนึกสาธารณะในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของคนเป็นส่วนใหญ่ ทั้งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของลำคลอง ทำให้จำนวนต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ตลอดแนวริมคลองลดลง ส่งผลให้ตลิ่งสองฝั่งคลองพังทลาย ส่งผลให้แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำลดลงไปด้วย ปลาชนิดต่างๆขาดที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการขยายพันธ์ขอสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ลักษณะการไหลของน้ำจากที่เคยไหลคดเคี้ยวและไหลช้าๆก็ไหลเร็วขึ้น ท้องคลองที่เคยเต็มไปด้วยเม็ดทรายและก้อนหินขนาดต่างๆก็ลดลงอย่างรวดเร็ว สายพันธ์ปลาดั้งเดิมของชุมชนหลายชนิดเริ่มสูญหายไป พืชผักตามธรรมชาติที่เคยเจริญงอกงามอยู่ตลอดแนวฝั่งคลองก็ลดน้อยลง และกำลังจะสูญหายไปจากชุมชนจากที่วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เคยหากินอยู่กับสายน้ำก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป การหาปลาแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นภูมมิปัญญาของชุมชนก็มีให้เห็นน้อยมาก จากที่เคยเก็บพืชผักที่เจริญงอกงานอยู่คนพอที่จะมาเป็นอาหารในครัวเรือนก็เปลี่ยนไปเป็นซื้อพืชผักจากท้องตลาดมาบริโภคและเสี่ยงต่อการบริโภคสารเคมีแฝงอยู่ จากการหารือของกลุ่มมีความเห็นร่วมกันว่าต้องเร่วรัดแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลำคลองโดยเน้นความสำคัญดังนี้ 1. สร้างการเรียนรู้แก่ชุมชนในเรื่องสภาพความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของตลิ่งและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลดลงของจำนวนและปริมาณป่าริมคลอง 2. ชุมชนจำเป็นต้องสร้างกติกาและกลไกในการดูแลและใช้ประโยชน์ของลำคลอง 3. ชุมชนจะเพิ่มพื้นที่และปริมาณของป่าริมคลองให้มากขึ้นเพื่อเอื้อต่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยรวมของลำคลอง หากโครงการดำเนินการประสบผลสำเร็จก็จะทำให้พื้นที่ป่าและปริมาณและความหลากหลายของพันธุ์ไม้ริมคลองเพิ่มขึ้น ปัญหาการพังทลายของริมฝั่งคลองก็จะลดลงและส่งผลระยะยาวต่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยรวมของลำคลอง อันจะเอื้อต่อการประกอบกิจกรรมตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การจัดการลำคลองทั้งระบบเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน โดยยึดหลักการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรแลการดูแลทรัพยากรของชุมชน 2. เพื่อร่วมกันสร้างกติกาหรือข้อตกลงในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ลำคลองร่วมกันของคนในชุมชน 3. เพื่อร่วมกันปรับปรุงและสร้างสภาพแวดล้อมของลำคลองให้มีความอุดมสมบูรณ์ 4. เพื่อสร้างกลไกในการติดตามการเฝ้าระวังความเสียหารของสภาพแวดล้อมคลองและประเมินผลการดำเนินงาน

ตัวชีวัดผลลัพธ์ 1. สามารถออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรของลำคลองได้ 2. สามารถวิเคราะห์สาเหตุการเปลี่ยนไปของระบบนิเวศน์ของลำคลองได้ 3. มีแผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของลำคลอง 4. มีคณะทำงานร่วมหรือจิตอาสา อย่างน้อย 10คน 5. กติกาในการดูแลลำคลองเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 6. กติกาเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในชุมชน 7. มีแผนการติดตามการใช้กติกาและเฝ้าระวังความเสียหายที่เป็นรูปธรรม 8. มีการดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 9. มีชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูกเพิ่มอย่างน้อย 5 ชนิด 10. ปริมาณต้นไม้ริมคลองในรัศมี 10 เมตรเพิ่มขึ้นในระยะทางอย่างน้อย 5 กม.ของระยะทางลำคลอง 11. มีจำนวนต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1,000 ต้น

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 175
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ คนในชุมชนและภาคีหนุนเสริม 100 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ คณะทำงานและเจ้าของที่ดิน 75 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,496.00 31 99,940.00
8 ธ.ค. 61 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนธันวาคม2561 0 850.00 850.00
15 ธ.ค. 61 จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของลำคลอง 0 4.00 4,200.00
28 ธ.ค. 61 อนุบาลดูแลพันธุ์ไม้ 0 8.00 8,900.00
8 ม.ค. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมกราคม2562 0 850.00 850.00
10 ม.ค. 62 เปิดโครงการ 0 5.00 5,150.00
8 ก.พ. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกุมภาพันธ์2562 0 850.00 850.00
20 ก.พ. 62 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (ศึกษาดูงานนอกสถานที่) 0 27.00 19,740.00
28 ก.พ. 62 เวทีเรียนรู้ข้อมูล 0 5.00 5,000.00
8 มี.ค. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมีนาคม2562 0 0.00 850.00
15 มี.ค. 62 เวทีวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบสภาพความเปลี่ยนแปลงของสภาพลำคลองจากอดีตและปัจจุบัน 0 7.00 7,780.00
16 มี.ค. 62 กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่1 0 3.00 3,140.00
30 มี.ค. 62 ยกร่างกติกาข้อตกลงในการ ดูแลและใช้ประโยชน์จากลำคลอง 0 1.00 1,940.00
5 เม.ย. 62 ประชาพิจารณ์กติกาข้อตกลง ในการดูแลและใช้ประโยชน์ จากลำคลอง 0 7.00 7,500.00
8 เม.ย. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนเมษายน2562 0 850.00 850.00
1 พ.ค. 62 เวทีทำแผนการติดตามและ เฝ้าระวัง 0 1.00 1,050.00
8 พ.ค. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนพฤษภาคม2562 0 850.00 850.00
15 พ.ค. 62 กิจกรรมปลูกป่าริมคลอง ครั้งที่1 0 500.00 500.00
24 พ.ค. 62 ติดตามและเฝ้าระวังครั้งที่2 0 12.00 2,000.00
24 พ.ค. 62 ติดตามเฝ้าระวัง ครั้งที่2 0 2,000.00 2,000.00
8 มิ.ย. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมิถุนายน2562 0 850.00 850.00
9 มิ.ย. 62 กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2 0 3.00 3,140.00
15 มิ.ย. 62 กิจกรรมปลูกป่าริมคลอง ครั้งที่ 2 0 500.00 500.00
24 มิ.ย. 62 ติดตามเฝ้าระวัง ครั้งที่3 0 2,000.00 2,000.00
8 ก.ค. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกรกฎาคม2562 0 850.00 850.00
15 ก.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอนุบาลพันธุ์ปลา และปล่อยปลาสู่คลองธรรมชาติ 0 7,760.00 7,760.00
24 ก.ค. 62 ติตามเฝ้าระวังครั้งที่4 0 2,000.00 2,000.00
8 ส.ค. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนสิงหาคม2562 0 850.00 850.00
24 ส.ค. 62 ติดตามเฝ้าระวัง ครั้งที่5 0 2,000.00 2,000.00
30 ส.ค. 62 กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่3 0 3.00 3,140.00
8 ก.ย. 62 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกันยายน2562 0 850.00 850.00
24 ก.ย. 62 ติดตามเฝ้าระวัง ครั้งที่6 0 2,000.00 2,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:26 น.