directions_run

อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

แบบการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของโครงการ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคน กลุ่มคน เครือข่าย (เช่น มีความรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ
  • ฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง
  • ฝ่ายท้องถิ่นเทศบาลตำบลร่มเมือง

-ฝายปกครองตำบลร่มเมืองในการเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักของโครงการตั้งแต่การวางแผน กำหนดเรื่องราว การมีมุมมองวิสัยทัศน์ของชุมชน ซึ่งมีฝ่ายท้องถิ่นเป็นกองทัพหลังที่พร้อมให้ความร่วมมือ โดยท่านนายกเทศมนตรีจะหนุนเสริมให้กำนันตำบลร่มเมืองเป็นแม่ทัพใหญ่ ทำให้ฝ่ายปกครองมีความเข้าใจในการทำงานที่มิใช่การสั่งการของหน่วยราชการเพียงอย่างเดียว แต่ทำให้ฝ่ายปกครองนำโดยกำนันมีความเข้าใจการขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในของชุมชนแล้วดำเนินการโดยชุมชนเอง ทำให้ประชาชนมองเห็นถึงการร่วมไม้ร่วมมือของฝ่ายปกครองและฝ่ายท้องถิ่น ที่มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ และร่วมมือกัน

การร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการโดยมีภาพถ่ายร่วมกันในทุกกิจกรรมที่มีรอยยิ้ม

การสร้างเวทีร่วมให้ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายได้พัฒนาชุมชนร่มเมืองอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดนโยบาย เกิดข้อตกลงชุมชน เกิดมาตรการทางสังคม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

การเปลี่ยนกลไก และกระบวนการในชุมชนที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดกลุ่ม ชมรม เครือข่าย เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

1.การเรียนรู้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

สิ่งที่คาดหวังจากการมีส่วนร่วมของชุมชน คือการใช้กลไกทางฝ่ายปกครอง นั่นคือเวทีการประชุมประจำเดือนของแต่ละหมู่บ้านในการสร้างความเข้าใจ การรับรู้ และการขอความร่วมมือของประชาชนในชุมชน
-สิ่งที่ไม่ได้คาดหวังไว้ล่วงหน้า คือ การหยิบยื่นน้ำใจ เอื้ออาทรให้กันระหว่างขับเคลื่อนกิจกรรม ตั้งแต่กิจกรรมแรกคือการบวชป่า ที่ชุมชนให้ความสนใจและมาช่วยกันพัฒนาสวนป่านาโอ่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เดินเท้าเปล่ามาพร้อมพร้า บางคนปั่นจักรยานมาพร้อมเครื่องมือจากบ้านตนเอง ซึ่งเป็นความประทับใจที่ผู้นำชุมชนและข้าราชการต่่างถิ่นสัมผัสถึงความอิ่มสุขทางจิตใจ

ภาพถ่ายในทุกกิจกรรมที่คนทุกกลุ่มวัยในชุมชนเข้าร่วมตลอดโครงการ

การพัฒนาชุมชนในการจัดการพื้นที่สาธารณของชุมชนโดยกำหนดการพัฒนาเดือนละ 1 ครั้ง กำหนดไว้ในแผน พชต.ร่มเมือง