directions_run

โครงการปลูกป่าชุมชนเพื่อคืนความสมบูรณ์ให้คลองโหล๊ะจันกระ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนธันวาคม2561 8 ธ.ค. 2561 11 ธ.ค. 2561

 

  1. สร้างความเข้าใจที่มา และวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ ผู้ติดตามโครงการ ทำความเข้าใจเรื่องที่มาของโครงการ โดยได้รับงบประมาณสนันสนุนจาก สสส เพื่อให้กลุ่มร่วมกันทำโครงการจากที่แกนนำได้ออกแบบไว้ คือการร่วมกันเรียนรู้การจัดการคลองจัดการน้ำของชุมชนโดยไปหนุนเสริมยุทธศาสตร์ กรีนซิตี้ จังหวัดพัทลุงในส่วนที่ยุทธศาสตร์จังหวัดยังมีช่องว่างอยู่ เน้นให้คณะทำงานบริหารจัดการกันเองมุ่งสร้างการเรียนรู้ให้แก่ทุกกลุ่มวัยในชุมชน ให้เห็นเป็นรูปธรรมของการจัดการคลองทั้งระบบโดยชุมชน 2.สร้างความเข้าใจตัวชี้วัตของโครงการ ัวชี้วัดคือสิ่ที่จะบอกว่าโครงการดำเนินไปแล้วเกิดขึ้นตามที่คณะทำงานกลุ่มได้กำหนดตัวชี้วัดไว้หรือไม่ หากทำกิจกรรมตามที่วางไว้จะเกิดผลตามที่ต้องการหรือไม่ หากไม่เกิดก็สามารถปรับแผนปรับกิจกรรมได้ความความเหมาะสมและความเห็นร่วมของคณะทำงานโดยภายใต้การเห็นชอบของพี่เลี้ยงติดตามโครงการด้วย 3ชี้แจงการเงิน งบประมาณทั้งหมดตลอดโครงการได้รับสนับสนุนจาก สสส จำนวน 100,000 บาท การใช้จ่ายให้จ่ายตามเงื่อนใขของโครงการที่กำหนดไว้ในรูปของคณะทำงานโครงการ รายละเอียดแกนนำได้ผ่านการอบนมจากหน่วยจัดการมาแล้ว 4 จัดโครงสร้างคณะทำงาน 5 กำหนอแผนการทำงานในระยะเดือนแรก

 

1 มีผู้ร่วมประชุม 15 คน 2 ผู้ร่วมประชุมได้เรียนรู้ และเข้าใจ ที่มาและเป้าหมายโครงการ 3มีโครงสร้างคณะทำงานและบทบาทหน้าที่การทำงานภายใต้โครงการ 4ได้แผนการทำงานในระยะสั้น คือ เดือนแรกเป็นแผนการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องและควรรู้ เกี่ยวกับคลอง และกำหนดการประชุมประจำเดือน ทุกเสาร์ที่3ของเดือน

 

จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของลำคลอง 15 ธ.ค. 2561 15 ธ.ค. 2561

 

-ช่วงเช้าคณะทำงานปรึกษาหารือและร่วมกันกำหนดรูปแบบเนื้อหาสาระที่จะใช้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันในการจดบันทึกและสังเกตุสภาพแวดล้อมของลำคลองพร้อมทั้งแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบโดยแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วนคือ 1วัดระยะทางความยาวของลำคลอง 2 สำรวจความสมบูรณ์ของสองฝั่งคลองเน้นนับจำนวนต้นไม้ใหญ่ที่ยังคงอยู่ริมคลองและสำรวจจุดเสียหายหรือพังทะลายที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำบริเวณริมตลิ่ง 3สำรวจนับบันทึกจำนวนที่ดินทำกินที่อยู่ริมคลองพร้อมชื่อเจ้าของที่ดิน -ช่วงบ่ายลงพื้นที่เดินเท้าไปตามลำคลองแบ่งออกเป็น 3ทีมตามเป้าหมายการสำรวจ

 

1 มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน25คน 2คณะทำงานได้เรียนรู้การทำงานกันเป็นทีมและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนที่ได้มอบหมาย 3 ได้ฐานข้อมูลดิบมา3ชุดบ่งบอกถึงจุดที่เสียหายหนักจากการพังทะลายจำนวน10จุด จำนวนต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นริมคลองจำนวน8ชนิด จากระยะทางความยาวของลำคลอง5,000เมตร รายชื่อเจ้าของที่ดินที่อยู่ริมคลองหนึ่งชุดมีจำนวน50แปลง 4คณะทำงานและกลุ้มเป้าหมายได้เรียนรู้ถึงสภาพแวดล้อมลำคลองในปัจจุบันและเกิดการแลกเปลี่ยนเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงไปของลำคลองจากอดิีดประมาณ30ปีที่ผ่านมา

 

อนุบาลดูแลพันธุ์ไม้ 28 ธ.ค. 2561 13 ก.พ. 2562

 

ติดต่อขอใช้สถานที่ตั้งเรือนเพาะชำโดยใช้สถานที่รกร้างของโรงเรียนวัดโหล๊ะจันกระ ปรับสภาพพื้นที จัดซื้อวัสดุตามโครงการ สร้างด้วยการออกแรงของคณะทำงานและอาสาสมัคร รวมถึงพระสงฆ์

 

ได้เรือนเพาะชำกล้าไม้ขนาดความสูง 2เมตร กว้าง 6เมตร ยาว 9เมตร เกิดการระดมทุนของชุมชน หรือภาษาบ้านเรียกว่า ออกปาก เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง ชาวบ้านชุมชน วัด โรงเรียน

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมกราคม2562 8 ม.ค. 2562 11 ม.ค. 2562

 

เริ่มด้วยเรื่อง     1สรุปการทำกิจกรรมประชุมเปิดโครงการเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 ประเด็นสรุปคือ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประเภทของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม เนื้อหาสาระที่เป็นความรู้หรือใจความสำคัญของการนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม บรรยากาศที่เกิดขึ้นในวงประชุม และการตอบสนองจากกลุ่มเป้าหมายในการทำกิจกรรม     2ชี้แจงงบประมาณค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเปิดโครงการ     3กำหนดแผนการทำงานในระดับกรรมการและกลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครในการทำโรงการ
    4ชี้แจงและขอมติเบิกจ่ายเงินในการทำกิจกรรมตามแผนงานโครงการ

 

1มีคณะทำงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 12คน 2คณะทำงานได้เรียนรู้สรุปงานการทำงานเป็นทีมจากการจัดกิจกรรมได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน การแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ ได้เรียนรู้ข้อบกพร่อง และปัญหาข้อจำกัดในการทำงาน 3ด้แผนการทำงานในช่วงต่อไปของโครงการคือกำหนดวันสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ 4ได้แผนการทำงานที่นอกเหนือจากกำหนดไว้ในโครงการคือทดลองสร้างแนวชะลอทรายและน้ำด้วยกระสอบ ด้วยการระดมทุนและทรัพยากรณ์ที่มีในชุมชน

 

เปิดโครงการ 10 ม.ค. 2562 10 ม.ค. 2562

 

-คณะทำงานเชิญกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้นำทางการของชุมชน ครัวเรือนเจ้าของที่ดินที่อยู่ริมคลอง แกนนำผู้นำชุมชนและส่วนราชการ ส่วนท้องถิ่น -เปิดการประชุมโดยพระนเรศน์ จิตตะวิสุทธิ ผู้นำทางสาสนาและคณะทำงานโครงการ -บอกกล่าวที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการโดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงรับผิดชอบโครงการ ได้เล่าถึงที่มาของโครงการที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)เพื่อมาดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง(Greencity)ในประเด็นของการจัดการทรัพยากรณ์ป่าต้นน้ำโดยชุมชนโดยมีวัตถุประสงค์สร้างความสมบูรณ์ให้กับลำคลองโหล๊ะจันกระอันจะเอื้อต่อการใช้ในการดำรงค์ชีวิตของคนในชุมชนและให้ลำคลองสมบูรณ์สามารถเป็นที่ทำกิจกรรมต่างๆและสามารถเป็นแหล่งอาหารให้คนในชุมชนพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องในขณะที่จะแก้ปัญหาการพังทะลายของตลิ่่งทั้งสองฝั่งคลอง -ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจของคณะทำงานให้ชุมชนได้เรียนรู้และแสดงความคิดเห็นในการและปัญหาแก้ลำคลอง ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันในการปรับสภาพแวดล้อมของลำคลองและที่มาของปัญหาการพังทะลายของตลิ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าจะช่วยกันปรับสภาพแวดล้อมของลำคลองด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำแบบง่ายๆเพื่อสกัดการใหลของทรายที่เกิดจากการดูดทรายตอนล่างนอกเขตหมู่บ้านและร่วมกันปลูกต้นไม้เพิ่มจำนวนต้นไม้ที่จะยึดผิวดินริมตลิ่ง รวมถึงการปรับสภาพลำคลองให้เอื้อต่อการขยายพันธ์ุของปลาในรูปแบบให้เป็นวังเหมือนอดีต

 

1 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 70 คน ประกอบด้วยคนในชุมชนอละเจ้าของที่ดินทั้งที่อยู่ในพื้นที่เขตชุมชนและต่างชุมชน ตัวแทนจากสถานศึกษาในพื้นที่ ตัวแทนส่วนราชการจากกรมป่าไม้ ตัวแทนจากเทศบาล 2 ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับรู้ข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไปของลำคลองและสภาพพื้นที่ที่เสียหายจากการพังทะลายของตลิ่ง 3 ได้รับการตอบรับและความร่วมมือจากเจ้าของที่ดินริมคลองที่จะร่วมกันแก้ปัญหาโดยการสัญญาใจกันในที่ประชุม 4ได้แนวทางปรับสภาพแวดล้อมของลำคลองเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกุมภาพันธ์2562 8 ก.พ. 2562 8 ก.พ. 2562

 

1ประธานกลุ่มแจ้งเรื่องมหาวิทยาลัยราชภัฏษ์สงขลา ภาควิชาแผนชุมชนขอความร่วมมือในการช่วยเป็นครูพี่เลี้ยงให้แก่นักศึกษาจำนวน 10คนลงฝึกงานภาคสนามร่วมกับกลุ่มในกิจกรรมโครงการของกลุ่มและร่วมกันแสดงความเห็นและแนวทางความร่วมมือของกลุ่ม 2การเงินแจ้งรายงานการเงินโครงการในรอบเดือนที่ผ่านมา คณะทำงานที่ร่วมประขุมรับทราบ 3สรุปผลการจัดกิจกรรมศึกษาดูงาน โดยเน้นห้วข้อ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากร ความตื่นตัวในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ความมุ่งมั่นของกลุ่มเป้าหมายในการร่วมกิจกรรมกับโครงการในอนาคต ความพึงพอใจสถานที่

 

1มีคณะทำงานร่วมประชุม10คนนักศึกษาฝึกงาน7คน 2ได้ร่วมกันสรุปและประเมินกิจกรรมโดยร่วมกันให้คะแนนความพอใจ 1-10 ดังนี้ -กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้ 10 คะแนนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมครบและมาร่วมตรงเวลานัด -เนื้อหาสาระที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรให้ 10 คะแนนเพราะเนื้อหาตรงความต้องการ และเข้าใจง่าย วิทยากรถ่ายทอดดีน่าสนใจ -ความตื่นตัวในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายให้ 8 คะแนนเพราะส่วนใหญ่จะเป็นการรับฟัง การถามและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นน้อยมาก -ความมุ่งมั่นของกลุ่มเป้าหมายในการร่วมกิจกรรมกับโครงการในอนคตให้ 8คะแนนเพราะกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผูหญิงอาจจะส่งผลไม่เอื้อต่อการทำกิจกรรมส่วนใหญ่ของโครงการ -ความพึงพอใจในสถานที่ดูงาน ให้ 9คะแนนเพราะการจัดสถานที่พูดคุยและอุปกรณ์เสริมเช่น เครื่องเสียง หรือข้อมูลที่เห็นชัดเจนไม่ปรากฎในวงเสวนา

 

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน (ศึกษาดูงานนอกสถานที่) 20 ก.พ. 2562 2 ก.พ. 2562

 

วางแผนกระบวนการ เนื้อหาที่ควรเรียนรู้ในการไปดูงาน ประสานงานพื้นที่ ที่ไปดูงาน ประสานงานยานพาหะนะ และกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ตามโครงการ เตรียมหัวข้อสาระสำคัญในการไปดูงาน คือ กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน การใช้ทุนชุมชนให้เป็นประโยชน์ในการทำงานชุมชน ผลที่เกิดจากร่วมไม้ร่วมมือของชุมชน ช่วงเช้าเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของชุมชน วิธีคิดต่อการทำงานแก้ปัญหาชุมชน กระบวนการทำงานของแกนนำชุมชน ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน ช่วงบ่ายเยี่ยมชมวัดคลองแดน ชุมชนรอบวัดและตลาดน้ำคลองแดน

 

-มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 43คน แยกเป็นคณะทำงาน 10 คน เด็กเยาวชน 8คน เจ้าของที่ดินริมคลองและผู้สนใจ25คน -กลุ่มเป้าหมายได้เห็นความแตกต่างเชิงภูมิประเทศและระบบนิเวศน์ของคลองและประวัติความเป็นมาวิถีชีวิตที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันระหว่างบ้านโหล๊ะจันกระและชุมชนบ้านคลองแดน -กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ถึงความพยายามของแกนนำและกลุ่มผู้นำชุมชนที่มีความตั้งใจในการการพัฒนาเปลี่ยนแปลงชุมชน จากคำบอกเล่าของวิทยากรมีอุปสรรคและข้อจำกัดมากมายในการทำงานแต่ก็สามารถก้าวผ่านไปได้โดยใช้ความวิริยะของแกนนำ

-กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การนำเอาทุนและของดีในชุมชนมาเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนงาน และสร้างแรงจูงใจให้แก่คนในชุมชนโดยเน้นให้เห็นผลประโยชน์ร่วมที่ชุมชนจะได้รับจากผลการพัฒนา

 

เวทีเรียนรู้ข้อมูล 28 ก.พ. 2562 19 มิ.ย. 2562

 

10.00น.ลงทะเบียนพร้อมกันที่ประชุม 11.30น. นายสานิตย์ พลเพชร ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเปิดการประชุมและแจ้งเรื่องราวข่าวสารต่างๆจากการประชุมในระดับอำเภอให้ผู้ร่วมประชุมได้รับทราบ 12.00น. รับประทานอาหารเที่ยง 13.00น. นางสาวปาริชาติ ช่วยราชการ ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมและนำเสนอข้อมูลจากการเก็บข้อมูลของคณะทำงานโครงการและสภาพความเปลี่ยนแปลงของลำคลองจากการเก็บข้อมูลโครงการ และบอกเล่าปัญหาการเสื่อมของลำคลองจากการวิเคราะห์และพูดคุยของคณะทำงานโครงการ 13.30น. ตัวแทนจากสำนักงานเขตอนุรักษ์ป่าเขาบรรทัดให้ความรู้เรื่องนโยบายรัฐในการฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรป่าไม้ และเรื่องการสร้างป่าชุมชน
1ุ4.00น. ปิดการประชุม

 

1มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 60คน 2ที่ประชุมได้เรียนรู้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมของลำคลองและผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมลำคลองคือ -ปริมาณน้ำในลำคลองลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง5-10ปีที่ผ่านมา -การเปลี่ยนแปลงของเส้นทางการใหลของสายน้ำ -การลดลงของปริมาณและชนิดสัตว์น้ำที่มีอยู่ในลำคลอง -ความลึกของพื้นคลองที่ลึกมากขึ้นที่คาดว่าเกิดจากการดูดทรายในตอนล่างของลำคลอง -การลดลงของจำนวนต้นไม้ใหญ่บริเวณริมคลองที่เกิดจากการบุกรุกและแผ้วทางพื้นที่ริมคลองเพื่อการประกอบอาชีพ -แนวการการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาและร่วมกันฟิ้นฟูสภาพแวดล้อมของลำคลอง 3ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้นโยบายการจัดการป่าชุมชนและแนวทางการสร้างป่าชุมชนจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่มาให้ความรู้

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมีนาคม2562 8 มี.ค. 2562 11 มี.ค. 2562

 

1นายอรุณ สรีสุวรรณ ผู้ติดตาม บอกเล่าสถานการณ์ภาพรวมของโครงการ ระดับจังหวัดให้ผู้ร่วมประชุมรับฟัง ถึงพื้นที่ดำเนินการทั้งหมดของหน่วยจัดการระดับจังหวัดและความก้าวหน้าของแต่ละพื้นที่ให้รับรู้และเรียนรู้ร่วมกัน 2 พระนเรศ กล่าวชื่นชมแกนนำที่ร่วมกันทำงาน ทำกิจกรรมสร้างแนวชะลอทราาย
3ร่วมกันสะท้อนผลการทำงานและ ข้อจำกัดการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆของกลุ่ม

 

1มีผู้ร่วมประชุม12คน 2ผู้ร่วมประชุมได้เรียนรู้สถานการณ์ของพื้นที่อื่นจากผู้ติดตามโครงการ
3ผลการสะท้อนจ้อจำกัดการทำงานคือ ผู้นำท้องที่ไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรม แนวทางแก้ปัญหาคือให้หัวหน้าโครงการเป็นผู้ประสานงานผู้นำท้องที่ 4ได้ร่วมกันทำแนวชะลอทรายเพิ่มเติม ร่วมกับนักศึกษาฝึกงานจาก มหาวิทาลัยราชภัฏสงขลา

 

เวทีวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบสภาพความเปลี่ยนแปลงของสภาพลำคลองจากอดีตและปัจจุบัน 15 มี.ค. 2562 23 มิ.ย. 2562

 

เริ่มกิจกรรม เวลา10.00น.ด้วยการใช้กิจกรรมสร้างทักษะให้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตที่ผูกพันกับลำคลอง จากการเอาวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในบริเวณลำคลองมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงและประกอบอาหาร แล้วให้คนแก่ คนกลางวัยช่วยกันสอนเด็กให้ปรุงอาหารเพื่อกินกันในระหว่างการทำกิจกรรมก็ให้คนแก่เล่าถึงสภาพของลำคลองในอดีตให้เด็กฟัง และเปรียบเทียบให้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
12.00น. กลุ่มเป้าหมายร่วมกันรับประทานอาหารที่เกิดจากการทำร่วมกัน ช่วงบ่าย เริ่ม13.30น. เป็นการเล่านิทานเรื่องเล่าต่างๆที่เกี่ยวกับคลองเน้นเป็นเรื่องเล่าที่น่าสนใจที่จะสามารถสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนเกิดความรักความหวงแหนต่อลำคลองที่เป็นสมบัติของชุมชน และให้เด็กได้ถามเรื่องต่างที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับคลอง และปล่อยให้เด็กๆสนุกกับการเล่นน้ำตามประสาเด็กๆ ส่วนผู้ใหญ่ก็นั่งคุยเล่าเรื่องต่างๆ เรื่องหลักที่คุยกันคือเรื่องทวดทองแค และหารือกันเพื่อจะจัดกิจกรรมการแก้ทวดที่หายไปจากชุมชนนานถึง4ปี เพื่อต้องการรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชนที่เกี่ยวกับลำคลองสายน้ำให้กลับคืนมา เพราะเชื่อว่ากิจกรรมทางความเชื่อสามารถรวมและหลอมกันให้เกิดความรักสามัคคีได้

 

1 มีกลุ่มเป้าหมายร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน
2 เกิดการเรียนรู้เรื่องลำคลองของกลุ่มเด็กและเยาวชน ได้เข้าใจและเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนที่เกี่ยวกับลำคลอง
3 ผู้ใหญ่เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวให้กลุ่มเด็กเยาวชนได้เรียนรู้
4 เกิดความสำพันธ์อันดีต่อกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กเยาวชนจากการทำกิจกรรมร่วมกัน

 

กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่1 16 มี.ค. 2562 28 มี.ค. 2562

 

1พี่เลี้ยงผู้ติดตามทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและวิธีการนำเสนอผลที่เดิกขึ้นจากการทำโครงการ โดยการพูดคุยให้เล่าโดยยึดกรอบผลที่เกิดของโครงการเป็นหลัก 2คณะทำงานนำเสนอผลที่เกิดจากการทำกิจกรรมของโครงการ ด้วยวิธีการช่วยกันเล่าในสิ่งที่ทำและผลที่เกิดจากการทำ 3ผู้เขาร่วมกิจกรรมร่วมกันเติมเต็มมนสิ่งท่ียังไม่ได้พูดถึงและช่วยกันสะท้อนปัยหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการ 4พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ สรุปผลการทำกิจกรรมประเมินผล และช่วยเติมเต็มในสิ่งที่พี่เลี้ยงมองว่าเป็นจุดอ่อนของทีมทำงาน และการทำโครงการ

 

1มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30คน 2ผลที่เกิดจากการทำโครงการคือ
-คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันเรียนรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของลำคลอง -มีแกนนำชุมชนอย่างน้อย20คนที่ร่วมทำกิจกรรมกับโครงการตลอดและต่อเนื่อง -มีแผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมลำคลอง 2ลักษณะคือการปลูกต้นไม้เพิ่มบริเวณริมคลองให้ได้อย่างน้อย1000ต้น และการสร้างฝายแนวชะลอทรายเพื่อชะลอการไหลของทรายลงสู่พื้นที่ด้านล่างเพื่อลดการพังทะลายของตลิ่ง -กติกาการใช้ประโยชน์ของคลองยังไม่เกิดเพราะยังไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนส่วนใหญ่ในชุมชนให้เกิดการยอมรับกติกา -มีแผนการเฝ้าระวังการพังทะลายของตลิ่งและเฝ้าระวังแนวชะลอทรายและต้นไม้ที่ร่วมกันปลูกไว้โดยกำหนดการทำงานทุกวันที่24ของเดือนเร่ิมจากเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
-สามารถสร้างฝายชะลอทรายได้จำนวน 10จุด และสามารถปลูกต้นไม้ในช่วงที่ผ่านมาจำนวน 300ต้น ปัญหาที่ค้นพบจากการทำงานคือ การมีส่วนร่วมจากผู้นำท้องถินที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับโครงการเท่าที่ควร  ปัญหาที่เกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนมากในช่วงหน้าร้อนจึงไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง -แนวทางการแก้ปัญหาคือ ต้องเร่งสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้มากขึ้น และคณะทำงานควรได้รับการพัฒนาความสามารถในการทำงานด้วย เช่นเรื่องเชิงงานเอกสาร และความสามารถเป็นรายคนในการคิดและวิเคราะหืผลการทำงาน

 

ยกร่างกติกาข้อตกลงในการ ดูแลและใช้ประโยชน์จากลำคลอง 30 มี.ค. 2562 30 มิ.ย. 2562

 

13.00น. นัดพร้อมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน 13.30น. นางสาวปาริชาติ ช่วยราชการ ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม 14.00น. ที่ประชุมช่วยกันยกร่างกติกาข้อตกลงในการดูแลลำคลอง 15.00น. ปิดการประชุม

 

1มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน35คน 2ได้ร่างกติกาในการใช้ประโยชน์และการดูแลลำคลองคือ -ให้กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการเป็นพื้นที่ห้ามล่าสัตว์น้ำ -ให้ช่วยกันดูแลต้นไม้ที่มีอยู่บริเวณริมคลอง -ไม่ให้มีการขุดหรือโค่นต้นไม้ที่มีอยู่ริมคลอง -ห้ามล่าสัตว์น้ำด้วยวิธีการทำลายเช่นการช็อต การวางยาเบื่อ -ห้ามใช้ยาฉีดหญ้าในพื้นที่การเกษตรที่อยู่ริมคลิง _จะช่วยกันปลูกต้นไม้ริมคลองเพิ่มโดยเฉพาะพื้นที่ดำเนินโครงการและจะมีการดูแลอย่างสม่ำเสมอ

 

ประชาพิจารณ์กติกาข้อตกลง ในการดูแลและใช้ประโยชน์ จากลำคลอง 5 เม.ย. 2562 11 ก.ค. 2562

 

10.00น. ลงทะเบียนพร้อมกันในที่ประชุม 10.30น. ผู้ใหญ่บ้านเปิดประชุม และเชิญนางสาวปาริชาติ ช่วยราชการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม เพื่อประชาพิจารณ์ให้เกิดการยอมรับของชุมชนในข้อตกลงในการใช้ประโยชน์ของลำคลองในที่ประชุมมีมติยอมรับกติกาชุมชนในการดูแลลำคลองคือ การกำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการเป็นพื้นที่ห้ามล่าสัตว์น้ำและเป็นพื้นที่สำหรับการขยายพันธุ์สัตว์น้ำ และข้อตกลงในการที่จะร่วมกันปลูกป่าบริเวณริมคลองโดยเริ่มในเขตพื้นที่ดำเนินโครงการบริเวณหลังวัดโดยมีระยะทางความยาวของลำคลอง 1,500เมตร โดยมีความเห็นร่วมกันว่าสมควรมีการทำป้ายประกาศเป็นเขตหวงห้าม และให้มีการอนุบาลพันธุ์ปลาในพื้นที่ดำเนินโครงการ 11.30น. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดเรื่องการเงินสนับสนุนจาก สสส. เพื่อให้เกิดการดำเนินตามโครงการเพื่อมุ่งหวังให้การฟื้นสภาพแวดล้อมของลำคลองเกิดผลสำเร็จ 12.00น.รับประทานอาหารเที่ยง 13.00น. นำข้อเสนอแนะต่างๆของการทำงานต่อที่ประชุม 14.30น. ปิดประชุม

 

1มีคณะทำงานและคนในชุมชนร่วมกิจกรรมจำนวน70คน 2ชุมชนเกอดการยอมรับในข้อตกลงร่วมกันที่จะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมลำคลอง 3ชุมชนได้รับรู้การใช้งบประมาณของโครงการในการทำกิจกรรมภายใต้โครงการ

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนเมษายน2562 8 เม.ย. 2562 11 เม.ย. 2562

 

1ประธานกลุ่มแจ้งข่าว เรื่องการทำแนวชะลอทราย ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ ด้วย ม.ทักษิณแจ้งความประสงค์ขอร่วมกิจกรมให้นักศึกษามาร่วมเรียนร฿้การสร้างฝายแนวชะลอทรายร่วมกับกลุ่มในวันที่28เมาายน ที่ประชุมเห็นด้วยและมอบหมายกันแบ่งหน้าที่การทำงาน 2สรุปผลการทำงานในช่วงเดือนที่ผ่านมา
3กำหนอแผนการเฝ้าระวัง ฝายในช่วงเดือนต่อไปและกำหนดวันจัดกิจกรรมประเมินผลครั้งที่1 4ร่วมกันสร้างแนวชะลอทราย

 

1มีผู้ร่วมกิจกรรม15คน 1ได้ร่วมกันแบ่งหน้าที่การเตรียมงานการทำฝายชะลอทรายร่วมกับ ม.ทักษิณ นายอรุณ เป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้ร่วมกิจกรรม พระนเรศ ควบคุมการทำงาน ปาริชาติประสานกับม.ทักษิณ วิชาญรับผิดชอบเตรียมเครื่องมือ ณาตยานีรับผิดชอบการเตรียมอาหาร อำนวยรับบริการจัดการเรื่องเส้นทางสัญจร และเครื่องอำนวยความสะดวก 2ผลการทำงานที่ผ่านมา ได้ฝายชะลอทรายรวมทั้งหมด8จุด ปลูกต้นไม้ไปแล้ว300ต้น ข้อจำกัดที่พบคือสภาพอากาศที่ร้อน ทำให้แกนนำป่วย ปลูกต้นไม้ไม่ได้ ให้ชะลอการปลูกต้นไม้ในช่วงหน้าผน 3กำหนดหารลงตรวจสภาพฝายและต้นไม้ที่ปลูกในวันที่24เมษายน 4กำหนดวันจัดกิจกรรมประเมินผลในวันที่2พ.ค.62

 

เวทีทำแผนการติดตามและ เฝ้าระวัง 1 พ.ค. 2562 25 มี.ค. 2562

 

1คณะทำงานปรึกษาหารือชวนคุยหาแนวทางการเฝ้าระวังฝายชะลอทรายและต้นไม้ที่ปลูกไว้รวมถึงสภาพการเปลี่ยนแปลงของน้ำในช่วงหน้าแล้ง 2แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน 3กำหนดเป็นแผนวันที่ ที่ทำกิจกรรมการติดตามและทำฝายเพิ่ม

 

1 ได้แผนการเฝ้าระวังคือทุกวันที่24 ของเดือนที่เหลืออยู่ภายใต้โครงการ 2ได้แนวทางการทำฝายชะลอทรายและวางแผนทำฝายให้ได้สัก10จุดเพื่อเป็นการทดลอง โดยทำขึ้นไปทางตอนบนของคลอง 3ได้แบ่งหน้าที่ประสานงานกับชุมชนเข้าร่วมทำฝายโดยมอบหมายให้ปาริชาติรับผิดชอบประกาศผ่านเสียงตามสาย และกลุ่มไลน์ของหมู่บ้าน

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนพฤษภาคม2562 8 พ.ค. 2562 11 พ.ค. 2562

 

1แจ้งห้คณะทำงานทราบเรื่องการร่วมกิจกรรมกับหน่วยจังหวัด เรื่องการทำกิจกรรมประเมินผลเพื่อการพัฒนาร่วมกับโครงการอื่น ร่วมกัน ในวันที่ 17พค ที่รร.ประภัสสรรังสิต 2การเงินชี้แจงสถานะการเงินโครงการ ซึ่งทำกิจกรรมภายใต้โครงการผลการเงินคือ 3ร่วมกันสร้างฝายแนวชะลอทราย

 

1มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน15คน
2ได้คนร่วมกิจกรรมประเมินร่วมกับหน่วยจังหวัดมอบหมายให้ ปาริชาติ ณาตญานีและวิชาญ เป็นคนเข้าร่วม 3คณะทำงานได้รับรู้สถานการณ์การเงินโครงการ

 

กิจกรรมปลูกป่าริมคลอง ครั้งที่1 15 พ.ค. 2562 14 ก.ค. 2562

 

10.00น. นัดพร้อมกันที่วัดโหล๊ะจันกระ 10.30น. ร่วมกันประกอบพิธีกรรมทางศาสนา 11.00น. ร่วมกันถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ 11.30น. พร้อมกันปลูกต้นไม้บริเวณริมคลองในพื้นที่ดำเนินการ

 

1มีผู้ร่วมกิจกรรมรวมกันทั้งคณะทำงานโครงการ พระสงฆ์ เด็กและเยาวชน จำนวน35คน 2ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้จำนวน400ต้น

 

ติดตามและเฝ้าระวังครั้งที่2 24 พ.ค. 2562 24 เม.ย. 2562

 

คณะทำงานลงพื้นที่เฝ้าระวังและดูแลซ่อมแซมฝายแนวชะลอทรายที่เกิดความเสียหาย คณะทำงานร่วมกันสร้างแนวชะลอทรายร่วมกับชุมชนเทศบาลตำบลแม่ขรี

 

มีคณะทำงานและสมาชิกชุมชนจาก้ทศบาลตำบลแม่ขรีร่วมกิจกรรมจำนวน 33คน ได้ฝายแนวชะลอทรายจำนวน 1 หน่วย

 

ติดตามเฝ้าระวัง ครั้งที่2 24 พ.ค. 2562 24 พ.ค. 2562

 

คณะทำงานและแกนนำนำร่วมกันสำรวจฝายแนวชะลอทราย ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณสร้างฝายแนวชะลอทราย

 

มีคณะทำงานและชุมชน และคณะจากมหาวิทยาลัยทักษิณร่วมกิจกรรม 80 คน ได้ฝายแนวชะลอทรายจำนวน2แหล่ง

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมิถุนายน2562 8 มิ.ย. 2562 13 มิ.ย. 2562

 

1แจ้งเรื่องการเงินโครงกางวดที่2ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ตามจำนวนที่หน่วยจัดการโอนมาให้เข้าบัญชีของโครงการย่อย 2หารือเรื่องการจัดกิจกรรมวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ ด้วยการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ร่วมกิจกรรม วันเวลาและสถานที่จัดกิจกรรม โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุที่มีความใกล้ชิดกับลำคลอง 3หารือเรื่องรูปแบบและเนื้อหาการกิจกรรม โดยกำหนดรูปแบบคือการให้คนแก่เล่าความเป็นมาของลำคลอง เปรียบเทียบความสมบูรณ์และการเปลี่ยนแปลงของลำคลองระหว่างอดีตและปัจจุบัน และเล่าเรื่องหรือนิทาน ตำนานต่างๆที่เกี่ยวกับลำคลองให้แก่เด็ก เยาวชนได้เรียนรู้

 

1มีกลุ่มเป้าหมายร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน 2คณะทำงานได้รับรู้เรื่องการเงินของโครงการ 3เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคณะทำงาน 4ได้แผนงานและรูปแบบการจัดกิจกรรม ตามแผนงานโครงการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขอองกลุ่มเป้าหมาย 5ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบการทำงานตามความถนัดของแต่ละคน

 

กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2 9 มิ.ย. 2562 30 ส.ค. 2562

 

13.00น.ลงทะเบียนพร้อมกันที่ประชุมหมู่บ้าน 13.30น. นายสานิตย์ พลเพชร ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเปิดประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม 14.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ผู้ติดตามโครงการ ชี้แจงให้ที่ประชุมเข้าใจขั้นตอนในการประชุมว่า เมื่อโครงการดำเนินงานมาได้ระยะหนึ่งของแผนงานตามที่กำหนดไว้ในโครงการ ผู้ติดตามโครงการมีหน้าที่ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานว่าโครงการได้ทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้างที่เนื่องจากการทำโครงการโดยให้คณะทำงานโครงการบอกเล่าผลการดำเนินงานโครงการตามตัวชี้วัดที่วางไว้ในโครงการเพื่อให้ชุมชนได้รับรู้ผลสำเร็จร่วมกัน แล้วให้ชุมชนแสดงความเห็นหรือการยอมรับผลที่เกิดขึ้นของโครงการ 14.30น. คณะทำงานโครงการเล่าถึงความสำเร็จที่เกิดจากการทำโครงการให้ที่ประชุมรับรู้และแสดงการยอมรับร่วมกัน และเสนอแนะปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการพร้อมช่วยกันเสนอแนะทางออกร่วมกัน

 

1มีคณะทำงานและตัวแทนชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน50คน 2ชุมชนได้เรียนรู้การการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 3ผลที่เกิดจากทำโครงการคือ -ชุมชนได้เรียนรู้การทำโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ -ชุมชนมีกติกาและข้อตกลงร่วมกันของชุมชนในการดูแลรักษาลำคลอง -ชุมชนสามารถดำเนินการปลูกต้นไม้ตามตัวชี้วัดโครงการได้บรรลุผล -ชุมชนสามารถสร้างเขตพื้นที่ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยชุมชนโดยมีแกนนำและคณะทำงานเป็นผู้ติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง 4ชุมชนยอมรับผลการดำเนินงานของโครงการร่วมกัน

 

กิจกรรมปลูกป่าริมคลอง ครั้งที่ 2 15 มิ.ย. 2562 12 ส.ค. 2562

 

09.30น. นัดพร้อมกันที่วัดโหล๊ะจันกระ 09.30น. ให้โอวาทโดยเจ้าอาวาสวัดโหล๊ะจันกระ 10.0น. ร่วมกันทำบุญตักบาตรเนื่องในวันแม่แห่งชาติ 10.30 ร่วมกันถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ 11.00น. ร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณริมโครงที่เป็นพื้นที่ดำเนินการโครงการ

 

มีผู้ร่วมกิจกรรม ที่หลากหลายจำนวน45คน ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ในพื้นที่ดำเนินโครงการจำนวน500ต้น

 

ติดตามเฝ้าระวัง ครั้งที่3 24 มิ.ย. 2562 29 มิ.ย. 2562

 

10.30น. คณะทำงานโครงการนัดพร้อมกันที่วัดโหล๊ะจันกระ 11.00น. ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ 14.00น. ปล่อยพันธุ์ปลาลงในบ่อปลาที่มีอยู่ในพื้นที่ดำเนินโครงการ เพื่อทดลองการอนุบาลพันธุ์ปลาเตรียมไว้เพื่อเป็นพันธุ์ปลาที่จะปล่อยลงสู่คลองธรรมชาติเพื่อมุ่งหวังเกิดการขยายพันธุ์ปลาและเป็นการเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำในลำคลอง

 

1มีคณะทำงานและแกนนำร่วมกิจกรรมจำนวน 23คน 2คณะทำงานและแกนนำได้ร่วมกันสร้างกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน 3ได้ปล่อยพันธุ์ปลาจำนวน 2,000ตัวเพื่ออนุบาลเตรียมปล่อยลงลำคลองธรรมชาติ

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกรกฎาคม2562 8 ก.ค. 2562 23 ก.ค. 2562

 

10.00น. คณะทำงานนัดพร้อมกันที่ริมคลองหลังวัดโหล๊ะจันกระในพื้นที่ดำเนินงานโครงการ 10.30น. ช่วยกันทำอาหารในบริเวณพื้นที่ดำเนินงานโครงการ 12.00น. รับประทานอาหารร่วมกัน 13.00น. สรุปผลการทำกิจกรรมวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของลำคลองจากอดีตและปัจจุบัน โดยวิเคราะห์ผลสำเร็จและข้อบกพร่องที่เกิดจากการจัดกิจกรรม 14.00น. หารือเรื่องการจัดกิจกรรมแก้ทวดทองแคในเดือนสิงหาคม 14.30น. สำรวจความเสียหายและความมั่นคงของฝายชะลอทรายที่ได้ร่วมกันสร้างไว้ในพื้นที่ดำเนินโครงการ

 

1มีคณะทำงานร่วมกิจกรรมประชุมจำนวน12คน 2ได้เรียนรู้และสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและได้ร่วมกันแสดงความเห็นและหาแนวทางการจัดกิจกรรมแก้ทวดทองแคในเดือนสิงหาคม 3คณะทำงานได้สำรวจความมั่นคงและความเสียหายของฝายชะลอทรายที่สร้างไว้ในพื้นที่ดำเนินโครงการและได้ซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด

 

กิจกรรมอนุบาลพันธุ์ปลา และปล่อยปลาสู่คลองธรรมชาติ 15 ก.ค. 2562 15 ก.ค. 2562

 

จัดซื้อพันธุ์ปลาและอาหารปลาเพื่่อเลี้ยงในกระชังที่ได้ทำขึ้นในคลองธรรมชาติ แล้วปล่อยลงสู่คลองธรรมชาติ

 

1ได้เลี้ยงปลาเพื่อขยายพันธุ์และปล่อยสู่คลองธรรมชาติ 2 มีพันธุ์ปลาที่ปล่อยสู่คลองธรรมชาติรวม3,000ตัว

 

ติตามเฝ้าระวังครั้งที่4 24 ก.ค. 2562 6 ก.ค. 2562

 

10.00น.นัดพร้อมกันที่วัดโหล๊ะจันกระ 10.30น. ช่วยกันประกอบอาหารที่ริมคลองเพื่อร่วมรับประทานด้วยกันที่ริมคลอง 12.00น. ร่วมกันรับประทานอารด้วยกัน 13.00น. คณะทำงานและแกนนำ พากลุ่มเด็กสำรวจสภาพแวดล้อมของลำคลองที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการปรับสภาพแวดล้อม และร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณริมคลองในพื้นที่ดำเนินการโครงการ และปล่อยให้กลุ่มเด็กและเยาวชนเล่นน้ำตามประสาโดยมีแกนนำคอยดูแลอยู่

 

1มีคณะทำงานแกนนำกลุ่มเด็กและเยาวชนร่วมกิจกรรมจำนวน 20คน 2 เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมภายใต้โครงการ 3ได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่โครงการและช่วยกันปลูกต้นไม้บริเวณริมคลองอย่างน้อยคนละ5ต้น

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนสิงหาคม2562 8 ส.ค. 2562 8 ส.ค. 2562

 

1 แจ้งเพื่อทราบเรื่องผู้ทรงคุณวุฒิโครงการมาเยี่ยมเยียนและร่วมเรียนรู้การทำงานของโครงการ 2เรื่องปรึกษาหารือเรื่องการจัดกิจกรรมแก้ทวดทองแค 3เรื่องความก้าวหน้าในการวางแผนจัดกิจกรรมแก้ทวด 4เรื่องการใช้งบประมาณโครงการเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรม

 

 

 

ติดตามเฝ้าระวัง ครั้งที่5 24 ส.ค. 2562 13 ส.ค. 2562

 

คณะทำงานโครงการใช้ประเพณีการแก้ทวดทองแค ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นความเชื่อของชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรม อันเป็นกระทบที่เกิดจากการปรึกษาหารือร่วมกันจากวงประชุมของคณะทำงาน โดยทางโครงการได้เข้าไปสนับสนุนเรื่องงบประมาณในการจัดกิจกรรม และคณะทำงานโครงการเป็นแกนหลักในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเชื่อของชุมชน และคณะทำงานโครงการได้ประสานงานกับผู้นำทางจิตวิญญานของชุมชนเพื่อให้เกิดการจัดกิจกรรมขึ้น อันจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน และการสร้างจิตสำนึกร่วมของชุมชนในการดูแลสายน้ำ ลำคลอง

 

-มีคนร่วมกิจกรรม250คน -คณะทำงานได้เรียนรู้กระบวนการและขั้นตอนในการจ้ดกิจกรรมทางความเชื่อของชุมชน -มีการประสานงานกับองค์กรส่วนท้องถิ่นในการร่วมกันจัดกิจกรรม -กลุ่มเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญและความเชื่อของชุมชน

 

กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่3 30 ส.ค. 2562 24 ก.ย. 2562

 

10.00น. ลงทะเบียนพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน 10.30น.นางสาวปาริชาติ ช่วยราชการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตุประสงค์การจัดกิจกรรม 11.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ผู้ติดตามโครงการชี้แจงวิธีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ โดยการให้คณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการโครงการเล่าถึงผลสำเร็จของการดำเนินโครงการตลอดการดำเนินโครงการ 12.00น.พักรับประทานอาหาร 13.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ผู้ติดตามโครงการ เพิ่มเติมการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการตามที่ได้ร่วมติดตามโครงการและเสนอแนะแนวทางการดำเนินโครงการในช่วงปีที่2ของการดำเนินโครงการ 14.00น. ปิดการประชุมการจัดกิจกรรม

 

1มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน30คน 2มีภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วกิจกรรมจำนวน3คน 3ที่ประชุมได้ร่วมกันรับรู้ผลการดำเนินโครงการที่เกิดผลสำเร็จคือ -มีก่ารปลูกต้นไม้ริมคลองในพื้นที่ดำเนินการเกิน1,000ต้น -สามารถกำหนดเขตพื้นที่ห้ามล่าสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ทำโครงการ -สามารถเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในพื้นที่ดำเนินโครงการสามารถสังเกตได้โดยสายตา -ที่ประชุมได้เรียนรู้และเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการในอนาคตเพื่อให้เกิดการหนุนเสริมตามนโยบายยุทธศาสตร์จังหวัด -ชุมชนและคณะทำงานโครงการมีความภาคภูมิใจที่สามารถเกิดผลสำเร็จจากการทำโครงการ

 

ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกันยายน2562 8 ก.ย. 2562 2 ก.ย. 2562

 

10.00น.คณะทำงานนัดพร้อมกันที่ทำการกลุ่มหารือเรื่องการแก้ปัญหาเร่งด่วนเรื่องระบบประปาหมู่บ้านจึงมีข้อตกลง ไปช่วยกันปรับปรุงแก้ไขระบบประปา 11.00น. คณะทำงานโครงการเดินทางพร้อมกันไปที่ลำคลองเพื่อช่วยกันปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน 13.00น. ประชุมวางแผนการแก้ปัญหาระบบประปา 14.00น. ช่วยกันซ่อมแซมและแก้ปัญหาระบบประปาหมู่บ้าน

 

1มีคณะทำงานร่มกิจกรมจำนวน10คน 2คณะทำงานได้ปรึกษาหารือกันเรื่องการจัดการระบบการใช้น้ำของหมู่บ้าน 3เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันของคณะทำงาน 4ระบบการใช้น้ำของชุมชนได้รับการแก้ไข

 

ติดตามเฝ้าระวัง ครั้งที่6 24 ก.ย. 2562 8 ก.ย. 2562

 

1 คณะทำงานโครงการได้จัดทำป้ายประกาศเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำตามข้อตกลงร่วมกันในเวทีประชุมกติกาการใไช้ประโยชน์เพื่อให้เขตหวงห้ามเป็นเขตพื้นที่ฟื้นฟูอนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์น้ำ 2คณะทำงานได้ทำกระชังปลาเพื่อเป็นที่อนุบาลและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ

 

1มีคณะทำงานและแกนนำร่วมกิจกรรมจำนวน7คน 2ได้ปิดป้ายเขตหวงห้ามล่าสัตว์น้ำ 3ได้สร้างกระชังอนุบาลพันธุ์ปลาเพื่อเป็นการขยายพันุ์สัตว์น้ำ